เสี้ยววินาทีก่อนบรรลุธรรม จะพิจารณาได้อย่างไรว่า "แจ้งแล้วจริง"?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 2 กันยายน 2007.

  1. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    เฉไฉอีกแล้ว....เฉไฉอีกแล้ว <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  2. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    Wow Wow Wow
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาหละ สรุปเป็นข้อๆ ไป
    1 คุณ ปราบไตรจักร ไม่ยอมรับและยังไม่ตอบคำถามเลยว่า คุณถามผิดประเด็นในเรื่องที่ว่า อวิชชาและ ตัณหา คุณถามผิด จริงหรือไม่
    2 คุณ ปราบไตรจักร ไม่ยอมรับและไม่พูดเลยว่า การถามปฏิจสมุบบาทนั้น ผมอธิบายไปแล้วว่า ถ้าจะเอาว่าขั้นตอนเป็นอย่างไรนั้น สามารถดูได้จากหนังสือทั่วไป จริงหรือไม่
    3 คุณ ปราบไตรจักร เอาแต่พูดว่า คุณขันธ์ อวดอ้าง แต่อย่างเดียว ซึ่งข้อที่กล่าวมานั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการสนทนาเลย จริงหรือไม่
    4 คุณ ปราบไตรจักร ไม่เคยเห็นปฏิจสมุบบาท ด้วยตัวเองจริงหรือไม่ แล้วจะมาถามผม ให้ผมตอบแล้วคุณจะรู้เรื่องไหม
    5 คุณ ปราบไตรจักร แสดงอาการเป็นเด็ก เช่น อาการล้อเลียน เช่น เฉไฉ หรือ wow wow wow ซึ่งเป็นอาการของเด็กจริงหรือไม่

    6 คำถามเรื่อง ปัญญา และ ปฏิจสมุบบาท ที่ ปราบไตรจักรถามมา เป็น คำถาม ที่ไม่สามารถชี้วัดอะไรได้ และ ไม่ได้เป็นคำถามที่เป็นไป เพื่อความอยากรู้จริงหรือไม่

    เอาแค่ 6 คำถามก่อนนะ เพราะว่า 6 คำถามที่ผมกล่าวไปข้างต้น คุณ ไม่สนใจ แต่เอาแต่จะพูดเรื่องอวดอ้าง และเฉไฉ ยิงแต่ประเด็นนี้
    คำถามที่ผมถามกลับไป แล้วคุณไม่เอ่ยถึงเลย นี้เฉไฉหรือไม่

    จะยกอุปมาขึ้นมาให้ฟัง

    มีพ่อกับลูกคู่หนึ่ง พ่อไปพูดเรื่อง คณิตศาสตร์ชั้นสูง ให้คนอื่นฟัง ลูกได้ยินจึงบอกว่า พ่อๆ ไม่เห็นต้องอวดเลยว่าพ่อรู้ พ่อก็ตอบไปว่า การแสดงความรู้และอธิบายให้คนอื่นฟังนั้น ไม่ใช่การอวดนะ ลูกก็ไม่รู้เรื่อง แต่ก็ไม่ยอมรับ และถามกลับไปว่า ถ้าพ่อรู้จริง พ่อต้องตอบให้ได้ว่า แคลคูลัสนั้นหมายถึงอะไร
    พ่อคิดในใจว่า ลูกแค่ไปอ่านหนังสือมาแล้วมาถามเรา อธิบายไปลูกจะรู้หรือไม่เนี่ย พ่อก็เลยบอกว่า มันก็คือ คณิตศาสตร์ชั้นสูงนะ ลูกอย่าไปอ่านตามตำรา ว่ามันมี ดิฟเฟอรเรนเชียลกับ อินทีเกรต รู้แค่นั้นมันไม่ได้อะไร
    ลูกก็ย้อนกลับมาว่า พ่อเฉไฉแล้ว พ่อไม่ยอมตอบคำถาม แสดงว่าพ่อไม่รู้จริง พ่อโกหก พ่ออวดอ้าง


    เอาหละ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เด็กไม่รู้หรอกว่า ผู้ใหญ่รู้อะไร เอาหละพอเท่านี้แล้วนะ ผมคงไม่ตอบต่ออีก เพราะถือว่า อธิบายเหตุผลที่ชัดเจนที่สุด กับ นิยามคำว่า ปราบไตรจักร
     
  4. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    คุณขันธ์นี่ไม่เข้าใจภาษาไทยนะเนี่ยครับ...ที่ถามไปเพราะไม่รู้จริง ถ้ารู้แล้วผมจะถามคุณไปทำไมละ ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่ถามไปก็เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่คุณเองนั่นแหละชอบคิดว่าคนอื่นไม่รู้เรื่อง และยังตัดสินคนอื่นอีกว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนี้ที่เรียกว่าคนบรรลุธรรม คนรู้ธรรม ผมว่าไม่จริงละมั้ง อวดรู้มากกว่า

    คนอ่านคนอื่นๆเค้าก็รู้กันได้ครับ ผมถามตรงๆ แต่คุณกลับเฉไฉไปว่า ผมจะไปรู้เรื่องอะไร อย่างนี้เค้าเรียกว่าอะไรละครับ เค้าเรียกกันว่า คนโง่อวดฉลาดงัย 5555
    <O:p</O:p
    แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า คุณขันธ์ ยังมีอคติกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเอง ยังตัดสินคนอื่นว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ คุณขันธ์เอ๋ย...คุณนะ ยังห่างไกลอีกมาก ห่างพระนิพพาน ห่างศีล ห่างธรรม สิ่งที่คุณเขียนโต้ตอบมาทั้งหมดมันก็บ่งบอกแล้วว่าคุณเป็นคนอย่างไร รู้ธรรม หรือไม่ บรรลุธรรมหริอไม่
    <O:p</O:p
    ในเว็บนี้ไม่มีใครรู้จักคุณเป็นการส่วนตัว และไม่มีใครเคยเห็นหน้าคุณ คุณก็ยกเมฆมาบอกกับทุกๆคนว่า ตนเองรู้ ตนเองเห็น ตนเองบรรลุ ละอายแก่ใจตนเองหรือเปล่าละครับ ผมว่าคนอย่างคุณคงไม่ละอายแล้วแหละ เพราะมันหลงจนคิดว่าตนเองบรรลุธรรม ธรรมที่ตนเองบรรลุคุณตอบไม่ได้เลยว่า เป็นธรรมอะไร
    <O:p</O:p
    อะไรคือเด็ก อะไรคือผู้ใหญ่ ผู้บรรลุธรรม ยังเห็นสรรพสิ่งเป็นตัวเป็นตนหรือครับ ยังเป็นทาสของการปรุงแต่งหรือครับ 5555555555<O:p</O:p

    ความจริงคุณรู้อยู่แล้ว ว่าตนเองเป็นอย่างไร หลอกคนอื่น หลอกคนเองไม่ได้หรอกครับ เบื้องบนรู้นะครับ <O:p</O:p
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ขออ้างอิง
    คุณขันธ์นี่ไม่เข้าใจภาษาไทยนะเนี่ยครับ...ที่ถามไปเพราะไม่รู้จริง ถ้ารู้แล้วผมจะถามคุณไปทำไมละ ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่ถามไปก็เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่คุณเองนั่นแหละชอบคิดว่าคนอื่นไม่รู้เรื่อง และยังตัดสินคนอื่นอีกว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนี้ที่เรียกว่าคนบรรลุธรรม คนรู้ธรรม ผมว่าไม่จริงละมั้ง อวดรู้มากกว่า
    อ้างอิง
    อะไรคือหนึ่ง ท่านยังตอบไม่ได้เลย หนึ่งนั้นคือพระนิพพาน นิพพานธรรมเป็นหนึ่งไม่มีสอง ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีดับ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    <o>:p</o>:p
    ปฏิจจสมุปปาท ท่านขันธ์ยังไม่อธิบายเลย เฉไฉไปเรื่อย ผมไม่ได้ให้อธิบายตามหลักปริยัติ แต่ให้คุณอธิบายในสิ่งที่จิตคุณขันธ์ เข้าใจอันเกิดจากการปฏิบัติทางจิต แต่สุดท้ายก็มีแต่ข้ออ้างเหมือนเดิม
    <o>:p</o>:p
    ขอทดสอบภูมิธรรมก็แล้วกันนะครับ
    ยังมีอีกนะครับแต่ขี้เกียจหยิบเอามาพูด

    อ้างอิง
    คนอ่านคนอื่นๆเค้าก็รู้กันได้ครับ ผมถามตรงๆ แต่คุณกลับเฉไฉไปว่า ผมจะไปรู้เรื่องอะไร อย่างนี้เค้าเรียกว่าอะไรละครับ เค้าเรียกกันว่า คนโง่อวดฉลาดงัย 5555
    อ้างอิงจากคุณขันธ์
    1 คุณ ปราบไตรจักร ไม่ยอมรับและยังไม่ตอบคำถามเลยว่า คุณถามผิดประเด็นในเรื่องที่ว่า อวิชชาและ ตัณหา คุณถามผิด จริงหรือไม่
    2 คุณ ปราบไตรจักร ไม่ยอมรับและไม่พูดเลยว่า การถามปฏิจสมุบบาทนั้น ผมอธิบายไปแล้วว่า ถ้าจะเอาว่าขั้นตอนเป็นอย่างไรนั้น สามารถดูได้จากหนังสือทั่วไป จริงหรือไม่
    และข้อความข้างต้น คุณกล่าวว่า คุณถามเพราะว่า คุณไม่รู้จริง
    ก็เพราะว่า การไม่รู้จริงแล้วถาม ตามข้างต้นคุณก็กล่าวเอาไว้แล้วว่า ทดสอบภูมิธรรม
    คุณพูดจาขัดแย้งกันในตัวเอง

    อ้างอิง
    แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า คุณขันธ์ ยังมีอคติกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเอง ยังตัดสินคนอื่นว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ คุณขันธ์เอ๋ย...คุณนะ ยังห่างไกลอีกมาก ห่างพระนิพพาน ห่างศีล ห่างธรรม สิ่งที่คุณเขียนโต้ตอบมาทั้งหมดมันก็บ่งบอกแล้วว่าคุณเป็นคนอย่างไร รู้ธรรม หรือไม่ บรรลุธรรมหริอไม่
    ตอบ ผมไม่เคยกล่าวสักคำว่า ผมบรรลุอะไร แต่ ปัญหาคือ คุณ ปราบไตรจักร ยัดเยียดให้ผมเป็นคนโอ้อวด ผมก็พูดในสิ่งที่รู้ เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ แต่ไม่เคยบอกว่า ผมบรรลุแล้ว ผมเพียงแต่พูดในสิ่งที่ผมรู้

    อ้างอิง

    ในเว็บนี้ไม่มีใครรู้จักคุณเป็นการส่วนตัว และไม่มีใครเคยเห็นหน้าคุณ คุณก็ยกเมฆมาบอกกับทุกๆคนว่า ตนเองรู้ ตนเองเห็น ตนเองบรรลุ ละอายแก่ใจตนเองหรือเปล่าละครับ ผมว่าคนอย่างคุณคงไม่ละอายแล้วแหละ เพราะมันหลงจนคิดว่าตนเองบรรลุธรรม ธรรมที่ตนเองบรรลุคุณตอบไม่ได้เลยว่า เป็นธรรมอะไร

    ตอบ _ตรงไหนที่ผมกล่าวว่าผมบรรลุธรรม คนที่คิดว่าผมอวดเพราะว่า มีความหมั่นไส้ผม เป็นอกุศลจิตมา แล้วก็พยายามมากล่าวพูดว่าผมเฉไฉอย่างนั้นอย่างนี้

    อ้างอิง
    อะไรคือเด็ก อะไรคือผู้ใหญ่ ผู้บรรลุธรรม ยังเห็นสรรพสิ่งเป็นตัวเป็นตนหรือครับ ยังเป็นทาสของการปรุงแต่งหรือครับ 5555555555<o>:p</o>:p
    ตอบ
    เพราะว่า คุณไม่เข้าใจ ว่าสภาวะธรรมคืออะไร คุณถึงพูดคำนี้ออกมา

    ตอนแรกคิดว่าจะไม่ตอบอะไรคุณ ปราบไตรจักร แต่ต้องการให้เห็นว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่ คุณกำลังมีอารมณ์อะไร คุณมีจิตอย่างไร
    รวมถึงฝ่ายสนับสนุนด้วย

    ผมคิดว่าจะไม่พูดโต้แย้งมาก เพราะยิ่งพูด คุณ ปราบยิ่งพลาด ยิ่งแสดงอาการอะไรออกมา แต่ผมอโหสิให้ทั้งหมด และจะไม่โต้แย้งอีก สำหรับ การชี้ให้เห็น สภาวะของคุณ ปราบไตรจักร แต่ถ้าหากว่าจะถามธรรมะใหม่ ก็ยินดีตอบให้เสมอ







     
  6. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763

    อ้าว คนเรา มันก็ต้องมีการแสดงออก เมื่อเห็นด้วย
    คิดถึงข้าพเจ้าช่ายม้าาาา .. จัดให้


    อย่าโกรธกันเลยนะ
    ไม่รู้จะตายจากกัน ก่อนวันภัยพิบัติ รึเปล่าก็ไม่รู้

    ว่าแต่คุณสองคน คุยกันให้มันตัวใหญ่ๆ ไม่ได้หรือไง คลิ๊กที่ font แล้วก็เลือกฟ้อนต์ และขนาดด้วย

    ;)

    ***
    <O:p
    <O:p
    ... กิเลสตัณหา ละได้ด้วยอาการใด..<O:p
    <O:p


    อ้างอิง.. คุณขันธ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... กิเลสตัณหาละได้ด้วยอาการใด <O:p</O:p
    ผมต้องขอให้ คุณ ถามใหม่ว่า สังโยชน์ละด้วยองค์ปัญญาอย่างไร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... ส่วนกิเลสตัณหา นั้น เมื่อมีสังโยชน์ย่อมเป็นแดนแห่งอวิชชา เมื่อมีอวิชชาไม่เท่าทันในตัณหาที่ละเอียดขึ้น เนื่องจากสังโยชน์ที่ดองอยู่ แบบนี้ เพราะฉะนั้น ละตัณหาไม่ได้ เพราะว่า สังโยชน์ตัวละเอียดยังดองอยู่ ต้องละที่สังโยชน์ จึงจะทันในตัณหา การเห็นวิภวตัณหา หรือ ภวตัณหา นั้นเกิดจาก การที่เราไปสัมผัสอะไรสักอย่างหนึ่ง หากว่าเราทันต่อเวทนา เราก็ดับมันได้ แต่เราไม่อาจจะละมันได้ เพราะแดนเกิดของมันยังมี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ....<O:p</O:p
    <O:p


    ;) ;) ;)

    ...จะพูดว่า สังโยชน์ย่อมเป็นแดนแห่งอวิชชาได้ไหม
    <O:p</O:pถ้าพูดว่า อวิชชา เป็นตัวที่ทำให้เกิดสังโยชน์จะใช่กว่า.. เพราะความไม่รู้ จึงเกิดสิ่งต่างๆ ขึ้นมา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... การพูดว่าต้องละที่สังโยชน์จึงจะทันในตัณหา นี่ประหลาดไป <O:p</O:p
    มันถูกไม่หมด ยิ่งถ้าสังโยชน์สิบแบบนี้ ไม่ต้องพูด เพราะตัณหาเบาบางไปตั้งแต่ขั้นพระสกทาคามี ที่ละสังโยชน์สามและกิเลสเบาบางไปแล้ว ยิ่งพระอนาคามีนี่ ตัณหาอย่างกลางก็หมดไปแล้วนะ <O:p</O:p
    ส่วนคนทั่วไป หากกำหนดเวทนาได้ ก็ดับตัณหาได้ ยังไม่ได้ละสังโยชน์อะไรด้วยซ้ำ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ความจริง ...การจะเอาคำพูดมาใช้นั้น เช่น อวิชชา กิเลสตัณหา สังโยชน์ อาสวะกิเลส แม้นจะเป็นคำต่างแต่มีความหมายอยู่ในขอบข่ายเดียวกัน แต่การใช้คำต่างกันเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความเข้าใจในสถานการณ์ที่ต่างกัน เอามาใช้ประหลาดๆ แบบนี้ จะงุนงงเปล่าๆ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะคำเหล่านี้ ที่ถูกทำให้ต่าง ก็เป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจในสถานที่ต่างกัน
    <O:p</O:p
    เช่น <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พูดถึง ตัณหา เพื่อแยกย่อยใช้ใน หลักปฎิจจสมุปบาท<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พูดถึง อาสวะกิเลส สังโยชน์สิบ เพื่อใช้ในการดับอาสวะกิเลสของพระอริยะขั้นต่างๆ จะได้แยกออกว่า พระอริยะขั้นไหน ดับสังโยชน์ข้อใดได้แล้วบ้าง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนที่ดองอยู่นั้น นี่เป็นอนุสัยกิเลส คือเป็นเชื้อละเอียด ของ ราคะ โทสะ โมหะ นอนนิ่งอยู่ เมื่อถูกกระทบจึงจะกลายเป็น กิเลสอย่างกลาง กระทั่งอย่างหยาบขึ้นมา.. คือเป็นขั้นละเอียดของ กิเลสสามนั่นเอง ..แยกให้ละเอียด คือกิเลสสาม ราคะ โทสะ โมหะ ..แต่อย่างละเอียด จึงเรียกอนุสัยกิเลส หรืออนุสัยนอนเนื่อง .. ที่พร้อมปะทุขึ้นมาเมื่อถูกกระทบ<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p

    พูดตามหลักปฏิจจะ *ตัณหา (หรือตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) นั้นเกิดจากเวทนา เพราะเมื่อมีเวทนา ย่อมนำไปสู่ตัณหา

    <O:p</O:p( .. อวิชชา .. สังขาร .. วิญญาณ .. นามรูป .. อายตนะ .. ผัสสะ .. เวทนา .. ตัณหา .. อุปาทาน .. ภพ .. ชาติ-ชรา-มรณา)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อ้างอิง... กิเลสตัณหา ละได้ด้วยอาการใด..<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p
    หากพูดตามหลักของปฏิจจสมุปบาท คือ ละตรงที่เวทนา หรือละมาตั้งแต่ต้นอวิชชา หรือมาละเอาตรงสุดท้ายที่เวทนาก็ได้ ทันเวทนา เวทนาดับ ตัณหาก็ไม่เกิด <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หากพูดตามหลักว่า ตัณหาสามเป็นเหตุแห่งทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ... อริยสัจจ์มีองค์สี่ ..คือ<O:p</O:p
    ทุกข์........ การเกิด แก่ เจ็บตาย พลัดพราก ไม่สมหวัง ....<O:p</O:p
    สมุทัย...... เหตุแห่งทุกข์ คือตัณหาสาม ที่ร้อยรัดสรรพสัตว์ ให้มาเกิด<O:p</O:p
    นิโรธ....... ความดับทุกข์มี <O:p</O:p
    มรรค....... ทางดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์แปด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จะละกิเลสตัณหา ก็ต้องปฏิบัติตามทางดับทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์แปด<O:p</O:p
    (หรือจะเรียก ศีลสมาธิปัญญา หรือ สติปัฏฐานสี่ ก็ได้)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เพราะทางดับทุกข์นี้ทำให้ขาดจากสังโยชน์ เข้าไปเห็นจิตเดิม คือรู้แจ้งเห็นจริง ที่เรียกว่า ญาณปัญญา (ยถาภูตญาณทัศนะ) ไม่ใช่ปัญญาแบบคิดเอาเอง แต่เป็นปัญญาญาณ (เห็นจริง) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อวิชชา เป็นเหตุแห่งตัณหา เป็นเหตุให้กิเลสตัณหาเติบโต ตัณหาเป็นเชื้อเกิด การภาวนา หรือมีสติตัวรู้คอยตามรู้กิเลสตัณหา คือเมื่อหากเวทนาเกิดก็ไม่ตาม ดับไป เท่ากับเป็นนิพพานชั่วคราว จนกระทั่งเข้าไปรู้เห็นจิตเดิมจริง จึงว่าวิชชาเกิดขึ้นแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนภวตัณหาในรูปพรหมมีความละเอียดคือติดสุขในฌาน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แม้นในบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ฌาน สังโยชน์เรื่องรูปราคะและอรูปราคะ ก็จะเกี่ยวอยู่ในเรื่องของความพอใจยินดี
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    พระอาจารย์มั่น : ความยินดีในรูปขันธ์ หรือความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ นั้นชื่อว่ารูปราคะ ความยินดีในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ..หรือยินดีในสมถวิปัสสนา ..หรือยินดีในส่วนมรรคผล ที่ได้บรรลุเสขคุณแล้ว เหล่านี้ก็เป็นอรูปราคะได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่จริง การพูดว่าดับ กิเลสตัณหา อาสวะกิเลส สังโยชน์ ก็ไม่ได้ต่างกันหรอก หากไปดูในหลักของเบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีคำว่าตัณหาใช่ไหม เพราะมันซ่อนอยู่ในสังขาร สังขารแล้วจะมีเวทนาหรือตัณหาอย่างไร ก็อีกเรื่อง แต่เห็นไม่ชัดเท่า ปฏิจจสมุปบาท <O:p</O:p<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    ....<O:p</O:p


    พอกล้อมแกล้มนะ คนเก่งก็คงตอบได้ประณีตกว่านี้ ถูกมากกว่านี้
    แต่การรู้ธรรม ก็ไม่ได้หมายถึงเข้าถึงธรรมก็ได้


    ;) <O:p</O:p
     
  7. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,790
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เราต้องขอยอมรับ และนับถือทุกๆท่าน ที่ได้เสวนาธรรมในครั้งนี้ สิ่งที่เรามีความยากลำบากยิ่งนักคือการตีความหมายในบาลีภาษา เพราะเราไม่ใช่นักบวช ไม่ใช่นักปราชญ์ ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ แม้นเราจะรู้ว่ามันยากยิ่งที่จะศึกษาเรื่องนี้ให้แตกฉาน แต่พระพุทธองค์ท่านรู้แล้วว่าการสอนอภิธรรมให้กับบุคคลทั่วๆไปเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง และสิ่งที่ท่านได้สอนครั้งแรกคือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา .... นั่นคือครั้งแรกที่ได้เทศนาพระอภิธรรม

    สิ่งที่เราชอบในกระทู้นี้คือการเสวนาธรรม ในเรื่องของปรมัตถ์ซึ่งเป็นสิ่งที่แยบคาย เราอยากจะไต่ถามหรืออยากจะถาม กลัวว่าจะปล่อยไก่เคเอฟซีตัวใหญ่ๆ แต่ว่าภูมิธรรมของเรานั้นมีน้อย เพราะเราไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกทั้งหมด แต่เราพอจะเข้าใจได้ด้วยจิตวิญญาณ์อันน้อยนิดนี้ว่า เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก และทำให้เราเข้าใจยากมากๆ

    โดยเฉพาะในเรื่องของบทของพระกถาวัตถุที่เป็นบทที่ห้าของพระอภิธรรมนั้นทำให้เราสับสน แต่เราพอจะเข้าใจเลาๆว่า ถ้าจะพูดถึงเรื่องโคตระภูนั้น คืออะไร? และเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อระหว่างกามาวจรภูมิกับโลกุตรภูมิ แต่ยังไม่ขาด เพราะเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งเพียงเท่านั้น


    คำถามกับผู้ทรงธรรมในที่นี้ก็คือ พระกถาวัตถุคาถานั้น คือพระพุทธพจน์ ใช่หรือไม่?
     
  8. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    อ้างอิงบ้างนะ
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2007
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาหละ รับรอง ธรรมทั้งหมดที่เขียนมาไม่ผิดเพี้ยน แต่ถามว่าจะเชื่อได้อย่างไร ผมจึงบอกว่า ผู้ที่เดินแล้วมีปัญหาให้ถามมา เมื่อถามมาแล้ว ปฏิบัติเองแล้ว เมื่อเจอปัญหา บอกผมมา ผมรู้ทันที และคนที่ปฏิบัติก็จะรู้ทันทีเช่นกัน ว่า คนตอบรู้หรือไม่รู้ ถึงบอกไปว่า การถามที่ผ่านมาไม่เกิดประโยชน์

    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถามมาว่า อุททัพยญาณ ที่เห็นนี้ถูกหรือไม่ ก็อธิบายลักษณะที่เห็นมา ผมก็จะตอบให้และบอกได้ว่า ที่เห็นมา ยังต้องปรับตรงไหน
    เอาทั้งญาณ 16 เลยก็ได้ อ้อ เว้น ตั้งแต่ โสดาปัตติมรรคญาณ จนถึง อรตผลญาณ เพราะอธิบายไปก็ไม่รู้เรื่องและ ภูมิธรรมผมยังไม่ถึง การอธิบาย จะพูดสิ่งที่ตนเห็นจริง จะไม่เอาสิ่งที่มาจากคนอื่นพูด มากล่าว
    หรือว่าตั้งคำถามก็ได้ว่า องค์ฌาณที่ประสบมานั้น เป็นอย่างไร สิ่งที่เห็นนั้นจริงหรือไม่
    สรุปคือ ถามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ และ ความไม่เข้าใจใน องค์ธรรม
    รวมถึงการที่อ่านมาแล้วไม่เข้าใจ จะให้ผมแสดงอรรถาธิบายก็ได้ แต่อย่าถามแบบท่องจำ แต่ให้ถามเชิงต้องการอรรถาธิบาย แล้วผมจะบรรยายให้เอง

    การพูดด่าทอคนอื่นนั้น เป็นอุบายในการละพยศ ซึ่งถ้าคนนั้นเกลียดก็ไม่เป็นไร แต่อย่างน้อยตนเองจะไม่หลง โกรธไม่เป็นไร แต่อย่าหลง
     
  10. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    อ้างอิงนะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การพูดด่าทอคนอื่นนั้น เป็นอุบายในการละพยศ ซึ่งถ้าคนนั้นเกลียดก็ไม่เป็นไรแต่อย่างน้อยตนเองจะไม่หลง โกรธไม่เป็นไร แต่อย่าหลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ละพยศใครละครับ ตนเองหรือคนอื่น ถ้าเป็นคนอื่นทำไมต้องละพยศคนอื่นด้วยละ เป็นหน้าที่ของคุณขันธ์หรือครับ และที่คุณขันธ์ว่าคุณกังขา ณ ปลาย มีหัวฝีที่หน้าอกเนี่ย มันละพยศคนอื่นหรือครับ แหม...เพิ่งรู้ว่ามีการละพยศคนอื่นแบบนี้ด้วย แล้วตนเองไม่มีมูถ คูตรออกจากตนเองหรือครับ หรือว่าเป็นมนุษย์พิเศษเหนือธรรมดา ดูตัวเองบ้างเด้อ.... ศพเดินได้เหมือนกันแหละ ไม่ต่างกันหรอก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เพราะเห็นคนอื่นไม่เห็นเหมือนตน ก็บอกว่าคนๆนั้นไม่มีปัญญา ไม่มีความรู้ในธรรม คิดเองเออเอง ทุกอย่างซะงั้น
    <O:p</O:p
    ไม่ต้องอธิบายให้ถึงญาณ 16 หรอก แค่ เมตตาพรหมวิหารสี่นี่ก็เพียงพอแล้ว กล่าววาจาสุภาษิต แค่นี้ก็พอแล้วครับ
    <O:p</O:p
    ศึกษารรมะใ ห้ถ่องแท้ก่อนน้องเอ๋ย....ที่เตือนมาทั้งหมดนะ หวังดีครับ จะได้ไม่ถลำลึกกว่านี้ ไม่รู้จริงยังว่าตนเองรู้ ตนเองเห็น สิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อุททัพพยญาณ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ก่อนที่คุณขันธ์จะเกิดด้วยซ้ำ ยังมาบอกว่าตนเองรู้ดี ไม่ได้เอามาจากพระไตรปิฎก ตำรับตำรา
    <O:p</O:p
    คุณบัญญัติศัพท์นี้เองหรือครับ ญาณ 16 เนี่ย ก็ลอกท่านมาละคร้าบบบ
    <O:p</O:p
    สิ่งที่ผมถามมาทั้งหมดคุณก็ยังไม่ตอบเลย ไม่ต้องไปถามวิปัสสนาญาณ 16 หรอก (b-smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2007
  11. กังขา ณ ปลาย

    กังขา ณ ปลาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,763
    เยๆ ได้อ่านข้อความคุณปราบฯ แบบไม่ทรมานแล้ว ;)
    นับถือในความอดทนค่ะ แต่จะวางไปก็ได้นะคะ <O:p</O:p
    กรรมใครกรรมมันนะ เราคิดแบบนี้ เลยไม่ได้อดทนกับใครมากนักค่ะ..<O:p</O:p
    ไม่กี่ครั้ง เราก็เผ่นแล้วอะ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ...<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ;) ;) ;)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2007
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปัดโธ่ นึกว่าจะมีเหตุมีผล พูดไปขนาดนี้แล้วยังไม่เข้าใจ ก็ไม่รู้จะพูดว่ายังไงอีก
    แต่ผมขอกล่าวโทษตัวเองก่อนอื่นเลย ว่า บ้าคุยกับคนพูดไม่รู้เรื่องสองคนอยู่ตั้งนาน
    ไอ้เราก็พยายามจะอธิบาย อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดซ้ำๆ ซาก ติดอยู่ในภพของจิตพยาบาท ซ้ำๆ ซากๆ
    ยิ่ง ปราบไตรจักร นี่ ความเดิมยังไม่ได้แก้ต่าง เอาเรื่องใหม่ขึ้นมาอีก นิสัยพยศแบบนี้แหละ ดี เดี๋ยวพอพยศมากๆ มันหมดแรง แล้วก็ทุกข์ พอพักหายเหนื่อย ก็พยศใหม่ เรียกว่า อวดดีใหม่ได้อีก ก็ติดอยู่ในภพ ขึ้นๆ ลงๆ ทั้งชีวิต


    สำหรับ ผู้ที่ถามว่า กถาวัตถุนั้น เป็นพุทธพจน์หรือไม่ ผมบอกตามตรง ผมไม่รู้จักกถาวัตถุ แต่ถ้าพูดเนื้อหาข้างในมาแล้วให้อธิบายก็ได้ ว่าเขาพูดปรมัตธรรม และปรมัตธรรมนั้นหมายความว่าอะไร จะอธิบายให้ ถ้าลำพังถามว่า เป็นพุทธพจน์หรือไม่นี่ ก็ไม่มีใครพิสูจน์ได้ เพราะว่ามันอยู่ในตำรา แต่ถ้าจะถามว่า ปรมัตธรรมที่คุยกันนั้นหมายถึงอะไร อันนี้พอบอกได้เพราะว่า มันคือ สัจจะ
     
  13. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,790
    ค่าพลัง:
    +7,482
    คุณขันธ์ เรากำลังสงสัยว่า "โคตระภู" คือสภาวะที่เหนือกว่าอรูปพรหม (หรืออรูปฌานก็ได้) แต่เราแปลกใจว่า เหตุไฉนพระพุทธองค์จึงเลือกที่จะปรินิพพานในช่วงของกึ่งกลางระหว่าง รูปวจรกับอรูปวจร ทั้งๆที่พระองค์ท่านน่าจะปรินิพพานอยู่ที่ "โคตระภู" เรามีเหตุผลที่จะชี้แจงว่าทำไมเราจึงคิดอย่างนั้น

    แต่กาลนี้เราอยากจะฟังคุณขันธ์ชี้แจงก่อน ส่วนท่านใดที่มีญาณทัศนะ ระลึกได้เราก็ยินดีที่จะรับฟัง หรือท่านใดที่มีทิพย์จักขุเยี่ยมยุทธ์ แล ระลึกได้ มองเห็นอดีตเมื่อสองพันกว่าปีที่ผ่านมา ก็ลองว่ากันมา ...หรือไม่ถึงเพียงขนาดนั้น แต่คิดว่าตัวเองมีตาทิพย์ (ตาที่สาม หรืออะไรก็แล้วแต่) ไม่ว่าจะเป็นโลกีย์ หรือ โลกุตร ใดๆ ... ทดลองว่ามา ว่าสิ่งที่เราถามนั้นพอจะสำเนียกเรียกอดีตกาลนั้นได้หรือไม่?

    เรายอมรับในความผิดพลาดทั้งปวง และเราขอขมาพระรัตนไตรแล้วก่อนที่จะโพสท์เรื่องนี้

    เราชอบในเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์ มากกว่าที่จะเป็นนักก๊อปปี้และนักโมทนา ก็ว่ากันไป ...
     
  14. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    ขอความกรุณา ถ้าจะถกเรื่องธรรมะ ขอให้ถกกันแบบบัณฑิต อย่าให้เป็นการทะเลาะเบาะแว้งกัน ยังไงก็ต้องตั้งกติกากันก่อน เอาเกณฑ์แบบปุจฉา-วิสัชนา ก็ได้และชี้ขาดกันด้วยเหตุผล ไม่เอาทรรศนะของตัวเราเองไปตัดสิน ถ้าอย่างนี้คนอื่นเขาจะได้ร่วมด้วยง่ายหน่อย
    ธรรมเนียมการถกปัญหาธรรมะ มีกฎกติกามารยาทที่ชัดเจนอยู่แล้ว ใครละเมิดก็ขาดมารยาท ทางฝ่ายปุจฉา สามารถตั้งคำถามอะไรก็ได้ แต่ควรสั้นและต้องรัดกุมไม่ดิ้นไปดิ้นมาหรือคลุมเครือจนไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร ทางฝ่ายวิสัชนา ก็ต้องอธิบายตามเหตุผลที่ตนเชื่อ แต่ต้องมีหลักฐานประกอบอ้างอิงเช่นพุทธพจน์ อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์ หรือคำสอนของครูบาอาจารย์ที่เรียกว่าอาจาริยวาท สนับสนุนความคิดเห็นของตน ไม่ใช่ยกขึ้นมาลอยๆไม่มีที่มาที่ไป แล้วก็ผลัดกันปุจฉา วิสัชนา
    การตัดสินให้ยึดพุทธพจน์ตามอักขระเป็นหลัก ไม่อนุญาตให้ตีความใดๆอีก
    ถ้าถกกันแบบบัณฑิต บัณฑิตก็สรรเสริญ
     
  15. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    แหมคุณขันธ์นี่ก็ชอบตัดสินคนอื่นจัง...ทำงานอยู่ที่ศาลยุติธรรมหรือครับ คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าใครไม่เข้าใจ เห็นๆกันอยู่ ถามอะไรไปคุณก็เฉไฉไปเรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องแผนที่ เรื่องพยศ แล้วบอกว่าคนอื่นไม่เข้าใจ อันนี้เคยมองย้อยตนเองหรือไม่ว่า ตนเองอธิบายสิ่งต่างๆได้ครอบคลุมชัดเจนแทงตลอดในธรรมหรือเปล่าละครับ ตั้งแต่เบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลาย ในเมื่อคุณขันธ์เองก็ยอมรับว่าสิ่งที่คุณเขียนมาทั้งหมดเกี่ยวกับการบรรลุธรรมว่า ดำเนินได้ถูกต้องแน่นอน แสดงว่าคุณได้บรรลุธรรมแล้วใช่มั้ยครับ เพราะว่าคุณไม่ได้บอกว่า ลอกคนอื่นมา
    ทีนี้ผมก็ต้องสงสัยธรรมดาว่า คนที่บรรลุธรรมแล้วนะครับ บรรลุธรรมอะไร แล้วจิตใจไม่เปลี่ยนแปลงไปหรือครับ อย่างน้อยนะ การว่ากล่าวคนอื่น จ้วงจาบคนอื่น เหยียดหยามคนอื่นโดยทางวาจาก็ควรที่จะลดไป หรือหมดไปจากสันดาน ใช่มั้ยครับ เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่ากิเลส 10 อย่างจะหมดไปจากผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือว่าคุณสมบัติของผู้บรรลุธรรมเป็นแบบคุณ ถ้าอย่างนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสผิดซิครับ จริงมั้ยครับ <O:p></O:p>
    ธรรมะคืออะไรครับ คำถามนี้คุณยังไม่ได้ตอบเลย ที่บอกว่า บรรลุธรรม บรรลุธรรมอะไร ใครเป็นผู้บรรลุธรรม ถ้าธรรมะไม่มีตัวตน แล้ว อะไร บรรลุ เอาความไม่มีตัวตนไปบรรลุธรรมได้อย่างไร ถ้าจิตคือธรรม แล้วจิตทำไมต้องบรรลุธรรม เพราะว่าเป็นธรรมในตัวอยู่แล้ว
    กิเลสก็เป็นธรรม กุศลก็เป็นธรรม อวิชชาตัณหาก็เป็นธรรม วิชชาก็เป็นธรรม สติ ศีล สมาธิ ปัญญา อภิญญา นิพพานก็เป็นธรรม แล้วบรรลุธรรมอะไร ปุถุชน อริยะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์ ก็เป็นธรรม
    สัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ก็เป็นธรรม โลก ก็เป็นธรรม ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ เป็น ธรรม แล้วบรรลุธรรมอะไร มีอะไรให้บรรลุ การเกิด การ ตาย การพลัดพรากก็เป็นธรรม แล้วบรรลุธรรมอะไร<O:p</O:p
    ผมคิดว่า คุณขันธ์คงให้ความกระจ่างได้นะครับ... <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อีกอย่างหนึ่งนะครับ พระพุทธองค์ตรัสแต่การเห็นธรรมตามเป็นจริง ไม่เคยตรัสถึงการบรรลุธรรมใดๆทั้งสิ้น ใครเห็นธรรมทั้งปวงตามเป็นจริง ท่านทรงบัญญัติว่าเป็นอริยบุคคล <O:p</O:p
     
  16. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    คุณขันธ์ เรากำลังสงสัยว่า "โคตระภู" คือสภาวะที่เหนือกว่าอรูปพรหม (หรืออรูปฌานก็ได้) แต่เราแปลกใจว่าเหตุไฉนพระพุทธองค์จึงเลือกที่จะปรินิพพานในช่วงของกึ่งกลางระหว่างรูปวจรกับอรูปวจร ทั้งๆที่พระองค์ท่านน่าจะปรินิพพานอยู่ที่ "โคตระภู"เรามีเหตุผลที่จะชี้แจงว่าทำไมเราจึงคิดอย่างนั้น
    <O:p></O:p>
    สิ่งที่คุณอ่อนถามมานะครับ คุณต้องไปถามพระพุทธองค์เอง เพราะเป็นพุทธวิสัย เป็นอจินไตย ไม่มีใครสามารถตอบได้ครับ
    คงจะมีคนคาดคะเน เดาตอบสุ่มสี่สุ่มห้าก็เป็นได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมที่พระองค์ทรงรู้ ทรงเห็น ลึกซึ้ง รู้ได้โดยอยาก ไม่สามารถคิดนึก หรือ คาดเดาเอาได้ แต่บัณฑิตสามารถรู้เห็นได้
    <O:p</O:p

    และอีกอย่างหนึ่งพระพุทธองค์ ก้าวล่วงโครตภูญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่ต้องมาดับขันธปรินิพพานในโคตรภูญาณเพราะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าเขียนอย่างนี้แสดงว่า ความเป็นพระสัพพัญญูก็ถดถอยได้ซิครับ บุคคลผู้เลิศที่สุด ผู้ประเสริฐที่สุดถึงความเป็นสัพพัญญูแล้ว เป็นผู้มีความคงที่ ไม่แปรเปลี่ยน
    <O:p></O:p>
     
  17. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    <CENTER>ครูที่ดี </CENTER>ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้งไม่เข้าใจในพระ นิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืน สั่งสอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน ควรจะสั่งสอนแต่เพียงทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ เป็นต้นว่า สอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้กุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จัก ก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพอสมควร อยู่แล้ว ส่วนความสุขในโลกุตตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์เสียก่อนจึงชื่อว่า เข้าใกล้ทาง มีโอกาสที่จะได้จะถึงโลกุตตรนิพพานโดยแท้ แม้ผู้ที่จะเจริญทางพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครู ว่ารู้แจ้งทางพระนิพพานจริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่ เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้ไม่แจ้ง ก็จะไม่สำเร็จ โลกุตตรนิพพานได้ เพราะว่าทางแห่งโลกุตตรนิพพานนี้ เล่าเรียนได้ด้วยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามสุข อันเป็นข้าศึกแก่พระนิพพานโดยมาก ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนา แก่ข้าฯ อานนท์ด้วยประการดังนี้ ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลาย จงทราบด้วยผลญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด.

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาซึ่งพระนิพพาน ควรแสวงหาซึ่งครูที่ดีที่อยู่เป็นสุข สำราญมิได้ประมาท เพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น อันของสิ่งอื่นนั้นเมื่อผิดไปแล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้ เป็นอะไรนัก เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วนพระนิพพาน นี้ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ เป็นนักหนา ทำให้หลงโลกหลงทางห่างจากความสุข ทำให้ เสียประโยชน์เพราะอาจารย์ ถ้าได้อาจารย์ที่ถูกที่ดี ก็จะได้ รับผลที่ถูกที่ดี ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกไม่ต้อง ก็จะได้ รับผลที่ผิดเป็นทุกข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้เวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นกาลนาน เปรียบเหมือนผู้จะ พาเราไปในที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เราเองก็ไม่รู้ เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึง ตำบลนั้นได้เล่า ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพาน และจะพาเราไปพระนิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทาง ไป ๆ มา ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่อาจจะถึง พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จักตำบลที่จะไปและเป็น ผู้พาไป ก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉันนั้น ผู้คบครูอาจารย์ ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย เหมือนดัง พระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจรฆ่าคนล้มตายเสียนับด้วยพัน หากเราตถาคตรู้เห็นมีความสงสารเวทนามาข้องในข่าย สยัมภูญาณ จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้าย เป็นการลำบากมิใช่น้อย ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระ องคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์อยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นชาติเป็น อันมาก

    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครู สั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย ต่างว่าจะสั่งสอนเขา จะสั่งสอนว่ากระไรเพราะตัวไม่รู้ เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคย เป็นช่างเขียนหรือช่างต่างๆมาก่อน แล้วและอยากเป็น ครูสั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา จะเอาแต่คำพูด เป็นครูทำตัวอย่างให้เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้ จะให้เขาเล่าเรียน อย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตาให้รู้ด้วยใจ เขาจะทำตามอย่างไรได้ ตัวผู้เป็นครูนั้นแลต้องทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา ถ้าขืนเป็นครูก็จะพาเขา หลงโลกหลงทาง เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวนักหนาทีเดียว พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลผู้จะสอน พระนิพพานนั้นต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระ- นิพพานมีอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ ต้อง รู้ให้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่านิพพาน ๆ ด้วยปาก แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้นไม่ควรเชื่อถือเลย ต้องให้รู้แจ้งชัด ในใจก่อน จึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่านผู้อื่นต่อไป จะเป็นเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพาน แล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์และควรนับถือเป็นครูเป็น อาจารย์ได้ แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์สักปานใดก็ตาม ถ้า ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย

    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุข อันนั้นก่อนจึงจะได้ เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควร รู้จักสุขในพระนิพพาน อยากได้สุขในมนุษย์และสวรรค์ ก็ให้ รู้จักสุขในมนุษย์และสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้ ถ้าไม่รู้จัก สุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุขอันนั้นให้เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือน ทุกข์ในนรก อันทุกข์ในนรกนั้น จะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่ไม่รู้ก็ตกนรก เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่าทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่ การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจาก ทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรกตราบใด ก็ยังไม่พ้น จากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ ทางออกจากนรกได้แล้วปรารถนาจะพ้นจากนรกก็พ้นได้ เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่านรกอยู่ ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ และควรรู้จักทาง ออกจากนรกให้แจ้งชัด ทางออกจากนรกนั้นก็คือ ศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออก ให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับ ผู้ที่ไม่รู้ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน ส่วนความสุข ในมนุษย์สวรรค์และพระนิพพานนั้นต้องรู้จึงจะได้ ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้. ดูกรอานนท์ เมื่ออยากรู้จักนรกและสวรรค์และพระนิพพานก็ให้รู้เสีย ในเวลา ที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้นทุกข์ในนรก ก็รีบออก ให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือ ในสวรรค์หรือในนิพพาน ก็ให้รีบขวนขวายหาสุขเหล่านั้น ไว้แต่เมื่อยังไม่ตาย จะถือว่าตายแล้วจึงพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจะไปสวรรค์ไปพระนิพพานดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้ เสียประโยชน์เปล่า อย่าเข้าใจว่า เมื่อมีชีวิตอยู่สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้วมีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความรู้ที่เข้าใจ ผิดโดยแท้ เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด แม้ เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุข ฉันใด เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น ไม่ต้องสงสัย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์และความสุขมี สภาวะดังนี้ เมื่อตายไปแล้วจะซ้ำร้ายยิ่งนัก จะมีทางรู้ทาง เห็นด้วยอาการอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้.
    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2007
  18. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    <CENTER>คิริมานนทสูตร
    กถามุข
    </CENTER>คิริมานนทสูตร นับเป็นยอดพระสูตรๆหนึ่งที่มี สารัตถะสำหรับมนุษย์ผู้มีสังขารไม่เที่ยง ต้องทนทุกข์ต่อ โรคภัยไข้เจ็บที่คอยเบียดเบียนไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งของชีวิต พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้ แก่พระอานนท์เพื่อนำไป แสดงแก่พระคิริมานนท์ซึ่งกำลังอาพาธหนักจนไม่สามารถ มาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ พระคิริมานนท์จึงขอให้พระอานนท์ ช่วยกราบบังคมทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ เพื่อทรง พระกรุณาสงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาเจ็บปวดซึ่งเบียดเบียนอยู่ ให้ระงับอันตรธานหายเถิด พระพุทธเจ้าทรงเมตตาแสดง สัญญา ๒ ประการ คือรูปสัญญา นามสัญญา และอื่นๆ เมื่อพระคิริมานนท์กำหนดตามพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุ พระอรหัตผล ในขณะที่วางธุระในรูปนาม โรคภัยของ พระคิริมานนท์ที่เจ็บปวด เวทนาก็อันตรธานใน ขณะนั้นฯ
    คิริมานนทสูตรจึงเป็นสูตรสำเร็จที่ช่วยกล่อมเกลา จิตใจของผู้ที่กำลังเจ็บป่วยอยู่ แม้ว่าการเจ็บป่วยนั้นจะ ร้ายแรงถึงขั้นที่ไม่อาจรักษาจนหายได้ก็ตาม พระสูตรนี้ ยังช่วยให้บุคคลทั่วไปที่มีทุกข์ได้คลายความวิตกกังวลไป ได้บ้าง ถ้าผู้ตกอยู่ในทุกข์สามารถที่จะกำหนดตามว่าชีวิต เป็นอนิจจัง คงสภาพเดิมอยู่ไม่ได้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และดับลงในที่สุด อันเป็นธรรมชาติ จึงช่วยให้ผู้เจ็บป่วย สามารถระงับจิตให้สงบวางเฉยลงได้ เมื่อวาระสุดท้าย ของชีวิตมาถึง วิญญาณก็จะละกายสังขารไปอย่างสงบ สู่สุคติภูมิ
    <!-- / message -->
     
  19. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    ปฐมเหตุ
    เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ตตฺรโข อายสฺมา คิริมานนฺโท อาพาธิโก โหตีติ.
    บัดนี้จะแสดงพระสูตรอันหนึ่ง อันโบราณอาจารย์เจ้า กล่าวไว้ว่า คิริมานนทสูตร ได้อ้างเนื้อความแต่ครั้ง ปฐมสังคายนา พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย ๕00 องค์ เปิดโอกาสไว้ให้พระอานนท์องค์หนึ่ง ได้เข้ามาสู่ที่ประชุม พร้อมกันแล้ว คอยพระอานนท์องค์เดียวกำลังเจริญสมถ วิปัสสนาอยู่ ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ ครั้นพระอานนท์ เถรเจ้าได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็เข้าจตุตถฌาน เอาปฐวี กสิณเป็นอารมณ์ไปปรากฏบนอาสนะท่ามกลางสงฆ์ ให้ พระสงฆ์สิ้นความสงสัยในอรหัตตคุณ ที่ถ้ำสัตตบัณณคูหา ปฏิญาณตนในอเสขภูมิ ด้วยประการฉะนี้แล้ว พระมหา สังคาหกเถรเจ้าทั้งหลายมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึง ได้อาราธนาเชื้อเชิญให้พระอานนท์ ขึ้นนั่งเหนือธรรมาสน์ แสดงสุตตันตปิฎก ยกคิริมานนทสูตรนี้ขึ้นเป็นหัวข้อ พระมหากัสสปะเถรเจ้าจึงถามพระอานนท์ว่า อานนฺท ดูกร อานนท์ พระสูตรอันมีชื่อว่าคิริมานนทสูตรนั้น พระพุทธเจ้า แสดงแก่บุคคลผู้ใด และตรัสเทศนา ณ ที่ไหน ปรารภอะไร ให้เป็นเหตุ จึงได้ตรัสเทศนามีวิตถารพิสดารอย่างไร? ขอให้พระอานนท์เจ้าจงแสดงต่อไปในกาลบัดนี้
    อถ โข อายสฺมา อานนฺโท ลำดับนั้นพระอานนท เถรเจ้า ผู้นั่งอยู่บนธรรมาสน์ ได้โอกาสแต่พระสงฆ์แล้ว จึง วิสัชนาพระสูตรนี้ มีคำปฏิญญาในเบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ หากได้สดับมาแต่พระอบแก้ว กล่าวคือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มีใจความว่า
    เอกํสมยํ สมัยกาลคาบหนึ่ง พระผู้มีพระภาค สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ พระเชตวัน วิหาร อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ใกล้กรุงสาวัตถี ในกาลนั้นพระผู้เป็นเจ้าชื่อว่าคิริมานนท เถระผู้มีอายุ อาพาธิโก เกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะ อดกลั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงให้เชิญข้าพเจ้าเข้าไปยังสำนัก ของตนแล้ว จึงกล่าวว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ข้าพเจ้า ผู้ชื่อว่าคิริมานนท์นี้ บังเกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะ อดกลั้น ไม่สามารถจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ขอนิมนต์ท่านอานนท์นำเอาอาการอาพาธอันร้ายแรง ของข้าพเจ้าไปกราบทูล ให้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ เพื่อทรงพระมหากรุณาสงเคราะห์ให้ทุกขเวทนา เจ็บปวด ซึ่งเบียดเบียนอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้านี้ ระงับ อันตรธานหายเถิด ข้าพเจ้ารับเถรวาทีแล้ว ก็เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอาการอาพาธและทุกขเวทนา ตามคำสั่งของพระคิริมานนท์ให้ทรงทราบทุกประการ อถ โข ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อได้ทรง ทราบอาการของพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์ แล้วจึงตรัสแก่ ข้าฯ ว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ท่านจงกลับคืนไปสู่สำนัก ของท่านคิริมานนท์โดยเร็ว แล้วพระองค์ตรัสต่อไปว่า

    <!-- / message -->
     
  20. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    <CENTER>รูปสัญญา นามสัญญา</CENTER>วิสุทฺธจิตฺเต อานนฺท เท.ว สญฺญา สุตฺวา โส อาพาโธ ฐานโส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย ดังนี้ ดูกรอานนท์ เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว ท่านจงบอกสัญญา ๒ ประการ คือ รูปสัญญา๑ นามสัญญา๑ คือว่ารูปร่าง กายตัวตนทั้งสิ้นก็ดี คือนามได้แก่จิตเจตสิกทั้งหลายก็ดี ก็ให้ปลงธุระเสีย อย่าถือว่ารูปร่างกายจิตเจตสิกเป็นตัวตน และอย่าเข้าใจว่าเป็นของของตน ทุกสิ่งทุกอย่างความจริง เป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น ดูกรอานนท์ ถ้าหากว่า รูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้ เมื่อล่วงสู่ความแก่เฒ่าชรา ตาฝ้า หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง ฟันโยกคลอน เจ็บปวด เหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์ ว่าอย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์ เขาจะเจ็บ จะไข้ จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา เรา หมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราจะพาเอาไป สักสิ่งสักอันก็ไม่ได้ ถ้าเป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพา เอาไปได้ตามความปรารถนา ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกก็ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของของเรา เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า จิต ของเราจงเป็นอย่างนี้จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญทุกเมื่อ อย่าทุกข์อย่าร้อนเลยดังนี้ ก็จะพึงได้ตามปรารถนา นี่หาเป็น เช่นนั้นไม่ เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไปก็ตาม เรื่องของเขา เพราะเหตุร่างกายจิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย อย่าเข้าใจถือเอา ว่าเป็นตัวตนและของของตนเถิด. ดูกรอานนท์ ท่านจงไป บอกซึ่งสัญญาทั้ง ๒ ประการคือรูปและนามนี้ โดยเป็น อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนและไม่ใช่ของของตน ให้พระคิริมานนท์ แจ้งทุกประการ เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว การอาพาธ ความเจ็บปวดและทุกขเวทนาก็จะหายจากร่างกายของ พระคิริมานนท์หมดสิ้น จะหายอาพาธโดยรวดเร็วด้วย ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะผู้เป็นประธาน ในสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ ด้วยประการ ดังนี้แล.
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...