เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตหนี้ยุโรป เชื้อร้ายลามไกลกว่าคาด
    23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09:02 น. |เปิดอ่าน 384 | ความคิดเห็น 2 แม้จะขาดช่วงไประยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อไอร์แลนด์ กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป ตามรอยกรีซ ด้วยสถานการณ์ที่เหนือความคาดหมายอย่างยิ่ง เพราะอาการของไอร์แลนด์สาหัสยิ่งกว่าสเปนและโปรตุเกส ซึ่งเป็นสองประเทศที่ได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตนี้ โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ แม้จะขาดช่วงไประยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อไอร์แลนด์ กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป ตามรอยกรีซ ด้วยสถานการณ์ที่เหนือความคาดหมายอย่างยิ่ง เพราะอาการของไอร์แลนด์สาหัสยิ่งกว่าสเปนและโปรตุเกส ซึ่งเป็นสองประเทศที่ได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตนี้ ที่กล่าวว่า วิกฤตหนี้ยุโรปขาดช่วงไประยะหนึ่งนั้น ก็เพราะสหภาพยุโรป (EU) พยายามกวดขันให้ประเทศสมาชิกมีวินัยทางการเงินทางการคลัง หาไม่แล้วหากปล่อยให้ขาดดุลมหาศาล จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง ฐานที่ทำให้ทั้งกลุ่มต้องสุ่มเสี่ยงกับความล่มสลายทางการเงิน และหมายถึงอนาคตที่มืดมนของเงินยูโร อย่างไรก็ตาม ความเข้มงวดกวดขันของ EU แสดงให้เห็นแล้วว่า สายเกินการณ์ เพราะไม่อาจเยียวยาวิกฤตการณ์ที่ไอร์แลนด์พยายามต่อสู้เพื่อที่จะเอาชีวิตรอดได้ ทั้งยังส่อเค้าว่าจะลุกลามบานปลาย ไม่ต่างจากที่เคยหวาดระแวงกันเมื่อไม่กี่เดือนก่อน คาดการณ์กันว่า เหยื่อที่รอคอยความช่วยเหลือรายต่อไป อาจเป็นโปรตุเกส ด้วยอัตราหนี้สาธารณะที่สูงถึง 112% ของ GDP จากการประเมินล่าสุดโดยพรรคฝ่ายค้านของโปรตุเกส ต่อจากโปรตุเกส ย่อมเป็นสเปนอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยระดับหนี้สาธารณะที่จะสูงถึง 64% อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาเดียวกับไอร์แลนด์ นั่นคือปัญหาในภาคธนาคาร แต่ขณะนี้ดูเหมือนว่า สิ่งที่คาดเดากันนั้นอาจเลวร้ายยิ่งกว่าโดมิโน หรือการล้มครืนของประเทศหนึ่งตามด้วยอีกประเทศหนึ่งเป็นระยะที่แน่นอน แต่อาจเป็นการล่มสลายของทั้งระบบ ย้อนกลับไปในช่วงก่อนที่ EU จะประกาศมาตรการรัดเข็มขัดทั่วภูมิภาค เพื่อสกัดกั้นวิกฤตหนี้ ความสนใจของชาวโลกในขณะนั้น โฟกัสอยู่ที่ประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้เป็นหลัก อันได้แก่ กรีซ โปรตุเกส สเปน รวมถึงอิตาลี แท้จริงแล้ว ไอร์แลนด์เก็บงำปัญหาที่หนักหนาไม่แพ้กัน เนื่องจากซ้ำเติมด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ด้วยความที่ไอร์แลนด์ใช้มาตรการลดงบประมาณภาครัฐอย่างเร่งด่วน ก่อนหน้ากรีซถึง 2 ปี ทำให้ปัญหาบรรเทาไปช่วงหนึ่ง แต่ล่าสุด เราได้ทราบแล้วว่า มาตรการที่ว่านั้นมิได้บรรเทาวิกฤต แต่เป็นการกลบปัญหาอย่างรีบร้อน จนกลายเป็นการหมักหมมเชื้อเป็นภัยคุกคามในระยะยาว เช่นเดียวกับความช่วยเหลือครั้งล่าสุด ที่ไอร์แลนด์ขอรับจาก EU และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะพยุงสถานการณ์ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวยังไม่อาจรับประกันได้ กระทั่งยังอาจกลายเป็นการติดเชื้อลุกลามไปทั่ว ความหวาดระแวงว่า กรณีไอร์แลนด์จะกลายเป็นการติดเชื้อรุนแรง แสดงออกให้เห็นผ่านปฏิกิริยาของ อังกฤษและสวีเดน ซึ่งมิได้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร หรือกลุ่มประเทศ Eurozone แต่กลับให้ความช่วยเหลือระดับทวิภาคีเป็นเงินกู้ให้แก่ไอร์แลนด์ ด้วยมูลค่าที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย แต่คาดว่าคงไม่เกิน 1 แสนล้านยูโร เงินจำนวนนี้นับว่าสูงมาก หากพิจารณาจากปริมาณเงินที่รัฐบาลไอร์แลนด์จำเป็นจะต้องใช้พยุงสถานะของตัวเองที่ราว 6.5 หมื่นล้านยูโร และใช้พยุงธนาคารพาณิชย์อีก 3 หมื่นล้านยูโร การที่อังกฤษและสวีเดนออกตัวช่วยถึงเพียงนี้ ย่อมมีนัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวดแน่นอน นัยที่ว่านี้ คือ วิกฤตหนี้ของยุโรปอาจกระทบกระเทือนไปถึงประเทศที่มิได้ใช้เงินยูโร โดยเฉพาะประเทศที่กำลังบอบช้ำจากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว เช่น อังกฤษ และประเทศที่กำลังเผชิญกับรูรั่วระบบสวัสดิการสังคม ที่บั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างสวีเดน ปัญหาของทั้งสองประเทศมีปลายทางเดียวกัน นั่นคือวิกฤตงบประมาณขาดดุล จากการก่อหนี้เพื่อพยุงเศรษฐกิจของตัวเอง อันเป็นปัญหาร่วมของประเทศในกลุ่ม Eurozone ในกรณีของสวีเดนมีปัญหาเฉพาะที่แตกต่างจากอังกฤษ หรือ Eurozone เนื่องจากต้องแบกรับหนี้สาธารณะมหาศาล (ในช่วงทศวรรษที่ 90 เคยสูงถึง 78%) จากระบบสวัสดิการสังคม ปัจจุบันระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงมาอยู่ที่ราว 30% และเริ่มมีเสถียรภาพ แต่ต้องแลกมาด้วยระบบสวัสดิการที่ย่ำแย่ลง สวีเดนอาจเทียบได้กับตัวแทนของภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ซึ่งมิได้ร่วมกับกลุ่ม Eurozone (ยกเว้นฟินแลนด์) แต่มีพันธะผูกพันกลายๆ ให้ช่วยเหลือยุโรปทั้งผองในยามตกทุกข์ได้ยาก น่าเชื่อว่าการที่สวีเดน (หรือนัยหนึ่งคือภูมิภาคสแกนดิเนเวีย) ควักเงินช่วยไอร์แลนด์ เพราะไม่ปรารถนาจะให้ยุโรปทั้งภูมิภาคต้องสั่นคลอน จนส่งผลกระทบต่อตัวเอง ซึ่งยังอยู่ในช่วงประคองงบประมาณให้ได้ดุลยภาพ ที่สำคัญก็คือ สวีเดน อังกฤษ และเดนมาร์ก มีแผนการที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Eurozone ในไม่ช้า การที่ทั้งสามประเทศแลเห็นไอร์แลนด์ โปรตุเกส ฯลฯ หรือกระทั่ง Eurozone ต้องพินาศลงต่อหน้าต่อตา ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่น่ากังขาว่า ความช่วยเหลือจากทุกทิศทุกทางจะสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อลุกลามได้อย่างชะงัดหรือไม่? หัวใจของปัญหาคือการหมดสิ้นซึ่งความมั่นใจ หัวใจของการแก้ปัญหา คือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่สิ่งนี้ยากเย็นไม่น้อย ดังจะได้ว่าสาเหตุที่ไอร์แลนด์ต้องขอรับความช่วยเหลือ ก็เนื่องจากมาตรการลดงบประมาณที่ใช้มานานถึง 2 ปี ไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ เงื่อนไขหลังรับความช่วยเหลือ ก็ยังเป็นการยอมรับวิธีการเยียวยาแบบเดิม นั่นคือ หั่นการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ และปรับโครงสร้างธนาคารที่ประสบปัญหาทางการเงิน แม้จะเป็นปัญหาที่ยังต้องได้รับการแก้ไขก็ตามที แต่การทำซ้ำไม่น่าจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นได้มากนัก ไม่เฉพาะในส่วนของไอร์แลนด์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโปรตุเกสและสเปน ที่บัดนี้ความเชื่อมั่นในพันธบัตรของทั้งสองประเทศสั่นคลอนอย่างหนัก บีบให้ผลตอบแทนที่รัฐบาลทั้งสองประเทศต้องจ่ายให้กับนักลงทุนสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว อันเนื่องจากการติดเชื้อ “อาการไร้ความมั่นใจ” มาจากไอร์แลนด์นั่นเอง ในวิกฤตระลอกล่าสุด การฟื้นคืนความเชื่อมั่น ยังคงเป็นโจทย์ที่ยุโรปจะต้องแก้ไปพร้อมๆ กับการทำลายเชื้อวิกฤตหนี้ นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า การสูญเสียความเชื่อมั่นของประเทศในกลุ่ม Eurozone จะแก้ไขได้ก็ด้วยสูตรรักษาครอบคลุมทุกประเทศ เป็นสูตรที่มีรายละเอียดชัดเจนและให้ผลรวดเร็ว มิใช่วิธีรักษาเป็นรายๆ ไป นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายรายยังโจมตีเยอรมนีในฐานะพี่ใหญ่ของ EU และมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ในภูมิภาคว่า ทำให้หนทางแก้ไขวิกฤตยิ่งตีบตัน ด้วยการเรียกร้องให้วางกลไกรับรองการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ซึ่งกลไกนี้จะดึงเอานักลงทุนเข้ามาเสี่ยงร่วมกับภาครัฐ ยังผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยิ่งเสื่อมถอยลง แต่ดูเหมือนว่าเยอรมนีจะมีทัศนะที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง โวล์ฟกัง ชอยเบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมนี กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ ZDF ว่า “หากในขณะนี้เราได้คำตอบที่ถูกต้องสำหรับปัญหาของไอร์แลนด์ โอกาสที่จะไม่ปรากฏการแพร่ระบาดของปัญหาก็จะยิ่งสูงขึ้น” โปรดสังเกตว่า ขุนคลังท่านนี้ใช้คำว่า“หาก” ซึ่งหมายความว่า ยังไม่มั่นใจเช่นกันว่าหนทางนี้จะได้ผล 100% หรือไม่ ไม่ว่าฝ่ายนักลงทุนและรัฐบาลจะเห็นต่างกันเช่นไร ปัญหาที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ดูเหมือนยุโรปจะยังไม่รู้ว่า ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ใด และควรสะสางเช่นไร! นี่คือความไม่รู้จะกลายเป็นปัจจัยให้วิกฤตลุกลามไปไกลกว่าที่คาดคิด เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม
    เครดิต
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอเอฟพี - ระบบเศรษฐกิจรายใหญ่โตที่สุดของโลก ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ได้ตกต่ำลงสู่ขอบเหวแห่งการล่มสลายแล้ว เพราะถูกบีบคั้นรอบด้านด้วยปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้ภาครัฐที่ควงสว่านลง สู่ก้นบึ้งของอเวจี เสียงเตือนในประการนี้จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ค่ายต่างๆ นับวันแต่จะสะท้อนก้องกังวานไปทั่ววงการ อาทิ กูรูคนดังอย่าง นูรีล รูบินี ผู้เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่เตือนถึงหายนะแห่งวิกฤตตลาดหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์กลุ่มซับไพรม์ ตลอดจนเตือนว่าภาวะฟองสบู่ในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะแตกสลายอย่างแน่นอน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รูบินีกล่าวต่อที่ประชุมทางเศรษฐกิจในอิตาลีว่า “สหรัฐฯ นั้นใช้บุญเก่าหมดแล้ว หากเกิดแรงกระแทกช็อกเข้าไปครั้งใดจะสามารถดึงสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยได้” ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่อาจไม่ได้เป็นข่าวบ่อยเท่ารูบินีก็พากันเรียงหน้าเทกันมาในข้างที่เห็น นิมิตอันตรายในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในอนาคตอันใกล้นี้ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ลอเรนซ์ คอตลิคอฟฟ์ ซึ่งเตือนไว้นานมากแล้วตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ว่าให้ระวังอันตรายจากการเดินนโยบายสาธารณะแบบขาดดุล ได้ออกมาย้ำอีกครั้งถึงลางมรณะของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยกล่าวไว้ในสิ่งพิมพ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คือ นิตยสาร FD Finance & Development Magazine ฉบับเดือนกันยายน 2010 ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีการนำเสนอภาพการปะทะกันทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจของโลก คือ สหรัฐฯ กับจีน ประเทศซึ่งถือพันธบัตรกระทรวงการคลังอเมริกันไว้มากกว่า 843,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ท่านศาสตราจารย์ชี้ประเด็นว่า ความขัดแย้งด้านการค้าอันเป็นประเด็นเล็กๆ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้คนบางกลุ่มคิดว่า คนอื่นๆ อาจตัดสินใจเทขายระบายความเสี่ยงในการถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเมื่อความเชื่ออย่างนั้นถูกสำทับด้วยความวิตกในภาวะเงินเฟ้อ ย่อมอาจนำไปสู่การแตกตื่นเทกระจาดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างบ้าคลั่ง พร้อมกับส่งผลไปกระตุ้นให้สาธารณชนผวาถึงเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และโกลาหลกันไปถอนเงินฝากออกจากธนาคาร เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่คงทนกว่า สิ่งที่ตามมาคือ การจุดชนวนให้เกิดภาวะสภาพคล่องฝืดเคืองรุนแรงในแวดวงของบรรดาธนาคารพาณิชย์ และตลาดเงิน ตลอดจนบริษัทประกันภัยทั้งปวงเพราะผู้ถือกรมธรรม์ขอไถ่ถอนเพื่อหาความ ปลอดภัยให้ตนเอง “ในระยะเวลาเพียงสั้นแบบนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ย่อมต้องออกธนบัตรเพิ่มขึ้นมาหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างหลักประกัน แล้วเงินใหม่เหล่านั้นย่อมจะทวีความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อ จนอาจทำให้ถึงขึ้นไฮเปอร์” ศ.คอตลิคอฟฟ์เขียนเตือน ด้านสถาบัน StrategyOne Institute รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10) ในเรื่องผลการสำรวจความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ พบว่าชาวอเมริกัน 65% เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่ เดวิด บรูกส์ ผู้เขียนบทนำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ นำเสนอไว้ว่า “เป็นความจริงที่ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง มิใช่ปัญหาชั่วคราวที่มาๆ ไปๆ ตามวงจรขึ้นลง” นอกจากนั้น บรูกส์ชี้ว่า สหรัฐฯ ทยอยสูญเสียพลังการครอบงำโลก ในลักษณะที่คล้ายมากกับตอนที่อาณาจักรอังกฤษเริ่มเสื่อมสลายเมื่อกว่าหนึ่ง ศตวรรษที่ผ่านมา “เราอยู่ในท่ามกลางการฟื้นตัวของปัญหาว่างงานรอบใหม่ ความยากลำบากในตลาดแรงงานของเรานั้นลึกซึ้งและตึงตัวมาก” บรูกส์ระบุไว้อย่างนั้น ในเวลาเดียวกัน จอมกูรูคนดังระดับโลกอย่างพอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แสดงความกังวลถึงชะตากรรมย่ำแย่ที่จะเกิดขึ้นกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ สหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังเปราะบางมาก โดยเตือนไม่ให้ประชาชนวิ่งกลับไปดึงพรรครีพับลิกันได้กลับสู่อำนาจ “ยากที่จะบอกได้ว่ามันจะเสียหายรุนแรงเพียงใดกับความคิดที่เสนอเมื่อ ต้นสัปดาห์นี้โดย จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียข้างน้อยในสภาผู้แทนฯ ถ้าแนวคิดดังกล่าวถูกนำไปดำเนินการจริง” ครุกแมนเขียนไว้ในบทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยฟันธงด้วยว่า “มันคือการที่ปริมาณงานน้อยลงผนวกดับการขาดดุลที่มหาศาลมากขึ้น - ช่างเป็นการผสมผสานที่ลงตัวสมบูรณ์เหลือเกิน” ส่วนหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งปกติจะเชียร์ข้อเรียกร้องของโบห์เนอร์ในเรื่องหั่นภาษี กลับนำเสนอบทวิจารณ์เขียนโดย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่งที่พูดฟันธงว่า “ข้อเท็จจริงนี้จำเป็นที่เราจะต้องกล้าเข้าไปเผชิญ นั่นคือ แทบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราจะถูกตีกระหน่ำอย่างยาวนาน” และไอเอ็มเอฟเองก็ส่งเสียงเตือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่นกันว่า หนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงอย่างเหลือเกิน ประกอบกับภาคการเงินที่สั่นคลอน กำลังคุกคามว่าจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล้มเหลว “การยึดจำนองและขายทอดตลาดสินทรัพย์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นั้น นับว่ามหาศาลและขยายขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงของการให้ยกเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อได้หมดรอบลง สิ่งนี้อาจยิ่งซ้ำเติมสภาพย่ำแย่ในด้านของระดับราคาอสังหาริมทรัพย์สาหัสมาก ยิ่งๆ ขึ้นไป” ไอเอ็มเอฟร้องเตือนไว้อย่างนั้น
    Posted: 25 Nov 2010
    เครดิต
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เงินดอลลาร์ท่วมโลก!?

    โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 16 พฤศจิกายน 2553 15:33 น.






    กลุ่มประเทศขนาดใหญ่ G 20 ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้บริหารธนาคารกลาง จากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ รวมกับสหภาพยุโรป กลุ่ม G 20 นั้นมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับ 90% ของเศรษฐกิจโลก เมื่อได้มาประชุมกันเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ก็ไม่ได้มีผลอะไรเป็นรูปธรรมชัดเจนในเรื่องสงครามเงินสกุลโลก นอกจากการลงมติที่ว่า

    “เห็นชอบให้สนับสนุนระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวตามกลไกตลาด และให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีมติให้ประเทศสมาชิกหลีกเลี่ยงการลดค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการค้า”

    ที่เสียงของกลุ่มประเทศ G 20 ไม่ดังหรือมีมาตรการที่ชัดเจนพอ ก็เพราะในที่ประชุมดังกล่าว มีความเกรงใจต่อมหาอำนาจ 2 ประเทศ ที่เป็นคู่กรณีของสงครามสกุลเงินโลกในครั้งนี้ นั่นก็คือ จีน และสหรัฐอเมริกา

    ด้านหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ก่อหนี้อย่างมหาศาลและธนาคารกลางพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาใช้จ่ายอย่างไร้ขีดจำกัด โดยไม่ต้องมีเงินตราต่างประเทศมาหนุนหลัง ซึ่งในปลายปีนี้คาดการณ์ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีหนี้สาธารณะและหนี้ของมลรัฐต่างๆ สะสมรวมกันถึง 14.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวนนี้เป็นการพิมพ์เงินดอลลาร์โดยธนาคารกลางของอเมริกาให้กับรัฐบาลอเมริกากู้ประมาณ 7.10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แถมในช่วงหลังยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 4-5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยอเมริกาซึ่งเติบโตด้วยหนี้และพิมพ์เงินดอลลาร์นั้นมีขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)ใหญ่ที่สุดในโลกประมาณ 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นสัดส่วน 24% ของ GDP ทั้งโลกรวมกัน) แต่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาอัตราการว่างงานที่ทะยานสูงขึ้น 10% (ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่กำลังเผชิญปัญหาหนักเช่นกัน)

    ในขณะที่จีนเองก็ใช้ระบบควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนตรึงค่าเงินหยวนเอาไว้กับดอลลาร์สหรัฐ จนเงินหยวนอ่อนค่ากว่าความเป็นจริง ได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดนักลงทุนมาสร้างฐานการผลิตเข้ามาในจีนอย่างมหาศาล มีขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (เล็กกว่าอเมริกา 2.8 เท่าตัว) แต่มีประชากรประมาณ 1,340 ล้านคน (มากกว่าอเมริกา 4.3 เท่าตัว) มีกำลังซื้อมหาศาล โดยในปีหนึ่งๆ จีนค้าขายระหว่างประเทศจนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีละประมาณ 2-3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีนจะได้ดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

    ด้านสหรัฐอเมริกาและยุโรปซึ่งสูญเสียความสามารถในการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชียอย่างมหาศาล สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของแรงงานในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ได้ทำให้ฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกาและยุโรปย้ายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง

    การสูบความมั่งคั่งโดยกลุ่มกองทุน เฮดจ์ ฟันด์ ที่เข้าโจมตีค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย หรือทำกำไรจากการปั่นและทุบหุ้นในภูมิภาคนี้ในอดีต ได้สร้างกำไรอย่างมหาศาลให้กับสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ของสหรัฐอเมริกาก็คือ “ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ” สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาที่มีเงินมากไปไม่สามารถจะปล่อยกู้ให้กับภาคการผลิตที่แท้จริงให้มากเท่ากับเงินที่มีอยู่อย่างมหาศาลได้ จึงหันไปเน้นการปล่อยในสินเชื่อให้กับกองทุนเก็งกำไรต่างๆ และลงทุนในตราสารต่างๆ ซึ่งรวมถึงปัญหาที่หนักที่สุดของสหรัฐอเมริกาก็คือการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือที่เรียกว่า Subprime Loan และก่อให้เกิดหนี้เสียอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จนมีบริษัทขนาดใหญ่และกองทุนต้องล้มละลาย สร้างความเสียหายให้กับสหรัฐอเมริกาอย่างใหญ่หลวง

    ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาตรการ QE (Quantitative Easing) ในปี 2551 เพื่อแก้ไขปัญหาของธนาคารพาณิชย์ที่มีหนี้เสียเป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้ปล่อยสินเชื่อได้อย่างจำกัด ด้วยการพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมารับซื้อตราสารและสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์รวมกันประมาณ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อหวังว่าจะให้ธนาคารพาณิชย์ได้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และมาดำเนินการเป็นปกติให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการได้

    อเมริกาพยายามแก้ไขปัญหาของตัวเอง ด้วยการใช้งบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 10% ของ GDP และพยายามลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางให้ต่ำเข้าใกล้ 0% แต่กลับกลายเป็นว่าเงิน QE ที่ทุ่มลงไปครั้งแรกเมื่อ 2 ปีที่แล้วกลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นแทนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ กลับนำเงินไปลงทุนกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาซึ่งเสี่ยงน้อยกว่า

    อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาที่สูงถึง 10% เป็นผลทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องออกมาตรการ QE 2 ที่จะพิมพ์เงินออกมาเพื่อทุ่มเงินไปอีกประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คราวนี้จะเข้าไปซื้อในตลาดพันธบัตรของสหรัฐอเมริกา เมื่อใช้เงินจำนวนมหาศาลทยอยเข้าไปซื้อพันธบัตรก็จะทำให้ราคาซื้อขายในตลาดพันธบัตรสูงขึ้น และเป็นผลทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้ (Yield) ในตลาดซื้อขายพันธบัตรลดลง โดยหวังว่าจะบีบธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาหยุดลงทุนในตลาดพันธบัตรของสหรัฐอเมริกา แล้วหันกลับไปปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจของสหรัฐอเมริกาแทน

    เอาเข้าจริง QE 2 ก็เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เพราะธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินของอเมริกาไม่ได้ไปปล่อยสินเชื่อตามวัตถุประสงค์ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา แต่กลับขนเงินดอลลาร์ไปลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ หุ้นในต่างประเทศ ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ เพราะนอกจากจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้วยังได้กำไรค่าเงินในประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กำลังแข็งค่าขึ้นอีกด้วย

    นายพอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้ให้ความเห็นเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ถึง 14.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากจะกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกาให้ตื่นขึ้นมาอย่างได้ผล อาจต้องใช้มาตรการ QE ถึงประมาณ 8-10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกือบจะเท่ากับทุนสำรองของทุกประเทศรวมกันทั้งโลกประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

    ซึ่งก็ยังเป็นที่น่าสงสัยว่าหากมีเงินไหลเข้าสู่ระบบเช่นนั้นแล้ว ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อได้จริงหรือไม่ หรือจะนำเงินลงทุนไปต่างประเทศอีก?

    ปัญหาคือโครงสร้างภาคธุรกิจจริงขอสหรัฐฯ ได้สูญเสียภาคการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชียเป็นเวลานานแล้ว ธุรกิจในอเมริกาส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และมาบวกกำไรขายต่อในลักษณะค้าปลีก และทำธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ชั้นสูงแล้วคิดค่าใช้จ่ายสูงเพื่อดูดความมั่งคั่งกลับคืนสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น สินค้า Software, คอมพิวเตอร์, ยารักษาโรค, เทคโนโลยีการแพทย์ ผ่านเครื่องมืออย่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร แต่ก็ไม่สามารถมาทดแทนการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศได้

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ แอปเปิล ได้ผลิตโทรศัพท์ไอโฟน ในประเทศจีน เพราะต้นทุนต่อเครื่องต่ำกว่า 20 ดอลลาร์สหรัฐ (600 บาท) ซึ่งเป็นราคาหลังจากที่รัฐบาลจีนได้ปรับค่าแรงทั่วประเทศแล้ว แต่แอปเปิลได้บวกกำไรให้กับเฉพาะบริษัทของตัวเองไม่ต่ำกว่า 30 เท่าตัวเมื่อเทียบกับต้นทุนกระบวนการผลิตในประเทศจีน เช่นเดียวกับสินค้าในสหรัฐอเมริกาก็บวกกำไรค้าปลีกกัน 3-4 เท่าตัวของราคาขายหน้าโรงงาน

    ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 209 บาท/ วัน ในขณะที่เมืองเสิ่นเจิ้นประเทศจีน มีค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยประมาณ 179 บาท/วัน ในขณะที่แรงงานขั้นต่ำในสหรัฐอเมริกาคิดเป็น “ชั่วโมง” ละ 217.5 บาท หรือวันหนึ่งทำงาน 8 ชั่วโมงก็จะได้วันละ 1,740 บาท

    ค่าแรงขั้นต่ำของสหรัฐอเมริกาที่สูงกว่าจีนถึง 10 เท่าตัว ดังนั้น ต่อให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นตามสภาพความเป็นจริง ฐานการผลิตก็คงจะไม่ย้ายกลับไปที่สหรัฐอเมริกาอยู่ดี การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในภาคธุรกิจจริงก็ยังคงต้องประสบปัญหาต่อไป

    ความจริงสหรัฐอเมริกาไม่เคยกลัวว่าจะประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายหนี้ในประเทศ หรือหนี้ต่างประเทศ ไม่เคยกลัวการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ได้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์ และไม่จำกัดจำนวน เพียงแต่วิกฤตการณ์ครั้งนี้มาถึงจุดที่ทุกประเทศเกิดความไม่ไว้วางใจต่อเงินสกุลดอลลาร์อย่างรุนแรงพร้อมๆ กันทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

    ภายหลังจากมาตรการ QE 2 ได้ออกมา ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศทั่วโลกได้มีความกังวลใจต่อการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีอยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศของตัวเองที่กำลังด้อยค่าลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้ทั่วโลกพยายามนำเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่นให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในรูปเงินสกุลท้องถิ่นในเอเชีย หุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย แร่ธาตุ และน้ำมัน ที่มูลค่าทะยานสูงเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นผลทำให้เงินดอลลาร์ร่วงอ่อนค่าลงไม่หยุด

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหุ้นของไทยและทั่วโลกที่ทะยานขึ้นมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของการไหลทะลักของเงินดอลลาร์ที่ท่วมโลกแล้วพยายามนำเงินดอลลาร์เข้ามาแปลงเป็นสินทรัพย์เป็นสกุลเงินบาทเพื่อเก็งกำไรทั้งหุ้นและค่าเงิน

    โดยปัจจุบันดัชนีหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นกว่า 20 เท่าตัวเมื่อเทียบกับผลประกอบการ ซึ่งถือว่าสูงเกินปัจจัยพื้นฐานไปมากแล้ว ค่าเงินบาทใน 10 เดือนแรกแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 10.2% จากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้ช้อนซื้อเพื่อปั่นราคาและทุบเทขายทำกำไรไปแล้วหลายระลอก หากรัฐบาลและแบงก์ชาติยังไม่มีมาตรการแก้ไขที่ชัดเจนออกมา นอกจากแมงเม่าจะต้องถูกเผาไหม้ไปในตลาดหุ้นแล้ว เงินบาทจะไร้เสถียรภาพส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตในประเทศรุนแรงยิ่งกว่านี้อย่างแน่นอน

    ทั้งยูโรและดอลลาร์ซึ่งเป็นเงินสกุลหลักของโลกอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้ธนาคารกลางทั่วโลก (รวมถึงแบงก์ชาติไทย) ได้พยายามเปลี่ยนสัดส่วนไปถือทองคำมากขึ้น เป็นผลทำให้มูลค่าทองคำสูงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ประเทศจีนได้นำเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองของตัวเองไปลงทุนเหมืองแร่ในต่างประเทศ เช่น ทองแดง เหล็ก และแหล่งพลังงาน เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จะใช้ได้จริงในเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง

    เมื่อหลายประเทศคิดจะตุนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็จะพบว่าทองคำในโลกมีอยู่ประมาณ 30,535.6 ตัน ผู้ที่ถือครองทองคำสูงสุดในโลกอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ถือครองทองคำสูงถึง 8,133.5 ตัน รองลงมาอันดับ 2 คือ จีนถือครองทองคำอยู่ที่ 4,216.4 ตัน ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 ถือครองทองคำอยู่ประมาณ 99.5 ตัน นั่นย่อมหมายความว่าสหรัฐอเมริกาที่ก่อหนี้มหาศาลด้านหนึ่ง แต่ก็มีทองคำที่มีมูลค่าสูงขึ้นจากการที่ดอลลาร์อ่อนค่าเช่นเดียวกัน

    ทำให้ย้อนหวนนึกถึง “ทองคำ” ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ ที่ได้ระดมประชาชนที่รักชาติมาสะสมเอาไว้ในทุนสำรองเงินตราเมื่อหลายปีติดต่อกันนั้น เป็นการเลือกทรัพย์สินเพื่อเก็บเอาไว้ในทุนสำรองระหว่างประเทศได้ถูกต้องและแม่นยำกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยิ่งนัก

    ขณะนี้สหรัฐอเมริกาได้อัตราเงินเฟ้อทยอยสูงเพิ่มขึ้นสมใจ แต่เงินเฟ้อครั้งนี้เกิดจากการอ่อนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนในสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่แพงมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำมัน ในขณะที่ภาวะคนก็ยังตกงานเป็นจำนวนมาก และสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ก็ยังมีปัญหาอยู่ สร้างความกดดันต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง

    อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งสำคัญ เงินดอลลาร์และเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังถูกสั่นคลอนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน!!!
    เครดิต การลงทุนด้วยระบบ - ThaiGOLD.info - เวปบอร์ด ราคาทองคำ - หน้า 251
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จับตาใกล้ชิด จีนเตรียมประกาศคุมเงินเฟ้อ ยุค กระเทียมเลือดเย็น

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2553 15:40 น.






    ขณะที่ผู้บริโภคบนแผ่นดินใหญ่ต่างต้องดิ้นรนหาสินค้าอาหารราคาถูก สถานการณ์เงินเฟ้อในจีนขณะนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบ 10 ปี รุนแรงถึงขนาดที่ชาวเน็ตถึงกับตั้งศัพท์แสงต่างๆ ที่ใช้เรียกอาหารหรือของที่กินที่ใช้อยู่ประจำกันซึ่งราคาแพงหูฉี่กันไปอย่างขำขันแบบขมขื่น ไม่ว่าจะเป็น กระเทียมเลือดเย็น แอปเปิลงี่เง่า น้ำตาลเจ้าขุนมูลนาย ฝ้ายละลายกระดูก ฯลฯ (ภาพเอเยนซี)


    เอเยนซี - จีนเตรียมประกาศคุมราคาสินค้าและออกมาตรการปราบปรามการกักตุนสินค้าเกษตร จากการแถลงของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ระบุว่า ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ราคาขายส่งสินค้าเกษตรหลักๆ จำนวน 18 รายการ เพิ่มสูงขึ้นไปถึง 62 เปอร์เซนต์ เทียบเป็นรายปี และสูงกว่าเมื่อต้นปี 11.3 เปอร์เซนต์

    ตัวเลขดังกล่าว ทำให้ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน นายโจว เสี่ยวชวน กำหนดให้เรื่องเงินเฟ้อ เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ต้องเฝ้าจับตาดู และหนังสือพิมพ์ไชน่า ซีเคียวริตี้ส์ เจอร์นัล รายงานวานนี้ (16 พ.ย.) ว่า คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีนNational Development and Reform Commission (NDRC) หน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจชั้นนำ ก็กำลังจัดเตรียมมาตรการคุมเข้มใหม่ๆ เช่น กำหนดเพดานควบคุมราคาอาหารและจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่ม

    ด้านนายกรัฐมนตรีเวิน จยาเป่า ของจีน ก็กล่าวว่า หลังจากที่เงินเฟ้อพุ่งถึง 4.4% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี คณะรัฐมนตรีจีนได้กำลังร่างมาตรการเพื่อสกัดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลท้องถิ่นสร้างความมั่นใจว่ามีอุปทานอาหารเพียงพอเพื่อป้องกันความตื่นตระหนก

    หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ราคาอาหารในเดือนต.ค.ถีบตัวสูงขึ้น 10.1% จากปีก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ขณะที่ราคาผักสดทะยานขึ้น 18% จากปีที่ผ่านมา เหยา เจียน โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ อุปสงค์ที่ขยายตัว ต้นทุนด้านการขนส่ง ปัญหาภัยธรรมชาติ รวมไปถึงราคาอาหารประเภทธัญพืชในตลาดโลกที่แพงขึ้น

    รายงานข่าวกล่าวว่า ขณะที่ผู้บริโภคบนแผ่นดินใหญ่ต่างต้องดิ้นรนหาสินค้าอาหารราคาถูก สถานการณ์เงินเฟ้อในจีนขณะนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบ 10 ปี รุนแรงถึงขนาดที่ชาวเน็ตถึงกับตั้งศัพท์แสงต่างๆ ที่ใช้เรียกอาหารหรือของที่กินที่ใช้อยู่ประจำกันซึ่งราคาแพงหูฉี่กันไปอย่างขำขันแบบขมขื่น ไม่ว่าจะเป็น กระเทียมเลือดเย็น แอปเปิลงี่เง่า น้ำตาลเจ้าขุนมูลนาย ฝ้ายละลายกระดูก ฯลฯ ซึ่งแต่ก่อนของเหล่านี้ ผู้บริโภคสามารถหยิบฉวยได้โดยไม่ต้องคิดมากอะไร แต่ตอนนี้ไม่ใช่อีกแล้ว บรรดานักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า อาจจะเลวร้ายกว่านี้อีก

    เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นางจัง ชวน แม่บ้านวัย 77 ปี ชาวปักกิ่ง บอกว่าเธอต้องออกจากบ้านตอน 7.15 น. เพื่อไปรอซื้ออาหารราคาถูกประจำวันที่ คาร์ฟู ซูเปอร์มาเก็ต ตอน 8 โมงเช้า แต่ตอนที่เธอมาถึง พบว่ามีคนเข้าแถวยาวกว่า 50 คน รอซื้อของถูกเช่นเดียวกันหมด

    หลี่ ซินจีน แม่บ้านวัยเกษียณ อีกคน กล่าวว่า ปีที่แล้ว ราคาไข่กิโลกรัมหนึ่งจะตกอยู่ประมาณ 6.6 หยวน แต่ปีนี้ ราคาขึ้นไปถึง 9.6 หยวน และมีอีกหลายอย่างที่ราคาเปลี่ยนแปลงกันเป็นรายวัน

    เจิง จินซิ่ว ผู้จัดการทั่วไปของ Da San Huan ในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า ราคาเนื้อไก่ เนื้อเป็ดตอนนี้ พุ่งขึ้นสูงมาก จากเดิมราคา 8,000 - 9,000 หยวน ต่อตัน เป็น 12,000 - 13,000 ต่อตัน ราคาเนื้อหมูก็พุ่งจาก 15,000 หยวนต่อตัน เป็นไม่ต่ำกว่า 20,000 หยวนต่อตัน ส่วนเนื้อวัวก็เช่นกัน จาก 28,000-29,000 หยวน เป็น 35,000 หยวน ต่อตัน

    เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา NDRC เผยผลตรวจสอบราคาค้าปลีกอาหารกว่า 31 รายการ ตามเมืองต่างๆ พบว่า มี 80 เปอร์เซนต์ ที่ราคาพุ่งสูงขึ้น

    สำนักข่าวซินหวารายงานว่า ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าและบริการจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของจีนในไตรมาส 3 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยร่วงลงสู่ระดับ 104 จุดในไตรมาส 3 จากระดับ 109 จุดในไตรมาสก่อนหน้านี้

    ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคชาวจีน 3,500 คนทั่วประเทศระบุว่า ผู้บริโภค 76% คาดว่าราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในปีหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 70% ในไตรมาสก่อนหน้านี้

    นายเว่ย เฟิงชุน หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของ Citic China Securities แนะนำว่า NDRC ควรจะกำหนดราคาสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์หลักๆ และออกมาตรการอุดหนุนผู้ค้าเพื่อคุมระดับราคาไว้

    เหยา เจียน โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ อุปสงค์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ต้นทุนด้านการขนส่งที่สูงขึ้น ปัญหาภัยธรรมชาติ รวมไปถึงราคาธัญพืชในตลาดโลกที่แพงขึ้น

    โจว ชี่เหริน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมีส่วนร่วมในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนยุค 80 กับ ซู เซี่ยวเนียน อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของเมอร์ลิน ลินช์ กล่าวก่อนหน้านี้นานแล้วว่า มาตรการโหมอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่วังวนเงินเฟ้อระยะยาว

    ชายวัยเกษียณที่ยืนหนาวเหน็บเพื่อรอซื้อของถูกก่อนใคร อย่างนายหลี่ หร่งหลาน กล่าวว่าเขารู้แล้ว ทำไมปัญหาทุนนิยม จึงเกี่ยวข้องกับปากท้องของเขา หลี่ หร่งหลาน เครียดวิตกว่า ราคาสินค้าจะไม่หยุดที่ตรงนี้ เขากล่าวว่า "ได้ยินที่คนเคยพูดว่า ทุกวันนี้คนอเมริกันพิมพ์แบงก์ใช้เอง แต่ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าราคามันเหมือนกระดาษใบนึง"

    เครดิต การลงทุนด้วยระบบ - ThaiGOLD.info - เวปบอร์ด ราคาทองคำ - หน้า 251
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหรัฐฯเมินถกโต๊ะ6ฝ่ายตามคำขอจีน นัดคุยโซล-ญี่ปุ่นจัดการโสมแดง

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ธันวาคม 2553 03:27 น.






    หน่วยคอมมานโดของเกาหลีใต้ ตรวจสอบบ้านเรือนของประชาชนบนเกาะที่ถูกเกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่ถล่ม


    เอเอฟพี - สหรัฐฯเมื่อวันพุธ(1) แถลงเตรียมหารือกับพันธมิตรเกาหลีใต้และญี่ปุ่นท่ามกลางความตึงเครียดที่คุกรุ่นขึ้นเรื่อยๆกับเกาหลีเหนือ โยนข้อเสนอเปิดโต๊ะเจรจาฉุกเฉิน 6 ฝ่ายของจีน ทิ้งอย่างไม่ใยดี

    นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะพบปะกับรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในวันจันทร์หน้า(6) ราว 2 สัปดาห์ หลังจากเปียงยางยิงปืนใหญ่ถล่มพื้นที่พลเรือนเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ คร่าชีวิตชาวเกาหลีใต้ไป 4 ศพ

    "การหารือครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น รวมถึงพันธสัญญาของพวกเราต่อความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลีและเสถียรภาพในภูมิภาค" ถ้อยแถลงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุ

    สหรัฐฯเตรียมจัดหารือในวอชิงตัน แม้ว่ามีเสียงเรียกร้องจากจีน ผู้สนับสนุนทางการเมืองและเศรษฐกิจสำคัญของเปียงยาง ที่ต้องการให้เปิดโต๊ะเจรจา 6 ฝ่ายฉุกเฉินเพื่อปลดชนวนความขัดแย้งระหว่างสองชาติเกาหลี อย่างไรก็ตามรัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ปฏิเสธคืนสู่โต๊ะเจรจาจนกว่าเกาหลีเหนือ จะแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการตามข้อตกลงก่อนหน้านี้

    โต๊ะเจรจา 6 ฝ่าย อันประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ รัสเซียและสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงในปี 2005 และ 2007 สำหรับมอบความช่วยเหลือและรับประกันด้านความมั่นคงแก่เปียงยาง เพื่อแลกกับการยุติโครงการนิวเคลียร์

    ในสัญญาณแห่งการหนุนหลังโซล กองทัพเรือสหรัฐฯและเกาหลีใต้เมื่อวันพุธ(1) สิ้นสุดการซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ ซึ่งมีเป้าหมายในการแสดงแสนยานุภาพของกองกำลังทั้ง 2 ฝ่ายภายใต้สถานการณ์คุกคามจากศัตรูที่แตกต่างกันไป แม้เกาหลีเหนือ เตือนว่าการซ้อมรบในทะเลเหลืองเป็นเวลา 4 วันครั้งนี้ จะนำพาให้คาบสมุทรเกาหลีเข้าใกล้ภาวะสงครามมากขึ้นทุกที

    ทางฝ่าย นายหยาง เจียฉือ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตคาบสมุทรเกาหลีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่โหมกระพือสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น "ทุกฝ่ายควรอยู่ในความสงบและอดกลั้น พร้อมทั้งร่วมมือกันนำพาสถานการณ์กลับสู่เส้นทางแห่งการสนทนาและเจรจา"
    เครดิต การลงทุนด้วยระบบ - ThaiGOLD.info - เวปบอร์ด ราคาทองคำ - หน้า 268
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มังกรมั่นใจคุมเงินเฟ้ออยู่ สื่อจีนหนุนประยุกต์ใช้ระบบศก. วางแผนจากส่วนกลาง

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2553 14:56 น.






    เกษตรกรจีน กับแปลงกะหล่ำปลี - ขณะนี้ ทางการจีนได้สั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นเข้าไปดูแลอุปทานสินค้าให้มีเสถียรภาพ โดยกระตุ้นการผลิต และลดต้นทุนพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของเงินเฟ้อขณะนี้ (ภาพเอเยนซี)


    เอเยนซี - จีนมั่นใจมาตรการหมัดชุดสกัดเงินเฟ้อ และมีประสบการณ์ดูแลอุปทานสินค้ามากพอ ด้านสื่อจีนหนุนรัฐสามารถปัดฝุ่นมาตรการระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง

    คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) เปิดเผยวันที่ 23 พ.ย. ว่า ขณะนี้จีนมีอุปทานสินค้าอยู่เป็นจำนวนมากพอจะสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ทั้งสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันและสินค้าด้านการเกษตร อาทิ ธัญพืชและไข่ ขณะที่สำรองถั่วเหลืองและน้ำมันสำหรับปรุงอาหารก็มีเพียงพอเช่นกัน

    NDRC ระบุว่า ที่ผ่านมา จีนมีประสบการณ์ในการดูแลให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพ และยังมีสัดส่วนสำรองธัญพืชเพื่อรับประกันอุปทานในตลาดขณะนี้มากกว่า 40% ของการบริโภคทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่ามาตรฐานสากลอยู่ถึง 17-18%

    สื่อรายงานว่าการควบคุมอุปทานสินค้านี้ เป็นหนึ่งในมาตรการสกัดเงินเฟ้อที่รัฐบาลจีนปล่อยรัวออกมาประหนึ่งหมัดชุดมวยหย่งชุน ซึ่งมีอาทิ เพิ่มทุนสำรองธนาคารพาณิชย์ ควบคุมราคาและดูแลอุปทานสินค้าให้มีเสถียรภาพ กระตุ้นการผลิต และลดต้นทุนพืชผลทางการเกษตร ผลิตปุ๋ยเพิ่มขึ้น ปราบปรามการกักตุน ในด้านพลังงานก็รับประกันเรื่องอุปทานถ่านหิน พลังงาน น้ำมัน แก๊ส อีกทั้งตั้งมาตรการป้องกันทุนนอกที่ไหลบ่าเข้ามา ไปจนอาจถึงขั้นขึ้นดอกเบี้ย พร้อมกับจัดทำมาตรการเพื่อความมั่นคงทางสังคม เพิ่มบำนาญพื้นฐาน ประกันระหว่างการว่างงาน และปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

    ด้านโกลบอลไทม์ส สื่อของทางการจีน ได้เขียนในบทบรรณาธิการ เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา โต้สื่อตะวันตก ที่วิจารณ์ว่า มาตรการควบคุมราคาอาหารและสินค้าจำเป็นของคณะกรรมาธิการรัฐ คือการ "ปัดฝุ่นนำระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางกลับมาใช้" โดยอ้างคำพูดของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซีกตะวันตกว่า การออกมาตรการต่างๆ ของจีน เหมือนว่าจะมีนัยยะในทางการเมืองมากกว่าคำนึงถึงผลกระทบทางเงินเฟ้อจริงๆ

    บทบรรณาธิการในโกลบอล ไทม์ส แสดงความคิดเห็นว่า ประมาณ 30 ปีก่อน (ปลาย พ.ศ. 2521) จีนได้ปฏิรูปเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบอบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง มาใช้ใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมที่ให้ความสำคัญกับทุนนิยม พร้อมกับการเปิดประเทศ แต่การปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจแบบตลาดนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเก็บระบอบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางไว้บนหิ้งให้ฝุ่นจับ เพราะเศรษฐกิจแบบขับเคลื่อนภายใต้กลไกตลาดเพียงลำพังอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยภายนอกอื่นๆ ย่อมไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

    โกลบอลไทม์ส กล่าวว่า ทุกวันนี้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันตลอดถึงการนำข้อดีในระบอบเศรษฐกิจแบบเก่า มาปรับใช้อย่างมีเหตุผล ด้วยเป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจแบบการตลาดไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์ เพราะไม่มีพลวัตรที่ดีพอและยังสร้างวังวนปัญหา วิกฤติการเงินในปี 2551 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ซึ่งถึงที่สุดรัฐก็ต้องเข้ามาอุ้ม ดังนั้นในตลาดที่มีคนมากกว่า 1,300 ล้านคนอยู่ รัฐบาลกลางจีนควรพิจารณาจากปัจจัยที่หลากหลายซับซ้อน ในการออกมาตรการบังคับใช้เพื่อแก้ปัญหาตลาด เพราะสถานการณ์เงินเฟ้อนี้ไม่ใช่เป็นปัญหาที่จะอาศัยเพียงทฤษฏีด้านเศรษฐกิจมาแก้เท่านั้น แต่ยังพัวพันปัญหาทางสังคมและการเมือง การบังคับใช้มาตรการเพื่อสร้างผลเชิงบวกให้ครอบคลุมทุกนัยยะจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล

    โกลบอลไทม์ส ทิ้งท้ายว่าตอนที่เปิดประเทศนั้น บรรดาผู้นำในอดีตของจีนก็ไม่ได้ยึดติดตายตัวที่อุดมการณ์หรือทฤษฏีเศรษฐกิจไหน เพียงแต่ขอให้ยึดอยู่กับสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศและประชาชนได้ก็เป็นพอ

    เครดิต การลงทุนด้วยระบบ - ThaiGOLD.info - เวปบอร์ด ราคาทองคำ - หน้า 263
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ส่งซิกขึ้นดอกเบี้ย ธปท.อ้างบาทอ่อนค่าถึงสิ้นปี ลุ้นประชุม กนง. 1 ธ.ค.นี้

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2553 21:16 น.





    แบงก์ชาติระบุปัญหาไอร์แลนด์ไม่สะเทือนนโยบายและกระทบเศรษฐกิจไทยน้อย ไม่สามารถกดดันค่าเงินเอเชียได้ ชี้ค่าบาทแนวโน้มอ่อนค่าจนถึงสิ้นปีนี้ แย้มประชุม กนง. 1 ธ.ค.ดอกเบี้ยอาจเป็นขาขึ้น เหตุปัจจัยภายนอกเริ่มนิ่ง ส่วนปีหน้าเงินบาทจะแข็งค่าน้อยลง เหตุยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่ำ

    นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินว่าในปี 54 ไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงจากปีนี้ที่เกินดุลบัญชีสะพัดค่อนข้างสูง ขณะที่เงินทุนไหลกลับเข้ามาช่วงต้นปีหน้าอาจจะไม่รุนแรงมากนัก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าน้อยลงจากช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าค่อนข้างมาก

    ปัญหาหนี้ไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก รวมถึงนโยบายด้านอื่นๆ ด้วย ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่ธปท.ประเมินไว้ที่ระดับ 7.3-8.0% โดยผลกระทบทางตรงผ่านการส่งออกไทยไม่ได้มีผลมาก ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรปกว่า 10% เป็นอันดับ 2 น้อยกว่ากลุ่มประเทศอาเซียนที่เป็นอันดับต้น ส่วนผลกระทบทางอ้อมในกรณีที่ปัญหาลุกลามสู่ประเทศอื่นๆ อาทิ สหรัฐ ญี่ปุ่น รวมถึงเศรษฐกิจของเอเชีย แต่เชื่อว่าปัญหานี้คาดว่าจะมีผลเฉพาะความเชื่อมั่นกลุ่มประเทศยุโรปและสุดท้ายจะสามารถควบคุมได้

    การเคลื่อนย้ายเงินทุนค่อนข้างนิ่ง เนื่องจากนักลงทุนมีการถอนเงินทุนจากกลุ่มประเทศที่ไม่แข็งแรงไปสู่กลุ่มประเทศที่มีความแข็งแรง อาทิ ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศล และอีกส่วนกลับไปสู่การลงทุนในสหรัฐ สะท้อนให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับทุกสกุลทั่วโลก นอกจากนี้ยังผลต่อค่าเงินแค่ช่วงสั้นๆ ทำให้แรงกดดันต่อค่าเงินในภูมิภาคมีน้อย ซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา และค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องได้จนถึงปลายปีนี้

    ในส่วนของธปท.ไม่ได้นำเงินทุนสำรองทางการระหว่างประเทศไปลงทุนในประเทศไอร์แลนด์ เพราะมีกฎเกณฑ์บริหารความเสี่ยงที่เคร่งครัดอยู่แล้ว หากต้องเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินไทยก็เชื่อว่าไม่มาก เพราะปัญหายุโรปทยอยเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคเอกชนต่างทยอยลดสัดส่วนการลงทุนกัน

    “ปัญหาเศรษฐกิจเอเชียไม่น่าจะเกิดจากปัญหาไอร์แลนด์ แต่น่าจะเกิดจากเหตุการณ์การยิงปะทะกันระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้มากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องในภูมิภาคเดียวกัน จึงมองว่าปัญหาไอร์แลนด์ไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก”นายเมธีกล่าว

    แรงกดดันปัจจัยภายนอกน้อยลง

    สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้มองว่าความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างประเทศน้อยลง จากก่อนหน้านี้ที่หลายฝ่ายห่วงเรื่องมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) รอบ2 ของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงปัญหาหนี้สินในกลุ่มประเทศยุโรป แต่ขณะนี้ปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลายมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม กนง.ยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นและควรกลับเข้าสู่ภาวะปกติจากปัจจุบันระดับ 1.75%ต่อปี ถือว่าเป็นระดับต่ำเป็นพิเศษและมองว่าจากการขยายตัวเศรษฐกิจค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ

    เครดิต การลงทุนด้วยระบบ - ThaiGOLD.info - เวปบอร์ด ราคาทองคำ - หน้า 261
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ เตรียมซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ปลายสัปดาห์นี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>2 ธันวาคม 2553 13:05 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    ญี่ปุ่นและสหรัฐฯจะร่วมซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่บริเวณนอกชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 3-10 ธันวาคม

    เอเอฟพี - ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ จะเปิดซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (3) หลังการซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯและเกาหลีใต้สิ้นสุดลงเพียงไม่กี่วัน เจ้าหน้าที่เผยวันนี้ (2)
    การซ้อมรบที่ใช้ชื่อว่า “ดาบคม” (Keen Sword) ซึ่งถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนที่เกาหลีเหนือจะยิงปืนใหญ่ถล่มเกาะยอนพยองเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (3) จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม โฆษกกระทรวงกลาโหมยืนยัน

    เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ จะเชิญเจ้าหน้าที่ทหารเกาหลีใต้มาร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบครั้งนี้ด้วย สื่อญี่ปุ่นรายงาน

    “นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการแสดงความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวง ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ โยมิอุริ ชิมบุน

    ญี่ปุ่นจะส่งทหาร 34,000 นาย, เรือรบ 40 ลำ และ เครื่องบิน 250 ลำ เพื่อซ้อมรบทางทะเลร่วมกับทหาร10,000 นาย, เรือรบ 20 ลำ และ เครื่องบิน 150 ลำของสหรัฐฯ เจ้าหน้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม ระบุ

    การซ้อมรบครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 2007 จะเกิดขึ้นนอกชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น และจะยิ่งใหญ่กว่าที่สหรัฐฯ ซ้อมรบกับเกาหลีใต้สัปดาห์นี้ เพื่อแสดงแสนยานุภาพข่มขู่เกาหลีเหนือที่ทำให้ทั่วโลกตกตะลึงด้วยการโจมตีเกาะยอนพยอง

    ญี่ปุ่นเฝ้าจับตาสถานการณ์มาโดยตลอดนับตั้งแต่เกิดการโจมตี โดยนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง สั่งให้รัฐมนตรีทุกคนประจำอยู่ในกรุงโตเกียวระหว่างที่สหรัฐฯ ซ้อมรบกับเกาหลีใต้ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

    “การซ้อมรบระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯมีขึ้นเป็นประจำมานานหลายปีแล้ว” แถลงการณ์จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ เผย โดยระบุว่า การซ้อมรบเป็นไปเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

    หลังการโจมตีเกาะยอนพยองซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน จีนเสนอให้ 6 ประเทศที่มีส่วนผลักดันให้เกาหลีเหนือยุติการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ร่วมประชุมเป็นการด่วน แต่สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ กลับเลือกที่จะจัดประชุมกันเองที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ในวันที่ 6 ธันวาคมนี้ ซึ่งนับเป็นการหักหน้าจีนอย่างชัดเจน

    Around the World - Manager Online -
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามค่าเงิน
    โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 14 ตุลาคม 2553 14:51 น.
    ในโลกนี้ ทุกประเทศต่างก็ต้องการให้ค่าเงินของตนอ่อน เพราะทุกวันนี้ การค้าระหว่างประเทศ การส่งออกคือ เครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ปละประเทศ และของโลกให้เดินไปข้างหน้า ประเทศไหนส่งออกได้มาก ก็จะมีรายได้เข้าประเทศสูง มีการลงทุน จ้างงานในประเทศ สร้างการบริโภคภายในให้เกิดขึ้น

    จะส่งออกได้มากหรือน้อย ปัจจัยที่ชี้ขาดตัวหนึ่งคือราคา ราคาถูกก็จะมีโอกาสขายได้มากกว่า ปัจจัยกำหนดราคา นอกจากวัตถุดิบ ค่าแรง ต้นทุนการเงินแล้วก็คือ ค่าของเงิน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ประเทศไหนมีค่าเงินอ่อนกว่า ก็จะได้เปรียบในการแข่งขัน

    หลายๆประเทศจึงพยายามทำให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนลง เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

    สองสามปีที่ผ่านมา เม็กซิโก โปแลนด์ รัสเซียและ อินโดนีเซีย ต่างดำเนินนโยบายค่าเงินอ่อน โดยธนาคารกลาง เข้าแทรกแซง ใช้สกุลเงินท้องถิ่น ซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าไปเก็บไว้ในทุนสำรอง ปีที่แล้วมีข่าวว่า รัสเซียใช้เงินถึง 210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พยุงค่าเงินรูเบิ้ลให้อยู่ที่ 41 รูเบิล ต่อ1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 1 ยูโรในตระกร้าเงินของตน แต่ทำได้เพียงชั่วคราว แล้วเงินรูเบิ้ลก็ค่อยๆมีค่าเพิ่มขึ้น จนถึง 35 รูเบิ้ล ต่อ ดอลลาร์/ยูโร

    ต้นปีนี้ แบงก์ชาติสวิส เอาเงินฟรังก์สวิส ซื้อเงินยูโรไปเก็บในคลัง เพราะว่า เงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นมามาก และ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน แต่เงินฟรังก์สวิส ยังแข็งไม่หยุด จนมีค่าสูงสุดเป็รประวัติการณ์เมื่อเทียบกับยูโรในเดือนกรกฎาคม ทำให้แบงก์ชาตสวิส ยอมแพ้ ทยอยขายยูโรทิ้ง ซึ่งยิ่งทำให้ฟรังก์สวิส แพงขึ้นไปอีก

    เมื่อกลางเดือนกันยายน แบงก์ชาติญี่ปุ่น เข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หลังจากค่าเงินเยนทำสถิติแข็งที่สุดเมือ่เทียบกับดอลลาร์ในรอบ 15 ปี โดยทุ่มเงินถึง 1 ล้านล้านเยน ในวันเดียว เพื่อซื้อดอลลาร์ สหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลง 3 เปอร์เซ็นต์ ในวันแรกที่เข้าแทรกแซง

    ญี่ปุ่นต้องการใช้ค่าเงินเยนที่อ่อน เป็นอาวูธในการแข่งขันในตลาดโลก ให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคากลาง จะได้ขายได้มากขึ้น และเมื่อ บริษัทญี่ปุ่น ที่ส่งออก ขายสินค้าได้แล้ว นำเงินดอลลารืที่ได้มาแลกกลับเป็นเงินเยน จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

    แต่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินเยนกลับไปแข็งค่าที่สุดในรอบ 15 ปีอีกครั้ง ซึ่งแสดงว่า การแทรกแซง ให้ค่าเงินอ่อนลง ไม่ได้ผล เพราะเมื่อประเทศหนึ่งทำได้ ประเทศอื่นก็จะทำตาม เกิดเป็นสงครามค่าเงินอยู่ในขณะนี้

    โดมินิก สเตราส์ คาน กรรมการผู้จัดการอเอ็มเอฟ เตือนประเทศต่างๆว่า อย่ามัวแต่ทำสงครามค่าเงิน หรือพยายามควบคุมค่าเงินสกุลของตนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ แต่ควรจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาค่าเงินเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว จากภาวะถดถอยหยุดชะงัก

    เช่นเดียวกับ จอร์จ โซโรส ที่เตือน ว่า สงครามค่าเงินทำให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะพังทลาย หากประเทศใหญ่ๆ แข่งกันลดค่าเงิน

    สหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องพึ่งการส่งออก มาช่วยฟื้นเศรษฐกิจภายใน พยายามกดดันจีนอย่างหนักให้ลดค่าเงินหยวนลง แต่จีนไม่สนใจ

    การที่เงินสกุลต่างๆ รวมทั้งเงินบาทของไทย มีค่าแข็งขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่จริง เป็นเพราะว่า เงินดอลลาร์ สหรัฐฯนั่นแหละ ที่ค่าอ่อนลงเอง ซึ่งเป็นความจงใจของสหรัฐฯ ที่ต้องการใช้กลยุทธ์ค่าเงินอ่อน เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า และการขาดดุลงบประมาณของตัวเอง

    ผู้ว่า การแบงก์ชาติของไต้หวันบอกว่า การที่ค่าเงินของประเทศต่างๆแข็งขึ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ พิมพ์แบงก์ออกมามากเกินไป ทำให้มีเงินทุนระยะสั้นจำนวนมาก ไหลเข้ามาในไต้หวัน และประเทศอื่นๆในเอเชีย สร้างแรงกดดันให้ค่าเงินของเอเชียแข็งขึ้น

    โจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ชี้ว่า ปัญหาเรื่องค่าเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ มีต้นเหตุมาจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เป็นผู้สร้างสภาพคล่องในตลาดการเงินขึ้นมา ทั้งการเพิ่มปริมาณเงิน และการกดดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    จึงอย่าเที่ยวไปโทษคนอื่นเขาเลย เพราะตัวเองนั่นแหละ คือต้นเหตุแห่งปัญหาค่าเงินของโลกในขณะนี้
    Weekly - Manager Online - ʧ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงคราม (ค่าเงิน) โลก

    12 ตุลาคม 2553 - 00:00
    อย่างที่ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ท่านว่าเอาไว้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั่นแหละว่า...ปัญหาค่าเงินที่ทำให้ เงินบาทของไทยแข็งโด่เด่ระดับโด่ไม่รู้ล้มในช่วงระยะนี้ เอาไป-เอามา มันไม่ได้เป็นปัญหาแต่เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเป็นแค่ปัญหาระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาคอีกต่อไปแล้ว แต่มันกลายเป็นปัญหาระดับโลก หรืออาจจะไปไกลถึงขั้นกลายเป็น สงครามค่าเงินโลก ชนิดต้องไล่บี้ ไล่ฟัดกันอุตลุด ต่อเนื่องไปเป็นปีๆ นับจากนี้...
    -------------------------------------------
    โดย เฉพาะระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออก หรือโลกพัฒนาแล้วกับโลกกำลังพัฒนาทั้งหลาย ที่เลี่ยงไม่พ้นจะต้องเข้าร่วมมหกรรมสงครามคราวนี้ โดยยังมิอาจสรุปได้ว่า จะต้องมีการบาดเจ็บ ล้มตาย ฉิบหาย วายวอดกันไปอีกขนาดไหน หรืออาจฉิบหายกันในระดับ นำมาซึ่งความล่มสลายต่อระบบเศรษฐกิจของโลกทั้งโลก ตามที่พ่อมดการเงินอย่างนาย จอร์จ โซรอส ได้พยากรณ์เอาไว้เมื่อวันสองวันนี้ก็ไม่แน่??? ยิ่งเมื่อมองถึงแนวโน้มของการไม่ยอมลดราวาศอก ระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ที่ยังคงเถียงกันไม่เสร็จว่า เงินสกุลเหรินหมินปี้ หรือเงินหยวนของจีน ควรจะแข็งค่าไปถึงระดับไหน ถึงขั้นที่ต่างฝ่ายต่างตระเตรียมมาตรการต่อต้านทางการค้าออกมาเล่นงานกันและ กัน โอกาสที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะจบลงไปในแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ภายในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ หรือในระหว่างการประชุมจี 20 ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ตามที่ใครต่อใครตั้งความหวังเอาไว้นั้น...ยังไงๆ ก็คงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วแน่ๆ...
    ----------------------------------------------
    สรุป รวมความเพื่อพอให้เห็นที่มา-ที่ไป...ก็คงประมาณว่า นับตั้งแต่เศรษฐกิจในโลกตะวันตกมันค่อยๆ ตกสะเก็ดลงมาเรื่อยๆ จะไล่มาตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ไปยันถึงวิกฤติซูฟลากี้ หรือจะไล่ย้อนอดีตไปถึงข้อตกลง The Plaza Accord ที่มีเนื้อหาต้องการให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง เพื่อช่วยเยียวยาเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างที่ท่านเลขาฯ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ไล่เรียงเอาไว้ในเว็บไซต์ส่วนตัวของท่านย้อนกลับไปเมื่อ 25 ปีที่แล้วก็แล้วแต่ แต่โดยสรุปเอาเป็นว่า ท่ามกลางความพยายามปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าการปั๊มเงินดอลลาร์ ทุ่มเทอัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจนับไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้นโยบายทางการค้า การลงทุน กดดันให้ค่าเงินของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ อย่างจีน ญี่ปุ่น ให้แข็งค่ายิ่งขึ้น เพื่อลดการขาดดุลการค้าของตัวเอง แต่ไปๆ-มาๆ นอกจากมันจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจในอเมริกา ยุโรป เกิดอาการเชิดหัว ฟื้นตัว อย่างที่คาดๆ กันเอาไว้ บรรดาเงินทุนที่ไหลไปไหลมาอยู่ในตลาด และหาที่ลง ที่ทำกำไรกันไม่เจอ มันเลยไหลบ่ากลับมาสู่โลกตะวันออก โลกที่กำลังพัฒนา หรือไหลมาสู่ภูมิภาคเอเชียกันแทนที่...
    ------------------------------------------------
    ซึ่ง ก็เป็นธรรมชาติของการลงทุนที่ย่อมไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ ไม่ต่างไปจากการไหลไปไหลมาของน้ำนั่นเอง ในเมื่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศในโลกกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย บราซิล ฯลฯ ต่างก็กำลังอยู่ในช่วงสดใส ซาบซ่า แถมแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทำท่าว่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นซะอีกต่างหาก เมื่อเทียบกับความทรุดโทรม เสื่อมโทรม ของเศรษฐกิจอเมริกาและยุโรปแล้ว น้ำมันย่อมไหลพลั่กๆ เข้ามาในชนิดเขื่อนใดๆ ก็เก็บกักเอาไว้ไม่อยู่ ว่ากันว่า...ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จากจำนวนเม็ดเงินลงทุนโดยตรงของโลกทั้งโลก ซึ่งมีอยู่ประมาณ 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเงินเหล่านี้ มันได้ไหลมาสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 37.2 ล้านล้านบาทเข้าไปแล้ว แม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างไทยแลนด์ แดนสยามของเรา ที่บรรยากาศการลงทุนถูกพวกเสื้อแดงทำลายลงไปซะเกลี้ยง แต่ช่วงเดือนมกรา-สิงหาคมปีนี้ ยังอุตส่าห์มีเม็ดเงินไหลเข้ามาถึง 14,000-15,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 434,000-465,000 ล้านบาท...
    -----------------------------------------------
    ภาย ใต้สภาพการณ์เช่นนี้...มันเลยทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ ในเอเชีย ไปจนถึงบราซิล แข็งโด่เด่กันไปเป็นแถบๆ ไล่มาตั้งแต่ค่าเงิน วอน ของเกาหลีใต้ ตามมาด้วยดอลลาร์ใต้หวัน รูเปียห์ของอินโดนีเซีย ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนา พอถึงเดือนกันยา ค่าเงินเยนก็แข็งโป๊กในรอบ 15 ปี ตามมาด้วยริงกิตของมาเลย์ ดอลลาร์สิงคโปร์ และแม้แต่หยวนของจีน ที่ไม่ยอมหยวนมาโดยตลอด ยังอุตส่าห์แข็งขึ้นมาอีก 1.6 เปอร์เซ็นต์จนได้ ส่วนไทยเราในฐานะเจ้าของสูตรยาดองโด่ไม่รู้ล้ม ก็เลยต้องแข็งขึ้นมา จัดเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ซึ่งถ้าคิดกันตามสูตรการคำนวณของสภาอุตสาหกรรมที่สรุปเอาไว้ว่า การแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มขึ้นมา 1 บาทต่อดอลลาร์ จะส่งผลเสียหายต่อการส่งออกได้ถึง 300,000 ล้านบาท มา ณ ขณะนี้...บาทของเราก็แข็งเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 3 บาทต่อดอลลาร์ จึงไม่น่าแปลกใจ และคงต้องเข้าใจ เห็นใจ ต่อบรรดาผู้ส่งออกทั้งหลายที่ต่างก็น้ำตานองหน้ากันไปเป็นแถบๆ...
    -------------------------------------------------
    แต่ ก็อย่างว่า...ภายใต้สภาพเช่นนี้ หรือภายใต้สภาวะที่เรื่องของค่าเงิน มันได้กลายเป็น สงครามโลก ไปเรียบร้อยแล้ว โอกาสที่จะแก้ไข เยียวยา มันคงไม่ถึงกับปอกกล้วยเข้าปากกันง่ายๆ ถ้ามองความต้องการของโลกตะวันตกที่สะท้อนให้เห็นจากการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ผ่านมา หรือการประชุมไอเอ็มเอฟครั้งล่าสุด วันสองวันที่ผ่านมานี้ แนวคิดที่นำเสนอในรายงานการชี้แนะของอังค์ถัด ตลอดไปจนการแสดงความคิดเห็นของกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างก็มุ่งหวังอยากจะเห็นประเทศต่างๆเลิกแทรกแซงค่าเงิน หรือ เลิกใช้ค่าเงินเป็นอาวุธด้านนโยบาย (เพื่อการส่งออก) ดังคำพูดที่นาย โดมินิก สเตราส์-คาห์น ระบุเอาไว้ แล้วหันมาทำมาหารับประทานจากตลาดภายในประเทศของตัวเองกันเป็นหลัก แต่ในมุมมองของโลกตะวันออกอย่างจีน ที่แทรกแซงค่าเงินหยวนของตัวเองมาโดยตลอด กลับมองว่าแนวคิดที่จะให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หันมาเติบโตด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและยุโรป หรือที่เรียกๆ กันว่า decoupling นั้น เอาเข้าจริงแล้ว...ก็คือ ความพยายามทำลายโอกาส และการป้องกัน กีดกันทางการค้าชนิดหนึ่ง ของบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศจักรวรรดินิยมในยุคอดีตนั่นเอง...
    --------------------------------------------------------
    ไม่ ว่าใครถูก-ใครผิด แต่แน่นอนว่า..โอกาสที่จะทำให้แนวคิดดังกล่าวเกิดการหลอมรวมจนนำไปสู่จุด ลงตัว หรือนำไปสู่ ความสมดุลทางเศรษฐกิจ ระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกนั้น อาจต้องใช้เวลานับเป็นปีๆ เอาเลยทีเดียว หรือจนกว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะฉิบหาย วายวอดไปเป็นข้างๆ ด้วยเหตุนี้ท่ามกลางบรรยากาศสงครามค่าเงินในช่วงระยะนี้ อาจต้องหันไปฟังคำปรารภ รำพึง ของท่านเลขาฯ กอร์ปศักดิ์ ไปพลางๆ โดยเฉพาะที่ท่านได้สรุปไว้น่าคิด น่าสนใจไม่น้อยว่า...ไม่ควรถามว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาค่าเงินแข็งได้อย่างไร รัฐบาลเองก็ไม่ควรตอบว่าแก้แบบไหน เพราะแก้ให้เงินบาทอ่อนไม่ได้ครับ คำตอบที่รัฐบาลต้องบอกประชาชนก็คือ ทุกส่วนของสังคม รวมทั้งรัฐบาล ต้องปรับตัว ใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเพื่อให้สามารถยืนอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันได้อย่างชาญฉลาด โดยรัฐบาลจะต้องช่วยทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สังคมสามารถปรับตัวได้ทัน ฯลฯ" พูดง่ายๆ ก็คือ...เลิกหันมาโทษกันเอง แล้วหันมาร่วมมือ-ร่วมใจ ร่วมหาทางออกด้วยกันน่าจะเหมาะกว่า...
    ---------------------------------------------------------
    ปิด ท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก ฟรังซิส เบคอน...คุณสมบัติของความมั่งคั่งอยู่ที่ความพอเหมาะพอควร คุณสมบัติของความทุกข์ยากอยู่ที่ความเข้มแข็ง...
    ---------------------------------------------------------
    สงคราม (ค่าเงิน) โลก | ไทยโพสต์
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยสงครามค่าเงิน
    โดย ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
    [​IMG]

    สงครามค่าเงินได้เกิดขึ้นแล้วแม้นจะไม่มีใครประกาศก็ตาม สงครามนี้จะดำเนิน อยู่อย่างน้อยปีหรือสองปีเป็นอย่างน้อย และ มันน่าจะจบลงด้วยการมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลก และ การจัดระเบียบระบบการเงินโลกครั้งใหญ่ เหมือนเช่นในประวัติศาสตร์ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้
    มีการส่งสัญญาณมาแล้ว จากที่ประชุม จี20 มีการถกเถียงกันอย่างหนักเรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลก และ มีแนวโน้มที่โลกกำลังมุ่งหาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ โรเบิร์ต โซลลิค ปะธานธนาคารโลกเสนอให้นำ “ทองคำ” มาร่วมกำหนดมาตรฐาน เขายังขยายความต่อว่า อาจจะใช้ระบบที่เรียกว่า ระบบ Bretton Woods III ที่ดอลลาร์ ยูโร เยน ปอนด์ และ หยวนจะมีบทบาทสำคัญร่วมกันในระบบการเงินโลก
    ขอเสนอเพื่อให้มีการ กำหนดระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวในกรอบหรือกึ่งคงที่เสียงดังมากขึ้น เพราะสิ่งนี้น่าจะมีผลทางบวกต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมากกว่า ระบบที่ใช้กันอยู่เวลานี้
    การผ่อนคลายปริมาณ เงินด้วยการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์เข้ามาในระบบอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ ย่อมมีผลทำให้ดอลลาร์อ่อนลงอย่างมาก สหรัฐอเมริกาต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของตัวเอง กระตุ้นเศรษฐกิจภายใน แก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง
    การใช้ Quantitative Easing (QE) จึงเท่ากับการประกาศสงครามค่าเงินเพื่อตอบโต้จีนและประเทศเอเชียบางประเทศ ที่กดค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริงเพื่อหนุนการส่งออก การทำ QE มีผลกระทบข้างเคียงต่อประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัย สำคัญ การที่เงินสกุลท้องถิ่นแข็งค่าอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลเสียต่อความสามารถในการ แข่งขันและเป็นการยากที่จะปรับตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น
    หลายประเทศที่ได้รับ ผลกระทบจึงหยิบเอามาตรการภาษีและการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น ขึ้นมาสกัดการแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่นอันเป็นผลจากการไหลบ่าของเงิน ดอลลาร์ที่วิ่งหาผลตอบแทนที่สูงกว่า
    ภาวะดังกล่าวนี้ จะนำมาสู่นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งนโยบายการค้า และ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบเสรีมากขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์ดอลลาร์อ่อน เงินสกุลท้องถิ่นแข็ง ต่างเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลของตนเองทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบโต้ต่อ สภาพดังกล่าว
    ความตึงเครียดในระบบ การเงินโลกย่อมเกิดขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง กลไกระบบการเงินโลกจะช่วยปรับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกได้ระดับหนึ่ง โดยที่การผ่าตัดใหญ่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนจำต้องเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง วิกฤติฟองสบู่โลก
    เมื่อพิจารณา สินทรัพย์ที่ธนาคารกลางสหรัฐถือครองอยู่ และ ใช้หนุนหลังการพิมพ์เงินดอลลาร์ เช่น Mortgage-backed Securities อันเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง
    เราจะยิ่งสูญเสียความ มั่นใจต่อดอลลาร์มากขึ้น ดอลลาร์จะยิ่งถูกเทขาย หนัก และดิ่งลงอีก เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะทองคำ
    ฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ทางการเงิน และ อัตราเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไม่ไกลนัก
    ความปั่นป่วนเหล่านี้ ควรหยุดลงก่อนที่จะเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ระบบการเงินโลกรอบใหม่ หากประเทศต่างๆ หันมาช่วยกันฟื้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่หรือกึ่งคงที่ขึ้นมาใหม่ และ ดอลลาร์จะไม่เป็นเพียงเงินสกุลหลักเพียงสกุลเดียวอีกต่อไป
    ดอลลาร์สหรัฐขึ้นมา เป็นเงินสกุลหลักของโลกมากว่า 60 ปีแล้ว และ อาจจะถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงตามหลักอนิจจังลักษณะของระบบเศรษฐกิจ
    ย้อนกลับไปในอดีตเราก็จะเห็น
    เดิมทีเดียวระบบการ เงินโลกอยู่บนฐานของระบบมาตรฐานทองคำ พ.ศ. 2413-2457 ระบบนี้ดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพและเป็นยุคทองของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต่อมาในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2457-2488 เป็นช่วงที่ระบบการเงินระหว่างประเทศมีความสับสนวุ่นวายมากที่สุดช่วงหนึ่ง เกิดความตึงเครียดในระบบการเงินและระบบการค้าโลกขึ้นมา เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2457 และ ปี พ.ศ. 2473-2476 ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยโลก ตามการเริ่มปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองในหลายปีต่อมา ระบบมาตรฐานทองคำจึงล่มสลายลง
    ระบบการเงินระหว่าง ประเทศหลังสงครามโลกครั้งสองเกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ จากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อดูแลระบบการเงิน ของโลก ข้อตกลงเพื่อจัดระเบียบการเงินโลกใหม่นี้เกิดขึ้นที่เมือง Bretton Woods, New Hampshire สหรัฐอเมริกา จึงเรียกข้อตกลงและระบบนี้ว่า Bretton Woods ต่อมาระบบนี้ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1971 หรือ พ.ศ. 2514 การที่ระบบนี้ล่มสลายลงเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างต่อเนื่องและมหาศาลของสหรัฐอเมริกา ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับทองคำจึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามที่ประกาศเอาไว้ ดอลลาร์ถูกเก็งกำไรและลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการประกาศใช้ระบบลอยตัวหรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวอย่าง ยืดหยุ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 นับจากนั้นประเทศใหญ่ที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาบางส่วนก็หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับระบบการเงินโลกซึ่งเป็นระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำถูกยกเลิกไป
    มาวันนี้ก็คงถึงเวลาปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งแล้ว ครับ
    วันที่ 17/11/2553
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามค่าเงิน

    วันพุธ ที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 0:00 น
    ช่วงนี้มีการพูดถึงเรื่อง “สงครามค่าเงิน” กันบ่อยครั้ง วันนี้จึงอยากที่จะมาเล่าให้ฟังว่า สงครามค่าเงินคืออะไร

    ในอดีตระหว่าง Great Depression (1929-1941) เคยเกิดสงครามค่าเงินและการค้าครั้งสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก โดยหลังวิกฤติเริ่มขึ้นและตลาดหุ้นสหรัฐตกลง มาอย่างมากในปี ค.ศ. 1929 ปัญหาได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีกระดับเมื่อรัฐสภาสหรัฐทนเสียงเรียกร้องจาก เกษตรกรที่ขอให้ออกมาช่วยปกป้องพวกเขาจากสินค้าเกษตรราคาถูกของโลก รวมถึงเสียงเรียกร้องจากสินค้าอุตสาหกรรมที่ขอให้ช่วยดูแลไม่ได้ จึงออกกฎหมายในปี ค.ศ. 1930 เพิ่มระดับกำแพงภาษีนำเข้าจาก 25.9% เป็น 50% และเป็นจุดเริ่มต้นของการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศในเศรษฐกิจโลก

    สิ่งที่ตามมาก็คือ “สงครามค่าเงิน” ผลพวงจากวิกฤติและมาตรการทางภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลให้หลายประเทศ ที่เคยส่งออกได้และเกินดุลการค้า เริ่มขาดดุล แต่เนื่องจากประเทศเหล่านี้ผูกค่าเงินติดไว้กับทองคำ (Gold Standard) เมื่อทองคำที่สะสมไว้ในทุนสำรองร่อยหรอลง ท้ายสุดเพื่อดูแลฐานะด้านต่างประเทศ จึงไม่มีทางเลือก ต้องตัดสินใจลดค่าเงินหรือออกจากการผูกค่าเงินไว้กับทองคำ ประเทศแรก คือ อังกฤษ ในปี ค.ศ. 1931 ตามด้วยเดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน ญี่ปุ่น

    จากนั้น ประเทศที่ยังคงผูกติดค่า เงินไว้เริ่มตอบโต้โดยเพิ่มกำแพงภาษีนำเข้า เช่นฝรั่งเศสเพิ่มภาษีนำเข้า 15% แคนาดา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ แต่ก็ไม่พอ ท้ายสุดก็ต้องออกจากการผูกค่าเงินไว้กับทองคำ และลดค่าเงินลง เช่น สหรัฐในปี ค.ศ. 1933 ท้ายสุด สงครามค่าเงินครั้งนั้นจบลงด้วยการประกาศออกจากมาตรฐานทองคำของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1936 และสัญญาระหว่างสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศสที่สัญญาว่าจะไม่แข่งกันลดค่าเงิน และพยายามรักษาไว้ในระดับที่ตกลงกัน

    จากปัญหาดังกล่าว การค้าโลกโดยรวมลดลง 66% ยอดการส่งออกของสหรัฐลดลงจาก 5.2 พันล้านดอลลาร์ ในปี ค.ศ. 1929 เหลือ 1.7 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 1933 ซ้ำเติมให้วิกฤติที่เกิดขึ้นย่ำแย่ลงมาก

    จากบทเรียนรอบที่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่ามีความพยายามไม่ออกมาตรการกีดกันทางการค้าและไม่ลดค่า เงินแข่งกัน แม้ล่าสุดสหรัฐได้ออกมากดดันจีน และเริ่มมีสัญญาณของปัญหาทางการค้าและค่าเงินกับจีนแต่ปัญหารอบนี้ยังห่าง ไกลและแตกต่างจากสงครามการค้าและค่าเงินในช่วง Great Depression

    ปัญหาจริง ๆ อยู่ที่ (1) ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงของสหรัฐที่ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ ที่อ่อนค่าลงและทำให้ค่าเงินอื่นแข็งขึ้นเทียบกับดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ หรือประเทศตลาดเกิดใหม่ในลาตินอเมริกาและเอเชีย เช่น บราซิล เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย

    (2) สภาพคล่องจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งจากสหรัฐ ยุโรป ที่ถูกปั๊มออกมาเพื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของตน แต่เนื่องจากผู้บริโภคและบริษัทของสหรัฐและยุโรปไม่ได้ต้องการสภาพคล่อง เหล่านั้น เงินที่ถูกปั๊มออกมาส่วนหนึ่งจึงหลั่งไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนา แต่ที่น่ากังวลใจก็คือ ระบบการเงินและตลาดทุนของประเทศกำลังพัฒนามีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเม็ด เงินที่มาจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่กำลังหลั่งไหลกันมา

    ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายเชิงนโยบายของประเทศต่าง ๆ กับความท้าทายรอบนี้ คือ หาหนทางดูแลตนเองให้สามารถอยู่ได้กับยุคค่าเงินแข็งและยุคเงินทุนจำนวนมาก ที่กำลังไหลเข้ามาท่วมระบบ โดยบรรเทาผลกระทบต่อค่าเงินให้อยู่ในระดับที่จำกัด และไม่ให้เงินที่ไหลเข้ามาก่อให้เกิดปัญหาความเปราะบางด้านการเงินตามมา ซึ่งตรงนี้จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าภาคการเงินของเราแข็งแกร่ง และมีวินัยในการจัดสรรเงินที่ไหลเข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ก็หวังว่าประเทศต่าง ๆ จะสามารถฟันฝ่าความท้าทายเรื่องนี้ไปได้ และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นดำเนินอยู่จะไม่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติรอบใหม่ใน ระบบเศรษฐกิจโลกในช่วงต่อไป ขอเอาใจช่วยครับ

    หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะได้ที่ “Blog ดร.กอบ” ที่ BLOG Dr. KOB ครับ.
    Daily News Online > หน้าเศรษฐกิจ > ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ > สงครามค่าเงิน
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เกิดอะไรขึ้นที่ยุโรป

    วันพุธ ที่ 01 ธันวาคม 2553 เวลา 0:00 น
    ช่วงนี้ ความสนใจของทุกคนหันไปที่ยุโรป โดยหลายคนตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นที่ยุโรป ปัญหาอยู่ตรงไหน และอยากรู้ว่าวิกฤติในยุโรปจะลุกลามกว้างขวางหรือไม่”

    ตรงนี้ การติดตามสถานการณ์วิกฤติในยุโรปออกจะยากเล็กน้อย เนื่องจากในกลุ่มยุโรปมีสมาชิกมากกว่า 20 ประเทศ ทำให้จำเป็นต้องลงไปดูข้อมูลทีละประเทศว่า ต้นตอปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ปัจจัยอะไร ที่นำมาซึ่งวิกฤติ ซึ่งท้ายที่สุดต้องไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และจากสหภาพยุโรป ดังที่เกิดขึ้นช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

    เกิดอะไรขึ้นที่ยุโรป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า วิกฤติที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นข้ามคืน แต่เป็นผลมา จากการสะสมตัวของปัญหาในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา นับแต่มีการใช้เงินยูโรร่วมกัน โดยที่ยากก็คือปัญหามีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้ความรุนแรง ความรวดเร็วของวิกฤติ และแนวทางการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันไป สำหรับแต่ละประเทศ

    (1) กรีซ-ปัญหาอยู่ที่ภาครัฐ ที่มือเติบ ขาดวินัย จับจ่ายใช้สอยเกินตัว ผ่านการให้สวัสดิการ และจากโครงการประชา นิยมต่าง ๆ ที่ทำให้กรีซมีหนี้ภาครัฐในระดับที่สูงมาก ประมาณ 125% ของ จีดีพี

    (2) ไอร์แลนด์-ปัญหาอยู่ที่ภาคแบงก์ จากเศรษฐกิจที่เคยเฟื่องฟู ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นฟองสบู่ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ท้ายสุดแตกลงและกลายเป็นวิกฤติ กรณีของสเปนก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน

    (3) โปรตุเกส-ปัญหาอยู่ที่หนี้ต่างประเทศ เพราะโปรตุเกสไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลก ส่งออกไม่ได้ ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูง ต้องกู้ยืมหนี้จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 200% ของ จีดีพี ทำให้โปรตุเกสพึ่งพาและอ่อนไหวกับการถอนทุนคืนของต่างประเทศ

    ถ้าจะว่าไปแล้ว กล่าวได้ว่า ประเทศเหล่านี้ป่วยกับปัญหาข้างต้นนี้อยู่ก่อนแล้ว วิกฤติการเงินโลกที่เริ่มในสหรัฐ แล้วลุกลามมายังยุโรปช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ปัญหาที่สะสมเอาไว้ก่อนหน้า สุกงอมและเปิดเผยตัวออกมา (ประเภทน้ำลดตอผุด) อีกทั้งยังซ้ำเติมโดยสร้างปัญหาใหม่ให้ จากการที่รัฐบาลต้องเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูแลผู้ ว่างงานจากระบบสวัสดิการสังคมที่ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ว่างงานอย่างใจดี ยิ่ง รวมถึงการต้องเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน และช่วยล้างหนี้เสียในระบบ (เพราะปล่อยให้ล้มลงไปไม่ได้) ทำให้รัฐบาลมีภาระด้านการคลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และการแก้ไขปัญหามีความยุ่งยากมากขึ้นอีกพอสมควร

    ซ้ำร้าย การที่ประเทศในยุโรปใช้เงิน ยูโรร่วมกันยังมีส่วนช่วย (1) ทำให้เกิดวิกฤติ และ (2) ทำให้การแก้ไขปัญหามีความยากลำบากมากขึ้น โดยการเป็นสมาชิกของเงิน ยูโรทำให้ประเทศ เช่น โปรตุเกสและกรีซ ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น และสามารถกู้ยืมเงินจากนักลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเคยเป็น และสามารถกู้ยืมได้อย่างไม่จำกัด ซึ่ง อีซี่มันนี่ เงินที่ได้มาง่าย ๆ ทำให้ความเปราะบางทางการเงินในประเทศเหล่านี้สามารถสะสมตัวขึ้นเป็นเชื้อ เพลิงของวิกฤติได้ และเมื่อเกิดวิกฤติแล้ว การออกจากวิกฤติก็ยากเช่นกัน เพราะว่าประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถลดค่าเงิน ลดดอกเบี้ย หรือพิมพ์แบงก์เพิ่มได้ (เพราะใช้เงินยูโรร่วมกับประเทศอื่น) ทำให้การดูแลปัญหาเป็นไปอย่างยากยิ่ง เศรษฐกิจต้องปรับตัวอย่างรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่เป็นชนวนของข่าวลือเป็นระยะ ๆ ว่า อาจจะต้องออกจากยูโรในที่สุด

    เรียกได้ว่า ปัญหาของยุโรปรอบนี้ ไม่หมู แก้ยาก และวิกฤติของภาคเอกชนใน ช่วง 2 ปีก่อนหน้า ได้ถ่ายโอนมาเป็นวิกฤติของภาครัฐในปัจจุบัน โดยรัฐบาลได้รับหนี้เสียของเอกชนมาเป็นของตน ซึ่งทั้งหมด นี้ คงจะต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าวิกฤติในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจะสุกงอมและคลี่คลายลงไปในที่สุด และล่าสุด หลังจากกรณีของกรีซและไอร์แลนด์ สายตาทุกคู่กำลังจับตาดูกรณีของโปรตุเกส สเปน เบลเยียม ว่าใครจะล้มลงเป็นรายต่อไป โดยในระหว่างที่รอระบบการเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และตลาดทุนโลก จะผันผวนขึ้นลงไปอีกระยะหนึ่ง ก็ขอเอาใจช่วยเขาครับ

    หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะได้ที่ “Blog ดร.กอบ” ที่ BLOG Dr. KOB ครับ.
    Daily News Online > หน้าเศรษฐกิจ > ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ > เกิดอะไรขึ้นที่ยุโรป
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัญหาสภาพคล่องล้นโลก

    วันพุธ ที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 0:00 น
    ยุคนี้นอกจากน้ำจะท่วมในที่ต่าง ๆ แล้ว ในระบบการเงินโลกก็ยังมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินที่ท่วมล้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นกัน ด้วยต้นทุนที่ถูกเพียง 0-0.1% ในญี่ปุ่น 0-0.25% ในสหรัฐ 0.5% ในอังกฤษ และ 1.0% ในยุโรป และยิ่งมีข่าวว่าสหรัฐกำลังจะอัดฉีดเงินรอบใหม่เข้าสู่ระบบเพื่อช่วยพยุง เศรษฐกิจสหรัฐไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ สภาพคล่องที่เอ่อล้นอยู่แล้ว ก็จะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก สร้างความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงสร้างความยากลำบากให้กับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ทั้งในเอเชียและลาตินอเมริกา

    ทำไมจะลำบาก-ปกติแล้ว เม็ดเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบการเงินโลกในแต่ละปี จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนเกิดวิกฤติเคยสูงถึงประมาณ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2007 โดยส่วนมากเป็นการไหลเวียนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว (ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินและแหล่งสะสมความมั่งคั่งของโลก) ด้วยกันเอง

    จะมีก็เพียงแค่ 1 ใน 10 ของจำนวนดังกล่าว หรือประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์เท่านั้นที่จะไหลมายังกลุ่มประเทศเกิดใหม่

    แต่ล่าสุด สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นจะยังมีปัญหาไปอีกระยะหนึ่ง เงินที่ไหลเวียนอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เริ่มไม่มีที่ไป ไม่มีใครอยากกู้ยืม ผู้บริโภคกำลังหาทางจ่ายคืนหนี้ บริษัทกำลังปรับโครงสร้างองค์กรและลดหนี้เงินจึงต้องหาที่ไปใหม่ ซึ่งเมื่อมองไปแล้วทั้งโลก เป้าหมายที่น่าสนใจที่สุดก็คงจะเป็นกลุ่มประเทศเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชีย ที่เศรษฐกิจไปได้ดี และผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศเหล่านี้เป็นที่น่าสนใจยิ่ง

    ทั้งนี้ เนื่องจากระบบการเงินของประเทศเกิดใหม่นั้นเล็กมาก (บ่อน้ำเราน้อย) ขอเพียงแค่ 5-10% ของเงินที่ไหลเวียนระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว เปลี่ยนทิศหันเหมาทางเรา ก็หมายความว่า จะมีเม็ดเงินถึงอีก 5 แสน-1 ล้านล้านดอลลาร์เพิ่มเข้ามา ทำให้เงินทุนไหลเข้าที่ประเทศเหล่านี้ต้องบริหารจัดการจะเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ถึงเท่าตัว กลายเป็นความท้าทายสำคัญในเชิงนโยบาย โดยเงินพยายามหาช่อง และไหลเข้ามาในทุกรูปแบบ

    @ เข้ามายาว ๆ ในลักษณะการลงทุนโดยตรง ย้ายฐานการผลิตมาเปิดโรงงานใหม่ หรือยกระดับการผลิตที่มีอยู่เดิมแล้วให้ขยายใหญ่ขึ้น หรือมาซื้อควบรวมกิจการ

    @ เข้ามาระยะปานกลาง ในรูปแบบของสินเชื่อ (@oans) ผ่านการกู้ยืมของบริษัทในประเทศ หรือผ่านธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ไปปล่อยเป็นสินเชื่อต่อ

    @ เข้ามาสั้น-ปานกลาง เพื่อลงในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น (ที่กำลังเฟื่องฟู) รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์

    @ เข้ามาสั้นมาก ๆ เพื่อเก็งกำไรในค่าเงิน ซึ่งอาจเข้ามาเพียงข้ามคืน หรือ 2-3 วันเท่านั้น

    ปัญหาคือ ถ้าเงินที่ไหลเข้ามามีจำนวนไม่มาก ประเทศที่ได้รับก็จะสามารถ บริหารจัดการได้ แต่ในภาวะที่น้ำท่วมระบบ การเงินโลก เงินจำนวนมากพยายามจะทะลัก เข้ามาเพื่อแสวงหาผลตอบแทน ทั้งจากเศรษฐกิจที่ดี จากค่าเงินที่แข็ง จากหุ้นที่กำลังเฟื่องฟู จากดอกเบี้ยที่สูงกว่า (เป็นเสมือนช้างโขลงใหญ่ที่กำลังมองหาบ่อน้ำ) ยิ่งต้นทุนของเงินในสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรปต่ำเตี้ยติดดินเช่นปัจจุบัน แรงจูงใจให้เงินไหลเข้ามาก็ยิ่งมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า ต่อให้ประเทศเกิดใหม่พยายามทัดทาน ขัดขวางด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่เข้มงวดแค่ไหน รวมไปถึงมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน แต่จากสภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่มาก เงินไม่มีที่ไป เงินก็ยังจะทะลักเข้ามาอยู่ดี พอเข้ามาถึงจุดแรกก็จะสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง พอเข้ามาได้ ก็จะสร้างฟองสบู่ในที่ต่าง ๆ ตอนแรก ๆ จะดูเหมือนดี แต่พอเข้ามานาน ๆ จะสะสมเป็นความเปราะบางให้กับสถาบันการเงินในระบบ และเป็นชนวนสำหรับวิกฤติรอบใหม่

    ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นความท้าทายในเชิงนโยบายที่ประเทศผู้ได้รับเงิน จะต้องพยายามหาทางบริหารจัดการว่า “จะทำอย่างไรกับช้างโขลงใหญ่ที่กำลังเข้ามายังบ่อน้ำน้อยของเรา” ถ้าดูแลไม่ดี น้ำก็จะท่วมระบบ เงินที่เข้ามาก็จะไหลไปยังโครงการต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม กลายเป็นหนี้เสียในที่สุด

    แต่ถ้าดูแลได้ดี ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา พอทำให้เราสามารถลอยคอผ่านกระแสเงินที่ไหลบ่าเข้ามา ประคองตัวไม่ให้เสียหายมากนักได้ ก็ขอเอาใจช่วยทุกประเทศครับ

    หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะได้ที่ “B@og ดร.กอบ” ที่ BLOG Dr. KOB ครับ.
    Daily News Online > หน้าเศรษฐกิจ > ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ > ปัญหาสภาพคล่องล้นโลก
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    In Focus: สงครามก่อการร้าย — สงครามค่าเงิน ความเสี่ยง 2 รูปแบบที่โลกกำลังเผชิญ

    สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 6 ตุลาคม 2553 16:47:27 น. <style>.expanded { width: 620px; z-index: 9999; }</style>นับตั้งแต่เกิดเหตุวินาศกรรมตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อ 11 กันยายน 2544 โลกก็ต้องตกอยู่ภายใต้ความหวาดผวาของสงครามก่อการร้าย
    โดยหากไม่นับรวมถึงเหตุโจมตีรายวันในอิรัก และ อัฟกานิสถาน ที่กลายเป็นสมรภูมิรบอย่างแท้จริงแล้ว ดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกไปจนถึงฝั่งตะวันออก ก็กลับกลายเป็นสถานที่อันตรายเช่นกัน เมื่อกลุ่มก่อการร้ายที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก วางแผนก่อเหตุโจมตีกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งบางแผนก็ประสบความสำเร็จ ขณะที่บางแผนก็ถูกสกัดกั้นไว้ได้ก่อน
    ในบรรดาแผนลอบโจมตีเหล่านี้ ดูเหมือนว่า ชาวตะวันตกจะถูกจ้องเล่นงานมากที่สุด ดังเช่นเหตุการณ์ที่นครมุมไบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินของประเทศอินเดีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยกลุ่มคนร้าย 10 คนได้ก่อเหตุอุกอาจบุกจับนักท่องเที่ยวในโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวสองแห่งเป็นตัวประกัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 160 ราย และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการโจมตีครั้งนั้น กลุ่มก่อการร้ายได้พุ่งเป้าไปที่ชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอเมริกันและอังกฤษ ซึ่งเป็นพันธมิตรเหนียวแน่นในการนำกองกำลังทหารบุกเข้าทำสงครามกับผู้ก่อการ ร้ายในอิรักและอัฟกานิสถาน
    ขณะที่เมื่อวันคริสต์มาสปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ทั่วโลก ก็ได้เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญขึ้น โดยนาย อูมาร์ ฟารูค อับดุลมุตอลลับ ชายชาวไนจีเรียวัย 23 ปี พยายามที่จะจุดอุปกรณ์ระเบิดบนเที่ยวบินของสายการบินนอร์ธเวสต์ แอร์ไลน์ส ในเครือบริษัทเดลต้า แอร์ ไลน์ ที่บินจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และกำลังจะถึงจุดหมายปลายทางที่ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน เหตุการณ์นี้ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา หัวเสียอย่างมาก และสั่งให้มีการทบทวนขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยที่สนามบินในประเทศใหม่
    จากนั้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตำรวจสหรัฐได้จับกุมตัวนายซาห์ซัด ไฟซัล ชาวอเมริกันเชื้อสายปากีสถาน เนื่องจากมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามก่อ เหตุวางระเบิดที่ย่านไทม์สแควร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจอแจมากที่สุดแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก อย่างไรก็ดี นับเป็นโชคดีของสหรัฐอีกครั้งที่ระเบิดไม่ทำงาน
    แต่ความล้มเหลวดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้เหล่าผู้ร้ายท้อถอยแต่อย่างใด โดยล่าสุดโลกก็ต้องร้อนๆหนาวๆอีกครั้ง เมื่อหน่วยข่าวกรองหลายประเทศในยุโรปสามารถตามแกะรอยแผนก่อการร้ายที่มุ่ง โจมตีหลายเมืองของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยใช้รูปแบบการโจมตีลักษณะเดียวกับเหตุการณ์จับและสังหารตัวประกันที่มุมไบ เมื่อสองปีก่อน
    ข้อมูลอันน่าตื่นตระหนกที่รั่วไหลไปถึงสื่อต่างๆนี้ ได้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ รวมถึงไทย ออกประกาศเตือนให้พลเมืองของตนระมัดระวังตัวในการเดินทางไปยังยุโรป เพราะอันตรายจากการก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
    อัลกออิดะห์ ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายหลายครั้ง รวมถึงแผนการล่าสุด !?
    เชื่อกันว่า เครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์เป็นกองหนุนแผนก่อเหตุโจมตีในยุโรปครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า โอซามา บิน ลาเดน และแกนนำของอัลกออิดะห์ ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน อาจเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลัง และยืมมือกลุ่มติดอาวุธกลุ่มอื่นที่ไว้ใจได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการ เนื่องจากอัลกออิดะห์มีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มในเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
    โดยในเทปเสียงที่มีการเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บินลาเดนได้ออกมาอ้างว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามระเบิดเครื่องบินที่มุ่ง หน้าสู่สหรัฐในวันคริสต์มาส และยังประกาศกร้าวด้วยว่า จะดำเนินการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เคยทำงานใหญ่สำเร็จมาแล้วในเหตุวินาศกรรม 9/11
    ทั่วโลกตื่นตัว
    เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ยกระดับการเฝ้าระวังภัยในประเทศ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงผู้ไม่ประสงค์ออกนามหลายรายยืนยันว่า กลุ่มก่อการร้ายกำลังวางแผนโจมตีสถานที่สาธารณะหลายแห่ง
    จากนั้นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์จนถึงต้นสัปดาห์นี้ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็ได้ออกประกาศเตือนพลเมืองของตนให้ระมัดระวังขณะที่อาศัยหรือเดินทางท่อง เที่ยวอยู่ในยุโรป ด้านสวีเดนก็ออกคำเตือนคล้ายๆกัน อีกทั้งยังได้เพิ่มระดับการเตือนภัยในประเทศ แต่ถึงกระนั้น ระดับการเตือนภัยของสวีเดนยังถือเป็นระดับต่ำสุดในบรรดาประเทศยุโรปอื่นๆ ขณะที่เจ้าหน้าที่ในเยอรมนี และ อิตาลี กล่าวว่า ระดับการเฝ้าระวังของสองประเทศยังคงอยู่ที่ระดับสูง
    อย่างไรก็ดี การที่หลายประเทศออกมาเตือนประชาชนครั้งนี้ ยังไม่ใช่ขั้นร้ายแรงที่สุด โดยคำเตือนของรัฐบาลสหรัฐไม่ได้เจาะจงประเทศ และไม่ใช่การห้ามเดินทางมายังยุโรป ส่วนในอังกฤษนั้น ระดับเตือนภัยอยู่ที่ระดับ "severe" ซึ่งหมายความว่ามีแนวโน้มสูงที่จะเกิดเหตุโจมตี แต่ยังต่ำกว่าระดับ "critical" ซึ่งหมายความว่า เหตุโจมตีกำลังใกล้ที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ระดับเตือนภัยของฝรั่งเศสนั้นอยู่ที่ "สีแดง" ซึ่งสูงสุดเป็นระดับที่สอง
    เจ้าหน้าที่เผยว่า แม้จะมีการตีข่าวดังกล่าวไปทั่วโลกแล้ว แต่เท่าที่ทราบจนถึงขณะนี้ พวกผู้ก่อการก็ยังไม่ได้ล้มเลิกแผนการร้ายแต่อย่างใด แต่คาดว่าการโจมตีจะยังไม่เกิดขึ้นในทันที
    หวั่นเกิดสงครามค่าเงิน
    ในขณะที่ฝ่ายความมั่นคงของหลายประเทศต้องเฝ้าจับตาสงครามก่อการร้ายครั้ง ใหม่อย่างไม่ให้คลาดสายตานั้น ฝ่ายการเงินก็กำลังปวดเศียรเวียนเกล้ากับสงครามค่าเงินที่กำลังถูกจุดชนวน ขึ้น
    โดยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (2 ต.ค.) โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เรียกร้องประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่เพิ่มความพยายามในการป้องกันการเกิด สงครามค่าเงินทั่วโลก ในระหว่างการประชุมเศรษฐกิจที่ประเทศยูเครน
    นายสเตราส์-คาห์นกล่าวว่า ที่ผ่านมา ทั่วโลกสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ที่ใหญ่กว่านี้มาได้ เนื่องจากความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นการคลังและนโยบายการเงิน แต่ปัจจุบัน ความเต็มใจที่จะร่วมมือกันนั้นได้ลดลง และเริ่มเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ทั่วโลกกำลังเริ่มต้นทำสงครามค่าเงิน
    และล่าสุด เขายังได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งว่า ขณะนี้แนวคิดเรื่องการใช้ค่าเงินเป็นอาวุธด้านนโยบายนั้น ได้เริ่มแพร่กระจายไปอย่างชัดเจน และหากมีการนำแนวคิดดังกล่าวไปดำเนินการ ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก พร้อมกับย้ำว่า แนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบและส่งผลเสียในระยะยาว
    ด้าน โรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลกกล่าวเมื่อวันจันทร์ (4 ต.ค.) ว่า แม้เขาไม่คิดว่าจะเกิดสงครามสกุลเงินโลกขึ้นในอนาคต แต่ที่แน่ๆ จะมีความตึงเครียดเกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากการที่หลายประเทศลดค่าเงินเพื่อความได้เปรียบทางเศรษฐกิจของ ตนเอง
    การแสดงความเห็นของนายใหญ่เวิลด์แบงก์และไอเอ็มเอฟมีขึ้นในขณะที่รัฐบาล หลายประเทศได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงสกุลเงินของตนให้อ่อนค่าลง
    ญี่ปุ่นเดินหน้าลุย
    โดยเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อสกัดการแข็งค่าของเงิน เยนเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หลังจากที่ธุรกิจส่งออกของประเทศได้รับความบอบช้ำ หลังจากเงินเยนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
    และวานนี้ (5 ต.ค.) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0 - 0.1% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่พลิกความคาดหมายของตลาด พร้อมกันนี้ บีโอเจยังประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับการแข็งค่าของค่าเงินเยน และแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืด ด้วยการตั้งกองทุนมูลค่า 5 ล้านล้านเยน (6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล และสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
    นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของแบงก์ชาติญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทางการ ญี่ปุ่นในการทำทุกวิถีทางเพื่อควบคุมเงินเยนไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้ และเป็นการเพิ่มสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เปราะบางของประเทศ
    บราซิล-เกาหลีใต้ขอตาม
    ขณะเดียวกันประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศ อาทิ บราซิล อินโดนีเซีย รวมไปถึงเกาหลีใต้ ก็ดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมค่าเงินเช่นกัน เนื่องจากเงินทุนจำนวนมากจากทั่วโลกที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ ได้ทำให้สกุลเงินของแต่ละประเทศแข็งค่าขึ้น
    ประธานธนาคารโลกได้กล่าวถึงสถานการณ์นี้ว่า "นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่ดี แต่ไม่สามารถหาผลตอบแทนเหล่านั้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว และนั่นไม่เพียงแต่ดันค่าเงินในประเทศที่กำลังพัฒนาให้ปรับตัวขึ้น แต่ยังดันราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะฟองสบู่ใน อสังหาริมทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภท"
    กวิโด มันเตกา รัฐมนตรีคลังของบราซิล ได้ออกมาเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามค่าเงินขึ้น และประกาศว่า รัฐบาลบราซิลจะเข้าซื้อเงินดอลลาร์ส่วนเกินที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมดเพื่อ ควบคุมการแข็งค่าของเงินเรียล นอกจากนี้ ยังมีการปรับเพิ่มภาษีขึ้น 2 เท่า เป็น 4% สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าลงทุนในตราสารหนี้ของบราซิล หลังจากที่เริ่มมีการเก็บภาษีดังกล่าวเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว
    ด้านธนาคารกลางเกาหลีใต้ และ สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินของเกาหลีใต้ จะเริ่มตรวจสอบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์สกุลเงินต่างประเทศของธนาคารต่างๆ ที่ดำเนินงานอยู่ในเกาหลีใต้ ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ และอาจจะกำหนดมาตรการใหม่ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความผันผวนอันเนื่องมาจากกระแสเงินทุนไหลเข้า
    เจ้าหน้าที่ของสำนักงานกำกับดูแลทางการเงินของเกาหลีใต้กล่าวว่า ค่าเงินวอนแข็งค่าค่อนข้างเร็ว ทางหน่วยงานจึงต้องการให้ตลาดมีเสถียรภาพ ด้วยการใช้มาตรการเพื่อควบคุมความผันผวนของค่าเงิน
    ขณะที่เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียก็ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็น ประวัติการณ์ 6.5% พร้อมให้ความสำคัญกับการควบคุมกระแสเงินทุนไหลเข้าที่มีอยู่จำนวนมากในขณะ นี้
    แถลงการณ์ของธนาคารกลางอินโดนีเซียระบุว่า การที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซียอยู่ใน ระดับสูงกว่าประเทศอื่นๆนั้น ทำให้กระแสเงินทุนจากทั่วโลกไหลเข้าสู่อินโดนีเซียจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะสูงขึ้นอีกในอนาคต จึงทำให้ธนาคารกลางต้องจับตาดูสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
    นอกจากนี้ ไต้หวันก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาสกุลเงินแข็งค่าเช่นกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นไต้หวันปิดลดลงติดต่อกันสองวันในวัน จันทร์และอังคารที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนหวั่นเกรงว่าเงินดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่าจะฉุดรั้งรายได้และ ผลกำไรจากต่างประเทศของบรรดาบริษัทส่งออก โดยอีโคโนมิค เดลี่ นิวส์ รายงานโดยไม่ได้เปิดเผยที่มาของข้อมูลว่า ธนาคารกลางไต้หวันอาจขายเงินดอลลาร์ไต้หวันเป็นมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ไต้หวัน (642 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือมากกว่านั้น เพื่อควบคุมการแข็งค่าของสกุลเงิน
    อย่างไรก็ตาม ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) กลับสนับสนุนให้ค่าเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่แข็งค่ามากกว่านี้ เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ยูโร และเยน เพื่อลดภาวะไร้สมดุลทั่วโลก
    ประธานเอดีบีกล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียอย่างอินเดีย จีน และเวียดนามนั้น มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก และยังมีอัตราการขยายตัวยั่งยืนกว่าประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พร้อมกับชี้ว่า การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกจะช่วยลดภาวะไร้สมดุล และยังเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเอเชีย
    ยุโรปร่วมวงสหรัฐ กดดันจีนปล่อยเงินหยวนแข็งค่า
    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหรัฐแสดงบทบาทเป็นแกนนำประชาคมโลกในการเรียกร้องจีนให้ปล่อยเงินหยวยแข็ง ค่าขึ้นมาโดยตลอด และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเพิ่งมีมติผ่านร่างกฎหมายการปฏิรูปสกุลเงินเพื่อการค้า ที่เป็นธรรม (Currency Reform for Fair Trade Act) เพื่อเปิดทางให้สหรัฐสามารถคว่ำบาตรการค้า ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ากับประเทศคู่ค้าที่มีพฤติกรรมปั่นค่าเงิน โดยผิดกฎหมาย โดยร่างกฎหมายฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะกดดันให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนให้ สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังขยายตัวขึ้น
    ล่าสุด สหรัฐก็ได้เพื่อนร่วมขบวนการแล้ว เมื่อกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร 16 ประเทศ หรือยูโรโซน ได้ออกมาเรียกร้องจีนให้ปล่อยเงินหยวนแข็งค่าขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยนายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ ประธานกลุ่มยูโรโซน กล่าวว่าเขาได้แสดงความเห็นในระหว่างที่พบหารือกับนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่าว่า ต้องการเห็นเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินสกุลสำคัญอื่นๆ
    "เราเชื่อว่า อัตราแลกเปลี่ยนหยวนอยู่ในระดับอ่อนแอกว่าความเป็นจริงเป็นอย่างมาก" นายยุงเกอร์กล่าว
    จีนเมินเสียงเรียกร้อง
    แม้จะถูกกดดันจากมหาอำนาจตะวันตก แต่จีนก็ยังคงยืนกรานจุดยืนของตนว่า เป้าหมายของจีนคือการรักษาเสถียรภาพในตลาดปริวรรตเงินตรา และจีนไม่เคยใช้สกุลเงินหยวนที่อ่อนค่าเกินจริงเพื่อเป็นเครื่องมือในการหา ข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันทางการค้าตามที่สหรัฐและยุโรปกล่าวหา
    ทั้งนี้ สงครามก่อการร้าย และ สงครามค่าเงิน กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น และยังไม่มีบทสรุป แต่ขึ้นชื่อว่าสงคราม ผลที่ออกมาย่อมไม่ดีแน่ นอกเสียจากว่า ทุกฝ่ายจะยอมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ดังที่จอห์น เลนนอน ได้กล่าวไว้ในบทเพลง Imagine ท่อนหนึ่งที่ว่า ...
    Imagine no possessions
    I wonder if you can
    No need for greed or hunger
    A brotherhood of man
    Imagine all the people
    Sharing all the world...
    --อินโฟเควสท์ โดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--
    In Focus: สงครามก่อการร้าย &mdash; สงครามค่าเงิน ความเสี่ยง 2 รูปแบบที่โลกกำลังเผชิญ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'พ่อมดการเงิน'ฉุนด่าจีน คงค่าเงินต่ำให้ได้เปรียบ ตัวการทำศก.โลกหายนะ เปิดสงครามสู้'เงินหยวน'
    [​IMG]
    "จอร์จ โซรอส" ฉุนรัฐบาลปักกิ่ง สร้างระบบค่าเงินไม่สมดุล คงค่าเงินให้ต่ำเพื่อได้เปรียบส่งออกสหรัฐฯ หวั่นส่งผลเศรษฐกิจโลกหายนะ หากทั่วโลกเปิดฉากสงครามค่าเงินสู้หยวน ชี้จีนมีสถานะเหมือนผู้กุมอำนาจระบบการเงินทั่วโลกแล้ว

    วันที่ 10 ต.ค.2553 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีเจ้าของกองทุนเก็งกำไร"ควอนตัม ฟันด์"ออกโรงโจมตีจีนว่า สงครามค่าเงินโลกอาจปะทุขึ้นระหว่างทั่วโลกกับจีน และนำไปสู่การล้มพังของเศรษฐกิจโลก โดยที่ผ่านมาจีนได้สร้างระบบค่าเงินที่ไม่สมดุลขึ้น โดยคงค่าเงินให้ต่ำเพื่อได้เปรียบด้านการส่งออก และสร้างผลกระทบต่อผู้ส่ออกสหรัฐ

    นอกจากนี้ โซรอส ยังโจมตีว่า จีนอาจสร้างอิทธิพลต่อค่าเงินอื่นๆของโลก เนื่องจากจีนได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่องต่อประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้จีนครอบครองเงินทุนสำรองของเงินสกุลต่าง ๆ จำนวนมาก และทำให้จีนมีสถานะเหมือนผู้กุมอำนาจระบบการเงินทั่วโลก
    http://thaiinsider.info/2009news/the-news/international/9422-2010-10-10-07-13-26
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามค่าเงิน : สงครามลอยแพดอลลาร์

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 01:00
    การตื่นตัวหาวิธีป้องกัน ปริมาณเงินไหลเข้าของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียของทั้งเกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน รวมถึงไทย
    ซึ่งล่าสุดเกาหลีใต้ ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปอีก 0.25% เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อ โดยไม่กังวลว่าเงินวอนจะแข็งค่าขึ้นไปอีก ขณะเดียวกัน ก็มีกระแสข่าวว่าจีนเตรียมจะออกมาตรการเพิ่มการสำรองของแบงก์พาณิชย์ต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน เช่นเดียวกับไต้หวันก็เตรียมจะออกมาตรการที่เข้มข้น เพื่อควบคุมปริมาณเงินไหลเข้าเช่นกัน ซึ่งปริมาณเงินไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียนี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบของสหรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศรอบสอง หรือที่เรียกว่า QE (Quantitative Easing) ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ในทางกลับกัน ก็ทำให้สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
    แต่ปัจจุบันหลายประเทศในเอเชีย เริ่มกลับมากังวลและใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ดูจะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามปัจจัยภายในแต่ละประเทศ เช่น กรณีเกาหลีใต้ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น รวมถึงประเทศไทยเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ดูจะกังวลปัญหาอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างมากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศ ทำให้ถูกมองว่าภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมจะเป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้นกว่าเป้าหมายที่แบงก์ชาติประมาณการไว้ที่ 3-3.5% แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 1.1% ต่ำกว่าเป้าหมายอยู่มากก็ตาม
    ปรากฏการณ์ดังกล่าวของหลายประเทศในเอเชีย สะท้อนว่าแต่ละประเทศในโลก เริ่มไม่แคร์กับเงินสกุลเงินว่าจะแข็งค่าขึ้นไปอีกหรือไม่ แต่กลับมาให้ความสนใจกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อมากกว่า เช่นเดียวกับประเทศไทย ก็มองไปที่เพื่อนบ้านที่ยอมปล่อยให้ค่าแข็งไปตามกลไก ซึ่งที่สุดแล้ว ไทยก็คงต้องทำตาม โดยหันมาแคร์อัตราเงินเฟ้อเหมือนกัน ซึ่งก็เริ่มเห็นการส่งสัญญาณบางอย่างของแบงก์ชาติบ้างแล้ว
    "แบงก์ชาติอาจปล่อยให้บาท/ดอลลาร์ ของสหรัฐแข็งค่าไปตามธรรมชาติ และไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเกินไป ก็เท่ากับลดกำลังซื้อของเงินดอลลาร์ (Power Purchase) ลงไป โดยหันไปใช้เงินสกุลอื่นๆ มากขึ้น หรือแคร์เงินดอลลาร์น้อยลง ซึ่งบางประเทศก็มองไปที่เงินหยวน แต่เป็นการไม่แคร์เงินดอลลาร์ของประเทศในเอเชียทั้งภูมิภาค แต่หันมาแคร์สกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้าน"
    ความเคลื่อนไหวของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ดูเหมือนจะลอยแพค่าเงิน ดอลลาร์ครั้งนี้ อาจจะกระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออกที่ยังคงมีผลประโยชน์อยู่ในตลาดสหรัฐ หรือยังค้าขายเป็นเงินดอลลาร์อยู่ (Exchang Rate Version Dollar Only) แต่ถ้าผู้ประกอบการกลุ่มนี้ตั้งรับกับสถานการณ์ดังกล่าว และทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน หรือ Hedging ไว้ล่วงหน้า หรืออาจใช้วิธี Currency Matching เพื่อป้องกันตัวเอง
    ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าว อาจจะเรียกได้ว่า เป็นสงครามค่าเงินกับ ค่าเงินดอลลาร์ กลายๆ ก็เป็นได้ หรือจะเรียกว่า กลุ่มประเทศเอเชียกำลังใช้แผนลอยแพค่าเงินดอลลาร์ มาตอบโต้กับมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ และทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยไม่สนใจว่าค่าเงินของประเทศอื่นๆ จะเป็นยังไง
    ส่วนค่าเงินหยวนจะกลายมาเป็นสกุลเงินสำคัญของโลกแทนที่ได้หรือไม่... คงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 ปี คงจะมีคำตอบออกมาได้ เพียงแต่วันนี้...อย่างน้อย พี่เบิ้มอย่างสหรัฐ ก็ไม่ได้ใหญ่คับฟ้า จนใครๆ ต้องกลัวอีกต่อไปแล้ว...
    ʧ
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    # “สนธิ” ชี้ “ค้าเงิน”ใกล้ล่ม ก่อสงครามตัวแทนใน 5 ปี-แนะไทยเรียกคืนเงินบาทนอกประเทศ

    การเมือง @ 19 November 2010,
    "สนธิ" ชี้ การค้าเงินตราจะล่มสลายปีหน้า สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะล้มละลาย หนี้ท่วมหัวกว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หากถึงทางตันสหรัฐฯ อาจกลับไปยึดมาตรฐานทองคำ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะด้อยค่าอย่างรุนแรง เชื่อความขัดแย้งทางการเงินจะก่อสงครามตัวแทนหลายจุดทั่วโลกใน 5 ปีข้างหน้า แนะไทยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปรับตัวรับสงครามค่าเงิน เรียกเงินบาทกลับประเทศ เร่งระบายดอลลาร์
    “สนธิ” ชี้ “ค้าเงิน”ใกล้ล่ม ก่อสงครามตัวแทนใน 5 ปี-แนะไทยเรียกคืนเงินบาทนอกประเทศ | Jeurboy
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐฯ (ตอนที่ 1)
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย สิริอัญญา </TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ตุลาคม 2553 16:05 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ได้อ่านบทความของอาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เรื่องสงครามการเงินแล้ว ก็ต้องขอบอกกล่าวแก่คนทั้งปวงว่าเนื้อหาและน้ำหนักของบทความเรื่องนี้จะเป็นข้อมูลความรู้และความเข้าใจที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรับรู้และรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

    อาจารย์ปานเทพนั้นไม่ได้เป็นแค่นักปราศรัยหรือพิธีกรทั่วไปเท่านั้น แท้จริงเป็นผู้จบการศึกษาขั้นสูงในเรื่องการเงิน มีความรู้และสติปัญญาในเรื่องนี้เป็นอันมาก เคยเป็นหนึ่งในคณะที่ต่อสู้ทางความคิดในรัฐบาลพรรคความหวังใหม่ เพื่อไม่ให้มีการปกป้องค่าเงินบาทมาแล้ว

    เสียดายนักที่ความคิดเห็นที่ถูกต้องพ่ายแพ้แก่ความคิดเห็นที่ผิด จนเป็นเหตุให้ชาติพินาศยับเยินในปี 2540 นั่นเพราะเป็นวิสัยของคนมีอำนาจที่จะหลงเชื่อแต่เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เฉพาะ และมีภาพลักษณ์ว่าทรงปัญญาวิชาคุณในเรื่องการเงิน

    เป็นความเชื่อที่ผิดและขัดกับคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลามสูตร และเพราะเชื่อผิดๆ เช่นนั้น รัฐบาลนั้นก็พินาศลง ชาติและเศรษฐกิจ ตลอดจนประชาชนก็พากันพินาศยับเยินตามไปด้วย

    ก่อนอื่นต้องขอบอกกล่าวว่าขณะนี้สงครามการเงินเกิดขึ้นแล้วในโลก จะมีปริมณฑลความหนักหน่วงและรุนแรงไม่ต่างกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นแต่มันจะเกิดขึ้นในมิติเศรษฐกิจการเงินการคลังของประชาคมโลกและประชาชาติทั่วโลก

    มันเป็นสงครามการเงินที่เกิดขึ้นระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ คืออเมริกากับจีน ซึ่งความจริงก็ขับเคี่ยวกันมาช้านานแล้ว ทั้งด้านการทหาร การเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

    ในวันนี้ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอเมริกาได้พ่ายแพ้ในทุกแนวรบ จนทำให้กระแสลมตะวันออกตีกลับพัดกลบลมตะวันตก ดังที่ประธานเหมาเจ๋อตงเคยกล่าวไว้ก่อนปลดแอกประกาศจีนว่า สักวันหนึ่ง “ตังฮวงเซียะต่อไซฮวง” ซึ่งแปลว่าลมตะวันออกจะพัดกลบลมตะวันตก”

    ทว่าในสงครามการเงินนั้นอเมริกาครองโลกมาช้านานแล้ว เงินสกุลดอลลาร์ของอเมริกามีฐานะยิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุดในโลกมาช้านาน นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงจนบัดนี้

    มีความเข้มแข็งเกรียงไกรถึงขนาดว่ารัฐบาลอเมริกาสามารถเอากระดาษมาพิมพ์เป็นเงินให้มีค่าตามที่ตราไว้ โดยไม่ต้องมีทรัพย์สินใดหนุนหลัง ผิดกับชาติทั้งปวงที่จะพิมพ์ธนบัตรออกใช้ได้ก็ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันหนุนหลัง ไม่ว่าทองคำ หรือเงินตราต่างประเทศที่เชื่อถือได้ หรือตราสารของรัฐบาลต่างประเทศก็ตาม

    อเมริกาได้ประกาศความยิ่งใหญ่เกรียงไกรทางการเงินของตนโดยพิมพ์เงินดอลลาร์ออกใช้ได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่มีหลักประกันใดๆ เพียงแค่พิมพ์ข้อความไว้ในธนบัตรนั้นว่า In God We Trust ซึ่งแปลว่าเราเชื่อในพระเจ้า นั่นคืออเมริกาตั้งตนเป็นพระเจ้าทางการเงินของโลก

    แท้จริงแล้วหาได้มีความเชื่อใดๆ ในพระเจ้าดังที่กล่าวอ้างไว้ในธนบัตรนั้นไม่! มิฉะนั้นไหนเลยจึงมีการใช้เงินดอลลาร์ในการทำสงครามรุกรานฆ่าฟันเผ่าพันธุ์มนุษย์ในหลายปริมณฑลทั่วโลกมานานนับศตวรรษแล้ว

    ถึงกระนั้นก็ไม่มีใครปฏิเสธเงินดอลลาร์สหรัฐได้ ขบวนการก่อการร้ายที่เป็นปรปักษ์กับอเมริกาหรือประเทศศัตรูคู่ต่อสู้ก็ยังต้องยอมรับดอลลาร์ของอเมริกา กระทั่งบางทีก็ถือว่าเป็นพระเจ้าเงินตราจริงๆ

    หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นแล้ว ก็ถูกหมายหัวว่าประเทศนี้จะเป็นคู่แข่ง จะเป็นคู่ต่อสู้ และจะเป็นคู่ปรปักษ์ในอนาคตกาล และบัดนี้แม้ภายนอกจะเจรจาต้าอ่วยโอภาปราศรัยกันเป็นอันดี แต่แท้จริงการต่อสู้นั้นมาถึงขั้นที่มีการกำหนดแผนการ “เพนตากอน” ระดับต่างๆ จนกระทั่งมาถึงระยะที่ถูกกำหนดความเป็นศัตรูกันแล้ว

    เพราะเหตุนี้หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง มาจนถึงการล่มสลายของมหาอาณาจักรโซเวียต อเมริกาจึงได้ตั้งตนเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของโลกในทุกทาง

    แต่ไม่นานนักภายใต้ลัทธิบริโภคนิยมที่เป็นประหนึ่งกองไฟซึ่งกระหายฟืนไม่มีที่สิ้นสุด และความมานะถือตนว่าเป็นเจ้าโลกได้ทำให้อเมริกามีรายจ่ายที่ไม่ก่อรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งทำให้เป็นประเทศที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นลูกหนี้ประเภทที่ไม่มีหลักประกันใดๆ

    จีนแม้ประสบปัญหาภายในมากมาย แต่หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมสิ้นสุดลง ธงสี่ทันสมัยของเติ้งเสี่ยวผิงที่ถูกชูขึ้นพร้อมกับการเปิดประเทศและการปฏิรูปใหญ่ประเทศจีนก็เกิดขึ้น เศรษฐกิจจีนได้เติบโตอย่างมีจังหวะก้าวและมีเสถียรภาพยิ่ง มีอัตราเร่งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และขยายขอบข่ายไปทั่วโลก แม้ในหลายประเทศที่อิทธิพลทางการเงิน ทางการเมือง ของอเมริกาไปไม่ถึง จีนก็ไปได้ทั่วถึง

    ทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก้าวรุดหน้าอย่างขนานใหญ่ เศรษฐกิจสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีนภายใต้การชี้นำของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของเหมาเจ๋อตงและทฤษฎีของเติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และหูจิ่นเทา ได้นำพาประเทศจีนท่องไปทั่วทุกปริมณฑลของโลกและในทุกมิติ

    จนวันนี้จีนเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากที่สุดและขยายตัวมากที่สุดเป็นลำดับสองของโลก แต่ทว่าที่จริงก็คือลำดับหนึ่งของโลก เพราะลำดับหนึ่งคืออเมริกานั้นเนื้อแท้ภายในกลับกลวงโบ๋ เพราะความเป็นลำดับหนึ่งตั้งอยู่บนฐานะที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ของโลกที่เป็นหนี้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดของจีน

    กว่าสิบปีที่ต่อเนื่องมานี้อเมริกาได้ขาดดุลการค้าให้กับจีนอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนทั่วทั้งอเมริกาดาษดาไปด้วยสินค้าจีน และบริการต่างๆ จากจีน ซึ่งแม้อเมริกาจะพยายามดิ้นรนต่อสู้ประการใด แต่ถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถพลิกสถานการณ์จากการถอยร่นมาสู่การยันได้เลย

    กระทั่งสถานการณ์ถอยร่นได้เพิ่มอัตราเร่งมากขึ้น จนหลายครั้งฝ่ายนำของอเมริกาจักแหล่นที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารในการกดดันจีน แต่ไม่สามารถกระทำการใดๆ ได้ เพราะจีนในวันนี้ไม่ใช่คนป่วยแห่งเอเชียอีกต่อไปแล้ว

    แต่เป็นสาธารณรัฐของประชาชนที่เป็นหลักประกันสันติภาพของโลก และเป็นสาธารณรัฐที่เป็นหลักต้านยันความอยุติธรรมในทางการค้าให้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะการข่มเหงรังแกในทางการเงิน นี่คือฐานะใหม่ของประเทศจีนในวันนี้

    เพราะอัตราก้าวหน้าและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จีนจึงกลายเป็นแหล่งลงทุนที่ดีที่สุด และให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด รวมทั้งมีความมั่นคงมากที่สุดของโลก ดังนั้นกระแสเงินและกระแสการลงทุนจากทั่วโลกจึงหลั่งไหลมาประเทศจีน อุปมาดั่งกระแสน้ำใหญ่ที่หลั่งไหลจากทั่วโลกเข้าไปรวมอยู่ที่ประเทศจีน

    ในสภาพเช่นนี้ว่าโดยธรรมดาธรรมชาติย่อมจะส่งผลให้ค่าเงินหยวนของจีนแข็งค่า จนอาจทำให้จีนมีสมรรถนะในการแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจ และการเงินลดลง

    แต่จีนนั้นได้รับรู้มาตั้งแต่ปี 2540 แล้วว่าในปัญหาค่าเงินนั้นหาใช่ปัญหาทางเศรษฐกิจพื้นฐานแต่อย่างเดียวไม่ หากมีปมใหญ่ใจความคือปัญหาสงคราม

    ฝ่ายนำของประเทศไทยนี่แหละที่ได้บอกกล่าวกับจีนในปี 2540 ในระหว่างการสนทนาของผู้นำรัฐบาลไทย กับนายกรัฐมนตรีจูหรงจี ที่ฝ่ายจีนได้สอบถามความเป็นไปด้วยความห่วงใยและใคร่รู้สถานการณ์ที่เป็นไป เพราะไทยกำลังย่อยยับเสียยิ่งกว่าเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

    ผู้นำรัฐบาลไทยได้แจ้งแก่นายกรัฐมนตรีจูหรงจีในครั้งนั้นว่า การโจมตีค่าเงินบาทไม่ใช่การต่อสู้หรือการแข่งขันในทางการเงินอีกต่อไปแล้ว แต่มันมีลักษณะสงครามที่มีความโหดร้ายและการทำลายล้างที่ไม่ต่างกับสงคราม มันคือสงครามชนิดใหม่ของโลก คือสงครามการเงิน

    ถ้าผู้นำรัฐบาลไทยทำตามความรู้เหมือนดังที่พูด ประเทศไทยก็คงไม่ย่อยยับถึงปานนั้น แต่น่าเสียดายนักเวลาทำเข้าจริงกลับไม่เชื่อถือสิ่งที่คณะของอาจารย์ปานเทพ ซึ่งนำโดยนายสุรศักดิ์ นานานุกูล เป็นผู้นำธงทางความคิด กลับไปปฏิบัติตามที่พวกมีเถยจิตคิดฉวยโอกาสหาประโยชน์ตน จนชาติไทยต้องล่มจม

    นายกรัฐมนตรีจูหรงจี ฟังแล้วก็เข้าใจ แต่กล่าวยืนยันด้วยความมั่นใจว่าเมื่อปัญหาการต่อสู้เรื่องค่าเงินเป็นปัญหาสงคราม จีนก็ไม่กลัวเรื่องนี้ เพราะหลักทฤษฎีและประสบการณ์ทางการปฏิบัติในการสงครามในโลกนั้น ความคิดเหมาเจ๋อตงที่ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี กลยุทธ์ การยุทธ์ การรบ ในการสงครามนั้นยังคงทันสมัยและไม่แพ้แก่ผู้ใดในโลก.

    หมายเหตุ : บทความนี้มีความยาวประมาณ 4 ตอนจบ
    http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000152123

    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 2)
    หลังจากการสนทนาระหว่างผู้นำรัฐบาลไทยกับนายกรัฐมนตรีจูหรงจี ครั้งนั้นแล้ว จีนก็ถูกโจมตีค่าเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องจากการโจมตีค่าเงินในเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เวียดนาม และอีกหลายประเทศ

    จีนได้ปฏิบัติการตอบโต้ในสงครามการเงินในครั้งนั้นกับกองทุนใหญ่ 8 กองทุนที่โหมเข้าโจมตีค่าเงินจีน และฮ่องกง อย่างเต็มกำลังอัตราศึก

    ได้รับทราบจากชาวพรรคคอมมิวนิสต์จีนในภายหลังว่า ผลการสนทนาดังกล่าวนั้นทำให้มีการปรึกษาหารือกันในฝ่ายผู้นำจีน และได้รับการสนับสนุนทางความคิดในการสงครามจากฝ่ายทหารอย่างเต็มกำลัง

    ดัง นั้นความคิดเหมาเจ๋อตง โดยเฉพาะสรรนิพนธ์ทางการทหารในปัญหาว่าด้วยยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี การยุทธ์ การรบ ในสงคราม จึงถูกนำมาปรับใช้ในสงครามการเงินระหว่างจีนกับ 8 กองทุนใหญ่ อย่างอึกทึกครึกโครมไปทั่วโลก

    จีนได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์หลักในการรับมือกับสงครามการเงินในครั้งนั้นว่า “จีนจะไม่ลดค่าเงินหยวนเป็นอันขาด”

    ในที่สุดเมื่อสงครามสิ้นสุดลง กองทุนที่ทำสงครามโจมตีค่าเงินต่อจีนและฮ่องกงพ่ายแพ้ยับเยิน ถึงขั้นล้มละลายไปถึง 5 กองทุน และอีก 3 กองทุนเจ๊งไม่เป็นท่า ส่งผลให้การฟื้นตัวของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเซียรวมทั้งไทยสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าที่คาดคิด

    หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารที่เข้มแข็งเกรียงไกรฉันใด หลังสงครามการเงินครั้งนี้จีนก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการเงินที่เข้มแข็ง เกรียงไกรฉันนั้น

    สภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ทำให้เงินหยวนของจีนมีความเข้มแข็ง มั่นคงมากที่สุดสกุลหนึ่งของโลก และถ้าจะพูดอย่างตรงไปตรงมาที่สุดก็กล่าวได้ว่าเป็นสกุลเงินที่มีความเข้ม แข็งและมั่นคงมากที่สุด

    แต่ทว่าสงครามการเงินแม้สงบลงชั่วคราว แต่การปะทะและการต่อสู้ก็ยังคงอยู่และค่อย ๆ ยกระดับ ทั้งปริมณฑลและขนาดของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกอย่างไม่หยุดยั้ง

    ใน การทำสงครามการเงินรอบใหม่นี้ แนวทางยุทธศาสตร์หลักของจีนคือการทำให้เงินหยวนไม่แข็งค่าตามฐานะที่เป็น จริง แต่ให้มีคุณค่าตามฐานะเศรษฐกิจการค้าและพื้นฐานที่เป็นจริงของประเทศจีน

    ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนประกาศอย่างแข็งกร้าวหลายครั้งว่า จะไม่ยอมให้ใครมาบงการค่าเงินหยวนเป็นอันขาด

    ผลจากการกำหนดยุทธศาสตร์เช่นนั้น จึงทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่ากว่าความเป็นจริง และตัวเลขล่าสุดที่อเมริกากล่าวหาจีนอย่างรุนแรงคือ จีนฉ้อโกงอเมริกาและประชาคมโลก โดยการทำค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริงถึง 40%

    หมายความว่าในสภาพที่แท้จริงที่ถ้าค่าเงินหยวนมีอัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวนต่อ 10 บาท แต่ค่าในการแลกเปลี่ยนที่เป็นอยู่แค่ 1 หยวนต่อ 6 บาทเท่านั้น ข้อกล่าวหานี้ถึงแม้อเมริกาจะโหวกเหวกโวยวายโจมตีประการใด แต่จีนก็ยังคงเพิกเฉย

    อเมริกาได้พยายามกดดันจีนในทุกรูปแบบ แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะนี่คือปัญหายุทธศาสตร์หลักในสงครามการเงินรอบใหม่

    และ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ จึงทำให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ของจีนที่ขายหรือให้บริการแก่ต่างประเทศมีราคาถูกลงกว่าปกติถึง 40% จึงยิ่งทำให้จีนได้เปรียบทางการค้าต่อประเทศคู่แข่งมากขึ้น โดยเฉพาะกับอเมริกา

    แต่จีนนั้นเป็นประเทศที่เจนจบพิชัยสงคราม ที่จะไม่ล้อมตีพร้อมกันทั้งสี่ด้าน ดังนั้นจึงเปิดอีกด้านหนึ่งเป็นทางออกให้กับมิตรประเทศ นั่นคือการทำความตกลงใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินกลางในการซื้อขายสินค้าและ บริการระหว่างจีนกับมิตรประเทศ

    เป็นผลให้หลายประเทศในโลกได้เข้าทำข้อตกลงกับจีน และใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินกลาง ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบในความผันผวนและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสงครามทางการเงิน

    พูดให้ชัดก็คือใครที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นคู่สงครามก็มีทางออกทางด้านนี้ และผลจากทางออกด้านนี้จึงทำให้เงินหยวนของจีนได้แพร่หลายใช้สอยไปในขอบเขต ทั่วโลก จนกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินของโลก ที่สามารถใช้ได้ในทุกประเทศ

    ประเทศไทยของเราแม้รู้และเห็นทางออกนี้ก็ยังเงื้อง่างุ่มง่ามอยู่ จนทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้ามากขึ้นทุกที

    อเมริกาได้สูญเสียส่วนแบ่งฐานะความเป็นประเทศเจ้าเงินตราที่สกุลเงินดอลลาร์ เคยครองโลกให้กับเงินหยวนของจีนส่วนหนึ่ง และให้กับสกุลเงินยูโรของอียูอีกส่วนหนึ่ง

    ใน วันนี้เงินหยวนไม่ใช่เศษกระดาษที่ญี่ปุ่นเคยใช้ปาหัวคนจีนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่สองอีกต่อไปแล้ว หากกำลังกลายเป็นมหาอาณาจักรสกุลเงินหนึ่งของโลก คือหยวนเอ็มไพร์ไปเรียบร้อยแล้ว

    แน่นอนว่าเมื่อจีนมีแนวความคิดว่าการต่อสู้เรื่องค่าเงินหรือการเงินเป็น ปัญหาสงคราม ด้วยเหตุนี้การสร้างพันธมิตร การสร้างแนวร่วม จึงเป็นปฏิบัติการพื้นฐานอย่างหนึ่งของสงครามด้วย

    ดัง นั้นจีนจึงได้สร้างความเป็นพันธมิตรและแนวร่วมกับสกุลเงินยูโรของอียูและ สกุลเงินต่างๆ ของทุกประเทศทั่วโลก ทำให้บัดนี้แนวร่วมของหยวนเอ็มไพร์กระจายตัวอยู่ทั่วโลก โดยมีกลุ่มหลักใหญ่คือยูโรของอียู แม้กระทั่งกับอีกหลายสกุลเงินในโลกอิสลามซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับอเมริกา

    เหมาเจ๋อตงเคยกล่าวไว้ในด้านการทหารว่า ซึ่งจะทำสงครามให้ได้ชัยชนะนั้น ปัญหาแนวร่วมและปัญหามวลชนจะเป็นปัญหาพื้นฐานหนึ่งที่ต้องทำให้ดี ดังนั้นในวันนี้เมื่อจีนประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในการสร้างพันธมิตรและแนว ร่วมทางการเงินขึ้นในโลกแล้ว จึงเท่ากับได้สถาปนาความมั่นคงและแนวหลังอันเข้มแข็งเกรียงไกรให้กับหยวน เอ็มไพร์นั่นเอง

    ในอีกด้านหนึ่ง เมื่ออเมริกาสูญเสียฐานะความเป็นเจ้าโลกแห่งเงินตราไปถึงครึ่งหนึ่งแล้ว ก็ได้สูญเสียพันธมิตรและแนวร่วมไปอย่างกว้างขวางอีกด้วย

    มันเป็นวิสัยของแนวคิดทุนนิยมที่กลัวความเสี่ยงและกลัวขาดทุน ดังนั้นการเปลี่ยนเงินสำรองจากที่หลายประเทศเคยถือดอลลาร์อย่างเดียว มาเป็นสกุลเงินหยวนหรือยูโรหรือสกุลเงินอื่น แม้กระทั่งสกุลเงินของแคนาดา ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

    การเทขายเงินดอลลาร์เพื่อเปลี่ยนมาถือเงินสกุลอื่นในกองทุนสำรองการเงินของ ประเทศต่าง ๆ กำลังก่อเกิดเป็นกระแสใหญ่ของโลก ที่มีผลทำให้เงินดอลลาร์ของอเมริกายิ่งขาดไร้เสถียรภาพและความมั่นคง

    ใน การสงครามทางทหารนั้น การสูญเสียพันธมิตรและแนรวร่วมเป็นปัจจัยหนึ่งในการพ่ายแพ้สงครามฉันใด การสูญเสียพันธมิตรและแนวร่วมในทางการเงินก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการพ่ายแพ้ สงครามทางการเงินฉันนั้น

    คัมภีร์พิชัยสงครามบทหนึ่งระบุว่า ผู้บัญชาการสงครามที่ปรีชาสามารถจะต้องตั้งตนอยู่ในฐานะที่ไม่พ่ายแพ้ก่อน การเอาชัยชนะแม้ด้านหนึ่งขึ้นกับฝ่ายเรา แต่อีกด้านหนึ่งยังคงขึ้นอยู่กับข้าศึก

    และอีกบทหนึ่งก็ระบุว่า แม้ข้าศึกพ่ายแพ้แล้ว แต่ชัยชนะและปราชัยจะปรากฎขึ้นก็ต่อเมื่อเราทำให้ข้าศึกนั้นพ่ายแพ้จริง ๆ และเรากุมชัยชนะได้จริง ๆ

    ดังนั้นในวันนี้แม้ รูปโฉมของสงครามทางการเงินจะบ่งชี้อนาคตตามหลักการแห่งพิชัยสงครามในทางการ ทหารแล้ว แต่ชัยชนะและปราชัยในความเป็นจริงในสงครามการเงินยังคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ เวลา และยังต้องมีปฏิบัติการอีกมากหลายว่าผลสุดท้ายจะกลับกลายเป็นอื่นไปหรือไม่

    การที่ประเทศต่างๆ ขาดความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์ของอเมริกาและยักย้ายถ่ายเทขายเงิน ดอลลาร์ออกไปเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นมาดำรงไว้ในกองทุนเงินสำรอง ระหว่างประเทศ คือสัญญาณสีแดงสุดที่อเมริกาไม่เคยพบมาก่อน

    เหมือน กับลูกเศรษฐีที่ไม่เคยพบความยากลำบาก และไม่เคยพบว่าในกระเป๋าตนไม่มีเงิน ครั้นเผชิญหน้ากับภาวะยากลำบาก และล้วงกระเป๋าแล้วมีเงินเหลืออยู่เพียงไม่กี่บาทเป็นอย่างไร ภาวะที่เป็นไปในอเมริกาในวันนี้ก็เป็นอย่างนี้!

    หมายเหตุ : บทความเรื่องนี้ได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 2)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2010
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 3)
    ผลจากการที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีเสถียรภาพและความมั่นคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความหวาดวิตกแก่ผู้ถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในอเมริกาและนอกอเมริกา เป็นผลให้มีการเคลื่อนย้ายทุนออกจากอเมริกาครั้งใหญ่อย่างต่อเนื่อง

    เป็นธรรมดาของค่าเงินที่ถ้ามีเงินไหลเข้าประเทศใดมาก ค่าของเงินประเทศนั้นก็จะแข็งค่าขึ้น แต่ถ้ามีเงินไหลออกจากประเทศใดมากค่าของเงินประเทศนั้นก็จะอ่อนตัวลง

    และเป็นธรรมดาของผู้รับผิดชอบดูแลค่าเงินที่จะต้องหามาตรการและทำทุกวิถีทางเพื่อฟื้นเสถียรภาพและความมั่นคงให้กลับคืนมา หรือไม่ถ้าหากเห็นว่ามีความสามารถเพียงพอก็จะฉวยโอกาสนั้นเป็นเครื่องมือในการต่อสู้หรือทำสงครามทางการเงินกับประเทศอื่น

    อเมริกาก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดภาวะเงินทุนไหลออก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็ไร้เสถียรภาพ ไร้ความมั่นคง และอ่อนค่าลง จึงมีความพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เสถียรภาพและความมั่นคงกลับคืนมา

    เพราะเหตุที่ระบบเศรษฐกิจการเงินของอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจสงคราม คืออาศัยสงครามเป็นรากฐานสำคัญรากฐานหนึ่งในการค้ำจุนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของตน

    ดังนั้นการใช้สงครามเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการฟื้นเสถียรภาพและความมั่นคงของเงินดอลลาร์สหรัฐจึงเกิดขึ้น และนี่คือที่มาของสงครามยึดครองอิรักลุกลามไปถึงอาฟกานิสถาน และกำลังจ่อเข้าไปในอีกหลายประเทศในโลก

    ในขณะที่อเมริกาป่าวร้องและอ้างตนเป็นนักสันติภาพของโลกและเป็นตำรวจโลก แต่ในอีกทางหนึ่ง บรรดาสงครามในทุกปริมณฑลของโลกแทบไม่มีที่ใดเลยที่ไม่มีอเมริกาเกี่ยวข้อง คงเหลือแต่ว่าจะเกี่ยวข้องระดับใดเท่านั้น

    เพราะเหตุนี้ยิ่งสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีปัญหามากเท่าใด ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกก็ยิ่งต้องเผชิญกับสงครามมากขึ้นเท่านั้น และโลกก็ยังคงเสี่ยงกับภัยสงครามเพิ่มขึ้นเท่านั้นด้วย

    ดังนั้นในวันนี้โลกจึงอยู่ในความเสี่ยงภัยสงครามมากที่สุดอีกยุคหนึ่ง ที่อสูรสงครามอาจแผลงฤทธิ์คร่าชีวิตและทำลายมนุษยชาติอย่างโหดร้ายทารุณและกว้างขวางเมื่อใดก็ได้ ทำให้ภารกิจในการหยุดอสูรสงครามและธำรงรักษาสันติภาพของโลกเพิ่มความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น

    แต่เนื่องจากระบอบทุนนิยมโลกกำลังอยู่ในภาวะล่มสลาย กระทั่งชาวอเมริกันกว่าครึ่งได้สัมผัสกับภยันตรายที่คุกคามความมั่นคงของมนุษย์อย่างชัดเจนแล้ว จึงยังคงเห็นดีเห็นงามกับการดำรงระบอบเดิมอยู่เพียง 45% เท่านั้น นอกจากนั้นล้วนมีความเห็นดิ้นรนที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบ เป็นแต่ว่ายังหาทางออกไม่พบ และทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างหลากหลาย

    จากความพยายามดิ้นรนเพื่อจะฟื้นฟูเสถียรภาพและความมั่นคงของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยขยายพื้นฐานเศรษฐกิจสงครามจากสงครามที่เกิดขึ้นในหลายปริมณฑลของโลกนั้น ด้านหนึ่ง แม้ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐสามารถแข็งค่าขึ้นบ้างก็เป็นเฉพาะครั้งเฉพาะคราว แข็งค่าขึ้นแล้วก็อ่อนตัวลงอีก สลับสับเปลี่ยนเช่นนี้มาหลายรอบแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้อเมริกามีรายจ่ายมหาศาลที่ยากจะหยุดได้

    ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเป็นธรรมดาของสงครามที่ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลเกิดขึ้น ดังที่ซุนหวู่กล่าวว่าไม่มีสงครามยืดเยื้อใดที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ทำสงครามเลย ดังนั้นในท่ามกลางสงครามในหลายปริมณฑลของโลกที่อเมริกาได้เข้าเกี่ยวข้อง กระทั่งได้กลายเป็นคู่สงครามไปเสียเอง จึงได้ก่อเกิดเป็นภาระรายจ่ายจำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน

    สงครามยืดเยื้อยาวนานเท่าใด การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายก็ยาวนานเท่านั้น จึงทำให้ปริมาณการขาดดุลการคลังและการเพิ่มภาระหนี้จำนวนมหาศาลเกิดขึ้นกับอเมริกา จนโรงพิมพ์เงินดอลลาร์สหรัฐต้องทำงานกันไม่มีวันหยุด และเพิ่มการผลิตเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นทุกทีและไม่มีทางจะหยุดยั้งได้อีกแล้ว

    มาถึงวันนี้ก็พอที่จะวินิจฉัยได้แล้วว่าเศรษฐกิจสงครามของอเมริกานั้นไม่สามารถกอบกู้ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของอเมริกาได้ ซ้ำบังเกิดผลร้ายชนิดที่อเมริกาไม่เคยคาดคิดถึงเลยนับแต่ก่อตั้งสหรัฐอเมริกามา

    นอกจากความพยายามผลักดันเศรษฐกิจสงครามแล้ว ยังดำเนินมาตรการอื่นอีกหลายมาตรการ ไม่ว่าความพยายามกดดันในเรื่องการขาดดุลการค้า ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ทุกมาตรการก็ดูเหมือนว่าจะไร้ผล

    แม้กระทั่งปรากฏการณ์ที่มีการมอบรางวัลโนเบลให้กับนักเคลื่อนไหวชาวจีนที่ต่อต้านรัฐบาลจีนและหลบหนีอยู่ในต่างประเทศก็ไม่ได้ผล และนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังทำให้ความขลังและความน่าเชื่อถือของรางวัลโนเบลถูกทำลายลงไปไม่น้อยจากการมอบรางวัลโนเบลในปีนี้เสียเอง

    เพราะถ้าหากจีนเป็นเผด็จการจริง มีปัญหาภายในจนประชาชนจีนลำบากยากจนจริง หรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนประชาชนจีนต่อต้านรัฐบาลจีนเสียเอง หรือว่าเศรษฐกิจจีนล้มเหลว นั่นแล้วอาจทำให้คุณค่าของการใช้รางวัลโนเบลเป็นเครื่องมือมีผลขึ้นมาบ้าง แต่ในเมื่อทุกอย่างเป็นเรื่องตรงกันข้ามทั้งสิ้น จึงทำให้อาวุธสันติภาพคือรางวัลโนเบลในปีนี้ต้องกลายเป็นกระสุนด้าน

    และเพราะผลจากการที่ทุนไหลออกจากอเมริกาเป็นจำนวนมหาศาล และกระแสทุนเหล่านั้นส่วนใหญ่พุ่งไปที่จีน จึงอุปมาดั่งปริมาณน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิคไหลหลากเข้าสู่ประเทศจีน หากแก้ไขไม่ทันหรือแก้ไขไม่เป็นก็เห็นทีจีนจะต้องถูกกระแสเงินท่วมจนพังทลายทั้งประเทศ

    อเมริกาเห็นโอกาสจากวิกฤตเช่นนั้น จึงดำเนินมาตรการการเงินภายในประเทศด้วยการลดและกดดอกเบี้ยให้ต่ำลงจนเหลือเพียง 0.25% เท่านั้น เพื่อเร่งกระแสเงินไหลออก ซึ่งไม่ต่างอันใดกับการเร่งผันน้ำจากมหาสมุทรแปซิฟิคให้ท่วมประเทศจีน

    กระแสเงิน กระแสทุน ที่มีปริมาณมากที่สุดของโลกไหลบ่าไปทั่วทั้งโลก จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตทางการเงินและกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของสกุลเงินต่าง ๆ ซึ่งจีนน่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะกระแสหลักพุ่งไปที่จีน

    หากจีนโอบอุ้มเอาน้ำทั้งมหาสมุทรแปซิฟิคมาไว้ที่ประเทศจีน ก็แน่นอนว่ากระแสเงินก็จะท่วมประเทศจีน และเมื่อใดที่ไหลออกไป ความพินาศฉิบหายก็บังเกิดแก่ประเทศจีนอย่างไม่ต้องสงสัย นี่คือมาตรการอันสุดอำมหิตในสงครามการเงินที่อาจส่งผลทำลายระบบเศรษฐกิจการเงินและความมั่งคั่งของจีนจนพินาศยับเยิน

    และเมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของจีนพินาศยับเยินแล้ว ไหนเลยความเข้มแข็งเกรียงไกรทางการทหารของจีนจะดำรงอยู่ได้ เมื่อวันนั้นมาถึงอเมริกาก็จะฟื้นคืนทุกสิ่งอย่าง พร้อมทั้งกำไรมหาศาล รวมทั้งจะกลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวที่เข้มแข็งเกรียงไกรที่สุดของโลกไปตลอดกาล

    ความจริงการบ่อนทำลายความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจของจีนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้แล้วร่วม 20 ปี นั่นคือปรากฏการณ์ที่สถาบันทางเศรษฐกิจและความน่าเชื่อถือต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าล้วนเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางการเงินของอเมริกา พยายามป่าวร้องให้หลงเชื่อว่าจีนกำลังพังพินาศเพราะอัตราการเจริญเติบโตเกินร้อนหรือ Overheat ไปแล้ว

    มาตรการนี้ถูกใช้ต่อเนื่องมานับสิบปี แต่ก็ไม่ปรากฏร่องรอยใด ๆ ว่าระบบเศรษฐกิจจีนจะพังพินาศเพราะความร้อนเกินหรือ Overheat ของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเลย

    เหมาเจ๋อตงเคยกล่าวในยุคสงครามกับญี่ปุ่นว่า ถ้าประเทศจีนเป็นอย่างอเมริกาที่มีศูนย์กลางใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ค และนิวยอร์คถูกยึดไปแล้ว จีนก็จะต้องพ่ายแพ้ แต่ประเทศจีนไม่ใช่อเมริกา เพราะประเทศจีนมีความไม่สม่ำเสมอในสภาพต่าง ๆ อย่างทั่วด้าน แม้หัวเมืองชายทะเลและเมืองใหญ่จะถูกญี่ปุ่นยึดไป แต่ประเทศจีนยังมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่ญี่ปุ่นเข้าไม่ถึง ยึดไม่หมด

    เหมาเจ๋อตงชี้ว่าโดยสภาพเช่นนี้ญี่ปุ่นจะไม่สามารถชนะจีนได้ และจีนก็จะไม่พ่ายแพ้ญี่ปุ่น เพราะจีนมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรนำ และอยู่ในยุคสมัยที่องค์กรนำมีความก้าวหน้า แต่จีนจะไม่ชนะอย่างรวดเร็วเพราะจีนอ่อนแอเกินไป

    ด้วยการวิเคราะห์เช่นนั้น เหมาเจ๋อตงจึงวินิจฉัยสงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งนั้นว่าจะเป็นสงครามยืดเยื้อและจีนจะเป็นฝ่ายชนะ.
    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 3)


    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 4-จบ) </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top>Thursday, 11 November 2010 13:54 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อเมริกาและตะวันตกเห็นแต่ความร้อนแรงของความเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจากหัวเมืองชายฝั่งทะเล โดยลืมมองจีนตอนกลางและจีนตะวันตกว่ายังลำบากยากจน บางพื้นที่ยังมีวิถีดำเนินไม่ต่างกับยุคสมัยในราชวงศ์ชิงแต่ประการใด

    อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของหัวเมืองด้านในอยู่ระดับศูนย์บ้าง 1 หรือ 2% บ้าง ดังนั้นกลยุทธ์ที่จีนเคยใช้ในสงครามยืดเยื้อและคำวินิจฉัยปัญหายุทธศาสตร์สงครามจีน-ญี่ปุ่น จึงถูกนำมาใช้รับมือกับความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ

    นั่นคือจีนได้ยักย้ายถ่ายเทผันผ่อนอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจจากหัวเมืองชายทะเลและหัวเมืองใหญ่เข้าสู่ใจกลางแผ่นดินใหญ่และดินแดนด้านตะวันตก ทำให้อัตราถัวเฉลี่ยสามารถลดความร้อนแรงลง และทำให้หัวเมืองชายทะเลและหัวเมืองใหญ่กลายเป็นหัวรถจักรความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนขบวนรถไฟระบบเศรษฐกิจจีนให้รุดหน้าต่อไปอย่างรวดเร็ว

    หลังจากรับมือกับการบ่อนทำลายความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจได้สำเร็จแล้ว จีนก็ต้องเผชิญหน้ากับยุทธศาสตร์ใหญ่ในระยะหลังสุดนี้ นั่นคือการรับมือกับกระแสเงิน กระแสทุน ที่กำลังท่วมทับประเทศจีน และนี่คือปัญหาทางยุทธวิธีใหญ่สุดและสำคัญที่สุดที่จีนจะต้องคิดอ่านและใช้รับมือกับสงครามการเงินครั้งสำคัญและมโหฬารนี้

    หากจีนไม่สามารถระบายน้ำจากมหาสมุทรแปซิฟิคออกจากประเทศได้ก็จะล่มจมฉันใด การไม่สามารถรับมือกับกระแสเงินที่ไหลเข้าประเทศจีนครั้งมโหฬารและเอิกเกริกที่สุดได้ ก็จะทำให้จีนล่มจมได้ฉันนั้น

    ดังนั้นการระบายน้ำคือระบายเงินและทุนออกจากประเทศจีนและการจัดการกับเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศจีนอย่างเหมาะสมโดยไม่กระทบต่ออัตราเร่งแห่งความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจจีน จึงเป็นยุทธวิธีสำคัญยิ่งในการทำสงครามการเงินรอบนี้

    เพราะการบริหารจัดการของจีนเป็นสากลและมีขอบเขตทั่วโลก ดังนั้นจึงสามารถกำหนดแหล่งระบายเงินและทุนออกไปยังต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม

    จีนได้นำเงินทุนไหลเข้าประเทศ และเงินที่ได้จากการได้ดุลการค้ามหาศาลออกไปลงทุนในต่างประเทศทุกรูปแบบ และสามารถกวาดเอาผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

    จีนได้เข้าซื้อพันธบัตรต่างประเทศในแทบทุกประเทศทั่วโลก แม้กระทั่งประเทศที่ยากจนหรือประเทศที่อยู่ในขั้นล้มละลาย โดยลงทุนหรือซื้อพันธบัตรหรือตราสารโดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือด้วยเงินหยวนของจีนเอง

    ดังตัวอย่างประเทศกรีก ซึ่งอยู่ในภาวะล้มละลายแล้ว และไม่มีชาติใดในโลกช่วยเหลือได้ แม้กระทั่งธนาคารโลกก็เมินหน้าไปนานแล้ว พันธบัตรและตราสารของรัฐบาลกรีกกลายเป็นขยะในสายตาตะวันตก แต่จีนกลับเห็นว่านี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่

    จีนได้เข้าซื้อพันธบัตรและตราสารทางการเงินของรัฐบาลกรีกทั้งหมด โดยแบ่งการจัดซื้อเป็น 2 ส่วน คือในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้กรีกมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยกับประเทศอื่นที่ไม่ต้อนรับเงินหยวน และอีกส่วนหนึ่งในรูปสกุลเงินหยวน โดยมีข้อตกลงให้ใช้เงินหยวนนั้นในการซื้อสินค้าและบริการจากจีนทุกประเภท

    เมื่อกรีกได้เงินหยวนไปก็ได้ใช้เงินหยวนนั้นในการซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จากจีน ย่อมส่งผลให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้า การเงินและผลประโยชน์ของจีนได้รับตอบแทนจากกรีกชนิดที่ไม่มีปรากฏในตำราทางเศรษฐศาสตร์ทางการเงินใด ๆ ในโลก

    แม้กับกลุ่มอียู หรือกลุ่มประเทศอ่าว หรือกลุ่มประเทศในอาฟริกา รวมทั้งลา ตินอเมริกา จีนก็ได้ใช้มาตรการในรูปแบบคล้ายกันนี้ ซึ่งส่งผลให้มีการอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การช่วยเหลือแบบเตี้ยอุ้มค่อม

    เงินทุนจำนวนมากที่ไหลเข้าจีนจึงถูกผลักออกไปสู่ต่างประเทศและมิตรประเทศทั่วโลก เงินกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จีนจะให้แก่อาเซียนสองยอดคือจำนวน 10,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในรูปเงินกู้ และอีก 15,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็คือยุทธวิธีหนึ่งในการระบายเงินทุนออกจากประเทศจีน ที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคีในกลุ่มอาเซียนอย่างยุติธรรม

    การผันเงินไหลเข้าจีนโดยยุทธวิธีดังกล่าวจึงทำให้กระแสเงินที่จะท่วมประเทศจีนบรรเทาลง แต่ก็ยังมีเงินทุนเหลืออยู่อีกจำนวนมาก

    การระบายเงินส่วนที่เหลืออยู่โดยยังสามารถดำรงอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเงินของจีนจึงยังคงเป็นเรื่องใหญ่

    และเรื่องใหญ่แบบนี้ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จีนก็ใช้ลักษณะพิเศษสามใหญ่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด คือใช้ความเป็นประเทศใหญ่ ใช้ความที่มีประชากรมาก ใช้ความที่ประเทศจีนตอนกลางและตะวันตกยังยากจน ขาดแคลน และล้าหลังให้เป็นประโยชน์สูงสุด โดยการนำเงินส่วนที่เหลือนี้ไปในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทุกด้านให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเกิดความสมดุลตามหลักการความสัมพันธ์ใหญ่ 10 ประการ ตามความคิดเหมาเจ๋อตง ดังที่เคยมีระบุไว้ในสรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง เล่ม 5

    ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่สุดหลังยุคสมัยพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้จึงเกิดขึ้น และล้ำยุค โดยระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นการพัฒนารถไฟระยะที่ 7 ของจีน เป็นการปรับอัตราความเร็วของประเทศจีนครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ระยะเดินทาง 250-300 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น

    นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบต่าง ๆ การพัฒนาระบบชลประทานและแหล่งน้ำเพื่อประชาชาติจีน ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรก็ขยายตัวไป ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร โดยเฉพาะการกำหนดยุทธศาสตร์อาหาร ที่กำหนดให้มณฑลกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางอาหารโลกที่เพิ่งกำหนดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้

    จีนได้ใช้วิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสในการปรับปรุงประเทศที่เคยมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมอย่างร้ายแรง เข้าสู่ยุคกรีนหรือไร้มลพิษอย่างทั่วด้าน ในขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันอันตรายจากการเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจ จีนก็ได้ทำในสิ่งที่คนทั่วโลกและคนไทยคิดไม่ถึง

    นั่นคือการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่มวลมหาประชาชนจีน ตั้งแต่หน่วยพื้นฐานที่สุดคือหมู่บ้าน หลักปรัชญาและระบบเศรษฐกิจนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้คนไทยมานานนักหนาแล้ว แต่วันนี้กำลังนำไปใช้อย่างแพร่หลายและได้ผลในประเทศจีน จะเป็นภูมิคุ้มกันการล่มสลายของจีนหลังจากความเจริญเติบโตถึงขีดสุดมาถึง

    ตรงจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าแม้จีนจะเป็นประเทศนิยมที่มีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง แต่ระบบความคิดในเรื่องนี้จะมีแตกต่างกับปรัชญาเศรษฐกิจแนวพุทธที่ตรงไหน และนั่นคือเนื้อหาและรูปแบบเดียวกันกับสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่คนไทย แต่นักการเมืองไทยไม่สนใจไยดีเลยแม้แต่น้อย

    ผลจากการใช้ยุทธวิธีผันเงินทุนที่ไหลเข้าออกไปต่างประเทศโดยอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างยุติธรรม และการผันเงินลงทุนไปในการพัฒนาสร้างสรรค์โครงสร้างและสังคมพื้นฐานของจีน แล้วยังกำหนดมาตรการป้องกันการล่มสลายหลังวันที่ความเจริญเติบโตถึงขั้นสูงสุดมาถึง จึงสามารถรับมือกับการผันกระแสเงิน กระแสทุน เข้าท่วมประเทศจีนอย่างได้ผล

    ในวันนี้แม้สงครามการเงินยังไม่สิ้นสุด แต่ก็พอเห็นบั้นปลายของสงครามได้แล้วว่าจีนได้ตั้งอยู่ในฐานะที่ไม่พ่ายแพ้แล้ว และได้แปรเอาวิกฤตเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการเพิ่มความมั่นคงเสถียรภาพและดำรงอัตราความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจไว้ได้อย่างสมบูรณ์

    เมื่อยุทธศาสตร์ใหญ่ในการไขน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิคให้ท่วมประเทศจีนไม่ได้ผล เงินทุนและกระแสเงินในอเมริกาก็แห้งขอด ก่อเกิดเป็นภาวะเงินฝืดและวิกฤตทางเศรษฐกิจตามมาระลอกแล้วระลอกเล่า ดังที่ปรากฏจากวิกฤตแฮมเบอเกอร์ในต้นปี 2552 ซึ่งยังไม่สิ้นสุดและจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป

    อเมริกาจะประสบกับความย่อยยับมากน้อยเพียงใด วันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่การเอาชนะในสงครามการเงินกับจีนอีกแล้ว แต่อยู่ที่จะสามารถดึงกระแสทุนกลับคืนสู่อเมริกาได้อย่างไร?

    ประเทศไทยของเราจะมัวโหวกเหวกโวยวายเรื่องเงินบาทแข็งค่าและการสกัดเงินไหลเข้าประเทศ ภายใต้กรอบความคิดสี่เหลี่ยมที่เลี้ยงหมูเอาไว้ขาย หรือว่าจะอาศัยสถานการณ์นี้ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บ้านเมืองและประชาชน จึงเป็นภารกิจอันสำคัญยิ่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้.
    ดูสงครามการเงิน จีน-สหรัฐ (ตอนที่ 4-จบ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...