พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ในการรับเสด็จสมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗


    พระกรณียกิจด้านศาสนสัมพันธ์

    พุทธศักราช ๒๕๒๗ เกิดกระแสข่าว
    ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดระหว่างพุทธศาสนิกชน
    และคริสตศาสนิกชนในประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อน

    อันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันในการดำเนินกิจการ
    ทางการเผยแผ่พระศาสนาบางประการ
    ประกอบกับเป็นระยะเวลาที่สมเด็จพระสันตปาปาแห่งวาติกัน
    ประมุขแห่งศาสนจักรโรมันคาธอลิค
    จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

    เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยเกรงว่าจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมขึ้น
    ระหว่างการเสด็จมาเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตปาปา

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานองค์พระประมุขแห่งพุทธจักรในประเทศไทย
    ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้ความรู้สึกตึงเครียดครั้งนั้น
    ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย

    ในส่วนพระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระภารกิจ
    ในการต้อนรับสมเด็จพระสันตปาปา องค์ประมุขแห่งคริสต์จักร
    ด้วยความสง่างามและสมพระเกียรติ
    เป็นที่ปลื้มปีติของผู้มาเยือนและของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า

    [​IMG]
    ในการรับเสด็จสมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗


    พระดำรัสปฏิสันถารของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    แห่งประเทศไทย แด่สมเด็จพระสันตปาปาจอห์น พอล ที่ ๒
    ในโอกาสเสด็จเข้าเฝ้า ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗


    ท่านพระสันตะปาปา

    ในโอกาสอันเป็นประวัติศาสตร์ แห่งการที่พระองค์เสด็จเยือนประเทศนี้
    และพระอารามนี้ อาตมาภาพขอปฏิสันถารพระองค์และคณะด้วยความจริงใจ

    แม้ศาสนาต่างๆ ของโลก จะแตกต่างกันในหลักธรรมและการปฏิบัติ
    แต่ก็มีจุดประสงค์ที่ตรงกันบางประการ

    เช่น ความสุขและความสงบ อันตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความยุติธรรม
    และเมตตาถือไมตรีจิตคิดจะให้เป็นสุข
    กับทั้งกรุณาคือความเอ็นดูหรือสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

    เพราะฉะนั้น เราจึงร่วมมือและประสานงานกัน
    ได้ในการนำความสุขและความสงบมาสู่มนุษยชาติ
    ด้วยวิธีการสั่งสอนอบรมและการชักชวนของพวกเรา
    ให้เว้นความชั่วทั้งปวง ให้บำเพ็ญความดี และให้ชำระจิตใจของตนให้สะอาด

    ในนามแห่งพุทธศาสนิกชนทั้งปวงในประเทศนี้
    อาตมาภาพขอขอบพระทัยที่เสด็จมา ณ ที่นี้
    และขอถือโอกาสนี้ ตั้งความปรารถนาให้พระองค์พร้อมด้วยคณะ
    และคริสตศาสนิกชนทั้งปวงทั่วโลก
    จงประกอบด้วยพลานามัยอันดี
    มีความสุขและความเจริญตลอดกาลนานเทอญ.
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ


    การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก

    ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานะองค์สกลมมหาสังฆปริญายก
    ได้ทรงพระราชดำริให้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย
    ตรวจชำระพระไตรปิฎก เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล
    แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    โดยได้ทรงมีพระลิขิต ที่ ๒๒๙๑/๒๕๒๕
    ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕
    เสนอแนวพระราชดำริต่ออธิบดีกรมการศาสนา
    เพื่อเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณา ตามด้วยสำเนาพระลิขิตดังนี้

    “ด้วยอาตมภาพมีความดำริว่า ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ นี้
    รัฐบาลและปวงชนชาวไทย ได้ร่วมใจกันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
    ทั้งนี้ด้วยความสำนิกในพระมหากรุณาธิคุณ
    และเพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระมหากษัตริย์
    ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ที่ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
    และทรงปกป้องผองภัยแก่พสกนิกร

    ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาให้สถิตสถาพร
    ทรงรักษาแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทยให้เป็นอิสระสืบต่อมาจนทุกวันนี้
    อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรทั่วหน้าหาที่สุดมิได้

    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่บรรพกาล
    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา
    และทรงมีพระบรมราชูปถัมภ์พระสงฆ์ทั้งปวง
    ให้ได้ศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม
    ทรงส่งเสริมการคณะสงฆ์ให้มีความเจริญรุ่งเรือง
    ยากที่จะหาประเทศอื่นใดในโลกเสมอเหมือนได้

    จึงนับเป็นภารธุรที่คณะสงฆ์จะช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    ให้มีความดำรงมั่นยั่งยืนสืบต่อไปสิ้นกาลนาน

    [​IMG]

    การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนานั้น
    ควรเริ่มต้นด้วยการฟื้นฟูพระปริยัติสัทธรรม
    เพราะพระปริยัติสัทธรรมเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา

    เมื่อพระปริยัติสัทธรรมดำรงมั่นคงอยู่พระพุทธศาสนาก็ดำรงมั่นอยู่ได้
    พระปริยัติสัทธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ส่งเสริมให้เกิดมรรคผลนิพพาน อันเป็นพระปฏิเวทสัทธรรม

    พระปริยัติสัทธรรม ได้แก่ พระธรรมวินัย
    อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
    ทรงบัญญัติแล้วและได้มีพระพุทธดำรัสว่า
    จักเป็นศาสดาแทนพระองค์เมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
    พระมหาเถระในอดีต มีพระมหากัสสป เป็นต้น
    ได้เล็งเห็นความสำคัญข้อนี้ จึงได้รวบรวมรักษาพระธรรมวินัยไว้
    ด้วยการสังคายนาต่อๆ กันมา

    จำเดิมนับตั้งแต่ประเทศไทย
    ได้รับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแผ่นดิน
    พระสงฆ์ได้ถือเป็นภารธุระทางด้านคันถธุระ
    จัดการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
    เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความเข้าใจในพระสัทธรรม
    โดยมีพระมหากษัตริย์และรัฐบาลถวายความอุปถัมภ์ตลอดมา

    ในสมัยล้านนาในรัชกาลพระเจ้าติลกราชก็ได้มีการสังคายนาเป็นการใหญ่
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๐๒๐

    และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๓๑
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ได้ทรงอุปถัมภ์ให้มีการสังคายนายกย่องพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
    ทรงรับเป็นพระราชภารธุระทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    ด้วยการอุดหนุนการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแก่คณะสงฆ์

    [​IMG]

    ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระปิยมหาราชก็ได้ทรงพระราชดำริ
    ให้มีการปริวรรตอักษรขอมภาษามคธเป็นภาษาไทย
    จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยเป็นครั้งแรก

    มาถึงในรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ก็ได้ทรงอาราธนาพระเถรานุเถระให้ชำระพระไตรปิฎก
    ตีพิมพ์ขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
    พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชฏฐาธิราช ซึ่งได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว

    ต่อมาเมื่อครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
    รัชกาลที่ ๘ คณะสงฆ์ ได้มีการแปลพระไตรปิฎกภาษาไทยจนจบ
    และได้ตีพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
    ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ตรวจชำระต้นฉบับภาษาไทยเทียบกับภาษาบาลี
    ตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ ๔ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

    พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีที่ได้พิมพ์เผยแพร่แล้วนั้น
    ปรากฏว่ายังมีส่วนที่จะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมอีกอยู่
    และพระไตรปิฏกแปลภาษาไทยนั้นก็ยังมีความบกพร่องตามต้นฉบับอีก

    นอกจากนี้ พระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่เป็นบริวารคือคัมภีร์อรรถกถา
    ฎีกา สัททาวิเสสและปกรณ์วิเสส เป็นอันมากยังไม่ได้พิมพ์ ยังไม่ได้แปล
    แต่มีนิติบุคคล สถาบัน มูลนิธิและวัดหลายแห่งมีศรัทธาไปจัดทำแต่ละส่วนๆ
    ซึ่งเป็นความปรารถนาดี กอปรด้วยศรัทธาวิริยะควรที่คณะสงฆ์
    และรัฐบาลจะได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
    เพราะเข้าหลักการพัฒนาพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาขึ้น

    แต่ยังเป็นลักษณะต่างคน ต่างทำ ขาดความเป็นเอกภาพ
    เห็นว่าถ้าได้รับความร่วมมือเป็นสมานฉันท์ร่วมกันนำฉบับที่ได้จัดทำแล้ว
    ทั้งต้นฉบับบาลีที่ชำระแล้วและฉบับคำแปลที่ได้ตรวจทานแล้ว
    มาให้รับรองก็จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น

    [​IMG]

    ซึ่งในการนี้จะต้องจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ในโอกาสที่พระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๒๕๒๕ ปี แล้ว
    การสังคายนาพระธรรมวินัยในครั้งนี้
    จะทำให้เกิดความร่วมมือสามัคคีขึ้นหลายประการคือ

    ๑. มีการชักชวนพุทธบริษัทจัดตีพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี
    และภาษาไทยที่ได้ตรวจสอบสังคายนาแล้ว
    เนื่องในการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
    และในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน
    จะเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ
    ซึ่งพระองค์ทรงพระมหากรุณาธิคุณูปการะแก่พระพุทธศาสนาเป็นอันมาก

    ๒. มีการชำระและแปล พระคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา สัททาวิเสส ปกรณ์วิเสส
    เป็นภาษาไทย ซึ่งต่อไปจะเป็นการยากที่จะทำให้สำเร็จได้
    กุลบุตรในกาลภายหน้าจะได้อาศัยศึกษาพระพุทธศาสนาเข้าใจได้โดยทั่วถึง

    ๓. มีการแก้ไขความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
    อันเกิดจากในปัจจุบันได้มีบุคคลบางกลุ่มบางคณะ
    แสดงสัตถุศาสน์นอกธรรม นอกวินัย
    เผยแพร่ลัทธิที่ผิดเพี้ยนจากพระพุทธวจนะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
    หลงผิดแก่คณะหมู่มาก

    เป็นการกระทบความมั่นคงของพระพุทธศาสนาของชาติ
    เพราะเกิดสามัคคีเภท
    เมื่อได้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว
    จะทำให้มีการประมวลข้อประพฤติปฏิบัติในหมู่สงฆ์
    ให้เป็นแบบอย่างโดยอาศัยพระบรมเดชานุภาพ
    และอำนาจรัฐให้พุทธบริษัทเกิดความเข้าใจในพระธรรมวินัยที่แท้จริง

    ขจัดอธรรมวาที อวินัยวาที และอลัชชี ซึ่งเป็นภัยแก่พระพุทธศาสนา
    ซึ่งจะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงสถาพรสืบต่อไป

    จึงเจริญพรมาให้อธิบดีกรมการศาสนานัดประชุมมหาเถรสมาคมพิเศษ
    เพื่อนำ ปรารถเรื่องนี้หารือในที่ประชุมมหาเถรสมาคม
    เมื่อได้รับความเห็นจากมหาเถรสมาคมแล้ว
    จะได้ถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
    และขอความอุปถัมภ์จากรัฐบาลในการสังคายนา
    ทั้งนี้ เพื่อให้งานนี้เป็นงานสำคัญของบ้านเมืองสืบต่อไป”


    ในที่สุดที่ประชุมมหาเถรสมาคมก็ได้อนุมัติตามแนวพระดำริ
    จึงได้ถวายโครงการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้
    ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
    และขอความอุปถัมภ์ในการสังคายนาจากรัฐบาล
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)


    และได้ทรงมีพระบัญชาที่ ๑/๒๕๒๗
    เรื่องการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ดังนี้

    ที่ ๑/๒๕๒๗
    เรื่อง การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก


    เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
    จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบนักษัตร ใน พ.ศ. ๒๕๓๐
    เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณ
    ที่ได้ทรงมีพระคุณูปการเป็นอเนกประการต่อพระพุทธศาสนา

    เห็นเป็นการสมควรดำเนินการทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
    โดยการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับหลวง
    ทั้งภาษามคธและภาษาไทยขึ้นถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในพระบรมราชูปถัมภ์
    เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า
    ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาธิราช
    ให้เป็นที่ปรากฏตามโบราณราชประเพณีสืบไปชั่วกาลนาน

    อาศัยอำนาจตามความมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
    จึงทำให้กรมการศาสนานำโครงการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
    เพื่อนำเรื่องกราบบังคมทูลพระกรุณา
    ขอถวายโครงการนี้ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตามโบราณราชประเพณี
    และขอความอุปถัมภ์จากรัฐบาลให้ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป

    สั่ง ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๗

    (สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    ในการครั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา
    เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗
    ลงมติเห็นชอบด้วยในหลักการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ทั้งภาษามคธและภาษาไทย

    และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
    ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๒๑/๒๕๒๘
    ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘
    แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
    โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานที่ปรึกษา
    ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการอำนวยการ

    นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงมีพระบัญชา
    ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘
    แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสังคายนาพระธรรมวินัย รวม ๗ คณะ ได้แก่

    ๑. สังคีติการกสงฆ์
    ๒. คณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก
    ๓. คณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระสุตตันตปิฎก
    ๔. คณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระอภิธรรมปิฎก
    ๕. กรรมาธิการแห่งสังคีติการกสงฆ์
    ๖. คณะกรรมการศาสนบัณฑิต
    ๗. คณะกรรมการดำเนินการและประสานงานฯ


    และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก ๓ คณะ ได้แก่

    ๑. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์
    ๒. คณะอนุกรรมการหาทุน
    ๓. คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์และจำหน่ายพระไตรปิฎก


    [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)


    ต่อมา ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
    ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก
    อาราธนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระสงฆ์เปรียญธรรม พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
    เป็นภารธุระดำเนินการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก

    และทรงรับโครงการนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตามโบราณราชประเพณี
    ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงประกอบพระราชพิธีสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
    เพื่อเป็นปฐมอุดมมงคลพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้
    เป็นการตรวจชำระพระไตรปิฎกแปล
    และจัดพิมพ์เป็นภาษาบาลีและภาษาไทย รวม ๔๕ เล่ม ได้แก่
    พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม

    โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้กรมการศาสนา
    มาใช้จ่ายเฉพาะในการดำเนินงานสังคายนาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๘-๒๕๓๐
    รวม ๓ ปี เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๘,๗๑๒,๑๕๐.๐๐ บาท
    (สิบแปดล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นสองพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

    การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้
    นับเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง
    ซึ่งเกิดในยุคที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    ทรงดำรงตำแหน่งองค์สกลมหาสังฆปริณายก
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


    การสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์

    ในด้านสาธารณูปการ คือการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธสถานต่างๆ นั้น
    นับแต่ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ
    ได้ทรงบำรุงรักษาและเสริมสร้างถาวรวัตถุ
    และปูชนียสถานภายในวัดราชบพิธมาเป็นลำดับ
    รวมค่าก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธเป็นเงินกว่า ๗๐ ล้านบาท

    นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้สร้างอาคารสถานที่
    เพื่อการสาธารณสงเคราะห์ในที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง

    กล่าวคือ สร้าง อาคารโรงเรียนวัดราชบพิธ ในบริเวณวัดราชบพิธ ๔ หลัง
    สร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาล
    ที่วัดสระกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๑ หลัง
    และที่วัดโพธิ์ทอง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ หลัง

    [​IMG]
    พระมหาเจดีย์ใหญ่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


    สร้างศาลาพักริมทางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง
    จังหวัดชลบุรี และจังหวัดปทุมธานี รวม ๘ หลัง
    สร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)
    ขนาด ๖๐ เตียง ณ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง
    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นชาติภูมิของพระองค์

    สร้างสถานสงเคราะห์คนชรา “วาสนะเวศม์”
    ในบริเวณโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)

    ตั้ง มูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)
    เพื่อสนับสนุนกิจการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช
    และเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ส่งเสริมการศึกษา
    และรักษาวัฒนธรรมของชาติ


    พระเกียรติคุณทางการศึกษา

    โดยที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงปฏิบัติพระภารกิจ
    และศาสนกิจเป็นคุณประโยชน์ต่อการศึกษา
    และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    เพื่อสันติสุขของประชาชนและบ้านเมืองมาเป็นเวลานาน

    สถาบันการศึกษาต่างๆ จึงได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณให้เป็นที่ปรากฏ ดังนี้

    [​IMG]
    ในการเสด็จเยือนประเทศอินเดียระหว่างวันที่ ๕-๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
    ทรงรับถวายปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยพาราณสี



    พ.ศ. ๒๕๒๒

    วันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒
    รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    สาขาอักษรศาสตร์ ถวาย เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    โดยให้มหาวิทยาลัยพาราณสี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลกลาง
    และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีถวาย

    และรัฐบาลอินเดียได้มอบให้เอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย
    กราบทูลอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เสด็จประเทศอินเดียเป็นทางการ
    และทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ดังกล่าว
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงโปรดรับอาราธนา
    และได้เสด็จประเทศอินเดียพร้อมทั้งคณะ
    ในระหว่างวันที่ ๕-๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒

    พ.ศ. ๒๕๒๒

    เสด็จเยือนเมืองลอสแองเจลิส รัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
    เพื่อทรงปฏิบัติศาสนกิจตามคำทูลอาราธนาของพุทธศาสนิกในเมืองนั้น

    ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยโอเรียนทอล สตัดดี้
    ได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ

    และในศกเดียวกัน (พ.ศ. ๒๕๒๒) มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
    ได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    แด่ เจ้าคุณสมเด็จฯ เป็นสถาบันที่สาม

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (พระราชอุปัธยาจารย์)
    และพระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ฉาย ณ พระอุโบสถ
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑



    พระกรณียพิเศษ

    พ.ศ. ๒๕๒๑

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฏราชกุมาร
    เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในฐานทรงเป็นองค์สกลมหาสังฆปริณายก
    พระประมุขสังฆมณฑล ได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ในพระราชพิธีทรงผนวช
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประมวลภาพสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าป่า
    และสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ทรงพิจารณาผ้าป่า ณ พุทธมณฑล
    ในพิธีเททองพระเกตุมาลาพระประธานพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔


    [​IMG]
    ทรงฉายในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายน้ำสรง ในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย ในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา

    [​IMG]
    พัดรัตนาภรณ์ชั้นหนึ่งและพัดแฉกงาพิเศษประดับพลอย
    ซึ่งได้รับพระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา


    [​IMG]
    พระรูปภาพและเจดีย์พระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
    ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


    [​IMG]
    “พระประทีปวโรทัย” พระประธานในพระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ด้านหน้าประดิษฐานพระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร


    พระอนุสาวรีย์สุดท้าย

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องการศึกษาของกุลบุตรมาโดยตลอด
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนวัดราชบพิธ
    ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา
    สร้างมาแต่สมัย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    (หม่อมเจ้ากระจ่าง ลดาวัลย์ อรุโณ)

    เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดราชบพิธ (ครองวัด พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๔๔)

    ได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงมาโดยลำดับ ในฐานเจ้าอาวาส
    โรงเรียนก็เจริญก้าวหน้ามาด้วยดีนักเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ
    จนอาคารสถานที่คับแคบไม่เพียงพอแก่จำนวนนักเรียน

    [​IMG]
    ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น)
    ถวายเอกสารสิทธิ์ที่ดินราชพัสดุ ที่จะใช้สร้างโรงเรียนใหม่



    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้ทรงพระเมตตาดำเนินการจัดการ
    สร้างโรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ขึ้น
    ในพื้นที่ราชพัสดุที่กองทัพบกทูลถวายสิทธิ์
    การใช้พื้นที่สำหรับเป็นที่สร้างอาคารโรงเรียนดังกล่าว
    เพื่อเป็นเครื่องสักการะและถวายเป็นพระกุศล
    เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา
    เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

    โรงเรียนวัดราชบพิธ แห่งใหม่จึงได้เกิดขึ้น
    ณ พื้นที่บริเวณริมถนนสนามชัยกรุงเทพฯ ดังที่ปรากฏในบัดนี้

    นับเป็นพระอนุสาวรีสถานเทิดพระเกียรติในพระเมตตาธิคุณ
    ของเจ้าพระคุณสมเด็จให้เป็นที่ปรากฏสืบไป

    [​IMG]
    พระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพ
    ประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม



    พระอวสานกาล

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่ทรงเจริญพระชนมายุยืนยาว
    มากพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ คือ ๙๑ พรรษา โดยปี

    และทรงมีพระพลานมัยสมบูรณ์แข็งแรงมาโดยตลอด
    ถึง พ.ศ. ๒๕๓๑ ทรงพระประชวรด้วยพระปัปผาสะอักเสบเมื่อเดือนมิถุนายน
    จึงได้เข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช

    ต่อมาทรงมีพระอาการพระหทัยวายเนื่องจากเส้นโรหิตตีบ
    และกล้ามเนื้อพระทัยบางส่วนไม่ทำงาน เป็นเหตุให้สิ้นพระชนม์
    เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒ เวลา ๑๖.๕๐ น.

    สิริพระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา ๕ เดือน ๒๕ วัน
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน


    [​IMG]
    กระบวนอัญเชิญพระโกศจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    สู่พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    <HR> [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    พุทธศักราช ๒๕๓๒-ปัจจุบัน


    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
    แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร
    และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี

    มีพระนามเดิมว่า “เจริญ คชวัตร” พระนามฉายาว่า “สุวฑฺฒโน”
    ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๗๕
    ตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒)
    เวลาประมาณ ๑๐ ทุ่ม มีเศษ (หรือเวลาประมาณ ๐๔.๐๐ นาฬิกาเศษ
    แห่งวันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตามที่นับแบบปัจจุบัน)
    ณ บ้านวัดเหนือ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร (ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๐๘)

    บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย
    กล่าวคือ มาจาก ๔ ทิศทาง

    พระชนกนั้นมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง

    ส่วนพระชนนีมีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่ง จากจีนทางหนึ่ง

    [​IMG]
    นายน้อย คชวัตร พระชนก


    นายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็ก และ นางแดงอิ่ม
    เป็นหลานปู่หลานย่าหลวงพิพิธภักดี และนางจีน

    ตามที่เล่ามานั้น หลวงพิพิธภักดี เป็นชาวกรุงเก่า
    เข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ
    ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยา คราวหนึ่ง
    และเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบองคราวหนึ่ง

    หลวงพิพิธภักดี ไปได้ภริยาชาวเมืองไชยา ๒ คน
    ชื่อ ทับ คนหนึ่ง ชื่อ นุ่น คนหนึ่ง
    และได้ภริยาชาวเมืองพุมเรียง ๑ คน ชื่อ แต้ม

    ต่อมาเมื่อครั้งพวกแขกยกเข้ามาตีเมืองไทร
    เมืองตรัง เมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีพิพัฒน์
    (ทัด ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔)
    เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปราม

    หลวงพิพิธภักดี ได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วย
    และไปได้ภริยา ชื่อ จีน ซึ่งเป็นธิดาของพระยาปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง (สน)
    เป็นหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง
    หรือ พระยาโลหภูมิพิสัย (ขุนดำ ชาวเมืองนครศรีธรรมราช)

    มีเรื่องราวดังที่เขียนไว้ในจดหมายหลวงอดุมสมบัติว่า

    หลวงพิพิธภักดี ได้พาจีน
    ภริยาจากตะกั่วทุ่งมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯ
    ได้รับภริยาเดิม ชื่อ แต้ม จากพุมเรียงมาอยู่ด้วย
    (ส่วนภริยาชาวเมืองไชยาอีก ๒ คน ได้ถึงแก่กรรมก่อน)

    เวลานั้น พี่ชายของ หลวงพิพิธภักดี
    เป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
    และ พระยาประสิทธิสงคราม (จำ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีครั้งนั้น
    ก็เป็นอาของหลวงพิพิธภักดี
    ต่อมาหลวงพิพิธภักดีพาภริยาทั้ง ๒
    ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เล่ากันมาว่า

    หลวงพิพิธภักดี เป็นคนดุ
    เมื่อรับราชการเป็นผู้ช่วยราชการเมืองไชยา
    เคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคา
    เป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีสลดใจลาออกจากราชการ

    แต่บางคนบอกเล่าว่า

    ต้องออกจากราชการเพราะความขึ้น
    เรื่องที่เกี่ยวกับจีนหลานสาวพระตะกั่วทุ่ง
    เมื่ออพยพมาอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีนั้นแล้ว
    พระพิชัยสงคราม ผู้พี่ชาย จะให้เขารับราชการอีก
    หลวงพิพิธภักดี ไม่ยอมรับ สมัครทำนาอาชีพ

    นายน้อย คชวัตร เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก
    ตรงกับวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗
    ได้เรียนหนังสือ ตลอดจนถึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ ๒ พรรษา
    ในสำนัก พระครูสิงคบุรคณาจารย์ (สุด)
    เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน

    พระครูสิงคบุรคณาจารย์ เป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธภักดี
    และ นางจีน เป็นอาคนเล็กของ นายน้อย คชวัตร เอง
    เมื่อลาสิกขาแล้วได้เข้ารับราชการ

    เริ่มตั้งแต่เป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรี
    และได้แต่งงานกับ นางกิมน้อย เมื่ออายุ ๒๗ ปี
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    นางกิมน้อย คชวัตร พระชนนี


    นางกิมน้อย คชวัตร มาจากบรรพชนทางญวนและจีน
    บรรพชนสายญวนนั้นเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓
    เมื่อครั้ง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
    ยกทัพไปปราบจลาจลเมืองญวน
    ได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวาย

    รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ญวนพวกที่นับถือพระพุทธศาสนาไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
    เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๒ เพื่อรักษาป้อมเมือง

    ส่วนพวกที่นับถือคริสต์ศาสนา
    ให้ไปรวมอยู่กับพวกญวนเข้ารีตที่ตำบลสามเสน ในกรุงเทพฯ

    พวกญวนที่ไปตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีในครั้งนั้น
    ได้สร้างวัดญวนขึ้นที่เมืองกาญจนบุรีวัดหนึ่ง ชื่อ วัดครั๊นถ่อตื่อ

    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดถาวรวราราม”
    บรรพชนสายญวนของนางกิมน้อยเป็นพวกที่เรียกว่า “ญวนครัว”
    ที่เข้ามาเมืองไทยในครั้งนั้น

    ส่วนบรรพชนสายจีนนั้น ตามที่เล่ามาว่า
    ได้โดยสารเรือสำเภามาจากเมืองจีน
    เรือมาแตกก่อนจะถึงฝั่งเมืองไทย
    แต่ก็รอดชีวิตมาขึ้นฝั่งเมืองไทยได้
    และได้ไปตั้งหลักฐานทำการค้าอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

    นางกิมน้อย คชวัตร
    เป็นบุตรของนางเฮงเล็ก แซ่ตัน (สายจีน) และนายทองคำ (สายญวน)
    เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ
    ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๙
    ที่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

    มีชื่อเรียกเมื่อเป็นเด็กว่า “กิมน้อย” แปลว่าเข็มน้อย
    คำว่า “กิม” เป็นคำญวณ แปลว่าเข็ม
    แต่งงานกับนายน้อย คชวัตร เมื่ออายุ ๒๕ ปี
    และใช้ชื่อเมื่อแต่งงานแล้ว
    ตามที่พบในสมุดบันทึกของนายน้อย คชวัตร ว่า “แดงแก้ว”
    แต่ต่อมาใช้ชื่อว่า “กิมน้อย” หรือ “น้อย” ตลอดมา
    นางกิมน้อย คชวัตร พูดญวนได้
    และอ่านเขียนภาษาไทยได้เล็กน้อย

    ตามประวัติการรับราชการ นายน้อย คชวัตร
    ได้เป็นเสมียนอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕
    จนเป็นผู้ที่รั้งปลัดขวา

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ต่อมาได้ไปตรวจราชการท้องที่
    กลับมาป่วยเป็นไข้อย่างแรง
    ต้องลาออกจากราชการคราวหนึ่ง
    หายป่วยแล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่

    และได้ให้กำเนิดบุตรคนโต
    คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
    เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายในปีต่อมา
    ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)



    ในศกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    เสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
    ก็ได้มีโอกาสไปร่วมซ้อมรบด้วย

    และในศกเดียวกันนั้นเอง
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

    ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
    ขณะประทับที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
    ได้โปรดให้ชาวบ้าน ข้าราชการ นำบุตรหลานเล็กเข้าเฝ้า

    ในวันหนึ่ง นายน้อย คชวัตร ก็ได้นำบุตรคนโต อายุ ๒ ขวบ
    คือ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าเฝ้าด้วยในโอกาสนั้น

    ต่อมา นายน้อย คชวัตร
    ได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
    ได้ไปป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกขึ้น
    เมื่ออาการมากได้กลับมารักษาตัวที่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี
    และได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง ๓๘ ปี
    ทิ้งบุตร ๓ คน ซึ่งมีอายุน้อยๆ ให้อยู่ในความอุปการะของภริยา

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น
    ป้าเฮ้ง ผู้เป็นพี่หญิงของนางกิมน้อย
    ได้ขอไปเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ และได้อยู่กับป้าเรื่อยมา

    แม้เมื่อ นางกิมน้อย ต้องย้ายไปอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม
    ก็หาได้นำเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปด้วยไม่
    เพราะเกรงใจป้าซึ่งรัก เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาก
    ป้าเลี้ยงเจ้าพระคุณสมเด็จด้วยความทะนุถนอม
    เอาใจจนใครๆ พากันว่าเลี้ยงตามใจเกินไป
    จะทำให้เสียเด็กภายหลัง แต่ป้าก็เถียงว่าไม่เสีย

    เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
    คนภายนอกมักจะเห็นว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    ทรงมีร่างกายอ่อนแอ ขี้อาย เจ็บป่วยอยู่เสมอ

    คราวหนึ่งป่วยถึงกับผู้ใหญ่คิดว่าไม่หาย
    และบนว่าถ้าหายจะให้บวชแก้บน
    ข้อนี้เป็นเหตุหนึ่งทำให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    ทรงมีพระนิสัยทางพระแสดงออกตั้งแต่ทรงพระเยาว์
    คือชอบเล่นเป็นพระ ทำคัมภีร์เทศน์เล็ก พัดยศเล็ก


    (ตามที่เห็นคือพัดพระครูของท่านพระครูอดุลยสมณิจครั้งนั้น)
    เก็บหินมาทำภูเขา มีถ้ำ ทำเจดีย์เล็กบนยอดเขา
    เล่นทอดกฐินผ้าป่า เล่นทิ้งกระจาด
    และทำรูปยมบาลเล็กด้วยกระดาษแบบพิธีทิ้งกระจาดที่วัดญวน

    เมื่อทรงเจ็บป่วยขึ้นผู้ใหญ่ต้องนำรูปยมบาลไปเผาทิ้งเสีย
    ในคราวที่ป้าต้องตื่นแต่เช้ามืดออกไปทำงาน
    ก็ต้องให้เทียนไว้สำหรับจุดที่นั่งเล่นพราะไม่ยอมนอน

    [​IMG]
    ด้านหน้าวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เข้าโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อพระชนมายุได้ ๘ ขวบ
    ที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน
    และโรงเรียนในครั้งนั้นก็คือศาลาวัดนั่นเอง ทรงเรียนจนจบชั้นสูงสุด
    คือประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเท่ากับจบประถมศึกษาเมื่อครั้งกระนั้น
    ถ้าจะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาก็ต้องย้ายไปเข้า
    โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้)
    ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี

    แต่ครูโรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม
    ชวนให้ไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งจะเปิดสอนต่อไปที่
    โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๑
    และจะเปิดชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ต่อไปอีก
    แต่ไม่มีภาษาอังกฤษเท่านั้น
    จึงตกลงเรียนที่ โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ต่อไป
    มีเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันหลายคนย้ายไปเรียนชั้นมัธยมที่
    โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) แล้วมาต่อที่กรุงเทพฯ

    ในระหว่างเป็นนักเรียนได้สมัครเป็นอนุกาชาด
    และเป็นลูกเสือได้เรียนวิชาลูกเสือ สอบได้เป็นลูกเสือเอก

    ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ฝึกซ้อมรบลูกเสืออย่างหนัก
    โดยฝึกรบอย่างทหารใช้พลองแทนปืน
    เพราะมีกำหนดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม
    และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ลูกเสือจากกาญจนบุรีเข้าร่วมการซ้อมรบด้วย
    แต่ก็ได้เสด็จสวรรคตในศกนั้นเอง
    จึงเป็นอันเลิกเรื่องการซ้อมรบเสือป่าลูกเสือ

    ขณะเป็นนักเรียนอยู่นั้นเคยรับเสด็จเจ้านายหลายครั้ง
    สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
    เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

    ได้เสด็จประพาสจังหวัดกาญจนบุรี
    และได้เสด็จเยี่ยม โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆาราม ครั้งหนึ่ง

    [​IMG]
    สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
    กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


    ทรงบรรพชา

    ในต้นพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
    จะมีน้าออกบวชเป็นพระภิกษุที่ วัดเทวสังฆาราม ๒ คน
    พระชนนีและป้าจึงชวนให้บวชเป็นสามเณรแก้บนเสียให้เสร็จ
    จึงตกลงพระทัยบวชเป็นสามเณรในศกนั้น เมื่อพระชนมายุเข้า ๑๔ ปี

    โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (พุทฺธโชติ ดี เอกฉันท์)
    (สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
    เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
    ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ” เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระครูนิวิฐสมาจารย์ (สุวณฺณโชติ เหรียญ รัสสุวรรณ)
    (สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโสภณสมาจาร)
    เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว)
    ที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดหนองบัว” เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

    บรรพชาแล้วจำพรรษาอยู่ที่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)

    [​IMG]
    พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์
    (สุดท้ายได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมงคลรังษี)
    เมื่อครั้งทรงบรรพชาและทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



    ก่อนที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไม่เคยอยู่วัด
    ไม่คุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระทุกองค์
    เป็นแต่ไปเรียนหนังสือในวัด
    ไปบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่างๆ ในวัด

    เคยพาป้าไปฟังเทศน์ตอนค่ำพรรษาหนึ่ง
    มีเทศน์ชาดกติดต่อกันทุกคืนภายในพรรษา
    ติดพระทัยเร่งป้าให้ไปฟังนิทานทุกคืน
    ถ้าเป็นเทศน์ธรรมะฟังไม่เข้าใจก็เร่งให้กลับ

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้อยู่กับป้าไม่เคยแยก
    นอกจากไปแรมคืนเมือเป็นลูกเสือบางครั้งเท่านั้น
    คืนวันสุดท้ายก่อนจะทรงบรรพชาเป็นสามเณร ป้าพูดว่า

    “คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน”

    ซึ่งก็เป็นความจริง ได้แยกจากกันตั้งแต่วันนั้นมา
    จนอวสานแห่งชีวิตของป้า (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗)

    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


    พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์หมดไปด้วยการท่องสามเณรสิกขา
    ทำวัตรสวดมนต์ต่างๆ กับทำอุปัชฌายวัตร ยังมิได้เริ่มศีกษานักธรรม

    พระครูอดุลยสมณกิจ หรือหลวงพ่อวัดเหนือ (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)
    ได้ต่อเทศน์กัณฑ์อริยทรัพย์ ๗ ประการ แบบต่อหนังสือค่ำให้กัณฑ์หนึ่ง
    คือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌายวัตรทุกคืน
    ท่านอ่านนำให้ท่องตามทีละวรรค คืนละตอนจนจำได้ทั้งกัณฑ์
    แล้วให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าแก่พุทธบริษัทในคืนวันพระคืนหนึ่ง

    ครั้นวันออกพรรษาแล้วก็ยังเพลินอยู่ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี
    ที่ วัดเสนหา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
    เพื่อที่ว่าต่อไปจะได้กลับมาสอนที่ วัดเทวสังฆาราม
    ท่านว่าจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้

    [​IMG]
    ศาสนสถานภายในบริเวณวัดเทวสังฆาราม จ.กาญจนบุรี


    ครั้นสามเณรและผู้เป็นญาติโยมยินยอมแล้ว
    หลวงพ่อจึงนำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปฝากไว้กับ
    พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดเสนหา
    เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร


    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เริ่มเรียนไวยากรณ์ที่วัดเสนหา ในพรรษาศกนั้น
    อาจารย์ผู้สอนเป็นพระเปรียญมาจาก วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ออกพรรษาแล้ว อาจารย์เห็นว่าจะทรงเจริญก้าวหน้าในการเรียน
    จึงชักชวนให้ไปอยู่ที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม
    และได้ติดต่อฝากฝังทางวัด ให้ทางวัดจัดกุฏิเตรียมสำหรับที่อยู่
    และแจ้งว่ามีนิตยภัตบำรุงของเจ้าของกุฏิด้วย

    จึงได้หารือเรื่องนี้กับหลวงพ่อ แต่ท่านไม่เห็นด้วย
    เพราะท่านคิดจะนำไปฝากให้เรียนต่อที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่
    จึงเป็นอันงดไม่ได้ไปอยู่วัดมกุฏกษัตริยาราม


    ส่วน พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) นั้น
    ได้อาพาธเป็นวัณโรคถึงแก่มรณภาพในเวลาต่อมา
    พระปลัดห้อย (ต่อมาเป็นพระครูสังวรวินัย) เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม
    เรียนแปลธรรมบทปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อีกพรรษาหนึ่ง
    ออกพรรษาแล้วกลับไปพัก วัดเทวสังฆาราม เตรียมเข้ากรุงเทพฯ
    เพราะหลวงพ่อได้เข้ามากราบเรียนฝาก
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร (พระยศในขณะนั้น)
    หรือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (สุจิตฺโต ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
    ในกาลต่อมา และท่านได้กรุณารับไว้แล้ว

    [​IMG]
    เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
    หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในกาลต่อมา



    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีโอกาสได้เห็น เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
    เป็นครั้งแรกที่วัดเสนหา เมื่อเสด็จออกไปแสดงธรรมเทศนา
    ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร)

    หลวงพ่อได้นำ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    มาฝาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก็ได้ทรงพระเมตตารับไว้
    และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองดูแลของ
    พระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม โรจนศิริ ป.ธ. ๓ ต่อมาลาสิกขา)

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับประทานพระฉายา
    จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า “สุวฑฺฒโณ”
    ได้ปฏิบัติทุกอย่างตามกฎกติกาของวัดบวรนิเวศวิหาร
    เช่น ซ้อมสวดมนต์ได้จบหลักสูตรของวัด

    ในปีแรกที่มาอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้ตามลำดับ ดังนี้

    พ.ศ. ๒๔๗๒ พระชนมายุ ๑๗ สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ. ๒๔๗๓ พระชนมายุ ๑๘ สอบได้นักธรรมโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๗๕ พระชนมายุ ๒๐ สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค


    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ


    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร
    ขณะนั้น มีการพระราชทานผ้าไตรแก่พระภิกษุสามเณรเปรียญทั้งวัด

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสามเณรเปรียญรูปเดียวในศกนั้น
    ที่ได้เข้ารับพระราชทานผ้าไตรจากพระราชหัตถ์


    ปีต่อจากนั้นก็งด
    มีเหลือแต่ไตรสดัปกรณ์เพียง ๑๐ ไตร จนกระทั่งปัจจุบัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน ทรงถ่ายภาพร่วมกับพระภิกษุสามเณร
    วัดเทวสังฆราราม จ.กาญจนบุรี (แถวนั่ง องค์ที่ ๓ จากขวา)



    ทรงอุปสมบท

    เมื่อ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒
    ก็มิได้มาบวชแปลงใหม่เป็นสามเณรธรรมยุต
    เพราะหลวงพ่อมีความประสงค์จะให้กลับมาบวช
    อยู่ช่วยท่านสอนพระปริยัติธรรมที่ วัดเทวสังฆาราม

    ครั้นพระชนมายุครบอุปสมบทได้ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงกลับมาอุปสมบทที่ วัดเทวสังฆาราม
    เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖
    ตรงกับวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา

    [​IMG]
    พระครูอดุลยสมณกิจ (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์
    เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



    โดยมี พระครูอดุลยสมณกิจ (พุทฺธโชติ ดี เอกฉันท์)
    เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) เป็นพระอุปัชฌาย์
    (สุดท้ายเลื่อนขึ้นเป็น พระเทพมงคลรังษี ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐)

    พระครูนิวิฐสมาจารย์ (สุวณฺณโชติ เหรียญ รัสสุวรรณ)
    เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    (สุดท้ายเลื่อนขึ้นเป็น พระโสภณสมาจาร ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓)

    พระปลัดหรุง เสี่ยงฉี เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    (ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙)

    [​IMG]
    พระครูนิวิฐสมาจารย์ (เหรียญ สุวณฺณโชติ) พระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    แล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา
    แล้วกลับมาพำนักที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ได้ทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่ง
    ตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น
    เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖
    (ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นต้นปี)
    ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา
    ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร


    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (สุจิตฺโต ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นที่
    สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระรัตนธัชมุนี (อิสฺสรญาโณ จู ทีปรักษพันธุ์)
    ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    มีพระนามฉายาว่า “สุวฑฺฒโน” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้เจริญดียิ่ง

    [​IMG]
    พระปลัดหรุง เสี่ยงฉี พระอนุสาวนาจารย์
    เมื่อครั้งทรงอุปสมบท ณ วัดเทวสังฆาราม



    แม้มาอุปสมบทอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร แล้ว
    ก็ยังเวียนไปมาช่วยหลวงพ่อสอนพระปริยัติธรรมที่ วัดเทวสังฆาราม อยู่อีก ๒ ปี
    ระหว่าง ๓ ปีแรก ที่ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุนี้ สอบได้ทุกปี คือ

    พ.ศ. ๒๔๗๖ พระชนมายุ ๒๑ สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๗๗ พระชนมายุ ๒๒ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๗๘ พระชนมายุ ๒๓ สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค


    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สอบเป็นพระเปรียญ
    สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร เรื่อยมาทุกประโยค
    เว้นแต่แต่ประโยค ป.ธ. ๗ สอบในนามสำนักเรียน วัดมกุฏกษัตริยาราม

    เพราะเจ้าหน้าที่ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ทำตกบัญชีขอเข้าสอบ
    จึงไปเที่ยวแสวงหาว่าสำนักเรียนไหน
    ส่งชื่อนักเรียนขอเข้าสอบประโยค ป.ธ. ๗ แต่สลละสิทธิ์ไม่สอบ
    และทาง วัดมกุฏกษัตริยราม อนุญาตให้เข้าสอบในสำนักเรียนนั้นได้
    โดยเลขที่ของผู้ที่สมัครไว้แต่ไม่สอบนั้น
    จึงกลายเป็นพระ สำนักเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม ไปประโยคหนึ่ง

    [​IMG]
    พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) พระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อครั้งทรงอุปสมบทซ้ำ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียนภาษาอังกฤษและสันสกฤต
    กับ ท่านสวามีสัตยานันทบุรี ปราชญ์ชาวอินเดีย อยู่ประมาณ ๒ ปี
    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๗๘ ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร

    แต่การเรียนไม่ค่อยสะดวกนัก
    เพราะต้องเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมบ้าง บาลีบ้าง ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
    และต้องช่วยทำงานอย่างอื่นๆ อีก
    เมื่อเวลาสอนมาตรงกับเวลาเรียน ก็ต้องงดการเรียนไปทำการสอน

    ในด้านพระปริยัติธรรมได้ทรงสอบบาลีต่อขึ้นไปอีก ดังนี้

    พ.ศ. ๒๔๘๑ พระชนมายุ ๒๘ สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๘๒ พระชนมายุ ๒๙ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค


    [​IMG]
    ทัศนียภาพภายในวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระเปรียญ


    พระศาสนกิจและสมณศักดิ์

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเริ่มรับภาระทางวัด
    และทางการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรี เปรียญโท
    คือเป็น ครูสอนพระปริยัติธรรม นักธรรมบ้าง บาลีบ้าง

    และเมื่อมีวิทยะฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจนักธรรมและบาลี
    ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการตรวจและบาลีแห่งสนามหลวง เรื่อยมา
    ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีถึงชั้นเอก
    ตั้งแต่ประโยค ป.ธ. ๓ ถึง ประโยค ป.ธ. ๙
    ได้ทรงรับภาระทางคณะสง์และการพระศาสนาต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับคือ

    • พ.ศ. ๒๔๘๔

    เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง
    (ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔)
    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้
    ได้เลิกใช้เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แทน

    เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๖๐
    แห่งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    และเป็น ผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระเปรียญ


    • พ.ศ. ๒๔๘๘

    เป็นพระวินัยชั้นอุทธรณ์
    เป็น กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

    • พ.ศ. ๒๔๘๙

    เป็นเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระสูตร และพระอภิธรรม
    ในสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

    • พ.ศ. ๒๔๙๐

    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์
    และเป็น กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระโศภณคณาภรณ์


    • พ.ศ. ๒๔๙๓

    เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

    • พ.ศ. ๒๔๙๓

    เป็น กรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว

    • พ.ศ. ๒๔๙๔

    เป็น กรรมการอำนวยการมหามกูฏราชวิทยาลัย
    กรรมการแผนกตำราของมหามกูฏราชวิทยาลัย


    • พ.ศ ๒๔๙๕

    ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
    และเป็นผู้ร่วมในคณะฑูตพิเศษที่มหามกุฏราชวิทยาลัย
    ส่งไปร่วมฉลองพระบรมสารีริกธาตุและพระอัครสาวกธาตุ
    ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

    • พ.ศ. ๒๔๙๖

    เป็นกรรมการตรวจชำระคัมภีร์ฎีกา

    • พ.ศ. ๒๔๙๗

    เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
    และเป็นผู้ร่วมในคณะพระเถระแห่งคณะสงฆ์ไทยไปร่วมประชุมสมัยที่ ๒
    แห่ง ฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ณ กรุงร่างกุ้ง ประเทศพม่า

    • พ.ศ. ๒๔๙๘

    ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็น “พระอภิบาล” ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



    • พ.ศ. ๒๔๙๙

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
    วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชอุปัธยาจารย์
    ของ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงเลือกพระองค์เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโศภณคณาภรณ์
    ให้เป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙

    และในอภิลักขิตสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น
    ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
    ที่ พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์


    • พ.ศ. ๒๕๐๐

    เป็น กรรมการพิจารณาร่างระเบียบบริหารวัดธรรมยุต
    และได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์

    • พ.ศ. ๒๕๐๑

    เป็น กรรมการคณะธรรมยุต
    และเป็น กรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)

    • พ.ศ. ๒๕๐๓

    เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต
    ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    องค์การหนึ่งๆ มีสังฆมนตรีสองรูป
    สำหรับฝ่ายมหานิกายหนึ่งรูป สำหรับฝ่ายธรรมยุตหนึ่งรูป
    และเป็นกรรมการดำเนินการสร้างธรรมสภา (แต่โครงการนี้ได้หยุดชะงักไป)

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองฯ
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์



    • พ.ศ. ๒๕๐๔

    เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๖ สืบต่อจากพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
    เป็น ผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    เป็น ประธานกรรมการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

    เป็น กรรมการโครงการเชิดชูและบำรุงพระพุทธศาสนา โดยตำแหน่ง
    เป็น ผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค
    และเป็น พระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖

    เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
    นับเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรก ซึ่งประกอบไปด้วยพระมหาเถระ ๘ รูป คือ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ ณ วัดเทวสังฆาราม
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมวราภรณ์



    (๑) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ
    ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๕๐๘)

    (๒) สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔)

    (๓) สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖)

    (๔) พระธรรมปัญญาบดี (วน ฐิติญาโณ) วัดอรุณราชวราราม
    ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐)

    (๕) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ (สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑)

    (๖) พระสาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร
    คือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ


    (๗) พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สาลี อินฺทโชโต) วัดอนงคาราม
    (มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑)

    (๘) พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) วัดสัมพันธวงศ์
    (มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐) ครั้นถึงเดือนพฤษาคม ศกเดียวกัน (พ.ศ. ๒๕๐๖)
    ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์


    อนึ่ง กรรมการมหาเถรสมาคมชุดแรกนี้
    ได้ประชุมกันครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดสระเกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖

    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการมหาเถรสมาคม
    ทุกสมัยตั้งแต่เริ่มต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี
    และเป็น อนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ตลอดมาทุกสมัย

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะที่พระสาสนโสภณ
    และกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)



    • พ.ศ. ๒๕๐๗

    เป็น อนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศ
    ของพระภิกษุสามเณร

    เป็น ผู้ถวายพระธรรมเทศนา ‘พระมงคลวิเสสกถา’ (วิเศษกถา)
    ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลปัจจุบัน
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗

    พระมงคลวิเสสกถา เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง เริ่มมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔
    ซึ่งพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประโยชน์
    จะได้ทรงพระปัจจเวขณ์ (คือพิจารณา) ถึงแล้ว เกิดพระปีติปราโมทย์แล้ว
    ทรงบำเพ็ญราชธรรมนั้นยิ่งๆ เป็นการอุปถัมภ์พระราชจรรยาให้ถาวรไพบูลย์
    พระเถระที่จะรับหน้าที่ถวายในครั้งนั้น สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

    ปัจจุบัน การถวายพระมงคลวิเสสกถาเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช
    หรือพระเถระรูปใดรูปหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมอบหมาย

    • พ.ศ. ๒๕๐๙

    เป็น ประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
    และในฐานะที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
    ได้ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง

    เพื่อพิจารณาเพิ่มการศึกษาระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
    กำหนดให้หลักสูตรพระธรรมทูตรวมอยู่ด้วย
    เพราะผู้ที่มารับการศึกษาอบรมพระธรรมฑูตนั้น
    ได้ผ่านการศึกษาขั้นปริญญาตรีของสองมหาวิทยาลัยสงฆ์มาแล้ว

    ทั้งเป็นการช่วยให้พระที่ต้องการจะศึกษาต่อปริญญาโท
    ไม่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
    เป็นการช่วยประหยัดการใช้จ่ายของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

    และในโอกาสเดียวกันก็ได้เสนอมหาเถรสมาคม
    ให้รับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์
    คือสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในวัดบวรนิเวศวิหาร
    และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์


    ผลปรากฏว่า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
    คณะสงฆ์ก็ได้รับรองสองมหาวิทยาลัยสงฆ์
    เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์นับว่าเป็นครั้งแรก
    ที่ทำให้สองมหาวิทยาลัยสงฆ์ดังกล่าวมาแล้ว
    เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์โดยถูกต้องสมบูรณ์

    สำหรับข้อพิจารณาเพิ่มการศึกษาขั้นปริญญาโทของคณะสงฆ์ขึ้น
    แม้ว่าโครงการนี้จะยังไม่สำเร็จตามโครงการในขณะนั้น
    แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
    ก็ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทขึ้นเป็นผลสำเร็จ

    นับว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงมีพระคุณูปการ
    แก่การศึกษาของคณะสงฆ์ในด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง


    • พ.ศ. ๒๕๑๐

    เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาประจำปี ๒๕๑๑
    เป็นประธานอนุกรรมการพิจาณาร่างระเบียบมหาเถรสมาคม
    ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติในการปลูกสร้างอากาศในที่ดินของวัดซึ่งที่ผู้เช่าอยู่

    เป็นประธานอนุกรรมการพิจาณาหลักเกณฑ์ยกเว้นค่าโดยสารรถไฟ
    ให้พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา
    และเป็นอนุกรรมการพิจาณณาแก้ไขข้อขัดข้องในระหว่างวัดกับผู้เช่า (พ.ว.ช.)

    • พ.ศ. ๒๕๑๑

    เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาโครงการรับการศึกษา
    ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์

    • พ.ศ. ๒๕๑๒

    เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโครงการจัดตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง

    • พ.ศ. ๒๕๑๔

    เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างกฏมหาเถรสมาคม
    ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแก่พระภิกษุ


    • พ.ศ. ๒๕๑๕

    เป็น พระธานกรรมการบริหารงานของสภาการศึกษาของคณะสงฆ์
    เป็น รองประธานกรรมการและผู้อำนวยการ
    โรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุต

    เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ (ธรรมยุต)
    และเป็น ประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน

    • พ.ศ. ๒๕๑๖

    เป็น ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร
    (พระรูปฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)



    ๏ สมเด็จพระญาณสังวรรูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ในอภิลักขิตกาลเฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
    ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
    สมเด็จพระราชาคณะในราชทินนามนี้ มีขึ้นเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์

    คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
    ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในวิปัสสนาคุณ
    ของ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา

    จึงทรงอาราธนามาให้ครอง วัดพลับ (คือวัดราชสิทธาราม)
    และพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระญาณสังวร”
    ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของ
    สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนนาท
    และ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

    สมัยดำรงพระราชอิสริยยศเป็น
    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
    เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ ๓
    สมัยทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

    และเป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ ๔
    สมัยทรงผนวชเป็นสามเณร

    ถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่
    “สมเด็จพระญาณสังวร” และกล่าวกันว่าท่านนั่งหน้า
    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
    เสมอในงานราชการเพราะมีพรรษายุกาลมากกว่า

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) หรือ “พระสังฆราชไก่เถื่อน”


    ครั้นเมื่อ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์แล้ว
    สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น
    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระองค์ท่านทรงเป็นที่เลื่องลือมากในทางวิปัสสนาคุณ
    โดยเฉพาะทางเมตตาพรหมวิหารคุณ กล่าวกันว่า
    สามารถแผ่เมตตาจนทำให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
    จึงเรียกกันทั่วไปว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”

    ในราชทินนามที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
    ซึ่งพระองค์ท่านได้รับพระราชทานเป็นองค์แรก
    จึงเป็นที่รู้จักและจำกันได้ติดใจของคนทั่วไป

    หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนา
    ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้ว
    สมเด็จพระราชาคณะในราชทินนามนี้
    ก็มิได้พระราชทานแก่พระเถระรูปใดอีกเลย
    นับแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕
    นี่ก็เป็นเวลานานถึง ๑๕๒ ปี


    อนึ่งในวโรกาสที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับสถาปนา
    เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร นี้


    คณะชาวจังหวัดกาญจนบุรี
    โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นประธาน
    ได้พร้อมใจกันจัดงานสมโภชสุพรรณบัฏ
    ในวันที่ ๒๑-๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖
    ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี

    คณะกรรมการจัดงานได้มีมติให้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
    สำหรับเป็นที่ระลึกบูชาของคณะศิษยานุศิษย์
    และผู้เคารพนับถือใน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขึ้น
    จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ (สองหมื่นเหรียญ)

    [​IMG]
    เหรียญสมโภชน์พระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ (ด้านหน้า)



    ลักษณะเป็นเหรียญทองแดงรมดำ ขนาด ๒.๗-๓ ซ.ม.
    ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินสีห์
    ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถพระวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร
    มีจารึกอักษรขอม มีมุม มุมๆ ละหนึ่งตัว
    อ่าน น ชา ลิ ติ เป็นหัวใจคาพระสิวลี หริอพระฉิมพลี

    ใต้รูปพระพุทธชินสีห์มีจารึก

    “สมโภชน์พระสมณศักดิ์สมเด็จพระญาณสังวร ๒๒ เมษายน ๒๕๑๖”

    สำหรับด้านหลังเป็นคำอำนวยพร
    ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับจารึกในเหรียญนี้เป็นพิเศษ
    และมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับประวัติของพระองค์ด้วย ดังนี้

    อิสฺวาสุรตนตฺตยํ

    ขอรัตนสาม คือ อิ (อิติปิโส ภควา, สวา (สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม),
    สุ (สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ)

    รกขตุ ตฺวํ นิรนฺตรํ

    จงรักษาท่านชั่วนิรันดร์

    โหตุ สวฑฺฒโน สาธุ

    จงเป็นผู้เจริญดี เป็นคนดี

    สพฺพตฺถ ญาณสํวโร
    และจงเป็นผู้สำรวมในญาณ (คือ ความรู้) ทุกเมื่อแล


    [​IMG]
    เหรียญสมโภชน์พระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ (ด้านหลัง)



    คำว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งแปลว่า “เจริญดี”
    มาจากนามฉายาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ

    คำว่า “ญาณสํวโร” ซึ่งแปลว่า สำรวมในญาณ
    มาจากราชทินนาม “สมเด็จพระญาณสังวร”
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


    • พ.ศ. ๒๕๑๖

    ในฐานะคณะกรรมการมหาเถรสมาคม
    และรองประธานคณะกรรมการคณะธรรมยุต
    ทรงได้รับฉันทานุมัติจากคณะกรรมการคณะธรรมยุต
    ให้เสด็จไปทรงตรวจการณ์คณะสงฆ์

    และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม ๙ จังหวัด
    คือจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์
    จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด
    จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดขอนแก่น

    • พ.ศ. ๒๕๑๗

    เป็นคณะกรรมการคณะธรรมยุต

    • พ.ศ. ๒๕๑๘

    เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนครูปริยัติธรรม คณะธรรมยุต

    • พ.ศ. ๒๕๑๙

    เป็นกรรมการคณะมูลนิธิสังฆประชานุเคราะห์

    • พ.ศ. ๒๕๒๐

    เป็น ประธานอำนวยการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร
    ในการทรงผนวช และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



    • พ.ศ. ๒๕๒๑

    เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของ
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร
    ในการทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    เป็นพระอาจารย์ถวายการอบรมพระธรรมวินัย
    ขณะที่พระภิกษุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
    เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร
    เสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    ระหว่างวันที่ ๖-๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑

    เป็นรองประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพุทธมณฑลฝ่ายสงฆ์

    • พ.ศ ๒๕๒๒

    เป็นประธานอำนวยการมูลนิธิสิรินธร

    • พ.ศ. ๒๕๒๔

    ในฐานะ กรรมการมหาเถรสมาคม
    และ ประธานกรรมการคณะธรรมยุต
    ทรงได้รับฉันทานุมติจากคณะกรรมการคณะธรรมยุต
    ให้เสด็จไปทรงตรวจการคณะสงฆ์
    และทรงเยี่ยมพุทธศาสนิกชนในภาคเหนือ รวม ๑๐ จังหวัด

    คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง
    จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย
    จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดอุรดิตถ์ และจังหวัดกำแพงเพชร

    • พ.ศ. ๒๕๒๕

    เป็นผู้ถวาย พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถา (วิเศษกถา)
    ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    และถวายตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    [​IMG]
    พระรูปสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    ประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี



    • พ.ศ. ๒๕๒๖

    เป็น ประธานกรรมการมูลนิธิวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์

    • พ.ศ. ๒๕๒๗

    เป็น ประธานกรรมการมูลนิธิพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
    เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา
    เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของคณะสงฆ์

    • พ.ศ. ๒๕๒๘

    เป็น ผู้อ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
    พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ในกระบวนพระราชอิสริยยศ สู่ พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง

    เป็น รองประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์
    ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก

    เป็น สังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก
    ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
    เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    จนสำเร็จทันในการพระราชพิธีฉลองเฉลิมพระชนมพรรษา

    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ


    • พ.ศ. ๒๕๓๐

    เป็น พระประธานกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม
    เป็นประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิสงเคราะห์และฟื้นฟูจิตใจผู้ติดยาเสพติด

    และเป็น พระอุปัชฌาย์ ในวโรกาส
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    พระราชทานพระบรมราชูถัมภ์ในการ หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล
    พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามกุฏราชกุมาร
    ทรงผนวชสามเณร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    เมื่อวันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา

    • พ.ศ. ๒๕๓๑

    รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    รักษาการเจ้าอาวาสวัดญาณสังวราราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี
    ทรงเป็น นายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
    เป็น นายกสภาการศึกษาในมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นี้
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สืบต่อจาก
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)

    สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล
    สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ
    สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง
    วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธะบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
    วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร
    สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสีอรัณยวาสี


    สมเด็จพระสังฆราช เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง
    ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ
    คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญฯ


    พระนาม และคำแปล

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จ พระผู้มีสังวรธรรม (ธรรมเป็นเครื่องระวัง)
    อันประกอบด้วยพระปรีชาญาณ

    บรมนริศธรรมนีติภิบาล
    ทรงเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในการถวายแนะนำพระธรรม
    แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นใหญ่อย่างยิ่งในหมู่นรชน

    อริยวงศาคตญาณวิมล
    ผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
    ด้วยพระญาณอันสืบมาแต่วงศ์ของพระอริยะเจ้า

    สกลมหาสังฆปริณายก
    ทรงเป็นผู้นำพระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวง

    ตรีปิฎกปริยัติธาดา
    เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือพระไตรปิฎก

    วิสุทธจริยาธิสมบัติ
    ทรงถึงพร้อมอย่างยิ่งด้วยพระจริยา (ความประพฤติ) อันบริสุทธิ์วิเศษ

    สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต
    ปรากฏพระนาม (พระฉายา) ในทางพระสงฆ์ว่า สุวัฑฒนะ

    ปาวจนุตตมพิสาร
    ทรงพระปรีชากว้างขวางในพระอุดมปาพจน์
    (คำอันเป็นประธานคือพระธรรมวินัยอันสูงสุด)

    สุขุมธรรมวิธานธำรง
    เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน

    วชิรญาณวงศวิวัฒ
    ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

    พุทธบริษัทคารวสถาน
    ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท

    วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
    ทรงมีพระคุณอันเจริญด้วยพระปฏิภาณอันวิจิตร

    วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร
    ทรงงดงามด้วยพระศีลจารวัตรอันไพบูลย์

    บวรธรรมบพิตร
    ทรงเป็นบพิตร (เป็นเจ้า) ทรงพระธรรมอันประเสริฐ

    สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี
    ทรงเป็นประธานและอธิบดีผู้เป็นใหญ่ เป็นอิสระของคณะสงฆ์ทั้งปวง

    คามวาสีอรัณยวาสี ทั้งคามวาสีและอรัณยวาสี

    สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พระอารามหลวง
    ทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ
    คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนา เทอญฯ


    ผู้แปลความพระสุพรรณบัฏ

    นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙
    นายสุชีพ ปุญญานุภาพ ป.ธ. ๙ ตรวจ
    นายแปลก สนธิรักษ์ ป.ธ. ๙ ตรวจ


    [​IMG]
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระแท่นเศวตฉัตร ๓ ชั้น
    หนึ่งในเครื่องประกอบพระสมณศักดิ์สำคัญที่สมเด็จพระสังฆราช



    พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

    เมื่อการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ
    สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเสร็จสิ้นลงในภาคเช้าแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีสถาปนา
    สมเด็จพระสังฆราช ในภาคบ่ายวันเดียวกัน

    เจ้าพนักงานได้เตรียมการตั้งแต่ง
    และตรวจแต่งเครื่องประกอบ
    พระราชพิธีในพระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพิ่มเติม ดังนี้

    บนธรรมาสน์ศิลาหน้าฐานพระเบญจาบุษบก
    ที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
    ประดับตกแต่งด้วยแจกันดอกบัวขาวแซมด้วยดอกหน้าวัว
    ตั้งโต๊ะสลักลายปิดทอง
    ปูด้วยผ้าขาววางพานพระมหาสังฆ์ทักษิณาวัฏ
    พร้อมด้วยเรื่องยศสมณศักดิ์
    ประกอบด้วยพระสุพรรณบัฏวางบนพานแว่นฟ้า
    กลีบบัวครอบด้วยคลุมปักดิ้นทอง

    ใบกำกับพระสุพรรณบัฏและใบประกาศพระบรมราชโองการ
    สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชวางที่ขอบพานกลับบัว
    พระตราตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช
    วางบนตะลุ่มพุก พัดยศ ไตร แพรวางบนตะลุ่มมุก
    บาตรพร้อมด้วยฝาและเชิงบาตรรมปัด

    เครื่องถมปัดมี พานพระศรี
    ประกอบด้วยมังสี ๒ ตลับพู่ ๑ จอก ๑ ซองพลู ๑ (พร้อมพลู)
    ขันน้ำพานรองมีจอกคลุมตาดรูปฝาชี
    ถาดสรงพระพักตร์ หีบตราพระจักรี (หีบหลังเจียด)
    คณโฑ กาทรงกระบอก หม้อลักจั่น
    ปิ่นทรงกลม ๔ ชั้น สุพรรณราช สุพรรณศรี

    หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่
    พร้อมพระแท่นทรงกราบสำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    และทอดเครื่องนมัสการทองทิศ
    สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ

    แนวผนังพระอุโบสถด้านใต้ ปูพรมที่สีแดงลาดสุหนี่ทับ
    ทอดพระราชอาสน์สำหรับเป็นที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ
    พร้อมด้วยเครื่องราชูปโภค
    มีพานพระขันหมาก พระสุพรรณศรีทองคำลงยา
    พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ พระสุพรรณาราช
    พระแสงปืนและพระแสงง้าวด้ามทอง

    แถวที่สองหลังพระราชอาสน์ทอดพระราชอาสน์
    สำหรับเป็นที่ประทับของ
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
    พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
    พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระเก้าอี้เหลืองตัด)
    สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
    และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

    แถวที่สามชิดผนังพระอุโบสถ
    ตั้งเก้าอี้สำหรับราชเลขาธิการ
    เลขาธิการพระราชวังสมุหราชองครักษ์ และผู้ตามเสด็จฯ

    หลังพระฉากพระทวารด้านทิศใต้
    จัดเก้าอี้เฝ้าฯ เป็น ๓ แถว
    ชิดผนังแถวที่ ๑ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน
    แถวที่ ๒ สำหรับประธานองคมนตรี และคณะองคมตรี
    และแถวที่ ๓ สำหรับนายกรัฐมนตรี
    ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา
    คณะรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพลเรือน

    แนวผนังพระอุโบสถด้านหนือตรงข้ามที่ประทับ
    ตั้งอาสนสงฆ์เก้าอี้ แถวหน้า ๑ ตัว
    แถวหลังยกพื้นบุด้วยผ้าขาวสำหรับพระสงฆ์ ๑๓๖ รูป
    นั่งเจริญชัยมงคลคาถา

    ในแถวอาสนะสงฆ์เก้าอี้
    จัดไว้เป็นที่ประทับสำหรับ สมเด็จพระสังฆราช
    พร้อมด้วยโต๊ะเคียงวางพระศรีพานแก้ว
    ขันน้ำพ้นรองแก้ว และกระโถนไว้พร้อม ๑ ที่
    และสำหรับสมเด็จพระราชาคณะ ๕ รูป
    พระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป
    ต้นอาสนะสงฆ์ติดกับที่ประทับ สมเด็จพระสังฆราช
    ทอดเครื่องยศสมณศักดิ์สำหรับ สมเด็จพระสังฆราช

    คือพระแท่นเศวตฉัตร ๓ ชั้น ตกแต่งด้วยแจกันดอกบัวขาว
    บนพระแท่นตั้งโต๊ะสลักลายปิดทองปูด้วยผ้าเยียรบับ
    และหน้าพระแท่นตั้งโต๊ะเคียง ๒ ตัว ปูด้วยผ้าเยียรบับเช่นกัน
    สำหรับวางเครื่องยศสมณศักดิ์ที่จะได้รับพระราชทาน

    กลางพระอุโบสถ ตั้งอาสนะสงฆ์ยกพื้นปูผ้าขาว
    และบุรอบด้วยผ้าขาวปิดทองแผ่ลวดฉลุลายดอกลอย
    สำหรับเป็นที่นั่งของสมเด็จพระราชาคณะ
    และพระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
    ขณะสดับประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
    แล้วนำพระสงฆ์สวดคาถาสังฆานุโมทนา

    ท้ายอาสนะสงฆ์ ตั้งฆ้องชัย และเป็นที่ยืนของชาวพนักงานประโคม

    ที่ชานหน้าพระอุโบสถตรงกับพระทวารกลาง
    ตั้งเก้าอี้สำหรับบรรพชิตจีนและบรรพชิตญวน
    พร้อมด้วยโต๊ะเคียงปูผ้าขาววางพานเรื่องสักการะ
    ที่จะถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช

    ถัดออกไปทางด้านทิศเหนือและทิศใต้
    และระเบียงพระอุโบสข้างพระทวารด้านทิศใต้
    ตั้งเก้าอี้สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

    ที่มุมระเบียงพระอุโบสถด้านทิศเหนือ
    ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางพานผ้าไตร และตั้งเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์นั่งพัก

    ที่ชานหลังพระอุโบสถ
    ตั้งเก้าอี้สำหรับสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระสงฆ์นั่งพัก


    [​IMG]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]

    ครั้นใกล้ถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน พระบรมวงศานุวงศ์
    นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี พร้อมด้วย องคมนตรี
    พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
    นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา สมาชิกรัฐสภา
    นายจำรัส เขมะจารุ ประธานศาลฎีกา
    ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร พลเรือน
    และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกัน
    ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    ที่ลานนอกกำแพงแก้วพระอุโบสถด้านทิศเหนือ
    มีประชาชนรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
    ข้างทางลาดพระบาทเป็นจำนวนมาก

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๑๕ นาที

    สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
    เสด็จพระราชดำเนินถึงพระอุโบสถประทับ ณ พระเก้าอี้ที่ทอดถวายไว้

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๒๕ นาที

    เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
    อาราธนาสมเด็จพระราชาคณะ ๕ รูป มี

    สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร ป.ธ. ๙)
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธโร ฟื้น พรายภู่ ป.ธ. ๙)
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธมฺมสาโร วิน ทีปานุเคราะห์ ป.ธ. ๙)
    สมเด็จพระวันรัต (ฐิตธมฺฒโม จับ สุนทรมาศ ป.ธ. ๙)
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสโภ อาจ ดวงมาลา ป.ธ. ๘)


    ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช

    สมเด็จพระธีรญาณมุนี (เขมจารี สนิธ ทั่งจันทร ป.ธ. ๙)
    อาพาธมิได้มาร่วมในพระราชพิธี

    และพระราชาคณะที่เป็นคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป มี

    พระพุทธิวงศมุนี (สุวณฺณโชโต สุวรรณ วงศ์เรืองศรี ป.ธ. ๗)
    พระพรหมคุณาภรณ์ (อุปเสโณ เกี่ยว โชคชัย ป.ธ. ๙)
    พระพรหมมุนี (จนฺทปชฺโชโต สนั่น สรรพสาร ป.ธ. ๙)
    พระธรรมวโรดม (ฐานิสฺสร นิยม จันทนินทร์ ป.ธ. ๙)
    พระธรรมปัญญาบดี (วรปุญฺโญ ช่วง สุดประเสริฐ ป.ธ. ๙)
    พระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก ป.ธ. ๖)
    และพระธรรมบัณฑิต (ถาวโร มานิต ก่อบุญ ป.ธ. ๙)


    รวม ๑๓ รูป ขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์เก้าอี้แถวหน้าพระสงฆ์ราชาคณะ

    นอกนั้นขึ้นนั่งยังอาสนสงฆ์ยกพื้นแถวหลังโดยลำดับ

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ พระบรมราชินีนาถ
    เสด็จพระราชดำเนินพร้อม
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฏราชกุมาร
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
    พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
    และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

    โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
    ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี
    ทหารกองรักษาการแต่งเต็มยศถวายความเคารพ

    อนึ่งในวันนั้น
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    ทรงฉลองพระองค์จักรีเต็มยศ
    ทรงสายสะพายราชอิสริยาภรณ์
    อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
    สายสร้อยจักรี ประดับดาราราชอิสริยาภรณ์

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๕ นาที

    รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวังรับเสด็จ
    ตำรวจหลวง ๔ นาย นำเสด็จผ่านเถวทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
    รับเสด็จและแซงเสด็จ

    เสด็จพระราชดำเนินไปตามทางลาดพระบาทเข้าสู่พระอุโบสถ
    ทรงจุดธุปเทียนท้ายที่นั่งบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
    พระสังฆพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว
    เสด็จไปที่อาสนสงฆ์ ทรงประเคนผ้าไตรแด่สมเด็จพระราชคณะ ๕ รูป

    ส่วนพระราชาคณะที่เป็นคณะกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป
    เดินเข้าไปรับพระราชทาน
    จากนั้นทรงรับถวายการเคารพของผู้มาเฝ้าฯ
    แล้วประทับพระราชอาสน์

    สมเด็จพระราชาคณะลงจากอาสนะสงฆ์ไปครองผ้าที่ในพระฉากหลัง
    พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ส่วนพระราชาคณะกรรมการมหาเถรสมาคม
    ออกจากพระอุโบสถไปครองผ้าที่พระระเบียงข้างพระอุโบสถ
    เมื่อครองเสร็จแล้วเข้าไปนั่งยังอาสนะสงฆ์ที่เดิม

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๕๐ นาที

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
    สยามินทราธิราช บรมนาถบบพิตร
    เสด็จไปทรงจุดธุปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่

    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ
    ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศ
    บูชาพระรัตนตรัยที่หน้าธรรมาสน์ศิลา
    ทรงกราบแล้วประทับพระราชอาสน์

    เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถมภ์ กรมการศาสนา
    นิมนต์สมเด็จพระราชาคณะะทั้ง ๕ รูป
    พระราชาคณะที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ๘ รูป รวม ๑๓ รูป
    ไปนั่งยังแท่นอาสนสงฆ์กลางพระอุโบสถ
    หันหน้าสู่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    โดยนั่งเรียงเป็น ๓ แถว คือ

    แถวแรก (จากขวาไปซ้าย)

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุฒาจารย์

    แถวที่ ๒ (จากขวาไปซ้าย)

    พระพุทธพจนวราภรณ์ พระพุทธิวงศมุนี
    พระพรหมคุณาภรณ์ พระพรหมมุนี

    แถวที่ ๓ (จากขวาไปซ้าย)

    พระธรรมวโรดม พระธรรมปัญญาบดี พระธรรมดิลก พระธรรมบัณฑิต

    • เวลา ๑๖ นาฬิกา ๕๖ นาที

    เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล
    สมเด็จพระญาณสังวรถวายศีล ทรงศีล จบแล้ว

    • เวลา ๑๗ นาฬิกา

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอาลักษณ์
    กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรฐมนตรี
    อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
    ผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ที่นั้น
    ยืนขึ้นเคารพพระบรมราชโองการพร้อมกัน

    นายสุรินทร์ ศรีวิทยา ผู้อำนายการกองประกาศิต
    ถวายคำนับแล้วออกไปยืนที่หน้าไมไครโฟน
    ซึ่งตั้งไว้ที่มุมช่องว่างด้าน
    พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ถวายคำนับอีกครั้งหนึ่ง
    แล้วอ่านประกาศพระบรมราชโองการ ดังนี้


    [​IMG]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่



    ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

    ประกาศ พระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร


    มีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า

    โดยที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกว่างลง
    สมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะขึ้น
    ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเพื่อจักได้บริหารการพระศาสนา
    ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕
    และตามระเบียบพระราชประเพณีให้สมบูรณ์สืบไป

    และโดยที่ได้ทรงสดับคำกราบบังคมทูลของคณะรัฐบาลกับ
    ทั้งสังฆทัศนะ ในมหาเถรสมาคมเป็นเอกฉันทมติ

    จึงทรงพระราชดำริว่า

    สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นพระมหาเถระ
    เจริญในสมณคุณเนกขัมมปฏิบัติ
    สมบูรณ์ด้วยศีลสมาจารวัตร
    รัตตัญญูมหาเถรกรณธรรม
    ดำรงสถาพรอยู่ในสมณพรหมจรรย์ตลอดมาเป็นเวลาช้านาน
    ได้ประกอบกรณียกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์ไพศาลแก่พุทธจักร และอาณาจักร

    ดังมีอรรถจริยาปรากฏเกียรติสมภารตามความพิสดาร
    ในประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะมหาสังฆนายก
    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ นั้นแล้ว

    ครั้นต่อมา สมเด็จพระญาณสังวรฯ ยิ่งเจริญด้วยอุตสาหะวิริยาธิคุณ
    สมารถรับภารธุระพระพุทธศาสนา เป็นพาหุลกิจนิตยสมาทานมิได้ท้อถอย
    ยังการพระศาสนาให้เรียบร้อย และเจริญยิ่งขึ้นเป็นลำดับมา

    ในการปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๕๐๕
    สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมมาแต่เริ่มแรก
    เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

    ฝ่ายธรรมยุตเป็นคณะกรรมการคณะธรรมยุต และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    ในการปริยัติศึกษาเป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรศาสนศึกษาของคณะสงฆ์
    เป็นนายกกรรมการและนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
    เป็นผู้อำนวยการครูพระปริยัติธรรม คณะธรรมยุต

    ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ

    ได้เป็นประธานดำเนินการ และประธานกรรมการอุปถัมภ์
    ในการสร้างวัดและพระอุโบสถในต่างประเทศหลายแห่ง

    คือ วัดพุทธรังสี ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
    วัดจากาตาร์ธรรมจักรชัย ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
    วัดแคโรไลนาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
    อุโบสถวัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร ณ เมืองกีรติปูร นครกาฏมัณฑุ ประเทศเนปาล

    ได้ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
    สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินเดีย เนปาล หลายวาระ

    เป็นประธานสงฆ์จากประเทศไทยไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมา
    อุโบสถวัดจาการ์ตา วัดธรรมจักรชัย
    ซึ่งเป็นการผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ
    เป็นครั้งแรกของวัดพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศนั้น

    บรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซีย ณ เมืองสมารัง
    ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย
    ไปบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เนปาล
    ไปร่วมประชุมสหพันธ์อาศรมคีตาสากล ในฐานะแขกพิเศษ ณ ประเทศอินเดีย

    ด้านการแสดงและเผยแผ่ธรรม

    แสดงธรรมเป็นประจำในวันธรรมสวณะและวันอาทิตย์
    ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    บรรยายธรรมในการฝึกอบรมในการฝึกปฏิบัติการทางจิต
    ทุกวันพระ และวันหลังวันพระ ณ ตึกสว. ธรรมนิเวศ
    บรรยายธรรมในรายการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่
    ทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต เป็นประจำทุกวันอาทิตย์
    บรรยายธรรมแก่ชาวต่างประเทศในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์

    นอกจากนั้นยังเรียบเรียงหนังสือ
    ทั้งที่เป็นตำราประกอบการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอีกเป็นอันมาก
    เช่นเรื่องหลักพระพุทธศาสนา แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน
    สัมมาทิฏฐิ โสฬสปัญหาธรรมบรรยาย พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
    ตำนานวัดบวรนิเวศวิหารเล่ม ๒ เป็นต้น

    ทั้งยังให้ริเริ่มแปลหนังสืออธิบายธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ
    เพื่อเป็นการเผยแผ่และเป็นคู่มือการศึกษา
    พระพุทธศาสนาสำหรับชาวต่างประเทศอีกทางหนึ่ง

    ในด้านสาธารณูปการ

    ได้เป็นประธานกรรมการอุปการะฝ่ายบรรพชิต
    ในการก่อสร้างตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    ได้ร่วมกับสภากาชาดไทยสร้างตึกวชิรญาณวงศ์
    และตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร เป็นตึกสงฆ์
    และให้ประโยชน์ทางการแพทย์

    ในการพระอารามนั้นก็ได้เอาใจใส่ควบคุมดูแล
    ระวังรักษาและบูรณะปฏิสังขรณ์ ปูชนียวัตถุสถาน
    ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งทรุดโทรมเสียหาย
    ทั้งในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส
    ให้ดำรงคงสภาพที่มั่นคงถาวร และเรียบร้อยงดงาม

    ทั้งได้สร้างอาคารขึ้นใหม่อีกหลายหลัง อาทิ ตึก สว. ธรรมนิเวศ
    ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    นับว่า สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นผู้มีปรีชาสามารถอย่างยิ่ง
    ในการปกครองทะนุบำรุงพระอารามหลวง
    ที่มีความสำคัญให้เจริญรุ่งเรืองสมพระราชประสงค์

    สมเด็จพระญาณสังวรฯ ยังได้เป็นประธานอุปถัมภ์
    การสร้างวัดในต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง
    เช่น วัดรัชดาภิเษก วัดพุมุด จังหวัดกาญจนบุรี,
    วัดวังพุไทร จังหวัดเพชรบุรี, วัดล้านนาสังวราราม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

    ที่สำคัญได้เป็นประธานสร้างวัดญาณสังวราราม
    ณ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
    ในเนื้อที่ ๓๖๖ ไร่ ให้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระภิกษุสามเณร
    และเป็นประโยชน์เกื้อกูลการพัฒนาอาชีพของประชาชนในถิ่นนั้น

    อุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระอดีตมหาราชผู้ทรงกอบกู้ชาติไทย
    และสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์
    ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    และสมเด็จพระบรมราชโอรสธิดาทุกพระองค์
    ไปทรงเป็นประธานในพิธีผูกพัทธสีมาในพระอุโบสถ
    เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...