เเจกความรู้เรื่องยาสมุนไพร ทุกขนานครับ

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย ไร้หนทาง, 7 มกราคม 2013.

  1. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    งวงชุ่ม
    เครือเขามวก ( หนองคาย ), ตีนตั่งตัวแม่ ( ลำปาง )ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ); งวงสุ่มขาว เมี่ยงชนวนไฟ สังขยาขาว (พล สท); งวงสุ่ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) งวงชุม (ขอนแก่น) มันเครือ (นครราชสีมา) ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี) ดอกโรค (เลย) ข้าวตอกแตก (กลาง) เถาวัลย์นวล (ราชบุรี) ประโยค (ตราด) หน่วยสุด (ใต้) กรูด (สุราษฎร์ธานี) ตะกรูด (นครศรีธรรมราช) มันแดง (กาญจนบุรี)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ และราก

    สรรพคุณ : ใบ นำมารับประทานเป็นยาขับถ่ายพยาธิ

    ราก รับประทานเป็นยาแก้ไข้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1297244923.jpg
      1297244923.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.6 KB
      เปิดดู:
      62
    • ph023_01.jpg
      ph023_01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.3 KB
      เปิดดู:
      42
    • ph023_02.jpg
      ph023_02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103 KB
      เปิดดู:
      57
    • ph023_05.jpg
      ph023_05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      186 KB
      เปิดดู:
      48
  2. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    เจตมูลเพลิงแดง
    คุ้ยวู่, ปิดปิวแดง, ตั้งชู้โว้, ไฟใต้ดิน, อุบ๊ะกูจ๊ะ
    สรรพคุณ : ราก ใช้เป็นยาขับประจำเดือน แก้ปวดข้อ ขับพยาธิ ทาแก้กลากเกลื้อน ระงับอาการ ปวดฟัน และแก้ท้องร่วง

    ข้อห้ามใช้ : หญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทานรากของต้น เพราะรากนี้จะมีสารบางอย่างที่ทำให้แท้ง เเละเจตมูลเพลิงยังเข้าตัวยาได้หลายๆๆอย่างอีกด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 111568.jpg
      111568.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.5 KB
      เปิดดู:
      119
    • 150851.jpg
      150851.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.3 KB
      เปิดดู:
      64
    • 1294826353.jpg
      1294826353.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52 KB
      เปิดดู:
      86
  3. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    เจตมูลเพลิงขาว
    ป๋ายฮัวตาน (จีนกลาง), แปะฮวยตัง (แต้จิ๋ว), ปิดปิดขาว (ภาคเหนือ), ตั้งชู้อ้วย, ตอชูวา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
    รรพคุณและประโยชน์

    รากลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ปวดหลัง ขับปัสสาวะ นิ่ว บำรุงกำลัง

    ใบ แก้ลมใน กองเสมหะ
    ตำรับยา : 1. นำรากสดมาตำให้ละเอียด แล้วเอาไปผสมกับเหล้าหรือน้ำ เพื่อเป็นยารักษาโรค กลากเกลื้อนนำส่วนที่ผสมนั้นไปพอกในที่ที่เป็นแผล

    2. นำใบสดสัก 8-9 ใบมาตำให้ละเอียด ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย โดยนำใบที่ตำนั้นไป พอกตรงข้อมือทั้งสองข้างตรงบริเวณชีพจร ให้พอกก่อนที่จะเกิดอาการสัก 2 ชั่วโมงและพอกจนกระทั่งบริเวณที่พอกนั้นเย็นจึงค่อยเอาออก

    3. นำใบสดมาตำ แล้วแช่ในเหล้า ใช้แก้บริเวณที่ฟกช้ำได้

    4. นำเนื้อหมูแดงสัก 60 กรัม และรากแห้ง 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาขับประจำ เดือน

    5. นำรากแห้งประมาณ 1.5-3 กรัมมาต้มกับน้ำ หรือแช่เหล้า แล้วรับประทานจะแก้ อาการปวดตามข้อและเคล็ดขัดยอก แต่จะกินวันละ 5 มล. วันละ 2 ครั้ง

    6. นำรากแห้งมาดองเหล้ารับประทาน จะแก้อาการม้ามบวม แต่ถ้าอาการหนักก็นำใบสดมาตำให้ละเอียดคลุกกับข้าวเหนียวแล้วปั้นเป็นเม็ดขนาดพอดีนำไปนึ่งให้สุก รับประทานก่อนนอนและตื่นนอนทีละ 1 เม็ด

    7. ถ้าเป็นฝี เช่น พวกฝีบวม ฝีคัณฑสูตร เต้านมอักเสบ ไฟลามทุ่ง ให้นำใบสดมาตำ แล้วเอาผ้าก๊อสห่อ พอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย

    8. ใช้ใบสดและข้าวสวยอย่างละ 1 กำมือและใส่เกลือเล็กน้อยตำเคล้ากันให้ละเอียด ใช้รักษาโรคผิวหนังหนาเนื่องจากเสียดสีกันนาน โดยนำไปพอกในบริเวณที่เป็นนั้น

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ภายในรากของต้นนั้นจะมีสารที่มีผลทางด้าน เภสัชวิทยาอยู่หลายชนิด และฤทธิ์ของ

    สารนั้นก็มีอยู่หลายอย่างเช่นกัน ซึ่งได้แก่สารพวก 3,3 -biplumbagin, 3-chloroplumbagin,fructose, glucose,protease,droserone, elliptinone,chitranone, zeylinone,isozeylinone และ plumbagin ซึ่งสารสกัดเหล่านี้มีผลต่อสัตว์ทดลองคือ

    1. มีฤทธิ์ต่อการเต้นของหัวใจ และกระตุ้นระบบประสาท แต่ถ้าใช้จำนวนมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือทำให้ประสาทสงบระงับ ซึ่งได้แก่พวก กบ หนูตะเภา และกระต่าย

    2. มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต และหยุดการหายใจของกระต่าย

    3. มีฤทธิ์ต่อมดลูกของสัตว์ที่มีท้อง แต่ถ้าใช้จำนวนปานกลางจะไปยับยั้งการบีบตัวเท่านั้น และถ้าฉีดในหนูขาวจะทำให้แท้งได้ เพราะการทำงานของรังไข่จะผิดปกติไป

    ดอก แก้โรคตาแดง แก้หนาวเย็น

    ลำต้น ขับประจำเดือน

    ราก ขับลมในกระเพาะ แก้ริดสีดวงทวาร แก้บวม แก้คุดทะราด ยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 16_.jpg
      16_.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.3 KB
      เปิดดู:
      199
    • 1292734169.jpg
      1292734169.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.1 KB
      เปิดดู:
      62
  4. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จิกนม
    จิกนุ่ม (นครศรีธรรมราช), จิก (ใต้)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ และราก

    สรรพคุณ : ใบ นำใบไปตากแห้ง แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษาโรคแก้ปวดท้อง ราก นำรากมาล้างให้สะอาด แล้วตากให้แห้ง นำมาบดเป็นผงใช้ทาแก้ขี้กลาก และแก้ตาเจ็บ

    ถิ่นที่อยู่ : จะพบอยู่ตามป่าดงดิบ ทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1329547131.jpg
      1329547131.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143 KB
      เปิดดู:
      150
    • 1329547182.jpg
      1329547182.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140.7 KB
      เปิดดู:
      117
    • 1329547224.jpg
      1329547224.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.6 KB
      เปิดดู:
      63
    • 1329547295.jpg
      1329547295.jpg
      ขนาดไฟล์:
      139.5 KB
      เปิดดู:
      80
  5. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จำปี(ดอกขาว)
    ป๋ายหลานฮัว (จีนกลาง) , แปะหลั่งฮวย (แต้จิ๋ว)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ

    สรรพคุณ : ใบ นำมาทำเป็นยาขับระดูขาว แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรังระงับไอ ต่อมลูกหมากอักเสบ

    ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ของประเทศชวา

    ตับรับยา : นำใบที่ตามแห้งแล้ว หรือผิงไฟให้แห้งประมาณ 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทานแก้ไอ และแก้หลอดลมอักเสบ

    ข้อมูลทางคลีนิค : น้ำที่สกัดได้จากใบจำปีนั้น จะมีฤทธิ์เพียงระงับไอ หอบ ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น จะให้หายขาดเลยมีน้อยมาก แต่ถ้าให้ดีควรทั้งดื่มน้ำ และกินยาเม็ดหรือฉีดยาควบคู่ไปด้วยจะทำให้ได้ ผลมากกว่า และถ้าเกิดเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังใช้ใบสด 600 กรัมกับน้ำ 1.2 ลิตร กลั่นจนได้น้ำยา 150 กรัมก็ประมาณ 2 ครั้งได้ เสร็จแล้วนำไปให้ผู้ป่วยกินเป็นเวลา 10 วัน ๆ ละ 3 ครั้งๆ หนึ่งประมาณ 20 มล.ซึ่งอาจจะกินแต่น้ำยา หรือกินไปพร้อมกับยาเม็ด และยาฉีดก็ได้ แต่สองอย่างหลังนี้จะได้ผลมากกว่า

    ข้อมูลทางเภสัช : ทดสอบได้โดยการนำน้ำยาที่กลั่นได้นั้นคือเท่ากับ 150 กรัมไปฉีดในสัตว์ เพื่อระงับอาการวิทยา ไอและขับเสมหะก็ได้ผล แต่สำหรับอาการหอบนั้นจะระงับได้น้อยมาก ซึ่งใบสดที่เราสกัด ได้นั้นมีน้ำมันหอบระเหยอยู่ 0.7% จะประกอบด้วย phenylethyl alcohol, linalool, methyleuge nol อัลคาลอยด์และสารพวก phenol.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  6. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จำปา(ดอกเหลือง)
    จัมปา (ทั่วไป) , จำปากอ ( มะละยู )
    ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก ราก ใบ และยาง

    สรรพคุณ : ดอก ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ธาตุที่ไม่ปกติ ช่วยบำรุงธาตุ ระงับอาการเกร็ง และช่วยขับปัสสาวะ

    เปลือก เป็นยาแก้ไข้ผิดสำแดง เสมหะในลำคอ แก้ไข้และขับปัสสาวะ แก้กุดฐัง

    ราก นำมาทำเป็นยาถ่ายพยาธิได้ และช่วยขับประจำเดือนด้วย

    ใบ นำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำ ใช้แก้โรคอภิญญาน และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

    ยาง กรีดยางนำมาทำเป็นยาแก้โรคริดสีดวงพลวก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  7. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จักรนารายณ์
    แป๊ะตังปึง
    ส่วนที่ใช้ : ใบ

    สรรพคุณ : ใบ นำใบสดมาพอประมาณ แล้วตำให้แหลกผสมกับสุราขาวใช้สำลีชุปให้เปียกนำไปปิด ตรงที่ปวดบวม หรืออักเสบ เช่นที่คออักเสบกลืนอะไรไม่ได้ พอกแก้พิษหัวลำมาลอก แก้พิษตาบ พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ยานี้เวลาพอกแล้วจะรู้สึกเย็นสบาย พอกประมาณวันละ 2-3 ครั้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF55911.jpg
      DSCF55911.jpg
      ขนาดไฟล์:
      186 KB
      เปิดดู:
      58
    • paetampung1.jpg
      paetampung1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.3 KB
      เปิดดู:
      39
    • pattumpuet.JPG
      pattumpuet.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.8 KB
      เปิดดู:
      47
  8. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จอก
    ผักกอก (เชียงใหม่), ไต่ผู้เฟี้ย (จีน-แต้จิ๋ว), กากอก (ภาคเหนือ)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ

    สรรพคุณ : ใบ นำใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ และควรจะเก็บใบในหน้าร้อย ถึงจะดี นำมาล้างให้สะอาดตัด รากออกให้หมดพยายามอย่าให้รากติดได้ยิ่งดี นำมาตากแห้งซึ่งจะมรสเค็ม เย็น และฉุนจะเป็นยาแก้หัดผื่น หรือมีน้ำเหลืองแก้บอบช้ำ ขับปัสสาวะซึ่งวิธีทำคือนำเอาใบแห้งมาต้มกับน้ำ

    ข้อห้ามใช้

    1. รากมีพิษเล็กน้อย เวลาที่เรานำใบมาต้มควรจะล้างให้สะอาดและตัดรากออกให้หมด

    2. สตรีที่ตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน

    3. จอกเป็นพรรณไม้ที่ดูดสารมีพิษได้ดีมาก ฉะนั้นถ้าขึ้นอยู่ในท้องน้ำที่เป็นพิษ หรือต้นมีรสขมอย่านำมารับประทานเป็นอันขาด

    ตำรับยา

    1. นำใบสดประมาณ 100 กรัมตากให้แห้งหรือผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ทำเป็นยาเม็ด เพื่อแก้ผื่นคันมีน้ำเหลือง ทยอยกินให้หมดภายใน 1 วัน

    2. ใช้ใบสดต้มผสมกับน้ำตาลทรายโดยใช้อย่างละ120กรัมต่อน้ำ 3 ถ้วยต้มให้ข้นจนเหลือถ้วยเดียวแล้วรับประทานให้ได้ 3 ครั้ง เพื่อที่เป็นยาแก้ท้องมาน หรือบวมน้ำ พอกินเข้าไป แล้วก็จะปัสสาวะออกมาจำนวนมาก

    3. หรือให้ใบสดผสมกับน้ำตาลกรวดดำ อุ่นให้ร้อนใช้พอกบริเวณที่ได้รับการกระทบกระเทือน หรือฟกช้ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จมูกปลาหลด
    สะอึก ( กลาง ) , ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา) , จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ผักไหม(เชียงใหม่)
    ส่วนที่ใช้ : ยางจากต้น ราก เถา

    สรรพคุณ : ยางจากต้น เป็นยางที่มีสารบางอย่าง โดยเราจะนำมาชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้

    ราก ใช้รักษาโรคดีซ่านเถา เด็ดเอาสำเถานี้นมาต้มกับน้ำ แล้วรับประทานแก้เจ็บคอ กลั้วคอ

    ถิ่นที่อยู่ : พบอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออก และภาคกลางของไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จิกเล
    โดนเล จิกเล อามุง
    อามุง (มาเล-นราธิวาส). โดนเล (ใต้)
    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ใบ ผล เปลือก และเปลือกผลหรือเนื้อของผล

    สรรพคุณ : เมล็ด เป็นยาโดยใช้ขับพยาธิออกจากร่างกาย

    ใบ ผล และเปลือก เป็นยารักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ

    เปลือกผลหรือเนื้อของผล เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คนที่นอนไม่หลับ ถ้าทาน เข้าไปแล้วจะนอนหลับสบาย และยังเป็นยาที่ใช้เบื่อปลาด้วย

    ถิ่นที่อยู่ : จะพบต้นจิกเลนี้ได้ตามหาดทรายชายทะเล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1316087374.jpg
      1316087374.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.3 KB
      เปิดดู:
      79
  11. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    จิกสวน
    จิกบ้าน



    เปลือก

    ใบ

    ใบอ่อน

    ผล

    เมล็ด

    เปลือกกับเมล็ด


    แก้โรคปวดข้อ

    พอกแก้คัน

    เป็นอาหาร

    แก้ไอ แก้หืด แก้ท้องเสีย

    แก้จุกเสียด

    ทุบให้แตก ตีกับน้ำใช้เบื่อปลา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ฉัตรทอง
    จวกขุ่ยฮวย (จีน-แต้จิ๋ว)
    ส่วนที่ใช้ : ยอดอ่อน ใบ ดอก ราก และเมล็ด

    สรรพคุณ : ยอดอ่อนและใบ ถ้าเป็นแผลฝีหนอง หนองใน แผลอักเสบให้นำยอดอ่อนหรือใบมาต้มกับน้ำกิน จะใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ หรือเผาให้เป็นเถาแล้วนำมาบดกินเป็นผงก็ได้ จะใช้อยู่ประมาณ 6-20 กรัมดอก ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะอุจจาระ ตกเลือด ตกขาว พอกแผลบวม และแก้โรคหัดให้เก็บดอกที่บานเต็มที่แล้วจะใช้สด หรือแห้งก็ได้ โดยการนำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน แต่ถ้าแผลบวมให้นำมาตำหรือบดเป็นผงทา หรือพอกบริเวณนั้นราก ใช้เป็นยาดูดหนอง แก้หนองใน อาเจียนเป็นเลือดแผลบวม แผลในลำไส้ แผลไฟลวก ตกเลือด ตกขาว ขับปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีเลือด ให้นำรากสด ๆ ประมาณ 30-60 กรัมถ้าใช้ทาภายนอกก็ตำแล้วพอก
    แต่ถ้ากินก็เอาต้มกับน้ำหรือทำเป็นเม็ด หรือบดเป็นผงกินก็ได้ เมล็ด ใช้ทำเป็นยาแก้โรคหนองใน หล่อลื่นลำไส้ แผลหิด ท้องผูก ขับปัสสาวะ โดยการนำเมล็ดมาต้มกิน
    หรือบดเป็นผงกิน เมล็ดนี้จะต้องเอามากผลที่แก่แล้วแกะเอาเมล็ดมาตากแห้งเสียก่อน

    ข้อห้ามใช้ : สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามรับประทาน

    ตำรับยา : 1. บิด ถ่ายเป็นเลือด นำยอดที่อ่อนมาต้มกินกับน้ำ โดยใช้ปิ้งกับไฟพอเหลืองใช้ ประมาณ 6-18 กรัม

    2. ปัสสาวะเป็นเลือด นำเถาจากยอดอ่อนมาผสมกับเหล้ารับประทาน แต่ต้องกินทีละน้อย ๆ และวันละ 2 ครั้ง

    3. เด็กที่ปากเป็นแผลอักเสบ ใช้ยอดอ่อนผสมกับน้ำผึ้งทาเช้า เย็น โดยการนำไปปิ้งไฟให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงเสียก่อน

    4. บวมน้ำ เป็นนิ่ว นำเมล็ดที่แก่และตากแห้งไว้แล้วบดเป็นผงผสมน้ำอุ่นรับประทานวันละ
    2 ครั้ง โดยใช้รับประทานครั้งละ 6 กรัม เด็กที่มีอาการท้องผูกก็ทาได้แต่ต้องใช้ประมาณ 3-10 กรัม

    5. แผลบวมอักเสบ ให้ใช้รากสด ๆ นำมาตำพอก แต่ถ้าท้องผูกให้ใช้ผสมกับเมล็ดของตังเกี้ยงไฉ่ ใช้อย่างละ 30 กรัมต้นผสมกับน้ำรับประทาน

    6. แผลในลำไส้ นำรากแห้งประมาณ 3 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน

    7. อาเจียนเป็นเลือด หรือตกเลือด ให้นำรากสด 30 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือคั้นเอาน้ำของรากผสมเหล้ารับประทานก็ได้ แต่ต้องใช้ 60 กรัม

    8. ปัสสาวะมากผิดปกติ นำรากสดมาแล้วล้างให้สะอาดทุบให้แตกใส่น้ำต้มให้เดือดจนเข้มข้น แล้วรินน้ำรับประทาน

    9. ใบหน้าเป็นฝ้าหรือมีรอยย่น ใช้ดอกสดบดให้ละเอียดผสมรังผึ้งสดทาก่อนนอนทุกคืน

    10. แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟลวก ให้ใช้ดอกสดผสมน้ำมันพืชพอกบริเวณนั้น แต่ต้องตำดอกให้ละเอียดก่อน

    11. ตกขาว ให้ใช้ดอกสดประมาณ 150 กรัม ผึ่งให้แห้งในที่ร่มแล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งทาน แต่ก่อนทานต้องดื่มเหล้าก่อน 1 ถ้วยชา

    12. ปัสสาวะขัด และท้องผูก ให้ใช้ดอกสดประมาณ 30 กรัมผสมชะมดเชียง 1.5 กรัมกับน้ำอีกหนึ่งแก้วต้มรับประทาน

    13. มีไข้ ใช้ดอกสดผึ่งให้แห้ง แล้วบดเป็นผงผสมน้ำรับประทาน ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : รากของต้นนั้นมีสารเมือกอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าอายุ 1 ปีสารเมือกนี้จะประกอบด้วย น้ำตาล pentose 7.78%, uronic acid 20.04%, pentosans 6.86%, methylpentosana 10.59%,
    ซึ่งสารเมือกนี้จะใช้เป็นยาช่วยลดอาการระคายเคือง เป็นยาหล่อลื่น ใช้พอกแก้ผิวหนังอักเสบ และยังมีสารที่พบอยู่ในเมล็ดด้วยคือ น้ำมัน 11.9% ซึ่งประกอบด้วย oleic acid 34.88%, ดอกมีผลึกเป็นสารสีเหลือง มีจุดหลอมเหลวที่ 261ฐC ซึ่งสารนี้อาจเป็น dibenzoyl carbinol
    จะเป็นสารผสมของ kaempferol ดอกที่เป็นสีขาวแยกได้ dihydrokaempferol
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    เฉียงพร้านางแอ
    กระดูกไก่ดำ (ทั่วไป), กุลาดำ, บัวลาดำ (ภาคเหนือ), แสนทะแมน, ปองดำ (ตราด),

    กระดูกดำ (จันทบุรี), เฉียงพร้า (สุราษฎร์ธานี), เฉียงพร้าบ้าน, สันพร้ามอญ, ผีมอญ, เฉียงพร้าม่าน, เกียงพา, สำมะงาจีน (ภาคกลาง)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก

    สรรพคุณ : ใบ ในแต่ละประเทศนั้นจะใช้ใบรักษาไม่เหมือนกันแต่ก็ได้ผลไม่น้อยเลย เช่นใน

    อินเดียได้ในใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่มแก้ปวดหัว, มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีวิธีใช้เหมือนกัน นำใบมาตำผสมกับเมล็ดเทียนแดงและหัวหอม ใช้พอกแก้ปวดหัว หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำทาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อ ถ้าต้มกับน้ำจะเป็นยาบำรุงโลหิตได้, ในฟิลิปปินส์ใช้ใบต้มกับนมทานแก้ฝีฝักบัว
    และแก้ท้องร่วงอย่างแรง หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำดื่มแก้โรคหืดและไอ, ส่วนไทยเรานี้เอาใบตำผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำทานแก้ไข้ ลดความร้อน เป็นยาถอนพิษและเอากากที่เหลือนั้นพอกแผลดูดพิษที่ถูกอสรพิษกัดได้ราก ใช้ทาเด็กที่เป็นเม็ดเป็นตุ่มขึ้นตามตัว
     
  14. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชงโค
    เสี้ยวดอกแดง (เหนือ)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใบ จะมี alkalcid พวก tannin (Arthur, 6:70) ใบนั้นใช้ต้ม กินรักษาอาการไอ เนื่องจาก มี alkalcid (Dragendroff, p 300; deuit, 3:407) ดอก ใช้ผสมกับอื่น ๆ เป็นเครื่องยา รักษาอาการไข้ หรือดับพิษไข้ หรือเป็นยาระบาย ราก ใช้ต้มกินน้ำเป็นยาขับลม หรือใช้โขลกผสมกับน้ำกินเป็นยารักษาอาการไข้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชบา
    ดอกใหม่, ใหม่แดง, ใหม่ (เหนือ), ชุมบา, ชบาขาว, ชุมมา (ปัตตานี), บา, ชะมา (ใต้)
    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ใบ ใบประมาณ 5-10 ใบ นำใบมาล้างให้สะอาด แล้วตำรวมกับใบพุดตาน จำนวนเท่า ๆ กัน ใช้พอกคางทูม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือจะใช้ใบชบา และใบพุดตานผสมกับ น้ำผึ้งแล้วเคี่ยวให้ขึ้น ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นคางทูมก็ได้ ในใบนั้นจะมีสารที่เป็นเมือกเช่นเดียวกับราก ถ้าเอามาทาตามผิวหนังจะทำให้ผิวหนังนั้นชุ่มชื้น
    (emollient) และเป็นยาระบาย เพื่อจะไปหล่อเลี้ยงลำไส้ให้ลื่นดอก ใช้ปริมาณพอควร ชงกับน้ำ ใช้ดื่มเพื่อลดอาการไข้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ดอกแดง นำมาแกงเลียงกินเพื่อบำรุงน้ำนม ถ้าไม่มีดอกก็ใช้ใบอ่อนแทนก็ได้ นอกจากนี้แล้วดอกชบา ยังทำให้เป็นหมันได้ รากสด ใช้ประมาณ 1 กำมือ นำมาโขลกให้ละเอียด พอกรักษาพิษฝี และอาการฟกบวม หรือใช้ต้มกับน้ำกิน เพื่อขับน้ำย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร ในรากชบานั้นจะมีสารที่เป็นเมือก (mucilage) อยู่ ใช้ Althea แทนรากได้ จะทำให้ชุ่มชื้น

    อื่น ๆ : หญิงชาวจีนใช้กลีบชบามาย้อมผมและคิ้วให้เป็นสีดำ นอกจากนี้ยังใช้น้ำคั้นจากกลีบ ดอกผสมกับน้ำมันโอลีฟ (Olive Oil) ในอัตราส่วนที่เท่ากัน แล้วนำไปเคี่ยวให้น้ำระเหยจนหมด ใช้ทาที่ศีรษะเป็นยาบำรุงผม ทางเชียงใหม่ใช้ดอกเป็นอาหาร และใช้รากต้มเป็นยาขับระดูเสีย ส่วนจีนและญวนใช้เปลือกเป็นยาขับระดู

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศที่มีอากาศร้อน เช่น มาเลเซีย ไทย จีน และหมู่เกาะฮาวาย และเป็นดอกประจำชาติ ของประเทศมาเลเซีย

    ตำรับยา : 1. ใบ จะมีรสฝาดชุ่มคอ ใช้รักษาเลือดกำเดาออก คางทูม รักษาแผลบวมอักเสบ

    2. ดอก จะมีรสชุ่มคอ และเย็น ใช้ละลายเสมหะ รักษาอาการไอ เลือดกำเดาออก รักษาโรคบิด ตกขาว และแผลบวมอักเสบ

    3. รากสด ใช้พอกรักษาฝี รักษาอาการฟกบวมอันเนื่องมาจากการอักเสบ ใช้กินภายในเป็นยาขับน้ำย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ และรักษาอาการตกเลือด

    4. รากและเปลือก ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปรกติ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ รักษาหลอดลมอักเสบ และมดลูกอักเสบ

    ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : จากการที่ได้ทดลองโดยการใช้กลีบดอกชบามาสกัดด้วยตัวทำละลายเบนซีน
    แล้วนำมาทำลองในหนู (rat) ได้พบว่าทำให้หนูที่ทดลองนั้นเป็นหมันได้ถึง 80%
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชมพู่น้ำดอกไม้
    ฝรั่งน้ำ (ใต้) มะซามุด (น่าน) มะน้ำหอม (เหนือ) มะห้าคอกลอก (แม่ฮ่องสอน) และ ยามู่ปะนาว่า (มลายู ยะลา) [1]
    สรรพคุณ
    กิน เเก้ลมทุกชนิด ส่วนยา ยังไม่เเน่ใจนัก
    เเต่หลายท่านอาจารย์นำมาปรุงยาสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
    ผล - ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้
    เปลือก, ต้น และเมล็ด - แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย

    ประโยชน์ :ใช้ผลปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้เปลือก ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1147490827.jpg
      1147490827.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      62
    • 1147490873.jpg
      1147490873.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.5 KB
      เปิดดู:
      82
    • 1147491092.jpg
      1147491092.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.9 KB
      เปิดดู:
      82
    • 1147491116.jpg
      1147491116.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.4 KB
      เปิดดู:
      112
    • 1147491015.jpg
      1147491015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.8 KB
      เปิดดู:
      66
    • 1147490930.jpg
      1147490930.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.2 KB
      เปิดดู:
      50
  17. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชองระอา
    ทองระอา, ชองระอา, ช้องระอา, ลิ้นงูเห่า, เสลดพังพอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ), คันชั่ง (ตาก), อังกาบ, อังกาบเมือง (ไทย), ก้านชั่ง (พายัพ)
    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้รักษาอาการไข้และเป็นยาถอนพิษทั้งปวง เช่น รักษาพิษฝี พิษงู พิษตะขาบ และแมงป่อง นอกจากนี้ยังใช้ถอนพิษยาเบื่อเมา ใบ นำมาโขลกแล้วผสมกับไพลและการะบูนห่อแล้วนึ่งประคบ ใช้รักษาอาการปวดบวม

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ส่วนมากจะมีถิ่นกำเนิดขึ้นตามป่าตามไหล่เขาและเนินเขาในป่า ในประเทศไทยก็มีปลูกไว้ตามสวนบางแห่งในกรุงเทพฯ และธนบุรี เพื่อใช้ในการทำยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 04ดอก.JPG
      04ดอก.JPG
      ขนาดไฟล์:
      99 KB
      เปิดดู:
      117
    • 50.jpg
      50.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      388
    • 1202184162.jpg
      1202184162.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.7 KB
      เปิดดู:
      78
  18. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ช้อยนางรำ
    ช้อยนางรำ, นางรำ, ช้อยนางรำ, ว่านมีดยับ (ไทย)
    พรรณไม้นี้บางคนปลูกไว้ในกระถาง แล้วนำไปใส่ตู้ไว้ โดยมิให้ถูกลมพัดได้แล้วจึงช่วยกันตบมือ ใบอ่อนของพรรณไม้นี้ก็จะกระดิกได้เป็นจังหวะถึงแม้ว่าเราจะจ้องดูอยู่โดยไม่ให้มันเคลื่อนไหวแต่มันก็กระดิกได้เองตามธรรมชาติของมันจึงเป็นพรรณไม้ที่น่าอัศจรรย์อีกชนิดหนึ่ง

    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มันขึ้นเองตามป่าชื้นทั่วไป หรือจะปลูกไว้ตามบ้าน เพื่อไว้ดูเล่นเป็นของ
    สรรพคุณของช้อยนางรำ ว่านเมตตา มหานิยม ค้าขายสรรพคุณต้นช้อยนางรำบางอาจารย์ท่านว่า
    ต้น - แก้ฝีภายใน แก้ฝีในท้อง ดับพิษร้อนภายใน
    ใบ - แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ
    ขับปัสสาวะ แก้ไข้รำเพรำพัด แก้ไข้ประสาทพิการ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะพลู
    ชะพลู (ไทยภาคกลาง), พลูลิง, ผักอีไร (ภาคเหนือ)
    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ราก ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ : ต้น ใช้เป็นยารักษาเสมหะในทรวงอก ใบ ทำให้เสมหะงวดแห้งและช่วยเจริญอาหาร ราก ใช้รักษาคูถเสมหะ คือใช้ขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ นอกจากนี้รากยังใช้ปรุง เป็นยารักษาธาตุพิการ และธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุ

    อื่น ๆ : ชะพลูมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดนี้เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะลำต้น ใบ ดอก และรสก็มีลักษณะ เดียวกัน แต่จะผิดกันตรงที่ลำต้นเป็นเถาเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติในทางยาก็ใช้อย่างเดียวกัน ชนิดเถานี้เรียกกันว่า ชะพลูเถา (ไทยภาคกลาง) ปูริงนก ผักปูริง ผักอีเลิด (ภาคเหนือ)
    ดอก : ช่วยทำให้เสมหะแห้ง และ ช่วยขับลมในลำไส้
    - ราก : ช่วยขับเสมหะให้ออก มาทางระบบขับถ่าย, ขับลมในลำไส้, ทำให้เสมหะแห้ง
    - ต้น : ช่วยในการขับเสมหะในทรวงอก
    - ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ เพราะในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมากอยู่นั้นเอง
    ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำและแฉะ โดยมากมักจะปลูกไว้รับประทาน ตามบ้านและมีขึ้นได้ทั่วไปทุกจังหวัดในประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ไร้หนทาง

    ไร้หนทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +2,274
    ชะมดต้น
    ชะมัดต้น, ฝ้ายผี (ไทยภาคกลาง) บางคนเรียก จั๊บเจี๊ยว
    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล ราก และเมล็ด ใช้เป็นยา

    สรรพคุณ :

    ต้น ใช้รักษาเกลื้อนช้าง เกลื้อนใหญ่ เรื้อนน้ำเต้า เรื้อนกวาง ใบ ใช้ฆ่าพยาธิ และรักษากลากเกลื้อนดอก ใช้รักษาโรคพยาธิ และขับไส้เดือน ผลสด ใช้ตำพอกฝี และเร่งหนองให้หนองนั้นแตกเร็ว ราก ใช้รักษารังแค โดยการฆ่าเชื้อตามขุมขน และรากผม นอกจากนี้รากและใบ ยังใช้ รักษาโรคหนองในได้ด้วย

    เมล็ด จะมีรสขม เย็น ใช้เป็นยาขับลม รักษาอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร รักษา การกระหาย โรคกามโรคหรือโรคหนองใน รักษาการขาดสีผิวของผิวหนัง โรคหิด นอกจากนี้ยังเป็นยาเจริญอาหารด้วย

    อื่น ๆ : พรรณไม้นี้ได้นำไปปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตาม บริเวณที่รกร้าง และที่ลุ่มทั่วไป มีปลูกกันบ้างเพื่อใช้เอาใยของเปลือกทำเชือก และกระสอบ

    ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองทางแถบเอเชีย และมักจะปลูกในเมืองร้อน เช่น จีน พม่า และอินเดีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ตำรับยา :

    1. เมล็ดใช้ 1 กำมือ บดให้ละเอียด ใส่น้ำนมคนผสมพอแฉะ ๆ ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นหิด วันละ 1-2 เวลา จนกว่าจะหาย

    2. ราก ใช้บด พอประมาณ แล้วพอกตามแผลพุพอง

    3. รากและใบ จำนวนพอประมาณ นำมาต้มกินเป็นยารักษา กามโรค และโรคปวดข้อ

    4. บดเมล็ดรวมกับแป้งผสมกัน 1 ต่อ 1 ใช้รักษาผดผื่นคัน (Prickly heat) นอกจากทางยาแล้วเมล็ดยังมีน้ำมัน
    ทำให้มีกลิ่นหอม จึงใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอมใบ รักษากลากเกลื้อน ดอก แก้น้ำกามเคลื่อนขณะหลับ เมล็ด ขับลม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...