โชว์ พูดคุย สายเขาอ้อ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย P Safe, 12 เมษายน 2012.

  1. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>เหรียญอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง ปี 2519 บล๊อคนิยม หนึ่งในสุดยอดเหรียญเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ..อดีตเจ้าสำนักเขาอ้อตัวจริงเสียงจริง...เหรียญรุ่นนี้สร้างแบบเนื้อเงิน 99 เหรียญ, แบบเนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ ท่านพระอาจารย์ปาลได้ปลุกเสกให้แบบทิ้งทวนและครอบคลุมทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่าน ได้รับของดี และดีที่สุดของท่านไว้บูชา....องค์ที่นำมาให้ชมเนื้อทองแดงรมมันปูและแบบทองแดงรมดำซึ่งพบเจอน้อยมาก </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พระร่วงมหาสิทธิโชค อ.นำ วัดดอนศาลา</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระร่วงมหาสิทธิโชค อ.นำ วัดดอนศาลา ปี2518 พระร่วงมหาสิทธิโชคนี้เดิมทีผู้สร้างได้ถวายให้วัดดอนศาลาและถวายกับท่านพระครูกาชาด(บุญทอง) แต่ท่านพระครูกาชาดปลุกเสกร่วมกับท่านพระอาจารย์นำ ส่วนที่มาของชื่อ "พระร่วงมหาสิทธิโชค" ท่านพระครูกาชาดเป็นผู้ตั้ง ซึ่งมาจากชื่อของพระคาถา "มหาสิทธิโชค" ซึ่งเป็นคาถาที่ท่านพระครูกาชาดมักจะใช้สวดอวยพรญาติโยม ซึ่งเป็นมงคลนามอย่างยิ่ง นับวันจะหาชมตัวจริงได้ยากมาก </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>เหรียญอาจารย์เอียด วัดโคกแย้ม</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> เหรียญรุ่นแรก อาจารย์เอียด วัดโคกแย้ม ปี2538 เนื้อเงิน ศิษย์เอกผู้สืบทอดสรรพวิชาจากอาจารย์หมุน วัดเขาแดงตะวันออก เหรียญรุ่นแรกของท่านจัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาศที่หลวงพ่ออายุครบ5รอบ เหรียญเนื้อเงินสร้างจำนวนน้อยมากๆ จึงทำให้พบเจอยากพอสมควรครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พุทธกวัก ใบพาย อ.เจ็ก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระพุทธกวัก พิมพ์ใบพาย อ.เจ็ก วัดเขาแดงตะวันออก สภาพสวยผิวเดิม องค์พระหล่อออกมาได้คมชัดลึก หลังยันต์ติดชัด และที่สำคัญแท้ดูง่ายสบายตา </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>เหรียญขวัญถุง วัดดอนศาลา</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> เหรียญขวัญถุง ที่ระลึกของท่านพระครูกาชาดบุญทอง และ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ปี2530 ด้านหลังเหรียญมีรอยจารด้วยครับ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>รูปเหมือนปั๊ม ลพ.หมุน วัดเขาแดงออก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก อ.หมุน วัดเขาแดงออกตะวันออก ปี2516</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>เหรียญอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> เหรียญรุ่นแรก อาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง ปี2525 อาจารย์เล็ก ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองเฒ่าร่วมยุคสมัยเดียวกันกับพระอาจารย์เอียดและพระอาจารย์ปาล ความขลังศักดิ็สิทธิ์ของท่านใช่ด้อยไปกว่าศิษย์เขาอ้อรูปอื่นๆเลยแม้แต่น้อย พระอาจารย์เล็ก ไม่นิยมสร้างอิทธิวัตถุมงคล มีการร้องขอรบเร้ามาแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ท่านก็ไม่ยอม จนมาในช่วงระยะวัยชราภาพมากแล้วคณะศิษย์ของท่านนำโดยพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา ได้ขออนุญาติจัดสร้าง เมื่อต้นปี 2525 ท่านจึงยอมให้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ขึ้นมาจำนวน 9999 เหรียญ... เหรียญรุ่นนี้ท่านอาจารย์เล็กได้ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวขึ้นก่อน และในขณะที่ท่านได้ทำพิธีปลุกเสกอยู่ในพระอุโบสถแต่เพียงรูปเดียวนั้น ได้บังเกิดอภินิหารย์เสียงสั่นสะเทือนเลือนลั่นไปทั้งโบสถ์ เหมือนกับว่าเกิดแผ่นดินไหว หลังจากนั้นได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเศกซ้ำขึ้นอีกครั้ง ณ.พระอุโบสถ วัดประดูเรียง โดยมีอาจารย์เล็กเป็นประธาน และได้นิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีก 9 รูป ได้แก่ 1)พระอาจารย์อินทร์ วัดควนปันตาราม 2)หลวงพ่อสุข วัดประดู่หอม 3)อาจารย์เศียร วัดวิหารสูง 4)พระอาจารย์ปลอด วัดหัวป่า 5)อาจารย์แก้ว วัดโคกโดน 6)หลวงพ่อเนื่อง วัดไทรงาม 7) ท่านพระครูกาชาด วัดดอนศาลา 8) พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา 9)หลวงพ่อพลับ วัดป่าตอ.............เหรียญรุ่นนี้มีอานุภาพในด้านแคล้วคลาดและเมตตาเป็นเลิศครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>รูปหล่อ อ.นำ วัดดอนศาลา</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> รูปหล่อรุ่นแรก อาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง ปี2519 เนื้อนวะโลหะ นำมาให้ชมทั้ง ว ขีด และ ว ไม่มีขีด</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พระเครื่องชุดภูธราวดี พิมพ์ปริศนา</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระเครื่องชุดภูธราวดี พิมพ์นี้ไม่ได้ระบุอยู่ในประวัติการสร้าง แต่ในความคิดส่วนตัวแล้ว น่าจะเป็นพิมพ์พระอาจารย์ทองเฒ่า เนื่องจากว่าพระเครื่องชุดนี้ได้จัดสร้างโดยศิษย์สายเขาอ้อ จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกที่จะสร้างรูปเหมือนอาจารย์ขึ้นมาด้วย </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พระเครื่องชุดภูธราวดี พิมพ์พระยอดขุนพล</BIG></TD><TR><TD vAlign=top>พระเครื่องชุดภูธราวดี ปี 2506 พุทธลักษณะเป็นพระปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่ 1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย, 2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด, 3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร, 4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ, 5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น(พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์,จำนวนการสร้างทั้งหมดประมาณ 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่ 1.ทองคำ, 2. เงิน, 3. ทองแดง, 4.ดีบุก, 5.พลวง, 6.สังกะสี, 7.เจ้าน้ำเงิน, 8.เหล็กละลายตัว, 9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล, ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระมาด้วย พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่ -ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อจากมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจันทร์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่ 1.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506, 2.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช, 3.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ, 4.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน, 5.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก, 6.อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ( ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่และมีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน), 7.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, 8.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, 9.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว, 10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฯลฯ นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าพิธีพุทธาภิเศก ทั้ง 3 ครั้ง และไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ มูลเหตุแห่งการสร้างและผูดำเนินการจัดสร้าง พระเครื่องชุดนี้สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของนายตำรวจ 2 ท่านได้ แก่ 1. พล.ต.ท ประชา บูรณธนิต ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่าง ๆ ในยุคหลังสงครามที่โด่งดังในภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ , เสือเจริญ , เสือผาด มีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียว เนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทางจากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2495 โดยปรากฏหลักฐานว่าในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกม ของหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว ( น่าจะเป็นสาเหตุให้พระท่ากระดานมีราคาสูงมาตั้งแตครั้งนั้น ) 2.พล.ต.ต ขุนพันธรักราชเดช นามเดิม ชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ ่านผู้นี้มีเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี "รรยอกะจิ"เคย พิชิต เสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโดจังหวัดนราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าวกันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทอง แดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านผู้นี้เป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้ออันโด่งดัง นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระ โดย พลตรี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล มูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้นอกเหนือจากศรัทธ่อันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคณะผู้ร่วมจัดสร้างเพื่อที่จะนำไปแจกจ่ายให้ผูศรัทธา และมีปรากฏในบันทึกของพล.ต.ท. ประชา ฯ ว่าได้มีการจัดพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้าถวายมีดังนี้ 1. พระเครื่องภูธราวดี 309 องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำรวม 5 องค์, 2.พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนาจำนวน 3 องค์, 3.พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตราจำนวน 3 องค์, 4.พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน 3 องค์, 5.พระกริ่งภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน 2 องค์, 6.พระกริ่งยอดธงภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน9 องค์ (จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย 9 องค์เท่านั้น) องค์นี้เป็นพิมพ์พระยอดขุนพล เป็นพระคะแนนร้อยและเป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุดในพระชุดเนื้อดินครับ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พระเครื่องชุดภูธราวดี พิมพ์พระสังกัจจายน์</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระเครื่องชุดภูธราวดี ปี 2506 พุทธลักษณะเป็นพระปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่ 1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย, 2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด, 3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร, 4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ, 5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น(พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์,จำนวนการสร้างทั้งหมดประมาณ 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้ ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่ 1.ทองคำ, 2. เงิน, 3. ทองแดง, 4.ดีบุก, 5.พลวง, 6.สังกะสี, 7.เจ้าน้ำเงิน, 8.เหล็กละลายตัว, 9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล, ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระมาด้วย พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่ -ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อจากมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจันทร์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่ 1.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506, 2.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช, 3.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ, 4.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน, 5.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก, 6.อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ( ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่และมีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน), 7.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, 8.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, 9.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว, 10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฯลฯ นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าพิธีพุทธาภิเศก ทั้ง 3 ครั้ง และไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ มูลเหตุแห่งการสร้างและผูดำเนินการจัดสร้าง พระเครื่องชุดนี้สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของนายตำรวจ 2 ท่านได้ แก่ 1. พล.ต.ท ประชา บูรณธนิต ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่าง ๆ ในยุคหลังสงครามที่โด่งดังในภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ , เสือเจริญ , เสือผาด มีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียว เนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทางจากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2495 โดยปรากฏหลักฐานว่าในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกม ของหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว ( น่าจะเป็นสาเหตุให้พระท่ากระดานมีราคาสูงมาตั้งแตครั้งนั้น ) 2.พล.ต.ต ขุนพันธรักราชเดช นามเดิม ชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ ่านผู้นี้มีเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี "รรยอกะจิ"เคย พิชิต เสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโดจังหวัดนราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าวกันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทอง แดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านผู้นี้เป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้ออันโด่งดัง นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระ โดย พลตรี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล มูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้นอกเหนือจากศรัทธ่อันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคณะผู้ร่วมจัดสร้างเพื่อที่จะนำไปแจกจ่ายให้ผูศรัทธา และมีปรากฏในบันทึกของพล.ต.ท. ประชา ฯ ว่าได้มีการจัดพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้าถวายมีดังนี้ 1. พระเครื่องภูธราวดี 309 องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำรวม 5 องค์, 2.พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนาจำนวน 3 องค์, 3.พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตราจำนวน 3 องค์, 4.พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน 3 องค์, 5.พระกริ่งภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน 2 องค์, 6.พระกริ่งยอดธงภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน9 องค์ (จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย 9 องค์เท่านั้น) องค์นี้เป็นพิมพ์พระสังกัจจายน์ เป็นพระพิมพ์พิเศษที่หายากมากๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>นางกวักใบพาย อาจารย์เจ็ก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> นางกวักพิมพ์ใบพาย อาจารย์เจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก สภาพสวยแท้ดูง่ายครบสูตร </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>อาจารย์ใหญ่ สายเขาอ้อ</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> เหรียญหล่อ อ.ทองเฒ่า อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา สร้างราวปี2525-26 เนื้อจ้าวน้ำเงิน โลหะพิเศษ ซึ้งตามตำราเขาอ้อ สร้างจากโลหะ2ชนิดผสมกัน โดยใช้ว่านเป็นตัวประสาน ซึ่งเรียกว่าสร้างจ้าวน้ำเงินให้เป็น "ธาตุกายสิทธิ์" เสียขั้นตอนหนึ่งก่อน ทุกอย่างต้องมาจากที่สูง ผลสำเร็จจึงจะเยี่ยม จ้าวน้ำเงินหากไม่นำผสมกับนวะโลหะแล้วจะไม่ละลาย เผาจนสุกแดง แต่พอหยุดเผาจะแข็งตัวทันที ผิวที่ถูกไฟจะดำ แต่พอขัดจะเกิดเงาแวววาวเหมือนทองคำขาวหรือชุบโครเมียม "จ้าวน้ำเงิน"หรือ"เงินกายสิทธิ์" พุทธคุณก็เด่นพอๆกับเนื้อ "ทองมหาสัตตะโลหะ"หรือ"ทองกายสิทธิ์" แต่เป็นรองกันแค่เนื้อ ในตำราระบุไว้ว่า ( ผู้ใดได้ครอบครองเนื้อทองมหาสัตตโลหะ หรือ เจ้าน้ำเงิน จะมีความรุ่งโรจน์ในการงานเป็นเมตตามหาเสน่ห์เเก่ผู้พบเห็น จะมีสมบัติเพิ่มพูลทวีจนเป็นถึงขั้นมหาเศรษฐี) พระชุดนี้เป็นพระชุดวิเศษที่หาค่ามิได้ สร้างไว้น้อยมาก เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลชั้นยอดของ อ.ศรีเงิน เนื้อโลหะ "จ้าวน้ำเงิน"</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>พระชินราชนำฤกษ์ อ.ชุม ปี2497</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระผงบารมีพระบรมธาตุ ปี2497 พิมพ์พระชินราชท่าเรือใหญ่ สุดยอดมวลสารจากพระกรุทั่วประเทศ มาดำเนินการสร้างพระชินราชท่าเรือนี้จากการรวบรวมปรากฎว่าได้พระกรุมากว่า 108 กรุ ว่านยาอีก108ชนิด รวมทั้งผงวิเศษ อาทิเช่น พระกรุนางตรา-ท่าเรือ, กรุท้าวโคตร, สมเด็จวัดระฆัง, สมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ, ผงดำผงแดงหุ่นพยนต์, หลวงพ่อเกตุ วัดขวิด, ขุนแผนวัดพระรูปและวัดบ้านกร่าง, พระนางพญาวัดนางพญาและวัดต้นจันทร์ สุพรรณบุรี, พระกรุต่าง ๆ ในกำแพงเพชร, พระกรุต่างๆ ในสุโขทัย, หูยานลพบุรี, ท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี, พระกรุวัดท่ามะปราง, พระวัดชินราช พิษณุโลก, พระหลวงพ่อจุก, พระจุฬามณี พิษณุโลก, พระรอด พระคง พระเปิม-ลำพูน, มหาว่านวัดเขาอ้อ-พัทลุง, และพระกรุศรีวิชัยฯลฯ การประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดให้มีขึ้นตลอดพรรษา ณวิหารวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ได้ฤกษ์พิมพ์องค์พระในวันที่ 2 สิงหาคม 2497 ครบ 84,000 องค์ วันที่ 1 กันยายน 2497 ทำพิธีปลุกเสกวันที่ 14 กันยายน2497ออกพิธีวันที่ 12 ตุลาคม 2497 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา โดย พิธีนี้ได้นิมนต์พระเถราจารย์ ผู้เรืองเวทวิทยาคม 108 รูป มาร่วมประกอบพิธีมีท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกขอยกมาเป็นบางส่วนได้แก่ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันจันดี,หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี, หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา, หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย, หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง, หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา, หลวงพ่อคลิ้งวัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์, หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่, หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่, หลวงพ่อวัน มะนะโสวัดประสิทธิชัย, หลวงพ่อแสงวัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง, หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ. หลวงพ่อเจ็กวัดเขาแดงตะวันตก, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก พัทลุง, หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน). หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร, หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน, หลวงพ่อสงฆ์วัดศาลาลอย, หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร, หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์บางสะพาน, หลวงพ่อเปี่ยมวัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋วัดสามง่าม นครปฐม ฯลฯอาจารย์ที่เป็นฆราวาสได้แก่ อ.ชุม ไชยคีรี, อ.นำแก้วจันทร์, พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช การปลุกเสกเน้นเด่นเฉพาะทางแบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ 7 วัน เช่น ปลุกเสกเน้นด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน มหาอุด 7 วัน ป้องกันสัตว์ร้ายและโจรร้าย 7 วันป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูตผีปีศาจ 7 วัน เมตตามหานิยม 7 วันเนรมิตกายกำราบศัตรูให้เห็นเราคนเดียวเป็นหลายคน ดังนี้เป็นต้น (สุดยอดจริงๆในพิธีมีการทดลองด้วยศาตราวุธ ให้เห็นว่าพุทธคุณในองค์พระนั้นมีจริง) องค์นี้เป็นพระนำฤกษ์ พิมพ์ชินราชท่าเรือใหญ่ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>ผ้ายันต์เพดาน อ.ศรีเงิน</BIG></TD><TR><TD vAlign=top>ผ้ายันต์เพดาน เขียนมือโดย อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา ผืนนี้เป็นผืนที่ท่าน อ.ศรีเงิน ใช้ประกอบพิธีกรรมมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>ผ้ายันต์เขียนมือ หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง</BIG></TD><TR><TD vAlign=top>ผ้ายันต์เขียนมือ หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>ชุดเครื่องราง ลพ.หมุน วัดเขาแดงออก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> รวมชุดเครื่องราง หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก ที่หาชมตัวจริงได้ยากมากครับ หนังหน้าผากเสือ/ตะกรุดโทนแบบมีสายร้อยพร้อมลูกสะกดเนื้อชันโรม/เขี้ยวเสือแกะศิลป์แมว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]


    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>ปิดตาไม้แกะ ลพ.หมุน วัดเขาแดงออก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> ปิดตาไม้แกะปลุกเสกโดย หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดงออก ฝีมือแกะโดยหลวงพ่อหมุน แกะจากไม้ตะเคียนซึ่งเป็นเศษไม้ที่เหลือจากการต่อเรือพายเรือแข่งของวัด หลวงพ่อหยิบให้ท่านจากในย่ามเมื่อประมาณปี2516 จำนวน2องค์เป็นของดีที่หลวงพ่อเอ่ยปากให้เก็บรักษาไว้ให้ดี..</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>หนุมานงาแกะ ลพ.หมุน วัดเขาแดงออก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top>หนุมานงาแกะ ปลุกเสกโดย หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดงออก สร้่างโดย คุณธรรมนูญ คุ้มภัย ลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่อหมุน ประมาณปี2517 โดยหลวงพ่อหมุนแนะนำให้สร้างเป็นตัวหนุมาน ฝีมือแกะโดยช่างอาวุโสชาวจีน แกะจาก..งาขนาย ของช้างตัวเมีย! ซึ่งเป็นของดีที่มีคุณวิเศษอยู่ในตัว (ปกติช้างตัวเมียจะไม่มีงา) อ.หมุนได้ปลุกเสกให้หลายครั้งหลายครา...ซึ่งถือได้ว่าหนุมานตัวนี้เป็นตัวเอกในชุดงาแกะของท่าน </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. P Safe

    P Safe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +328
    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD><BIG>ปิดตางาแกะ ลพ.หมุน วัดเขาแดงออก</BIG></TD><TR><TD vAlign=top> พระปิดตางาแกะ ปลุกเสกโดย หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดงออก สร้างโดย คุณธรรมนูญ คุ้มภัย ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อหมุน ประมาณปี2517 แกะจากปลายงาที่เหลือจากการแกะหนุมานและขุนแผนได้จำนวน 2 องค์ หลวงพ่อหมุนเขียนยันต์ด้วยปากกาเมจิก2หัวให้ทั้ง2องค์</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...