เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หนี้สาธารณะสเปนสูงสุดรอบ10ปี

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 17 ธันวาคม 2553

    [​IMG]


    มาดริด - หนี้สาธารณะของสเปนเพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 10 ปี ขณะหนี้ภาคธนาคารสูงสุด 14 ปี
    ธนาคารกลางสเปนเผย ว่าหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 10 ปี หรือเพิ่มขึ้น 16.3% เป็น 611,200 ล้านยูโร ในไตรมาส 3 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคิดเป็น 57.7% ของจีดีพี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2543 แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าข้อจำกัด 60% ของจีดีพีที่สมาชิกอียูกำหนดไว้
    ส่วนเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็น 5.66% ในเดือนต.ค. เป็น 103,700 ล้านยูโร จาก 5.49% หรือ 101,300 ล้านยูโร ในเดือนก.ย. และสูงที่สุดในรอบ 14 ปีหรือตั้งแต่เดือนม.ค. 2539
    เงินกู้ที่ไม่มีการชำระในบัญชีของธนาคารสเปนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากฟองสบู่อสังหาฯแตกออกเมื่อปลายปี 2551 ซึ่งทำให้อัตราว่างงานพุ่งเป็น 20% หรือสูงที่สุดในอียู
    ˹
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิตกหนี้ยุโรปรอบใหม่ กดดาวโจนส์ร่วง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 16 ธันวาคม 2553
    ดัชนีอุตสาหกรรม ดาวโจนส์ ปิดซื้อขายวานนี้ (15 ธ.ค.) ร่วงลง 19.07 จุด (0.17%) มาอยู่ที่ 11,457.47 จุด ขณะดัชนีเอส แอนด์ พี 500 ลดลง 6.35 จุด (0.51%) ปิดตลาดที่ 1,235.23 จุด ส่วนดัชนีแนสแด็ก ดิ่งลง 10.50 จุด (0.40%) มาอยู่ที่ 2,617.22 จุด
    ตลาดได้รับปัจจัยลบ จากการที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้น ประกาศว่า อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลงมาอีก เพราะมองว่า ประเทศยุโรปรายนี้ จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้จำนวนมหาศาลในปีหน้า ท่าทีที่จุดชนวนให้เกิดความกังวลระลอกใหม่ถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศยูโร
    ข่าวดังกล่าว ยังทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1.3236 ดอลลาร์ต่อยูโร แต่ในทางกลับกัน การแข็งค่าของดอลลาร์ ก็กลายเป็นปัจจัยกดดันต่อหุ้นกลุ่มส่งออกด้วย เพราะเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้สินค้าของบริษัทเหล่านี้ ต้องส่งออกในราคาที่แพงขึ้น
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เฟดไม่ขึ้นดบ.ยึดนโยบายทุ่มเงินอัดฉีดศก.

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 15 ธันวาคม 2553


    ธนาคารกลางสหรัฐ ปิดประชุมนัดสุดท้ายของปี คงดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ พร้อมเดินหน้าอัดฉีดเงิน ชี้ศก.ยังฟื้นตัวไม่เร็วพอ


    คณะกรรมการกำหนดโยบาย ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงวานนี้ (14 ธ.ค.) หลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 0.25% ซึ่งเป็นระดับที่อยู่มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2552 ในความพยายามที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
    แถลงการณ์ระบุว่า แม้ข้อมูลที่ได้รับมา นับแต่การประชุมเมื่อ เดือน พ.ย. จะแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่ในระดับอ่อนแอเกินกว่าที่จะลดอัตราว่างงานลงมา และสร้างเสถียรภาพทางด้านการเงิน
    ที่ประชุมยัง ตัดสินใจที่จะเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ในตลาด ตามแผนอัดฉีดเงินจำนวน 600,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจนถึงไตรมาส 2 ของปี 2554 ต่อไป เพื่อรับประกันถึงอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น


     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทําความรู้จักทองคําก่อนการลงทุน
    ลายคนอาจจะเคย ได้ยินคนเถ้าคน แก่ หรือ อาจจะกระทั่งตัวเองได้เคยซื้อ (ถ้าแก่พอ) ทองคำบาทละ 400 บาท สมัยนั้น (ปี พศ. 2516) ทองคำ 1 ออนซ์ ถูกกำหนดตายตัวไว้แค่ 42.22 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 20 บาทกว่าๆครับ วันนี้ ราคาระดับหมื่นกว่าบาทแล้ว และอาจจะไปถึง 2หมื่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกิดอะไรขึ้นกับทองคำ ใครไม่รู้ประวัติ ก็มาฟังผมเล่าฉบับย่อสุดๆ (เพราะรู้นิดเดียว ฮิฮิ)


    สมัยก่อน ราวปี 1875-1914 ทองคำถูกใช้เป็นมาตรฐานระบบการเงิน ซึ่งกำหนดความแตกต่างด้วยปริมาณทองคำสำรองระหว่างสกุลเงินของ 2 ประเทศ ระบบนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะต้องสำรองทองคำในปริมาณมหาศาลเพื่อรักษาดี มานด์/ซัพพลายทางการเงินให้มีเสถียรภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใหม่หลังสหรัฐตั้งตัวเป็นเจ้าโลกแทนอังกฤษที่เสื่อม อำนาจลง เรียกว่า ข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาต่อมา
    หนึ่งในสาระสำคัญของเบรตัน วูดส์คือ การตีค่าตายตัวเอาไว้ว่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ อำนาจครอบงำจากดอลลาร์จึงเกิดขึ้น

    เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสากลและถูกนำไปใช้ทั่วโลก และตกค้างในประเทศต่างๆในจำนวนพอๆกับในสหรัฐฯ เมื่ออเมริกันกระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนาม และช่วงสงครามเย็น ภาระที่แบกรับมากเกินของรัฐบาลอเมริกัน ทำให้ดอลลาร์เริ่มมีค่าน้อยลงกว่าทองคำ สหรัฐขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศเริ่มแคลงใจ สงสัยว่าสหรัฐพิมพ์แบงค์ออกมาใช้มากกว่าทองคำที่เป็นทุนสำรองอยู่ จึงนำดอลล่าร์ไปแลกทองคำกลับมา และแน่นอน สหรัฐไม่มีปัญญาหาทองคำมาให้แลกคืนได้พอหรอก เพื่อปกป้องค่าดอลลาร์ไว้ ใน ค.ศ. 1971 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้น ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์คงที่กับทองคำ ยุติการซื้อขายทองคำกับดอลลาร์เอาดื้อๆ เป็นการฉีกข้อตกลงเบรตันวูดส์อย่างสิ้นเยื่อใย และแน่นอน ประเทศอื่นก็ทำอะไรไม่ได้

    สหรัฐเป็นผู้ที่มีทองคำเป็นทุนสำรองมากที่สุดในโลกด้วยเหตุนี้ละมั๊งครับ ทั้งที่ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้าโลก ประเทศอื่นเอาทองคำไปแลกกระดาษดอลล่าร์มาเพื่อใช้เป็นทุนสำรองในการซื้อขาย ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ข้าวสาร สากกะเบือ เรือรบ เพราะระบบการเงินที่เอาตัวเองเป็นแกน พอระบบที่ตัวเองตั้งขึ้น มันไปไม่ได้ เพราะตัวเองใช้เกินตัว ก็ชักดาบเอาดื้อๆ โดยไม่มีใครกล้าหือ

    แล้วทำไมเราต้องไปยุ่งกับดอลล่าร์ด้วย
    - เพราะสหรัฐเป็นผู้ที่ถือครองทองคำมากที่สุด มีอิทธิพลในการกำหนดราคาทองคำมากที่สุด
    - เพราะทองคำ ถูกกำหนดมูลค่าเป็นดอลล่าร์ ความสัมพันธ์จึงแนบแน่นเกินจะหลีกเลี่ยง
    นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆที่สหรัฐประดิษฐ์ขึ้น ล้วนเป็นที่มาของฟองสบู่เศรษฐกิจที่แตกมาหลายครั้ง และสะเทือนไปทั่วโลก รวมถึงนวัตกรรมล่าสุด ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤติซัพไพร์มที่กำลังลามทั่วโลกขณะนี้ ทั้งหมด ยังคงเกิดจากพฤติกรรมกร่าง ใช้จ่ายเกินตัวเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมาครับ และคงไม่ต้องเดาเลยว่า มูลค่าทองคำจะสูงขึ้นไปได้อีกขนาดไหน เมื่อเทียบกับดอลล่าร์

     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปัจจัยพื้นฐานของทองคำ
    ปลกใจกันบ้าง หรือไม่ว่า ทำไมนักวิเคราะห์จึงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่า ทองคำจะขึ้นไปถึง 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น ถ้าได้อ่านบทที่ 1 ถึงความสัมพันธ์ระหว่างทองคำกับดอลล่าร์แล้ว คงพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่า ทองคำคงไม่ลดมูลค่าง่ายๆ ตราบเท่าที่สหรัฐยังคงพิมพ์แบงค์ออกมาใช้เองไม่หยุด

    เมื่อปี 2006 World Gold Council ได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาทองคำ ได้พบว่า
    - ระยะยาว ราคาทองคำมีสัดส่วนความสัมพันธ์แบบ 1:1 กับเงินเฟ้อของสหรัฐ
    - ราคาทองคำ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินเฟ้อในส่วนอื่นๆของโลก
    - ความเบี่ยงเบนจากปัจจัยอื่น เช่น การเมือง ความเสี่ยงทางการเงิน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะกินเวลาสั้นๆหรือเป็นปี แต่สุดท้าย ก็จะกลับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์หลัก คือเงินเฟ้อสหรัฐเท่านั้น
    หมายความว่า หากเงินเฟ้อสหรัฐขยับ 1% ราคาทองคำจะขยับ 1% ด้วยนั้นแหละครับ และนั่นคือที่มา ที่นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ทำนายว่า ทองคำมันจะไป 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น เพราะเทียบจากอดีตเมื่อครั้งลอยแพมูลค่าทองคำจนถึงปัจจุบัน ทองคำมันควรจะพุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แล้วจริงหรือเปล่า ทำไมสิ่งที่เห็นอยู่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเงินเฟ้อเท่าไหร่เลย เห็นทองคำวิ่งตามดอลล่าร์บ้าง น้ำมันบ้าง จนเวียนหัวไปหมด งานวิจัยมันบอกชัดครับ ว่าความเบี่ยงเบนไม่เกี่ยว สุดท้ายเมื่อปัจจัยที่ทำให้ราคาเบี่ยงเบนนั้นจบลง มันก็จะกลับเข้ามาหาความเป็นจริง เพียงแต่ว่า ในมุมมองการลงทุนของเรา กลับต้องมาศึกษาไอ้ปัจจัยเบี่ยงเบนพวกนี้ เพราะคือตัวแปรสำคัญ ตราบเท่าที่ราคาทองคำ มันยังไม่เข้าหาความจริง ที่ 2000 เหรียญกว่าๆโน่น และการที่อเมริกาในช่วงนี้ เร่งพิมพ์แบงค์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจประชาคมโลก ทำให้มีการคำนวณและป่าวประกาศราคาทองคำ 5000 เหรียญแทนซะแล้ว

    ปัจจัยเบี่ยงเบนราคาทองคำที่เราต้องรู้
    ใครๆก็พูดว่า ราคาทองคำมาจากปัจจัยคือดีมานด์การใช้งานจริง กับดีมานด์การลงทุน แต่นั่นมันปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ที่ไม่มีมือมืดมาเกี่ยวข้องครับ คุณแปลกใจมั๊ยล่ะ ว่าทำไมราคาทองคำมันยังอยู่ห่างจากความเป็นจริงมากขนาดนั้น ใครพอจำได้ ทองคำ เคยโดนกดราคาลงถึงแค่ 256 เหรียญในปี 1999

    the Central Bank Gold Agreement CBGA
    นั่นเป็นเพราะมีภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้น เพราะทองคำถือเป็นศัตรูตัวฉกาจกับระบบการเงิน นวัตกรรมใหม่ของสหรัฐ ความร่วมมือกันของเหล่าธนาคารกลางที่รวมหัว ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันจึงเกิดขึ้น หัวเรือใหญ่ไม่ใช่ใครที่ไหน คือสหรัฐกับอังกฤษนั่นแหละ ข้อตกลงร่วมกันที่ออกมารู้จักกันในชื่อ the Central Bank Gold Agreement CBGA นั่นเอง
    ในปี 1999 นับเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลงที่ว่า โดยธนาคารต่างๆมีโควตาในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตัน ระหว่างปี 1999-2004 และข้อตกลงฉบับที่ 2 กำหนดไว้ที่ 500 ตันต่อปี ระหว่างปี 2004-2009

    ราคา ทองคำลดลงต่ำสุดในช่วงปี 1999 จากการที่อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ตัดสินใจขายทองคำออกมามากกว่าครึ่งหนึ่งของทองคำสำรองที่มีในคลัง นัยว่า เลิกใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง ยกเลิกบทบาททองคำในฐานะทุนสำรอง ว่างั้น ทำให้ราคาทองคำรูดลงอย่างรวดเร็วจาก 300 กว่าเหรียญ เหลือ 250 กว่าเหรียญ
    หลายปีต่อมา จากการกระทำอย่างต่อเนื่อง ตามข้อตกลง CGBA ทำให้ราคาทองคำซึมอยู่หลายปี แต่ความพยายามดังกล่าว มันเป็นการฝืนความจริง ในที่สุด ทองคำก็กลับมาทวงสิทธิ์ของตัวเองคืน

    The Manipulation Of The Gold Market
    เหล่าธนาคารกลางนำโดยสหรัฐ มีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่ค่อยลับเท่าไหร่ เข้ามาดูแลราคาทองคำ ผ่านการซื้อขายทำธุรกรรมในตลาดทองคำ เหมือนอย่างพวกกองทุนเฮดฟันด์ทั้งหลายทำนั่นแหละ แต่วัตถุประสงค์ต่างจากเฮดฟันด์ คือไม่ได้เข้ามาหากำไร แต่เข้ามาควบคุมราคา ไม่ให้พุ่งเข้าหาราคาจริงตามเงินเฟ้อเร็วเกินไป ซึ่งเรียกว่า The Manipulation Of The Gold Market พวกนี้แหละที่เราต้องแหยงในการลงทุนทองคำ เพราะจะเข้ามาทำลายอารมณ์กระทิงในตลาดทองคำเป็นระยะ ตามแต่อารมณ์มัน
    The Gold Anti-Trust Action Committee GATA
    ทางฝั่งผู้บริโภค ก็มีการตั้งองค์กรขึ้นมาในปี 1999 เช่นเดียวกันครับ เรียกว่า The Gold Anti-Trust Action Committee GATA เพื่อสนับสนุนและรับหน้าที่ต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพื่อการครอบงำตลาด ทองคำ ไม่ให้กำหนดราคาและทิศทางตลาดตามอำเภอใจ
    ดีมานด์การใช้งานจริง
    ในแง่การลงทุนของพวกเรา จะหันกลับมาดูปัจจัยนี้ เมื่อราคามันหล่นลงมาหลังการปั่นขึ้นไปสูงๆแล้ว หรือเรียกว่า การปรับฐานใหญ่นั่นแหละ ปกติ ทุกปีจะมี 1 รอบ เรียกว่าเป็นวัฏจักรของราคาทองคำครับ โดยมีช่วงเวลาขาลงอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนโดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของฝรั่ง รวมถึงดีมานด์จากขาใหญ่อย่างอินเดีย ซึ่งเป็นชาติที่คลั่งใคล้ทองคำมากที่สุด ลดลงในช่วงนี้ ขณะที่ช่วงเดือนที่ราคาทองคำเป็นขาขึ้น จะเป็นช่วงราวเดือนตุลาคมไปจนถึงราวปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ทั่วโลก ต่างก็ซื้อทองเพื่อใช้งานจริงทั้งนั้น
    ช่วงการปรับฐานใหญ่ที่ว่านั้น ราคาจะหล่นลงมาจนกว่าผู้ซื้อทองคำเพื่อการใช้งานจริงๆจะพอใจและมีแรงซื้อ กลับเข้ามามาก พวกนักลงทุนจึงจะมั่นใจ และไล่ราคาขึ้นไปเล่นกันที่สูงๆต่อ เท่ากับว่า ดีมานด์การใช้งานจริงนี้ คือตัวกำหนดราคาฐานที่แข็งแกร่งนั่นเอง
    5 ปีที่ผ่านมา ราคาก็ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุลระหว่างซัพพลายและดีมานด์ครับอ
    - ผลผลิตจากเหมืองที่ลดลงเรื่อยๆ แหล่งผลิตเก่ากำลังการผลิตตก ขณะที่แหล่งผลิตใหม่ๆเกิดขึ้นน้อย
    - ความต้องการทองคำจากประเทศจีน และอินเดียว ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจนซัพพลายไม่เพียงพอ 2 ประเทศนี้ ประชากรรวมกันหลายพันล้านคน หากคิดเหมือนกันว่าอยากได้อะไร คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่าของที่ต้องการนั้น จะขาดแคลนไปในทันที
    ความต้องการใช้งานจริง ไม่ใช่เป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาผันผวน เพราะสามารถกะเกณฑ์ได้ครับ ไอ้ที่ทำให้ผันผวนคือปัจจัยต่อไป

    ดีมานด์ความต้องการลงทุน
    ในฐานะที่ทองคำ มีบทบาทเป็นเงินอีกสกุลที่มีเสถียรภาพมาก ความต้องการใช้งานจริง จะมีผลต่อราคาทองคำเป็นวัฏจักรครับ แต่ตัวขับเคลื่อนหลักในเวลานี้ ต้องบอกว่า คือ ความต้องการในการลงทุนมากกว่า ยิ่งราคาทองคำสูง ความต้องการใช้งานจริงมีแต่จะลดลง ขณะที่ความต้องการสำหรับเพื่อการลงทุนกลับเพิ่มขึ่นเรื่อยๆ กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งได้ 3 กลุ่ม

    NON COMMERICAL เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน หรือ พวกนักเก็งกำไร หรือกองทุนขนาดใหญ่ พวกนี้เข้ามาตลาดเมื่อไหร่ จะเป็นตัวกำหนดราคาและสร้างความผันผวนในตลาดได้มากครับ เมื่อพวกนี้เข้ามาเมื่อไหร่ ปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรา ต้องรีบโดดเข้า และเตรียมโดดออกตามให้ทัน
    COMMERCIAL เป็นกลุ่มผู้ผลิต ที่เข้ามาขายกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นผู้ขายออก หรืออยู่ตรงข้ามกับนักเก็งกำไรนั่นแหละ พวกนี้ เมื่อไหร่ที่เริ่มซื้อสัญญากลับหรือไม่ค่อยขายเข้ามา ก็เป็นสัญญาณว่า ราคากำลังจะขึ้นแล้ว
    NON REPORTABLE พวกนี้คือปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรานี่แหละครับ

    ปัจจัยความต้องการเพื่อการลงทุนนี้ จะอ่อนไหวกับทิศทางตลาดโดยรวมค่อนข้างมาก โดยในปัจจุบัน ทิศทางของปัจจัยนี้ ถูกกำหนดโดย
    [​IMG]
    นโยบายของเฟด หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ เป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ทั้งในเทอมดอกเบี้ยและนโยบายที่มีต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือพูดอีกทางคือ พฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวที่ไม่ละ กำลังค่อยๆโผล่ออกมา เหมือนบ้านที่ไม่เคยกวาดสิ่งสกปรกออกจากบ้าน เอาแต่กวาดซุกใต้พรมแล้วนั่งทับไว้ จนตอนนี้ พรมคงปูดเป็นภูเขาลูกใหญ่แล้วมั๊ง คนนั่งทับ ก็กำลังนั่งง่อนแง่นอยู่บนยอด ทำเป็นไม่สนใจสิ่งหมักหมนที่อยู่ใต้พรม

    ความรุนแรงทางการเมืองโลก จากการที่สหรัฐวางตัวเป็นเจ้าโลกและคุกคามประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมตนเอง เพื่อเข้าไปยึดครอบครองทรัพยากรของประเทศอื่น ระเบิดเวลาที่ทิ้งไว้หลายจุดทั่วโลก ทั้งอิสราเอล อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอีกหลายประเทศ อีกไม่นานคงได้ประทุรุนแรง

    นวัตกรรมทางการเงิน ตามแนวทางสหรัฐ เวลานี้กำลังย้อนกลับมาเล่นงานผู้คิดค้น ทั้งกรณีฉีกข้อตกลงเบรตัน วูดส์ พิมพ์แบงค์ใช้ไม่อั้น อนุพันธ์ทางการเงินเพื่อสร้างเม็ดเงินอย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกรณีซัพไพร์ม การเปิดเสรีทางการเงินรวมทั้งบีบทั้งปลอบให้ประเทศอื่นเชื่อทำตาม การสร้างระบบเก็งกำไร เหล่านี้ล้วนช่วยสร้างเศรษฐกิจสหรัฐให้ขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าพร้อมๆกับการ เผชิญความเสี่ยงมหันต์ที่ตามเป็นเงามานาน และกำลังเริ่มแผลงฤทธิ์อีกครั้ง ราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูง รวมถึงโภคภัณฑ์ต่างๆและทองคำ คือตัวแทนเงามืดที่ตามสหรัฐมานานนั่นเอง

    ปูพื้นฐานปัจจัยพื้นฐานกัน แล้ว งวดต่อไปคงเริ่มเข้าเรื่องสิ่งที่พวกเรารอ คือปัจจัยเทคนิคเสียที ใครอ่านความเห็นผมมาตลอด อาจเคยเห็นผมเขียนไว้เสมอว่า

    ปัจจัยพื้นฐาน เป็นตัวบอกว่า ราคาจะไปทางไหน ส่วนปัจจัยเทคนิค จะบอกว่า จะไปได้แค่ไหน

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตการเงินยุโรปไร้แววสงบ พิษฟองสบู่อสังหาฯป่วนแบงก์สเปน

    05/30/2010
    ปีที่ 33 ฉบับที่ 4213 ประชาชาติธุรกิจ

    [FONT=Tahoma,]สัญญาณวิกฤตหนี้รอบใหม่ในยุโรปกำลังดังมาจาก สเปน ดินแดนแห่งกระทิงดุ คือชนวนระเบิดการเงินรายต่อไป ?[/FONT]
    เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสเปนได้เข้าเทกโอเวอร์ ธนาคารคาฮาซูร์ หนึ่งในสถาบันรับฝากเงินระดับภาค รายใหญ่รายหนึ่งของสเปน แลกกับการให้สิทธิธนาคารรายนี้ถอนเงินจากกองทุนเพื่อการปรับโครงสร้างธนาคาร อย่างเป็นระบบของรัฐบาลได้ทันที 550 ล้านยูโร ซึ่ง การตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นการค้ำประกันว่าธนาคารคาฮาซูร์สามารถดำเนิน กิจการ ไปได้อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามพันธะผูกพันตามปกติ
    เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เทเลกราฟ (telegraph.co.uk) ตั้งข้อสังเกตว่า การล้มละลายของธนาคารคาฮาซูร์อาจปะทุความกลัวเกี่ยวฐานะการเงินของธนาคาร สเปน ซึ่งแม้รอดพ้นจากวิกฤตสินเชื่อที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือซับไพรมมาได้ แต่กำลังจะตกม้าตายจากการที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในประเทศแตก โดยเฉพาะคาฮาซูร์นั้น พบว่ามีความเสี่ยงผูกพัน อย่างมากกับบ้านมือสอง ในแถบคอสตา เดล ซอล ซึ่งระดับราคาดิ่งลงไม่หยุด ทั้งนี้ โกลด์แมน แซกส์ สถาบันการเงิน ชั้นนำของสหรัฐ คาดการณ์ว่า บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสเปนแบกหนี้ รวมกัน 4.45 แสนล้านยูโร หรือ 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้กับธนาคารออมทรัพย์ หรือภาษาสเปนเรียกว่าคาฮา ขณะที่มีปริมาณบ้านขายไม่ออกราว 926,000 หลัง นับถึงสิ้นปีที่แล้ว
    ธนาคารกลางสเปนให้เหตุผลในการแทรกแซงสถาบันการเงินว่า เนื่องจากธนาคารต่าง ๆ อาจไม่สามารถเรียกคืน เงินกู้ส่วนใหญ่จากลูกหนี้ได้ ซึ่งในที่สุดแล้ว ย่อมจะมีการรับรู้ภาระการขาดทุนเหล่านี้ จนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับสองธนาคารยักษ์ใหญ่ "ซันทันเดอร์" และ "บีบีวีเอ" มีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
    เป็นที่น่าสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสเปน มีขึ้นหลังจากธนาคารกลางอิตาลีเพิ่งสั่งระงับเกณฑ์ทำบัญชี ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะต้องมีการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ในบัญชีทุกสิ้นวันทำการ โดยใช้ราคาปิดในการคำนวณมูลค่าการตลาด (Mark to Market) ในกรณีของพันธบัตรรัฐบาลในกลุ่มยูโรโซน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนของธนาคารในประเทศ
    ปัญหาในยุโรปยังสะท้อนให้เห็นในไอร์แลนด์ โดยเฉพาะหลังจากมีคำเตือนจากนักวิชาการ หนึ่งในนั้นคือ มอร์แกน เคลลี อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยคอลเลจดับลิน ซึ่งชี้ว่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างไม่มีสิ้นสุดแก่ธนาคารใน ประเทศจะกระทบต่อความอยู่รอดของประเทศ "แม้แต่ภายใต้สมมติฐานด้านบวกที่สุดต่อตัวเลขการลดการใช้จ่ายรัฐบาล และการขาดทุนของธนาคาร ภายในปี 2555 ไอร์แลนด์จะมีสัดส่วนหนี้เลวร้ายกว่ากรีซ"
    ศาสตราจารย์เคลลีเตือนว่า ธนาคารไอร์แลนด์มีแนวโน้มจะขาดทุนอีกอย่างน้อย 5-7 หมื่นล้านยูโร ซึ่งเท่ากับจะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะให้เพิ่มขึ้นอีก 30% ของจีดีพี ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2551 นักวิชาการรายนี้เคยเตือนว่า มีความจำเป็นที่จะต้องโอบอุ้มระบบธนาคาร ดังนั้น คำเตือนครั้งล่าสุดนี้อาจได้รับความสนใจจากตลาด
    ไม่ว่าสเปน อิตาลี ไอร์แลนด์ หรือแม้แต่โปรตุเกส และกรีซ ทุกข่าวลบที่ออกมาจากเขตเศรษฐกิจเหล่านี้กำลังสั่นคลอนตลาดการเงินและความ เชื่อมั่นทั่วโลก ดังความเห็นของ เอสวาร์ พราแซด นักเศรษฐศาสตร์จากคอร์เนลล์ ยูนิเวอร์ซิตี้ ซึ่งระบุว่า แม้กรีซ สเปน โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ประเทศในยุโรปมีความเปราะบางมากที่สุด จะมีสัดส่วนเพียง 4% ของกิจกรรมเศรษฐกิจโลก แต่วิกฤตการณ์หนี้ และผลกระทบลุกลามของวิกฤตเหล่านี้ ล้วนเป็นข่าวร้ายสำหรับทั่วทุกมุมโลก
    รอยเตอร์ส ตั้งข้อสังเกตในบทวิเคราะห์เรื่อง "วิกฤตการเงินครั้งถัดไป อาจเป็นวิกฤตการณ์ที่รุนแรงที่สุด" เผยแพร่เมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ความวิตกกังวลต่อวิกฤตหนี้ในประเทศเหล่านี้ อาจก่อผลกระทบตามมา โดยทำให้สภาพคล่องในตลาดสินเชื่อเหือดหายไป เนื่องจากธนาคารที่ถือ "หนี้" ของประเทศในยุโรป อาจขาดทุนยับเยิน
    เอ็ดวิน ทรูแมน นักวิจัยอาวุโส จากสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ปีเตอร์สันประเมินว่า ความเสี่ยงของธนาคารสหรัฐที่มีต่อสหภาพยุโรป โดยรวมอยู่ที่ระดับประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าซิตี้กรุ๊ปจะประเมินความเสี่ยงผูกพันของ 5 ธนาคารรายใหญ่สุดในสหรัฐต่อตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์ในกรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน จะมีตัวเลขที่ต่ำกว่า คืออยู่ที่ระดับราว 1.90 แสนล้านดอลลาร์เท่านั้น
    ทรูแมน อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังสหรัฐ ตั้งข้อสังเกตว่า ความวิตกกังวลต่อวิกฤตหนี้ในยุโรปอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ตระเวนทั่วอังกฤษและเยอรมนีในสัปดาห์นี้ โดยเป็นไปได้ว่านายไกธ์เนอร์ อาจพยายามกระตุ้นให้พันธมิตรในยุโรป เร่งดำเนินการแผนช่วยเหลือทางการเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ที่ได้ให้สัญญาไว้ โดยต้องไม่กระทบต่อการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับเศรษฐกิจ
    ทั้งนี้ ทรูแมนเตือนว่า เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัว หากปราศจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง และสมเหตุสมผลของยุโรป


    วิกฤตการเงินยุโรปไร้แววสงบ พิษฟองสบู่อสังหาฯป่วนแบงก์สเปน | TARADTHONG.COM
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟองสบู่อสังหาฯ จีน : ขอแวะเยี่ยมอีกรอบ

    6 ธันวาคม 2553
    สัปดาห์ที่แล้ว ผมจบเรื่องฟองสบู่อสังหาฯ จีน ในทำนองเชื่อมั่นว่าหากแม้นจะเกิดฟองสบู่แตกในประเทศจีนจริง (ขณะนี้แทบทุกคนเชื่อว่าต้องแตกแน่นอน) ก็คงจะไม่มีผลเสียร้ายแรงอะไร
    พลัน ที่ไทยโพสต์ฉบับวันจันทร์ที่ 29 พ.ย. วางตลาด ผมก็ถูกต่อว่าต่อขานหลายดอก ส่วนใหญ่จะออกไปในทำนองว่าผม "โปร" จีนมากไปหน่อย แต่ก็มีบางส่วนที่เห็นคล้อยตาม แต่อยากให้พูดถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อระบบเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย และก็มีบางคนบ่นว่าตารางเยอะดีแต่ดูไม่รู้เรื่อง (เพราะเล็กมาก)
    สัปดาห์ นี้ ผมก็เลยจะแวะกลับมาเยี่ยมเรื่องฟองสบู่อสังหาฯ จีนอีกครั้ง ครั้งนี้จะเน้นเรื่อง Aftershocks หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังฟองสบู่แตก ทั้งต่อเศรษฐกิจจีนเอง เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย โดยจะพยายามใส่แต่ตารางที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีโอกาสทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
    ฟองสบู่อสังหาฯ จีนแตกจะกระทบใครบ้าง? กระทบขนาดไหน? และอย่างไร?
    ช่วง ไตรมาสแรกของปีนี้ (2010) ราคาอสังหาฯ ในเมืองจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง โดยในเมืองใหญ่เพิ่มขึ้น 11.7% และเมือง "ฮอต ๆ" แถบชายฝั่งทะเลตะวันออก (เซี่ยงไฮ้ เสิ่นเจิ้น เป็นต้น) เพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% ในขณะที่บรรดาบ้านและคอนโดมิเนียมระดับบนไม่ต่ำกว่า 25-30% ไม่มีคนอยู่ (จากการประเมินของ Andy Xie อดีต Chief Economist ของวานิชธนกิจ Morgan Stanley)
    แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอที่ฟองสบู่จะแตกได้แล้วกระมัง?
    หาก ยังไม่พอ Shen Minggao แห่ง Citigroup อันเป็นธนาคารอันดับหนึ่งของอเมริกา ก็ได้ช่วยกรุณาเติมข้อมูลสินเชื่อให้อีกว่า ยอดสินเชื่ออสังหาฯ ของระบบธนาคารจีนเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% ภายในสองปี อันเป็นผลพวงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (หลังเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐอเมริกาช่วงปลายปี 2008) และในจำนวนสินเชื่อดังกล่าวอย่างน้อย 2.4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 10 ล้านล้านบาท) น่าจะได้กลายเป็นสินเชื่อมีปัญหา (Non-Performing Loans) ไปเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว

    ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น หากเชื่อถือได้ก็เป็นอะไรที่น่ากลัวสำหรับระบบธนาคารพาณิชย์จีนพอสมควร เพราะเกือบครึ่งหนี่งของสินเชื่ออสังหาฯ มีสิทธิ์กลายเป็น "หนี้สูญ" จริงอยู่เมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อคงค้างของทั้งระบบตัวเลขยังอยู่ต่ำกว่า 5% แต่ก็มีสิทธิ์ส่งผลกระทบแบบ "ลูกโซ่" ถึงสินเชื่ออื่นๆ ทั้งระบบธนาคารได้เช่นกัน
    แต่ก็มีผู้เห็นแย้งและแทงกั๊กว่า ผลต่อระบบธนาคารไม่น่าจะถึงขั้น "หายนะ" เหมือนกรณีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เพราะสินเชื่ออสังหาฯ ของจีน โดยเฉพาะ "สินเชื่อการเคหะ" (Home Loans) ของจีนไม่ใช่ Sub Prime แบบในสหรัฐ เพราะ
    ประการแรก ระบบธนาคารจีนกำหนดให้ต้องวางดาวน์ 30% เป็นอย่างต่ำ และในกรณี "บ้านหลังที่สอง" ก็ต้องวางดาวน์ถึง 50% ในขณะที่สหรัฐยุคซับไพรม์เฟื่องสุดขีด เงินดาวน์ไม่ต้องพูดถึง ในบางครั้งยังกู้ได้เกินราคาบ้านด้วยซ้ำ (ฟังดูคุ้นๆ กับสินเชื่อเคหะในประเทศสารขันธ์เมื่อเร็วๆ นี้ไม่ผิดเลย) ความหมายในทางการเงินก็คือ หากเกิดฟองสบู่แตก ธนาคารก็ยังมี Safety Buffer อยู่มากพอสมควร
    ประการที่สอง คนจีนส่วนใหญ่ (ชนชั้นกลางลงมา) ไม่นิยม "กู้เงิน" ซื้อบ้าน พวกที่กู้เงินมาซื้อบ้านส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศรษฐีใหม่ หรือพวกนักเก็งกำไร และบ้านหรือคอนโดฯ ที่กู้กัน ก็มักจะเป็นพวก "ระดับหรู" ทั้งสิ้น ไม่ใช่บ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงๆ ความหมายในทางการเงินก็คือ หากเกิดฟองสบู่แตก ผลกระทบจะจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มเศรษฐีใหม่และนักเก็งกำไร ไม่กระจายไปสู่ชนชั้นกลางและรากหญ้า
    ประการที่สาม คนจีนส่วนใหญ่ถือว่าบ้านและกรรมสิทธิ์ในบ้านเปรียบเสมือนหลักประกันแห่งความ สุขในชีวิต (ทำนองเดียวกับทองคำ) ผลวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ในเมืองจีนพบว่ากว่า 80% ของผู้ถูกสัมภาษณ์มีค่านิยมเช่นนี้ หมายความว่าหากเกิดฟองสบู่แตกจริง คนจีนก็คงจะไม่ทิ้งบ้าน คงจะหาทางเจรจาและผ่อนชำระกับธนาคาร (ปรับโครงสร้างหนี้) ผลก็คือ สภาวะราคาบ้านร่วง (Free Falls) คงจะไม่เกิดขึ้นเหมือนในกรณีสหรัฐ
    กระนั้นก็ดี หากพิจารณาตัวเลขผลประกอบการของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัญชาติจีนที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงซึ่งมีทั้งหมดกว่า 90 บริษัท จะพบว่าเกือบสองในสามมีผลประกอบการขาดทุน (เงินสด) ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ และวานิชธนกิจ Goldman Sachs ก็ประเมินผลประกอบการลดลง 13% ในปีนี้ และลดลง 25% ในปีหน้า วานิชธนกิจขนาดใหญ่อีกแห่งคือ Credit Suisse ก็มองอนาคตธุรกิจอสังหาฯ จีนในทำนองเดียวกัน (ลด 15% ในปีนี้ และ 20% ในปีหน้า)
    ในเชิงต้นทุน เงิน ขณะนี้ธุรกิจอสังหาฯ จีน หากจะกู้เงินดอลลาร์ (โดยการออกพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์ขายในตลาดทุน) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยหน้าตั๋วถึง 14% เปรียบเทียบกับ 9.2% สำหรับบริษัทอสังหาฯ อื่นๆ ในเอเชีย พูดในภาษาการเงินก็คือ Risk Premium สำหรับธุรกิจอสังหาฯ จีนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงระยะหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา
    หากฟองสบู่ อสังหาฯ จีนแตกในช่วงในระยะใกล้ๆ (ปีหน้า?) บรรดาธนาคารและสถาบันการเงินที่ซื้อหนี้อสังหาฯ จีนไว้ ก็คงจะต้องประสบปัญหาอยู่บ้าง ธนาคารพาณิชย์จีนก็คงต้องวิ่งโร่หารัฐบาลกลางเพื่อขอให้ช่วยเติม "ทุน" ให้สักหน่อย ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องหนักอกหนักใจเท่าใดนักสำหรับประเทศที่มีเงินสำรองฯ อยู่กว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 15 ล้านล้านหยวน)
    ฉะนั้น ข้อสรุปของผมก็คือฟองสบู่แตกในจีนน่าจะเป็นผลดีกับชนชั้นกลางและชั้นล่าง ด้วยซ้ำ เพราะจะทำให้ราคาที่ดินและบ้าน (และคอนโด ฯ) ลดลงมาอยู่ในระดับที่ "สมเหตุสมผล" ขึ้น ส่วนเศรษฐีใหม่และนักเก็งกำไรส่วนหนึ่งก็คงจะเผ่นหนีหายตัวไป อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะกลับชนบทไปทำการเกษตร (กระมัง?) ส่วนรัฐบาลก็คงจะมีงาน "ปัดกวาด" ระบบธนาคารทำเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยต้องรอไว้ใกล้ๆ ค่อยคุยกันอีกครั้งครับ)
    วีระ มานะคงตรีชีพ
    6 ธันวาคม 2553
    ฟองสบู่อสังหาฯ จีน : ขอแวะเยี่ยมอีกรอบ | ไทยโพสต์
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อย่าเสี่ยงฟองสบู่อสังหาฯ

    November 12, 2010
    [​IMG]

    ความ กังวลเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยจะละเลยไม่ได้ แม้ว่าบรรดาผู้ประกอบการ นักพัฒนาที่ดิน นายธนาคาร บริษัทเก็บข้อมูล หรือแม้เจ้าหน้าที่บางระดับของธนาคารแห่งประเทศไทยมาประสานเสียงว่าไม่เห็น ฟองสบู่ เป็น ธรรมดาอยู่เองที่ผู้ประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ที่กำลังเป็นสุขจากการปล่อยกู้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และบุคคลทั้งหลายที่ได้ประโยชน์จากฟองสบู่จะออกมาประสานเสียงอย่างแข็งแกร่ง ว่าไม่เห็นฟองสบู่
    ถ้าพวก เราเก่งขนาดรู้ว่ามีฟองสบู่ตอนไหน เศรษฐกิจของไทยคงไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ อย่างนี้ ขนาดประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีความสามารถกว่าประเทศไทยหลายเท่า ยังมองไม่เห็นฟองสบู่จนกระทั่งมันกำลังจะระเบิดแล้ว
    ก่อนฟองสบู่แตกตอนปี 2540 ผมจำได้ว่าแบงก์ชาติออกมาเตือนหลังครั้ง แต่นักธุรกิจนายธนาคารไทยก็ตะลุมบอนสร้างโครงการกันไม่ยอมเลิก
    ประชาชนต้องมาสนใจเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เพราะว่าฟองสบู่แตกครั้งใด ประชาชนต้องรับบทหนักทุกครั้ง
    ฟองสบู่ แตก สถาบันการเงินมีปัญหา สุดท้ายรัฐบาลต้องเอาเงินภาษีที่เก็บจากประชาชน มาอุดการขาดทุน และนักธุรกิจ นายธนาคาร ไม่น้อยที่ล้มบนฟูก เศรษฐกิจพังพินาศ คนจน ๆ ต้องลำบากที่สุด
    เรื่อง ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นข่าวในครั้งนี้เพราะการให้สัมภาษณ์แสดงความเป็นห่วงใยของอดีตผู้ว่า การธนาคารแห่งประเทศไทย คุณธาริษา วัฒนเกส ที่เลือกจังหวะพูดเรื่องนี้ขณะที่เธอกำลังจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อหลายเดือน ก่อน
    คนที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่งมาพูดขนาดนี้ผมว่ามีประเด็นนะครับ อย่านั่งเฉยกันอยู่เลย
    เรื่อง นี้ผมคิดว่ารัฐบาลจะทำเฉยไม่ได้ ต้องหาคำตอบว่าคนที่ซื้อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมใน กรุงเทพฯ มีคนที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงหรือเพื่อเก็งกำไรมีสัดส่วนอยู่เท่าใดแน่
    ผมคิดว่า เรื่องนี้ทำได้ไม่ยาก จ้างบริษัทหรือสถาบันที่น่าเชื่อถือทำการสำรวจเจาะลึกลงภาคสนามไปตรวจอาคาร ที่อยู่อาศัยแต่ละอาคารกันเลยว่า มียอดขายจริง ๆ เท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขายหมดภายในวันเดียว และคนที่มาซื้อ เป็นคนที่ซื้อเพื่ออยู่จริง ๆ กี่คน พวกเก็งกำไรกี่คน เป็นห้องที่ผู้บริหารกักไว้ขายต่อเท่าไหร่
    อย่าลืม ว่าพวกเก็งกำไร มีทั้งพวกมืออาชีพที่ติดตามซื้อห้องของโครงการต่าง ๆ ของบางบริษัทโดยเฉพาะ จนร่ำรวยไปกลุ่มหนึ่งและนักเก็งกำไรประชาชนทั่วไปที่เห็นคนอื่นรวย อยากจะรวยบ้าง กลายเป็นมือใหม่ที่อาจจะเข้ามาติดบ่วงได้ หรือคนที่ซื้อและปล่อยเช่าคิดว่าดีกว่าฝากแบงก์
    เจาะกัน ให้ชัด ๆ อย่าไปเอาข้อมูลจากบริษัทผู้ขายอย่างเดียว ตกกลางคืนกลับไปดูใหม่ ไปดูโครงการที่ขายหมดแล้ว สร้างเสร็จแล้ว ดูว่ากลางคืนเปิดไฟกี่ดวง หรือจะสุ่มเคาะประตูถามกันดูแบบจะจะเลยก็ได้เพราะตอนนี้มีบางบริษัทเล่นเปิด ไฟทั้งตึกตอนกลางคืน
    ผมคิดว่ารัฐบาลอยู่ในวิสัยที่ทำให้สิ้นสงสัยได้
    ถ้าไม่ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น ผมขอกล่าวโทษรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แปะข้างฝาล่วงหน้าไว้เลยก็แล้วกัน
    จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,582 11-13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


    http://www.mblog.in.th/econ/อย่าเสี่ยงฟองสบู่อสังห/
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แบงก์ชาติเตือนฟองสบู่คอนโดแตก ดอกขาขึ้นเร่งคนทิ้งดาวน์-จับตาค่าเงินบาทโป๊ก
    ข่าวสดรายวัน
    วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7189
    นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
    กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี"53 ปรับตัวอย่างไรให้ทันสถานการณ์"
    จัดโดยสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ฯว่า
    ปีนี้ เงินเฟ้อยังไม่มีปัญหา
    แต่ปีหน้าเชื่อว่าจะเริ่มสูงแตะกรอบบนที่ 3%
    ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ล่าสุดปรับขึ้น 0.25% มาอยู่ที่ 1.5% นั้น
    ไม่เกิดผลทันทีต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี กว่าจะส่งผ่านไปยังดอกเบี้ยในตลาด
    โดยปัจจุบันดอกเบี้ยที่แท้จริงไทยติดลบ 2.15% ถือเป็นระดับที่ต่ำสุดเทียบกับในภูมิภาคเดียวกัน
    ซึ่ง ธปท.เห็นว่าดอกเบี้ยที่ต่ำนานเกินไป
    อาจทำให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในอนาคต
    "ยอมรับว่ามีเก็งกำไรในตลาดที่อยู่อาศัยอาคารชุดและคอนโดมิเนียม
    จากการสอบถามไปยังผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
    พบว่า ตลาดอาคารชุดเร่งตัวตั้งแต่ปี"50 ซึ่งอาจมีการซื้อเพื่อเก็งกำไรส่วนหนึ่ง
    ดังนั้นหากดอกเบี้ยนโยบายขึ้นถึงจุดหนึ่ง อาจส่งผ่านไปยังดอกเบี้ยตลาดเงิน
    และทำให้คนจองอาคารชุดทิ้งเงินดาวน์จนไม่สามารถชำระค่างวดต่อไปได้
    โดยปัจจุบันตลาดประเภทนี้ มีจำนวนสร้างเสร็จใหม่ แต่ไม่มีผู้เข้าพักอาศัยเพิ่มขึ้น 25%
    ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาให้รอบคอบ
    เพราะส่วนตัวไม่อยากให้มีการสร้างที่อยู่อาศัยเกินความต้องการจริง" นางธาริษา กล่าว
    อย่างไรก็ตาม ช่วงที่เหลือของปีนี้ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ดี
    จากการส่งออก เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ขยายตัวสูงถึง 47.1%
    แต่ไม่อยากให้ชะล่าใจว่าเศรษฐกิจไทยจะติดปีกไปตลอดแล้ว
    เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและสหรัฐ
    รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น
    นักลงทุนไทยต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายขึ้นอีก
    ด้านนายธำรง ปัญญสกุลวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท นิรันดร� แกรนด์ จำกัด
    ในฐานะนายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า
    ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังไม่น่าห่วง
    เห็นได้จากปี"50 ตลาดอาคารชุดมีส่วนแบ่งตลาด 21.9%
    ของยอดจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์สร้างใหม่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
    เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 38.3% ในปี"51 และเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 51% ในปี"52
    ขณะที่ผู้ซื้อมีสัดส่วน 60% เพื่ออยู่อาศัยเอง อีก 20% เพื่อลงทุน และอีก 20% เพื่อเก็งกำไร
    นายสมภพ มานะรังสรรค์ กล่าวในโอกาส เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
    ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี"53 ว่า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวในระดับ 6-7% หรือขยายตัวสุทธิประมาณ 5%
    ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวตามปกติที่เศรษฐกิจไทยควรจะเป็น
    ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยธปท.จะยังปรับขึ้นไปที่ 2%
    เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รักษาการออมระยะยาวของประเทศไว้
    ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มที่จะผันผวนในเชิงแข็งค่ามากขึ้น
    เพราะสหรัฐยังมีปัญหาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ยุโรปยังประสบปัญหาวิกฤตการณ์หนี้
    แบงก์ชาติเตือนฟองสบู่คอนโดแตก ดอกขาขึ้นเร่งคนทิ้งดาวน์-จับตาค่าเงินบาทโป๊ก ที่มาจาก ข่าวสด
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สิงคโปร์งัดมาตรการคุมอสังหาฯ ผวาฟองสบู่

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 30 สิงหาคม 2553

    รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศมาตรการคุมเข้มอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเงินดาวน์ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สอง ป้องกันปัญหาฟองสบู่
    รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศใช้ มาตรการควบคุมตลาดอสังหาริมรัพย์ ด้วยการเพิ่มเงินดาวน์สำหรับการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยครั้งที่สอง (second mortgage) และเรียกเก็บอากรแสตมป์ (stamp duty) สำหรับผู้ที่ครอบครองบ้านน้อยกว่า 3 ปี เพื่อป้องกันการเก็งกำไร หลังจากราคาบ้านในสิงคโปร์พุ่งขึ้นถึง 38% ในไตรมาส 2
    แถลงการณ์ของรัฐบาลสิงคโปร์ระบุว่า ผู้ซื้อบ้านที่ยื่นขอสินเชื่อมากกว่า 1 ครั้งจะสามารถกู้ยืมเงินได้ไม่เกิน 70% ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เทียบกับก่อนหน้านี้ที่ขอกู้ได้สูงถึง 80%
    นอกจากนี้ ผู้ซื้อบ้านกลุ่มนี้จะต้องจ่ายเงินสด 10% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ 5%
    ส่วนกฎหมายการเก็บอากรสแตมป์ของผู้ขายบ้านจะนำมาใช้กับที่อยู่อาศัยทุก ประเภทและเรียกเก็บจากที่ดินที่มีการขายภายในระยะเวลา 3 ปีหลังจากซื้อ ซึ่งเพิ่มจากเดิม 1 ปี โดยกฎข้อบังคับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันเสาร์ ที่ 11 ธันวาคม 2553
    ช่วยกันมอง “ฟองสบู่อสังหาฯ” REIC แนะวิธีดู “ซัพพลายล้น-สัญญาณจุดเสี่ยง”
    [​IMG]

    REIC (ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์) โดย “สัมมา คีตสิน” ผู้อำนวยการ REIC นำเสนอบทความว่าด้วย “ข้อพิจารณา…เรื่องอุปทานล้นตลาด ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และโอกาสฟองสบู่แตก” ซึ่งเป็นประเด็นฮอตของวงการอสังหาฯในช่วงที่ผ่านมา หลังจากแบงก์ชาติตัดสินใจออกมาตรการ “LTV” (Loan to Value) หรือมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อบ้านและคอนโดฯของสถาบันการเงินต่าง ๆ
    นิยาม “อุปทานล้นตลาด”
    เปิดประเด็นที่ “ฟองสบู่” (bubbles) แตกต่างจากคำว่า “อุปทานล้นตลาด” (over supply) และคำว่า “ฟองสบู่แตก” (bubble burst) อย่างไร
    เริ่มจาก “อุปทานล้นตลาด” เกิดจากการที่มีปริมาณสินค้ามากเกินไป ในขณะ ที่ความต้องการซื้อมีปริมาณจำกัด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคก็ชี้ให้เห็นเรื่องนี้ เพราะในตลาดสินค้าใด ๆ มักมีทั้งจังหวะที่มีสินค้าล้นตลาดเกินความต้องการ (over supply) บางครั้งก็มีจังหวะที่สินค้าขาดตลาด (supply shortage)
    ภาวะสินค้าล้นตลาดอาจไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป อย่างน้อยเมื่อมองจากมุมผู้บริโภค หากมี “อุปทาน” (ซัพพลาย) มากกว่า “อุปสงค์” (ดีมานด์) จะทำให้ราคาสินค้าถูกลงเพราะแย่งกันขาย ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากสินค้าราคาถูกในระยะเฉพาะหน้า
    “ฟองสบู่” และ “ฟองสบู่แตก”
    ส่วน “ฟองสบู่” (bubbles) อาจเกิดขึ้นได้กับตลาดสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าตลาดหุ้น ตลาดทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ (อุปโภคบริโภค) และอสังหาริมทรัพย์
    สำหรับการเกิด “ภาวะฟองสบู่” นั้นต้องมีปัจจัยเสริมเพิ่มเติมจากภาวะอุปทานล้นตลาด โดยปัจจัยสำคัญที่สุดคือราคาสินทรัพย์ต้องมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง รวดเร็ว หรือมีระดับความรุนแรง หรือทั้ง “รวดเร็ว” และ “รุนแรง” จนไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรายได้หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ
    หากเกิดภาวะดังกล่าว จะเป็นที่มาของการเกิดฟองสบู่ โดยอาจเริ่มจากการ “ก่อร่าง” ของฟองสบู่ (bubble foaming) เปรียบดังฟองสบู่ลูกเล็ก ๆ ที่ลอยอยู่ต่ำ หากจะแตกบ้างก็ไม่มีผลรุนแรง แต่เมื่อ ฟองสบู่ก่อร่างใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ (bubble growth) จนเป็นฟองใหญ่และลอยขึ้นสูง เมื่อนั้นโอกาสแตกก็มีมาก
    ส่วนกรณี “ฟองสบู่แตก” (bubble burst) เป็นปรากฏการณ์ต่อเนื่องจากการเกิดภาวะฟองสบู่ยืดเยื้อ (prolonged bubbles) เป็นระยะเวลานานจน “สูงสุดคืนสู่สามัญ” แต่ฟองสบู่จะแตกได้ต้องมีปัจจัยลบมาประกอบในจังหวะที่เกือบจะพร้อมกัน
    กรณีประเทศไทย ปัจจัยที่น่ากลัวคือปัญหาความรุนแรงทางการเมือง เช่น เหตุการณ์จลาจลที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภค
    เตือน “local bubble” เกิดแล้ว
    ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ได้เกิด “local bubble” และ “local bubble burst” แล้วในบางจุดข เช่น ในตลาดโครงการที่พัฒนาเพื่อขายชาวต่างชาติในแหล่งท่องเที่ยว อย่างสมุย ภูเก็ต เพราะราคาอสังหาฯได้ทรุดตัวลงมามากประมาณ 10-20% ในช่วงปี 2550-2552 และยังไม่ฟื้นตัวหลังจากนั้น อีกทั้งมีผู้ประกอบการจำนวนมากยุติโครงการก่อสร้างไปแล้ว
    ยิ่งในภาวะที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นมาก และเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปยังมีปัญหา ทำให้กำลังซื้อจากต่างชาติ (ยัง) ไม่หวนคืน
    ที่มา littlefiine.com
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เงินทุนไหลท่วมเอเชีย ต่างชาติเร่งสกัดภาวะฟองสบู่
    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2553 11:15 น.
    ASTVผู้จัดการรายวัน – ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ทุนยุโรปไหลท่วมเอเชีย รวมทั้งไทยดัชนีปรับสูงสุดรอบ 15 ปี ชี้ผลดีแค่ระยะสั้นตลาดทุนคึกคัก อสังหาฯรับอานิสงค์ด้วย ระยะยาวหวั่นเงินไหลออกกะทันหัน ระบุตัวการทำเงินบาทแข็งค่า แถมส่งผลอสังหาฯร้อนแรงราคาปรับขึ้นกว่า 50% หลายประเทศเร่งออกมาตรการสกัดภาวะฟองสบู่

    นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วิเคราะห์ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศพบว่า ได้พบว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์หลายประเทศในเอเชียปรับขึ้นสูงมากโดยเฉพาะใน 4 ประเทศ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และจีน โดยพบว่าบางทำเลปรับขึ้นไปกว่า 50%

    ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งมาจากกระแสเงินร้อนที่หนีภาวะเศรษฐกิจซบเซาของอเมริกาและ ยุโรป ไหลบ่าเข้าท่วมภูมิภาคเอเชีย กระแสเงินร้อนดังกล่าวได้ไหลเข้าสู่ประเทศไทยด้วย แม้จะเป็นผลดีเฉพาะหน้า ส่งให้ตลาดตราสารหนี้ของไทยคึกคัก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี รวมทั้งน่าจะมีเม็ดเงินส่วนหนึ่งปะปนเข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่ในระยะยาวอาจเป็นอันตรายหากเม็ดเงินร้อนเหล่านี้หันหัวกลับออกจากประเทศ กะทันหัน การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากเม็ดเงินร้อนเหล่านี้ทั้งสิ้น

    ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลฮ่องกงได้ออกมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กว่าเดิม เพราะราคาบ้านได้ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วประมาณร้อยละ 50 นับจากต้นปีที่แล้ว เป็นภาวะฟองสบู่ก่อร่างชัดเจนโดยประกาศยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่ส่งเสริมให้ชาว ต่างชาติซื้อบ้านเพื่อจะได้สิทธิความเป็นพลเมือง นอกจากนี้ยังจัดแบ่งบ้านจำนวน 5,000 หน่วยสำหรับโครงการเช่าซื้อเพื่อผู้ที่ยังไม่มีบ้านได้มีโอกาสเช่าในอัตรา ค่าเช่าคงที่เป็นระยะเวลานานถึง 5 ปีก่อนซื้อ (คล้ายโครงการเช่าซื้อที่การเคหะแห่งชาติร่วมมือกับธนาคาร อาคารสงเคราะห์(ธอส.)) แต่ในระหว่างการเช่าผู้บริโภคสามารถนำเงินจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าเช่าที่ได้ ชำระไปแล้วมาใช้เป็นเงินดาวน์เพื่อซื้อบ้านหลังนั้น

    อย่างไรก็ตาม กว่าโครงการนี้จะเกิดและสิ้นสุดอาจใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีทั้งที่จำนวนหน่วยมีไม่มาก ทั้งนี้ ตลาดบ้านในฮ่องกงเกือบทั้งหมดเป็นคอนโดมิเนียมสูง และมีหน่วยใหม่ออกขายเพียงปีละประมาณ 15,000-18,000 หน่วย คิดเป็นประมาณร้อยละ 10-15 ของการซื้อขายทั้งหมด ที่เหลือเป็นหน่วยขายมือสองฮ่องกงไม่ได้ให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์ในที่ดิน (Freehold) แต่ให้สิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold) ที่นานมาก ไม่มีการเก็บ Capital Gains Tax หรือภาษีบนกำไรจากการขายบ้าน แต่ในอนาคตอาจมีการพิจารณาเก็บภาษีนี้ หรือให้ชาวต่างชาติซื้อได้เฉพาะห้องชุดที่มีขนาดใหญ่กว่า 1,000 ตารางฟุต (93 ตารางเมตร) ราคาบ้านในฮ่องกงถือว่าอยู่ระดับแพงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง เพราะสาเหตุจากการซื้อของนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก จนคนในท้องถิ่นไม่สามารถซื้อได้

    อนึ่ง รัฐบาลฮ่องกงเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากและสามารถนำที่ดินออกประมูลขายเพื่อ กดราคาที่ดินสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยลงมาได้บ้างในปัจจุบัน ฮ่องกงกำหนดให้การซื้อบ้านหลังแรกต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อยร้อยละ 30 และราคาบ้านต้องไม่เกิน 7.2 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 29 ล้านบาท) แต่สำหรับบ้านหลังที่สองต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อยร้อยละ 40 และสำหรับบ้านหลังแรกที่มีราคาซื้อขายเท่ากับหรือสูงกว่า 12 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 48 ล้านบาท) ก็ต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อยร้อยละ 40 ด้วย

    ขณะเดียวกัน ในสิงคโปร์ เมื่อเดือนสิงหาคมรัฐบาลได้ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร โดยกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านและที่ดินเพื่อสร้างบ้านต้องชำระอากร Stamp Duty หากมีการซื้อขายภายใน 3 ปีนับจากวันที่ซื้อ (เดิมกำหนดเพียง 1 ปี) และธนาคารกลางสิงคโปร์ยังออกมาตรการกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านต้องวางเงินดาวน์ อย่างน้อยร้อยละ 20 (จากเดิมร้อยละ 10) เพื่อบังคับให้มีการซื้ออยู่จริงนานกว่าเดิม

    ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายเดือนกันยายน รัฐบาลมีคำสั่งให้สถาบันการเงินทุกแห่งทั่วประเทศหยุดการปล่อยสินเชื่อบ้าน แก่ผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อบ้านหลังที่สามขึ้นไป หรือ ให้แต่ละ

    ครอบครัวขอสินเชื่อบ้านได้ไม่เกิน 2 หลัง และยังกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านทุกหลังต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อยร้อยละ 30 (จากเดิมร้อยละ 20) ไม่ว่าเนื้อที่เท่าไรหรือเป็นบ้านหลังที่เท่าไรในไต้หวัน เมื่อเดือนกันยายน ธนาคารกลางไต้หวันออกระเบียบให้ผู้ซื้อบ้านต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อยร้อยละ 30 สำหรับการซื้อบ้านหลังที่สอง

    สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุจากดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำมาก และเป็นผลจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐทุ่มเม็ดเงินเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่อิงโดย สินเชื่อบ้าน (Mortgage-Backed Securities) มูลค่ามหาศาลนับล้านเหรียญสหรัฐยอดขายบ้านใหม่ปัจจุบันอยู่ที่อัตราประมาณ 300,000 หน่วยต่อปี เทียบกับจุดสูงสุดประมาณ 1 ล้หน่วยเมื่อปี 2005 ส่วนยอดขายบ้านมือสองปัจจุบันอยู่ที่อัตราประมาณ 4 ล้านหน่วยต่อปี เทียบกับจุดสูงสุดประมาณ 5 ล้านหน่วยต่อปีเมื่อปี 2005 ด้านยอดสร้างบ้านใหม่อยู่ที่ประมาณ 560,000-570,000 หน่วยต่อปี ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้บริโภคที่มีสินเชื่อบ้านในสหรัฐอยู่ในสถานะ Under Water หรือมียอดหนี้สินเชื่อบ้านสูงกว่ามูลค่าบ้านที่จะขายได้ อัตราการว่างงานในสหรัฐยังคงอยู่สูงใกล้เคียงระดับร้อยละ 10

    ส่วนยุโรป เริ่มจากประเทศสเปนช่วงก่อนหน้านี้ มีการก่อสร้างบ้านจำนวนมากเกินความต้องการที่แท้จริง สเปนเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นในยุโรปและจากทวีปอื่นนิยมเดิน ทางไปท่องเที่ยว ทำให้มีการซื้อบ้านโดยชาวต่างชาติมากตามไปด้วย ในอดีตมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก และมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศจำนวนมากเช่นกัน ผลักให้ราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวในช่วงทศวรรษระหว่างปี 1996-2007 ในหลายปีพบว่ามีการก่อสร้างบ้านมากกว่าครึ่งล้านหน่วยต่อปี มากกว่าจำนวนบ้านสร้างใหม่ในเยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส รวมกันเสียอีก แต่ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติได้หายไปจากตลาดแล้ว และมีบ้านเหลือขายในสเปนมากกว่า 1 ล้านหน่วย คุณภาพบ้านสร้างเสร็จใหม่ด้อยลงเพราะผู้ประกอบการสายป่านสั้นลงมากจนแม้ กระทั่งรายใหญ่ต้องยื่นล้มละลาย อนึ่ง สเปนมีมูลค่า GDP ประมาณ 40 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่าทั้ง โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ ประเทศอื่นนอกเหนือไปจากสเปน ที่พบว่ามีปัญหาเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์หนักๆ ได้แก่ โปรตุเกส, ไอร์แลนด์, อิตาลี และกรีซ ส่วนประเทศที่ค่อนข้างแข็งแรงคือ เยอรมนี และฝรั่งเศส
    Daily News - Manager Online -
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟองสบู่แตกที่ยุโรปมาจากสาเหตุอันใด?

    ตอนปลายปีที่แล้วฝรั่งออกมาวิจารณ์ให้ระวังฟองสบู่จะแตกที่ประเทศจีน
    แต่ทำไมกลับไปแตกที่ยุโรป แล้วที่จีนจะแตกไหม

    คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเจ้าของคำถาม

    สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน พอเห็นคำถาม จึงพยายามไปหาคำตอบมาให้ อ่านข้อมูลแบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ขอตอบดังนี้ค่ะ

    ปัญหาของกรีซคนทั่วไปมองว่าเป็นปัญหาจากการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และการพยายามใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาประมาณ 2 ปี แต่ผลที่ได้จากการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นน้อยมากจนแทบมองไม่เห็น ถ้าเปรียบเป็นคนก็ประมาณว่าใกล้ล้มละลาย เพราะกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อลงทุนแต่ไม่เกิดรายได้หรือกำไรไปใช้หนี้ที่กู้ยืม มา

    แต่เมื่อมองลึกลงไป ปัญหาต้นเหตุที่แท้จริงคือ กับดักเงินยูโร

    เงินยูโร เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1999 คือ สกุลเงินที่ประเทศในเขตยูโรโซนปัจจุบันมี 16 ประเทศ จากสมาชิก EU 27 ประเทศ ตัดสินใจนำใช้เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการ ค้าขาย โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ในเขตยูโรโซน และเพื่อช่วยให้อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้ออยู่ในระดับ ต่ำ สกุลเงินยูโรโซนนี้มีขนาดของเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา และหากรวมเศรษฐกิจทั้ง EU จะมีขนาดถึง 18 ล้านล้าน ดอลลาร์ ซึ่งใหญ่กว่า สหรัฐอเมริกาเสียอีก อย่างไรก็ดี เมื่อใช้เงินสกุลนี้มาได้ราว 10 ปีเราเริ่มได้เห็นถึง “ด้าน มืด” ของการใช้เงินสกุลเดียวได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
    ค่าเงินยูโรได้แข็งขึ้นอย่างเร็วจากระดับ 1 ยูโร ราว 0.8 ดอลลาร์ในปี ค.ศ.2002 เป็น 1.6 ดอลลาร์ ในปี 2008 ได้เพิ่ม GDP ของประเทศในกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยประเทศกรีซ และ สเปน มี GDP ที่สูงขึ้นกว่า 150% คิดตามดอลลาร์ ในระยะเวลา 7 ปี จนถึงปี 2008 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศ สหรัฐอเมริกานั้นเติบโตขึ้นราว 40% เท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี ค่าเงินที่แข็งค่าอย่างเร็วนี้ได้ทำให้ความสามารถ แข่งขันในการส่งออก และท่องเที่ยวลดลงอย่างมากในขณะเดียวกันก็ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นเกิด การนำ เข้าสินค้าต่างๆ เข้ามามากมาย จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างหนักเป็นสัดส่วนถึงกว่า 10% GDP สำหรับประเทศกรีซ ตั้งแต่ปี 2006 มาแล้ว และ สำหรับประเทศสเปน ก็ขาดดุลมากกว่า 7% มานาน 4 ปีแล้ว เช่นกันกลายเป็นประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ตรงข้าม กับเยอรมันที่ได้ดุลเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และญี่ปุ่นในปี 2008
    ประเทศริมขอบของเขตยูโร อย่าง กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี (PIIGS) ต่างก็ต้องประสบ กับปัญหาการที่ต้องพยายามประคองเศรษฐกิจให้ได้ ภายใต้สภาวะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่า แข่งขันอย่างไรก็แพ้ กลายเป็น “หมู” สำหรับประเทศเยอรมันอยู่ดี
    ค่าเงินยูโรนี้จะเคลื่อนไหวอิงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ ใหญ่กว่าอย่าง เยอรมัน และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของโลกเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงิน ยูโรยังถูกซื้อเพื่อนำไปเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา เพื่อทดแทนเงิน ดอลลาร์ซึ่งมีความเสี่ยงของการอ่อนค่า แต่แนวโน้มนี้กำลังกลับทิศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2010
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แนวโน้มทุนอาหรับในภาคอสังหาริมทรัพย์

    ความมั่งคั่งทางการเงินของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลางโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มGCC ทั้ง6 ประเทศ ทำให้ประเทศเหล่านี้กลายเป็นตัวแปรสำคัญตัวแปรหนึ่งในเวทีการเงินโลก ภายใต้โอกาสการลงทุนในประเทศที่จำกัดและปัจจัยจากนโยบายการเงินที่ผูกค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ ซึ่งในยามที่เศรษฐกิจโลกเฟื่องฟูอันเนื่องมาจากการที่สภาพคล่องทางการเงินในรูปของเงินดอลลาร์ไหลท่วมไปทั่วโลก ย่อมทำให้ประเทศเหล่านี้เผชิญข้อจำกัดกับการใช้เงินภายในประเทศ ซึ่งการทะลักเข้าของเงินดอลลาร์ในยามที่ราคาน้ำมันสูงและเศรษฐกิจดีมาก ย่อมเกิดความเสี่ยงของเงินเฟ้อและฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ในประเทศสูงตามไปด้วย ภาค อสังหาริมทรัพย์ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักลงทุนตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง มีการเติบโตของราคาในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ในรูปของรายรับจากค่าเช่าได้ นอกจากนั้นสัญญาเช่ายังสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มค่าเช่าได้ตามความเหมาะ สม และเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน จับต้องได้ ทำให้นักลงทุนสามารถประเมินคุณสมบัติของสินทรัพย์ทั้งในแง่ของผลตอบแทนและ ความเสี่ยงง่ายกว่าตราสารกการเงินที่เป็นกระดาษ และไม่สามารถถือเอาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มันคงและมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยความสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความมั่นคงทำให้อสังหาริมทรัพย์ได้รับความ นิยมในหมู่นักลงทุนในภูมิภาคมาก แต่ด้วยสภาพคล่องที่ต่ำจึงทำให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นการลงทุน ระยะยาวพอสมควร แต่นักลงทุนจากตะวันออกกลางก็ดูจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้เพราะในแต่ละปี ตะวันออกกลางจะมีสภาพคล่องทางการเงินมหาศาลไหลเข้าภูมิภาคจากการส่งออก น้ำมันอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในการลงทุนระยะยาว
    นัก ลงทุนอาหรับมีการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ไปทั่วโลก แต่จุดหมายปลายทางของเงินทุนจากตะวันออกกลางในช่วงที่ผ่านมาจะเน้นไปที่ อสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงในเมืองใหญ่ๆที่มีแนวโน้มการเติบโตของค่าเช่า และมูลค่าสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยเมืองเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในประเทศแถบตะวันตกทั้งสิ้นทั้งในยุโรป สหรัฐฯ และ อังกฤษ ทั้งนี้สาเหตุที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในตะวันตกมีการพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องนั้นมาจากปัจจัยสำคัญ2 ปัจจัยได้แก่ การเฟื่องฟูของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนจากการปล่อยสินเชื่อมหาศาลในภาคอสังหาริมทรัพย์และต้นทุนการเงินที่ต่ำ ทำให้ผู้คนสามารถจับจองที่อยู่อาศัย สร้างอาคาสำนักงานได้ในต้นทุนที่ถูก อีกทั้งต้นทุนการเงินที่ต่ำยังดึงดูดให้มีการโยกเงินเข้ามาเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ในแถบตะวันตกที่มูลตลาดใหญ่โตมากมายอีกด้วย
    อีกปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากสภาพแวดล้อมทางการก็คือ การเติบโตของภาคบริการ โดยภาคบริการนั้นจะมีความสามารถในการจ่ายค่าเช่าที่สูงกว่าภาคการผลิต เพราะภาคการผลิตต้องแข่งที่ต้นทุนเป็นหลัก จึงไม่สามารถที่จะทนต่อการแข่งขันแย่งซื้อและจ่ายค่าเช่าในสถานที่แพงๆได้ ภาคบริการในตะวันตกนั้นมีความหลากหลายและมีความสามารถในการแข่งขันดีที่สุดในโลกไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน ภาคการสื่อสารและโทรคมนาคม การตลาด ภาคไอที อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง การแพทย์และสุขภาพ ค้าปลีก หรือการศึกษา เป็นต้น เมื่อแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจอิงไปยังภาคบริการ ทำให้ความต้องการอาคารสำนักงานที่อยู่ในตำแหน่งที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ และใกล้แหล่งของกำลังซื้อได้รับความนิยมและมีความต้องการสูง
    แต่ดูเหมือนว่าการแตกตัวของฟองสบู่การเงินจนก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกมากมายมหาศาลในรอบกว่า80 ปี นับแต่วิกฤต The Great Depression ในปี1929จะทำให้การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ถูกกระทบไปมาก ทั้งจากการที่นักลงทุนซึ่งรวมถึงทุนอาหรับด้วย มีการเทขายสินทรัพย์ออกมามากมาย และการที่ราคาน้ำมันร่วงลงมาและประเทศเจ้าของเงินทุนอย่างอาหรับเองต้องมาเผชิญฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ในบ้านตัวเอง โดยเฉพาะทุนดูไบ ย่อมชะลอกระแสเงินและส่งผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
    แต่วิกฤตการเงินที่โยกย้ายจากสหรัฐฯมาเป็นที่ยุโรปนั้นกลับทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางอย่างสำคัญในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นได้ทำให้อสังหาริมทรัพย์ในยุโรปดูน่าสนใจขึ้นในสายตานักลงทุนอาหรับ โดยขณะที่ประเทศในกลุ่มยูโรเผชิญความเสี่ยงที่ทั้งธนาคารและรัฐบาลอาจล้มละลายได้ในพริบตา ประเทศอย่างอังกฤษกลับดูน่าสนใจทันตาเห็น จากการที่ธนาคารในอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษเองมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดขำระหนี้ต่ำกว่า ค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และเริ่มนิ่งมากขึ้น ทำให้สินทรัพย์ในอังกฤษดูน่าสนใจมากกว่า นอกจากนั้นหากดูอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญจะพบว่า เงินปอนด์ของอังกฤษแข็งค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินยูโร สะท้อนให้เห็นถึงกระแสเงินที่ไหลมาจากภาคพื้นยุโรปสู่อังกฤษ ที่มีแนวโน้มดีกว่า
    ทุนอาหรับเองก็ถือว่ามีความคึกคักในการไล่ซื้อสินทรัพย์ในอังกฤษอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง หุ้นของสถาบันการเงินอย่างHSBC Holdings และBarclaysซึง เป็นธนาคารชั้นนำของโลกได้รับความสนใจในการเข้าไปซื้อลงทุนอย่างต่อ เนื่องจากนักลงทุนอาหรับ ขณะเดียวกันทุนจากกาตาร์ก็กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในการไล่ซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษโดยทุนกาตาร์ภายใต้ร่มเงาจากบริษัทในเครือของกองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติกาตาร์นามQIA (Qatar Investment Authority)ได้กลายเป็นหัวหอกหลักในการไล่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไล่ตั้งแต่บริษัทSongbirdซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในCanary Wharfซึ่งบริหารสำนักงานในศูนย์กลางการเงินในลอนดอน การซื้อหุ้นห้างค้าปลีกอย่างJ Sainsbury และHarrodsซึ่งทั้งหมดสร้างความฮือฮาอย่างมากต่อวงการการเงิน ขณะที่บริษัทโจนส์แลง ลาซาลซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ถึงกับออกมาฟันธงเลยว่า กาตาร์จะกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ทั้งนี้เศรษฐกิจของกาตาร์ที่ขยายตัวมากที่สุดในตะวันออกกลางด้วยระดับกว่า25% ในปี2007-2008 ขณะที่ปี2009 ขยายตัวเกือบ10%โดยการคาดการณ์จากทางการกาตาร์และไอเอ็มเอฟระบุตรงกันว่า ปี 2010เศรษฐกิจกาตาร์จะขยายตัวในระดับ18%
    นอกจากพื้นฐานที่ดีและผลกระทบที่จำกัดที่มีต่ออังกฤษแล้ว การเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกในปี2012ก็กลายเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อังกฤษมีความน่าสนใจในบรรดานักลงทุนอาหรับ โดยการลงทุนจากบริษัท Diarซึ่งเป็นของQIA ซึ่งทำการซื้อWest End Developmentซึ่งมีโครงการพัฒนาในทำเลที่เกี่ยวข้องและจะได้ประโยชน์จากกีฬาโอลิมปิกจากบริษัทLand Securitiesของอังกฤษ ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งคาดว่า นักลงทุนอาหรับรายอื่นๆจะเริ่มมองโอกาสตรงนี้มากขึ้น
    นอกจากอังกฤษแล้ว สถานที่ที่จะน่าสนใจมากขึ้นในอนาคตก็คือ บราซิล ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มBRICที่กำลังผงาดในเวทีเศรษฐกิจโลก โดยบราซิลมีแผนการลงทุนหลายแสนล้านดอลลาร์เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี2014 และ โอลิมปิกในปี 2016ขณะ ที่เงินเรียลของบราซิลมีแนวโน้มที่แข็งค่าได้อีก ฉะนั้นแล้วประเทศบราซิลที่มีโอกาสในการพัฒนาสูงกว่าอังกฤษมากย่อมเป็นที่ หมายของเงินทุนอาหรับซึ่งยังไม่เคยสัมผัสบราซิลในอนาคตอย่างแน่นอน
    นอกจากบราซิลแล้ว ประเทศเกิดใหม่ที่อยู่ใกล้มืออาหรับอย่างลิเบียและแถบแอฟริกาเหนือ ประเทศในกลุ่ม GCCด้วยกัน และอินเดีย ซึ่งมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากมาย และยังต้องการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวก็เป็นอีกเป้ามายที่น่าสนใจของเงินจากอาหรับ โดยในด้านของลิเบียนั้นโอกาสทางการท่องเที่ยวถือว่าเปิดกว้างมากและมีศักยภาพสูง
    http://www.muslimtoday.in.th/index.php?modules=opinion&id=8&aid=1079
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามเงินตรา และทางเลือกของไทยโดย กานดา นาคน้อย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Purdue สหรัฐอเมริกา* มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
    การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นประเด็นสำคัญในการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อต้นเดือนนี้
    แม้รมต.คลังสหรัฐฯยืนยันว่า สนับสนุนให้ดอลลาร์แข็งตัว แต่คำยืนยันดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเพราะธนาคารกลางสหรัฐฯไม่มีนโยบายพยุงค่าเงินและแสดงท่าทีว่า จะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป
    กล่าวได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯถือคติว่า �เงินตราของเรา ปัญหาของคุณ� (Our currency, your problem)
    อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความสำคัญมากในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะนานาประเทศหวังพึ่งตลาดต่างประเทศเพื่อทดแทนการหดตัวของตลาดในประเทศ การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินอ่อนลงเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน (Competitive devaluation) เป็นมาตรการที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้มานาน
    ถ้าหลายประเทศใช้พร้อมกันก็เกิดสงครามเงินตรา (Currency war) กล่าวคือ ความพยายามทำให้เงินอ่อนตัวจนอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งทางการเมือง
    สงครามเงินตราเกิดขึ้นหลายครั้งในอดีต เช่น สงครามเงินตราในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งจบลงด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศอุตสาหกรรมให้เงินเยนและเงินมาร์คแข็งตัวขึ้น
    สงครามเงินตราที่มีผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเงินระหว่างประเทศคือสงครามเงินตราในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศอุตสาหกรรมจนวิกฤตเศรษฐกิจลุกลามไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตดังกล่าวได้ลุกลามมาถึงไทยจนเกิดแรงกดดันให้เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475
    ภาวะบาทแข็งในปัจจุบัน
    โดยนิยามการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์คือการแข็งตัวของเงินสกุลอื่น การประเมินภาวะบาทแข็งต้องคำนึงถึงโครงสร้างการค้าขายระหว่างประเทศเพราะเงินของประเทศคู่ค้าก็ปรับตัวด้วย
    เราต้องดูค่าเฉลี่ยของการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินของประเทศคู่ค้าต่างๆ นอกจากนี้ราคาสินค้าส่งออกขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อด้วย
    ดังนั้นเราต้องปรับค่าเฉลี่ยดังกล่าวด้วยอัตราเงินเฟ้อของไทยและประเทศคู่ค้า สถิตินี้เรียกว่าดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (Real effective exchange rate)
    รูปข้างล่างแสดงดัชนีค่าเงินที่แท้จริงของไทยและประเทศคู่แข่งที่สำคัญระหว่าง ม.ค. 2550 และ ก.ย. 2553
    ประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงของดัชนีไม่ใช่ระดับของดัชนี การปรับตัวขึ้นของดัชนีบ่งบอกว่าเงินแข็งขึ้น รูปนี้สมมุติให้ดัชนีเดือน ม.ค. 2550 เป็น 100
    ปี 2550 เป็นปีที่วิกฤตการเงินปะทุที่สหรัฐฯ ปัญหาหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยทำให้แบร์สเติร์นส์ (Bear Stearns) ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจเก่าแก่ต้องปิดกิจการ
    เห็นได้ชัดว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯเอ่อนลงเพียงสกุลเดียว เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2550 แล้วเงินดอลลาร์อ่อนลง 6% เงินเยนแข็งที่สุดคือแข็งขึ้น 23%
    แต่ต้นปีที่แล้วเงินเยนญี่ปุ่นแข็งขึ้นถึง 30% รองลงมาคือเงินหยวนจีนซึ่งแข็งขึ้น 16% ต้นปีที่แล้วเงินหยวนแข็งขึ้นถึง 20% เงินสกุลอาเซียนทั้ง 4 สกุลได้แก่ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินบาท เปโซฟิลิปปินส์ และริงกิตมาเลเซียแข็งขึ้นไล่เลี่ยกันด้วยอัตรา 11% 9% 8% และ 7% ตามลำดับ ยังไม่มีสถิติของเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนที่เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วจนทะลุอัตรา 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
    อย่างไรก็ตามชัดเจนว่า สหรัฐฯชนะสงครามเงินตราครั้งนี้อย่างขาดลอย เงินดอลลาร์ไม่เพียงแต่อ่อนค่าลงแต่เงินสกุลอื่นๆยังแข็งขึ้นมากกว่าที่เงินดอลลาร์อ่อนลงเสียอีก
    [​IMG]
    ใครได้ใครเสียจากภาวะบาทแข็ง?
    กลุ่มที่เสียหายจากภาวะบาทแข็งคือผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ส่งออกรายย่อยที่รายจ่ายตายตัว (Fixed cost) มีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิต เมื่อผู้ส่งออกเสียหายแรงงานในภาคส่งออกก็ได้รับผลกระทบด้วย
    งานวิจัยเชิงประจักษ์พบว่า การแข็งค่าของเงินมีผลกระทบเชิงลบต่อมูลค่าการส่งออกด้วยความเฉื่อยประมาณ 6-12 เดือน
    ถ้าค่าเงินแข็งวันนี้มูลค่าส่งออกจะลดลงใน 6-12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากสัญญาซื้อขายสินค้ากำหนดราคาและปริมาณสินค้าก่อนค่าเงินจะเปลี่ยน และผู้ส่งออกมักยอมลด Profit margin(ส่วนต่างกำไร) ในระยะสั้น
    ดังนั้นสถิติการส่งออกในระยะสั้นจะไม่แสดงผลกระทบจากจากค่าเงิน ผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกขึ้นอยู่กับทั้งอัตราการแข็งค่าของเงินและความยืดหยุ่นของการทดแทน (Elasticity of substitution) ของสินค้า แม้ว่าเงินบาทแข็งขึ้นด้วยอัตราที่ต่ำกว่าดอลลาร์สิงคโปร์ 2% (ดูดัชนีค่าเงินที่แท้จริงในรูปข้างบน)
    แต่สินค้าและบริการของไทยยังมีคุณภาพไม่สูงทำให้ประเทศคู่ค้าทดแทนด้วยสินค้าและบริการจากประเทศคู่แข่งได้ง่าย
    ดังนั้นการหดตัวของปริมาณการส่งออกของไทยน่าจะมากกว่าการหดตัวของปริมาณสินค้าและบริการจากสิงคโปร์
    กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะบาทแข็งมี 5 กลุ่ม
    1.ผู้นำเข้าสินค้าบริโภค (Consumption goods) จากต่างประเทศและผู้บริโภค ในแง่ดีภาวะบาทแข็งทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าที่หลากหลายและได้ใช้สินค้าคุณภาพสูงในราคาที่ต่ำลง
    ในแง่ไม่ดีทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยราคาต่ำลง อาจทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มสร้างหนี้สินเพื่อบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
    2.ผู้นำเข้าสินค้าทุน (Capital goods) ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น ผู้นำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง ในแง่ดีผู้ประกอบการแบ่งกำไรให้แรงงานได้โดย
    การขึ้นค่าแรงและนำกำไรไปลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยีได้
    ในแง่ไม่ดีผู้ประกอบการอาจผูกขาดทั้งตลาดแรงงานและตลาดสินค้า ในกรณีนี้กำไรจากภาวะบาทแข็งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้มากขึ้น
    3.นักลงทุนไทยในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้กำไรจากส่วนต่างของราคาทรัพย์สิน เพราะเม็ดเงินจากทุนต่างชาติเข้ามาหนุนแรงซื้อ แม้ว่ากฏหมายไทยในปัจจุบันยังไม่ยินยอมให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของห้องชุดคอนโดมิเนียมและสามารถจดทะเบียนร่วมทุนกับคนไทยเพื่อทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์
    4.นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาฯ กำไรที่ชัดเจนที่สุดคือส่วนต่างดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนในสหรัฐฯและอังกฤษ (และอีกหลายประเทศ) ทุนต่างชาติมีปริมาณสูงมากจึงสามารถดันราคาสินทรัพย์ในตลาดทุนให้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    ในอนาคตเมื่อทุนต่างชาติไหลออกราคาหลักทรัพย์จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วแต่ทุนต่างชาติเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้นนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นจะรับภาระขาดทุนหลังทุนต่างชาติออกไปแล้ว
    การลงทุนในตลาดอสังหาฯไทยก็ไม่มีภาษีทรัพย์สินแบบในสหรัฐฯหรือยุโรป ผลกำไรสุทธิจากตลาดอสังหาฯไทยจึงมากกว่าการลงทุนในต่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับอสังหาฯที่ราคาเท่ากัน
    5.กลุ่มทุนไทยที่นำทุนออกไปซื้อกิจการต่างประเทศ ในแง่ดีกลุ่มนี้สามารถซื้อเทคโนโลยีแล้วนำเข้ามาต่อยอดในประเทศเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและช่วยสร้างงาน
    ในแง่ไม่ดีคือการลงทุนซื้อกิจการต่างประเทศอาจเป็นเพียงการเก็งกำไรในระยะ สั้น เมื่อเงินบาทอ่อนลงในอนาคตหลังจากที่ทุนต่างชาติไหลออกแล้ว กลุ่มนี้สามารถขายกิจการในต่างประเทศแล้วนำกำไรจากส่วนต่างกลับมาซื้อ ทรัพย์สินในไทย วิธีการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวคล้ายคลึงกับการช้อนซื้อทรัพย์สิน ไทยโดยกลุ่มทุนต่างชาติด้วยราคาถูกหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540
    มาตรการแก้ไขปัญหาเงินดอลลาร์อ่อนตัว
    ประเทศต่างๆรับมือกับภาวะดอลลาร์อ่อนตัวด้วยมาตรการดังต่อไปนี้
    1.การแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น การแทรกแซงของธนาคารกลางญี่ปุ่น จีนและสิงคโปร์ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงค์ชาติได้เปลี่ยนมาใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เสรีกว่าระบบตะกร้าเงินตั้งแต่ปี 2540
    ระบบนี้เป็นผลโดยตรงจากการสูญเสียทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ถ้าตอนนี้ไทยหันกลับไปใช้ระบบเดิมแบงค์ชาติก็ต้องแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศด้วยการขายเงินบาทและซื้อเงินดอลลาร์ นโยบายนี้จะสร้างปัญหาเงินเฟ้อและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่
    ปัญหาเงินเฟ้อก็เป็นปัญหาสำหรับจีน แต่จีนถือว่า ซื้อเวลาเพื่อใช้ภาคส่งออกถ่ายเทแรงงานออกจากภาคเกษตร ที่สำคัญจีนต่อรองให้บรรษัทข้ามชาติขึ้นค่าแรงได้
    ดังนั้นผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อคุณภาพชีวิตของคนรายได้ต่ำในจีนน้อยกว่าในไทย
    นอกจากนี้จีนมีอำนาจในตลาดสินค้าโลกจึงกำหนดราคาสินค้าส่งออกให้ชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้ ส่วนญี่ปุ่นไม่มีปัญหาเงินเฟ้อและมีปัญหาประชากรลดลงซึ่งเป็นปัจจัยหนุนภาวะเงินฝืด ดังนั้นญี่ปุ่นจึงแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องกังวลปัญหาเงินเฟ้อ
    ส่วนสิงคโปร์มีความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ต่ำกว่าไทยเพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์มีขนาดเล็กมาก
    2.การสนับสนุนให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าทำสัญญาค้าขายระหว่างประเทศและชำระเงินด้วยเงินสกุลของตนแทนเงินดอลลาร์
    นโยบาย นี้ใช้ในสหภาพยุโรปและจีน นโยบายของจีนได้รับการตอบรับที่ดีจากธนาคารต่างชาติรวมทั้งธนาคารอเมริกัน วิธีบริหารความเสี่ยงแบบนี้ราคาถูกกว่าทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าและ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาเงินเป็นเงินนานาชาติเพื่อ แข่งขันกับเงินดอลลาร์ในอนาคต
    ไทยมีอำนาจต่อรองในตลาดสินค้าและตลาดเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าสหภาพยุโรปและจีน ไทยจึงไม่สามารถสนับสนุนให้ผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อขายสินค้าด้วยเงินบาทได้ จึงสนับสนุนให้ผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อขายเงินบาทล่วงหน้าแทน
    การบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดตรงที่ว่าเงินบาทไม่ใช่เงินสกุลหลักที่มีปริมาณการซื้อขายล่วงหน้ามากแบบเงินเยน ในภาวะความเสี่ยงสูงมักหาคู่ค้าธุรกรรม (Counterparty) ยากและทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมสูงขึ้น
    3.การลดดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐฯเพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ย เช่น นโยบายของธนาคารกลางที่ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ สิงคโปร์ ฯลฯ
    นโยบายนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ เพราะทำให้ทุนในประเทศไหลเข้าตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดอสังหาฯแทนทุนต่างชาติ ประเทศที่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาสามารถใช้นโยบายนี้ได้
    โปรดสังเกตุว่าการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯในเดือน ตค. 2551 เป็นการประสานนโยบายลดดอกเบี้ยพร้อมธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ความร่วมมือดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามเงินตราระหว่างประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก
    4.นโยบายควบคุมการไหลเวียนของทุนต่างชาติ มีทั้งที่ใช้กฏเกณฑ์จำกัดธุรกรรมแบบจีนหรืออินเดีย และการเก็บภาษีจากเงินทุนต่างชาติแบบบราซิล
    ในปีนี้บราซิลได้ประกาศขึ้นอัตราภาษีที่เก็บจากทุนต่างชาติถึง 2 ครั้ง ภาษีดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับทุนต่างชาติทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น มีผลบังคับครอบคลุมถึงกองทุนรวม กองทุนบำนาญและเฮดจ์ฟันด์จากต่างประเทศ
    การส่งเสริมให้ทุนไหลออกนอกประเทศไม่ใช่มาตรการโดยตรงที่ทำให้เงินอ่อนค่าลง จีนคือตัวอย่างที่ชัดเจน แม้จีนอนุญาตให้คนจีนไปลงทุนในต่างประเทศได้บ้างและให้สถาบันการเงินต่างชาติเริ่มซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลจีน นโยบายนี้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเงินหยวนให้เป็นเงินนานาชาติเพื่อแข่งขันกับเงินดอลลาร์ในอนาคต และใช้พร้อมกับการทำสัญญาค้าขายระหว่างประเทศด้วยเงินหยวน
    ปัจจุบันกระทรวงการคลังของไทยได้เสนอให้จัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ของทุนต่างชาติด้วยอัตรา 15% แต่ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่า รัฐสภาจะอนุมัติเมื่อไรและจะมีผลบังคับใช้เมื่อไร จึงกล่าวได้ว่า ไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเวียนของทุนต่างชาติ
    ทางเลือกของไทย
    เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ไทยมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมากกว่าญี่ปุ่น มีอำนาจต่อรองในตลาดสินค้าโลกน้อยกว่าจีน มีอำนาจต่อรองค่าแรงกับบรรษัทข้ามชาติน้อยกว่าจีน มีตลาดอสังหาฯขนาดใหญ่กว่าสิงคโปร์
    ดังนั้นการเข้าร่วมสงครามเงินตราด้วยการแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศไม่ใช่นโยบายที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การลดดอกเบี้ยก็ทำได้เพียงเล็กน้อยเพราะตลาดหลักทรัพย์และตลาดอสังหาฯของไทยไม่ซบเซา
    ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ไม่ลดดอกเบี้ยให้ใกล้เคียงกับสหรัฐฯ บราซิลก็จำเป็นต้องใช้ดอกเบี้ยสูงกว่าสหรัฐฯเพื่อควบคุมเงินเฟ้อและความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่
    ทางเลือกอื่นคือการควบคุมการไหลเข้าของทุนต่างชาติควบคู่ไปกับการลดดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยหรือคงดอกเบี้ยไว้
    การควบคุมทุนต่างชาติมี 2 วิธี หนึ่งคือกระทรวงการคลังเก็บภาษีจากทุนต่างชาติเหมือนนโยบายในบราซิล
    สอง คือวิธีที่ชิลีใช้ในอดีต กล่าวคือ ธนาคารกลางกำหนดว่ากี่เปอร์เซ็นต์ของทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้นต้องกลายเป็นทุนสำรองในบัญชีที่ไม่ได้ดอกเบี้ยนานเท่าไร
    ที่สำคัญคือต้องประกาศกฏเกณฑ์ให้นักลงทุนรู้ล่วงหน้าว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อไร ไม่ใช่ทำโดยไม่ประกาศล่วงหน้าแบบที่ไทยลองเมื่อ 3 ปีที่แล้ว การประกาศล่วงหน้าจะป้องกันภาวะตื่นตระหนกในตลาดทุน
    ทุนต่างชาติไหลทะลักเข้าตลาดทุนไทยใน 3-4 ปีที่ผ่านมาเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและดอกเบี้ยต่ำที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้สถาบันการเงินต่างชาติไม่ค่อยมีที่เก็งกำไร ด้วยเหตุนี้อำนาจต่อรองของไทยในตลาดทุนจึงสูงกว่าทศวรรษที่แล้วมากมาย
    ขณะนี้ไทยสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเพื่อตั้งกฎเกณฑ์ควบคุมทุนต่างชาติให้มีแรงจูงใจลงทุนระยะยาว มิฉะนั้นทุนต่างชาติจะเก็งกำไรและดันให้เงินบาทแข็งจนอาจจะทำลายฐานส่งออก เมื่อทุนต่างชาติไหลออกในภายหลัง เงินบาทจะอ่อนตัวลง แต่ตอนนั้นฐานส่งออกอาจจะถูกทำลายแล้ว ผู้ส่งออกไม่สามารถปรับตัวในเวลาระยะสั้น เมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตแล้วรายจ่ายตายตัว (Fixed cost) ของการผลิตเพื่อส่งออกสูงกว่าการรายจ่ายตายตัวของการลงทุนในตลาดทุน
    แม้ว่าในระยะยาวทุกประเทศมีเป้าหมายลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังห่างไกลจากจุดนั้นเป็นทศวรรษ
    ในด้านการผลิตไทยยังไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการบริโภค อาทิ การรักษาพยาบาล อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ ฯลฯ
    ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างชัดเจนของประเทศที่ปรับค่าเงินหลังพัฒนา เทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออกขึ้นอยู่กับทั้งภาคส่งออกและภาคธุรกิจอื่นเพราะ คุณภาพวัตถุดิบและบริการที่เป็นปัจจัยการผลิตมีอิทธิพลกับคุณภาพสินค้าส่ง ออกเท่ากับเทคโนโลยีของผู้ส่งออก
    ดังนั้นคุณภาพแรงงานในภาคธุรกิจอื่นมีผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าส่งออกด้วย เป็นไปไม่ได้ที่ภาคส่งออกจะพัฒนาคุณภาพสินค้าได้ฉับไวในเวลาไม่กี่ปี
    ในด้านการบริโภค กำลังซื้อในไทยยังไม่สูงพอที่จะยกระดับรายได้และฐานภาษีเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม สวัสดิการสังคมในที่นี้คือการประกันความเสี่ยงขั้นพื้นฐานที่แม้แต่ประเทศทุนนิยมสุดขั้วอย่างสหรัฐฯยังมี เช่น ประกันการตกงาน (Unemployment insurance) ดังนั้นการส่งออกจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาไทยไปอีกหลายทศวรรษ
    การแทรกแซงตลาดทุนเพื่อแก้ปัญหาบาทแข็งจึงเป็นนโยบายที่สำคัญมากต่ออนาคตของไทย
    แม้ว่าสถาบันการเงินต่างชาติจะไม่ชื่นชอบนโยบายควบคุมทุนต่างชาติ ถ้าเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพสถาบันการเงินต่างชาติจะปรับตัวได้เอง เพราะการลงทุนในตลาดทุนมีรายจ่ายตายตัว (Fixed cost) ที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิต ไทยไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวว่าทุนต่างชาติจะไม่ไหลกลับมา แม้แต่อาร์เจนตินาที่เคยชักดาบไม่จ่ายดอกเบี้ยตอนเศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่มีปัญหาว่าเงินทุนนอกไม่ไหลกลับ เมื่อเศรษฐกิจในประเทศดีหรือเมื่อเศรษฐกิจต่างประเทศซบเซาทุนต่างชาติจะไหลกลับมาเอง
    แม้ IMF จะคัดค้านการควบคุมทุนต่างชาติ นั่นไม่ได้หมายความว่าไทยจะเสียสิทธิการเป็นสมาชิกของ IMF ไทยไม่จำเป็นต้องตามนโยบายของ IMF ตราบใดที่ไม่กู้เงินจาก IMF
    นอกจากนี้สมดุลอำนาจใน IMF ได้มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านแล้ว อีกไม่นานประเทศในเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลางจะมีอำนาจใน IMF สูสีกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรปโดยการนำของจีน เกาหลีใต้ และซาอุดิอาระเบีย ส่วนประเทศในละตินอเมริกามีบราซิลเป็นหัวหอกต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสมดุลอำนาจใน IMF
    ปรากฎการณ์ที่ทุนต่างชาติไหลทะลักเข้าตลาดทุนไทยเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและดอกเบี้ยต่ำที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เหมือนการไหลทะลักของทุนต่างชาติเข้าตลาดทุนไทยก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540
    ถ้าทุนต่างชาติยังไหลเข้ามาดันราคาทรัพย์สินในตลาดทุนและตลาดอสังหาฯอย่าง เสรีต่อไป เมื่อเศรษฐกิจประเทศอื่น(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสหรัฐฯ ยุโรปหรือญี่ปุ่น)ดีขึ้นหรือเมื่อต่างประเทศปรับดอกเบี้ยขึ้น หรือเมื่อความเสี่ยงด้านการเมืองไทยเพิ่มขึ้น เงินทุนต่างชาติจะไหลออกแล้วตลาดทุนและตลาดอสังหาฯจะซบเซาเหมือนวิกฤตต้มยำ กุ้งและนั่นจะยิ่งซ้ำเติมความเสียหายจากภาคส่งออกจนอาจก่อปัญหนี้เสียใน สถาบันการเงินได้
    นโยบายควบคุมทุนแบบชิลิน่าจะป้องกันการไหลออกของทุนอย่างกะทันหันและสร้างเสถียรภาพได้มากกว่าการเก็บภาษีจากทุนต่างชาติแบบบราซิล การไหลออกของทุนต่างชาติอย่างกะทันหันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินครั้งใหญ่เหมือนหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง
    กล่าว คือ ทุนต่างชาติจะย้อนกลับมาซื้อทรัพย์สินไทยด้วยราคาถูกในภายหลังแต่คราวนี้จะ มีกลุ่มทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศกลับมาซื้อทรัพย์สินด้วย การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังวิกฤตการเงินมักทำให้ปัญหาทุนผูกขาด ย่ำแย่ลง ดังที่ไทยได้เรียนรู้มาแล้วจากวิกฤตต้มยำกุ้ง
    บทสรุป
    สงครามคือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสงครามเงินตราหรือสงครามระหว่างกองทัพ สงครามทุกครั้งทำกำไรให้คนบางกลุ่มในขณะที่คนบางกลุ่มขาดทุน ภาวะบาทแข็งทำกำไรให้ผู้นำเข้าสินค้าและบริการ กลุ่มทุนไทยที่ซื้อกิจการต่างประเทศ นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนไทยในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาฯ แต่ให้โทษแก่ผู้ส่งออกและแรงงานในภาคส่งออก
    ภาคธุรกิจที่ได้กำไรจากภาวะบาทแข็งคือภาคที่มีค่าแรงสูงกว่า แต่จะซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ การเรียกร้องให้ภาคส่งออกพัฒนาคุณภาพสินค้าไม่ใช่วิธีการรับมือภาวะบาทแข็งที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง
    การพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออกต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ สินค้าและบริการในภาคธุรกิจอื่นซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าส่งออก รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพคน
    ในทางกลับกันกลุ่มที่ปรับตัวได้ง่ายกว่า คือผู้ลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นโดยเฉพาะผู้ลงทุนชาวต่างชาติที่ลงทุนเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
    นโยบายควบคุมทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นจะช่วยบรรเทาพิษของสงครามเงินตราครั้งนี้
    --------------------
    หมายเหตุ- กานดา นาคน้อย จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาสแตนฟอร์ด ด้วยทุนของมหาวิทยาสแตนฟอร์ดและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ( IMF) จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Hitotsubashi ในญี่ปุ่น ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวโดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
    เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาช่วงสั้นๆให้กับธนาคารโลกและIMF ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Purdue ในสหรัฐอเมริกา
    http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q4/2010_October21p6.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คอลัมน์: กระจกหักมุม: ฟองสบู่แตก : จะเกิดหรือไม่เกิด?

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif][​IMG][/FONT]​
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]สัปดาห์ที่ แล้ว ได้เริ่มมีผู้รู้ตั้งข้อสังเกตในทำนองว่า เศรษฐกิจไทยอาจจะกำลังเดินเข้าสู่ภาวะ "ฟองสบู่แตก" (Asset Price Bubble) ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ท่าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ[/FONT][FONT=arial, helvetica, sans-serif]ธนาคารแห่งประเทศไทย[/FONT][FONT=arial, helvetica, sans-serif] และอดีตรองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (สมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ) และอีกหลายต่อหลายตำแหน่งทางเศรษฐกิจในอดีต เรียกได้ว่าคุณสมบัติเพียบ ประสบการณ์พร้อม พอที่จะให้ "คอมเมนต์" ทางเศรษฐกิจในประเทศนี้ได้อย่างสบายๆ โดยคุณชายได้กล่าวในงานสัมมนาความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการเติบโตของจีดีพี ปี'54 จัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ความตอนหนึ่งว่า".........นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่หนักหนากว่าความเสี่ยงอื่นๆ คือความเสี่ยงเงินไหลเข้าประเทศ ตอนแรกตนก็ไม่ได้สนใจ จนนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี มาทะเลาะกับ ธปท.จนต้องลงมาดู และพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือสหรัฐและยุโรปใช้นโยบายใส่เงินท่วมตลาด โดยดอกเบี้ยในสหรัฐและยุโรปต่ำมาก อยู่ที่ 0.25-0.125 % และอาจจะเหลือ 0% ในเร็วๆ นี้ ขณะที่ดอกเบี้ยตราสารหนี้ในไทย อยู่ที่ 3.0-3.5% ทำให้เงินไหลเข้ามาลงทุนมากที่สุดในประวัติศาสตร์... " ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังกล่าวต่ออีกว่า [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]"..... ปัญหาสำคัญอีกเรื่องคือ จะเกิดสภาพคล่องมากมาย และเกิดปัญหา Asset price bubble หรือราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมากเป็นฟองสบู่ ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ และในตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นขึ้นไปถึง 30% จากระดับ 760 จุดในเดือนพฤษภาคม จนมาแตะระดับใกล้ 1,000 จุด ขณะนี้เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นแตกเพราะฟองสบู่ยังมีความเหนียวอยู่ แต่ตราบใดที่เงินทุนยังไหลเข้าแบบนี้ ความเหนียวก็จะบางลงและฟองสบู่แตกได้........" และทิ้งท้ายว่า"หุ้นค่อยๆ ขึ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มแล้ว.........รัฐบาลจะต้องมองไกลมากกว่าวันต่อวัน ที่ออกมาพูดวันนี้ เพราะเห็นตัวเลขนี้ชัดเจน ถ้าปล่อยไปก็จะเจอ 2 เด้ง จะหนักขึ้นทั้งหุ้นและอสังหา......."ที่ผมคัดมาเสียตั้งเยอะก็เพราะท่านพูด ได้ดีมาก แต่ที่สำคัญก็คืออยากให้เห็นว่าที่หม่อมอุ๋ยนำเสนอนั้นเต็มไปด้วยข้อมูลที่ น่าเชื่อถือ และควรต้องใส่ใจอย่างจริงจังมากๆ กระนั้นก็ดี ดูเหมือนว่าในซีกของทางการความคิดเห็นดูจะแตกต่างอยู่มากพอสมควร เพราะท่านผู้ว่าการ[/FONT][FONT=arial, helvetica, sans-serif]ธนาคารแห่งประเทศไทย[/FONT][FONT=arial, helvetica, sans-serif] (คนใหม่) เพียง "คอมเมนต์" ว่ายังไม่เห็นสัญญาณฟองสบู่ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ในฐานะ ที่ผมรู้จักทั้งสองท่าน ทั้งในทางส่วนตัวและในทางความคิด ทั้งยังมีความเคารพนับถือทั้งสองท่านเป็นอย่างมาก จึงใคร่นำเสนอความคิดเห็น "แบบนักเศรษฐศาสตร์หลุดกรอบ" เพื่อจะเป็นแนวอะไรเล็กๆ แนวหนึ่งที่อาจจะเป็นประโยชน์บ้าง อย่างน้อยก็ทำให้ท่านผู้อ่านคลายเครียดลงได้สักนิดก็ยังดีฟองสบู่คืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และจะรู้ได้อย่างไรว่าจะแตกแล้ว? [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ฟองสบู่ เป็นศัพท์ที่ค่อนข้างใหม่ ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 คนไทยแทบไม่เคยได้ยินคำนี้เลย ปัจจุบันเป็นคำยอดนิยมที่พูดกันบ่อย แต่ไม่ค่อยมั่นใจว่าจริงๆ แล้วความหมายของมันคืออะไร [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]หม่อ มอุ๋ยให้ความหมายที่ค่อนข้างดี โดยเรียกขานเป็นภาษาประกิตว่า Asset Price Bubble สำหรับคนที่มองและคิดอย่างชาวบ้านอย่างผมก็คงจะนิยามเจ้าฟองสบู่นี้ง่ายๆ ว่าเป็นภาวะ "เว่อร์ๆ" ของ ราคา ข้าวของบางอย่างในตลาดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะเจาะจง แล้วก็แพร่ระบาดไปทั่วระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำนองไวรัสไข้หวัดนกอะไรทำนองนั้น [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ปัญหา ของเรื่องไม่ใช่นิยามหรือความหมายมากเท่ากับ "จังหวะเวลา" กล่าวคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าในตลาด (เช่นตลาดที่ดิน ตลาดบ้าน ตลาดหุ้น) ขณะนี้ราคาได้เว่อร์ถึงจุดที่เริ่มเกิด "ฟอง" แล้วความยากก็อยู่ตรงนี้แหละครับ เพราะฟองสบู่มองไปก็คล้าย "ความรัก" ดังคำกลอนในบทละคร "เวนิสวานิช"(The Merchant of Venice, circa 1596) ที่ว่าไว้ "ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน..."และยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะจังหวะที่มันแตกดังโพละ แทบจะเหมือน "แผ่นดินไหว" ยังไงยังงั้น แทบจะมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ว่าจะเกิดเมื่อใด และเมื่อเกิดแล้ว ก็หนีไม่พ้น "หายนะ" ทุกครั้งไป [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]สำหรับ นักเศรษฐศาสตร์นอกกรอบอย่างผม เอา "ผิดเป็นครู" ยึดแนวทางตัวตุ่นในการทำนายแผ่นดินไหว และยึด "หลักการนิวซีแลนด์" ในการป้องกันและควบคุมความเสียหาย [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ฉะนั้น ในกรณีของประเทศไทย ผมเสนอหลักสามข้อในการมองเรื่องฟองสบู่ "แตก" ดังต่อไปนี้ [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]1.คนไทย ชอบ "ของอิมพอร์ต" เพราะฉะนั้นฟองสบู่ของเราหาก จะเกิดก็จะต้องเป็น "ฟองสบู่อิมพอร์ต" ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นให้ดู "ของ นอก" เช่น "ทุนนอก" เป็นต้นให้ดี หากมีการนำทุนนอกเข้ามา (หรือยอมให้นำทุนนอกเข้ามาได้ง่ายๆ) อย่างมากมายมหาศาลด้วยความรู้สึกหลงใหลได้ปลื้มกันถ้วนหน้า ก็เตรียมตัวไว้ได้เลยครับ.........ฟองสบู่มาแล้ว [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]2.คนไทย "ชอบการพนัน" เพราะฉะนั้นฟองสบู่ของเราหากจะเกิดก็มักจะต้องเกิดควบคู่กับการ "เก็งกำไร" ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นให้ดูให้ดีว่าผีพนันเริ่มเข้าสิงตลาดหุ้น ตลาดอสังหาฯ หรือยัง หากเริ่มสิงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเมื่อไหร่ ก็เตรียม "เคาต์ดาวน์" กันได้เลย3.คนไทยมีนิสัย "ไทยมุง" เพราะฉะนั้นฟองสบู่ของเราจะเริ่มเข้าสู่จุด "ฟองสบู่แตก" ก็เมื่อผู้คนเริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างดีหมด อนาคตสดใส ทุกคนก็แห่ตามกันไป (ทั้งเล่นหุ้น ทั้งซื้อที่ดิน ฯลฯ) กลายเป็น "จิตวิทยามวลชน" ที่ชักนำแมงเม่าเข้าสู่กองไฟ เมื่อนั้นก็คือ "จุดแตกดังโพละ"ของฟองสบู่นั่นเอง [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]เมื่อปี 2540 ก่อนวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ทุกคนดีใจมากกับการที่ฝรั่งมังค่านำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อ มาลงทุนแบบเก็งกำไร (ในตลาดหุ้น ตลาดอสังหาฯ) ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจบ้านเราอ่อนยวบยาบ (ส่งออกซบเซา เริ่มขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ) ผู้ยิ่งใหญ่หลายท่านบอกว่า แสดงถึง "เสถียรภาพของเงินบาท"(แถมพูดแบบทีเล่นทีจริงว่า สงสัยต้องปรับค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น!!) กูรูทางเศรษฐกิจก็พยากรณ์ถึงวันที่ท้องฟ้าจะทอแสงสีทองผ่องอำไพเหนือผืนแผ่น ดินไทย [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ผมคิด ว่าปีนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ "หลงใหลได้ปลื้ม" นักเล่นส่วนใหญ่ในตลาดก็ล้วนแต่เป็น "แมงเม่าปีกแข็ง"(อย่างน้อยก็แข็งขึ้นกว่าเมื่อสิบสามปีที่แล้วพอสมควร หรอก!) ฉะนั้น Sentiment ข้อสามจึงยังไม่เกิด และด้วยเหตุนี้ฟองสบู่จึงคงยังไม่แตกในเร็วๆ นี้ [/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]แต่ที่ ผมยังกังวลใจก็คือ จากสภาพความเป็นจริงในตลาด และตามท้องถนนที่ผมได้สัมผัสมาในช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมา ผมคิดว่า "ฟองสบู่อิมพอร์ต" ได้เข้ามาถึงแผ่นดินไทยเรียบร้อย และ "วิญญาณนักพนัน" ของพี่ไทยก็เริ่มฮึ่มๆ แล้ว แต่ดูเหมือน "เกม" ในปีนี้น่าจะไม่เหมือนเมื่อตอนปี 2540 เพราะสุขภาพของเศรษฐกิจไทยก็เป็นคนละอย่าง คนละอารมณ์ ความซับซ้อนก็มากขึ้น แต่ความเปราะบางของระบบรักษาความปลอดภัย และการบริหารจัดการที่ต่างชาติชื่นชมและยินดีมากเมื่อครั้งโจมตีค่าเงินปี 2540 ก็ยังคงดำรงอยู่ ทำให้ผมไม่กล้าฟันธงประเด็น "เมื่อไหร่ฟองสบู่จะแตกดังโพละ" คงต้องทิ้งประเด็นนี้ไว้กับงานเขียนอีกชิ้นหนึ่งของเช็กสเปียร์เสียแล้ว นั่นก็คือ "To Be of Not To Be... That's the Question"(Hamlet, circa 1600).
    [/FONT]

    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]ข่าวเศรษฐกิจ[/FONT][FONT=arial, helvetica, sans-serif] หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- จันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2553 00:00:34 น.[/FONT]
    <style>.expanded { width: 620px; z-index: 9999; }</style> [FONT=arial, helvetica, sans-serif]วีระ มานะคงตรีชีพ[/FONT]
    [FONT=arial, helvetica, sans-serif]1 พฤศจิกายน 2553
    SMI :
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จับตา'ฟองสบู่ทองคำ'แตก

    วันจันทร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2553
    หลังราคาทะลุ 1,400 เหรียญ

    บรรดาพ่อค้าแม่ค้า กระทั่งหนุ่มสาวออฟฟิศ ต่าง ร้องจ๊าก!!! ตาโตไปตาม ๆ กัน หลังราคาทองคำทั้งในตลาดโลกและในประเทศ พุ่งกระฉูดอย่างต่อเนื่อง จนหลายฝ่ายคาดเดากันว่า ณ วินาทีนี้ ต่อให้เอาช้างมาฉุด ก็ไม่สามารถหยุดความร้อนแรงนี้ลงได้ โดยราคาทะยานขึ้นจนสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือทำนิวไฮ ถือเป็นการทำนิวเรค คอร์ดที่ต้องรีบหาปากกามาจดบันทึกไว้ ด้วยเหตุที่ราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวทะลุ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 53 ที่ผ่านมา และเป็นผลพวงให้ราคาทองคำในประเทศขยับตัวตามมาติด ๆ โดยทองคำแท่งขายออกที่บาทละ 19,700 บาท ขณะที่ทองรูปพรรณ ขายออกบาทละ 20,100 บาท

    ความร้อนแรงของราคาทองคำครั้งนี้ ได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ของสหรัฐ หรือคิวอี 2 ที่ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบถึง 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการซื้อพันธบัตรระยะยาวเดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์ รวมเวลาถึง 8 เดือน ผสมโรงกับความวิตกกังวลว่าสหภาพยุโรป (อียู) อาจต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอีก รอบใหญ่

    ทั้ง 2 ปัจจัย ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปยังง่อนแง่น ไร้วี่แววของเค้าลางการผงกหัวขึ้นอย่างชัดเจน และกลายเป็นแรงซ้ำเติมให้เงินสกุลหลักของโลก โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนัก จนไม่สามารถดึงดูดให้บรรดานักลงทุนเข้าไปลงทุนได้อีก ประกอบกับขณะนี้ธนาคารกลางทั่วโลกได้เบนเข็มหันมาสะสมทองคำมากขึ้น ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีแรกที่เมื่อหักลบกันแล้วธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มายืนอยู่ในฝั่งของผู้ซื้อ จากเดิมที่เป็นฝั่งเทขายมาตลอด 15 ปีที่ผ่านมา

    *** หลุมหลบภัยชั้นดี ***

    ด้วยความอ่อนแอของประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงยวบยาบและต่อเนื่อง ตลอดจนสภาพคล่องที่มีในระบบ จำนวนมาก จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ “ทองคำ” ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยและมั่นคงสูง หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นหลุมหลบภัยชั้นดี ในยามที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ได้รับความสนใจขึ้นมาทันที ทำให้นักลงทุนทั้งน้อยใหญ่พร้อมใจกระโดดเข้ามาเก็งกำไร ดัน ให้ราคาทองคำทุบสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน และตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่เนื้อหอมไม่แพ้กัน เพราะล้วนได้รับอานิสงส์จากเงินทุนนอกที่ไหลทะลักเข้ามาลงทุน

    แม้ที่ผ่านมาราคาทองคำในตลาดโลกจะไต่ระดับทำนิวไฮ แต่เมื่อหันมาดูราคาทองคำใน ประเทศแล้ว กลับพบว่า ราคาในบ้านเราขยับขึ้นไม่มากมายนัก เพราะมีแรงถ่วงจากเงินบาทที่แข็งโป๊กต่อเนื่อง ทำให้ราคาทองคำแท่งยังยืนอยู่ที่ประมาณบาทละ 19,000 บาทปลาย ๆ หรือบางวันอาจเห็นเข้าใกล้ระดับบาทละ 20,000 บาท แต่กูรูในแวดวงทองคำต่างประสานเสียงทำนองเดียวกันว่าคงไม่เห็นบาทละ 20,000 บาทภายในปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นทุก 10 สตางค์ จะเป็นแรงผลักดันให้ทองคำดิ่งลง 60 บาท หรือเงินบาทแข็งค่าทุก 1 บาท จะกดดันให้ราคาทองคำร่วง 600 บาท ในทางตรงกันข้าม หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงทุก 1 บาท จะทำให้ราคาทองคำขยับขึ้นบาทละ 600 บาท

    ทั้งนี้จากข้อมูลของสมาคมค้าทองคำ ชี้ว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วกว่า 10% และทำให้ราคาทองคำในประเทศเฉลี่ยทั้งปีพุ่งขึ้นกว่า 2,000 บาท จากเดือน ม.ค. ราคาทองคำอยู่ที่บาทละ 17,550 บาท แต่ล่าสุดวันที่ 9 พ.ย. 53 อยู่ที่บาทละ 19,700 บาท ซึ่งทุบสถิติสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี

    แม้หลายฝ่ายมองว่าจะยังไม่เห็นทองคำแท่งแตะบาทละ 20,000 บาทในปีนี้ ทว่าราคาทองรูปพรรณกลับนำโด่งเหยียบบาทละ 20,000 บาทไปแล้ว เพราะต้องบวกค่ากำเหน็จเข้าไปด้วย ทำให้คู่รักที่กำลังวางแผนแต่งงานต้องกุมขมับกับราคาทองที่สูงลิบลิ่ว เนื่องจากต้องควักกระเป๋ามากกว่าเดิม ส่วนคนที่กำลังจะเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรก็คงเครียดไม่แพ้กัน คงมีแต่ผู้ที่เก็บทองไว้ในลิ้นชักหรือตู้เซฟเท่านั้นแหละที่เป็นปลื้มและ ดีใจกับราคาทองที่ดีดตัวขึ้นแรง เพราะหากซื้อในต้นทุนต่ำมาก ๆ ยังไงก็ได้กำไรเข้ากระเป๋าเหนาะ ๆ ไม่ว่าจะแบ่งออกมาขายตอนนี้หรือในอนาคต เพราะจากคำยืนยันของหลายฝ่ายต่างฟันธงว่า “ราคาทองคำยังขยับขึ้นได้ต่อ” และอยู่ในเชิงบวกมากกว่าขาลง

    นับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับขึ้นแล้วกว่า 600 บาท หากเอาความเสี่ยงจากเศรษฐกิจนอกประเทศที่ยังระส่ำระสาย ทั้งไอซ์แลนด์ซึ่งอาจต้องเจอภาวะล่มสลายทางเศรษฐกิจ เพราะมีหนี้สินล้นพ้นตัว อีกทั้งหากยื่นขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ไม่ทัน ภาวะเศรษฐกิจอาจล้มทั้งยืน หรือแม้แต่สถานการณ์ในสหรัฐ ที่ยังหาความแน่นอนไม่ได้ ล้วนเป็นแรงส่งให้ราคาทองคำในช่วงที่เหลือของปีนี้ และปี 54 พุ่งกระฉูดต่อเนื่อง

    *** ลุ้นแตะบาทละ 20,000 บาท

    ผู้ประกอบการบางรายมองว่า ราคาทองคำจะมีความผันผวนอย่างหนักซึ่งในปี 54 อาจขยับไปถึงระดับ 1,500-1,600 ดอล ลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองในประเทศอาจเข้าไปแตะระดับ 20,000-21,000 บาท แต่ระหว่างทางของการดีดตัวอาจมีปัจจัยเสี่ยง หากเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปเริ่มส่งสัญญาณของการกลับมาฟื้นตัวได้ชัดเจนอีก ครั้ง อาจเป็นแรงฉุดให้ราคาทองคำถลาลง เพราะมีสิทธิที่นักลงทุนจะโยกเงินลงทุนในตลาดทองคำไปเก็งกำไรในสินค้าอื่น ๆ ที่ให้ผลกำไรงอกงามกว่า ซึ่งเป็นผลให้ราคาทองรูดลงมาแตะระดับ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ได้ หรือประมาณบาทละ 17,000-18,000 บาทได้

    ความคึกคักและความผันผวนของราคาทองคำที่ขยับขึ้นและลงในแต่ละวันอาจทำให้ ประชาชนทั่วไปที่คิดจะซื้อหรือขายเริ่มออกอาการมึน ๆ งง ๆ ไม่รู้ว่าควรลงทุนในช่วงเวลาใดดีถึงจะเหมาะสม เพราะยิ่งมีความผันผวนสูงกลับเป็นผลดีต่อตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ อ้างอิงราคาทองคำ (โกลด์ ฟิวเจอร์ส) เนื่องจากเป็นช่องทางที่นักลงทุนจะฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาส่วนต่างกำไร ด้วยเหตุที่สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและลง หากเข้าและออกถูกเวลาก็ได้กำไรเต็มหน้า ตัก แต่หากช้าอาจต้องควักกระเป๋าเพื่อวางหลักประกันเพิ่มเติม

    *** โกลด์ฟิวเจอร์สคึกคัก ***

    จากความผันผวนผนวกกับความร้อนระอุของราคาทองคำ ยิ่งเป็นตัวหนุนให้ตลาดโกลด์ฟิวเจอร์สคึกคักขึ้นทันที เห็นได้จาก ตัวเลขในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ตลาดโกลด์ฟิวเจอร์ส ทำสถิติซื้อขายเฉลี่ยวันสูงสุดที่ 6,448 สัญญา ซึ่งถือว่าสูงสุดนับแต่เริ่มเปิดการซื้อขายในเดือน ก.พ. 52 แบ่งเป็นสัญญาโกลด์ฟิวเจอร์สขนาด 50 บาท จำนวน 4,234 สัญญา และมินิโกลด์ฟิวเจอร์ส (ขนาด 10 บาทต่อสัญญา) 2,214 สัญญา โดยถือว่าเพิ่มขึ้นทั้งสัญญาขนาด 50 บาท และ 10 บาท เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง

    ส่วนการซื้อขายเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 53 ยังได้รับความนิยมต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด 5,812 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาสิ้นสุดอายุเดือน ธ.ค. 53 ปิดที่ระดับ 19,830 บาท ปริมาณการซื้อขาย 2,432 สัญญา, สัญญาสิ้นสุดอายุเดือน ก.พ. 54 ปิดที่ระดับ 19,890 บาท ปริมาณการซื้อขาย 1,070 สัญญา, สัญญาสิ้นสุดอายุเดือน เม.ย. 54 ปิดที่ระดับ 19,960 บาท ปริมาณการซื้อขาย 320 สัญญา, สัญญาสิ้นสุดอายุเดือน ธ.ค. 53 ขนาด 10 บาท ปิดที่ระดับ 19,820 บาท ปริมาณการซื้อขาย 1,337 สัญญา, สัญญาสิ้นสุดอายุเดือน ก.พ. 54 ขนาด 10 บาท ปิดที่ระดับ 19,880 บาท ปริมาณการซื้อขาย 539 สัญญา และสัญญาสิ้นสุดอายุเดือน เม.ย. 54 ขนาด 10 บาท ปิดที่ระดับ 19,960 บาท ปริมาณการซื้อขาย 114 สัญญา

    *** หวั่นเกิดฟองสบู่ทองคำ ***

    หากมองอีกมุมหนึ่ง การที่นักลงทุนเฮโลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทองคำมาก ๆ อาจเป็นตัวเร่งให้เกิด “ภาวะฟองสบู่” เร็ว ขึ้น เพราะอยู่ในฝั่งซื้อมากเกินไป เหมือนธุรกิจหรือการลงทุนประเภทอื่นที่เมื่อมีแรงซื้อเข้ามามากจนดันราคา ติดลมบน ทำให้ราคา ทะยานขึ้นสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งจากมุมมองของผู้คร่ำหวอดในธุรกิจทองคำอย่าง “พิชญา พิสุทธิกุล” เลขาธิการสมาคมค้าทองคำ ให้ความเห็นว่า ภาวะฟองสบู่ในตลาดทองคำคงยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ แต่คงได้เห็นกันในปี 54 มากกว่า โดยประเมินว่าหากราคาปรับขึ้นไปถึง 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ได้ และหากคำนวณภายใต้สมมุติฐานที่เงินบาทระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จาก ราคาทองคำในระดับดังกล่าว คงไม่ทำให้ราคาทองคำในประเทศแตะบาทละ 20,000 บาท ซึ่งอาจอยู่ที่บาทละ 19,900 บาท

    เช่นเดียวกับ “บุญเลิศ สิริภัทรวณิช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออสสิริส จำกัด ที่มองว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่ของทองคำแล้ว หลังที่ผ่านมาราคาปรับขึ้นอย่างร้อนแรง ทำให้มีแรงซื้อหรือแรงเก็งกำไรเข้ามาอย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นเหมือนกับตลาดอื่น ๆ ที่เคยเกิดฟองสบู่ แต่ตลาดทองคำจะแตกต่างจากตลาดอื่น ๆ ตรงที่พื้นฐานของทองคำยังแข็งแกร่ง อีกทั้งความต้องการยังเป็นไปตามความต้องการซื้อและขาย รวมทั้งมีเหตุผลรองรับมากกว่าการเก็งกำไรตามปกติ

    ได้ฟังความเห็นจากกูรูทองคำเช่นนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจเริ่มหวาดกลัวและเกิดคำถามในใจตามมาว่า “ถึงเวลาที่จะเกิดฟองสบู่ในตลาดทองคำแล้วจริงหรือไม่” เพราะที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาทองคำได้ปรับขึ้นอย่างร้อนแรงฝ่ามรสุม เศรษฐกิจรอบ ด้านที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนักลงทุนเห็นว่าการลงทุนทองคำ เป็นการลงทุนที่มีแต่ได้กับได้ และยิ่งนานวันก็ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากหากยังไม่พอใจราคาที่ขยับขึ้นก็ถือต่อไปได้ หากพอใจราคาเมื่อไหร่ก็ค่อยทยอยนำออกมาขาย

    *** ตุนทองแล้วอุ่นใจ ***

    สำนวนที่ว่ามีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ เห็นทีจะจริงและเข้ากับยุคสมัยนี้ เพราะใครที่มีทองคำเก็บไว้จำนวนมาก นอกจากจะอุ่นใจที่มีสินทรัพย์ที่มั่นคงแล้ว ยังสามารถแปลงเป็นเงินก้อนโตเมื่อยามจำเป็นได้อีกด้วย แต่หลายคนอาจตกใจกับราคาทองคำที่สูงลิ่ว จนไม่กล้าเข้าไปซื้อหรือขายขออยู่นิ่ง ๆ และรอดูสถานการณ์ดีกว่า อย่างเช่น “สุรางค์ สร้อยทอง” อดีตข้าราชการเกษียณอายุ ที่ยอมรับว่า รู้สึก แปลกใจกับราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเมื่อเห็นราคาทองที่พุ่งปรี๊ดขนาดนี้แล้ว ก็ไม่กล้าเข้าไปซื้อตุนเพิ่ม เพราะราคาแพงเกินไป นอกจากนี้ มองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะนำออกมาขาย ทั้งที่ตนเองซื้อมาเก็บไว้ในต้นทุนที่ถูก เนื่องจากต้องการเก็บไว้เป็นสินทรัพย์ ด้วยเหตุที่มีความปลอดภัยและมั่นคง อีกทั้งยังรู้สึกอุ่นใจเมื่อได้สะสมทองคำ

    ขณะที่ “ชัยวัฒน์ บงกชเกตุสกุล” ที่ประกอบอาชีพค้าขาย ย่านดอนเมือง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นนักเก็งกำไรทองคำตัวจริงเสียงจริง บอกว่า ได้ศึกษาการลงทุนทองคำ มานานพอสมควรแล้ว โดยศึกษาเองผ่าน บทวิเคราะห์และเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อ ปรับรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่ง ที่ผ่านมาได้ซื้อทองคำในต้นทุนบาทละ 16,000 บาท และเมื่อเห็นว่าราคาทองเริ่มขยับขึ้นแตะบาทละ 18,000 บาท ก็ได้ทยอยนำออกมาขาย หากช่วงไหน ที่เจอจังหวะที่ทองปรับลดลง จะเข้าซื้อเก็บสะสม เพราะด้วยความที่ตนเองประกอบอาชีพค้าขาย การซื้อทองคำเก็บไว้นอกจากจะช่วยสร้างกำไรให้งอกงามแล้ว ในบางครั้งยังช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เพราะทองคำสามารถเก็บไว้ได้และขายง่าย

    ส่วน “ต่อบุญ ธนะสมบูรณ์” นักบินของสายการบินไทย ที่เพิ่งเบนเข็มหันมาลงทุนทองคำอย่างจริงจัง บอกว่า ก่อนหน้านี้ตนจะซื้อเงินยูโรมาเก็บไว้ เพื่อหวังทำกำไร แต่พอระยะหลังค่าเงินยูโรตกลงมาก เลยประสบปัญหาขาดทุน ตนเลยมาศึกษาว่าควรจะลงทุนสินค้าประเภทไหนดีที่สามารถทำกำไรได้ดีและมีความ เสี่ยงน้อย ซึ่งก็มาลงเอยที่ทองคำ เนื่องจากมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้มาก ขณะที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะหากปรับลดลงราคาจะลงประมาณ 50-100 บาทเท่านั้น แต่หากเพิ่มขึ้นจะขยับถึง 100-200 บาท

    “ได้ซื้อทองสะสมไว้รวมประมาณ 100 บาททองคำ ในราคาต้นทุนที่บาทละ 17,500 บาท และเมื่อราคาทองคำขยับ ขึ้น 300-500 บาท ก็ทยอยแบ่งเทขายครั้งละ 20 บาททองคำ โดยเทขายครั้งล่าสุดในช่วงที่ทองคำปรับขึ้นอยู่ที่บาทละ 19,000 บาท ซึ่งได้จองราคาขายล่วงหน้าไว้กับร้านค้าทอง ส่วนในช่วงที่ราคาตกได้หาจังหวะเข้าซื้อสะสม เพื่อเก็งกำไรต่อไป โดยหลังจากซื้อ ๆ ขาย ๆ มาเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ทำให้มีกำไรจากการลงทุนทองคำร่วม 200,000 บาท”

    ณ วันนี้ ทุกฝ่ายคงต้องจับตา ว่าตลาด “ทองคำ” จะก้าวเข้าสู่วิกฤติฟอง สบู่ เช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่นที่เคยเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะการลงทุนในตลาดทองคำในเวลานี้…ไม่ใช่เป็นการลงทุนเพื่อการออมเงินไว้ ใช้ในอนาคตอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการลงทุนเพื่อหวังผลกำไร เช่นเดียวกับการเก็งกำไรค่าเงิน อสังหาริมทรัพย์ หรือน้ำมัน ที่กำลังรองับเหยื่ออันโอชะอย่างแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ….

    ขวัญหทัย แนวหล้า
    Daily News Online > หน้าเศรษฐกิจ > จับตา'ฟองสบู่ทองคำ'แตก
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ห้างหรูฟลอริดาติดตู้ทีเอ็มทอง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 18 ธันวาคม 2553

    [​IMG]


    โบคาเรตัน - บ.เยอรมนีทำตู้เอทีเอ็มสำหรับกดทอง ไปตั้งไว้ที่ห้างหรูฟลอริดา
    นายโธมัส กัสเซอร์ ซีอีโอบริษัทเอกซ์โอเรียนเตลักซ์และผู้คิดค้นเครื่องโกลด์ทูโก นำตู้เอทีเอ็มที่กดแล้วได้ทองแท่ง 24 กะรัตและเหรียญทอง ไปติดตั้งไว้ในห้างสรรพสินค้าหรูหราแห่งหนึ่งในเมืองโบคาเรตัน รัฐฟลอริดา นายกัสเซอร์กล่าวว่าแทนที่จะซื้อดอกไม้หรือชอคโกแลต ซึ่งหมดไปภายใน 2-3 นาที คนรุ่นใหม่อาจซื้อทองที่สามารถเก็บได้เป็นหลายร้อยปี
    นอกจากนั้น ตู้เอทีเอ็มทองยังสะดวกสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการวุ่นกับการซื้อทองตามร้านจำนำหรือทางอินเทอร์เน็ต บริษัทเอกซ์โอเรียนเตลักซ์นำตู้เอทีเอ็มทองตู้ แรกไปติดตั้งที่โรงแรมเอมิเรตส์พาเลซในอาบูดาบีเมื่อเดือนพ.ค. และนำไปติดตั้งในเยอรมนี สเปน รวมถึงอิตาลี ทั้งยังมีแผนนำไปติดตั้งให้ทั่วโลกในปีหน้า
    กัสเซอร์กล่าวว่าตู้เอทีเอ็มในอาบูดาบีได้รับความนิยมมากจนต้องนำทองไปเติมทุก 2 วัน
    ตู้เอทีเอ็มทำงานเหมือนตู้สำหรับกดเงิวสด เพราะพอสอดบัตรแล้วผู้ใข้สามารถน้ำหนักและรูปแบบของทองได้ตามต้องการ จากนั้นทองจะออกมาในกล่องหรูสีดำ โดยมีการปรับราคาอัตโนมัติทุก 10 นาทีตามความผันผวนของราคาในตลาด
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟองสบู่ กับ ดอกทิวลิป


    ภาวะฟองสบู่ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งมาเกิดนะครับ ว่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
    ฟองสบู่สมัยโบราณที่ขึ้นชื่อว่าคลาสสิกที่สุด บ้าระห่ำที่สุด และมีคนพูดถึงมากที่สุด คือ ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นกับ ทิวลิป เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด เคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ tulipmania หรือ tulipomania กันบ้างหรือยังครับ ถ้าไม่เคย ก็ล้อมวงเข้ามาครับ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง
    ถ้าพูดถึงทิวลิป หลายๆ คนคงคิดถึงฮอลแลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ แต่จริงๆ แล้วเนี่ยดอกทิวลิปมีต้นกำเนิดมาจากฝั่งทวีปเอเชียของเรานี่เองครับ แถวๆ ประเทศตุรกี อิหร่าน ว่ากันว่าครั้งแรกที่ทิวลิปหลุดเข้าไปในทวีปยุโรป คือในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 16 พ่อค้าชาวตุรกีส่งหัวทิวลิปไปให้พ่อค้าชาวฮอลแลนด์เป็นของกำนัล พ่อค้าชาวฮอลแลนด์นึกว่าเป็นหอมหัวใหญ่ เลยเอามาผัดกิน เหลือก็เอาไปปลูกไว้ในแปลงผัก กะเก็บไว้กินปีหน้า พอดอกออกนี่สิครับ ตื่นเต้นกันใหญ่ว่าดอกอะไรมันช่างสวยงามซะขนาดนี้ แล้วหลังจากนั้น ทิวลิปก็กระจายไปทั่วยุโรป
    ก่อนจะพูดถึงตลาดของทิวลิป ต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของทิวลิปก่อนครับ ทิวลิปเป็นดอกไม้มีหัว หน้าตาก็เหมือนหอมหัวใหญ่นี่แหละครับ ทิวลิปขยายพันธุ์ด้วยหน่อ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดก็ได้ แต่ใช้เวลา 7-12 ปีกว่าจะออกดอก) หัวทิวลิปหนึ่งหัว ผลิตหน่อได้ปีละสองสามหน่อ และหัวทิวลิปแม่พันธุ์มีอายุแค่สองสามปีหลังจากโตเต็มที่
    ดอกทิวลิปบานปีละครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน แต่เนื่องจากหัวทิวลิปหน้าตาเหมือนกันหมด จะให้แน่ใจว่าซื้อหัวอะไรกันแน่ การซื้อขายหัวทิวลิปจึงเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน คือเฉพาะหลังดอกบานเท่านั้น เรียกว่าขุดกันเห็นๆเลยว่าถ้าออกดอกแล้วจะเป็นสีอะไรกันแน่
    หลังจากที่ทิวลิปเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป ทำให้มีความต้องการหัวทิวลิปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาของหัวทิวลิป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์สวยๆ หายากๆ ว่ากันว่า X ดอกที่สวยๆหา ยากๆเนี่ย เกิดจากการที่ทิวลิปติดเชื้ออะไรสักอย่าง ทำให้เกิด pattern แปลกๆบนดอก แต่ทิวลิปที่ติดเชื้อจะอ่อนแอ และตายง่าย
    ด้วยความที่มันหายาก และมีน้อย แต่มีความต้องการมาก ก็ยิ่งทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ในช่วงปี 1633 มีข่าวว่า มีคนขายฟาร์ม เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสามหัว เมื่อข่าวดังกล่าวแพร่กระจายไป ทำให้คนตื่นเต้นกับราคาที่สูงมากของทิวลิป
    ภาวะการซื้อขายเก็งกำไรหัวทิวลิปสูงขึ้นสุดๆ ในช่วงปี 1634-1637 แต่เดิมการขายทิวลิปนั้นจำกัดอยู่เฉพาะคนที่ปลูกทิวลิปขายเท่านั้น แต่ราคาที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเรื่องราวของกำไรที่ได้มาอย่างง่ายดาย ดึงดูดนักเก็งกำไรเข้ามาร่วมปั่นราคาเข้าไปอีก คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า florist ครับ คือคนที่ค้าขายดอกไม้เป็นอาชีพ
    ราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องคิดราคาหัวทิวลิปกันเป็นกรัมเลยทีเดียว และช่วงที่แพงๆ ราคาหัวทิวลิปต่อกรัม แพงกว่าทองคำเสียอีก เชื่อหรือไม่ละครับ !!!
    ใน ปี 1636 เริ่มมีวิวัฒนาการการเงินรูปแบบใหม่เข้ามา เพราะอย่างที่บอกครับ การซื้อขายนั้นทำกันได้แค่ปีละครั้ง หลังดอกออกใหม่ๆ แต่มันยังไม่สะใจครับ เลยเริ่มมีการพัฒนาการซื้อขายสัญญาส่งมอบหัวทิวลิปกัน โดยที่การทำงานของตลาดก็คล้ายกับตลาด futures สมัยนี้ คือ คนซื้อก็ไม่มีเงินจะจ่ายเท่ากับในสัญญา ส่วนคนขายก็ไม่มีหัวทิวลิปในมือ แต่กะว่าจะถ้าครบตามสัญญาก็ settle กันโดยจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา กับราคาตลาดตอนที่ครบกำหนดส่งมอบ
    เป็นสัญญาที่ไม่ต้อง mark to market และไม่มี margin call เท่ากับว่าเป็นลงทุนที่ leverage สูงมากๆ และเสี่ยงสุดๆ แต่การซื้อขายสัญญาทำได้สะดวก และทำกำไรได้มาก ราคายิ่งพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (แต่กำไรก้อนใหญ่ยังไม่ได้จนกระทั่งถึงวันส่งมอบหัวทิวลิปนะครับ)
    ระยะแรกๆ ก็ซื้อขายทิวลิปกันด้วยเงิน พอเงินไม่มี ก็เริ่มมีจ่ายเงินเป็นของแทน บางคนขายที่ขายบ้าน มาซื้อหัวทิวลิป
    ลองดูเล่นๆ ว่า ราคาของทิวลิปพันธุ์หายากอย่าง “Semper Augustus” เนี่ยราคา 1200 florins ต่อหัว ในปี 1624; ปี 1625 ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 3000 florins; ปี 1633 ราคา 5000 florins; และปี 1637 ราคาสูงถึงหัวละ 10,000 florins ค่าเงินสมัยก่อนคงเทียบลำบากว่าเท่ากับสมัยนี้เท่าไร แต่เทียบง่ายๆ ว่า ราคาบ้านหรูริมคลองใน Amsterdam สมัยนั้นราคาแค่ 10,000 florins เรียกว่า ทิวลิปหัวหนึ่ง ราคาเท่าบ้านหลังนึงเลยทีเดียว
    ตอนแรกๆ ราคาที่บ้าระห่ำแบบนี้ จำกัดเฉพาะพันธุ์ทิวลิปหายาก แต่ภายหลังมันก็ระบาดไปถึงทิวลิปพันธุ์ทั่วไป ขนาดว่าหัวแตกๆ คุณภาพต่ำ ยังขายได้เลยครับ
    แล้วภาวะฟองสบู่ของทิวลิปก็แตกดังโป๊ะ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1637 เมื่อเริ่มคนเริ่มกลัวว่าราคามันชักจะสูงเกินไปแล้ว ว่ากันว่า สัญญาณบอกเหตุของฟองสบู่ที่กำลังจะแตก เกิดขึ้นเมื่อมีข่าวว่าผู้ร่วมประมูลหัวทิวลิปคนหนึ่ง ไม่ซื้อหัวทิวลิปที่ตัวเองประมูลได้
    ผู้คนเริ่มแตกตื่น และผิดนัดสัญญาการซื้อขายหัวทิวลิปกันเป็นแถวๆ แล้วราคาหัวทิวลิปก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาหัวทิวลิปในอีกห้าปีต่อมา ลดลงเหลือแค่ 1-30% ของราคาสูงสุด ในอีกร้อยปีถัดมา ราคาหัวทิวลิปเหลือไม่ถึง 1 florin ด้วยซ้ำ
    แต่ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ จากการพังทลายของราคาทิวลิปสมัยนั้นมีไม่มาก เพราะการปลูกทิวลิปทำได้แค่ปีละครั้ง และระยะเวลาที่เกิด tulipmania ขั้นรุนแรงที่เกิดขึ้นกับทิวลิปทั่วไปนั้นไม่ยาวนานมากนั้น ไม่พอที่จะทำให้เกิด misallocation of resources (คือไม่ทำให้คนแห่ไปปลูกทิวลิปกันหมด) ความเดือดร้อนจึงถูกจำกัดอยู่เฉพาะพวกแมลงเม่าที่เข้าไปเก็งกำไร
    นอกจากนี้หลังจากราคาทิวลิปตกฮวบฮาบ สัญญาต่างๆ ก็ settle กันจริงๆ ที่ปริมาณไม่สูงนัก ไม่ทำให้คนเดือดร้อนมากนัก
    ฟังดูแล้วเศร้าไหมครับ เรื่องราวก็คล้ายกับภาวะฟองสบู่อื่นๆ คือตอนที่มันขึ้นกันอย่างบ้าระห่ำ ทุกคนคิดว่ามันจะต้องขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ตอนราคามันตก ก็ตกไม่ลืมหูลืมตาเหมือนกันครับ
    tulipmania นี้เป็นเรื่องเล่าที่ติดไปกับคำว่าฟองสบู่ ไปได้อีกนานครับ


    คัดย่อบทความจาก เวบ onopen.com
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความคลั่งทิวลิป

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    คลั่งทิวลิป (อังกฤษ: Tulip mania, Tulipomania; ดัตช์: Tulpenmanie, Tulpomanie, Tulpenwoede, Tulpengekte, Bollengekte) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างยุคทองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขายหัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่กันอย่างสูงผิดปกติจนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน<sup id="cite_ref-MD2001_1-0" class="reference">[2]</sup> ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ในระหว่างที่ความคลั่งทิวลิปกำลังอยู่ที่จุดสูงสุด ราคาสัญญาการซื้อขายดอกทิวลิปต่อหัวสูงเกินสิบเท่าของรายได้ต่อปีของช่าง ฝีมือในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร<sup id="cite_ref-2" class="reference">[3]</sup> คำว่า "ความคลั่งทิวลิป" กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่<sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup>
    เหตุการณ์เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ ในหนังสือชื่อ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1841 แม็คเคย์กล่าวว่าในจุดหนึ่งของการขายถึงกับมีผู้เสนอแลกที่ดิน 12 เอเคอร์เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสายพันธุ์ "Semper Augustus" เพียงหัวเดียว<sup id="cite_ref-Chap3_4-0" class="reference">[5]</sup> แม็คเคย์อ้างว่ามีผู้ลงทุนในการซื้อสัญญาซื้อขายหัวทิวลิปจนหมดตัวเป็นจำนวน มากเมื่อราคาทรุดฮวบลง และผลสะท้อนของตลาดที่ล่มก็ใหญ่พอที่จะสั่นคลอนสภาวะทางเศรษฐกิจของ เนเธอร์แลนด์ แม้ว่าหนังสือที่แม็คเคย์เขียนจะกลายเป็นหนังสือคลาสสิคที่ยังคงตีพิมพ์กัน อยู่แม้แต่ในปัจจุบันนี้ แต่ความถูกต้องของข้อมูลและข้อสมมติฐานที่กล่าวในหนังสือก็ยังเป็นที่ถก เถียงกันอยู่ นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าความคลั่งดอกทิวลิปมิได้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง ตามที่แม็คเคย์กล่าว และบ้างก็เสนอว่าเหตุการณ์นี้มิได้ทำให้เกิดความแปรปรวนของเศรษฐกิจขนานใหญ่ ขึ้นแต่อย่างใด<sup id="cite_ref-5" class="reference">[6]</sup>
    การค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปเป็นไปได้ยาก เพราะข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1630 มีเพียงจำกัด—นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ยังขาดความเป็นกลาง และมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเก็งกำไร<sup id="cite_ref-Kuper_6-0" class="reference">[7]</sup><sup id="cite_ref-7" class="reference">[8]</sup> แทนที่จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นความคลั่งของการเก็งกำไรอันไม่มี เหตุผล นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่พยายามให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลถึงสาเหตุของการตั้ง ราคาอันสูงผิดปกติ แต่คำอธิบายเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มของความผันผวนของราคาดอกไม้ชนิดอื่น เช่น ดอกไฮยาซินธ์ ซึ่งก็มีการตั้งราคาที่สูงเกินประมาณเมื่อมีการนำสายพันธุ์เข้าใหม่เข้ามา และราคาก็มาตกฮวบต่อมาเมื่อหมดความนิยมลงเช่นเดียวกับทิวลิป อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดทิวลิปล่มอาจจะมาจากการ เปลี่ยนแปลงระบบการทำสัญญาการซื้อขายโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงนั้น ที่มีจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในตลาดการลงทุนของผู้ซื้ออนาคต โดยการอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถยุบเลิกสัญญาการซื้อขายได้โดยเสียค่าปรับเพียง เล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าของสัญญาทั้งหมด แต่บทบังคับนี้กลับได้ผลตรงกันข้ามและทำให้ราคาทิวลิปยิ่งถีบตัวสูงหนักขึ้น ไปอีกจนเป็นผลให้ตลาดทิวลิปล่มสลายในที่สุด


    [​IMG]
    ภาพทิวลิปแตกสีเป็นลวดลายที่เรียกว่า “ไวซรอย” ในแคตาลอกขายหัวทิวลิป ค.ศ. 1637 หัว “ไวซรอย” แต่ละหัวตกมีมูลค่าระหว่าง 3000 ถึง 4200 โฟลริน ขึ้นอยู่กับขนาด ขณะที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือในขณะนั้นตกประมาณ 300 โฟลรินต่อปี<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>


    ประวัติ


    ทิวลิปได้รับการนำเข้ามาในทวีปยุโรปจากจักรวรรดิออตโตมันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐดัตช์ (ปัจจุบัน คือ เนเธอร์แลนด์) <sup id="cite_ref-8" class="reference">[9]</sup> การปลูกทิวลิปในสาธารณรัฐดัตช์เชื่อกันว่าเริ่มกันขึ้นอย่างจริงจังราว ค.ศ. 1593 หลังจากที่นักพฤกษศาสตร์เฟล็มมิชชาร์ลส์ เดอ เลอคลูส์ได้รับตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยไลเดนและก่อตั้ง “สถาบันพฤกษศาสตร์แห่งไลเดน” (Hortus Botanicus Leiden) ขึ้น<sup id="cite_ref-9" class="reference">[10]</sup> เลอคลูส์ปลูกทิวลิปที่สถาบันจากหัวทิวลิปที่ส่งมาจากตุรกีโดยราชทูตโอชีร์ เดอ บูสเบคก์ในสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราช ทิวลิปที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนทานกับภาวะอากาศในบริเวณกลุ่มประเทศต่ำได้<sup id="cite_ref-10" class="reference">[11]</sup> ไม่นานหลังจากนั้นการปลูกทิวลิปก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไปในเนเธอร์แลนด์<sup id="cite_ref-11" class="reference">[12]</sup>
    ทิวลิปกลายมาเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่เป็นแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะของ ผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้เกิดความนิยมในการแสวงหาหัวทิวลิปมาเป็นเจ้าของกันยิ่งเพิ่มมาก ขึ้น ทิวลิปสายพันธุ์ใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นและจัดเป็นกลุ่ม เช่นทิวลิปสีเดียวที่รวมทั้งสีแดง เหลือง และ ขาวอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “Couleren” แต่ทิวลิปที่เป็นที่คลั่งไคล้กันมากที่สุดคือทิวลิปสีผสม หรือ “ทิวลิปแตกสี” (broken tulip) ที่มีลวดลายหลายสีในดอกเดียวกันที่มีชื่อเรียกกันไปต่างๆ แล้วแต่สายพันธุ์เช่น “Rosen” (แดงหรือชมพูบนพื้นสีขาว) “Violetten” (ม่วงหรือม่วงอ่อนบนพื้นสีขาว) หรือ “Bizarden” (แดง น้ำตาลหรือม่วง บนพื้นสีเหลือง) <sup id="cite_ref-12" class="reference">[13]</sup> ทิวลิปสีผสมที่นิยมกันนี้จะออกดอกที่มีสีเด่นสะดุดตาและมีลวดลายเป็นเส้น หรือเป็นเปลวบนกลีบ ลักษณะที่เป็นลวดลายนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตามที่ทราบกันในปัจจุบันที่ เรียกว่า “ไวรัสทิวลิปแตกสี” ซึ่งเป็นไวรัสพืชในกลุ่มไวรัสโมเสก (mosaic virus) <sup id="cite_ref-13" class="reference">[14]</sup><sup id="cite_ref-14" class="reference">[15]</sup>


    ผู้ปลูกทิวลิปต่างก็พยายามตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้เป็นที่ต้องหูด้วยชื่อที่หรูหราต่างๆ ที่เริ่มด้วยการตั้งชื่อที่มีคำว่า “แอดมิราล” (Admirael) นำหน้าตามด้วยชื่อผู้ปลูกเช่น “Admirael van der Eijck” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แสวงหากันมากในบรรดาห้าสิบสายพันธุ์ที่ใช้ชื่อแอดมิราล ชื่อนำหน้าอีกชื่อหนึ่งที่นิยมกันคือ “เจ็นเนอราล” (Generael) ซึ่งมีด้วยกันอีกสามสิบสายพันธุ์ หลังจากนั้นชื่อที่ตั้งก็ยิ่งหรูขึ้นไปอีกเช่นชื่อที่มาจากอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือสคิพิโอ หรือแม้แต่ “แอดมิราลแห่งแอดมิราล” หรือ “เจ็นเนอราลแห่งเจ็นเนอราล” แต่การตั้งชื่อก็มิได้เป็นไปอย่างมีระบบหรือระเบียบแบบแผนเท่าใดนัก และคุณภาพของสายพันธุ์ใหม่ก็มีระดับที่แตกต่างกันมาก<sup id="cite_ref-15" class="reference">[16]</sup> แต่สายพันธุ์เหล่านี้ส่วนใหญ่สูญหายไปหมดแล้ว<sup id="cite_ref-16" class="reference">[17]</sup> แต่ "ทิวลิปแตกสี" ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่
    ทิวลิปเป็นดอกไม้ที่ปลูกจากหัวที่เมื่อมองจากภายนอกจะดูคล้ายหัวหอมสีขาว นมที่ดูเหมือนไม่มีกลีบเหมือนหัวหอมธรรมดา การปลูกสามารถทำได้จากการเพาะเมล็ดหรือการปลูกจากหน่อที่แตกออกจากหัวแม่ แต่ถ้าปลูกจากเมล็ดก็จะใช้เวลาประมาณระหว่าง 7 ถึง 12 ปีจึงจะได้ดอก เมื่อหัวเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอก หัวเดิมก็จะตายไปและจะมีหัวใหม่โตขึ้นมาแทนที่และหน่อเล็กๆ ถ้าปลูกอย่างกันถูกต้องแล้วหน่อเล็กนี้ก็จะโตขึ้นมาเป็นหัวใหม่ต่างหาก แต่ไวรัสที่ทำให้ดอกแตกสีแพร่ขยายได้ด้วยการปลูกจากหน่อเท่านั้นไม่ใช่ด้วย เมล็ด ฉะนั้นการที่จะเพาะสายพันธุ์ใหม่ได้จึงใช้เวลาหลายปี และยิ่งช้าลงถ้ามีไวรัส ดอกทิวลิปแต่ละชนิดก็จะบานอยู่เพียงอาทิตย์เดียวราวระหว่างเดือนเมษายนถึง พฤษภาคมก่อนที่จะโรย หลังจากนั้นก็จะมีหน่อเล็กๆ แตกขึ้นมา สามารถขุดและย้ายหัวได้ตั้งแต่ราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ฉะนั้นการซื้อขายหัวทิวลิปกันจริงๆ ก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ของปี<sup id="cite_ref-17" class="reference">[18]</sup>
    ในช่วงเวลาอื่น ผู้ค้าขายก็จะลงนามในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อหน้าทนายความรับรองเอกสารเพื่อซื้อหัวทิวลิปกันเมื่อถึงปลายฤดู<sup id="cite_ref-18" class="reference">[19]</sup> ฉะนั้นเนเธอร์แลนด์จึงกลายมาเป็นผู้วิวัฒนาการเทคนิคของระบบการซื้อขายแบบใหม่เพื่อใช้ในการซื้อขายสินค้าเช่นหัวทิวลิป<sup id="cite_ref-19" class="reference">[20]</sup> ในปี ค.ศ. 1610 รัฐบาลก็ได้สั่งห้ามการขายชอร์ต ประกาศนี้มาย้ำและเพิ่มความเด็ดขาดขึ้นอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1621 จนถึง ปี ค.ศ. 1630 และต่อมาในปี ค.ศ. 1636 ตามประกาศนี้ ผู้ที่ขายชอร์ตไม่ได้รับการลงโทษ แต่สัญญาที่ลงนามไปก็ถือว่าเป็นโมฆะ<sup id="cite_ref-20" class="reference">[21]</sup>


    เมื่อการปลูกทิวลิปกลายมาเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ผู้ปลูกอาชีพก็ซื้อขายหัวทิวลิปที่เชื่อกันว่าจะแตกสี (โดยที่ขณะนั้นไม่เป็นที่ทราบว่าเกิดจากไวรัส) กันด้วยราคาที่สูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมาถึง ค.ศ. 1634 แรงผลักดันราคาทิวลิปที่ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของทิวลิปในฝรั่งเศส ก็เริ่มทำให้มีผู้เก็งกำไรเข้ามามีบทบาทในตลาด<sup id="cite_ref-22" class="reference">[23]</sup> ในปี ค.ศ. 1636 ดัตช์ก็เริ่มก่อตั้งตลาดการซื้อขายล่วงหน้าที่ สัญญาการซื้อหัวทิวลิปเมื่อสิ้นฤดูสามารถนำมาซื้อขายกันในตลาดได้ ผู้ค้าขายจะพบกันใน “colleges” ในโรงเหล้า โดยผู้ซื้อต้องจ่าย "ค่าธรรมเนียมไวน์" 2.5% ซึ่งอาจสูงถึง 3 โฟลรินต่อหนึ่งสัญญา แต่ไม่มีฝ่ายใดที่ต้องจ่ายหลักประกันขั้นต้น (initial margin) หรือ ปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) และสัญญาทั้งหมดเป็นสัญญาระหว่างบุคคล มิใช่สัญญาที่ทำกับตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริงตามสัญญาเพราะตลาดทิวลิปล่มสลายลงในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 การค้าขายนี้มีศูนย์กลางที่ฮาร์เล็มในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของการระบาดของกาฬโรคในยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้มีการเสี่ยงกันเกินกว่าเหตุก็เป็นได้<sup id="cite_ref-23" class="reference">[24]</sup>
    ตลอดปี ค.ศ. 1636 ราคาสัญญาของหัวทิวลิปที่หายากก็ยังคงถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ในเดือนพฤศจิกายน ราคาสัญญาทิวลิปธรรมดาที่ไม่แตกสีก็เริ่มสูงตามขึ้นไปด้วย ดัตช์เรียกสัญญาการซื้อขายทิวลิปว่า "windhandel" ซึ่งหมายถึง "การซื้อขายลม" เพราะตัวหัวทิวลิปมิได้มีการแลกเปลี่ยนมือกันจริง ๆ ตามสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า<sup id="cite_ref-24" class="reference">[25]</sup> แต่เมื่อมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 สัญญาการซื้อขายหัวทิวลิปก็ล่มในทันทีและการค้าขายหัวทิวลิปก็ยุติลงตามไปด้วยหลังจากนั้น<sup id="cite_ref-25" class="reference">[26]</sup>
    ข้อมูลที่มี

    ความที่ไม่มีข้อมูลที่บันทึกไว้อย่างมีระบบระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1630 ทำให้เป็นการยากต่อการประเมินสถานการณ์ของความคลั่งทิวลิปได้อย่างเที่ยงตรง ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากจุลสารของผู้ต่อต้านการเก็งกำไร โดย Gaergoedt and Warmondt (GW) ที่เขียนหลังจากตลาดทิวลิปล่มสลายไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ปีเตอร์ การ์เบอร์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหัวทิวลิป 161 หัวจาก 39 สายพันธุ์ระหว่างปี ค.ศ. 1633 จนถึงปี ค.ศ. 1637 โดย 53 หัวบันทึกโดย GW มีการซื้อขายเกิดขึ้น 98 ครั้งในวั้นสุดท้ายของฟองสบู่เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 ด้วยราคาที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก การซื้อขายก็มีรูปแบบหลายอย่างเช่นการซื้อขายล่วงหน้า การซื้อขายทันที การขายสัญญาล่วงหน้าที่ผ่านการรับรองของผู้ปลูก หรือการขายที่ดินที่ใช้ปลูก การ์เบอร์กล่าวว่า ข้อมูลที่มีก็คละกันอย่างไม่มีความเกี่ยวข้องกันเหมือนกับการผสมแอปเปิลกับ ส้ม<sup id="cite_ref-26" class="reference">[27]</sup>


    [​IMG]
    จิตรกรรมอุปมานิทัศน์ของความคลั่งทิวลิปโดยเฮนดริค เกอร์ริทสซ โพต (Hendrik Gerritsz Pot) ที่เขียนราว ค.ศ. 1640 เป็นภาพเทพีฟลอราผู้ เป็นเทพีแห่งดอกไม้นั่งบนเกวียนที่ถูกพัดด้วยสายลมที่นำไปสู่ความหายนะใน ทะเลพร้อมกับคนเมา คนให้ยืมเงิน และสตรีสองหน้า ที่ตามด้วยขบวนช่างทอชาวฮาร์เล็มที่เต็มไปด้วยลุ่มหลงในการลงทุน


    [​IMG]
    “ภาพนิ่งของดอกไม้” โดยอัมโบรเชียส บอสเชิร์ต (Ambrosius Bosschaert) (ค.ศ. 1573-ค.ศ. 1621) จิตรกรยุคทองของเนเธอร์แลนด์


    [​IMG]
    หัวทิวลิป


    [​IMG]


    ดัชนีราคามาตรฐานสำหรับสัญญาค้าขายหัวทิวลิปที่สร้างโดย Thompson 2007, p. 101 ทอมสันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับราคาระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ - 1 พฤษภาคม ฉะนั้นลักษณะของการหดตัวลงจึงไม่เป็นที่ทราบ แต่แม้จะไม่ทราบรูปแบบของการตกของราคาที่ถูกต้อง แต่ที่ทราบคือตลาดทิวลิปหดตัวอย่างเฉียบพลัน เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637<sup id="cite_ref-21" class="reference">[22]</sup>


    "ความคลั่งของมหาชน" โดยแม็คเคย์


    การโต้แย้งเกี่ยวกับพฤติกรรมของความคลั่งทิวลิปของสมัยใหม่เริ่มขึ้นในหนังสือชื่อ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1841 โดยนักหนังสือพิมพ์ชาวสกอตชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ แม็คเคย์เสนอว่ามหาชนมักจะแสดงพฤติกรรมอันขาดเหตุผล ความคลั่งทิวลิป หรือเหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซีของอังกฤษ หรือแผนการล่อนักลงทุนของบริษัทมิสซิสซิปปีของฝรั่งเศสต่างก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมดังกล่าว
    แม็คเคย์บรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลจากงานเขียน “ประวัติการประดิษฐ์ การค้นพบ และที่มา” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1797 โดยโยฮันน์ เบ็คมันน์ เป็นส่วนใหญ่ และในงานเขียนของเบ็คมันน์ก็ใช้จุลสารอีกสามเล่มที่เขียนโดยนักประพันธ์ นิรนามที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1637 ที่เป็นเอกสารที่มีจุดประสงค์เบื้องหลังของการเขียนเพื่อการต่อต้านการเก็ง กำไร เป็นแหล่งข้อมูลอีกทีหนึ่ง<sup id="cite_ref-28" class="reference">[29]</sup> หนังสือของแม็คเคย์ที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้งเป็นที่นิยม กันโดยนักเศรษฐศาสตร์และบรรดาผู้มีบทบาทในการค้าขายหุ้นอยู่หลายชั่วคน และความเป็นที่นิยมนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อมา แม้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของสภาวะฟองสบู่ของการเก็งกำไรจะ มีความบกพร่อง และแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จะสามารถพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานหลายประการของหนังสือไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม<sup id="cite_ref-29" class="reference">[30]</sup>
    ตามความเห็นของแม็คเคย์การตื่นตัวของความแพร่หลายของทิวลิปเมื่อต้น คริสต์ทศวรรษ 1600 ทำให้ชนทั้งชาติต่างก็หันมาให้ความสนใจกับการซื้อขายทิวลิป -- “ประชาชนแม้กระทั่งชนชั้นล่างสุดต่างก็หันมามีส่วนร่วมในการค้าขาย”<sup id="cite_ref-Chap3_4-1" class="reference">[5]</sup> เมื่อถึง ค.ศ. 1635 ก็มีการบันทึกถึงการขายหัวทิวลิป 40 หัวเป็นจำนวนเงิน 100,000 โฟลริน (หรือที่เรียกว่าดัตช์กิลเดอร์) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเนยในขณะนั้นที่ค้าขายกันในราคา 100 โฟลรินต่อหนึ่งตัน หรือช่างฝีมือที่มีรายได้ราว 150 โฟลรินต่อปี หรือ “หมูอ้วนแปดตัว” มีราคา 240 โฟลริน<sup id="cite_ref-Chap3_4-2" class="reference">[5]</sup> (จากการตั้งค่าของสถาบันประวัติศาสตร์สังคมศาสตร์นานาชาติ หนึ่งโฟลรินสามารถมีค่าเท่ากับ 10.28 ตามค่าเงินในปี ค.ศ. 2002<sup id="cite_ref-30" class="reference">[31]</sup>)
    เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1636 ทิวลิปก็ค้าขายกันในตลาดหลักทรัพย์ตาม เมืองต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการทำให้การค้าขายเป็นที่แพร่หลายไปยังผู้คนระดับต่างๆ ของสังคม แม็คเคย์กล่าวว่าประชาชนบางคนถึงกับนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาใช้ในการเก็ง กำไร เช่นการเสนอราคาแลกเปลี่ยนที่ดิน 12 เอเคอร์ (49,000 ตารางเมตร) กับหัว “Semper Augustus” หัวเดียวหรือสองหัว หรือการแลกหัว “ไวซรอย” กับสินค้าต่างๆ ตามรายการบนตารางทางขวาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,500 โฟลรินเป็นต้น<sup id="cite_ref-Mac3_27-1" class="reference">[28]</sup>
    <table class="infobox"><tbody><tr><th style="background: none repeat scroll 0% 0% rgb(220, 220, 220);" colspan="2">สินค้าทั้งหมดที่แลกเปลี่ยนกับ
    หัว “ไวซรอย” เพียงหัวเดียว<sup id="cite_ref-Mac3_27-0" class="reference">[28]</sup></th> </tr> <tr> <th style="background: none repeat scroll 0% 0% rgb(0, 0, 0);" colspan="2">
    </th> </tr> <tr> <td width="110pt">ข้าวสาลีสอง lasts</td> <td width="40pt">448ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">ข้าวไรย์สี่ lasts</td> <td width="40pt">558ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">วัวอ้วนสี่ตัว</td> <td width="40pt">480ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">หมูอ้วนแปดตัว</td> <td width="40pt">240ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">แกะอ้วนสิบสองตัว</td> <td width="40pt">120ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">ไวน์สองหัวหมู</td> <td width="40pt">70ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">เบียร์สี่ทัน (tun)</td> <td width="40pt">32ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">เนยสองตัน</td> <td width="40pt">192ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">เนยแข็ง 1,000 ปอนด์</td> <td width="40pt">120ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">เตียงหนึ่งเตียง</td> <td width="40pt">100ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">เสื้อหนึ่งชุด</td> <td width="40pt">80ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">จอกเงินหนึ่งจอก</td> <td width="40pt">60ƒ</td> </tr> <tr> <td width="110pt">ทั้งหมด</td> <td width="40pt">2500ƒ</td></tr></tbody></table>


    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    มีผู้คนหลายคนที่ร่ำรวยขึ้นมาอย่างกะทันหัน เมื่อมีเหยื่อทองห้อยล่อใจอยู่ตรงหน้า ก็ทำให้คนแล้วคนเล่าก้าวเข้าไปร่วมในการค้าขายในตลาดทิวลิปเหมือนกับแมลงวัน ที่บินรอบน้ำผึ้ง ต่างคนต่างก็คิดว่าความคลั่งทิวลิปจะไม่มีวันจบสิ้น ต่างคนต่างก็พยายามซื้อทิวลิปไม่ว่าจะด้วยราคาใดที่เรียกร้อง และต่างก็เชื่อกันว่าความนิยมนี้จะทำให้ความมั่งคั่งจากส่วนต่างๆ ของโลกหลั่งไหลเข้ามายังเนเธอร์แลนด์ ผู้คนที่มั่งคั่งในยุโรปต่างก็พากันมายังซุยเดอร์เซ (Zuyder Zee) ความยากจนก็จะอันตรธานไปจากความรุ่งเรืองของเนเธอร์แลนด์ ขุนนาง พ่อค้า เกษตรกร ช่างเครื่องยนต์ กะลาสี คนรับใช้ของขุนนาง หญิงรับใช้ และแม้แต่คนกวาดปล่องไฟหรือหญิงแก่ช่างตัดเสื้อจึงต่างก็เข้ามาร่วมค้าขาย หัวทิวลิปด้วยกันทั้งสิ้น<sup id="cite_ref-Chap3_4-3" class="reference">[5]</sup>
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    ความคลั่งทิวลิปที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดเรื่องชวนขันหลายเรื่องที่แม็ค เคย์บันทึกไว้ เช่น กะลาสีที่เห็นหัวทิวลิปที่มีค่าตั้งอยู่ก็นึกว่าเป็นหัวหอมจึงหยิบไปเพื่อจะ ไปทำอาหาร พ่อค้าและครอบครัววิ่งไล่ตามแต่ไปพบว่ากะลาสีกำลังนั่ง “กินอาหารเช้าที่มีราคาพอกับค่าแรงงานของกะลาสีของเรือทั้งลำเป็นเวลาหนึ่ง ปี” กะลาสีคนนั้นถูกจำคุกเพราะกินหัวทิวลิป ซึ่งคิดว่าเป็นหัวหอม<sup id="cite_ref-Chap3_4-4" class="reference">[5]</sup>
    ผู้คนซื้อหัวทิวลิปที่ราคาสูงขึ้นตามลำดับโดยตั้งใจที่จะหันมาขายเอากำไร แต่แผนการเช่นนั้นไม่สามารถจะดำเนินไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากว่าจะมีคนเต็มใจที่จะซื้อสินค้าในราคาอันสูงเกินประมาณต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1637 ผู้มีสัญญาขายหัวทิวลิปก็ไม่สามารถหาผู้ซื้อใหม่ผู้เต็มใจที่จะให้ราคาที่ เกินเลยความเป็นจริงไปมากได้ เมื่อเกิดความเข้าใจในสภาวะตลาดเช่นนั้นแล้วความต้องการในซื้อหัวทิวลิปก็ สิ้นสุดลงที่เป็นผลให้ราคาก็ตกฮวบ—ตลาดขายสัญญาทิวลิปก็ตกอยู่ใน “สภาวะลูกโป่งระเบิด” ผู้ขายบางคนก็เหลือแต่สัญญาในมือที่มีค่าเพียงหนึ่งในสิบของราคาที่ซื้อมา หรือผู้ขายบางคนก็มีหัวทิวลิปที่มีค่าเพียงเสี้ยวเดียวของราคาที่ซื้อมา แม็คเคย์อ้างว่าหลังจากนั้นชาวดัตช์ก็อยู่ในสภาวะที่พยายามเที่ยวไล่หา ตัวการที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนของตลาดหรือไม่ก็หาแพะรับบาป<sup id="cite_ref-Chap3_4-5" class="reference">[5]</sup>
    นักเก็งกำไรที่ตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็พยายามร้องขอให้รัฐบาล เนเธอร์แลนด์เข้ามาช่วยเหลือ รัฐบาลตอบสนองด้วยการประกาศให้นักเก็งกำไรที่ซื้อสัญญาหัวทิวลิปไว้จ่ายค่า ธรรมเนียมสิบเปอร์เซ็นต์ มาตรการอื่นๆ ก็มีการนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย แต่ก็ไม่ประสบผล ความคลั่งทิวลิปในที่สุดก็ยุติลงโดยทิ้งผู้เป็นเจ้าของไว้กับสัญญาหัวทิวลิป ที่ไม่ใครยอมจ่ายราคาตามราคาที่เรียกร้อง ศาลก็ไม่ยอมเข้ายุ่งเกี่ยวด้วยเพราะถือว่าเป็นหนี้สินที่เกิดจากสัญญาการ พนันซึ่งไม่สามารถใช้กฎหมายบังคับได้<sup id="cite_ref-Chap3_4-6" class="reference">[5]</sup>
    ตามบันทึกของแม็คเคย์ ความคลั่งทิวลิปเกิดขึ้นในส่วนอื่นของยุโรปแต่ก็ไม่มีที่ใดที่คลั่งไคล้กัน อย่างรุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ และอ้างต่อไปว่าราคาทิวลิปที่ตกฮวบลงเป็นผลให้เศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์หยุดนิ่ง อยู่เป็นเวลาหลายปี<sup id="cite_ref-Chap3_4-7" class="reference">[5]</sup>


    [​IMG]


    จุลสารเกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของเนเธอร์แลนด์ที่พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1637


    [​IMG]


    ภาพเขียนสีน้ำของทิวลิป “Semper Augustus” โดยจิตรกรนิรนามของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นทิวลิปที่ได้ชื่อว่ามีราคาสูงที่สุดที่ขายระหว่างความคลั่งทิวลิป


    [​IMG]


    ทิวลิปตูม


    [​IMG]


    ทิวลิปที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทิวลิปสีเดียว จะมีทิวลิปหลายสีบ้างก็เป็นสีผสมที่จำกัด


    [​IMG]


    ทุ่งทิวลิปในเนเธอร์แลนด์—ทิวลิปยังเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันแม้จะผ่านช่วงความนิยมสูงสุดไปแล้ว


    [​IMG]


    ภาพทิวลิปที่เขียนโดย Hans Gillisz. Bollongier ในปี ค.ศ. 1639


    ความเห็นสมัยใหม่


    คำอธิบายของแม็คเคย์ถึงพฤติกรรมอันไม่มีเหตุผลของมวลชนไม่มีผู้ใดค้านและตรวจสอบมาจนกระทั่งถึงคริสต์ทศวรรษ 1980<sup id="cite_ref-31" class="reference">[32]</sup> แต่การค้นคว้าเรื่องความคลั่งทิวลิปตั้งแต่นั้นมาโดยเฉพาะจากผู้สนับสนุนสมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด<sup id="cite_ref-32" class="reference">[33]</sup> ผู้ไม่มีความเชื่อมั่นในทฤษฎีฟองสบู่จากการเก็งกำไรโดยทั่วไปตั้งข้อเสนอว่า เรื่องราวของความคลั่งทิวลิปเป็นเรื่องที่ไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง ในการวิจัยทางวิชาการในบทวิจัย “ความคลั่งทิวลิป” โดยแอนน์ โกลด์การ์ ตั้งข้อเสนอว่าเหตุการณ์นี้จำกัดอยู่แต่เฉพาะกับ “กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจริงเพียงจำนวนน้อย” และเรื่องต่างๆ ที่ได้รับบันทึกในช่วงนั้นก็เป็นเรื่องที่ “มีพื้นฐานมาจากงานโฆษณาชวนเชื่อร่วมสมัยเพียงชิ้นสองชิ้น และจากเอกสารที่เป็นงานโจรกรรมทางวรรณกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่”<sup id="cite_ref-Kuper_6-1" class="reference">[7]</sup> ปีเตอร์ การ์เบอร์ค้านว่าลูกโป่งระเบิดครั้งนี้ “ไม่มีความหมายมากไปกว่าเกมที่เล่นกันในวงเหล้าระหว่างฤดูหนาวโดยประชาชนที่ ต้องประสบกับโรคระบาดที่ใช้ความตื่นตัวของตลาดทิวลิปเป็นเครื่องมือ”<sup id="cite_ref-33" class="reference">[34]</sup>
    ขณะที่แม็คเคย์อ้างว่าผู้เข้าร่วมในเหตุการณ์มาจากทุกระดับของสังคม แต่งานศึกษาของโกลด์การ์กล่าวว่าแม้กระทั่งในขณะที่ปริมาณการค้าขายทิวลิป ถึงจุดสูงสุด ผู้เข้าร่วมในการซื้อขายก็จำกัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่มพ่อค้า และช่างฝีมือที่มีฐานะดี โดยไม่มีผู้เข้าร่วมผู้ใดที่มาจากชนระดับขุนนาง<sup id="cite_ref-34" class="reference">[35]</sup> เศรษฐกิจที่ล่มหลังจากตลาดทิวลิปหดตัวก็เป็นเพียงจำกัด โกลด์การ์ผู้พบชื่อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กล่าวว่ามีก็เพียงบุคคลไม่กี่ คนที่ได้รับผลกระทบกระเทือนทางการเงินจากช่วงเวลานี้ และในกรณีของบุคคลเหล่านี้ก็ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าเป็นปัญหาทางการ เงินที่มาจากการค้าขายทิวลิปหรือไม่<sup id="cite_ref-35" class="reference">[36]</sup> ข้อสรุปนี้ก็ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเท่าใดนัก เพราะแม้ว่าราคาทิวลิปจะสูงขึ้นแต่ก็มิได้มีการแลกเปลี่ยนตัวเงินระหว่างผู้ ซื้อและผู้ขายกันจริง ๆ ฉะนั้นกำไรของผู้ขายจึงเป็นกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง นอกจากว่าผู้ขายจะนำเครดิตไปทำการซื้อต่อเพื่อหวังผลกำไร ราคาที่ทรุดลงจึงมิได้มีผลให้ผู้ใดต้องเสียเงินจริงๆ<sup id="cite_ref-36" class="reference">[37]</sup>


    คำอธิบายด้วยเหตุผล


    ไม่มีใครโต้แย้งว่าเหตุการณ์การขึ้นและตกของตลาดทิวลิปที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1636 ถึงปี ค.ศ. 1637 นั้นมิได้เกิดจริง แต่ก็มิได้หมายความว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในระดับที่ เรียกได้ว่าเป็น ภาวะเศรษฐกิจลูกโป่งแตก หรือการระเบิดของการเก็งกำไร การที่ความคลั่งทิวลิปจะถือว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจลูกโป่งแตกได้ก็เมื่อราคาของหัวทิวลิปเกินเลยแยกตัวจากมูลค่าในตัวของ หัวทิวลิปเอง นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ตั้งข้อเสนอหลายข้อในการพยายามอธิบายถึงราคาที่ขึ้น และตกของหัวทิวลิปที่ไม่ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่าภาวะลูกโป่งแตก<sup id="cite_ref-37" class="reference">[38]</sup>
    ราคาที่สูงขึ้นในปีคริสต์ทศวรรษ 1630 ประจวบกับช่วงเวลาการชะลอตัวของสงครามสามสิบปี<sup id="cite_ref-38" class="reference">[39]</sup> ฉะนั้นก็ดูเหมือนว่าตลาดจะตอบโต้สถานการณ์อย่างมีเหตุผล (อย่างน้อยก็ในระยะแรก) ในการตอบรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อราคาตกอัตราการตกเป็นไปอย่างไม่ได้สัดส่วนกับเมื่อราคาขึ้น ข้อมูลการขายส่วนใหญ่หายไปหลังจากที่ราคาตกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 แต่ข้อมูลที่ยังเหลืออยู่ชี้ให้เห็นว่าราคาของหัวทิวลิปหลังจากเหตุการณ์ ความคลั่งทิวลิปก็ยังคงตกลงเรื่อยมาจนอีกหลายสิบปีต่อมา


    ความผันผวนของราคาดอกไม้

    การ์เบอร์เปรียบเทียบการขึ้นลงของราคาของหัวทิวลิปจากหลักฐานที่ยังมีอยู่กับแนวโน้มของการขึ้นลงของราคาดอกไฮยาซินธ์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19—เมื่อไฮยาซินธ์มาแทนที่ทิวลิปในการเป็นดอกไม้ยอดนิยม—ก็พบว่ามีแนวโน้ม ที่คล้ายคลึงกัน เมื่อไฮยาซินธ์เริ่มเข้ามาใหม่ๆ นักปลูกต่างก็พยายามแข่งกันหาสายพันธ์ใหม่ตามความต้องการอันเพิ่มขึ้นของ ตลาด แต่เมื่อผู้คนเริ่มหายตื่นกับความแปลกใหม่ของไฮยาซินธ์ราคาก็ตกลง ราคาหัวทิวลิปที่แพงที่สุดตกลงไปเหลือเพียง 1–2% ของราคาในช่วงที่มีราคาสูงที่สุดภายในระยะเวลา 30 ปี<sup id="cite_ref-39" class="reference">[40]</sup> การ์เบอร์ตั้งข้อสังเกตอีกว่า “เมื่อไม่นานมานี้หัวลิลลี่ตัวอย่างเพียงไม่กี่หัวก็ขายกันในราคาหนึ่งล้านกิลเดอร์ (หรือคิดเป็น 480,000 เหรียญสหรัฐ ตามอัตราแลกเปลี่ยนในปี ค.ศ. 1987)” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ในปัจจุบันการซื้อขายดอกไม้ในราคาที่สูงมากก็ยังมีอยู่<sup id="cite_ref-40" class="reference">[41]</sup> นอกจากนั้นเพราะราคาที่ขึ้นเกิดขึ้นหลังจากที่หัวทิวลิปได้รับการปลูกแล้วใน ปีนั้น ฉะนั้นผู้ปลูกจึงไม่มีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ ของตลาดได้<sup id="cite_ref-41" class="reference">[42]

    </sup>ความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย

    ศาสตราจารย์ทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส เอิร์ล เอ. ทอมสัน โต้แย้งในเอกสารการวิจัยในปี ค.ศ. 2007 ว่าคำอธิบายของการ์เบอร์ไม่สนับสนุนการทรุดตัวของราคาอย่างรวดเร็ว ราคาตกต่อปีของทิวลิปคือ 99.999% แทนที่จะเฉลี่ยราว 40% เช่นดอกไม้อื่น<sup id="cite_ref-42" class="reference">[43]</sup> ทอมสันให้คำอธิบายใหม่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปของเนเธอร์แลนด์ว่า ขณะนั้นรัฐบาลเนเธอร์แลนด์อยู่ในระหว่างการพิจารณาออกประกาศ (ที่เดิมสนับสนุนโดยผู้ลงทุนการค้าทิวลิปในเนเธอร์แลนด์ผู้สูญเสียเงินไป เมื่อสถานการณ์ของเยอรมันเสื่อมถอยในสงครามสามสิบปี<sup id="cite_ref-43" class="reference">[44]</sup>) ในการเปลี่ยนวิธีการซื้อขายสัญญาหัวทิวลิป:

    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 สมาคมนักปลูกดอกไม้ดัตช์ในการตัดสินใจที่ต่อมาอนุมัติโดยรัฐสภาดัตช์ประกาศ ว่า สัญญาการซื้อขายในอนาคตที่ทำหลังจากวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1636 และก่อนที่จะเปิดตลาดเงินสดขึ้นอีกครั้งในต้นฤดูใบไม้ผลิให้ถือว่าเป็น สัญญาออปชัน พวกเขายกเลิกข้อผูกพันของผู้ซื้อล่วงหน้าที่จะต้องซื้อหัวทิวลิปในอนาคต บังคับให้ผู้ซื้อต้องชดเชยเงินให้แก่ผู้ขายเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ของราคา สัญญาแทน<sup id="cite_ref-44" class="reference">[45]</sup>
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    ก่อนที่รัฐสภาจะออกประกาศ ผู้ซื้อสัญญาทิวลิป—หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contract) —ต้องซื้อหัวทิวลิปตามกฎหมาย ประกาศใหม่เปลี่ยนแปลงลักษณะสัญญาที่ถ้าราคาทันที (Spot price) ตกผู้ซื้อก็มีโอกาสที่จะจ่ายเฉพาะค่าปรับและเลิกสัญญาโดยไม่ต้องจ่ายเต็ม ราคาตามที่ตกลงกันในสัญญา การเปลี่ยนกฎหมายนี้หมายความตามภาษาสมัยใหม่ว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาออปชัน ข้อเสนอนี้เริ่มเป็นที่โต้แย้งกันระหว่างฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1636 และถ้าผู้ลงทุนจะสามารถทราบได้ว่าประกาศนี้จะได้รับการอนุมัติและบังคับใช้ อย่างแน่นอน ราคาสินค้าก็อาจจะสูงขึ้น<sup id="cite_ref-45" class="reference">[46]

    </sup>การประกาศของรัฐสภาที่อนุญาตให้ผู้ซื้อสัญญาสามารถเลี่ยงสัญญาได้โดยการเสียค่าปรับเพียง 3.5 เปอร์เซนต์ของราคาสัญญา<sup id="cite_ref-46" class="reference">[47]</sup> ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนซื้อขายกันด้วยราคาที่สูงหนักยิ่งขึ้นไปอีก นักเก็งกำไรสามารถลงนามในสัญญาซื้อทิวลิปเป็นจำนวน 100 กิลเดอร์ ถ้าราคาขึ้นสูงกว่า 100 กิลเดอร์ นักเก็งกำไรก็จะได้กำไรส่วนที่เกิน แต่ถ้าราคายังคงต่ำนักเก็งกำไรก็สามารถเลี่ยงสัญญาได้โดยเสียค่าปรับเพียง 3.5 กิลเดอร์ ฉะนั้นสัญญามูลค่า 100 กิลเดอร์ สำหรับผู้ลงทุนแล้วก็จะสูญเสียไม่เกิน 3.5 กิลเดอร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ราคาสัญญาก็ถึงจุดสุดยอด เจ้าหน้าที่ดัตช์ก็เข้ามาหยุดยั้งการซื้อขายของสัญญาเหล่านี้<sup id="cite_ref-47" class="reference">[48]</sup>

    ทอมสันกล่าวว่าตลอดช่วงเวลาเดียวกันนี้การซื้อหัวทิวลิปกันจริงๆ ยังคงอยู่ในระดับปกติ ทอมสันจึงสรุปว่า “ความคลั่ง” เป็นพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษา สัญญา<sup id="cite_ref-48" class="reference">[49]</sup> เมื่อดูจากข้อมูลเกี่ยวกับกรณีการจ่ายของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ สัญญาออปชัน ในบางกรณีแล้ว ทอมสันก็โต้ว่าแนวโน้มของราคาสัญญาหัวทิวลิปก็ใกล้เคียงกับแบบจำลองทาง เศรษฐกิจที่ตั้งไว้ “ราคาสัญญาซื้อทิวลิปก่อน ระหว่าง และหลังจากการคลั่งทิวลิปดูเหมือนกับว่าจะแสดงลักษณะที่ตรงกันกับลักษณะของ “ความมีประสิทธิภาพของตลาด” (market efficiency) อย่างชัดแจ้ง”<sup id="cite_ref-49" class="reference">[50]
    </sup>ข้อวิจารณ์


    นักเศรษฐศาสตร์ผู้อื่นเชื่อว่าคำอธิบายต่างๆ ที่ว่าไม่สามารถอธิบายถึงราคาที่ขึ้นและตกอย่างรวดเร็วของหัวทิวลิปได้<sup id="cite_ref-50" class="reference">[51]</sup> ทฤษฎีของการ์เบอร์ก็ยังได้รับการท้าทายต่อไปว่าไม่ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ ราคาที่ขึ้นและตกอย่างรวดเร็วที่คล้ายคลึงกันของหัวทิวลิปแบบธรรมดา<sup id="cite_ref-51" class="reference">[52]</sup> นักเศรษฐศาสตร์บางท่านก็ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสภาวะการเก็งกำไรเช่นการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียน (money supply) ที่เห็นได้จากจำนวนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากของธนาคารอัมสเตอร์ดัมระหว่างช่วงที่มีการคลั่งทิวลิป<sup id="cite_ref-52" class="reference">[53]

    </sup>ความคลั่งที่มีผลต่อสังคมและผลที่เกิดขึ้นต่อมา


    หนังสือของแม็คเคย์ก็ยังเป็นที่นิยมกันแม้จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ โดยนำ Extraordinary Popular Delusions มาตีพิมพ์ใหม่อยู่เรื่อยๆ ที่มีบทนำโดยนักเขียนเช่นผู้ลงทุนเบอร์นาร์ด บารุค (Bernard Baruch) (ค.ศ. 1932) หรือนักเขียนทางการเงินแอนดรูว์ โทไบอัส (ค.ศ. 1980),<sup id="cite_ref-53" class="reference">[54]</sup> และไมเคิล หลุยส์ (ค.ศ. 2008) และนักจิตวิทยาเดวิด เจย์. ชไนเดอร์ (ค.ศ. 1993) ซึ่งขณะนี้มีอย่างน้อยหกฉบับที่ยังขายกันอยู่
    การ์เบอร์โต้ว่าแม้ว่าความคลั่งทิวลิปอาจจะไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่าฟอง สบู่ทางเศรษฐกิจหรือฟองสบู่การเก็งกำไร แต่กระนั้นก็เป็นสถานการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนทางจิตวิทยาต่อชาวดัตช์ใน ด้านอื่น ตามข้อเขียนที่กล่าวว่า “แม้ว่าผลกระทบกระเทือนทางการเงินจะมีต่อคนเพียงไม่กี่คนโดยตรง แต่ความช็อคจากความคลั่งทิวลิปก็ทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในโครงสร้าง ของคุณค่าของสินค้า”<sup id="cite_ref-54" class="reference">[55]</sup> ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความคิดที่ว่าราคาดอกไม้จะสามารถมีค่าสูงกันได้ถึงขนาดที่ประเมินกันเป็น สิ่งที่ยากที่จะเข้าใจได้ ค่าของสายพันธ์ทิวลิปบางชนิดสูงกว่ารายได้ทั้งปีของบุคคลบางอาชีพ และความคิดที่ว่าราคาดอกไม้ที่ปลูกกันในฤดูร้อนจะมีผลในทำให้ราคามาผันผวน ได้ในช่วงฤดูหนาวทำให้เป็นการยากที่จะเข้าใจถึง “มูลค่า” ที่แท้จริงของสินค้าได้<sup id="cite_ref-55" class="reference">[56]</sup>
    แหล่งข้อมูลหลายแหล่งกล่าวถึงความเป็นปฏิปักษ์ต่อความคลั่งทิวลิป เช่นจุลสารเพื่อการต่อต้านการเก็งกำไรที่ต่อมาใช้เป็นงานอ้างอิงของบทเขียน ของเบ็คมันน์และแม็คเคย์ถึงผลเสียหายในทางเศรษฐกิจ แต่จุลสารเหล่านี้มิได้เขียนโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเมื่อตลาดล่ม แต่เขียนโดยผู้มีอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนา ซึ่งถือโอกาสประณามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นว่าเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมทาง จริยธรรมของสังคม—และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า “ผู้ที่มีความมัวเมาในทางโลก แทนที่จะเป็นทางธรรมได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง” ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆในทางเศรษฐกิจที่หยิบยกมาเติม สีสันให้เป็นเรื่องสอนใจด้านคุณธรรม<sup id="cite_ref-56" class="reference">[57]</sup>
    อีกร้อยปีต่อมาระหว่างที่บริษัทมิสซิสซิปปีล่ม และเหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี ราวปี ค.ศ. 1720 ก็มีการอ้างถึงความคลั่งทิวลิปในการเสียดสีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น<sup id="cite_ref-57" class="reference">[58]</sup> เมื่อกล่าวถึงความคลั่งทิวลิปเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1780 โยฮันน์ เบ็คมันน์เปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับการซื้อสลากกินแบ่ง<sup id="cite_ref-58" class="reference">[59]</sup> ตามความคิดเห็นของโกลด์การ์และนักเขียนเกี่ยวกับสภาวะการลงทุนสมัยใหม่เช่นเบอร์ตัน มาลคีล (Burton Malkiel) A Random Walk Down Wall Street (ค.ศ. 1973) และ จอห์น เค็นเน็ธ กาลเบร็ธ (John Kenneth Galbraith) ใน A Short History of Financial Euphoria (ค.ศ. 1990) ที่เขียนไม่นานหลังจากตลาดหลักทรัพย์ล่มของปี ค.ศ. 1987 ก็ใช้เรื่องราวของความคลั่งทิวลิปเป็นบทเรียนทางจริยธรรม<sup id="cite_ref-59" class="reference">[60]</sup><sup id="cite_ref-60" class="reference">[61]</sup><sup id="cite_ref-61" class="reference">[62]</sup> นอกจากนั้นแล้วความผันผวนของตลาดทิวลิปก็ยังเป็นโครงเรื่องในนวนิยายที่เขียนโดยเกรกอรี แมไกวร์ (Gregory Maguire) Confessions of an Ugly Stepsister (ค.ศ. 1999) <sup id="cite_ref-62" class="reference">[63]</sup><sup id="cite_ref-63" class="reference">[64]</sup>
    ความคลั่งทิวลิปมากลายเป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอีกครั้งเมื่อเกิดภาวะฟองสบู่ดอตคอมแตก ขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2001<sup id="cite_ref-64" class="reference">[65]</sup> และล่าที่สุดนักวรสารก็เปรียบเทียบกับวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์<sup id="cite_ref-65" class="reference">[66]</sup><sup id="cite_ref-66" class="reference">[67]</sup> แม้ว่าความคลั่งทิวลิปจะยังเป็นเรื่องที่นิยมเล่าขานกันอยู่ แต่แดเนียล โกรสส์แห่งนิตยสาร “Slate” กล่าวถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ถึงสมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดใน การอธิบายสภาวะความผันผวนของตลาดทิวลิปว่า “ถ้าคำอธิบายดังกล่าวถูกต้องจริงแล้ว...ก็เท่ากับว่านักเขียนเกี่ยวกับ ธุรกิจทั้งหลายก็สามารถลบเรื่องของความคลั่งทิวลิปออกจากบรรดาอุปมานิทัศน์ ของเรื่องฟองสบู่แตกได้ทั้งหมด”<sup id="cite_ref-67" class="reference">[68]</sup>


    อ้างอิง



    1. ^ Nusteling, H. (1985) Welvaart en Werkgelegenheid in Amsterdam 1540-1860, p. 114, 252, 254, 258.
    2. ^ "Tulipomania: The Story of the World's Most Coveted Flower & the Extraordinary Passions It Aroused." Mike Dash (2001).
    3. ^ Shiller 2005, p. 85 More extensive discussion of status as the earliest bubble on pp. 247–48.
    4. ^ French 2006, p. 3
    5. ^ <sup>5.0</sup> <sup>5.1</sup> <sup>5.2</sup> <sup>5.3</sup> <sup>5.4</sup> <sup>5.5</sup> <sup>5.6</sup> <sup>5.7</sup> "The Tulipomania", Chapter 3, in Mackay 1841.
    6. ^ Thompson 2007, p. 100
    7. ^ <sup>7.0</sup> <sup>7.1</sup> Kuper, Simon "Petal Power" (Review of Goldgar 2007), “Financial Times”, May 12, 2007. Retrieved on July 1, 2008.
    8. ^ A pamphlet about the Dutch tulipomania Wageningen Digital Library, July 14, 2006. Retrieved on August 13, 2008.
    9. ^ Garber 1989, p. 537
    10. ^ Dash 1999, pp. 59–60
    11. ^ Goldgar 2007, p. 32
    12. ^ Goldgar 2007, p. 33
    13. ^ Dash 1999, p. 66
    14. ^ Phillips, S. "Tulip breaking potyvirus", in Brunt, A.A., Crabtree, K., Dallwitz, M.J., Gibbs, A.J., Watson, L. and Zurcher, E.J. (eds.) (1996 onwards). Plant Viruses Online: Descriptions and Lists from the VIDE Database. Version: August 20, 1996. Retrieved on August 15, 2008.
    15. ^ Garber 1989, p. 542
    16. ^ Dash 1999, pp. 106–07
    17. ^ Garber 2000, p. 41
    18. ^ Garber 1989, pp. 541–42
    19. ^ Garber 1989, pp. 541–42
    20. ^ Garber 1989, p. 537
    21. ^ Garber 2000, pp. 33–36
    22. ^ Thompson 2007, pp. 109–11
    23. ^ Garber 1989, p. 543
    24. ^ Garber 2000, pp. 37–38, 44–47
    25. ^ Goldgar 2007, p. 322
    26. ^ Garber 1989, pp. 543–44
    27. ^ Garber 2000, pp. 49–59, 138–144
    28. ^ <sup>28.0</sup> <sup>28.1</sup> This basket of goods was actually exchanged for a bulb according to Chapter 3 of Mackay 1841 and also Schama 1987, but Krelage (1942) and Garber 2000, pp. 81–83 dispute this interpretation of the original source, an anonymous pamphlet, saying that the commodity bundle was clearly given only to demonstrate the value of the Dutch guilder at the time.
    29. ^ Garber 1990, p. 37
    30. ^ Garber 1990, p. 37
    31. ^ Goldgar 2007, p. 323
    32. ^ Garber 1989, p. 535
    33. ^ Kindleberger 2005, p. 115
    34. ^ Garber 2000, p. 81
    35. ^ Goldgar 2007, p. 141
    36. ^ Goldgar 2007, pp. 247–48
    37. ^ Goldgar 2007, p. 233
    38. ^ Thompson 2007, p. 100
    39. ^ Thompson 2007, p. 103
    40. ^ Garber 1989, pp. 553–54
    41. ^ Garber 1989, p. 555
    42. ^ Garber 1989, pp. 555–56
    43. ^ Thompson 2007, p. 100
    44. ^ Thompson 2007, pp. 103–04
    45. ^ Thompson 2007, p. 101
    46. ^ Thompson 2007, p. 101
    47. ^ Thompson 2007, p. 101
    48. ^ Thompson 2007, p. 111
    49. ^ Thompson 2007, p. 111
    50. ^ Thompson 2007, p. 109
    51. ^ Kindleberger & Aliber 2005, pp. 115–16
    52. ^ French 2006, p. 3
    53. ^ French 2006, pp. 11–12
    54. ^ Introduction by Andrew Tobias to "Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds" (New York: Harmony Press, 1980) available on-line at Andrew Tobias, Money and Other Subjects. Retrieved on August 12, 2008
    55. ^ Goldgar 2007, p. 18
    56. ^ Goldgar 2007, pp. 276–77
    57. ^ Goldgar 2007, pp. 260–61
    58. ^ Goldgar 2007, pp. 307–09
    59. ^ Goldgar 2007, p. 313
    60. ^ Goldgar 2007, p. 314
    61. ^ Galbraith 1990, p. 34
    62. ^ Malkiel 2007, pp. 35–38
    63. ^ Maguire, HarperCollins, 1999
    64. ^ Goldgar 2007, p. 329
    65. ^ Goldgar 2007, p. 314
    66. ^ "Bubble and Bust; As the subprime mortgage market tanks, policymakers must keep their nerve", “The Washington Post”, August 11, 2007. Retrieved on July 17, 2008.
    67. ^ Horton, Scott. "The Bubble Bursts", “Harper's Magazine”, January 27, 2008. Retrieved on July 17, 2008.
    68. ^ Daniel Gross. "Bulb Bubble Trouble; That Dutch tulip bubble wasn't so crazy after all", Slate, July ค.ศ. 16, 2004. Retrieved on July 22, 2008.
    ความคลั่งทิวลิป - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...