พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา



    สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”

    แต่โบราณมา ตำแหน่งพระประมุขแห่งสังฆมณฑลที่เรียกว่า
    สมเด็จพระสังฆราชนั้น ไม่เคยมีเจ้านายพระองค์ใดที่ทรงผนวชอยู่
    ได้รับสถาปนาในตำแหน่งนี้ กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
    วัดพระเชตุพน ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระองค์แรก

    มาในรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายมหาสมณณุตมาภิเษก
    แด่ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช
    แต่เจ้านายที่ได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษกทั้ง ๒ พระองค์ ในครั้งนั้น
    ไม่ได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช
    แต่เรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศในฝ่ายพระบรมราชวงศ์
    คือสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

    มาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายมหาสมณุตมาภิเษก
    แด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
    ก็ยังคงเรียกพระนามไปตามธรรมเนียมเดิมมิได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราชเช่นกัน

    [​IMG]
    ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ


    ครั้น พ.ศ. ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
    และทรงดำรงในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมาครบ ๑๐ ปี
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริว่า

    “พระมหาสังฆปริณายกประธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร
    ซึ่งมีสมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณนั้น ได้มีนามอย่างสังเขปว่า
    สมเด็จพระสังฆราชเป็นประเพณีสืบมา
    แต่ส่วนพระบรมบรมราชวงศ์ผู้ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกดำรงสมณศักดิ์เช่นนี้
    หาได้เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่
    ย่อมเรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์
    ไม่ปรากฏพระเกียรติยศยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (มีสร้อยพระนามคงตามเดิม)
    เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสืบไปชั่วกาลนาน”


    เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์ปัจจุบันขึ้นแล้ว
    ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    ซึ่งทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกในรัชกาลที่ ๔
    และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ซึ่งทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ เป็น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เช่นเดียวกันในคราวนี้ด้วย

    พระนาม “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”
    จึงเกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ โดยทรงสถาปนา
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระองค์แรก

    [​IMG]
    พระรูปสุดท้ายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ


    ผลงานพระนิพนธ์

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงรอบรู้ภาษาต่างๆ หลายภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
    ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก
    เช่น หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก ทั้งหมดหลักสูตรบาลีไวยากรณ์ทั้งชุด
    รวมพระราชนิพนธ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาบาลี มีจำนวนกว่า ๒๐๐ เรื่อง

    นอกจากนี้ยังทรงชำระคัมภีร์บาลีไว้อีกกว่า ๒๐ คัมภีร์
    บทพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ ของพระองค์
    ไม่ว่าเป็นเรื่องคดีธรรม หรือคดีโลก ล้วนเป็นเรื่องที่ทันสมัย
    โดยเฉพาะบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระองค์นั้น
    กล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของการอธิบาย
    หรือตีความพระพุทธศาสนาแนววิเคราะห์
    เท่ากับพระองค์ทรงเป็นผู้วางแนวในการศึกษาพระพุทธศาสนาในสมัยใหม่
    แก่วงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
    ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเริ่มยุคใหม่อีกยุคหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

    [​IMG]
    ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร


    ทรงเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ของไทย

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจกล่าวได้ว่า
    เป็นยุคที่พระสงฆ์มีบทบาททางการศึกษาของชาติมากที่สุด
    และผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นเป็นผู้นำทางการศึกษาอยู่ในขณะนั้น
    ก็คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เริ่มแต่ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
    สำหรับเป็นสถานศึกษาวิทยาการทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม
    สำหรับภิกษุสามเณรและกุลบุตร ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

    และจากความสำเร็จในการจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยนั่นเอง
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระราชฤทัย
    มอบหมายให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงรับภาระอำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑
    ซึ่งเป็นการมอบหมายภาระในการวางรากฐานการศึกษาขั้นประถมศึกษาของชาติ
    ให้พระองค์ทรงดำเนินการ

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ได้ทรงจัดการศึกษาขั้นประถมศึกษา
    อันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติได้เป็นผลสำเร็จภายในเวลา ๕ ปี
    แม้ว่าจะเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง
    แต่ก็กล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดการศึกษาขั้นประถมศึกษาของไทย

    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ประดิษฐาน ณ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร



    นอกจากจะทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว
    ยังทรงพระดำริที่จะพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
    โดยทรงพระดำริที่จะพัฒนาโรงเรียนภาษาไทยของมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ที่วัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นโรงเรียนราษฎร์แบบอยู่ประจำ เพื่อเป็นตัวอย่าง
    เป็นการช่วยรัฐบาล แต่พระดำรินี้ไม่สามารถดำเนินไปได้ตลอด
    เพราะขาดงบประมาณดำเนินการเพราะขาดงบประมาณดำเนินการ

    ในด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ที่เรียกว่า การศึกษาปริยัติธรรมนั้น
    ก็ทรงมีแนวพระดำริว่าภิกษุสามเณร
    ควรจะมีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมเพราะ

    “รู้ทางโลกก็เป็นสำคัญอุดหนุนรู้ทางธรรมให้มั่นให้กว้าง
    พระศาสดาของเราก็ได้ความรู้ทางโลกเป็นกำลังช่วย
    จึงประกาศพระพุทธศาสนาด้วยดี”


    การที่ทรงจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นในครั้งนั้น
    ก็เพื่อจัดการศึกษาแก่ภิกษุสามเณรในแนวนี้ ซึ้งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
    นอกจากนี้ การจัดการศึกษาแบบใหม่ของมหามกุฎราชวิทยาลัยนั้น

    “ก็เพื่อจะลองหาทางแก้ไขการเรียนพระปริยัติธรรมให้ดีขึ้น
    คือ ให้ผู้เรียนรู้ได้เร็วไม่เปลืองเวลา ไม่พักลำบาก รู้ได้ดี”


    [​IMG]
    [​IMG]
    พระแท่นที่บรรทมสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



    กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงหาวิธีการที่จะทำให้ภิกษุสามเณรใช้เวลาเรียนแต่น้อย
    แต่ได้ความรู้ดีตามต้องการ
    แม้ว่าการจัดการศึกษาแบบ มหามกุฎราชวิทยาลัย จำต้องเลิกไปในเวลาต่อมา
    แต่แนวพระดำริของพระองค์ดังกล่าว
    ก็ได้เป็นรากฐานให้แก่การจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์
    ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ในเวลาต่อมา

    เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงมีวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาที่แหลมคมและกว้างไกล
    ทรงมีแนวพระราชดำริที่ล้ำยุคและล้ำหน้ากว่าใครๆ ในยุคเดียวกัน
    จึงกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย


    พระกรณียกิจพิเศษ

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ของพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์
    คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
    และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
    นอกจากนี้ ก็ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ อีกหลายพระองค์

    [​IMG]
    พระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง
    ในการถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ



    พระอวสานกาล

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงประชวรวัณโรค มีพระอาการเรื้อรังมาเป็นเวลานาน
    กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ทรงเจริญมายุครบ ๖๐ พรรษา
    อาการประชวรกำเริบมากขึ้น
    จึงเสด็จโดยทางเรือไปรักษาพระองค์ทางชายทะเลจนถึงจังหวัดสงขลา
    พระอาการยิ่งทรุดหนักลง ประจักษ์แก่พระหฤทัยว่ากาลที่สุดใกล้จะถึง
    จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔

    ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
    เวลา ๔ นาฬิกา ๓๕ นาทีก่อนเที่ยง (๑๐.๓๕ นาฬิกา) ก็สิ้นพระชนม์
    สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ๓ เดือน กับ ๒๑ วัน
    ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๓๐ ปี
    ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๐ ปี กับ ๗ เดือน ๒๘ วัน
    ครั้นเมื่อถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

    [​IMG]
    พระโกศพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ประดิษฐานในท้องพระโรงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    อาคารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (หลังเก่า)


    ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปฏิบัติภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต
    งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
    และงานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
    โดยเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้น
    ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

    โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
    ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น
    ครั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย
    พระองค์ทรงรับมหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
    และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงประจำปี
    อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าวแล้วนั้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    จึงทรงตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการของ มหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ๓ ประการ คือ

    ๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร
    ๒. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ
    ๓. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

    เมื่อกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการแล้ว
    ปรากฏว่าพระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจตลอดมา
    เพื่อจะให้พระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ผลดียิ่งขึ้น

    ดังนั้น ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ในฐานะที่ทรงเป็นนายกกรรมการ มหามกุฏราชวิทยาลัยพร้อมด้วยพระเถระนุเถระ
    จึงได้ทรงประกาศตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น
    โดยอาศัยนามว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

    ๑. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม
    ๒. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
    ๓. เพื่อให้เป็นสถานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
    ๔. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้และความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
    ๕. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ และความสามารถในการค้นคว้า
    โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมได้อย่างกว้างขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    ๖. เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา
    และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย
    ๗. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา

    [​IMG]
    ทรงฉายร่วมกับพระเถระกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๓๖


    ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า
    “กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย”
    สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ได้เริ่มเปิดให้การอบรมศึกษาแก่ภิกษุสามเณร
    ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน

    เหตุผลที่ทำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    ทรงพระดำริจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ นั้น
    ปรากฏในรายงานประจำปีของมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่า

    พระเถรานุเถระทั้งหลาย มีความประสงค์ในการจัดตั้งวิทยาลัย
    เป็นที่ฝึกสอนพระปริยัติธรรมแลอักขร
    สมัยของภิกษุสามเณรแลศิษย์วัดนั้น
    ด้วยเห็นว่าธรรมเนียมในประเทศนี้
    วัดทั้งหลายเป็นโรงเรียนที่ศึกษาวิชาความรู้ของราษฎรพลเมือง
    ตั้งต้นแต่เรียนอักขระฝึกกิริยามารยาทตลอดจนถึงเรียนพระปริยัติธรรม
    บรรดาราษฎรมีบุตรหลานก็นำเข้ามาฝากเป็นศิษย์วัด
    ให้เรียนวิชาความรู้ จนถึงเติบใหญ่อุปสมบทเป็นภิกษุ
    บางพวกก็ได้อยู่ไปจนเป็นคณาจารย์ปกครองกันต่อๆ ไป
    บางพวกอยู่สมควรแก่ศรัทธาแล้ว
    ก็ลาสิกขาบทสึกไปประกอบการหาเลี้ยงชีพของตนในทางฆราวาส
    มีธรรมเนียมเป็นพื้นเมืองมาดังนี้

    วิธีการปกครองของวัดนั้น ไม่ได้จัดเป็นชั้นตามสถานที่ว่า
    สถานที่นั้นสอนชั้นสูง สถานที่นั้นสอนชั้นต่ำ
    ดูท่วงทีเหมือนในวัดหนึ่งจะมีทั้งชั้นสูงชั้นต่ำ
    คือราษฎรนำบุตรหลานเข้ามาฝากภิกษุสามเณร
    ให้เรียนอักขระแลฝึกกริยามารยาทเป็นต้น
    การฝึกสอนชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นต่ำ การฝึกสอนภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนมคธภาษาก็ดี
    ให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมก็ดี การศึกษาชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นสูง
    แต่การหาดำเนินไปโดยเรียบร้อยดังวิธีที่ จัดไม่ เพราะข้อขัดขวางดังต่อไปนี้

    ราษฎรผู้จะนำบุตรหลานมาฝากต่อภิกษุสามเณร
    ในวัดนั้นๆ ก็ฝากในสำนักที่ตนรู้จักคุ้นเคย
    ภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์นั้น บางรูปก็มีความรู้มาก บางรูปก็มีความรู้น้อย
    ทั้งไม่มีหลักสูตรแห่งการเล่าเรียนว่าถึงไหนจัดเป็นใช้ได้
    ความรู้ของศิษย์จึงไม่เสมอกัน
    ตั้งแต่กรมศึกษาธิการจัดหลักสูตรสำหรับสอนความรู้ขึ้นแล้ว
    การเล่าเรียนจึงมีกำหนด แต่เพราะความรู้ของภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์ไม่เสมอกัน
    ทั้งความนิยมของเด็กผู้เล่าเรียนก็ดี ของผู้ใหญ่ของเด็กก็ดี
    เป็นแต่เพียงอ่านได้เขียนได้เท่านั้นก็พอประสงค์
    ความรู้ของนักเรียนที่ออกจากวัดจึงยังจัดว่าถึงกำหนดแท้ไม่ได้

    ส่วนการเล่าเรียนมคธภาษานั้นแต่เดิมไม่บังคับ แล้วแต่ใครสมัครจะเรียน
    ในทุกวันนี้ความนิยมในการเล่าเรียนมคธภาษาน้อยลง
    ด้วยผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุสามเณรจะหาผู้ที่มีศรัทธาแท้เป็นอันยาก
    ทั้งพื้นเดิมก็เป็นคนขัดสน
    ต้องการแต่ความรู้ที่จะให้ผลเป็นเครื่องเลี้ยงชีพได้โดยประจักษ์ตา
    ไม่ต้องการความรู้ที่เป็นอาภรณ์ของบุรุษ หรือความรู้ที่เป็นเครื่องเจริญผล
    โดยเพิ่มสติปัญญาสามารถ แลวิธีฝึกสอนเด็กก็เป็นการเนิ่นช้า

    หากจะมีผู้อุตสาหะเรียนบ้าง จะหาอาจารย์ผู้บอกให้รู้จริงเห็นจริงก็ได้ยาก
    ทั้งผู้เรียนจะชำนาญในภาษาของตนมาก่อนก็ได้โดยยาก
    หลักสูตรก็มากชั้น แลการสอบความรู้ก็ห่าง

    ต่อล่วงหลายปีจึงสอบครั้งหนึ่ง ด้วยอาศัยเหตุเหล่านี้
    จึงมีอาจารย์สอนให้รู้จริงเห็นจริงได้น้อยตัว
    เรียนไม่ทันรู้ละทิ้งไปเสียก็มี บางทีเรียนรู้พอจะสอบความรู้ได้
    อยู่ไม่ถึงกาลสอบก็มี เข้าสอบจนเป็นบาเรียนแล้วก็มี
    แต่จะหาผู้สอบได้จนจบหลักสูตรได้น้อยถึงนับตัวถ้วน
    เพราะหลักสูตรที่ตั้งไว้มากเกิน เมื่อความเล่าเรียนเสื่อมทรามไป

    ผู้เป็นบาเรียนเพียง ๔ ประโยค ๕ ประโยค
    ก็กว้างขวางมีผู้นับหน้าถือตาแสวงหาลาภผลเลี้ยงตัว พอตั้งตัวได้แล้ว
    ก็ไม่คิดที่จะเป็นนักเรียนต่อไป บางรูปก็รับตำแหน่งพระราชาคณะปกครองหมู่คณะเสีย
    ในระหว่างยังไม่ทันได้แปลจบหลักสูตร
    อาศัยเหตุนี้ การเรียนมคธภาษาจึงไม่เจริญทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้

    ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมนั้นเป็น ๒ ชั้น คือชั้นต่ำ ๑ ชั้นสูง ๑
    การให้โอวาทสั่งสอน แลให้ศึกษาในตำรับภาษาไทยจัดเป็นชั้นต่ำ
    สำหรับภิกษุสามเณรบวชใหม่ ตลอดไปจนถึงผู้ไม่ได้เรียนมคธภาษา

    การอ่านการทรงภาษาบาลีไตรปิฎกจัดเป็นชั้นสูง สำหรับผู้รู้ภาษามคธ
    การฝึกสอนชั้นต่ำไม่เจริญได้ เพราะผู้ที่เข้ามาบวชไม่ชำนาญในภาษาของตนทั่วทุกคน
    ฟังคำสอนก็จำไม่ได้ อ่านหนังสือก็ไม่ค่อยเข้าใจ แลการฝึกสอนชั้นสูงไม่เจริญได้
    โดยเหตุที่หลักสูตรสำหรับมคธภาษาเป็นอย่างหนึ่ง
    พระปริยัติธรรมที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นอย่างหนึ่ง
    ผู้เล่าเรียนๆ มคธภาษาสอบความรู้ได้แล้ว
    ยังต้องวกมาดูบาลีไตรปิฎกอีกเป็นสองซ้ำอยู่
    จะหาผู้สมัครเรียนแต่ภาษามคธก็ได้โดยยากแล้ว
    จะหาผู้รู้ภาษามคธแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป
    ก็ต้องได้โดยยากเป็นธรรมดา

    ถ้าจะคิดบำรุงวิทยาความรู้ให้สมควรกับประเพณี
    ที่เป็นมาแต่เดิมแลให้เจริญทันเวลา
    จำเป็นที่จะต้องคิดจัดการแก้ไขตามสมควรแก่เวลา

    ในการศึกษาของศิษย์วัด จะต้องจัดให้เด็กมีที่เรียนได้ตลอดหลักสูตรของ
    กรมศึกษาธิการทั่วทุกคน แลจะต้องฝึกฝนให้ประพฤติกิริยามารยาทให้เรียบร้อย

    การเรียนมคธภาษาจะต้องจัดหลักสูตรให้น้อยชั้นลง
    แต่ย่นความรู้ให้จุลงในชั้นนั้นๆ ให้เป็นคลองเดียวกัน
    กับการเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงด้วย
    ต้องบังคับบรรดาภิกษุสามเณรที่มีอายุควรแก่การเล่าเรียน
    ให้เล่าเรียนถ้วนทั่วทุกรูป คิดแก้ไขวิธีสอนให้เรียนง่ายขึ้นให้รู้ได้จริง
    ให้จบหลักสูตรได้ก่อนที่นักเรียนจะเป็นคนกว้างขวางจนตั้งตัวได้
    จะต้องจัดการสอบความรู้ทุกปี
    เปลี่ยนแปลงวิธีสอบให้เป็นไปโดยสะดวก
    มีใช้เขียนแทนแปลด้วยปากเป็นต้น

    การฝึกสอนพระปริยัติธรรมทั้งสองชั้น
    เมื่อการฝึกสอนภาษาไทยแลมคธภาษาเจริญแล้ว ก็คงเจริญตามกัน
    เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ
    ให้ตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นไว้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ในคณะธรรมยุติกนิกาย
    พระเถรานุเถระทั้งหลายได้ช่องอันดี จึงได้จัดการเปลี่ยนแปลง
    วิธีเล่าเรียนในคณะตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ จนถึงบัดนี้
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร



    ในการจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    ได้ทรงวางวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการ คือ

    ๑. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ธรรมยุกติกนิกาย
    ๒. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาวิทยา ซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตร
    ๓. เพื่อเป็นสถานที่จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนา


    และพระองค์ได้ทรงอธิบายขยายความของวัตถุประสงค์ทั้ง ๓ ประการไว้ดังนี้

    ๑. การเล่าเรียนของภิกษุสามเณรนั้นประเพณีเดิมเคยเรียนมูลปกรณ์ก่อน
    แล้วจึงเรียนอรรถกถาธรรมบท มังคลัตถทีปนี สารัตถสังคหเป็นต้น
    ถึงกำหนด ๓ ปี มีการสอบปริยัติธรรม ครั้งหนึ่ง บางคราวถ้าขัดข้องก็เลื่อนออกไป
    ถึง ๖ ปีครั้งหนึ่ง หนังสือสำหรับสอบนั้นมี ๒ อย่าง
    สำหรับฝ่ายไทยอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายรามัญอย่าง ๑

    สำหรับฝ่ายไทยนั้นจัดเป็น ๙ ชั้น
    อรรถกถาธรรมบทแบ่งเป็น ๓ ชั้น

    คือ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ มังคลัตถทีปนีบั้นต้นชั้นที่ ๔
    สารัตถสังคหชั้นที่ ๕ สารัตถทีปนีฏีกาพระวินัยชั้นที่ ๙
    ภิกษุสามเณรผู้จะสอบความรู้ จับประโยคแล้ว
    รับหนังสือตามประโยคมาดูเสร็จแล้ว
    เข้าไปแปลในที่ประชุมพระราชาคณะด้วยปาก ตามเวลาที่กำหนดให้
    ถ้าแปลได้ตลอดประโยคในเวลาที่กำหนดไว้นั้น
    จัดเป็นได้ ถ้าครบกำหนดเวลาแล้วยังแปลไม่ตลอดประโยค จัดเป็นตก

    ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็น “เปรียญ”
    แม้สอบชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ได้แล้ว ถ้าตกชั้นที่ ๓ ก็นับว่าตก
    ถึงคราวหน้าจะเข้าแปลใหม่ต้องแปลตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ขึ้นไปอีก
    ฝ่ายรามัญนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น บาลีมหาวิภังค์ คืออาทิกัณฑ์
    หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก

    เป็นชั้นที่ ๑ บาลีมหาวิภังค์หรือจุลลวัคค์
    อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก
    เป็นชั้นที่ ๒ บาลีมุตตกวินัยวินิจฉัย
    เป็นชั้นที่ ๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
    เป็นชั้นที่ ๔ แปลเป็นภาษารามัญ แต่ต้องบอกสัมพันธ์ด้วย


    ถ้าแปลได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็น “เปรียญ”
    เปรียญเหล่านี้ถ้ายังไม่ได้แปลถึงชั้นที่สุด
    หรือยังไม่ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ
    แม้ถึงจะมีพรรษายุกาลมากก็ยังนับว่ามีหน้าที่จะต้องแปลชั้นสูงขึ้นไปอีก
    ต่อเมื่อใดแปลถึงชั้นที่สุดแล้วก็ดี ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ
    ในระหว่างนั้นก็ดี จึงนับว่าสิ้นเขตที่จะแปลหนังสืออีก

    ภิกษุสามเณรผู้เริ่มเรียน กว่าจะเรียนจบมูลปกรณ์ก็ช้านาน
    มักเป็นที่ระอาเบื่อหน่ายแล้วละทิ้งเสีย แม้ถึงเรียนตลอดบ้างก็ไม่เข้าใจตลอดไปได้
    เพราะธรรมดาคนเรียนใหม่ ไม่อาจเข้าใจฉบับเรียนที่พิสดารให้ตลอดไปได้
    จะกำหนดจำได้แต่เพียงพอแก่สติปัญญา
    เหมือนเด็กน้อยที่ผู้ใหญ่ป้อนอาหารคำโตกว่าปากขึ้นไป
    รับบริโภคได้พอประมาณปากของตน

    ฉะนั้น ท่านผู้ชำนาญในวิธีสอนบางท่านจึงได้คิดแต่งวิธีสอนผู้เริ่มเรียนใหม่
    เรียกชื่อว่าบทมาลา ย่อบ้าง พิสดารบ้าง ตามความประสงค์ของท่าน
    สำหรับสอนแทนมูลปกรณ์ เพื่อจะให้เวลาเรียนเร็วขึ้น

    ส่วนการเรียนนั้น สถานที่หนึ่งก็มีครูคนหนึ่งสอนนักเรียนทุกชั้นไม่ได้ปันเป็นแผนก
    จึงหาครูที่มีความรู้พอจะสอนได้ตลอดเป็นอันยาก
    ทั้งเป็นที่ลำบากของครูผู้สอนจะสอนนั้นด้วย
    ส่วนกำหนดเวลาสอบความรู้ ๓ ปีครั้งหนึ่ง หรือ ๖ ปีครั้งหนึ่งนั้น
    เป็นการนาน ผู้ที่เรียนมีความรู้พอจะสอบได้
    แต่ยังไม่ถึงสมัยที่จะสอบ หรือผู้ที่สอบตกแล้ว
    มักสิ้นหวังที่จะรอคอยคราวสอบครั้งหน้า
    แลนักเรียนคนหนึ่งสอบคราวหนึ่งก็ได้ไม่กี่ชั้นนัก
    จึงไม่ใคร่จะมีเปรียญประโยคสูง จะหาครูที่สอนหนังสือชั้นสูงๆ
    ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้สอบชั้นสูงได้บ้าง
    ก็คงต้องรับตำแหน่งยศพระราชาคณะเสียในระหว่างยังไม่ทันสอบชั้นสูง
    ด้วยเหตุจำเป็น มีจะต้องเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้น

    เมื่อเป็นฉะนี้ ก็ไม่ค่อยมีนักเรียนที่สอบได้ถึงชั้นที่สุดตามแบบที่ตั้งไว้
    ส่วนการแปลด้วยปากนั้น สอบวันหนึ่งไม่ได้กี่รูป
    กว่าจะจบการสอบคราวหนึ่งถึง ๓ เดือน
    เมื่อเป็นเช่นนี้ จะกำหนดการสอบให้เร็วเข้ามาก็ไม่ได้อยู่เอง
    แลเปรียญที่สอบความรู้ได้ถึงชั้นนั้นๆ แล้ว
    ก็มีความรู้พออ่านหนังสือเข้าใจได้เท่านั้น
    ผู้สอบยังทราบไม่ได้ว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัย
    สมควรจะปกครองหมู่คณะแล้วหรือไม่
    อาศัยเหตุผลที่กล่าวมานี้ การเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณร
    จึงนับว่าเจริญดีแล้วยังไม่ได้

    เพื่อจะคิดแก้ไขให้การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษะสามเณร
    เจริญดีขึ้นทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้
    วิทยาลัยจึงได้จัดวิธีสอนแลสอบความรู้ดังนี้ ในเบื้องต้น
    ให้เรียนบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือชนิดเดียวกับบทมาลา แล้วจึงขึ้นคัมภีร์ต่อไป
    แบบที่สำหรับสอบความรู้นั้น บาลีไวยากรณ์เป็นชั้นนักเรียนที่ ๓
    อรรถกถาธรรมบท ความนิทาน เป็นชั้นนักเรียนที่ ๒
    แก้กถาธรรมบทบั้นปลาย เป็นนักเรียนชั้นที่ ๑

    แก้กถาธรรมบทบั้นต้น เป็นชั้นเปรียญที่ ๓
    (ต่อไปถ้ามีกำลังจะพิมพ์มังคลัตถทีปนีได้ จะใช้เป็นแบบสำหรับสอบชั้นเปรียญที่ ๓)
    พระบาลีพระวินัยมหาวัคค์และจุลลวังคค์ กับบาลีพระอภิธรรมบางเล่ม
    เป็นชั้นเปรียญที่ ๑ กำหนดสอบไล่ทุกปี วิธีสอบไล่นั้นใช้เขียน
    แต่ยอมให้ผิดได้ไม่เกินกำหนด ถ้าได้ชั้นไหนแล้วก็เป็นอันได้
    วิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้สอบไล่ได้โดยวิธีที่จัดนี้ เป็นส่วนพิเศษ

    ๒. การที่ประชุมชนจะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนมีอยู่ ๓ ทาง
    คือ ด้วยได้ฟังธรรมเทศนา ด้วยได้สนทนาธรรม ด้วยได้อ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอน

    การเทศนานั้นมีที่วัดตามกำหนดวันพระบ้าง มีที่โรงธรรมในที่นั้นๆ บ้าง
    มีด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยบ้าง เทศที่จัดตามกำหนดวันพระนั้น
    จะได้ฟังก็แค่คนที่เข้าวัดเท่านั้น
    ส่วนเทศนาในโรงธรรมนั้นตั้งขึ้นที่ไหนก็มีแต่คนในจังหวัดนั้น
    และมักจะเทศนาแต่เรื่องนิทานนิยายอะไรต่างๆ
    ไม่เป็นทางที่จะให้เข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น
    การเทศนาด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยนั้นก็มักมีแบบไว้สำหรับพิธีนั้นๆ
    ใครเคยฟังเรื่องใดก็ฟังเรื่องนั้นซ้ำๆ อยู่นั่น ไม่ค่อยจะได้ฟังเรื่องที่แปลกจากนั้น
    ส่วนการสนทนาธรรมนั้น เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน
    เพราะผู้ฟังถามข้อที่ตัวไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้
    แต่จะหาผู้ที่เข้าใจในการสนทนานี้ยากยิ่งนัก
    ส่วนการอ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอนนั้น
    เป็นที่เข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟังเทศนา
    เพราะอ่านเองมีเวลาที่จะกำหนดตรึกตรองได้ตามชอบใจ
    และถ้าจำได้แล้วลืมเสียกลับดูอีกก็ได้
    แต่หนังสือที่สำหรับจะอ่านเช่นนั้นยังไม่มีแพร่หลายพอที่ประชุมชนจะแสวงหาไว้อ่านได้
    หนังสือที่มีอยู่แล้วก็ยังไม่ได้แสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้สิ้นเชิง
    เป็นแต่แสดงบางข้อความตามประสงค์ของผู้แต่งหนังสือนั้นๆ
    ความยินดีในธรรมของคนก็ต่างกัน

    บางคนยินดีในธรรมที่ลึกซึ้ง บางคนยินดีในธรรมที่ไม่ลึกซึ้ง
    ถ้าถูกอัธยาศัยก็พอใจอ่าน ถ้าไม่ถูกอัธยาศัยก็ไม่พอใจอ่าน
    หนังสือสำหรับสั่งสอนประชุมชน
    ควรจะมีหลายอย่างตามอัธยาศัยของคนต่างๆ กัน


    ในการที่จะแนะนำให้ประชุมชนเข้าใจในพระพุทธศาสนาชัดเจนดีนั้น
    เป็นกิจที่วิทยาลัยควรจุด ๒ อย่าง คือ
    มีธรรมเทศนาที่วัดตามกำหนดวันพระอย่างหนึ่ง
    จัดพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนอย่างหนึ่ง

    ส่วนการมีเทศนาตามกำหนดวันพระนั้น ได้เคยมีเป็นประเพณีของวัดมาแล้ว
    ส่วนการพิมพ์หนังสือแสดงคำสอนนั้นวิทยาลัยจะจัดขึ้นตามกำลังที่จะจัดได้

    ๓. การฝึกสอนเด็กชาวเมืองนั้น วิทยาลัยจะจัดให้มีโรงเรียนสำหรับสอนหนังสือไทย
    แลเลขแลฝึกกิริยาเด็กให้เรียบร้อย สอนให้รู้จักดีชั่วตามสมควร

    ใน ๓ ข้อที่กล่าวแล้วนี้ การเล่าเรียนของภิกษุสามเณร วิทยาลัยได้จัดแล้ว
    ส่วนอีก ๒ ข้อนั้นอาจจัดได้เมื่อใด ก็จะจัดเมื่อนั้นตามลำดับ

    จากพระอธิบายข้างต้นนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า
    การศึกษาของพระสงฆ์เท่าที่ผ่านมาไม่เจริญก้าวหน้า
    เพราะสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ

    (๑) ตำราเรียนบางส่วนไม่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลาเรียนนานเกินจำเป็น
    จนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเรียนไปไม่ค่อยตลอด
    (๒) เนื่องจากตำราเรียนยากเกินความจำเป็น
    แม้ผู้ที่เรียนผ่านไปได้ก็มักจะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน
    (๓) การเรียนไม่มีการจัดเป็นชั้นอย่างเป็นระบบ ครูคนเดียวสอนหมดทุกอย่าง
    เป็นเหตุให้หาครูที่สอนได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักสูตรยาก
    (๔) การสอบไม่มีกำหนดที่แน่นอนและทิ้งระยะนานเกินไป
    คือ ๓ ปีครั้งบ้าง ๖ ปีครั้งบ้าง
    (๕) วิธีการสอบยังล้าหลัง คือสอบด้วยวิธีแปลด้วยปาก
    ซึ่งการสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก แต่สอบนักเรียนได้จำนวนน้อยคน

    เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวนี้นั่นเอง
    ที่ทำให้ผู้ที่ผ่านการสอบได้แล้วก็มั่นใจไม่ได้ว่าเป็นผู้รู้พระธรรมวินัยดี
    เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ตนเรียน
    และเรื่องที่เรียนในชั้นนั้นๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้
    หากกล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอนและวิธีสอบนั่นเอง

    วิธีที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงพระดำริขึ้น
    เพื่อแก้ไขการศึกษาของภิกษุสามเณรให้เจริญทันกาลสมัย
    ดังที่ได้จัดขึ้นในมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ก็คือในด้านการสอนนั้นจัดหลักสูตรให้มีน้อยชั้น
    สามารถเรียนให้จบได้ในเวลาอันสั้น เรียนได้ง่ายขึ้น
    แต่ได้ความรู้พอเพียงแก่ความต้องการ
    ส่วนการสอบนั้น ให้มีการสอบทุกปีและสอบด้วยวิธีเขียน
    กล่าวโดยสรุปก็คือจัดหลักสูตรให้เหมาะสม ใช้เวลาเรียนสั้น
    เรียนง่ายได้ความรู้มาก และวัดผลได้แม่นยำ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


    ข้อมูลพื้นฐานปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

    ชื่อมหาวิทยาลัย

    ภาษาไทย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอักษรย่อ คือ มมร.
    ภาษาอังกฤษ : Mahamakut Buddhist University อักษรย่อ คือ MBU

    ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

    วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส
    ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

    สีประจำมหาวิทยาลัย

    สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ

    ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

    ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา

    ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

    ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

    พระมหามงกุฏ :
    หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
    พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

    พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง :
    หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
    ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
    และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ ๖๐ ชั่ง

    หนังสือ :
    หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา
    โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำรา
    ทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ :
    หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์
    และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

    ช่อดอกไม้แย้มกลีบ ในทางการศึกษา :
    หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้
    แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ
    ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม
    คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ

    พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ :
    หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง
    และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

    วงรัศมี :
    หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
    ที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัย
    ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

    มหามกุฏราชวิทยาลัย :
    หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี, โท, เอก
    ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”

    วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)

    (๑) ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ สามเณร ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
    ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

    (๒) ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี
    ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

    (๓) บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์
    เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

    (๔) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์
    และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

    (๕) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา
    การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท

    (๖) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์
    ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคี โดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม

    (๗) สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็น
    มหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล

    พันธกิจ (Mission Statements)

    (๑) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
    และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

    (๒) ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น
    โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม
    การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข
    การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

    (๓) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา
    เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ
    ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
    และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

    (๔) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
    เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น
    รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

    ปณิธาน (Aspiration)

    มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
    ตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม
    ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
    พุทธศักราช ๒๔๖๔-๒๔๘๐


    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
    แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท” พระนามฉายาว่า “สิริวฑฺฒโน”
    เป็นพระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นหนึ่ง กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
    กับ หม่อมปุ่น ชุมพูนุท ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ
    ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๐๒
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

    เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัย
    ในสำนักเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นย่า ในขั้นเริ่มต้นพอเขียนและอ่านได้

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    หลังจากพิธีโสกันต์ (โกนจุก) แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าไปประทับอยู่ในวัง
    และได้เรียนภาษาอังกฤษกับฝรั่งเพื่อเตรียมตัวเสด็จออกไปศึกษาในต่างประเทศ
    ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงบรรพชา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖



    พ.ศ. ๒๔๑๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งบางกอก คราวเสด็จประพาสอินเดีย
    เรือพระที่นั่งแวะพักแรมที่เมืองสิงคโปร์ ให้อยู่เล่าเรียนในโรงเรียนแรพฟัล
    พร้อมกับหม่อมเจ้าองค์อื่นๆ อีกราว ๒๐ องค์ที่เสด็จไปในคราวเดียวกัน
    ทรงศึกษาอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นเวลา ๙ เดือน จึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ

    ขณะนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น
    ในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ แล้วจึงมีรับสั่งให้พระองค์เข้าเรียน
    ในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษนั้น โดยไม่ต้องกลับไปเรียนต่อที่สิงคโปร์อีก
    จึงนับได้ว่า พระองค์มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
    ขนาดเขียนได้ อ่านได้ และพูดได้ เป็นบางคำ

    [​IMG]
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    พระกรรมวาจาจารย์ในคราวทรงบรรพชาและอุปสมบท



    ทรงบรรพชาและอุปสมบท

    ก่อนครบกำหนดผนวชเป็นสามเณรตามพระราชประเพณี
    ได้ทรงเล่าเรียนหนังสือขอมจากพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
    ครั้นถึงปีระกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา
    ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    โดยมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    แต่ยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    [​IMG]
    สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
    พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒



    เมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่วัดราชบพิธ
    ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมา จนถึงพระชนมายุครบอุปสมบท
    จึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    โดยมี สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
    และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑
    (พ.ศ. ๒๔๒๒) เวลาบ่าย ๒ โมง ๕๐ นาที มีพระนามฉายาว่า “สิริวฑฺฒโน”

    เมื่อทรงอุปสมบทแล้วก็เสด็จประทับ ณ วัดราชบพิธ ตามเดิม
    ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค

    พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๘ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต

    [​IMG]
    ทรงฉายร่วมกับพระเถระกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๓๖


    ทรงเป็นกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย

    พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น ได้ทรงพระดำริจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่
    สำหรับภิกษุสามเณร ตลอดถึงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรขึ้น
    เรียกว่า มหามกุฎราชวิทยาลัย
    เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระนามาภิไธย
    ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดการศึกษาสำหรับ
    ภิกษุสามเณรและกุลบุตรให้ทันสมัย และเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระสถาพรพิริยพรต
    ก็ทรงเป็นกรรมการพระองค์หนึ่งในกรรมการชุดแรกของมหามกุฎราชวิทยาลัย
    นับว่าทรงเป็นผู้ร่วมบุกเบิกกิจการของมหามกุฎราชวิทยาลัยมาแต่เริ่มต้น
    และได้ทรงเริ่มมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของมหามกุฎราชวิทยาลัย
    ให้เจริญก้าวหน้ามาจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

    พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นเทพ
    พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
    ที่ พระธรรมปาโมกข์ ในราชทินนามเดิม

    [​IMG]
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


    ทรงครองวัดราชบพิธ

    พ.ศ. ๒๔๔๔ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ
    สิ้นพระชนม์
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงครองวัดราชบพิธสืบต่อมา
    นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒

    พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้ารองที่ พระพรหมมุนี
    เจ้าคณะรองในคณะกลาง ในราชทินนามเดิม
    พร้อมทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

    พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    สถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
    ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
    ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์


    คำประกาศ *

    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๔ พรรษา
    กาลปัตยุบันจันทรโคจร โสณสัมพัตสรกาฬปักษ์ อัฐมีดิถีรวิวาร สุริยคติกาล
    รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ มกราคมมาศ พาวีสติมสุรทิน โดยกาลนิยม

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ
    พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
    ได้ทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนามาล่วงแล้วได้หลายพรรษกาล
    ประกอบด้วยพระวิริยภาพ แลทรงสติปัญญาสามารถ
    ทรงชำนาญในพระปริยัติธรรม ได้ทรงเป็นอาจารย์สั่งสอนบริษัท
    ให้รอบรู้จนได้เป็นเปรียญแล้วเป็นอันมาก
    ทั้งได้ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นหลักฐานมั่นคงสมควรแก่ตำแหน่ง
    น่าที่พระบรมวงศานุวงศ์แลบรรพชิตผู้ใหญ่
    ทำให้เปนที่น่าเสื่อมใสแห่งบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต
    ทรงปกครองสมณบริษัทแลศิษย์ของพระองค์ด้วยน้ำพระไทยอันโอบอ้อมอารี
    มีเมตตาเผื่อแผ่ทั่วถึงกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ได้ทรงสังเกตเห็นพระคุณสมบัติแน่ชัดแล้ว
    จึงได้ทรงพระกรุณายกย่องให้ได้เลื่อนอิศริยศักดิ์ขึ้นเปนลำดับ
    ดังปรากฏอยู่ในคำประกาศพระบรมราชโองการ
    เมื่อทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็นพระองค์เจ้าพระนั้นแล้ว

    ส่วนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เมื่อทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนา
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
    ได้ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ แลได้ถวายโอวาทตามตำแหน่งอาจารย์ทุกประการ
    ไม่เฉภาะแต่ในขณะเมื่อทรงพระผนวช
    ถึงต่อมาก็ยังได้ทรงตามเป็นธุระตามกาลอันควร
    ทั้งได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ กุลบุตรที่ได้บรรพชาอุปสมบท
    นับว่าพระองค์เปนสุนทรพรตอันประเสริฐ
    พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา
    แลดำรงคุณธรรมสม่ำเสมอเช่นนี้ ในเวลานี้มีน้อยพระองค์
    จึงนับว่าทรงเปนอัจฉริยบุรุษพระองค์หนึ่ง
    สมควรที่จะได้เพิ่มภูลพระอิศริยยศให้ปรากฏในราชตระกูล
    แลในสมณศักดิให้ใหญ่ยิ่งขึ้น

    จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา
    พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
    ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า

    พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ขัติยพงศ์พรหมจารี
    ประสาทนียคุณากร สถาพรพิริยพรต อังคีรสศาสนธำรง ราชวงศ์วิสุต
    วชิราวุธมหาราชอภินิษกรมณาจารย์ สุขุมญาณวิบุล สุนทรอรรคปริยัติโกศล
    โศภนศีลสมาจารวัตร มัชฌิมคณิศรมหาสังฆนายก
    พุทธศาสนดิลกสถาวีรบพิตร สิงหนาม


    ทรงศักดินา ๑๑๐๐๐ อย่างพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรม
    ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ทรงสมณศักดิที่สมเด็จพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะใหญ่
    บัญชาการคณะกลาง พระราชทานนิตยภัตรเปนยศบูชาราคาเดือนละ ๔๐ บาท

    ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เปนภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์
    แลอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระอารามทั้งปวง
    ซึ่งขึ้นในคณะโดยสมควรแก่พระกำลัง แลอิศริยยศซึ่งพระราชทานมานี้
    จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ ศุข พละ ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ
    สรรพศิริสวัสดิพิพัฒมงคล จิรฐิติกาลในพระพุทธศาสนาเทอญฯ

    เมื่อทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เลื่อนพระอิศริยยศดังนี้แล้ว
    จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทรงตั้ง
    เจ้ากรมเป็นหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ถือศักดิ์นา ๕๐๐ ปลัดกรมเปนพันพยาพัฎสรรพกิจ
    ถือศักดินา ๓๐๐ สมุห์บาญชีเป็นพันลิขิตพลขันธ์ ถือศักดินา ๒๐๐
    ให้ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้ง ๓ นี้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป
    ให้มีความสุขสวัสดิเจริญเทอญฯ

    ฝ่ายสมณศักดิ์นั้น ให้ทรงมีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๑๐ รูป คือ

    พระครูปลัดสัมพิพัฒพรหมจรรยาจารย์ สรรพกิจวิธานโกศล
    โสภณวัตรจรรยาภิรัต มัชฌิมคณิศรสถาวีรธุรธารี มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓๒ บาท ๑
    พระครูธรรมาธิการ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ บาท ๑
    พระครูวิจารณ์ธุรกิจ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ บาท ๑
    พระครูวินัยธร ๑
    พระครูวินัยธรรม ๑
    พระครูโฆษิตสุทธสร ๑
    พระครูอมรสรนาท ๑
    พระครูสังฆวิธาน ๑
    พระครูสมุห์ ๑
    พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๑๐ รูป

    ขอให้พระครูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้งปวงนี้
    มีความศุขศิริสวัสดิ์สถาพร ในพระพุทธศาสนาเทอญฯ


    * หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์



    การสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ เวลา ๑๐.๓๕ นาฬิกา นี้
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
    ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
    ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ และทรงสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น กรมหลวง


    ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
    พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศทราบทั่วกัน

    ด้วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีสงฆ์
    สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า
    พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
    ทรงมีคุณูปการในทางพุทธสาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่ง
    สนองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสืบไปได้
    จึงทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนา คำนำ พระนาม แล ฐานันดรศักดิ์
    ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป

    พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศไว้
    ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)



    คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง

    เมื่อทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
    เป็นสมเด็จสกลสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรนั้น
    โปรดเกล้าฯ สถาปนาคำสำหรับเรียกตำแหน่งนี้ว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”
    ซึ่งปรากฏพระนามนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวนี้
    ฉะนั้น จึงได้มีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่ง สมเด็จสกลสังฆปริณายก
    หรือสมเด็จสกลมหาสังฆปริณายก เป็น ๓ อย่างเป็นธรรมเนียมสืบมา คือ

    ๑. เจ้านายชั้นสูงผู้ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น
    สมเด็จสกลสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราช
    มีคำนำพระนามว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ซึ่งมีอยู่ ๓ พระองค์ คือ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส


    พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า มีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า
    “มหาสมณุตมาภิเษก” เจ้านายผู้ทรงได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษก
    เท่าที่ปรากฏมาเป็นชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงพระยศสูงกว่าสมเด็จพระสังฆราชทั่วไป
    ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖
    เมื่อทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

    ๒. พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น
    สมเด็จพระสกลสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราช
    มีคำนำพระนามว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” ซึ่งมีอยู่ ๒ พระองค์ คือ
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท)
    และ
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์)


    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพระยศสูงกว่าสมเด็จพระสังฆราชทั่วไป
    ทรงฉัตร ๕ ชั้น พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ
    สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เท่าที่ปรากฏมาเป็นชั้นหม่อมเจ้าลงมา
    เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน โดยทรงสถาปนา
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
    ในตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นสมเด็จพระองค์แรก

    ๓. ท่านผู้ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จสกลสังฆปริณายก
    ที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า “สมเด็จพระสังฆราช”
    ซึ่งมีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน ทรงฉัตร ๓ ชั้น

    สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงได้รับสถาปนาเป็น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า หรือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า นั้น
    จะมีพระนามเฉพาะสำหรับแต่ละพระองค์ไป
    เช่น กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นต้น

    แต่สำหรับผู้ที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น
    มีพระนามสำหรับตำแหน่งเหมือนกันทุกพระองค์มาแต่โบราณ คือ
    “สมเด็จพระอริยวงษญาณ”
    ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงแก้ไขเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”

    ดังที่ปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน

    อนึ่ง สมเด็จพระสังฆราช ผู้มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์
    แต่มีพระนามสำหรับตำแหน่งเป็นพิเศษ
    ไม่ใช้พระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
    มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น คือ
    “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (องค์ที่ ๓ จากซ้าย)
    ทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระราชาคณะ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระไตรปิฎกฉบับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ ๕ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๖



    การจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ

    พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้มีการจัดสร้างพระไตรปิฎก
    เพื่อถวายเป็นพระอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่
    เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ”

    ต้นฉบับสำหรับตรวจชำระ และจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ครั้งนี้
    ใช้พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
    จำนวน ๓๙ เล่มเป็นพื้น พร้อมทั้งตรวจชำระเพิ่มคัมภีร์
    ที่ยังมิได้จัดพิมพ์เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ให้ครบบริบูรณ์ด้วย
    รวบเป็นพระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ครั้งนี้ จำนวน ๔๕ เล่มจบบริบูรณ์

    ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กราบทูล
    อาราธนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ทรงเป็นประธานในการตรวจชำระ
    พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา
    พระเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกอีก ๘ รูป เป็นกรรมการตรวจชำระ
    การตรวจชำระและจัดพิมพ์ระไตรปิฎกครั้งนี้
    เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พิมพ์เสร็จบริบูรณ์เมื่อ พ .ศ. ๒๔๗๓
    นับเป็นพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ที่สมบูรณ์ฉบับแรก
    ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท


    ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ดังกล่าวนี้
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ นอกจากจะทรงเป็นประธานในการตรวจชำระแล้ว
    พระองค์ยังได้ทรงตรวจชำระคัมภีร์อังคุตรนิกาย แห่งพระสุตตันปิฎก
    ตลอดพระคัมภีร์ด้วยพระองค์เอง รวมเป็นหนังสือ ๕ เล่มอีกด้วย
    นับเป็นพระเกียรติคุณในทางพระปริยัติธรรมอีกประการหนึ่ง
    ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ พระองค์นั้น

    อนึ่ง พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ดังกล่าวนี้
    เมื่อได้ตรวจชำระและจัดพิมพ์ขึ้นเรียบร้อยแล้ว
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    พระราชทานกรรมสิทธิ์ในหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี้
    แก่ “มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
    ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น
    เพื่อประโยชน์แก่ความเจริญก้าวหน้าของการศึกษาทางพระพุทธศาสนา
    เพื่อพระปริยัติธรรมสืบไป

    [​IMG]
    พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ๔๕ เล่มของมหามกุฏราชวิทยาลัย


    สำเนาจากราชกิจจานุเบกษา
    เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๓ วันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๐

    ประกาศพระราชทานกรรมสิทธิหนังสือพระไตรปิฏก
    ฉบับสยามรัฏฐแก่มหามกุฏราชวิทยาลัย
    *

    มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระปรมนทรมหาประชาธิปก
    พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าว่า
    พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
    ผู้จัดการพิมพ์พระไตรกิฎกฉบับพระสยามรัฎฐ
    ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้มหามกุฏราชวิทยาลัย
    มีกรรมสิทธิในหนังสือพระไตรปิฏกที่กล่าวนามมาแล้ว

    ทรงพระราชดำริเห็นว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย
    เปนสำนักการแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรม
    และเปนผู้รักษาพระบาลีมิให้วิปัลลาศ

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
    ให้มหามกุฏราชวิทยาลัยมีกรรมสิทธิในหนังสือพระไตรปิฎกฉบับพระสยามรัฏฐ
    และได้สิทธิต่างๆ ตามพระราชบัญญัติกรรมสิทธิหนังสือจงทุกประการ

    ประกาศมา ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๐ เปนปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตยุบัน


    * หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)



    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    (Mahamakuta Rajavidyalaya Foundation
    Under Royal Patronage)


    มหามกุฏราชวิทยาลัย (Mahamakuta Rajavidyalaya)
    ซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ทรงพระดำริจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
    เพื่อเป็นสถานศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น
    ได้ดำเนินการกิจการมาเป็นลำดับโดยต่อเนื่อง
    โดยระยะแรก พระเถรานุเถระในคณะธรรมยุตผู้เป็นกรรมการ
    ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นนายกกรรมการระยะ ๑ ปี
    การบริหารกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ดำเนินมาในลักษณะนี้
    จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมหามกุฏฯ
    การผลัดเปลี่ยนกันเป็นนายกกรรมการระหว่างการไม่เป็นการสะดวก
    จึงตกเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    ต้องได้รับภาระเป็นนายกกรรมการโดยตำแหน่ง
    ซึ่งได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน

    และหลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์แล้ว
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ในฐานะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    ได้ทรงเป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยสืบต่อมา
    และได้ทรงดำริจัดตั้ง “มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์” ขึ้น
    โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ นำดอกผลอัน เกิดจากทรัพย์สินของมหามกุฏฯ
    มาช่วยอุดหนุนบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร
    และส่งเสริม การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    โดยเริ่มต้นด้วยทุนของมหามกุฏราชวิทยาลัยจำนวน ๕๖๙,๖๘๙.๙๗ บาท
    ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงเป็นนายกกรรมการผู้จัดการ
    เจ้าพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษาธิบดี (ม.ล.มูล ดารากร)
    อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ เป็นผู้จัดการฝ่ายคฤหัสถ์
    ประกอบด้วยกรรมการฝ่ายบรรพชิต ชุดแรก ๑๓ ท่าน

    กล่าวได้ว่า มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ได้รับการจัดตั้งขึ้น
    หลังจากที่ได้จัดตั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัย มาได้ ๔๐ ปี
    นับเป็นพัฒนาการขั้นที่ ๒ ของ มหามกุฎราชวิทยาลัย
    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
    ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นพระองค์แรก

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)



    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ในปัจจุบัน

    การจัดตั้ง มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ขึ้นนั้น
    นับว่าเป็นผลดีต่อการที่จะดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของ
    มหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ได้วางไว้แต่เริ่มก่อตั้งเป็นอย่างมาก

    ปัจจุบัน มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ได้บำเพ็ญประโยชน์
    แก่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจกล่าวได้โดยสรุปดังต่อไปนี้

    ๑. นำผลประโยชน์ไปช่วยวัดต่างๆ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
    ทำให้วัดนั้นๆ มีทุนนอนที่มั่นคงและเกิดดอกผลที่แน่นอนตลอดไป

    ๒. ช่วยจัดหาตำราเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลีและแผนกนักธรรม
    ให้แก่พระภิกษุสามเณรตามวัดต่างๆ ที่ขาดแคลน

    ๓. การผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา
    นับว่าเป็นงานหลักอย่างหนึ่งของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ

    มาจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อตั้ง มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ แล้ว
    ก็ได้จัดให้มีแผนกตำราเพื่อเรียบเรียงและชำระตำรับตำราต่างๆ
    ซึ่ง กิจการแผนกนี้ นับเป็นการดำเนินรอยตามพระยุคลบาทแห่ง
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ผู้ทรงริเริ่มไว้เป็นปฐมด้วยการทรงรจนาตำราทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก

    นอกจากนี้ยังได้แปลเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อใช้เป็นคู่มือศึกษา
    พระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศอีกด้วย เป็นการเผยแพร่เกียรติคุณ
    ของพระสงฆ์ไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวต่างประเทศ

    ๔. จัดสรรทุนจำนวนหนึ่งสำหรับบำรุงการศึกษาของสำนักเรียนต่างๆ ในคณะธรรมยุต
    พร้อมทั้งช่วยจัดส่งพระภิกษุจากส่วนกลาง ออกไปเป็นครูช่วยสอนนักธรรมและบาลี
    ในวัดตามจังหวัดต่างๆ ด้วยงบประมาณที่จัดสรรไว้สำหรับการนี้

    ๕. จัดสรรงบประมาณปีละเป็นจำนวนมากอุดหนุนสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
    อันเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์แห่งหนึ่ง
    ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    จึงกล่าวได้ว่า มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ
    ได้ช่วยส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์
    มาโดยตลอดทั้งทางตรงคือ ด้วยทุนทรัพย์ และทางอ้อม
    คือ ช่วยผลิตตำราออกเผยแพร่และจำหน่ายในราคาถูก

    ๖. ส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
    คือได้มีส่วนอย่างสำคัญในการอุดหนุนช่วยเหลือกิจการพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
    เช่น ช่วยอุดหนุนการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศของพระธรรมทูต
    ช่วยจัดหาวัตถุอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
    เช่น ตำราและบริขารบริวารต่างๆ เป็นต้น
    ช่วยอุปการะพระภิกษุสามเณรจากต่างประเทศ
    ที่เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
    จนจบการศึกษาแล้วกลับไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศของตน
    ช่วยจัดสร้างวัดไทยขึ้นในต่างประเทศ
    เพื่อเป็นศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ
    พร้อมจัดส่งพระภิกษุออกไปอยู่ประจำเพื่อช่วยสั่งสอน
    เช่น วัดพุทธรังษี นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และวัดไทยในอินโดนีเซีย เป็นต้น

    ๗. ส่งเสริมการศึกษาวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุในต่างประเทศ
    โดยจัดทุนการศึกษาแก่พระภิกษุผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง
    ที่ไปศึกษาต่อวิชาการชั้นสูงในสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
    เพื่อจะได้กลับมาช่วยพัฒนาการศึกษาระดับสูงของคณะสงฆ์ไทย
    ตลอดถึงทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองต่อไป

    ๘. ดำเนินการจัดแปลและจัดพิมพ์หนังสือที่จำเป็นแก่การศึกษา
    พระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่แก่ชาวต่างประเทศ
    พร้อมทั้งได้จัดให้มีแผนกจำหน่ายหนังสือพระพุทธศาสนาภาษาต่างประเทศ
    ขึ้นเป็นพิเศษอีกแผนกหนึ่ง

    มีการจัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพระพุทธศาสนาภาษาต่างประเทศ
    แก่ประชาชนทั่วไปในราคาถูก ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้
    พุทธศาสนิกชนหรือผู้สนใจในพระพุทธศาสนาทั่วไป
    ได้มีโอกาสศึกษาและรู้ความเป็นไปของพระพุทธศาสนาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น


    งานนิพนธ์

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงมีพระปรีชาสามารถในทางรจนา นับได้ว่า
    ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
    พระองค์ได้ทรงพระนิพนธ์ตำรับตำรา และหนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้มาก
    อาทิเช่น พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา
    หรือ พจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย
    มหานิบาตชาดก ต้นบัญญัติ สามเณรสิกขา
    เป็นต้น

    ซึ่งพระนิพนธ์เหล่านี้ยังได้ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาภาษาบาลีและศึกษา
    พระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลายอยู่จนบัดนี้

    [​IMG]
    พระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ประดิษฐาน ณ พระตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม



    พระอวสานกาล

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ทรงประชวรด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในกระเพาะพระบังคลเบาพิการ
    ทำให้พระบังคลเบาเป็นโลหิต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
    เวลา ๑๐.๐๕ นาฬิกา ในรัชกาลที่ ๘ สิริรวมพระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา
    โดยทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๖ ปี กับ ๕ วัน
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


    • ประวัติและความสำคัญของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
    เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต
    ความสำคัญของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้คือเป็น
    วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
    ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์
    ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์


    เหนืออื่นใด วัดแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
    องค์พระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย ๒ พระองค์คือ
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)

    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ทรงครองวัด ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๔-๒๔๘๐ และ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ทรงครองวัด ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๗-๒๕๓๑
    และเคยเป็นที่พำนักของสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะหลายรูป

    [​IMG]
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    ตามประวัติกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล
    ก่อพระฤกษ์เพื่อลงมือก่อสร้างเมื่อวันเสาร์ แรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง เอกศก
    ตรงกับวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๒ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๑๓
    เริ่มแรกในการสร้างวัด ทรงซื้อวังพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
    (พระองค์เจ้าสิงหรา) พระราชโอรส องค์ที่ ๔๘
    ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และเจ้าจอมมารดาคล้าย
    รวมทั้ง ซื้อบ้านเรือนข้าราชการ และราษฎร เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างวัด
    สิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นเงิน ๒,๘๐๖ บาท ๓๗ สตางค์
    แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มาจำพรรษาอยู่
    พร้อมกับอัญเชิญ ‘พระนิรันตราย’ มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ

    [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    มูลเหตุที่ทรงสร้างนั้นสืบเนื่องมาจากพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่
    และเพื่อให้เป็นไปตามโบราณพระราชประเพณีนิยม
    ที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา กล่าวคือ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างวัดอรุณฯ
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชโอรสาราม
    และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์ฯ

    ในการก่อสร้างพระอารามหลวงประจำรัชกาลแห่งนี้
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ก่อสร้างตามแบบของวัดแต่โบราณกาล
    ดังเช่นวัดราชประดิษฐ์ฯ กรุงเทพฯ และวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    กล่าวคือ สถาปนาพระมหาเจดีย์ไว้ตรงกลางเป็นหลักสำคัญของวัด
    แล้วล้อมด้วยพระระเบียง พระอุโบสถ พระวิหาร และพระวิหารทิศ
    มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสแยกออกจากกัน

    [​IMG]
    พระอุโบสถ พระวิหาร และพระระเบียงคด ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลาง


    โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ
    พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์
    (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
    ซึ่งกำกับราชการกรมช่างสิบหมู่ ทรงอำนวยการสร้างเป็นพระองค์แรก
    แต่สิ้นพระชนม์ก่อนที่จะสร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘
    พระองค์ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
    และเมื่อผู้อำนวยการสร้างพระองค์ที่ ๒ สิ้นพระชนม์ลงอีก จึงโปรดเกล้าฯ
    ให้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล)
    ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
    เป็นผู้อำนวยการสร้างพระองค์ต่อมา จนเสร็จการ

    รูปแบบวัดมีลักษณะผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและยุโรป
    คือลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก
    และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
    หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง โดยมีมหาสีมาหรือเสมาใหญ่
    อันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร ๘ เสา
    ตั้งประจำที่กำแพงวัดทั้ง ๘ ทิศ ซึ่งแตกต่างไปจากเสมาของวัดโดยทั่วไป
    ตามปกติแล้วเสมาของวัดโดยทั่วไปจะอยู่ตามมุมหรือติดอยู่กับตัวพระอุโบสถ
    ทั้งนี้ ได้สร้างขึ้นตามแบบอย่างมหาสีมาของวัดราชประดิษฐ์ฯ

    [​IMG]
    พระอุโบสถ พระวิหาร และพระระเบียงคด ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ใหญ่ซึ่งอยู่ตรงกลาง


    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีนามวัดแบ่งออกเป็น ๒ ตอนคือ
    “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง
    “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีมหาเสมาหรือเสมาใหญ่
    ดังนั้น ในการประกอบพิธีสงฆ์ หรือการกระทำสังฆกรรมใดๆ
    จึงสามารถกระทำได้ทุกแห่งภายในขอบเขตของมหาสีมานี้
    เท่ากับเป็นการขยายเขตทำสังฆกรรมของสงฆ์ให้กว้างขึ้น

    เรื่องชื่อสร้อยของวัดนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า
    “เมื่อสร้างวัดราชบพิธเจริญรอยวัดราชประดิษฐ์หมดทุกอย่าง
    จนกระทั่งทำมหาสีมาและชื่อวัดให้คล้ายกัน
    ชะรอยจะคิดเปลี่ยนสร้อยชื่อวัดราชประดิษฐ์เป็น ‘สถิตธรรมยุติการาม’
    เอาสร้อยเดิมของวัดราชประดิษฐ์ไปใช้วัดราชบพิธ ว่า ‘สถิตมหาสีมาราม’

    จะเป็นได้ด้วยเหตุนี้ดอกกระมัง
    แต่จะมีเหตุอย่างไรให้กลับความคิดจึงมิได้ใช้
    บ้างก็ว่า ‘สถิตธรรมยุติการาม’ เป็นชื่อสร้อยวัดเดิม
    เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็น ‘สถิตมหาสีมาราม’ ในยุคหลังนี่เอง”

    [​IMG]
    สถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามของวัดราชบพิธฯ


    การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงพระราชทานที่ให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามนี้
    ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา
    ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ ปีมะเมีย โทศก จ.ศ. ๑๒๓๒
    และยังได้พระราชทานที่อื่นๆ อีกเป็นอุปจารของวัด
    รวมทั้ง พระราชทานตึกแถวถนนเฟื่องนครอีกด้วย

    วัดราชบพิธฯ ยังได้สะท้อนถึงยุคสมัยที่มีการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
    นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้การศึกษาแพร่หลายไปสู่ราษฎร

    โดยการผันวัดซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของการศึกษามาแต่โบราณ
    มีการแยกการศึกษาออกจากทางวัด ถึงแม้สถานที่เรียนยังอยู่ในบริเวณวัดก็ตาม
    โรงเรียนวัดราชบพิธ จึงได้ถือกำเนิดแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นต้นมา
    โรงเรียนกับวัดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีกิจกรรมร่วมกันมาโดยตลอด
    รวมถึง การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี

    [​IMG]
    ด้านหน้าประตูทางเข้า “พระวิหารทิศ” ฝั่งถนนเฟื่องนคร ในยามราตรี


    ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง
    และโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    วัดของพระราชบิดาคือรัชกาลที่ ๕ เป็นงานใหญ่แทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗
    เสมือนหนึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ด้วยเช่นกัน

    ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
    คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง

    เขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัด

    คือบริเวณที่เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ตั้งอยู่บนพื้นไพทีหรือยกพื้นสูงกว่าพื้นปกติ ปูด้วยหินอ่อน
    เขตสังฆาวาส ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัด
    คือบริเวณที่เป็นอาคารจำพรรษาของพระภิกษุสามเณร
    เขตสุสานหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด

    [​IMG]
    บริเวณติดต่อกันระหว่างเขตพุทธาวาสและเขตสุสานหลวง
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    “พระมหาเจดีย์ใหญ่” ตั้งอยู่ตรงกลางเป็นหลักสำคัญของวัด
    ล้อมด้วยพระระเบียง พระอุโบสถ พระวิหาร และพระวิหารทิศ



    • ปูชนียวัตถุ-ปูชนียสถานในเขตพุทธาวาส

    บนไพทีที่ยกพื้นสูงกว่าพื้นปกติ มีปูชนียวัตถุ-ปูชนียสถานที่สำคัญภายในวัด
    อาทิเช่น พระมหาเจดีย์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร
    พระวิหารทิศหรือพระวิหารมุข พระระเบียงคด ศาลาราย
    ฯลฯ
    ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายในวงล้อมของกำแพงสูงประมาณ ๑ เมตร
    ปูด้วยหินอ่อนทั้งบริเวณ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์หลากสี

    อีกทั้งยังใช้กระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์นี้ประดับปูชนียวัตถุ-ปูชนียสถาน
    และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดแห่งนี้ โดยเฉพาะในเขตพุทธาวาส
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงค์
    ทรงกล่าวไว้ว่าเป็นฝีมือพระอาจารย์แดง ช่างเขียนมีชื่อเกิดในรัชกาลที่ ๓
    แต่มามีชื่อเสียงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้ออกแบบลาย
    แล้วส่งไปทำเป็นกระเบื้องเคลือบ ณ ประเทศจีน นำเข้ามาประดับ

    [​IMG]
    พระมหาเจดีย์ใหญ่ ทรงไทยย่อเหลี่ยม ทรงระฆังกลม
    ฐานคูหาประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งองค์



    พระมหาเจดีย์ใหญ่

    ไม่มีชื่อเรียกพระมหาเจดีย์เหมือนวัดอื่น ได้สร้างขึ้นก่อนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
    เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารทิศ พระระเบียงคด เป็นต้น
    ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบฉบับการสร้างปูชนียวัตถุแบบโบราณ
    คือสร้างพระมหาเจดีย์ไว้ตรงกลาง
    ถือเป็นหลักสำหรับเคารพบูชาหรือเป็นประธานของวัด
    ต่างจากวัดต่างๆ ในปัจจุบันที่สร้างพระอุโบสถเป็นประธานตรงกลาง

    [​IMG]
    พระมหาเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่บนฐานทักษิณที่สูงในระดับแนวหลังคาพระระเบียงคด


    องค์พระมหาเจดีย์เป็นทรงไทยย่อเหลี่ยม ทรงระฆังกลม
    ตั้งอยู่บนฐานทักษิณที่สูงในระดับแนวหลังคาพระระเบียงคด
    คือสูงประมาณ ๔๓ เมตร ความยาวโดยรอบฐาน ๕๖.๒๐ เมตร
    ฐานคูหาประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์โดยตลอดทั้งองค์
    เหนือฐานพระมหาเจดีย์มีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ

    และ พระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    พระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร)

    รวมทั้ง รูปหล่อของพระเถระสำคัญรูปอื่นๆ อยู่โดยรอบ รวม ๑๔ ซุ้ม

    [​IMG]
    เหนือฐานพระมหาเจดีย์ใหญ่มีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ
    และพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราช ๒ พระองค์ อยู่โดยรอบ
    ส่วนซุ้มกระจกประดับด้วยลายเทพนมแบบปูนปั้นอย่างงดงาม


    [​IMG]
    ซุ้มกระจกพระมหาเจดีย์ใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ


    เหนือซุ้มคูหาพระพุทธรูปเหล่านี้มีบริเวณชานเดินประทักษิณ
    และกำแพงแก้ว สำหรับเดินรอบองค์พระมหาเจดีย์
    มีบันไดขึ้นจากด้านในพระมหาเจดีย์ ทางเข้าข้างในขึ้นบันไดอยู่ทางทิศเหนือ
    ด้านข้างพระอุโบสถ กลางองค์พระมหาเจดีย์
    มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก ศิลปะลพบุรี
    สลักจากหินทรายจำนวน ๒ องค์ ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือและทิศใต้

    และพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดย่อมอีก ๒ องค์
    ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
    นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปอื่นๆ อีกหลายองค์
    เล่ากันว่าพระพุทธรูปศิลาปางนาคปรกนี้ขุดพบใต้ต้นตะเคียนริมคลองหลอด
    อีกทั้งเป็นที่เชื่อกันว่าคนที่อยากมีบุตรให้มาขอพรที่นี่ ก็จะได้มีบุตรสมใจ

    และตามผนังด้านในขององค์พระมหาเจดีย์
    มีช่องขนาดย่อมสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอีก ๖ ช่อง
    คือผนังด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ ทิศละ ๒ ช่อง
    รวมทั้ง มีตู้พระธรรมตั้งอยู่อีก ๑ ตู้

    ส่วนบนยอดปลีของพระมหาเจดีย์เป็นลูกแก้วกลม
    ครอบผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒

    [​IMG]
    ยอดปลีของพระมหาเจดีย์ใหญ่เป็นลูกแก้วกลมครอบผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

    [​IMG]
    สถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามของพระมหาเจดีย์ใหญ่

    [​IMG]
    พระมหาเจดีย์ใหญ่ (อีกมุมหนึ่ง
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗


    วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
    แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    มีพระนามเดิมว่า “แพ พงษ์ปาละ” พระนามฉายาว่า “ติสฺสเทโว”
    ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘
    ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๙๙
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    โยมบิดามีนามว่า “นุตร์ พงษ์ปาละ” โยมมารดามีนามว่า “อ้น พงษ์ปาละ”
    เป็นชาวสวนตำบลบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี

    มีพี่น้องชายหญิงร่วมมารดาบิดาเดียวกันรวมทั้งหมด ๗ คน คือ
    ๑. นางคล้าม พงษ์ปาละ
    ๒. สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
    ๓. หลวงพุทธพันธพิทักษ์ (อยู่)
    ๔. นางทองคำ พงษ์ปาละ
    ๕. นางทองสุข พงษ์ปาละ
    ๖. นายชื่น พงษ์ปาละ
    ๗. นายใหญ่ พงษ์ปาละ

    [​IMG]
    พระประธานในพระอุโบสถวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ


    ทรงบรรพชา อุปสมบท และการศึกษา

    เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ขวบ ได้ไปศึกษาอักขระสมัยอยู่ที่ วัดทองนพคุณ
    เนื่องจากท่านบิดาเลื่อมใสใน สมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์)
    มาตั้งแต่ท่านยังครองวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ
    ครั้นชนมายุได้ ๑๓ ปี จึงพาไปถวายเป็นศิษย์ สมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์)
    เมื่อครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดม มาอยู่วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร (วัดเลียบ)

    ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑
    แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัดทองนพคุณตามเดิม
    ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร

    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อชนมายุได้ ๑๖ ปี สมเด็จวันรัตน (สมบูรณ์)
    ให้ไปรับมาอยู่กับท่านที่วัดพระเชตุพน
    เพราะ สมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์) ได้มาอยู่ในวัดนั้น
    ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับ สมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์) เป็นพื้น

    นอกจากนั้นได้ทรงเล่าเรียนกับเสมียนตาสุขบ้าง
    พระโหราธิบดี (ชุ่ม) วัดทองนพคุณ บ้าง พระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร บ้าง
    ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรกที่พระที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ แต่แปลตกหาได้เป็นเปรียญในปีนั้นไม่

    [​IMG]
    สมเด็จพระวันรัตน (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศน์
    พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒



    และในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ นั้นเอง พระชนมายุครบอุปสมบท
    แต่ประจวบกับ สมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์) พระอาจารย์อาพาธ
    ต้องอยู่ประจำเพื่อพยาบาล จึงยังมิได้มีโอกาสอุปสมบท
    และเมื่อสมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์) ใกล้ถึงมรณภาพนั้น
    ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์ สมเด็จพระวันรัตน (แดง สีลวฑฺฒโน)
    วัดสุทัศน์
    แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี

    ครั้นสมเด็จพระวันรัตน (สมบูรณ์) มรณภาพแล้ว
    จึงได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตน (แดง)
    แล้วอุปสมบทที่วัดเศวตรฉัตร อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดและสำนักเรียนเดิม
    เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒ โดยมี สมเด็จพระวันรัตน (แดง) วัดสุทัศน์
    แต่ครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดม เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระโหราธิบดี (ชุ่ม) วัดทองนพคุณ และ
    พระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์
    แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัตน (แดง)

    ต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัตน (แดง) เป็นพื้น
    และได้ไปเรียนกับ สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์
    ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ บ้าง

    เมื่อ สมเด็จพระวันรัตน (แดง) เมื่อครั้งยังเป็นพระเทพกวี
    ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมวโรดม
    ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกาในฐานานุกรมตำแหน่งนั้น
    แล้วเลื่อนเป็นพระครูวินัยธรโดยลำดับ
    ขณะเมื่อทรงเป็นพระครูวินัยธรได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ ๒
    ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค

    ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกเป็นครั้งที่ ๓
    ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีกประโยค ๑ รวมเป็น ๕ ประโยค

    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี


    สมณศักดิ์

    ถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ
    ที่ พระศรีสมโพธิ์ ครั้นถึงปีวอก พุทธศักราช ๒๔๓๙
    อันเป็นวันในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ครบหมื่นวันแห่งการเสวยราชย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
    พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอย และเพิ่มนิตยภัต
    ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระธรรมวโรดม (แสง)
    วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร (วัดเลียบ) เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่
    ที่ พระเทพโมลี ดังมีสำเนาประกาศ ความบางตอน ดังนี้

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระศรีสมโพธิ์
    เป็น พระเทพโมลี ตรีปฎกธรา
    มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆราม คามวาสี
    สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง

    มีนิตยภัตเดือนละ ๔ ตำลึงกึ่ง มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๔ รูป
    คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆวิชิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑


    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์
    เป็นที่ พระธรรมโกศาจารย์ ดังมีสำเนาประกาศ ความบางตอน ดังนี้

    อนึ่ง พระราชาคณะที่มีความรอบรู้ พระปริยัติธรรมปรากฏในสังฆมณฑล
    สมควรจะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิ์
    และพระสงฆ์ที่ทรงสมณคุณควรจะเป็นพระครูอีกหลายรูป

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระเทพโมลี
    เป็น พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณนายกตรีปิฏกมุนี
    มหาคณาธิบดีสมณิศร บวรสังฆราม คามวาสี
    สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง

    มีนิตยภัตเดือนละ ๕ ตำลึง มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๖ รูป
    คือ พระครูปลัด มีนิตยภัตรราราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๑
    พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑
    พระครูสังฆพินัย ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑


    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี


    ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    พระราชทานหิรัญบัฎ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ดังมีสำเนาประกาศ ความบางตอน ดังนี้

    ศุภมัสดุ ฯลฯ (ลงวันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด
    วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๓๑)

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระราชดำริว่าพระธรรมโกศาจารย์เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรีเป็นเปรียญ
    ทรงพระปริยัติธรรม มีปฏิบัติอันงาม นำให้เกิดความเลื่อมใสของพุทธบริษัททั่วไป
    ได้เป็นภารธุระแก่พระศาสนา เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาส
    ทำนุบำรุงวัดสุทัศนเทพวรารามให้เจริญโดยลำดับมา
    บริหารรักษาพระสงฆ์เรียบร้อยดีในฝ่ายปริยัติ
    ได้เป็นผู้จัดการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
    อันเป็นสถานศึกษาใหญ่ตำบลหนึ่ง

    เมื่อถึงคราวสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวงได้เป็นกรรมการสอบด้วยรูปหนึ่ง
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงหยั่งทราบคุณสมบัติ
    ของพระธรรมโกษาจารย์มาตั้งแต่เดิม
    จึงได้ทรงยกย่องในตำแหน่งพิเศษ
    พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอยให้ถือมีพระเกียรติยศเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ
    แต่ครั้งยังเป็นพระศรีสมโพธิ์ เมื่อครั้งจัดคณะสงฆ์ในมณฑลหัวเมือง
    ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี
    ก็มีน้ำใจเห็นแก่พระพุทธศาสนา บริหารคณะมณฑลมาด้วยความเรียบร้อยจนทุกวันนี้

    ครั้นถึงแผ่นดินปัจจุบันทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เป็นประธานแห่งสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร
    พระธรรมโกศาจารย์ก็ได้เป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอด้วยรูปหนึ่ง
    ในการบริหารคณะสงฆ์เมื่อคราวจัดคณะกลางในกรุงเทพฯ
    พระธรรมโกศาจารย์ได้รับตำแหน่งในหน้าที่เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงสำเพ็ง
    จัดการปกครองให้เข้าระเบียบเป็นอันดี
    พระธรรมโกศาจารย์มีอัธยาศัยเป็นแก่พระพุทธศาสนาเป็นการธุระในกรณียกิจนั้นๆ
    โดยลำดับมาฉะนี้ในเวลานี้มีพรรษายุการจัดว่าเป็นผู้ใหญ่
    และเป็นหลักอยู่รูปหนึ่งในคณะสงฆ์ สมควรจะสถาปนา พระธรรมโกศาจารย์
    เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่เจ้าคณะรอง มีนามจารึกในหิรัญบัฎว่า

    พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมมาลังการวิภูษิต
    มัชฌิมคณิศร บวรสังฆราม คามวาสี สังฆนายก เจ้าคณะรองคณะกลาง
    สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง

    มีนิตยภัตเดือนละ ๓๒ บาท มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป
    คือ พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ
    สมบูรณ์สมาจารวัตรมัชฌิมสังฆนายกธุระวาหะ
    มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๘ บาท ๑
    พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูพุทธพากย์ประกาศ ๑
    พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ ๑ พระครูสังฆบริหาร ๑
    พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑


    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์


    ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ๒ ตำแหน่ง

    ต่อมาถึงปีกุน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเลื่อนสมณศักดิ์
    เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖
    ดังมีสำเนาประกาศ ความบางตอน ดังนี้

    อนึ่ง ทรงพระราชดำรห์ว่า พระพรหมมุนีเป็นพระมหาเถระทรงประไตรปิฎกธรรม
    แลเปนพูสูตรรัตตัญญุตาธิคุณ กอบด้วยด้วยอุตสาหะวิริยะในสมณปฏิบัติ
    มีศีลจารวัตรเป็นอันงาม นำความเชื่อเลื่อมใสให้เกิดแก่พุทธสาสนิกชนทั่วไป
    เป็นปูชนไนยคุรุฐานิยสุตรพุทธมุนีอยู่ในสังฆมณฑลรูปหนึ่ง
    ซึ่งมีความพิสดารอยู่ในประกาศสถาปนาตำแหน่งพระพรหมมุนีนั้นแล้ว

    บัดนี้เจริญด้วยพรรษายุกาล แลมั่นคงสม่ำเสมอในสัมมาจารีเปนนิจนิรันดร์
    หมั่นเลือกเฟ้าหาสิ่งซึ่งเปนแก่นสารแท้จริงในพระพุทธสาสนา
    ด้วยวิจารณญาณมิได้จืดจาง
    เมื่อเห็นว่าเปนทางถูกทางชอบก็ถือเอาเป็นสมสีสีปฏิบัติ อัจฉริยพรหมจารรย์
    ควรสักการบูชาและยกย่องฐานันดรศักดิ์
    ให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เฉลิมพระราชศรัทธา

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้สถาปนา พระพรหมมุนี
    ไว้ในตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี
    มีราชทินนานามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ
    นิพัทธนคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก
    ตรีปิฎกโกศลวิมลศีลขันธ์สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์
    บวรสังฆราม คามวาสี อรัญวาสี มหาสังฆนายก
    สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง
    เจ้าคณะใหญ่ทั้งปวง


    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗


    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ได้ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระวันรัต ดังมีสำเนาประกาศ ความบางตอน ดังนี้

    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค ๒๔๗๒ พรรษาปัจจุบันสมัย
    สัปตมสัมพัตสร กุมภาพันธ์มาส จตุรวิงค์สุรทิน จันทรวาร โดยกาลปริเฉก

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระราชดำริว่า ฐานันดรศักดิ์เจ้าคณะใหญ่หนใต้อันเป็นตำแหน่งสำคัญ
    ในมหาเถรสมาคมยังว่างอยู่
    สมควรจะยกพระมหาเถรเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยสมณคุณขึ้นสถิตในสมณศักดิ์
    และสถาปนาสมณฐานันดรเจ้าคณะสงฆ์แทนที่สืบไป

    บัดนี้จวนกาลฉัตรมงคลอุดมสมัย ควรจะผดุงอิสริยยศพระมหาเถระไว้ให้บริบูรณ์
    โดยอนุกรมตามตำแหน่ง เพื่อจะได้แบ่งภาระช่วยกันประกอบศาสนกิจ
    ให้สำเร็จประโยชน์แก่บรรพชิตแลคฤหัสถ์ตามสามารถ

    ทรงพระราชดำริห์ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี
    ประกอบด้วยคุณธรรมอันโกศลวิมลปฏิภาณญาณปรีชา ดำเนิรในสัมมาปฏิบัติ
    ทรงสมณคุณพหุลกิจปรหิตจรรยา แจ้งอยู่ในประกาศสถาปนา
    เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เมื่อพระพุทธศาสนายุกาล ๒๔๖๖ พรรษานั้นแล้ว

    บัดนี้ก็เจริญด้วยชนมายุกาลรัตตัญญุภาพเป็นผู้ทราบประจักษ์แจ้ง
    ในธรรมเนียมประเพณีพิธีสงฆ์ทั้งปวงแต่กาลนาน
    มีพรหมจริยาวัตรศีลสมาจารย์เรียบร้อยสมบูรณ์บริสุทธิ์
    ควรนับเป็นสุตพุทธมุนีศาสนาภิรัต มีอัธยาศัยหนักน้อมไปในทางพระพุทธศาสนา
    ยั่งยืนอยู่ในจารีตสมณวงศ์ เป็นหลักเป็นประธานสงฆ์คณะมหานิกายในปัจจุบัน
    ยากที่จะมีผู้เสมอเหมือนทั้งตั้งอยู่ตำแหน่งพระราชาคณะมานานถึง ๔๐ ปี
    สถิตในมหาเถระธรรมราศีเป็นครุภาวนียสถานแห่งสงฆ์อันพิเศษ
    เป็นเหตุให้ถึงอปริหานิยธรรม สมควรเป็นทักษิณมหาคณิศวราจารย์ราชาคณะผู้ใหญ่
    ที่อิสริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรคามวาสีและอรัญวาสีหนใต้ทั้งปวง

    จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท
    ดำรัสสั่งให้สถาปนา สมเด็จพระพุฒาจารย์
    เป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณศวราธิบดี
    มีพระราชทินนามจารึก ในพระสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล
    วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาทักษิณคณิศร บวรสังฆราม คามวาสี อรัญวาสี
    สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง
    เจ้าคณะใหญ่หนใต้
    มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๑๐ รูป
    คือ พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ ญาณโกศลสกลคณินทร
    ทักษิณสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต ๑ พระครูวินัยธร ๑
    พระครูธรรมธร ๑ พระครูพรหมศร พระครูคู่สวด ๑
    พระครูอมรศัพท์ พระครูคู่สวด ๑ พระครูธรรมคุต ๑
    พระครูพุทธบาล ๑ พระครูสังฆกิจจารักษ์ ๑
    พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต



    ภาระหน้าที่ในการคณะสงฆ์

    ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น
    ตามพระราชดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เพื่อจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย โดยจัดการปกครองเป็น ๔ คณะใหญ่
    คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุต
    มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นกันลงไปตามลำดับ
    คือ เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง
    โดยมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดทางการปกครอง
    เป็นการอนุวัตรตามการปกครองฝ่ายบ้านเมือง

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ หลังจากที่ได้รับพระสุพรรณบัฏเป็น สมเด็จพระวันรัต
    เจ้าคณะใหญ่หนใต้ แต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ มานั้น ก็ได้ทรงปกครองคณะสงฆ์
    ให้เจริญเรียบร้อยก้าวหน้ามาโดยลำดับ มิได้ระส่ำระสาย เป็นไปในทางวิวัฒนาการ
    ผู้อยู่ในบังคับบัญชาก็ได้รับความสุขสำราญชื่นชมยินดี
    ความติดขัดแม้จะมีก็ทรงระงับได้ด้วยความสุขุมปรีชา
    เป็นที่พำนักปรึกษาของเจ้าคณะซึ่งมีข้อความข้องใจในการบริหาร
    ชี้แจงนโยบายการบริบาลคณะสงฆ์ โดยสันติวิธีเป็นที่นิยมยินดีของพุทธบริษัททั่วไป

    การปกครองคณะสงฆ์ร่วมในจังหวัดพระนครนั้นเล่า
    ตั้งแต่แรกเริ่มจัดระเบียบเข้าสู่ระบอบใหม่ในทำนองการคณะแขวง
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงดำรงตำแหน่งแต่เดิมมา
    ครั้งก่อนเรียกว่าแขวงสำเพ็ง ครั้งยุคต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นแขวงคณะนอก
    จังหวัดพระนคร ประจวบกันในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรโอนอำเภอพระโขนง
    มาขึ้นจังหวัดพระนครพอดี ในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรยุบฐานะจังหวัดมีนบุรี
    อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนั้น คืออำเภอมีนบุรี อำเภอบางกะปิ อำเภอลาดกระบัง
    อำเภอหนองจอก ก็โอนมาขึ้นในจังหวัดพระนคร
    การคณะสงฆ์ในอำเภอนั้นๆ ทั้งหมดก็โอนมาขึ้นกับคณะแขวงนอก จังหวัดพระนคร
    จึงต้องเพิ่มภาระในการปกครองขึ้นอีกมาก
    กระนั้นก็ทรงสู้บั่นบากควบคุมการคณะให้เรียบร้อยเจริญดีเป็นลำดับมา

    [​IMG]
    ทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (องค์ที่ ๓ จากซ้าย)
    และสมเด็จพระราชาคณะ ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต



    ในด้านการศึกษา ก็ทรงได้แนะนำปลูกภิกษุสามเณรให้เกิดอุตสาหะในการเรียนการสอน
    เพื่อการศึกษาแพร่หลายดี จึงได้ขอให้ทางการเปิดสถานที่ทำการสอบความรู้นักธรรมขึ้น
    เป็นประจำ ในอำเภอนั้นๆ จนเป็นปึกแผ่นถาวรมาจนถึงยุคนี้ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙
    เมื่อตำแหน่งปลัดแขวงในพระนครว่างลง
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    จึงได้ทรงมีพระบัญชาให้ย้ายท่านเข้ามาเป็นปลัดแขวงในพระนคร
    และท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อยตลอดมา

    ในส่วนพระปริยัติธรรมนั้น พระองค์ท่านได้รับหน้าที่เป็นแม่กองสนามหลวงฝ่ายบาลี
    ทำการสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระภิกษุสมเณรในพระราชอาณาจักร
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๗๔ รวม ๔ ศก การ

    ในส่วนมหาเถรสมาคมนั้น ก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการด้วยรูปหนึ่งตั้งแต่เดิมมา
    ได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ในฐานแห่งกรรมการเป็นอันดีเสมอต้นเสมอปลาย
    มิได้บกพร่องอุดมคติเป็นไปในทำนองเยภุยยสิกาวาท มุ่งหมายเป็นสำคัญก็คือ
    ถือมติส่วนรวมโดยสมานฉันท์มีใจมั่นอยู่ด้วยสามัคคี
    เพราะยึดอุดมคติเช่นนี้จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่เคารพในมหาเถรสมาคม

    กอปรกับพระองค์ท่านทรงสมบูรณ์ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นที่สุดในมหาเถรสมาคม
    จึงทรงเป็นที่นิยมนับถือในฐานะเป็นประมุขสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

    และในคณะมหานิกายนั้น เมื่อเกิดมีอุปสรรคอันใดเข้ามาขัดขวาง
    ก็ได้อาศัยพระองค์เป็นหลักที่ปรึกษาหาทางที่จะหลีกลัดเข้าสู่สันติวิธีโดยมิได้ท้อถอย
    และเห็นแก่ความเหนื่อยยาก ทั้งๆ ที่ทรงพระชราภาพมากแล้ว
    หากจะปลีกพระองค์ออกใฝ่สุขแห่งความสงบเฉพาะพระองค์แล้ว
    ก็จะเป็นเอกีภาวสุขได้อย่างสมบูรณ์แห่งจิตใจและสังขาร
    แต่พระองค์หาได้คิดเช่นนั้น
    ด้วยทรงเห็นแก่พระศาสนาและความร่มเย็นของผู้ปฏิบัติธรรม
    อันยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นสรณะ
    และเพื่อยืนยาวมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาอันเป็นหลักของประชาชนชาวไทยทั้งมวล
    มิได้ทรงถือความชราภาพมาเป็นสิ่งกีดขวางการพระศาสนา ปฏิปทา
    และคุณูปการของท่านที่ทรงเพียบพร้อมด้วยศาสนกิจดังกล่าวมาแล้ว
    จึงเป็นมูลัฏฐาปนีย์ที่เด่นเป็นมิ่งขวัญของคณะสงฆ์ทั่วไป
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) พร้อมเครื่องประกอบสมณศักดิ์


    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    วัดราชบพิธ สิ้นพระชนม์ ประจวบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
    รัชกาลที่ ๘ จะเสด็จนิวัตจากยุโรปสู่พระนคร จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาสมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทโว) ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระราชทานตาลิปัตรแฉกประจำตำแหน่ง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้

    ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวันรัตขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

    โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีสงฆ์ สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว
    เป็นการสมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นสนองพระองค์ต่อไป
    และโดยที่สมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศนเทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้
    มีคุณูปการในทางศาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้

    คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    จึงให้ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวันรัตขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดี สงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป

    ประกาศมา ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    พ.อ. พหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี


    [​IMG]
    พัดตราประจำพระองค์
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)



    ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
    ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะต่อประมุขสงฆ์ มีองค์พระสังฆราชเป็นประธาน

    ครั้นถึงสมัยมงคลกาลเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
    จึงเป็นพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ
    ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ดังมีคำประกาศต่อไปนี้

    ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์
    ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
    คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

    (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

    อาทิตย์ทิพอาภา
    พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน


    โดยที่เห็นว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเอนกประการ
    อาทิ เจริญพรรษายุกาลรัตนมหาเถรธรรม สุขุมคัมภีรญาณปรีชาสามารถ
    ถึงพร้อมด้วยสมณคุณพรหมจริยวัตรศีลสมาจารบริสุทธิ์
    ประกอบพุทธศาสนกิจ เป็นหิตานุหิต ประโยชน์อันไพศาลแก่พุทธบริษัท
    มีคุณสมบัติเป็นเอนกนัย ดังปรากฏเกียรติคุณตามประกาศสถาปนา
    เป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๒ แล้วนั้น

    ครั้นต่อมาก็ยิ่งเจริญด้วยอุสาหวิริยาธิคุณสามารถประกอบการศาสนกิจ
    ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา ได้รับภาระปกครองคณะสงฆ์
    โดยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง นอก จังหวัดพระนคร และปลัดคณะแขวงใน
    จังหวัดพระนคร บริหารคณะสงฆ์ในการปกครองโดยเรียบร้อยวิวัฒนาการ
    ทั้งในการศึกษาและพระปริยัติธรรมก็ได้จัดการให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นถาวร
    ด้วยสุขุมปรีชาญาณ มีนโยบายการบริหารด้วยสันติวิธี
    เป็นที่นิยมยินดีของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
    ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในมหาเถรสมาคม
    ก็ปฏิบัติการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี มิบกพร่อง
    โดยอุดมคติเป็นไปในทำนองเยภุยยสิกา เป็นที่เคารพในมหาเถรสมาคม
    ประกอบทั้งสมบูรณ์ด้วยวัยวุฒิคุณวุฒิเป็นที่สุดในมหาเถรสมาคม
    จึงเป็นที่นิยมชมชื่นทั้งในฐานที่เป็นพระมหาเถระ
    และเป็นประมุขสงฆ์คณะมหานิกาย
    ด้วยคุณูปการในทางศาสนกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้
    จึงได้ประกาศสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีสงฆมลฑลทั่วราชอาณาจักร
    เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ในรัชกาลปัจจุบัน

    เมื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระองค์เป็นพุทธมามกะ
    ก็ได้ทรงเป็นพุทธมามกาจารย์ และถวายโอวาท
    เป็นเครื่องเจริญพระราชศรัทธาประสาทเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    บัดนี้จวนมงคลสมัยเฉลิมพระชนพรรษา
    สมควรสถาปนาสมณฐานันดรศักดิ์
    ให้เต็มตามราชประเพณีเป็นปรากฏเกียรติยศคุณสืบไป

    คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
    จึงให้เฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราช ตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสุขุมธานธำรง สกลสังฆปรินายก
    ตรีปิฎกกลากุศโลภาศ อานันทมหาราชพุทธมามกาจารย์ ติสฺสเทวา
    ภิธานสังฆวิสสุต ปาวจนุตตมโศภณ วิมลศีลสมาจารวัตร
    พุทธศาสนิกบริษัทคาราวสถาน วิจิตรปฏิภาณ พัฒนคุณ
    อดุลคัมภีรญาณสุมทร บวรสังฆราม คามวาสี
    เสด็จสถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง


    มีฐานานุศักดิ์ควรทรงตั้งฐานานุกรมได้ ๑๕ รูป คือ
    พระครูมหาคณานุสิชฌน์ สังฆอิสริยาลังการ วิจารณโกศล
    วิมลสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต พระครูปลัดขวา ๑
    พระครูจุลคณานุสาสน์ วิจารโณถาศภาคยคุณ สุนทรสังฆมนุคุตติ
    วิสุทธิสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต พระครูปลัดซ้าย ๑
    พระครูธรรมกถาสุนทร ๑
    พระครูวินัยกรณ์โสภณ ๑
    พระครูพรหมวิหาร พระครูปริตร ๑
    พระครูญาณวิสุทธิ์ พระครูปริตร ๑
    พระครูวินัยธร ๑
    พระครูธรรมธร ๑
    พระครูวิมลสรภาณ พระครูคู่สวด ๑
    พระครูพิศาลสรคุณ พระครูคู่สวด ๑
    พระครูบุลบรรณวัตร ๑
    พระครูสังฆบริการ ๑
    พระครูสมุห์ ๑
    พระครูใบฎีกา ๑

    ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร
    เพิ่มอิศริยยศในครั้งนี้จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์
    และอนุเคราะห์พระภิกษุ สามเณร ในคณะและในพระอาราม
    ตามสมควรแก่กำลังและอิศริยยศที่พระราชทานนี้

    และขอจง เจริญ อายุ วรรณะ สุขะ พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิจิรัฏฐิติวิรุฬหิ
    ไพบูลย์ในรพะพุทธศาสนาเทอญฯ

    ประกาศมา ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ เป็นปีที่ ๖ ในรัชกาลปัจจุบัน

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี


    [​IMG]
    พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม


    เจ้าพนักงานได้เชิญพระสุพรรณบัฏไปส่งที่วัดสุทัศนเทพวราราม
    เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๑๔ นาฬิกา กับ ๑๔ นาที
    มีพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พร้อมกับยกเศวตรฉัตร
    แล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระสุพรรณบัฎในวันนั้น เวลา ๑๗ นาฬิกา
    พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ

    รุ่งขึ้น วันที่ ๒๙ กันยายน เวลา ๑๑ นาฬิกา
    พระสังฆ์รับพระราชทานฉันอาหารบิณฑบาต
    แล้วเจ้าพนักงานตั้งบายศรีและแว่นเวียนเทียน
    สมโภชพระสุพรรณบัฎแล้วเป็นเสร็จการ

    จำเดิมแต่พระองค์ได้ดำรงดำแหน่งสกลกสังฆปรินายกสืบสนองพระองค์
    จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    วัดราชบพิธ เป็นต้นมา แม้จะทรงพระชราภาพมากแล้วก็ตาม
    ก็ได้ยังความเจริญร่มเย็นเป็นสุข ให้บังเกิดแก่สงฆมณฑลเป็นเอนกประการ

    โดยที่ทรงพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีภาพในศาสโนบายวิธี
    เมื่อทรงเห็นว่าจะไม่สามารถปกครองสังฆมณฑลให้สัมฤทธิผลได้ดังพระราชประสงค์
    จึงทรงพระกรุณาตั้งคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์ขึ้นคณะหนึ่ง
    เพื่อดำเนินศาสนากิจให้ลุล่วงไป ด้วยความสวัสดีตลอดมา
    จวบจนเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
    รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ออกใช้เป็นกฎหมาย
    เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรกับอาณาจักรให้อนุรูปกัน
    ในฐานแห่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกในระบอบใหม่นี้
    จึงมีพระบัญชาให้เปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสังฆสภาขึ้น
    และได้เสด็จไปเปิดปฐมฤกษ์เมื่อวันวิสาขบุรณมี
    วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕
    และได้ทรงแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภาให้ดำรงตำแหน่ง
    ตามบทแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
    โดยครบถ้วน เพื่อบริหารศาสนกิจให้วัฒนาถาวรสืบไป
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต


    การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์

    ใน พ.ศ. ๒๔๘๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ขึ้น
    แทนพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑

    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่นี้
    มีจัดการปกครองคณะสงฆ์โดยอนุโลมตามแบบการปกครองฝ่ายบ้านเมือง
    คือ สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติสังฆาณัติ โดยคำแนะนำของสังฆสภา
    ทรงบริหารคณะสงฆ์ทางคณะสังฆมนตรี และทรงวินิจฉัยอธิกรณ์ทางคณะวินัยธร
    จัดระเบียบบริหารคณะสงฆ์ส่วนกลางเป็น ๔ องค์การ คือ

    ๑. องค์การปกครอง
    ๒. องค์การศึกษา
    ๓. องค์การเผยแผ่ และ
    ๔. องค์การสาธารณูปการ

    สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งคณะสังฆมนตรีประกอบด้วยสังฆนายก ๑ รูป
    และสังฆมนตรีไม่เกิน ๙ รูป เป็นสงฆ์ผู้รับผิดชอบในการบริหารการคณะสงฆ์
    ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
    ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ทรงฉายร่วมกับคณะกรรมการพุทธสมาคม


    พระกรณียกิจต่างๆ

    พระกรณียกิจต่างๆ ของสมเด็จพระสังฆราชแพนั้น
    ในฐานะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง
    ในขณะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการจัดระเบียบการคณะสงฆ์ให้เข้าสู่รูปสมัยใหม่
    ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ดังกล่าวแล้วพอสรุปได้ดังนี้

    ๑. เสด็จเปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสังฆสภา
    ที่เปิดครั้งแรกเมื่อวันวิสาขบูชาที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
    และได้ทรงตั้งพระมหาเถระในสังฆสภาให้ดำรงตำแหน่งตาม
    พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยครบถ้วน เพื่อบริหารศาสนกิจต่อไปฯ

    ๒. ประกาศตั้งเจ้าหน้าที่พิมพ์พระไตรปิฎกสยามรัฐ
    เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ฯ

    ๓. ประกาศเรื่องการโอนวัดมหานิกายเป็นวัดธรรมยุติฯ

    ๔. เลิกระเบียบการบำรุงการศึกษาปริยัติธรรม โดยจัดเป็นหมวดๆ
    และมีรายละเอียดต่างๆ แต่ละหมวดเพื่อเป็นหลักการปฏิบัติฯ

    พระอัธยาศัยของพระองค์ท่านนั้น ละมุนละม่อมอ่อนโยนเสวนาสนิทสนมกับคนทุกชั้น
    มิได้ถือพระองค์ แม้ว่าจะได้ทรงมีตำแหน่งสูงสุดในทางฝ่ายพุทธจักรก็ตาม
    จึงทรงเป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั่วไปทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ และบรรพชิต

    ทรงเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจ มีความสม่ำเสมออยู่เป็นนิจ
    ทรงดำรัสแต่น้อยคำและตรงไปตรงมา แต่มีความหมายลึกซึ้งและแจ้งชัด
    ทรงมีพระเมตตาคุณเป็นที่ตั้งและใฝ่ในทางสันติ
    เมื่อมีวิวาทาธิกรณ์เกิดขึ้นทรงหยั่งเอาด้วยเหตุและผลรักษาความเที่ยงธรรม
    ไม่โอนเอียงและพร้อมที่จะทรงอภัยให้ทุกเมื่อ
    ทรงตรัสสิ่งใดออกไปแล้วย่อมเที่ยงตรง รังเกียจการสู่รู้ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร

    กล่าวกันว่า เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
    สมัยท่านผู้นำว่าอะไรว่าตามกัน ซึ่งมักจะพัวพันเข้ามาในคณะสงฆ์ด้วย
    แม้แต่การแสดงพระธรรมเทศนา ก็จะต้องอยู่ในช่วงที่ทางการจะตั้งหัวข้อ
    หรือแนวมาให้แสดง ซึ่งบางครั้งดูเหมือนจะไม่ใช่แสดงธรรมเทศนา
    เป็นการแสดงปาฐกถาหรืออะไรทำนองนั้นมากกว่า
    หรือไม่ก็ต้องส่งสำเนาเทศนาไปให้ทางการเซ็นเซอร์ ต้องตรวจแก้ไขก่อน

    บางครั้งก็มีเสียดสีติเตียนฝ่ายตรงข้าม หรือที่ไม่สบอารมณ์ผู้ใหญ่
    และก็เคยมีพระสงฆ์ใหญ่บางองค์ได้ยินยอมเป็นเครื่องมือของนักการเมืองสมัยนั้น
    เทศน์ไปตามความต้องการของผู้ยิ่งใหญ่

    ครั้งหนึ่งได้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น
    ไปแสดงพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงของทางราชการ

    ระหว่างที่นั่งรถไปกับผู้รับมอบหน้าที่มานิมนต์
    และรับนโยบายมาชี้แจงด้วยผู้นั้นได้พร่ำแนะกับพระองค์ท่านไปในรถว่า
    ให้เทศน์อย่างนั้นๆ ตามแนวนั้นๆ พระองค์ทรงนิ่งฟังจนจบแล้วกล่าวสั้นๆ ว่า

    “นี่มึงเทศน์เองหรือจะให้กูเทศน์”

    ทรงตรัสสั้นๆ แต่มีความหมายลึกล้ำ ผู้แนะแนวทางเงียบกริบ
    แล้วพระองค์ก็เสด็จไปแสดงตามแนวธรรมของพระองค์
    ไม่ใช่แนวที่คนสู่รู้มาอวดสอนและชักจูงไปในทางที่มิชอบด้วยสมณสารูป

    [​IMG]
    ทรงฉายร่วมกับพระภิกษุสามเณรของวัดสุทัศนเทพวราราม
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง


    การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย

    การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยนั้น
    ได้มีกระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓
    ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก

    ในรัชสมัยต่อๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว
    ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย
    สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี
    ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์
    แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง
    ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน มิได้เป็นการแปลจบทั้งคัมภีร์

    หากสามารถแปลจบครบบริบูรณ์
    ก็จะเป็นอุปการคุณแก่พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง
    ในต่างประเทศได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
    ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น
    ได้มีการแปลพระไตรปิฎกจากฉบับภาษาสันสกฤต
    ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายานมาแล้วช้านาน

    การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา
    ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้นๆ
    จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ

    จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง
    ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย
    จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์
    และประเทศไทยให้ปรากฏไปในนานาประเทศ

    แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้
    จึงขอให้กระทรวงธรรมการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา
    ขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ
    จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
    ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้
    ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์
    และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป

    เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
    รับการจัดแปลพระไตรปิฎกไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการจัดแปลพระไตรปิฎก
    และพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
    ให้ทรงตั้งพระเถรานุเถระเป็นกรรมการจัดแปลได้ตามสมควรแล้ว

    สมเด็จพระสังฆราชจึงได้ทรงตั้งกรรมการแปลพระไตรปิฏกขึ้นมาคณะหนึ่ง
    ดังมีรายนามปรากฏตามสำเนาประกาศกระทรวงธรรมการ
    เรื่องตั้งกรรมการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย
    ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ ต่อไปนี้

    ประกาศกระทรวงธรรมการ
    เรื่องแต่งตั้งกรรมการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย


    ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
    ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้
    พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ทรงแต่งตั้งกรรมการจัดแปลได้ตามสมควร

    อาศัยพระบรมราชานุมัตินั้น ในพระนามสมเด็จพระสังฆราช
    ประธานพระบัญชาการคณะสงฆ์ฯ ได้กำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานออกเป็นส่วนฯ
    และแต่งตั้งผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เป็นกรรมการ คือ

    สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้

    ๑. คณะกรรมาธิการพิจารณาการแปล

    ๑. พระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) ประธานคณะกรรมการ
    ๒. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) กรรมาธิการฝ่ายพระวินัย
    ๓. พระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) กรรมาธิการฝ่ายพระสูตร
    ๔. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ช้อย ฐานทตฺโต) กรรมาธิการฝ่ายพระอภิธรรม

    ๒. กรรมการกองแปล

    พระสุธีวรคุณ (ธีร์ ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชวาส หัวหน้ากอง

    (๑) กรรมการแผนกตรวจสำนวน

    ๑. พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ)
    วัดสุวรรณดาราม พระนครอยุธยา หัวหน้าแผนก
    ๒. พระปริยัติโสภณ (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา
    ๓. พระสุธีวรคุณ (ธีร์ ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชวาส
    ๔. พระมหาทองคำ ป.ธ. ๙ วัดมหาธาตุ
    ๕. พระมหาวิเชียร ป.ธ. ๙ วัดมหาธาตุ
    ๖. พระมหาเกษม ป.ธ. ๗ วัดมหาธาตุ
    ๗. พระมหาชอบ ป.ธ. ๖ วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี

    (๒) กรรมการแผนกแปลพระวินัย

    ๑. พระวิสุทธิสมโพธ (เจีย เขมโก) วัดพระเชตุพน
    ๒. พระมหาเชื่อม ป.ธ. ๘ วัดพระเชตุพน
    ๓. พระมหาสง่า ป.ธ. ๘ วัดพระเชตุพน
    ๔. พระมหาปุ่น ป.ธ. ๖ วัดพระเชตุพน

    (๓) กรรมการแผนกแปลพระสูตร

    ๑. พระปริยัติโศภน (ฟื้น ชุตินธโร) วัดสามพระยา หัวหน้าแผนก
    ๒. พระวินัยกิจโกศล (ตรี จนฺทสโร) วัดกัลยาณมิตร
    ๓. พระสุธีวรคุณ (ธีร์ ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชาวาส
    ๔. พระภัทรมุนี (อิ๋น ภัทรมุนี) วัดทองนพคุณ
    ๕. พระวิเชียรมุนี (พันธ์ จีรวฑฺโฒ) วัดอินทาราม
    ๖. พระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศนเทพวราราม
    ๗. พระมหาสุรัส ป.ธ. ๙ วัดเบญจมบพิตร
    ๘. พระมหาปลอด ป.ธ. ๘ วัดสระเกศ
    ๙. พระมหาสุด ป.ธ. ๘ วัดก้าฟ้าล่าง
    ๑๐. พระมหาเกลี้ยง ป.ธ. ๘ วัดชนะสงคราม
    ๑๑. พระมหาน้าว ป.ธ. ๘ วัดเบญจมบพิตร
    ๑๒. พระมหาพุฒ ป.ธ. ๗ วัดสุทัศนเทพวราราม
    ๑๓. พระมหาช่วง ป.ธ. ๗ วัดสุทัศนเทพวราราม
    ๑๔. พระมหาไสว ป.ธ. ๗ วัดเทพากร

    (๔) กรรมการแผนกแปลพระอภิธรรม

    ๑. พระเมธีวรคณาจารย์ (พาว เมธิโก) วัดวิเศษการ หัวหน้าแผนก
    ๒. พระมหาทองคำ ป.ธ. ๙ วัดมหาธาตุ
    ๓. พระมหาวิเชียร ป.ธ. ๙ วัดมหาธาตุ
    ๔. พระมหาถิร ป.ธ. ๘ วัดมหาธาตุ
    ๕. พระมหาปั่น ป.ธ. ๘ วัดมหาธาตุ
    ๖. พระมหาสวัสดิ์ ป.ธ. ๘ วัดมหาธาตุ
    ๗. พระมหาเกษม ป.ธ. ๗ วัดมหาธาตุ

    กรรมการแผนกแปลพระสูตร

    ๑. พระศรีวิสุทธิโมลี (ฉลาด ปญฺญาทีโป) วัดเบญจมบพิตร
    ๒. พระมหาเสถียร ป.ธ. ๙ วัดจักรวรรดิราชาวาส
    ๓. พระมหากี ป.ธ. ๘ วัดทองนพคุณ

    กรรมการแผนกแปลพระอภิธรรม

    ๑. พระมหาเขียน ป.ธ. ๙ วัดสุวรรณาราม
    ๒. พระมหาบุญเลิศ ป.ธ. ๘ วัดมหาธาตุ
    ๓. พระมหาเกษม ป.ธ. ๗ วัดมหาธาตุ
    ๔. พระมหาปลั่ง ป.ธ. ๘ วัดมหาธาตุ

    กรรมการฝ่ายคฤหัสถ์อุปการะในการตรวจสำนวน

    ๑. นายสงวน กุลดิลก (ป.ธ. ๗)
    ๒. นายรัตน์ ปาณะพล ธรรมศาสตรบัณฑิต

    ในการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
    คณะกรรมการได้แบ่งการแปลออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. แปลโดยอรรถตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
    สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า “พระไตรปิฎกภาษาไทย”

    ๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา
    เรียกว่า “พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง” แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์
    โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจาตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล
    เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์
    พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์
    พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒

    กรรมการฝ่ายคฤหัสถ์ อุปการะในการตรวจสำนวน

    ๑. นายโชติ ทองประยูร เนติบัณฑิต
    ๒. นายกมล มลิทอง ธรรมศาสตรบัณฑิต
    ๓. นายพร มลิทอง ธรรมศาสตรบัณฑิต
    ๔. นายัญ คงสมจิตต์ (ป.ธ. ๙)

    ๓. กรรมการกองธุรการ

    ๑. พระชำนาญอนุศาสน์ อธิบดีกรมศิลปากร
    ๒. หลวงอาจวิชาสรร รักษาการในตำแหน่งแลขานุการกรมธรรมการ
    ๓. นายกมล มลิทอง ทำการแทนหัวหน้ากองศาสนศึกษา
    ๔. นายวิชัย ญสุจินต์ (ป.ธ. ๖) กองศาสนศึกษา
    ๕. นายทรงวุฒิ วโรภาส ผู้จัดการโรงพิม์ศาสนศึกษา

    ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    ประกาศมา ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๓

    สินธุสงครามชัย
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ


    อนึ่ง คณะกรรมการคณะนี้ ได้แบ่งแยกหน้าที่ดำเนินการแปลพระไตรปิฏกโดยลำดับ
    แต่กรรมการบางรูปได้พ้นหน้าที่ไป
    และได้มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมอีกในเวลาต่อมา

    [​IMG]
    รูปหมู่คณะกรรมการแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


    การพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

    เมื่อคณะกรรมการได้จัดแปลและทำต้นฉบับ
    พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับหลวงเสร็จบางส่วน พอจัดพิมพ์ได้
    กรมการศาสนาก็ได้เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นปฐมฤกษ์
    เนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔
    ได้ปิฎกละเล่ม รวม ๓ เล่ม แล้วจัดพิมพ์ต่อไปอีก

    แต่บังเอิญประจวบกับเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม
    วัตถุอุปกรณ์ในการพิมพ์มีราคาแพงมากและหาได้ยาก
    จึงจำเป็นต้องงดการพิมพ์ไว้ชั่วคราว
    เวลานี้คณะกรรมการได้จัดแปลและทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์ไว้เสร็จแล้ว
    ถ้าวัตถุอุปกรณ์ในการพิมพ์มีราคาพอสมควร
    จะได้ดำเนินการพิมพ์ต่อไปอีกโดยลำดับจนจบ
    ซึ่งกำหนดไว้ว่า จะพิมพ์เป็นเล่มมีปริมาณถึง ๘๐ เล่ม
    ทั้งนี้ต้องแล้วแต่กำลังเงินทุนการแปลพระไตรปิฎก
    อันจะพึงได้รับการอุปถัมป์จากท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นสำคัญ

    ส่วนพระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
    คณะกรรมการได้จัดการเรียบเรียงเป็นสำนวนเทศนาตามความในพระบาลี
    แบ่งเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ เท่าจำนวนพระอรหันต์พุทธสาวก ๑,๒๕๐ รูป
    เมื่อคราวจาตุรงคสันนิบาตรในสมัยพระพุทธกาล คือพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์
    พระสุตตันปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์

    กรมการศาสนาได้จัดพิมพ์ลงในใบลาน
    และเดินทองล่องชาดอย่างงดงามถาวร เป็นจำนวนครั้งแรกนี้ ๕๑๕ จบ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ทรงฉายขณะเสด็จออกจากโบสถ์วัดสุทัศน์ฯ
    ในวันที่ทรงเป็นประธานหล่อพระกริ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒



    มูลเหตุโดยย่อที่ทรงสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ *

    มูลเหตุที่ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม
    ทรงสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้น ทรงเล่าว่า
    เมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ์
    ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ยังมีชีวิตอยู่
    และครั้งหนึ่งสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่น เสด็จมาเยี่ยม
    เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า

    “เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ เสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์
    อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน
    ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ
    พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศ
    แต่สมเด็จฯ ทูลว่าพระกริ่งที่กุฎิมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
    จึงรับสั่งให้นำมาแล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน
    ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง)
    เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้วโรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ”


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ขณะทรงทำพิธีพุทธาภิเษก
    ประกอบพิธีกรรมขั้นตอนการหล่อพระกริ่งฉลองพระชนม์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓
    โดยมีพระครูพุทธบาล (วิเชียร) อุ้มบาตรน้ำพุทธมนต์ตามเสด็จ



    ข้าพเจ้าทูลถามว่า
    พระกริ่งที่อาราธนาขอน้ำพระพุทธมนต์นั้นเป็นพระกริ่งสมัยไหน
    พระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้
    เข้าใจว่าเป็นพระกริ่งเก่าหรือไม่ก็คงเป็นพระกริ่ง
    ของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ องค์ใดองค์หนึ่ง

    ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ก็เริ่มสนพระทัยในการสร้างพระกริ่งขึ้นเป็นลำดับ
    ทรงค้นหาประวัติการสร้างพระกริ่งและก็ได้เค้าว่า
    การสร้างพระกริ่งนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เริ่มที่ประเทศทิเบตก่อน
    ต่อมาก็ประเทศจีนและประเทศเขมรเป็นลำดับ

    * หมายเหตุ : เรื่องเล่าโดย นายนิรันดร์ แดงวิจิตร
    อดีตพระครูฐานานุกรมในเจ้าประคุณสมเด็จ (แพ ติสฺสเทวมหาเถร)
    ที่พระครูพิศาลสรคุณ, พระครูญาณวิสุทธิ, พระครูวินัยกรณ์โสภณ
    เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดในเจ้าประคุณสมเด็จ สนใจและศึกษาในพิธีกรรม
    ตลอดจนการช่างฝีมือในการตกแต่งพระกริ่งทีเยี่ยมยอดที่สุดคนหนึ่งปัจจุบัน


    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    ประดิษฐานในพระตำหนัก วัดสุทัศนเทพวราราม



    พระอวสานกาล

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    ทรงประชวรพระโรคชรากระเสาะกระแสะอยู่เรื่อยๆ
    แต่เพราะพระองค์มีพระทัยเข้มแข็งยิ่งนัก
    ประกอบด้วยได้แพทย์ผู้สามารถถวายการพยาบาล
    จึงทรงมีพระอาการคงอยู่ได้ตลอดมาจนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๗
    ได้เริ่มประชวรเพราะโรคเดิมอีก แพทย์ได้ถวายการพยาบาลจนสุดความสามารถ
    พระอาการโรคได้ทรุดหนักลงทุกวันจนถึงวันที่ ๒๖ เดือนเดียวกัน
    ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ลงเมื่อเวลา ๐๓.๐๐ นาฬิกา
    ที่ตำหนักวัดสุทัศน์เทพวราราม สิริพระชนมายุ ๘๙ โดยมีพระพรรษา ๖๖
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๖ ปี กับ ๑๑ วัน

    ได้รับพระราชทานน้ำสรงพระศพและโกศพระลองกุดั่นน้อย
    ประดับพุ่มและเฟื่อง เครื่องสูง ๕ ชั้น
    เครื่องประโคมสังข์แตร จ่าปี่ จ่ากลอง และกลองชนะ
    มีพระพิธีธรรมสวดอภิธรรมประจำพระศพและรับพระราชทานฉัน ๑๕ วัน

    ประดิษฐานพระศพ ณ พระตำหนักที่สิ้นพระชนม์
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ ในทุกกระทรวงทบวงกรมมีกำหนด ๑๕ วัน
    แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในสัตตวารที่ ๑
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระลองกุดั่นน้อยเป็นพระลองกุดั่นใหญ่
    และจัดการพระราชทานเพลิงพระศพเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
    ณ เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘

    ยงกิญจิ สมุททยธมมํ สพพนตํ นิโรธธมมํ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
    สิ่งอันใดที่ได้เกิดกำหนดขึ้น จะยั่งยืนค้ำฟ้าก็หาไม่
    เกิดมาแล้วย่อมดับลับลงไป เป็นกฎในธรรมดามาช้านานฯ


    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    เสาชิงช้ากับวัดสุทัศนเทพวราราม ความงามที่ยืนอยู่คู่กันมานาน


    ประวัติและความสำคัญของวัดสุทัศนเทพวราราม

    วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศนเทพวราราม
    เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ฝ่ายมหานิกาย
    ตั้งอยู่ ณ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร มีชื่อเรียกกันเป็นสามัญหลายชื่อ
    ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาทิเช่น ‘วัดพระใหญ่’ ‘วัดพระโต’
    ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะพระพุทธรูปสำคัญของวัดคือพระศรีศากยมุนี
    หรือ ‘วัดเสาชิงช้า’ ซึ่งเรียกตามสถานที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับเสาชิงช้า
    ด้านหน้าเทวสถานของพราหมณ์บริเวณใจกลางพระนคร

    วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๕๐
    เพื่อให้เป็นวัดที่สำคัญที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร
    ดังมีปรากฏข้อความอยู่ในบันทึกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี

    ที่กล่าวว่า มีพระบรมราชโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนคร
    ให้สูงเท่าวัดพนัญเชิง โดยให้พระพิเรนทรเทพขึ้นไปรับพระใหญ่
    ณ เมืองโศกโขไทย ชลอเลื่อนลงมากรุง ประทับท่าสมโภช ๗ วัน ฯลฯ
    โดยเริ่มจากการกำหนดพระฤกษ์ขุดรากพระวิหารหลวง
    ในวันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๕๐

    [​IMG]
    พระวิหารหลวง ในยามราตรี


    เมื่อการก่อสร้างพระวิหารหลวงและสร้างฐานชุกชีเสร็จแล้ว
    โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากวิหารหลวงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย
    มาประดิษฐานบนฐานชุกชีพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม
    และพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส”

    กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    ทรงตั้งพระทัยให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
    ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
    แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม
    จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้า บ้าง

    จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ
    และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง
    แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

    การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
    ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม”

    [​IMG]
    ลานประทักษิณชั้นล่างรอบพระวิหารหลวงไปจนถึงพระระเบียงคด


    และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหารหลวง พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ
    ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” , “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์”
    และ “พระพุทธเสฏฐมุนี”
    ตามลำดับ

    และทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
    หมายถึง สุทัสสนนครบนเขาพระสุเมรุ
    ศูนย์กลางของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ประทับของพระอินทร์


    อนึ่ง บริเวณที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวรารามนั้น
    อยู่เกือบกึ่งกลางของกรุงเทพมหานคร อันเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ
    ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาลและศูนย์รวมของสรรพสิ่งที่น่าสนใจ
    รูปแบบการก่อสร้างของศาสนาสถานและศาสนวัตถุภายในวัด
    มีทั้งคติธรรมปริศนาธรรมสัญลักษณ์ที่ต้องขบคิดตีปัญหาให้เข้าใจ
    การวางผัง การก่อสร้างก็ทำอย่างเป็นระบบเป็นระเบียบสวยงาม
    ที่เป็นจุดเด่นและศรีสง่าแก่บ้านเมืองเป็นยิ่งนัก

    [​IMG]
    ม้าหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ตั้งอยู่บริเวณมุมฐานประทักษิณพระวิหารหลวง
    รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อระลึกถึงม้ากัณฐกะที่นำเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช



    ศาสนสถานและศาสนวัตถุอันงดงามล้ำค่า

    กล่าวกันว่าในทางสถาปัตยกรรมนั้น วัดสุทัศนเทพวรารามได้รับคำยกย่องว่า
    เป็นวัดที่มีการออกแบบ วางแผนผังกลุ่มอาคารและตัวอาคาร
    ได้สัดส่วนงดงามที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ และมีศิลปวัตถุมีค่าอยู่มากมาย อาทิ

    พระอุโบสถ

    เป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ยาวสวยงามที่สุดในประเทศไทย
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
    เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๘๖
    เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสถาปัตยกรรมไทย
    ขนาดกว้าง ๒๒.๖๐ เมตร ยาว ๗๒.๒๕ เมตร
    เป็นอาคารสูงใหญ่มาก มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด ๖๘ ต้น
    หลังคา ๔ ชั้น และขั้นลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
    มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
    หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลายประดับกระจกสี

    ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก
    สลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมราชสีห์
    มีคติความเชื่อว่า พระอาทิตย์เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวัน
    พระวรกายเป็นสีแดงสวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม
    พระหัตถ์ช้ายถือดอกบัวบาน หมายถึงการห้ามอุปัทวอันตรายทั้งปวง
    ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร

    ด้านหลังหรือด้านทิคตะวันตก
    สลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า
    มีคติความเชื่อว่า พระจันทร์เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลาตอนกลางคืน
    พระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์
    การสลักหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ หมายถึงว่า
    พระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนรอบเขาพระสุเมรุคือพระวิหารหลวง

    ผนังพระอุโบสถได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครู
    ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นภาพพระพุทธประวัติของพระสมณโคดม
    พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๒๘ และภาพพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
    ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดที่พระพิชัยมหามงกุฎ
    ที่มีลักษณะค่อนข้างแปลกและงดงามมาก

    โดยรอบพระอุโบสถมี ‘ซุ้มเสมายอดเจดีย์’ ทั้งหมด ๘ ซุ้ม
    คือเป็นซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์
    มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่ เป็นหินสลักรูปช้าง ๓ เศียรชูงวง
    แต่ละงวงถือ ดอกบัวตูม ๓ ดอก และดอกบัวบาน ๒ ดอก
    เกสรดอกบัวบานเป็นรูปสัตว์ เป็นรูปนกนั้น หมายถึงพระอาทิตย์
    และเป็นรูปกระต่ายนั้น หมายถึงพระจันทร์
    สันนิษฐานว่า หมายถึงรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว
    ส่วนดอกบัวตูม ๓ ดอก หมายถึงสร้างโดยรัชกาลที่ ๓ สมัยยังทรงพระชนม์

    บนกำแพงแก้วมีเกยทางทิศเหนือ ๔ เกย ทิศใต้ ๔ เกย
    ทำด้วยหินอ่อนสีเทา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี
    ประทับโปรยทานแก่พสกนิกร เรียกว่า “เกยโปรยทาน”

    สำหรับ ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ
    บานประตูด้านนอกเป็นภาพจิตรกรรมรูป “ครุฑยุดนาค”

    ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๒
    มาจากพระนามเดิมว่า ฉิม และคำว่าวิมานฉิมพลีเป็นที่พำนักของครุฑ
    พญาแห่งนก จึงทรงใช้ครุฑเป็นตราประจำพระองค์แทนพระบรมนามาภิไธย

    บ้างก็กล่าวว่า ในเวลานั้นรัชกาลที่ ๒ ทรงนิยมเรื่องรามเกียรติ์
    และทรงเทียบพระองค์เป็นพระราม (หรือพระนารายณ์อวตาร)
    แม้แต่พระราชโอรสยังพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ
    (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) ตามชื่อพระมงกุฎในเรื่องนี้
    จึงทรงใช้ครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เป็นตราประจำพระองค์

    [​IMG]
    พระพุทธตรีโลกเชษฐ์


    พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ : พระประธานในพระอุโบสถ

    หล่อขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ ศอก ๘ นิ้ว ปางมารวิชัย
    ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง ปั้นลายปิดทองคำเปลวประดับกระจกสี

    เบื้องหน้าพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ
    ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นลงสีพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดา
    ที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร
    สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือเหมือนกำลังฟังพระบรมโอวาท
    จากพระพุทธองค์ชึ่งประทับเป็นประธานอยู่ตรงกลาง
    ส่วนขนาดของรูปหล่อพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๘๐ องค์นั้น
    เป็นขนาดซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดคำนวณขึ้น

    [​IMG]
    พระวิหารหลวง


    พระวิหารหลวง

    ตั้งอยู่แถบเหนือของเขตพุทธาวาส หันหน้าออกสู่ถนนบำรุงเมือง
    เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สำเร็จเรียบร้อยในรัชกาลที่ ๓
    ลักษณะรูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    โดยถ่ายทอดแบบมาจากพระวิหารวัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    เป็นอาคารเครื่องก่อขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๒๓.๘๔ เมตร ยาว ๒๖.๒๕ เมตร
    โครงสร้างหลังคาเป็นจั่วมีหลังคาประธาน ๑ ตับ มีชั้นซ้อน (หลังคามุข)
    ทางด้านหน้าและด้านหลังข้างละ ๑ ชั้น
    และมีหลังคาปีกนกลาดลงจากหลังคาประธานข้างละ ๓ ตับ

    หลังคามุขทางด้านหน้าและด้านหลัง มืหลังคาปีกนกลาดลงข้างละ ๒ ตับ
    มีเสารับมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๑๒ ต้น ทั้งสองด้านรวม ๒๔ ต้น
    และเสานางเรียงด้านข้าง ด้านละ ๖ ต้น รวมทั้งหมดจึงเป็นเสา ๓๖ ต้น
    เสานางเรียงและเสารับมุขหัวเสาเป็นปูนปั้นรูปบัวแวงปิดทองประดับกระจกสี
    ชายคามีคันทวย รับเชิงชายหลังคาหัวเสาละ ๒ ตัว ด้านละ ๖ ตัว
    รวมทั้งหมด ๔ ด้าน ๒๔ ตัว

    [​IMG]
    ซุ้มบานประตูพระวิหารหลวง


    แนวฝาผนังด้านนอก มีเสานางแนบด้านละ ๖ ต้น
    มีบัวหัวเสาเช่นเดียวกับเสานางเรียงหน้าบันพระวิหารหลวงมี ๒ ชั้น
    คือ หน้าบันจั่วหลังคาประธาน เป็นไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก
    เป็นลายกระหนกเครือวัลย์ออกช่อเทพนม ตรงกลางเป็นกรอบซุ้ม
    ภายในกรอบซุ้มมีรูปพระอินทร์ประทับอยู่ในเวชยันตรวิมาน
    ประดิษฐานอยู่เหนือกระพองช้างเอราวัณ

    หน้าบันมุขมีรูปแบบคล้ายหน้าบันจั่วประธาน
    แต่ตรงกลางหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
    ในกรอบชุ้มด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหาร
    มีประตูทางเข้าด้านละ ๓ ช่อง ด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ ๕ ช่อง
    ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นชุ้มบันแถลงที่ช้อนกัน ๒ ชั้น
    เป็นปูนปั้นปิดทองประดับกระจกสี

    บานประตูพระวิหารหลวงเป็นไม้แผ่นเดียวงดงามตลอดทั้งแผ่น
    ขนาดกว้าง ๑.๓๐ เมตร สูง ๕.๖๔ เมตร หนา ๐.๑๖ เมตร
    จำหลักลายต้นพฤกษาที่สลักลึกมีกิ่งก้านเกาะเกี่ยวซ้อนกันอย่างงดงาม
    เป็นศิลปกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
    ที่ทรงกำหนดลักษณะลายแบบวิธีแกะสลัก และทรงเริ่มจำหลักด้วยพระองค์เอง
    บานประตูนี้เป็นของเดิมที่ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง
    ปัจจุบันบานประตูนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    ส่วนลายหน้าต่างเดิมเป็นลวดลายจำหลักรูปแก้วชิงดวงปิดทองประดับกระจกสี
    ได้รับการแก้ไขในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    โดยทำเป็นลวดลายปูนน้ำมันปั้นปิดทองคำเปลว
    รูปต้นไม้เขามอและสัตว์ป่าปิดลายแก้วชิงดวง

    ผนังด้านในของพระวิหารหลวงเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง
    เรื่องอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ มีศิลาจารึกกล่าวถึงประวัติของ
    พระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ส่วนจิตรกรรมที่เสา ๘ ต้น
    เป็นภาพเรื่อง ไตรภูมิโลกยสันฐาน มีศิลาจารึกกำกับไว้ทุกต้น
    ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ถือว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

    มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เสาพระวิหารหลวงต้นหนึ่ง
    เป็นภาพพระอินทร์และหมู่บริวารกลายเป็นอสูรเพราะไปเสพย์สุรา
    จึงถูกมาคมานพกับสหาย ๓๒ คนจับพระอินทร์พร้อมบริวาร
    ทุ่มลงมายังอสูรพิภพ กลายเป็นอสูร
    ส่วนมาคเทวบุตรได้เสวยทิพย์สมบัติในสุทัสสนนครแทน

    ฐานประทักษิณ (ฐานไพที) ล้อมพระวิหารหลวงมี ๓ ชั้น คือ
    ชั้นบนสุดเริ่มจากฐานปัทม์ของพระวิหารหลวงถึงแนวเสานางเรียง
    ฐานประทักษิณชั้นต่อมาเป็นที่ตั้งของถะ (สถูปเจดีย์หิน)
    ซึ่งเป็นเครื่องศิลาจีนรายรอบพระวิหารหลวงทั้ง ๔ ด้าน จำนวน ๒๘ ถะ
    หมายถึง อดีตพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้ในโลกนี้ ๒๘ พระองค์
    ต่อลงมาเป็นลานประทักษิณชั้นล่างที่กว้างที่สุดไปจนถึงพระระเบียงคด
    ฐานประทักษิณ (ฐานไพที) แต่ละชั้นจะมีพนักกั้น
    มีช่องซุ้มสำหรับตามประทีปตลอดแนวพนักกั้นทุกชั้น
    ในเวลามีงานนักขัตฤกษ์ หรือการเฉลิมฉลองตอนกลางคืน
    จะตามประทีปเทียนไฟตลอดแนวช่องพนักกั้นพระวิหารหลวง
    จะเป็นภาพที่วิจิตรแปลกตาอีกแบบหนึ่ง

    [​IMG]
    พระศรีศากยมุนี


    พระศรีศากยมุนี : พระประธานในพระวิหารหลวง

    นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่กว่าพระพุทธรูปหล่อองค์อื่นๆ
    ชึ่งปรากฏในประเทศไทย ในยุคก่อน ๒๕ พุทธศตวรรษ
    เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
    มีพระพุทธลักษณะงดงาม สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
    ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร (หรือ ๓ วา ๑ คืบ)

    มีศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงกล่าวอ้างถึงว่า พระมหาธรรมราชาลิไท
    กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๙ ปีครองราชย์) แห่งกรุงสุโขทัย
    โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น และทำการฉลองในปีพุทธศักราช ๑๙๑๔

    ข้อความในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงเป็นหลักฐานของข้อสันนิษฐาน
    ที่ว่าพระศรีศากยมุนีสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ตอนหนึ่งมีว่า
    “...กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป
    มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม...”
    ซึ่งหมายถึงพระศรีศากยมุนีในวัดมหาธาตุซึ่งเป็นที่ประดิษฐานเดิมนั่นเอง

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    ทรงเห็นว่าถ้าทิ้งไว้ที่เดิมก็จะต้องตากแดด ตากฝน ทำให้ชำรุด
    จึงให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ โดยทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม
    ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพฯ
    แล้วให้ประทับท่าสมโภช ๗ วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค
    และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระ
    ในรัชสมัยของพระองค์ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้
    ตัวพระวิหารได้ลงมือสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

    [​IMG]
    พระศรีศากยมุนีองค์จำลอง ด้านหน้าประตูทางเข้าพระวิหารหลวง


    พระพุทธลักษณะพระศรีศากยมุนีเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ
    พระหัตถ์ขวาอยู่ในท่าปางมารวิชัย และพระหัตถ์ช้ายหงายวางบนพระเพลา
    ครองจีวรห่มเฉียงชายสังฆาฏิยาวลงมาถึงระดับพระนาภี
    มีปลายเป็นสองแฉกเขี้ยวตะขาบ ลักษณะพระองค์ค่อนข้างสั้น
    บั้นพระองค์เล็ก พระอังสาใหญ่ หัวพระถันโปน
    ลักษณะพระพักตร์และพระเศียรที่ปรากฏ
    คือพระรัศมีเป็นเปลวสูงตั้งอยู่บนพระอุษณีษะ
    รูปมะนาวตัด เส้นพระศกขมวดเล็กแบบก้นหอย
    พระพักตร์รูปไข่เกือบกลม พระขนงโก่งแยกออกจากกัน
    ระหว่างพระขนงมีพระอุณาโลมคั่นอยู่
    พระนาสิกงุ้มพระโอฐอมยิ้มเล็กน้อย พระหนุกลม

    พระศรีศากยมุนีประดิษฐานบนฐานชุกชีแบบฐานลายแข้งสิงห์
    ตลอดทั้งฐานชุกชีประดับลายปูนปั้น เป็นลายดอก ลายเถา ลายเทศ
    ปิดทองคำเปลวประดับกระจกสีทั้งหลัง

    ตรงใต้ฐานพระศรีศากยมุนีที่ผ้าทิพย์ได้บรรจุ พระบรมราชสรีรางคาร
    ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

    ส่วนด้านหลังบัลลังก์พระศรีศากยมุนีมีแผ่นศิลาสลัก เป็นศิลปะแบบทวารวดี
    เป็นรูปสลักปิดทอง ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางประทานเทศนาในสวรรค์
    เป็นของเก่าและหาดูได้ยาก กล่าวได้ว่าเป็นงานศิลปะที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก

    พระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กล่าวว่า
    “พระศรีศากยมุนีเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัย
    มีความงามอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อเมื่อผู้ใดมีความทุกข์ใจ
    หากได้กราบไหว้ และมองพระพักตร์แล้ว
    ความทุกข์ของคนนั้นจะปลาสนาการสิ้นไป เกิดเป็นความสุขอย่างน่าอัศจรรย์
    ข้อนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง”

    [​IMG]
    ถะ (สถูปเจดีย์หิน) รอบพระวิหารหลวงทั้ง ๔ ด้าน
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    ‘ภาพศิลาสลัก’ ด้านหลังฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี ในกรอบลายใบเทศ


    ภาพศิลาสลักศิลปะแบบทวารวดี

    ภาพศิลาสลัก ติดประดับอยู่ ด้านหลังฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี
    (หรือด้านหลังบัลลังก์พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง)
    เป็นภาพสลักนูนต่ำปิดทอง ขนาดสูง ๒.๔๐ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตร
    อยู่ในกรอบลายใบเทศ ปิดทองประดับกระจกทั้ง ๔ ด้าน
    ภาพศิลาสลักแผ่นนี้นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของวัดชิ้นหนึ่ง
    มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ศิลปะสมัยทวารวดี
    สันนิษฐานว่าอาจย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม
    การสลักแบ่งภาพพระพุทธประวัติเป็น ๒ ตอน คือปางยมกปาฏิหาริย์
    และปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ภาพตอนล่างเป็น ภาพพระพุทธประวัติ ปางยมกปาฏิหาริย์
    ซึ่งเป็นภาพที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงกลาง
    มีพระอินทร์และพระพรหม ยืนถือแส้อยู่ทั้งสองข้าง
    ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระพุทธเจ้า มีดอกบัวขนาดใหญ่รองรับ
    ดอกบัวนี้ประคองอยู่โดยพระยานาคซึ่งมีร่างกายเป็นมนุษย์
    แต่มีเศียร เป็นนาค ๗ เคียรแผ่พังพานอยู่เบื้องหลัง
    พระยานาคนี้สมมติว่าอยู่ใต้บาดาลอันเป็นสถานที่
    รองรับก้านบัวชึ่งเป็นแกนของมนุษยโลก
    ใต้บัลลังก์ด้านหนึ่งของพระองค์มีบรรดาเจ้านาย
    ซึ่งเสด็จมาแสดงความชื่นชมในปาฏิหาริย์ของพระพุทธองค์

    และอีกด้านหนึ่งก็คือนักบวชที่พ่ายแพ้
    นักบวชเหล่านี้ก็คือพวกดาบสเปลือยกายและดาบสเกล้าผมสูง
    ชึ่งไม่อาจจะต่อสู้กับอิทธิปาฎิหาริย์ของพระพุทธองค์ได้

    เหนือนั้นขื้นไปมีเหล่าเทวดากำลังประนมหัตถ์แสดงคารวะต่อพระพุทธองค์
    อยู่ด้วยความเคารพ เบื้องหลังบัลลังค์คือต้นมะม่วงที่เกิดจากปาฏิหาริย์
    มีกิ่งก้านรองรับพระพุทธรูปปางต่างๆ
    พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงปางด้วยพระหัตถ์ขวาหรือพระหัตถ์ซ้าย
    เพื่อให้ได้สัดส่วนกันเป็นคู่ๆ

    ภาพตอนบนขึ้นไปเป็น ภาพพระพุทธประวัติ
    ปางเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ซึ่งเป็นภาพที่พระพุทธเจ้ากำลังประทับบนบัลลังก์ในสวรรค์
    มีพระอินทร์และพระพรหม ยืนถือแส้อยู่ทั้งสองข้าง
    เบื้องหลังทางด้านขวาของพระพุทธองค์ พระพุทธมารดากำลังประทับอยู่
    แวดล้อมด้วยเทวดาองค์อื่นๆ จากสวรรค์ชั้นต่างๆ มาชุมนุมกัน
    เพื่อฟังพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแด่พระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    [​IMG]
    พระพุทธเสฏฐมุนี


    ศาลาการเปรียญ

    ศาลาการเปรียญหรือที่โบราณเรียกว่า ศาลาโรงธรรม
    สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช ๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) ในสมัยรัชกาลที่ ๓
    ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    เป็นศาลาทรงไทยโบราณ มีหลังคา ๒ ชั้น มีเฉลียง ๒ ลด
    รอบมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันปั้นปูนลายดอกไม้
    ผนังก่ออิฐถือปูน หน้าบันไดมีสิงโตหินประจำ
    รอบศาลาการเปรียญมี ศาลาราย ก่ออิฐถือปูน
    หลังคาทรงไทย มีเฉลียงรอบ มุงกระเบื้องดินเผา ๖ หลัง

    พระพุทธเสฏฐมุนี : พระประธานในศาลาการเปรียญ

    เป็นพระพุทธรูปพระประธานในศาลาการเปรียญ
    พุทธลักษณะเป็นศิลปรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย
    ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ๔ คืบ ๔ นิ้ว วัสดุทองเหลือง
    หล่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    เมื่อปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ (พุทธศักราช ๒๓๘๒)

    ในยุคสมัยที่สังคมโลกเริ่มตื่นตัวใส่ใจ
    กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นปัจจุบัน
    การนำวัสดุที่ยังใช้ได้กลับมาใช้อีก
    เป็นหนทางหนึ่งที่มีการรณรงค์กันทั่วไปในเมืองไทย
    ของเมื่อเกือบสองร้อยปีที่แล้วก็มีแนวความคิดในการทำเช่นว่านี้
    และปรากฏวัตถุพยานมาจวบจนถึงทุกวันนี้

    ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีประกาศห้ามสูบฝิ่นและมีการปราบปรามฝิ่นอยู่เนืองๆ
    ทรงปราบเรียบตั้งแต่ภาคกลางลงไปจนกระทั่งถึงภาคใต้
    ในการปราบปรามครั้งใหญ่ที่สุดคราวหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒
    เป็นการกวาดล้างฝิ่นในภาคใต้ตั้งแต่เมืองปราณบุรีถึงนครศรีธรรมราช
    และอีกด้านหนึ่งของฝั่งทะเลคือตะกั่วป่าถึงถลาง
    สามารถจับฝิ่นดิบเข้ามาได้ถึง ๓๗๐๐ กว่าหาบ ฝิ่นสุก ๒ หาบ
    สำหรับตัวฝิ่นนั้นโปรดฯ ให้เผาทำลายที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
    เหลือแต่กลักฝิ่นซึ่งทำด้วยทองเหลืองอยู่จำนวนมาก
    จึงโปรดฯ ให้นำมาหล่อพระพุทธรูปได้พระขนาดหน้าตักถึง ๔ ศอก
    นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม
    ครั้งนั้นพวกขี้ยาได้กลิ่นคงแทบขาดใจตาย
    ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธเสฏฐมุนี”
    หรือที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อกลักฝิ่น”

    จากบรรจุภัณฑ์ของสิ่งผิดกฎหมายกลายมาเป็นพระพุทธรูป
    ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีที่คงอยู่
    เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชามาเกือบสองร้อยปี
    นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์วัสดุอย่างคุ้มค่าและยืนยงอย่างแท้จริง

    [​IMG]
    พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิรอบพระวิหารคดทั้ง ๔


    พระวิหารคด (พระระเบียงคด)

    สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ล้อมพระวิหารหลวงทั้ง ๔ ด้าน ความกว้าง ๘๙.๖๐ เมตร ความยาว ๙๘.๘๓ เมตร
    ระหว่างกลางพระระเบียงคดแต่ละด้าน มีประตูซุ้มจตุรมุข
    หน้าบันลำยองไม้แกะจำหลักลาย ปิดทองประดับกระจกสี
    เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ พื้นหลังเป็นลายกนกก้านออกช่อหางโต

    บานประตูพระวิหารคดเป็นบานไม้ขนาดใหญ่
    มีลายรดน้ำรูปเซี่ยวกาง (ทวารบาล) ยืนบนหลังกิเลน
    เชิงบานเป็นภาพสัตว์หิมพานต์ต่างๆ
    เช่น นรมฤค กินรี ราชสีห์ คชสีห์ นกหัสดี นกเทศ เหมราช ฯลฯ
    ภาพหลังบานประตูเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์

    ด้านนอกเป็นผนังทึบกั้นเป็นกำแพงโดยตลอด
    ภายในพระวิหารคดเป็นโถง เสารับจั่วหลังคาเปิดเข้าหาพระวิหาร
    ในพระวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ๑๕๖ องศ์
    ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
    มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยบ้างเฉพาะที่มุมของพระวิหารคด

    พระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานบนฐานชุกชี ปิดทองคำเปลว
    ประดับกระจกสีพื้นฝาผนังด้านหลังของพระพุทธรูป
    มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นลายดอกไม้ร่วง
    หมายถึงดอกมณฑารพหรือดอกมณฑา ดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์
    ที่ตกมาบูชาเฉพาะพระพุทธเจ้า แทรกภาพดอกไม้ด้วยนก
    และสัตว์ปีกบนพื้นแดงคร่ำหรือสีคราม ชุ้มประตูพระวิหารคคทั้ง ๔ ชุ้ม
    และมุมพระวิหารคดทั้ง ๔ มุมเป็นหลังคาทรงจตุรมุข
    แต่ละจุดจะมีหน้าบัน ๒ ด้าน คือชุ้มประตูจะมีหน้าบันด้านนอกและด้านใน

    [​IMG]
    พระพุทธรูปปางสมาธิรอบพระวิหารคดทั้ง ๔


    ส่วนมุมของพระวิหารคดที่มีแนวพุ่งตรงมาชนกันเลยออกไปเป็นรูปกากบาท
    มีหน้าบันด้านนอก ๒ บานลายหน้าบันทั้งหมดเป็นรูปเดียวกัน
    คือแกะสลักไม้ปิดทอง กลางกรอบแกะเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
    พระอินทร์เป็นเทพองค์หนึ่งในบรรดาเทพที่ช่วยปกปักรักษาป้องกันภัย
    ประจำทิศทั้ง ๔ เรียกว่า จตุโลกบาล มีดังนี้ คือ

    พระอินทร์ เทพประจำทิศตะวันออก
    พระวรุณ เทพประจำทิศตะวันตก
    พระยม เทพประจำทิคใต้
    ท้าวกุเวร เทพประจำทิศเหนือ

    พระอินทร์เป็นเทพที่พิทักษ์รักษาพระพุทธคาสนารักษาคุณงามความดี
    ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปกครองเมืองสุทัสสนนคร
    ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ พระอินทร์มีชื่อเรียกหลายชื่อ
    แต่ที่คุ้นเคยกันมาก คือ ท้าวสักกเทวราชพระอินทร์ ท้าวมัฆวาน เป็นต้น

    ผิวกายพระอินทร์เป็นสีเขียว มีวัชระและธนูเป็นอาวุธใช้ประหารศัตรู
    หรือพวกอสูรที่มาทำลายโลก และมีร่างแหเพื่อเอาไว้ขังศัตรูที่จับมาได้
    พระอินทร์มีเทพบริวารองค์หนึ่ง ที่ในเวลาปกติแล้วจะมีร่างเป็นเทพผู้ชาย

    แต่ถ้าพระอินทร์จะเสด็จประพาสที่ใดจึงจะแปลงร่างเป็นช้างใหญ่มีสามเศียรเรียกว่า
    ช้างเอราวัณ เป็นพาหนะให้ประทับ ศิลาอาสน์ของพระอินทร์มีชื่อเรียกว่า บัณฑุกัมพล
    มีความยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๔๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์
    ยุบลงเหมือนฟองน้ำขณะประทับนั่งและฟูขึ้นเหมือนเดิมเมื่อลุกขึ้น
    แต่ถ้าขณะที่พระอินทร์ประทับอยู่ ศิลาอาสน์ร้อนหรือแข็งกระด้าง
    ก็แสดงว่าจะต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พระอินทร์จะสิ้นอายุ พระอินทร์จะสิ้นบุญ
    สัตว์อื่นที่มีอานุภาพกว่าอยู่บริเวณนั้น เพราะเดชแห่งศีลของสมณพราหมณ์
    ที่บำเพ็ญตบะเพื่อวัตถุประสงค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ
    มีเหตุการณ์เดือดร้อนเกิดขึ้นในมนุษยโลก ซึ่งพระอินทร์จะต้องเสด็จลงมาแก้ไข

    [​IMG]
    ทวารบาลอันสวยงามที่บานประตูพระวิหารคด


    พระนารายณ์หรือพระวิษณุเป็นเทพเทวราชที่ปกป้องคุ้มครองภัยได้ทั้ง ๓ โลก
    สามารถปราบยุคเข็นได้ ที่ประทับของพระองค์เรียกว่า ไวกูณฐ์นาถ
    อยู่ใต้เกษียรสมุทร เป็นทองทั้งแผ่น มีอาณาเขต แปดหมื่นโยชน์ วิมานเป็นแก้ว
    เสาและช่อฟ้าใบระกาเป็นเพชรพลอย ในเวลาปกติพระองค์
    จะบรรทมบนบัลลังก์ หลังพญาอนันตนาคราช

    ในเวลาเสด็จประพาสที่ใดมีครุฑเป็นพาหนะ พระนารายณ์มี ๔ กร
    อาวุธมี ๕ อย่าง คือ สังข์ จักร คฑา ธนู และพระขรรค์
    มีสีกายที่เปลี่ยนไปตามความดีและความชั่วของมนุษย์ที่สะท้อนไปหา เช่น

    ถ้ามนุษย์ประกอบกรรมดีที่สุดพระองค์มีกายสีขาว
    ถ้ามนุษย์มีความดี สามในสี่พระองค์มีกายสีแดง
    ถ้ามนุษย์มีความดี สองในสี่พระองค์มีกายสีเหลือง
    ถ้ามนุษย์มีความดี หนึ่งในสี่พระองค์มีกายสีดำหรือสีดอกอัญชัน
    ในเวลาพระนารายณ์เสด็จไปปราบหมู่มารต่างๆ
    พระองค์จะทรงแปลงเพศหรืออวตารเป็นรูปต่างๆ เช่น

    มัสยาวตาร เป็นปลา
    กูรมาวตาร เป็นเต่า
    วราหาวตาร เป็นหมู
    นรสิงหาวตาร เป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์
    วามนาวตาร เป็นพราหมณ์วามน
    ปรศุรามาวตาร เป็นปรศุราม
    รามจันทราวตาร เป็นพระราม
    กฤษณาตาร เป็นพระกฤษณะ
    พุทธาวตาร เป็นพระพุทธเจ้า
    กัลกยาวตาร เป็นกัลกีในอนาคต

    [​IMG]
    พระตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (แพ) หลังกลาง


    ตำหนักสมเด็จ

    อยู่ที่คณะ ๖ ติดกับเขตพุทธาวาสบริเวณพระอุโบสถสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว
    แต่มีขนาดใหญ่และสูงกว่ากุฏิอื่นๆ ก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม
    หลังคามุงกระเบื้อง โครงสร้างภายใน เช่น พื้นเพดาน ประตูหน้าต่างเป็นไม้
    ภายในเป็นห้องโถงใหญ่ขนาด ๓ ห้อง ไม่มีผนังกั้น
    สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    คราวเดียวกับการสร้างพระอุโบสถ โดยมีหมู่กุฏิล้อมตัวตำหนัก
    ด้านทิศตะวันออก ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้

    ตำหนักสมเด็จนี้มีความสำคัญคือ
    เคยเป็นที่ประทับและที่อยู่จำพรรษาของสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะผู้มีชื่อเสียง
    จากการกอปรกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ
    เป็นอธิบดีสงฆ์ของวัดสุทัศนเทพวนารามมาโดยลำดับ

    อนึ่ง ที่วัดสุทัศนเทพวรารามแห่งนี้ยังไม่มีเจดีย์เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ
    เนื่องจากมี “สัตตมหาสถาน” ซึ่งเป็นอุเทสิกเจดีย์
    หรือสถานที่สำคัญ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าประทับหลังจากตรัสรู้ ประดิษฐานแทน
    สถานที่แห่งนี้เคยใช้เป็นที่เวียนเทียนในวันวิสาขบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕
    แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปจัดงานรอบพระวิหารหลวงแทน เนื่องจากบริเวณเดิมคับแคบเกินไป

    [​IMG]
    พระอนิมิสเจดีย์


    สัตตมหาสถาน

    เป็นสถานที่เสวยวิมุตติสุขของพระพุทธเจ้า ๗ แห่ง ก่อนออกเสด็จเผยแผ่ศาสนา
    สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ประกอบไปด้วย

    พระรัตนบัลลังก์ บัลลังก์ใต้ต้นมหาโพธิ์ที่ประทับตรัสรู้
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย แวดล้อมด้วยรูปปั้นหมู่มาร

    พระอนิมิสเจดีย์ ที่ประทับรูปเก๋งจีนสำหรับดูต้นมหาโพธิ์
    โดยมิได้กะพริบพระเนตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

    พระรัตนจงกรมเจดีย์ สถานที่ที่พระพุทธองค์เสด็จจงกรมบนแผ่นศิลา
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จจงกรม

    พระรัตนฆรเจดีย์ เรือนแก้วหรือศาลาศิลาสำหรับทรงพิจารณาพระอภิธรรม
    ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ

    พระอชปาลนิโครธ ต้นไทรบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับนั่งยกพระหัตถ์ขวาห้ามธิดาพญามาร

    พระมุจลินทพฤษ์ ต้นจิกบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อีกด้านหนึ่งมีอ่างศิลาจีนปลูกบัว

    พระราชายตนพฤกษ์ ต้นเกดบนฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน
    ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรับผลเสมอ อีกด้านหนึ่งมีศิลาจีนสลักรูปม้าเทียมเกวียน

    บริเวณโดยรอบวัดจะมี ตุ๊กตาจีน ที่เคยใช้เป็นอับเฉาเรือในสมัยนั้น
    ซึ่งมีให้เห็นหลายแบบทั้งรูปบุคคล ไทย จีน ฝรั่ง เทพเทวดา ทวารบาล
    สัตว์ตามธรรมชาติ สัตว์ในหิมพานต์ และสัตว์ตัวละครในวรรณกรรม ฯลฯ
    ประดับเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีบอนไซ ต้นไม้ไทยที่หาดูได้ยาก
    และต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนา ๗ ชนิด

    [​IMG]
    พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๘


    พระบรมราชานุสาวรีย์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘


    ณ ที่วัดแห่งนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
    ประดิษฐานไว้บริเวณลานประทักษิณชั้นล่าง
    มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระวิหารหลวง

    พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ประทับยืน ขนาดเท่าพระองค์จริง
    ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ
    แท่นประดิษฐานเป็นหินอ่อนยกแท่นสูงระดับเหนือศีรษะ
    โดยตั้งพระบรมรูปและแท่นตั้งพุ่มดอกไม้
    ซึ่งหล่อด้วยสำริด อยู่ต่ำลงมาเล็กน้อย

    ด้านหน้ามี จารึกแผ่นทองเหลือง
    กล่าวถึงกำหนดการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
    เบื้องพระปรัศว์เป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้งกั้น เหนือวงโค้งประดิษฐาน
    อักษรพระปรมาภิไชย “อปร” ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

    [​IMG]
    จารึกแผ่นทองเหลืองด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๘


    วัดสุทัศนเทพวรารามนี้ถือเป็นพระอารามประจำรัชกาลที่ ๘
    เนื่องจากเมื่อคราวที่พระองค์ท่านได้เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งแรก
    ได้เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ และทรงปรารภว่าวัดสุทัศน์นี้ร่มเย็นน่าอยู่
    และเมื่อทรงประกอบพิธีแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    ทรงเป็นพุทธมามกจารย์และถวายพระโอวาท
    อีกทั้ง ยังได้เสด็จมาทำพระสมาธิที่วัดแห่งนี้บ่อยๆ อีกด้วย

    ดังนั้น เมื่อรัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตแล้ว
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า
    ไว้ ณ ผ้าทิพย์ เบื้องหน้าฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี
    พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม
    ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต


    และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้ประกอบพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคต
    ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
    ในวันที่ ๙ มิถุนายนของทุกปี

    [​IMG]
    “ตุ๊กตาจีน” บริเวณโดยรอบวัด
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
    พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๑


    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
    แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    มีพระนามเดิมว่า “หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์” พระนามฉายาว่า “สุจิตฺโต”
    เป็นพระโอรสใน หม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม นภวงศ์
    ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ ตรงกับวันศุกร์
    แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา
    จึงทรงเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่ ๔
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    และได้ทรงเนื่องในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราชด้วย
    เพราะกรมหมื่นมเหศวรวิลาสและพระอนุชา คือ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
    (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส)
    ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นธิดาของพระอินทรอไภย (เจ้าฟ้าทัศไภย)
    โอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราช

    (ราชพัสดุของสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราช
    บางอย่างที่ทรงได้รับสืบต่อมา เช่น พระแท่นหินอ่อนยังอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร)

    ส่วนหม่อมเอมเป็นธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย)
    ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ)
    บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี

    หม่อมเจ้าถนอม ทรงมีโอรสธิดากับหม่อมเอม คือ
    ๑. ม.ร.ว.ชุบ (พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์)
    ๒. ม.ร.ว.ชื่น (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
    ๓. ม.ร.ว.เณร
    ๔. ม.ร.ว.หญิงหนู
    ๕. ม.ร.ว.กมล (พระยาวิเศษภักดี)
    ๖. ม.ร.ว.ถกล (หลวงประสานคดี)
    ๗. ม.ร.ว.หญิงรอด

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ประสูติที่ตำหนักท่านบิดา
    ซึ่งอยู่ในวังพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวิลาส
    (คือบริเวณตลาดนานา บางลำภู พระนคร ในเวลานี้)


    เมื่อทรงพระเยาว์

    เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนบรรพชา ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยที่วังพระบิดา
    ครูผู้สอนที่เคยรับสั่งเล่าชื่อครูชม (ส่วนพระยาวิเศษภักดีเล่าว่า ครูผู้สอนชื่อจำเริญ
    เป็นการสมัครเรียนเอง และครูก็ได้สมัครสอนให้
    มิได้มีการบังคับให้เรียนหรือให้สอนจนอ่านหนังสืออก)

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔) พระองค์เจ้าประดิษฐาสารีได้ทรงเล่าพระประวัติตอนนี้
    ตามที่พระสนตยากโร (พลตรีพระยาเสนาสงคราม ม.ร.ว.อี๋ นภวงศ์) บันทึกมาว่า

    เมื่อมีพระชนมายุพอจะเป็นมหาดเล็กได้ ก็ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กราชวัลลภ
    ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามกุฏราชกุมาร
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ได้เป็น “คะเด็ด” ทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ
    มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ทำนององครักษ์

    เวลาอยู่ประจำการตามหน้าที่ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ได้พำนักอยู่
    ณ ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔) พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ
    ซึ่งทรงเป็นผู้อุปการะและอบรมสั่งสอน

    (ส่วนพระยาวิเศษภักดีเล่าว่า ทรงอยู่ที่ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔)
    พระองค์เจ้าโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ)
    ซึ่งเป็นพระเชษฐภคนี ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน (เจ้าจอมมารดาเที่ยง)
    กับพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวสดิ)
    จึงทรงได้รับการศึกษาอบรมจากราชสำนักฝ่ายในมาแต่ทรงพระเยาว์

    [​IMG]
    พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
    พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงบรรพชา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘



    ทรงบรรพชา

    เมื่อมีพระชนมายุเจริญขึ้นแล้ว ได้ทรงออกจากวังและได้บรรพชาเป็นสามเณร
    ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
    เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ในขณะที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงพระชนม์อยู่

    แต่ปรากฏในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
    ในระยะหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    ไม่ค่อยได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ในวัดนี้ก็ไม่ทรงรับเป็นพระอุปัชฌาย์
    แต่ก็ทรงโปรดฯ ให้บวชอยู่ในวัดได้ต้องถือพระอุปัชฌาย์อื่น

    ในระหว่างที่ทรงเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ไปประทับอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.ชุบ นภวงศ์ (พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์)
    ผู้เป็นพี่ชายได้อุปสมบทอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
    และต่อมาได้ตามเสด็จ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    กลับมาประทับยังวัดบวรนิเวศวิหาร

    ในปลายสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    และทรงศึกษาจากพระอาจารย์อื่นบ้าง เช่น หม่อมเจ้าพระปภากร,
    พระสุทธสีลสังวร (สาย) ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณร

    [​IMG]
    พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕



    ทรงอุปสมบท

    ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
    โดยมี พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
    และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระนามฉายาว่า “สุจิตฺโต”

    การอุปสมบทในครั้งนี้ และทั้งการบรรพชาในครั้งก่อน
    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    ได้ทรงจัดพระราชทาน และได้พระราชทานพระอุปถัมภ์ตลอดมา

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น ได้ทรงครองวัดนี้ต่อมา
    และได้ทรงจัดการวางระเบียบการปกครองวัดขึ้นใหม่หลายอย่าง
    ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
    (พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ ๒๔๖๕
    โดยพระบรมราชโองการในงานถวายพระเพลิงสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ)

    ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ได้ทรงจัดตั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
    เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และเป็นที่ประชุมแปลสอบไล่
    เรียกว่าเป็นส่วนวิทยาลัยแผนกหนึ่งจัดโรงเรียนขึ้นตามพระอาราม
    เป็นสาขาของวิทยาลัยอีกแผนกหนึ่ง

    ฉะนั้น การสอบไล่พระปริยัติธรรมจึงสอบได้ ๒ แห่ง คือ สนามหลวงแห่ง ๑
    สนามมหามกุฏราชวิทยาลัยแห่ง ๑ (ต่อมาทรงเลิกสนามมหามกุฏฯ)

    เปรียญผู้สอบได้ ทรงตั้งให้เป็นเปรียญหลวงเหมือนกัน
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (เวลานั้นทรงเป็น ม.ร.ว.พระชื่น เปรียญ)
    ได้ทรงเป็นครูรุ่นแรกของ โรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    ซึ่งเป็นสาขาที่ ๑ ของวิทยาลัย ที่เปิดพร้อมกันทุกโรงเรียน
    และพร้อมกับเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ นั้น

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้เคยรับสั่งเล่าว่า
    มีพระประสงค์จะสอบไล่เพียง ๕ ประโยคเท่านั้น จะไม่ทรงสอบต่อ
    ทรงตามอย่างสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งทรงสอบเพียงเท่านั้น
    เพื่อมิให้เกินสมเด็จพระบรมชนกนาถ

    แต่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สอบต่อไป
    และทรงคัดเลือกส่งเข้าสอบสนามหลวง

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    พระกรรมวาจาจารย์ในคราวทรงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕



    หลังจากที่ทรงอุปสมบทแล้ว จึงทรงสอบต่อได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ กิจที่ทรงปฏิบัติ ร.ศ. ๑๑๔ ในระหว่างนี้
    เป็นไปดังที่ปรากฏในลายพระหัตถ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    ในพระรูปที่ประทานในโอกาสพิเศษครั้งหนึ่งว่า

    “ให้สุจิตต์ไว้เป็นที่ระลึก ในการที่ได้ช่วยเอาภารธุระ
    เป็นครูสอนภิกษุสามเณรในโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
    ซึ่งนับว่าเป็นการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    แลเป็นการช่วยในตัวเราผู้เป็นอาจารย์ของตัวเธอด้วย”


    ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน ร.ศ. ๑๑๔
    ซึ่งเป็นวันเกิดที่ครบ ๓๕ รอบบริบูรณ์ของเรา

    กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส


    อนึ่ง เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...