‘แข่งขัน ขัดแย้ง’ พุทธศาสนาบอกทางให้ โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 21 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8b1e0b899-e0b882e0b8b1e0b894e0b981e0b8a2e0b989e0b887-e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aa.jpg

    ในการศึกษาหรือการทำงาน เรามักจะถูกสอนด้วยหลักเริ่มต้น คือ “ความรู้” ก็คือ KAP และปัจจุบันพบว่า กาลทั้งปวงการเรียนหนังสือ ฝึกงาน แม้การดำรงชีวิตที่จะให้ประสบความสำเร็จเบื้องต้นได้ก็คือ ต้องมีความคิดที่ดี หรือทัศนคติที่ดี หรือมีความตระหนักใส่ใจ ซึ่งก็คือ Thinking หรือ Attitude ที่ดีเป็นเบื้องต้นที่สำคัญจะได้ไปสู่การเกิดทักษะ (Skill) และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีถูกต้องและยั่งยืน เขียนตัวย่อได้ว่า “ASK” ซึ่งปัจจุบันนี้ถือว่า 3 ตัวนี้หากเราเริ่มถูกที่ Attitude และงานการเรียนรู้สำเร็จบรรลุไปมากกว่า 50% แล้ว

    ในโลกของการแข่งขันจะต้องตระหนักไว้ว่า “ระบบการแข่งขัน” ที่อาศัยกิเลสมนุษย์เป็น “ระบบทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม” ไม่ใช่ความไม่ประมาทที่แท้จริงนี้มีผลเสียมาก เพราะมันเป็นระบบที่เอา “กิเลส” ของมนุษย์มาปลุกเร้า และเป็นไปเพื่อสนองกิเลส คือ ทุกคนดิ้นรนเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองรอด เพื่อให้ตัวเองอยู่ดี เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น จึงพยายามกอบโกยเอาเปรียบให้ได้มากที่สุด จึงต้องตั้งกติกากันขึ้นเพื่อจะมากีดกันป้องกันไม่ให้ลุกล้ำสิทธิกัน

    “สังคมตะวันตก” เป็นอย่างนี้ คือ ในแง่หนึ่งเขาสนับสนุนความเห็นแก่ตัวและพร้อมกันนั้นเขาก็สร้าง…กติกากฎหมายและหลักการต่างๆ ของสังคมขึ้นมาเพื่อประกันการลุกล้ำสิทธิกัน การพัฒนาในทิศทางนี้จึงได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิมนุษยชน” (human rights) ที่คนทางตะวันตกเขาภูมิใจกันนักหนา สิทธิมนุษยชนเกิดมีขึ้นเพราะสังคมตะวันตกเป็นมาอย่างนี้ ทั้งนี้รวมถึงเกณฑ์กติกาและกฎหมายต่างๆ ซึ่งคนตะวันตกชำนาญเรื่องนี้มาก

    แม้ว่าสังคมตะวันตกจะใช้ระบบแข่งขันซึ่งเป็น…”ระบบถูกบีบคั้น” แบบประดิษฐ์ของมนุษย์เอง มาเร่งรัดคนให้กระตือรือร้นขวนขวาย มีความไม่ประมาทชนิดเทียมแล้วสร้างความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาได้ แต่มันก็มีผลในเบื้องปลาย คือ ทำให้คนมุ่งมั่นที่จะเอาเพื่อความอยู่ดีมีสุขสมบูรณ์ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น และไม่คำนึงถึงธรรมชาติแวดล้อม

    ในที่สุดแต่ละคนมุ่งหาประโยชน์ส่วนตน สังคมก็มากไปด้วยการเบียดเบียนกัน และธรรมชาติแวดล้อมก็เสื่อมร่อยหรอไป ฉะนั้น ระบบแข่งขันจึงไม่ปลอดภัยและโดยนัยนี้ระบบที่ดีที่สุดจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องเน้นระบบแห่งความไม่ประมาทที่แท้ซึ่งเป็นไปด้วย “สติปัญญา”

    เมื่อเราใช้ปัญญาแล้วมันก็คลุมหมดปิดส่วนเสียไม่ให้มี มีแต่ส่วนดี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราทำอย่างไรจะพัฒนาคนให้อยู่ด้วยธรรม คือ ความไม่ประมาทนี้ได้ และพัฒนาคนให้ถึงขั้นที่อยู่ความไม่ประมาทแท้ด้วยสติปัญญานี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่
    อย่างน้อยที่เห็นอยู่ คือ ในสังคมไทยนี่เอง ที่มีพระพุทธศาสนาซึ่งสอนหลักความไม่ประมาท แต่คนดูเหมือนจะเต็มไปด้วยความประมาท แต่ยิ่งกว่านั้นถ้าสังเกตว่าเราไม่ค่อยสอนกันด้วยในเรื่องความไม่ประมาทนี้

    ตามหลักความไม่ประมาทสิ่งที่เราจะต้องทำให้ได้ก็คือ 1.ทำคนให้เจริญงอกงามอยู่ในความดีงาม มีความร่มเย็นเป็นสุข 2.เมื่อดีงาม ร่มเย็นเป็นสุขแล้วให้ไม่ประมาท เร่งสร้างสรรค์เพื่อให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยไม่ผิดเพี้ยน ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่เพลิดเพลินมัวเมา ตกหลุมความประมาท

    เมื่อมีการสำรวจดูสภาพสังคมไทยเราแล้ว พบว่า จุดอ่อนที่สำคัญของสังคมไทยน่าจะเป็น “ความประมาท” คนไทยเรานี้ประสบความสำเร็จพอสมควรในการดำรงอยู่ด้วยดี สังคมเรามีความร่มเย็นเป็นสุข แต่แล้วก็เฉื่อยชา เพราะว่าเราไม่เอาหลักความไม่ประมาทเลย ทั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้หนักหนาไม่รู้กี่แห่ง จะดูคนว่า “พัฒนา” หรือไม่ ก็ดูได้ที่ “ความไม่ประมาท” นี่แหละ ถ้าคนไหนสังคมใดทั้งที่สุขสบายยังไม่ประมาทก็แสดงว่าเป็นคนและเป็นสังคมที่ “พัฒนาจริง” ส่วนคนหรือสังคมที่มีความทุกข์และไม่เฉื่อยชาประมาทนั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องธรรมดาเพราะ “ถูกกดถูกบีบ” จึงต้องดิ้น แต่คนที่สุขสบายแล้วยังขวนขวายสร้างสรรค์ ท่านจึงยอมรับว่าเป็น “ผู้ประเสริฐจริง”

    ความไม่ประมาทเป็นเหมือนกับ “รอยเท้าช้าง” ธรรมทุกอย่างรวมลงได้ในความไม่ประมาททั้งหมด เหมือนรอยเท้าสัตว์บกทุกชนิดรวมลงได้ในรอยเท้าช้าง ธรรมทั้งหลายมากมายจะกี่อย่างก็ตามไม่ว่าจะเรียนรู้จะจำมาเท่าไร ถ้าประมาทเสียอย่างเดียว ธรรมเหล่านั้นก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ได้รับการปฏิบัติ แต่ในทางตรงกันข้ามธรรมกี่อย่างก็ตามแม้เรียนเพียงน้อยข้อแต่ ถ้าไม่ประมาทเสียอย่างเดียว มีกี่ข้อก็ได้รับการปฏิบัติทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเห็นความสำคัญของ “ความไม่ประมาท”

    รวมความว่า…ความไม่ประมาทเป็นบทพิสูจน์การพัฒนามนุษยชาติว่ามนุษย์จะไปรอดไหมโดยสังคมส่วนรวมเป็นอันว่าตอนนี้คำเทียบในแง่นี้… “สังคมตะวันตก” ด้วยความไม่ประมาทเทียบตามระบบแข่งขันที่ทำให้สร้างความเจริญทางวัตถุได้สำเร็จผลอย่างดี ส่วน “สังคมไทย” ได้ประสบความสำเร็จในความดีงามอยู่สุขสบายพอสมควรแต่ตกหลุมความประมาท” อาจจะเป็นอย่างนี้ ขอตั้งเป็นข้อสมมุติฐาน หรือข้อสังเกตไปพิจารณากันต่อไป

    สรุปเบื้องต้นตอนนี้ว่า เกณฑ์วัดการพัฒนามนุษย์ คือ สำหรับมนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาต้องบีบเค้นจุดไฟลนจึงจะไม่ประมาท (ไม่ประมาทเทียม) สำหรับมนุษย์ที่พัฒนาแล้วใช้สติปัญญาเร่งรัดตัวเองได้จึงไม่ประมาท (ไม่ประมาทแท้)

    เวลานี้ฝรั่งโดยเฉพาะอเมริกันก็ยังหาทางออกไม่ได้ เขายังไม่พบต้นตอของปัญหาหรือยังไม่เห็นโทษภัยแห่งฐาน “ความคิดความเชื่อ” ของตนด้วยซ้ำ เขายังคิดว่า “ระบบแข่งขัน” (competition) เท่านั้นที่จะทำให้เกิด “ความเจริญ” ตอนนี้สังคมอเมริกันเสื่อมลง เขาก็บอกว่าเป็นเพราะอเมริกันสูญเสียความพร้อมและความสามารถในการแข่งขัน แสดงว่า อเมริกันยังคิดอยู่ในแง่ของตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น เพราะถือว่าคนประสบความสำเร็จมาด้วยการแข่งขัน

    [​IMG] [​IMG]

    เวลานี้พอตัวเองเสื่อมก็มองได้แค่ว่าเป็นเพราะคนของตนสูญเสีย competitiveness คือ ความพร้อมที่จะแข่งขันหรือคุณสมบัติในการแข่งขัน หมายความว่า คนอเมริกันยุคปัจจุบันไม่มีคุณสมบัติในการแข่งขัน เช่น 1) ขาดจริยธรรมการทำงาน (work ethic) 2) ขาดสันโดษ 3) ไม่ขยันหมั่นเพียร 4) เป็นคนสำรวยหยิบโหย่ง เป็นต้น เพราะฉะนั้นก็เลยบอกว่า เขาต้องแก้ไขก็ฐานะความเป็น “ผู้นำ” และความยิ่งใหญ่กลับมาด้วยการที่จะต้องทำให้คนอเมริกันกลับมามีความพร้อมที่จะแข่งขัน (competitiveness) ก็ได้แค่นี้แหละ วนเวียนอยู่แค่การถือว่าตนจะฟื้นตัวได้ก็ต้องให้แข่งขัน (competition) เก่ง

    ในเวทีโลกเวลานี้จะเห็นได้ชัดว่า มีคำว่า “แข่งขัน” เช่นนี้ทั่วๆ ไปหมดแม้ในประเทศไทยทุกมหาวิทยาลัยก็จะพยายามมาก นอกจากรัฐบาล โดยเฉพาะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เวลานี้ถือกันว่า “โลกเป็นเวทีของการแข่งขัน” ประเทศชาติต่างๆ ก็คิดถึงแต่การแข่งขันกันซึ่งบรรยากาศเช่นนี้ยังถูกผลักลงไปถึงโรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถม โรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กวัยก่อนเรียน “เมืองไทย” เราก็พลอยรับเอา “ลัทธิ” นี้เข้ามาด้วยและพูดกันเสมอถึงการพยายามแข่งขันให้สู้กับเขาได้ เมื่อมองในแง่นี้ก็เป็นการเอาแต่ตัวของประเทศ แต่ในการแก้ปัญหาของโลกระบบการแข่งขันแบบนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้สำเร็จ มีแต่จะทำให้โลกพินาศ เพราะในที่สุดมันจะกลับมาซ้ำเติม ปัญหาที่ว่ามาทั้งหมด เช่น ทำให้ปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมแก้ไม่ได้ เพราะว่าเชื่อต่างคนต่างแข่งขันหาผลประโยชน์ หรือว่าต่างคนต่างคิดแบ่งแยกกัน มันก็แก้ไม่ได้ มนุษย์จึงมาถึงจุด “ติดตัน” หรือ “ติดกับดัก”

    จากภูมิหลังประวัติศาสตร์ “จริยธรรมตะวันตก” เป็นจริยธรรมแบบ “เทวปัญญา” แล้วต่อมาก็เป็นจริยธรรมที่ถือว่ามนุษย์ปรุงแต่รสชาติกันขึ้นเอง ไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์

    ครั้นปัจจุบันนี้เมื่อมาประสบปัญหาทางจิตใจและทางสังคม ก็เริ่มเห็นความสำคัญของ “จริยธรรม” ขึ้นมาอีก แต่ก็ยังไม่มากนักจนกระทั่งมาประสบปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเข้า ฝรั่งจึงได้หวนกลับไปให้ความสำคัญแก่จริยธรรมอย่างเต็มที่

    เวลานี้จริยธรรม คือ ethics จึงได้กลับมามีความสำคัญมากในสังคมตะวันตก เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้เกิดมีจริยธรรมสิ่งแวดล้อม (environment ethics) ซึ่งก็เป็นจริยธรรมแห่งความจำใจอยู่นั่นเอง เช่น บอกว่ามนุษย์ต้องมี restrain (ตรงกับสังวร) คือ ต้องมีการควบคุมยับยั้งตนเองในการที่จะปฏิบัติต่อธรรมชาติ โดยไม่เอาธรรมชาติมาใช้ตามใจชอบ เป็นต้น

    ในเวลาเดียวกันจริยธรรมธุรกิจ (business ethics) คือ มีเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ทำอย่างไร ดำเนินการธุรกิจใดไม่ส่งผลให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะการ “แข่งขัน” กันมากในทางธุรกิจ จะทำให้ทุกคนต่างก็หาผลประโยชน์ของตนเอง ลงท้ายด้วยต่างคนต่างช่วยกัน…ทำลาย “ทรัพยากรธรรมชาติ” ฉะนั้น… “จริยธรรมสิ่งแวดล้อม” (Environmental ethics) จึงมีอิทธิพลออกไปจนถึงวงการทางสังคม ทำให้การศึกษาในมหาวิทยาลัยเกิดมี…จริยธรรมธุรกิจ (business ethics) ขึ้นด้วย จริยธรรมก็กลับฟื้นฟูมีความสำคัญขึ้นมา

    อย่างไรก็ตามในเมื่อจริยธรรมของตะวันตกก็เป็นจริยธรรมแบบ “จำใจ ฝืนใจ” มันก็ไม่มั่นคงไม่ปลอดภัยไม่มีหลักประกันเพราะเมื่อมนุษย์ฝืนใจก็ทุกข์ จึงคอยหาทางเลี่ยงจริยธรรมแบบที่ว่าตลอด ฉะนั้นจึงบอกว่า “ติดตันไม่มีทางออก”

    ส่วนจริยธรรมของพระพุทธศาสนาไม่เน้นจริยธรรมแห่งการประนีประนอม (ไม่มีเทียมไม่มีแท้) ไม่ใช่จริยธรรมแบบที่ว่าทั้งสองฝ่ายต่างต้องยอมเสียบ้างเพื่อต่างก็ได้บ้างด้วยกัน แต่เป็นจริยธรรมที่ต่างก็ประสานประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งในที่สุดจะทำให้องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนในจริยธรรมของมนุษยชาติอยู่ร่วมกันและเจริญงอกงามไปด้วยกันได้ด้วยดี 1.ชีวิตมนุษย์ 2.สังคม และ 3.สิ่งแวดล้อม

    ขณะนี้องค์ประกอบทั้งสามตกอยู่ในกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ที่เรียกว่า Unsustainable คือ เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งทำให้ผลประโยชน์ทั้งสามส่วน “ขัดแย้ง” กันไปหมด คือ ถ้าบุคคลได้…สังคมก็สูญเสีย ถ้าจะให้สังคมได้…บุคคลก็ต้องยอมสละ ดังนั้นถ้าเพื่อบุคคล…สังคมต้องยอมเสีย หรือเพื่อสังคม…บุคคลก็ต้องยอมเสีย ต่อมาระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ถ้ามนุษย์ได้…ธรรมชาติก็สูญเสีย ถ้าธรรมชาติได้…มนุษย์ก็สูญเสีย ขัดกันไปหมด ระบบนี้จึงนำมาซึ่งระบบ… “จริยธรรมแบบจำใจ”

    ที่นี้ในพระพุทธศาสนาเราบอกว่า คนนี้พัฒนาได้เมื่อพัฒนาคนแล้วทุกอย่างที่เกี่ยวกับคนจะเปลี่ยนไป พอคนเปลี่ยนไปแล้วเราจะทำให้สามอย่างนี้มาประสานประโยชน์กันจนกระทั่งกลายเป็นว่า บุคคลได้ก็ดีแก่สังคม สังคมได้ก็ดีแก่บุคคลด้วย มนุษย์ได้ก็
    ดีแก่ธรรมชาติด้วย ธรรมชาติได้ก็ดีแก่มนุษย์ด้วย การพัฒนาจะต้องมาถึงจุดนี้ให้ได้จึงจะเป็น Sustainable ที่แปลกันว่า “ยั่งยืน” แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า “มนุษย์” หรือ “คนๆๆ” จะทำได้ไหม??

    ถ้ามองในแง่ของ “ปรัชญาตะวันตก” ตอนนี้การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) นั้นเห็นว่าไม่มีทางตันหมดแน่นอน เพราะแนวคิดของเขาแฝงด้วย “ความขัดแย้ง” ไว้ตลอดหมดทั้งสามและมาลงที่จริยธรรมแห่ง “ความจำใจ” ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดที่เริ่มตั้งแต่…มองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติและให้มนุษย์พิชิตธรรมชาติ แล้วจัดการกับธรรมชาติตามชอบใจ เพื่อเอามาสนองความต้องการของตนที่จะเสพเพื่อตนและธุรกิจ เพื่อกำไรให้มากที่สุด เพื่อจะได้สุขมากที่สุด

    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้สรุปตอนท้ายความว่า…แนวคิดตะวันตกต่างรวม “แนวคิดของพุทธ” ซึ่งสอนว่าจะต้องประสานให้สิ่งที่ดีแก่บุคคลก็ดีแก่สังคมด้วย ให้สิ่งที่ดีแก่สังคมก็ดีแก่บุคคลด้วย ให้สิ่งที่ดีแก่มนุษย์ก็ดีแก่ธรรมชาติด้วย ให้สิ่งที่ดีแก่ธรรมชาติก็ดีแก่มนุษย์ด้วยและสังคมด้วย ถ้าถึงจุดนี้ได้องค์ประกอบทั้งสาม คือ “มนุษย์ สังคม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม” ก็ประสานประโยชน์กันได้ และกลายเป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกันก็แก้ปัญหา “มนุษย์ได้” นี่คือความสำเร็จของอริยธรรม อันนี้แหละเป็นบทสุดท้ายที่จะพิสูจน์ว่า…การพัฒนามนุษย์จะทำได้แค่ไหนเป็น “จุดสุดยอด” เราไม่ไปยุ่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ด้วยซ้ำไป เอาเป็นว่าจุดศูนย์รวมทั้งหมดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งบีบรัดของมนุษยชาตินี้ เราบอกได้ “วิถีพระพุทธศาสนา” มีคำตอบเพื่อให้เกิดเสรีภาพ เสมอภาค และสันติภาพ ในที่สุดนะครับ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/columnists/news_1588797
     

แชร์หน้านี้

Loading...