ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pantham phuakph, 20 เมษายน 2011.

  1. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า

    สหธรรมิก ทุกท่านครับ บังเอิญผมไปเจอข้อธรรมในพระไตรปิฎกที่น่าสนใจ ที่บอกว่าน่าสนใจก็คือ ผมเจอคำว่า “คนกระจอก” และ “บุรุษอาชาไนย” ผมแปลกใจมาก ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ในพระไตรปิฎกจะมีสองคำนี้อยู่เลย

    ที่แปลกใจมากกว่า ก็คือ ความหมายของทั้งสองคำที่อยู่ในพระไตรปิฎก ต่างกับความหมายที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและใช้กันอยู่

    จะต่างกันอย่างไรนั้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาได้ ณ บัดนี้

    ---------------------------------------------------

    [​IMG]

    ว่าด้วย “คนกระจอก”
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนกระจอกในโลกนี้มี ๓ ประเภท

    ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
    - แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ


    ว่าด้วย “คนดี”
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า คนดีในโลกนี้มี ๓ ประเภท

    ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
    - แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ

    อุปปาติกะ [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).


    ว่าด้วย “บุรุษอาชาไนย”
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้มี ๓ ประเภท

    ประเภทที่ ๑. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้
    - บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๒. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้
    - บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ
    - แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้

    ประเภทที่ ๓. คนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้
    - บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ
    - และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ
    - และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ

    เรียบเรียงมาจาก
    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาต
    ขฬุงคสูตร ข้อ ๒๒๖

    ---------------------------------------------------

    [​IMG]

    เพื่อนๆ ครับ หลังจากได้อ่านแล้ว เรามาสรุปกันหน่อยว่า คนกระจอก คนดี บุรุษอาชาไนย มีความหมายอย่างไร ตามที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะให้เป็น

    สิ่งที่ทำให้ คนกระจอก คนดี และบุรุษอาชาไนย มีความหมายที่ต่างกัน ก็คือ เชาวน์

    เชาวน์ของคนกระจอก คือ รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    เชาวน์ของคนดี คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

    เชาวน์ของบุรุษอาชาไนย คือ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


    หลังจากพิจารณาเชาวน์ของแต่ละคนแล้ว ผมได้ข้อสรุปดังนี้
    คนกระจอก หมายถึง โสดาบันปัตติผล หรือ สกทาคามีผล
    คนดี หมายถึง อนาคามีผล
    บุรุษอาชาไนย หมายถึง อรหันตผล


    เพื่อนๆเห็นด้วยกับผมไหมครับ
    ---------------------------------------------------

    คราวนี้มาดูความหมาย (ในภาษาไทย) ที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
    ขอยกเอาความหมายใน พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    มาแสดงดังนี้ครับ

    กระจอก ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.

    คนดี น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.

    อาชาไนย ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็นม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).


    ---------------------------------------------------

    ขอให้เพื่อนๆ เปรียบเทียบ ความหมายของคำว่า คนกระจอก คนดี บุรุษอาชาไนย
    ระหว่างความหมายในพระไตรปิฎก กับความหมายในพจนานุกรม ว่าเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร

    ที่มา ใครคือ “คนกระจอก” ในสายพระเนตรของพระพุทธเจ้า
    คัดลอกมาจาก http://www.madchima.org
    (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=724.0)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2011
  2. pearl8

    pearl8 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +154
    อนุโมทนาค่ะ
    เชื่อและศัทธาในพุทธองค์และท่านครูบาอาจารย์
     
  3. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    ศัพท์ในพระพุทธศาสนาจำนวนมากถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้าม เช่น อาวุโสหมายถึงผู้น้อย ต่างกับในปัจจุบันที่หมายถึงผู้แก่กว่า
    หรืออย่างคำว่าอรหันต์ซึ่งหมายถึงผู้บริสุทธิ์อย่างที่สุดดีที่สุด แต่สื่อมวลชนที่ถูกซื้อตัวไปพยายามทำให้คำนี้หมายถึง เลวร้ายที่สุด โดยไปเชื่อมกับความชั่วต่างๆ
     
  4. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,003
    ขอบคุณสำหรับความรู้ที่น่าสนใจครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...