<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญมหามงคลไตรมาส 38 เนื้อทองแดง ด้านหลังมีสัญลักษณ์อัฐบริวารของสายพระป่าศิษย์หลวงปู่มั่น
    หลวงปู่แว่น ธนปาโล สร้างและปลุกเสกอธิฐานจิตพร้อมพระกริ่งแผ่นดินไหว เหรียญทำได้สวยเหมือนจริงมาก ถ้าจ้องดูเหรียญเหมือนท่านมองมาหาเราจริงๆเลย

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ*[/FONT]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2106.jpg
      SAM_2106.jpg
      ขนาดไฟล์:
      640.6 KB
      เปิดดู:
      336
    • SAM_2107.jpg
      SAM_2107.jpg
      ขนาดไฟล์:
      793.9 KB
      เปิดดู:
      136
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2011
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    ภาพความหลัง


    [​IMG]


    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่แว่น ธนปาโล
     
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ
    (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)
    วัดถ้ำพระสบาย
    อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    จากหนังสือ บูรพาจารย์
    <TABLE style="BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px" id=table1 class=MsoTableGrid border=0 cellPadding=0 width="96%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>นามเดิม
    </TD><TD>แว่น ทุมกิจจะ เป็นบุดรของนายวันดี และนางคำไพ ทุมกิจจะ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>เกิด
    </TD><TD>วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เดือน ๔ ปีจอ ณ บ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" vAlign=top width=91>บรรพชา
    </TD><TD>เมื่ออายุ ๑๘ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วัดศรีรัตนาราม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้พบหลวงปู่สิม พฺทธาจาโร (เป็นญาติลูกผู้พี่ผู้น้องใกล้ชิดท่าน) เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงสนใจการปฏิบัติทางสายธุดงค์กัมมัฏฐาน
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" vAlign=top width=91>อุปสมบท
    </TD><TD>สายธรรมยุต เมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสารภาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เคยรับการอบรมธรรมกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ที่วัดป่าคลองกุ้ง จังหวัดจันทบุรี ก่อนที่จะเข้ามาเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาสอยู่ ๖ ปี จึงได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กระทั่งมรณภาพ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>สมณศักดิ์
    </TD><TD>เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ
    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>มรณภาพ
    </TD><TD>วันอังคารที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๘ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๖๘
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อาจาริยธรรม
    ในพรรษาที่ ๑๒ ของหลวงปู่แว่น ธนปาโล นั้น พระอาจารย์เกิ่งได้ชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเถระ ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่แว่นได้มีโอกาสกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ซึ่งท่านมีความเลื่อมใสศรัทธาท่านพระอาจารย์มั่นอยู่แล้ว เมื่อได้กราบไหว้องค์จริงและเห็นจริยาวัตรอันงดงาม ก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดจิตสุดใจ จึงได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้น
    หลวงปู่ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านพระอาจารย์มั่น ด้วยการที่ท่านรินน้ำร้อนแล้วยื่นให้หลวงปู่ฉัน โดยใช้ถ้วยของท่านพระอาจารย์มั่นนั่นเอง ด้วยความเคารพครูบาอาจารย์ หลวงปู่รู้สึกว่าเป็นการไม่สมควรที่จะใช้ถ้วยน้ำร้อนใบเดียวกันท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงลังเล อิดเอื้อน ถือถ้วยน้ำร้อนไว้เฉย ๆ พร้อมทั้งมองหาถ้วยใบอื่นมาเปลี่ยน
    ท่านพระอาจารย์มั่นเห็นอาการลังเลของศิษย์ จึงกล่าวกำชับให้ฉันอีก และให้ฉันให้หมด หลวงปู่จึงจำเป็นต้องฉัน เพราะไม่อยากขัดความเมตตาจากครูบาอาจารย์
    โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ
    ต่อจากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเทศน์เชิงเปรียบเทียบให้หลวงปู่แว่นฟังว่า
    “มีชายคนหนึ่งชำนาญในการตกเบ็ด เอากบน้อยไปเกี่ยวเบ็ดเป็นเหยื่อตกปลา เมื่อหย่อนเบ็ดลงในน้ำ กบก็ตีน้ำอยู่ไปมา ปลาเห็นเข้าก็ฮุบกบเป็นอาหาร ยังคงเหลือหนังกบติดอยู่กับเบ็ด ชายคนนั้นจึงนำเอาสิ่งที่พบเห็นไปเป็นอุบายเจริญภาวนา จนเห็นร่างกายตนชัดเจน”
    ท่านพระอาจารย์มั่นย้ำต่อไปว่า
    “การดูตัวเองจนเห็นชัด ดีกว่าไปพิจารณาคนอื่น เห็นคนอื่นมีแต่น่าตำหนิทั้งหมด สู้ดูตัวเองไมได้เน๊าะ”
    พอท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เสร็จ ท่านก็ลุกขึ้นเดินลงจากกุฏิไปท่าน้ำเพื่อลงเรือข้ามฟาก หลวงปู่เดินตามไปพร้อมกับกำหนดดูอิริยาบถท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วย และคิดในใจว่า ท่านพระอาจารย์มั่นช่างมีจิตใจที่มั่นคงสมชื่อจริง ๆ
    เมื่อไปถึงท่าน้ำ ท่านพูดว่า “ท่านลงเรือลำนี้ ผมจะลงลำนั้น” คือชี้ให้ลงเรือคนละลำกัน หลวงปู่ยืนนิ่งอยู่เพราะตั้งใจจะขอลงเรือลำเดียวกันกับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านได้พูดย้ำคำพูดเดิมอีกถึง ๒ ครั้ง หลวงปู่จึงลงเรือคนละลำกับท่านพระอาจารย์มั่น พระเณรที่ติดตามมาต่างก็ลงเรือจนเต็มทั้งสองลำแล้วข้ามฝั่งไป
    จากอุบายธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์สอนหลวงปู่นั้น แสดงว่าท่านกำหนดรู้ถึงการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่เมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี (คือหลวงปู่ได้พิจารณาซากศพก่อนเผา เกิดนิมิตศพโยมเป็นร่างกายของหลวงปู่ขึ้นมาแทน จนปรากฏเห็นไตรลักษณ์ชัดเจน ซึ่งท่านพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก จนรู้สึกถึงความจริงในอัตภาพร่างกายคนเราได้) หลวงปู่จึงได้นำไปเป็นอุบายในการกำหนดพิจารณาธาตุขันธ์ร่างกายเป็นอารมณ์ ตามจริตของหลวงปู่เอง
    การนำอุบายจากท่านพระอาจารย์มั่นไปกำหนดการภาวนา นับว่าเป็นประโยชน์มหาศาลแก่หลวงปู่ โดยถือเป็นทางดำเนินที่เข้ามรรคผลได้อย่างดียิ่ง การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในระยะต่อมาได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว กำลังสติ กำลังปัญญา มีความแจ่มใสมากขึ้นโดยลำดับ จนสามารถเอาตัวรอดได้ สมความตั้งใจของท่านที่มุ่งปฏิบัติชอบตามครูบาอาจารย์ เจริญรอยตามเยี่ยงพระอริยสาวกทั้งหลาย
    ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ มีหลายสิ่งที่หลวงปู่รู้สึกประทับใจในวิธีการของท่านพระอาจารย์มั่น และนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังบ่อย ๆ
    มีอยู่คืนหนึ่ง พวกชาวบ้านได้พากันหามเสื่อไปจนถึงกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า
    “จะเอาไปทำอะไร”
    ชาวบ้านตอบว่า จะเอาไปปูนั่งเพื่อฝึกหัดร้องสรภัญญะ เพื่อจะไปร้องแข่งในงานศพ ท่านพระอาจารย์เสาร์
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกประชุมสงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์มาพร้อมจึงพูดขึ้นว่า
    “สรภัญญะนี้ ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ท่านไม่ได้สอน ผมก็ไม่ได้สอน ใครเป็นผู้สอนหือ?”
    ความจริงท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่าใครเป็นคนสอน แต่ท่านไม่ออกชื่อ ทั้ง ๆ ที่ผู้สอนก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ (คงจะหมายถึงหลวงปู่แว่นเองก็ได้ เพราะท่านเคยเป็นครูสอนสรภัญญะในพรรษาที่ ๖ เมื่อครั้งไปพำนักที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ตั้งแต่คืนนั้น ไม่มีใครกล้าฝึกร้องสรภัญญะอีกเลย แต่เอาเวลาส่วนใหญ่ไปปฏิบัติสมาธิภาวนา ต่างคนต่างปฏิบัติ ดูจิตดูใจของตนเอง
    เกี่ยวกับข้อปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่นอีกเรื่องหนึ่ง ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ คือ เขานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นไปชักบังสุกุลศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปที่ศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กราบลง แล้วเดินกลับ ไม่ยอมชักบังสุกุล
    เมื่อออกพรรษาที่ ๑๓ แล้ว หลวงปู่ออกเดินทางจากวัดโนนนิเวศน์ อุดรธานี ธุดงค์ไปยังจังหวัดสกลนครบ้านเกิด แล้วเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พอท่านเห็นก็ถามขึ้นว่า
    “ท่านแว่น ท่านภาวนาอย่างไร”
    หลวงปู่กราบนมัสการว่า
    “กระผมพิจารณาดูกาย จนกระทั่งจิตพลิกเห็นความสว่างไสวแล้วเข้าสู่ตัวรู้นั้น”
    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อธิบายอีกครั้งว่า
    “การที่ท่านแว่นพิจารณากายจนจิตพลิกไปสู่ความรู้ แล้วก็เข้าไปอยู่ในความรู้นั้น จะเป็นการทำให้ท่านติดอยู่ในความสุขอยู่อย่างนั้น ครั้นออกจากความรู้เข้ามาในกาย มันก็ทุกข์ ๆ สุข ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด”
    หลวงปู่กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “หลวงปู่ ทำอย่างไรจึงได้คุณงามความดี”
    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า
    “แต่ก่อนผมก็ยังเดือดร้อนอยู่ ภาวนาปักจิตลงในกายทั้งวันทั้งคืนไม่ถอน มันจึงระเบิดออกให้เห็น ตั้งแต่นั้นความรู้เกิดขึ้นไม่รู้จักหมด”
    หลังจากได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้นแล้ว หลวงปู่รู้สึกอิ่มเอิบในความเมตตาจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก มีกำลังใจในการค้นหาสัจธรรมด้วยใจเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิดเพื่อรับการฝึกอบรมจากท่านพระอาจารย์มั่นให้มากขึ้นจึงกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “กระผมจะขอนิสัย” (หมายความว่า ขออยู่รับใช้ใกล้ชิด เพื่อให้ครูบาอาจารย์ช่วยแนะนำอบรมบ่มนิสัยให้)
    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า
    “ท่านแว่นพรรษา ๑๓ ก็พ้นนิสัยแล้ว”
    หลวงปู่จึงกราบเรียนถวาย
    “พรรษาตามพระวินัยผมก็รู้จัก แต่ผมไม่ต้องการ ผมต้องการนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ในโลกนี้อีก”
    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้นิสัย แล้วหลวงปู่ก็เร่งความเพียรมากขึ้น เมื่อมีสิ่งใดติดขัด ก็เข้าเรียนถามท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องข้อนั้น ๆ การปฏิบัติบังเกิดผลดี จิตปลอดโปร่ง มีกำลังสมาธิเพิ่มขึ้น ล่วงมาจนใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่จึงกราบลาท่านพระอาจารย์มั่น เดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอพรรณานิคม
    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้รับข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น หลวงปู่คิดจะเดินทางไปเคารพศพของท่านพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดสกลนคร บังเอิญหลวงปู่สิมได้แวะมาเยี่ยมหลวงปู่ในช่วงนั้น ได้กล่าวทัดทานไว้ โดยให้ข้อคิดว่า
    “ท่านพระอาจารย์มั่นของเรา ท่านมิได้ปรารถนาให้เดินทางไปเคารพศพท่าน แต่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ให้ลูกศิษย์ลูกหาตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติรักษาจิตใจให้มั่นคง”
    หลวงปู่แว่นจึงไม่ได้เดินทางไปยังวัดป่าสุทธาวาส แต่มุ่งมั่นในการปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาสัจธรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไปตามแนวทางที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    • จากหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น ธนปาโล) วัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยคณะศิษยานุศิษย์
    ข้อความต่อจากนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระทู้ที่โพสท์ใน ลานธรรมเสวนา
    โดย : นายประสงค์ กระทู้ที่ 000223
    จากหนังสืออนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ของหลวงปู่แว่น ธนปาโร
    *หลวงปู่แว่น พระผู้มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์
    หลวงปู่แว่น ธนปาโล แห่งถ้ำพระสบาย ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นพระวิปัสนาจารย์ ที่เป็นที่เคารพนับถือของผู้ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน
    ท่านเป็นเป็นศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ผู้เขียน (อ.ปฐม) ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่แว่นหลายครั้ง ทั้ง ที่ กทม.และที่วัดถ้ำพระสบาย แทบทุกครั้งท่านจะทักผู้เขียนเสมอว่า "เมื่อไรจะบวช"
    ใจจริงผู้เขียนก็ปรารถนาที่จะบวช และมอบกายถวายชีวิต เพื่อตามรอยองค์พระศาสดา แต่ก็ยังหาโอกาสนั้นไม่ได้ เพราะหลงโลกมาเป็นเวลานาน การจะถอดจะถอนจากโลก ที่เราสร้างไม่ใช้ทำได้ง่าย จึงกราบเรียนหลวงปู่ไปว่า "ผมอยากจะบวช แต่ยังมีเมียมีลูกจะต้องดูแล"
    หลวงปู่ตอบว่า "เอาเมียมาบวชด้วย"
    ผมก็ตอบว่า "ทำไม่ได้ครับ ลูกยังเรียนหนังสืออยู่"
    หลวงปู่ก็รุกว่า "เอาลูกมาบวชเณรด้วยก็ได้"
    ผู้เขียนก็จนแต้ม ได้แต่หัวเราะแก้เก้อไป
    ผู้เขียนถูกรุกด้วยคำถามข้างต้นอยู่เสมอ ซึ่งแสดงว่าในน้ำจิต น้ำใจของหลวงปู่ ท่านมีศรัทธายิ่งต่อการบวชเป็นพระภิกษุ ท่านปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ระมัดระวังทุกอิริยาบถ
    ผู้มีโอกาสได้กราบไหว้และใกล้ชิดหลวงปู่ ย่อมรู้ว่าท่านเป็นพระ ดีองค์หนึ่งในปัจจุบัน
    พระดีจะมีพลังดึงดูดให้ผู้ปฎิบัติธรรมเข้าหา เข้าใกล้ ด้วยความซาบซึ้งใจ กราบแล้วก็ยังไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ
    คุณดำรงค์ ภู่ระย้า นักเขียนธรรมแห่งนิตยสารโลกทิพย์ได้เขียนถึงหลวงปู่แว่นว่า
    "หลายครั้งแล้วที่ผู้เขียนเดินทางไปกราบพระดีที่ควรกราบไหว้แห่ง จ.ลำปาง เมื่อไปพบท่านเป็นครั้งแรก แม้ท่านจะเป็นพระที่พูดน้อย ชนิดที่ถามคำแล้วก็ตอบคำ แต่ทว่าในส่วนลึกของจิตใจนั้นเกิดความ ศรัทธาในปฏิปทาของท่านเป็นอย่างมาก
    ตลอดเวลาในการนั่งสนทนากับท่าน ท่านจะนั่งตัวตรงนิ่งด้วย อาการสำรวม อย่างหาที่ติไม่ได้เลย ไม่ว่าญาติโยมนั้นจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม กิริยาจะสำรวมอย่างนี้ตลอด"
    อีกตอนหนึ่งผู้เขียนคนเดียวกัน ก็สรุปถึงคุณลักษณะของหลวงปู่แว่น โดยรวมว่า
    "...จึงจะเห็นได้ว่า ท่านพระอาจารย์แว่น ธนปาโล มีกายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์อย่างแท้จริง"
    ท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่มีกาย วาจาใจ บริสุทธิ์ เป็นองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ในยุคที่พระดีค่อนข้างที่จะหายากอย่างงยิ่ง
    หลวงปู่แว่น ใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุยาวนานต่อเนื่องกันถึง 68 ปี ท่านผ่านการธุดงค์ มาอย่างโชกโชน และน่าจะยึดถือเป็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติอย่างไม่น่าเคลือบแคลงสงสัยใดๆเลย
    ท่านเป็นพระที่เรากราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่สงสัยเคลือบแคลงใดๆ ทั้งสิ้น
    *นิสัยใฝ่ธรรมตามโยมมารดา
    ในชีวิตเยาว์วัย เด็กชายแว่นมักจะตามมารดาไปยังที่ต่างๆ เสมอเรียกว่าติดแม่อย่างมาก จากการติดแม่นี้เอง ทำให้หลวงปู่ได้นิสัยใฝ่ธรรมมาตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะวันโกนวันพระ เด็กชายแว่นจะมีโอกาสไปวัด คุ้นเคยกับกับวัด คุ้นเคยกับพระสงฆ์องคเจ้า มาตั้งแต่เยาว์วัย ท่านมีศรัทธาต่อการบวช ได้รับการโน้มน้าวจิตใจ คิดอยากจะบวชตามพระเณร ตามที่ท่านได้เคยเห็นมา
    *ตัวตนไม่ใช่ของเรา
    สมัยหลวงปู่เข้าสู่วัยรุ่น ท่านเคยล้อเลียนให้โยมแม่ตกอกตกใจเหมือนกัน
    หลวงปู่เล่าว่า วันหนึ่งโยมมารดากลับจากไปฟังเทศน์กรรมฐานจากวัด ก็เอาคำพระมาสอนลูกว่า "ตัวตนไม่ใช่ของตน” หลวงปู่กำลังถือมีดโต้อยู่พอดี นึกสนุกคว้ามีดโต้จะฟันลงที่โยมมารดา เพื่อจะลองคำพูดที่ว่า "ตัวตนไม่ใช่ของเรา”
    โยมมารดาตกใจนึกว่าจะฟันจริงๆ ร้องลั่นว่า “อย่า มึงอย่ามาฟันกู”
    ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้นต่างหัวเราะขบขันกัน ที่เห็นหลวงปู่ล้อมารดาคราวนั้น
    หลวงปู่ได้พูดถึงเรื่องนี้ภายหลังว่า
    "พอมาบวชแล้วถึงได้รู้จักคำสอนในตัวเรา กว่าจะอ่านจิตใจออก”
    พร้อมทั้งลากเสียงสูงตามเอกลักษณ์ของหลวงปู่ว่า
    "พุทโธ้! มันไม่ใช่ของง่ายเลย”
    หมายความว่าการที่จะเข้าใจในเรื่องตัวเรา-ของเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
    *ผู้สหชาติกับหลวงปู่สิม
    ในหนังสือที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จผูกพัทธสีมาวัดถ้ำพระสบายวันที่ 23 ม.ค.40 ได้บันทึกในเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า
    “ในครั้งพุทธกาล พระอานนท์ เป็นพุทธอนุชา ผู้เป็นสหชาติเกื้อกูลพระพุทธองค์ ในกึ่งพุทธกาลนี้ พุทธสาวกผู้สัมมาปฏิบัติเช่นหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ก็มี หลวงปู่แว่น ธนปาโล ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชายคอยช่วยเกื้อกูลกันและกัน”
    หลวงปู่สิม เป็นพระวิปัสนาจารย์ที่เป็นที่เคารพรัก และศรัทธา ของเหล่าพุทธศาสนิกชน ผู้ปฎิบัติธรรม แห่งถ้ำผาปล่อง อ. เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2535 สิริรวมอายุได้ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา
    หลวงปู่สิม กับหลวงปู่แว่น เป็นญาติใกล้ชิดกัน ในตระกูล โยมพ่อของหลวงปู่สิม เป็นพี่ชายแท้ๆ ของโยมแม่ ของหลวงปู่แว่น จึงถือว่าหลวงปู่สิมเป็นญาติผู้พี่ และหลวงปู่แว่น เป็นญาติผู้น้อง ที่สำคัญก็คือ ท่านทั้งสองมีอายุไล่เลี่ยกัน สนิทสนมกันตั้งแต่เด็ก และอุปถัมภ์ เกื้อกูล กันมาตลอด
    หลวงปู่แว่นเล่าให้ฟังว่า สมัยยังหนุ่ม หลวงปู่ทั้งสองมักเที่ยวในหมู่บ้านต่างๆ ด้วยกันตามประสาคนหนุ่ม ก่อนบวช หลวงปู่สิมนั้นเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่แว่นนั้น เป็นหมอแคนคู่กันไป ความสนิทสนมของหลวงปู่ทั้งสอง จึงมีความลึกซึ้งแนบแน่น เป็นอย่างมาก หลวงปู่สิมบวชเป็นพระก่อน และเมื่อสมัยหลวงปู่แว่นจะออกบวช หลวงปู่สิม ได้ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล และก็ได้เกื้อกูลกันมาต่อเนื่อง ในระหว่างบรรพชิตจนปัจฉิมวัย
    นอกจากหลวงปู่สิมแล้ว ทั้งสององค์ ยังมีญาติผู้หลาน ที่เป็นพระอริยเจ้าซื่อดังแห่งลำปาง อีกองค์หนึ่งคือ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ แห่งวัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง ใกล้ชิดของหลวงปู่ทั้ง 3 องค์
    *บรรพชาเป็นสามเณร
    หลวงปู่บวชเณรเมื่ออายุ 18 ปีเมื่อปี พ.ศ.2472 ที่วัดศรีรัตนาราม จ. สกลนคร มีพระอาจารย์สีธร เป็นพระอุปัชฌาย์
    *ติดตามหลวงปู่สิม
    หลังจากที่หลวงปู่แว่นบวชเณรแล้ว พระภิกษุสิม ญาติผู้พี่ ซึ่งบวชเป็นพระธรรมยุติ และผึกปฎิบัติอยู่กับหลวงปูมั่น ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อเกณฑ์ทหารเพราะอายุครบ 20 ปี
    หลวงปู่แว่นเล่าถึงหลวงปู่สิมในสมัยนั้นว่า
    "เมื่อเห็นจริยาวัตรอันงดงามทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งยืนเดินของพระภิกษุสิมจึงนำความมาเล่าให้พี่ชายฟังว่า เห็นครูบาสิมน่าเลื่อมใส จะขออกกรรมฐานด้วย"
    พระพี่ชายจึงบอกว่า
    "ดีหละเณร ถ้าจะออกกรรมฐาน เราจะหามุ้งกลดให้"
    เณรแว่นได้ลาโยมบิดามารดา ออกธุดงค์เมื่อหลวงปู่สิมไม่ถูกเกณฑ์ทหาร และท่านได้พาเณรแว่นไปขอนแก่น ระหว่างทางได้พักที่ป่าช้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พระภิกษุสิมได้ทำเพิงพัก ส่วนเณรแว่นนอนบนพื้นดิน โดยหักไม้มาแทนที่หมอนและที่นอน
    เวลากลางคืนพระภิกษุสิมได้สอนเณรแว่นให้ภาวนา และเดินจงกรม ตามแบบหลวงปู่มั่น
    หลวงปู่เล่าว่า ถูกพระภิกษุสิมตีหลังเสียหลายที เวลากราบพระ เพราะเวลากราบพระ เพราะท่านกราบหลังโก่ง ดูไม่งดงาม ท่านต้องไปฝึกกราบ จนถูกต้องแล้ว จึงมากราบพร้อมกับพระภิกษุสิม
    นอกจากนั้นพระภิกษุสิมยังสอนวิธีการครองผ้า และข้อวัตรต่างๆ ตามสมควร
    จากคุณ : ประสงค์ [ 13 ส.ค. 2542 ]
    ความคิดเห็นที่ 14 : (ทองจันทร์)
    ขอบคุณมากครับ เรื่องที่หลวงปู่แว่น ชอบชวนคนบวชผมก็เคยประสบด้วยตัวเองครับ ตอนนั้นฟังท่านเทศน์ที่ ม.ธรรมศาสตร์พอท่านเทศน์จบคนเขาให้ท่าน เป่าหัวให้ ก็เลยไปบ้าง ท่านก็ว่า "นี่เป่าให้ได้บวชนะ "
    จากคุณ : ทองจันทร์ [ 12 ส.ค. 2542 ]
     
  5. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    สวยงามครับ ขอจองได้ไหมครับท่านโม:cool::cool::cool:
     
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    สวัสดียามเย็นครับท่าน รับโชค(kiss)
     
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]
    เหรียญหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโขภิตาราม หลังสิงห์ ปีพศ.2514


    ในปี 2514 หลวงพ่อสมภพ นำมวลสารทำวัตถุมงคล รุ่น 2
    ปี พ.ศ.2514 หลวงปู่เผือก พระปรมาจารย์แห่งวัดสาลีโขภิตาราม ได้คำนวณฤกษ์เห็นควรประกอบมหาพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด สืบเนื่องมาแต่ “มหาฤกษ์” ที่ยากจะเกิดขึ้นในแต่ละคราว นั่นคือ "ฤกษ์มหาจักรจตุรงคสันนิบาต”
    อันได้แก่ ดาวจันทร์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวราหู ต่างเคลื่อนเข้าสถิตอยู่ในองค์เกณท์ราศีอันเป็น “มหาจักร” แห่งตน และจะปรากฎถึง 4 วาระด้วยกันตลอดไตรมาสพรรษาปี 2514 ซึ่งเหตุการณ์นี้ ทุก 200 ปีจะเกิดมีขึ้นครั้งหนึ่ง
    วาระมหามงคลที่จะ ถึงนั้น บรรดาผู้รู้ทั้งหลายไม่อาจปล่อยให้หลุดลอยได้ หลวงพ่อสาลีโขจึงกำหนดการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สมเวลาที่รอคอย ทั้งยังปรารถนาให้เป็น “ครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต” ของท่านทีเดียว
    การสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อสาลีโขนั้นไม่เลยแม้สัก ครั้งเดียวที่จะใช้โลหะเปล่า ท่านเพียรพยายามยิ่งในการจารอักขระเลขยันต์สำคัญครอบคลุมสรรพวิชาทั้งมวลลง ในแผ่นโลหะ เน้นหนักในทุกๆสายวิชาทั้งคงกระพัน มหาอุด ชาตรี กำบังตน มหาลาภ มหานิยม เมตตา แคล้วคลาด กันภัยกันคุณไสย กันภูตผี
    วิชาเหล่านี้ท่าน เพียรจารเสกเป่า แต่ละอักขระแต่ละพระยันต์ ท่านจะบรรจงเขียนอย่างสวยงาม ปลุกเสกและลงถม นำไปหลอมเอามาลงใหม่ ซับซ้อนเช่นนี้อย่างน้อย ถึง 3 วาระด้วยกัน กระทั่งคราวหลอมเพื่อรีดปั๊มเหรียญ ช่างถึงกับตะลึงเมื่อแผ่นทองวิ่งวนอยู่ในเบ้าหลอม ไม่ยอมละลาย ได้ตักเก็บไว้เป็นหลักฐานจำนวนหลายสิบแผ่น
    แผ่นทองชนวนนับสิบกิโล แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และวิริยะอุตสาหะ อันหาได้ยากในพระอาจารย์สมัยปัจจุบัน ไม่ควรแปลกใจเลยที่บังเกิดปาฏิหาริย์แผ่นทองไม่ละลายเพราะ “ปราณ” ที่ท่านเป่าประจุย่อมสถิตแนบแน่นอยู่ในทุกอณูแผ่นทอง จนโลหะธาตุธรรมชาติทั้งมวลถูกแปรสภาพเป็น “ธาตุสำเร็จ” จากการตั้งธาตุ ปรุงธาตุ และหนุนธาตุทั้ง 4 ขึ้นมาจากจิตที่ทรงอภิญญา
    เฉพาะ “เตโชกสิณ” นั้น ท่านเชี่ยวชาญถึงขีดสุด
    มงคล วัตถุที่สร้างประกอบด้วย พระพุทธรูปสุโขทัย หน้านาง ขนาด 9 และ 5 นิ้ว พระพุทธนาคปรก ขนาด 9, 5 นิ้ว, พระสังกัจจายน์ ขนาด 9 นิ้ว, รูปหล่อหลวงปู่เผือก ขนาด 9 , 5 นิ้ว , พระนาคปรกแขวนคอ, รูปหล่อหลวงปู่เผือกขนาดแขวนคอ, เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 พิมพ์ใหญ่ – เล็ก, เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อสาลีโข รุ่น 2 ชนวนมวลสารทั้งหมดถูกนำมาประกอบพิธีปลุกเสกในวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 18.00 น. โดยพระคณาจารย์มากมาย มีหลวงปู่เผือกประทับทรง หลวงพ่อสาลีโขเป็นประธาน เมื่อแล้วเสร็จได้จุณเจิมสรรพวัสดุด้วยกระแจะหอม และสวดหนุนด้วยพระพุทธมนต์พิเศษ คือ บทยานี , บทภาณวาร , บทคาถาพัน และอิติปิโสรัตนมาลา ก่อนจะนำแผ่นโลหะทั้งปวงมาหล่อหลอมเป็นชนวนสัมฤทธิ์เพื่อนำไปสร้างเป็นองค์ พระต่อไป
    วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10.08 น. เป็นกำหนดจุดเทียนชัยในพิธีเททอง และเริ่มทำพิธีพุทธาภิเษก วันนี้หลวงพ่อสาลีโขถือเป็นวันสำคัญที่สุดของงาน เพราะเป็นการเชิญชนวนสัมฤทธิ์เข้าสู่เบ้าหลอมหล่อรวมกับโลหะมงคลอื่นๆ แล้วเททองลงหุ่นให้สำเร็จเป็นองค์พระ จากนั้นจึงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ยังเบ้าหลอม
    ครั้นทุบหุ่นดินออกก็ อัญเชิญพระปฏิมาลงชุบน้ำศักดิ์สิทธ์จากสถานที่สำคัญเช่น น้ำสรงพระบรมธาตุ , น้ำเมืองเพชร, น้ำสระแก้ว, น้ำบ้านบางปืน ฯลฯ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพานเชิงใบใหญ่เคล้าคละประโปรบด้วยเครื่องหอม กระแจะจันทน์ พร้อมด้วยการเรียกสูตรตั้งนามให้เป็นสิริ ท่ามกลางพิธีมหาพุทธปรมาภิเษก พระมหานาคทั้งสี่เจริญบทมหาจักรพรรดิราช และบทพุทธาภิเษก โดยมีรายนามพระมหาเถระผู้ทรงรัตตัญญู ภาพเข้าร่วมพิธี ดังนี้
    1. พระภัทรมุกมุนี (ชิต) วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
    2. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย สุพรรณบุรี
    3. หลวงพ่อกุหลาบ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ นนทบุรี
    4. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
    5. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
    6. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ พระนคร
    7. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    8. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
    9. หลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
    10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    11. หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ ธนบุรี
    12. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    13. หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย สุโขทัย
    14. หลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
    15. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
    16. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    17. พระครูเมธีวรานุวัตร วัดมหาธาตุ พระนคร
    18. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
    19. หลวงพ่อจัน วัดสระเกษ พระนคร
    20. หลวงพ่อสั้น วัดท่าอิฐ นนทบุรี
    21. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา
    22. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    23. หลวงพ่อจันทร์ วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา
    24. หลวงปู่เส็ง วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี
    25. หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี
    วัน พฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2514 เวลา 16.00 น. พิธีมหามงคลสรงองค์พระให้สำเร็จเป็น “พระเครื่อง” โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ ปราศจากมลทินโทษใดๆ พระคณาจารย์ในงานเจริญบทมงคลจักรวาล , ชัยมงคลคาถา และทิพยมนต์
    วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2514 เวลา 09.00 น. ตรงกับวันมหาจักรจตุรงคสันนิบาตวันสุดท้าย เป็นวาระนัดผู้สั่งจองอิทธิวัตถุให้มารับการประสิทธิเมจากมือหลวงพ่อสาลีโข ด้วยตนเองจนถ้วนทั่วทุกตัวคน
    แลหาพิธีกรรมที่จัดทำอย่างมโหฬาร มหากาฬเยี่ยงนี้ในปัจจุบันแล้วใจหาย ด้วยหาไม่เจอยังไม่เท่าไร กลับประสบเพียงสุกเอาเผากินหลอกขายหลอกแขวนกันไปวันๆ ซึมเศร้าจนต้องมองหาเหรียญนี้มาแขวนแทนพระสมัยอินเตอร์เนต ค่อยอุ่นใจหน่อย
    ใคร หนาวใจแล้วอยากอุ่นอย่างผมต้องดิ้นรนหน่อยละ ที่ว่าหน่อยก็เพราะเหรียญหลวงปู่เผือกรุ่นสองนี้ยังพอหาได้ตามสนามทั่วไปใน ราคาเบาๆ ของปลอมผมยังไม่เคยเจอ แต่เขียนไปแล้วอาจเจอก็ได้ฉะนั้นให้รีบหา
    การันตี ด้วยหัวหลิมๆ (ที่เพื่อนชอบล้อ) ได้เลยว่าผมแขวนพระมาก็มาก ประทับใจจริงๆกับประสบการณ์ไม่กี่ชิ้น ยอมให้หมดใจว่าหลวงปู่เผือก เป็น 1 ในนั้นไม่สงสัยเพื่อนที่แขวนก็ยกนิ้วให้ว่าเยี่ยม
    แถมนิดนึงว่าเหรียญ รุ่นนี้ทุกเหรียญ จะมีคราบแป้งสีขาวอันเกิดจากผงวิเศษเกาะติดอยู่ ถ้ามีตกค้างอย่าไปแกะทิ้งเพราะเป็นของดี หากหลุดไปแล้ว เหลือคราบขาวไว้ ก็อย่าตกใจ มีทุกเหรียญแหละครับ
    เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 หรือ รุ่นปี 14 ได้ขอให้หลวงพ่อสมภพ สร้างเหรียญและเนื้อผงมาให้ประชาชนและลูกศิษย์ต่างมาบูชากัน เหรียญและพระผงที่ท่านสร้าง คือ เหรียญหลวงปู่เผือกนั่งฐานสิงห์ เป็นรุ่น 2 หรือเรียกกันติดปากว่า รุ่นปี 14 เพราะสร้างปี 2514 จะเล็กกว่ารุ่นแรกเพียงเล็กน้อยพิธีใหญ่ พิธีนี้ทางวัดสาลีโขได้อันเชิญพระกิจิอาจารย์ต่างที่ดังรวมสมัยนั้นมาปลุก เสก ก็ปลุกกันกว่าจะให้ลกศิษย์เช่าหากันไป

    ประสบการณ์ล่าสุดเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น 2 (วัดสาลีโขฯ)
    ชาย คนหนึ่งโดนยิงจากอริแต่ปืนไม่ลั่น3นัดซ้อนทีนี้เจ้าของปืน เห็นดังนั้น แต่ยังไม่ถอดใจจึงดิ่งตรงมาพร้อมด้วยมีดดาบมาฟันอีกแต่ คมนั้นหาได้ระบายตัวเขาไม่ทีนี้คนเริ่มมากันเยอะ คู่อรินั่น จึงเริ่มเผ่นหนีออกไปจากที่เกิดเหตุคนในเหตุการณ์ต่างสงสัยกันว่า ห้อยพระอะไร หรือมีของดีอะไรติดตัวปรากฏออกมาว่า "เขาได้ห้อยเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่น๒ใหญ่ (นั่งบนอาสนะ)" เพียงองค์เดียวเท่านั้น นี่เป็นเพียงประสบการณ์บางส่วนของผู้ที่บูชาเหรียญหลวงปู่เพียงส่วนหนึ่งนะ ครับ


    ข้อมูลจาก กรุสยาม ครับ


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • srk1.jpg
      srk1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.9 KB
      เปิดดู:
      232
    • srk2.jpg
      srk2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.4 KB
      เปิดดู:
      296
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2011
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    ในวันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เวลาประมาณ 15.00 น. คณะศิษยานุศิษย์และผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อสาลีโข (สมภพ เตชปุญโญ) พุทธอุทยานธรรมโกศล ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ได้พร้อมใจกันสรงน้ำสรีระของหลวงพ่อ แสดงความรักความอาลัยและกตัญญูต่อธาตุขันธ์ของท่านเป็นครั้งสุดท้าย

    ซึ่งการนี้ก็มีทั้งพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่จากอารามต่าง ๆ มาร่วมพิธีกันมากมาย ทั้งศิษย์ที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ทราบข่าวต่างก็มุ่งหน้ามาพุทธอุทยานฯ โดยพร้อมเพรียงกัน

    แม้จะเป็นงานที่ควรแก่การโศกสลด แต่ก็น่าปีติยินดีที่ได้เห็นกตเวทิตาในสานุศิษย์ จะร้อน จะเหนื่อย จะเมื่อย ก็ไม่มีใครบ่นใครท้อ ทำเพื่อหลวงพ่อเป็นอนุสรณียาลัยต่อพระบูรพาจารย์

    [​IMG]

    รอยบาทแห่งหลวงปู่นับแต่ได้พบพานทั้งชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไปไม่สิ้นสุดจนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังคำอธิษฐานของท่านที่จารึกลงบนแผ่นทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก 4 บาทแล้วฝังพร้อมกับเส้นเกศาของท่านที่ปลงลง ณ ใต้แท่นวัชรอาสน์ในร่มแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย

    ภาพนี้หลวงพ่อลงอักขระวิเศษไว้ด้วยลายมือของท่านเอง เห็นได้ถึงความแตกฉานอักษรขอมและฝีมือในการใช้ปากกาลักษณะหัวแร้งจาร พระคาถาในภาพคือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า" และ "บารมีสามสิบทัศ ครับ

    [​IMG]

    ร่างของหลวงพ่อสาลีโขเมื่อครั้งมาถึงพุทธอุทยานฯ ใหม่ ๆ มองคล้ายกับท่านนอนหลับมากกว่าละขันธ์

    ผิวพรรณของท่านเป็นสีชมพูดูแปลกตา ไม่ดำคล้ำเศร้าหมองเหมือนคนที่สิ้นลมมาแล้วนานกว่า 15 ชั่วโมง ศิษย์หลายคนจึงแอบหวังใจลึก ๆ ว่า "อีกไม่นานท่านอาจฟื้น" ร่ำร้องในใจว่าหลวงพ่อแค่นอนหลับไป...หลวงพ่อแค่นอนหลับไป...

    [​IMG]
    ทอดกายนอนสงบนิ่งแสดงธรรมสัจจะอบรมคณะศิษย์เป็นครั้งสุดท้ายว่า ทุกชีวิตต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าเราว่าเขา ล้วนมีความตายเป็นที่สุดรอบ เกิดเท่าไรตายเท่านั้น วันนี้ข่าวมรณกรรมเป็นของท่าน หากสักวันหนึ่งข่าวนี้ก็จะต้องเป็นของเราบ้าง

    ก่อนละสังขารไป หลวงพ่อได้บำเพ็ญคุณงามความดีอย่างเต็มกำลังความสามารถ และมิได้กระทำแต่ลำพังหากยังพร่ำสอนสานุศิษย์ให้บำเพ็ญตาม กายสิ้น แต่ความดียังคงอยู่

    [​IMG]
    *** บด้านหลังติดเครื่องทำความเย็นเพื่อรักษาสรีระของหลวงพ่อไว้รอการบรรจุลง "โลงแก้ว" อีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการหารือกันแล้วเห็นควรให้เก็บร่างท่านไว้คู่กับพุทธอุทยานธรรมโกศลซึ่งท่านดำริริเริ่มสร้างมาแต่ต้น

    ให้สานุศิษย์ได้กราบไหว้บูชา...

    ให้ได้ระลึกถึงความดีของท่าน...

    ให้ได้เห็นท่านบ้างแม้ท่านไม่ได้เห็นเรา...



    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2011
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    วิธีอาราธนาวัตถุมงคลของวัดสาลีโข
    พระอาจารย์สมภพได้บอกกับลูกศิษย์ทุกคนก่อนรับวัตถุมงคลไป ใช้ติดตัวว่า ต้องห้อยคอโดยไม่เลี่ยมก่อนให้เนื้อพระเสียดสีเข้าตัวก่อนค่อยนำไปเลี่ยมใส่ ติดตัว การอาราธนาพระติดตัวว่าดังนี้

    ๑. พยายามสำรวมจิตให้เป็นสมาธิ

    ๒. ให้มีความเพียรอย่าได้ย่อท้อ

    ๓. ทำตนให้เป็นคนเข้มแข็ง มีความเชื่อมั่นในตนเอง

    ต่อไปก็อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยให้ประดิษฐานอยู่กับตัว ให้บริกรรมในโอกาสคล้องคอ หรือนำพระติดตัวไปสถานที่ต่างๆให้ปฏิบัติดังนี้

    ๑. อัญเชิญพระเครื่องไว้ในมือทั้งสองจบขึ้นเหนือศีรษะแล้วบริกรรมว่า

    พุทธังอาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง อุกาสะอาราธนานังกะโรมิ (๓จบ)

    พุทโธ เดชะพระพุทธเจ้าจงมาเป็นประธาน กะโรยาติ กรุณาประดุจดังญาติ โม จงเร็วไปด้วยข้า ธาเมตตาญาติ ให้มีเมตตาประดุจดังญาติ ทินะอุขา ขอเดชะครูบาธิบายจงให้กรรมสิทธิ์แก่ข้าพเจ้าเถิด(๓จบ)

    พระพุทธัง พระธัมมัง พระสังฆัง พระบิดามารดา พระครูปฏิยายะทั้งหลาย เทพยดาเจ้าที่มีชื่อในอักขระเลขยันต์ พระคาถาบูชาพระเครื่องและมงคลอิทธิวัตถุทั้งหลายบรรดามีทุกๆองค์ จงมาคุ้มเกรงรักษาแห่งตัวข้าพเจ้าด้วยกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    ๒. บทสวมใส่ ขณะคล้องให้บริกรรมดังนี้

    นะมะอะอุ อิมัง กายะพันธะนัง ตรีเพชรคงคา อธิษฐามิ

    ๓. บทตรึงวัตถุมงคล เมื่อสวมแล้วให้เอามือดึงของนั้นๆ (กระตุกเบา ๆนะครับเดี๋ยวสร้อยขาด)แล้วบริกรรมดังนี้

    ปถมัง อภิพันตานัง อักขระวิกรึงคะเร ติ (ข้างแรมใช้ ตุ แทนติ )

    ๔. บทถอดออกจากคอ บริกรรมดังนี้

    มา โข มัง วิถาติ มา โข มังกุ อะโหสิ.
     
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0in 5.4pt 0in 5.4pt; mso-para-margin-top:0in; mso-para-margin-right:0in; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0in; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]หลวงปู่คำ สุวณณโชโต วัดหนองแก ตอน อริยสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ผู้หยั่งรู้กาลอนาคต
    [/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]Posted by ศิษย์กวง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [​IMG]
    โลกใบนี้มีเรื่องราวแปลกๆ เกิดขึ้นมากมายในแต่ละวันครับ บางคนเรียกปรากฏการณ์เหลือเชื่อที่เกิดขึ้นกับพวกเขาว่าเป็นเรื่องของ ปาฏิหาริย์
    ว่า กันว่าปาฏิหาริย์มิใช่เรื่องไร้สาระ เพราะปาฏิหาริย์เป็นเรื่องของปรากฏการณ์แปลกประหลาดที่อยู่เหนือธรรมชาติ คนที่จะเข้าใจในเรื่องปาฏิหาริย์จึงค่อนข้างจำกัดอยู่แต่เฉพาะกับคนที่เคย ประสบพบเห็นเท่านั้น
    นางเวียน ปลาบปลื้ม ชาวบ้านห้วยทรายใต้ ได้นำไม้ทองหลางไปค้ำหลังคาบ้านไว้สองอัน นับตั้งแต่วันที่ได้นำไม้ทองหลางไปค้ำทำให้ครอบครัวของนางเวียน ปลาบปลื้ม ต้องอาถรรพ์ มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจตลอดเวลา เป็นต้นว่าคนในครอบครัวมีการเจ็บไข้ได้ป่วยหมุนเวียนกันอยู่โดยตลอด
    นางเวียนจึงได้เข้ามากราบนมัสการหลวงปู่เพื่อขอความช่วยเหลือ หลวงปู่ท่านนั่งสมาธิอยู่สักครู่หนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า
    บ้านเอ็งมีไม้ทองหลางค้ำอยู่สองอัน ให้เอาออกเสียแล้วจะหาย
    นาง เวียนตกตะลึงกับคำทำนายของหลวงปู่ที่ทราบว่าบ้านของตนเองมีไม้ทองหลางค้ำ อยู่สองอันจริง ซึ่งสาเหตุที่ต้องนำไม้ไปค้ำเนื่องจากครอบครัวของตนเองมีฐานะยากจนและบ้าน ที่พักอาศัยก็อยู่ในสภาพทรุดโทรม หลวงปู่ท่านจึงแนะนำว่า
    อย่าอยู่ตรงนั้นเลย ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้วเอ็งจะดีขึ้น
    นาง เวียนเชื่อถือในคำพูดของหลวงปู่จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ริมทะเลแถบบางสะพาน ใหญ่ ซึ่งต่อมาปรากฏว่าครอบครัวของนางเวียนมีฐานะดีขึ้นจริงๆ เพราะที่ดินที่ตนเองได้จับจองไว้มีราคาสูงขึ้น เนื่องจากเป็นที่ดินที่อยู่ติดริมทะเล
    [​IMG]
    คุณธงชัย ปฐมวัฒนานุรักษ์ นักธุรกิจเจ้าของกิจการแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญสุนทานและเคร่งครัดยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธเจ้าเป็นที่สุด
    วัน หนึ่งคุณธงชัยได้ซื้อรถยนต์คันใหม่ ขณะที่ขับรถกลับบ้านได้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำบริเวณทางโค้งวัดธรรม ศาลา ตัวคุณธงชัยได้กระเด็นทะลุกระจกหน้ารถออกไปนอนหมดสติอยู่กลางถนน
    พลเมือง ดีได้นำคุณธงชัยส่งโรงพยาบาล คุณธงชัยนอนหมดสติอยู่ ๒๗ วัน เนื่องจากมีอาการสาหัส นายแพทย์จึงต้องทำการผ่าตัดเปิดกระโหลกศรีษะ โอกาสรอดชีวิตค่อนข้างมีน้อยมาก แต่ต่อมาได้มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเนื่องจากคุณธงชัยได้ฟื้นคืนสติขึ้นมาได้
    คุณ ธงชัยได้เล่าให้ฟังว่าในขณะที่ตนเองหมดสติสลบไป ๒๗ วันนั้น ย่างเข้าวันที่ ๒๗ มีความรู้สึกตัวว่ากำลังเดินวนเวียนอยู่ในป่าทึบหาทางออกไม่ได้ ทันใดนั้นก็มีพระภิกษุชรารูปร่างใหญ่โตผิวพรรณวรรณะผ่องใสสง่างามปรากฏร่าง ขึ้นพร้อมกับกล่าวว่า
    โยมกำลังหาทางกลับหรือ อาตมาจะไปส่งตามมาสิ
    คุณ ธงชัยได้เดินตามพระภิกษุชรารูปนั้นมาจนพ้นแนวป่าก็พบกับแสงสว่างจ้าแล้วก็ รู้สึกตัวฟื้นขึ้นมา หลังจากที่ได้พักรักษาตัวจนหายเป็นปกติ คุณธงชัยได้กลายมาเป็นคนใจบุญมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยมีการบริจาคทรัพย์ทำบุญตามวัดต่างๆ อยู่เสมอ
    วันหนึ่งคุณธงชัยได้เดินทางไปทำบุญที่ วัดหนองแก” อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อก้าวขึ้นไปบนกุฏิเจ้าอาวาส ภาพแรกที่คุณธงชัยเห็นคือพระภิกษุชรารูปร่างสูงใหญ่นั่งเด่นเป็นสง่าอยู่ กลางกุฏิ คุณธงชัยจำได้ทันทีว่าเป็นพระรูปเดียวกับที่พบในนิมิตและนำทางคุณธงชัยออกมาจากป่าทึบ ท่านชื่อ..
    หลวงปู่คำ สุวณณโชโต
    [​IMG]
    อย่าง ที่บอกแหละครับว่าคนที่จะเข้าใจในเรื่องปาฏิหาริย์ค่อนข้างจำกัดอยู่แต่ เฉพาะกับคนที่เคยประสบพบเห็น ดังนั้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนางเวียนและคุณธงชัยจึงเป็นเหมือนการบอก เล่าให้อีกหลายคนทราบว่า ปาฏิหาริย์” นั้นมีอยู่จริง
    หญิงชาวบ้านคนหนึ่งรู้จักหลวงปู่คำเป็นอย่างดีและให้ความเคารพเชื่อมั่นอย่างสูงสุด..
    นักธุรกิจชายอีกคนไม่เคยรู้จักหลวงปู่คำมาก่อน ในชีวิตรู้แต่เพียงว่าเชื่อมั่นในการทำความดีและคำสอนของพระพุทธเจ้า..
    ซึ่ง เมื่อมีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น ก็ได้เปล่งประกายออกมาช่วยเหลือให้รอดปลอดภัยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ แน่นอนครับ ปาฏิหาริย์” ไม่ใช่เรื่องของ “ชนชั้นหรือฐานะ” แต่ “ปาฏิหาริย์” เป็นเรื่องของ “ศรัทธาและความดี” ที่ทั้งสองท่านนี้มีอยู่เต็มหัวใจต่างหาก
    จะ ว่าไปแล้วบางทีทั้งสองเรื่องที่เกิดขึ้นข้างต้นมันอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญก็ ได้ เพราะเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกันตรงไหน แต่มันก็น่าคิดนะครับว่า
    ทำไม เหตุร้ายที่นางเวียนประสบ จึงเกิดขึ้นหลังจากที่ได้นำไม้ทองหลางมาค้ำหลังคาบ้าน หรือในระหว่างที่คุณธงชัยกำลังนอนรอความตาย แต่ก็รอดมาได้จากการนำทางของหลวงปู่คำ
    [​IMG]
    ผม รู้จักหลวงปู่คำครั้งแรกก็จากการอ่านหนังสือพระเครื่อง ตอนนั้นก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากหรอกครับ ทราบเพียงว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์องค์หนึ่งที่มีอายุถึงร้อยกว่าปีและใน วันพุทธาภิเษกพระเครื่องของท่าน มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นหลายอย่างครับ เช่นเสกกันจนโบสถ์สะเทือน หรือพระเกจิอาจารย์บางองค์ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกมีนิมิตเห็นแสงสว่างออกจาก ตัวของหลวงปู่คำพุ่งเข้าสู่กองวัตถุมงคล ฯลฯ
    ต่อ มาพอทราบว่าเพื่อนรุ่นพี่ที่โรงเรียนเป็นเด็กหัวหิน แสงสว่างที่เกิดจากดาวไถในตัวผมจึงพุ่งตรงสู่เพื่อนรุ่นพี่คนนั้นทันที และในที่สุดฟ้าดินก็เป็นใจเพราะต่อมาผมก็ได้มีโอกาสไปเที่ยวบ้านรุ่นพี่ท่าน นั้นและได้เข้ากราบนมัสการท่านที่วัด แต่ผมก็ไม่กล้าพูดคุยอะไรกับหลวงปู่หรอกครับ ได้แต่เข้าไปขอเมตตาจากหลวงปู่เพียงแค่พรมน้ำมนต์ให้เท่านั้น
    คุณพ่อของเพื่อนก็แนะนำว่าให้ขอพรจากหลวงปู่ ผม ก็ได้แต่ยิ้มไม่กล้าขอ เพราะถ้าขอในตอนนั้นคงเป็นเรื่องขอให้รูปหล่อและเรียนจบ ซึ่งผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมสักเท่าไร หลังจากวันนั้นแล้วผมก็ไม่ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่อีกเลยครับ เพราะทุกคนเมื่อเรียนจบก็แยกย้ายกันไปหมด เด็กหัวหินกับเด็กเมืองชลเลยต้องห่างกันไป
    [​IMG]
    หลวงปู่คำ สุวณณโชโต หรือ พระครูประสิทธิวรการ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์ ๕ แผ่นดินครับ เชื่อกันว่านอกจากหลวงปู่คำท่านจะเป็นพระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านยังเป็นพระที่มีหูทิพย์ ตาทิพย์และสามารถรับรู้เรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ด้วย เจโตปริยญาณ
    เจโตปริยญาณ เป็นเรื่องของความสามารถพิเศษที่มีเหนือเกินกว่ามนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ จะทำได้ครับ ซึ่งการจะได้มาของความสามารถพิเศษนี้ ผู้ที่ได้จะต้องผ่านการฝึกอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอย่างเอกอุจนถึงขั้นได้อภิญญา
    ต้องบอกว่า อภิญญาไม่ใช่เรื่องง่ายครับ เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ป่านนี้บ้านเราคงมีคนหูทิพย์ ตาทิพย์กันเต็มไปหมด ซึ่งถ้าว่ากันตามเนื้อผ้าแล้วต้องบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลจริงๆ
    สำหรับ ผมแล้วต้องบอกว่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุดไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าหลวงปู่คำท่านเป็น พระอภิญญาหรือเป็นพระเกจิที่เสกของแล้วขลัง(เพราะเรื่องนี้ผมเป็นพวกเชื่อ ฝังใจอยู่แล้ว) หากแต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า กว่าหลวงปู่คำท่านจะได้ความสามารถพิเศษแบบนี้มานั้น ท่านต้องผ่านอะไรมามากกว่า ซึ่งประเด็นนี้เราต้องย้อนอดีตกันไปไกลถึงบ้านหนองแกในสมัยรัชการที่ ๕ ครับ
    หลวงปู่คำ สุวณณโชโต ท่านเกิดปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๓๖ (รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ณ บ้านหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บิดามารดาชื่อ นายอิ่มและนางแจ้ง สุขศรี
    ด้วย ความที่หลวงปู่เป็นเด็กชายที่มีผิวพรรณวรรณะและมีลักษณะของผู้มีบุญญาธิการ บิดามารดาของท่านจึงได้นำท่านไปยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของ หลวงปู่นาค ปุญญนาโค” หรือ “ท่านพระครูวิริยะธิการี” แห่งวัดหัวหิน ซึ่งหลวงปู่นาคได้ตั้งชื่อเด็กชายคนนั้นว่า “ทองคำ” เพื่อให้สอดคล้องกับนามของท่านคือ “นาค” แต่ผู้คนทั่วไปกลับพอใจที่จะเรียกเด็กชายทองคำว่า “คำ
    [​IMG]
    (พระครูวิริยาธิการี (หลวงปู่นาค) วัดหัวหิน)
    ในสมัยนั้นหลวงปู่นาค ปุญญนาโค”ท่าน ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในเรื่องของ วิปัสสนากรรมฐานและเรื่องของไสยศาสตร์ เล่ากันว่าด้วยความที่หลวงปู่นาคท่านเป็นพระที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบุญฤทธิ์และ อิทธิฤทธิ์ ตลอดจนมีปฏิปทาในทางสมณธรรมเป็นเลิศ ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาหลวงปู่นาคเป็นอย่างมาก
    พระองค์ ทรงนับถือหลวงปู่นาคเสมอด้วยศิษย์กับครู และทุกครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระองค์ก็จะทรงพระราชดำเนินมานมัสการหลวงปู่นาคทุกครั้งไป นอกจากนี้ยังทรงมีพระบรมราชานุญาตให้หลวงปู่นาคเข้าเฝ้าพระองค์ได้ตลอดเวลา แม้ในยามราตรีครับ
    เด็ก ชายคำได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนเด็กๆ ทั่วไปในสมัยนั้นคือเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมควบคู่กันไป ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญาและไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ ทำให้ท่านสามารถเรียนรู้วิชาการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปใช้ได้อย่างเชี่ยวชาญ
    หลวง ปู่คำท่านได้เข้าอุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ณ วัดหัวหิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมี พระครูวิริยาธิการี (หลวงปู่นาค) วัดหัวหิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมโสภิต(หลวงปู่เปี่ยม) วัดเกาะหลัก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ละมัย อมรธมโม วัดหัวหิน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวรณณโชโต
    หลัง จากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่คำท่านได้จำพรรษา ณ วัดหัวหิน จากการที่ท่านได้ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่นาคอย่างใกล้ชิด ทำให้ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
    ชีวิต ของท่านในช่วงนี้นอกจากการปฏิบัติศาสนากิจอย่างเคร่งครัดแล้วท่านยังได้ ศึกษาพระธรรมวินัยต่างๆ ด้วยตัวของท่านเอง การศึกษาอย่างตั้งใจทำให้ท่านแตกฉานในพระปริยติธรรมต่างๆ เป็นอย่างดี
    [​IMG]
    ว่ากันว่าวันเวลานอกจากจะไม่คอยใครแล้ว วันเวลายังย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเสมอๆ
    หัวหิน” ที่เดิมมีชื่อว่า “สมอเรียง” เริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวและเผยแพร่ศาสนาคริสต์มากขึ้น ประมาณว่าจะมีการสร้างโบสถ์ไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ ครับ หลวงปู่นาคในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชาวหัวหินและคณะสงฆ์ในเขตนั้น ท่านได้ตระหนักถึงผลกระทบอันนี้
    ท่าน จึงได้เร่งสร้างวัดขึ้นที่บริเวณเขาตะเกียบโดยเฉพาะที่บ้านหนองแก เนื่องจากบริเวณสถานที่ดังกล่าวยังไม่มีวัดวาอาราม ชาวบ้านจะทำบุญกันสักครั้งต้องเดินทางไปทำกันที่วัดหัวหิน ซึ่งอยู่ห่างออกไปเกือบ ๕ กิโลเมตร
    วัด หนองแกในระยะแรกมีสถานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์หนองแก เล่ากันว่าพระสงฆ์จากวัดหัวหินเวลาไปบิณฑบาตที่เขาตะเกียบ จะต้องแวะฉันเช้าที่สำนักสงฆ์แห่งนี้เนื่องจากเดินกลับวัดหัวหินไม่ทัน
    ชะรอย หลวงปู่นาคท่านจะทราบเหตุการณ์ในเบื้องหน้าว่าพระภิกษุคำในวันนั้นจะกลายมา เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านในย่านนี้ เพราะในพรรษาที่ ๓ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๑ (รัชสมัยของ ร.๖) หลวงปู่นาคท่านได้ส่งพระสงฆ์จากวัดหัวหินจำนวน ๑๑ รูปมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองแกแห่งนี้ หนึ่งใน ๑๑ รูปนั้นมีหลวงปู่คำรวมอยู่ด้วยครับ
    ถึง ตอนนี้...ทายาทธรรมที่หลวงปู่นาคได้สร้างไว้ เริ่มค้นหาตัวตนโดยการสร้างตนเอง ด้วยการบำเพ็ญเพียรด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง และเมื่อมีเวลาโอกาสเหมาะ ท่านก็จะออกเดินธุดงค์แสวงหาความวิเวกพร้อมกับเสาะหาครูบาอาจารย์เพื่อร่ำ เรียนวิชาอาคม ต้องยอมรับครับว่าในยุคสมัยนั้นพระเกจิอาจารย์ส่วนมากจะเป็นพระที่ เก่งจริง” เพราะแต่ละองค์ล้วนแล้วแต่เป็นเลิศในด้านสมาธิและเชี่ยวชาญในเรื่องของคาถาอาคม ฯลฯ


    ใน ยุคนั้นไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันสอนวิชาอาคม ไม่มีการเรียนทางไปรษณีย์และก็ไม่มีการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ ทางเดียวที่จะได้เรียนคือต้องเดินทางไปขอเรียนโดยตรงกับครูบาอาจารย์ที่วัด ของแต่ละท่าน ครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมให้หลวงปู่คำมีหลายองค์ครับ เช่น หลวงปู่เปี่ยม วัดเกาะหลัก หลวงพ่อโสก วัดปากครอง หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อกุน วัดพระนอน หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม ฯลฯ
    นอก จากนี้หลวงปู่คำท่านยังได้ศึกษาไสยเวทย์ โหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณจากตำราของโยมปู่ของท่าน ซึ่งเป็นตำราโบราณที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณว่าท่านได้เรียนจนเชี่ยวชาญและสามารถนำมาขยายผลได้จริงครับ
    [​IMG]
    หาก เราศึกษาประวัติของพระเกจิอาจารย์ในอดีตก็จะพบว่าบรรดาพระเกจิอาจารย์หลาย ต่อหลายท่านที่ได้ชื่อว่ามีสมาธิจิตสูงและเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม มักจะเป็นผู้ที่ผ่านการออกเดินธุดงค์แทบทั้งสิ้น
    ใน ทางพระพุทธศาสนาการออกเดินธุดงค์นอกจากจะเป็นการฝึกให้ตนเองเป็นผู้ที่ลดละ กิเลส ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเจริญภาวนาเพื่อให้เกิดสมาธิและปัญญา ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าท่านทรงกำหนดไว้
    โดย ปกติแล้วหลวงปู่คำท่านชอบออกเดินธุดงค์ครับ เรื่องราวการออกเดินธุดงค์ของท่านเริ่มต้นประมาณพรรษาที่ ๕ ความชอบของหลวงปู่ต้องเรียกว่าออกพรรษาเมื่อใดท่านก็จะสมาทานออกเดินธุดงค์ ทันที สถานที่ที่ท่านเคยไปธุดงค์ถ้าในประเทศหลวงปู่ท่านไปมาหมดแล้วทั่วทุกภาค หากเป็นนอกประเทศท่านก็เดินไปถึง ลาว เขมร พม่าและมาเลเซีย
    ท่าน เคยเล่าไว้ว่าการเดินธุดงค์ไม่ใช่ของง่าย เพราะมักจะมีอุปสรรค์มาคอยขัดขวางตลอด ทั้งจากมนุษย์และภูติผีปีศาจ หากเป็นมนุษย์หลวงปู่ท่านจะใช้วิธีการให้อภัย หากเป็นพวกที่มาจากต่างมิติ ท่านก็จะแผ่เมตตาไปให้ และหากพรรษาใดที่ท่านไม่ได้ไปธุดงค์ ท่านก็จะเข้าป่าขึ้นไปบนภูเขาในเขตภาคใต้เพื่อตัดไม้มาสร้างวัด
    ท่าน เล่าว่าสมัยก่อนต้นไม้มีเยอะแยะและไม่มีการหวงห้าม การขึ้นเขาเพื่อตัดไม้ก็อาศัยบรรดาพระภิกษุของวัดหนองแก เมื่อตัดแล้วก็ต้องใช้เกวียนลากลงมา หากเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่มากก็ต้องใช้ไม้หมอนมารองหนุนกลิ้งลงมาจากภูเขา จากต้นไม้กลายมาเป็นกุฏิหลังแรกเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๔๖๖ และมีการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตามมาอีกหลายอย่างเช่นหอฉัน หอระฆัง ฯลฯ
    ใน ปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีได้เสด็จพระราช ดำเนินมาทำพิธีตัดลูกนิมิตอุโบสถ ณ วัดหนองแก ซึ่งในโอกาสนี้ หลวงปู่คำท่านได้สร้างตะกรุดโทนมหาอำนาจด้วยทองคำหนัก ๔ บาท ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยครับ
    [​IMG]
    สำหรับในเรื่องที่หลวงปู่คำท่านสามารถล่วงรู้เหตุการณ์เบื้องหน้า ซึ่งในเรื่องนี้ทางพระพุทธศาสนาเราเรียกว่า อนาคตังสญาน” นั้น ก็มีหลายต่อหลายเหตุการณ์ครับที่เกิดขึ้นเพื่อตอกย้ำความมหัศจรรย์ของหลวง ปู่ในประเด็นนี้ครับ เช่นกรณีของยุทธการที่ป่ากลอย บริเวณหลังเขื่อนแก่งกระจาน เพชรบุรี
    เรื่อง นี้เป็นเหตุการณ์ของตำรวจตะเวณชายแดน ค่ายมฤคทายวัน ซึ่งออกไปปฏิบัติหน้าที่และเกิดการประทะกับกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ ในเหตุการณ์นั้นตำรวจถูกยิงเสียชีวิตไปหลายนาย กำลังที่เหลือมีน้อยกว่าต้องถอยร่นหนีเข้าไปในป่า
    ซึ่ง ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ประมาณสองสัปดาห์ หลวงปู่ท่านได้พูดกับตำรวจพลร่มค่ายมฤคทายวันที่ไปกราบนมัสการท่าน ให้ระวังเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้บรรดาตำรวจตะเวณชายแดนที่รอดชีวิตกลับมาได้ ต่างก็เชื่อกันว่าเป็นเพราะบารมีจากวัตถุมงคลของหลวงปู่คำที่พวกเขาพกติดตัว อยู่ช่วยคุ้มครองครับ
    คุณพ่อของพี่เด็กหัวหินเล่าให้ฟังว่า
    หลวง ปู่คำเป็นพระอารมณ์ดีและชอบช่วยเหลือชาวบ้าน ใครมีปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจอะไรก็มักจะพากันไปหาหลวงปู่เพื่อให้ท่านช่วยปัด เป่าให้ ไม่ว่าจะเป็นของหาย ลูกชายจะบวช ฯลฯ ขนาดที่ว่าบางครั้งท่านจะจำวัดแต่ถ้ามีคนมากราบนมัสการท่าน หลวงปู่ท่านก็จะไม่ยอมจำวัดและอยู่สงเคราะห์เขาจนเสร็จสิ้นท่านจึงจะเข้าจำ วัด
    อย่าง เช่นตัวของคุณพ่อเองที่สมัยก่อนเวลาเป็นตาแดง แม่ของท่านจะพาไปหาหลวงปู่ที่กุฏิ คุณพ่อบอกว่าไปถึงก็ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้องทำบัตรและก็ไม่ต้องจัดยา ขอเพียงแต่ลืมดวงตาให้โตๆ หลวงปู่ท่านเป่าพ้วงเดียว กลับมาวิ่งเล่นต่อได้และพอนอนหลับตื่นขึ้นมาก็หาย
    บาง ครั้งท่านเห็นคนแถวบ้านบางคนเท้าบวมเดินแบบขาลากมาหาหลวงปู่ ทราบว่าคนนี้เข้าป่าเผลอไปเตะจอมปลวก หลวงปู่ท่านก็จะเป่าและพรมน้ำมนต์ไปที่บริเวณเท้า ซึ่งเท้าจะบวมอยู่ไม่เกินสองวันก็หายบวม หรือบางคนที่ไม่สบายเป็นไข้หวัด เช่นเพื่อนรุ่นพี่ของผม หลวงปู่ท่านก็จะต้มยาให้กลับมากินที่บ้าน แกถูกคุณพ่อของแกจับบีบปากกรอกยาอยู่สองสามวันก็หายป่วยและกลับไปเรียน หนังสือได้ตามปกติ
    [​IMG]
    นอก จากการรักษาโรคแล้ว อำนาจมนต์ขลังของหลวงปู่คำก็ใช่ย่อยครับ โดยเฉพาะวิชาสักยันต์ ซึ่งเป็นที่รับรู้กันในวงกว้างเลยครับว่าผู้ใดที่ได้รับการสักกระหม่อมด้วย ยันต์นะปัดตลอดจากหลวงปู่ ตัวยันต์ก็จะติดไปถึงกระดูกและเมื่อผู้ที่ได้รับการสักเวลาเสียชีวิตลงศพของ เขามักจะเผาไม่ไหม้ ดังเช่นกรณีของนายมอญ เลี่ยมสัก ชาวบ้านหนองพรานพุก ตำบลหินเหล็กไฟ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เผาไปนานกว่าสามชั่วโมง แต่ศพของนายมอญ ก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิม
    สุด ท้ายบรรดาญาติๆ ของนายมอญต้องขึ้นไปเล่าเรื่องนี้ให้หลวงปู่คำฟังบนกุฏิและขอความเมตตาจาก หลวงปู่ให้ถอนอาถรรพ์ออกจากตัวของนายมอญ ซึ่งเมื่อหลวงปู่ได้ฟังจบ ท่านก็นั่งสมาธิภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง จึงสามารถเผาศพนายมอญได้จนเสร็จสิ้น
    คำ สอนอันประเสริฐที่ว่า ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลง แล้วดับไปทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกๆชีวิต จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังคงเป็นกฎธรรมชาติที่บอกถึงสัจจธรรมอันแท้จริงและทันสมัยอยู่เสมอ..
    [​IMG]
    หลวงปู่คำ สุวณณโชโต ท่านได้มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ สิริอายุ ๑๐๔ ปี ๘๑ พรรษา นับได้ว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่มีอายุยืนยาวนานรูปหนึ่งของเมืองไทย
    เรื่อง ราวความมหัศจรรย์ในด้านต่างๆ ของท่านเช่นการหยั่งรู้เรื่องราวต่างๆ หรือความเป็นพระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ล้วนเกิดจากบารมีที่สั่งสมมาจากการฝึกฝนและปฏิบัติมาตลอดชีวิตของท่าน
    ทุก วันนี้เรื่องราวของท่านอาจจะลืมเลือนไปบ้างจากส่วนกลาง แต่กับชาวบ้านหัวหินไม่มีใครลืมท่านหรอกครับ เพราะท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น เทพเจ้าแห่งหัวหินเชื่อกันว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ใดขอเพียงได้น้อมจิตไปที่ท่านก็ถือเป็นมงคลสำหรับชีวิตแล้ว...สวัสดีครับ
    [​IMG]
    ขอขอบคุณ เอกสารอ้างอิง หนังสือหลวงปู่คำ สุวณณโชโต พระอริยสงฆ์ ๕ แผ่นดิน โดย อาจารย์ยุทธ โตอดิเทพย์ ภาพวัตถุมงคล-คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย เพื่อนต่อกับคำแนะนำ และคุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี สำหรับกำลังใจที่มีให้เสมอมาครับ

     
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
  12. รับโชค

    รับโชค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    2,131
    ค่าพลัง:
    +11,878
    แวะมาทักทายครับท่านโม
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    หวัดดีตอนบ่ายครับท่าน
     
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญรุ่นแรกปี๒๕๐๙ เนื้อเงิน หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2354.jpg
      SAM_2354.jpg
      ขนาดไฟล์:
      671.2 KB
      เปิดดู:
      340
    • SAM_2362.jpg
      SAM_2362.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1,001.7 KB
      เปิดดู:
      344
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2014
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญโภคทรัพย์ เนื้อทองทิพย์ หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]ให้บูชา 350 บ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2315.jpg
      SAM_2315.jpg
      ขนาดไฟล์:
      732.2 KB
      เปิดดู:
      303
    • SAM_2320.jpg
      SAM_2320.jpg
      ขนาดไฟล์:
      899.3 KB
      เปิดดู:
      297
    • SAM_2314.jpg
      SAM_2314.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      111
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญซุ้มกอ๑๐๑ปี รุ่นเสาร์๕ เนื้อทองผสม หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]ให้บูชา 375 บ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2324.jpg
      SAM_2324.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      305
    • SAM_2325.jpg
      SAM_2325.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      334
    • SAM_2323.jpg
      SAM_2323.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      74
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รูปหล่อปั๊ม เนื้อทองทิพย์ หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]ให้บูชา 375 บ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2330.jpg
      SAM_2330.jpg
      ขนาดไฟล์:
      549.6 KB
      เปิดดู:
      305
    • SAM_2331.jpg
      SAM_2331.jpg
      ขนาดไฟล์:
      523.7 KB
      เปิดดู:
      298
    • SAM_2327.jpg
      SAM_2327.jpg
      ขนาดไฟล์:
      965.7 KB
      เปิดดู:
      69
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รูปหล่อปั๊ม เนื้อระฆังเก่า หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]ให้บูชา 395 บ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2341.jpg
      SAM_2341.jpg
      ขนาดไฟล์:
      526.1 KB
      เปิดดู:
      305
    • SAM_2338.jpg
      SAM_2338.jpg
      ขนาดไฟล์:
      571.6 KB
      เปิดดู:
      285
    • SAM_2333.jpg
      SAM_2333.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      65
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    รูปหล่อ เนื้อทองชนวน(เนื้อสวยมาก) หลวงปู่คำ สุวณฺณโชโต

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ.[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2345.jpg
      SAM_2345.jpg
      ขนาดไฟล์:
      869.2 KB
      เปิดดู:
      363
    • SAM_2346.jpg
      SAM_2346.jpg
      ขนาดไฟล์:
      947.4 KB
      เปิดดู:
      371
    • SAM_2348.jpg
      SAM_2348.jpg
      ขนาดไฟล์:
      609.2 KB
      เปิดดู:
      81
    • SAM_2369.jpg
      SAM_2369.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2014
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด หลังหลวงพ่อชำนาญรุ่นแรก

    [​IMG]
    เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เป็นวันทอดกฐินสามัคคี ณ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี มีคณะศรัทธาเดินทางมาจากทั่วสารทิศ เพื่อร่วมงานพิธีเททองหล่อพระพรหมองค์ใหญ่ ประดิษฐานที่วัดบางกุฎีทอง พร้อมเททองหล่อวัตถุมงคลที่จะเปิดให้ลูกศิษย์ลูกหาร่วมบุญบูชาด้วย

    "หลวง พ่อชำนาญ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทอง เป็นประธานในพิธีเททองและพุทธาภิเษกวัตถุมงคล โดยมีคณะศรัทธาร่วมบริจาคเนื้อเงินแท้ๆ หนักถึง 7 กิโลกรัม ผู้ที่ร่วมภายในงานได้มีการรักษาศีล การถวายเม็ดเงินหล่อพระสังฆทาน และพิธีเขียนกระดาษอธิษฐานเป็นภาวนามัยครบองค์บุญกิริยาวัตถุ ทาน ศีล ภาวนา

    ในวันดังกล่าวทางวัดได้สรุปปัจจัยที่จะนำไปใช้ในการพระศาสนาดังนี้ ยอดเงินทอดกฐิน 2,811,889 บาท ถวายเม็ดเงินหล่อพระ 215,218 บาท ทำบุญดอกไม้ธูปเทียน 31,181 บาท สังฆทาน 21,047 บาท ใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า (ผู้มีลาภมาก) 44,682 บาท รวม 3,124,017 บาท


    ใน การสำคัญนี้ "หลวงพ่อชำนาญ" ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ "เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวด" ออกแจกจ่ายเป็นที่ระลึกด้วย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมอย่างมาก ด้วยหลวงปู่ทวดได้ชื่อว่าเป็นพระนิรันตรายที่ใครๆ ก็ปรารถนามีไว้ในการครอบครอง

    หลวงปู่ทวดท่านเป็นพระสงฆ์ในตำนานใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรส อยุธยาตอนกลาง และคงกฤติยาภินิหารมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นบรมครู 1 ใน 5 ที่ยิ่งด้วยบารมี หลวงพ่อชำนาญให้ความเคารพศรัทธามาก แม้จะไม่อยู่ในยุคสมัยที่หลวงปู่ทวดยังดำรงขันธ์อยู่ก็ตาม

    ครูพระ ทั้ง 5 องค์ที่หลวงพ่อชำนาญให้ความเคารพศรัทธา ได้แก่ หลวงปู่ทวด สมเด็จโต หลวงปู่ศุข หลวงพ่อกวย และหลวงปู่สุรินทร์ ที่ผ่านมาหลวงพ่อชำนาญได้สร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวดไว้หลายรุ่น ว่ากันว่าพุทธคุณโดดเด่นด้านนิรันตราย


    หลวงพ่อชำนาญเคยบอกไว้ว่า "เราทำจิตให้ถึง ตัวเราหาย หลวงปู่ท่านก็มาเสกของท่านเอง"

    หลวงปู่ทวด ที่หลวงพ่อชำนาญจัดสร้างมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปอาราธนา พกพาติดตัว เล่ากันปากต่อปาก อาทิ รถชนที่แยกร้อยศพห้อยพระหลวงปู่ทวดไม่เป็นไร ฟ้าผ่าก็แค่หูอื้อ รถมอเตอร์ไซค์ประสานงาพังยับ แค่เสื้อผ้าขาด ล่าสุดตำรวจสายตรวจโดยยิงเป็นแค่รอยไหม้ ที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์ตรงที่มีการยืนยันชัดเจน

    พระเกจิอาจารย์ สายใต้รูปหนึ่งเคยบอกว่า "อาจารย์ชำนาญท่านเชิญหลวงปู่ทวดได้ ไม่รู้ไปเรียนมาจากไหน ภาคใต้แกก็ไม่เคยมานี่นะ" อีกท่านที่ยืนยันเรื่องแบบนี้ได้ ศิษย์รุ่นใหญ่ท่านหนึ่งของหลวงพ่อชำนาญ ท่านบอกไว้ว่า ท่านเคยจับพลังเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น 2 ของวัดช้างให้ที่สร้างปี 2502 มีพลังเหมือน หรือคล้ายกับหลวงปู่ทวดที่หลวงพ่อชำนาญสร้างไว้อย่างไม่น่าเชื่อ

    เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่ทวดหลังหลวงพ่อชำนาญรุ่นแรก เนื้อทองคำ มีลูกศิษย์สั่งจองทั้งหมด 416 องค์ มีหมายเลขกำกับทุกองค์, เนื้อเงินลงยาสีแดง สร้างจำนวน 300 องค์, เนื้อเงินสร้างจำนวน 500 องค์, เนื้อนวโลหะสร้างจำนวน 900 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์สร้างจำนวน 3,000 องค์, เนื้อทองแดงเก่าสร้างจำนวน 10,000 องค์ สำหรับแจกฟรี

    *ปิดรายการนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 155466-1.jpg
      155466-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.7 KB
      เปิดดู:
      204
    • 155466-2.jpg
      155466-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      220
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...