เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. pumanp

    pumanp สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
    ตามอ่านมาจนทันขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ธปท.ลดเสี่ยงดอลลาร์ผันผวน หันลงทุนพันธบัตรจีนแทน
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>24 ธันวาคม 2553 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ธปท.ลดถือดอลลาร์ โดยหันมาลงทุนในพันธบัตรจีนแทน เพื่อลดความเสี่ยงของการผันผวน

    วันนี้ (24 ธ.ค.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างประสานงานทางการจีนเพื่อนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตร หรือหลักทรัพย์ในรูปเงินหยวน ในปี 2554 เพื่อลดความเสี่ยงการผันผวนของค่าเงินดอลลาร์

    ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้ลดสัดส่วนเงินสกุลดอลลาร์ในตะกร้าทุนสำรองลง โดยปัจจุบันเหลือสัดส่วนไม่ถึง 50% ของเงินทุนสำรองทั้งมหด เพื่อลดความเสี่ยง และกระจายการลงทุนมากขึ้น

    ส่วนการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ถือว่าค่อนข้างมีเสถียรภาพ และในช่วงที่ผ่านมาเงินทุนสำรองก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

    อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2554 ยังคงต้องจับตามอง และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ระดับใด
    Stock Markets - Manager Online -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เจ้าของ Facebook กับหมวยสาว และตลาดอินเทอร์เน็ตจีน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 25 ธันวาคม 2553

    <DD class=columnist-name>กาแฟดำ เจ้าของ Facebook มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ไป "เที่ยว" เมืองจีนกับแฟนหมวยช่วงนี้ ทำให้เกิดข่าวลือกันยกใหญ่ </DD>ว่าเขากำลังคิดจะเจาะกำแพงเมืองจีนด้านดิจิทัลให้ได้
    ยิ่งแกไปเยี่ยมพลพรรคจีน ที่มีบทบาทสำคัญด้านอินเทอร์เน็ตของจีนที่ปักกิ่งด้วย ก็ยิ่งทำให้แวดวงไฮเทคที่จีนวิพากษ์กันเกรียวกราวว่าหนุ่มวัย 27 ปี ที่เพิ่งได้เป็น “Person of the Year” ของนิตยสารไทม์ประจำปีนี้ อาจจะมีแผนล้ำลึกที่จะให้เฟซบุ๊คเกิดในเมืองจีนให้ได้
    ผมไปเมืองจีนมาหลายรอบช่วงหลังนี้ พยายามจะเข้า Facebook และ Twitter แต่ทำไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จีนสกัดไม่ให้คนจีนเข้าไปเล่น social media ตะวันตกด้วยหวั่นเกรงว่าจะแสดงความเห็นและสื่อสารข้อความที่รัฐบาลจีนควบคุมไม่ได้
    เมืองจีนมีเว็บไซต์เครือข่ายสังคมของตนเองเป็นภาษาจีน เพราะต้องการจะสามารถควบคุมทุกอย่างที่ปรากฏในวงการนี้
    แต่เมื่อนายซักเคอร์เบิร์ก แวะไปที่สำนักงาน Sina Corp ซึ่งเป็นองค์กรด้านอินเทอร์เน็ตยักษ์ของจีน เพื่อทักทายผู้บริหารสูงสุดที่ชื่อ Charles Chao หลังจากที่ไปจับไม้จับมืออย่างสนิทสนมกับประธาน China Mobile Ltd ที่ชื่อ Wang Jianzhou และไม่ลืมที่จะไปถามหานาย Robin Li ซึ่งเป็นซีอีโอของ Baidu Inc อันโด่งดัง จะให้คนจีนคิดว่าเจ้าของเฟซบุ๊ค แค่มาท่องเที่ยวกำแพงเมืองจีนกับแฟนสาวเท่านั้นเห็นจะไม่ได้
    เจ้าตัวนั่งยันยืนยันว่าไม่ได้มาแอบจับมือ เพื่อหาทางให้เฟซบุ๊คเจาะตลาดจีนแต่ประการใด เพียงแต่มาเรียนรู้ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนเท่านั้น...ทำไมการมาเยี่ยมเยือนเพื่อนร่วมธุรกิจด้านเดียวกัน จะต้องเป็นเรื่องการมาจับมือเพื่อธุรกิจทุกครั้งหรือ
    แต่ต้องไม่ลืมว่านายซักเคอร์เบิร์กเคยพูดอย่างไม่ปิดบัง ว่าโดยส่วนตัวแล้วมีความสนใจในตลาดจีนอย่างยิ่ง แต่แกไม่ได้บอกว่า "สนใจ" แล้ว จะมาทำอะไรจริงจัง เพื่อฝ่าข้ามกฎกติกาอันสลับซับซ้อนของจีน ซึ่งเคยกดดันจน Google ต้องหลบลี้หนีไปตั้งหลักที่ฮ่องกงทุกวันนี้หรือไม่
    หากหนุ่มใหญ่แห่งเฟซบุ๊คคนนี้คิดจะมาทำอะไรในจีนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็หนีไม่พ้นว่าจะต้องหา "หุ้นส่วน" ที่เป็นจีน เพราะลำพังตนเองจะบุกทะลวงเข้ามาเลยนั้น เป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะรัฐบาลจีนไม่ยอมให้ใครเข้ามาจากต่างประเทศพร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจร้อยเปอร์เซ็นต์
    ยิ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับ social media ด้วยแล้ว ยิ่งถือว่าเป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ยิ่ง เพราะไปเกี่ยวกับเรื่อง "ข้อมูลข่าวสาร" และ "การแสดงความคิดเห็น" ที่ผู้นำการเมืองของเขามองว่า เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะเปิดเสรีได้เป็นอันขาด ไม่ว่าในกรณีใด
    ถ้าถามผม เสียงเล่าลือว่าเขากำลังคิดการใหญ่ในเมืองจีนไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อแน่นอน เพราะเขาเคยบอกว่า "จีนเป็นประเทศที่สำคัญขนาดนี้ เราจะมองข้ามไปได้อย่างไร"
    หรือพูดอีกอย่าง ซักเคอร์เบิร์กตั้งประเด็นว่า
    "เราจะเชื่อมโยงทั้งโลกได้อย่างไร หากเราไม่สามารถให้จีนมาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายของเรา"
    ต้องไม่ลืมว่าจีนวันนี้มีคนใช้อินเทอร์เน็ตถึง 420 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นประชากรอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของโลก
    ผลวิจัยบอกว่าปีที่แล้ว คนจีนที่ใช้บริการ social media มีไม่น้อยกว่า 176 ล้านคน ซึ่งเท่ากับเป็นการก้าวกระโดดถึงร้อยละ 68 จากหนึ่งปีก่อนหน้านี้
    จะไม่ให้หนุ่มซักเคอร์เบิร์กมองข้ามตลาดอันใหญ่โตมโหฬารสำหรับเฟซบุ๊คของเขาได้อย่างไร
    แต่พอคิดจะเข้าตลาดจีน สิ่งแรกที่เขาต้องพิจารณาคือ จะทำอย่างไรไม่ให้เจ้าหน้าที่จีนมาบงการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน
    ตอนนี้จึงต้องเพียงแค่ "ขอศึกษาตลาดอินเทอร์เน็ตจีน" ไปก่อน หากเจออะไรที่เป็นสูตรสำหรับก้าวต่อไป ค่อยมาเจาะให้ลึกกว่านั้น
    อย่างน้อยเขาก็มีแฟนสาวสวยที่เป็นหมวยพูดภาษาจีนคล่องชื่อ Priscilla Chan มาช่วยเป็นล่ามให้ระหว่างการเจรจากับฝ่ายจีน
    เธอเป็นหมวยจีนเกิดที่อเมริกา พบกับซักเคอร์เบิร์ก ตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี 2004 ตอนที่หนุ่มผมยุ่งคนนี้คิดทำเฟซบุ๊คขึ้นมาเป็นครั้งแรกนั่นแหละ
    ว่ากันว่า ทั้งสองคนมีข้อตกลงกันว่า จะต้องออกไปเที่ยวกันฉันแฟนอย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง และต้องอยู่กันสองต่อสองอย่างน้อย 100 นาที และต้องไม่ใช่อยู่ในอพาร์ตเมนต์ของเขา และต้องไม่ใช่พบกันเฉพาะในเฟซบุ๊คอีกด้วย
    ยิ่งถ้ารู้ว่าซักเคอร์เบิร์กใช้เวลาวันละ อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงเพื่อเรียนภาษาจีน ก็จะยิ่งทำให้เชื่อได้ว่าตลาดจีน สาวจีน และภาษาจีน ต้องอยู่อันดับต้นๆ ของแผนอนาคตของเขาอย่างแน่นอน

    <DD class=columnist-name>


    </DD>
     
  4. pacifist2000

    pacifist2000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +1,402
    ติดตามอย่างต่อเนื่องครับ
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    >ทุนนิยมล่มสลาย ถึงเวลาเศรษฐกิจพอเพียง<

    การล้มละลาย อย่างต่อเนื่องของ สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯนับตั้งแต่ วิกฤติซับไพร์ม เป็นต้นมา ยังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดวันจันทร์ที่ผ่านมา วาณิชธนกิจยักษใหญ่อันดับ 4 ของ สหรัฐฯ เลห์แมน บราเธอร์ส ก็ประกาศล้มละลายไปอีกแห่งด้วหนึ้สินท่วมท้นกว่า 60,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
    วันเดียวกัน เมร์ริล ลินซ์ โบรกเกอร์ยักษ์อันดับ 3 ในสหรัฐฯ ก็ตัดสินใจขายกิจการให้ ธนาคารแห่งอเมริกา ด้วยการแลกหุ้นมูลค่า 50,000 ล้านดอลล่าร์ หลังขาดสภาพคล่องอย่างหนัก จากการขาดทุนในวิกฤติซับไพร์มและตราสารหนี้
    ถัดมาอีกวัน อเมริกัน อันเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป หรือ AIG บริษัทประกันยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของสหรัฐฯ มีทรัพย์สินสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ราว 37.4 ล้านล้านบาท มีลูกค้ากว่า 74 ล้านรายใน 130 ประเทศทั่วโลก ก็มีอาการโคม่าตามจน เฟด หรือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องตัดสินใจเข้าไป"อุ้ม" อีกแห่งต่อจาก แบร์ สเติร์น, อินดี้แมค, แฟนนีเมย์ และเฟรดดี้ แมค
    การล่มสลายอย่างต่อเนื่องของบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯสะท้อนให้เห็น ถึง การล่มสลายของทุนนิยมเสรีสุดโต่ง ที่เกิดขึ้นในช่วง 8 ปีทื่ผ่านมา ในยุคของ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผุ้นำสหรัฐฯที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่งในต้นปีหน้า ซึ่ง บุช ได้ส่งออกทุนนิยมเสรีสุดโต่งนี้ไปทั่วโลก มีการ ประกาศเขตการค้าเสรีมากมาย ในช่วง 8 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่ง โดยยึดเอา ตัวเลขความร่ำรวยและ จีดีพี เป็นสรณะ
    สุดท้ายคือความหายนะ ที่กำลังแผ่กระจายไปทั่วโลก
    ช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ไทยก็เห่อทุนนิยมเสรีสุดโต่ง ผมเคยเขียนทักท้วงไม่อยากให้รัฐบาลใช้"ตัวเลขจีดีพี" เป็นเป้าหมายบริหารประเทศ เพราะคนที่จนและอ่อนแอกว่าไล่ตามไม่ทัน ขอให้ใช้ความสุขของประชาชน เป็นเป้าหมายโดยนำปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของ "ในหลวง" มาใช้ แต่ไม่สำเร็จ
    วันนี้เมื่อทุนนิยมเสรีสุดโต่งกำลังล่มสลาย ผมคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสดีที่ รัฐบาลใหม่ จะนำมาทบทวนกันใหม่ ทำให้คนไทยทุกคน"พอเพียง" ในการมีชีวิตอย่างมีความสุจ ดีกว่าการแข่งขันกันรวยจนเกิดความโลภไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสุดท้ายก็เป็นผลเสียระบบและสังคมส่วนรวมอย่างที่เห็น..


    อ้างอิงจาก นสพ.ไทยรัฐ 19/09/51
    Bloggang.com : Mr.bearblog - >
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG] ถึงกาลโลกทุนนิยมล่มสลาย
    « เมื่อ: กันยายน 29, 2008

    ข่าวแบงค์ใหญ่ในอเมริกาล้ม
    ตามติดๆ มาด้วยแบงค์เก่าในเบลเยี่ยมยุโรปล้มตาม
    ใน ขณะที่รัฐสภาอเมริกาไม่ผ่านงบประมาณ 7 แสนล้านที่ประธานาธิบดีบุชเสนอ (เหล่านักสนับสนุนการเมืองแบบพรรคภาพศึกษาไว้ให้ดีว่าทำไมเขาจึงลงคะแนนต่าง จากความเห็นของพรรคและประธานาธิบดีได้) ทำให้ตลาดหุ้นดาวโจนส์ร่วงอย่างรุนแรง
    เช้านี้ก็คงได้เห็นน้ำตาท่วมตลาดหุ้น
    สิ่งเหล่านี้บ่งบอกได้ชัดว่า "ถึงกาลโลกทุนนิยมล่มสลาย" แล้ว

    หลัง จากที่เมื่อทศวรรษที่ 8 ชาวสังคมนิยมและผู้คลั่งใคล้ในลัทธิมาร์กซต้องสะอื้นไห้กับการล่มสลายของโลก สังคมนิยมและการพังทลายของอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์

    เวลานั้นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยมและมาร์กซหลายคนถึงกับได้ข้อสรุปว่า "ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้"

    มาเวลานี้ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ยังจะหอมหวานอยู่หรือ

    หลาย วันที่ผ่านมาผ่านไปร้านอาหารดังหลายแห่ง คนนั่งหรอมแหรม เด็กเก็บรถบอกว่ารถที่เคยวิ่งบนถนนก็เงียบสงัด เห็นได้คนมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น จึงเก็บเนื้อเก็บตัวลดการใช้จ่ายมากกว่า

    สิ่งที่ตามมาคืออะไร เงินฝืด เพราะคนจะไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย

    จาก เงินฝืดธุรกิจหลายอย่างจะเริ่มหยุดชะงัก ส่งออกก็ไม่ดี การท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวก็ไม่มา หวังคนในประเทศคนในก็ไม่เดินทางไม่จับจ่ายข้าวของเช่นกัน

    เรื่อง นี้ไม่เข้าใตรออกใคร คุณจะปฏิรูปการเมืองหรือไม่ คุณจะเป็นพลังที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ยังเถียงกันไม่จบสักทีว่าของข้านี่แหละถูกที่สุดหรือไม่

    พิษภัยจากทุนนิยมโลกได้มาเยือนถึงหน้าบ้านเราแล้ว !


    ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กในสหรัฐฯ ปิดตลาดเมื่อคืนนี้ ปรับตัวลดลงถึง 777.68 จุด หรือ 6.98 % โดยปิดที่ระดับ 10,365.45
    หลังสภาคองเกรส ลงมติคว่ำแผนฟื้นฟูฯ 7 $แสนล.


    เป็นการร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และร่วงลงรุนแรงที่สุด เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์
    เทียบกับเมื่อโดนโจมตี ตึกเวิร์ลเทรดด้วยเครื่องบิน ดาวโจนส์ร่วงเพียง 504 จุด

    เมื่อวาน 2 แบงค์ยักษ์ในยุโรปล้ม จนรัฐบาลกลางต้องระดมเงินเข้าซื้อกิจการ

    ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยเปิดตลาดเช้านี้ร่วงถึง 30 จุด หรือคิดเป็น 5% หลุดจากแนวต้านที่ 600 จุดเรียบร้อย

    วิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมโลกครั้งนี้ร้ายแรง และยังไม่สะท้อนผลเสียหายทั้งหมด
    นัก วิชาการคาดว่ายังมีผลเสียหายที่จะค่อยค่อยเผยโฉมอีกมีมูลค่ามากถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่รับรู้แล้ว 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

    นับจากวันเสาร์ธนาคารในยุโรปล้มตามๆ กันไปกว่า 5 ธนาคาร

    พรุ่งนี้ไม่รู้ว่าที่ไหนจะล้มอีก

    แม้ทางการไทยจะออกมานั่งยันนอนยันว่าไม่กระทบ ฐานของเรายังแข็งแกร่ง

    แต่ใครก็รู้ว่าเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงอยู่กับอะไร

    ตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดก็สหรัฐ ถ้าส่งออกไม่ได้จะทำอย่างไร

    นักท่องเที่ยวก็จะหดตัว เพราะคนไม่ตกงานก็ต้องเซฟเงิน

    เรื่องนี้ไม่ต้องเถียงกันให้เมื่อยปาก

    ทุนนิยมมันเหลวแหลกเน่าเฟะโดยตัวของมันเองจริงๆ

    หรือใครจะว่าทุนนิยมโลกาภิวัฒน์เป็นสิ่งหอมหวน

    เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีก ฮา

    เป็นลูกไล่อเมริกา ถูกถล่มมานานนับสิบยี่สิบปี
    วันนี้ปูตินได้ที เอาคืนบ้าง
    วาทะของปูติน

    ปูตินจวกมะกัน'ไร้ความรับผิดชอบ'ต้นตอวิกฤตการเงินทั่วโลก

    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2551 00:15 น.


    การ "ขาดความรับผิดชอบ"ของระบบการเงินสหรัฐฯ คือต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก นายกรัฐมนตรีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย กล่าวเมื่อวันพุธ(1 ต.ค.) ขณะที่วอชิงตันกำลังคลำหาทางแก้ไขปัญหา

    "ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในขอบเขตเศรษฐกิจและการเงินตอนนี้ เริ่มต้นมาจากอเมริกา" ปูติน บอกกับที่ประชุมรัฐบาล "นี่ไม่ใช่แค่การขาดความรับผิดชอบรายบุคคล แต่มันคือการขาดความรับผิดชอบทั้งระบบ"

    ถึงกาลโลกทุนนิยมล่มสลาย
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การล่มสลายของอาณาจักรบาบิโลน ในวิวรณ์ หมายถึงมหาอาณาจักรทุนนิยมหรือเปล่า?

    ถ้าเราลองเปิดในพระธรรมวิวรณ์ พระธรรมวิวรณ์จะกล่าวถึงมหาอาณาจักรบาบิโลน กับการล่มสลาย และจะกล่าวถึงตอนที่พวกพ่อค้า วาณิชจะต้องร่ำให้ ผมว่าถ้าเราลองได้อ่านดีๆ มันจะมีส่วนคล้ายๆ กับทุนนิยม คือเป็นแนวทางในเชิงพาณิชย์
    ลองคิดดูนะ ครับ ถ้าหากว่าอาณาจักรแห่งทุนนิยมล่มสลาย อะไรจะเกิดขึ้น นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ เจ้าของอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างจะต้องร้องให้
    ผมว่าเราไม่ทราบเวลานั้น .....

    จากคุณ : นายสาระแน - [ 30 มิ.ย. 49

    แล้วแต่จะตีความอะครับ แต่ผมรู้ว่า ทุนนิยม เป็นแค่การสร้างหรือปั่นมูลค่า ของเลขในกระดาน โดยที่มูลค่าจริงของมัน อาจไม่มีเลยก็ได้

    แต่คนที่รวยจากทุนนิยมจริง ผมเห็นว่าเขากลับไม่ยึดติดในภาวะนี้ไปแล้ว คือหลุดจากเห็นมูลค่าหลอกของเงิน .... แท้จริงเลขที่กำหนดค่าเงินทั้งหมด อยู่ที่มูลค่าคือ ทองคำ น้ำมัน ... และทั้งหมดอยู่ในมือของชนชาติยิวครับ ...

    จากคุณ : artheron - [ 30 มิ.ย. 49

    ดูตามประวัติศาสตร์ ระบบทุนนิยมเริ่มมานานช้ากาเลแล้ว พร้อมๆกับการเริ่มสังคมมนุษย์นั่นแหละ ก็เมื่อไหร่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ก็ย่อมเป็นทุนนิยมไปเสมอนั่นแหละ

    แต่ตามประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเขียนขึ้น ระบบทุนนิยมเริ่มในสมัยโรมัน เมื่อกองเรือสินค้าจากกรุงโรมล่องลอยไปค้าขายในจักรวรรดิ์โรมัน พวกคนใหญ่ๆโตๆในสังคมโรมัน เช่นคนในสภาซีเนต มักจะมีใบหุ้นร่วมลงทุนด้วย (เป็นการเริ่มต้นลงทุนด้วยการใช้ใบหุ้น ซึ่งมีการซื้อขายใบหุ้นกันด้วย)... ..

    ..แต่ถ้าว่ามาถึงยุคใหม่ ระบบทุนนิยมเริ่มต้นที่เนเธอร์แลนด์ประมาณกว่า ๕๐๐ ปีก่อนนี้(ที่อัมสเตอร์ดัม) มีตลาดหุ้นเริ่มต้นครั้งแรกที่นั่น
    ..แต่ถ้าว่าถึงยุคใหม่ล่าสุดจริงๆ คือ ระบบทุนนิยมที่เริ่มต้นที่นิวยอร์ค เมื่อปะมาณสี่ร้อยกว่าปีก่อน ที่มีการซื้อขายหุ้นกันที่วอล สตรีท มาตั้งแต่ยุคนั้น (นิวยอร์ค เดิม มีชื่อเรียกว่า นิว อัมสเตอร์ดัม) เมื่ออเมริกาเริ่มต้นเคลื่อนไหวเพื่อประกาศเอกราชหลุดพ้นจากแอกของอังกฤษ ก็มีการระดมทุนจากตลาดวอล สตรีท เพื่อเอามาเป็นทุนสู้กับกองทัพอังกฤษ จนสำเร็จ กลายมาเป็นอเมริกาในยุคนี้

    จากคุณ : Ck (Clarke)

    ห่วงโซ่แห่งความหายนะของมวลมนุษยชาติ

    จากคุณ : งงทุกสถานการณ์ - [ 30 มิ.ย. 49

    ระบบที่ไม่ใช่คุณธรรมนิยม ไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม (ของมนุษย์ผู้มีกิเลสครอบงำ) หรือ สังคมนิยม(สังคมของผู้มีกิเลส) หรือแม้แต่ คอมมิวนิสต์

    ทุกระบบสุดท้ายต้องเสื่อมสลายไปจนหมดสิ้นแหละครับ

    จากคุณ : หัดฝัน - [ 30 มิ.ย. 49

    PANTIP.COM : Y4496690
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธ ที่ 17 ธันวาคม 2551
    โลกทุนนิยมวิปริตหนัก ส่อล่มสลาย
    จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ได้เกิดปรากฏการณ์วิปริตครั้งใหญ่ที่สุด นับแต่โลกได้เข้าสู่ยุคทุนนิยมเป็นต้นมา และมีแนวโน้มส่อว่าลัทธิทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นทุนนิยมโลกาภิวัฒน์กำลัง ใกล้ล่มสลายเต็มทีแล้ว ปรากฏการณ์สำคัญเท่าที่เรารวบรวมได้มีดังต่อไปนี้


    1. การยอมรับสารภาพบาปของนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดของสหรัฐที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามว่าเป็นมหาครุแห่งลัทธิ ทุนนิยมเสรียุคใหม่ และมีบทบาทคุมบังเหียนเศรษฐกิจโลกเป็นเวลายาวนานที่สุด ซึ่งได้ยอมรับอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะทั่วโลกว่า ความเชื่อและความคิดของเขาที่เคยมั่นใจตลอดมาว่าระบบทุนนิยมดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด และสามารปรับตัวเองได้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นความเชื่อและความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ และส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นในภาคส่วนใด แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมปรับตัวเองตามธรรมชาติไม่ได้ ต้องอาศัยการอุ้มชูแทรกแซงโดยรัฐเสมอ และการอุ้มชูหรือแทรกแซงนั้นเกือบทั้งหมดก็ต้องชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน เพียงแต่สามารถใช้สื่อและการอธิบายด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือ เท่านั้น โดยเนื้อหาแท้จริง ผลประโยชน์กลับตกแก่ทุนใหญ่เพียงไม่กี่ราย และแก่ภาคการเงินเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ ยังคงถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม

    การยอมรับสารภาพบาปของนายอลัน กรีนสแปน ทำให้หลักคิดของลัทธิทุนนิยมเสรีต้องสั่นคลอนและกระทบกระเทือนอย่างถึงราก และทำให้คำประกาศของคาร์ลมาร์คที่ว่า กำไรซึ่งเป็นลมหายใจของระบบทุนนิยมนั้นคือตัวปัญหาของระบบทุนนิยมที่ไม่มี ทางแก้ไขให้ตกไปได้ และจะเป็นตัวทำลายระบบทุนนิยมเสรีในที่สุด ก้องกระหึ่มและได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางขึ้น

    2. นิตยสารเพลย์บอย ซึ่งเป็นนิตยสารภาพโป๊ที่มีชื่อเสียงของโลกมาหลายทศวรรษได้ประกาศรับสมัคร ผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านวอลล์สตรีทเพื่อให้มาแก้ผ้าถ่ายแบบปกให้กับ นิตยสารเพลย์บอยและเกิดเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วทั้งโลก

    เนื่องเพราะย่านวอลล์สตรีทนั้นเป็นศูนย์กลางการเงินของสหรัฐและของโลก เป็นศูนย์กลางและความเชื่อถือของโลกมานับศตวรรษ และโดยปกติผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านนี้มีรายได้สูงและมีเกียรติในระดับ โลก การประกาศรับสมัครดังกล่าวจึงเป็นการเยาะเย้ย เหยียดหยาม และหยามหยันว่าโลกทุนนิยมแท้จริงกำลังล่มสลายแล้ว เพราะแม้แต่ผู้บริหารการเงินในย่านวอลล์สตรีทก็ต้องมาขายตัวแก้ผ้าโชว์ใน นิตยสารเพลย์บอยกันแล้ว สังคมทุนนิยมสามารถขายได้ทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ความเป็นคน

    3. ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งของโลก ยอมรับว่าได้เล่นแชร์ลูกโซ่เพื่อเอาผลกำไรจำนวนมากมาโปะให้กับฐานะการดำเนิน งานของตนเป็นเวลาหลายปีแล้ว และขณะนี้แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวล้มครืนลงแล้ว เกิดผลเสียหายขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

    แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวดำเนินการในรูปของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหลายประเภท และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ ทำนองเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นกแก้วของไทยในอดีต ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้เป็นการผิดกฎหมาย และมีลักษณะฉ้อโกง เพราะเป็นการใช้เงินต่อเงินในลักษณะเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นก แก้วนั่นเอง ในที่สุดกองทุนนี้ก็ล้มลงและผู้บริหารถูกจับกุมดำเนินคดี ข้อมูลความเสียหายมหาศาลจึงถูกเปิดเผยต่อชาวโลก

    ทำให้ชาวโลกได้รู้ว่าธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลกทั้ง 7 แห่ง ซึ่งแสดงตนเองตลอดมาว่าเป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมาภิบาลที่เหนือกว่ามาตรฐานในระบบการเงินของโลกนั้น แท้จริงแล้วก็คือการลวงโลกทั้งสิ้น และบ่งบอกถึงความไร้สมรรถนะในการสร้างกำไรในธุรกิจปกติ แต่ถูกค้ำยันให้ยืนอยู่ได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย ซึ่งไร้ธรรมาภิบาลอย่างสิ้นเชิง และสะท้อนให้เห็นมายาภาพและการลวงโลกของบริษัทจัดลำดับมาตรฐานความน่าเชื่อ ถือของโลกด้วย ว่าแท้จริงแล้วไม่มีน้ำยา หรือไม่ก็สมคบกันลวงโลกด้วย

    4. บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกที่ มีชื่อเสียงก้องกระเดื่องโลกหลายแห่งถูกกระชากหน้ากากว่า คบคิดกันปล้นสดมภ์มนุษยชาติในกรณีสารเมลามีน ซึ่งมีการคบคิดกันสร้างราคาที่เกินจริง และหลอกลวงโลก เพื่อสร้างฐานราคาทุนของพลังงานให้ดูเหมือนมีต้นทุนที่สมเหตุสมผล ทำให้ชาวโลกหลงเชื่อในอัตรากำไรมาตรฐานของพลังงานทั้งโลก โดยความจริงแล้วเป็นการสร้างตัวเลขลวงและฉ้อฉลเพิ่มตัวเลขขึ้นในส่วนต้นทุน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั้งโลกสูงเกินจริง และทำให้มนุษยชาติทั้งโลกต้องจ่ายให้กับตัวเลขลวงโลกนี้เป็นเวลายาวนาน คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงอย่างขนานให่ และกดดันให้ราคาพลังงานต้องลดลงในปัจจุบัน

    5. วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ถูกเปิดเผยว่าปมเงื่อนที่แท้จริงอยู่ที่การขายรายได้ในอนาคตของประชาชาติ อเมริกันล่วงหน้า เป็นมูลค่ารายได้คูณด้วยระยะเวลาถึง 65 ปี เป็นมูลเหตุให้เกิดการก่อหนี้จำนวนมหาศาลขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์จำพวกธนบัตร หุ้น และตราสารหนี้ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงเกินจริงเหมือนฟองสบู่ ครั้นฟองสบู่แตก มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดจึงดิ่งเหว และขณะนี้ตกลงไปร่วม 70% แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดถึงก้นเหวเมื่อใด ทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ต้องพังพินาศ ทั้งในสหรัฐและทั่วโลก จนใกล้เป็นมหันตภัยทางเศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้กำลังท้าทายปรัชญาหลักคิด แนวทาง และมาตรการทั้งหลายของลัทธิทุนนิยมเสรีของโลกและทำให้หน้ากากของลัทธิ ทุนนิยมเสรีของโลกถูกกระชากออกอย่างล่อนจ้อนเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้ง สุดท้ายด้วย.

    อ่านข่าวสารข้อมูลเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย เชิงลึกที่ Paisal Vision
    เครดิต
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธ ที่ 17 ธันวาคม 2551
    โลกทุนนิยมวิปริตหนัก ส่อล่มสลาย
    จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ได้เกิดปรากฏการณ์วิปริตครั้งใหญ่ที่สุด นับแต่โลกได้เข้าสู่ยุคทุนนิยมเป็นต้นมา และมีแนวโน้มส่อว่าลัทธิทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นทุนนิยมโลกาภิวัฒน์กำลัง ใกล้ล่มสลายเต็มทีแล้ว ปรากฏการณ์สำคัญเท่าที่เรารวบรวมได้มีดังต่อไปนี้


    1. การยอมรับสารภาพบาปของนายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานเฟดของสหรัฐที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามว่าเป็นมหาครุแห่งลัทธิ ทุนนิยมเสรียุคใหม่ และมีบทบาทคุมบังเหียนเศรษฐกิจโลกเป็นเวลายาวนานที่สุด ซึ่งได้ยอมรับอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะทั่วโลกว่า ความเชื่อและความคิดของเขาที่เคยมั่นใจตลอดมาว่าระบบทุนนิยมดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด และสามารปรับตัวเองได้ดีที่สุดนั้น อาจเป็นความเชื่อและความคิดที่ผิดอย่างมหันต์ และส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นในภาคส่วนใด แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมปรับตัวเองตามธรรมชาติไม่ได้ ต้องอาศัยการอุ้มชูแทรกแซงโดยรัฐเสมอ และการอุ้มชูหรือแทรกแซงนั้นเกือบทั้งหมดก็ต้องชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน เพียงแต่สามารถใช้สื่อและการอธิบายด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือ เท่านั้น โดยเนื้อหาแท้จริง ผลประโยชน์กลับตกแก่ทุนใหญ่เพียงไม่กี่ราย และแก่ภาคการเงินเกือบทั้งหมด ในขณะที่ภาคส่วนอื่น ๆ ยังคงถูกปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม

    การยอมรับสารภาพบาปของนายอลัน กรีนสแปน ทำให้หลักคิดของลัทธิทุนนิยมเสรีต้องสั่นคลอนและกระทบกระเทือนอย่างถึงราก และทำให้คำประกาศของคาร์ลมาร์คที่ว่า กำไรซึ่งเป็นลมหายใจของระบบทุนนิยมนั้นคือตัวปัญหาของระบบทุนนิยมที่ไม่มี ทางแก้ไขให้ตกไปได้ และจะเป็นตัวทำลายระบบทุนนิยมเสรีในที่สุด ก้องกระหึ่มและได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางขึ้น

    2. นิตยสารเพลย์บอย ซึ่งเป็นนิตยสารภาพโป๊ที่มีชื่อเสียงของโลกมาหลายทศวรรษได้ประกาศรับสมัคร ผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านวอลล์สตรีทเพื่อให้มาแก้ผ้าถ่ายแบบปกให้กับ นิตยสารเพลย์บอยและเกิดเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วทั้งโลก

    เนื่องเพราะย่านวอลล์สตรีทนั้นเป็นศูนย์กลางการเงินของสหรัฐและของโลก เป็นศูนย์กลางและความเชื่อถือของโลกมานับศตวรรษ และโดยปกติผู้บริหารสถาบันการเงินในย่านนี้มีรายได้สูงและมีเกียรติในระดับ โลก การประกาศรับสมัครดังกล่าวจึงเป็นการเยาะเย้ย เหยียดหยาม และหยามหยันว่าโลกทุนนิยมแท้จริงกำลังล่มสลายแล้ว เพราะแม้แต่ผู้บริหารการเงินในย่านวอลล์สตรีทก็ต้องมาขายตัวแก้ผ้าโชว์ใน นิตยสารเพลย์บอยกันแล้ว สังคมทุนนิยมสามารถขายได้ทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ความเป็นคน

    3. ธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำ 7 แห่งของโลก ยอมรับว่าได้เล่นแชร์ลูกโซ่เพื่อเอาผลกำไรจำนวนมากมาโปะให้กับฐานะการดำเนิน งานของตนเป็นเวลาหลายปีแล้ว และขณะนี้แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวล้มครืนลงแล้ว เกิดผลเสียหายขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 50,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

    แชร์ลูกโซ่ดังกล่าวดำเนินการในรูปของกองทุนเพื่อการเก็งกำไรหลายประเภท และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ ทำนองเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นกแก้วของไทยในอดีต ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้เป็นการผิดกฎหมาย และมีลักษณะฉ้อโกง เพราะเป็นการใช้เงินต่อเงินในลักษณะเดียวกันกับแชร์แม่ชม้อยหรือแชร์แม่นก แก้วนั่นเอง ในที่สุดกองทุนนี้ก็ล้มลงและผู้บริหารถูกจับกุมดำเนินคดี ข้อมูลความเสียหายมหาศาลจึงถูกเปิดเผยต่อชาวโลก

    ทำให้ชาวโลกได้รู้ว่าธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลกทั้ง 7 แห่ง ซึ่งแสดงตนเองตลอดมาว่าเป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมาภิบาลที่เหนือกว่ามาตรฐานในระบบการเงินของโลกนั้น แท้จริงแล้วก็คือการลวงโลกทั้งสิ้น และบ่งบอกถึงความไร้สมรรถนะในการสร้างกำไรในธุรกิจปกติ แต่ถูกค้ำยันให้ยืนอยู่ได้ด้วยผลกำไรจากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย ซึ่งไร้ธรรมาภิบาลอย่างสิ้นเชิง และสะท้อนให้เห็นมายาภาพและการลวงโลกของบริษัทจัดลำดับมาตรฐานความน่าเชื่อ ถือของโลกด้วย ว่าแท้จริงแล้วไม่มีน้ำยา หรือไม่ก็สมคบกันลวงโลกด้วย

    4. บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลกที่ มีชื่อเสียงก้องกระเดื่องโลกหลายแห่งถูกกระชากหน้ากากว่า คบคิดกันปล้นสดมภ์มนุษยชาติในกรณีสารเมลามีน ซึ่งมีการคบคิดกันสร้างราคาที่เกินจริง และหลอกลวงโลก เพื่อสร้างฐานราคาทุนของพลังงานให้ดูเหมือนมีต้นทุนที่สมเหตุสมผล ทำให้ชาวโลกหลงเชื่อในอัตรากำไรมาตรฐานของพลังงานทั้งโลก โดยความจริงแล้วเป็นการสร้างตัวเลขลวงและฉ้อฉลเพิ่มตัวเลขขึ้นในส่วนต้นทุน ทำให้ต้นทุนพลังงานทั้งโลกสูงเกินจริง และทำให้มนุษยชาติทั้งโลกต้องจ่ายให้กับตัวเลขลวงโลกนี้เป็นเวลายาวนาน คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบตัวเลขที่แท้จริงอย่างขนานให่ และกดดันให้ราคาพลังงานต้องลดลงในปัจจุบัน

    5. วิกฤตแฮมเบอเกอร์ที่เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ถูกเปิดเผยว่าปมเงื่อนที่แท้จริงอยู่ที่การขายรายได้ในอนาคตของประชาชาติ อเมริกันล่วงหน้า เป็นมูลค่ารายได้คูณด้วยระยะเวลาถึง 65 ปี เป็นมูลเหตุให้เกิดการก่อหนี้จำนวนมหาศาลขึ้นในทุกภาคส่วน ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์จำพวกธนบัตร หุ้น และตราสารหนี้ต่าง ๆ มีมูลค่าสูงเกินจริงเหมือนฟองสบู่ ครั้นฟองสบู่แตก มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดจึงดิ่งเหว และขณะนี้ตกลงไปร่วม 70% แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดถึงก้นเหวเมื่อใด ทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ต้องพังพินาศ ทั้งในสหรัฐและทั่วโลก จนใกล้เป็นมหันตภัยทางเศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้กำลังท้าทายปรัชญาหลักคิด แนวทาง และมาตรการทั้งหลายของลัทธิทุนนิยมเสรีของโลกและทำให้หน้ากากของลัทธิ ทุนนิยมเสรีของโลกถูกกระชากออกอย่างล่อนจ้อนเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้ง สุดท้ายด้วย.

    อ่านข่าวสารข้อมูลเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย เชิงลึกที่ Paisal Vision
    เครดิต
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้นำอิหร่านประณามสหรัฐและชาติมหาอำนาจชี้ทุนนิยมต้องล่มสลายตามสังคมนิยม

    ผู้นำอิหร่านได้ทีออกโรงประณามสหรัฐและชาติมหาอำนาจก่อวิกฤตเศรษฐกิจโลก พร้อมทำนายทุนนิยมจะต้องพังทลายในอนาคต

    สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ว่า ประธานาธิบดีมาห์มุด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่าน กล่าวระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความช่วยเหลือเศรษฐกิจหรืออีซีโอ ซึ่งประกอบด้วยตุรกีและปากีสถาน เปิดฉากโจมตีสหรัฐและชาติพันธมิตรมหาอำนาจว่าเป็นตัวการสำคัญทำให้โลกเกิด วิกฤตเศรษฐกิจ สร้างระบอบเศรษฐกิจที่ไม่ยุติธรรม และไร้ความรับผิดชอบ ทำให้ประเทศอื่น ๆ โชคร้ายต้องชดใช้ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากนโยบายของประเทศเหล่านี้ พร้อมทั้งกล่าวว่า ลัทธิทุนนิยมจะต้องล่มสลาย หลังลัทธิสังคมเคยล่มสลายมาแล้ว พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มอีซีโอพัฒนาการค้าร่วมกัน เพื่อป้องกันระบบเศรษฐกิจโลกที่ไม่เป็นธรรมด้วย
    update : 2009-03-11 16:36:34
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    patty ในโลกทุนนิยมที่ล่มสลาย
    เธอเกิดมาในยุคที่ทุนนิยมเผยโฉมหน้าที่แท้จริง
    มันไม่ได้สวยงามอย่างที่ใครๆพูดไว้
    ฐานการผลิต สิ่งก่อสร้าง ถูกทิ้งร้าง
    เสื้อผ้าเธอ หดสั้น ขาดวิ่น
    โอ้ว โลกทุนนิยม ทำไมโหดร้ายกับเธอได้ขนาดนี้

    . - patty ในโลกทุนนิยมที่ล่มสลาย
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    patty ในโลกทุนนิยมที่ล่มสลาย
    เธอเกิดมาในยุคที่ทุนนิยมเผยโฉมหน้าที่แท้จริง
    มันไม่ได้สวยงามอย่างที่ใครๆพูดไว้
    ฐานการผลิต สิ่งก่อสร้าง ถูกทิ้งร้าง
    เสื้อผ้าเธอ หดสั้น ขาดวิ่น
    โอ้ว โลกทุนนิยม ทำไมโหดร้ายกับเธอได้ขนาดนี้

    . - patty ในโลกทุนนิยมที่ล่มสลาย
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
    เมื่อ ศุกร์, 06/02/2009 - 12:05 | แก้ไขล่าสุด เสาร์, 07/02/2009 - 21:48 | By PostAuthorIcon sila16100
    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต: ความล้มเหลวของคอมมิวนิสต์ ???
    ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนวมาร์กซ์มี "กระบวนการทางชนชั้น" (class process) เป็น "จุดตั้งต้น" (entry point) ในการศึกษา "ชนชั้น" ตามนิยามของมาร์กซ์ไม่ได้จัดแบ่งตามเกณฑ์ "อำนาจ"(กลุ่มผู้มีอำนาจ-กลุ่มผู้ไร้อำนาจ) หรือ"ทรัพย์สิน"(กลุ่มคนรวย-กลุ่มคนจน) แต่มาร์กซ์เสนอแนวคิดทางชนชั้นว่าด้วย "แรงงาน(มูลค่า)ส่วนเกิน" (surplus labor(value)) ที่มีจุดเน้นที่กระบวนการในการผลิตส่วนเกิน การเข้าถือครองส่วนเกิน และการกระจายส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการผลิต โดยสนใจว่าใครคือผู้ผลิตส่วนเกิน ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร และจัดสรรส่วนเกินที่เกิดขึ้นอย่างไร หากยึดแนวคิดทางชนชั้นว่าด้วยแรงงานส่วนเกิน เราสามารถจำแนกโครงสร้างทางชนชั้น (class structure) ออก ได้หลายรูปแบบตามกระบวนการเกี่ยวกับแรงงานส่วนเกินที่แตกต่างกัน เช่น โครงสร้างทางชนชั้นแบบดั้งเดิม แบบทาส แบบศักดินา แบบทุนนิยม และแบบคอมมิวนิสต์ แต่ละโครงสร้างทางชนชั้นเป็นตัวกำหนดว่าใครคือผู้ผลิตส่วนเกิน ใครเป็นผู้เข้าถือครองส่วนเกิน และส่วนเกินที่เกิดขึ้นถูกจัดสรรให้ใคร ใน โครงสร้างชนชั้นแบบทุนนิยม แรงงานเป็นผู้ผลิตส่วนเกิน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนเกินที่ตนผลิตขึ้น ผู้ที่เข้าถือครองเป็นเจ้าของส่วนเกินคือนายทุน ซึ่งเป็นเจ้าของทุน แต่ไม่ได้เป็นผู้ลงมือผลิตสินค้านั้นโดยตรง นายทุนเป็นผู้จัดสรรส่วนเกินที่ได้รับในเบื้องแรกให้กับ “ชนชั้นรอง” (subsumed class) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ ได้เป็นผู้ลงมือผลิตโดยตรง แต่มีบทบาทสำคัญในการธำรงโครงสร้างความสัมพันธ์ในโครงสร้างชนชั้นนั้น ๆ เช่น ผู้จัดการ (ช่วยคุมให้แรงงานผลิตส่วนเกินมาก ๆ) ฝ่ายขาย (แปลงส่วนเกินเป็นเงินเพื่อสะสมทุนต่อ) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อช่วงชิงกำไรสูงสุด) เป็นต้น ส่วนโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ แรงงาน “ร่วมมือ” กันผลิตส่วนเกิน และ “ร่วมกัน” เป็นเจ้าของส่วนเกินที่ได้ “ร่วมกัน” ผลิต รวมทั้ง “ร่วมกัน” จัดสรรส่วนเกินให้กับชนชั้นรองเพื่อประกันการดำรงอยู่ของโครงสร้างความสัมพันธ์ด้านแรงงานส่วนเกินแบบรวมหมู่ดังกล่าวไว้ ในโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ ภาวะการเอาเปรียบขูดรีดแรงงานจึงไม่เกิดขึ้นเหมือนดังโครงสร้างแบบทุนนิยม เนื่องจาก ผู้ผลิตส่วนเกินคือผู้เป็นเจ้าของส่วนเกินนั้นเอง ทั้งนี้การผลิตในโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์เป็นการผลิตแบบร่วมมือรวม หมู่ ด้วยแนวคิดทางชนชั้นว่าด้วยแรงงานส่วนเกินของมาร์กซ์ดังที่กล่าวมา จึงมิอาจกล่าวได้ว่าสหภาพโซเวียตหลังการปฏิวัติโค่นล้มพระเจ้าซาร์ในปี 1917 เป็นสังคมที่มีโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้รวมถึงหลายประเทศในยุโรปตะวันออกในเวลาต่อมาด้วย เนื่องจาก ภายหลังการปฏิวัติ รูปแบบความสัมพันธ์ทางด้านแรงงานส่วนเกินยังมิได้มีการเปลี่ยนผ่านจากรูปแบบ ทุนนิยมไปยังคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังการปฏิวัติ 1917 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ การวางแผนจากส่วนกลางเข้าแทนที่ระบบตลาด กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลถูกแทนที่ด้วยกรรมสิทธิ์แบบรวมหมู่โดยรัฐ รัฐบาลเข้ายึดทรัพย์สินส่วนบุคคลทั้งเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต และผลผลิต ฯลฯ กระนั้น ใช่ว่าโครงสร้างชนชั้นแบบทุนนิยมได้ถูกทำลายไป แม้ บริษัท ธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็นของรัฐ แต่โครงสร้างทางชนชั้นแบบทุนนิยมที่ว่าด้วยแรงงานเป็นผู้ผลิตส่วนเกินแต่ไม่ ได้เป็นเจ้าของ นายทุนผู้ไม่ได้ลงมือผลิตกลับเป็นเจ้าของส่วนเกินนั้น ยังคงฝังตัวอยู่ภายในรัฐวิสาหกิจนั้น แรงงานยังคงผลิตแรงงานส่วนเกินให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยที่ตนมิได้เป็นเจ้าของส่วนเกินดังกล่าว เพียงแต่ผลิตแรงงานส่วนเกินให้กับรัฐวิสาหกิจแทนที่โรงงานเอกชน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเปลี่ยนหน้าผู้เข้าถือครองเป็นเจ้าของส่วนเกิน จาก “นายทุนเอกชน” ที่มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในทุนและผลผลิต เป็น “รัฐ” (นายทุนรัฐและข้าราชการ) เท่านั้น การเอาเปรียบขูดรีดแรงงานยังคงดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงภายหลังการปฏิวัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมิอาจกล่าวได้ว่าโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ได้เกิดขึ้นแทนที่ทุนนิยมในสหภาพโซเวียตในศตวรรษที่ 20 ตลาดและกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลมิใช่เงื่อนไขที่จำเป็นในการดำรงอยู่ของโครงสร้างชนชั้นแบบทุนนิยม โครงสร้าง ทางชนชั้นแบบทุนนิยมสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากตลาดและกรรมสิทธิ์ส่วน บุคคล ตราบที่ผู้ผลิตส่วนเกินมิได้เป็นเจ้าของส่วนเกินนั้น และนายทุน (ไม่ว่านายทุนเอกชนหรือนายทุนรัฐ) นำส่วนเกินที่ได้รับไปสะสมทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาส่วนเกินมากขึ้น ๆ ในรอบต่อ ๆ ไป สหภาพโซเวียตในศตวรรษที่ 20 มิใช่สังคมที่มีโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ เนื่องจากโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ยังมิได้ลงหลักปักฐานแทนที่ โครงสร้างชนชั้นแบบทุนนิยม การปฏิวัติดังกล่าวเป็นเพียงการเปลี่ยนรูปแบบของระบบทุนนิยม จาก “ทุนนิยมเอกชน” (Private Capitalism) เป็น “ทุนนิยมโดยรัฐ” (State Capitalism) เท่านั้น การปฏิวัติ 1917 มิใช่การเปลี่ยนรูปแบบจาก “ทุนนิยม” เป็น “คอมมิวนิสต์” แต่อย่างใด ประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียตในศตวรรษที่ 20 จึง เป็นประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องเล่าว่าด้วยการเปลี่ยนผันสลับไปมาระหว่าง ทุนนิยมเอกชนและทุนนิยมโดยรัฐ ตามบริบทของเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละห้วงเวลา มิใช่ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมสู่คอมมิวนิสต์ ในยุคพระเจ้าซาร์ โครงสร้างชนชั้นเป็นแบบทุนนิยมเอกชน หลังปฏิวัติ 1917 ทุนนิยมโดยรัฐเข้าแทนที่ทุนนิยมเอกชน ซึ่งเลนินถือว่าเป็นกระบวนการที่จำเป็นในการเปลี่ยนผ่านจากทุนนิยมเป็นคอมมิวนิสต์ หน่วย งานของรัฐ เช่น Supreme Council of National Economy และ Council of Minister ในเวลาต่อมา เป็นผู้เข้าถือครองและกระจายส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการผลิตโดยแรงงาน ตามแผนเศรษฐกิจที่ส่วนกลางได้วางไว้ โดยปราศจากบทบาทของตลาดและกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่ ใช่ว่าโครงสร้างทางชนชั้นแบบทุนนิยมจะเป็นโครงสร้างเดียวที่ดำรงอยู่ในสังคม ในแต่ละช่วงเวลาของสังคม มีโครงสร้างทางชนชั้นดำรงอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย แม้รัฐบาลเข้ามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรม เช่น เข้าเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดราคาผลผลิตและค่าจ้าง แต่ สำหรับภาคเกษตรในช่วงเวลาดังกล่าวมีโครงสร้างทางชนชั้นแบบดั้งเดิม ที่ผลผลิตถูกผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยอิสระในชนบท และชนชั้นดังกล่าวเป็นผู้ได้รับส่วนเกิน การแทรกแซงของรัฐในภาคเกษตรเป็นไปอย่างน้อยนิดเมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรม
    ในปี 1921 เลนินเสนอ “นโยบายเศรษฐกิจใหม่” (New Economic Policy) ที่หันเหเศรษฐกิจไปสู่ทิศทางส่งเสริมทุนนิยมเอกชนมากขึ้น เช่น แปรรูปรัฐวิสาหกิจ คืนชีวิตให้ตลาดและทรัพย์สินเอกชนในบางภาคส่วน เป็นต้น แนวนโยบายดังกล่าวเอื้อประโยชน์แก่การผลิตในภาคเกษตรที่มีโครงสร้างทางชนชั้นแบบดั้งเดิม ส่ง ผลให้อำนาจและความมั่งคั่งของกลุ่มเกษตรกรอิสระเพิ่มสูงขึ้น ชนชั้นนายทุนเอกชนกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และเป็นพื้นฐานสำคัญที่เป็นแรงผลักให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างก้าว กระโดด หลัง ทศวรรษ 1920 กลุ่มเกษตรกรอิสระและนายทุนเอกชนมีอำนาจและความมั่งคั่งสูงขึ้นมาก ผลที่ตามมาคือราคาสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น จนถึงระดับที่รัฐเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ส ตาลิน ซึ่งเป็นผู้นำในยุคนั้นได้เสนอแผนสองปีฉบับแรก โดยได้จัดตั้งระบบนารวมขนาดเล็กแทนที่เกษตรกรอิสระและนายทุนเอกชนในการผลิต ภาคเกษตร รัฐก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดสรรส่วนเกินเพื่อกระจายส่วนเกินในทางที่ เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม รัฐเข้ามากำหนดราคา โดยตั้งราคาสินค้าประเภทอาหารและวัตถุดิบให้ต่ำ เพื่ออำนวยการเติบโตแก่ภาคอุตสาหกรรม ในทางตรงกันข้าม รัฐกลับตั้งราคาสินค้าอุตสาหกรรมในระดับสูง นโยบายโยกย้ายส่วนเกินดังกล่าวเสมือนให้รางวัลแก่ภาคอุตสาหกรรมและลงโทษภาคเกษตร ต่อมาเมื่อเกิดการต่อต้านจากกลุ่มเกษตรกร ส ตาลินได้ล้มเลิกระบบนารวมขนาดเล็ก และจัดตั้งนารัฐขนาดใหญ่แทน รัฐเข้ามามีบทบาทในภาคเกษตรอย่างเต็มรูปแบบแทนที่เอกชน พลังและความมั่งคั่งของเกษตรกรอิสระและนายทุนเอกชนถูกทำลายลงอีกครั้ง ในช่วงนี้นับว่าโครงสร้างชนชั้นได้หมุนกลับจากทุนนิยมเอกชนมาเป็นทุนนิยมโดยรัฐอีกครั้งหนึ่ง ด้วยนโยบายที่เอื้ออำนวยภาคอุตสาหกรรม ทำให้สหภาพโซเวียตมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกระทั่งทศวรรษที่ 1960 ระดับการบริโภคในเศรษฐกิจสูง โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี และมีอำนาจทางการเมืองสูงยิ่ง เป็นผู้นำทางการเมืองของโลกอีกขั้วหนึ่ง หลังทศวรรษ 1960 ระบบทุนนิยมโดยรัฐดังกล่าวไม่สามารถผลิตส่วนเกินได้มากเพียงพอที่จะรักษาโครงสร้างความสัมพันธ์ทางชนชั้นแบบทุนนิยมโดยรัฐได้ ส่วนเกินที่ผลิตได้ไม่เพียงพอที่จะธำรงความสำเร็จทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผสมกับปัญหาผลิตภาพในกระบวนการผลิตที่ต่ำมาก ส่วน เกินไม่เพียงพอสำหรับการกระจายให้ แก่ชนชั้นนายทุนรัฐและชนชั้นรองเพื่อรักษาสถานะทางการเมืองที่เปี่ยมอำนาจ และไม่สามารถรักษาความเข้มแข็งของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ได้ นอกจากนั้น ส่วนเกินจากการผลิตยังน้อยเกินไปสำหรับการสะสมทุนในการผลิต ไม่สามารถรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลิตภาพ ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีพอ ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจในช่วงนี้จึงหันหัวเรือกลับมาเดินในแนวทางทุนนิยมเอกชน โดยกระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง สร้างตลาดเอกชน และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ เพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น จาก เรื่องเล่าของประวัติเศรษฐกิจสหภาพโซเวียตอย่างหยาบ ๆ ข้างต้น จะเห็นว่า โครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ไม่เคยถูกพัฒนาอย่างจริงจังในยุคที่คนทั่วไป เข้าใจว่าสหภาพโซเวียตเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ โครงสร้างทุนนิยมโดยรัฐของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าวอาจพอเรียกได้ว่าเป็น “สังคมนิยม” ในแง่ที่มีความเป็นเจ้าของแบบรวมหมู่ มีการกระจายรายได้ที่ค่อนข้างเท่าเทียม มีบริการของรัฐที่ดี และมีระดับการจ้างงานสูง กระนั้นมิอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบคอมมิวนิสต์ สังคมที่มีโครงสร้างทางชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์เป็นโครงสร้างหลักยังมิเคยเกิดขึ้นจริงในโลกใบนี้ หาก ใช้กรอบการวิเคราะห์ทางแรงงานส่วนเกินของมาร์กซ์ ความล้มเหลวของสหภาพโซเวียตจึงมิใช่ความล้มเหลวของคอมมิวนิสต์ หากเป็นความล้มเหลวของระบบทุนนิยมโดยรัฐต่างหาก หมายเหตุ : บทความนี้เขียนขึ้นโดยใช้กรอบการวิเคราะห์ของ Overdeterminist Marixism เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ วิวาทะว่าด้วยลักษณะความเป็น “สังคมนิยม” หรือ “คอมมิวนิสต์” ของสหภาพโซเวียตมีกว้างขวาง ภายใต้ระเบียบวิธีวิเคราะห์ที่หลากหลาย รวมทั้งคำนิยามของคำว่า “สังคมนิยม” และ “คอมมิวนิสต์” ก็มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน

    ตีพิมพ์ครั้งแรก : คอลัมน์ “มองมุมใหม่” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับเดือนมิถุนายน 2545

    การล่มสลายของสหภาพโซเวียต | ThaiGoodView.com Knowledge for Thai Student
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทวิเคราะห์การล่มสลายของเศรษฐกิจทุนนิยมในมุมมองของพุทธศาสนา
    Posted: Wed Feb 25, 2009
    ใน ช่วงเวลา ๒๘ ปีที่ดิฉันมาพำนักอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษนี้ ยังไม่เคยเห็นสภาวะเศรษฐกิจที่ล้มอย่างระเนระนาดเช่นนี้มาก่อน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ ศูนย์ ดังที่ทราบกันแล้วว่า วิกฤตการทางเศรษฐกิจนี้กำลังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยที่ประเทศไอ๊ซแลนด์ Iceland เป็นประเทศแรกที่ล้มละลาย

    บัดนี้ นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจทั้งหลายล้วนหาทางแก้ปัญหาวิกฤตการ ทางการเงินนี้อย่างร้อนรน รัฐบาลส่วนมากมักหาทางออกโดยอัดเม็ดเงินเพื่อประคับประคองให้องค์กรการเงิน ต่าง ๆ เช่น ธนาคารดำเนินงานต่อไปได้ โดยเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้ แต่สิ่งที่น่ากลัวมากที่เกิดในประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษคือ แม้รัฐบาลได้เอาเงินของราษฎรใส่ถาดประเคนให้องค์กรการเงินนับจำนวนพันล้าน ปอนด์แล้วก็ตาม เงินมากมายเหล่านั้นที่สามารถนำมาช่วยเหลือคนอาฟริกาทั้งทวีปกลับละลายละเหย ไปในอากาศในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น เงินเหล่านั้นกลับไม่มีคุณค่าหรือไม่มีผลใดๆ ตามเป้าหมายที่ต้องการกอบกู้วิกฤตการทางการเงินและสภาวะเศรษฐกิจให้กลับคืน สู่ความปกติได้แต่อย่างใด

    ถึงแม้ดิฉันจะเกริ่นนำโดยเอาปัญหาในประเทศอังกฤษขึ้นมาพูด ย่อมเป็นที่รู้กันว่า วิกฤตการทางเศรษฐกิจในขณะนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในเมืองไทยของเรา ซึ่งเป็นส่วนย่อยของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย

    กำเนิดชนชั้นกลาง
    วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกวันนี้ล้วนเป็นผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อราว ๒๐๐ ปีที่ผ่านมาเมื่อยุโรปละทิ้งระบบเจ้าขูนมูลนายและเริ่มมีการปฏิวัติ อุตสาหกรรมอันเป็นรุ่งอรุณของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยมในทุกวัน นี้
    หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยมีการทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่และการสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมากขึ้นแล้ว รายได้จากการขยายกิจการทางธุรกิจต่าง ๆ เริ่มทำให้ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น สร้างสถานะทางชนชั้นใหม่ที่เรียกว่า “ชนชั้นกลาง” ให้แก่มนุษย์กลุ่มหนึ่ง (ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มี มีแต่กลุ่มคนที่รวยสุด ๆ เช่นพวกกษัตริย์ราชวงศ์ เจ้าขูนมูลนายชั้นสูง ๆ หรือไม่ก็จนแบบสุด ๆ ซึ่งเป็นคนหมู่มากของสังคม) เมื่อความเป็นอยู่ดีขึ้น กงล้อของเศรษฐกิจระบบทุนนิยมก็เริ่มหมุน โดยสร้างความต้องการในกลุ่มผู้บริโภคเพื่อจะได้ผลิตสินค้าออกมากขึ้นและขาย ได้มากขึ้น โดยมีองค์กรทางการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคาร เป็นผู้ซื้อเงิน (ดอกเบี้ยเงินฝาก) และขายเงิน (ดอกเบี้ยเงินกู้) ให้แก่ทั้งพ่อค้าและผู้บริโภค วิถีชีวิตที่ถูกควบคุมโดยกลไกทางเศรษฐกิจเช่นนี้ก็ดำเนินมาได้ค่อนข้างราบ รื่น อาจมีช่วงถดถอยบ้างก็หลังสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง แต่ไม่นานสภาวะเศรษฐกิจที่เรียกว่า “ปกติ” ในสายตาของชาวโลกก็ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีก

    แสวงหาวิถีชีวิตสมบูรณ์แบบ (American dream)

    ในช่วง ๔๐-๕๐ ปีที่ผ่านมานี้ ระบบเศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมได้ก้าวหน้าขึ้นมาถึงอีกจุดหนึ่งโดยมีประเทศ อเมริกาเป็นแม่แบบ คือ ไม่เพียงแต่สร้างวิถีชีวิตของชนชั้นกลางให้เด่นชัดเท่านั้น แต่ยังเน้นว่าวิถีชีวิตของชนชั้นกลางจะต้องเป็นไปตามแม่แบบที่เรียกว่า American dream โดยใช้อุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ฮอลลีวูด เป็นสื่อผ่านภาพยนตร์ทั้งจอใหญ่จอเล็กและระบบการโฆษณา(ชวนเชื่อ) ด้วยเสียงดังกึกก้องไปทั้งโลกว่า วิถีชีวิตที่ “ปกติ” ของมนุษย์นั้นจะต้องเป็นไปตามแบบอย่างของชาวอเมริกันที่มีบ้านใหญ่โต มีเครื่องใช้ไม้สอยที่อำนวยความสะดวกสบายทุกอย่าง
    จากแม่แบบ ที่เรียกว่า American dream นี่เองที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยมเพิ่มความเข้มข้นมาก ขึ้นทุกทีในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครวมทั้งสินค้าประเภทให้บริการได้เพิ่มจำนวนมาก ขึ้นอย่างมโหฬาร สติปัญญาของมนุษย์ถูกนำมาใช้ประดิษฐ์คิดค้นเพื่อหาวิธีการหรือเทคโนโลยี่ ใหม่ ๆ มาผลิตสินค้าที่น่าดึงดูดใจและน่าตื่นเต้นให้กับผู้บริโภคอยู่เสมอ สร้างความยิ่งใหญ่และก้าวร้าวให้กับเศรษฐกิจทุนนิยมหรือบริโภคนิยมมากขึ้น เรื่อย ๆ

    ค่ายคอมมิวนิสต์ล่ม

    ความเจริญเติบโตของระบบบริโภคนิยมนี้ยังเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ประเทศที่ อยู่ในค่ายสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ เช่น รัสเซียและจีนล้มละลายอย่างระเนระนาด ประชาชนของประเทศเหล่านี้ไม่ลังเลที่จะอ้าแขนรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างเต็มที่จนทำให้ประเทศจีนสามารถก้าวขึ้นมาสู่ความเป็นมหาอำนาจทาง เศรษฐกิจได้ในช่วงเวลาเพียงไม่ถึง ๒๐ ปีเท่านั้น

    จุดเริ่มต้นของระบบเงินตรา

    วิกฤตการทางเศรษฐกิจเริ่มก่อตัวเมื่อองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องการซื้อขาย เงินตราเผชิญภาวะหนี้สูญหาย Credit Crunch ธนาคารไม่สามารถปล่อยเงินกู้ได้อีกต่อไป จึงทำให้ระบบการเงินที่เคยซื้อขายกันอย่างคล่องตัวล้มอย่างระเนระนาด

    สาเหตุของการล่มสลายของตลาดการเงินที่แท้จริงนั้นมีความซับซ้อนมาก ท่านสามารถเข้าใจง่าย ๆ เช่นนี้ว่า ที่จริงแล้ว เงินธนบัตรเป็นเพียงแผ่นกระดาษธรรมดาที่ถูกความรู้ทางโลก (เศรษฐศาสตร์) อุปโลกน์หรือสมมุติให้เป็นแผ่นกระดาษที่มีค่าเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการแลก เปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็น คือแทนที่จะเอาของที่เรามีเหลือมาแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ barter เหมือนที่ทำกันในสมัยโบราณ เมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้น เพื่อความสะดวก มนุษย์จึงสร้าง “เงินตรา” ขึ้นมาใช้แทนการแลกเปลี่ยนสินค้า Money is the medium of exchange. เมื่อบวกกับกิเลส ตัณหา อุปาทาน ของมนุษย์แล้ว เงินจึงเริ่มมีบทบาทตั้งแต่บัดนั้น
    ธนบัตรซึ่งเป็นกระดาษธรรมดาแต่ละแผ่นจะเริ่มมีคุณค่าขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีการ เปลี่ยนมือ เมื่อมีการส่งทอดธนบัตรกันเมื่อไหร่ หมายความว่าการซื้อขายเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการทำกำไร (ได้ธนบัตรมากขึ้น) ระบบเงินตราจึงพัฒนาความซับซ้อนมาเรื่อย ๆ จากเงินที่เป็นใบธนบัตร เมื่อต้องใช้มากขึ้น ไม่ต้องขนมาก ก็มาใช้เป็นแผ่นกระดาษที่เรียกเช็คแทน และพัฒนามาเป็นเงินพลาสติกหรือบัตรเครดิตเพื่อสะดวกในการใช้จ่ายมากขึ้น มาบัดนี้ เงินได้กลายเป็นตัวเลขบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้น ยังมีตลาดหลักทรัพย์ที่ซื้อขายเงิน ทำให้พ่อค้าสามารถทำกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายเงินทีละมาก ๆ ภายในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น ทำให้คนเป็นมหาเศรษฐีได้ชั่วพริบตาหรือไม่ก็ฆ่าตัวตายไปเลย

    ความตะกละของพ่อค้าเงิน

    ในขณะที่ระบบเงินตราพัฒนาความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น กิเลสตัวโลภของมนุษย์ก็พัฒนาความซับซ้อนของมันเช่นกัน ความตะกละเพิ่มความรุนแรงและ ก้าวร้าวมากขึ้น แทนที่อยากทำกำไรเท่าที่จำเป็น กลับอยากได้เงินกำไรก้อนใหญ่ ๆ ทำให้พ่อค้าซื้อขายเงินตรา (ธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทกู้เงินซื้อบ้าน) เหล่านี้เอาเงินฝากของประชาชนก้อนใหญ่ ๆ เช่น เงินฝากประจำ เงินฝากประกันชีวิต เงินบำเหน็จบำนาญ ไปขายต่อทั้งก้อนใหญ่ ๆ เพื่อทำกำไรให้กับตัวเองมากขึ้น (แทนที่จะให้เงินเหล่านี้นอนแช่นิ่งเฉย ๆ เงินไม่งอก ไม่มีกำไรถ้าไม่มีการเปลี่ยนมือ) ประชาชนทั่วไปส่วนมากไม่เข้าใจเพราะความซับซ้อนของระบบซื้อขายเงินตรา จะรู้กันก็แต่คนทำงานระดับผู้บริหารใหญ่ ๆ ขององค์กรการเงินเหล่านี้ที่ล้วนมีความตะกละหิวโหยเงินทองทั้งสิ้น เมื่อเงินก้อนใหญ่มาก ๆ ถูกซื้อขายต่อกันหลายทอด ลูกหนี้บางรายก็เป็นหนี้เสี่ยง ไม่สามารถคืนเงินกู้ ปรากฏว่าเงินของประชาชนที่ควรถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยตามสถาบันการเงินก็ สูญหายกันเป็นก้อนใหญ่ ๆ อย่างฉับพลันทันใด เพราะพ่อค้าเงินที่ตะกละเหล่านี้เอาเงินของประชาชนไปหมุนเพื่อทำกำไรให้ตัว เอง

    นี่แหละคือ ต้นตอปัญหาที่แท้จริงของการล้มละลายทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน โดยเริ่มจากการล้มของบริษัทการเงิน Northern Rock ของอังกฤษก่อนซึ่งเป็นบริษัทให้คนกู้เงินไปสร้างบ้าน แต่โดมิโน่ตัวแรกที่ทำให้ตลาดการเงินล้มครึนล่าสุดนี้คือ บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ Lehman Brother ของอเมริกาที่ประกาศล้มละลายในเดือนกันยายน ๒๕๕๒/๒๐๐๘ ซึ่งบริษัทนี้อุ้มชูบริษัทการเงินที่ใหญ่รองลงมาตลอดจนธุรกิจการเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ของทั่วโลก ฉะนั้น ใครที่มีอะไรเกี่ยวข้องผูกมัดกับบริษัทการเงินนี้ จะถูกกระทบไปหมด

    เมื่อระบบการเงินล้ม ธุรกิจใหญ่น้อยทั้งหลายที่ต้องพึ่งพาระบบธนาคารก็พลอยล้มครึนตามไปด้วยอย่าง เป็นลูกโซ่ ในที่สุด ก็กระทบมาถึงประชาชนทั้งหลายผู้เป็นส่วนประกอบชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำให้ระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเคลื่อนตัวไปได้ เมื่อระบบธนาคารและธุรกิจล้มละลาย คนก็เริ่มตกงาน รายได้ที่เคยเข้ามาแต่ละเดือนเป็นค่าผ่อนบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนส่งลูกไปโรงเรียนดี ๆ และใช้วิถีชีวิตแบบ American dream ก็หมดไปด้วย สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือ ความกลุ้มใจ วิตกกังวล ตกใจ และกลัวอนาคตที่มืดมน

    อะไรคือ “วิถีชีวิตปกติ” อย่างแท้จริง

    ดิฉันเห็นว่าก่อนที่นักการเมืองและ“ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ”ทั้งหลายจะหา หนทางแก้ไขฟื้นฟูสภาวะการเงินโลกที่กำลังล้มละลายซึ่งไม่มีอะไรมากไปกว่าการ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบ เป็นน้ำมันหล่อลื่นให้สภาวะการเงินเดินหน้าได้อย่างคล่องตัวเหมือนเดิมอีก ความเชื่อมั่นในวิธีนี้ทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศ เช่น อเมริกาและอังกฤษเอาเงินภาษีของราษฎรใส่ถาดประเคนให้พ่อค้าที่ซื้อขายเงิน ตรา หวังให้นำไปปล่อยกู้เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ เดินหน้าได้ คนตกงานจะได้น้อยลง แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้อย่างฉับพลันทันใด กลับทำให้เงินมากมายเหล่านี้ระเหยไปในชั่วพริบตา

    คำถามที่ควรต้องถามอย่างจริงจังคือ วิถีชีวิตแบบ American dream นี้เป็นวิถีชีวิตที่ปกติจริงหรือไม่ เพราะถ้าวิถีชีวิตเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องปกติแล้วไซร้ ย่อมหมายความว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยมก็ไม่ใช่เป็นเรื่องปกติเช่นกัน และเราย่อมไม่สามารถเอามาเป็นมาตรฐานการดำเนินชีวิตได้ คำถามต่อไปคือ วิถีชีวิตปกติอย่างแท้จริงเป็นอย่างไรเล่า

    คำตอบอยู่ที่ “ไม่มีสุขใดยิ่งกว่าความสงบ”

    ในความเห็นของดิฉัน คำถามลึกซึ้งถึงขั้นถามว่า “วิถีชีวิตที่ปกติเป็นอย่างไร” นั้น เราจะไปปรึกษานักปรัชญา นักจิตวิทยา นักเขียนอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ มีมนุษย์ท่านเดียวที่สามารถตอบเราได้อย่างตรงไปตรงมาและย่อมเป็นคำตอบที่ เชื่อถือได้ด้วย เพราะบุคคลนั้นไม่ใช่นักการเมือง นักจิตวิทยา หรือนักปรัชญา แต่คือ พระพุทธเจ้าผู้เป็น “ครูที่แท้จริงท่านแรกของโลก” ท่านได้ให้คำตอบเรื่องความปกติของชีวิตแก่มนุษย์แล้วโดยท่านตรัสผ่านพุทธ พจน์ง่าย ๆ บทหนึ่งที่ชาวพุทธส่วนมากรู้จักกันดี นั่นคือ

    ไม่มีสุขใดยิ่งกว่าความสงบ

    พุทธพจน์ที่ฟังง่าย ๆ บทนี้แหละที่จะให้คำตอบอันนำไปสู่การแก้ไขวิกฤตการทางเศรษฐกิจของโลกในขณะ นี้ ซึ่งแน่นอน จำเป็นต้องอธิบายกันหน่อย

    ค้นพบชีวิตปกติในคืนตรัสรู้

    เพื่อให้ชาวพุทธไทยเข้าใจอย่างง่าย ๆ สั้นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องยอมรับเสียก่อนว่า ในคืนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ท่านได้ค้นพบเส้นปกติของจิตใจมนุษย์ซึ่งท่านเรียกว่า พระนิพพาน เส้นปกตินั้นคือ สภาวะสงบสุขของจิตใจหรือวิมุตติสุขนั่นเอง ท่านจึงเน้นว่า ไม่มีความสุขอื่นจะยิ่งใหญ่เหนือกว่าความสงบสุขของจิตใจ ซึ่งเป็น “ ความสุขในระดับปกติ” ฉะนั้น เส้นปกติของจิตใจ หรือ วิมุตติสุขที่ให้ความสุขแบบปกตินี้เองที่จะสร้าง “วิถีชีวิตปกติที่แท้จริง” ให้แก่มนุษย์ นี่เป็นข้อเท็จจริงที่เราท่านทั้งหลายต้องยอมรับด้วยความศรัทธาเคารพใน พระพุทธเจ้าเสียก่อน เพราะท่านมีปัญญาที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งปวง หากยอมรับข้อเท็จจริงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านจะเข้าใจบทความนี้ได้ง่ายขึ้น
    ภาพลูกศรข้างล่างนี้จะช่วยให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น

    ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีใครรู้จักความปกติของชีวิตที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับการไม่รู้จักสภาวะพระนิพพาน หรือ ไม่รู้สัจธรรมอันสูงสุด ฉะนั้น นักแสวงหาในยุคนั้นจึงไม่รู้ว่าตัวเองกำลังแสวงหาอะไรอยู่ จึงเสาะหาสัจธรรมกันอย่างสะเปะสะปะ เปรียบเสมือนลูกศรที่ชี้ไปคนละทิศละทาง ไม่มีระเบียบ

    [​IMG]


    แต่หลังจากที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ท่านพบสภาวะสัจธรรมอันสูงสุด หรือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับการพบสภาวะปกติของจิตใจหรือเส้นปกติของชีวิตที่สร้าง วิถีชีวิตอันปกติ เมื่อพระพุทธเจ้าพบเส้นปกตินี้แล้ว ท่านจึงป่าวประกาศสอนสาวกทั้งหลาย ทำให้การแสวงหาของคนในยุคนั้นมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนขึ้นมาทันที สร้างทางลัดให้ผู้แสวงหาสัจธรรมทั้งหลาย เปรียบเสมือนลูกศรที่ชี้ไปยังจุดหมายปลายทางที่แน่ชัดเดียวกันหมด ดังภาพข้างล่างนี้

    [​IMG]


    ความรู้สึกทนง่ายกับทนยาก

    ถ้าความสงบสุขของจิตใจคือ ความสุขที่แท้จริง และเป็นสภาวะที่ปกติอย่างแท้จริงแล้ว เราต้องถามต่อไปว่า แล้วความสุขของชนชั้นกลางในแบบ American dream ที่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหยิบยื่นให้นั้นคืออะไรเล่า นั่นไม่ใช่เป็นความสุขที่แท้จริงดอกหรือ นั่นไม่ใช่ความปกติของจิตใจดอกหรือ? ท่านจะได้คำตอบโดยดูจากเส้นกราฟข้างล่างนี้


    [​IMG]

    จิตใจของมนุษย์มีความ รู้สึกนึกคิดอันเป็นสภาวะที่แปรเปลี่ยนเสมอ มีอาการขึ้นลงเหมือนเส้นกราฟในภาพข้างบน คราใดที่ความรู้สึกดีดขึ้น(ฟู) ก็จะรู้สึกเป็นสุข ซึ่งเป็นความสุขแบบโลก ๆ หรือ กามสุข คนชอบมากเพราะเป็นความรู้สึกที่ทนง่าย คราใดที่ความรู้สึกดีดลง(แฟบ) เราก็รู้สึกไม่สบายใจ กลุ้มใจ วิตกกังวล เป็นทุกข์ คนไม่ชอบ เพราะเป็นความรู้สึกที่ทนยาก


    ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือสภาวะปกติของจิตใจมนุษย์อย่างแท้จริง พอท่านตรัสรู้แล้ว ท่านได้ค้นพบเส้นปกติของจิตใจคือ เส้นราบเรียบที่อยู่ตรงกลาง ท่านเรียกสภาวะนี้ว่า สงบสุข หรือ วิมุติสุข อันเป็นสภาวะปกติธรรมดาของจิตใจอย่างแท้จริง ไม่ต้องทนแต่อย่างใด
    ไม่ว่าอารมณ์ความรู้สึกจะดีดขึ้น (ทนง่าย) หรือดีดลง (ทนยาก) ในสายตาของพระพุทธเจ้าแล้ว ล้วนเป็นสภาวะที่ห่างไกลจากความปกติของจิตใจ หรือ ผิดปกติทั้งสิ้น ในที่สุดแล้วธรรมชาติของความรู้สึกจะมีการปรับตัวเพื่อกลับคืนสู่จุดสมดุล คือเส้นปกติของมันเสมอ เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องทน เหมือนกฎทางฟิสิกส์ เช่น ลูกตุ้ม Pendulum หรือชิงช้า เมื่อมีแรงมาผลัก ก็จะแกว่งไปมา (เหมือนเส้นกราฟขึ้นลง) เมื่อหมดแรงเหวี่ยง มันก็จะหยุดนิ่ง หรือปรับตัวเข้าสู่เส้นปกติ ฉะนั้น กามสุขอันเป็นเส้นกราฟที่ดีดขึ้นนั้นจึงไม่ใช่เป็นความสุขที่แท้จริงในความ หมายของพระพุทธเจ้า มันเป็นความสุขชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดเชื้อเพลิง มันก็จะปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ คือ สุขแบบสงบ (วิมุติสุข ไม่ต้องทน)

    ความทุกข์ก็เช่นกัน เมื่อหมดแรงเหวี่ยงของมันแล้ว มันจะปรับตัวกลับมาสู่เส้นปกติเช่นกัน คนที่คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าไปแล้วไม่รู้ข้อเท็จจริงที่สำคัญนี้ หากพวกเขามีความอดทนสักหน่อย พยายามคุยกับคนอื่นเพื่อแบ่งเบาปัญหาหนักหน่วงของตัวเองแล้ว (เท่ากับซื้อเวลาให้พลังการแกว่งลงของจิตใจน้อยลงเพื่อปรับเข้าสู่เส้นปกติ) สภาวะทุกข์จะค่อย ๆ จางลง จนถึงจุดหนึ่งความทุกข์ที่เจ็บปวดจะหายไปจากจิตใจ เมื่อถึงเวลานั้น คนที่เคยคิดอยากฆ่าตัวตายจะรู้สึกโล่งอก ดีใจมากว่าไม่ได้ฆ่าตัวตายจริง ๆ เพราะเมื่อกลับมามองปัญหาที่เคยคิดว่าหนักหน่วงมากจนอยากฆ่าตัวตายนั้น มันไม่ได้หนักหนาสากรรจ์อย่างที่เคยคิดแต่อย่างใด นี่แหละคือ ความเป็นอนิจจังของความคิด
    ภาพลูกตุ้มข้างล่างนี้จะช่วยให้เข้าใจสภาวะสุขกับทุกข์ที่เพิ่งอธิบายไป

    [​IMG]


    ฉะนั้น กามสุขกับทุกข์ในสายตาของพระพุทธเจ้าจึงเปรียบเหมือนหน้าสองด้านของเหรียญ อันเดียวกัน two sides of the same coin หรือเหมือนลูกตุ้มที่ยังแกว่งซ้ายขวาหรือแกว่งระหว่างกามสุขกับทุกข์อยู่ ทั้งสองสภาวะนั้นล้วนห่างไกลความปกติที่แท้จริงของจิตใจอันเปรียบเหมือนลูก ตุ้มที่หยุดแกว่งและหยุดนิ่งแล้ว ชาวพุทธไทยต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ เรื่องนี้เป็นแก่นแท้ของพุทธธรรมอย่างแท้จริง

    เข้าใจกามสุข

    กามสุขกับวิมุติสุขจึงมีความแตกต่างกันมาก เป็นคนละเรื่องกันเลย คำว่า กาม ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศอย่างเดียวเหมือนที่ชาวพุทธไทยส่วนมาก เข้าใจ กามสุขมีความหมายที่กว้างกว่านั้น คือ ความสุขอันเนื่องจากการได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้ยินเสียงไพเราะ ได้กลิ่นหอมหวน ได้ลิ้มชิมรสอร่อย และได้สัมผัสที่นุ่มนวล สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเรียกรวมว่ากามสุข ซึ่งมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และอำนาจอย่างแนบแน่น เพราะหากใครร่ำรวย มีหน้ามีตาในสังคมแล้ว คนเหล่านี้ย่อมมีอำนาจทางการเงินและทางสังคมเพียงพอที่จะหา “กามสุข” อย่างง่ายดาย และกามสุขก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งตามที่ชื่อของมันบอกอยู่โต้ง ๆ เพียงแต่คนที่ขาดปัญญาทางธรรมไม่รู้ข้อเท็จจริงว่า กามสุขเหล่านี้ไม่ได้เที่ยงแท้ ถาวร อยู่ยงคงกระพัน เป็นความสุขที่แกว่งไปมา เดี๋ยวมี เดี๋ยวหาย กามสุขจึงไม่ใช่เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นความรู้สึกที่ทนง่ายหน่อยเท่านั้น เราจึงไม่สามารถนำกามสุขมาเป็นมาตรฐานของชีวิต การเอากามสุขเป็นมาตรฐานชีวิต จึงเท่ากับสร้างเส้นมาตรฐานจอมปลอมขึ้นมานั่นเอง

    ต้นตอของปัญหา

    ความเข้าใจผิด(เพราะขาดปัญญาทางธรรม)ในเรื่องเส้นปกติของจิตใจมนุษย์นี้แหละ เป็นบ่อเกิดที่แท้จริงของวิกฤตการทางเศรษฐกิจในขณะนี้ เมื่อชาวโลกเข้าใจผิดว่า กามสุขคือ มาตรฐานที่เป็นปกติของชีวิตแล้ว สิ่งที่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจได้ทำมา คือ พยายามประคับประคองให้เส้นมาตรฐานจอมปลอมนี้อยู่อย่างถาวร หรือ พยายามให้มนุษย์มีกามสุขอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะฝืนกฎธรรมชาติแห่งความเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) อย่างรุนแรง (กรุณาดูภาพลูกตุ้ม pendulum) การแก้ปัญหาทั้งปวงที่เกิดในโลกนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักเส้นปกติก่อน จึงแก้ได้ มิเช่นนั้น จะมัววนเวียนอยู่กับการแก้ปัญหาในลักษณะที่ต้องการให้ลูกตุ้มแกว่งไปทางซ้าย (กามสุข) และคาอยู่เช่นนั้นตลอดเวลา โดยไม่ยอมรับการแกว่งไปทางขวา (ทุกข์) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ผิดกฎธรรมชาติ จึงแก้ปัญหาไม่ได้

    ปัจจัยหล่อเลี้ยงกามสุข

    นอกจากกามสุขไม่มีความยั่งยืน เพราะอยู่ภายใต้กฎอนิจจังแล้ว ปัจจัยที่หล่อเลี้ยงให้กามสุขเจริญรุ่งเรืองคือ กิเลสของมนุษย์ ภาษาพระมักเรียกคล้องจองกันว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน ปัจจัย ๓ ตัวนี้เป็นเหมือนน้ำมันหล่อเลี้ยงให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือบริโภคนิยม เบ่งบานอย่างสุดเหวี่ยงในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ตามภาพวงจรที่แสดงให้เห็นข้างล่างนี้


    [​IMG]


    นี่เป็นคำอธิบายว่า ทำไมประเทศจีนจึงกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว เพราะกิเลสที่ต้องการกามสุขนั้นเปรียบเหมือนการพายเรือตามน้ำ ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องต่อสู้ กิเลสที่เคยถูกกดข่มไม่ให้เสวยกามสุขอย่างเปิดเผยในสังคมคอมมิวนิสต์นั้น เมื่อได้รับการตอบสนองแล้ว จึงเหมือนผีเปรตที่หิวโหยมานาน พอมีอาหารอร่อยมาวางอยู่เบื้องหน้า ก็รีบคว้ากินอย่างตะกละให้สมกับความอดอยากและหิวโหยมานาน

    เส้นผิดปกติบดบังพุทธปัญญา

    การเอาเส้นมาตรฐานจอมปลอมมาเป็นเส้นปกติของชีวิตนี้ได้ลามปามมาถึงภูมิปัญญา ของชาวพุทธ แทนที่พระสงฆ์องค์เจ้าและผู้สูงอายุซึ่งควรมีปัญญาทางธรรมจะให้พรคนทั่วไป โดยเน้นให้เขามีความเจริญก้าวหน้าทางธรรม สามารถปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนพาตัวเองออกจากคุกชีวิตหรือถึงพระนิพพาน อันเป็นการบรรลุเป้าหมายของชีวิตพบความสงบสุขอย่างแท้จริง กลับให้พรคนด้วยการเน้นให้เขามีทรัพย์สินเงินทอง มีเกียรติยศ ชื่อเสียง มีอำนาจวาสนา และเป็นเจ้าคนนายคนแทน ซึ่งเท่ากับส่งเสริมให้เขาไขว่คว้าหากามสุข หรือบอกให้เขาพอใจที่จะติดคุกชีวิตต่อไป จนขนาดผู้นำของประเทศไทยยุคหนึ่งให้คำขวัญแก่ประชาชนชาวไทยว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” แม้ศาสนาที่นับถือพระเจ้า พระเจ้าของเขาก็ถูกแทนที่ด้วยเงิน God is money and money is God!

    ชีวิตที่กลับหัวกลับหางเมื่อยึดเส้นผิดปกติ

    ถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านควรจะมองเห็นภาพที่ชัดเจนแล้วว่าคำเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าที่ เกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่น ซึ่งดิฉันจะใช้เครื่องหมาย = แทน นั่นคือ
    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (บริโภคนิยม) = เงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ = กามสุข = เส้นมาตรฐานจอมปลอม = เส้นผิดปกติของชีวิต = กิเลสเบ่งบาน

    ถ้าท่านเข้าใจความสัมพันอันแนบแน่นของคำและวลีต่าง ๆ เหล่านั้นแล้ว ท่านจะเริ่มเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งไม่ใช่จำกัดเพียงเรื่อง เศรษฐกิจเท่านั้น ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้เป็นเรื่องที่ไม่ปกติอย่างยิ่งในความหมายของความ ปกติอย่างแท้จริงของพระพุทธเจ้า เมื่อมนุษย์เอาเส้นจอมปลอมนี้มาเป็นเส้นปกติแล้ว ชีวิตของมนุษย์จึงรวน กลับหัวกลับหาง ห่างไกลจากความปกติที่แท้จริงมากขึ้นทุกที

    โศกนาฏกรรมในสถาบันครอบครัว

    สภาวะที่ห่างไกลความปกตินั้นเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวอันเป็นสถาบันที่ สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ พ่อแม่ต้องคิดสร้างหลักฐานมั่นคงให้แก่ครอบครัวของตนเอง ความมั่นคงนั้นก็ต้องมาจากเงินเพราะเป็นใบเบิกทางแห่งกามสุข และความมีหน้ามีตาในสังคม ฉะนั้น การสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวจึงเกี่ยวเนื่องกับการตื่นเช้าเพื่อออกไป ทำงานหาเงินมาจุนเจือครอบครัว ถ้าพ่อบ้านหาเงินคนเดียวไม่พอที่จะนำมาซื้อกามสุขอันครบถ้วน เช่น ซื้อบ้าน รถ อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค และของฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ละก็ แม่บ้านซึ่งควรจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกก็ต้องออกไปทำงานด้วยเพื่อสมาชิกใน ครอบครัวจะได้มาซึ่งกามสุข ซึ่งคนส่วนมากคิดว่า นี่แหละคือ “การประสบความสำเร็จของชีวิต” เพราะได้บรรลุเป้าหมายของเส้นมาตรฐานจอมปลอมของสังคมแล้ว

    การพยายามไต่เต้าเพื่อให้ได้มาซึ่งกามสุขนี้ ไม่ใช่เพียงผู้ใหญ่ที่ต้องห่วงแต่การทำมาหากินเพื่อเอาเงินมาจุนเจือ ครอบครัวเท่านั้น ด้วยความหวังดี(ที่ขาดปัญญาทางธรรม)ของพ่อแม่ ทำให้ผู้ใหญ่พยายามตระเตรียมลูกเล็กของตนเองให้ประสบความสำเร็จในชีวิตเช่น พ่อแม่ โดยเคี่ยวเข็ญให้ลูกเล็กต้องเป็นคนเรียนเก่ง ต้องเรียนให้จบปริญญาระดับสูง ๆ เพื่อเขาจะได้มีเงินทอง มีหน้ามีตาในสังคม ฉะนั้น เด็กเล็กสมัยนี้จึงเติบโตขึ้นมาด้วยความกดดันจากรอบข้าง นอกจากจะไม่ได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่เนื่องจากไม่ค่อยได้เห็นหน้ากันแล้ว ก็ยังถูกปล้นความไร้เดียงสาและอิสระเสรีของวัยเด็กโดยต้องพยายามเรียน หนังสือให้เก่ง ๆ ตามที่พ่อแม่กรอกใส่หูตลอดเวลา เด็กตัวเล็ก ๆ ต้องถูกปลุกให้ตื่นแต่เช้ามืดเพื่อไปโรงเรียนก่อนพ่อแม่ไปทำงาน แม้เลิกเรียนแล้วก็ยังต้องเรียนพิเศษเพื่อเคี่ยวให้ตัวเองเรียนเก่ง ๆ ในด้านวิชาการ และยังต้องฝึกทักษะอื่น เช่น เล่นเครื่องดนตรี เต้นบันเล่ห์ ฯลฯ พร้อมกันไปด้วย เพื่อไล่กวด “สูตรสำเร็จของสังคมทุนนิยม” ที่พ่อแม่คาดหวังไว้ให้โดยไม่พยายามเข้าใจว่า สติปัญญาของเด็กทุกคนต่างกันมาก ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีความพร้อมเช่นนั้นเสมอไป ทำให้เด็กหนุ่มสาวบางคนที่ถูกกดดันมาก ๆ ทั้งจากพ่อแม่ ครู และสังคม เมื่อไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวัง เช่น สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ จึงทุกข์มากเพราะทำให้พ่อแม่ผิดหวัง ถึงขนาดตัดสินใจฆ่าตัวตายจนเป็นข่าวให้เห็นกันบ่อยมากขึ้น

    ความหายนะที่กำลังเกิดในสถาบันครอบครับเหล่านี้คือ ผลพวงของการบูชาเส้นมาตรฐานจอมปลอมของชีวิต ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมที่ระบบทุนนิยมได้หยิบยื่นให้กับสถาบันครอบครัว

    การศึกษาในระบบทุนนิยม

    ปรัชญาการศึกษาในลัทธิบริโภคนิยมจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการรับใช้ระบบทุนนิยม โดยสร้างเยาวชนให้ออกมาทำงานรับใช้ระบบเท่านั้น หน่วยงานไหนที่ยังขาดบุคลากรในด้านใด ระบบการศึกษาก็จะไปผลิตบัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อทำให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปได้ เช่น เมื่อระบบเศรษฐกิจเบ่งบาน ค้าขายคล่องตัว การสร้างตึกรามบ้านช่องย่อมมีมากขึ้น บัณฑิตที่จบสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และนายช่างต่าง ๆ ก็จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน
    ความรู้ทางวิชาการ ทางวิทยาศาสตร์ล้วนนำมาส่งเสริมเกื้อกูลให้เศรษฐกิจทุนนิยมขยายตัว สร้างหน่วยงานประดิษฐ์ คิดค้น วิจัย หาเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ เพื่อผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้น ที่ดึงดูดใจผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งบางอย่างก็ดี เช่น รถยนต์ที่ไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยน้ำมันอย่างเดียว และใช้ส่วนผสมของเชื้อเพลิงธรรมชาติมากขึ้น เพิ่มผลิตผลทางการเกษตรมากขึ้น แต่ส่วนดีเหล่านี้มักจะถูกข้อเสียกลบไป เช่น ต้องใช้สารเคมีมากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนหมู่มากโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยเคมี

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางการแพทย์นั้นได้พัฒนาไปไกลมากจนเกิด ปรากฏการณ์ใหม่ ๆ มากมาย เช่น สามารถผสมพันธุ์ในหลอดแก้ว สามารถแปรพันธุกรรมหรือยีนของมนุษย์ genetic engineering ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือ ช่วยให้คนไม่มีบุตรมีได้อย่างสมหวังบรรลุเป้าหมายของกามสุข ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างได้ผลมากขึ้น เพราะสามารถผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต แต่ผลเสียก็มีไม่น้อย เรื่องหนึ่งที่น่าห่วงคือความรู้เรื่องพันธุกรรมและทำเด็กในหลอดแก้วทำให้ สถาบันครอบครัวเริ่มเปลี่ยนโฉม จากที่ควรมีพ่อแม่อันเป็นเพศชายหญิงจริง ๆ เป็นผู้ให้กำเนิดลูก กลับกลายเป็นหญิงสองคนหรือชายสองคนมาเป็นผู้ให้กำเนิดเด็กแทนซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ที่ผิดธรรมชาติและมีกรณีเช่นนี้มากขึ้นในสังคมตะวันตก คนรวยของยุคนี้ยังสามารถทำลูกให้ออกมาตามแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดโดยใช้ ความรู้เรื่องการแปรเปลี่ยนพันธุกรรม ผลเสียเหล่านี้อาจจะต้องคอยอีก ๒๐-๓๐ ปีจึงจะเห็นผลเหมือนเป็นระเบิดเวลาที่รอให้ระเบิด

    การศึกษาในระบบทุนนิยมนั้นมักเน้นที่การจำข้อมูลทางวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเมืองไทยเรา เมื่อเรียนจบออกมาแล้ว ในบางสาขาวิชาอาจจะไม่ได้นำมาใช้เลยก็ได้ ภาษาของยุคทุนนิยมเต็มไปด้วยคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เนื่องกับเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ ที่ออกมา แล้วก็มานั่งเสียเวลากับการจำภาษาใหม่ ๆ เหล่านี้ การบูชาคนที่มีความสามารถในการจำจึงถูกเน้นมาก สื่อโทรทัศน์จึงเต็มไปด้วยรายการแข่งขันกันว่าใครจำได้มากและจำเก่งกว่าใคร คนจำเก่งเป็นพิเศษก็จะได้รับความชื่นชมอย่างมาก ทำให้นักวิชาการพยายามหาวิธีการเพื่อให้คนจำได้เก่งขึ้น เช่น ทำแผนที่สมอง mind mapping เพื่อพัฒนาความทรงจำของมนุษย์ ซึ่งขัดแย้งกับวิทยาการทางแพทย์ที่พยายามจะลบความทรงจำที่เจ็บปวดของมนุษย์ ออกไป (จะกล่าวถึงในหัวข้อ บทบาททางการแพทย์)
    บางวิชาที่เรียน ๆ กันในมหาวิทยาลัยก็ไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร เช่น เรียนภาษาของชาวคลิงออน Cling-On ในระดับปริญญา ชาวคลิงออนเป็นตัวละครสมมุติของละครวิทยาศาสตร์ชื่อ Star Trek ที่มีชื่อเสียงโด่งดังติดต่อกัน ๓๐ ปีของฮอลลีวูด ในละครเรื่องนี้ ชาวคลิงออนจะมีภาษาพูดของตัวเอง แล้วมนุษย์ที่อยู่ในโลกจริง ๆ มาเรียนภาษาสมมุติของตัวละครไปเพื่ออะไร
    สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการหลงทางอย่างสุดกู่ของระบบการศึกษาที่ไม่มี เป้าหมายอันชัดเจน เหมือนภาพลูกศรที่ชี้ไปอย่างสะเปะสะปะโดยไม่รู้เป้าหมายปลายทางของชีวิตเลย น่าเศร้ามาก เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติและสมองโดยใช่เหตุ

    เห็นได้ชัดว่าปรัชญาการศึกษาทั้งของไทยและของโลกเล็งไปที่การช่วยให้สังคมบรรลุกามสุข เกียรติยศ ชื่อเสียงเท่านั้นซึ่งเ

    โซน B คือ กลุ่มคนที่เปิดใจยอมรับฟัง “ผู้รู้จริง” ในเรื่องข่าวดีของการออกจากคุกชีวิต ใครที่ต้องการออกจากคุกชีวิตนั้น เริ่มต้นได้ทางเดียวเท่านั้นคือ ต้องพบ “กัลยาณมิตร” พระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตรท่านแรกของโลก และได้สร้างสาวกผู้รู้สัจธรรมสูงสุดตามท่านอีกมากมาย แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้รู้จริงอยู่ แต่ต้องสรรหากันหน่อย

    ฉะนั้น ใครที่อยากรู้ข่าวดีเรื่องการออกจากคุกชีวิต พบสัจธรรมอันสูงสุดแล้ว ต้องเริ่มต้นที่การรับฟัง หรือ อ่านหนังสือ ของผู้รู้จริง เพราะผู้รู้จริงเท่านั้นจึงจะไม่พาลูกทัวร์หลงทาง คือ แทนที่จะพาออกจากคุกชีวิต กลับพาไปติดในปีกซ้ายหรือปีกขวาของคุกชีวิตแทน เป็นต้น ขั้นตอนนี้เป็นเรื่องยาก เพราะไม่รู้จะฟังใครดี มีแต่คนอ้างว่า “ฉันรู้จริงทั้งนั้น” แล้วควรเชื่อใครล่ะ

    คำตอบคือ คุณต้องปรึกษาตัวเอง คำพูด คำเขียนของใครที่ฟังหรืออ่านแล้วมีเหตุผลแน่น และคุณเข้าใจตามได้ด้วย ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะในที่สุดแล้ว ผลทางธรรมจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถเข้าใจคำพูด คำเขียน ของคนสื่อข่าวดีนี้เสียก่อน จริงหรือไม่เล่า ถ้าฟังหรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์แก่คุณ จะไม่มีผลต่อเนื่องพาคุณไปสู่ภาคปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนของการเดินทางอย่าง แท้จริง ฉะนั้น หากคุณอ่านบทความเรื่องนี้ของดิฉันแล้วไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าดิฉันพูดอะไร คุณก็เดินหน้าหาผู้รู้จริงคนอื่นได้เลย ไม่ต้องเสียเวลากับดิฉันอีก เพราะถ้าคุณไม่เข้าใจบทความนี้แล้ว คุณจะไม่รู้ว่าทำไมคุณต้องปฏิบัติเรื่องพาตัวใจกลับบ้านกับดิฉัน ผู้รู้จริงท่านอื่นอาจจะช่วยคุณได้ดีกว่าดิฉัน

    โซน C คือ คนที่รับฟังข่าวดีแล้ว เข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างชัดเจน จึงเชื่อ และศรัทธา ใครที่เดินมาถึงจุดนี้แล้ว จะต้องรู้เรื่องทางสายเอก สายตรง หรือทางลัดที่จะพาคนออกจากคุกชีวิต นั่นคือ สติปัฏฐานสี่ วิปัสสนา ซึ่งดิฉันมาตั้งวลีใหม่ว่า พาตัวใจกลับบ้าน และคนเหล่านี้จะพยายามปฏิบัติเพื่อเดินทางออกจากคุกชีวิตด้วยตนเอง ตรงนี้ไม่มีใครสามารถเดินให้ใครได้ นักโทษแต่ละคนต้องเดินทางเพื่อหาอิสรภาพของชีวิตด้วยตนเองทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ จะง่ายขึ้นเมื่อเดินลงเขา การไปนิพพานยังเป็นไปได้อยู่มากแม้ในยุคนี้ คนที่คิดว่ายากเพราะถูกทำให้เข้าใจผิดโดยวัฒนธรรมทางศาสนาของระบบทุนนิยม ขอให้อ่านเรื่องพรมแดนข้ามโคตร ดิฉันได้วิเคราะห์เรื่องนี้ให้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก นอกเหนือจากนั้นก็วิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งตรงนี้เอง คนส่วนมากพอใจติดคุกชีวิตต่อไปเพราะการไปยึดติดในความอร่อยของกามสุข สรุปง่าย ๆ ว่า คนที่มีบุญบารมีหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า โชคดีมาก ๆ เท่านั้นแหละ จึงจะมีโอกาสมารับรู้ข่าวดีเรื่องการออกจากคุกชีวิตเช่นนี้ คนไม่มีโชคหรือไม่มีบุญบารมีทางธรรมจะไม่มีโอกาสได้เจอกัลยาณมิตรง่าย ๆ ดอก

    ดิฉันจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย และหวังว่าคำพูดเหล่านี้จะช่วยจุดประกายให้ท่านแสวงหาสิ่งประเสริฐสุดให้แก่ ชีวิตต่อไป นั่นคือ ความรู้เรื่องการออกจากคุกชีวิต

    ศุภวรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรีน
    ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒


    นี่เป็นเนื้อหาบางส่วนของหนังสือเรื่อง “วิเคราะห์การล่มสลายของเศรษฐกิจทุนนิยมในมุมมองของพระพุทธศาสนา” ซึ่งกำลังจัดพิมพ์อยู่ในขณะนี้

    ข้อเท็จจริงเบื้องหลังความยากจนบนโลกนี้

    หากมองอย่างชาวพุทธ เหตุผลที่เกิดมายากจนก็เพราะชาติก่อนเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว ไม่ได้ทำบุญ ชาตินี้จึงเกิดมายากจน ถึงแม้ดิฉันไม่ได้ลังเลสงสัยในธรรมข้อนี้ และเชื่อตามพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม ดิฉันจะไม่ป่าวประกาศเหตุผลทางธรรมข้อนั้นแก่ชาวโลก เพราะมีปัจจัยทางโลกที่สร้างความยากจนในท่ามกลางคนหมู่มากเช่นที่ปรากฏอยู่ ปัจจัยตัวนี้เป็นสิ่งที่เศรษฐกิจระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมาโดยตรง

    คำตอบเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขา ถ้าคุณเข้าใจอย่างง่ายๆก่อนว่า เงินเป็นเพียงแผ่นกระดาษที่ถูกสมมุติขึ้นมาให้มีคุณค่าในการแลกเปลี่ยน สินค้าโดยมีปัจจัยสำคัญอีกตัวหนึ่งที่อุปโลกน์ให้เงินมีคุณค่าอย่างแท้จริง คือ การสร้างความเชื่อมั่น trust บนแผ่นกระดาษ นั่นคือ เมื่อเงินถูกเปลี่ยนมือในลักษณะของการ “กู้ยืม” แล้วไซร้ จะต้องมีการเซ็นสัญญาเพื่อสร้าง “ความเชื่อมั่น” ว่าจะมีการคืนเงินต้นให้พร้อมดอกเบี้ย “ความเชื่อมั่น” ในระบบเงินตรานี้แหละที่ถูกปลูกฝังให้กับคนในสังคมทุนนิยมทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องสมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น แต่ถูกอุปาทานหรือความเข้าใจผิดว่าจริงครอบงำเอา จึงทำให้เงินมีคุณค่าขึ้นมาจนมีบทบาทมากมายต่อชีวิตของมนุษย์

    เนื่องจากเจ้าพ่อของโลกทุนนิยมคือประเทศอเมริกา เราจึงมาดูว่าเขาทำเงินอย่างไร สมมุติว่ารัฐบาลอเมริกาอยากใช้เงินเท่าไร (หมายถึง ต้องการให้เงินเดินสะพัดอยู่ในตลาดการเงินเท่าไร) ก็เพียงบอกให้กระทรวงการคลัง Federal Reserve ของเขาพิมพ์เงินออกมาตามที่รัฐบาลต้องการใช้ เพียงแต่มีกฎเกณฑ์หน่อย นั่นคือ ต้องมีการออกใบพันธบัตรของรัฐบาลมาค้ำประกันและมีสัญญาว่ารัฐบาลจะต้องใช้ เงินคืนให้กองคลัง รายละเอียดส่วนนี้ไม่ต้องเข้าใจมากก็ได้ เพราะเขามีจุดมุ่งหมายที่ไม่ต้องการให้คนเข้าใจง่ายๆ และเพราะในที่สุดแล้ว ขบวนการผลิตเงินของเขาไม่ต่างอะไรจากเด็กเล่นเกมกัน แต่เดี๋ยวคุณจะเห็นว่าเกมเด็กนี้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกคนใน โลกนี้อย่างน่าหวาดกลัว

    เอาเป็นว่าเมื่อรัฐบาลอเมริกันตกลงกับกระทรวงการคลังของเขาเสร็จและได้วางกฎ เกณฑ์ที่จะเล่นเกมการเงินแล้ว รัฐบาลอเมริกันจะสามารถพิมพ์เงินธนบัตรออกมาเท่าไรก็ได้ เดี๋ยวนี้ไม่ต้องพิมพ์ด้วยซ้ำไป ที่พิมพ์เป็นเงินแผ่นกระดาษจริงๆมีเพียง ๓๐% ที่เหลือแค่เป็นตัวเลขบนจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น สมมุติต่อว่ารัฐบาลอเมริกันขอเงินกระทรวงการคลังไปแสนล้านเหรียญอเมริกัน เงินแสนล้านเหรียญนี้ก็จะกระจายมาอยู่ที่ธนาคารกลางของอเมริกา และพร้อมที่จะปล่อยกู้ให้กับพ่อค้าต่างๆเพื่อนำไปลงทุนทำธุรกิจให้ระบบ ทุนนิยมเดินคล่องตัว จากเงินที่ผลิตขึ้นมาจากลมหรือความไม่มีอะไรแท้ๆ เมื่อมีการกู้ยืมเปลี่ยนมือ ค่าของแผ่นกระดาษแต่ละใบแม้เขียนไว้เพียง ๑ เหรียญก็ตาม แต่เมื่อมันเปลี่ยนมือ ยิ่งบ่อยแค่ไหน ค่าของมันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น ยิ่งปล่อยกู้มาก ค่าของเงินก็จะมีมากขึ้น หรือเงินจะยิ่งงอกมากขึ้นเมื่อคนมีหนี้สินมากขึ้น พ่อค้าเงินเพียงนั่งเฉยๆเป็นเสือนอนกินเท่านั้น เมื่อธนาคารกลางปล่อยกู้ออกไป เงินก็จะหมุนเวียนของมันไปในตลาดการเงินและงอกตามไปด้วยอย่างไม่มีวันจบ ตรงนี้ หากใครอ่านแล้วไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ผ่านไปก่อน

    จุดสำคัญที่ควรรู้คือ ทันทีที่มีการกู้เงินแล้วไซร้ การจ่ายเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยก็เกิดพร้อมกันไปด้วย ส่วนนี้แหละที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนมากมาย ทำให้คนหมู่มากโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้ากลายเป็นทาสของระบบการเงินในชั่วพริบ ตา ในขณะที่ผู้มีอำนาจระดับสูงสามารถปั๊มเงินออกจากลมมาใช้ แต่คนเดินถนนทั่วไปต้องทำงานหนักมากเพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้สินและดอกเบี้ยให้ กับธนาคาร ใครที่เป็นหนี้สินธนาคารหรือองค์กรการเงินล้วนเป็นทาสทางเศรษฐกิจของพ่อค้า เงินทั้งสิ้น ใครจ่ายหนี้ไม่ทันเวลาที่กำหนดให้ ก็ปรับเงินเขาอีก ที่อังกฤษนั้น ใครที่เช็คเด้งหรือจ่ายหนี้ไม่ทัน นอกจากเสียค่าปรับ ๓๐ ปอนด์อย่างอัตโนมัติแล้ว เขายังคิดค่าส่งจดหมายอีเลคโทรนิค(ที่ไม่ต้องพิมพ์มากมายด้วยซ้ำ)ปรับลูก หนี้อีก ๒๐ ปอนด์ที่ทำให้เขาเสียเวลาส่งจดหมายนั้น ซึ่งเป็นระบบที่บ้าอย่างสุดขั้ว เพราะคนที่จ่ายหนี้ไม่ทันวัน ก็แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า เขาไม่มีเงินจะจ่าย แล้วยังไปเพิ่มหนี้ให้เขาอีก ระบบบ้าๆนี้แหละที่ทำให้คนมากมายในขณะนี้ต้องสูญเสียบ้านที่รักของตน เมื่อตกงาน ไม่มีเงินจ่ายหนี้บ้าน ธนาคารก็ยึดบ้านไป ปล่อยให้พ่อแม่ลูกต้องไปอยู่ข้างถนนโดยที่บ้านถูกทิ้งให้ร้าง

    ฉะนั้น คนระดับชนชั้นกลางไล่ไปจนถึงคนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำล้วนตกเป็นทาสของ นายธนาคารทั้งสิ้น เขาไม่มีทางรู้เลยว่าความยากลำบากของชีวิตตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ถูกคนรวย กลุ่มนิดเดียวสร้างขึ้นมา ต้องกินอยู่อย่างประหยัดหรืออดมื้อกินมื้อทั้งๆที่ทำงานหนักก็เพื่อเก็บหอม รอมริบเอาเงินไปประเคนให้นายธนาคาร คนนอนไม่หลับ เป็นโรคประสาทโรคจิตก็เพราะเป็นห่วงกังวลเรื่องหนี้สินเป็นส่วนมาก เงินและหนี้สินจึงได้กลายเป็นปัญหาใหญ่มากของสังคมซึ่งไม่มีทางแก้ไขเพราะ ความตะกละของพ่อค้าเงินซึ่งเศรษฐกิจระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมา

    เงินที่งอกเงยออกมาอย่างง่ายดายนั้น ก็กลับมาเป็นรางวัลให้กับพ่อค้าเงินทั้งหลาย ผู้บริหารระดับใหญ่ๆขององค์กรการเงินทั้งหลายนอกจากมีเงินเดือนมากมายจนผิด ปกติแล้ว ล้วนอัดเงินบำเหน็จบำนาญก้อนใหญ่ไว้ให้ตนเองเสมอ และที่เหลือก็เอามาแจกจ่ายให้กับลูกน้องระดับล่างๆลงมา ฉะนั้น ใครที่ทำงานธนาคารหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายเงินรู้ดีว่า หากเศรษฐกิจของโลกเดินสะพัดละก็ คนงานแต่ละคนมักได้เงินโบนัสที่สวยงามเสมอทุก ๖ เดือน

    ทาสในยุคโลกาภิวัตน์

    คุณรู้หรือไม่ว่ามีคนเพียง ๑% ของโลกที่เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติถึง ๔๐% ของโลก บริษัทใหญ่ๆ เช่น General Motor, EXON, Walmart มีความร่ำรวยมากว่าประเทศฟิลิปินส์ โบลีเวีย เวเนซุเอลล่า เอลซัลวาดอร์ เสียอีก ทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ลองมาดูเงินส่วนที่เหลือที่พ่อค้าระดับสูงของระบบทุนนิยมผลิตออกจากลมสิ เขาเอาไปทำอะไร

    เงินที่ผลิตออกมาจากลมอีกส่วนหนึ่งจะไปกองอยู่ที่ธนาคารโลกและองค์กรการเงิน ระหว่างประเทศ IMF เพื่อปล่อยกู้ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศยากจนทั้งหลาย องค์กรเหล่านี้แต่งตัวภายนอกเหมือนนักบุญเราดีๆนี่เอง แต่เบื้องหลังเป็นผู้ร้ายในคราบของพระเอกที่เล่นบทบาทของผู้ปรารถนาดีต่อ เพื่อนมนุษย์ ใครใคร่สร้างอะไรที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สาธารณูปโภคต่างก็รีบบอกมา จะให้เงินไปทำ ซึ่งกฎระเบียบของการกู้ยืมเงินคือ ลูกหนี้ต้องให้คำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะคืนเงินให้เจ้าหนี้พร้อม ดอกเบี้ย ตรงนี้แหละที่ความเป็นปีศาจของพ่อค้าเงินจะเริ่มเปิดเผยตัวเอง เพราะการจ่ายหนี้พร้อมดอกเบี้ยคือจุดเริ่มต้นของระบบทาสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ globalization ที่นายทาสไม่จำเป็นต้องมานั่งเฝ้าลูกทาส เฆี่ยนหลังให้ทำงานแบบสมัยโรมัน เขาสามารถทำให้ลูกหนี้ยินยอมทำงานหนักเพื่อจ่ายหนี้พร้อมดอกเบี้ยโดยไม่ต้อง บังคับด้วยซ้ำไป โดยทำให้ความรู้เงินทองพวกนี้ซับซ้อน ให้อยู่เบื้องหลังศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์และคำอธิบายที่เข้าใจยาก economic jargon เพื่อไม่ต้องการให้คนหมู่มากเข้าใจง่ายๆ ให้ลูกหนี้เข้าใจเรื่องเดียวก็พอคือ เมื่อฉันปล่อยเงินกู้ให้พวกเธอแล้ว เธอก็ทำงานชดใช้หนี้สินพร้อมดอกเบี้ยให้ฉันก็พอแล้ว ความรู้เพียงประโยคสั้นๆเท่านี้แหละคือสิ่งที่คนส่วนมากรู้เมื่อมีการกู้ยืม เงิน มนุษย์ในวัยทำงานแต่ละคนจึงก้มหน้าก้มตาทำงานไปอีกครึ่งชาติ บางทีตลอดทั้งชีวิตของพวกเขา(ตายก่อนหนี้หมด)โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจ่ายหนี้ คืนให้ธนาคารทั้งนั้น จะได้หมดห่วง

    แต่การกู้หนี้ยืมสินระหว่างประเทศนี่แหละที่ทำให้ประชาชนในประเทศยากจนทั้ง หลายต้องแบกภาระหนี้สินของประเทศตั้งแต่วันที่คลอดจากท้องแม่ การจ่ายหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยให้ประเทศร่ำรวยนั้น หากไม่ใช่คืนในรูปแบบของใบธนบัตรละก็ จะต้องเป็นไปในรูปให้วัตถุดิบของประเทศตั้งแต่ผลิตผลทางเกษตรตลอดจน ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน แก๊ส เป็นต้น โดยให้สัมปทานบริษัทใหญ่ๆของประเทศเจ้าหนี้เข้าไปลงทุนทำโครงการใหญ่ๆและกด ราคาขายให้ต่ำที่สุดหรือบังคับให้เขาลดค่าเงินลงเพื่อประเทศร่ำรวยจะสามารถ ทำผลกำไรได้มากที่สุด นี่แหละคือขบวนการดูดซับทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศยากจนไปยังประเทศร่ำรวย นี่เป็นระบบการล่าอานานิคมของยุคโลกาภิวัตน์ ทำประเทศยากจนให้เป็นทาสทางเศรษฐกิจโดยที่ประเทศมหาอำนาจไม่ต้องเคลื่อนทหาร ของตนออกนอกประเทศแต่อย่างใด นั่งอยู่กับบ้านเฉย ๆ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งของกินของใช้ก็ไหลมาเทมาเอง

    นี่แหละคือเหตุผลใหญ่ที่ทำให้ประเทศยากจนทั้งหลายในเอเชีย อเมริกากลางและใต้ และแอฟริกาไม่มีทางที่จะลืมตาอ้าปากได้เลย ตราบใดที่เศรษฐกิจระบบทุนนิยมยังมีชีวิตอยู่ ประเทศยากจนเหล่านี้ก็ต้องจนต่อไปจนกว่าระบบทุนนิยมจะล่มสลายนั่นแหละ
    ที่จริงแล้ว ประเทศยากจนส่วนมากมีทรัพยากรธรรมชาติที่ควรจะพอเลี้ยงประชาชนของตนไม่ให้อด ตาย แต่ก็เลี้ยงไม่ได้ เพราะผลผลิตเหล่านั้นถูกส่งไปขัดหนี้ให้กับประเทศร่ำรวยซึ่งในที่สุดก็ถูก กินทิ้งกินขว้าง ใช้ทิ้งใช้ขว้าง เช่น ประเทศอินโดเนเซียเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีอากาศอบอุ่น สามารถทำการเกษตรได้ดี แต่ทำไมจึงยากจนมาก เพราะผลผลิตการเกษตรที่ผลิตได้นั้นถูกส่งออกนอกประเทศเพื่อจ่ายหนี้นั่นเอง

    เห็นหรือไม่ว่าจากเกมเล่นของเด็กๆที่ประเทศร่ำรวยสร้างเงินขึ้นมาจากลมแท้ๆ แต่มีผลถึงขนาดกำหนดชะตาชีวิตของคนหมู่มากของโลกให้อยู่อย่างทุกข์ยากลำบาก แสนเข็ญ ทำให้คนมากมายต้องทำงานหนักเหมือนวัวควายแต่ก็ยังไม่สามารถเลี้ยงครอบครัว ของตนเองให้อิ่มท้องได้ ทำให้เด็กๆต้องคุ้ยเขี่ยหาเศษอาหารจากกองขยะ ทำให้เด็กสาวเด็กชายต้องไปขายประเวณีเพื่อเอาเงินมาซื้ออาหาร หรือทำให้คนต้องไปลักขโมย ไปปล้นเขาเพื่อเอาเงินมาซื้ออาหาร ยารักษาโรค
    ถ้าคุณสามารถมองทะลุสมมุติได้แล้วละก็ จะเห็นความน่ากลัวของอุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นเพราะความเข้าใจผิดว่าจริง อุปาทานตัวนี้แหละที่ทำให้ระบบเงินตราในโลกทุนนิยมมีบทบาทมากถึงขนาดทำให้ มนุษย์กว่าครึ่งโลกต้องตกเป็นทาสทางเศรษฐกิจให้กับพ่อค้าเงินทั้งหลาย นี่เป็นความยากจนที่มนุษย์หยิบมือเล็กๆของโลกสร้างขึ้นมาด้วยน้ำมือของเขา ซึ่งความยากจนนี้สามารถทำให้หายไปได้ในชั่วพริบตาเมื่อเอาเงินออกจากสมการ ของการดำรงชีวิต คนเราอิ่มท้องได้ไม่ใช่เพราะบริโภคใบธนบัตร แต่อิ่มเพราะบริโภคอาหารซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เงินเป็นเพียงของสมมุติขึ้นมาให้มีคุณค่าเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนสิ่งของเพื่อ เอามากินมาใช้เพื่อประทังชีวิตเท่านั้น


    ถ้าเราสามารถเอาผู้ใหญ่ที่มีอวิชชาพวกนี้มาเล่นเกมแบบเด็กๆต่อ โดยบอกให้พ่อค้าเงินที่เป็นเจ้าหนี้หรือนายทาสของประเทศยากจนยกเลิกหนี้สิน ทั้งหมด แทงเป็นหนี้สูญไปเลย ซึ่งตัวเลขของหนี้สินที่พวกเขามีอยู่ย่อมเป็นตัวเลขที่น่าขบขันมาก จะเป็นกี่แสนกี่ล้านล้านล้านก็ว่าไป เขียนไม่ถูกหรอก คุณจะเห็นว่าเจ้าหนี้เงินมากมายเหล่านี้จะไม่ล้มหายตายจากไปทันทีเพียงเพราะ เขาแทงหนี้สูญให้ลูกหนี้ดอก พวกเขาก็ยังอยู่สุขสบายในท่ามกลางประสาทราชวังของเขาเหมือนเดิม ยังคงกินอาหารดีๆ ใส่เสื้อผ้าดีๆ ชุดสูทราคาเป็นหมื่นเป็นแสนเหมือนเดิม แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนจากดำเป็นขาวเมื่อเอาเงินออกจากสมการของชีวิตคือ คนจนจะอิ่มท้องขึ้นมาทันที ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจะดีขึ้นมาทันที เพราะอาหารอยู่เบื้องหน้าของเขาแล้ว แต่ละประเทศก็จัดสรรทรัพยากรธรรมชาติของตนเองเพื่อเลี้ยงคนในชาติ เก็บเกี่ยวผลหมากรากไม้กินได้อย่างสบายโดยไม่ต้องเอาไปให้ประเทศร่ำรวยเพื่อ ขัดหนี้ ใครขาดเหลืออะไรก็เอามาแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ต้องให้ระบบเงินตราเข้ามายุ่งสิ ถ้าทำได้ สิ่งที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือคือ คนจนเหล่านี้จะไม่ต้องนอนเอามือก่ายหน้าผากคิดมากต่อไปอีกว่าพรุ่งนี้จะไป หาเงินจากไหนเพื่อนำมาซื้ออาหารให้ลูก โศกนาฏกรรมทั้งหลายในสังคมของคนยากจนจะหายไปทันที เด็กๆไม่ต้องไปคุ้ยเขี่ยเศษอาหารจากกองขยะ ไม่ต้องไปเดินขายพวงมาลัยตามสี่แยก ไม่ต้องขอทาน ไม่ต้องขายตัว ไม่ต้องไปปล้นเขาเพื่อเอาเงินมาซื้อของยังชีพ แม้ชนชั้นกลางก็จะเครียดน้อยลง ไม่ต้องพึ่งยากล่อมประสาทอีกต่อไป คิดง่ายๆว่าคนเราไม่ได้อิ่มท้องด้วยการกินเงิน แต่อิ่มเพราะอาหารอันเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วบนโลกนี้ เงินไม่ใช่เป็นพระเจ้า และเราไม่จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการมีชีวิตรอด แต่แน่นอน คนหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของโลกที่เป็นเจ้าของทรัพยากรของโลกถึง ๔๐% ย่อมไม่ปล่อยให้ใครมาลบเงินออกจากสมการของชีวิตได้ง่ายๆหรอก

    ท่านมหาตมะ คานธีบอกว่า “ทรัพยากรบนโลกนี้เพียงพอที่จะเลี้ยงมนุษย์ทุกคนที่อยู่อาศัยบนโลกใบนี้ แต่ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงมนุษย์ที่ตะกละเพียงคนเดียว” ข้อเท็จจริง อีกข้อคือ มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิโดยชอบธรรมในทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ทั้งบนโลกและใน โลกนี้ด้วย แต่สิทธิโดยชอบธรรมเหล่านั้นไม่เพียงแต่ถูกเศรษฐกิจระบบทุนนิยมปล้นไป เท่านั้น ชีวิตของพวกเขายังถูกทำให้อยู่อย่างยากลำบาก ทุกข์ลำเค็ญอย่างแสนสาหัสอีกด้วย

    เห็นหรือไม่ว่าระบบเงินตราได้สร้างความซับซ้อนและความทุกข์อย่างมหันต์ให้ แก่ชีวิตของคนหมู่มากอย่างไร ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์ซึ่งควรเรียบง่ายห่างไกลความเรียบง่ายอย่างไร ทำให้ทุกอย่างกลับหัวกลับหางไปหมด และนี่คือสาเหตุที่ดิฉันไม่ชอบพูดว่า คนที่เกิดมาจนเพราะไม่ได้ทำบุญมาในชาติก่อน

    เลี้ยงกวางกับเสือในกรงเดียวกันไม่ได้

    ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถทำให้มนุษย์เป็นคนดีได้อย่างร้อย เปอร์เซ็นต์แม้อยากเป็นคนดีก็ตาม เมื่อเงินอยู่ในสมการของการดำรงชีวิตแล้ว เงินจึงกลายเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังของทุกสิ่ง ถ้าคุณต้องการเป็นพ่อค้าที่ประสบความสำเร็จในการขายสินค้าของคุณแล้ว คุณไม่สามารถคงความซื่อสัตย์สุจริตได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าร้านถัดไปขายเสื้อผ้าและรองเท้าที่มีคุณภาพดีกว่าที่คุณขายและราคาถูก กว่าด้วย คุณไม่สามารถบอกลูกค้าให้ไปซื้อสินค้าจากร้านถัดไป เพราะจะทำให้คุณกลายเป็นพ่อค้าที่ล้มเหลว ฉะนั้น เวลาที่หมอฟันในคลินิกเอกชนบอกคุณว่า ฟันซี่นั้นก็ควรทำ ซี่นี้ก็ควรทำ ซี่โน้นก็ควรทำ ที่ควรทำนั้นเป็นเพราะจำเป็นจริงๆ ถ้าไม่ทำ ฟันอาจหลุดหมดปาก หรือเพื่อหมอฟันจะได้มีเงินไปซื้อรถคันใหม่เร็วขึ้น หมอฟันเท่านั้นที่จะตอบคำถามนี้ได้

    อาชีพหมอนั้นควรเป็นอาชีพที่ตั้งอยู่บนรากฐานของการมีเมตตากรุณาต่อเพื่อน มนุษย์ แต่เพราะเงินได้เข้ามาเป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต อาชีพหมอจึงถูกฉ้อฉล รายได้ต่อเดือนของหมอศัลยกรรมที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชนมักเท่ากับรายได้ต่อ ปีของหมอศัลยกรรมที่ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชนจึงผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ดและไม่เคยขาดหมอเลยในขณะที่หมอใน โรงพยาบาลของรัฐต้องทำงานหนักมากเพื่อดูแลคนไข้ที่มีมากล้น แต่ก็ทำให้เห็นได้ชัดเจนถึงระดับความเมตตากรุณาของนายแพทย์เหล่านี้ เดี๋ยวนี้ นักเรียนแพทย์นิยมเรียนการรักษาโรคผิวหนังมากกว่าสาขาอื่น เพราะเมื่อจบออกมาแล้ว สามารถเปิดคลินิกเพื่อรักษาคนให้มีใบหน้าสวยงามได้ง่าย พร้อมรายได้ก็สวยงามด้วย

    ดิฉันไม่เชื่อว่าคนที่ประสบความสำเร็จตามเส้นมาตรฐานจอมปลอม(ในระบบ ทุนนิยม)จนสามารถมีเงินในบัญชีเป็นหลายร้อยล้านพันล้านหมื่นล้านได้โดยที่ ไม่เคยทำผิดศีลพื้นฐาน ๕ ข้อ โดยเฉพาะศีลข้อลักทรัพย์กับพูดเท็จ ศีล ๒ ข้อนี้หรือทั้ง ๕ ข้อด้วยซ้ำไปล้วนขัดกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมที่รักการบริโภคกามสุข อย่างสุดๆ เป็นไปได้หรือที่พ่อค้าทั้งหลายสามารถหาเงินได้ทีละมากๆโดยไม่ต้องโหดร้าย อยุติธรรมหรือฉ้อฉลคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาบ้างไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่า คนที่มีศีลและธรรมในจิตใจอย่างแท้จริงจะไม่สามารถปล่อยให้ตัวเองร่ำรวย นั่งเสวยกามสุขอยู่บนกองเงินกองทองโดยที่ยังมีมนุษย์มากมายในโลกนี้อดตาย อยู่ ดิฉันพูดมานานสิบปีแล้วว่า ความร่ำรวยมหาศาลที่ผิดปกตินั้นเป็นการผิดศีลธรรมอยู่ในตัวมันเองแล้ว อย่างที่พูดไปแล้ว คนเราไม่ได้อิ่มท้องเพราะเงิน แต่อิ่มเพราะข้าวปลาอาหารอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เงินเป็นเพียงสิ่งแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย ๔ ถ้าเรามีเงินมากพอที่จะช่วยให้คนหายหิวไปได้สัก ๑๐๐ คน ๑๐๐๐ คน ๑๐,๐๐๐ คน หรือ ๑๐๐,๐๐๐ คน ช่วยให้คนเหล่านี้มีบ้านอยู่พอกันฝนกันแดดได้ ทำไมจึงไม่ทำล่ะ เก็บเงินไว้ทำไม ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้

    นี่คงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคนบางคนจึงอยากเป็นนักการเมืองมาก(โดยเฉพาะใน เมืองไทย) ดิฉันอยู่เมืองไทยในช่วงที่กำลังเลือกนายกเทศมนตรีของกรุงเทพมหานครราวเดือน ตุลาคม ๒๕๕๑ รู้สึกแปลกใจมากที่มีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งถึง ๑๘ คน (ครั้งแรก ครั้งที่ ๒ ที่ห่างกันเพียงเดือนเดียว มีผู้สมัครอีก ๑๖ คน ถ้าจำไม่ผิด) เพราะที่จริงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี โดยเฉพาะของประเทศมหาอำนาจล้วนเป็นตำแหน่งที่น่าปวดหัวมาก ชวนให้หัวใจวาย ทำให้อายุสั้นได้ง่ายๆ ถ้าไม่ใช่คนที่มีเมตตาและปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์แล้วไซร้ ล้วนไม่ใช่เป็นตำแหน่งที่ควรไขว่คว้าแต่อย่างใดเลย แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเมื่อเอามาตรฐานจอมปลอมของชีวิตมาวิเคราะห์ เพราะการเมือง(โดยเฉพาะของไทย)คือบันไดไต่เต้าไปสู่อำนาจทางสังคม หมายถึงการได้รู้จักพ่อค้าซื้อขายเงินทองทั้งหลาย เป็นที่รู้กันว่าพ่อค้าเงินกับนักการเมืองล้วนมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมา โดยตลอด อำนาจเหล่านี้จะเปิดโอกาสให้ตนเองและคนที่เรารักหากามสุขง่ายดายหน่อย ถ้าไม่ใช่เรื่องเงินและโอกาสไต่เต้าไปสู่อำนาจทางการเมืองและสังคมแล้ว ดิฉันไม่เชื่อว่าจะมีใครอยากหาเหาใส่หัว เว้นแต่คนที่รักและเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริงเท่านั้น เช่น ท่านมหาตมะ คานธี มาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ อองซาน ซูยี เป็นต้น ซึ่งคนเหล่านี้มักถูกฆ่าตายเสียก่อนที่จะได้ช่วยเหลือมนุษยชาติอย่างแท้จริง

    แค่อยากซื้อของถูก

    เพียงการเป็นประชาชนของประเทศที่ร่ำรวย ก็มีส่วนในการทำบาปร่วมกับพ่อค้าเงินเหล่านั้นแล้ว เพราะเงินอยู่ในสมการของการดำรงชีวิต เพียงการเดินเข้าไปซื้อของในซุปเปอร์มาเก็ตที่ขายถูกๆ เช่น โลตัส วอลมารท์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการอะไรอีกมากมายที่ใช้ระบบผูกขาด หรือเอาเงินฝากธนาคาร และเสียภาษีให้กับรัฐบาลโดยเฉพาะของประเทศร่ำรวย เงินเหล่านั้นก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต่างๆที่มีผลกระทบต่อชะตา ชีวิตของคนจนที่อยู่กระจัดกระจายทั่วโลกแล้ว เงินภาษีของรัฐบาลมหาอำนาจจะถูกนำไปใช้ซื้ออาวุธและทำสงครามกับประเทศต่างๆ อเมริกาใช้เงิน ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ (500 billions US$) ห้าแสนล้านเหรียญต่อปีเพื่อการทำสงคราม เงินจำนวนนี้เพียงพอที่จะส่งหนุ่มสาวชาวอเมริกันในชั้นมัธยมปลายของเขาทุกคน เรียนจบมหาวิทยาลัย ๔ ปี และยิ่งกว่าพอที่จะเลี้ยงคนจนทั่วโลก เพราะประชากรโลกนี้มีเพียงหกพันล้านคน ๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คนกว่าๆเท่านั้น เศษตัวเลขยกให้เป็นคนรวยของโลก จึงคิดอย่างง่ายๆว่าแค่แจกเงินให้คนจนในโลกนี้ทุกคน คนละหนึ่งล้านเหรียญอเมริกันเพื่อให้เขาไปซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่ม บ้าน และยารักษาโรค เงินที่เอาไปใช้ทำสงครามก็ยังเหลืออีกมากมาย ถ้าโลกนี้ไม่ใช่เป็นโลกของคนบ้าระดับสามัญ(อวิชชา) ก็ไม่รู้จะเรียกว่าอย่างไร เพราะยิ่งเจาะลึกเข้าไป ก็ยิ่งเห็นละครโรงใหญ่ของมนุษย์ที่เศรษฐกิจระบบทุนนิยมได้สร้างและกำกับอยู่

    นี่คือเหตุผลใหญ่ที่คนสนใจธรรมะมักพบความขัดแย้งอย่างมากเมื่อต้องการ ปฏิบัติธรรม เพราะงานที่พวกเขาทำอยู่ไม่เปิดโอกาสให้เขาเป็นคนดีอย่างเต็มที่ ซึ่งขัดกับการปฏิบัติธรรมตามแนวทางพุทธศาสนา ระบบทุนนิยมเหมือนการกระตุ้นให้เสือตัวนี้มีความหิวเงินอยู่ตลอดเวลา เพราะเห็นเป็นเรื่องการประสบความสำเร็จตามมาตรฐานของเส้นผิดปกติของชีวิต ในขณะที่วิถีแห่งพุทธนั้นสอนให้จิตใจมีความอ่อนโยน ไม่มีความโลภ ไม่เห็นแก่ได้เพื่อปรับให้จิตใจเข้าสู่เส้นปกติที่แท้จริง จึงเหมือนทำจิตใจให้เหมือนลูกกวาง แต่เราไม่สามารถเลี้ยงกวางกับเสือหิวในกรงเดียวกันได้ ตรงนี้จึงเป็นความสับสนและกลับหัวกลับหางอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดกับคนที่อยาก หายบ้าและมุ่งหน้ามาทางธรรม เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมาก


    หาก ท่านอ่านบทความนี้แล้ว เห็นด้วย และอยากช่วยเหลือดิฉันกวาดต้อนคนหมู่มากให้เขาจับรถไฟขบวนสุดท้ายเพื่อออก จากคุกชีวิตละก็ ขอความกรุณาช่วยส่งต่อบทความนี้ให้คนที่คุณรักและหวังดีด้วย คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่มีรูปทั้งหมดอยู่ในนั้นด้วย

    Download
    http://supawangreen.files.wordpress.com/2009/02/capitalism_supawan.doc

    Supawan green :: View topic - บทวิเคราะห์การล่มสลายของเศรษฐกิจทุนนิยมในมุมมองของพุทธศาสนา
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "ทุนนิยมวิกฤติ : ทางรอดอยู่ที่ไหน?"


    บทเรียนบทหนึ่งจากวิกฤติที่ว่า บางครั้งบางขณะคนฝ่ายข้างมากไม่ได้คิดถูกเสมอไป ประชาธิปไตยอาจบอกว่าเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ แต่บางเหตุการณ์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดวิกฤติ คนข้างมากใช่ว่าจะคิดถูก หลายคนอาจจะเป็นเพียงกบในกะลาครอบของตัวเอง มีความลำพอง นี่เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นชัดว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันเป็นวิกฤติแห่งภูมิปัญญาของสังคมไทย และหลังจากเกิดวิกฤติมาปีกว่าก็แทบไม่เห็นว่ามีการปรับปรุงสักเท่าไรเลย


    วิกฤติในครั้งนี้มี 2 มิติที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กันไป จะมองแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อันแรกคือวิกฤติของทุนนิยมไทยโดยตัวของมันเอง อีกมิติหนึ่งก็คือวิกฤติของระบบโลกโดยตัวของมันเองเช่นกัน


    วิกฤติอันแรกคือสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ในรอบ 40 ปีแห่งการพัฒนาทุนนิยม ไม่เคยมีครั้งไหนที่ทุนนิยมไทยประสบกับความหายนะมากเท่าครั้งนี้ นั่นคือมีการล่มสลายของสถาบันการเงินซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจมีการ ล้มทรุดของภาคเศรษฐกิจจริงซึ่งลามไปดุจโรคมะเร็ง และภาระหนี้สินมากมายมหาศาลที่ยากจะใช้ได้หมดในชั่วชีวิตของเรา สามอย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงการพังทลายของกลไกการสะสมทุนภายในประเทศ และถ้าจะหาทางออก ก่อนอื่นก็ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจุบันนี้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เคยทำงานมาตลอด 40 ปีนั้น ใช้ไม่ได้แล้ว


    ส่วนวิกฤติของระบบโลก เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 แรกๆออกมาในรูปที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อน คือ ภาคการเงินกลายเป็นภาคที่มีฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกแทนที่ภาคเศรษฐกิจก็จริง พอผนวกเข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศก็ทำให้ระบบโลกกลายเป็นบ่อน คาสิโนขนาดใหญ่หรือเราเรียกว่า ระบบโลกแบบทุนนิยมฟองสบู่ ซึ่งเต็มรูปตั้งแต่ประมาณปี 1985 และมาสู่ขั้นสุดยอดราวปี 1995 ที่เกิดวิกฤติการณ์เม็กซิโก ตรงนี้เป็นจุดที่นำมาสู่หายนะ


    เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนธาตุแท้ไปอย่างสิ้นเชิง คือ การ เคลื่อนไหวของกระแสเงินทุนได้กลายมาเป็นปัจจัยทีใหญ่ที่สุดในการกำหนดความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แทนที่นโยบายมหภาคของรัฐบาลดังที่เคยมีมาตลอดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นี่คือข้อเท็จจริงที่กระทรวงการคลังและแบงค์ชาติของประเทศกำลังพัฒนา หรือแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วมองข้ามไปจริงๆ ตัวชี้ขาดไม่ใช่เรื่องการดำเนินนโยบาย แต่เป็นกระแสการไหลของเงินที่มันเข้ามาเร็วและก็แรงจนทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในรูปของความเฟื่องฟู ประมาณหลังเปิด BIBF จนถึงปี 1996 แล้วนำมาสู่ภาวะฟองสบู่แตกซึ่งเป็นแบบเดียวกันคือ มาแรงและก็ไปแรง


    จุดเปลี่ยนที่รุนแรงที่สุดในแง่ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ ออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของกระแสเงินทุนไหลเข้าไหลออกนี้ มันทำให้วิถีชีวิตของคนจำนวนมากหันมาพึ่งพาระบบการสร้างความมั่งคั่งแบบใหม่ โดยการเก็งกำไร ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาเพราะเราเปลี่ยนวิถีชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าเราจะอ้างว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างไรก็ตาม แต่ความเป็นจริงคือมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าพูดศัพท์ภาษาวรรณกรรมหน่อยก็คือ เราขายวิญญาณให้กับซาตานไปแล้ว และ ตอนนี้เรากำลังเสียดอกเบี้ยราคาแพง ทั้งในเชิงจิตวิญญาณและในเชิงสังคม ให้กับสิ่งที่เราทำไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นี่คือต้นตอของปัญหาทั้งปวงที่เกิดขึ้น


    สิ่งที่ทุนนิยมไทยและประเทศพัฒนาอื่นๆเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มันเหมือนทางสามแพร่ง และหลายทางเดินเหล่านั้นอาจจะนำไปสู่ทางตัน อาจจะตกเหว ฯลฯ ถ้าเลือกทางผิดชะตาชีวิตหรือชะตากรรมของประเทศก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในภาวะเช่นนี้ข้อมูลในรายละเอียดคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด ถ้าเราได้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนที่เราจะตัดสินใจเดินทางแบบรวมหมู่ ถ้าเรารู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ เราก็จะสามารถเลือกทางที่เราจะรอดได้หรือมีโอกาสรอดได้มากที่สุด เราก็จะหาคำตอบได้


    และสิ่งที่ว่าเราจะเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็คือ ภาวะความปั่นป่วนไร้เสถียรภาพในอัตราเร่งที่มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งระบบโลก พูดให้ง่ายๆเป็นรูปธรรมก็คือ ความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจคาสิโนระดับโลกจะเกิดที่ศูนย์กลางทุนนิยมโลก คือ สหรัฐอเมริกา ในราวๆปี 1999 และถึงจุดสุดยอดของความรุนแรงหรือความสั่นสะเทือนราวๆปี 2000 - 2002 คือจากนี้ไปอีกประมาณ 4 ปี ภาวะความรุนแรงที่สุดสามารถอุปมาดังการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นครั้งแรกเป็น วิกฤติเม็กซิโก แล้วต่อมาก็ที่เมืองไทย แต่นั่นเป็นเพียงการไหวเตือน ยังไม่ใช่ The big one แผ่นดินไหวจริงๆจะเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางคาดว่าอยู่ในช่วงปี 1999 - 2002 ซึ่งอาจจะเกิดหลายลูก แล้วจะมีผลกระทบตามมาอีก สิ่งนี้คงนำมาซึ่งจุดจบของระบบทุนนิยมฟองสบู่ ในราวๆไม่เกินปี 2012 หรืออีก 14 ปีหลังจากนี้ไป


    ภาพการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1990 เป็นบทแรกภาพต่อมาประมาณปี 2012 เป็นภาพที่คงหลีกเลี่ยงได้ยากแล้วในตอนนี้ คือการล่มสลายของระบบทุนนิยม เราคงไม่ต้องมากังวลเรื่องการฟื้นฟูทุนนิยมอีกต่อไป เพราะหลังจากนั้นเราคงต้องพูดถึงระบบใหม่ แต่การพูดถึงระบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังทุนนิยมในตอนนี้มันเร็วไป ตอนนี้คงสรุปได้เพียงว่า ตัวแปรที่เร่งให้เกิดการล่มสลายของระบบทุนนิยมคือจุดจบของระบบคอมมิวนิสต์ ที่เกิดขึ้นในปี 1990 และอีกประมาณสิบกว่าปีเราคงจะได้เห็นการล่มสลายของระบบทุนนิยม มันคงจะใกล้ตัวเรามากกว่าคนในค่ายคอมมิวนิสต์ ส่วนสิ่งที่จะต้องเผชิญต่อจากนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบคือ สงครามโลกครั้งที่ 3 หรือสงครามโลกาวินาศ แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ได้เกิดสงครามย่อยขึ้นมา 3 รูปแบบแล้ว ได้แก่ 1) สงครามระหว่างชนชาติเดียวกัน ในบางประเทศรู้สึกตอนนี้เกิดขึ้นหลายจุดแล้ว 2) อันนี้ประเทศไทยเราโดนด้วย คือ สงครามเศรษฐกิจที่ต่อสู้อย่างรุนแรงมาก เอาชีวิตเอาชะตากรรมประเทศชาติเป็นเดิมพัน และ 3) ที่ส่วนใหญ่มองข้ามไปก็คือ สงครามที่ต่อสู้กับภัยธรรมชาติประเภทต่างๆ แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ภัยแล้ง จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับในอัตราเร่ง อันนี้โดนกันทุกประเทศทั่วโลก ยากจะหลีกเลี่ยงได้ สามอันนี้จะเป็นตัวบั่นทอนระบบทุนนิยมให้อ่อนล้าแล้วก็ถึงจุดจบในเวลาที่เรา คาดการณ์กันไว้


    สมมุติเราเชื่อว่า ข้อมูลหรือสิ่งที่เราได้จากปัญญาญาณอันนี้ในการที่จะประเมิณสถานการณ์ว่า นี่คือภาพที่เห็นข้างหน้า ในประมาณ 10 กว่าปีข้างหน้ามันจะเกิดแบบนี้ แล้วประเทศไทยของเราจะนำพาตัวเองรอดจากมรสุมแห่งยุคสมัยนี้ได้อย่างไร คนทุกระดับหรือคนที่มีอำนาจ ควรเตรียมการหรือประเมิณความรุนแรงของปัญหานี้ในระดับเดียวกับภาวะสงคราม ในระดับสงครามโลก เพราะเราหมดยุคแห่งสันติแล้ว เราอาจจะต้องเผชิญอย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ สงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเราคงได้เห็นวันนั้น พอคิดแบบนี้แล้วจึงมองหาทางออก


    ทางออก อันดับแรก คือ เศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้เศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ เป็น sub-system หรือ sector หนึ่งของสังคมไทย เราจะต้องรีบทำให้ได้ เพราะสิ่งนี้คือหลักประกันการเกิดกลียุค ที่เกิดขึ้นแล้วในอินโดนีเซีย ถ้าไม่อยากให้เกิดกลียุคในสังคมไทยแบบอินโดนีเซีย เราต้องเร่งทำเศรษฐกิจ พอเพียงโดยเร็วที่สุดเพื่อรองรับปัญหาวิกฤติทางสังคมและการว่างงาน


    อันที่สอง จะต้องเร่งทำทีสุดคือ การฝึกฝนคนเพื่อรองรับระบบใหม่ที่ไม่ใช่การแก้ปัญหาวันต่อวัน หรือปีต่อปี พอมีคนประท้วงหน่อยหรือมีชาวนาผูกคอตายก็มาลนลานแก้ปัญหา


    อันที่สาม เป็นเรื่องระดับปัจเจกชน พอเศรษฐกิจล่มสลายสิ่งที่เราได้คืนมาคือเวลา บางคนมีเวลามากอาจจะฟุ้งซ่านแล้วออกมาในรูปขอ่งการฆ่าตัวตาย บางคนตกงานก็อาจจะมาค้ายาบ้าหรือใช้ชีวิตที่สุ่มเสี่ยงแทน บางคนอาจจะไปปฏิบัติธรรม แต่ถ้าอยากจะรอด เราต้องสถาปนาความสัมพันธ์กันใหม่ คือ หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้คนทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นแบบที่นักศึกษาถูกจี้ทำอนาจารบนรถเมล์แล้วก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ นั่นเป็นด้านที่เลวร้ายมากของความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้คน สอง ความสัมพันธ์ทางสังคม ก็คงในเชิงของชุมชน ความสัมพันธ์กับโลก จักรวาล และธรรมชาติ ถ้าหากเราไม่มีอันนี้ก็จะมองไม่เห็นเลยว่าในแง่ปัจเจกเราจะอยู่รอดได้ อย่างไร เพราะเราอาจจะเป็นตัวบิดเบือนและทำลายองค์รวมนี้ก็ได้


    อันที่สี่ เราต้องมีการทำใหม่ สร้างใหม่
    คือต้องสร้างระบบเศรษฐกิจ ใหม่โดยการเปลี่ยนวิถีที่เป็นอยู่ อุปมาดังรถเสียข้างทาง เราจะเดินไปตัวเปล่ามันก็กระไรอยู่ เราสามารถเปลี่ยนแปลงรถเสียนั้นให้กลายเป็นเกวียนหรือเอาบางส่วนของมันมาใช่ ต่อไปได้หรือไม่ คือ เอาชิ้นส่วนบางอันของระบบเก่าที่มันพังไปแล้วกลับมาใช้กับระบบใหม่ที่กำลัง ก่อตัวขึ้นมาได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้มันต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์


    และอันสุดท้าย เป็นการตัดสินใจทางกลยุทธ์ที่ยากที่สุด ผุ้นำส่วนใหญ่จะไม่กล้าทำ คือ เราต้องกล้าทิ้งวิธีคิดแบบเก่าที่เคยประสบความสำเร็จมา โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของ (ownership) เราต้องกล้าปฏิรูปสถาบันการเงิน ให้เถ้าแก่ทั้งหมดที่เคยมีอำนาจทางการเงินกลายเป็นลูกจ้างเหมือนคนทั่วไปได้ หรือไม่ ปฏิรูปที่ดินการเกษตรของพวกที่เอาโซ่ไปล่ามแผ่นดินไว้ด้วยการเก็งกำไรให้ กลายเป็นที่ดินเพื่อรองรับเศรษฐกิจพอเพียงได้หรือไม่ สองเรื่องนี้ถ้าไม่กล้าทำก็คงยากที่จะแก้ปัญหาจนถึงขั้นรากเหง้าได้


    โดยสรุปจากนำเสนอวิกฤติการณ์ทุนนิยมจากตะวันตกด้วยท่วงทำนองของวรรณกรรมจาก ตะวันออก จนอาจทำให้หลายคนคิดถึงนอสตราดามุส มีเพียงสั้นๆคือ วิกฤติการณ์คราวนี้ไม่มีทางรอดสำหรับระบบทุนนิยม แต่ถ้าคนในระบบทุนนิยมจะอยู่รอดก็ต้องปรับตัวให้เป็นอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่อยู่ในความสัมพันธ์แบบทุนนิยมอย่างที่เคยเป็นมา


    (จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)



    http://www.dragon-press.com/content-2.%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4:%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99-4-5646-83831-1.html
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เผชิญหน้าภาวะล่มสลายและทางออกสังคมไทย



    1.ภาวะเศรษฐกิจถดถอยระยะยาวประมาณ 12 ปี

    การศึกษาจากประวัติศาสตร์ของการเกิดและการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ในระดับโลก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นทำให้เห็นภายหลังจากการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่แล้วจะ เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะยาวญี่ปุ่นที่ผ่านมา 10 กว่าปีแล้วก็ยังไม่ฟื้นตัว เศรษฐกิจฟองสบู่มี 3 ระดับ คือระดับที่1เป็นแบบชาวบ้าน เช่น แชร์แม่ชม้อย, ระดับที่2 เป็นระดับชนชั้นกลางเช่นกรณีเสี่ยสอง , ระดับที่ 3 เป็นระดับสถาบันการเงิน นายทุนขนาดใหญ่เข้ามาเล่นเกมการเงิน เศรษฐกิจฟองสบู่ของไทยอยู่ในระดับที่ 3 เหมือนกับขับรถยนต์ ถ้ายางแตกก็ซ่อมไม่นาน แต่รถอยู่ในสถานะชาร์ปละลายเศรษฐกิจเราอยู่ในชั้นหลอมละลาย การซ่อมก็ต้องเป็นเดือน รัฐบาลหลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตกจึงต้องมีหน้าที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ที่พัง ให้เศรษฐกิจทำหน้าที่เดินรุดหน้าต่อไป ต้องเปลี่ยนกลไกการสะสมของทุน ที่ทำอยู่ขณะนี้คือปรับโครงสร้างหนี้ให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งระหว่างนี้จำเป็นต้องใช้อะไหล่จากต่างประเทศคือ การเปลี่ยนความเจ้าของ (Ownership) ไม่ใช่ของคนไทยแล้วต้องให้ต่างชาติเข้ามา ในทางเศรษฐศาสตร์สนใจคือว่ากลไกการผลักดันทางเศรษฐกิจและพลังการขับเคลื่อน ทางเศรษฐกิจมันทำงานได้ไหม เมืองไทยผ่าตัดในรูปที่ให้คนต่างชาติเข้ามาซื้อไม่ว่าสถาบันการเงินก็ดี รัฐวิสาหกิจก็ดี แน่นอนคนไทยเสียเปรียบและเกิดความคิดชาตินิยมใหม่ ชาตินิยมก็ดีแต่อย่าให้เป็นแบบคลังชาติ ประเด็นสำคัญคือทำให้กลไกทำงานอีกมิฉะนั้นก็พังกันทั้งหมด


    ผมเขียน "มังกรจักรวาล" เตือนว่าจะมีหายนะก่อนสิ้นศตวรรษนี้ ผมพูดในปี ค.ศ. 1995 ในขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังบูมผู้คนก็หัวเราะเยาะผม แต่ถ้าตอนนั้นเชื่อผมทำอย่างที่ผมบอกก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ประเทศไม่พังขนาดนี้ ในขณะนั้นคนส่วนใหญ่ยังมองเศรษฐกิจว่าโรยไปด้วยกลีบกุหลาบ สุดท้ายเราก็พบหายนะจากวิกฤติเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่


    แนวโน้มของศตวรรษที่21 เราต้องมองแนวโน้มของทศวรรษที่ 90 ให้แตก ที่ผ่านมาเราล้มเหลวทางเศรษฐกิจและล่มสลายทางธุรกิจเพราะเราอ่านแนวโน้มของ ทศวรรษที่ 90 ไม่แตกแนวโน้มเรื่องเศรษฐกิฟองสบู่ แนวโน้มเรื่องIT แนวโน้มเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่ง แนวโน้มเรื่องสงครามทำลายราคา แนวโน้มเรื่องการค้าปลีก ฯลฯ ทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเราคงใช้เวลาอีกประมาณ 12 ปี ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อของโลกอยู่ที่ปี ค.ศ.2012 ซึ่งจะเป็นรอบของมันในระหว่าง 12 ปีนี้ปัญหาระดับโลกคือ เศรษฐกิจฟองสบู่ในอเมริกาจะแตก ความขัดแย้งระดับโลกก็จะเกิด จะเกิดอภิมหาโกลาหลสถานการณ์เช่นนี้จะเกิดผู้นำระดับโลกขึ้นมา เกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นมา เป็นยุคNEW AGE ซึ่งมองโลกด้วยสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ในขณะนี้คล้ายกับช่วงปี ค.ศ.1930 - 1945 คือ เศรษฐกิจฟองสบู่อเมริกาแตกในปี ค.ศ. 1929 ฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจในปีค.ศ. 1932 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ. 1941 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 ด้วยระเบิดปรมาณู โลกวุ่นวายอยู่ 15 ปีกว่าจะลงเอยกัน เราผ่านเรื่องนั้นมาแล้ว แต่คนปัจจุบันลืมมันไป มันหดหู่อยู่ 15-20 ปี พอหลัง ค.ศ.1945 ก็เกิด "ข้อตกลง เบรตตัน วู๊ดส์" ,เกิด IMF ,เกิดWORLD BANK


    เรามาดูว่าประมาณ 5 - 12 ปีขึ้นไป เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น เราต้องมีสุขภาพ แข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ทนทานต่อแรงกดดันได้ ควบคุมตัวเองได้ ไม่ให้คลั่งเครียดหรือฆ่าตัวตายยอมแพ้ไปก่อน ความพ่ายแพ้มาจากภายในไม่ใช่จากภายนอก เราควรมีความขยันหมั่นเพียร พัฒนาศักยภาพความสามารถตัวเองให้สูงขึ้น ทำงานให้มากกว่าเงินเดือนที่เขาให้ ทำงานเพื่อสร้างคุณค่าแก่ตัวเอง มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ใหม่ๆ เพื่มเติมตลอดเวลา เปิดตาให้กว้างถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ก็ไม่ต้องกลัวใครๆ ก็อยากได้คุณ เราต้องทำงานหนัก สมถะใช้ให้น้อยหาให้มาก ทำให้อัตราการออมมันสูง ประมาณ 15 % - 30 % ของรายได้ เราต้องมีวินัย ญี่ปุ่น ทั่วประเทศก็ออมในระดับนี้ซึ่งสูงมากในช่วงฟื้นฟูประเทศ การออกในระดับนี้ต้องหักภาระผ่อนบ้านและผ่อนรถยนต์แล้ว ยังออมอีก 15% - 30 %


    สำหรับคนตกงานถ้าเข้าสู่ภาคโลกาภิวัฒน์ ไม่ได้ก็เข้าสู่ภาคเศรษฐกิจพอเพียง หาทักษะเพิ่มเรียนคอมพิวเตอร์ ขยันหนักเอาเบาสู้อย่าไปแคร์ปริญญา อย่าทิ้งความใฝ่ฝันของตัวเอง อย่าคิดว่าตนเองล้มเหลว เปลี่ยนวิธีคิดของตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตัวเอง พูด ง่ายๆก็คือ จงมีชีวิตอยู่ด้วยความกล้าในแต่ละวัน ตื่นขึ้นด้วยความมุ่งมั่น อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความกลัวหรือความหวาดวิตกกังวล เหมือนล่องเรือไปก็ต้องเจอคลื่นบ้าง เข้าใจโลกาภิวัฒน์เข้าใจคุณสมบัติของโลกาภิวัฒน์ ถ้าเราหนีคลื่นโลกาภิวัฒน์ไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้ว่าทำอย่างไรเรือจะไม่ล่ม


    หลัง ค.ศ. 2012 จะเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมใหม่ เทคโนโลยีจะทำให้ชีวิตคนเราเปลี่ยนไปหมด การเปลี่ยนแปลงจะมาเร็วและเป็นไปอย่างมโหฬาร ต่อไป ทีวี Internet ก็ต้องเป็นอันเดียวกัน การสื่อสารจะInteractive ทุกคนจะมีประจำบ้านเหมือนมีทีวีสีทุกบ้าน พัฒนาการของหุ่นยนต์คงมาช่วยงานบ้าน ดูแลคนป่วยหรือสัตว์เลี้ยง รถยนต์ก็จะเปลี่ยนเป็นไฮปริทมากขึ้น พัฒนาการทางพันธุวิศวกรรมจะทำให้การรักษาเปลี่ยนแปลงไป ระดับจิตสำนึกใหม่ก็จะเกิด คนทั่วไปจะเข้าใจศาสนาพุทธมากขึ้น


    2.การบุกของทุนข้ามชาติในธุรกิจค้าปลีก

    กลุ่มทุนข้ามชาติบุกไทยมาตั้งนานแล้ว ปรากฏการณ์เช่นนี้ก็เกิดที่ประเทศญี่ปุ่นหลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เพราะการปฏิวัติเทคโนโลยี เกิด Retail Revolution การปฏิวัติการค้าปลีก เกิดการปฏิวัติของการทำลายราคาพอเกิดเศรษฐกิจตกต่ำผู้คนขาดกำลังเงินก็อยาก ได้ของราคาถูก วิธีที่จะได้ของถูกคือการค้าปลีกที่ไม่ผ่านคนกลาง โลกาภิวัฒน์ที่เข้ามาทำลายโครงสร้างค้าปลีกเมืองไทยคือตัดพ่อค้าคนกลาง ในแง่นี้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ แต่อีกปัญหาหนึ่งคือผู้ประกอบการที่อ่อนแอก็ถูกทำลายถูดคัดออกจากการแข่งขัน แบบทุนนิยม การค้าปลีกแบบดิสเคาร์สโตร์เป็นกระแสหลักเลย มันทำได้เพราะบาร์โค้ดการบริหารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาคุมสินค้าและ ทำให้ต้นทุนถูกลง ข้อเสียคือทำให้ร้านค้าคนไทยรายเล็กน้อยสู้ไม่ได้และต้องแพ้ไปรวมไปถึงห้าง สรรพสินค้าของคนไทยด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมและแก้ไขปรับปรุง นโยบายต้องชัดเจนว่าจะคุ้มครองธุรกิจ SME ไหม คุณจะยอมได้แค่ไหน แต่รัฐบาลเราไม่ทำ จึงเกิดสภาพบางพื้นที่มีห้างโลตัสเปิดถึง 3 ห้าง ในรัศมีเพียง 10 กม.เท่านั้น ญี่ปุ่นใช้แบบคุมเวลาแต่ภายหลังก็ผ่อนคลายข้อบังคับขึ้น แล้วอีกด้านหนึ่งทำลายกันเอง แข่งขันกันเอง เราอย่ามองแบบชาตินิยม คือมองให้เข้าใจว่าเป็นองค์ประกอบของโลกาภิวัฒน์ หากมองในแง่เศรษฐศาสตร์ก็ดูว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์ไหม มันModern life style มันทำให้ต้นทุนถูกลง และคนก็จะมีงานทำเพิ่มขึ้น


    ธนาคารในห้างสรรพสินค้าก็แสดงออกซึ่งชีวิตคนเรามีเวลาน้อยลง แนวโน้มคนไม่ไปวัดแต่ไปห้างสรรพสินค้าแทน ห้างสรรพสินค้าไทยเป็นที่มาของธุรกรรมทุกประเภท ล้างรถก็ที่นั่น ตัดผมก็ที่นั่น ชีวิตนอกจากครอบครัวแล้วก็อยู่ในห้างสรรพสินค้าหมด ธนาคารก็เป็นส่วนหนึ่ง ธนาคารแข่งขันกันสูงจึงเพิ่มการบริการให้ทั่วถึงขึ้น ธนาคารจะเอาตัวรอด ธนาคารก็ต้องเข้าไปหาลูกค้า ไม่ใช่ให้ลูกค้ามาหาธนาคารแบบเดิม ผลของการเอ็นจิเนียริ่งและการแข่งขันในระดับโลกบังคับให้ทุกอย่างต้อง เปลี่ยนแปลง คุณไม่สามารถใช้ความเคยชินแบบดั้งเดิมมาทำธุรกิจอีกต่อไปแล้ว มันเป็นการทำลายจริงแต่เป็นการทำลายแบบสร้างสรรค์ของทุนนิยม ทำให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจ คนที่ปรับตัวเท่านั้นที่จะรอด


    จุดเปลี่ยนของประเทศไทยที่แท้จริงอยู่ที่ค.ศ.1985 ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า เงินทุนต่างชาติโดยตรงแห่เข้ามาลงทุนในไทยอย่างมโหฬาร ทำให้สถานะของเศรษฐกิจไทยในระบบโลกหรือเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนเป็นขั้นแคนดิเนต ในกลุ่มนิกส์ เพียงแต่น่าเสียดายที่การลงทุนโดยตรงมากระตุ้นเศรษฐกิจจริงแต่มันทำให้เกิด เศรษฐกิจฟองสบู่โดยเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ.1988 พอเราเปลี่ยนสถานภาพแล้วบรรษัทข้ามชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจไทย อย่างเป็นบทบาทชี้นำและชี้ขาด พอเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเราเพลี่ยงพล้ำทำให้อำนาจต่อรองของบรรษัทข้ามชาติในไทย สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฎว่าเงินทุนต่างชาติ 1 ใน 3 เป็นเงินจากเอเชียด้วยกัน แยกเป็นทุนญี่ปุ่นซึ่งเมื่อก่อนเคยร่วมทุนกับไทย เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็หันมาซื้อกลับถึงซื้อมาแล้วก็ยังมีความสัมพันธ์อยู่ โดยให้อดีตผู้ถือหุ้นไทยยังคงเป็นผู้บริหารอยู่ สิงคโปร์เป็นกลุ่มนิกส์ สถานะในระบบทุนนิยมโลกเขาสูงกว่าเรามาตั้งนานแล้ว สิงคโปร์เป็นเกาะเขาเกิดปัญหาช่วงไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศเขารู้สึกว่าประเทศของเขาอันตราย ด้านหนึ่งความมั่งคั่งที่เขาสะสมไว้จึงซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ค่อน ข้างเปิด เช่นไปลงทุนในเซี่ยงไฮ้และที่สำคัญการมาลงทุนในประเทศไทยเพราะมาเลเซียเขามี ปัญหาทางชาติพันธุ์ สิงคโปร์เป็นชาติพ่อค้าที่ฉลาดแต่ Fair เขาไม่โกงเราหรอก ด้าน หนึ่งเป็นเหมือนกึ่งลี้ภัย สมมุติเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงหรือเกิดกลียุคในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ก็ไม่ค่อยปลอดภัย เขาถึงขยายบทบาทมาที่เมืองไทยเพื่อความมั่นคงของประเทศเขาเอง ไต้หวันก็ เช่นกันที่มาเพราะจีนแผ่นดินใหญ่มีนโยบายชัดเจนมากจะต้องรวมไต้หวันให้ได้ ฮ่องกงก็สูญเสียคุณสมบัติประเทศที่มีความเป็นอิสระไปแล้วหลังจากที่คืนเกาะ ฮ่องกงให้ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1997 ดังนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจที่สุด อีกด้านหนึ่งเป็นแหล่งของอาชญากรข้ามชาติ


    ผมเป็นคนรักชาติแต่ไม่ใช่คนคลั่งชาติ พยายามมองทุนต่างชาติอย่างเข้าใจ สิ่งที่ผมนำเสนอมาตลอดในงานเขียนทางเศรษฐศาสตร์ของผมในเรื่อง "ทฤษฎีบรรษัทข้ามชาติกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย" ซึ่งเป็นงานเขียนเล่มขนาดใหญ่ เราต้องใช้เขาให้เป็น ต้องใช้ทุนข้ามชาติให้เป็น อย่าตกเป็นเบี้ยล่างของเขาคือถ้าเราโง่เราก็เสียเปรียบ ถ้าเราฉลาดเราได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากบรรษัทข้ามชาติเพราะเขาก็ต้องพึ่ง เรา ประเทศไทยเราเป็นแผ่นดินทอง เรามีภูมิรัฐศาสตร์ที่ดี สิงคโปร์อยากมาวางรากฐานธุรกิจในไทย กลุ่มทุนไต้หวันและญี่ปุ่นก็เช่นกัน


    ปัญหาที่หนักใจที่สุดคือ ประเทศไทยควร "เว้นวรรค" WTO "เว้นวรรค" การเปิดสู่โลกาภิวัฒน์มากเกินไปในธุรกรรม เงินตราและการบริการ แต่ควรเปิดเสรีเรื่องการส่งสินค้า การ "เว้นวรรค" ต้องไม่ใช่การรัฐประหาร คำ ตอบของผมต่างกับคนอื่น ไม่ใช่ชาตินิยมต่อต้านต่างชาติแต่เพราะสมรรถนะในการแข่งขันของเราตกต่ำไป อย่างน่าใจหาย จากการสำรวจอุตสาหกรรม 17 ประเทศเราแย่ลง ดังนั้นเราควร Slow Down ในการเปิดเสรีลง แต่ไม่จำเป็นต้องปิดประกาศ การ "เว้นวรรค" ไม่ใช่การปิดประเทศเหมือนวิ่งมาราธอน ช่วงนี้คุณวิ่งๆไปแล้วคุณล้มแน่ คุณก็เดินไป พอกำลังอยู่ตัวแล้วคุณก็วิ่งต่อ



    3. หนึ่งประเทศสองระบบ

    รัฐบาลควรแบ่งเศรษฐกิจออกเป็น 2 ระบบ ระบบที่ 1 คือ เศรษฐกิจพอเพียง คือ เศรษฐกิจที่ไม่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันแบบโลกาภิวัฒน์มากนัก เพื่อฟื้นฟูพลังทางสังคม หรือทุนสังคม ทำให้คนส่วนใหญ่มีงานทำไม่ว่างงานไม่กลายเป็นปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรหรือยาบ้า ระบบที่ 2 คือต้องส่งเสริมภาคทุนนิยมสมัยใหม่ที่สามารถแข่งขันกับโลกาภิวัฒน์ได้ ทำให้ควบคู่กันไป ไม่ใช่เอาแต่เศรษฐกิจพอเพียงแล้วปฏิเสธภาคทุนนิยมแบบโลกาภิวัฒน์ หรือเอาแต่ภาคทุนนิยมสมัยใหม่แบบโลกาภิวัฒน์แล้วไม่สนใจเศรษฐกิจพอเพียง ต้องสมดุลและมีนโยบายที่ชัดเจน ที่ผ่านมาเราเสียสมดุลไป


    ภาคการเงินและภาคส่งออกก็ดีก็เกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์ ก็บริหารสไตล์โลกาภิวัฒน์ศึกษาจากสิงคโปร์หรือจากประเทศทีเก่งๆ ภาคเศรษฐกิจพอเพียงเราก็ทำแบบภูมิปัญญาชาวบ้านกัน คือหนึ่งประเทศสองระบบ นี่คือ แนวทางที่เห็นแล้วจะแก้ปัญหาได้ แก้ปัญหาความขัดแย้งภายในชาติได้ มิฉะนั้นประเทศก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือคนที่อยู่กับโลกาภิวัฒน์ได้กับคนที่อยู่กับโลกาภิวัฒน์ไม่ได้ก็จะกลาย เป็นความเกลียดชังแล้วประเทศก็จะแตกอาจลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองได้


    ระบบที่เราใช้บริหารเศรษฐกิจจนกระทั่งถึงปัจจุบันมีอายุ 40 ปีแล้ว คือถ้าเป็นรถยนต์ขับ 8 ปีก็จะเก่า ระบบเศรษฐกิจ 40 ปีมันก็เก่า ช่วงนี้เราต้องเปลี่ยนระบบใหม่ ระบบใหม่มันเกิดขึ้นช้ามากเราเพิ่งเริ่มปฎิรูปการเมือง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจก็เพิ่งเริ่มแต่เริ่มแบบไฟจี้ก้นแบบวัวหายแล้วล้อมคอก ยังไม่มีใครมีวิสัยทัศน์ขึ้นมาล้างระบบแล้วทำธุรกิจกันใหม่ เรามีความพยายามเช่นธรรมาภิบาลหรือบรรษัทภิบาล เพื่อการบริหารธุรกิจให้โปร่งใส ไม่คอรัปชั่น มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เสริมบริการเหล่านี้เราต้องทำ หากไม่ทำแล้วคงความสัมพันธ์ธุรกิจแบบดั้งเดิมคุณล่มแน่ๆ ระบบแบบนี้เหมือนรถยนต์ ขับไปกลางทางรถมันต้องจอดต้องเปลี่ยนระบบใหม่และต้องทำควบคู่ไปกับการปฏิรูป ทางการเมืองด้วย ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการทำธุรกิจ ปฏิรูปการใช้ชีวิต เราต้องสมถะเราต้องทำงานให้หนักแบบคนญี่ปุ่นหรือเถ้าแก่คนจีนสมัยก่อน รุ่นปู่ของเรา ทำงานให้หนักแบบสมัยก่อนแต่กระหายความรู้แบบคนสมัยใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกาภิวัฒน์ได้ ถ้า เรามีความมุ่งมั่นแบบคนญี่ปุ่นในการกอบกู้ประเทศชาติ เลิกทะเลาะกัน เลิกคอรัปชั่น สร้างชาติใช้เวลา 15 ปี คาดว่าปี ค.ศ.2012 ก็จะฟื้นและฟื้นอย่างยั่งยืน แต่ถ้าเรายังทะเลาะกันแบบนี้แล้วใช้ชีวิตแบบทำลายตัวเองแบบนี้อีก 20 ปีก็ยังไม่ฟื้น เศรษฐกิจล่มสลายแบบนี้ต้องพบบ้าง การพบแบบนี้จะทำให้ทุนนิยมของเราเข้มแข็งขึ้น จะทำให้เรามีคุณธรรมมากขึ้น จริยธรรมมากขึ้น โปร่งใส และมีความเป็นศิวิไลซ์ขึ้น ทุกคนต้อง เปลี่ยนแปลงเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับคนอื่นมองโลกด้วยสายตาใหม่ มองชีวิตด้วยสายตาใหม่ สายตาที่สร้างสรรค์มีความอดกลั้นขันติ ซื่อตรงต่อกันและกันจะช่วยให้ประเทศนี้รอดแน่นอน


    4.ภาครัฐและประชาชน

    รัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลหลายๆชุดที่ผ่านมา มองเศรษฐกิจฟองสบู่ไม่แตก การแก้ปัญหาคือแก้แบบเฉพาะหน้า แค่มองว่าเป็นปัญหาสถาบันการเงินคือ เงินไม่พอเป็นหนี้มาก ก็ให้ต่างชาติเข้ามาซื้อ มองแบบแคบไป ถ้ามองระยะยาวจะเห็นว่า 40 ปีทีผ่านมาไม่มีทางต้องสถาปนาการนำในเชิงคุณธรรม เอาหลักการนี้ไปแก้ปัญหาต่างๆ สร้างผู้นำที่มีคุณธรรมเข้ามาในทุกวงการแล้วระดมความคิดระดมกำลังใจเข้ามาก อบกู้ประเทศนี้ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม-ศีลธรรม ปัจจุบันเราไม่ใช่ล่มสลายแค่เศรษฐกิจเท่านั้น แต่เราล่มสลายทุกเรื่อง อย่าไปมองประเทศที่พัฒนาแล้ว มองประเทศที่ทุกข์กว่าเรา อินโดนีเซียก็หนักกว่าเรา ประเทศสหภาพโซเวียตช่วงแตกเป็นรัฐเล็กๆก็หนักกว่าเรา ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งหนักกว่านี้ คนไทยจะได้ทุกข์น้อยลง เลิกบ่นซะทีหันมาทำงานกันให้มากขึ้น


    รัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้ง หากพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลปัญหาจะหนักมาก หนักกว่าช่วงคุณชวนจัดตั้งรัฐบาลหลังพลเอกชวลิตอีก ลักษณะเฉพาะของพรรคไทยรักไทยมีหลายก๊กคล้ายพรรคสามัคคีธรรมในอดีต ซึ่งทำให้เสียพลังงานกับเรื่องไร้สาระ คุณทักษิณเองก็มีบารมีไม่เทียบเท่าคุณอานันท์ ปันยารชุน หรือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต้องรีบสถาปนาการนำเชิงคุณธรรม เพราะเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้นโยบายการคลังมาถึงจุดจำกัดหมดแล้ว ทำไม่ได้มาก ดังนั้นไม่ว่าใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็ลำบาก ที่พอทำได้คือกำลังใจและความน่าเชื่อถือเท่านั้นเองที่ทำให้ต่างชาติให้การ สนับสนุน สังคมไทยยังต้องระวังความแตกแยกในสังคมไทย ระวังลัทธิคลั่งชาติ ระวังการรัฐประหาร


    ข้อเสนอ "การพักชำระหนี้ 10 ปี" ของดร.เสกสรร ค์ประะเสริฐกุล ก็ยากไปหน่อยถ้าเสนอขนาดนั้น บางกลุ่มพวกที่ติดต่อกับโลกาภิวัฒน์ก็จะรับไม่ได้ แต่ดร.เสกสรร ค์ พูดถูกในแง่ที่ว่าเราต้องพัก 10 ปี พักไม่ใช่พักชำระหนี้ พักแบบสะสมกำลัง


    การเคลื่อนไหวของแนวร่วมกู้ชาติกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วยคน 3 ประเภท ประเภทที่ 1 คือนายทุนชาติ ธุรกิจไทยที่เสียผลประโยชน์อย่างรุนแรง ธุรกิจล้มละลายหรือเป็นลูกหนี้ก็แสดงออกมาเป็นชาตินิยม ประเภทที่ 2 คือชาวบ้านคนยากคนจนที่ไม่มีอำนาจต่อรอง ประเภทที่ 3 คือปัญญาชนหัวก้าวหน้า ปกติพันธมิตรระหว่างนายทุนชาติกับปัญญาชนหัวก้าวหน้ามักไปกันไม่ได้อย่างมาก จึงได้แต่เคลื่อนไหวผ่านสื่อแต่ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลง นายทุนชาติเองเคลื่อนไหวเพราะตัวเองสูญเสียประโยชน์ ไม่ได้ทำเพราะตัวเองมีอุดมการณ์จริง ทำไปเพื่ออำนาจต่อรอง ในบางกรณีเหมือนคุณไม่มีเงินชำระหนี้เขาแล้วจะเบี้ยว คุณอ้างเหตุผลรักชาติจึงฟังไม่ค่อยขึ้น


    โอกาสที่ไทยจะมีกลุ่มลุกขึ้นสู้แบบ "ซาปาติสต้า" ในเม็กซิโกมีน้อยมากเพราะเลยจุดนั้นมาแล้ว ผมเห็นเป็นอภิมหาโกลาหลมากกว่า เช่น กรณีน้ำท่วมสงขลา คนก็ขายของโก่งราคาทั้งๆที่เป็นคนไทยด้วยกัน ต่างคนจะเอาตัวรอดแสดงว่าเราขาดความสามารถในการควบคุมทางสังคมแล้ว กรณีพม่าแรงงานเถื่อน ยังไม่เห็นขบวนการกู้ชาติและขบวนการปฏิวัติที่ชัดเจน ผมเห็นแต่มิคสัญญีและกลียุค อภิมหาโกลาหล เพราะทางมโนธรรมเรามีปัญหาทั้งในวงการสงฆ์เราก็มีปัญหา เราขาดศรัทธาในความดีแล้วก็เป็นแบบนี้ ผลพวงของการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุดคือความเชื่อมั่นในความดีงาม มันหมดไปกับสังคมนี้มาก ความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณ ซึ่งน่ากลัวกว่าการล้มละลายทางตัวเงินอีก มันเป็นการล้มละลายทางบุคลิกภาพ ล้มละลายทางวัฒนธรรม


    รัฐบาลใหม่ควรเสนอนโยบายชัดเจนที่ทุ่มทรัพยากรมาภาคสังคมภาคประชาชนมากขึ้น ให้เป็นเศรษฐกิจพอเพียง หันมาส่งเสริมอย่างจริงจังทำให้เป็นระบบโดยผ่านเศรษฐกิจชุมชนและ อาศัยInternet ช่วย ส่งเสริมค้าขายกันในชุมชนและชายแดนโดยไม่ผ่านระบบเงินตราส่งเสริมการใช้ แรงงานแลกกัน ให้ภาคเกษตรเหลือก็ขาย ไม่เหลือก็กินกันเองในชุมชน ทำให้คนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ได้ ประเทศเราก็จะรอด


    สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกคือเศรษฐกิจฟองสบู่อเมริกาจะแตกในปี ค.ศ. 2001 - 2003 ต้องแตกแน่นอน ช่วงนี้ก็ Slow-Downลงแล้ว อัตราดอกเบี้ยก็ขยับสูงขึ้นตลอด เขตเศรษฐกิจอื่นๆ ก็ไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะฉะนั้น การที่เราจะขยายตัวก็เป็นไปได้ยากเพราะเราเลยจุดนั้นมาแล้ว เพียงแต่พัฒนาแบบยั่งยืนได้ก็ถือว่าบุญแล้ว ภาคส่งออกก็ยังพอไปได้แต่ก็มีคู่แข่งคือจีนและการเข้า WTO ของจีน เรายังมีศักยภาพในการผลิตอาหาร ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ทั้งหมดนี้เป็นตัวค้ำเมืองไทยเอาไว้ ภาคเกษตรเน้นแปรรูปเป็นครัวของโลกให้ได้ ภาคอุตสาหกรรมต้องพัฒนาคุณภาพและทักษะเราต้องแก้ปัญหาแรงงานเถื่อน ภาคธนาคารต้องทำใจว่าบางส่วนจะเป็นของต่างชาติ ภาคสาธารณสุข ต่อไปคนจะมีอายุยืนขึ้น คนจะสนใจสุขภาพและร่างกายแข็งแรง เรื่องสมุนไพรจะเป็นจุดขายของเมืองไทย เรา อาจตั้งสถาบันฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวดูแลชีวิตคนชราให้มีความสุขในเชิงจิต วิญญาณ ถ้าเราเอาศาสตร์บูรพาของจีน อินเดียและไทยมารวมกันแล้วเป็นจุดขายเน้นสมาธิ เราก็จะขายวัฒนธรรมเราได้ ต่อไปมวยไทยก็เป็นมวยไทยโบราณไม่ใช่มวยไทยแบบนี้ โอกาสของเรายังมีอยู่แต่ความยากลำบากและอภิมหาโกลาหลก็มีอยู่เช่นกัน


    (จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)



    http://www.dragon-press.com/content-1.%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-4-5646-83834-1.html
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    2010/Feb/25

    สหภาพโซเวียดล่มสลาย..........
    วันนี้มาเปิดหัวเอ็นทรี่แปลกๆหน่อยละกัน
    ก่อนอื่นเลยสหภาพโซเวียตเกิดมาได้ยังไง
    สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัส เซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

    ส่วนสาเหตุที่ล่มสลายนั้นก็ประมาณว่าช่วงคศ.1960 ระบบทุนนิยมโดยรัฐดังกล่าวไม่สามารถผลิตส่วนเกินได้มากเพียงพอที่จะ รักษาโครงสร้างความสัมพันธ์ทางชนชั้นแบบทุนนิยมโดยรัฐได้ ส่วนเกินที่ผลิตได้ไม่เพียงพอที่ จะธำรงความสำเร็จทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผสมกับปัญหาผลิตภาพในกระบวนการผลิตที่ต่ำมาก ส่วน เกินไม่เพียงพอสำหรับการกระจายให้ แก่ชนชั้นนายทุนรัฐและชนชั้นรองเพื่อรักษาสถานะทางการเมืองที่เปี่ยมอำนาจ และไม่สามารถรักษาความเข้มแข็งของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ได้ นอก จากนั้น ส่วนเกินจากการผลิตยังน้อยเกินไปสำหรับการสะสมทุนในการผลิต ไม่สามารถรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลิตภาพ ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีพอ

    หรือสรุปง่ายๆก็คือ ช่วงนั้นเศรษฐกิจบัตซบมาก แล้วตาลุงกอร์บาชอพ ก็เสนอโยบายให้เสรีภาพแก่ประชาชน แล้วต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรค คอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือก ตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพ โซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
    สหภาพโซเวียต ล่มสลายเมื่อปี 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็น Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
    [​IMG]

    แผนที่สหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2532 (คลิกที่ลิงคค์เพื่อดูรายละเอียดประเทศแต่ละประเทศละกันเน้อ)


    1. ประเทศเอสโตเนีย
    2. ประเทศลัตเวีย
    3. ประเทศลิทัวเนีย
    4. ประเทศเบลารุส
    5. ประเทศยูเครน
    6. ประเทศรัสเซีย
    7. ประเทศอาร์เมเนีย
    8. ประเทศอาเซอร์ไบจาน
    9. ประเทศคาซัคสถาน
    10. ประเทศคีร์กีซสถาน
    11. ประเทศมอลโดวา
    12. ประเทศทาจิกิสถาน
    13. ประเทศเติร์กเมนิสถาน
    14. ประเทศอุซเบกิสถาน
    15. ประเทศจอร์เจีย
    16. ประเทศมองโกเลีย
    17. ประเทศโปแลนด์

    แหล่งที่มา
    เครดิต วิกิพีเดีย
    กับบทความ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต: ความล้มเหลวของคอมมิวนิสต์ ???


    ที่มา http://laudamus.exteen.com/20100225/entry
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าระบบทุนนิยมโลกล่มสลาย

    ถ้ามีการสร้างภาพยนต์เรื่อง ทุนนิยมโลกล่มสลาย (The End of Capitalism) บทในภาพยนต์เรื่องนี้ จะเริ่มต้นด้วย

    ฉาก ที่ 1 : สถาบันการเงินตั่งแต่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย ล้ม ผู้ที่ฝากเงินในสถาบันการเงินเหล่านี้หมดตัว

    เงินออมที่สะสมไว้ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาเองหรือได้รับมรดกมาหายไป หมด เหลือแต่สมุดฝาก ซึ่งไม่มีความหมาย เพราะไปถอนเงินไม่ได้

    อย่างดีก็ได้แค่ที่รัฐบาลค้ำประกัน ถ้าเป็นกรณีของประเทศไทย ก็จะเหลือเพียงแค่คนละ 1 ล้านต่อหนึ่งธนาคาร

    ฉากที่ 2: ตลาดหุ้นพังพินาศ ราคาหุ้นตกต่ำ บริษัทที่จดทะเบียนขาดทุน ปิดกิจการ ใบหุ้นคือ เศษกระดาษ คนที่มีหุ้นที่ซื้อเก็บเพื่อ

    ลงทุนไม่ว่าจะซื้อเองหรือได้รับมรดก หมดตัว

    ฉากที่ 3: ตลาดตราสารหนี้ พังพินาศ หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทและสถาบันการเงิน ที่ได้ปิดกิจการตามที่แสดงในฉากที่ 1

    และ 2 ไม่สามารถได้ผลตอบแทนหรือไถ่ถอนได้ ตราสารเหล่านี้ จึงเป็นเศษกระดาษ เหมือนกับใบหุ้น

    ฉากที่ 4: คนทั้งหมดที่เก็บสะสมความมั่งคั่งไว้ทั้งฝากธนาคาร ซื้อหุ้น ซื้อตราสารหนี้ แถบไม่มีอะไรเหลือ ความเหลื่อมล้าเรื่อง

    การกระจายรายได้ระหว่างประชาชนหมดไป คือ จนลงถ้วนหน้า นอกจากจนอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ยังตกงานเท่าเทียมกันใน

    เกือบทุกอาชีพ (ยกเว้นสัปเหร่อ หรือคนงานมูลนิธิร่วมกตัญญูหรือปอเต็งตึ้ง เนื่องจากมีคนฆ่าตัวตายเยอะ รวมทั้งมีการปล้นฆ่ากันมากขึ้น

    เพื่อหาเงินประทังชีวิต) ราคาสินค้าลดลงต่ำสุดอย่างที่เราไม่เคยพบเห็นมาก่อน เช่น ราคานำมันเบนซินจะเหลือลิตรละ 4-5 บาท ราคามือถือ

    IPhone จะเหลือไม่กี่พันบาท ห้างสรรพสินค้าจะ all day sale ไม่แต่เฉพาะ midnight หรือ midday sale แต่ก็จะไม่มีใครซื้อ (นอกจาก oat)

    จะ ไม่มีใครไปเดินที่ห้างสรรพสินค้า คนจะซื้อเฉพาะของกินหรือ เพราะไม่มีเงินตกงาน ที่สุดทุกบริษัทก็จะต้องปิดตัว เพราะขายต่ำกว่าราคาต้นทุนไม่ได้

    ฉาก ที่ 5: รัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้ เพราะธุรกิจเจ๊งหมด คนไม่มีรายได้ การค้าหดตัว เมื่อรัฐบาลไม่มีรายได้ ก็ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ

    หรือ ลงทุนทำอะไร รัฐบาลจะออกพันธบัตรมาขอกู้เงินไม่ว่าจะกู้จากในประเทศหรือต่างประเทศ ก็จะไม่มีใครมาให้กู้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลทั่วโลก

    คงต้องไปกู้จากแหล่งเดียวคือ ธนาคารชาติของตน ซึ่งธนาคารชาติคงไม่มีทางเลือกนอกจากจะพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้ ก็พอประทังไปได้ชั่วขณะ

    แต่ถ้าพิมพ์ออกมามาก ๆ ๆๆๆๆ เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจทุกย่อมหญ้า ท้ายสุดก็จะเกิด hyperinflation เศรษฐกิจอาจจะพงกหัวขึ้นมา

    จากนั้นก็จะฟุบกลับเหมือนเดิม

    ฉาก ที่ 6 จบลง ตรงที่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่ มานั่งสุ่มหัวว่า จะสร้างระบบทุนนิยมของโลกขึ้นมาใหม่

    อย่างไร เพื่อช่วยชีวิตของคนทั้งโลก ให้พ้นจากความหายะนะของชีวิตในระบบทุนนิยม ที่ความมั่งคั่งที่สะสมมา หายวับไปกับตา

    (หนังเรื่องนี้ ระบุว่ามีภาค 2 , 3 ต่อ โปรดติดตามชม)

    หมายเหตุ บทหนังเรื่องนี้จำลองมาจากของจริงในช่วงเกิด great depression 1930-2940 บวกกับบางส่วนของวิกฤต subprime

    ที่กำลังเกิดขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐบาลและธนาคารชาติของประเทศต่างๆ ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินและพยุงตลาดหุ้น

    วันที่เขียน : 2009-01-01 16:30:06

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทุนนิยมล่มคว่ำปรัชญาโลกตะวันตกKBANKหมุนเข็มทิศบริการองค์ความรู้รอบด้าน โดย ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์
    [การเงิน - การลงทุน] [27 พฤศจิกายน 2551
    ข้ามพ้นทศวรรษ โลกเศรษฐกิจผลัดกันล่ม "บัณฑูร ล่ำซำ" ซีอีโอ "ค่ายกสิกรไทย" คว่ำปรัชญาโลกตะวันตก พิสูจน์บนโลกเศรษฐกิจไม่มีใครเก่งจริง ผลัดกันโง่ เพราะไม่ทันระวังตัว เชื่อเศรษฐกิจไทยรอดตัวไม่ล้มระเนระนาด แม้ฝั่งส่งออกยังมีเรื่องให้น่าคิด การเมืองต้องการการแก้ปัญหาตามวิถีคนไทย ขณะที่สถาบันการเงินในประเทศโชคดี เพราะมีบทเรียนจาก "วิกฤตต้มยำกุ้ง" แบงก์ชาติวางกฎเหล็กคุมเข้ม ด้านเคแบงก์หมุนเข็มทิศ พลิกโฉมฐานข้อมูลเป็นองค์ความรู้ตรงถึงบ้าน ก่อนต่อยอดด้วย บทบาทที่ปรึกษาครบครัน ต่อกรสงครามให้บริการธุรกรรมการเงินที่เข้มข้น จนไม่มีความแตกต่าง....

    ทุกๆปี ซีอีโอ ธนาคารกสิกรไทย "บัณฑูร ล่ำซำ" มักจะนัดหมาย พบปะ สนทนาธุรกิจกับบรรดาสื่ออย่างเป็นกันเอง เพียงแต่ในปีนี้ มีโจทย์หนักที่สถาบันการเงินในประเทศ จะต้องหันมานั่งกุมขมับ หลังจาก ระบบทุนนิยมโลกตะวันตกพบกับความจริงอันแสนเจ็บปวด

    " เวลานี้ทุกคนกำลังจดจ่อกับภาวะเศรษฐกิจ แต่สำหรับสถาบันการเงินมีความน่าตื่นเต้นอยู่ 2 โอกาส คือ ธุรกิจเจ๊ง กับ มีของใหม่น่าสนใจ"

    บัณฑูร โฟกัสไปในช่วงเวลาที่โลกตะวันตกเกิดวิกฤต และออกจะใหญ่โตกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ชนิดเทียบกันไม่ได้เลย

    ที่น่าติดตามก็คือ โลกฝั่งตะวันออก และตะวันตกกำลังผลัดกันล้ม 10 ปีก่อน เอเชียล้ม 10 ปีให้หลัง ก็ถึงกาลอวสานของโลกทุนนิยม

    " จากตุ้มยำกุ้ง มาถึงวิกฤตแฮมเบเกอร์ มีปรัชญาการเรียนรู้ จากคลื่นที่เข้ามากระทบ เกิดบรรยากาศ ที่ทำให้นักลงทุนเซ็ง ไม่ว่ากองทุน หรือ ที่ลงทุนในตลาดหุ้น"

    โลกที่แตกต่างกันสุดขั้ว ทำให้บัณฑูร มองว่า ฝรั่งกับเอเชียมีการแก้ปัญหาที่ตรงข้ามกัน ฝรั่งเจ๊งเร็ว ก็คนปลดคนงานเร็ว ถึงกับเชื่อว่าคริสต์มาสปีนี้จะกลายเป็นคืนอันโศกเศร้าของอีกซีกโลก ขณะเดียวกัน การเลิกจ้างก็คงยังไม่จบลงง่ายๆ

    " ไทยตายช้า ก็โอดครวญกันไปก่อน ฝรั่งต่างจากไทยคือ ตายเร็วดี ตื่นเช้ามา ก็แทงบัญชีเป็นศูนย์แล้ว"

    บัณฑูร ยกตัวอย่าง การล้มหน้าคว่ำของอุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกา หรือ ดีทรอยต์ที่หลงเหลือแต่เพียงตำนาน และเร็วๆนี้ 3 ค่ายรถบิ๊กทรี จีเอ็ม ฟอร์ด และไครสเลอร์ก็ตกอยู่ในฐานะเสือลำบาก

    สหรัฐอเมริกา เลื่อนขึ้นมาเป็นผู้นำโลก นับจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาก็จริง แต่ก็มีโจทย์ให้ต้องขบคิดในโลกการแข่งขันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่า ขณะเดียวกันนวัตกรรมผลิตไม่ทันความต้องการของตลาด ที่สุดอุตสาหกรรมรถยนต์ก็พ่ายแพ้ค่ายรถญี่ปุ่น และเยอรมัน

    ความยิ่งใหญ่ของ 3 ค่ายรถอเมริกา จึงเปลี่ยนจากภาพเศรษฐกิจล่มสลายมาเป็นประเด็นการเมือง นั่นก็คือ ในช่วงหลังอเมริกาเองก็ไม่ยึดปรัชญาเดิมที่เคยสั่งสอนคนอื่น ให้ทำตามคือ ใครจะล้มก็ปล่อยให้ล้มไป กลายเป็นว่ารายใหญ่ล้มไม่ได้ รัฐบาลกลางต้องนำภาษีประชาชนมาอุด

    " คงรู้ผลสิ้นปีนี้ เพราะบริษัทพวกนี้เงินจะหมดแล้ว"

    บัณฑูร บรรยายว่า ....นี่คือสิ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีใครเก่งจริง แต่ผลัดกันโง่ เพราะไม่ระวังตัว
    อย่างไรก็ตามรอบนี้ เศรษฐกิจในประเทศอยู่บนโลกใบเดียวกัน จึงเลี่ยงการค้าขายที่จะส่งผลกระทบไปไม่พ้น แต่เชื่อว่าคงไม่ล้มระเนระนาด เพราะไม่มีสถานการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่จากการกู้เงินไปเก็งกำไรใน อสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น

    ขณะที่ทางการคือ แบงก์ชาติก็มีกฎเกณฑ์ควบคุมเข้มงวดกับสถาบันการเงิน การปล่อยสินเชื่อจึงทำไม่ได้ง่ายเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เรียนรู้บทเรียนนี้ ที่ผ่านมาจึงไม่ยอมปล่อยกู้เกินตัว ที่มีหนี้เสียก็เป็นไปตามวัฎจักร ไม่ได้เกิดจากฟองสบู่

    บัณฑูร ตอบคำถามเกี่ยวกับผลกระทบในประเทศ คงไม่เกิดสึนามิทางเศรษฐกิจ แม้เศรษฐกิจอเมริกา และยุโรปจะล่มสลายรุนแรง แต่ที่จะมีผลโดยตรงก็คือ กำลังซื้อในประเทศเหล่านี้จะถดถอยลงไป หลายประเทศจึงต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

    ที่น่าคิดในสายตาบัณฑูร จากเหตุการณ์นี้ก็คือ ภาคส่งออก ที่อาจจะต้องปรับตัว แต่ก็มีการประเมินกันว่า ธุรกิจที่ผลิตสินค้าจำเป็น ประเภทอาหารกระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป ราคาไม่สูง น่าจะทำรายได้ดีในชั่วโมงวิกฤต
    ขณะที่หลายธุรกิจที่เคยพึ่งพาตลาดส่งออกใน อเมริกา และยุโรป มาตลอด ต้องมองหาตลาดใหม่ เช่นตะวันออกกลางสักพักใหญ่ ขณะที่ปัญหาการเมืองเชื่อว่า การเมืองไทยจะหาทางออกให้คลี่คลายได้ทุกครั้ง ตามแบบไทยๆ ถึงแม้สิ่งแรกที่หายไปจะเป็นเม็ดเงินในตลาดหุ้น แต่เงินลงทุนตรงจากต่างประเทศก็ยังไม่หายไปไหน อาจชะงักงันบ้าง

    " ผู้จัดการกองทุนหลายแห่งบอกว่า ตลาดหุ้นตกก็จริง แต่ช่วงคริสต์มาส คนจะมาเที่ยวประเทศไทยเยอะขึ้น ดังนั้นการท่องเที่ยวน่าจะดีขึ้น"

    สำหรับภาคธนาคาร บัณฑูร มองสิ่งสำคัญจะตัดสินใจโอกาสอยู่รอดมี 2 กรณีหลักๆคือ การควบคุมต้นทุนไม่ให้ท่วมหัว และการพัฒนาสินค้าให้ทันความต้องการของตลาด โดยเฉพาะ การพลิกโฉมหน้าการให้บริการที่แตกต่างไปจาก สงครามการสู้รบ แข่งขันในตลาดที่เห็นกันจนชาชิน

    "ธุรกิจต้องดิ้นรน หาความแตกต่าง ให้อยู่ และค้าขายได้ โดยการบริหารจัดการ ปรับเปลี่ยนวิธีการไม่ให้ต้นทุนพอกพูนท่วมหัว"

    เคแบงก์หรือ กสิกรไทย เริ่มต้นแบรนด์ K EXCELLENCE มาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ซึ่งบัณฑูร บอกว่า คนจำได้แต่แปลความหมายยังไม่ได้ว่าคืออะไร เลยถือโอกาสมให้ความหมายถึงความเป็นเลิศทางการเงินในทุกบริการ และสินค้าให้กับลูกค้า

    แบรนด์ที่บอกถึงกลุ่มก้อนเครือกสิกรไทย ยังพ่วงไปกับโปรแกรมรวบรวมสาระในรูปองค์ความรู้หลากหลาย รอบด้านกับธุรกิจ และลูกค้าในชื่อ " KNOW"

    อาทิ โครงการ Home Smile Club ให้ความรู้เรื่องบ้าน โครงการ K SME Care อบรมให้ความรู้ด้านธุรกิจ และการจัดการเอสเอ็มอีมั่วประเทซ โครงการ Online Business Matching ศูนย์กลางการเลือกคู่ค้าทางธุรกิจให้กับ เอสเอ็มอี

    และที่จะเปิดใหม่ในปี 2552 ก็คือ KAutosmileclub.com เวบไซต์รวมความรู้เรื่องรถใหม่ รถเก่า และการดูแลรักษารถ KbankCard.comให้ความรู้เกี่ยวกับบัตรเครดิต เดบิต และค้นหาสิทธิประโยชน์ รวมถึง KBeautyfullife.com รวบรวมข้อมูลด้านวางแผนชีวิต แหล่งท่องเที่ยว หาสถานศึกษาให้บุตร และสุขภาพ

    ก่อนจะต่อยอดองค์ความรู้ขึ้นมารับบทบาทที่ปรึกษาทางการเงินอย่างครบ เครื่อง (Advice Ready) อาทิ K-WePlan ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ และการเงินครบวงจร ในปี 2552 จะมีสาขา 300 แห่ง

    รวมถึงเปิด K SME Care Knowledge Center ศูนย์ที่ปรึกษาธุรกิจ และความรู้ครบวงจร เปิดหลักสูตรติวเข้มเอสเอ็มอีตลอดทั้งปี

    พร้อมกับพัฒนาศูนย์ธุรกิจต่างประเทศเป็น K Business Clinic ให้คำปรึกษาสำหรับการค้าต่างประเทศ หาพันธมิตรธุรกิจช่วยขยายตลาด ลดความเสี่ยง ประเดิมปีหน้าเปิด 9 แห่ง

    "ทั้งหมดเป็นการปรับเงื่อนไข สำหรับการแข่งขันในตลาด เพราะทุกวันนี้ โปรโมชั่นหรือ สินค้า บริการก็เหมือนกันหมด แยกกันไม่ออก"

    บัณฑูร บอกว่า รูปแบบการให้บริการลักษณะนี้จะเป็น "น้ำซึมบ่อทราย" วันนี้อาจยังไม่เห็นผล เหมือนเศรษฐกิจไทยเมื่อ 10 ปีก่อน จนกระทั่งซึมซับเอาบทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ไทยจึงไม่ล่มสลายเหมือนฝรั่ง

    การนำพาตัวเองให้รอดพ้นวิกฤต จึงไม่ควรมองข้ามทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ใกล้ตัว....

    ทุนนิยมล่มคว่ำปรัชญาโลกตะวันตกKBANKหมุนเข็มทิศบริการองค์ความรู้รอบด้าน
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Post-Capitalism กระบวนทัศน์ใหม่ของโลกหลังทุนนิยม (1)
    Author: niran 26.11.2008

    [​IMG]

    ช่วงนี้เพื่อนๆ ของผมเครียดกันพอสมควร เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและการเมืองไทย ที่กำลังจะล่มสลายไปพร้อมๆ กัน

    สิ่งที่คาร์ล มาร์กซวิพากษ์ถึงการล่มสลายของระบบทุนนิยมน่าจะเกิดขึ้นจริงในช่วงระยะเวลา อันใกล้นี้ หลังวิกฤตการเงินกำลังเริ่มส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก

    มาร์กซให้ความเห็นว่า กลุ่มนายทุน แตกต่างกับพ่อค้า ตรงที่ว่านายทุนใช้ส่วนต่างของต้นทุนแรงงานกับราคาสินค้าเพื่อสร้างความ มั่งคั่งให้กับตนเอง ในขณะที่พ่อค้าใช้ส่วนต่างของอุปสงค์และอุปทานของตลาดที่แตกต่างกันสองตลาด เพื่อหาส่วนต่างของกำไร

    ความแตกต่างตรงนี้เองที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างนายทุน กับชนชั้นกรรมาชีพ หลายๆ คนอาจมองว่าเศรษฐกิจโลกที่กำลังจะล่มสลายในปัจจุบัน ไปเกี่ยวเนื่องกับชนชั้นกรรมาชีพอย่างไร

    ในความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาคอันน้อยนิดของผม เริ่มจากว่า วิกฤต subprime ของอเมริกาที่ใครๆ ชี้ให้เห็นว่าเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของระบบทุนนิยมนั้นที่จริงเป็นแค่ ปลายเหตุที่มาจากการเก็งกำไรทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลายาวนาน (ไม่ว่าจะราคาน้ำมัน ตลาดทุน ตลาดเงิน ฯลฯ) ของกลุ่มนายทุนมหาอำนาจที่ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภท ใหม่ที่ใช้ในการสร้างความแตกต่าง “ระหว่างต้นทุนแรงงานกับราคาสินค้า″ ตามทฤษฏีของมาร์กซ

    ไม่มีเครื่องมือใดๆ ในโลกนี้แล้วไม่ว่าจะเป็นนายทุนอุตสาหกรรมใดๆ ในโลก ที่จะสร้างมูลค่าส่วนเกิน (surplus value) ได้จากความแตกต่างของต้นทุนและราคาขาย เมื่อเทียบกับการเก็งกำไรที่แม้แต่คนๆ เดียวไม่ต้องมีต้นทุนแรงงานใดๆ ก็สามารถทำได้

    ไม่มีการกดขี่ ไม่มีการขูดรีดแรงงาน เหมือนอย่างที่มาร์กซกลัว…

    มีเพียงสิ่งที่ร้ายแรงกว่านั้น คือการเล่นกับมโนคติของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกที่หวังรวย (ประเทศไทยก็น่าจะถือเป็นชนชั้นกรรมาชีพประเภทหนึ่ง ที่อยากมั่งคั่งจากเงินลงทุนจากต่างชาติกันจนตัวสั่น)

    ผลกระทบลูกโซ่ที่ตามมาจากการขึ้นของราคาน้ำมัน ก็คือ สภาวะเศรษฐกิจชะงักงันจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั่วโลก และตามมาด้วยการลดดอกเบี้ยระลอกใหญ่จากเฟด เมื่อดอกเบี้ยลดลงจนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ก็จะเกิดภาวะเงินด้อยค่า จนคนส่วนใหญ่เลือกที่จะเปลี่ยนเงินสดในมือไปเป็นสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งหนีไม่พ้นอสังหาริมทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก demand เทียม

    การกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรอย่างไม่ลืมหูลืมตาก็เริ่ม ขึ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ นายทุนธนาคารรู้ทั้งรู้ว่าราคาอสังหาที่สูงขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจาก demand จริง แต่ก็ยังหลับหูหลับตาหากำไรใส่ตัว แต่ใช่ว่ากลุ่มคนพวกนี้จะไม่สนใจกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับหลักทรัพย์ ค้ำประกันห่วยๆ อย่างบ้านและที่ดินที่ราคาสูงกว่าความจริงเกือบเท่าตัว

    การเล่นแร่แปรธาตุจึงเกิดขึ้น ความเสี่ยงก้อนใหญ่หลายๆ ก้อนถูกปั้นรวมกันแล้วแต่งหน้าแต่งตาเป็นตราสารหนี้หน้าตาดี แจกจ่ายไปยังนักลงทุนทั่วโลก ในรูปของหนี้ที่มีหลักทรัพย์ (ห่วยๆ) ค้ำประกัน (CDOs)

    กำไรตกอยู่กับนายทุนนักเล่นแร่แปรธาตุ และเวรกรรมก็ตกอยู่กับเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการล่มสลายของระบบทุนนิยมก็กำลังมาเยือนพวกเราอยู่ตรงหน้าแล้ว สิ่งที่เราเห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังล่มสลาย จริงๆ แล้วเป็นเพียงการถ่างออกอย่างสุดขั้วระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพตามกฏขอ งมาร์กซเท่านั้น เพียงแต่ทุนนิยมช่วงอายุขัยสุดท้ายนี้ อัตราส่วนระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพไม่ใช่กฏ 80/20 ของพาเลโตอีกแล้ว แต่กำลังมุ่งไปสู่กฏ 99/1 นั่นก็คือ คนเพียง 1% จะมีทรัพย์สิน 99% ของทั้งโลก และคน 99% ของทั้งโลก จะมีทรัพย์สินเพียงแค่ 1% ที่เหลือ 99% ที่กำลังจะตายนั้น จึงมองเหมือนโลกทั้งโลกไปอย่างไม่ต้องสงสัย

    เศรษฐกิจโลกจะล่มสลายหรือไม่ ไม่ใช่คำถามที่จะมานั่งสงสัยกันแล้วครับ คำถามที่เราควรมานั่งสงสัย มานั่งคิดหาคำตอบกันก็คือ เราจะปรับกระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจอย่างไร หลังยุคล่มสลายของระบบทุนนิยมที่ยืนยาวมานานหลายร้อยปี…?!?

    [​IMG]
    The New Paradigm for Financial Markets - George Sorosโซ รอส ได้นำเสนอทฤษฏี Reflexivity Theory ในหนังสือของเขา ว่าด้วยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองเศรษฐศาสตร์เสียใหม่ ในเมื่อทุนนิยมอยู่ไม่รอดแล้ว เหตุใดจึงต้อพยายามยื้อยุดฉุดดึง

    หลายคนยังมองโลกในกระบวนทัศน์เดิม นั่นก็คือ หาวิธีแก้ปัญหาให้ระบบทุนนิยมอยู่รอดปลอดภัย…?!? โดยการทุ่มเม็ดเงินจำนวนไม่อั้น…?!? เพื่อยื้อลมหายใจสุดท้ายของคนป่วยที่เป็นมะเร็งระยะท้ายสุด นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก พยายามหายาแก้มะเร็งที่ผมไม่คิดว่าจะมีอยู่จริง (พวกคุณเองมิใช่หรือที่ยัดเยียดแต่ Junk Food สร้างอนุมูลอิสระจำนวนมหาศาลให้เศรษฐกิจโลก…?)

    ในขณะที่ผมพยายามบอกคนใกล้ตัว ให้เตรียมพร้อมเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองโลกและการทำธุรกิจใหม่ ที่ละจุดเพื่อให้พวกเราเป็นกลุ่ม “ผู้รอด” ในยุคหลังทุนนิยม (Post-Capitalism) ตามกฏการคัดเลือกจากธรรมชาติของชาร์ล ดาร์วิน

    สำหรับผมเอง การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ระบบการเงิน หรือเศรษฐกิจ เพราะทุกระบบที่ว่ามามีพื้นฐานจากระบบธุรกิจ และปัจจัยที่สำคัญที่สุดของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างทางด้านราคามากที่สุด นั่นก็คือเรื่องของ “การตลาด”

    โพสต่อไปผมจะมาต่อเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในก้าวแรก นั่นคือการริเริ่ม “หันหลังให้กับการตลาดแบบฟองสบู่”

    ยังไม่สายไป สำหรับการเปลี่ยนความคิดครับ…

    Post-Capitalism กระบวนทัศน์ใหม่ของโลกหลังทุนนิยม (1) | MAXincube on Marketing 2.0 (Beta)
     

แชร์หน้านี้

Loading...