เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE id=Tcontent width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ถึงเวลาโลกระดมสมอง ตั้งปราการสู้วิกฤตอาหารแพง


    </TD></TR><TR><TD class=contBX>ได้รับกระแสตอบสนองอย่างล้นหลาม ทั้งจาก FAO และรัฐบาลต่างๆ หลังจากที่ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส ในฐานะประธานกลุ่ม G20 เสนอมาตรการเพื่อสกัดกั้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาอาหารถีบตัวขึ้นมา จนอาจสั่นสะเทือนเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม
    มาตรการของประธาน G20 โดยสรุปมีดังนี้
    lจัดตั้งฐานข้อมูลผลผลิต การบริโภค และสต๊อกสินค้าภาคเกษตรทั่วโลก
    lเสริมความร่วมมือในระดับโลก เพื่อป้องกันการใช้มาตรการควบคุมผลผลิตเพียงฝ่ายเดียว
    lหาหนทางให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศยากจน เพื่อปรับระดับความมั่นคงด้านอาหาร
    lยกเว้นความช่วยเหลือด้านอาหารจากภาษีส่งออก
    lเพิ่มปริมาณผลผลิตภาคเกษตรเพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น
    lผู้ประกอบการในตลาดจะต้องให้การรับประกันการค้าสินค้าโภคภัณฑ์จากภาคเกษตร
    lผลักดันให้วางมาตรการควบคุมตลาดโภคภัณฑ์ ดังเช่นที่สหรัฐและยุโรปกำลังพยายามผลักดัน
    พิจารณาจากมาตรการเหล่านี้ อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่เริ่มการประชุมสุดยอด G20 เมื่อปี 2551 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสถือเป็นประธานกลุ่มที่มีท่าทีกระตือรือร้นที่สุด และเป็นครั้งที่มีการนำเสนอมาตรการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่สุด กระชับและครอบคลุมที่สุด
    นี่มิใช่คำเยินยอ แต่เป็นการย้ำว่า ราคาอาหารเป็น “มารดาของทุกปัญหา” กระทบถึงผู้คนทุกชนชั้น ตั้งแต่แรงงานหาเช้ากินค่ำ จนถึงนักลงทุนระดับพันล้าน และตั้งแต่คนเดินดินที่ไม่มีใครรู้จัก จนถึงประธานาธิบดีของประเทศมหาอำนาจ
    นอกจากนี้ ปัญหาราคาอาหารแพงยังส่อเค้าชัดเจนถึงระดับรุนแรงและเร่งด่วนเกินกว่าจะวางมาตรการอย่างกว้างๆ เพราะถึงขั้นที่ G20 จำต้องเปลี่ยนเป้าประสงค์หลักของกลุ่ม จากเดิมที่มุ่งเน้นความร่วมมือด้านการเงินการคลังระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศตลาดเกิดใหม่ มาเป็นการสกัดกั้นปัญหาด้านระดับราคาในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
    นับแต่แรกเริ่มที่มีการรวมกลุ่มเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว G20 ได้วางเค้าโครงความร่วมมือของกลุ่มค่อนข้างกว้าง หนึ่งในนั้นคือรักษาเสถียรภาพในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงเสถียรภาพของตลาดโภคภัณฑ์ด้านพลังงานและทรัพยากร ซึ่งแม้จะเอ่ยถึงตลาดโภคภัณฑ์ แต่ยังมิได้เน้นหนักในปัญหาราคาอาหารแต่อย่างใด แม้โลกจะเคยผ่านวิกฤตอาหารขาดแคลนมาแล้วระหว่างปี 25502551
    สิ่งที่เกิดขึ้นจึงแสดงให้เห็นว่า ปัญหาร่วมกันของชาวโลกมิใช่วิกฤตการเงินอีกต่อไป แต่เป็นปัญหาราคาอาหารที่จริงจังและหนักหน่วงยิ่งกว่าในระยะยาว
    เข้าทำนองที่ว่า “เงินทองของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง”!
    “ของจริง” ที่ว่านี้ส่อเค้าลางของปัญหามาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยที่ FAO เคยเตือนไว้ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 ว่า ในทศวรรษต่อจากนี้ ราคาอาหารแพงจะไม่ใช่ปัญหาผีเข้าผีออกอีกต่อไป แต่นับเป็นภัยคุกคามในระยะยาว และจะหลอกหลอนชาวโลกอย่างสยดสยองยิ่งขึ้นทุกที
    เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว FAO เตือนว่า ภายในเวลา 40 ปีต่อจากนี้ ปริมาณการผลิตอาหารจะต้องสูงขึ้นอีก 70% เพื่อตอบสนองความต้องการของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นถึง 9,150 ล้านคนในปี 2050
    มาในปีนี้ FAO ยังวางกำหนดเวลาไว้ที่ 40 ปีเช่นเดิม ด้วยปริมาณการผลิตที่ควรเพิ่มขึ้นในอัตราเดิม ทว่า ในส่วนของประเทศกำลังพัฒนา กลับก่อสัญญาณอันตรายขึ้น เมื่อ FAO เตือนว่า อาจต้องป้อนอาหารให้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นถึง 100%
    การที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากมายถึงเพียงนั้น จะต้องทุ่มงบประมาณภาครัฐเพื่อพัฒนาภาคการเกษตรถึงปีละกว่า 4.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนภาคธุรกิจอาจต้องใช้เงินถึง 6 หมื่น1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    ในส่วนของปัญหาประชากรล้นโลก ไม่เฉพาะจีนและอินเดียเท่านั้นที่ตกเป็นเป้าจับตามอง ในฐานที่ประชากรมากที่สุด 2 อันดับแรก แต่ประเทศกำลังพัฒนารายอื่นๆ มีอัตราการเกิดที่รวดเร็วไม่น้อยเช่นกัน สวนทางกับประเทศพัฒนาแล้วที่อัตราการเกิดเริ่มชะลอตัวลง
    ข้อมูลจาก UNDP บ่งชี้ว่า อัตราการเกิดของประชากรในทวีปแอฟริการะหว่างทศวรรษที่ 19502010 อยู่ในระดับที่รวดเร็วที่สุดถึง 26.1% ส่วนเอเชียมีอัตราการขยายตัวที่อันดับที่ 4 ที่ 12.7% แม้จะอยู่ในระดับที่ต่างกัน แต่ทั้งสองทวีปเป็นพื้นที่ที่เคยประสบกับวิกฤตอาหารมาโดยตลอด จึงนับเป็นภูมิภาคที่เปราะบางต่อปัญหานี้มากที่สุด
    ผลพวงจากปัญหาประชากรล้นโลกและอาหารขาดแคลน ส่งผลกระทบรวดเร็วกว่าที่ FAO คาดการณ์ไว้ เพราะหากพิจารณาถึงมาตรการที่ฝรั่งเศสได้นำเสนอ จะพบช่องโหว่ไม่น้อย และช่องโหว่เหล่านี้ไม่อาจแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเป็นปัญหาในเชิงหลักการบ้าง และปัญหาในเชิงปฏิบัติบ้าง
    ในส่วนของข้อเสนอให้เสริมความร่วมมือในระดับโลก เพื่อป้องกันการใช้มาตรการควบคุมผลผลิตเพียงฝ่ายเดียว มีการยกกรณีที่รัสเซียสั่งห้ามการส่งออกข้าวสาลีเมื่อปีที่แล้วเป็นตัวอย่าง ซึ่งครั้งนั้นยังผลให้ราคาข้าวสาลีทั่วโลกแพงขึ้นถึง 502% ช่วงไตรมาส 23 ของปีที่แล้ว
    กรณีนี้แม้จะเกี่ยวพันต่อปากท้องของชาวโลก แต่จะมีวิธีการใดหรือที่จะสามารถบีบบังคับประเทศหนึ่งๆ ให้ปฏิบัติตามแรงกดดันได้ โดยมิถูกมองว่าเป็นการก้าวล้ำกิจการภายใน
    ข้อเสนอต่อมา คือ เพิ่มปริมาณผลผลิตภาคเกษตรเพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น จุดนี้มีปัญหาในเชิงปฏิบัติมากพอๆ กับที่ไม่มีปัญหา กล่าวคือ ถึงแม้จะผลักดันเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตได้ระดับหนึ่ง แต่เรายังไม่สามารถรับประกันผลพวงต่อการผลิตจนเกิดศักยภาพของธรรมชาติ
    ขอให้ดูการปฏิวัติเขียว (Green Revolution) ระหว่างปี 19501984 เป็นอุทาหรณ์ แม้จะสามารถเพิ่มผลผลิตธัญพืชได้ถึง 250% แต่ก็กระตุ้นอัตราการเพิ่มของประชากรถึง 4,000 ล้านคน อีกทั้งการกระหน่ำใช้สารเคมี การผันน้ำเพื่อชลประทานอย่างไม่ยั้งคิด ยังก่อปัญหาระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อมจนทุกวันนี้
    ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของการปรับปรุงตลาด ยังพบว่า การป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้า อาจเป็นอุปสรรคที่ยากเย็นที่สุด เพราะความที่สินค้าเกษตรสามารถดึงความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง จึงนับเป็นสินค้าที่ทำรายได้อย่างยั่งยืนที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่นานาประเทศจะปกป้องตลาดของตัวเองอย่างเต็มที่ และเป็นสาเหตุของความไม่ลงรอยระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อันเป็นส่วนหนึ่งของ G20 จนยังผลให้ข้อตกลงการค้าเสรีรอบโดฮา หากข้อตกลงรอบโดฮา ในส่วนของภาคเกษตร ไม่ผ่านความเห็นชอบของทุกฝ่าย ข้อเสนอของฝรั่งเศสย่อมไม่มีทางปรับใช้ได้อย่างจริงจัง
    ความเห็นที่ตรงกันของทุกฝ่าย คือ วิกฤตอาหารโลกมิใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราวอีกต่อไป แต่เป็นภัยคุกคามระยะยาวที่ต้องยกระดับให้เป็นวาระร่วมกันของชาวโลกดังเช่นที่ G20 ได้ริเริ่มเป็นก้าวแรก
    สิ่งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ คือแนวทางในการรับมือที่ตรงจุดที่สุด ระหว่างการวางแผนเพื่อกำหนดจำนวนประชากรโลกที่ไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ อันอาจเกิดขึ้นจากสงครามแย่งชิงปัจจัยสี่ หรือจะเป็นการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรครั้งใหญ่ ดังเช่น ความพยายามในอดีตผ่านการปฏิวัติเขียว
    แต่แนวทางการควบคุมประชากรโลกยังไม่ส่อเค้าประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่า การลดจำนวนประชากรในประเทศหนึ่งๆ จะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ ยังผลให้บางประเทศเกิดความลังเลที่จะใช้มาตรการนี้อย่างเข้มงวด
    ส่วนผลของการปฏิวัติเขียว เป็นที่รับทราบกันในวงกว้างว่า ได้ยังความหายนะให้เกิดขึ้นในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกบงการด้วยน้ำมือมนุษย์จนผิดธรรมชาติ การสูญพันธุ์ของพืชท้องถิ่นซึ่งทนต่อภัยธรรมชาติ และผลเสียร้ายแรงจากสารเคมี
    ถึงที่สุดแล้วทุกข้อเสนอนับเป็นความหวังดี ที่ยังต้องอาศัยการระดมสมองอย่างหนักจากประชาคมโลก


    </TD></TR><TR><TD class=contBX align=right>

    Post Today
    Last update : 1/26/2011 11:26:33 AM

    <!------i>channel path : xmls/money/Today/</i---->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    MSN
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กระแสลมปฏิวัติพัดกล้าในตะวันออกกลาง
    แสงไทย เค้าภูไทย
    กระแสปฏิวัติโดยประชาชนในตะวันออกกลางโชยสะพัดไปทั่วโลก หลายชาติที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรือใช้กองทัพหนุนหลังพากันหนาวๆร้อนๆ
    ขณะที่บ้านเรามีม็อบเสื้อเหลืองปักหลักขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลและม็อบเสื้อแดงยกขบวนกันออกมาเป็นระยะๆ สถานการณ์ในอียิปต์ก็กำลังเข้าสู่ฉากสุดท้าย โดยมีแอลจีเรีย ซีเรีย จอร์แดน เยเมน ซูดานปะทุขึ้นมาเข้าคิวเป็นรายต่อไปและต่อๆไป
    ในบรรยากาศประชาชนลุกฮือเช่นนี้ ผู้นำรัฐบาลในหลายประเทศที่ใช้กำลังทหารค้ำบัลลังก์ต่างก็พากันจับตามองและศึกษาสถานการณ์อย่างเคร่งเครียด เพราะเหตุการณ์เช่นนี้ สามารถเกิดกับตนได้ทุกเมื่อ
    รายงานจากสำนักข่าวไทม์ ออนไลน์ระบุว่า รัฐบาลจีนสั่ง”ไมโคร-บล็อก” ข่าวการลุกฮือในอียิปต์ทางอินเตอร์เน็ตโดยเด็ดขาดเช่นเดียวกับการเซ็นเซอร์ข่าวสื่อแขนงอื่นทุกแขนง
    ทั้งนี้เพราะรัฐบาลปักกิ่งยังกังวลกับความเคลื่อนไหวใต้ดินภายในประเทศของตนซึ่งสื่อมวลชนตะวันตกระบุว่าคือ 3 T ได้แก่ Tiananmen-Tibet-Taiwan
    การลุกฮือของชาวทิเบตช่วงก่อนแข่งโอลิมปิกเมื่อปี 2008 การจลาจลในแคว้นซินเกียงในปี 2009 ย้อนไปเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน มิถุนายน 1989 ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่สามารถกลับมาเกิดได้อีกทุกเมื่อ
    ความสำเร็จของการปฏิวัติโดยประชาชนในตูนิเซียและกำลังจะสำเร็จในไคโรส่งกระแสปฏิวัติกลางถนนแรงกล้าไปทั่วโลก
    ในกรณีนี้ Global Times กระบอกเสียงของรัฐบาลจีนได้เตือนคนจีนไว้ในบทบรรณาธิการว่า ประชาธิปไตยประสบความสำเร็จด้วยดีในประเทศตะวันตก โดยเป็นเสมือนวิถีชีวิต ทั้งด้านเศรษฐกิจและการศึกษา แต่ไม่เหมาะสมสำหรับประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกาที่อยู่แค่ระดับวุ่นวาย โหวกเหวกกลางถนน
    สำหรับในอียิปต์ การที่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ยังไม่ยอมลาออกเหมือนกับประธานาธิบดีบิน อาลี ของตูนิเซียนั้น ผู้ที่อยู่เบื้องหลังก็คือสหรัฐและอิสราเอล
    ทั้งนี้เพราะอียิปต์เป็นพี่ใหญ่ของรัฐอาหรับทั้งปวงและเคยเป็นผู้นำในการทำสงครามกับยิวมาก่อน แต่ภายหลังสหรัฐเอาเงินเข้าล่อและหล่อเลี้ยง จึงญาติดีกับอิสราเอลมากว่า 30 ปี
    เหตุนี้ การลุกฮือขับไล่มูบารักครั้งนี้ ปาเลสไตน์คู่แค้นตลอดกาลของอิสราเอลและซีเรียพร้อมเพื่อนอาหรับเช่นอิรักและเยเมนต่างพากันสนับสนุน
    สำหรับทหารที่รัฐบาลส่งมาคุมสถานการณ์นั้น ล่าสุดประกาศว่าจะไม่ยิงปืนใส่ฝูงชนที่ชุมนุมโดยสันติโดยเด็ดขาด
    พูดเหมือนกับทหารบ้านเราช่วงเกิดม็อบเสื้อแดงไม่มีผิด
    แต่ตอนนี้ ประท้วงอียิปต์มีคนตายไปแล้วกว่า 100 คนบาดเจ็บกว่าพันคนแล้ว
    มูบารักพยายามสืบทอดอำนาจโดยตั้งรองประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีพร้อมกับปลดนายกรัฐมนตรีออกไป
    แต่ฝูงชนก็ยังไม่ยอมรับ เพราะรองประธานาธิบดีคนนี้ก็คือมือขวาของมูบารัคนั่นเอง
    มูบารักพยายามรักษาอำนาจไว้สุดฤทธิ์ มีการประกาศเคอร์ฟิว แต่ม็อบก็ยังปักหลักกางเต๊นท์นอนกันกลางถนน เหมือนพวกราชประสงค์ มีการปิดระบบอินเตอร์เน็ตและสัญญาณมือถือ เพื่อสกัดกั้นการปลุกระดมคนทั่วประเทศให้ลุกฮือ รวมถึงปิดสำนักข่าวอัลจาซีรา ฯลฯ
    สร้างความเสียหายต่อระบบราชการ ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจภาคเอกชน จนกลายเป็นอัมพาตไปทั้งประเทศ ในที่สุดต้องเปิดให้เป็นปกติอีกครั้ง
    ช่วงเกิดม็อบใหม่ๆ ไม่มีผู้นำชัดเจน ทำให้กังวลว่า หากมูบารัคไปแล้วใครจะมา
    แต่บัดนี้ได้มาแล้ว คือผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นายเอล บาราไดอดีตหัวหน้าองค์การพลังงานนิวเคลียร์นานาชาติผู้เคยนำทีมตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ในอิรัก แล้วสรุปว่าไม่มีอาวุธตามอ้าง แต่ประธานาธิบดีบุชก็ยังดึงดันว่ามี ใช้เป็นสาเหตุถล่มอิรักและยึดครองมาจนถึงวันนี้
    จึงต้องมองไปที่สหรัฐผู้ให้งบประมาณช่วยเหลือกองทัพและรัฐบาลอียิปต์ปีละถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ว่าจะเอาคนนี้ไหม
    เพราะนับแต่โค่นล้มระบอบกษัตริย์เมื่อปี 1952 เป็นต้นมาจนบัดนี้ 59 ปี อียิปต์มีทหารเป็นประธานาธิบดีมาโดยตลอดจนแม้แต่มูบารัคเองก็เคยเป็นพลเอกในกองทัพอากาศ วันนี้เขาก็ยังตั้งอดีตนายพลโอมาน สุไลมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองขึ้นมาเป็นรองประธานาธิบดีอีก
    จุดหักเหนี้ จะชี้ชะตาชาวตะวันออกกลางที่สำคัญยิ่ง เพราะรอบๆข้างอียิปต์ล้วนชาติอาหรับที่รวมตัวเป็นองค์กรมุสลิมพร้อมจะทำสงครามขับไล่ยิวออกไปทุกเมื่อ และงานนี้ องค์กรนี้ก็ยังสนับสนุนผู้ประท้วงอย่างออกหน้าออกตาอีกด้วย
    สิ่งที่ต้องคิดหนักก็คือ ขณะที่ชาติรอบด้านอียิปต์พากันเจริญรุ่งเรืองไปทั่วนั้น ทำไมอียิปต์จึงยังยากจนอยู่ ประชากรมีรายได้ต่อหัวแค่วันละ 2 ดอลลาร์สรอ.หรือ 60 บาทเท่านั้น
    และเพราะความยากจนนี้เองที่นำไปสู่การประท้วงขับไล่รัฐบาลจนเป็น “ปฏิวัติความหิวโหย”
    วันนี้ถ้ายังติดกับดักการครอบงำของกองทัพมีนายพลเป็นหุ่นชักใยเพื่อผลประโยชน์ในตะวันออกกลางของสหรัฐอยู่ต่อไป
    อียิปต์ก็จะกลับไปเป็นอียิปต์เหมือน 59 ปีที่ผ่านมา
    เหมือนกับชาติที่ปกครองด้วยเผด็จการทางทหาร ตั้งแต่ตะวันออกกลาง อัฟริกามาจนถึงพม่า
    ลมปฏิวัติพัดจากตะวันออกกลาง จะผ่านมาทางนี้ไหม ?
    ท่ามกลางกระแสสับสนเรื่องรัฐประหารที่ยังวนเวียนอยู่ในบ้านเรา มองกองทัพกันในแง่นี้บ้างหรือเปล่า ?

    Siamrath |
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น – ชาวอียิปต์ และนักรณรงค์ทั่วโลกแสดงพลังตามท้องถนนในเมืองต่างๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประท้วงในอียิปต์ และร่วมเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมุบารักลงจากตำแหน่ง
    [​IMG]
    มีการประท้วงหน้าสถานทูตอียิปต์ในกรุงลอนดอน โดยผู้ประท้วงชูป้ายเขียนข้อความขับไล่มุบารัก และขอเสรีภาพให้ชาวอียิปต์ พร้อมตะโกนคำขวัญต่างๆ
    นอกจากนั้น ในหลายเมืองของยุโรป อาทิ เจนีวา มีการตะโกนขับไล่ประธานาธิบดีมุบารัก ทั้งในภาษาอาหรับ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ส่วนในประเทศแคนาดาก็มีหลายเมืองที่จัดการประท้วงขึ้นเช่นกัน อาทิ ที่หน้าสถานกงสุลอียิปต์ในเมืองมอนทรีออล มีผู้มาชุมนุมประมาณ 150 คน ส่วนบริเวณกลางเมืองโตรอนโต้ มีผู้มาร่วมรณรงค์ประมาณ 500 คน
    หลายคนที่มาร่วมประท้วงกล่าวว่า ได้รับแรงกระตุ้นจากการประท้วงในอียิปต์ และคิดว่าจะได้เป็นประจักษ์พยานของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ หลายคนเปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับการทำลายกำแพงเบอร์ลิน และว่า ประชาชนชาวอียิปต์ และประชาชนในตะวันออกกลางต้องการจะบอกว่า พวกเขาต้องการเสรีภาพ
    หลายเมืองในสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดรณรงค์ต่อต้านประธานาธิบดีมุบารักเช่นกัน – www.muslimthai.com
    2ก.พ 54การประท้วงประเทศอียิปต์ ไคโร – ประธานาธิบดีฮุสนี มุบารัก | mekaje
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กาแฟดำ : ข่าวประท้วงที่ผมได้จาก รายงานตรง สดจากจัตุรัสกลางกรุงไคโร
    [​IMG]

    ใครที่ติดตามข่าวคราวการประท้วงที่อียิปต์ ซึ่งย่างเข้าวันที่ 7 มกราคมวันนี้ จะรู้สึกว่าช่างมีอะไรละม้ายกับการเรียกร้องทางการเมืองในระยะหลังกลางถนนของหลายประเทศรวมทั้งไทย

    นี่คือ “โลกาภิวัตน์” แห่งกระบวนการประชาชนที่เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้องนัดหมายหรือปรึกษาหารือต่อหน้าต่อตา

    เพราะ social media ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์หรือเฟซบุ๊คและยูทูบ มีส่วนทำให้ภาคประชาชนของโลกสามารถสื่อสารถึงกันด้วยตัวหนังสือ ภาพ และเสียงอย่างปัจจุบันทันด่วน

    ที่เคยเตือนกันเมื่อมีอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ ว่า ผู้ปกครองที่ใช้อำนาจเผด็จการ หรือการรวมศูนย์อำนาจจะต้องเผชิญกับการท้าทายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน กำลังเกิดขึ้นให้เห็นต่อหน้าต่อแล้ว

    ประธานาธิบดีฮอสนี บูมารัก ของอียิปต์ นึกว่าจะสกัดกั้นข่าวสารการประท้วงของประชาชนได้ ด้วยการสั่งปิดสำนักงานของ Al-Jazeera ที่ไคโรวันก่อน อีกทั้งยังขับไล่นักข่าวออกไปจากประเทศก็ต้องตกใจเมื่อข่าวร้ายๆ กับตนเองยังกระจายผ่านทวิตเตอร์ประเภทนาทีต่อนาที

    และเมื่อไม่มีนักข่าวทางการ ก็มี “นักข่าวกองโจร” และ “นักข่าวพลเมือง” เกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ดอย่างกะทันหัน

    ผมสามารถรับรู้อารมณ์และความเคลื่อนไหว ของผู้ประท้วงและรัฐบาลที่อียิปต์ และกลาง “จัตุรัส Tahrir” (ปลดแอก) กลางกรุงไคโรทุกช่วงจังหวะของการประท้วงตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทวิตเตอร์และยูทูบ และได้ยินแม้เสียงเครื่องบินรบ ที่ทางการส่งขึ้นไปบินข่มขู่ผู้ประท้วง เหมือนผมร่วมอยู่ในฝูงชนนั้นด้วยซ้ำไป

    ถามว่าบูมารัก ที่ปกครองประเทศมา 30 ปีจะรอดไหม

    คำตอบของผมวันนี้ คือ เขาต้องนับถอยหลังให้กับตัวเองชั่วโมงต่อชั่วโมง เพราะประชาชนคนอียิปต์ ที่ออกมาแสดงประชามตินั้นไม่ต้องการเขาแล้วอย่างชัดเจน

    แม้ว่าเมื่อเจอกับแรงกดดันอย่างหนักเพราะการแสดงออกของประชาชน เขาจะแต่งตั้งรองประธานาธิบดีชื่อ Omar Suleiman (อดีตผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ) มาขัดตาทัพ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าคนสนิทคนนี้ใกล้ชิดกองทัพมากกว่าประชาชน

    แปลง่ายๆ คือ บูมารักกลัวทหารมากกว่าประชาชน ขณะที่ทหารเองก็กำลังจับชีพจรประชาชนว่าจะเอาบูมารักหรือไม่

    ล่าสุดบูมารัก ออกมาแถลงว่าพร้อมจะเจรจากับทุกกลุ่มที่ไม่พอใจรัฐบาล และกำลังจะดำเนินนโยบาย “ปฏิรูป” ตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม แต่ก็ไม่ทันกาลเสียแล้ว เพราะท่าทีเช่นนั้นเป็นเรื่อง “ช้าไป น้อยไป” สำหรับประชาชนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า การ “รับปาก” ว่าจะริเริ่มการปฏิรูปเมื่อตัวเองถูก “ต้อนจนมุม”

    ยิ่งเมื่อบูมารักบอกว่าตนได้สั่งให้นายกฯ คนใหม่ที่ชื่อ Ahmed Shafik (อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศและผู้อำนวยการการบิน) ว่า ให้หาทางลดค่าครองชีพประชาชน และเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อดึงเอาราคาข้าวปลาอาหารลดลงมา ก็เห็นได้ชัดว่านี่เป็นเพียงการ “ซื้อเวลา” ของนักการเมืองที่รู้ตัวว่าวันเวลาของตนกำลังจะหมดไปเท่านั้น

    ผมฟังรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี คลินตัน ประกาศว่าต้องการจะให้เกิดการปฏิรูป และการเลือกตั้งอย่างสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ก็สรุปได้ไม่ยาก ว่า วอชิงตันกำลังจะเลิกอุ้มบูมารัก ที่เคยเป็นสหายใกล้ชิดของอเมริกามาหลายสิบปี

    ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ลงมือโทรศัพท์หาผู้นำโลกหลายคน เพื่อหยั่งท่าทีว่าจะให้อเมริกาทำอย่างไรกับผู้นำอียิปต์คนนี้ และผลที่ออกมาเป็นไปในทางให้มีการ “เปลี่ยนผ่านที่สันติ”

    แปลเป็นภาษาชาวบ้าน ก็คือ บูมารักจะต้องไม่สั่งทหารให้ยิงประชาชนที่ประท้วง และจะต้องยอมถอยฉากออกไป เพื่อให้มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราว ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และโปร่งใส

    เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น บูมารักถูกมองว่าได้ใช้อำนาจทางการเมืองของตนทำให้ผลการเลือกตั้งออกมาในแนวทางที่เป็นประโยชน์กับตนเท่านั้น

    หากสหรัฐยังดึงดันจะอุ้มบูมารักต่อ ก็จะต้องเผชิญกับการต่อต้านของคน อียิปต์

    ซึ่งเป็นสิ่งที่โอบามาและฮิลลารี คลินตัน รู้ว่าไม่ต้องการอย่างยิ่ง เหตุเพราะ อียิปต์ เป็นประเทศที่สำคัญต่อนโยบายตะวันออกกลางของอเมริกา และอะไรก็ตาม ที่ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพใน อียิปต์ ก็จะมีผลกระทบทางลบต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอย่างยิ่ง

    อียิปต์ เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในตะวันออกกลาง มีประชากร 80 ล้านคน และเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐ ในการพยายามให้ปาเลสไตน์กับอิสราเอลหาทางเจรจา เพื่อสงบศึกที่ยืดเยื้อยาวนาน

    เหตุจลาจลที่ อียิปต์ ส่งแรงกระเพื่อมไปยังประเทศอาหรับอื่นๆ ไม่น้อยโดยเฉพาะประเทศที่ยังมีผู้นำที่รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้นำคนเดียว และที่เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจและคอร์รัปชันเรื้อรัง

    แต่เดิมเชื่อกันว่า ประเทศตะวันออกกลางที่มีน้ำมัน ซึ่งสามารถดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดีกว่าประเทศที่ไม่มีน้ำมันในอาณาบริเวณเดียวกัน จึงอาจจะทำให้ปลอดจากความสั่นสะเทือนทางการเมือง

    แต่วันนี้ ความแตกต่างนั้นอาจจะหายไปแล้ว เพราะประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องสิทธิทางการเมืองของตนมากขึ้น และต่อต้านการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงในหมู่ผู้มีอำนาจอย่างเปิดเผยหนักหน่วงขึ้น

    โดยเฉพาะเมื่อ social media เปิดทางให้การสื่อสารระหว่างประชาชนทั่วโลกอย่างกว้างขวาง รวดเร็วและทันกาล ผู้นำทางการเมืองที่ยังหลงละเลิงอยู่กับอำนาจและฟังแต่เพียงคนรอบข้าง ก็จะต้องถูกโค่นไปทีละคนสองคนอย่างที่เห็นกัน

    ตูนิเซีย อียิปต์ เยเมน...เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเขย่าบัลลังก์อำนาจเก่าเท่านั้น


    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    กาแฟดำ : ข่าวประท้วงที่ผมได้จาก รายงานตรง สดจากจัตุรัสกลางกรุงไคโร
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE class=tnn_content cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เหตุจลาจลในอียิปต์อาจลุกลามไปซีเรีย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    หลายฝ่ายกำลังเกรงว่าเหตุจลาจลที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะล่าสุดที่อียิปต์อาจลุกลามไปยังซีเรีย
    วันนี้ ( 2 ก.พ. 54 ) เหตุจลาจลโค่นล้มรัฐบาลตูนิเซียก่อนที่จะลุกลามไปยังอัลจีเรีย, จอร์แดน,เยเมน,ซูดานและอียิปต์ซึ่งเป็นประเทศล่าสุด กำลังสร้างความหวาดวิตกให้กับหลายฝ่ายว่าอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงอย่างซีเรีย เพราะขณะนี้กลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลในซีเรียกำลังเรียกร้องให้คนออกมาชุมนุมประท้วงกันในวันเสาร์นี้ เพื่อต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อั๊ดซ้าด โดยกลุ่มดังกล่าวกำลังดำเนินการโดยผ่านสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค ด้วยการเปิดหน้า
    ต่างๆเพื่อส่ง เสริมการประท้วงในกรุงดามัสกัส, เมืองอเล็บโป้และอื่นๆ ซึ่งสถาบันวิจัยสื่อตะวันออกกลางระบุว่ากลุ่มผู้ประท้วงต้องการมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชนและให้เยาวชนมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีประชาชนมากน้อยเพียงใดที่จะเข้าร่วมการประท้วง โดยมีประชาชนไม่กี่พันคนที่แสดงท่าทีสนับสนุนเรียกร้องการโค่นล้มรัฐบาลในการจัดการประท้วงผ่านหน้าเฟซบุ๊ค ซึ่งหลายคนคาดว่าเป็นเสียงที่มาจากนอกประเทศ
    ด้านผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคบอกว่าทุกฝ่ายได้เห็นการเรียกร้องให้มีการปฏิ รูปทางการเมืองที่เริ่มจากตูนิเซียรวมไปถึงหลายประเทศไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าเหตุ การณ์ดังกล่าวไม่น่าจะหยุดอยู่แค่อียิปต์ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะต่อต้านข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปทางการเมืองเมื่อเรื่องดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพราะเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่รัฐบาลเผด็จการอยู่ในอำนาจมานาน และตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็ต้องการที่จะเห็นระบบการเมืองที่แตกต่างออกไป โดยจะต้องเป็นระบบที่เชื่อถือได้ด้วย
    TNN 24
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จากตูนิเซียสู่อียิปต์ : ปรากฏการณ์ "โดมิโน" ล้มทับ "เผด็จการ" โลกอาหรับ

    จากตูนิเซียสู่อียิปต์ : ปรากฏการณ์ "โดมิโน" ล้มทับ "เผด็จการ" โลกอาหรับ

    ไม่ เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่า การตัดสินใจจุดไฟเผาตัวเองของเด็กหนุ่มว่างงานชาวตูนิเซียวัย 26 ปีรายหนึ่ง ที่มีนามว่า "โมฮาเหม็ด บูอาซีซี" เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อเป็นการประท้วงเจ้าหน้าที่ของทางการตูนิเซียในเมืองซิดี บูซิดทางตอนกลางของประเทศ ที่พยายามขัดขวางไม่ให้เขานำผัก และผลไม้มาจำหน่ายที่ข้างถนน จะกลายเป็น "เชื้อไฟ" ที่ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นของประชาชนชาวตูนิเซียตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศในเวลาต่อมา เพื่อขับไล่รัฐบาลตูนิเซียของประธานาธิบดีจอมเผด็จการอย่างซิเน เอล​ อบิดีน เบน อาลี ที่ปกครองประเทศมานานกว่า 23 ปี นับตั้งแต่ปี 1987...
    [​IMG]
    การประท้วงขับไล่รัฐบาลของพลังประชาชนในตูนิเซียซึ่งสร้างความตื่นตะลึง ไปทั่วโลกอาหรับ ทวีปแอฟริกา และประชาคมโลกครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามโดยใช้ระยะเวลาเพียง 28 วันเท่านั้น หลังจากที่จอมเผด็จการเบน อาลี วัย 74 ปียอมสละเก้าอี้ผู้นำประเทศ และเดินทางไปลี้ภัยยังซาอุดีอาระเบีย ประเทศซึ่งเปรียบเสมือน "พี่ใหญ่แห่งโลกอาหรับ" ในวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่มีทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านเข้าร่วมเพื่อช่วยกันบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว ก่อนจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีนี้
    [​IMG]
    ชัยชนะอย่างงดงามของพลังประชาชนในตูนิเซียที่ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของ มวลชนมากกว่า 100 ชีวิต ถือเป็น "แรงบันดาลใจชั้นดี" ให้แก่ประชาชนในหลายประเทศของโลกอาหรับ ที่ต่างประสบชะตากรรมที่ไม่ต่างกันมากนัก จากการถูกปกครองแบบกดขี่โดยรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมายาวนาน

    ในช่วงเวลาไล่เลี่ย กันหลังการลุกฮือของพลังมวลชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลในตูนิเซีย ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ที่คล้ายคลึงกันในหลายประเทศทั้งในแถบตอนเหนือของทวีป แอฟริกา และในภูมิภาคตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็นที่อียิปต์, เยเมน, แอลจีเรีย, จอร์แดน, มอริเทเนีย, ซาอุดีอาระเบีย, โอมาน, ซูดาน, ลิเบีย และโมร็อคโค โดยในจำนวนนี้มีหลายประเทศ เช่น อียิปต์, เยเมน, แอลจีเรีย และจอร์แดนเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นวงกว้างขยายตัวไปทั่วประเทศ
    [​IMG]
    แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด ดูจะเป็นสถานการณ์การประท้วงในอียิปต์ อดีตชาติที่เคยได้ชื่อว่าเป็น "พี่เบิ้ม" แห่งโลกอาหรับ ที่กลุ่มเยาวชน "April 6 Youth Movement" เป็นแกนนำปลุกระดมประชาชนจากหลากหลายสาขาอาชีพออกมาประท้วงตามท้องถนนเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา จากจำนวนผู้ประท้วงแค่หลักร้อยในกรุงไคโรในช่วงแรก ได้ขยายเป็นพลังมวลชนจำนวนหลายหมื่นคนทั่วประเทศภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ วัน ถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นใน "แดนมัมมี่" นับตั้งแต่ปี 1977 เป็นต้นมา

    และแน่นอนว่าการ ประท้วงในอียิปต์ได้พุ่งเป้าของการโจมตีไปที่ตัวประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ผู้นำวัย 82 ปีโดยตรง โดยกลุ่มผู้ประท้วงที่มีจำนวนมากจนน่าตกใจต่างพากันเรียกร้องให้ผู้นำของตน ซึ่งครองอำนาจแบบผูกขาดมาตั้งแต่ปี 1981 ก้าวลงจากอำนาจ เพื่อปูทางไปสู่การปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการแก้ปัญหาการว่างงาน ราคาอาหารที่พุ่งสูง การคอรัปชัน และระบบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

    การตัดสินใจของ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้การนำของมูบารัคที่ให้มีการปราบปรามการประท้วงของ ประชาชนอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้กรุงไคโรเปลี่ยนสภาพจากเมืองหลวงกลายเป็น "สมรภูมิเลือด" ที่มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 160 คน บาดเจ็บอีกเกือบ 5,000 คน และยังมีผู้ถูกจับกุมไปอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย นอกจากนั้น มูบารัคยังสั่งการให้มีการบล็อกการใช้อินเทอร์เน็ต และการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ รวมถึงตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ หวังสยบกลุ่มผู้ประท้วงให้อยู่หมัด เพื่อที่ตนเองจะได้ครองอำนาจต่อไป

    อย่าง ไรก็ดี เมื่อสถานการณ์ในอียิปต์ดูจะเลวร้ายลงทุกขณะ นักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างพากันฟันธงลงความเห็นว่าประธานาธิบดีมูบารัค ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีความเจนจัดที่สุดคนหนึ่งของโลกอาหรับ และมีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวราวกับเป็น "จิ้งจอกเฒ่า" คงเหลือตัวเลือกไม่มากนักให้ตัดสินใจ และดูเหมือน "2 ทางเลือก" ที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดในเวลานี้สำหรับมูบารัค คงหนีไม่พ้น การดันทุรังอยู่ในอำนาจต่อไปพร้อมกับเพิ่มระดับความรุนแรงในการปราบปรามพลัง มวลชนให้ราบคาบ หรือไม่ก็ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยไปยังต่างประเทศ

    การ ออกมาแถลงที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ของฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (31) ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา "ต้องการเห็น" ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในอียิปต์ ถูกมองว่า เป็นการส่งสัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดของสหรัฐฯ ต่อผู้นำอียิปต์ ให้ยอมลงจากอำนาจตาม "มติมหาชน" และยังถูกวิเคราะห์ว่า ทางการสหรัฐฯ คงประเมินแล้วว่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้ "ผู้นำมือเปื้อนเลือด" อย่างมูบารัค ให้ช่วยทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" ในการเจรจาสันติภาพตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อีกต่อไป

    แน่ นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์กำลังดำเนินมาถึง "จุดไคลแม็กซ์" และน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในไม่ช้านี้ว่าในที่สุดแล้ว มูบารัคจะอยู่หรือไป แต่คำถามใหญ่ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในขณะนี้ คือ "โดมิโนชิ้นต่อไป" จะล้มลง ณ ดินแดนแห่งใดในโลกอาหรับเพราะดูเหมือนในเวลานี้ กระแสของการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ และกระแสต่อต้านคณะผู้ปกครองที่ฉ้อฉลไร้ศักยภาพ ดูจะทวีกำลังรุนแรงมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอาหรับ

    จาก การวิเคราะห์ของทีมข่าวต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์เห็นว่า ยังพอมีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดปรากฏการณ์ของการล้มตามกันแบบโดมิโนของระบอบ เผด็จการในโลกอาหรับขึ้นอีกในอนาคต และดินแดนที่ดูจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดเห็นจะเป็น "เยเมน" ในตะวันออกกลาง และ "แอลจีเรีย" ในแอฟริกาเหนือ โดยในกรณีของเยเมนนั้น ถือเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุด และพัฒนาน้อยที่สุดในโลกอาหรับ มีอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วถึงร้อยละ 65 ของประชากร ซ้ำร้ายยังมีเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะใกล้ล่มสลายจากการที่ "น้ำมัน" ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังจะหมดไปภายในปี 2017 อีกทั้งชาวเยเมนจำนวนมากยังไม่พอใจการบริหารประเทศภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ที่แทบไม่มีผลงานเลยนับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาครองอำนาจเมื่อเดือน ต.ค. 1994

    ส่วน ในแอลจีเรียนั้น กระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายความมั่งคั่ง ที่ได้จากการขายน้ำมันกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เพราะในทุกวันนี้รายได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์จากการส่งออกน้ำมันกลับไปกระจุกตัวอยู่ในมือของผู้มีอำนาจทางการ เมืองเพียงไม่กี่รายในประเทศ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 35 ล้านคนยังคงทุกข์ยากกับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแร้นแค้นต่อไป

    ด้าน ดร.สราวุฒิ อารีย์ รองผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ภายในประเทศอียิปต์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า กลุ่มประชาชน ชาวอียิปต์ไม่พอใจ การปกครองอย่างยาวนานกว่า 30 ปี ของนายฮอสนีย์ มูบารัค วัย 82 ปี ประธานาธิบดีประเทศอียิปต์ ที่ถูกกล่าวหาว่า มีการกดขี่ข่มแหง

    ทั้ง นี้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจาก การจลาจลที่ประเทศตูนีเซีย ซึ่งทำใ ห้เกิดการโค่นล้มอำนาจ ของประธานาธิบดีประเทศตูนีเซีย ซึ่งก็ครองอำนาจในประเทศยาวนานถึง 23 ปี ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพียงในช่วงข้ามคืน แล้วเหตุการณ์ในตูนิเซียจึงกลายมาเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน คือมีผู้นำที่มีอำนาจปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน​ จนทำให้เกิดปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน และปัญหาข้าวยากหมากแพง เพราะฉะนั้นก็กลายเป็นว่า หลายประเทศก็ลุกฮือขึ้นมา ตั้งแต่ประเทศจอร์แดน, เยเมน และแอลจีเรียไปจนถึงอียิปต์

    ดร.สราวุฒิ ให้ความเห็นอีกว่า อียิปต์เป็นประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุด หลังจากตูนีเซีย เพราะอียิปต์ถือเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรมากที่สุดในโลกประเทศอหรับ ประมาณถึง 78-79 ล้านคน ปัญหาหลักในอียิปต์ที่ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่ประธานาธิบดี ดร.สราวุฒิ ใช้คำว่า "ปัญหาขนมปัง และปัญหาสิทธิเสรีภาพ" ขณะที่ลักษณะเด่นที่สำคัญทำให้มีการลุกฮือของประชาชน ก็คือไม่มีแกนนำ ประชาชนตัดสินใจลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการเอง ส่วนสิ่งสำคัญอีกอย่าง ก็คือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สื่อออนไลน์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศก็ถือเป็นโครงข่ายสำคัญ มีบทบาทสูงมากในการรวมตัวของประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาล

    ทั้งนี้ ถ้ากลับไปดูการโค่นล้มอำนาจปกครองในประเทศตูนิเซีย จะเห็นว่าชนชั้นที่เป็นหัวหอกในการล้มอำนาจการปกครอง เป็นชนชั้นตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงชนชั้นสูง ซึ่งจะแตกต่างจากอียิปต์ที่เป็นชนชั้นกลางไปจนถึงระดับล่าง อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นคือกองทัพ ประเทศตูนีเซีย ค่อนข้างมีอิสระในการดำเนินการ แต่ในอียิปต์ตัวประธานาธิบดี มีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับกองทัพ ทำให้การโค่นล้ม นายฮอสนีย์ มูบารัค ประธานาธิบดีอียิปต์ วัย 82 ปี ของประชาชนจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการชุมนุมผ่านมา 6-7 วันแล้ว ยังไม่มีสัญญาณหรือท่าทีการลงจากอำนาจออกมาจากตัวประธานาธิบดี

    นอก จากนี้ การที่จะรักษาอำนาจปกครอง หรือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประธานาธิบดีในประเทศอียิปต์ได้หรือไม่ คำถามนี้ยอมรับว่า ตอบยาก ขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง อย่างแรก คือท่าทีของประเทศมหาอำนาจ และประชาคมโลก ว่าจะมีท่าทีอย่างไร กับผู้นำของอียิปต์ เพราะประเทศนี้ ถือเป็นพันธ์มิตรที่สำคัญของทางสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมาสหรัฐฯให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก รวมทั้งมีบทบาทในการเจรจาปัญหา ปาเลสไตน์ หากประเทศมหาอำนาจกดดันประธานาธิบดีอียิปต์มาก ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ
    ส่วน อีกข้อเป็นเรื่องการรวมกลุ่มของผู้ที่ชุมนุมประท้วงว่าจะรวมกลุ่มกันหนาแน่น และมีปริมาณมากเพียงใด อย่างที่ทราบว่ารัฐบาลประเทศอียิปต์ใช้กำลังทหารจัดการกับประชาชน ถ้าประชาชนยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ก็จะเกิดการชุมนุมต่อสู้ที่ยืดเยื้อก็จะเป็นแรงกดดันประธานาธิบดีอียิปต์ให้ ตัดสินใจลงจากตำแหน่ง

    ปัจจัยสุดท้าย คือการตัดสินใจของฝ่ายความมั่นคงและกองทัพของประเทศ ถ้าเหตุการณ์ความรุนแรงยืดเยื้อและบานปลาย บ้านเมืองเสียหาย จนทำให้กลายเป็น รัฐที่ล้มเหลว ถ้าไม่มีทางเลือกและประเทศจะไปจนถึงลักษณะนั้น ก็คิดว่า กองทัพอาจต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง ตัวประธานาธิบดีกับระบอบการปกครองประเทศ หรือจะเลือกความสงบสุขและประชาชน ซึ่งหากตัดสินใจแบบหลัง ผมคิดว่านั่นจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

    สำหรับ ความคิดเห็นของนักวิชาการ และนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่ามันจะยืดเยื้อและไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร เนื่องจากจนถึงขณะนี้เอง ยังไม่พบว่ามีสัญญาณที่มีนัยสำคัญถูกส่งออกมา แต่เหตุการณ์ทั้งหมดจะต้องจบลงแน่ ไม่ทางใดทางหนึ่ง จบในลักษณะใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนอย่างหนัก หรือว่าจะจบลงลักษณะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศ แต่วิธีการอย่างหนึ่งที่ประชาคมโลกอยากที่จะเห็น ก็คือการเจรจาในการวางอนาคตประเทศร่วมกันระหว่างผู้นำกับประชาชนที่ประท้วง ว่าประเทศอียิปต์ควรเดินไปในทิศทางไหน เป็นไปได้ว่า นายฮอสนี สุดท้ายอาจต้องลงจากอำนาจทางการเมืองแน่ แต่อาจจะลงมาหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ในปีนี้แล้ว

    ขณะที่ทางด้าน ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู กล่าวว่า ปัญหาการต่อต้านโค่นล้มอำนาจผู้นำของประเทศอียิปต์ เกิดจากความไม่พอใจของประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่หมักหมม มาอย่างยาวนาน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ยอมรับว่า ปัญหานี้ยังไม่สามารถมองออกได้ว่าจะจบลง หรือเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับปฏิกริยาของผู้นำที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้วก็ขึ้นอยู่กับถ้าผู้ นำประเทศต้องลงจากอำนาจจริงๆ แล้ว กลุ่มใดจะขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองต่อ

    ทั้ง นี้ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ระบุว่า สำหรับสหรัฐฯ เองก็คงมีความกังวลในปัญหาของประเทศอียิปต์ เพราะมีผลประโยชน์ระหว่างกันอยู่ อาทิ กรณีคลองสุเอช ซึ่งเป็นเส้นทางส่งสินค้า น้ำมัน การทำสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล ฉะนั้นสหรัฐฯ ก็ต้องการให้รัฐบาลของอียิปต์ที่ขึ้นมามีอำนาจใหม่ถ้ารัฐบาลชุดเก่าเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็ให้สานต่อนโยบายเดิมที่มีอยู่ แต่การแสดงออกของสหรัฐฯ ก็ทำได้เพียงดูท่าทีและออกมาขอให้อียิปต์สงบโดยเร็ว ซึ่งก็คงไม่แตกต่างอะไรกับประเทศไทย.

    ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
    Fwdder.com - จากตูนิเซียสู่อียิปต์ : ปรากฏการณ์ "โดมิโน" ล้มทับ "เผด็จการ" โลกอาหรับ - โพสโดย mattika.k
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “บิล เกตส์” ขอร้องสหรัฐฯ อย่าตัด “เงินช่วยเหลือต่างชาติ”
    [​IMG]
    บิล เกตส์ มหาเศรษฐีใจบุญผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์
    เอเอฟพี - บิล เกตส์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์แสนใจบุญ ขอร้องให้สหรัฐฯยุติการตัดงบประมาณช่วยเหลือประเทศยากจน วานนี้ (2)

    “เมื่อมองเรื่องนี้ในมุมของนักธุรกิจ ผมคิดว่าการลงทุนกับประชากรที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นการใช้งบประมาณอย่างชาญฉลาดที่สุดแล้ว” เกตส์ กล่าวในงานเลี้ยงอาหารค่ำ ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้นำสหรัฐฯ จากทั่วโลก (USGLC)

    “ผู้ติดเชื้อเอดส์กว่า 5 ล้านคนทั่วโลกได้รับการรักษาก็เพราะเงินที่เราช่วยเหลือต่างชาติ และด้วยเงินจำนวนนี้อีกเช่นกันที่ทำให้เด็กนับล้านคนได้นอนในมุ้ง ที่ป้องกันพวกเขาจากโรคไข้มาลาเรีย” เกตส์กล่าว

    “งบประมาณเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ที่เราช่วยเหลือประเทศยากจนไม่เพียงต่อชีวิตคนนับล้าน แต่ยังมีผลอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งก็แปลว่ามันมีผลต่อเศรษฐกิจของเราเองด้วย”

    เกตส์ กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ เมเดอลีน อัลไบรต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และทอม ริดจ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงภายใน ซึ่งทั้งสองก็สนับสนุนให้สหรัฐฯ หยิบยื่นความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ยากจนต่อไป

    “การเป็นผู้นำไม่อาจได้มาฟรีๆ” อัลไบรต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในสมัยของประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน กล่าว

    “เรายังไม่อาจหวังให้ต่างชาติต่อสู้กับวิกฤตที่จะเป็นอันตรายต่อเราเองได้ เว้นแต่เราจะช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขาเสียก่อน”

    ริดจ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช กล่าวว่า เงินช่วยเหลือต่างชาติมีส่วนส่งเสริมภารกิจทางทหาร และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ

    “ขณะที่เราพยายามส่งเสริมภาพลักษณ์ของอเมริกา ผลมองว่านั่นเป็นเพียงผลผลิต เรามีของดีๆ ที่จะขายอยู่แล้ว แต่เครื่องหมายการค้าของมันก็คือระบบค่านิยมของเราเอง”

    สภาคองเกรสพยายามตัดค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ และช่วยให้ประเทศพ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่เรื้อรังมานาน

    พรรครีพับลิกันซึ่งได้ชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้สัญญาว่าจะขัดขวางการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยของรัฐบาลโอบามา ขณะที่สหรัฐฯ มียอดขาดดุลงบประมาณสะสมสูงถึง 14 ล้านล้านดอลลาร์ และยอดขาดดุลงบประมาณต่อปีราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์

    เช้าวานนี้ (2) เอริก แคนเทอร์ ผู้นำ ส.ส.พรรครีพับลิกัน ซึ่งมีเสียงข้างมากในสภา แนะนำให้รัฐบาลตัดเงินสนับสนุนกองทุนสหประชาชาติจำนวนหลายล้านดอลลาร์ รวมไปถึงเงินช่วยเหลือประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ของสหรัฐฯ เอง
    Around the World - Manager Online -
     
  8. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    สถานะการณ์วิกฤตโลกน่ากลัวจริงๆ
    เด็ดดอกไม่้สะเทือนถึงดวงดาว

    สภาวะแวดล้อมธรรมชาติ ผิดปกติ มนุษย์เองบริโภคธรรมชาติด้วยความเห็นแก่ตนเอง

    สิ่งที่กระทำสั่งสมมานานนับ สิบๆ ปี กำลังสะท้อนผล ออกมาแล้ว

    สัทธิบริโภคนิยม ที่ ชี้วัดความเจริญ ในรูปแบบวัตถุ
    โดยไม่คำนึงถึง ความเจริญทางจิตใจ

    ที่สุด และที่สุด เมื่อธรรมชาติอยู่ไม่ได้ ความแปรปรวนก็แสดงออกมา
    และส่งผลมาถึงมนุษย์

    เข้าสู่ กาลียุค เกือบสมบรูณ์แล้ว
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    US เตือนชาวมะกันในอียิปต์อพยพ “ให้เร็วที่สุด”

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2554 17:28 น.

    [​IMG]

    กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีมูบารัค (ด้านบน) ประจันหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล (ด้านล่าง) ระหว่างการชุมนุมประท้วงวานนี้ (2)

    [​IMG]

    เอเอฟพี - ทางการสหรัฐฯ ประกาศเตือนประชาชนของตนให้เดินทางออกจากอียิปต์ทันที และสำทับให้รีบขึ้นเครื่องเที่ยวบินสุดท้ายของทางการในวันนี้ (3) พร้อมทั้งประณามการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล

    คำเตือนดังกล่าวมีขึ้นหลังการชุมนุมของมวลชนชาวอียิปต์กลายเป็นเหตุนองเลือด โดยมีการยิงปืนเข้าใส่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ในจัตุรัสตะห์รีร์ กลางกรุงไคโร เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (3)

    ความรุนแรงดังกล่าวทำให้ยอดผู้เสียชีวิตมีอย่างน้อย 7 ราย ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา

    “ไม่ต้องรอการประกาศจากสถานทูตสหรัฐฯ เราไม่แนะนำให้ล่าช้าไปกว่านี้” กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ออกคำแถลงเตือนประชาชน อีกทั้งยังระบุว่า “หลังจากวันพฤหัสบดี อาจไม่มีเที่ยวบินช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ อีกต่อไป”

    ทั้งนี้ มีประชาชนชาวสหรัฐฯ ประมาณ 1,900 คน พร้อมกับครอบครัวได้อพยพออกจากอียิปต์ไปแล้ว ตั้งแต่วันจันทร์ (31 ม.ค.) ที่ผ่านมา

    เมื่อวานนี้ (2) รัฐบาลของโอบามาได้แถลงกดดันให้ ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัก ของอียิปต์ จัดการกับปัญหาการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ต่อต้านกับผู้สนับสนุนให้รวดเร็วและจริงจังกว่านี้

    หลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ได้ต่อสายโทรศัพท์ถึง โอมาร์ สุไลมาน รองประธานาธิบดี ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้ง เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการสืบสวนกรณีปะทะระหว่างมวลชน 2 กลุ่ม กลางกรุงไคโร รวมทั้งสาเหตุการเสียชีวิตของทั้ง 7 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกมากกว่า 1,000 คน

    รมต.คลินตัน กล่าวถึงความรุนแรงดังกล่าวว่าเป็น “การยกระดับการชุมนุมที่เลวร้ายจนน่าตกใจ หลังจากหลายวันที่ผ่านมา ประชาชนประท้วงโดยสันติมาตลอด”

    ดูเหมือนว่า มูบารัก จะไม่ใช่พันธมิตรของสหรัฐฯ เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาตลอด 30 ปีอีกต่อไป แต่ยังมีสัญญาณจากฝ่ายนโยบายวอชิงตัน ที่พยายามรักษาความสัมพันธ์ทางการทหารกับอียิปต์ไม่ให้เสียหาย อย่างไรก็ตาม ฮิลลารี คลินตัน ได้เน้นย้ำคำกล่าวของประธานาธิบดีโอบามา ที่ระบุว่า “การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอียิปต์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว”


    ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลทลายทางเดินเท้า เพื่อนำก้อนหิน-อิฐมาเป็นอาวุธ ป้องกันตัวจากการปะทะกับกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัค


    [​IMG]

    ก้อนหิน-อิฐลอยอยู่กลางอากาศ จากการขว้างปาใส่กันระว่างผู้ชุมนุม 2 กลุ่ม

    [​IMG]


    หนึ่งในกลุ่มผู้ประท้วงโค่นล้มอำนาจประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค

    [​IMG]


    กลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัคขี่ม้าผ่าเข้าไปกลางกลุ่มผู้ต่อต้าน โดยกลุ่มหัวรุนแรงดังกล่าวเปิดฉากเล่นงานกลุ่มผู้ต่อต้านมูบารัค อันนำมาซึ่งเหตุโกลาหล และผู้เสียชีวิต
    Around the World - Manager Online - US
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “เยเมน” นับหมื่นรวมตัวไล่ ปธน.ใน “วันแห่งความโกรธแค้น”

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2554 16:39 น.

    [​IMG]

    ภาพเหตุการณ์ขณะกลุ่มต่อต้านประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ปะทะกับกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา (แฟ้มภาพ)

    เอเอฟพี - ชาวเยเมนนับหมื่นคนมารวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยซานา เพื่อประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ วันนี้ (3) ขณะที่ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีจำนวนพอๆกัน ก็ยึดจตุรัสใจกลางเมืองเป็นฐานที่มั่นปกป้องรัฐบาล

    ฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดี ซาเลห์ ได้เข้ายึดพื้นที่บริเวณจตุรัสตอห์รีห์ ตั้งแต่คืนวานนี้ (2) ทำให้ผู้ประท้วงต้องประกาศเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมเป็นมหาวิทยาลัยซานา ในช่วงเช้าที่ผ่านมา

    ในช่วงสายมีประชาชนนับหมื่นคนมาชุมนุมกันที่มหาวิทยาลัยซานา โดยฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลซึ่งมีจำนวนมากพอๆ กันยังยึดครองจตุรัสตอห์รีห์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 2 กิโลเมตร

    ตำรวจเยเมนพยายามกันคนจำนวนมากไม่ให้หลั่งไหลเข้าไปชุมนุมบริเวณจตุรัสตอห์รีห์ โดยบางคนถือป้ายที่มีข้อความว่า “เราอยู่ข้าง อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ เราอยู่ข้างประเทศเยเมน” และ “ฝ่ายตรงข้ามต้องการทำลายเยเมน”

    ด้าน ประธานาธิบดี ซาเลห์ ได้ประกาศวานนี้ (2) ว่า จะไม่ลงสมัครประธานาธิบดีสมัยถัดไป และจะยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีได้ตลอดชีวิต

    ซาเลห์ กล่าวด้วยว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจตามสายตระกูล ซึ่งเป็นการตอบโต้ข้อกังขาของนักวิจารณ์บางคนที่ว่า เขากำลังวางแผนให้ อาเหม็ด ซาเลห์ บุตรชายคนโต ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน

    ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่เกิดขึ้นหลังเหตุจลาจลลักษณะเดียวกันในตูนิเซีย และอียิปต์ ซาเลห์ ได้ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งเดือนเมษายนออกไปอีก ทำให้กลุ่มผู้ต่อต้านไม่พอใจ และรวมตัวขับไล่รัฐบาลในวันที่พวกเขาเรียกว่า “วันแห่งความโกรธแค้น”

    “การชุมนุมในวันพฤหัสบดี (3) จะมีขึ้นตามกำหนดการเดิม” โมฮัมหมัด กาห์ตัน จากพรรค อิสลามิสต์ อัล อิสลาห์ กล่าว

    ด้าน โมฮัมหมัด อัล ซาบรี จากพันธมิตรฝ่ายค้าน คอมมอน ฟอรัม ระบุว่า ข้อเรียกร้องของ ซาเลห์ ที่ให้ยุติการชุมนุมนั้น “รับไม่ได้” แต่จะกลับไปพิจารณาข้อเสนอของประธานาธิบดีอีกครั้ง

    ที่ผ่านมา เคยมีการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านประธานาธิบดี ซาเลห์ หลายครั้ง รวมถึงในวันที่ 29 มกราคม ซึ่งแกนนำผู้ประท้วงเรียกร้องให้ฝ่ายตนเข้าต่อสู้กับฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดี และมีตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าไปทำร้ายผู้ชุมนุมด้วย

    [​IMG]
    กลุ่มสนับสนุนประธานาธิบดี ซาเลห์ ปักหลักที่สนามกีฬาแห่งหนึ่ง กลางกรุงซานา วานนี้(2)
    Around the World - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไทยส่ง “ปณิธาน” บุกวอชิงตัน-หวังดึง “โอบามา” เยือน ปท.เพื่อกระชับความสัมพันธ์

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2554 15:36 น.

    [​IMG]

    ดร.ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน วานนี้ (2)


    เอเอฟพี - ขณะที่สหรัฐฯ กำลังมุ่งความสนใจมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น พันธมิตรเก่าแก่อย่างประเทศไทยก็พยายามเชื้อเชิญประธานาธิบดีบารัค โอบามาให้เดินทางเยือน หวังลบภาพความรุนแรงทางการเมืองเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา

    นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ส่งตัวแทนพิเศษไปยังกรุงวอชิงตันสัปดาห์นี้ เพื่อยืนยันกับเหล่าผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ ว่า ไทยกำลังกลับเข้าสู่ความมีเสถียรภาพ และกำลังเปลี่ยนการประท้วงบนท้องถนนเป็นการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

    “หน้าที่ของเรา คือ บอกกับพวกเขาว่า เรากลับเข้าสู่โลกการค้าแล้ว” ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีวานนี้ (2)

    รัฐบาลโอบามาพยายามสานความสัมพันธ์กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตระหนักดีว่า ภูมิภาคซึ่งเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวและมีแต่ความเป็นมิตรให้แห่งนี้กำลังห่างเหินจากกรุงวอชิงตัน หลังจากสหรัฐฯ กระโจนเข้าใส่อัฟกานิสถาน และตะวันออกกลาง

    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ให้คำมั่นว่า จะเข้าร่วมในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ซึ่งกำหนดไว้คร่าวๆ ในช่วงเดือนตุลาคม ณ เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย หนึ่งเดือนก่อนหน้าการทำหน้าที่เจ้าบ้านของโอบามา ต้อนรับผู้นำชาติเอเชีย-แปซิฟิก ณ มลรัฐฮาวาย

    ดร.ปณิธานให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยยินดีกับการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐบาลโอบามาเห็นว่าเป็นพันธมิตรในอุดมคติ เนื่องจากประชากรมุสลิมของประเทศล้วนมีแนวคิดสันติ อีกทั้งได้เปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปณิธานยังระบุว่า ไทยได้เชื้อเชิญให้ประธานาธิบดีโอบามา แวะเวียนมายังประเทศ

    [​IMG]

    ลีลาการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวต่างประเทศของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย

    “เราพยายามเต็มที่ เพื่อให้โอบามาเดินทางเยือนประเทศไทย” เขากล่าว “การเยือนของเขาจะเป็นเรื่องดีอย่างยิ่ง ณ เวลานั้น เราอาจมีรัฐบาลชุดใหม่บริหารประเทศ”

    โฆษกปณิธาน วัฒนายากร เผยเป็นนัยว่า รัฐบาลผลักดันให้มีการเลือกตั้งภายในปีนี้โดยเร็ว และเชื่อว่าจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เนื่องจากการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ

    เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคนกลับเข้าสู่ท้องถนนกลางกรุงเทพฯ นับเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองเมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคมปีที่แล้ว คนกลุ่มนี้เคยเรียกร้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศให้เข้ามาสอบสวนกรณีสลายการชุมนุมของรัฐบาล

    โฆษกปธิธานปฏิเสธความพยายามดังกล่าวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยระบุว่าประเด็นของประเทศไทยไม่ได้อยู่ในกรอบการพิจารณาของศาลโลก

    การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นมี “ความสำคัญต่อความรู้สึกที่เราสามารถนำการเมืองกลับเข้าสู่สภา ไม่ใช่อยู่ตามท้องถนน” เขากล่าว

    อย่างไรก็ตาม ดร.ปณิธานยอมรับว่า นักสังเกตการณ์จากต่างชาติอาจเข้าใจว่า ประเทศไทยมัวเสียเวลากับวิกฤตภายในประเทศ ทว่า เขาได้ระบุถึงบทบาทของไทยในระดับนานาชาติ โดยชี้ให้เห็นถึงการส่งกองทหารรักษาสันติภาพไปยัง เมืองดาร์ฟูร์ ของซูดาน เมื่อเร็วๆ นี้

    “เราพยายามสร้างความมั่นใจว่า ความวุ่นวายภายในประเทศไม่ได้หนักหนา จนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับมิตรประเทศของเรา” เขากล่าว

    สหรัฐฯ แสดงเจตจำนงชัดเจนว่า ไม่ได้เลือกข้างรัฐบาลไทย ในขณะเวลาเดียวกันก็ตั้งเป้าไปยังการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางทหารกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมทั้ง อินโดนีเซีย และอดีตคู่สงครามอย่าง เวียดนาม

    เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ ยังตกลงช่วยเหลือกองทัพเรือฟิลิปปินส์ อีกหนึ่งพันธมิตรของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากประเทศไทย อย่างไรก็ตามไทยถือเป็นมิตรประเทศที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชีย โดยครั้งหนึ่งเคยเสนอที่จะส่งช้างให้กับ ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น เพื่อใช้ทำสงครามกลางเมือง เต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกปฏิเสธ
    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000014896
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ชาวนาขีดเส้นตาย 7 วัน แก้ข้าวราคาตกต่ำ ลั่นยกพลบุกทำเนียบหากรัฐเพิกเฉย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กุมภาพันธ์ 2554 14:00 น.

    อุปนายกชาวนาไทย จี้ รัฐเร่งระบายข้าวในสต๊อก กันข้าวเปลือกล้นตลาด พร้อมขีดเส้นตาย 7 วัน แก้ปัญหาข้าวราคาตก หากไม่คืบหน้า ประกาศรวมตัวชาวนา 22 จังหวัด ยกพลบุกทำเนียบแน่ ขณะที่ ส.ส.เพื่อไทย แฉต้นเหตุข้าวราคาตก เพราะพ่อค้าที่ใกล้ชิดรัฐบาลไม่ยอมส่งออก แต่เอามาขายในประเทศ

    นายวิเชียร พวงลำเจียก อุปนายกสมาคมชาวนาไทย เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2554 นี้ ผลผลิตข้าวนาปรังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 400,000 ตัน และของพื้นที่เพาะปลูกข้าวในเขตภาคกลาง จะออกมามากรวมกว่า 3 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้าวเปลือกล้นตลาด และจะเป็นการซ้ำเติมให้ราคาข้าวตกต่ำลงมากกว่านี้

    โดยขณะนี้ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ตันละ 6,000 บาท ขณะที่ราคาประกันอยู่ที่ 10,000 บาท ซึ่งรัฐบาลจ่ายส่วนต่างเพียงแค่ 1,200 บาท จากที่จริงแล้วจะต้องจ่ายเงินส่วนทั้งหมด 4,000 บาท ซึ่งขณะนี้เป็นไปอย่างล่าช้า หากรัฐบาลไม่หามาตรการรองรับหรือเตรียมการการแก้ปัญหาข้าวเปลือกล้นตลาด ก็จะมีชาวนาออกมาเดินขบวนประท้วงอย่างแน่นอน

    ทั้งนี้ อุปนายกสมาคมชาวนาไทย เสนอแนวทางให้รัฐบาลเร่งระบายข้าวที่อยู่ในสต๊อกของรัฐบาลสู่ท้องตลาด เพื่อเตรียมรับข้าวล็อตใหม่ที่กำลังจะออกมา ไม่ควรเก็บเป็นปีแล้วค่อยประมูลขาย ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมแล้ว ยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดอีกด้วย

    โดยวานนี้ กลุ่มชาวนาไทย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนำโดย นายวิเชียร ได้เข้ายื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้แก้ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำเหลือเกวียนละ 7,000 บาท พร้อมระบุว่า หากไม่ได้รับคำตอบภายใน 7 วัน จะร่วมกับกลุ่มชาวนาไทยใน 22 จังหวัด และสมัชชาหนี้สินเกษตรกร เดินทางไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามความคืบหน้า

    สำหรับข้อเรียกร้องของสมาคมชาวนาไทย ต้องการให้รัฐบาลเพิ่มเงินชดเชยราคาข้าวให้ชาวนา จากการประกันราคาข้าว 10,000 บาท เป็น 14,000 บาทต่อเกวียน เพื่อให้คุ้มค่ากับการทำนาที่มีต้นทุนเฉลี่ย 9,000 บาทต่อไร่

    ด้าน นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) พรรคเพื่อไทย (พท.) แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการเซ็นสัญญากับบริษัทที่มีความใกล้ชิดกับ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเครือข่ายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เพื่อความโปร่งใส

    นายไพโรจน์ กล่าวว่า ตอนนี้ พรรคเพื่อไทยมีข้อมูลทั้งตัวพยาน และภาพถ่ายการขนข้าวเอกสาร พร้อมข้อมูลส่งออกที่ไม่โปร่งใส ซึ่งจะนำข้อมูลทั้งหมดนี้อภิปรายไม่ไว้วางใจ และ ยื่นต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ

    นายไพโรจน์ กล่าวเสริมว่า ข้อมูลที่มีอยู่ทราบว่า บริษัทที่ได้รับการประกวดราคามาก่อนหน้านี้ มีความใกล้ชิดฝ่ายการเมือง ไม่ยอมนำข้าวไปส่งออก แต่เก็บเอาไว้ เพื่อขายในประเทศ ทำให้ภาวะราคาข้าวล้นตลาดและราคาตกต่ำ ข้าวล็อตใหม่สามารถระบายได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีการแบ่งเค้กในพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้น การเอาผิดในครั้งนี้ คงไม่ใช่แค่ตัวของรัฐมนตรี แต่รวมไปถึงเครือข่ายของรัฐบาลที่รับผิดชอบด้วย
    Business - Manager Online -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฮือฮา!เสนอชื่อ'วิกิลีกส์'ชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 23:33 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    สกายนิวส์/ซีเอ็นเอ็น - นักการเมืองนอร์เวย์รายหนึ่งเสนอชื่อวิกิลีกส์เข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2011 ระบุการออกมาเปิดโปงเอกสารลับทางการทูตถือเป็นการสนับสนุนสันติภาพโลก เนื่องจากช่วยเหนี่ยวรั้งรัฐบาลต่างๆเหล่านั้นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของพวกเขา

    กว่า 50 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการรางวัลโนเบลจะเก็บบัญชีผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในแต่ละปีเป็นความลับ อย่างไรก็ตามก็มีบางครั้งที่รายชื่อเหล่านั้นหลุดออกมาจากการเปิดเผยของผู้ที่เสนอชื่อคนเหล่านั้นเอง

    ทั้งนี้ สนอร์เร วาเลน ส.ส.วัย 26 ปี จากพรรคโซเชียลิสต์ เลฟต์ ปาร์ตี ของนอร์เวย์ บอกกับสำนักข่าวเอพีเมื่อวันพุธ(3)ว่าเขาเสนอชื่อเว็บไซต์วิกิลีกส์ ให้เข้าชิงรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี 2011

    เขาได้ให้เหตุผลว่า เว็บไซต์วิกิลีกส์ได้เปิดเผยความจริง เปิดโปงการคอร์รัปชั่นและเรื่องราวเบื้องหลังสงครามต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างการต่อสู้เพื่อความโปร่งใสในสังคมได้เป็นอย่างดี เหมือนกับ หลิว เสี่ยวปอ ผู้คว้ารางวัลโนเบล สาขาสันติภาพปีที่แล้ว จากการต่อสู้เป็นเวลายาวนานเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในจีน ซึ่งวิกิลีกส์ก็เช่นกัน แตกต่างแค่เพียงวิกิลีกส์ไม่ได้ต่อสู้เพื่อชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น แต่ต่อสู้เพื่อเปิดโปงความจริงระดับโลกเลยทีเดียว
    Around the World - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดัชนีราคาอาหารพุ่งทำสถิติสูงสุด FAO-ธ.โลกเตือนให้ระวัง'ผันผวน'
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 22:27 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เอเจนซี/เอเอฟพี - ดัชนีราคาอาหารโลก ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดเมื่อเดือนมกราคม นอกจากนั้น ด้วยสภาพการณ์ที่ภูมิอากาศย่ำแย่ขั้นหายนะไปทั่วโลกในระยะนี้ แรงกดดันต่อระดับราคาสินค้าอาหารจึงน่าที่จะทวีความรุนแรง โดยที่ปัญหาดังกล่าวนี้ได้พ่นพิษกลายเป็นเชื้อเพลิงโหมกระแสการประท้วงใหญ่ลุกลามไปทั่วตะวันออกกลางในเวลานี้

    ในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีราคาสินค้าอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ไต่ระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเดือนมกราคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 231 จุด ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลนับจากที่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1990 โดยพุ่งแซงสถิติของเดือนมิถุนายน ปี 2008 ที่เคยทะยานสูงถึง 224.1 อันเป็นช่วงวิกฤตอาหารในรอบปี 2007/2008

    “ตัวเลขใหม่เที่ยวนี้แสดงว่าแรงกดดันต่อระดับราคาอาหารของโลกซึ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้นมาโดยตลอดนั้น ไม่ได้บรรเทาตัวลงเลย ยิ่งกว่านั้น ยังมีแนวโน้มจะยื้อยาวไปอีกหลายเดือนข้างหน้า” บทสรุปนี้เป็นตอนหนึ่งในคำแถลงโดยอับดอลเรซา อับบาซเซียน นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านธัญญพืชแห่งเอฟเอโอ

    ปัญหาราคาอาหารพุ่งแพงรุนแรงได้กลับสู่ความสนใจของโลกอีกวาระหนึ่ง ในเมื่อประเด็นตรงนี้มีส่วนอย่างมากในการโหมเชื้อความโกรธเกรี้ยวของผู้คนในตูนิเซีย จนกระทั่งส่งผลให้ประธานาธิบดีของประเทศถูกโค่นจากอำนาจเมื่อเดือนมกราคม อีกทั้งยังแพร่ลามไปถึงอียิปต์และจอร์แดน

    ในการนี้ ฝ่ายต่างๆ เก็งว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันอาจเร่งมาตรการสร้างเสถียรภาพของสต็อกอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนจนกลายเป็นชนวนความรุนแรงทางการเมือง

    ด้าน โรเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลก ได้ออกมากระตุ้นให้ผู้นำโลกทั้งปวงหันมาเน้นความสำคัญของประเด็นอาหาร โดย “ให้เรื่องอาหารมาก่อนเรื่องอื่นๆ” พร้อมกับให้ตื่นตัวต่อความจำเป็นที่ต้องลดภาวะผันผวนของระดับราคาอาหาร ซึ่งนับวันแต่จะย่ำแย่มากขึ้น

    **ปัญหาหลักมาจากความจำกัดด้านซัปพลาย**

    สภาพการณ์ย่ำแย่ของดินฟ้าอากาศที่แผลงฤทธิ์มาหลายซีรีส์ จนผลผลิตด้านธัญพืชเสียหายไปมากมายแล้วนั้น มีแนวโน้มที่จะทวีแรงกดดันต่อระดับราคาอาหาร โดยเฉพาะ กรณีพายุไซโคลนขนาดยักษ์ “ยาซี” ที่เพิ่งกระหน่ำโจมตีออสเตรเลีย กรณีพายุฤดูหนาวขนาดมโหฬารที่เล่นงานเขตเพาะปลูกพืชของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนภาวะน้ำท่วมที่โจมตีมาเลเซียประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ อีกทั้งภาวะแล้งจัดในอาร์เจนติน่า และภาวะแห้งแล้งในย่านทะเลดำเมื่อปีที่แล้ว

    นอกจากนั้น ปรากฏการณ์ลานินญ่า ซึ่งถูกระบุว่าเป็นตัวการสร้างความผิดปกติของสภาพดินฟ้าอากาศในย่านเอเชีย-แปซิฟิก และละตินอเมริกา ก็ยังน่าจะแผลงฤทธิ์ไปถึงเดือนเมษายนหรือต้นพฤษภาคม ตามการทำนายขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แต่กำลังแรงในการล้างผลาญน่าจะแผ่วลงตามลำดับ

    อับบาซเซียนแห่งเอฟเอโอชี้ว่า มันเป็นปัญหาด้านซัปพลาย โดยที่โลกไม่สามารถหาซัปพลายเสริมจากแหล่งใดมาชดเชยได้ ทั้งนี้ขณะนี้ยังไม่อาจประเมินขนาดความเสียหายที่จะแห่มาเล่นงานชาวโลกได้ จนกว่าจะเห็นสภาพการณ์ผลผลิตของประเทศผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่ของโลกในปีนี้เสียก่อน

    Around the World - Manager Online -
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นายกฯอียิปต์สั่งสอบตำรวจแฝงตัวทำร้ายผู้ชุมนุมต้านมูบารัค
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 21:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เหตุปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและต่อต้านมูบารัค นำไปสู่ข้อสงสัยว่าอาจมีตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าร่วมด้วย

    เอเอฟพี - อาห์เมด ซาฟิก นายกรัฐมนตรีอียิปต์เมื่อวันพฤหัสบดี(3) กล่าวขอโทษต่อความปะทะนองเลือดระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค บริเวณจัตุรัสตอห์รีร์ ยันต้องมีการสืบสวนท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าตำรวจนอกเครื่องแบบมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

    "ผมขอโทษกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้และจะต้องมีการไต่สวน" ซาฟิกบอกกับสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐขณะที่เหตุปะทะ ณ จัตุรัสตอห์รีร์ ลุกลามเข้าสู่วันที่ 2 และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 7 ราย

    ซาฟิก ซึ่งกล่าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งหลังจากมูบารัค สั่งปลดรัฐบาลในความพยายามบรรเทาความโกรธกริ้วของผู้ประท้วง กล่าวก่อนหน้านี้ว่าจะต้องมีการสืบสวนเหตุความไม่สงบนองเลือดครั้งนี้ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าตำรวจนอกเครื่องแบบแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้สนับสนุนมูบารัคที่เข้าจู่โจมผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

    รายงานข่าวระบุว่าทหารเพียงแต่ยืนดูอยู่วงนอกขณะที่ฝ่ายสนับสนุนมูบารัค เปิดฉากเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลด้วยอาวุธปืน ระเบิดเพลิง ไม้และหิน

    อย่างไรก็ตาม ซาฟิก บอกกับผู้สื่อข่าวว่าเขาไม่แน่ใจว่าพวกที่ก่อเหตุโจมตีนี้ใช่กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นหรือไม่ "ผมไม่ทราบว่ามันเป็นม็อบจัดตั้งหรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ" เขากล่าว "ผมรู้แค่มีการปะทะกัน และเหตุปะทะระหว่างกลุ่มวัยรุ่นมักร้อนแรงเสมอ และดูเหมือนว่าบางคนจะพกพาอาวุธด้วย หัวใจของคนอียิปต์แตกสลาย มันเป็นคืนแห่งการนองเลือดซึ่งก่อความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างมาก"

    Around the World - Manager Online -
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โสมแดงขอเปิดเจรจากับสมาชิกสภาโสมขาวนอกเหนือจาก จนท.ทหาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 18:12 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    คิมจองอิล ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือระหว่างเยือนโรงงานแห่งในในจังหวัดฮัมกยองใต้
    เอเอฟพี - สำนักข่าวของทางการเกาหลีเหนือ เผย รัฐสภาโสมแดงเรียกร้องให้มีการจัดการเจรจากับสมาชิกสภานิติบัญญัติของโสมขาว เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี

    สภาประชาชนสูงสุดของเปียงยางส่งหนังสือฉบับหนึ่งไปให้กับทางการโซลในวันพุธ (2) ที่ผ่านมา โดยแนะให้มีการเจรจาเพื่อลดความตึงเครียดอย่างสาหัสของสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี และยุติเหตุรุนแรงในปัจจุบัน สำนักข่าวเคซีเอ็นเอรายงาน

    ทั้งสองเกาหลีมีกำหนดเจรจากันในระดับคณะทำงาน วันอังคารหน้า (8) โดยจะเป็นการพบกันครั้งแรกนับตั้งแต่เกาหลีเหนือยิงถล่มเกาะชายแดนของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว

    เปียงยาง ยังชี้ว่า เป็นเรื่องค่อนข้างปกติที่สมาชิกสภานิติบัญญัติของทั้งสองฝ่ายจะพบปะหารือกัน นอกเหนือไปจากการเจรจาของเจ้าหน้าที่ทางการทหาร

    ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเริ่มเย็นชากันมาตั้งแต่เดือนพฤาภาคม ปีที่แล้ว ซึ่งโสมขาวกล่าวหาว่าโสมแดงยิงตอปิโดถล่มเรือรบลำหนึ่ง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 46 ศพ ทว่า เปียงยางปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

    นอกจากนั้น การยิงถล่มเกาะยอนพยอง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นนาวิกโยธิน 2 นาย และพลเรือน 2 คน ได้จุดประกายความกังวลว่าอาจเกิดสงครามขึ้นในทันที ทว่า เปียงยางเริ่มเปลี่ยนท่าทีตั้งแต่ต้นปีใหม่ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างประเทศในหลายๆ ระดับ

    สำหรับการเจรจาระหว่างรัฐสภานั้นได้รับการเสนอครั้งแรกในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทว่า เกาหลีใต้ระบุว่าข้อเสนอดังกล่าวขาดความจริงใจ

    ส่วนการประชุมหารือกันที่หมู่บ้านปันมอนจมในอังคารหน้านั้นมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมการสำหรับการพบปะเจรจาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นระดับรัฐมนตรีกลาโหมทีเดียว

    อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้เรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้านนั้นแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีทั้ง 2 ครั้งในปีที่แล้ว และให้คำมั่นว่า จะไม่มีเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นอีก เป็นเงื่อนไขก่อนจะมีการเจรจาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงใดๆ

    Around the World - Manager Online -
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แฉ จีน-มะกัน ยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียม อวดแสนยานุภาพการทหาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 20:46 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เว็บไซต์วิกิลีกส์ แสดงรูปของจูเลียน อาสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ฯ ด้านบนของหน้าเว็บ ในครั้งนี้วิกิลีกส์แฉข้อมูลลับเรื่องการยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียม เพื่ออวดแสนยานุภาพของสหรัฐฯและจีน (ภาพเอเอฟพี)

    เอเอฟพี - หนังสือพิมพ์เทเลกราฟของอังกฤษ ฉบับวันพฤหัส (3 ก.พ.) รายงานข้อมูลจากวิกิลีกส์ว่า สหรัฐฯ และจีนต่างยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียมของตนเอง เพื่ออวดแสนยานุภาพทางการทหาร ให้อีกฝ่ายได้ประจักษ์

    เว็บไซต์จอมแฉ วิกิลีกส์ เจาะบันทึกลับสถานทูตสหรัฐฯ ออกมาตีแผ่ว่า “ปี 2550 เมื่อจีนยิงทำลายดาวเทียมพยากรณ์อากาศที่หมดอายุใช้งานแล้วของตนเอง สหรัฐฯ ก็ออกมาทดสอบความแม่นยำตอบโต้จีน ด้วยการยิงดาวเทียมใกล้พังของตัวเองบ้าง”

    ขณะนั้นสหรัฐฯ ก็ออกมายืนยันว่า ตนเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติการป้องกันมิให้ดาวเทียมตกลงมายังพื้นผิวโลก เพราะถังเชื้อเพลิงซึ่งมีสารพิษก็จะตกลงมาด้วย จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

    ความลับทางการทูตนี้ส่งตรงมาจากสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนก.พ. 2551 เพียงหนึ่งวันหลังจากสหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียมของตน โดยในนั้นระบุว่า “จีนกำลังสงสัยคำอธิบายการยิงขีปนาวุธของสหรัฐฯ ที่อ้างว่าจะปกป้องมนุษยชาติจากสารพิษ”

    เถิง เจี้ยนฉวิน รองเลขาธิการสำนักควบคุมและปลดอาวุธ บรรยายถึงการยิงขีปนาวุธฯ ของสหรัฐฯว่า “สหรัฐฯ ไม่มีความจำเป็นต้องยิง แต่สหรัฐฯ ต้องการหาโอกาสทดสอบระบบขีปนาวุธป้องกันของตนเองมากกว่า”

    วิกิลีกส์แฉความเห็นของเถิงว่า การยิงขีปนาวุธของสหรัฐฯ เป็นโอกาสทองที่สหรัฐฯ จะส่งเสียงให้โลกรู้ว่า “ระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ นั้นยังคงแข็งแกร่งและก้าวร้าว”

    ข้อมูลลับฯ ยังเผยให้เห็นว่า “สถานทูตสหรัฐฯ ในจีนได้รับการยืนยันโดยตรงจากกองทัพสหรัฐฯ ในแปซิฟิก ถึงผลของการทดสอบยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียมดังกล่าว”

    ก่อนหน้านั้น (ก.พ. 2550) ทำเนียบขาวถึงกับตะลึง เมื่อจีนแสดงศักยภาพโจมตีทางอากาศ โดยยิงขีปนาวุธทำลายดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ สูงเหนือพื้นดิน 530 ไมล์ ของตนเอง ให้สหรัฐฯ ได้ดูเป็นขวัญตา

    ต่อมา (ม.ค. 2551) นางคอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในสมัยนั้นได้เตือนจีนว่า “จีนยิงขีปนาวุธนำวิถี เป็นการทำลายระบบดาวเทียมอวกาศ ซึ่งสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆ ใช้ประโยชน์เพื่อการค้าและความมั่นคงของประเทศ”

    “การทำลายดาวเทียมเป็นอันตรายต่อประชาชน หากสหรัฐฯพิจารณามาแล้วว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสหรัฐฯ หรือเป็นการเพิ่มความขัดแย้ง สหรัฐฯก็จะเข้าแทรกแซง”
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เรือลาดตระเวน USS Lake Erie (CG-70) ปฏิบัติการในฮาวายเป็นลำแรกของทัพเรือสหรัฐฯ (ภาพเอเยนซี)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หนึ่งเดือนต่อมา โรเบิร์ต เกตส์ (รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน) ก็ได้สั่งการให้เรือลาดตระเวน USS Lake Erie ยิงขีปนาวุธรุ่น SM 3 (Standard Missile 3) ไปยังดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐฯ ชื่อ “USA 193” ซึ่งนับเป็นการยิงดาวเทียมครั้งแรกของสหรัฐฯ ในรอบ 23 ปี

    อย่างไรก็ตามการยิงทำลายดาวเทียมได้สร้างความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งจีนโกรธเกรี้ยวอย่างมาก ได้แถลงในการประชุมสุดยอด เมื่อปี 2551 ว่า “สหรัฐและจีนไม่ได้เป็นทั้งมิตรและศัตรู”

    อีกข้อมูลฯ หนึ่งอ้างว่า จีนกังวลแผนการที่สหรัฐฯ จะมาสร้างระบบเรดาร์ป้องกันภัยในญี่ปุ่น พร้อมกลับกล่าวหาว่าสหรัฐฯ กำลังพัฒนาระบบเลเซอร์ติดเครื่องบิน (airborne laser system) ที่สามารถโจมตีขีปนาวุธในระยะปล่อยจากฐานยิง เหนืออธิปไตยชาติอื่นได้

    ข้อมูลล่าสุด (ม.ค. 2553) ชี้ว่า จีนประสบความสำเร็จในการใช้ขีปนาวุธรุ่น SC-19 ทำลายขีปนาวุธ CSS-X-11 ที่ลอยอยู่เหนือพื้นดินถึง 150 ไมล์ ซึ่งปฎิบัติการนี้สหรัฐฯ พิจารณาว่าเป็นการทดสอบระบบขีปนาวุธป้องกันของจีน

    ข้อมูลชี้ว่า นางฮิลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนปัจจุบัน ชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ก็กังวลในแผนการของจีน และสิ่งที่สหรัฐฯ เคยประกาศในเดือน ม.ค. ปี 2550 และม.ค. 2551 (ที่ว่าจะแทรกแซงการยิงขีปนาวุธของประเทศต่าง ๆ เพื่อปกป้องสิทธิและความมั่นคง) นั้นยังคงมีผลบังคับใช้
    China - Manager Online -
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนฉายภาพ "ยอดคนแดนมังกร" ให้ มะกันฯ ดูเช้าจรดค่ำ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 กุมภาพันธ์ 2554 15:50 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    โฆษณา "Chinese, China" บนบิลบอร์ด กลางไทม์สแควร์ กรุงนิวยอร์ค ที่ฮือฮาเมื่อกลางเดือนมกราคม ซึ่งยังคงฉายยาวไปถึงวันที่ 14 ก.พ. (ภาพเอเยนซี)

    เอเยนซี - จีนประชาสัมพันธ์ประเทศตน ผ่านภาพยนตร์สารคดี ความยาวประมาณ 15 นาที หลังสร้างปรากฎการณ์ฮือฮา จองป้ายยักษ์กลางไทม์สแควร์ ฉายภาพ "ยอดคนแดนมังกร" ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา

    สื่อจีนรายงานวันที่ 3 ก.พ.ว่า รัฐบาลจีนได้เผยงานประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้ต่อชาวตะวันตกขึ้นไปอีกระดับ หลังจากเปิดตัวโฆษณาฮือฮากลางกรุงนิวยอร์คไปเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยสารคดีท่องเที่ยวชุดใหม่ ความยาว 15 นาที เพื่อเผยมุมมองมหัศจรรย์ของจีนที่ต่างไปจากการรับรู้ของชาติตะวันตก โดยสารคดีชุดนี้ มีชื่อว่า “Perspectives” ซึ่งมีความหมายว่า "ในหลากมิติ"

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 มกราคม นิวยอร์คไทมส์ ได้รายงานข่าวว่า รัฐบาลจีนได้ต้อนรับการไปเยือนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี หูจิ่นเทา ด้วยการจองพื้นที่ป้ายโฆษณายักษ์ที่ไทม์สแควร์ ฉายภาพโฆษณา ชุด "Chinese, China" (ความยาว 15 วินาที) สร้างความรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของคนจีนทั้งในความเป็นมิตร และความเก่งกาจ

    สื่อต่างประเทศรายงานว่า โฆษณาชุดนี้ ("Chinese, China") ฉายเฉลี่ยวันละ 20 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 15 รอบ โดยมีตัวอักษรจีนสีขาวบนพื้นสีแดงแปร๊ดลอยเด่น เหนือพื้นหลังที่ฉายภาพคนจีนที่เก่งๆ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศจีนจำนวนมาก ในจำนวนนั้น มีหลายคนที่ชาวตะวันตกก็ล้วนรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว อาทิ เฉินหลง ดารานักบู๊ เหยาหมิง นักบาสเก็ตบอล หยัง หลี่เว่ย นักบินอวกาศ หลัง หลาง และ หยุ่นตี้ นักเปียโนระดับโลก

    ล่าสุด จนถึงขณะนี้ (3 ก.พ.) แคมเปญโฆษณานี้ ก็ยังคงฉายอยู่อย่างต่อเนื่องที่ไทม์สแควร์ ซึ่ง "ซินหวา" สื่อจีนรายงานว่า โฆษณาชุดนี้จะฉายยาวไปจนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตัวอักษรจีนสีขาว บนพื้นสีแดง ที่เป็นจุดเด่นสำคัญในโฆษณาฯ ตลอดเวลา (ภาพเอเยนซี)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> (ชมคลิป โฆษณาชื่อสั้นๆ ว่า "Chinese, China" ที่ฉายอยู่กลางกรุงนิวยอร์คขณะนี้ และคลิปสารคดี “Perspectives” )

    <CENTER><IFRAME title="YouTube video player" src="http://www.youtube.com/embed/H7GArkHrT6w" frameBorder=0 width=480 height=390 allowfullscreen></IFRAME></CENTER><CENTER>

    สารคดีท่องเที่ยวความยาว 15 นาที เพื่อเผยมุมมองมหัศจรรย์ของจีนที่ต่างไปจากการรับรู้ของชาติตะวันตก โดยสารคดีชุดนี้ มีชื่อว่า "ในหลากมิติ" (Perspectives) รายงานข่าวกล่าวว่า สารคดีชุดใหม่นี้ รัฐบาลจะส่งไปยังหน่วยงานต่างประเทศของจีนทั่วโลก เพื่อเผยแพร่ฯ ประชาสัมพันธ์ และยังนำไปใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ด้วย
    <CENTER><IFRAME title="YouTube video player" src="http://www.youtube.com/embed/xgqeNBiZ8b0" frameBorder=0 width=640 height=390 allowfullscreen></IFRAME></CENTER><CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>อีกมุมหนึ่งที่ไทม์สแควร์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> <CENTER><IFRAME title="YouTube video player" src="http://www.youtube.com/embed/zME7IdI0UBI" frameBorder=0 width=480 height=390 allowfullscreen></IFRAME></CENTER>
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 06:23
    <!-- End Content Header -->สลายชุมนุม

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    [​IMG]

    ตำรวจปราบจลาจลตุรกี ฉีดน้ำสลายการเดินขบวนประท้วงต้านร่างกม.ใหม่ หลังผู้ชุมนุมตัดสินใจเคลื่อนขบวน ไปชุมนุมด้านหน้ารัฐสภา
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 08:40
    <!-- End Content Header -->มูบารักหวั่นจลาจลหากลงจากตำแหน่ง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    ผู้นำอียิปต์เปิดใจ อยากลงจากตำแหน่งทันที แต่หวั่นเกิดความวุ่นวายขึ้น
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110120/show_ads_impl.js"></SCRIPT>นายฮอสนี มูบารัก ประธานาธิบดีอียิปต์ ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เอบีซี ของสหรัฐ วานนี้ (3 ก.พ.)ว่า ต้องการที่จะลาออกจากตำแหน่ง แต่วิตกว่า หากลงจากอำนาจในช่วงเวลานี้ อาจทำให้ประเทศตกอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายมากขึ้น
    นายมูบารัก ระบุว่า ตัวเองอยู่ในตำแหน่งผู้นำอียิปต์มานานพอแล้ว และต้องการลงจากอำนาจ และว่าได้บอกกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐว่า คนอื่นไม่เข้าใจวัฒนธรรมของอียิปต์และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหากเขาลาออกจากตำแหน่งในเวลานี้
    ผู้นำอียิปต์ ยืนยันด้วยว่า รัฐบาลอียิปต์ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุความรุนแรงที่จัตุรัสตะหารี ใจกลางกรุงไคโร พร้อมโทษว่าเป็นการกระทำของกลุ่มต่อต้าน
    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมูบารัก ซึ่งกำลังเผชิญกระแสชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในประเทศ ประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่กำลังจะมีขึ้น ท่ามกลางเสียงกดดันมากขึ้นจากสหรัฐและชาติตะวันตกให้เขาลงจากตำแหน่ งขณะที่เหตุประท้วงรุนแรงต่อต้านผู้นำอียิปต์ที่ปกครองประเทศมา 30 ปีดำเนินมา 10 วันแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...