เเจกความรู้เรื่องยาสมุนไพร ทุกขนานครับ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย ไร้หนทาง, 7 มกราคม 2013.

  1. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะมดเชียง
    ลักษณะทั่วไป : ต้น: ชะมดเชียงเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต และสูง 2 ฟุตมีเขี้ยวงอกยื่นห้อยลงจะมีอยู่ 2 เขี้ยวเหมือนกระจง เขี้ยวมีความยาวประมาณ2 นิ้ว ลักษณะขนจะเป็นสีเทา ตรงโคนสีขาว ตรงปลายของมันเป็นสีดำ

    ส่วนที่ใช้ : ชะมดเชียง เม็ดอัณฑะ ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ: ชะมดเชียง จะมีรสขมเล็กน้อย ใช้รักษาโรคตา โรคไองอ โรคลม โลหิต กำเดาโรคเส้น ประสาท หอบหืด เป็นยาเร่งในโรคไข้รากสาดน้อย หลอดลมอักเสบ ปอดบวมยาที่ใช้แทนชะมดเชียงนั้นก็คือ Artificial musks
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะมวง
    ส้มมวง (ภาคใต้), ชะมวง (ไทยกลางและตะวันออก)
    ส่วนที่ใช้ : ใบและผล ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใบและดอก ใช้เป็นยาระบายท้อง รักษาโรคไข้กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ นอกจากนี้ใบอ่อนและผลยังใช้ปรุงเป็นอาหารกิน จะมีรสเปรี้ยวคล้ายใบมะดัน ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้ท้องระบายคล้ายดอกขี้เหล็ก

    อื่น ๆ : -

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักจะขึ้นตามป่าชื้นทางภาคใต้และภาคตะวันออก ทางภาคกลางก็มีปลูกกันบ้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1222830248.jpg
      1222830248.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.1 KB
      เปิดดู:
      90
    • 1222832327.jpg
      1222832327.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.5 KB
      เปิดดู:
      91
    • 1280908380.jpg
      1280908380.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.5 KB
      เปิดดู:
      123
  3. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะลูด
    ลูด (ปัตตานี), ชะลูด (กลาง, ตลาด)
    ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ เปลือกชั้นใน ใบ ดอก ผลและราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ :

    เนื้อไม้ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาลม และขับลม

    เปลือกชั้นใน จะมีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง นอกจากนี้แล้วยังใช้ปรุงแต่งผ้าให้มีกลิ่นหอม และปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบ หรืออบเสื้อผ้า เป็นเครื่องหอมอื่น ๆ เช่น ธูปหอม ใบ ใช้รักษาอาการไข้ ดอก ใช้รักษาอาการไข้เพ้อคลั่ง ผล ใช้รักษาอาการไข้ ราก ใช้รักษาพิษเสมหะ พิษไข้ และลม

    ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นกระจัดกระจายในป่าดงดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และทางภาคใต้มักนิยมปลูกไว้เพื่อทำเครื่องหอม และเป็นยาสมุนไพรขับลมในลำไส้และลมในกระเพาะอาหาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1303000415.jpg
      1303000415.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61 KB
      เปิดดู:
      108
    • chalood.jpg
      chalood.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.9 KB
      เปิดดู:
      175
    • charotchang.jpg
      charotchang.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12 KB
      เปิดดู:
      82
  4. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะลูดขาวลูด (ปัตตานี), ชะลูด (กลาง, ตลาด)
    ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอก ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ: เปลือกต้น จะหอม ใช้ปรุงกับยาต้มกิน และเป็นยาปรุงกลิ่นให้มีกลิ่นหอมใช้ขับผายลมให้ออกจากลำไส้ รักษาไข้ รักษาอาการปวดมวนใบ ใช้รักษาอาการไข้

    ดอก ใช้รักษาอาการไข้คลั่งเพ้อ รักษาคุทราด ดีพิการ และอาการสะอึก ราก ใช้รักษาอาการใจสั่นหรือหงุดหงิด รักษาอาการเสมหะและไข้พิษ

    อื่น ๆ: เปลือกต้น ถ้าเก็บมาแล้วต้องนำมาทุบเถาทั้งสด ๆแล้วนำเอาเปลือกดำนอกออกทิ้งให้หมด แล้วลอกเอาเนื้อไม้ที่เป็นสีขาวให้กะเทาะออกมาผึ่งแดดให้แห้งจะได้กลิ่นที่หอมแต่ถ้าเอามาเก็บไว้ทั้งเถาจะไม่มีกลิ่นหอมเลยกลิ่นหอมนี้จะคล้ายกลิ่นอบเชยมาก ส่วนเปลือกไม้นี้ ให้ใช้ต้มรวมกับลูกซัดนำเอาน้ำที่ต้มมาย้อมเสื้อผ้าจะมีกลิ่นหอมดีนอกจากนี้น้ำต้มของชะลูดนี้ยังใช้ปรุงเป็นยาเส้น ให้มีกลิ่นหอมได้ดี

    ถิ่นที่อยู่: พรรณไม้นี้ชอบขึ้นเองเป็นเถาเป็นดงดาน ตามป่าราบได้พบถิ่นกำเนิดที่ป่าราบตำบล นายาว ถัดจากบ้านอ่างไปประมาณ 4 กิโลเมตรในจังหวัดจันทบุรีเลยเข้าไป
    ต้นเถาชลูขาวไม่มีดอก เเต่จะหอมเหมือนมีดอก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะลูดเเดง
    ชะนูด (สุราษฎร์), ชะลูดแดง (ไทยภาคกลาง), นูดแดง (ภาคใต้)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ และราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใบ ช่วยกระจายเลือดที่คั่งค้างอยู่ในเส้น

    ราก จะมีรสเย็น เป็นยารักษาอภิญญาณโรค และรักษาเลือดออกตามไรฟัน

    ถิ่นที่อยู่: พรรณไม้นี้มักจะขึ้นเองตามป่าบนไหล่เขาได้พบมีประปรายอยู่บนเขาสระบาปทาง ด้าน บ้านอ่าง และที่น้ำตกครองนารายจังหวัดจันทบุรี จะมีการปลูกกันบ้างตามป่าราบศรีราชา ผมหาภาพชะลูดเเดงไม่เจอครับทีเจอมันไม่ใช่
     
  6. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะอม
    ผักหละ, ผักละ, ผักล่า, ผักห้า (ภาคเหนือ), ชะอม (ไทยภาคกลาง), ผักข่า (ร้อยเอ็ด),โพะซุยโด่ะ
    ส่วนที่ใช้ : ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ราก ใช้ฝนกินเป็นยารักษาอาการท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และรักษาอาการปวดเสียว ในท้องได้ดี

    อื่น ๆ : ถ้าเราเก็บเอาใบชะอมไปผูกไว้ในกรงนกขุนทอง นกได้กลิ่นก็จะตาย แต่ถ้านกตัวนั้นเกิดในป่าชะอมจึงจะทนต่อกลิ่นนี้ได้ เพราะนกเคยชินต่อกลิ่นมาตั้งแต่กำเนิด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • angth-501-3.jpg
      angth-501-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.3 KB
      เปิดดู:
      89
    • Chaam01.jpg
      Chaam01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.1 KB
      เปิดดู:
      106
  7. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะเอมไทย
    ชะเอม, กอกกั้น, ชะเอม, ส้มป่อยหวาน, อ้อยช้าง, ชะเอมไทย (ชุมพร), เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง)
    ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ใบ ดอก และรากใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : เนื้อไม้ ใช้รักษาโรคในคอ รักษาลมรักษาเลือดออกตามไรฟัน บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ

    บำรุงธาตุและกำลัง ขับเสมหะรักษาน้ำลายเหนียว ใบ ใช้ขับเลือดให้ตก ดอก รักษาดี และเลือด ทำให้เสมหะงวดเข้า ช่วยย่อยอาหาร ราก จะมีรสหวาน ลักษณะคล้ายชะเอมเทศ ใช้ปรุงเป็นยา

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ มักจะขึ้นตามพื้นที่ราบเชิงเขา ในตำบลบ้านอ่าง จังหวัดจันทบุรี และเข้าใจกันว่ามีมากในจังหวัดนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20_.jpg
      20_.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.6 KB
      เปิดดู:
      211
    • 230614untitled.jpg
      230614untitled.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.1 KB
      เปิดดู:
      102
  8. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะเอมเทศ
    กำเช้า, กำเช่า (จีน-แต้จิ๋ว), ชะเอมเทศ, ชะเอมจีน
    ส่วนที่ใช้ : ต้น เปลือก ใบ ดอก ผล และรากใช้เป็นยา

    สรรพคุณ :

    ต้น กระจายลมเบื้องบน และเบื้องล่าง

    เปลือกของราก จะมีเป็นสีแดง และมีรสหวานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้คลื่นเหียน อาเจียน

    ใบ ทำให้เสมหะแห้ง และเป็นยารักดีพิการ

    ดอก ใช้รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ

    ผล จะมีรสหวาน ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง และอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มชื้น

    ราก จะมีรสชุ่ม ใช้เป็นยาบำรุงปอด ขับเลือดที่เน่าในท้อง รักษาพิษยาหรือพืชพิษต่าง ๆ ชนิดคั่วแล้วรักษาอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตรากตรำทำงานหนัก ปวดท้อง ไอเป็นไข้ สงบประสาท บำรุงปอด ใช้รากสดรักษาอาการเจ็บคอ เป็นแผลเรื้อรัง ระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ และรักษากำเดาให้เป็นปกติ

    อื่น ๆ : ในรากของชะเอมนั้น จะมีแป้งและความหวานมาก ต้องรักษาไว้อย่าให้แมลงมารบกวน เพราะพวกมอดและแมลงอื่นชอบกิน ถ้าผุจะทำให้เสื่อมคุณภาพ นอกจากนี้ยังใช้รากผสมยาอื่น ช่วยกลบรสยา หรือแต่งยาให้หวานอีกด้วย

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักขึ้นในเขตอากาศอบอุ่น ริมทางน้ำ เป็นพรรณไม้ของจีน

    ข้อมูลทางคลีนิค : 1. รักษาอาการปัสสาวะออกมากผิดปกติ (เบาจืด)

    2. รักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก

    3. รักษาอาการหอบหืดจากหลอดลมอักเสบ

    4. รักษาโรควัณโรคปอด

    5. รักษาเส้นเลือดดำขอด

    6. รักษาลำไส้บีบตัวผิดปกติ ซ้อนกันเป็นก้อน

    7. รักษาโรคไข้มาลาเรีย

    8. รักษาโรคพยาธิใบไม้ในเลือดอย่างเฉียบพลัน

    9. รักษาโรคตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้

    10. รักษาเยื่อตาอักเสบ

    11. รักษาผิวหนังบริเวณแขน ขา แตกเป็นขุย

    12. รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน

    13. รักษาปากมดลูกอักเสบเน่าเปื่อย

    14. รักษาแผลที่เกิดจากการถูกความเย็นจัด

    15. รักษาเยื่อหุ้มลูกตาชั้นนอกอักเสบ (Scleritis)

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : 1. มีฤทธิ์รักษาอาการอักเสบและอาการแพ้ กรดกลีเซอเรตินิคมีฤทธิ์ในการรักษา

    อาการบวมอักเสบในหนูใหญ่

    2. มีฤทธิ์อะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (adrenocorticosteroids) ฤทธิ์คล้ายคอร์ติโตส

    เตียรอยด์ มีสารสกัดเข้มข้น โปแตสเซียมกลีเซอไรซิเนต หรือแอทโมเนียมกลีเซอไรซิเนต
    กรดกลีเซอเรตินิค (glycyrhetinic acid) สารพวกนี้ล้วนแต่มีฤทธิ์เหมือนกับดีออกซีคอร์ติโซน (deoxycortisone) ทำให้การขับถ่ายปริมาณของปัสสาวะ และเกลือโซเดียมลดน้อยลง และฤทธิ์คล้ายกลูโคคอร์ติโคสเตียรอยด์
    (glucocorticosteroids) กรดกลีเซอเรตินิคจะไปยังยั้งการทำลายกรด อะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในร่างกายทำให้ปริมาณของคอร์ติโคสเตียรอยด์ในเลือดให้สูงขึ้น

    3. มีฤทธิ์ในการรักษาพิษ กลีเซอไรซินและน้ำต้มสกัดชะเอมมีฤทธิ์รักษาพิษของตริคนีนได้ โดยสามารถลดความเป็นและอัตราการตายจากสตริคนีนได้ ฤทธิ์นี้อาจเนื่องมาจากกรดกลูคิวโรนิค ที่มีอยู่ในชะเอมเทศ

    4. มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารคือ มีฤทธิ์ในการรักษาแผลเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต่อการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ

    5. ฤทธิ์ต่ออาการดีซ่านที่ทำให้เกิดขึ้นในการทดลอง กลีเซอไรซินและกรดกลีเซอเรตินิค ทำให้บิลิรูบิน (Bilirubin) ในพลาสมาของกระต่ายและหนูใหญ่สีขาวที่เกิดจากการผูกท่อน้ำดีให้มีปริมาณลดลง และการขับบิลิรูบินออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น

    6. มีฤทธิ์ต่อการเผาผลาญไขมันในเส้นเลือด กลีเซอไรซินจะไม่มีผลต่อการเผาผลาญไขมันในคนปรกติ แต่ในคนไข้ที่มีความดันเลือดสูง ส่วนมากเมื่อกินกลีเซอไรซินไปแล้วจะทำให้ระดับโฆเลสเตอรอลในเลือดนั้นลดลง และความดันเลือดจะลดลงด้วย

    7. มีฤทธิ์รักษาอาการไอ หลังจากที่ได้กินชะเอมเทศแล้วสารที่สกัดได้จะไปเคลือบเยื่อเมือกตามบริเวณที่อักเสบตามคอจะช่วยลดการระคายเคืองและบรรเทาอาการไอด้วย

    8. มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการชัก สารที่สกัดที่ได้จากชะเอม FM100 จะมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้

    9. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง กรดกลีเซอเรตินิคนี้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งในไขกระดูกชนิด Oberling-Guerin ที่ได้เพาะเลี้ยงในไขกระดูกของหนูใหญ่สีขาว

    10. มีฤทธิ์ต่อระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ กลีเซอไรซิน และเกลือแคลเซียมกลีเซอไรวิเนต นำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ จะทำให้เพิ่มฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของธีโอฟิลลีน (theophylline)

    11. ฤทธิ์อื่น ๆ โซเดียมกลีเซอไรซิเนตจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และกลีเซอไรซินนี้มีฤทธิ์ในการลดไข้ในหนูเล็กสีขาวและกระต่ายทดลองที่ทำให้เกิดขึ้นได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะเอมป่า
    ชะเอมไทย, ชะเอมเถา, ชะเอมป่า
    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล และราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ :

    ต้น ใช้ถ่ายลมและรักษาโรคในคอ ช่วยทำให้ผิวหนังสดชื่น ใบ ใช้ถ่ายเลือด

    ดอก ใช้ถ่ายรักษาน้ำดีพิการ และเลือดพิการ

    ผล ใช้ขับถ่ายเสมหะ

    ราก ใช้ปรุงเป็นยารักษาอาการกระหายน้ำทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ

    ถิ่นที่อยู่ : มักจะพบในป่าราบระหว่างบ้านอ่างจนถึง อำเภอมะขามและในจังหวัดจันทบุรีก็คงมี ด้วย แต่ยังไม่ได้ไปเห็นเอง แบบเดียวกับชะเอมไทย
     
  10. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะเอมสวน
    ชะเอมบ้าน ชะเอม ชะเอมสวน
    ส่วนที่ใช้ : ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ราก ใช้เป็นยากัดเสมหะ และฝนใช้หยอดตา รักษาตาเจ็บ

    อื่น ๆ : ผลอ่อนนั้นใช้กินเป็นผักสำหรับจิ้มน้ำพริก เพราะผลอ่อนจะมีรสหวานดีมาก

    ถิ่นที่อยู่ : มักจะปลูกกันไว้ตามสวน โดยมีการทำร้านไว้ให้ขึ้น เพื่อเก็บเอาผลไว้ขายเป็นสินค้า
     
  11. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชา
    เมี่ยง, เมี่ยงป่า (ไทยภาคเหนือ-พายัพ), ชา (ไทยเมี่ยง, เมี่ยงป่า (ไทยภาคเหนือ-พายัพ), ชา (ไทยภาคกลาง)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ใบอ่อน กากชา กากเมล็ด กิ่งและใบ ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใบ นำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้น ทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วง และยังมี

    ฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องร่วง ร้อนในกระหายน้ำ และรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น นอกจากนี้ใบยังใช้ใส่ลงโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพ

    ใบอ่อน จะมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินอร่อยมาก นอกจากนี้แล้ว ยังนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา

    กากเมล็ด จะมีสารชาโปนีน (saponin) มีคุณสมบัติล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมล้างสิ่งสกปรกออกจากผม นอกจากนั้นแล้วน้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย

    กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการพิษของยาอันตรายที่เป็นแอลกอฮอล์ต่าง ๆ และยังใช้ทำน้ำยาสมานของกรดแทนนิค ใส่แผลไหม้พอง

    อื่น ๆ : ใบอ่อนที่นำมาปรุงแต่งอบกลิ่นใบชา ยังส่งไปขายเป็นสินค้าตามต่างประเทศ ในประเทศไทยเราเรียกว่าต้นเมี่ยง ส่วนมากทางภาคเหนือเป็นที่รู้จักกันมานาน ใบเมี่ยงนี้นำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม ทำให้คอชุ่มรักษาอาการกระหายน้ำได้ดีมาก การเก็บใบชา มักจะเก็บแต่ใบอ่อน ๆ แรกผลิออกเป็น 3 ใบเท่านั้น ส่วนการเก็บเมี่ยงนี้มักจะเก็บทั้งใบอ่อนและใบขนาดกลางเท่านั้น

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้เป็นพันธุ์เดิมของประเทศจีน แต่ในประเทศไทยก็มีมาแต่ช้านานแล้ว เคยพบที่จังหวัดพะเยาแต่ไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ แต่ก็มีการปลูกกันประปราย ทางภาคเหนือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Cha10.jpg
      Cha10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.1 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSC06907.JPG
      DSC06907.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.6 KB
      เปิดดู:
      111
  12. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ช้างงาเดียว
    หนามคาใบ, ช้างงาเดียว, หนามควาก (เชียงใหม่)
    ส่วนที่ใช้ : ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ราก จะมีรสขื่นปร่า ใช้รักษาพิษฝีภายใน รักษาโรคไตพิการ รักษากษัย และปัสสาวะพิการ

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มักพบขึ้นเองในป่าบนเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรีมีมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ยอดยากินเเล้วเเข็งเเรง เเก้ปวดเมือย ตามร่างกาย บำรุงกำลังวังชา
    พริกไทยดำ100เม็ด ตำละเอียด ดีปลี 20 รวงตำละเอียด
    กล้วยน้ำหว้าสุก2หวีใหญ่ๆๆ น้ำตาลเเดง1กิโลกรัม น้ำผึ้ง1ขวด (มีเท่าไหนก้เอาเท่านั้นน้ำผึ้ง) เอาถังสะอาดๆๆๆมาใหญ่ ใสกล้วยลงไป น้ำผึ้งน้ำตาลผงพริกไทยดีปลี คลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาให้มิดชิด นำไปฝั่งดิน ไไว้1อาทิตยื
    เเล้วนำออกมาทานได้ หนึ่งวัน1ผล พร้อมน้ำ (คนเป็นเบาหวาน รับประทานได้เเต่อย่ามาก) หรือไม่จะเลยดีกว่านะครับ
     
  14. tawatd

    tawatd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    506
    ค่าพลัง:
    +2,020
    ขอบคุณครับ
     
  15. ศิษหลวงปู่

    ศิษหลวงปู่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2011
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +33
    ผมอยากได้ตำรายาของหลวงปู่ศุขพอจะนำมาลงให้อ่านได้ไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...