เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน)
    บางทีมันอาจเป็น สัตว์ร้ายที่อยู่ในใจของเราทุกคน ถ้าเผลอก็โดนครอบงำ
    ถ้าบ้าคลั่งเป็นหมู่คณะ ก็หายนะกันเป็นหมู่คณะ
    สุดท้ายก็นำสังคมไปสู่หายนะ

    ถ้ามีสติรู้ได้ทัน ก็พาตัวเองออกมาจากมันได้ ทันการณ์
    ทุกการกระทำถ้ามีเหตุผลรองรับที่สมเหตุสมผลและอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี
    ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนในภายหลัง ก็นับว่าดี

    อะไรที่เข้าข่ายการพนันก็หลีกเลี่ยงเสีย เพราะได้มากก็หลง เสียมากก็เป็นหายนะของชีวิต
    แต่ในส่วนที่สะสมไว้เป็นทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับการเก็งกำไร ก็อีกเรื่องหนึ่ง เป็นสมบัติทางโลก เพื่อความสุขสบายในทางโลก
    แต่ถ้าเสียสละไม่สะสมสิ่งใดแล้ว ก็คงไม่มีอะไรจะต้องเสียในทางโลก ก็นับว่าดีไปอีกแบบหนึ่ง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟองสบู่หนี้กับการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน...แง่คิดจาก Irving Fisher
    [FONT=&quot]คอลัมน์ การเงินปฏิวัติ โดย สฤณี อาชวานันทกุล [/FONT]www.fringer.org
    [FONT=&quot]ประชาชาติธุรกิจ วันที่ [/FONT]17[FONT=&quot] กันยายน พ.ศ. [/FONT]2552[FONT=&quot] ปีที่ [/FONT]33[FONT=&quot] ฉบับที่ [/FONT]4141
    หลังจากที่โลกเผชิญกับวิกฤตการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี เมื่อเวลาล่วงเลยเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2009 นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างพากันออกมาประสานเสียงว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านพ้น "จุดต่ำสุด" ไปแล้ว
    จะว่าฟื้นก็ฟื้น แต่คำถามที่ซับซ้อนกว่านั้นคือเศรษฐกิจโลกจะกลับไปโตเท่าที่เคยเป็นก่อนเกิดวิกฤตรอบนี้ได้หรือไม่ ?
    พอล ครุกแมน (Paul Krugman) หนึ่ง ในนักเศรษฐศาสตร์ในดวงใจของผู้เขียน หนึ่งในกูรูที่ออกมาบอกว่าเศรษฐกิจอเมริกาได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว เขียนเตือนหลายครั้งหลังจากนั้นว่าเราไม่ควรชะล่าใจ เพราะอัตราการว่างงานยังสูงกว่าร้อยละ 9 และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ลดลงง่ายๆ ซึ่งถ้าอัตราการว่างงานยังไม่ลดลง ขณะที่ GDP เริ่มสูงขึ้น ก็จะเป็นภาวะแก้ยาก ที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "การฟื้นตัวแบบไร้งาน" หรือ jobless recovery
    ภาวะ ที่เศรษฐกิจ "ฟื้นแล้ว" แต่อาการยังไม่น่าไว้ใจแบบนี้ พาให้ผู้เขียนนึกถึงบทความคลาสสิกชิ้นหนึ่งที่อาจารย์เคยให้อ่านสมัยเรียน ปริญญาตรี นานหลายปีก่อนฟองสบู่ดอตคอมบูมและแตก โดยอาจารย์กล่าวอย่างติดตลกว่า ถึงแม้บทความชิ้นนี้จะพูดถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง ก็ใช่ว่าสถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกไม่ได้ เพราะคนอเมริกันดูจะชอบเป็นหนี้เกินตัวกันเหลือเกิน
    บทความคลาสสิกที่ว่านั้นคือ Debt-Deflation Theory of Great Depressions เขียนในปี 1933 โดยเออร์วิง ฟิชเชอร์ (Irving Fisher) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิทยาลัยเยล ผู้ทำนายอย่างโด่งดังในปี 1929 ว่า "ราคาหุ้นได้ขึ้นไปอยู่ระดับสูงอย่างถาวรแล้ว" ก่อนที่ตลาดหุ้นจะดิ่งเหวภายในไม่กี่เดือนหลังจากนั้นความมั่งคั่งส่วนตัวกว่า 6 ล้านเหรียญ บริษัทวาณิชธนกิจที่เขาก่อตั้งและชื่อเสียงก็หายวับไปโดยพร้อมเพรียงกัน เป็นแรงบันดาลใจให้เขาลงมือวิเคราะห์เบื้องลึกของวิกฤตครั้งนี้อย่างจริงจัง จนค้นพบกลไกที่ทำให้เขาเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ "ธรรมชาติ" ของเงินและตลาดการเงินและยอมรับว่าก่อนหน้านี้เขาคิดผิด
    ใน บทความชิ้นนี้ ฟิชเชอร์คัดง้างนักเศรษฐศาสตร์สำนักเสรีนิยมใหม่หรือชิคาโกที่เชื่อว่าตลาด เสรีมีประสิทธิภาพสูงสุดและจะเข้ากลับสู่ดุลยภาพได้เอง ด้วยการชี้ให้เห็นว่าตลาดในโลกจริงนั้นไร้เสถียรภาพโดยธรรมชาติ ภาวะที่เศรษฐกิจดำรงอยู่ในจุดดุลยภาพทางทฤษฎีแทบไม่เคยเกิดขึ้นจริง เขากล่าวว่า
    "...ใน เวลาส่วนใหญ่เราจะเห็นภาวะการผลิตมากไปหรือน้อยไป การบริโภคมากไปหรือน้อยไป การใช้จ่ายมากไปหรือน้อยไป การออมมากไปหรือน้อยไป การลงทุนมากไปหรือน้อยไป และการอะไรก็แล้วแต่มากไปหรือน้อยไป เป็นเรื่องไร้สาระที่ใครจะคิดว่าตัวแปรต่างๆ ในส่วนใดก็ตามของระบอบเศรษฐกิจจะ "อยู่นิ่งๆ" ในภาวะดุลยภาพในช่วงเวลาที่ยาวพอสมควร ไร้สาระพอๆ กับการบอกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกจะมีห้วงเวลาที่สงบนิ่งไร้คลื่น"
    ถ้า เรามองโลกปัจจุบันของเราผ่านเลนส์ของเขา เราก็จะพบว่าประเทศร่ำรวยสองแห่งที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากวิกฤตการเงินรอบ นี้ นั่นคือสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างก็ใช้เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาไปกับการผลิต น้อยเกินไป บริโภคมากเกินไป ใช้จ่ายมากเกินไป และลงทุนน้อยเกินไป ประกอบกันเป็นภาวะที่เอื้อต่อการก่อหนี้มากเกินไป ทำให้เศรษฐกิจเสียสมดุลและสะสมความเปราะบางจนถึงจุดที่เมื่อเกิดความปั่น ป่วนแล้วก็ไม่อาจ "แก้ไขตัวเอง" ให้หลุดรอดจากวังวนของเงินฝืดได้ (นี่คือเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องแทรกแซงด้วยการ "พิมพ์เงิน" และอัดฉีดเข้าไปในระบบ)
    ฟิชเชอร์ชี้ว่า ภาวะ "เงินคล่อง" (loose money หรือ easy money) เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อหนี้เกินตัว เพราะ "เมื่อใดก็ตามที่นักลงทุนคิดว่าเขาสามารถทำกำไรได้ 100 เปอร์เซ็นต์ทุกปีด้วยการกู้เงินดอกเบี้ย 6 เปอร์เซ็นต์มาลงทุน เขาก็จะอยากกู้และอยากลงทุนและอยากเก็งกำไรด้วยหนี้" และคนก็จะแห่กันทำแบบนี้ ทำให้เกิดฟองสบู่หนี้อย่างง่ายดาย ฟิชเชอร์สรุปทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับหนี้ เงินฝืด และความไร้เสถียรภาพในเนื้อที่เพียงหนึ่งย่อหน้า -
    "กล่าวโดยสรุป เราพบว่า (1) การ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีทั้งแนวโน้มที่สม่ำเสมอและความปั่นป่วนเป็นครั้ง คราวที่เป็นหัวเชื้อของการแกว่งตัวเป็นวงจรในหลากหลายรูปแบบ, (2) ความปั่นป่วนเป็นครั้งคราวนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ในการลงทุน โดยเฉพาะกรณีที่มีนวัตกรรมใหม่, (3) ปัจจัยนี้และสาเหตุอื่นๆ บางครั้งนำไปสู่ภาวะก่อหนี้เกินตัว, (4) ซึ่งสุดท้ายคนจะต้องพยายามปลดหนี้และขายทอดตลาด, (5) นำไปสู่ภาวะที่ราคาสินค้าลดลงและค่าเงินดอลลาร์บวมขึ้น (ยกเว้นจะมีการแทรกแซงให้เงินเฟ้อ), (6) ค่าเงินอาจบวมเร็วกว่ายอดหนี้ที่ลดลง (จากการขายทอดตลาด), (7) ซึ่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การขายทอดตลาดก็ไม่ได้ทำให้หนี้ลดลงจริงๆ แต่ทำให้เพิ่มขึ้น (เพราะมูลค่าหนี้ที่แท้จริงเพิ่มสูงขึ้น - นี่คือ debt deflation) และด้วยเหตุนั้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็จะแย่ลงแทนที่จะดีขึ้น (คนไม่อยากบริโภคแม้ในภาวะที่ราคาสินค้าลดลง เพราะยังเป็นหนี้ท่วมหัวอยู่), (8) ทางออกคือปล่อยให้ตลาดเสรีจัดการ (คนจำนวนมากล้มละลาย) หรือใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (ทำเงินให้เฟ้อ)"
    จอห์น มิลส์ (John Mills) นักเศรษฐศาสตร์รุ่นบุกเบิกที่ศึกษาวงจรของหนี้ กล่าวอย่างน่าคิดในหนังสือเรื่อง On Credit Cycles and the Origin of Commercial Panics ตีพิมพ์ปี 1867 ว่า "ภาวะตื่นกลัวเฉียบพลันไม่ได้ทำลายทุน - มันเพียงแต่เผยให้เราเห็นระดับที่ทุนถูกทำลายไปแล้วก่อนหน้านี้ด้วยการนำไป ใช้ในกิจกรรมที่ไร้ผลิตภาพอย่างสิ้นหวัง" (เขาใช้คำว่า hopelessly unproductive works)
    ทฤษฎี ของฟิชเชอร์ไม่เพียงแต่อธิบายรากสาเหตุและผลพวงของภาวะหนี้เกินตัวได้อย่าง ดีเยี่ยม แต่ยังคงใช้การได้ดีกับภาวะที่เราประสบอยู่ในปัจจุบัน ประเด็นสำคัญคือถึงที่สุดแล้วหนี้ก้อนโตในวิกฤตรอบนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทุน ที่คนกู้ไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆ เช่น ขยายกิจการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หากเป็นการกู้ไปเก็งกำไรและบริโภคเกินตัว - สอง "กิจกรรมไร้ผลิตภาพ" อย่างแน่นอนในนิยามของมิลส์ และในเมื่อทุนถูกจัดสรรไปในกิจกรรมที่ไร้ผลิตภาพ ก็แปลว่าลูกหนี้จะประสบความยากลำบากมากในการหาเงินมาใช้หนี้ (เพราะมีความสามารถในการใช้หนี้น้อยมาก หรือไม่มีเลยตั้งแต่แรก)
    ใครก็ตามที่คิดว่าปัญหาหนี้เกินตัวในวิกฤตรอบนี้ไม่รุนแรงเท่ากับสมัยภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทศวรรษ 1930 ผู้เขียนขอแนะนำให้ดูแผนภูมิเปรียบเทียบปริมาณหนี้ต่อจีดีพีในอเมริกาตั้งแต่ปี 1920 จนถึงปลายปี 2008 รวบรวมโดยนักวิเคราะห์นามเน็ด เดวิส (Ned Davis) แห่ง Ned Davis Research
    จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าระดับหนี้ต่อจีดีพีในช่วงปี 1934-1935 พุ่งขึ้นไปถึง 2.6 เท่าของจีดีพี แต่ก็ยังน้อยกว่าหนี้ต่อจีดีพี ณ ปลายปี 2008 ซึ่งสูงถึง 3.5 เท่า เดวิสคำนวณว่าตอนนี้อเมริกาต้องใช้หนี้ถึง $6 ในการผลิตจีดีพีมูลค่า $1 สูงกว่าหนี้ที่ต้องใช้ในทศวรรษ 1990 เกือบสองเท่า
    เมื่อ คำนึงถึงบทความชิ้นเอกของฟิชเชอร์ที่ยังอธิบายโลกปัจจุบันได้ดี เพราะความโลภของนักลงทุนยังคงเดิมไม่แปรเปลี่ยน ประกอบกับภาวะหนี้เกินตัวของอเมริกา ปลายทางอันดับหนึ่งของสินค้านานาชนิดที่ประเทศอื่นๆ มุ่งผลิตเพื่อปรนเปรอคนอเมริกันที่กู้หนี้มาบริโภค ประกอบกับภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ และระบบนิเวศเริ่มไม่สามารถรองรับการบริโภคไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ คำถามสำคัญตอนนี้จึงไม่ใช่ "เศรษฐกิจโลกฟื้นแล้วหรือยัง" เพราะมันไม่มีทางกลับไปอยู่จุดเดิมที่ไม่ยั่งยืนได้อีก เพราะคนอเมริกันต้องใช้เวลาอีกนานในการลดภาระหนี้ ระหว่างนี้ใครจะอยากบริโภคอย่างมือเติบเหมือนเก่า
    ถ้า เรายังไม่เปลี่ยนวิธีคิด ฟองสบู่หนี้และวิกฤตการเงินรอบใหม่อาจกำลังรออยู่เบื้องหน้าในประเทศ "เศรษฐีใหม่" ทั้งหลายที่กู้เงินได้ถูกแสนถูกในอเมริกา ฟองสบู่ทุกลูกกำเนิดในปัจจัยพื้นฐานที่น่าเชื่อถือเสมอ
    ดัง นั้น คำถามสำคัญที่เราน่าครุ่นคิดกันตอนนี้ คือจะทำอย่างไรให้ภาคการเงินเลิกกระพือการกู้หนี้เกินตัวไปทำกิจกรรมไร้ผลิต ภาพ และให้คนส่วนใหญ่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคให้ "น้อยลง" และ "ฉลาดขึ้น" เพื่อความยั่งยืนของโลกและมนุษยชาติ
    ฟองสบู่หนี้กับการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน...แง่คิดจาก Irving Fisher
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไอเอ็มเอฟประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
    1. ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    ในวันที่ 6 ตุลาคม ไอเอ็มเอฟเผยแพร่เอกสารประเมินสภาวะเศรษฐกิจโลกยาวกว่า 250 หน้า ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน และแนวทางในการชี้นำการกำหนดนโยบายของการประชุมประจำปีของประเทศสมาชิกไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกกลางเดือนตุลาคม จึงเป็นเอกสารที่เราควรจะรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่มีความผันผวนอย่างมากของอัตราแลกเปลี่ยน สะท้อนการขาดการประสานนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความไม่สมดุลตลอดจนความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก และความระหองระแหงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นได้จากการกล่าวถึง "สงครามค่าเงิน" โดยรัฐมนตรีคลังของประเทศบราซิล ตลอดจนการโต้คารมระหว่างสหรัฐ ยุโรป และจีนเกี่ยวกับค่าเงินหยวน ซึ่งสหรัฐและยุโรปอ้างว่าอ่อนค่าเกินปัจจัยพื้นฐาน ขณะที่ประธานาธิบดีจีนยืนยันว่า หากจีนปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่า 20-40% จะนำความหายนะ (disaster) มาสู่จีน และเศรษฐกิจโลก
    2. สาระสำคัญของการประเมินเศรษฐกิจไอเอ็มเอฟ
    การขยายตัวของจีดีพี
    % เปลี่ยนแปลง 2010 2011
    เศรษฐกิจโลก 4.8 4.2
    ประเทศพัฒนาแล้ว 2.7 2.2
    ประเทศกำลังพัฒนา 7.1 6.4
    ไอเอ็มเอฟประเมินว่าในภาพรวมนั้นเศรษฐกิจโลก กำลังฟื้นตัวไปตามคาดทำให้จีดีพีในปีนี้ น่าจะขยายตัวได้ 4.8% และเศรษฐกิจโลกน่าจะชะลอตัวลงบ้าง กล่าวคือ ขยายตัว 4.2% ในปี 2011 แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจนั้น ยังไม่กระจายตัวและมีปัญหาหลักที่ท้าทายดังนี้
    1. เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วยังขยายตัวช้าเกินไป ทำให้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการว่างงานที่หนักหน่วงและเรื้อรัง ทั้งนี้ เพราะ 1. ยังแก้ปัญหาธนาคารไม่ได้ ธนาคารจึงยังไม่ค่อยปล่อยกู้ 2. บางประเทศเช่นสหรัฐยังไม่สามารถเพิ่มการส่งออกได้ จึงยังขาดแคลนอุปสงค์โดยรวม และ 3. การกระตุ้นจากนโยบายการคลังแผ่วลง และจำเป็นต้องวางพื้นฐานในการสร้างวินัยทางการคลัง (แม้ว่าบางประเทศ เช่น เยอรมนีจะยังสามารถใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง)
    2. เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในเอเชียฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องในทุกภาคเศรษฐกิจ (คือ ขยายตัวทั้งการบริโภค การลงทุน การส่งออกสุทธิและการกระตุ้นผ่านนโยบายการคลัง) เพราะสถาบันการเงินมิได้ประสบปัญหา จึงไม่ได้พิการเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศกำลังพัฒนายังพึ่งพาการส่งออก เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากเกินไป และในบางประเทศ ก็เริ่มมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อบ้างแล้ว
    3. ไอเอ็มเอฟสรุปว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังไม่ใช่การฟื้นตัวที่ "แข็งแกร่ง" มีความสมดุลและยั่งยืนดังที่กลุ่ม จี 20 ได้เคยตั้งเป้าหมายไว้ และเชื่อว่าการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นการคาดการณ์ที่ดีเกินจริง (มี downside risk)
    4. แนวนโยบายที่ไอเอ็มเอฟนำเสนอ จึงสรุปได้ว่าอยากเห็นการปรับความสมดุลทั้งภายในและภายนอก (internal and external rebalancing) ความสมดุลภายในหมายถึงการที่ประเทศพัฒนาแล้วสามารถกระตุ้นอุปสงค์ของภาคเอกชน เพราะภาครัฐจะต้องถอยฉากออกแล้ว (เพื่อเริ่มรักษาวินัยทางการคลัง) แต่ก็เป็นห่วงว่าเมื่อระบบธนาคารยังพิการอยู่และอัตราการว่างงานยังสูง แรงซื้อจากภาคเอกชนจึงไม่น่าจะแข็งแกร่งมากนัก ความสมดุลภายนอกนั้นไอเอ็มเอฟเจาะจงว่าประเทศในเอเชียยังเกินดุลการค้ามากเกินไป ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐยังไม่ได้อานิสงส์จากการส่งออกมาช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเลย ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเร่งรีบ ปรับความไม่สมดุลดังกล่าว (ลดการส่งออกและกระตุ้นการบริโภคภายใน) ดังนั้น ไอเอ็มเอฟจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการปล่อยให้ค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะเอเชียแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ดังนั้น การที่จีนยังยืนยันที่จะปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าอย่างเชื่องช้า (เงินหยวนแข็งค่าเพียง 2-3% เทียบกับเงินดอลลาร์ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา) ในขณะที่บางประเทศในเอเชีย เช่น ไทยนั้นถูกกลไกตลาดกดดันให้ค่าเงินแข็งค่ากว่า 7% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกัน
    3. สหรัฐก็ออกมากดดันให้ปล่อยให้เงินแข็งค่า
    ในช่วงเดียวกับการแถลงข่าวการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลก นายทิมโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐ ก็กล่าวสุนทรพจน์ที่สถาบัน Brooking ในวันที่ 6 ตุลาคมกดดันจีน (โดยไม่ได้กล่าวชื่อโดยตรง) ให้ปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นตามกลไกตลาด มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจโลก นายไกธ์เนอร์น่าจะถูกแรงกดดันจากรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเพิ่งผ่านร่างกฎหมายให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์สหรัฐลงโทษประเทศ ที่บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน โดยภาคเอกชนสามารถฟ้องร้องได้ว่าการดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นการดำเนินการค้าที่ไม่เป็นธรรม
    ที่น่าสนใจที่สุด คือ รัฐมนตรีคลังสหรัฐพูดอย่างชัดเจนว่าการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศกำลังพัฒนานั้น จะถูกนำไปผูกกับข้อเรียกร้องของประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องการมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในการกำหนดทิศทาง และนโยบายของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันสหรัฐกุมเสียงข้างมากพอที่จะชี้ขาดนโยบายของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่สหรัฐเป็นประเทศมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนามีศักยภาพทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่สิทธิและการมีส่วนในการกำหนดนโยบายขององค์กรระหว่างประเทศนั้นมีจำกัด ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าการที่สหรัฐนำเอาเรื่องนี้มาผูกกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศกำลังพัฒนา (โดยเฉพาะประเทศจีน) จึงน่าจะสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศกำลังพัฒนา และน่าจะเป็นข้อขัดแย้งที่ยืดเยื้อได้
    4. วิเคราะห์ความขัดแย้งทางความคิด
    ดังที่กล่าวข้างต้นประเทศจีนยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เงินหยวนแข็งค่าอย่างรวดเร็ว โดยประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า การทำดังกล่าวจะนำมาซึ่งความหายนะให้กับจีน ในขณะที่สหรัฐไอเอ็มเอฟก็มีจุดยืนว่า การกระทำของจีนนั้นขัดขวางการปรับความสมดุลของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ หากอ่านข้อสรุปของไอเอ็มเอฟและสหรัฐอย่างละเอียด จะเห็นว่าทั้งสองกล่าวขู่เป็นนัย ว่า หากประเทศกำลังพัฒนาไม่ยอมร่วมมือโดยยอมให้ค่าเงินของตนแข็งค่า จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐและประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ และหากเป็นเช่นนั้น ก็จะส่งผลต่อความมั่นใจโดยรวม โดยเฉพาะความมั่นใจเกี่ยวกับความมั่นคงทางการคลังของประเทศพัฒนาแล้ว (กลัวรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วถังแตก) ซึ่งจะเป็นชนวนทำให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำลง และหากเป็นเช่นนั้นจริงประเทศกำลังพัฒนา ก็จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความตกต่ำทางเศรษฐกิจไปได้
    "ข้อกล่าวหา" ประเทศกำลังพัฒนาดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อกล่าวหาที่ค่อนข้างจะรุนแรง และจากการติดตามพฤติกรรมและประเมินความคิดของจีน ผมเชื่อว่าจีนจะแข็งข้อต่อแรงกดดันดังกล่าว เพราะจีนได้ศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อ 25 ปีที่แล้ว และสรุปว่าเมื่อประเทศกลุ่มจี 7 โน้มน้าวให้ญี่ปุ่น (และเยอรมนี) แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ผลที่ตามมา คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 1989 และยังไม่สามารถฟื้นตัวได้จนกระทั่งทุกวันนี้ ดังนั้น จีนจึงไม่ต้องการเจริญรอยตามญี่ปุ่น ทำให้มีความเสี่ยงว่าความขัดแย้งเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน อันอาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านสงครามทางการค้านั้นเป็นเรื่องที่จะยืดเยื้อและแก้ไขได้ยาก
    หากจะมองจากอีกมุมหนึ่ง จะเห็นว่าประเทศกำลังพัฒนามีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรักษาจุดยืนของตน เพราะเป็นจุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ สหรัฐได้ปล่อยให้สถาบันการเงินของตนสร้างฟองสบู่ขึ้นมาเอง และปัญหาต่างๆ ที่ตามมา (รวมทั้งความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก) ก็เป็นปัญหาที่ประเทศพัฒนาแล้วสร้างจนนำมาสู่ความเสียหายใหญ่หลวง และกำลังแก้ปัญหาไม่ได้ การกล่าวโทษประเทศกำลังพัฒนาว่าขาดคุณธรรม ไม่ให้ความร่วมมือเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งๆ ที่สิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องการในแก่นสาร คือ การขอส่วนแบ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนานั่นเอง
    อีกทั้งการอ้างว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรปล่อยให้ "กลไกตลาด" เป็นตัวกำหนดอัตราแลก เปลี่ยน ก็เป็นการกล่าวอ้างที่ขาดความสุจริตใจ เพราะผู้ที่กุมอำนาจการพิมพ์เงินสกุลหลักของโลก คือ ธนาคารกลางสหรัฐ ดังนั้น เมื่อธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาสู่ตลาดโลกเป็นจำนวนมากจึงเป็นการบิดเบือนระบบการเงินของโลกให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว ซึ่งไม่เป็น "กลไกตลาด" ตามธรรมชาติ แต่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้ประเทศกำลังพัฒนามาช่วย "แบก" การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะกำหนดนโยบายที่จะชะลอการแข็งค่าของเงิน (ไม่ใช่จะไม่ยอมรับการแข็งค่า) โดยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน หรือกำหนดมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน (capital control) ครับ
    http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q4/2010_October18p1.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  4. TheThanant

    TheThanant สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +58
    ขอบคุณมากครับ..
    สำหรับความรู้...
    หลายสิ่งหลายอย่างที่ได้ฟังมา..ต้องใช้ ปัญญาในการวิเคราะห์
    สิ่งที่พระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ พระธรรม และพระสงฆ์..
    ทุกสิ่ง มี เกิด ย่อม มีดับ ทุก ๆ สรรพสิ่ง....
    ทุก ๆ ศาสตร์ และความรู้ ล้วนสัมพันธ์กัน
    อาณาจักรใด ๆ มีเกิด มีรวม มีแยก ก็ต้องมีวันล่มสลาย จะช้าหรือเร็ว...
    คนรวยกลับไปจน คนจนค้าขายจนร่ำรวย
    ปัจจุบัน ลมก็หวนไปทางทิศตะวันออก...
    อเมริกา จะรวย หรือจน ก็ช่างเขา สิ่งสำคัญ ขอให้ประเทศเรามีความสุข
    คนไทยเรามีสติ มีปัญญา ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท..
    เจริญในธรรม...
    ขอบคุณครับ
     
  5. ญานธรรม

    ญานธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,936
    ค่าพลัง:
    +14,705
    ไม่ได้อ่านทุกวัน แต่ก็พยายามติดตามอยู่
    มีความรู้มากมายครับ
    ขอบคุณครับ
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    European Crisis.......Update


    วันอาทิตย์สบายๆ วันนี้ผมใช้เวลาอยู่หน้าจอมากกว่าครึ่งวันครับเพื่อฟังสัมนา "เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด" ผ่านการถ่ายทอดทางอินเตอร์ ที่จัดโดย 4 หน่วยงาน เป็นสัมนาที่ดีสัมนานึงครับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทุกคนทุกหน่วยงานมากันด้วยใจจริงๆ ปล่อยกันเต็มที่ ตรงไปตรงมาในรายละเอียด


    คงต้องแสดงความยินดีกับเพื่อนๆทุกท่านที่ได้มีโอกาสได้ไปร่วมในงานครับ เพราะคงจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากพอสมควรโดยเฉพาะด้านการเตรียมความพร้อม หรือว่าจะรู้สึก "หนัก" หัวมากขึ้นก็ได้ที่รับโหลดข้อมูลขนาดนั้น "ยิ่งฟังทำไมมันยิ่งใกล้ตัว" นึกว่าจะหนีจากเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ร้อนๆจากบล๊อกนี้ไปแล้ว ผมยังแนะนำไปฟังสัมนาเรื่องภัยพิบัติต่ออีก แต่นั่นก็จะเป็นจิ๊กซออีกตัวครับ ที่ต้องเอามาประกอบกัน เพื่อให้คุณเห็นภาพใหญ่ และในมุมมองที่ต่างออกไป


    สำหรับเพื่อนๆ คนไทยที่ติดตามอ่านบล๊อกนี้อยู่ต่างประเทศ ไม่ต้องเสียใจที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมครับ เพราะรู้สึกว่าทางผู้จัดจะมีการอัพโหลดคลิปไว้ให้บนอินเตอร์เน็ต ถ้าเริ่มมีการอัพโหลดข้อมูลแล้วผมคงจะโพสต์ไว้ให้ในโพสต์ต่อๆ ไปครับ ก็ขอให้ใช้วิจารณญานในการฟัง การตัดสินใจจะเชื่อไม่เชื่อในประเด็นไหนก็ให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านครับ แต่จะมีจุดสังเกตุอย่างนึงคือ วิทยากรที่มีดีกรีเป็นระดับด๊อกเตอร์ในการสัมนาเกือบทุกท่านใช้ข้อมูล "ทั้งหมด" จากหน่วยงานของสหรัฐก็คือ NASA และบางส่วนจากองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ครับ และถ้าติดตามอ่านข้อมูลจากบล๊อกนี้อยู่เสมอผมจะพยายามบอกอยู่เสมอครับว่า "สหรัฐก็คือฮอลลีวู๊ด หรือ ฮอลลีวู๊ดก็คือสหรัฐ และ UN ก็คือสหรัฐ" ความหมายก็คือ เนื่อหาข้อมูลเกือบทั้งหมดดูเป็นจริงในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ต้องระวังความเป็นฮอลลีวู๊ดของสหรัฐไว้ให้มากครับ เป้าจริงเป้าหลอกเค้าจะเยอะมาก "ครึ่งจริงครึ่งหลอก" และแนบเนียนจนคนธรรมดาอย่างเราๆ ตามทันได้ยากครับ


    ทุกท่านต้องไม่ลืมว่าทุกวันนี้ เรากำลังอยู่ใน " AGE OF DECEPTION " หรือยุคแห่ง " การล่อลวง" ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ถ้ายิ่งไปคิดว่าเพราะเค้าเป็นที่สุดในโลกในด้านเทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์แล้วคง "ไม่โกหก" หรือ "โกหกไม่เป็น" คงจะเป็นอีกหนึ่ง "กรอบความคิด" ที่ต้องทำลายลงอย่างเร่งด่วนครับ การค้นหาข้อมูลและความจริงน่าจะเป็นคำตอบครับ


    เอาละครับเขียนเรื่องการสัมนาไปซะยืดยาว มาเข้าเรื่องให้ตรงกับหัวข้อดีกว่าครับ คือ European Crisis.......Update จากภาพข่าวการประท้วงและข้อมูลในโพสต์ที่ผ่านๆ มา ทุกท่านคงจะพอทำนายอนาคตของสหภาพยุโรปได้แล้วนะครับ ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ทีนี้ผมจะเปิดเผยถึงคำพยากรณ์ของสหภาพยุโรปโดย "พระคัมภีร์ไบเบิ้ล" แต่จะบอกไปเลยเดี๋ยวจะหาว่าเป็นการดูแคลนผู้รู้หลายๆ ท่านในที่นี้ครับ ดังนั้นผมจึงมีคำถามครับว่า.......


    คำพยากรณ์เกี่ยวกับ "การก่อตั้ง การดำรงอยู่และการล่มสลาย" ของสหภาพยุโรป อยู่ในเล่มและบทไหนของพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ???


    ซึ่งเป็นอะไรที่ชัดเจนมากครับ อ่านแล้วจะต้อง "สะท้านสะเทือน" และอาจจะต้องจดจ่อรอดูผลของคำพยากรณ์กันเลยทีเดียว โดยครั้งนี้ใกล้เทศกาลปีใหม่ครับ ผมจะมีของรางวัลเล็กๆน้อยๆ เป็นหนังสือแปลฉบับภาษาไทยเรื่อง A Divine Revelation of Hell ซึ่งเป็นหนังสือ International Best Seller ที่เขียนโดยแมรี่ เค แบ๊กซ์เทอร์ มูลค่า 190 บาท " 2 รางวัล " สำหรับผู้ที่ตอบได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด ก็คือเอาตั้งแต่ข้อเริ่มต้นและสิ้นสุดนะครับ โดยขอเอกสิทธิ์ในคำตัดสินของผมเป็นข้อยุติครับ โดยท่านสามารถส่งคำตอบมายังรายการของเรา :) โดยการเขียนคอมเมนต์ที่อยู่ใต้โพสต์ได้เลยครับ ถ้าเป็นคำตอบที่ซ้ำกัน จะถือว่าผู้ที่ตอบก่อนจะได้สิทธิ์ก่อน ที่สำคัญอย่าลืมระบุชื่อผู้ตอบมาด้วยนะครับ ถ้าไม่เช่นนั้นในคอมเมนต์จะขึ้นว่า ไม่ระบุชื่อ หรือถ้าสมัครสมาชิกหรือลงชื่อเป็นผู้ติดตามบล๊อก ( Follower ) ไว้แล้วก็จะขึ้นชื่อโดยอัตโนมัติครับ ผมจะขอปิดรับคำตอบในวันที่ 31 ธันวาคม นี้ครับ และจะประกาศผลรางวัลในโพสต์นี้ ภายในวันที่ 5 มกราคม (หรือก่อนนั้น) แล้วท่านก็ส่งที่อยู่มาที่

    " jimmysiri@live.com "


    และเมื่อได้ที่อยู่แล้วผมจะส่งหนังสือไปให้ทันทีครับ


    link: พระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาษาไทย/อังกฤษ ฉบับคิงส์เจมส์



    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในความเห็นส่วนตัวนะ เรื่องของศาสนาอื่นๆ เราก็ชอบเปิดหูเปิดตา เรียนรู้เพื่อเข้าใจคนอื่น
    และที่เราต้องเข้าใจคนอื่นบ้าง ก็เพราะเราอยู่ในสังคมโลกเดียวกัน ถ้าความคิดความเชื่อ
    เป็นพลังดันให้โลกหมุนไป ศาสนาที่มีอิทธิพลกับคนหมู่มากย่อมเป็นพลังขับเคลื่อนโลก
    ได้มาก แต่โดยธรรมชาติแล้วคนที่มีภูมิธรรมสูงกว่าจะไม่ถูกคนที่ภูมิธรรมต่ำกว่าครอบงำ
    ภูมิธรรมคือความรู้ความเข้าใจโลกและตนเองตามจริง คนที่เข้าใจตามจริงได้มาก ย่อม
    มีสติปัญญารู้ดีรู้ชั่วและไม่ถูกครอบงำโดยสิ่งใดๆ เรียกว่ามีสติปัญญาเอาตัวรอด ถ้าจะหลง
    ก็หลงไม่นาน เพราะสติปัญญาของตนจะรักษาตนให้รอดพ้นจากความหลงมาอยู่กับ
    ความจริงได้เอง และคนที่มีภูมิธรรมสูงกว่าย่อมรู้การอ่อนน้อมถ่อมตนมากกว่า มีอัตตา
    น้อยกว่า ย่อมก่อสงครามกับผู้อื่นน้อยกว่า หรือไม่นิยมการก่อสงครามกับผู้อื่น รักในสันติ
    และนิยมการช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าจะสร้างความขัดแย้ง ถ้าเราเข้าใจในหลักความจริง
    และสามารถรู้แจ้งในเรื่องใด เราย่อมไม่ถูกล่อลวงให้หลง หรือรู้การรักษาตัวรอดในทุก
    สถานะการณ์ เป็นคนที่รู้จักทวนกระแสโลก ไม่หลงไหลขาดสติไปกับความหลง เมื่อโลก
    อยู่ในโหมดคุณธรรมความดี ก็ทำตามโลกไปเพราะรู้ว่ามันเป็นสิ่งดี และเมื่อโลกอยู่ใน
    โหมดไร้คุณธรรมเพราะผู้นำโลกและคนส่วนใหญ่อยู่ในความหลงขาดคุณธรรมจริยธรรม
    ก็รู้ให้เท่าทัน และสละออกมาทวนกระแสโลกออกไป ก็นับว่ารู้จักรักษาจิตวิญญาณไม่ให้
    ตกต่ำไปตามกระแสโลกได้

    ปล.เราคิดว่าเรื่องในพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องในหมวดอจินไตย เรื่องหนึ่ง ที่เราก็ฟังหูไว้หู เพราะ
    เราภูมิธรรมไม่ถึงที่จะบอกได้ว่าว่าจริงหรือไม่จริง เวลามีคนมาเล่าเรื่อง อจินไตยเราก็มักจะหูผึ่ง
    เพราะชอบฟัง แต่ก็เฝ้าดูความเป็นไปของโลกตามที่เป็นจริงประกอบไปด้วย เพื่อดูไว้เป็นสัญญาณ
    บอกเหตุการณ์บางอย่าง เราก็ใช้ประโยชน์ได้ในบางเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เรื่องของเศรษฐกิจฟองสบู่และการเก็งกำไร มันเกิดจากอะไรเราก็รู้ๆกันอยู่
    แต่ก็ห้ามคนอื่นไม่ได้ มีแต่ห้ามตัวเอง คนที่เห็นความจริงก่อนก็จะกระโดดออกมาได้ก่อน
    คนที่โดดออกมาไม่ทันก็มักจะล่มจมไปกับฟองสบู่เมื่อมันระเบิดออก
    แต่ก็ปฏิเสธความรับผิดชอบบางอย่างไม่ได้ เพราะการอยู่ในแวดวงนั้นๆก็ถือเป็นฟันเฟือง
    เป็นต้นเหตุอย่างหนึ่ง เป็นคนช่วยเป่าฟองสบู่ร่วมกิจกรรมเก็งกำไร ถ้าหายนะมันเกิดเพราะฟองสบู่ลูกนั้นที่เรา
    ช่วยเป่าทั้งทางตรงและทางอ้อม เราก็หลีกเลี่ยงผลกรรมไม่พ้น เพราะเวลาล่มสลายมันก็
    รับหายนะร่วมกัน คนที่เป็นต้นเหตุร่วมก่อกรรมมาก ก็มีเวรกรรมต้องชดใช้มาก คนที่ไม่ได้
    เป็นต้นเหตุแต่ต้องมาร่วมรับกรรมเพราะอยู่ในสังคมเดียวกันก็ถือว่าไม่ต้องมีกรรมที่ไปชดใช้
    ในภายหน้าเพราะไม่ได้เป็นผู้ก่อกรรมถ้าคิดแบบชาวพุทธคือไม่ต้องมีกรรมให้ชดใช้มาก
    ก็เบาตัวไป และถ้ามุ่งทำกรรมดีเสียสละเพื่อผู้อื่นทวนกระแสโลกย่อมมีแต่กรรมดีที่รออยู่
    ในวันหน้า ถ้าเชื่อว่าทำดีได้ดีนะอย่างน้อยก็มีบุญคือความสบายใจได้มากกว่า ไม่ต้องกลัว
    เรื่องฟองสบู่แตก และรู้อยู่กับพื้นฐานของตัวเองไม่หาทุกข์มาใส่ตัวให้หนักใจ
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Market"s Global Currency บทบาทใหม่ทองคำในยุคดอลลาร์เสื่อม-ศก.ซึม
    ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4263
    ราคาทองคำกำลังพุ่งทะยานไปอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,424.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ระหว่างซื้อขายในวันที่ 9 พฤศจิกายน ส่งผลให้ทองคำปรับราคาขึ้นมาแล้ว 28% นับจากต้นปี แม้ว่าในสัปดาห์เดียวกัน ราคาทองจะไหลกลับมาที่ระดับ 1,300 ดอลลาร์อีกครั้ง ปิดตลาดวันที่ศุกร์ที่ระดับ 1,368.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และขยับลงอีก 1.30 ดอลลาร์ ในช่วงเปิดตลาดในยุโรป ลงมาอยู่ที่ 1,367.50 ดอลลาร์
    ความผันผวนล่าสุดของราคาทองมาจากปัจจัยข่าวลบที่ทยอยออกมา โดยเฉพาะตัวเงินเฟ้อของจีน ได้จุดกระแสวิตกขึ้นทั่วไปว่า ธนาคารกลางจีนอาจขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น และกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ชะลอลง รวมถึงกระแสวิตกตราสารหนี้ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจอ่อนแอของยุโรป โดยกลัวว่ารัฐบาลของไอร์แลนด์ กรีซ สเปน และโปรตุเกส อาจอยู่ในภาวะเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้
    อย่างไรก็ตามเสน่ห์จูงใจของโลหะสีเหลืองอร่ามยังคงมีอยู่อย่างเหลือเฟือ
    หากพิจารณาจากบทบาทของทองคำที่กลับมามีความสำคัญอีกครั้ง โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ seekingalpha.com ระบุว่า วันที่ 22 พฤศจิกายนปีนี้จะเป็นวันแรกของประวัติศาสตร์การเงินยุคใหม่ที่ "ทองคำ" จะถูกใช้ค้ำประกันในการซื้อขายธุรกรรมสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (credit default swaps : CDSs) และการซื้อขายสัญญาพลังงานล่วงหน้า (energy futures) โดยตลาดล่วงหน้า ICE Europe ประกาศว่า จะเริ่มรับทองคำแท่งเป็นเงินประกันขั้นต้น (initial margin) สำหรับการซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายนเป็นต้นไป
    ทั้งนี้ก่อนหน้าคำประกาศดังกล่าว การค้ำประกันในตลาด ICE จะใช้เพียงเงินสดและพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จึงทำให้ทองคำมีคุณสมบัติทัดเทียมกับเงินสดและพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ แอลซีเอช เคลียร์เน็ต ได้พิจารณาที่จะใช้ทองคำเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเช่นกัน แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเริ่มต้นเมื่อใด
    เว็บไซต์นี้ระบุว่า ภาวะฟองสบู่มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ เครดิต และการกู้เพื่อดำเนินธุรกิจ (leverage) ซึ่งหลายคนคงจดจำช่วงที่สามารถใช้พอร์ตหุ้นเป็นหลักทรัพย์เพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้านได้ และผลก็คือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และการประกาศของ ICE เป็นจุดเริ่มของการทำให้ทองคำสามารถถูกใช้แทนเงินได้ เพราะต่อไปจะสามารถใช้ทองเป็นเงินประกันขั้นต้นเพื่อซื้อน้ำมัน ซึ่งเป็นการทำให้ทองคำเป็นสกุลเงินที่ใช้ได้และมีคุณค่าของเครดิต
    นอกเหนือจากสถานะที่เข้าใกล้ "เงินตรา" ในตลาดต่าง ๆ แล้ว ข้อเสนอในการปัดฝุ่นระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) ซึ่งเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดให้สกุลเงินต่าง ๆ อ้างอิงกับทองคำ และมีการกำหนดค่าที่แน่นอน เช่น สหรัฐที่นำระบบมาตรฐานทองคำมาใช้ในปี 1900 โดยกำหนดค่าเงินดอลลาร์อยู่ที่ 20.67 ดอลลาร์ต่อทองคำหนัก 1 ออนซ์ แต่หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 หรือที่เรียกว่า Great Depression ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ได้ปรับราคาแลกเปลี่ยนทองคำเป็น 25.56 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในปี 1933 เพื่อเป็นมาตรการหนึ่งในการกู้วิกฤต และปรับเพิ่มเป็น 34.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในปี 1934 จนถึงสูงสุดที่ 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์
    รายงานข่าวระบุว่า ข้อเสนอมาตรฐานทองคำมาจาก "โรเบิร์ต โซลลิก" ประธานธนาคารโลก ซึ่งผ่านประสบการณ์การทำงานกับรัฐบาลสหรัฐมาอย่างโชกโชนหลายตำแหน่ง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลัง จนถึงหัวหน้าคณะผู้แทนการค้าสหรัฐ
    ประธานธนาคารโลกเรียกร้องผ่านบทความใน ไฟแนนเชียล ไทมส์ ว่า เขตเศรษฐกิจชั้นนำควรพิจารณาใช้มาตรฐานทองคำแบบประยุกต์ใหม่ ซึ่งคล้ายคลึงกับความคิดของ อลัน กรีนสแปน ที่เขียนไว้ในหนังสือ "The Age of Turbulence" เมื่อปี 2550 ส่งผลให้กระแส "มาตรฐานทองคำ" ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง
    ทั้งนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา หลัง ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศยุติการแปลงค่าดอลลาร์เป็นทองคำในปี 1971 โลกได้เห็นการผันผวนของค่าเงินอย่างรุนแรงหลายครั้ง ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อสูงยาวนาน และวิกฤตการเงินครั้งใหญ่หลายหน
    แต่กระนั้นข้อเสนอของประธานธนาคารโลก ก็มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังกรณีของ "โรเจอร์ บูทเทิล" กรรมการผู้จัดการของแคพิทัล อีโคโนมิกส์และที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของดีลอยท์ วิเคราะห์ผ่านเว็บไซต์เทเลกราฟว่า โลกต้องการระบบเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศใหม่เพื่อทดแทนระบบเก่าที่เป็นภัยคุกคาม แต่ "ทองคำ" ไม่ใช่คำตอบ
    รายงานระบุว่า เหตุผลหลัก ๆ ของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวมี 4 ประการ โดย ประการแรก แม้มาตรฐานทองคำช่วยรักษาเสถียรภาพราคาในระยะยาว แต่กลับไม่ช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะสั้น ดูได้จากกรณีของอังกฤษที่มีอัตราเงินเฟ้อ 14% ในปี 1822 และต่อไปในปี 1825 อัตราเงินเฟ้อพุ่งเป็น 17%
    ประการที่ 2 แนวคิดที่ว่าทองคำช่วยประกันค่าเงินให้มีเสถียรภาพในระยะยาว ดังนั้นจึงส่งเสริมความเชื่อมั่นและการตัดสินใจระยะยาวล้วนเป็นเรื่องลวงตา เพราะในอดีตประเทศต่าง ๆ ล้วนใช้มาตรฐานทองคำที่เคยคาดกันว่าจะคงอยู่ตลอดกาล แต่ต่อมา กลับถูกทดแทนอย่างง่ายดายจากระบบเงินกระดาษ
    ส่วนเหตุผลที่ 3 คือ เป็นความเข้าใจผิดที่คิดว่าการกลับมาของมาตรฐานทองคำจะช่วยยุติการขาดเสถียรภาพทางการเงิน เพราะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ยุค 1920 และวิกฤตปี 1929 ล้วนเกิดขึ้นในช่วงที่สหรัฐยังใช้มาตรฐานทองคำ และในช่วงศตวรรษที่ 19 อังกฤษก็เผชิญกับวิกฤตการเงินหลายครั้งหลายหนเช่นกัน
    และประการสุดท้าย คือซัพพลายทองคำของโลกมีแนวโน้มจะเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าแนวโน้มการเติบโตของกิจกรรมทางการเงินแท้จริงมาก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการทองคำเช่นกัน จึงหมายความว่าระบบนี้จะโน้มเอียงไปทางเงินฝืด
    โซลลิกได้พยายามเสนอความคิดของเขาอีกครั้ง ระหว่างการไปปาฐกถาที่สิงคโปร์ โดยระบุว่า เขาต้องการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะทำให้ทองคำกลับมามีบทบาทอีกครั้ง ในระบบการเงินระหว่างประเทศระบบใหม่ ซึ่งจะต้องมีการสร้างสมดุลของมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน ปอนด์ และในที่สุดแล้วจะรวมถึงเงินหยวนด้วย
    "ในขณะนี้มีการมองและการใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์ทางการเงินทางเลือก ซึ่งต่างไปจากระบบมาตรฐานทองคำ" โซลลิกกล่าวพร้อมทั้งยืนยันว่า เขาไม่เชื่อว่าจะสามารถกลับไปหาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ และใช้ระบบมาตรฐานทองคำ
    บทบาทที่เพิ่มขึ้นของทองคำยังมีผลมาจากการเสื่อมถอยของดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าต่อเนื่องมาหลายปี
    "ทองคำเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศ และทองคำเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก ทองคำสามารถซื้อหรือขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในตลาดมากกว่าหนึ่งแห่งทั่วโลก อีกทั้ง ราคาของทองคำก็โปร่งใสอย่างมาก สามารถดูได้ทุกเวลา ในทุกที่ ที่คุณอยู่" เดวิด เลเวนสไตน์ เทรดเดอร์ที่เชี่ยวชาญการลงทุนในสินค้าโลหะมีค่า ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความเรื่อง "New era for gold as trust in fiat currencies diminishes" เผยแพร่ใน Mineweb เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
    เลเวนสไตน์อธิบายต่อว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคทองที่ผู้คนเริ่มเสื่อมศรัทธากับค่าเงินสกุลท้องถิ่นของตัวเอง เมื่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้น พวกเขาจะหันไปหาทองคำ รวมถึงโลหะเงิน เพราะโลหะมีค่าเหล่านี้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่มีมูลค่าในตัวเอง ความไม่ไว้วางใจในเงินตราเป็นสัญญาณแรกที่เตือนว่า ระบบค่าเงินทั่วโลกกำลังซวนเซ และหากระบบเงินตราปัจจุบันล่มสลาย ไม่ว่าใครจะมีเงิน "กระดาษ" ฝากอยู่ในธนาคารมากน้อยแค่ไหน เงินเหล่านั้นก็สามารถไร้ค่าได้ทั้งหมด แต่ทองคำมีมูลค่าในตัวเอง และในช่วง 5,000 ปีที่ผ่านมา ทองคำไม่เคยหมดค่าลง
    อย่างไรก็ดีไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า บทบาทที่สำคัญมากขึ้นของทองคำในช่วงนี้จะคงอยู่ตลอดไป จนขึ้นมาเป็นเงินตราระดับโลก ที่ใช้กันในตลาดการเงินโลก (Market"s Global Currency) ได้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือเป็นแค่สินทรัพย์ทางเลือกในยามที่เงินสกุลหลักของโลกกำลังเสื่อมถอย กระทั่งเมื่อโลกกลับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่อีกครั้ง ทองคำก็กลับไปเล่นเป็น "บทรอง" ตามเดิม

    http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q4/2010_November18p3.htm
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    " Quantitative Easing 2 คืออะไร "
    Quantitative Easing คือมาตรการทางการเงิน แบบผ่อนคลาย
    โดย วิธี รับซื้อคือพันธบัตร (เก็บกระดาษ พวก t-bill,etc คืนและให้คนเอาเงินสดๆไปใช้) เงินก้จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
    ทีนี้ คนได้เงินมา เปนก้อนๆ เค้าคงไม่ใช้ มันทั้งหมด แต่คงไปลงทุน
    แต่ปัญหาคือ เศรษฐกิจ เมกา มันไม่มีอนาคต สดใสเท่าไร่ เงิน ก้เลยต้องไปลงที่อื่น ในที่นี้คือ emerging market commodities market ซึ่ง ไทยแล่นด์ ของเรา เป็น หนึ่งใน emerging market ทำให้มีเงินทุนไหลเข้า
    ปล. QE2 เพราะเป็นครั้ง ที่ 2 ครั้งแรก ทำไป ตอน ปี 2008 แต่ตอนนั้น หุ้นบ้านเรา ไม่ขึ้นเพราะฝรั่งโดน ฟอร์ซเซลล์ เงินเลยไปกระจุก ที่ commodities ซึ่งก้คือ ทอง และน้ำมัน จนกลายเปน ฟองสบู่ น้ำมันไปรอบนึง
    สำหรับรอบนี้ โดยส่วนตัว คิดว่า อาจได้เห็น ฟองสบู่ ทองคำครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โลก (แค่ความเห็นหนะครับ เพราะต้องคิดเรื่องสงครามค่าเงินด้วย)
    ปล. ไทย และ emerging อื่นๆ พยาม กัน เงินทุนระยะสั้นเหล่านี้ไม่ให้เข้ามามากเกิน เพราะอาจทำให้เกิด ฟองสบู่ใน ตลาดหุ้น ได้ สังเกต จาก P/E เซทอินเดกซ์ ไม่แพ้ ดัชนีดาวน์ เลยนะครับบบ

    Quantitative Easing 2
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    economic knowleage ( vit's style ) ขั้นที่ 1 ทุนนิยมคืออะไร ประวัติศาสตร์ ความรุ่งเรือง และการล่มสลายของระบบทุนนิยม
    โดยคุณวิทย์ 12/10/2548
    ประวัติศาสตร์ ฉบับย่อสุด ๆ คัดเฉพาะที่สำคัญ
    1790 เกิดการปฏิวัติ อุตสาหกรรมในอังกฤษ หลังจากนั้น อังกฤษก็เติบโตเป็นมหา
    อำนาจ ต่อมาประเทศตะวันตกอื่น ๆ ก็ตามมา มี 2 ประเทศที่พัฒนาจนแซง
    อังกฤษได้คือ เยอรมัน และ สหรัฐ
    1890 ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และประเทศเดียวที่ไม่ใช่ยุโรปที่เริ่ม ปฏิวัติ อุตสาหกรรม
    หลังจากนั้นก็ไม่มีประเทศใดร่วมชมรมอีกเลย จนถึง ปี 1960
    ดูเหมือนว่าความแตกต่างระหว่าง โลกที่หนึ่ง และ โลกที่สาม จะเป็นสิ่งถาวร
    แล้ว ( จนถึงปัจจุบัน ก็ยังแตกต่างมาก )
    1920 ระบบเศรษฐกิจในอังกฤษและยุโรปค่อนข้างดี และรัฐบาลมีเสถียรภาพ
    เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด
    1929 เกิดภาวะฟองสบู่แตกของตลาดหุ้นในยุโรป
    1930 เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ( great depression ) โดยเฉพาะยุโรป
    รวมถึงอังกฤษ --> หลังจากวิกฤตครั้งนี้
    นักเศรษฐศาสตร์ก็รู้ว่า การ อัดเงินสูบฉีดเข้าสู่ภาคเอกชน เป็นวิธีแก้ปัญหาภาวะ
    ถดถอยที่ดีที่สุด
    และประกาศว่า ภาวะ great depression และภาวะเงินฝืดจะไม่เกิดอีกแล้วใน
    ระบบทุนนิยม
    1940-60 เศรษฐกิจอเมริกาเติบโต อย่างตลอดโดยไม่มีการถดถอย นักเศรษฐศาสตร์
    วิเคราะห์กันว่า
    ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ถูกพิชิตแล้วโดยสมบูรณ์ ต่อไปเศรษฐกิจจะเติบโต
    อย่างเดียวและเริ่มมีการปล่อยกู้ และอัดฉีดเงิน เข้าสู่ภาคเอกชน มากเกินไป
    ทั่วโลก จึงเริ่มเกิดภาวะเงินเฟ้อ
    1960 ฮ่องกง ไต้หวัน สิงค์โปร และเกาหลีใต้ มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม สำเร็จ
    ( NICs) ตามมาด้วยคลื่นลูกที่สอง ประเทศ แถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่ง
    ยากจน แต่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักดี ( ไทยน่ะเอง )
    ประกาศว่าจะเป็น NICs ( แต่ก็เหลวไม่เป็นท่า )
    1970-9 ประเทศแถบลาตินอเมริกา มีการเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสูง การลงทุนใน
    หุ้น และที่ดิน มีมูลค่าเพิ่มตลอด และผลประกอบการโตค่อนข้างมาก จึงได้ชื่อ
    ว่า มหัศจรรย์ แห่ง อาเจนตินา และ มหัศจรรย์ แห่ง แมกซิโก
    1973 และ 1979 เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป และอเมริกาจากสงคราม
    ยอมคิพเพอร์
    และการปฏิวัติอิหร่าน ทำให้น้ำมันราคาเพิ่มเท่าตัวในแต่ละปี
    1978 เพียง 3 ปีหลังจากชัยชนะของคอมมิวนิสต์ ในเวียดนาม เส้นทางที่เติ้ง เสี่ยว ผิง
    ประกาศนำชาติจีน เพื่อทำให้จีนคอมมิวนิสต์ พัฒนา ขึ้น สู้กับยุโรปได้ ซึ่งเส้น
    ทางนั้นคืนถนน สู่ระบบทุนนิยมนั่นเอง ทำให้มังกรตื่นขึ้น
    นับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของคอมมิวติสต์ ทั้งที่เพิ่งชนะสงคราม
    1980 ญี่ปุ่นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเร็ว หุ้นและที่ดิน เพิ่มค่าอย่างรวด
    เร็วค่าเงินเยน แข็งค่า เมื่อเทียบกับ ดอลล่าร์ ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่น เผย
    แพร่ วิธีการบริหารงาน แบบ ไคเซ็น(วิธีการบริหารงานให้มีคุณภาพและรวดเร็ว)
    และอ้างว่า เหนือกว่าวิธีทางยุโรป ทำให้ญี่ปุ่นชนะยุโรป
    ปีนี้ ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยมาก ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมในย่านนี้
    1982 เกิดภาวะฟองสบู่แตก ( เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ) จากการกระทำในปี 1960
    และการลดค่าเงินในประเทศแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะ
    อาเจนตินา และ แมกซิโก ต้องใช้เวลา 7 ปี เพื่อบรรเทาภาวะหนี้สิน เงินเฟ้อ
    เริ่มน้อยลงชัดเจน ( ก็เศรษฐกิจมันพังแล้วนี่ )
    1987 อาณาจักร โซเวียต ตะวันออก พังทลายลงมา
    และถึงคราวของ อเมริกา บ้าง ตลาดหุ้นดาวน์โจน ถล่มลงมาใน 1 วัน แต่
    ธนาคารสหรัฐ
    กลับอัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคเอกชนอีกครั้งทั้งที่เศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ได้ถดถอย
    ( สหรัฐใช้ยาขนานเดิม ) และไม่ช้า ดาวน์โจนก็ฟื้นขึ้นมา
    แน่นอน ภาวะเงินเฟ้อ ย่อมเกิดขึ้นอีกครั้ง เพราะเงินในระบบเอกชน มากเกินไป
    1989 ธนาคารกลางสหรัฐ เริ่มกังวลกับเงินเฟ้อ และเริ่มมองเห็นฟองสบู่ ว่ากำลังจะ
    แตกรุนแรง
    จึงเริ่มดึงเงินออกจากภาคเอกชน ( ขึ้นดอกเบี้ย ) ซึ่งธนาคารกลางทำสำเร็จ
    ฟองสบู่จึงไม่แตก เศรษฐกิจเริ่มถดถอย ช้า ๆ ผลก็คือ อเมริกาโตอย่างยั่งยืน
    จนถึง 1997
    แต่การตัดสินใจครั้งนั้น ทำให้ นาย จอร์จ บุช ตกงาน ( ดันไปออกนโยบายให้
    เศรษฐกิจถดถอยเองนี่ ประชาชนคิดว่า เศรษฐกิจดีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปเอา
    เงินออกจากระบบ ) นี่คือความจริง สิ่งที่รัฐบาลทำ นั้นถูกต้องที่สุดในระยะยาว
    แต่ ถ้าใครทำแบบนั้น ก็ถูกฝ่ายค้านด่าว่าบริหารประเทศไม่เป็น แต่พอฟองสบู่
    แตก ก็ไม่มีฝ่ายค้าน มารับผิดชอบสักคน
    1991 อาณาจักร โซเวียต ทั้งหมด ก็พังทลาย ความพ่ายแพ้ของคอมมิวนิสต์อีกครั้ง
    1992 เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั่วทั้งโลก อย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ราคาหุ้นสูงขึ้น
    ปีแล้วปีเล่าการว่างงานน้อยลงเรื่อย ๆ นักวิเคราะห์ ได้วิเคราะห์กันอีกครั้งว่า
    ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ถูกพิชิตแล้วโดยสมบูรณ์ เราเข้าสู่ยุคใหม่ที่เศรษฐกิจ
    มีเสถียรภาพ แล้ว เศรษฐกิจเอเชีย เริ่มทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว และประกาศจะ
    เป็น NICs ได้ชื่อว่า มหัศจรรย์ แห่งเอเชีย มีการปล่อยสินเชื่อ และหนี้สิน ให้กับภาคเอกชนอย่างไม่จำกัด
    ผลประกอบการดูจะกำไรมากขึ้น เรื่อย ๆ แต่ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งค่า เพราะรัฐบาลแทรกแซง

    1995 ฮ่องกงกลับคืนสู่จืน ผู้คนคิดว่า เป็นชัยชนะของ คอมมิวนิสต์ จะทำให้ฮ่องกง
    เปลี่ยนไปแต่แท้จริง แล้วเป็นชัยชนะของทุนนิยม โดยสมบูรณ์ ฮ่องกงต่างหาก
    ที่พิชิตจีน ทำให้ จีน เปิดประเทศ เปลี่ยนจากสังคมนิยม เป็นทุนนิยมในปัจจุบัน
    เป็นชัยชนะของทุนนิยม โดยสมบูรณ์ และเป็นการสูญพันธุ์ของคอมมิวนิสต์
    1996 หนี้สินของประเทศไทยเริ่มมากขึ้น ดูคล้ายภาวะฟองสบู่ เริ่มมีการขาดดุลบัญชี
    เดือนสะพัด3 เดือนติด ๆ ราคาหุ้นและที่ดินเริ่มตกลงจุดสูงสุด ค่าเงินบาทควรจะ
    อ่อน แต่ก็ไม่ได้อ่อน
    ( เพราะรัฐบาลปกป้องเสถียรภาพของเงินบาท จึงเข้าแทรกแซงอีกครั้ง )
    1997 จอร์จ โซรอส โจมตี ค่าเงินครั้งที่ 1 แต่แพ้ไทย
    1997-9 เศรษฐกิจยุโรป เกิดภาวะถดถอยอีกครั้ง เอเชีย เกิดภาวะฟองสบู่แตก โดยเริ่ม
    จาก ประเทศเล็ก ๆ อันห่างไกลจากศูนย์กลางเศรษฐกิจเอเชีย ที่ชื่อว่า
    ประเทศไทย
    ( คราวนี้เกิดจากหนี้ในภาคเอกชน )
    จอร์จ โซรอส โจมตี ค่าเงินครั้งที่ 2 คราวนี้ชนะเด็ดขาด --> ทำให้ล้มแบบ
    โดมิโน เริ่มจาก
    ไทย ไปอินโดนีเซียไปถึงเกาหลีใต้
    2000 ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แบบภาวะเงินฝืด ( ทั้ง ๆ ที่เงินฝืดไม่น่าจะทำ
    ให้เศรษฐกิจตกต่ำ )
    เนื่องจากลักษณะนิสัยของชาวญี่ปุ่น โดยรัฐบาลไม่สามารถใช้ทฤษฏีที่เคยแก้
    ปัญหาในปี 1930 ได้อย่างสมบูรณ์มาแก้ปัญหา ได้ ทำให้ ญี่ปุ่นเศรษฐกิจถดถอย
    ถึงปัจจุบัน

    ทุนนิยม คืออะไร

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์เลี้ยงเด็กซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสามี ภรรยา อายุน้อย ๆ โดยทำงานอยู่ที่ แผนกเด็ก รพ.จุฬา เพื่อจะผลัดเปลี่ยนเวียนกันเลี้ยงลูกให้กันและกัน ( เวลาที่พ่อแม่มีธุระหรือไปเที่ยว ลูกจะได้มีคนเลี้ยง )
    สหกรณ์นี้มีสมาชิกถึง 150 คู่ ซึ่งหมายความว่า มีคนที่จะเป็นพี่เลี้ยงเด็กได้จำนวนมาก แต่การจัดระบบสหกรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่า ทุก ๆ คนทำงานเท่า ๆ กัน ( เลี้ยงลูกคนอื่น )และได้รับประโยชน์( เอาลูกให้คนอื่นเลี้ยง จะได้ไปเที่ยว ) เท่า ๆ กัน ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
    จึงมีการออกคูปอง กำหนดความรับผิดชอบเลี้ยงเด็ก 1 ชม. และเมื่อเลี้ยงเด็กเสร็จแล้วก็จะได้คูปองเวลาเลี้ยงเด็ก 1 ชม. ( สามารถยื่นคูปองนี้แก่สหกรณ์ เพื่อให้คนอื่นเลี้ยงลูกเราได้ 1 ชม. ) เพื่อประกันว่าครอบครัว แต่ละครอบครัว จะเลี้ยงเด็กคนอื่น เท่ากับเวลาที่เขาได้รับ ฟังดูยุติธรรมดี และน่าจะไม่มีปัญหา ใช่ไหม ?
    แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น ระบบดังกล่าวต้องมีคูปอง มาหมุนเวียนในระบบ พอสมควรปัญหาก็คือมี ครอบครัวจำนวนหนึ่ง ซึ่งช่วงนี้ มีเวลาว่างตอนเย็น และไม่มีแผนจะไปไหน พยายามที่จะสะสมเวลาสำรองไว้ในอนาคต ( ซึ่งการสะสมนี้ ไม่สมดุลกับคูปองของคนอื่นที่สำรองเอาไว้ )ต่อมา เริ่มมีครอบครัวอื่น ๆ ทำตามอีกจำนวนหนึ่ง
    --> เวลาผ่านไป คูปองในระบบเริ่มจะมีน้อย เกินกว่าที่จะตอบสนอง ครอบครัวที่พยายามกักตุน เหล่านั้น และ ครอบครัวอื่นที่ไม่ได้กักตุน
    ผลก็คือ ทุกคน เริ่มรู้สึกว่า คูปองเริ่มหายาก ( โอกาสเลี้ยงเด็กหาได้ยาก ) จึงเริ่มพยายามประหยัดไม่ได้คูปองเวลาเลี้ยงเด็ก ที่ตนเองสะสมไว้ เพราะไม่รู้ว่าจะหาทดแทนได้จากไหน( คูปองมีจำกัด ) ผลก็คือ โอกาสที่จะได้เลี้ยงลูกคนอื่น ยิ่งหายากขึ้นไปอีก
    เอาล่ะ สหกรณ์เลี้ยงเด็ก เข้าสู่ภาวะ ถดถอย หรือ เศรษฐกิจไม่ดี ซะแล้ว ( เหมือนที่ยุโรปเจอเมื่อปี 1930 )

    การเพิ่มคูปอง เข้าไปในระบบนั้น ในความเป็นจริงทำได้ 3 วิธี

    1. พิมพ์ แบงค์ใหม่ --> มีแต่ สหรัฐ ที่ทำได้ เพราะเราต้องชำ
    ระหนี้เป็นดอลล์ ต่อให้ พิมพ์ เงินบาท หนี้ก็ไม่ลดลง
    2. การที่รัฐบาล ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น megaproject
    3. การลดดอกเบี้ย เพื่อให้ เอกชน กู้ง่ายขึ้น
    การเพิ่มสมาชิก ก็มีประเทศมหาอำนาจทำอยู่ ได้แก่ การล่า
    อานานิคม และ การแย่งน้ำมัน และ ทรัพยากร จากประเทศอื่น
    โดยใช้สงครามเป็นข้ออ้าง , การเปิด FTA ก็ใช่

    การลดมูลค่าคูปอง ( หมายความว่าถ้าสะสมคูปองไว้ ในอนาคต
    อาจจะต้องใช้ 2 ใบ ต่อ สิทธิ 1 ครั้ง )
    ในความเป็นจริง การลดค่าเงินบาท จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพราะ
    เอกชนจะเป็นหนี้รัฐ ในรูปเงินบาท พอเงินบาทลดค่า จึงดี

    ทุนนิยมจะคงอยู่ไปได้ถาวร หรือไม่
    ระบบทุนนิยม ค่อนข้าง สมบูรณ์แบบ ( แต่ไม่สมบูรณ์แบบ ) คือ คุณอยากได้อะไร คุณต้องเอาสิ่งที่คุณมีมาแลก มันจะสมบูรณ์แบบต่อเมื่อ ทุกประเทศ มีศักย
    ภาพ พอ ๆ กัน กินกันไม่ลง แต่ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า ความแตกต่างของประเทศ
    โลกที่หนึ่ง และโลกที่สาม มีมากเหลือเกิน ทำให้โลกที่หนึ่ง รวยขึ้นเรื่อย ๆ และพัฒนา
    เทคโนโลยีทิ้งห่างโลกที่สามไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ โลกที่สามก็มีหนี้ เพิ่มขึ้น ๆ แต่ผิว
    เผินเหมือนพัฒนาขึ้น ( จริง ๆ แล้วด้อยลง แต่ก่อนไทยใกล้เคียงอเมริกามากกว่าปัจจุบัน ) ปัจจุบันเราต้องพยายาม ส่งออกอย่างหนัก ทำงานอย่างหนัก เพียงเพื่อ มีชีวิตรอด เพียงเพื่อ ใช้หนี้ที่คนรุ่นก่อน ทำเอาไว้ ( เหมือนกับคนรุ่นก่อน กินข้าว แล้ว ขี้ไว้
    แล้วบอกว่า ถ้าคนรุ่นนี้เป็นคนไทย จะต้อง ช่วยกันเช็ดขี้ ซะ .... พูดแรงไปนิดนะ [​IMG] )

    ทีนี้ ถ้าหนี้ของเรา เยอะถึงระดับหนึ่ง เราก็จะช่วยกันส่งออกเต็มที่ แต่ก็ยังไม่
    พอใช้หนี้ ซึ่งแน่นอน อเมริกา และยุโรป จะไม่บีบเราให้ถึงตายแน่นอน เอาแค่ให้เรา
    พอพัฒนาได้ ( ถ้าเราตาย ใครจะใช้หนี้เขา ) แต่เขาจะทิ้งเราไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะ
    ทรัพยากรหมดประเทศ แต่แน่นอน เราผู้มีความคิด ย่อมไม่ยอมให้ทรัพยากรหมดประ
    เทศแน่

    (ความคิดเห็น โดยคุณ jump
    ทุนนิยมต้องล่มสลายแน่นอน(แต่ไม่รู้เมื่อไหร่คงไม่ทันเห็นหรอก) ล่มสลายเมื่อคนเห็นทุนไม่มีค่า(ไม่นิยมทุนอีก)
    เช่นมีความคิดชาตินิยมเพิ่มขึ้นมาเห็นคุณค่าของตนเองจนเงินซื้อไม่ได้
    เหตุการณ์ก่อนการล่มสลายของทุนนิยมคือคนในประเทศหนึ่งมีความรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจากตำรวจโลกมากจนรับไม่ได้ หรือเป็นหนี้มากจนใช้ไม่หมดก็จะยกเลิกระบบเงินตราที่เคยมี ไม่มีการผูกติดค่าเงินทำการปิดปรเทศ เหมือนพวกฉลาดๆข้างบ้านเราที่ยังไม่เปิดประเทศเลย หรือเกิดจากความรู้สึกของคนที่อยู่ในประเทศที่ต่อยต่ำเช่นไทย รู้สึกรับไม่ได้อีกแล้วที่ส่งข้าวหลายเกวียนแลกกับ microsoft xp อะไรประมาณนั้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มเกิดแล้วในประเทศแถวแอฟริกา แต่ไอ้กันก็ไม่โง่สั่งให้ธนาคารโลกประกาศปลดหนี้ให้ประเทศยากจนในแอฟริกาไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ สรุปพวกไอ้กันเห็นแล้วว่าตอนนี้มันเป็นพระเจ้าของโลกและก็รู้ว่าระบบยังมีจุดบอดจึงพยายามป้องกันไม่ให้ระบบทุนนิยมล่ม เนื่องจากตัวมันเองอยากเป็นพระเจ้าอยู่ ระบบจะล่มเมื่อไอ้กันแก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้คนรู้สึกว่าระบบนี้ไม่เป็นธรรมเมื่อนั้นระบบจะล่ม ส่วนจะเกิดในรุ่นเราไหมไม่รู้ขึ้นอยู่กับว่าไอ้กันมันหมุนตามโลกทันหรือเปล่าถ้าทันก็ยังไม่ล่มหรอก)

    คูปอง = เงินในระบบ
    คู่สมรส = ประชาชน

    แต่อย่าใช้คำผิด ระหว่าง เศรษฐกิจตกต่ำ กับ เงินฝืด มันไม่เหมือนกัน เดี๋ยวพอ
    ถึงขั้นสูง ๆ จะงง เอง ขออธิบายอีกทีนะ

    เงินฝืด = เงิน 1 บาท ซื้อของได้มากขึ้น เหมือนกับ น้ำมันราคาถูกลง ไอ้เงินฝืด
    นี้เป็นมิตรกับเรา ทำให้ เราลงทุนได้มากขึ้น
    เงินเฟ้อ = เงิน 1 บาท ซื้อของได้น้อยลง เหมือนกับ น้ำมันราคาแพง ในปัจจุบัน
    อันนี้จะทำให้เราลงทุนได้น้อยลง
    เศรษฐกิจตกต่ำ = การลงทุน และ เงินหมุนเวียน ในภาคเอกชน น้อยลง และมี
    แนวโน้ม กำไรน้อยลงเรื่อย ๆ

    สรุป ถ้าเกิดภาวะ เงินฝืด เราต้องรีบลงทุน ในหุ้น และ อสังหา ทันที
    ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ( นิยามของ เงินเฟ้อ คือ เงินเฟ้อมากกว่า อัตราดอกเบี้ยธนา
    คาร อย่างปัจจุบัน เงินเฟ้อ อยู่ที่ 5-6% ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3-4 % อย่างนี้เรียกว่า
    ภาวะเงินเฟ้อ แต่ถ้า เงินเฟ้อ แค่ 1-2 % ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3-4 % อย่างนี้ไม่เรียกว่า
    ภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็ยังไม่เรียกว่า เงินฝืด เราเรียกมันว่า จุดที่ควรจะเป็น )
    เราต้องรีบ ขายหุ้น ขาย อสังหา มาซื้อ ทอง หรือ อัตราแลกเปลี่ยนข้าว หรือ เงิน
    สกุลอื่น ทันที

    ในความเป็นจริง พวกเราไม่ได้ออม กันหรอก เพราะเก็บเงินเดี๋ยวเดียว ก็ซื้อบ้าน
    ลงทุนนู่น ซื้อนี่ ดังนั้น ประชาชนไม่ค่อยได้ออม ต่างกับ ญี่ปุ่น ดังนั้น คนที่ออม
    คือ รัฐบาล และ ตัว ธนาคาร เอง

    ตอบจัมพ์ โลกที่หนึ่ง คือ ประเทศ ประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ เยอรมัน
    โลกที่สอง คือ ประเทศ คอมมิวนิสต์ทั้งหมด ได้แก่ รัสเซีย จีน ( ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว ) เวียดนาม
    โลกที่สาม คือ ประเทศ ประชาธิปไตยที่กำลังพัฒนา ( จริง ๆ คือด้อยพัฒนา แต่เขาตั้งชื่อให้เพราะ แต่พัฒนาไปเหอะ ยังไงก็ตามโลกที่หนึ่งไม่ทัน โดนทิ้งห่างเรื่อย ๆ ) ได้แก่ ลาว กัมพูชา ไนจีเรีย ไทย มาเลเซีย

    ส่วนคำตอบ ก็สมกับเป็นจัมพ์ ที่เรียน MBA มาจริง ๆ ใกล้เคียงกับที่เราคิด มาก มีจุดเดียวที่ต่างคือ
    เราคิดว่า " คนในประเทศหนึ่งมีความรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจากตำรวจโลกมากจนรับไม่ได้ หรือเป็นหนี้มากจนใช้ไม่หมดก็จะยกเลิกระบบเงินตราที่เคยมี ไม่มีการผูกติดค่าเงินทำการปิดปรเทศ " ข้อความนี้ เมื่อเกิดในประเทศ
    หนึ่ง สหรัฐจะต้องเปิดทางให้ ( มันไม่ให้เราตายหรอก ) อาจจะออกมาในนโยบาย ลดผ่อนหนี้ ยกเลิกหนี้บางส่วน ให้ทุน
    ดังนั้น เหตุการณ์นี้ต้องเกิดในหลาย ๆ ประเทศก่อนเป็นเวลาสัก 2-3 ชั่วอายุคน จนเกิดการรวมตัว เปลี่ยนแปลงจากทุนนิยม สู่ระบบในอนาคต (ระบบปริศนา ) แต่กว่าจะถึงจุดนั้น กินเวลาค่อนข้างมาก จึงไม่เกิดในรุ่นของเรา
    เราทายว่า เกิดในรุ่นหลาน หรือ เหลนของเรา ( เพราะคนรุ่นหลังจะไม่ได้รับการครอบงำ เหมือนคนรุ่นก่อน

    --> แต่คงไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า

    ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี หากเราเล่นหุ้นไม่เก่ง จงอย่า
    ให้อารมณ์ ความโลภ และ ความกลัว ทำให้เราขาดทุน เลยครับ ออกจาก
    ตลาดหุ้น เสียเถิด ไปฝากเงิน หรือ ซื้อทองดีกว่า

    economic knowleage ( vit's style )
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทองคำกำลังสร้างความเสียหายร้ายแรง
    โดย ไสว บุญมา 28 มกราคม 2553



    ผู้สนใจในเรื่องราวของทองคำคงทราบแล้วว่า ผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ได้แก่จีน แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย และเปรู เมื่อเร็วๆ นี้มีสำนักข่าวหลายแห่งส่งพนักงานไปดูการทำเหมืองทองคำที่เปรูและนำเรื่อง ราวมาเล่าไว้ในสื่อต่างๆ เนื้อเรื่องชี้ให้เห็นปัญหาของการทำเหมืองทองคำในเขตป่าอะเมซอนซึ่งผมเคยไป ดูมาจึงรู้ว่ามันมีผลเสียหายร้ายแรงขนาดไหน ป่าอะเมซอนเป็นป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตของประเทศบราซิลเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นมันยังครอบคลุมไปถึงอีกหลายประเทศรวมทั้งเปรูและกายอานาอีกด้วย

    รายงานการทำเหมืองทองคำในเปรูไม่ต่างกับการทำเหมืองทองคำที่ผมเห็นใน กายอานายกเว้นมันมีขนาดใหญ่โตกว่าเท่านั้น นั่นหมายความว่าความเสียหายร้ายแรงที่ตามมาย่อมสูงกว่าในกายอานาด้วย ราคาของทองคำที่พุ่งขึ้นไปทำให้การขุดค้นหาทองคำและการทำเหมืองแพร่ขยายออก ไปอย่างรวดเร็ว

    การขุดค้นหาทองคำและการทำเหมืองดังกล่าวเป็นการทำที่ไม่มีใบอนุญาต และขาดการควบคุมของรัฐบาลและเป็นกิจการขนาดเล็กจำพวกร่อนทรายหาทองคำตาม ลำธารไปจนถึงการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ไถ ขุด เจาะพ่นน้ำและร่อนหาแร่ทอง พวกร่อนทรายไม่ต้องตัดต้นไม้หรือทำลายชายฝั่งของลำน้ำเพื่อค้นหาแร่ ฉะนั้นกิจการของพวกเขามักไม่มีผลกระทบทางลบในด้านการตัดไม้ทำลายป่า

    อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการแยกละอองทองคำออกจากทราย พวกเขาใช้ปรอทผสมกับทรายเพื่อให้ละอองของทองเกาะปรอท หลังจากแยกปรอทออกจากทรายซึ่งทำได้ไม่ยากนัก พวกเขาก็จะเผาปรอทโดยการเอามันใส่ลงในภาชนะจำพวกกระทะแล้วนำขึ้นลนไฟ ปรอทจะระเหยไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งทองไว้ที่ก้นภาชนะ ผู้เผาปรอทมักสูดควันอันแสนจะเป็นอันตรายเข้าไปในปอด นอกจากนั้นในกระบวนการนี้มักมีปรอทตกหล่นอยู่ตามต้นน้ำ สารอันเป็นอันตรายสูงนั้นจะถูกสัตว์น้ำตัวเล็กๆ กินเข้าไปและเมื่อปลาใหญ่กว่ากินปลาเล็ก ปรอทก็จะเข้าไปอยู่ในวงจรอาหารซึ่งในที่สุดชาวบ้านที่กินปลาจะได้รับอันตราย

    พวกที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่จะทำลายสิ่งแวดล้อมสูงมากเนื่องจากพวก เขาจะตัดต้นไม้ทำลายป่าดงดิบ ไถ ขุด เจาะพื้นดินและพ่นน้ำเข้าตามฝั่งลำธาร รายงานตามหนังสือพิมพ์มีรูปการพังทลายของพื้นดินประกอบและอ้างว่าถ้าอยากจะ เห็น “แผลเป็น” ของการตัดต้นไม้พร้อมกับการทำลายสิ่งแวดล้อมจะต้องนั่งเครื่องบินขึ้นไปวน เวียนดูจึงจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร

    ย้อนไปเมื่อสมัยผมไปกายอานาบ่อยๆ ผมนั่งเครื่องบินไปวนดู “แผลเป็น” ดังกล่าวจึงนึกออกทันทีว่ามันน่าวิตกขนาดไหน นอกจากจะตัดต้นไม้จนเตียนโล่งหมดแล้ว การขุดดินเป็นสระเล็กใหญ่ยังก่อให้เกิดการพังทลายจนสายน้ำลำธารกลายเป็นสี โคลนยังผลให้ปลาตายอย่างกว้างขวางอีกด้วย นักขุดแร่พวกนี้มักใช้วิธีแยกทองด้วยการใช้ปรอทเช่นกัน ฉะนั้น พวกเขาสร้างความเสียหายเช่นเดียวกับพวกร่อนทรายในด้านการทิ้งปรอทไว้ในสิ่ง แวดล้อม

    นอกจากการทำเหมืองที่ไม่มีใบอนุญาตและขาดการควบคุมจะสร้างผลเสียหาย ต่อสิ่งแวดล้อมและทำอันตรายให้แก่ผู้กินปลาที่มีปรอทอยู่ในตัวแล้ว การทำเหมืองแร่ที่มีใบอนุญาตก็อาจทำอันตรายได้สูงด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ผมเห็นในกายอานา ผู้ประกอบการเหมืองทองคำใช้กระบวนการแยกทองที่ต้องใช้ไซยาไนด์ซึ่งเป็น อันตรายสูงมากในตัวของมันเองอยู่แล้ว กระบวนการนั้นเกิดน้ำผสมไซยาไนด์เป็นผลพลอยได้จำนวนมาก แต่หากทิ้งน้ำนั้นไว้ในสระที่ปลอดภัย สารไซยาไนด์จะค่อยๆ ระเหยไปโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง

    แต่ถ้าผู้ประกอบการมักง่ายและลักลอบปล่อยน้ำผสมไซยาไนด์ออกไปตามแม่ น้ำลำคลอง อันตรายร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับสัตว์น้ำและคน หรือถ้าก้นของสระน้ำปูด้วยแผ่นพลาสติกที่ไม่หนาพอ เพียงไม่นานก้นสระนั้นก็จะรั่วยังผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเช่นกัน

    ผู้ประกอบการในกายอานาไม่ได้มักง่ายเช่นนั้น แต่การที่กายอานามีฝนตกหนักเป็นครั้งคราว เมื่อฝนตกหนักเกินความคาดหมาย น้ำในสระที่มีไซยาไนด์ผสมอยู่ก็ล้นออกมา หรือเขื่อนรอบสระอาจจะพังทลาย ปล่อยไซยาไนด์ออกไปจำนวนมาก เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในกายอานา และในปี 2543 โรมาเนียก็ประสบปัญหาในทำนองเดียวกันเมื่อสระดังกล่าวแตก น้ำผสมไซยาไนด์ที่ไหลออกไปตามแม่น้ำลำคลองทำให้ปลาตายไปราว 150 ตัน นอกจากนั้นแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ยังถูกทำลายไปจำนวนมากอีกด้วย

    ทองคำทำประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ นั่นหมายความว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น ข้อมูลบ่งว่ามนุษย์เรานำทองคำออกมาจากแหล่งธรรมชาติแล้วประมาณ 1.6 แสนตัน เราใช้ราว 12% ในอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิกส์และในการทำฟันราว 78% ทำเครื่องประดับและ 10% เก็บไว้ในรูปของทองแท่งทั้งในคลังของรัฐบาลและเพื่อการเก็งกำไรของเอกชน

    ในสมัยก่อนทองคำมีความสำคัญต่อระบบการเงินมากเนื่องจากรัฐบาลทั่วไป ตรึงค่าเงินไว้กับทองคำ และใครก็ตามที่มีเงินจะซื้อทองคำจากรัฐบาลได้ด้วยราคาตามที่กำหนด ฉะนั้น รัฐบาลจะพิมพ์เงินออกมาได้ก็ต่อเมื่อมีทองคำเก็บไว้ในคลังเป็นหลักประกัน แต่ในสมัยนี้ไม่มีการทำเช่นนั้นอีกแล้ว ทองคำจำนวนมากที่รัฐบาลทั่วโลกเก็บไว้จึงไม่มีความจำเป็นอะไรทั้งสิ้น

    นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ราคาของทองคำที่พุ่งขึ้นไปยังอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจซึ่งเมื่อ ระเบิดออกมาจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงเช่นเดียวกับการระเบิดของฟองสบู่ อสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยเมื่อปี 2540 และในอเมริกาเมื่อปี 2550 นอจากนั้นราคาที่พุ่งขึ้นไปยังทำให้ผู้มีทองคำไว้ในครอบครองรู้สึกมั่งคั่ง ความรู้สึกนั้นมักนำไปสู่การใช้จ่ายแบบคึกคะนองซึ่งนำไปสู่การบริโภคแบบไร้ เหตุผลอันเป็นการทำลายทรัพยากรและก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

    อีกด้านหนึ่งทองส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ทำเครื่องประดับซึ่งไม่ใช่การ บริโภคที่มีความจำเป็นเช่นกัน ร้ายยิ่งกว่านั้นมันอาจสร้างอันตรายจากพวกวายร้ายที่คอยจ้องแย่งชิง ยิ่งกว่านั้น ยังมีการสร้างตลาดค้าทองคำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน รวมทั้งตลาดล่วงหน้าซึ่งล้วนไม่สร้างประโยชน์มากนักนอกจากเป็นแหล่งแสวงหา รายได้ของนักเก็งกำไรเท่านั้น เมืองไทยจึงไม่ควรให้มีตลาดล่วงหน้าทองคำ แต่ก็มีจนได้

    เมื่อ รวมอันตรายและความเสียหายจากหลายด้านซึ่งทองคำทำให้เกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมองทองคำจากด้านนี้บ้างพร้อมกับหาทางจำกัดราคาของ มันโดยการเลิกใช้เครื่องประดับทำด้วยทองคำ และเลิกเก็บไว้ในรูปของทองแท่งเพื่อเก็งกำไรและในคลังของประเทศ นั่นจะเป็นการช่วยทะนุถนอมโลกใบนี้ให้มีโอกาสอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความสุขที่เงินซื้อไม่ได้ ของเผ่าทอง ทองเจือ
    เรื่องโดย TS
    หนุ่มใหญ่ภายใต้อาภรณ์แบบไทยนิยม ที่ใครๆแม้แต่คนที่ไม่เคยเป็นลูกศิษย์ลูกหามาก่อน เรียกขานกันว่า อาจารย์แพน หรืออาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้นี้ คือ มือวางอันดับต้นๆ ของประเทศในเรื่องประวัติศาสตร์ไทย
    [​IMG] ในอดีต อาจารย์เผ่าทองคือหนุ่มฮ็อตในแวดวงสังคมไฮไซ เคยมีชื่อเสียงในฐานะดารา นายแบบ และเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งสุดท้ายคือ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ระยะหลังมานี้อาจารย์ผ่าทองเป็นที่รู้จักโด่งดังในแวดวงของนักสะสมผ้าโบราณ ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านผ้าไทย “เผ่าทอง” ระดับพรีเมี่ยม ด้วยความสามารเฉพาะตัว ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐ ให้เป็นผู้จัดทำอาภรณ์สำหรับผู้นำประเทศที่มาร่วมประชุมในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง นอกจากนั้นยังมีธุรกิจโรงงานทอผ้าในจังหวัดลำพูน มีผืนนาทำการเกษตร และสินค้าแปรรูปที่เน้นเรื่องของธรรมชาติ ทำบริษัทท่องเที่ยว อัญญมัญญา ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนหลายต่อหลายแห่ง ฯลฯ
    ดูเหมือนเวลา 24 ชั่วโมง ต่อวันของอาจารย์เผ่าทองจะยาวนานกว่าคนส่วนใหญ่ ภารกิจร้อยแปดพันประการกับชีวิตที่อยู่กับงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ทำให้อาจารย์ถึงกับเคยป่วยเจียนตายด้วยโรคมะเร็ง
    แต่กระนั้นผู้ชายที่ชื่อเผ่าทองก็ยังเดินหน้าทำงานต่อไปไม่หยุด
    ที่สำคัญ ขณะที่ชีวิตเต็มไปด้วยงาน แต่อาจารย์ก็ยังสามารถดำรงความเป็นปกติ แถมเต็มไปด้วยมุมมองผ่อนพักของความสุขรายทางในทุกขณะ อาจารย์ทำได้อย่างไร
    ก่อนอื่นขอถามเรื่องงานที่หอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ก่อนค่ะ อาจารย์เข้ามาทำในส่วนไหนคะ
    คือผู้รู้จักกับบริษัทไรท์แมน (ซึ่งเป็นผู้อำนวยการอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์) มานาน เคยทำงานร่วมกันมาหลายครั้ง กระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เขาติดต่อมาว่าจะมีโปรเจ็คท์อันนี้ บอกว่าจะเป็นสถานที่รวบรวมประวัติศาสตร์ความเป็นไปของรัตนโกสินทร์ ฟังดูน่าสนุกก็เลยตกลงทำ
    ผมรับผิดชอบห้องเยี่ยมเยียนถิ่นกรุง เรื่องย่านหัตถกรรมชุมชนและชีวิตในวัง เราทำออกมาให้เป็นห้องจริงๆ ถือว่าเป็นประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ อุปกรณ์ประกอบฉากซึ่งคือพร็อปทั้งหมด จะต้องหาให้ถูกกับยุคสมัย เหมือนเราสร้างหนังพีเรียลขึ้นมาเรื่องหนึ่งเลยของทุกอย่างที่อยู่รอบตัวจะต้องถูกกับฐานันดรศักดิ์ของผู้ใช้ เพราะในวังมีตั้งแต่เจ้านาย บ่าว สามัญชน ลดหลั่นชั้นยศกันไป ผลออกมาผมก็พอใจ เพราะมีความถูกต้องในเรื่องระเบียบแบบแผนในราชสำนักมาก เวลาเดินเข้าไปในห้องนี้ จะรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คนที่เข้าไปจะไม่อยากเดินแล้ว อยากจะคลานเข่า เพราะมีเจ้านายนั่งอยู่รอบตัวเรามีข้าทาสบริวารหมอบราบอยู่กับพื้น จะรู้สึกว่า เอ เรามายืนอยู่ได้อย่างไร ควรจะคุกเข่าคลานด้วย อะไรอย่างนั้น

    อาจารย์เอาเวลาจากไหนมาทำตรงนี้
    ตอนนี้เรียกได้ว่าผมสวมหมวก 500 ใบ ชีวิตผมต้องเฉาะเข้าไปวันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง คิดของผมมันเฉาะมากเลย เวลานัดหมายเราก็นัดกันหลายที่ แต่ส่วนใหญ่จะนัดที่บ้าน เพราะที่บ้านมีห้องสมุดด้านนี้โดยตรง นอกจากไม่ไหวจริงๆ ก็จะวิ่งวไปสตาร์บัคบ้าง ไปร้านอาหารบ้าง บางทีอยู่โรงงานที่ลำพูน เพราะมีออร์เดอร์เสื้อเร่ง ก็ยกทีม8-10 คน ขึ้นไปประชุมกันที่ลำพูน กิน นอน เกลือกกลิ้งกันอยู่ตรงนั้นเลย คือ ทั้งเราและเขาต้องพยายามทำตัวให้ยืดหยุ่น แล้วงานก็จะเดินแล้วก็ได้สนุกด้วยกัน บางทีก็วิ่งไปที่ออฟฟิศของไรท์แมน นี่ถ้าแล่นไปอีกนิดหนึ่ง น่ากลัวจะถึงเขมร ความที่ทุกฝ่ายพร้อมใจกันยืดหยุ่นทำให้สนุก ไม่ใช่ว่าต้องมาหาผมอย่างเดียว การทำงานก็ง่ายขึ้น

    เท่ากับว่าอาจารย์ทำงานแบบไม่มีวันหยุดเลยหรือคะ
    คือผมทำงานทุกอย่างพร้อมกันหมด ชีวิตผม 24 ชั่วโมงมีแต่งาน ไม่เคยมีเสาร์อาทิตย์มาหลายสิบปีแล้ว และไม่เคยคิดว่าเป็นความทุกข์ด้วย เพราะเวลาทำงานคือเวลาพักผ่อน เวลานอนคือเวลาทำงาน ก็คิดกลับกันเสียอย่างนั้น ผมเองก็ไม่ได้รู้สึกเครียด เพราะถือว่าเราเลือกงานทำได้ เป็นคนที่โชคดีที่สุดยิ่งกว่าทำบุญอะไรมาในชีวิตเสียอีก คือเลือกที่จะทำ กับเลือกที่จะไม่ทำได้
    มีเพื่อนๆหลายคนที่บอกว่าเบื่อมาก ไม่อยากตื่นเช้าขึ้นมาทำงานแต่ก็ต้องทำ เปลี่ยนออฟฟิศก็ไม่ได้ เลือกงานก็ไม่ได้ ไม่ใช่ว่าเราเก๋ไก๋นะ แต่ว่าการที่เราเลือกได้เพราะเราไม่ได้ยึดติดว่างานนี้เงินเยอะ งานนี้มีเกียรติ แต่เลือกเพราะงานนี้สนุก ถ้าคิดว่างานกวาดถนนสนุกเราก็กระโดยลงไปกวาดถนน อาจะได้ค่าตอบแทนวันละร้อยกว่าบาท แต่เรามีความสุขตรงนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่โชคดีที่สุดพระให้เรามา คือเราเลือกที่จะทำได้ มีหลายจ๊อบ หลายบริษัทที่ติดต่อมา แต่ดูแล้วไม่สนุกก็ไม่ทำ การทำงานไม่ใช่แค่มานั่งโต๊ะแล้วคุยงาน บางทีมันต้องมีบรรยากาศของความมีไมตรี มีหลายอย่างมาประกอบ และเวลาที่นั่งคุยก็ไม่ได้คุยว่าผมจะได้เท่าไร คุณจะได้เท่าไร แต่เหมือนกับเพื่อนสองคนมานั่งคุยกัน แล้วก็ยังมีน้องๆ มาแชร์ไอเดียด้วยกัน มันก็มีความสุขเหมือนอยู่ท่ามกลางเพื่อน ไม่ได้คิดว่าเป็นการทำงานเลยพูดจามึงวาพาโวย เอะอะมะเทิ่งกัน เวลาคุยงานเป็นอะไรที่สนุก เป็นอะไรที่นึกถึงตลอดเวลาที่เซ็งๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเลือกได้หมด บางครั้งคิดว่าเลือกแล้ว แต่ก็ยังแจ็คพ็อต เจองานที่เซ็ง ก็ใช้วิธีนึกเรื่องอะไรที่ตลกๆ อย่างเช่น วันนี้ประชุมกันเรื่องสคริปต์ตอนเปิดรัตนโกสินทร์อินโทรดักชั่น ในห้องประชุมมีแต่ผู้ใหญ่หมด บรรยากาศก็เครียด ผมขึ้นมา ทุกคนก็หันมามองว่าเป็นอะไร ก็เป็นความสุข ทำไมเราจะต้องไปใฝ่หาทุกข์ ความสุขเราสร้างได้ เราหาได้ เวลาเซ็ง เราก็แอบนึกถึงวันที่เราเขียนสคริปต์กัน

    อาจารย์วางแผนชีวิตไว้ว่าจะต้องเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
    ไม่เคยวางอะไรเลยในชีวิต จะพูดไปชีวิตก็ไม่ใช่ดนตรีที่ต้องการเรียบเรียงโน้ต ชีวิตผมมันเหมือนเสียงธรรมชาติ เหมือนเราเดินเข้าไปในป่า นกตัวนั้นอยากร้องมันก็ร้อง หมาอยากเห่ามันก็เห่า อะไรต่ออะไรที่มันจะเกิดก็ต้องเกิด เพราะฉะนั้นเวลาที่มีคนพูดว่าผมประสบความสำเร็จ ผมจะบอกว่า ชีวิตนี้คือชีวิตที่ไม่มีอะไรสำเร็จเลยสักอย่าง มันไปของมันเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะค่านิยมของคนที่พูดว่าสำเร็จจะต้องมีตำแหน่งสูงสุด มีเงินมากที่สุด เป็นนิยามที่คนคาดหวัง แต่ผมคิดว่าผมไม่ได้มีเกียรติยศสูงสุด ไม่ได้ร่ำรวยที่สุด ไม่ได้มีอำนาจมากที่สุด แต่ผมมีความสุขที่สุด
    ผมอาจจะมีความสุขมากกว่าคนที่มีเงินมากที่สุด ผมอาจจะมีความสุขกว่าคนที่มีอำนาจมากที่สุด ผมอาจจะมีความสุขมากกว่าคนที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ความสุขของผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอธิบายอย่างไร คนชอบถามว่ามีความสุขอย่างไร ก็สุขตามแบบของเราบางคนมีคนขับรถให้นั่งแล้วมีความสุข ไปไหนมาไหนด้วยรถส่วนตัวแล้วมีความสุข แต่ผมไม่ชอบรถส่วนตัว ถามว่ามีไหมก็มี มีคนขับไหมก็มี ขี้ข้ามีไหมก็มี แต่ชอบเดินออกจากบ้านไปหน้าปากซอยขึ้นรถไฟฟ้า ชอบมีชีวิตอยู่บนรถไฟฟ้า ชอบเดินฟุตปาธ มาที่นี่ก็นั่งรถไฟฟ้ามาสุดสายที่สะพานสาธร แล้วลงเรือมา คือชอบเห็นคน ผมเล่นเฟซบุ๊กกับเพื่อน เพื่อนบอกทำไมมึงมีนิสัยแบบนี้ ก็บอกกูชอบสำเร็จความใคร่ด้วยการได้เห็นมนุษย์ เห็นหลากหลายชีวิต แล้วกูมีความสุข ไม่ต้องทำอะไรหรอก อยู่บนรถไฟฟ้า มองไปในรถทั้งคัน พอถึงอีกสถานีหนึ่งคนชุดเก่ามองไปยังไม่ทันหมด มีคนชุดใหม่ขึ้นมาให้มองใหม่ มันมีวิถีชีวิต มันมีความรู้สึกบนใบหน้าของแต่ละคน บางคนเข้ามาด้วยความสุข บางคนเข้ามาหน้าตาเศร้าหมอง บางคนเข้ามาถึงก็ทำงานบางคนขึ้นมาบนรถก็มองหมดทุกคน แต่บางคนไม่มองใครเลย มองเท้าอย่างเดียว ไม่รู้สิ ผมเป็นคนชอบดูความรู้สึก เป็นโรคจิต แล้วเพื่อนบอก มึงได้เงินได้ทองจากการมองไหม ก็ไม่ได้อะไรหรอก แต่ได้ความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ความสุขของแต่ละคนเอามาเทียบกันไม่ได้ ความสุขประเมินเป็นรูปธรรมไม่ได้ มันเป็นนามธรรม

    อาจารย์คิดแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไรค่ะ
    ตอนที่ผมป่วยเป็นมะเร็ง ตอนนั้นป่วยหนักมาก ผมใช้เวลารักษาอยู่ 5 ปี หลังจากที่เจ็บ ความคิดก็เริ่มเปลี่ยนไปเยอะมาก ตอนทำคีโมผมไม่เหลือสักเส้น แย่มากแต่งตัวอะไรก็ไม่ได้ นอนโรงพยาบาลตลอด ไม่ได้ผัดหน้าทาแป้งเลย จนกระทั่งคุ้นชินกับความไม่ต้องปรุงแต่งอะไร หายออกมากินข้าวไม่ต้องปรุง กินก๋วยเตี๋ยวไม่ต้องปรุง เขาให้มาอย่างไรก็กินอย่างนั้น มีความรู้สึกว่าอาหารที่ไม่ต้องปรุงเลย จืดที่สุดนี่ มันก็ต้องกินได้
    วัวควายมันกินหญ้า ทำไมมันกินได้ เราก็ลองกินอย่างควายดูเห็นมันเคี้ยวอร่อยมากเลย เรากินเข้าไปแล้วไม่อร่อย มันเหม็นเขียว ครั้งแรกต้องถุยทิ้ง ไม่ใช่คายนะ คายนี่มันสุภาพไป ต้องใช่คำว่าถุยเพราะมันขมมาก คายนี่มันยังช้า ถุยนี่มันเร็ว ถามว่ากินได้ไหม คือ กินได้ แต่มันไม่อร่อย แล้วระบบย่อยของเราไม่ดี ถ่ายออกมามันก็ยังเป็นเส้นหญ้าคาอยู่ ก็เข้าใจว่าธรรมชาติสร้างให้ระบบการย่อยกับระบบฟันเคี้ยวเอื้องของควายต่างกับเรา ก็มานั่งคิดว่า จงกินอาหารที่เขากินมาตั้งแต่ดึกบรรพ์เถิดจะดีกว่า ชีวิตจะง่ายขึ้น ชีวิตทำไมต้องมาปรุงแต่งให้มันซับซ้อน ก็ตั้งคำถามกับตัวเอง
    ข้าวที่หุงมาเสร็จแล้ว ทำไมต้องหุงก็กินข้าวดิบ กินข้าวสารผลปรากฏว่าท้องขึ้น เคี้ยวเข้าไปจนแหลกแล้วกลืน เลยท้องขึ้นท้องอืด เป็นลมเพราะมีแก๊ส คุยกับหมอ หมออธิบายว่าระบบย่อยทำงานไม่ได้ เพราะข้าวที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้มันอ่อนตัวลง ก็ถามอีกว่า แล้วทำไมต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา เพราะจะให้มันมีรสใช่ไหม ก็กินข้าวเปล่าสิ เคยกินข้าวทัพพีใหญ่ๆ กระเดือกเข้าไป ทำไมมันไม่มีรสชาติอะไรเลย แต่ก็ต้องกินให้ได้โดยไม่ปรุงแต่ง
    จากความทะเยอทะยานที่ต้องมีนั่นมีนี่ ก่อนป่วยมีบ้าน 11 หลัง ทั่วประเทศ พอป่วยเสร็จแล้วไม่ได้ไปอยู่สักหลัง เพราะว่านอนอยู่โรงพยาบาล ถามตัวเองว่าตอนที่เราเจ็บนี่นะ เตียงเดี่ยวในโรงพยาบาลยังใหญ่เกินไปสำหรับความต้องการของเรา เพราะเวลาที่เราเจ็บหนัก ตอนนั้นเวลาให้น้ำเกลือหนักมากๆ คือ เรานอนนิ่งไปขยับ พื้นที่แค่ศอกกว่าๆเท่านั้นที่เราต้องการ ความกว้างความยาวก็เท่ากับตัวเราเท่านั้น มันพอดีกับโลงแค่นั้น พื้นที่นิดเดียวจริงๆ เวลานอนตะแคง ยิ่งใช้พื้นที่น้อยลงไปใหญ่
    ก็เริ่มคิดอะไรที่มันง่ายขึ้น วางอะไรง่ายขึ้น หายป่วยก็เริ่มเบื่อที่จะออกงาน ถ้าย้อนไปดูก่อนปี 2537 จะเห็นหน้าผมลงในคอลัมน์สังคมในหนังสือผู้หญิงเกือบทุกเล่ม แต่หลังจากปี 2537 จะเบรกแบบล้อหมุนเต็มที่ มาเร็วแล้วเหยียบเบรกกระแทก รถก็จะหมุนกลับหัวไปทางเดิมที่เราแล่นผ่านมา
    ถ้าถามว่าชีวิตแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มีความทุกข์ไหม ก็ไม่ทุกข์ เพราะว่าต้องการอยู่คนเดียวมากขึ้น อยู่เงียบๆ มันเปลี่ยนหมดเลย เปลี่ยนตั้งแต่เพลงที่ฟัง มาฟังเพลงง่ายขึ้น กินก็ง่ายขึ้น อะไรก็ได้นอนยิ่งง่ายใหญ่ ทุกวันนี้นอนกับพื้นกระดานธรรมดา ห้องรับแขกก็รื้อทิ้งไปเลย กลายเป็นห้องสมุด แล้วก็มีเก้าอี้ 3-4 ตัวเอาไว้นั่งแค่นั้น ไม่มีความต้องการรับแขกอะไรเลย หลังจากที่หายป่วย คุณแม่เสีย ยิ่งไม่มีใครจำเป็นจะต้องรับแขก

    ถ้าอาจารย์ไม่ป่วย วิธีคิดของอาจารย์จะเป็นอย่างนี้ไหม
    ถ้าไม่ป่วย ผมก็คงเป็นดาวไฮโซประดับวงการ ตอนแรกที่ป่วยก็เสียใจ เสียใจมาก ร้องห่มร้องไห้ ด่าพระ ประณามพระ ว่าเรานี่ทำดีมาตลอดแล้ว ทำไมให้เกรดเรามาแค่นี้ คนที่บอกว่าไม่เสียใจทั้งหลายตอแหลทั้งนั้น ไม่มีใครหรอกที่ไม่เสียใจ เพราะชีวิตกำลังฟุ้งที่สุดแล้ว ชีวิตช่วงที่เจ็บคือช่วงที่หอมหวานที่สุด ทั้งงาน ทั้งเงิน ทั้งเกียรติยศ ทั้งชื่อเสียง มันโถม มันไม่ใช่มาธรรมดานะ มันกระแทกเข้ามาแบบรับไม่ทันเลย แบบหันซ้ายก็เงิน หันขวาก็เงิน โกย โกยจริงๆ ช่วงก่อนปี 40 โห มันไม่ใช่ฟองสบู่หรอก มันคือแฟบทั้งกล่องละลายน้ำ เงินทั้งนั้น หากเงินง้าย...ย..ง่าย แบบกระดิกนิ้วก็ได้แล้ว
    ตอนนั้นคุณหมอนินนาท ชินะโชติ ท่านเป็นครูสอนวิปัสสนากรรมฐานสายคุณแม่สิริ เคยเป็นลูกทัวร์ สนิทกันมาก ท่านเพิ่งเสียไปเมื่อ 2-3 ปีนี้เอง พอท่านรู้ว่าผมเจ็บปั๊บ ท่านบินไปหาผมที่เชียงใหม่ สิ่งแรกที่ท่านพูด คือท่านบอกว่า ไม่ได้มากเยี่ยมอาการป่วยนะ แต่จะมาใช้วิชารักษาใจ เพื่อที่จะต่อสู้กับความเจ็บป่วย สอนให้รู้จักทำสมาธิ สอนให้รู้จักทำวิปัสสนากรรมฐานและที่สำคัญที่สุดคือ สอนให้ปลงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ทำให้ใจย่อมรับโรคที่กำลังเป็น
    ตอนนั้นผมเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ขั้นสี่ปลาย หมอบอกว่าอยู่ได้อีกสามเดือน ท่านคิดว่าเราคงไม่รอด หมอนินนาทก็บอกต้องทำใจยอมรับ คุณหมอสอนว่า ให้นึกว่าตัวเองว่าเป็นโซเฟอร์ขับรถ รถก็คือร่างกายของเรา ตอนเกิดมาใหม่รถก็ใหม่เอี่ยม เครื่องเครามันดี เร่งเครื่องขึ้น ขับปุเลงควบห้อไปได้ทั่วเมือง วันเวลาผ่านไปเราแก่ลง ก็เหมือนรถที่เก่า วันหนึ่งติดไฟแดงอยู่แล้วรถดับ สตาร์ตเท่าไรก็ไม่ติด ท่านถามว่าผมซึ่งเป็นคนขับจะนั่งอยู่ในรถต่อไปอย่างนั้นหรือ ผมก็บอกต้องลงมจากรถมาโบกหารถคันใหม่ ท่านก็บอกว่าถูกแล้ว วิญญาณก็ต้องทิ้งร่างแล้วก็ไปหาที่ใหม่ ฟังแล้วน้ำหูน้ำตามันทะลัก มันถูกเบรกแล้วนะชีวิตนี้ สิ่งที่เราเคยฝัน พันล้านหมื่นล้าน เคยฝันทุกอย่างนี่ไม่ใช่แล้ว มันเป็นของนอกกายหมดเลย
    ใช้เวลายอมรับอยู่นานหลายเดือนเป็นปี กว่าจะเลิกตีโพยตีพาย คำว่าตีโพยตีพายของผมคือ เวลาอยู่คนเดียว มันจะร้องไห้สะอึกสะอื้น จิกหัว ทำทุกอย่างเลย ว่าพระไม่ยุติธรรม ในที่สุดก็หมดแรงหมดฤทธิ์สลบไป แล้วมานั่งคิดได้ว่าเราจะจมปลักอยู่ตรงนี้ ชีวิตจะไม่มีอะไรดีกว่านี้เลย ต้องยืนขึ้นให้ได้ สั่งตัวเองว่าต้องเช็ดน้ำตา ไปล้างหน้า ไม่ร้องไห้ ฮึดสู้ แต่ยังไม่ปลง สู้ในที่นี่คือ สู้ให้รอด ด้วยการออกกำลัง หมอสั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำ ต้องมีชีวิต มีชีวิตเสร็จแล้วต้องยอมรับว่าต่อไปนี้จะไม่มีชีวิตที่ร่ำรวยมหัศจรรย์เหมือนเดิมอีกต่อไป ชีวิตต่อไปนี้จะหาเงินได้น้อยลงกว่าเดิม
    เริ่มปรับชีวิตด้วยการขายบ้านไปทีละหลังๆ ไม่ได้ขายเพราะต้องการเงิน แต่ขายเพื่อจะซื้อใหม่ให้เป็นที่เดียวที่ตัวเองจะอยู่ได้ แล้วก็ซื้อเฉพาะเท่าที่ตัวเองพอ แต่ก่อนจะกว้านไปเรื่อยๆ ก็เริ่มจำกัดตัวเอง เริ่มใช้ชีวิตเรียบง่ายขึ้น แต่ก่อนเราต้องนั่งรถเก๋ไก๋ รถเมล์ไม่ขึ้น ตอนนี้ทุกอย่างมันง่ายหมดเลย กินข้าข้างถนนได้ นอนกับไม้กระดานได้ เพื่อนที่มาเยี่ยมที่ห้องยังบอกว่า เฮ้ย มึงนอนกับกระดานจริงๆ เลยหรือเอาผ้าปูที่นอนปูสักนิดหนึ่ง พอไม่ให้มันอนาถา มันดูแล้วสังเวช ผ้าปูที่นอนก็คอตต้อนบ้างๆ ปูลงไปให้เป็นหมายว่านอนให้อาณาเขตนี้ ไม่ดิ้นออกไป ผ้าปูที่นอนพับครึ่งด้วยซ้ำ จะได้แคบ ก็นอนอยู่ในเขตนี้

    เรียกว่าหนึ่งในร้อยเลยก็ว่าได้ ที่คนป่วยโรคมะเร็งสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ อาจารย์คิดว่าเกิดจากอะไร บางคนบอกว่าเป็นปาฏิหาริย์
    ใช่ ก่อนหน้านั้นผมเคยถวายงานรับใช้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถวายงานรบใช้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พอเจ็บปุ๊บ หมอบอกว่าไม่รอด สิ่งแรกที่ทำคือ โทร.หาท่านผู้หญิงสุภรเพ็ญ ท่านผู้หญิงสุประภาดา ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ ให้ช่วยกราบบังคมทูลลาตายต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตน์ฯให้ด้วย ผ่านไป 2-3 วัน ท่านผู้หญิงสุประภาดากับท่านผู้หญิงสุภรเพ็ญก็อัญเชิญกระเช้าดอกไม้ผลไม้พระราชทานมาเยี่ยม บอกว่ากราบบังคมทูลลาแล้ว แต่พระองค์รับสั่งว่าไม่ทรงรับ และรับสั่งว่าไม่ให้ตาย ห้ามตาย ส่วนสมเด็จพระเทพรัตน์ฯให้ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์เชิญดอกไม้พระราชทานมา และรับสั่งว่าที่ทูลลานไม่ทรงรับ และพระราชทานยาจีนมาให้
    ผมยังถ่ายรูปเก็บไว้ ทุกวันนี้แจกกันดอกไม้พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตน์ฯกับกระเช้าดอกไม้ผลไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าฯยังตั้งอยู่ในห้องโถง เวลานั่งกินข้าว นั่งทำงาน ก็จะเห็นรูปนี้ตลอดเวลาเป็นกำลังใจ ยาจีนที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯพระราชทานและทรงบอกให้ผมทานซะ ถ้าเผื่อดีให้กราบบังคมทูลขึ้นไป ท่านจะพระราชทานมาอีก ท่านบอกยากนี้ต้องสั่งจากเมืองจีน ถ้ากินดีท่านจะทรงสั่งให้เอง ผมถือว่าได้คีโมแล้ว ยานี้ก็ไม่ได้ทาน แต่ใส่พานตั้งอยู่ที่ข้างเตียงแล้วเอาพวงมาลัยถวายทุกวัน พอหายเจ็บก็เอากล่องยานี้ขึ้นไว้บนหิ้งพระ ทุกวันนี้ก็กราบไหว้ด้วยพวงมาลัย มีความรู้สึกว่าที่เราหายเป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านรับสั่งเอาไว้ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงรับเป็นคนไข้ในพระราชินูปถัมภ์ด้วย พระราชทานความช่วยเหลือดูแลเรามากเหลือเกิน มากจนอีกกี่ชาติก็ตอบแทนไม่หมด

    อาจารย์เคยคิดว่าความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นเพราะกรรมหรือเปล่า
    ตอนแรกไม่คิด คิดแต่น้อยเนื้อต่ำใจ จนคุณหมอนินนาทมาสอนก็ค่อยๆคิดไปเรื่อยๆ จากนั้นคนก็เอาหนังสือธรรมะมาให้อ่านมากขึ้น ก็เข้าใจอะไรเยอะขึ้น แต่ก่อนเป็นคนที่ไม่เคยคิดเรื่องธรรมะเลย ไกลธรรมะมาก คิดแต่ว่าเงินคือความสุขที่จะบันดาลทุกอย่างให้ชีวิตได้ เงินซื้อทุกอย่างได้หมด หลังจากที่เจ็บแล้ว ถึงได้รู้ว่าเงินซื้ออะไรไม่ได้เลยสักอย่างเดียว แม้แต่ชีวิตและความสุข
    เงินเป็นแค่ปัจจัยประกอบที่สมมุติเอา เราอยู่ได้โดยไม่ต้องมีเงิน ตั้งแต่นั้นก็เลยฝึกตัวเองว่า ถ้าเราไม่มีเงินจะอยู่อย่างไร โชคดีที่ได้ทำทัวร์ เพราะว่าเวลาไปต่างประเทศ หลายประเทศที่เขายากจนกว่าเราอินเดีย พม่า เขาไม่มีเงินสักบาทเดียวในบ้าน ไม่มีอุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวก สามีจะจุดไฟยังต้องเอาหินเหล็กไฟมาตีกัน ภรรยาเอาปุยนุ่นมาจ่อไฟ ทั้งพม่า ทั้งอินเดียที่ในชนบท เขาเอาดินมาปั้นตากแดด เก็บหญ้า เก็บฟางมาเผาบ้าง เอาดินมากินก็มี เอามาเผาแล้วกิน เผาทำภาชนะ น้ำก็ตักจากแม่น้ำ ผักหญ้าเก็บเอาหมด เออ มันอยู่ได้ นั่นคือสัจธรรมที่สำคัญ
    ที่เลิกนอนที่นอนมานอนพื้น เพราะนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาที่ท่านออกธุดงค์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านจะนอนที่ไหน ใครจะเป็นคนหอบที่นอน หอบฟูก หอบหมอนตามที่ท่านอย่างเก่งก็คือ เอาจีวรลงปู เอาจีวรม้วนมาหนุนศีรษะ เพราะฉะนั้นท่านนอกกับดินด้วยซ้ำ นี่เรานอนกับพื้นกระดานในบ้าน สะอาดกว่าตั้งเยอะ ก็เลยนึกว่าทำไมเราไม่ทำตัวให้ง่ายลงไปอีก ด้วยการนอนบนไม้กระดาน เดือนแรกที่นอน แทบตาย นอนไม่หลับ มันเจ็บตัวกรุบกรับๆไปหมด ปวดกระดูกไหล่กระดูกหลัง มันช้ำเลย กดทับจนช้ำ เรารู้แล้วว่าคนที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตและคนที่ป่วยด้วยโรคกดช้ำหรือแผลกดทับเป็นอย่างนี้เอง นี่ถ้าเราไม่ขยับ มันก็จะช้ำไปเรื่อยๆ แล้วก็เน่า เริ่มรู้หมด ดีจังเลย เราไม่ต้องไปศึกษาจากไหนศึกษาจากตัวเอง คุณอาจเห็นว่าไร้สาระ แต่ผมคิดว่านี่เป็นประสบการณ์ที่สำคัญ

    ทราบว่าตอนนี้อาจารย์ทำอาหารปลอดสารพิษและอาหารธรรมชาติออกมาด้วย
    ตอนนี้ทำ “แหนมเผ่าทอง” มีวางขายที่เดลี่โฮม ปากช่อง เราไม่ใช่ผงชูรส ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่ดินประสิว เพราะฉะนั้นจะอยู่ในตู้เย็นได้แค่ 2 สัปดาห์ แกะออกมาขาวซีดแหงแก๋ ห่อด้วยใบตองล้วนไม่มีพลาสติก ทำ “สบู่เผ่าทอง” เป็นสมุนไพรไม่ใส่สารเคมีเลย เป็นก้อนก็จริงแต่ละลายง่าย ใช้ 7 วันละลายหมดแล้ว ใครทีขี้เหนียวอย่าไปซื้อไปใช้ “ข้าวเผ่าทอง” เป็นข้าวพันธุ์เล็บนก พันธุ์เดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จฯเสวยอยู่ตอนนี้ หอมด้วยนุ่มด้วย และเป็นออร์แกนิกหมด ใช้ขี้วัวขี้ควาย ปุ๋ยคือขี้อย่างเดียว เราไม่เคยคิดว่าขี้สกปรก เอามือกอบได้สองมือเลย มันคือกากอาหารธรรมดา มันอาจจะมีกลิ่นเท่านั้น เราไปสมมุติว่าอันนี้คือกลิ่นเหม็นเราไปสมมุติเอาว่าดอกมะลิอันนี้คือกลิ่นหอม สมมุติเอาหมดเลยทำไมไม่นึกว่ากลิ่นขี้อันนี้คือดอกมะลิ และดอกมะลิคือกลิ่นขี้ ก็แค่นั้นเองมันก็จับได้แล้ว ไปสะอิดสะเอียนว่ามันเป็นของสกปรก

    มีเหตุผลอะไรที่ทำสินค้าพวกนี้ออกมาคะ
    ผลิตภัณฑ์พวกนี้ทำเพราะไม่ต้องการให้คนซัฟเฟอร์แบบเรา หายป่วยแล้วสวดมนต์อยู่ทุกวันว่า ถ้าเผื่อจะต้องตายแล้วให้คนอื่นอีกมากมายรอดชีวิตโดยไม่ต้องเป็นมะเร็ง ก็ยินดีที่จะตาย คือตอนอธิษฐานว่าให้เราตายแทนคนอื่นได้ ไม่ได้คิดว่าเป็นนักบุญหรืออะไรแต่ว่าเราคือคนที่ไม่มีภาระแล้ว หมดห่วง พ่อแม่พี่น้องไม่มีห่วงอะไรแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อคนอื่นยังมีครอบครัวที่ต้องดูแล ยังมีห่วงอยู่ ทำไมเราไม่อาสาที่จะตายแทนเขาล่ะ ในเมื่อทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ในโลกนี้เหมือนกัน ไม่อยากให้ใครทุกข์ตรงนี้เลย เราผ่านสิ่งที่แย่ที่สุดในชีวิตมาแล้วเหมือนกับผู้ใหญ่ที่พูดว่าฉันอาบน้ำร้อนมาก่อน เวลาฉันสอนเธอ เธอฟังสิ เธอจะได้ไม่ต้องมาซ้ำรอยความผิดของฉัน เราก็จะบอกว่า ฉันผ่านโรคภัยไข้เจ็บมาก่อน ฉันถึงไม่อยากให้เธอมาอยู่ในวงจรอุบาทว์ของโรคภัยไข้เจ็บนี้อีก อยากจะป่าวประกาศว่าถ้าเธอกินให้ถูกสุขลักษณะ อย่าไปกินแพง ใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เรียบขึ้นเธอจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้

    ทุกวันนี้อาจารย์ยังมีภารกิจหรือมีสิ่งที่ยังอยากทำอยู่อีกหรือเปล่าคะ
    ที่ทำอยู่ก็พอแล้ว บริษัทไรท์แมนเรียกใช้บ้าง ทำเสื้อผ้าก็อยู่ตัวแล้ว ตอนนี้สนุกกับการคิดแบบ สเก็ตซ์แบบ นั่งทอผ้าขึ้นลายใหม่ๆบ้าง ลูกน้องก็ช่วยทำงานได้เยอะ ทำเรื่องแหนม สบู่ ข้าวเผ่าทองก็ลงตัวหมด รับตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต คือเป็นที่ปรึกษาของคุณสาระ ล่ำซำ ก็เป็นแนววัฒนธรรมเหมือนกับที่ทำที่นี่ คิดว่าจะดึงวัฒนธรรมมาเข้ากับชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ได้อย่างไร ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ทำให้ห่างไกลจากวัฒนธรรม ทำอย่างไรจะให้สองทางซึ่งสุดโต่งทั้งคู่ ทั้งซ้าย ทั้งขวา มาประสานกันตรงกลางได้ คนวัยรุ่นก็ยังเสพวัฒนธรรมได้ไม่ต้องมาพับเพียบเรียบร้อยจำ แต่อย่างน้อยรู้ว่าพับเพียบทำอย่างไรไม่จำเป็นต้องคลานเข่าตลอด 24 ชั่วโมง แต่รู้ว่าถ้าจำเป็นจะต้องคลานเข่าจะคลานอย่างไร เราก็สอนอยู่ สอนลูกน้อง อบรมพนักงานเรื่องมารยาทในการที่จะอยู่กับผู้อื่น ไม่ใช่คำว่ามารยาทในการเข้าสังคม เพราะตัวเองไม่ค่อยเข้าสังคมแล้ว แต่ว่าเป็นมารยาทที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความเกรงใจและมีความอ่อนน้อมต่อคนที่มีอาวุโสกว่า พวกนี้เป็นเสน่ห์ของตัวเราหมดเลย ที่พูดนี่ไม่ได้หมายความว่ามีแต่คนรักเราทั้งหมด คนเกลียดก็มี แต่รวมๆ แล้วยังดีใจว่าคนรักเรามากกว่าคนเกลียด เพราะว่าเราอ่อนน้อมถ่อมตัว ไม่เคยจองหองพองขน

    การทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด อะไรคือสิ่งที่อาจารย์ภูมิใจที่สุดค่ะ
    การได้ทำงานถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ เป็นสิ่งที่ภูมิใจอันหนึ่งพอๆกับการได้ทำงานให้แก่ประเทศชาติ งานที่ไม่จำเป็นว่าต้องใช้เงินเป็นกอบเป็นกำ แต่เป็นงานที่แล้วได้ทิ้งอะไรไว้ให้คนรุ่นหลัง อย่างการทำงานให้หอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ก็มีการตอบรับดีมาก หลังจากวันเปิดอย่างเป็นทางการ ผมเข้าเฟซบุ๊กมีคนที่มาชมงานส่งข้อความเข้ามา คนหนึ่งเขียนว่า ขอบคุณอาจารย์เผ่าทองที่ฝากสิ่งดีๆไว้ให้คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยของเรา
    ผมถือว่าไรท์แมนมีบุญคุณที่ให้โอกาสผมได้มาทำงานนี้ เพราะเขาจะเลือกใครก็ได้ เขาเป็นองค์กรใหญ่ แต่เขาเลือกเรา ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเก่งอยู่คนเดียว คนเก่งกว่าผมมีอีกเยอะ เพียงแต่ว่าเขามีโอกาสหรือไม่เท่านั้น

    ถ้ามีคนถามว่า อาจารย์อยากทำอะไรก่อนตาย
    อยากทำหนังสืออีกสักเล่มที่รวบรวมและเปรียบเทียบระหว่างประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ลงมา จาก 5,000 ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย เทียบกับเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในโลกอย่างเช่น เมื่อปี พ.ศ. 2325 ที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพ.ศ.เดียวกันนี้ประเทศอื่นๆเขาเกิดอะไรขึ้นบ้าง เป็นงานใหญ่มาก แต่อยากจะทำเพราะยังไม่มีใครทำตรงนี้
    เหตุผลคือ เวลาสอนหนังสือมักจะมีปัญหามากว่าเวลาพูดแล้วคนนึกภาพไม่ออก หรือเวลาที่เราบรรยายให้ฝรั่งฟังถึงคิงรามาที่หนึ่ง คิงรามาที่สอง ฝรั่งไม่รู้จักหรอก เหมือนกับเราพูดถึงประวัติศาสตร์อังกฤษเดี๋ยวจอร์จ เดี๋ยวเอลิซาเบธ แต่ถ้าเกิดเราพูดว่าควีนวิกตอเรียของอังกฤษ ร่วมสมัยกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ของไทย และทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โอ้โฮ จำได้เลยคลิกเลย ซึ่งจากตรงนี้ก็จะนำพาต่อไปว่า รัชกาลที่ 4 เคยส่งราชทูตไปอังกฤษ หม่อนราโชทัยมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับควีนเอลิซาเบท อยาง่นี้สนุกกว่า และราชทูตของรัชกาลที่ 4 ก็ยังไปฝรั่งเศสไปเฝ้าฯพระเจ้านโปเลียนที่ 3 และพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระเจ้านโปเลียนที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ร่วมสมัยกัน ก็เกิดการเชื่อมต่อกันได้หมด ถามว่ามีประโยชน์ไหม มีประโยชน์ ก็เลยอยากทำอันนี้ก่อนตาย ประกอบรูปประกอบอะไรด้วย จะได้ทำให้คนรุ่นหลังรักประวัติศาสตร์มากขึ้น
    ใครที่เชื่อว่าความสุขในชีวิตหายาก เกิดยาก แบบอย่างการใช้ชีวิตอาจารย์หนุ่มคนนี้เป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่า ความสุขไม่ได้ยากเกินที่เราจะไขว่คว้ามาไว้ข้างตัว ก็แค่เปลี่ยนมุมในการมอง
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Posted <ABBR class=published title=2010-11-15T15:55:22+00:00>15 November 2010
    สงครามเงินตราและทางเลือกของไทย
    เผยแพร่ครั้งแรกที่มติชนออนไลน์ 21 ตค. 2553
    http://www.matichon....grpid=&catid=02

    ราคาทองคำมาจากการเก็งกำไรค่ะ สมัยนี้เงินเข้าไปเก็งกำไรทองผ่านตราสารสารพัดแบบ ไม่ใช่แค่ gold futures อย่างเดียว มี gold ETF, gold saving account ซึ่งผลตอบแทนขึ้นเมื่อทองคำราคาขึ้น แต่ผู้ลงทุนจำนวนมากไม่ได้รับทองคำมาถือไว้เหมือนพ่อค้าร้านทองคำนะคะ (ถ้าพวกทีลงทุนกะทองคำเชื่อจริงๆว่าเงินเ้ฟ้อแบบถล่มทลายกำลังมา เขาก็ต้องรับทองคำมายึดถือไว้จริงๆค่ะ) ราคาทองคำขึ้นมาปรากฎว่าธนาคารกลางใหญ่อย่างธนาคารกลางสวิสก็ดีใจค่ะ ขายทองคำเอามาใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคม ดิฉันคิดว่าคนเอเชียมีความยึดติดกะทองคำมาก แรงซื้อจากอินเดียกะจีนที่มาจากเศรษฐีใหม่ก็เยอะ แต่เอาเข้าจริงทองคำไม่สามารถค้ำประกันเงินตราทั่วโลกได้แล้ว เศรษฐกิจโลกไปไกลกว่านั้น แร่ธาตุที่มีคุณค่าทางอุตสาหกรรมอื่นๆก็มี ที่สำคัญคือเทคโนโลยีที่แปรทรัพยากรมาเป็นสินค้าเืพื่อบริโภคต่างหากที่เป็นแรงดันค่าเงินในระยะยาว


    ดิฉันคิดว่าความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อที่สหรัฐฯนั้นยังไม่มากถึงขนาดต้องตื่นตระหนกหรอกนะคะ ไม่เหมือนตอนที่เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พิมพ์แบงค์มาใช้หนี้ ตอนนั้นหนี้เยอรมันเป็นหนี้ร้อนที่ต้องรีบใช้ หนี้สหรัฐฯไม่่ใช่หนี้ร้อน และเศรษฐกิจสหรัฐฯตกต่ำก็กดดันให้เงินเฟ้อต่ำได้ ตอนนี้สหรัฐฯไม่ได้มีปัญหาเงินเ้ฟ้อนะคะ ดูีญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง เศรษฐกิจไม่ดีมาเป็นทศวรรษ ธนาคารญี่ปุ่นอัดฉีดเงินยังไงก็ไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อนะคะ ที่เฟ้อคือไปเฟ้อต่างประเทศผ่านการไหลเวียนของทุน ธนาคารญี่ปุ่นเอาเงินไปลงทุนต่างประเทศซะมากกว่า ลักษณะเดียวกะธนาคารอเมริกันกะธนาคารยุโรปในตอนนี้

    แม้ว่าราคาทองคำที่สูงขึ้นหมายความว่าอำนาจการซื้อของเงินดอลลาร์ที่มีต่อทองคำต่ำลง แต่ทองคำไม่ใช่สินค้าที่บริโภคได้และไม่ได้ใช้ในอุตสาหกรรมเท่าเงินหรือเหล็ก ถ้าจะวัดเงินเฟ้อก็ต้องวัดที่ค่าครองชีพ ถ้าจะห่วงปัญหาเงินเฟ้อประเทศที่น่าห่วงกว่าคือประเทศที่เงินทุนดอลลาร์ไหลไปทั่วโลกแล้วไปดันให้เก็งกำไรในตลาดต่างๆ ไม่ว่าตลาด commodity ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร รวมทั้งประเทศไทยค่ะ

    เงินบาทจะไปถึง 26 บาทต่อดอลลาร์ไหม? ขึ้นอยู่กะแบงค์ชาติค่ะ ถ้าไม่อยากให้ถึงก็ทำได้โดยควบคุมทุนต่างชาติไม่ให้เข้าไทย จีนก็ทำอยู่ไงคะ เงินจีนถึงไม่แข็งไงคะ ไม่ใช่ว่าจีนแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศอย่างเดียวถึงคงอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่จีนควบคุมการไหลเข้าของทุนต่างชาติเข้มงวดค่ะ เงินบาทแข็งเร็วกว่าเงินวอนของเกาหลีใต้อีกนะคะ ทั้งๆที่ไทยไม่ได้เจริญเท่าเกาหลีใต้ สินค้าส่งออกของไทยยังไม่ใช่สินค้าเทคโนโลยีไทย คือเป็นสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าสินค้าเกษตรก็จริง แต่ไม่ใช่เทคโนโลยีของไทย ที่คนไทยได้คือผลตอบแทนจากค่าแรงเท่านั้น แม้ว่าเกาหลีใต้จะเจริญกว่าไทยธนาคารกลางเกาหลีใต้ก็ออกมาตรการควบคุมเงินทุนต่างชาติก่อนไทย

    อาทิตย์๊ที่่ผ่านมาเงินเอเชียก็อ่อนลงเพราะกระแสเรื่องการควบคุมเงินทุนต่างชาติกำลังมาแรงค่ะ
    http://www.bloomberg...-agreement.html

    ดิฉันคิดว่าอีกหน่อยไทยก็ต้องออกมาตรการควบคุม (แต่รีบๆควบคุมเร็วๆจะดีกว่า ดูจีนเป็นตัวอย่าง) ไม่งั้นอััตราค่าเงินก็เป็นรถไฟเหาะตีลังกาค่ะ ขึ้นไปสูงแต่ไม่ได้ขึ้นเพราะเศรษฐกิจแข็งอีกไม่กี่ปีก็จะตกฮวบฮาบ การส่งออกที่ว่ายังไม่ส่งผลกระทบนั้นเพราะสถิติมีความเฉื่อย และถ้าดูการส่งออกแล้วทีว่ามากกว่าปีที่แล้วนั้นก็เพราะตกต่ำไปมาก ดีขึ้นก็ไม่แปลก ที่สำคัญที่อ้างกันส่งออกยังดีนั้นเทียบแล้วยังไม่ดีเท่าตอนก่อนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเริ่มนะคะ ยังไม่ได้กลับไประดับเก่าเลย ฉะนั้นจะอ้างว่าส่งออกของไทยยังแข็งก็ยังอ้างไม่ได้หรอกค่ะ อีกปีนึงกลับมาดูสถิติกัน หรือไม่ก็ดูว่าเมื่อไรปริมาณการส่งออกจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเริ่ม

    -----------------

    จริงครับ คนเอเซียโดยเฉพาะอินเดียและจีนเป็นประเทศที่บริโภคทองคำมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอินเดียมีอัตราการบริโภคที่มากกว่าจีน เกือบทุกงาน ไม่ว่างานวันเกิดเริ่มตาดูโลก งานแต่ง งานแซยิด งานศพ ล้วนแต่ใช้ทองคำเพื่อบ่งบอกถึงฐานะทางสังคม แม้ว่าคนในประเทศจีนจะนิยมชมชอบทองคำ แต่รัฐบาลจีนซึ่งเป็นคนที่คุมเงินลงทุนทั้งหมดผ่านรัฐวิสาหกิจจีน(ซึ่งเมื่อก่อนได้ชื่อว่ามีการคอรัปชั่นมากที่สุด จนทางการต้องออกมาตรการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษ โดยเฉพาะการประหารชีวิตเป็นรายวัน ซึ่งจีนติดอันดับหนึ่งในห้าของโลกที่มีการประหารชีวิตเฉลี่ยต่อวันสูงมาก ส่วนคนตายก็ตายสุดคุ้มเพราะรัฐเอาอวัยวะทุกส่วนไปต่อชีวิตให้คนอื่น ไม่ว่าจะตับ ม้าม ไต หัวใจ ปอด ตับอ่อน ถุงน้ำดี สารพัด รวมถึงการทำสเตมเซลล์ นักโทษจะถูกประหารโดยการยิงปืนเข้าที่ศรีษะ โดยมีทีมแพทย์และอุปกรณ์ที่พร้อมจะชำแหละศพของนักโทษโดยเฉพาะอวัยวะภายในเกือบทุกส่วน) ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจของจีนมีเงินทุนมหาศาล มีบริษัทฯในเครือเป็นร้อยๆบริษัทและสยายปีกไปทั่วโลก กว้านซื้อกิจการไปทุกประเทศ ทุกทวีป และเงินทุนสำรองของจีนได้เอามาระดมซื้อแร่ธาตุหายาก พร้อมๆกับทำมันให้มีค่ามากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เป็นแค่ขี้แร่ที่ไร้ค่า ซึ่งจากข่าวล่าสุดที่มีปัญหาเรื่องกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์บนเกาะกับญี่ปุ่นจนโด่งดังไปทั่วโลกนั้น ทางการจีนได้ตอบโต้ที่จะเข้มงวดหรือจำกัดการส่งออกแร่ธาตุหายากไปญี่ปุ่น ซึ่งสินค้าที่ทำจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้มีส่วนประกอบของแร่หายากอยู่ที่เรียกว่าRare Earth และสินค้าพวกนี้จะเป็นสินค้าพวกกึ่งสำเร็จรูป หรือเป็นวัสดุที่เป็นอะไหล่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เอาไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปในญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าไฮเทค แม้จีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีแร่หายากอยู่แต่จีนก็นิยมที่จะเอาเงินทุนสำรองที่มีอยู่ไปลงทุนซื้อพวกนี้เก็บสะสมเอาไว้จำนวนมาก พวกซัพพลายเออร์หลักๆก็จะเป็นแอฟริกา(ขนาดที่ว่าจีนประกาศยกหนี้ให้แอฟริกาที่ขายแร่ให้จีน) และประเทศอื่นๆในแถบเอเซีย รวมถึงการเข้าไปลงทุนหรือร่วมทุนในการซื้อกิจการเหมืองแร่ ถลุงแร่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย ยุโรปและอื่นๆ

    การที่เงินดอลล่าร์อ่อนค่า เพราะรัฐบาลสหรัฐพิมพ์ธนบัตร(ซึ่งเป็นกระดาษที่ไม่มีอะไรรองรับ แต่รัฐรับประกันในการเอาไปใช้จ่ายและอื่นๆให้เรา ผู้ใช้)ทำให้ค่าเงินอ่อนด้อยค่าลง แต่กลับทำให้ทองคำ และสินค้าโภคภัณท์อื่นๆรวมถึงน้ำมันและแร่หายากมีราคาสูงขึ้นเพื่อชดเชยในความเสี่ยงของการอ่อนค่าลงของเงินสหรัฐ ดังนั้นแม้ว่าจีนดูเหมือนว่าจะมีทุนสำรองในรูปของเงินสหรัฐและพันธบัตรสหรัฐอยู่มาก แต่จีนก็ฉลาด จีนได้ลงทุนไปซื้อแร่พวกนี้มาตุนไว้เพียบ คนโดยทั่วไปสนใจแต่ทองคำเพราะว่ามันซื้อง่ายขายคล่อง แต่สำหรับรัฐบาลจีนแล้ว รัฐบาลจีนมองว่ามันมีราคาแพงเกินไปหากเทียบกับแร่ประเภทอื่นๆในโลกนี้ ดังนั้นการถาโถมเอาเงินทุน เงินสำรองออกมาซื้อแร่ธาตุต่างๆเข้าไปเก็บไว้แทนทองคำจึงเป็นที่ต้องการของรัฐบาลจีน โดยเฉพาะแร่ธาตุเหล่านี้รัฐบาลจีนไม่ได้ซื้อมาแล้วขายไปเปล่าๆ ตรงกันข้ามมันถูกนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าการลงทุน ในรูปของสินค้าสำเร็จรูปหรือชิ้นส่วนอะไหล่ของสินค้าไฮเทคโนโลยี่ต่างๆ

    แน่นอนว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าไปเท่าไรมันก็ไม่เฟ้อ แต่ไปเฟ้อในต่างประเทศผ่านธนาคารเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศของญี่ปุ่น นั่นเป็นเพราะว่า หนึ่งประชากรญี่ปุ่นชะลอการเติบโต สอง ญี่ปุ่นมีทัศนคติในการออมมากกว่าใช้จ่าย ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่ ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานเก็บเงินแล้วก็เอามาใช้ตอนแก่ชรา จึงอย่าได้แปลกใจที่จะเห็นเชียงรายกลายเป็นเมืองของคนญี่ปุ่นที่เกษียรอายุมาอยู่กันมากมายเพราะสภาพอากาศและชีวิตความเป็นอยู่เหมือนญี่ปุ่น เว้นแต่ค่าครองชีพที่ถูกกว่ากันมาก แต่คุณกานดาอย่าลืมว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเจ้าหนี้ ไม่ใช่ลูกหนี้นะครับ ไม่เหมือนอย่างประเทศอเมริกาที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ของโลก ดังนั้นถึงญี่ปุ่นจะอัดฉีดเงิน พิมพ์ธนบัตรขึ้นมาเท่าใดก็ไม่ทำให้ค่าเงินเขาด้อยค่าและเฟ้อขึ้นมาได้

    ใช่ครับคุณกานดา ว่าหนี้ในตอนนั้นของเยอรมัน กับหนี้ของอเมริกาในตอนนี้มันต่างกัน แม้ว่าหนี้ของอเมริกาในตอนนี้จะมีจำนวนมหาศาลมากกว่าของเยอรมันแต่เพราะว่าขนาดเศรษฐกิจของอเมริกาเมื่อเทียบกับของโลกแล้วมีขนาดใหญ่ สรุปแล้วอเมริกาพิมพ์เงินของตนเองเพิ่มขึ้นมาได้โดยมีแค่ขนาดกำลังเศรษฐกิจของประเทศเป็นเครื่องค้ำประกันใช่ไหมครับ ไม่ได้มีอย่างอื่นมาค้ำประกันใช่ไหมครับ

    ผมเคยได้ยินอยู่เมื่อช่วงที่ทองคำกำลังเปลี่ยนผ่านไปถึงราคาพันเหรียญต่อออนซ์ รัฐบาลอินเดียได้ประมูลซื้อทองคำจากไอเอ็มไป รวมทั้งประเทศมอริเชียสด้วย แต่เมื่อราคาทองคำมายืนอยู่ที่1400 และกำลังมุ่งหน้าไปที่1500 ทุกคนก็เริ่มพูดกันถึงเรื่องฟองสบู่ทองคำกันแล้ว และผมเองก็ไม่เคยได้ยินว่ารัฐบาลจีนกับรัฐบาลอินเดียเข้ามาซื้อทองคำกันอีกเลย มีแต่ได้ยินข่าวว่าสองประเทศนี้แห่กันซื้อแร่โดยเฉพาะแร่หายากกันให้มาก แน่นอนสำหรับผมแล้ว ผมมองเห็นฟองสบู่ทองคำแล้ว และผมเชื่อว่าคนอื่นๆแม้แต่รัฐบาลอื่นๆ โดยเฉพาะอเมริกาและรัฐบาลที่ถือครองทองคำไว้ในมือจำนวนมากก็เริ่มที่จะต้องการเทขายทองคำออกมาแน่ๆ เพราะนั่นคือโอกาสอันดีในการที่จะทำกำไรให้กับตัวเอง ดังนั้นผมเชื่อว่าทองคำของวิ่งพุ่งไปถึง1500แล้วก็ถูกกระหน่ำเทขายออกมา แล้วนำเงินจากการเทขายทองคำไปลงทุนอย่างอื่นต่อไปในสินค้าโภคภัณท์อื่นๆ เพราะว่าสินค้าโภคภัณท์อื่นๆอีกหลายตัวราคายังต่ำมากเมื่อเที่ยบกับทองคำ ไม่ว่าจะเป็น สังกะสี พลวง เงิน ทองแดง และแร่หายากอื่นๆ

    ส่วนค่าเงินบาทที่ผมตั้งธงไว้ว่าจะเห็นไปอยู่ที่26บาทในหนึ่งปี ผมคงต้องถอนคำพูดถ้าหากว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการออกมาสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งผมก็ได้เห็นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ธปท ประกาศว่ากำลังศึกษาหาวิธีการเก็บดอกเบี้ยหรือภาษีสำหรับเงินทุนที่ไหลเข้ามา แค่ข่าวนี้ออกมหุ้นก็ร่วงไปสิบกว่าจุดในสองวันที่ผ่านมา ดังนั้นหากไม่มีการสกัดกั้นการไหลเข้ามาของเงิน ผมคงฟันธงไปว่าค่าเงินจะไปอยู่ที่25-26บาทภายในหนึ่งปี แต่หากว่ามีมาตรการออกมา ผมฟันธงว่าค่าเงินคงไปอยู่ที่28-29บาทแน่นอน ที่ผมเผื่อไว้เพราะรัฐบาลอเมริกาพิมพ์เงินออกมาหกแสนล้านโดยไม่มีอะไรมารองรับนอกจากขนาดเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาเองกับความแข็งแกร่งทางทหารเท่านั้น ดังนั้นการที่ค่าเงินจะยืนอยู่เหนือ29บาท มันจึงเป็นไปไม่ได้สำหรับผม ถ้าข้อนี้คุณกานดาหรือคนอื่นๆมีความคิดเห็นเป็นอื่นก็ขอเชิญร่วมเข้ามาสัมนากันได้เลยครับ

    โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการR& Dเพื่อการพัฒนาและผลักดันประเทศให้มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งมีเทคโนโลยี่เป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปพึ่งใครเขา

    สงครามเงินตราและทางเลือกของไทย - ชุมชนคนเหมือนกัน - Page 3
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยสงครามค่าเงิน
    โดย ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ


    [​IMG]
    สงครามค่าเงินได้เกิดขึ้นแล้วแม้นจะไม่มีใครประกาศก็ตาม
    สงครามนี้จะดำเนินอยู่อย่างน้อยปีหรือสองปีเป็นอย่างน้อย และ มันน่าจะจบลงด้วยการมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลก และ การจัดระเบียบระบบการเงินโลกครั้งใหญ่ เหมือนเช่นในประวัติศาสตร์ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้
    มีการส่งสัญญาณมาแล้วจากที่ประชุม จี20 มีการถกเถียงกันอย่างหนักเรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลก และ มีแนวโน้มที่โลกกำลังมุ่งหาระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ โรเบิร์ต โซลลิค ปะธานธนาคารโลกเสนอให้นำ “ทองคำ” มาร่วมกำหนดมาตรฐาน เขายังขยายความต่อว่า อาจจะใช้ระบบที่เรียกว่า ระบบ Bretton Woods III ที่ดอลลาร์ ยูโร เยน ปอนด์ และ หยวนจะมีบทบาทสำคัญร่วมกันในระบบการเงินโลก
    ขอเสนอเพื่อให้มีการกำหนดระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวในกรอบหรือกึ่งคงที่เสียงดังมากขึ้น เพราะสิ่งนี้น่าจะมีผลทางบวกต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมากกว่าระบบที่ใช้กันอยู่เวลานี้
    การผ่อนคลายปริมาณเงินด้วยการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์เข้ามาในระบบอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ ย่อมมีผลทำให้ดอลลาร์อ่อนลงอย่างมาก สหรัฐอเมริกาต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของตัวเอง กระตุ้นเศรษฐกิจภายใน แก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง
    การใช้ Quantitative Easing (QE) จึงเท่ากับการประกาศสงครามค่าเงินเพื่อตอบโต้จีนและประเทศเอเชียบางประเทศที่กดค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริงเพื่อหนุนการส่งออก การทำ QE มีผลกระทบข้างเคียงต่อประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญ การที่เงินสกุลท้องถิ่นแข็งค่าอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันและเป็นการยากที่จะปรับตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น
    หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจึงหยิบเอามาตรการภาษีและการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นขึ้นมาสกัดการแข็งค่าของเงินสกุลท้องถิ่นอันเป็นผลจากการไหลบ่าของเงินดอลลาร์ที่วิ่งหาผลตอบแทนที่สูงกว่า
    ภาวะดังกล่าวนี้ จะนำมาสู่นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งนโยบายการค้า และ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบเสรีมากขึ้น กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบต่อสถานการณ์ดอลลาร์อ่อน เงินสกุลท้องถิ่นแข็ง ต่างเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลของตนเองทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบโต้ต่อสภาพดังกล่าว
    ความตึงเครียดในระบบการเงินโลกย่อมเกิดขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง กลไกระบบการเงินโลกจะช่วยปรับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกได้ระดับหนึ่ง โดยที่การผ่าตัดใหญ่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนจำต้องเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติฟองสบู่โลก
    เมื่อพิจารณาสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางสหรัฐถือครองอยู่ และ ใช้หนุนหลังการพิมพ์เงินดอลลาร์ เช่น Mortgage-backed Securities อันเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง
    เราจะยิ่งสูญเสียความมั่นใจต่อดอลลาร์มากขึ้น ดอลลาร์จะยิ่งถูกเทขาย หนัก และดิ่งลงอีก เกิดการเก็งกำไรค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะทองคำ
    ฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ทางการเงิน และ อัตราเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไม่ไกลนัก
    ความปั่นป่วนเหล่านี้ควรหยุดลงก่อนที่จะเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ระบบการเงินโลกรอบใหม่ หากประเทศต่างๆ หันมาช่วยกันฟื้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่หรือกึ่งคงที่ขึ้นมาใหม่ และ ดอลลาร์จะไม่เป็นเพียงเงินสกุลหลักเพียงสกุลเดียวอีกต่อไป
    ดอลลาร์สหรัฐขึ้นมาเป็นเงินสกุลหลักของโลกมากว่า 60 ปีแล้ว และ อาจจะถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงตามหลักอนิจจังลักษณะของระบบเศรษฐกิจ
    ย้อนกลับไปในอดีตเราก็จะเห็น
    เดิมทีเดียวระบบการเงินโลกอยู่บนฐานของระบบมาตรฐานทองคำ พ.ศ. 2413-2457 ระบบนี้ดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพและเป็นยุคทองของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต่อมาในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2457-2488 เป็นช่วงที่ระบบการเงินระหว่างประเทศมีความสับสนวุ่นวายมากที่สุดช่วงหนึ่ง เกิดความตึงเครียดในระบบการเงินและระบบการค้าโลกขึ้นมา เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2457 และ ปี พ.ศ. 2473-2476 ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยโลก ตามการเริ่มปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองในหลายปีต่อมา ระบบมาตรฐานทองคำจึงล่มสลายลง
    ระบบการเงินระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งสองเกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อดูแลระบบการเงินของโลก ข้อตกลงเพื่อจัดระเบียบการเงินโลกใหม่นี้เกิดขึ้นที่เมือง Bretton Woods, New Hampshire สหรัฐอเมริกา จึงเรียกข้อตกลงและระบบนี้ว่า Bretton Woods ต่อมาระบบนี้ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1971 หรือ พ.ศ. 2514 การที่ระบบนี้ล่มสลายลงเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องและมหาศาลของสหรัฐอเมริกา ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับทองคำจึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามที่ประกาศเอาไว้ ดอลลาร์ถูกเก็งกำไรและลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการประกาศใช้ระบบลอยตัวหรือระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 นับจากนั้นประเทศใหญ่ที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาบางส่วนก็หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับระบบการเงินโลกซึ่งเป็นระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำถูกยกเลิกไป
    มาวันนี้ก็คงถึงเวลาปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งแล้ว ครับ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เมื่อฟองสบู่แตก

    ณ พัฒน์ -


    หลังจากที่ผมเคยพูดถึงฟองสบู่และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกากันไปหลายรอบแล้ว ช่วงนี้มีสัญญาณบอกเหตุหลายๆ อย่าง บอกว่าเราจะได้นั่งมองฟองสบู่แตกกันจะจะอีกรอบหนึ่งครับ
    จะว่ากันไปแล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นฟองสบู่ลูกใหญ่ๆ เติบโตและแตกกระจายกันหลายรอบแล้ว คงยังจำกันได้ว่าฟองสบู่ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์บ้านเราเมื่อสิบปีก่อน ที่ใครๆ ก็บอกกันว่า ราคามีแต่ขึ้นไม่มีลงแน่นอน ก็แตกไปก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแค่นิดเดียว
    คนที่ติดตามหุ้นอเมริกา ก็คงจำกันได้ สมัยหุ้น dot com กำลังรุ่ง นักวิเคราะห์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่แหละคือระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ จะใช้แบบจำลองธุรกิจแบบเดิมๆ มาประเมินราคาไม่ได้แล้ว ราคาหุ้นจะขึ้นไปอย่างไร ก็ไม่แพงเกินไปหรอก ขนาดหุ้นบางตัวที่ตั้งแต่ตั้งบริษัทมา ยังไม่เคยกำไรเลย (ถึงตอนนี้ก็ยังขาดทุนอยู่) ยังถูกปั่นขึ้นไปทะลุเพดาน
    แล้วเมื่อความเป็นจริงกลับมาเตือนสตินักลงทุน ฟองสบู่ก็แตกกันไปตามระเบียบ นี่ขนาดผ่านไปห้าหกปีแล้ว ทุกวันนี้ดัชนีหุ้น NASDAQ ที่เป็นศูนย์รวมของหุ้น dot com ทั้งหลาย ยังเหลือแค่ประมาณครึ่งเดียวของ ช่วงที่รุ่งโรจน์สุดๆ
    หลังจากโลกเข้าสู่ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูก หลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา เราก็ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์อยู่เนืองๆ ในหลายๆ ประเทศ
    แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจกันมาก คือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา
    ราคาบ้านในหลายๆ เมืองในอเมริกาขึ้นเอาๆ มากว่าสี่ห้าปีแล้ว ราคาบางแห่งขึ้นกันไปมากกว่าสองสามเท่า ช่วงที่ราคาขึ้นทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกัน (อีกเหมือนกัน) ว่าราคาบ้านไม่มีทางลงหรอก ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ เดี๋ยวเดือนหน้าราคาก็ขึ้นไปอีก แล้วจะต้องซื้อแพงกว่าเดิมนะ...คนเลยรีบแห่กันไปซื้อบ้าน ดันราคาให้สูงขึ้น
    นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยกู้ที่หละหลวมของสถาบันการเงิน
    ในช่วงที่ราคาบ้านมีแต่ขึ้นกับขึ้น ผู้กู้ก็สามารถขายบ้าน แล้วเอาเงินต้นมาคืนแบบสบายๆ อัตราการจ่ายคืนหนี้จึงสูงเกินจริง ยิ่งราคาบ้านยิ่งขึ้นเร็ว สถาบันการเงินยิ่งสรรหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินมาล่อใจให้คนไปซื้อบ้านเก็งกำไร เพราะยังไงผู้กู้ก็สามารถจ่ายคืนเงินต้นได้อยู่แล้ว
    จากเดิมที่การกู้เงินซื้อบ้านส่วนใหญ่เป็นกู้แบบดอกเบี้ยคงที่นานๆ (เช่น 30 ปี) เราก็ได้เห็นการปล่อยกู้แบบที่เรียกว่า ARM (adjustable-rate mortgage) ที่อัตราดอกเบี้ยช่วงแรกๆ ของการกู้ต่ำกว่าอัตราตลาด แต่อัตราดอกเบี้ยจะปรับได้เมื่อครบระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ (เช่น 5/25 คือดอกเบี้ยคงที่ห้าปีแรก แต่พอครบห้าปีแล้ว อัตราดอกเบี้ยสำหรับ 25 ปีที่เหลืออาจจะสูงขึ้นได้) คือ เรียกว่าล่อใจให้จ่ายค่างวดต่ำๆ ในช่วงแรกๆ
    หรือบางแห่งก็มีการให้กู้แบบจ่ายคืนแต่ดอกเบี้ยอย่างเดียวพอ เงินต้นไม่ต้อง เพื่อโน้มน้าวให้คนมาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรมากขึ้น
    หรือช่วงหลังๆ มีการให้กู้แบบ negative amortization คือ ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือน ไม่พอจะจ่ายค่าดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ดอกเบี้ยส่วน ที่ไม่ได้จ่ายก็ไปพอกกับเงินต้น เรียกว่าจ่ายยังไง เงินต้นไม่มีลด มีแต่จะเพิ่ม แต่ช่วงที่ราคาบ้านยังขึ้นอยู่ ผู้กู้ก็มีเงินพอมาจ่ายคืนธนาคารอยู่ดี แต่ถ้าราคาบ้านไม่ขึ้นก็ตัวใครตัวมันครับ
    สถาบันการเงินหัวใสก็เอาสินเชื่ออสังหา ริมทรัพย์มารวมกัน แล้วแต่งตัวใหม่ออกเป็นหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงต่ำ (ด้วยพลังแห่งการกระจายความเสี่ยง ตราบใด ที่ผู้กู้ไม่เจ๊งไปพร้อมๆ กัน การรวมหนี้ไว้ด้วยกันช่วยลดความเสี่ยงได้)
    ยิ่งเจอกับภาวะสภาพคล่องล้นตลาด และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ นักลงทุนทั่วโลกไขว่คว้าหาช่องทางการลงทุน หลักทรัพย์แบบนี้ยิ่งได้รับความนิยมสูง ธนาคาร ยิ่งเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อเอาไปขายเป็นหลักทรัพย์พวกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อจากกลุ่มลูกค้า ที่เรียกว่า sub-prime หรือกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติไม่ค่อยดี ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ เพราะธนาคารสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงๆ และนักลงทุนก็นิยมเพราะได้ผลตอบแทนมาก และความเสี่ยงต่ำ (ตราบใดที่ราคาบ้านยังไม่ตก) และเพราะว่าสถาบันการเงินสามารถผลักความเสี่ยง จากลูกหนี้ไปให้กับนักลงทุนในตลาดได้ส่วนหนึ่ง มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อเลยเริ่มหย่อนยาน
    นักลงทุนที่ถือหลักทรัพย์พวกนี้ ก็มีตั้งแต่พวก hedge fund และนักลงทุนที่สรรหาผลตอบแทนระยะสั้นเป็นหลัก ไปจนถึงกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนทรัพย์สินของรัฐบางประเทศ ที่ต้องการลงทุนในชั้นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ
    ว่ากันว่าช่วงรุ่งๆ มีหลักทรัพย์ประเภทนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง นับเป็นมูลค่ากว่าแปดแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในพอร์ตการลงทุนทั่วโลก
    อย่างที่บอกครับ ถ้าผู้กู้ไม่หยุดจ่ายคืนเงินต้นพร้อมๆ กัน หลักทรัพย์แบบนี้ก็ดูเหมือนจะปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าผู้กู้ไม่มีเงินจ่ายพร้อมๆ กัน ท่าจะยุ่งครับ
    ยิ่งช่วงนี้เริ่มมีข่าวว่า ราคาบ้านเริ่มตกอย่างต่อเนื่อง อัตราการจ่ายคืนเงินกู้เริ่มลดลง และจำนวนบ้านถูกยึดเริ่มพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ สถาบันการเงินที่เน้นปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้ากลุ่มนี้เริ่มปิดตัวลง และเริ่มมีข่าวว่า hedge fund บางแห่งที่เน้นเก็งกำไรหลักทรัพย์พวกนี้ขาดทุนบานเบอะ จนบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ต้องเข้าไปอุ้ม คนที่ถือหลักทรัพย์ที่ค้ำโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยพวกนี้ก็เริ่มอยู่ไม่สุข เริ่มเทขายกันเป็นการใหญ่
    แม้ว่าช่วงนี้ดูเหมือนว่า ปัญหาจะถูกจำกัดอยู่แค่ตลาด sub-prime mortgage แต่ก็มีทีท่าว่าปัญหานี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจได้ เพราะถ้าราคาหลักทรัพย์พวกนี้ตกมากๆ เข้า อาจจะทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินเริ่มตึงๆ ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปก็จะเพิ่มสูงขึ้น สถาบันการเงินก็ต้องคิดมากหน่อยก่อนจะปล่อยกู้ ทำให้เงินกู้เริ่มขาดแคลน ส่งผลกระทบถึงการลงทุนและการบริโภคไปด้วย
    ฟองสบู่ที่กำลังแตกอยู่นี้จะแตกกันนานขนาดไหน และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกขนาดไหน คงต้องรอดูกันครับ
    แต่ที่แน่ๆ นี่เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า ไม่มีอะไรที่จะขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุดหรอกครับ แม้ว่าฟองสบู่จะมีชีวิตอยู่ได้นานพอควร และกำไรจากฟองสบู่น่าเย้ายวนใจขนาดไหน อย่าเป็นคนสุดท้ายที่เข้าไป ก่อนมันแตกก็แล้วกันครับ


    ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
    เมื่อฟองสบู่แตก | โอเพ่นออนไลน์
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คู่หูโซรอสแนะซื้อโภคภัณฑ์ เหตุโลกเข้าสู่ยุคของผู้ผลิต ชี้หมดยุคเก็งกำไรแล้ว
    [​IMG]
    รูปภาพ : นายจิม โรเจอร์ส กูรูการลงทุนชื่อก้องโลกระหว่างเข้าร่วมประชุมสุดยอดด้านมุมมองการลงทุน 2011 ของรอยเตอร์
    ที่มา : Reuters
    กูรูการลงทุนจิม โรเจอร์ส (Jim Rogers) กล่าวว่า ชีวิตในไร่นาจะนำมาซึ่งความมั่<WBR>งคั่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้<WBR>ามากกว่าชีวิตในวอลล์สตรีท


    นายโรเจอร์ส ผู้ที่แนะนำการลงทุนในตลาดโภคภั<WBR>ณฑ์มามากกว่าทศวรรษได้ตอกย้ำว่า ผู้ผลิตของโลกไม่ว่าจะเป็<WBR>นคนธรรมดา บริษัท หรือประเทศ จะกลายเป็นภาคการเติบโตใหม่<WBR>ของโลก


    โดยสรุป นายโรเจอร์สกล่าวในสุดยอดการประชุมมุมมองการลงทุน 2011 ของรอยเตอร์ (Reuters 2011 Investment Outlook Summit) ในนิวยอร์คว่า การมีความสามารถในการผลิต, การเก็บรั<WBR>กษาดอกผลจากแรงงานของท่านเอาไว้ และเป็นเจ้าของสินทรัพย์คงทน (Hard Assets) ถือเป็นกุญแจสำคัญในการไขไปสู่<WBR>อนาคตที่รุ่งโรจน์ได้


    "คนทั้งหลายที่จบ MBA (ปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ) ได้ทำความผิดพลาดแล้ว มหานครลอนดอน (ในที่นี้หมายถึง City of London ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้<WBR>านการเงินในกรุงลอนดอนอีกทีไม่<WBR>ได้หมายถึงลอนดอนทั้งเมือง) และวอลล์สตรีทจะไม่ใช่สถานที่ที่ยิ่งใหญ่อีกต่อไปในอีก 2-3 ทศวรรษข้างหน้า มันจะเป็นยุคของผู้คนซึ่<WBR>งทำการผลิตสินค้าที่มีตัวตนจริ<WBR>งๆ" นายโรเจอร์สกล่าว


    "ตลอดห้วงประวัติศาสตร์เราได้มี<WBR>ช่วงเวลาที่ยาวนานซึ่งเป็นยุคที่อำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางการเงิน แต่เราก็มีช่วงเวลาที่ยาวนานซึ่<WBR>งอำนาจอยู่ในมือของผู้คนที่<WBR>ทำการผลิตสินค้าที่จับต้องได้<WBR>จริงๆด้วย อันได้แก่ชาวนาและผู้ทำเหมือง" นายโรเจอร์สระบุ


    นายโรเจอร์สซึ่งโดดเด่นขึ้<WBR>นมาหลังจากร่วมก่อตั้งกองทุนควั<WBR>นตั้มซึ่งเลิกกิจการไปแล้วกั<WBR>บนายจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักเก็งกำไรชื่อก้<WBR>องโลกเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ได้กล่าวตำหนิการไร้ความรับผิ<WBR>ดชอบทางการคลังของบรรดารัฐบาลลู<WBR>กหนี้และกล่าวสรรเสริญจี<WBR>นและประเทศในเอเชียอื่นๆเพราะว่<WBR>า ประเทศเหล่านั้นอดออม ทำงานหนัก และลงทุนในถนน โรงเรียน และโรงงานซึ่งล้วนก่อให้เกิ<WBR>ดความมั่งคั่งที่จับต้องได้


    เขาได้ยกตัวอย่างประเทศแคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยทรั<WBR>พยากรด้านโภคภัณฑ์และเหมืองแร่<WBR>ว่าจะไปได้ดีกว่าประเทศเบลเยี่<WBR>ยม ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลยุโรป


    เขายังคงแนะนำโภคภัณฑ์แก่นั<WBR>กลงทุนแม้ว่าราคาจะพุ่งขึ้นอย่<WBR>างมากในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีอ้างอิงราคาสินค้<WBR>าโภคภัณฑ์อย่าง Reuters-Jefferies CRB Index ของสินค้าโภคภัณฑ์ 19 ชนิด จะทำสถิติสูงสุดนับแต่เดือนตุ<WBR>ลาคม 2008 เขาก็ยังกล่าวว่า ราคาโภคภัณฑ์จะยังคงวิ่งสูงขึ้<WBR>นต่อเนื่องในทศวรรษหน้า


    "มันอยู่สูงมากๆ แต่มันจะวิ่งสูงยิ่งๆขึ้นไปอี<WBR>กในทศวรรษหน้า แม้ว่าผมจะเจ็บตัวบ้าง ผมก็ยังคงเป็นกระทิงอยู่ (กระทิงหมายถึงมีมุมมองว่<WBR>าตลาดจะเป็นขาขึ้นในทางการเงิน)<WBR>"


    ราคาทองคำตลาดส่งมอบทันทีในนิ<WBR>วยอร์คทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่<WBR>ที่ 1,430.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อวานนี้ (อังคารที่ 7 ธันวาคม 2010) ขณะที่ราคาทองแดงอ้างอิงพุ่<WBR>งทำสถิติสูงสุดที่ 9,044 ดอลลาร์ต่อตันในลอนดอนและราคาน้<WBR>ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าที่นิ<WBR>วยอร์กพุ่งทะลุ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้<WBR>งแรกในรอบ 26 เดือนเช่นกัน ก่อนที่ทั้งหมดราคาจะอ่อนตั<WBR>วลงจากจุดสูงสุดเมื่อตอนปิ<WBR>ดตลาดวานนี้


    เมื่อปีที่แล้ว ณ ที่ประชุมมุมมองการลงทุ<WBR>นของรอยเตอร์เช่นกัน นายโรเจอร์สบอกกับนักลงทุนที่<WBR>ลงทุนในน้ำมัน โลหะ และเมล็ดพืชว่า อย่าวิตกกับการเทขายอย่างหนั<WBR>กในตลาดเหล่านี้เพราะว่าการพิ<WBR>มพ์เงินของรัฐบาลทั่วโลกมีแต่<WBR>จะดันให้ราคาสูงขึ้น


    โรเจอร์สตอกย้ำมุมมองนี้อีกครั้<WBR>งเมื่อวานนี้ว่า พวกนักการเมืองกลัวที่จะต้<WBR>องคอยงับกระสุนทางการคลังเอาไว้<WBR>และจะเลือกลดค่าเงินตัวเอง เขาได้เรียกเงินหยวนของจีนว่<WBR>าเป็น สกุลเงินที่ปลอดภัยที่สุดในโลก และกล่าวอีกครั้งว่าทองคำจะวิ่<WBR>งทะลุ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์


    เขากล่าวอีกว่า ฟงอสบู่จะยังคงมีต่อไปในตลาดบ้<WBR>านในเมืองแถบชายฝั่งของจีน แต่เขาเรียกมันว่า ฟองสบู่ด้านราคาและจะไม่เป็นอั<WBR>นตรายเหมือนอย่างฟองสบู่สินเชื่<WBR>อซึ่งอยู่เบื้องหลังความตกต่ำของตลาดบ้านในสหรัฐฯ


    "เรามีฟองสบู่สินเชื่อที่นี่ บางทีอาจจะเป็นฟองสบู่สินเชื่<WBR>อที่ใหญ่ที่สุดในโลก" เขากล่าว "ฟองสบู่สินเชื่อขนาดมหึมาในลั<WBR>กษณะนั้นแน่นอนมันต่างจากฟองสบู<WBR>่ในด้านราคา หากผู้คนล้มละลายในเมืองจีน มันจะไม่ฉุดเศรษฐกิจจีน"


    เขากล่าวอีกว่า มีเค้าลางของวิกฤตค่าเงินมากขึ้<WBR>นและประเทศเจ้าหนี้อย่าง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ประเทศไทย ไต้หวัน และสิงคโปร์ จะกลับรุ่งเรือง


    โรเจอร์สยังเล็งไปที่อังกฤษว่<WBR>ายังคงสุ่มเสี่ยงต่อช่วงเวลาที่<WBR>ยากลำบาก และกล่าวอีกว่าเงินปอนด์จะร่<WBR>วงลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรในอีก 5 ปีข้างหน้า


    สหรัฐฯก็จะเผชิญกั<WBR>บความยากลำบากเช่นกัน


    "เส้นทางซึ่งคุณสร้างเศรษฐกิจ เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองคือ คุณต้องออมและลงทุน" เขากล่าว "กำลังในการผลิตคือตัวที่<WBR>จะนำการเติบโตของเศรษฐกิ<WBR>จในระยะยาว คุณไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจด้<WBR>วยการไปเที่ยวดิสโก้ทุกคืน"


    ที่มา ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra


    ไอดีข่าว nN0751689


    แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday
    Muslim Today - คู่หูโซรอสแนะซื้อโภคภัณฑ์ เหตุโลกเข้าสู่ยุคของผู้ผลิต ชี้หมดยุคเก็งกำไรแล้ว
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหภาพการเงินอาหรับ : ล้มอีกรอบอาจลุกไม่ขึ้น
    สหภาพการเงินอาหรับ: ล้มอีกรอบอาจลุกไม่ขึ้น
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>โดย เบ๊นซ์ สุดตา</O:p>
    <O:p>การตกต่ำลงในลักษณะที่อาจกู่ไม่กลับของเศรษฐกิจสหรัฐฯรวมถึงสถานภาพและพื้นที่ทางอำนาจในเวทีเศรษฐกิจโลกของพญาอินทรีตัวนี้ได้ก่อให้เกิดช่องว่างทางอำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้น และเมื่อทศวรรษที่ 2 แห่งศตวรรษที่ 21 เริ่มขึ้นในช่วง11 ปีนับจากปี 2010 นี้การท้าทายเงินดอลลาร์จะมีความดุเดือดและเข้มข้นมากขึ้นจามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป<O:p></O:p>
    ในตอนนี้จีนกับรัสเซียคือ หัวหอกสำคัญในการสร้างขั้วอำนาจทางการเงินโลกเพื่อมาถ่วงดุลสหรัฐฯที่ใช้อำนาจผ่านเงินดอลลาร์ นอกจากนั้นประเทศอื่นๆอย่างมาเลเซีย ฝรั่งเศส บราซิล และอิหร่านก็ออกมาพูดชัดเจนรวมถึงเริ่มลงมือทำในการจัดการกับระบบการเงินโลกที่ดอลลาร์ยังคงแผ่อิทธิพลได้ทั่วโลกแต่สภาพเริ่มจะเซมาเรื่อยๆแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ที่ร่วงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินเอเชียและประเทศเกิดใหม่อื่นๆรวมถึงราคาทองคำที่แพงขึ้นเป็นตัวสะท้อนสภาวะนี้ได้ดี<O:p></O:p>
    อาหรับเองก็มีความฝันที่จะเป็นอย่างสหภาพยุโรปที่ประสบความสำเร็จในการตั้งเงินยูโรเป็นเงินตราสกุลเดียวของภูมิภาค นอกจากนั้นอาหรับเองก็ต้องการให้ตัวเองเป็นแกนกลางในการผลักดันบทบาทของอิสลามในเวทีเศรษฐกิจโลก การตั้งเงินตราสกุลเดียวและการรวมระบบเศรษฐกิจของชาติสมาชิกกลุ่ม GCC ทั้ง 6 ประเทศถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้นำชาติอาหรับในภูมิภาคอ่าวนี้ต้องการไปให้ถึง<O:p></O:p>
    แต่ความล้มเหลวซ้ำซากที่เกิดขึ้นในกลุ่มGCCอันเนื่องมาจากการแตกสามัคคีกันภายในกลุ่มทำให้แผนการตั้งเงินตราสกุลเดียวเริ่มเกิดคำถามจากทั้งภายในและภายนอกมากขึ้น การแยกตัวออกมาของ 2 ชาติสมาชิกจากการตั้งเงินสกุลเดียวอย่างโอมานในเดือนธันวาคม 2006 และโดยเฉพาะ UAE เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2009 ที่ผ่านมา ทำให้แผนการตั้งเงินตราสกุลเดียวที่วาดฝันกันว่าจะเริ่มใช้ภายในปี 2010 นี้เริ่มล่าช้าออกไปแบบไม่มีกำหนด และแม้จะตั้งเงินตราสกุลเดียวขึ้นมาได้ เงินสกุลนี้จะมีผู้ใช้แค่ 4 ประเทศเท่านั้นนั่นคือ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ คูเวต และบาห์เรน ซึ่งจะก่อให้เกิดการขาดความสมดุลอย่างมากเพราะซาอุดิอาระเบียจะมีอิทธิพลครอบงำสมาชิกที่เหลือสูงมาก ขณะเดียวกันเงินสกุลใหม่จะขาดความแข็งแกร่งและการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพราะเศรษฐกิจสำคัญและใหญ่อันดับที่ 2 ของกลุ่ม GCC อย่าง UAE ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ก่อตั้งและใช้เงินสกุลใหม่นี้ด้วย<O:p></O:p>
    ในอนาคตชาติอาหรับทั้ง 6 แห่งกลุ่ม GCC จะเผชิญกับความท้าทายกับระบบการเงินโลกมากขึ้นและอาจพลาดโอกาสสำคัญในการจัดตั้งขั้วอำนาจทางการเงินของตัวเองขึ้นมาอย่างทันท่วงที ขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในระบบการเงินโลกจะยิ่งบีบให้อาหรับปรับตัวเองออกจากระบบผูกค่าเงินคงที่ไว้กับดอลลาร์ได้ยากลำบากมากขึ้นเพราะการเกิดความล่าช้าและไม่กล้าคิดนอกกรอบในการปรับเปลี่ยนระบบการเงินโดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง<O:p></O:p>
    ในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม GCC ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2010ผ่านมาด้านหนึ่งแม้จะยังไม่สามารถประสานรอยร้าวภายในกลุ่มจากการแตกคอกันของซาอุดิอาระเบียและUAE ลงได้ แต่ก็พอจะมีพัฒนาการสำคัญที่พอจะเป็นความหวังของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจชาติอาหรับกลุ่มนี้ขึ้นมาได้ โดยแม้ว่าทางกลุ่มจะยังไม่สามารถหารือถึงข้อตกลงและกลไกในการตั้งสหภาพการเงินได้ แต่ขณะนี้การประนีประนอมผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม GCC ได้มาลงตัวในเรื่องของการค้าเป็นหลัก ซึ่งแง่หนึ่งการที่ทั้ง 6 ชาติสามารถตกลงในเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็วก็เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีนโยบายในการลดการพึ่งพาภาคปิโตรเลียมและหันมาส่งเสริมภาคการค้า ภาคบริการ การเงิน และการผลิตมากขึ้น เห็นได้จากการผลักดันโครงการรถไฟเชื่อมทั้งภูมิภาคระยะทางกว่า 2,117 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2017 รวมถึงการอนุญาตให้บริษัทของประเทศในกลุ่ม GCC ตั้งสาขาได้อย่างเสรีทั่วทั้งภูมิภาค และบริษัทเหล่านี้จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเช่นเดียวกับบริษัทท้องถิ่นด้วย การผลักดันเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการมุ่งสู่การเป็นตลาดร่วมของภูมิภาคซึ่งด้านหนึ่งก็เป็นเงื่อนไขสำคัญในการมุ่งสู่การตั้งเงินตราสกุลเดียวด้วย<O:p></O:p>
    การผลักดันด้านการค้านั้นถือเป็นเป้าหมายสำคัญทางนโยบายของUAEซึ่งยืนยันมาตลอดว่าทางกลุ่มควรให้ความสำคัญกับเรื่องการค้าก่อนเรื่องการเงิน ผลลัพธ์เช่นนี้ด้านหนึ่งก็สามารถมองได้ว่าทางกลุ่มก็ต้องการเอาใจ UAE ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมที่ผ่านมาด้วย ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการประสานผลประโยชน์และวางกรอบกติกาและกลไกที่จะนำไปสู่การตั้งเงินตราสกุลเดียว<O:p></O:p>
    แต่ดูเหมือนกับว่าพัฒนาการในด้านการเงินนี้คงต้องเผื่อใจกันพอสมควรว่าอาจไม่ได้ดังหวังเพราะเป็นอีกครั้งที่ประเทศสมาชิกที่ต่างวาดฝันที่จะเป็นแบบประเทศกลุ่มเงินยูโรจะมีคำพูดที่ขัดกับการประกาศวาระใหญ่ของภูมิภาคเอาไว้ โดยล่าสุดประเทศ UAEเองได้ออกความเห็นผ่านเจ้าหน้าที่ระดับสูงและนักวิชาการหลายคนว่า ตอนนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะตั้งเงินตราสกุลเดียว ขณะเดียวกันก็กล่าวชัดว่าการตรึงค่าเงินเดอร์แฮมของตัวเองไว้กับเงินดอลลาร์ยังให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจUAE อยู่ซึ่งเป็นการตอกย้ำกับท่าทีของอดีตเลขาธิการกลุ่ม GCCอย่างนายอัลอัตติเยาะห์ที่เพิ่งหมดวาระไปว่า มาตรการ QE2 มูลค่า 600,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯจะไม่ส่งผลให้ทางกลุ่มเลิกตรึงค่าเงินกับดอลลาร์อีกต่อไป<O:p></O:p>
    นอกจากการแตกสามัคคีภายในรวมถึงท่าทีที่ดูเหมือนจะชักเข้าชักออกและลังเลจากการสลัดออกจากพันธนาการของเงินดอลลาร์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เงินอาหรับหมดรัศมีในเวทีโลกได้ก็คือ การก้าวขึ้นมาของเงินหยวนจีนในเวทีการเงินโลก ซึ่งหากอาหรับชักช้าในการผลักดันการตั้งสหภาพการเงินและเงินสกุลเดียวอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ไม่ช้าประเทศมุสลิมอื่นๆจะเบนหน้าเข้าหาเงินหยวนในฐานะที่เป็นสกุลเงินทางเลือกในการทางการค้าและทุนสำรองทันที โดยในตอนนี้แม้เงินหยวนจะยังไม่สามารถแทนที่เงินดอลลาร์ได้ทันที แต่จีนก็คิดการใหญ่ด้วยกันกระชับอิทธิพลในด้านเศรษฐกิจ พลังงาน และความมั่นคงบนเส้นทางสายไหมแล้ว หากเทียบกันแล้ว โครงข่ายทางการขนส่งอาหรับนั้นด้อยกว่าจีนทั้งในแง่ของปริมาณ ความครอบคลุมและเทคโนโลยี การเปิดตัวของเงินหยวนในฐานะเงินสกุลทางเลือกในระบบการค้าน้ำมันหรือเปโตรหยวนจะเป็นการเร่งให้เงินดอลลาร์เผชิญกับแรงเทขายมหาศาลในอนาคต ซึ่งหากว่าอาหรับไม่มีการเตรียมตัวตรงนี้ให้ดีอาจเจอผลกระทบใหญ่ได้<O:p></O:p>
    เมื่อถึงตอนนั้นสหภาพการเงินอาหรับคงเหลือแค่ชื่อในประวัติศาสตร์และชาติอาหรับอาจถูกต้อนให้เข้าไปอยู่ในขั้วใดขั้วหนึ่งของระบบการเงินโลกก็เป็นได้
    <O:p>Muslim Today - สหภาพการเงินอาหรับ : ล้มอีกรอบอาจลุกไม่ขึ้น</O:p>
    </O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ซินหัวเปิดตัวตลาดแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินแห่งแรกของโลก [​IMG]

    รูปภาพ : ด้านนอกของตลาดแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินของซินหัวในช่วงพิธีเปิดเมื่อเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2010 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ในเขตธุรกิจหลี่เจ๋อในมหานครปักกิ่ง
    ที่มา : Xinhua News Agency
    สำนักข่าวซินหัวของรัฐบาลจีนได้<WBR>เปิดตัวตลาดแลกเปลี่ยนข้อมู<WBR>ลทางการเงิน (Financial Information Exchange) อย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2010 ที่ผ่านมา โดยตลาดนี้จะทำหน้าที่เป็<WBR>นระบบการแบ่งปันข้อมูล (Information Sharing Platform) ในภาคการเงินและวัฒนธรรมเพื่อส่<WBR>งเสริมพัฒนาการของระบบตลาดทุ<WBR>นของประเทศ

    ตลาดนี้ได้รับการอนุมัติ<WBR>จากธนาคารกลางของจีน ถือเป็นตลาดแลกเปลี่ยนข้อมู<WBR>ลการเงินแห่งแรกของโลก


    ตลาดนี้ได้รับการสนับสนุ<WBR>นทางการเงินและจดทะเบี<WBR>ยนโดยบรรษัทการเงินแห่งจีนหรือ CFC (China Finance Corporation) ซึ่งซินหัวเป็นเจ้าของ


    ตลาดนี้ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจหลี่เจ๋อ (Lize) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหานครปั<WBR>กกิ่ง โดยตลาดแห่งนี้มีกลุ่<WBR>มของจอเอลซีดีใหญ่ที่สุดในโลกคื<WBR>อมีขนาดถึง 7,593 นิ้ว ซึ่งจะใช้แสดงข้อมูลตามเวลาจริ<WBR>งหรือ real-time ในอุตสาหกรรมการเงินและวัฒนธรรม


    สมาชิกผู้ใช้ยังสามารถได้ข้อมู<WBR>ลล่าสุดในเรื่องของการถ่<WBR>ายโอนเทคโนโลยีและการให้คำปรึ<WBR>กษาทางธุรกิจ


    ตลาดแห่งนี้จะช่วยยกระดับภาพลั<WBR>กษณ์และอิทธิพลของซินหัวในธุรกิ<WBR>จข้อมูลข่าวสารการเงินในระดั<WBR>บโลกและเสริมอำนาจละมุน (Soft Power ซึ่งในทางการต่างประเทศหมายถึ<WBR>งอำนาจที่ช่วยชักจูงให้ผู้อื่<WBR>นทำตามได้โดยไม่ต้องบังคับ เป็นอำนาจในเชิงการเปลี่้<WBR>ยนแปลงความคิด ค่านิยม) ในระบบตลาดทุนระหว่างประเทศ นายหลี่ ฉงจุน (Li Congjun) กรรมการผู้จัดการ (President) ของซินหวักล่าวในพิธีเปิด


    "ตลาดนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็<WBR>นระบบของการให้บริการการเป็นตั<WBR>วกลางที่ยุติธรรม เที่ยงตรง มีความเป็นมืออาชีพ และมีประสิทธิภาพสูงในด้านข้อมู<WBR>ลทางการเงินและภาควัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันข้อมู<WBR>ลในหมู่ธุรกิจภาควัฒนธรรม อุตสาหกรรม และตลาดทุน" นายหลี่กล่าว


    "เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อเป็นศู<WBR>นย์ให้บริการข้อมูลทางการเงิ<WBR>นและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่ทรงอิ<WBR>ทธิพลที่สุดในโลก"
    Muslim Today - ซินหัวเปิดตัวตลาดแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินแห่งแรกของโลก

     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Dec 20 2010, 1:17 AM
    Guest920 (guest): เช้าวันจันทร์ ทองโดดมาที่ 1384 ขอความเห็นคุณจิมมี่ด้วยค่<wbr>ะ ยังเหลือเวลา
    ให้เขาทุบอีกไ<wbr>หมก่อนหมดปีนี้ ขอบคุณค่ะ

    [​IMG]
    [​IMG]
    Dec 20 2010, 3:06 AM
    JimmySiri: ราคาทองคำเช้านี้น่าจะเป็น<wbr>ผลมาจากข่าวลือเรื่องสงครา<wbr>มเกาหลีที่มีความเคลื่อนไห<wbr>ว
    จากหลายๆฝ่ายออกมาครับ โดยเฉพาะรัสเซียที่ถึงกับเ<wbr>รียกประชุมฉุกเฉินในเรื่อง<wbr>นี้ และอิหร่านก็เตรียม
    ความพร้<wbr>อมทางการทหารระลอกใหม่ ในขณะที่เกาหลีใต้ก็ยืนยัน<wbr>ว่ายังไงก็ต้องซ้อมรบ

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:09 AM
    JimmySiri: กลับไปเมื่อคืนวันศุกร์และ<wbr>เสาร์มีข่าวลือออกมาในตลาด<wbr>สหรัฐว่ารัฐบาลสหรัฐอาจจะต<wbr>้อง
    Shut down ลงกระทันหัน หรือยุติการบริหาร คล้ายๆกับที่รัฐบาลแคนาดาท<wbr>ำ เพราะปัญหาหนี้สินและ
    งบประ<wbr>มาณ จากที่ทองคำกำลังลงอยู่เพล<wbr>ิน ก็เลยเด้งกลับขึ้นไปซะงั้น

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:12 AM
    JimmySiri: ปิด Comex จริงๆคือวันที่ 29 ครับ แต่มันมีวันหยุดตั้งแต่คริ<wbr>สตมาสต์ ซึ่งโดยทำเนียม
    จะเริ่มหยุด<wbr>กันจริงๆ ตั้งแต่ 24 เป็นต้นไปยาวไปจนถึงปีใหม่ ก็น่าคิดครับว่า ถ้าเค้าทุบลงไปได้แค่นี้
    อาจจะได้เห็นการเร่งทุบอีก<wbr>ในสัปดาห์นี้ แบบโหดๆ เพื่อให้ทันคริสตมาสต์ หรือจะไม่หยุดทุบยาวไปจนวั<wbr>น
    สุดท้าย เพราะยังห่างจากเป้ามาก ทีผมมองไว้คือ $<wbr>1,<wbr>332

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:18 AM
    JimmySiri: ก็คือประมาณ 100 เหรียญจาก High เดิม โดยสถิติจะอยู่ที่ประมาณนี<wbr>้ครับ เป็นอย่าง
    น้อย นี่เอาลงไปก็เด้งกลับขึ้นม<wbr>าตลอด เลยได้ไปแค่ $<wbr>57 เหรียญจนถึงคืนวันศุกร์ที่<wbr>ผ่านมา จึงยังมี
    เวลาอีกพอสมควร แค่นี้เค้าก็กระอักแล้วครั<wbr>บ เลยหันไปปั่นทองแดงเพื่อมา<wbr>ชดเชยส่วนนี้ ตอนนี้ทอง
    แดงทำ High อยู่ตลอดครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:22 AM
    JimmySiri: กรอบเวลาคงอยู่ที่ประมาณนี<wbr>้ครับ ที่เหลือก็คงต้องดูเรื่องเ<wbr>กาหลีว่าทางฝั่งสหรรัฐจะมี<wbr>การ
    เล่นข่าวหรือเปล่า ผมคิดว่าคงน่าจะปิด เพราะถ้าปล่อยให้เป็นข่าว ก็เอาราคาลงได้ยากครับ แต่
    อินเตอร์เน็ตก็อย่างที่<wbr>เห็นมันถึงกันหมด ก็เลยออกมาในลักษณะลากกันไ<wbr>ปมา แต่ยอมรับอย่างนึงครับว่า
    ท<wbr>องคำและแร่เงินแข็งแกร่งมา<wbr>กในช่วงนี้ โดยเฉพาะแร่งเงิน ส่วนตัวก็รอมาซักพักครับ เห็นแตะ 27.<wbr>xx
    อยู่แป๊บ เด้งมา 29.<wbr>xx อีกแล้ว

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:32 AM
    JimmySiri: ปีนี้ต่างจากปีที่แล้วครับ เค้าเสียการควบคุมไปมากพอส<wbr>มควร เพราะปัญหามันรุมเร้ามาก
    ทุ<wbr>กด้าน การคาดคะเนในทุกด้านอย่ายึ<wbr>ดติดมากครับ ยิ่งถ้าเล่นสั้น ไม่ว่าพื้นฐานหรือเทคนิค ปรับตาม
    สถานการณ์ แต่ถ้าซื้อลงทุนมองยาวๆ ได้ไม่น่ากังวลครับ ปลายปี 2011 ผมมองไว้ที่ $<wbr>2,<wbr>000 ครับ
    เพราะอัตราเร่งจะสูงกว่าใน<wbr>ปี 2010 นี้อีก ใครบอกว่าทองแพง ใครบอกว่าฟองสบู่ ผมจะบอกว่าที่ราคา
    $<wbr>1,<wbr>400 เค้าประกาศ QE2 มันเลยเซทฐานไปในตัวไงครับ และที่ราคานี้เรายังไม่ได้<wbr>เห็นอะไรเลยครับ
    ยังอีกไกลเลย ที่เหลือก็ไปลุ้นค่าเงินบา<wbr>ทประกอบครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:44 AM
    JimmySiri: ประเด็นสุดท้าย ที่ Comex ตอนนี้นักลงทุนที่ฝากทองคำ<wbr>และเงินไว้ "<wbr>เร่ง"<wbr> ไถ่ถอน
    Physical หรือของจริงเหล่านี้ออกจาก<wbr>เซฟของ Comex ทั้งจีนทั้งรัสเซียทั้งราย<wbr>ใหญ่รายย่อยเร่งขน
    กลับประเ<wbr>ทศตัวเองหมด Comex ดูท่าไม่ค่อยดีครับ โอกาสล่มมีสูงมากคงต้องตาม<wbr>ข่าวไปเรื่อยๆ
    เรื่องปริมาณการไถ่ถอน เพราะฉะนั้นจากนี้ไป "<wbr>มีความเป็นไปได้"<wbr> ที่จะได้เห็นทองและเงินกระ<wbr>ชากขึ้น
    $<wbr>150-<wbr>200 จากเรื่อง Comex นี่ครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:46 AM
    JimmySiri: เพราะถ้าเค้า Default หรือผิดสัญญาส่งมอบหนักๆ หรือประมาณว่านักลงทุนที่ส<wbr>ั่งซื้อ
    ล่วงหน้าไว้แล้วไม่<wbr>มีของพอถึงเวลาก็จ่ายคืนเง<wbr>ินสดให้ (<wbr>Cash Settlement)<wbr> แล้วบวกกำไร "<wbr>อย่าง
    งาม"<wbr> ไป แล้วนักลงทุนตื่นละก็เกิดข<wbr>ึ้นได้ทันทีครับ เพราะคงเข้าใจได้แล้วว่าทอ<wbr>งคำและแร่เงินจริงๆ มัน
    ไม่มีอยู่ไงครับ แล้วมาขายกระดาษทำไมเนี่ย

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:47 AM
    JimmySiri: [ame="http://www.youtube.com/watch?v=B7eRwW34j1g"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=B7eRwW34j1g[/ame]


    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:48 AM
    JimmySiri: [ame="http://www.youtube.com/watch?v=fJPbwnW1z6Y"]http://www.youtube.com/<wbr>watch?v=fJPbwnW1z6Y[/ame]


    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:53 AM
    JimmySiri: แถมครับ พวกนี้เผลอไม่ได้เลยออกมาท<wbr>ันที /<wbr>/<wbr>/<wbr> ข่าว BB :<wbr> Soros Gold Bubble at
    $<wbr>1,<wbr>384 as Miners Push Buttons

    [​IMG]
    [​IMG]

    Dec 20 2010, 3:55 AM
    JimmySiri: โซรอส ออกมา Gold Bubble อีกแล้ว 555 ระบุราคาด้วยเที่ยวนี้ /<wbr>/<wbr>/<wbr> http://www.bloomberg.com/<wbr>news/<wbr>2010-12-20/<wbr>soros-gold-bubble-at-1-375<wbr>-has-miners-push-every-but<wbr>ton-in-tale-of-tears.html ระวังข่าวปล่อยของพวกนี้หน<wbr>่อยนะครับ มีผลต่อตลาดไม่เบา [​IMG]
    Soros Gold Bubble at $1,384 as Miners Push Buttons - Bloomberg


    ....."The Gold War phase II" by Jimmy Siri
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...