ไม่รู้แต่ไม่หลง ยังนิพพานได้ ส่วน "รู้แต่หลงรู้" ยังนิพพานไม่ได้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อู่หยาจื่อ, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    เมื่อปวงสัตว์ในพระพุทธศาสนา หาองค์พระศาสดาไม่เจอ?


    พวกเขาบางส่วนจึง ตั้งตนเป็นใหญ่ เป็นแกนหลักในพุทธศาสนา
    ก่อให้เกิด "ลัทธินิกาย" ต่างๆ ไม่อาจนำพาสัตว์สู่นิพพานได้ด้วย
    เพราะ "ไม่ใช่พระพุทธเจ้า" จึงไม่อาจนำพาสัตว์สู่นิพพานได้ จึง
    ต้องมีการค้นหา "พระพุทธเจ้า" หลังท่านได้ ดับขันธปรินิพพาน
    และการค้นพบนั้นเอง ทำให้ได้ "แสงสว่างแห่งธรรม" เกิดปัญญา
    อย่างแท้จริง พ้นทุกข์แท้จริง หลุดพ้นจากบ่วงบาศก์ของมนุษย์ได้
    "ศูนย์กลาง" ของพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่สิ่งใดอื่น นอกจากพระ
    จิต (มโนธาตุของพระพุทธเจ้า) ทั้งปริศนาธรรม "มโนธาตุจะได้
    นิพพานได้อย่างไร?" ตกแก่ผู้ที่รับได้ และได้รับแสงธรรมนั้น ให้
    ค้นหาและค้นพบปริศนาธรรมนั้น ต่อไป จนได้พบว่า "จิตติดรู้ จึง
    ไม่นิพพาน" โง่สุดโง่ รู้สุดรู้ จนไม่ต้องรู้ก็ไม่เป็นไร จิตจึงนิพพาน
     
  2. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    คนไม่มีศรัทธา ทำอย่างไร เขาก็ไม่ศรัทธา
    ความศรัทธา นั้น ไม่ผิดหรอก จะเลือกศรัทธา
    ใคร ไปนิพพานในยุคของใคร ที่ไหน ปวงสัตว์นั้น
    เลือกเอง


    ...
     
  3. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828

    ต้องกล้า "ปลดปล่อยตัวตน" เบื้องลึก
    ทุกอย่างออกมา เหมือนกวนตะกอนน้ำ
    ให้ขุ่น จึงเห็นว่า "มันยังใสไม่จริง"


    ตะกอนเพียงเล็ก เห็นยาก แต่ก็ยังมีอยู่
    แต่ถ้าปล่อยให้มันสงบ ตะกอนนอนก้น
    อยู่ ก็จะยังหลงตัวเองอยู่ว่าตนใสแล้ว


    ตะกอนก็ยังคง "แช่ดองอยู่" เท่านั้นเอง
     
  4. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    ตัวตนที่ถูกทำให้ "เล็กลง"
    นานวันเข้า มันจึงซ่อนแอบ
    แล้วแนบเนียนดังเหมือนไม่มี


    ตัวตนที่ทำให้ใหญ่ขึ้น
    ดุจเป่าลูกโป่งให้สุดใหญ่
    สุดท้าย "แตก" ไม่เหลือเลย


    ...
     
  5. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    ที่ตะละปัต ในงานศพจะเจอคำสี่ประโยคบ่อยๆว่า "ไปไม่กลับ, หลับไม่ตื่น,ฟื้นไม่มี,หนีไม่พ้น" พระเซนมาจากญี่ปุ่น มาเห็นแล้ว บอกเพิ่มว่า "ไปกลับ, หลับตื่น, ฟื้นมี, หนีพ้น"
    ของไทย สอนแบบยกให้เห็นเป็นรูปธรรม ของพระเซนก็สอบให้เห็นที่เป็นนามธรรม
     
  6. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    พระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้กิจ ไม่รีบนิพพาน


    พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มามีอายุ 8 พันถึง
    แปดหมื่นปีก็มี แต่อายุขับสังขารของพระ
    พุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีเพียง 80 ปี ทว่า
    แม้ "พญามาราธิราช" จะทูลขอให้นิพพาน
    เสีย (จะได้ไปให้พ้นๆ ไม่ต้องมาช่วยสัตว์)
    ด้วยพระพุทธองค์ทรงรู้วาระ รู้กาลอันควร
    และทรงทราบกิจว่าเมื่อไร จึงจะจบกิจ จึง
    ได้หาวิธีให้ปวงสัตว์ได้รับธรรมอยู่ต่อไปจึง
    ทรงกระทำ "ดับขันธปรินิพพาน" เหลือไว้
    เพียง "มโนธาตุ" (ธาตุรู้) เพื่อโปรดสัตว์
    พระเมตตาเหลือล้น แม้ทรงถึงวาระสิ้นแล้ว
    ยังทรงคิดหาวิธีโปรดสัตว์หลังสิ้นสังขารได้
    เพื่อให้ปวงสัตว์ได้มีธรรม จนถึง 5,000 ปี
    ด้วยเพราะทรงรู้ว่าไม่มีสาวกองค์ใด จะทำได้
    ไม่มีพระพุทธเจ้าองค์ที่สองอีก จึงทรงกระทำ
    "กิจภาคสว่าง" ประทานแสงธรรมนั้นเอง ...


    จึงยังทรงดำรงทรง "มโนธาตุ" ไว้ด้วยเหตุนี้
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระใบลานเปล่า พระโปฐิละ
    ขนาดนั้นพระพุทธเจ้าท่านยังไม่สรรเสริญ
    เรียกพระใบลานเปล่าทุกครั้ง จนเกิดความละอายแก่ใจต้องไปขอเรียนกับเณร
    เพราะไม่มีใครกล้าสอน
    เณรสอนเรื่องเหี้ย5รู พระโปฐิละ ปฏิบัติจนได้สำเร็จพระอรหันต์

    มีข้อสังเกต พระโปฐิละ ไม่เคยสอนให้ดูหมิ่นศีล5

    ระวังการบิดเบือนพระธรรม

    พระโปฐิละ ท่านไม่เคยบิดเบือนพระธรรม และยังรักษาศีลปาฏิโมกข์ในวินัยครบถ้วน

    ขนาดนั้น พระพุทธเจ้ายังทรงตำหนิทุกครั้งที่เข้าเฝ้า

    มีอีกคน ปลาทองปากเหม็น เพราะพูดแสดงธรรมพระพุทธเจ้าแต่ตัวเองไม่ทำ

    ตายเป็นปลาทอง ปากเหม็นมาก พอเล่าเรื่องตัวเองเสร็จก็เอาหัวชนกำแพงตาย

    ไปเกิดในนรกทันที

    อยากเดินตามปลาทองปากเหม็นหรอ

    ระวังวาจา เรื่องศีล เป็นเรื่องสำคัญ ดูถูกศีล ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ

    ยิ่งเห็นผิดดิ่งมาก ยิ่งเข้าใกล้ นิตยมิจฉาทิฏฐิ
     
  8. น้ำใหลนิ่ง

    น้ำใหลนิ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +79
    เรียกเป็นพระใบลานเปล่าครับท่าน TVJ แต่ท่านพระใบลานเปล่าก็ยังดียังสอนอยู่ในพระไตรปิฎก

    ดีกว่าบางคนการมั่วเอาคำสอนของพระพุทธองค์มายำยีบิดเบือนครับ ตีความมั่ว ยำรวมกับศาสนาอื่นๆ

    ข้อมูลพระใบลานเปล่าครับ

    ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘] ​
    ข้อความเบื้องต้น​
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ​
    นามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.​
    รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด​
    ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของ​
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา​
    ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออก​
    จากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช." ​
    จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระ-​
    เถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ​
    ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็​
    ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม​
    ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป​
    ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ​
    ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มี​
    คุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า​
    " บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเอง​
    ทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุ​
    ทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนด​
    ท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ​
    ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว​
    กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."​
    พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่า​
    อันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?"​
    พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้,​
    ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.​
    วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ ​
    ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น​
    พระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า​
    " ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าว​
    กะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่ง​
    ท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่​
    กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.​
    พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.​
    พระโปฐิละหมดมานะ​
    พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว ​
    จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า ​
    " ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."​
    สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น, ท่านเป็น​
    คนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน​
    พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้, ​
    ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.​
    สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้, ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.​
    พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้า​
    ไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.​
    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร ​
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ​
    ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."​
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ​
    นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้​
    หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.​
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด​
    ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน​
    ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย ​
    เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕​
    นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา​
    ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้​
    ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้ ​
    เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น​
    กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง​
    ในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.​
    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา​
    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอด​
    พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)​
    ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล​
    ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น​
    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-​
    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย ​
    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ​
    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.​
    " ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ​
    สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้​
    ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น​
    แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้."​
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระอรหันต์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในในขันธ์5 แต่ไม่ได้สอนให้คนทำความเลวทำผิดศีล5

    หรือสอนให้ปุถุชนคนทั่วไปไม่ยึดมั่นในศีล

    ต้องเอาศีลก่อน ตอนที่เป็นอรหันต์ถึงละทุกอย่าง

    ไม่ใช่สอนปุถุชนไม่ให้ยึดมั่นในศีล ไม่ยึดอะไรๆ มันก็เน่าดิ ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดแน่นอน

    ถ้าไม่มีศีลรักษาจิตก็ยังละวางศีลไม่ได้ (ไม่นับพวกเคร่งศีลจอมปลอม พวกงักปุ๊กคุ้งนะ)

    มีแต่พระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปถึงมีศีลรักษาจิต

    ปุถุชนอย่างพวกเธอว์ เป็นพระอริยะเจ้าแล้วรึ???
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  10. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    มีปัญญาแล้วจึงมี "ศีล 5 เป็นปกติ" นั้นคือ โสดาบัน
    เอาศีลไปพร่ำฝึกปฏิบัตินั้น คือ "พราหมณ์" เท่านั้นเอง
     
  11. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    ถือว่าเป็นการสนทนาธรรม นะครับ ศีล สมาธิ ปัญญา บันไดสามขั้น หรือท่านว่า ปัญญา ศีล สมาธิ
     
  12. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828

    ศีล สมาธิ แล้วมาปัญญานั้น
    พระพุทธองค์ทรงฉลาดใช้
    คือ ใช้การฝึกตนของพราหมณ์
    ที่มีพื้นฐานของศีลและสมาธิ
    มาแล้ว ท่านก็ต่อยอดด้วยปัญญา
    เลย ไม่ต้องลงไปฝึก ตั้งแต่ต้นทาง


    ศีล คือ "ปกติพระอรหันต์ละเว้นไม่กระทำอยู่แล้ว"
    นั้นคืออะไร ท่านจะแสดงธรรมนั้นให้ต่อยอดจากศีลแบบพราหมณ์
     
  13. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    ทำไมไม่ต้องสอนให้รักษาศีล?


    พระพุทธองค์ทรงเลือกบัวสี่เหล่า
    และทรงฉลาดพอที่จะเลือก "บัวพ้นน้ำ"
    ใกล้บาน ดังนั้น ไม่ทรงลงไปฝึกบัวใต้น้ำ


    เพราะไม่จำเป็นครับ ...


    [​IMG]
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปุถุชน ไม่รักษาศีล คนใดไม่มีศีลรักษาจิต ก็ไปทุคติ ไปอบายภูมิ

    พระพุทธเจ้าสอน เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค8

    ใครจะบิดเบือนยังไงก็ตามใจ ความจริงของคำสอนก็เป็นแบบนี้

    ไม่ได้ตั้งใจมาบอกใครเป็นการเฉพาะ ต้องการบอกคนไม่รู้ คนแวะผ่านมา ได้มีข้อมูล2ด้าน

    จะได้ใช้วิจารณญาณประกอบการพิจารณา

    เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระพุทธโคดม พระศาสดาแห่งพุทธศาสนาพระองค์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้ว<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-01_0-0>[1]</SUP> จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน
    เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยมกล่าวป็นภาษาบาลีมอบศีลที่ตนมีให้บุคคลร่วมรักษาด้วย เรียกว่า "ให้ศีล" และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว "รับศีล" ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีล ฆราวาสผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-0>[2]</SUP>
    เบญจศีลเป็นข้อไม่พึงปฏิบัติ คู่กับ "เบญจธรรม" อันเป็นข้อพึงปฏิบัติ การรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์ควรกระทำพร้อมกับรักษาเบญจธรรมด้วย แต่การรักษาเบญจศีลนี้มิใช่ข้อบังคับของพุทธศาสนิก เป็นคำแนะนำให้พึงยึดถือด้วยความสมัครใจเท่านั้น<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    <SUP></SUP>
    ประวัติ

    เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ปรากฏในจักวัตติสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> (บาลี: จกฺกวตฺติสุตฺต) อันกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ (บาลี: ปาโณ น หนฺตพฺโพ), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ (บาลี: อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ (บาลี: กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา), ต้องไม่กล่าวเท็จ (บาลี: มุสา น ภาสิตพฺพา) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา (บาลี: มชฺชํ น ปาตพฺพํ) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคมบัณเฑาะว์เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อนประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-01_0-1>[1]</SUP>
    เบญจศีลมีอิทธิพลมากในสังคมอินเดียโบราณ จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์จักวัตติสูตรดังกล่าว เมื่อกาลผ่านไปก็กลายเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนักบวชทั่วไปในสังคมอินดีย แต่ปรับปรุงเหลือเพียงสี่ข้อเท่านั้น ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 1 ไม่มีเพศสัมพันธ์ 1 และไม่อวดอุตริมนุษยธรรม 1
    ต่อมาพระโคดมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและประกาศพุทธศาสนาก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ปาราชิก 4<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-1>[2]</SUP>
    โดยเหตุที่เบญจศีลเป็นหลักธรรมสำหรับอุ้มชูโลก จึงได้รับสมญาต่าง ๆ อาทิ สมญาว่า "มนุษยธรรม" คือ ธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รักษาธรรมะห้าประการนี้แล้ว โลกหรือสังคมก็จะสงบสุข<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-2>[2]</SUP>, ว่า "นิจศีล" หรือ "นิตยศีล" คือ ศีลที่บุคคลทั้งนักบวชและฆราวาสพึงรักษาเป็นนิตย์, ว่า "คิหิศีล" คือ ศีลของคฤหัสถ์, ว่า "อาคาริยวินัย" คือ วินัยของผู้ครองเรือน เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-0>[5]</SUP> ราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นว่า "...น่าจะถือได้ว่า ศีล 5 เป็นรากฐานของศีลทั้งปวง..."<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-1>[5]</SUP>
    ต่อมา ได้มีผู้นำทางการเมืองของบางประเทศนำคำว่า "ปัญจสีล" ไปใช้ในทางการเมืองโดยเรียกว่า "ปัญจสีละ" และได้ให้นิยามตามความคิดเห็นของตนเอง ได้ความว่าคือการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (อังกฤษ: non-alignment)<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-03_4-2>[5]</SUP>
    <SUP></SUP>
    องค์ประกอบ
    เบญจศีลในพุทธศาสนาประกอบด้วยข้อห้ามห้าข้อเช่นที่ปรากฏในคำกล่าวรับศีล ดังต่อไปนี้<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-3>[2]</SUP>
    <TABLE style="MARGIN: 10px; TEXT-ALIGN: left" cellSpacing=10><TBODY><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD><CENTER>ที่</CENTER></TD><TD><CENTER>ข้อห้าม</CENTER></TD><TD><CENTER>คำแปล</CENTER></TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>1. ปาณาติบาต</TD><TD>ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>2. อทินนาทาน</TD><TD>อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>3. กาเมสุมิจฉาจาร</TD><TD>กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>4. มุสาวาท</TD><TD>มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ</TD></TR><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD>5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน</TD><TD>สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ</TD><TD>เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การรักษาศีล
    การรักษาเบญจศีลสามารถกระทำได้สองวิธี ดังนี้<SUP class=reference id=cite_ref-Royin-02_1-4>[2]</SUP>
    1. สมาทานวิรัติ คือ สมาทานหรือขอรับศีลจากภิกษุ ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบให้เป็นการกล่าวคำขอและคำรับศีล รวมทั้งมีคำสรุปอานิสงส์ของศีลด้วย ในอรรถกถาชาดก<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> ปรากฏกตอนหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เคยให้เบญจศีลแก่ยักษ์ด้วย นี้หมายความว่า มิใช่แต่ภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ที่มีศีลก็สามารถให้ศีลตามที่มีผู้ขอได้
    2. สัมปัตวิรัติ (บาลี: สมฺปตฺตวิรติ) คือ งดเว้นไม่ทำบาปขณะประสบกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทำบาป

    การจูงใจ
    ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค มหานามสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> ปรากฏการสนทนาระหว่างพระพุทธโคดมกับพระเจ้ามหานามศากยราช ครั้งนั้น พระพุทธโคดมประทับ ณ โครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระเจ้ามหานามศากยราชทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล." มีพระกระแสวิสัชนาว่า
    "ดูกร มหาบพิตร, อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต, เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน, เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร, เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท, เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค อภิสันทสูตรที่ 1<SUP class=reference id=cite_ref-7>[8]</SUP> ปรากฏพระพุทธดำรัสสรรเสริญเบญจศีลอันเป็นพระธรรมว่า
    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย. ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการนี้, 4 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข..."

    เบญจศีล - วิกิพีเดีย
    <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>
     
  15. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    พระพุทธเจ้าสมณโคดม โปรดสัตว์ดุจ "ดอกบัว"
    คือ เลือกบัวพ้นน้ำที่ใกล้บาน ทรงเป็นแสงสว่างให้บัวบาน


    พระพุทธเจ้าศรีอาริยเมตตรัย โปรดสัตว์ดุจ "รากบัว"
    คือ ทรงนำพา "สรรพจิตกลับสู่รากฐานเดิมแท้คือพุทธะ"


    พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์โปรดสัตว์ต่างกันในรูปแบบเท่านั้น
    เช่น ยุคพระกัสสปพุทธเจ้า ทรงโปรดสัตว์ดั่ง "ใบบัว" จิตดั่ง
    น้ำกลิ้งบนบัว น้ำไม่ติดใบบัว จิตผ่องใสประภัสสรอยู่แล้ว
     
  16. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    การสอน, การฝึกจิต, การรักษาศีล เป็นกิจของพราหมณ์


    เมื่อเข้าไปกระทำแล้ว ความเป็นพราหมณ์ฤษีก็เข้ามาครอบงำ
    พระพุทธศาสนา ซึ่งแท้แล้วความเป็นพรหมณ์ฤษี ก็ไม่ผิด และ
    ช่วยส่งเสริมพุทธมาโดยตลอด เพียงแต่เมื่อบุคคลไม่เข้าใจ ก็
    จะ "กระทำผิดหน้าที่" ทำให้ธรรมเสื่อมต่ำลงเป็นพราหมณ์กัน
    หมด และนี่คือ "สาเหตุที่พราหมณ์ครอบงำพระพุทธศาสนา"
    ไม่ใช่เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดู ทำผิด อะไรเลย ไม่ผิดเลย
    แต่เพราะ "เราชาวพุทธ ไม่เข้าใจ ไม่เกิดปัญญา เท่านั้นเอง"
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สมาบัติ8 พราหมณ์ ก็ต้องมีศีล ไปศึกษามาใหม่นะ
    ต้องมีทั้งศีล ทั้งสัจจะ นอกนั้นเขาเรียกมิจฉาทิฏฐิพราหม์
    แยกแยะไม่เป็น ก็ช่วยไม่ได้นะ

    สมาบัติ8 เป็นสมถะ ไม่มีปัญญาประกอบ ถึงไม่ได้นิพพาน
    แต่เพราะมีศีลและสัจจะ ถึงมีสติ เป็นมหากุศลจิต ทรงรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต
    เป็นกุศลจิต ถึงไปสุคติ ไปเกิดในสวรรค์ ไปเกิดในภพพรหมได้ แต่ไม่ได้นิพพาน

    พระพุทธเจ้ามาต่อยอด วิปัสสนาภูมิ เกิดปัญญา ถึงพากันบรรลุนิพพานได้

    พวกที่เลียนแบบเขา แต่ไม่เอาทั้งศีล ไม่มีทั้งสัจจะ ก็รอวันเน่าอย่างเดียว นะจ๊ะ
     
  18. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
  19. อู่หยาจื่อ

    อู่หยาจื่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4,333
    ค่าพลัง:
    +3,828
    จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่นิพพานไปแล้ว
    ก็สามารถโปรดเราได้ เมื่อเรามี "ศรัทธาแท้-ศรัทธาตรง"
    แล้วเราจะได้ทราบว่าแต่ละพระองค์ทรงมีรูปแบบในการ
    โปรดสัตว์ต่างกัน สัจธรรมเดียวกัน มีวิธีแสดงต่างกันบ้าง
    เท่านั้นเอง ...


    สมมุติบัญญัติบนโลก เป็นเพียง "เครื่องช่วยนำทาง"
    ขณะที่เราคลำหาสัจธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ก็ทรงพร้อมที่จะช่วยเราเสมอ เพียงแต่ท่านนิพพาน
    แล้วจึงไม่กระทำอะไร จนกว่าเราจะไปถึงเองเท่านั้น


    เมื่อใดที่จิตเราถึงได้ เราถาม ท่านก็ตรัสตอบได้ทั้งสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กุมภาพันธ์ 2012
  20. jake009

    jake009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +285
    จิต(เดิม)ประภัสสรอยู่แล้ว งั้น ขอเรียนถามว่า ทำอย่างไรให้ถึงจิตที่ประภัสสรอยู่แล้ว
    หรือว่า เกิดขึ้นเองเมื่อถึงเวลาโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...