เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มวลชนออนไลน์6แสนลงนามหนุน'วิกิลีกส์'วอนมะกันหยุดไล่ล่า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>14 ธันวาคม 2553 03:48 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    กลุ่มผู้สนับสนุนวิกิลีกส์มีทั้งรวมตัวกันเดินขบวนตามสถานที่ต่างๆทั่วโลกและลงนามผ่านออนไลน์
    เอเอฟพี - ประชาชนเกือบ 600,000 คน ลงนามในคำร้องออนไลน์สนับสนุนวิกิลีกส์เมื่อวันจันทร์(13) หนึ่งวันก่อนหน้าที่นายจูเลียน แอสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์จอมแฉแห่งนี้จะถูกนำตัวไปขึ้นศาลนัดที่สอง

    คำอุทธรณ์ซึ่งปรากฎบนเว็บไซต์ Avaaz ได้เรียกร้องสหรัฐฯและชาติอื่นๆหยุดปราบปรามวิกิลีกส์และพันธมิตรของเว็บไซต์แห่งนี้ในทันที พร้อมเคารพต่อกฎหมายแห่งสิทธิการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชน

    วิกิลีกส์ ก่อความอับอายขวบเขินครั้งใหญ่ต่อวอชิงตัน หลังเผยแพร่เอกสารลับสุดยอดทางการทูตของสหรัฐฯ จนทางประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตำหนิการเปิดโปงดังกล่าวว่าเป็นสิ่งที่น่าสลด ขณะที่ประเทศต่างๆพยายามปิดเว็บไซต์แห่งนี้ ทำให้วิกิลีกส์ต้องย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปเรื่อยๆในความพยายามออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ตต่อไป

    ณ จนถึงเวลา 16.00 จีเอ็มทีของวันจันทร์(ตรงกับเมืองไทย 23.00 น.) มีประชาชนจากทั่วโลกแล้วกว่า 594,000 คน ที่ร่วมลงนามสนับสนุนวิกิลีกส์ ผ่านคำร้องบนเว็บไซต์Avaaz

    แม้ว่าคำอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ได้พาดพิงถึงนายแอสซานจ์โดยตรง แต่ผู้สนับสนุนจำนวนมากเชื่อมโยงการเล่นงานวิกิลีกส์กับความพยายามยัดเยียดข้อหาข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศสตรี 2 คนแก่แอสซานจ์ ของทางการสวีเดน

    ชายชาวออสเตรเลีย วัย 39 ปีรายนี้ จะไปปรากฎตัวต่อหน้าศาลลอนดอน นัดที่สองในวันอังคาร(14) โดยทนายความของเขาจะใช้โอกาสนี้ยื่นขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 2

    แอสซานจ์ เข้ามอบตัวในลอนดอน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ตามหมายจับของสวีเดน เพื่อขอตัวเขาเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปดำเนินคดีในข้อหาข่มขืน อย่างไรก็ตามเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมชี้ว่ามันมีแรงจูงใจทางการเมือง

    ทั้งนี้คาดหมายกันว่าจะมีผู้สนับสนุนของ แอสซานจ์ มารวมตัวกันบริเวณหน้าศาลแขวงเวสต์มินเตอร์ ก่อนหน้าการปรากฎตัวของผู้ก่อตั้งวิกีลีกส์ในช่วงบ่ายวันอังคาร(14) เพื่อประท้วงกรณีที่ยังคงควบคุมตัวเขา หลังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ศาลปฏิเสธให้ประกันตัวโดยอ้างเหตุผลเสี่ยงหลบหนี

    แกนนำผู้ประท้วงอ้างว่ารัฐบาลสหรัฐฯและชาติพันธมิตร พยายามสร้างเรื่องเล่นงาน แอสซานจ์และลงเอยด้วยการควบคุมตัวเขาด้วยข้อกล่าวหาที่เต็มไปด้วยความน่าสงสัย

    "เราต้องการให้ปล่อยตัวเขาในทันที ยกเลิกข้อหาและยุติเซนเซอร์วิกิลีกส์" แกนนำระบุ ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่ามีผู้ประท้วงราว 15 คน รวมตัวกันประท้วงที่หน้าสถานทูตสวีเดน ใจกลางกรุงลอนดอนเมื่อวันจันทร์(13)
    Around the World - Manager Online -
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พญามังกรผงาดอย่างสันติ ลั่น ต่างชาติ “เลิกชักใบให้เรือเสีย”
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>13 ธันวาคม 2553 17:35 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    แฟ้มภาพ – ไต้ ปิ่งกั๋ว ดำรงตำแหน่งมุขมนตรีจีน ผู้อำนวยการกองงานทั่วไปกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดีหู จิ่นเทา (ภาพเอเยนซี)

    เอเอฟพี - ผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศระดับสูงจีน ลั่น ประเทศต่างๆ ควรตระหนักว่าได้ลงเรือลำเดียวกัน อย่าได้มองจีนเป็นภัยคุกคาม และควรเข้าใจว่า จีนพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองอย่างสันติ

    ไชน่าเดลี เผยแถลงการณ์ภาษาอังกฤษของ ไต้ ปิ่งกั๋ว ผู้กำหนดนโยบายระหว่างประเทศระดับสูงของจีน เมื่อวันจันทร์ (13 ธ.ค.) ว่า ไต้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ในโลกก้าวร่วมการพัฒนากับจีน พร้อมยื่นคำเตือน “ประเทศต่างๆ ไม่ควรจะแสดงนิสัยอันธพาลออกมา”

    ไต้ ปิ่งกั๋ว ปัจจุบันดำรงตำแหน่งมุขมนตรีจีน ผู้อำนวยการกองงานทั่วไปกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำระดับสูงของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มผู้นำด้านความมั่นคงของชาติ โดยเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา

    อย่างไรก็ตาม เอเอฟพี ชี้ว่า ถ้อยแถลงของ ไต้ ปิ่งกั๋ว ที่ชี้ว่า จีนเคารพสิทธิมนุษยชน ได้เผยออกมาไม่กี่วันหลังจากคณะกรรมการนอร์เวย์จัดพิธีมอบรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ แก่ หลิว เสี่ยวปัว นักโทษการเมืองจีนผู้อุทิศตนเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตยในจีน และรัฐบาลจีนก็โกรธเกรี้ยวเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

    ไต้ กล่าวว่า “ประเทศต่างๆ ควรจะพิจารณาตนเป็นผู้โดยสารที่ลงเรือลำเดียวกัน แล่นข้ามมหานทีอย่างสันติร่วมกัน แทนที่จะมุ่งต่อสู้ หรือพยายามผลักอีกประเทศให้ตกลำเรือ พฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว มุ่งเอาชนะ คุกคามผู้อื่นด้วยกำลัง หรือการมุ่งครอบครองพื้นที่และทรัพยากรอย่างไร้มนุษยธรรม ถือเป็นการทำลายคุณค่าในตัวเอง”

    ไต้ ชี้ว่า “สิ่งที่ไม่น่านิยมอย่างยิ่ง ก็คือ การแยกมิตร-ศัตรู เพียงเพราะอุดมการณ์ต่างกัน และการสร้างพันธมิตรเพื่อหาข้ออ้างในการครองอำนาจโลก” ไต้ เสริมว่า “เราเคารพทุกประเทศ แต่เราไม่ยอมให้ประเทศอื่นๆ มาระรานเรา”

    เอเอฟพี เห็นว่า ข้อแก้ต่างของไต้ เผยท่ามกลางความวิตกกังวลของนานาชาติ หลังจีนพิพาทกับญี่ปุ่นในน่านน้ำที่ยังตกลงเรื่องเส้นแบ่งไม่ได้ ตลอดจนประเด็นที่จีนไม่ยอมประณามพันธมิตรเกาหลีเหนือ กรณียิงปืนใหญ่ใส่เกาะยอนพยองของเกาหลีใต้

    นอกจากนั้น เอเอฟพี โต้ว่า “แม้จะมีแรงกดดันมหาศาลจากสหรัฐฯ ให้จีนขึ้นค่าเงินหยวน แต่จีนก็ยังคงเชื่อมั่นการปกป้องนโยบายการค้าและเงินตราอย่างแข็งขัน”

    ไต้ เห็นว่า “สังคมโลกไม่ควรหวั่นกลัว หรือขัดขวาง แต่ควรต้อนรับการพัฒนาอย่างสันติของจีน จีนไม่สามารถแยกตัวเองออกจากสังคมโลกได้ และโลกนี้ก็ไม่สามารถไปถึงสันติภาพได้หากไร้จีน”

    ส่วนประเด็นการสะสมอาวุธ ไต้ชี้ว่า “ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจีนจะเปลี่ยนพลังอำนาจทางเศรษฐกิจไปสู่การทหาร การที่จีนสะสมอาวุธ หรือการขยายอำนาจ ก็เป็นเพียงกลไกการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของจีนเท่านั้น”

    “ส่วนด้านสิทธิมนุษยชน จีนให้คุณค่า เคารพ และปกป้องสิทธิมนุษยชน เราอาจเผชิญความยากเย็นในการก้าวเดินไปบนหนทางการพัฒนา แต่เราไม่เคยลังเลในจุดยืนด้านการปฏิรูปและเปิดประเทศเลย”

    เอเอฟพี โต้แถลงการณ์ทิ้งท้าย ว่า “จีนได้วิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการรางวัลโนเบล แห่งกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ตัดสินให้นักโทษทางการเมืองจีน หลิว เสี่ยวปัว ได้รับรางวัล ซึ่ง หลิว ก็อุทิศตัวเพื่อการปฏิรูปและการปกป้องสิทธิพื้นฐานทางสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับที่ไต้แถลง”
    China - Manager Online -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แอบอ่านบันทึกลับทูตมะกัน ไทยเป็นส่วนไหนของเกม ดุลอำนาจมะกัน, จีน?

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 14 ธันวาคม 2553 01:00
    <DD class=columnist-name>กาแฟดำ </DD><DD class=columnist-name>ผมนั่งอ่าน "เอกสารลับ" ที่ Wikileaks แฉออกมาเป็นชุดๆ ด้วยความสนใจยิ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ
    <!--<iframe scrolling="no" src="fullURLmain/include/adsense/indetail.php" frameborder="0" height="266" width="250"></iframe>--><SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT>ที่อเมริกา มีส่วนกำหนดทิศทาง และที่เกี่ยวกับประเทศไทยในหลายๆ ส่วน
    "โทรเลขลับ" ฉบับหนึ่งอ้างอดีตทูตสหรัฐประจำปักกิ่งที่ชื่อ Clark T. Randt วิเคราะห์จุดยืนของอเมริกาและจีนต่อประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ที่ทำให้เราต้องนำมาประกอบการประเมินสถานการณ์ และจุดยืนของเราต่อมหาอำนาจอย่างสำคัญยิ่ง
    เพราะตอนหนึ่งของเอกสารลับนั้นบอกว่าทูต Clark T. Randt บอกว่าผู้นำจีนในอนาคตอาจจะเปลี่ยนนโยบายต่อไทยและฟิลิปปินส์ที่ถูกมองว่าเป็นมิตรกับสหรัฐ
    แกมองว่าจีนอาจจะเริ่มใช้แรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจต่อไทย และฟิลิปปินส์ "ที่จะต้องเลือกระหว่างปักกิ่งหรือวอชิงตัน"
    และสาเหตุที่ทำให้จีนคิดอย่างนั้นมีอยู่สองประการ
    หนึ่ง คือ การที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมวง "ระบบป้องกันขีปนาวุธ" ของสหรัฐในเอเชีย
    และสอง คือ เทคโนโลยีทางทหารชั้นสูงของสหรัฐ
    ทูตมะกันคนนี้เขียนในรายงานลับ ที่ส่งกลับไปกระทรวงต่างประเทศของตน จากกรุงปักกิ่งว่าแม้จีนจะไม่ชอบ ​แต่ก็ "กัดฟันยอมรับ" การที่สหรัฐ ส่งทหารมาประจำอยู่ในแปซิฟิก
    เพราะจีนกลัวญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งทางด้านทหารมากกว่าสหรัฐ ส่งกำลังมาประจำอยู่แถบนี้
    และเมื่อจีนมองไปรอบๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เห็นไทยกับฟิลิปปินส์ที่สนิทชิดเชื้อทางด้านความมั่นคงกับสหรัฐ
    ในความเห็นของทูตมะกันคนนี้ จีนจะต้องแสวงหาพรรคพวกในเอเชียอาคเนย์ เพื่อต้านอิทธิพลของอเมริกัน และไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย
    ทูต Clark T. Randt วิเคราะห์ในรายงานลับภายในด้วย ว่าหากแก้ปัญหาการคุกคามจากเกาหลีเหนือได้สำเร็จเมื่อไร จีนก็อาจจะเรียกร้องให้อเมริกาถอนตัวออกจากฐานทัพต่างๆ ในคาบสมุทรเกาหลี
    ที่จีนยังยอมให้สหรัฐคงกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ในย่านนี้ ก็เพราะกลัวไม่ต้องการเปิดทางให้ญี่ปุ่น สร้างสมสมรรถภาพทางทหาร ที่ปักกิ่งดูเหมือนจะหวาดหวั่นมากกว่า
    ทูตมะกันคนนี้ตั้งประเด็นที่มีความสำคัญมากสำหรับจีน จากนี้ไป เช่น
    1. ความต้องการวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมายเหลือล้น
    2. การที่เศรษฐกิจสหรัฐกับจีนต้องพึ่งพากันมากขึ้น
    3. แนวโน้มการปรับเปลี่ยนกองกำลังทหารของจีนอย่างรวดเร็ว
    4. อารมณ์ชาตินิยมในจีนที่พุ่งพรวดพราดขึ้น
    5. โครงสร้างประชากรของจีนที่เปลี่ยนไป
    6. อิทธิพลและความมั่นใจของจีนในบทบาทของตนบนเวทีโลกที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
    อ่านบทวิเคราะห์ในบันทึกลับของอดีตทูตสหรัฐประจำปักกิ่งคนนี้ ก็พอจะเห็นว่าเขามองจีนด้วยความสงสัย ปนกับการยอมรับว่าจีนจะต้องมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และมะกันจะต้องปรับวิธีคิดของตนเองต่อประเทศในแถบนี้เช่นกัน
    เป็นอันรู้กันว่าไทยเรานั้นต้องรู้สึกเล่นบทบาท อันเหมาะสมของตนในขณะที่ยักษ์ใหญ่กำลังปรับบทบาท เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน
    เราจะโอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง โดยไม่มองว่าดุลถ่วงแห่งอำนาจ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างหนักหน่วงรวดเร็ว เป็นอย่างไรไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
    แม้จะไม่ต้องอ่านเอกสารลับของสถานทูตสหรัฐ ก็ควรจะรู้แนวทางแห่งการเล่นเกมการทูตและการเมืองของสหรัฐกับจีนที่เกี่ยวกับเรา แต่เมื่อได้อ่านแล้วจึงได้เห็นเบื้องลึกแห่งเหตุและผลที่อธิบายว่าทำไมเราจึงเป็น "หนึ่งในหมากหลายตัว" ที่เขาพยายามจะเล่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเขา
    อยู่ที่เราจะเล่นบทให้เหมาะเจาะกับโอกาส และบริบทที่จะรักษาผลประโยชน์แห่งเราได้แค่ไหน
    </DD>
    ความเห็นที่ 1 YoddoY
    เราเป็นแค่"นกต่อทางยุทธศาสตร์"ของพวกชาติมหาอํานาจมากกว่าที่จะเป็นแค่"หมาก"บนกระดานหมากรุกเอเชีย และ..
    ไทยเรามีบทบาทมากกว่านั้นครับ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญที่เก่งกาจทางด้านการต่างประเทศอยู่มาก
    และเพียงพอต่อการสร้าง"ผลประโยชน์"และการต่อรองได้โดดเด่นบนเวทีประชาคมโลก..
    สําคัญที่เราควรจะ"ปรับเปลี่ยน"จุดยืนทางยุทธศาสตร์ด้วยหรือไม่

    หากดุลแห่งอํานาจที่ว่านั้นมันไม่ได้อยู่ที่โลกเสรีอีกต่อไป..
    เพราะตัวอย่างที่เห็นจากในอดีตที่ผ่านนั้นแล้วเป็นกรณีศึกษาที่เป็นบทเรียนด้านการดําเนินนโยบาบยด้านการต่างประเทศแบบตามก้นโลกเสรี ผลประโยชน์ที่พี่ไทยจะได้รับนั้นก็ไม่มากพอเพียงและเพียงพอหากไทยเรานั้น ไม่มีความแข็งแกร่งอยู่ก่อนแล้วทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ ครับ..

    จากอดีตช่วงสงครามเวียดนาม น่าจะพอให้คําตอบเราได้ดี เราได้แค่สนามบินอู่หนูตะเภากับยานเหาะติดอาวุธที่รอปลดระวางในราคา"มิตรภาพ"..
    ผมมองไม่ออกว่าทําไม เราต้องหมดเงินไปมากมายเพื่อที่จะไปช่วยประเทศมหาอํานาจนั้นให้มันรํารวยมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หรือไทยเราควรภาคภูมิใจว่าที่โลกเสรี"เจริญ"ได้นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะพี่ไทยของเราช่วยเทงบประมาณไปให้เค้าผ่านทางการซื้อขายอาวุธสมัยใหม่..

    การดําเนินนโยบายทางการทูตนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องดําเนิน Methodology ทางด้านยุทธศาสตร์ควบคู่กันไปด้วยครับ เพราะนั่นคือ"ผลประโยชน์"ของชาติที่กระทบกระเทือนต่อภาครวมของระบบเศรษฐกิจอย่างมิต้องสงสัย..
    ผมไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรเสริมสร้างกําแพงที่แข็งแกร่ง หาเป็นเช่นนั้นไม่ เดี๋ยวค่อยว่ากัน..

    ประเด็นก็คือ ผมอยากเห็นพี่ไทยเราแสดงบทบาทที่เป็นสากลในเวทีประชาคมโลกให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
    อันนี้ระบุถึงท่านนายกและท่านที่เกี่ยวข้องด้านการต่างประเทศโดยตรงครับ
    ปล่อยให้ปัญหาภายในเป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องภายในจะดีกว่า..

    ผมไม่ได้แอนตี้โลกเสรี และก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นชาติใด
    ผมไม่ใช่ไม่ชอบระบบ"ทุนนิยม"แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับระบบทุนนิยมที่เอารัดเอาเปรียบและไม่เป็นธรรม
    ไทยเราเป็น"ไท" เพียงพอได้แล้วหรือยัง หากดําเนินวิเทศนโยบายที่"ยักแย่ยักหลั่น"เป็นนกหลายหัว นาคหลายหางกันแบบนี้..

    หรือแบบนี้เราเรียกว่าเป็นนโยบายด้านการต่างประเทศแบบไฮบริดระหว่าง จีนกับมะกัน ดีครับ ..
    14 ธันวาคม 2553 09:46:04

     
  4. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ตังส์ไม่มี มีแต่อาวุธเต็มไปหมด เอ !!! แบบนี้สงสัยไม่พ้นสงคราม
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เกษตรแบบแซมบ้า

    โดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
    วันที่ 1 ธันวาคม 2553 01:00
    ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา บราซิลได้พัฒนาตัวเองจากการเป็นประเทศ ที่ต้องนำเข้าอาหารมาเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก
    <!--<iframe scrolling="no" src="fullURLmain/include/adsense/indetail.php" frameborder="0" height="266" width="250"></iframe>--><SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101209/show_ads_impl.js"></SCRIPT>ในช่วงปี ค.ศ. 1996 ถึง 2006 นั้น บราซิลสามารถเพิ่มผลผลิตการเกษตรที่เก็บเกี่ยวได้มากถึง 365% สามารถส่งออกเนื้อวัวเพิ่มขึ้นได้สิบเท่า จนกลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวอันดับหนึ่งของโลก รวมทั้งสุกร อ้อย และเอทานอลด้วย ส่วนถั่วเหลืองนั้นก็ยังเป็นรองแค่สหรัฐเท่านั้น ในเวลาเดียวกัน บราซิลก็เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ใช้เงินอุดหนุนเกษตรกรน้อยที่สุดด้วย คือ ราว 5-6% ของรายได้ภาคเกษตรทั้งหมดในแต่ละปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม OECD ที่ 26%

    โดยพื้นฐานแล้ว บราซิลมีความได้เปรียบด้านการเกษตรสูงมากในโลก เพราะประเทศนี้มีที่ดินที่มีศักยภาพสำหรับการเพาะปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในขณะเดียวกัน ยังเป็นประเทศที่มีปริมาณฝนตกมาก และก็ตกในพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ด้วย หากคิดคำนวณเป็นพื้นที่เกษตรที่มีปริมาณฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูกแล้ว ก็ถือว่ามีมากถึงหนึ่งในสี่ของทั้งโลกเลยทีเดียว

    อันที่จริงข้อได้เปรียบเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่บราซิลมีมานานแล้ว แต่ปัจจัยที่ทำให้บราซิลประสบความสำเร็จอย่างสูงในการเพิ่มผลผลิตการเกษตรในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา คือ การนำเทคโนโลยีเพิ่มพื้นที่การเกษตร และผลผลิตการเกษตรมาใช้อย่างเข้มข้น บราซิลเปลี่ยนพื้นที่แบบทุ่งหญ้าซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในประเทศให้กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับปรุงคุณภาพดิน จนทำให้ทุกวันนี้ พื้นที่แถบทุ่งหญ้าของบราซิลได้กลายมาเป็นพื้นที่การเกษตร 70% ของที่ทำอยู่ทั้งหมด โดยที่ไม่ได้รบกวนพื้นที่ป่าอะเมซอนเลย เพราะการปรับปรุงพื้นที่การเกษตรเหล่านี้อยู่ห่างจากพื้นที่ป่าอย่างน้อย 1,000 กิโลเมตร

    นอกจากนี้ บราซิลยังนำพันธุ์ถั่วเหลืองจากเอเชียเข้ามาทดลองปลูกในละตินอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีตัดแต่งพันธุกรรม จนสามารถเพิ่มผลผลิตได้สำเร็จจนบราซิลกลายมาเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองรายใหญ่ และใช้วิธีการเดียวกันนี้กับการปรับปรุงหญ้าที่นำเข้ามาจากแอฟริกา เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ด้วย

    บางคนวิจารณ์ว่าบราซิลมีปัญหาในภาคเกษตรอยู่ไม่น้อย เพราะบริษัทใหญ่ๆ เป็นผู้ครอบงำส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่เอาไว้ ทำให้เกษตรกรรายย่อยแข่งขันได้ลำบาก (คล้ายๆ กับหลายประเทศ) โดยที่บริษัทขนาดใหญ่กินส่วนแบ่งผลผลิตรวมกันมากถึง 76% ของทั้งหมด ในขณะที่ไร่ที่ให้ผลผลิตต่ำกว่าหมื่นรีอัลต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มีเกษตรกรรายย่อยเป็นเจ้าของนั้นมีส่วนแบ่งผลผลิตแค่เพียง 7% เท่านั้น แต่ถ้าหากมองในแง่ของผลิตภาพแล้ว บริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ใช้พื้นที่การเกษตรรวมกันเพียงแค่ 1.6 ล้านฟาร์มเท่านั้น ในการสร้างผลผลิตที่ทำได้ทั้งหมด ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยทั้งหมดใช้พื้นที่รวมกันมากถึง 3.4 ล้านฟาร์ม แต่ได้ผลผลิตต่ำกว่ามาก อีกทั้งที่จริงแล้วพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาใหม่ในปัจจุบันก็มาจากทุ่งหญ้าเดิมที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ไม่ใช่พื้นที่การเกษตรเดิมที่เกษตรกรรายย่อยเป็นผู้ครอบครอง การจะบอกว่าบริษัทขนาดใหญ่ คือ ปัญหาในภาคเกษตรของบราซิล ก็อาจดูไม่ค่อยยุติธรรมนัก

    จากตรงนี้ไป ถ้าหากจะถามว่า บราซิลยังคงมีความสามารถที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้นกว่านี้อีกได้มั้ย คำตอบก็คือได้สบายๆ เพราะทุกวันนี้ บราซิลเพิ่งจะใช้พื้นที่การเกษตรไปแค่เพียง 50 ล้านเฮกเตอร์เท่านั้น จากพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งหมดมากถึง 400 ล้านเฮกเตอร์ บราซิลจึงยังมีช่องว่างสำหรับการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในอนาคตได้อีกมาก

    นอกจากเรื่องเกษตรแล้ว บราซิลยังเป็นประเทศที่โชคดี เพราะเพิ่งจะค้นพบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่โตมโหฬารนอกชายฝั่ง และกำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันได้ ซึ่งประเมินกันว่าในอนาคต บราซิลจะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับสี่ของโลกในอนาคตเลยทีเดียว

    ในอนาคตบราซิลจึงอาจกลายมาเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของราคาพลังงานและราคาอาหารด้วยการเพิ่มอุปทานของสินค้าเกษตรและวัตถุดิบสำหรับพลังงานทางเลือกให้กับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบของวิกฤติพลังงานและวิกฤติอาหารที่อาจเกิดขึ้นกับโลกได้ และยังทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจต่อรองในเวทีโลกสูงในอนาคตอีกด้วย
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กลุ่มประเทศ BRIC โอกาสและความท้าทาย
    ผศ.สมมาตร
    BRIC หรือ BRICs ซึ่งเป็นการบัญญัติคำขึ้นโดยใช้อักษรตัวแรกของประเทศเป็นหลักมารวมกัน BRIC จึงหมายถึงประเทศบราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China)

    Goldman Sachs เป็นสถาบันการเงินเพื่อการลงทุนที่ใหญ่มาก Jim O’Neill หัวหน้าคณะวิจัยเศรษฐกิจโลกเป็นผู้ทำการศึกษาวิเคราะห์กลุ่มประเทศเหล่านี้โดยตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานหลายประการ แต่มีจุดเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คณะผู้ศึกษาเสนอข้อคิดเห็นระหว่างปี คศ. 2003-2004 ว่ากลุ่มประเทศนี้จะมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เร็วมาก อีกทั้งยังพยากรณ์ไปถึงปี 2050 ว่า BRIC นี่แหละจะมีโอกาสบดบังรัศมีของประเทศมั่งคั่งในปัจจุบันไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามกลุ่ม BRIC อย่างใกล้ชิด
    Goldman Sachs ได้ประเมินและตระหนักว่าประเทศ BRIC โดยรวมได้ขับเคลื่อนระบบการเมืองและเศรษฐกิจไปแล้ว และหันไปสนใจระบบเศรษฐกิจลัทธิทุนนิยมมากขึ้น Goldman Sachs ยังได้พยากรณ์ไปอีกว่าจีน และ อินเดียจะกลายเป็นผู้ค้ารายใหญ่ของโลกด้านสินค้าสำเร็จรูปรวมทั้งภาคบริการ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน

    ดังจะเห็นได้จากเมืองบังกาลอร์ (Bangalor) ของอินเดียเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและได้ผลกำไรมาก ทั้งจีนและอินเดียก็เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ

    ขณะที่บราซิลและรัสเซียโดดเด่นด้านการส่งออกสินค้าวัตถุดิบหรือโภคภัณฑ์ป้อนเข้าตลาดโลก BRIC น่าจะมีโอกาสรวมเป็นพันธมิตรทางการค้า มีสถานะเทียบชั้นกับ G6, G7 ได้ บราซิลมีบริษัทเหมืองแร่ขนาดใหญ่โดยเฉพาะแร่เหล็ก มีภาคการเกษตรที่ใหญ่ ได้แก่ อ้อย ถั่วเหลือง และกาแฟ ส่วนรัสเซียมีขุมทรัพย์ด้านพลังงานเหลือเฟือ กอปรกับมีเทคโนโลยีของตนเองจึงผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกและได้นำก๊าซธรรมชาติซึ่งมีมากที่สุดในโลกออกจำหน่ายให้กับประเทศต่างๆในยุโรปรวมทั้งขนส่งทางท่อเข้าสู่ประเทศตุรกี
    หลังเสร็จสิ้นสงครามเย็นกลุ่มประเทศที่ได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การเมือง เพื่อรองรับกับการลงทุนจากต่างประเทศ จากการศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าอินเดียน่าจะมีความเจริญทางเศรษฐกิจรุดหน้าที่สุดในกลุ่มภายในระยะเวลา 30-50 ปีข้างหน้า

    ส่วนนักธุรกิจไทยจะให้ความสนใจกับกลุ่ม BRIC มากน้อยเพียงไรต้องวิเคราะห์และติดตามต่อไป แต่ที่แน่ๆไทยมีความสัมพันธ์กับจีนมาช้านานแม้ในยุคสงครามเย็น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นได้เข้าไปทำความสัมพันธ์กับจีนและในเวลาไล่เลี่ยกับบริษัท ซี.พี. ได้เข้าไปลงทุนเป็นวงเงินที่สูง มากว่า 3 ทศวรรษ นี่ไงเขาเห็นโอกาสมาก่อนใครๆใช่หรือหรือไม่ ?

    เอกสารอ้างอิง

    · Goldman Sachs: The BRICs Dream:Web Tour, July 2006

    · Grant Thornton International Business Report Emerging Markets (BRIC) Focus

    · http://www.brigs.net/en/home

    เครดิต กลุ่มประเทศ BRIC โอกาสและความท้าทาย - เล่าเรื่องงานบริการวิชาการ - Tippa
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความเคลื่อนไหวของกลุ่มประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน (BRIC)

    กลุ่มประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน(BRIC) มีประชากรรวม 4,234 พันล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของโลก มูลค่า GDP 8.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 15 ของโลก) มูลค่าการส่งออกร้อยละ 14.1 ของโลกและมูลค่าการนำเข้าร้อยละ 11.6 ของโลก มีเงินตราสำรองระหว่างประเทศร้อยละ 40 ของโลก
    ขนาด GDP ของกลุ่ม BRIC ในไตรมาสแรกของปี 2552 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551
    รัสเซีย ร้อยละ -9.5 บราซิล ร้อยละ -1.8
    อินเดีย ร้อยละ +5.8 จีน ร้อยละ +6.1
    กลุ่ม BRIC มีประชากรร้อยละ 42 ของโลก มี GDP ร้อยละ 14.6 ของโลกและมีสัดส่วนการค้าร้อยละ 12.8 ของโลก ระหว่างปี 2546 – 2550 กลุ่ม BRIC มี GDP เติบโตขึ้นร้อยละ 65 และในปี 2552 มีอำนาจซื้อสูง ถึง 16.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 23.4 ของเศรษฐกิจโลก) มูลค่าการค้าระหว่างบราซิลกับกลุ่ม BRIC เพิ่มขึ้นร้อยละ 382 จากปี 2546 ที่มีเพียง 10.7 พันล้านฯ เป็น 51.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2551 และมี แนวโน้มว่ามูลค่าการค้าภายในกลุ่มจะขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก
    คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 กลุ่ม BRIC จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยปี ค.ศ. 2043 จีนจะ มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากกว่าสหรัฐฯ และในปี 2032 ทั้งกลุ่มจะนำมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มากกว่ากลุ่มประเทศ G-7 ทั้งนี้ บราซิลภายใต้การนำของประธานาธิบดี Lula ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจโลกที่ถดถอย โดยมี GDP เพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 10 ของโลก และคาดว่าในปี ค.ศ. 2050 ขนาด GDP ของ บราซิลน่าจะสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก บราซิลเป็นประเทศเดียวในกลุ่มที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์แม้ว่า บราซิลมี แหล่งแร่ยูเรเนียมมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลกและเป็นประเทศที่มีแนวโน้มส่งเสริมการค้าเสรีมากกว่าประเทศอื่น ในกลุ่ม นอกจากนี้ บราซิลซึ่งมีอิทธิพลในลาตินอเมริกาและบทบาทต่อ BRIC จะช่วยเพิ่มความสำคัญของ บราซิลในภูมิภาคยิ่งขึ้น
    กลุ่ม BRIC เป็นผู้ซื้อพันธบัตรรายใหญ่ของ IMF โดยจีนประกาศว่าจะซื้อพันธบัตรของ IMF มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไม่ต้องการ ให้กระทบต่อค่าเงินหยวน ขณะที่อินเดียและบราซิลก็ซื้อพันธบัตร IMF ได้ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    บทบาทที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเห็นได้จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของจีนเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น บราซิลและ รัสเซียก็กำลังจะก้าวหน้ามากกว่าแคนาดา และอินเดียก็เช่นกัน ทั้งนี้ จีนมีขนาด GDP มากที่สุดและมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ และนับว่าดีกว่าความสัมพันธ์ระหว่างบราซิลและสหรัฐฯ และยังต้องการรักษา อย่างไรก็ดี กลุ่ม BRIC ยังจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ ไว้

    1. การประชุมสุดยอดกลุ่ม BRIC ที่เมือง Yekaterinburg ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552
    ผู้นำประกอบด้วยนาย Luiz Inacio Lula da Silva นาย Dmitry Medvedev นาย Manmohan Singh และนาย Hu Jintao ได้หารือในประเด็นวิกฤตทางการเงิน การปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศและสหประชาชาติให้มีความยุติธรรมและเป็นประชาธิปไตย การเจรจาการค้ารอบโดฮา ตลอดจนความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร
    ประธานาธิบดี Lula คาดหวังว่า การรวมกลุ่มของ BRIC จะเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การเมืองและการค้าของโลก เนื่องจากประเทศร่ำรวยกำลังประสบภาวะวิกฤต และกลุ่มประเทศใหม่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาสถานะทางเศรษฐกิจโลก โดยที่ประเทศร่ำรวยไม่ได้ผูกขาดการอุปโภคและบริโภคอีกต่อไป ทั้งนี้ นาย Roberto Jaguaribe รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศบราซิลกล่าวว่า การปกป้องทางการค้าไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตการเงิน บราซิลต้องการส่งเสริมให้มีการจัดทำความตกลงการค้าทวิภาคีระหว่างสมาชิก BRIC เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันโดยเฉพาะกับจีนให้มากขึ้น ทั้งนี้ จีนและบราซิล ได้ทำความตกลงทางการค้าทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ มากเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ
    ประธานาธิบดี Medvedev เสนอให้จัดตั้งระบบเงินตราระหว่างประเทศที่หลากหลายเพื่อลดการ พึ่งพาเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ ในขณะที่ประธานาธิบดี Manmohan เสนอให้ตั้ง
    Joint Business Forum และพัฒนาความร่วมมือในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน เกษตร การบิน เภสัชกรรม และการบริการ
    ไม่มีการคาดหวังมาตรการรูปธรรมจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกมากนัก และเป็นการมาหารือเพื่อ ขยายความร่วมมือในอนาคตโดยมีแผนจะจัดประชุมสุดยอดอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งต่อไปจัดขึ้นที่บราซิลในปี 2553 นอกจากนี้ อินเดียยังเสนอรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรี G-20 และ G-20 plus ในเดือน กันยายน 2552 โดยมีรัฐมนตรีการค้าร่วมหารือเกี่ยวกับการเจรจารอบโดฮาด้วย
    ข้อสังเกตจากการประชุมสุดยอดครั้งแรก
    กลุ่ม BRIC มุ่งวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของโลกใหม่โดยตัวแทนประเทศกำลังพัฒนาที่มีบทบาทนำในสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อทำให้การตัดสินใจในองค์กรเหล่านี้เป็นประชาธิปไตย และสมาชิกกลุ่มจะร่วมมือกันอย่างแข็งขันเพื่อแก้ไขวิกฤตการเงินและปัญหาอื่น ๆ ของโลก โดยแถลงการณ์ภายหลังการประชุมระบุว่า สมาชิกกลุ่มต้องการให้มี more democratic and fair world order บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ และต้องการให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงด้านการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงของโลก
    ที่ประชุมเรียกร้องให้มี Multipolar World โดยสหรัฐฯ ไม่ใช่ผู้นำด้านเศรษฐกิจอีกต่อไป และเรียกร้องให้มี fairer world order / stable and predictable and more diversified international monetary system มีส่วนร่วมให้การจัดการองค์กรทางการเงินและสหประชาชาติ แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะทำให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง
    การประชุมครั้งนี้จัดว่าเป็นเวทีหนึ่งที่ผู้นำกลุ่ม BRIC เสาะแสวงหาองค์กรของโลกที่ยุติธรรมและเป็นประชาธิปไตยและเปิดเผย สร้างความกดดันเพื่อเพิ่มความสำคัญของกลุ่มในกลุ่ม G-20 ตลอดจนการเรียกร้องให้ใช้เงินสกุลอื่นในการสำรองเงินตราต่างประเทศเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ฯ ที่ตกต่ำลงและการที่สหรัฐฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนเกิดลุกลามไปทั่วโลก และต้องการสร้างมูลค่าเงินใหม่ (new currency value) เพื่อแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ ฯ โดยอาจจะเป็นตระกร้าเงินจากหลายสกุล (basket of currencies) เช่น ยูโร ปอนด์ และเยน เป็นต้น
    การประชุมครั้งนี้ ไม่มีผลสรุปและหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแถลงการณ์ของผู้นำไม่ได้อ้างถึงการพัฒนาการสำรองเงินสกุลใหม่เพื่อทดแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรัสเซียเรียกร้องให้มีการประชุมแยกต่างหากในวันเดียวกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มมีความแตกต่างกันในท่าทีและยุทธศาสตร์ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ บราซิลและรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ในขณะที่จีนเป็นผู้นำเข้า และขณะที่จีนและบราซิลสนับสนุนการประชุมรอบโดฮา อินเดียกลับมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับหลายประเด็นในการเจรจารอบโดฮา นอกจากนี้ จีนและอินเดียแข่งกันมีอิทธิพลในมหาสมุทรอินเดีย จีนและรัสเซียแข่งขันกันในเอเชียกลาง จีนเป็นผู้ผลิตสิ่งทอ อินเดียมีประชาธิปไตยยาวนานที่สุด และบราซิลดำเนินนโยบายด้านทรัพยากรและการเงินอย่างระมัดระวังและถือว่าเป็นประโยชน์ต่อจีนและอินเดีย ขณะที่จีนเป็นหนึ่งเดียวในกลุ่มที่เป็นคู่ค้าสำคัญกับทุกประเทศในกลุ่มและสะท้อนให้เห็นว่าจีนมุ่งการลงทุนสร้างผลผลิตมากขึ้น ขณะที่รัสเซียกลับใช้ทรัพยการที่มีอยู่จำนวนมากเป็นเครื่องมือทางการเมืองและยังจัดการทรัพยากรไม่ดีนักและยังมีความกังวลในระบบประชาธิปไตย นักวิเคราะห์เห็นว่า หากเป็นเรื่องนโยบายร่วมกันทั่วไป สมาชิกกลุ่มน่าจะร่วมมือกันได้ด้วยดี โดยเฉพาะเรื่องการค้าและสกุลเงิน

    2. การประชุมสุดยอด BRIC ครั้งที่ 2 ที่กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2553
    ผู้นำสมาชิกหารือในประเด็นการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การปฏิรูป IMF ธนาคารโลกและ สหประชาชาติ การค้าระหว่างประเทศและองค์การการค้าโลก การพัฒนาตาม UN Millennium Declaration และเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (MDGs) การเกษตร การต่อสู้กับความยากจน พลังงาน และการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ การก่อการร้าย ปัญหาแผ่นดินไหวและการฟื้นฟูเฮติ การเสริมสร้างระหว่างวัฒนธรรมกลุ่ม ต่างๆ (Alliance of Civilizations) ตลอดจนความร่วมมือภายในกลุ่ม
    กลุ่ม BRIC ยังคงมีท่าทีสนับสนุนระบบหลายขั้ว (multipolar) และหลักการความยุติธรรมและ ประชาธิปไตย และสนับสนุนรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก WTO
    มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนาและอำนวยความสะดวก ด้านสินเชื่อและขยายความร่วมมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิก ได้แก่ Banco Nacional de Desenvolvimente Economico e Social (BNDES) ของบราซิล และ China Development Bank Corporation (CDB) และ Export-Import Bank of India (Exim Bank India) และธนาคาร State Corporation Bank for Development and Foreign Economic Affairs (Vnesheconombank) ของรัสเซีย และให้เอื้อบริการด้าน การลงทุน และจะศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้ง interbank ระหว่างสมาชิก ทั้งนี้ โครงการที่สนใจ ได้แก่ การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ภาคส่งออก รวมทั้งโครงการที่สำคัญด้านสังคม ของกลุ่มและของภูมิภาค โดยจะมีการประชุมระดับผู้บริหารเป็นประจำทุกปี
    มีการจัดกิจกรรมสำคัญ คือ IBSA+BRIC Business Forum และการประชุมของธนาคารเพื่อการพัฒนา และธนาคารพาณิชย์ องค์กร Think-Tanks และผู้แทนระดับสูงด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ สมาชิก ทั้งนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม BRIC ที่มุ่งกระชับความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ความ ร่วมมือระหว่างธนาคาร และความประสงค์ของกลุ่มที่จะเข้าไปมีบทบาทในสถาบันการเงินของโลก
    ข้อสังเกตของการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 2
    ในการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่รัสเซีย ประธานาธิบดี Medvedev เสนอให้จัดตั้งระบบเงินตราระหว่าง ประเทศที่มีความหลากหลายเพื่อลดการพึ่งพาเงินสกุลสหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ แต่ในการประชุมครั้งที่ สองนี้กลับไม่มีการหารือเพิ่มเติม ทั้งนี้ อาจเนื่องจากไม่ได้รับความสนันสนุนจากจีนซึ่งมีเงินตราต่างประเทศ สำรองอยู่ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไม่ต้องการให้กระทบกับค่าเงินหยวน ในขณะที่ประธานาธิบดี
    Manmohan ยังผลักดันจัดตั้ง Joint Business Forum
    ตามที่ที่ประชุมสุดยอดครั้งแรกได้หารือประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร และต่อมาเมื่อ 26 มีนาคม 2553 รัฐมนตรีเกษตรของสมาชิกได้ร่วมลงนามความตกลงด้านการเกษตรที่มุ่งจะขจัดความหิวโหยและกระตุ้นความ พยายามในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มโดยจะร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลด้าน อุปสงค์และอุปทาน และการสำรองธัญพืช และพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ตลอดจนการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้ง ส่งเสริมการค้าระหว่างกัน
    นอกจากนี้ กลุ่ม BRIC ยังได้หารือเตรียมการท่าทีในการประชุม G-20 ที่แคนาดาในเดือนมิถุนายน 2553 โดยต้องการมีส่วนร่วมใน IMF และธนาคารโลก รวมทั้งกลไกการคลังและการเงินซึ่งจีนเชื่อว่ากลุ่ม BRIC
    จะมีบทบาทในการกดดันให้มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจพหุภาคีต่อไป

    3. การหารือระหว่างผู้นำบราซิลและอินเดีย
    ประธานาธิบดี Manmohan Singh ได้หารือกับประธานาธิบดี Lula เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2553
    ซึ่งทั้งสองฝ่ายพอใจที่มูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2552 และคาดการณ์ว่า
    ปี 2553 จะมีมูลค่าสูงถึง 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลไกการค้าที่สำคัญ ได้แก่ Trade Monitoring Mechanism (ก่อตั้งเมื่อปี 2552 และจะประชุมอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2553 ที่กรุงนิวเดลี) และกลไก CEO Forum
    การลงทุนทวิภาคีมีมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนด้านพลังงาน เกษตร เหมืองแร่ เภสัชกรรม
    โครงสร้างพื้นฐาน และการก่อสร้าง และการที่มี Preferential Trade Agreement (PTA) ระหว่าง
    MERCOSUR กับอินเดีย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 จึงมีศักยภาพที่จะขยายระดับความร่วมมือ ให้มากขึ้น
    นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายย้ำความจำเป็นในการร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงานนิวเคลียร์ อวกาศและการทหาร เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และสาขาสำคัญที่จะพัฒนาร่วมมือ ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และนาโนเทคโนโลยี โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงานซึ่งจะ พัฒนากลไก Joint Working Group และบราซิลยินดีที่บริษัทน้ำมันของอินเดียสนใจจะร่วมการสำรวจแหล่ง น้ำมันในบราซิล
    ทั้งสองฝ่ายพอใจในความร่วมมือทวิภาคีด้านการทหาร มีการแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารประจำการในแต่ละ ประเทศ มีการติดต่อกันเพิ่มขึ้นระหว่างบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Embraer ของบราซิลและบริษัท DRDO ของ อินเดียในการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงของเครื่องบินทหาร มีโอกาสที่จะขยายความร่วมมือในการร่วมกันผลิต วิจัยและพัฒนา โดยจะมีกลไก India-Brazil Joint Defence Committee ซึ่งจะประชุมครั้งแรกที่กรุงนิวเดลี
    ในปี 2553
    มีความร่วมมือทวิภาคีระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งและคาดว่าจะมีการลงนามในความร่วมมือ ระหว่าง กกต. อินเดียและ Electoral Superior Tribunal ของบราซิล
    อินเดียจะเปิดศูนย์วัฒนธรรมแห่งแรกในภูมิภาคอเมริกาที่นครเซาเปาโล และจะจัด Festival
    of India ที่บราซิลในปี 2554
    อินเดียและบราซิลในฐานะประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทสำคัญในระบบพหุภาคีและในกลุ่ม IBSA
    และกลุ่ม BRIC อินเดียและบราซิลเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาใน กระบวนการตัดสินใจในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น IMF และธนาคารโลก และองค์กรอื่น เช่น UN
    โดยเห็นร่วมกันว่าต้องให้มีการปฏิรูป โดยเฉพาะ UNSC รวมทั้งให้มีการขยายสมาชิกถาวรและไม่ถาวร
    เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งสองฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกันในการสมัครเป็นสมาชิกถาวรใน UNSC นอกจากนี้ อินเดียได้ให้การสนับสนุนการสมัครสมาชิกไม่ถาวรของบราซิลวาระปี 2010 – 11 และบราซิลให้การสนับสนุน อินเดียเช่นกันในวาระปี 2011 – 12
    อินเดียและบราซิลประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ สนับสนุนความพยายามในการต่อต้าน
    การก่อการร้ายภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติความตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้องจะพยายามให้มีการรับรอง Comprehensive Convention on International Terrorism โดยเร็ว
    เห็นความจำเป็นในการเจรจารอบโดฮาให้บรรลุผล โดยอินเดียและบราซิลพยายามสร้างระบบการค้า
    พหุภาคี การร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง South-South ซึ่งล่าสุดมีการเจรจา Sao Paulo Round of GSTP Negotiations เมื่อเดือนธันวาคม 2552
    ยืนยันความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
    ย้ำที่จะต่อสู้กับความหิวโหยและความยากจน ส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและนโยบายการ
    พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศทั้งสอง
    ข้อสังเกต
    บราซิลและอินเดียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาเป็นเวลานานและมีการแลกเปลี่ยนการเยือน
    ระดับสูงมาตั้งแต่ปี 1954 การค้าระหว่างบราซิลและอินเดียในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ร้อยละ 20 มูลค่า
    5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยบราซิลนำเข้า 2.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (น้ำมันดีเซล, ถ่านหิน, ยา,เคมีภัณฑ์) และส่งออก 3.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (copper sulphate, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำตาล, เคมีภัณฑ์, Iron ore ) บริษัท ONGC Videsh บริษัทน้ำมันของอินเดียได้มีการลงทุนการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งของบราซิลมูลค่า 410 ล้าน รอ. และบริษัท Tata และ Marcopolo ผู้ผลิตตัวถังรถโดยสารของบราซิล สนใจร่วมทุนกับบริษัทอินเดีย ในการผลิตรถโดยสารในอินเดีย โดยบริษัท Tata จะถือหุ้นร้อยละ 51 นอกจากนี้ บริษัทรถไฟของอินเดีย (IRCON และ RITES) ได้ลงทุนในการขยายเครือข่ายเส้นทางรถไฟของบราซิลด้วย
    บราซิลและอินเดียมีความร่วมมือและการประสานงานที่ใกล้ชิดในด้านพหุภาคีในองค์กรระหว่างประเทศ ต่าง ๆ เช่น G 4, G 20, WTO โดยเน้นระบบพหุภาคีที่เพิ่มบทบาทของ ปท.กำลังพัฒนา
    นอกจากนี้ ละครโทรทัศน์ของบราซิลเรื่อง Caminho das Indias (Passage to India)
    ที่ถ่ายทำในอินเดียประมาณร้อยละ 50 โดยผู้แสดงชาวบราซิลทั้งหมด ออกอากาศในบราซิลเมื่อปี 2552
    นานเกือบตลอดปี ซึ่งแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวอินเดีย ทำให้ชาวบราซิลได้รู้จักและ
    เข้าใจวัฒนธรรมของอินเดียมากขึ้น การเปิดศูนย์วัฒนธรรมของอินเดียในบราซิล รวมทั้งมีความต้องการ
    ให้มีร้านอาหารอินเดียในบราซิลเพิ่มขึ้น เป็นการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลดีมาก

    4. การหารือระหว่างผู้นำบราซิลและจีน
    ประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีนได้เยือนบราซิลได้หารือทวิภาคีกับประธานาธิบดี Lula เพื่อขยายความ ร่วมมือทวิภาคีและได้จัดทำ Joint Action Plan 2010 – 2014 หลังจากที่ได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วน
    ยุทธศาสตร์ระหว่างบราซิลและจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางในการพัฒนาพันธมิตรและขยายความร่วมมือในหลายสาขา ได้แก่ การเมืองและการทหาร เศรษฐกิจและการค้า พลังงานและเหมืองแร่ เศรษฐกิจและการเงิน การเกษตร อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศ อวกาศ วัฒนธรรม และการศึกษา มีการจัดตั้ง High-level Committee ซึ่งจะประชุมกันทุก 2 ปี และ
    มีคณะอนุกรรมการในสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะประชุมกันทุกปีเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตาม Joint Action Plan
    ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองประเทศจะหารือกันอย่างน้อยปีละครั้ง
    นอกจากนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าวยังระบุถึงความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทางการทูตและการอบรม นักการทูตและการกงสุล ได้แก่ การเปิดสำนักงานและการบริหารงานด้านกงสุล การตรวจลงตราและ ค่าธรรรมเนียม การย้ายถิ่นฐาน และมาตรการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์สิทธิของประชาชนในเขตปกครอง ของแต่ละฝ่าย
    นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองประเทศได้ลงนามความตกลงสำคัญอีก 4 ฉบับ คือความตกลงด้านทรัพย์สินทาง ปัญญา ด้านเกษตรกรรม ด้านการควบคุมคุณภาพใบยาสูบ และด้านวัฒนธรรม และภาคเอกชนได้ลงนาม ลงทุนร่วมก่อสร้างโรงงานเหล็กของจีน มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างบริษัท Wuhan Iron and Steel ของจีน (ร้อยละ 70) กับบริษัท LLX (ร้อยละ 30) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ EBX Group ของนาย Eike Batista มหาเศรษฐีของบราซิลที่รัฐรีโอเดจาเนโรซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่สุดของจีนในบราซิลและโรงงานดังกล่าวจะมี กำลังผลิตเหล็กปีละ 5 ล้านตัน โดยจะขายให้กับอุตสาหกรรมผลิต รถยนต์ สร้างเรือ และฐานขุดเจาะน้ำมันใน บราซิล รวมทั้งส่งออกไปขายที่จีน

    ช้อสังเกต
    เมื่อปลายปี 2551 Bank of China ได้รับอนุมัติจาก Central Bank of Brazil ให้เปิดสาขา
    ของธนาคารในบราซิลได้ ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้บริการปี 2553 โดยจะเป็นสาขาแรกในอเมริกาใต้ ซึ่งแสดง
    ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนที่ใกล้ชิดกับภูมิภาค และบราซิลเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของ จีนในภูมิภาค และธนาคาร Brazilian Bank of Economic and Social Development (BNDES) ของบราซิล
    จะเปิดสำนักงานสาขาในจีนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนบราซิลในจีนต่อไป
    ในการประชุม G-20 เมื่อปี 2552 และระหว่างการเยือนจีนของประธานาธิบดี Lula ระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤษภาคม 2552 จีนและบราซิลหารือการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างกัน แทน การใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ฯ แต่ไม่ได้มีการหารือในการเยือนครั้งนี้ อาจเนื่องมาจากค่าเงินหยวนยังมีความผันผวน สูง แต่คาดว่าน่าจะมีการหารือเรื่องดังกล่าวภายใต้ Chinese – Brazilian Commission of High Level
    Concertation and Co-operation (COSBAN) ในโอกาสต่อไป
    การเยือนครั้งนี้ นับว่าประสบความสำเร็จในการกระชับความร่วมมือทั้งด้านการค้าและการลงทุน
    ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ Joint Action Plan เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการตรวจลงตราและค่าธรรรมเนียม
    การอพยพ การอำนวยความสะดวกการย้ายถิ่นฐานของประชาชน มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการปกป้อง
    สิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนของอีกชาติหนึ่งในเขตแดนของตน จะช่วยลดความกังวลใจของจีน
    ในการนำแรงงานจีนเข้าไปทำงานในบราซิลเพื่อดึงดูดนักลงทุนจีน นอกจากนี้ จีนยังสนใจการก่อสร้างรถไฟ ความเร็วสูงระหว่างรัฐรีโอเดจาเนโรกับรัฐเซาเปาโลด้วย
    จีนและบราซิลมีความประสงค์จะที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านเพื่อส่งเสริม
    หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยปัจจุบันจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับหนึ่งของบราซิล และหวังจะปรับปรุง
    เงื่อนไขทางการค้าทวิภาคีให้ดีขึ้นและบราซิลเป็นประเทศที่จีนลงทุนมากเป็นลำดับที่ 49 โดยปี 2551
    จีนลงทุนด้านเหล็กและเหล็กกล้าในบราซิล มูลค่ารวม 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีความเป็นไปได้ที่บราซิล
    จะต้องการบริษัทจีนที่มีประสบการณ์ในการเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเป็นเจ้าภาพ
    การแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2014 และเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ปี 2016 นอกจากนี้ บราซิลพร้อมที่จะขยายความ ร่วมมือกับจีนในกรอบ UN, G-20 และองค์กรอื่น ๆ รวมทั้ง ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ประเด็นอื่น ๆ ของโลก

    5. การเยือนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีบราซิล
    นาย Luiz Inacio Lula da Silva ประธานาธิบดีบราซิลเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงปีที่ทั้งสองประเทศครบรอบ 35 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูต และเป็นครั้งที่ 2 ของประธานาธิบดี Lula ที่เดินทางเยือนจีน เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยได้นำ คณะนักธุรกิจ จำนวน 240 คนร่วมเดินทางไปด้วย
    ประธานาธิบดี Lula เข้าพบหารือกับนาย Hu Jintao ประธานาธิบดีและนาย Wen Jiabao นายกรัฐมตรี ของจีนและเป็นประธานการสัมนาด้านการค้าการลงทุนที่กรุงปักกิ่ง เมืองเซินเจิ้น และนครเซี่ยงไฮ้ รวมทั้งได้ทำ
    พิธีเปิด Brazilian Studies Center ที่ Chinese Academy of Social Sciences (CASS) กรุงปักกิ่ง
    และเข้าเยี่ยมชม China Academy of Space Technology โดยมีโครงการร่วมมือสร้าง China – Brazil
    Earth Resources Satellite (CBERS) ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง ระหว่าง South-South
    ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คาดว่าจะปล่อยดาวเทียมจำนวน 3 ดวงประมาณปี 2013
    ประธานาธิบดี Lula กล่าวว่า การเยือนจีนครั้งนี้เป็นหนึ่งในการเยือนที่ได้รับผลสำเร็จมากที่สุด
    นับแต่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่ปี 2546 ได้มีการลงนามความตกลง 13 ฉบับ อาทิ การปล่อยเงินกู้ 10 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคาร China Development Bank ให้แก่บริษัทน้ำมัน Petrobras ของบราซิล โดย Petrobras จะส่งน้ำมันดิบให้โรงกลั่น Sinopec ของจีนปีแรกจำนวน 150,000 บาร์เรลต่อวัน และจำนวน 200,000 บาร์เรลต่อวันใน 9 ปีถัดไป และจีนอนุญาตให้นำเข้าไก่จากผู้ส่งออกของบราซิล 24 ราย นอกจากนี้ ยัง มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง Brazilian Bank of Economic and Social Development (BNDES) Bank of Brazil และ Itau Bank กับ The China Development Bank โดยธนาคาร BNDES จะเปิดสำนักงาน สาขาในจีน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนบราซิลในจีน รวมทั้งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของจีนคือ Chery ได้ กล่าวว่าจะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในบราซิล
    ประธานาธิบดี Hu Jintao และประธานาธิบดี Lula ได้เน้นความสำคัญของการรักษาระดับการเติบโต
    ทางเศรษฐกิจและการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีทางการค้าท่ามกลางวิกฤตการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสอง ฝ่ายรับจะส่งเสริมความร่วมมือและขจัดอุปสรรคต่างๆ ด้านภาษีศุลกากรและการควบคุมตรวจสอบคุณภาพ สินค้า
    ทั้งสองฝ่ายรับจะส่งเสริมการลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การพลังงาน เหมืองแร่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงด้านพลังงานชีวมวลและความร่วมมือด้านการบิน
    ประธานาธิบดี Lula ผลักดันข้อเสนอเรื่องการใช้สกุลเงินของทั้งสองประเทศในการแลกเปลี่ยน
    การค้า ตามที่เคยเสนอฝ่ายจีนพิจารณาในการประชุม G-20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเมษายน 2552
    ระหว่างการเยือน ทั้งสองประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายใต้ข้อตกลง พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศทั้งสอง และได้มีการประกาศแผนปฏิบัติการปี 2010 – 2014 ซึ่งรอการ รับรองจากคณะกรรมการ China – Brazil High Level Coordination and Cooperation Commission
    ข้อสังเกต
    ก่อนเดินทางไปเยือนจีนประธานาธิบดี Lula กล่าวว่า กรอบโครงการพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับจีนที่สำคัญคือ การค้า วิทยาศาสตร์ และการต่างประเทศ โดยความตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและบราซิลซึ่งลงนามเมื่อปี ค.ศ. 1993 สามารถขยายความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และอาจนำไปสู่การเป็น new global economic, scientific and trade landscape ในศตวรรษที่ 20 ได้ และให้สัมภาษณ์ว่า จีนและบราซิลควรทำธุรกิจระหว่างกันด้วยการใช้เงินสกุลของตนแทนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแนวคิดการใช้เงินสกุลอื่นแทนในระบบการค้า การเงินและการคลัง เป็นแนวคิดเดียวกับผู้นำของจีนและรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันบราซิลและอาร์เจนตินาได้มีการตกลงใช้เงินสกุลของทั้งสองประเทศในการค้าระหว่างกัน แม้จะมีผู้นำเข้าและผู้ส่งออกบางรายใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ และบราซิลกำลังเร่งกระตุ้นให้ประเทศในลาตินอเมริกาหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นแทนด้วย
    ก่อนการเยือนของประธานาธิบดี Lula นาย Yang Jiechi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้เดินทางเยือนบราซิลเมื่อเดือนมกราคม 2552 และนาย Xi Jinping รองประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนบราซิล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จึงเป็นผลให้การเยือนของประธานาธิบดี Lula ประสบสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างมาก
    ประธานาธิบดี Lula ไม่ประสบความสำเร็จในการหารือกับประธานาธิบดี Hu Jintao เพื่อขอให้
    ทางการจีนอนุญาตให้นำเข้าเครื่องบินบริษัท Embraer ของบราซิล ซึ่งบริษัท Embraer มีสัญญาจะขาย
    เครื่องบินให้สายการบิน Kunpeng ของจีนจำนวน 50 ลำมูลค่า 2 พันดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เพิ่งส่งมอบไปเพียง 5 ลำเท่านั้น เนื่องจากทางการจีนไม่อนุญาตให้นำเข้า โดยอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Lula ยังไม่สามารถขอให้จีนเปิดตลาดให้นำเข้าหมูจากบราซิล ทั้งที่จีนเป็นประเทศที่บริโภคหมูมากที่สุดในโลก
    เมื่อเดือนเมษายน 2552 บราซิลประกาศว่า จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของบราซิล
    โดยในปี 2551 มีมูลค่าการค้าสูงถึง 36.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำหน้าสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยเป็นคู่ค้า อันดับหนึ่งของบราซิลมานานเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ต้นปี 2552 มีการส่งออกจากบราซิลไปจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ของช่วงเดียวกัน สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ สินแร่เหล็กและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง และจีนส่งออกเสื้อผ้าและ รองเท้าราคาถูกไปบราซิลมูลค่าประมาณ 16.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
    สิ่งที่นักธุรกิจของจีนกังวลคือ มาตรการป้องกันการทุ่มตลาดของบราซิล ทำให้สินค้าจากจีนเข้าตลาดบราซิลได้น้อย และต้องการให้บราซิลอำนวยความสะดวกเรื่องการออกวีซ่าให้แรงงานจีนเข้ามาทำงานในโรงงานเพื่อดึงดูดนักลงทุนจีนให้มาลงทุนในบราซิลเพิ่มขึ้น

    </O:p
    http://www.mfa.go.th/fealac/images/LatinInformationPic128.doc
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “เส้นทางสายไหม” สายใหม่ จาก BRIC ถึง BRICSs
    โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล

    ตุลาคม 2553

    “จีนกำลังพูดคุยกับพี่น้องของเราในแอฟริกา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการของลัทธิล่าเมืองขึ้นของตะวันตกก่อนหน้านี้ที่ชอบยึดครองสิ่งต่างๆ ด้วยกำลัง...” - - จาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้[1]

    คำประกาศของจาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ต่อหน้าสื่อมวลชน คณาจารย์ และนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน สถาบันการศึกษา ชั้นนำของจีนภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เมื่อวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 ระหว่างการเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คล้ายกับเป็นระฆังเคาะให้คนทั่วโลกตื่นตัว และรับทราบว่า ศักราชใหม่ของการค้าของโลกได้เริ่มต้นขึ้นแล้วผ่านเส้นทางสายใหม่สายใหม่ (The New Silk Road) ที่เชื่อมระหว่างกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emer-ging Market)

    ในการเดินทางไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการของผู้นำแอฟริกาใต้ที่เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาฟุตบอลโลกเสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จาค็อบ ซูมา แสดงความจริงจัง ในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้วยการหอบหิ้วผู้ติดตาม ไปด้วยคณะใหญ่อันประกอบไปด้วยรัฐมนตรี 13 คน ผู้ติดตามและนักธุรกิจอีกกว่า 370 คน

    ภารกิจระหว่างการเยือนจีนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของซูมาไม่เพียงแค่การเข้าพบปะและพูดคุยกับสองผู้นำของจีนคือ หู จิ่นเทา ประธานาธิบดี และเวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรี แต่ยังเป็นการร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจำนวนหลายสิบฉบับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้า การเงิน และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ความร่วมมือระหว่าง สแตนดาร์ต แบงก์ กรุ๊ปของแอฟริกาใต้ กับธนาคาร ไอซีบีซีของจีน การเชิญชวนไชน่า เนชั่นแนล นิวเคลียร์ คอร์ป (CNNC) เข้าไปสร้างโรงไฟฟ้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้กับแอฟริกาใต้ การเจรจาข้อตกลงเพื่อเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นร้อยละ 20 ในบริษัทผิงอัน เฮลธ์ อินชัวรันซ์ของกลุ่มประกัน ดิสคัฟเวอรีที่อาจมีมูลค่ามากถึง 200 ล้านหยวน (หรือกว่า 1,000 ล้านบาท) เป็นต้น

    เป็นที่ชัดเจนว่าประเทศแอฟริกาใต้ ยักษ์ใหญ่แห่ง กาฬทวีปที่มีประชากรราว 50 ล้านคน มีความประสงค์ที่จะเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศบริก (BRIC) หรือที่สื่อมวลชนจีนเรียกขานกันว่า “สี่ประเทศอิฐทองคำ อันประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ขณะที่สื่อมวลชนจีนก็ล้อซูมาว่ากำลังเพิ่มเติมตัวอักษร “S (South Africa)” เข้าไปต่อท้าย BRIC ให้กลายเป็น BRICS

    BRIC มีความเป็นมาอย่างไร?

    หมุนนาฬิกากลับไปเมื่อเก้าปีที่แล้วหลังเหตุการณ์ โศกนาฏกรรม 9/11 (11 กันยายน 2544) ชื่อ BRIC หรือ BRICs ถือกำเนิดขึ้นจากจิม โอนีล หัวหน้านักเศรษฐ-ศาสตร์แห่งบริษัทวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ โกลด์แมน แซคส์ โดยโอนีลเขียนชื่อ BRICs เป็นครั้งแรกในรายงานเศรษฐกิจ “Building Better Global Economics BRICs” ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2544 และให้ทัศนะว่า เหตุการณ์ 9/11 ทำให้เขาเชื่อว่า ดุลอำนาจของโลกกำลังจะเปลี่ยนไป โดยกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่จากซีกโลกตะวันตกกำลังจะมีบทบาทต่อโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ และโลกในอนาคตจะมิได้ถูกกำหนดตามรูปแบบของอเมริกานุวัตร (Americanization) แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

    ในรายงานชิ้นดังกล่าวโอนีลยังทำนายไว้ด้วยว่า ภายในปี 2554 (ค.ศ.2011) ขนาดของสมาชิกในกลุ่ม BRIC คือ เศรษฐกิจจีนจะใหญ่โตทัดเทียมกับเยอรมนี (วัดตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี) ส่วนขนาดเศรษฐกิจของบราซิลและอินเดียก็จะวิ่งไล่หลังประเทศอิตาลีอยู่ไม่ห่าง ขณะที่เมื่อมองในเรื่องของการค้า หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ก็ฟันธงว่าจีน (รวมฮ่องกง) จะก้าวขึ้นมามีบทบาทสูงยิ่งในระบบการค้าโลก ซึ่งนั่นย่อมทำให้เงินสกุลหยวน (CNY) กลายมาเป็นเงินสกุลหลักที่มีบทบาทอย่างยิ่งในแวดวงการค้าโลกด้วย[2]

    เมื่อเวลาผ่านมาเกือบครบสิบปี การคาดการณ์ดังกล่าวของโอนีลถือว่ามีความแม่นยำไม่น้อย เพราะวันนี้ขนาดเศรษฐกิจจีนมิเพียงใหญ่โตทัดเทียม เยอรมนี แต่กลับเติบโตแซงหน้าเยอรมนีและญี่ปุ่นขึ้นไปเตรียมท้าชิงกับสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้านเศรษฐกิจของบราซิล อินเดีย และรัสเซีย ก็ไล่กวดตามหลังอิตาลีอยู่ไม่ห่าง

    ย้อนกลับมาถึงว่าที่สมาชิกใหม่ของกลุ่ม BRIC ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับแอฟริกาใต้ ถือว่าแนบแน่นขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบันมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า โดยในปี 2551 ตัวเลขการค้าสูงถึง 107,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.29 ล้านล้านบาท) ต่อมาในปี 2552 ประเทศจีนกลายเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใต้แทนที่สหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันสินค้าจากจีนก็ได้รับความนิยมจากชาวแอฟริกาใต้มากเสียจนทำให้แอฟริกาใต้ ขาดดุลการค้ากับจีนถึง 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

    ในแง่ของการลงทุน ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติมาหล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ ผลักดันให้จีนเข้าไปเสาะแสวงหาแหล่งพลังงาน แหล่งแร่และวัตถุดิบอันเหลือเฟือในแอฟริกาใต้และประเมินกันว่าบริษัทจีนได้ข้ามไปลงทุนในประเทศแห่งนี้แล้วกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

    สตีเฟน คิง (ที่ไม่ใช่นักเขียนเรื่องสยองขวัญชื่อดัง) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งกลุ่มเอชเอสบีซีบอกว่า ศูนย์กลางของโลกการค้าของกลุ่มประเทศ ตลาดเกิดใหม่ และเส้นทางสายไหมสายใหม่นั้นอยู่ที่ประเทศจีน และบทบาทของประเทศเหล่านี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวงการค้าโลก โดยองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ประเมินออกมาแล้วว่าระหว่างปี 2543-2551 (ค.ศ.2000-2008) อัตราเติบโตทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่กันเอง (Intra-Emerging-Market Trade) นั้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่าร้อยละ 18 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่า ตัวเลขการค้าระหว่างกลุ่มประเทศเกิดใหม่หลายเท่า[3]

    ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้นที่กระโดดไปทำธุรกิจในแอฟริกา เพื่อนสมาชิกในกลุ่ม BRIC อย่างบริษัท อินเดียกับบราซิลก็รุกเข้าไปในแอฟริกาด้วยเช่นกัน โดยในห้วง 6 ปีที่ผ่านมา ทาทา กรุ๊ป ผู้ผลิตรถยนต์ ชื่อดังจากแดนภารตะก็ทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในกลุ่ม ประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้ ส่วนเวล (Vale) ผู้ผลิตแร่เหล็กรายใหญ่ของบราซิลก็ทุ่มเงินมหาศาล ลงทุนในเหมืองทองแดงและเหมืองเหล็กในประเทศแซมเบีย คองโก และกินี เช่นกัน

    กิจกรรมการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมหาศาลในหมู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่าง BRIC และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่นี้ จริงๆ แล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินในสกุลดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หรือเยนญี่ปุ่นแต่อย่างใด ทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้เริ่มหันมาสุมหัวคิดกันว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะผลักดันให้มีการใช้เงินหยวนจีน รูปีอินเดีย หรือรีลบราซิล ให้แพร่หลายกว่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงและต้นทุนในการแลกเปลี่ยน

    การกลับมาของ “เส้นทางสายไหม” และการเจริญเติบโตของ BRIC ที่กำลังจะขยายตัวกลายเป็น BRICS โดยไม่จำกัดแค่ 4-5 ประเทศ คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน หรือแอฟริกาใต้ คล้ายเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังชาติตะวันตกและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายว่า ณ วันนี้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังจับมือกันเพื่อลดทอนการพึ่งพิง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ่วงดุลความเสี่ยงจากการเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจและการขูดรีดจากชาติตะวันตก อดีตนักล่าอาณานิคมและนักแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจตัวยง

    ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ พลวัตของปัจจัยเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนโลกทัศน์ทางการค้าของพวกเราไปอย่างสิ้นเชิง

    ข้อมูลอ้างอิงจาก:
    [1] Cheng Guangjin and Wu Jiao, Zuma praises China’s Africa role, China Daily, 26 Aug 2010.
    [2] Jim O’Neil , Building Better Global Economic BRICs, November, 2001. หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www2.goldmansachs.com/ideas/brics/building-better.html
    [3] Simon Kennedy, Matthew Bristow and Shamim Adam, There’s a New Silk Road, and It Doesn’t Lead to the U.S., Bloomberg Businessweek, 9 Aug 2010.

    อ่านเพิ่มเติม :
    - การทูตรถไฟความเร็วสูง นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนเมษายน 2553
    - The New Influence of China นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนธันวาคม 2552
    - China’s High-Speed Dream นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2552
    - เซี่ยงไฮ้กับบทสนทนาของคนแปลกหน้า นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนธันวาคม 2551
    - Sinosphere over Africa นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนธันวาคม 2549
    - จีนกับรถไฟความเร็วสูง นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2548
    ที่มา http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=89428
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยุคของ BRIC
    นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
    เมื่อปี 2001 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนแซคส์คนหนึ่ง ชื่อ จิม โอนีล ได้ทำนายไว้ว่า เมื่อถึงปี 2050 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนจากประเทศอย่างสหรัฐไปเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมากๆ ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล หรือเรียกรวมกันสั้นๆ ว่า กลุ่มประเทศ BRIC หลังจากนั้น คำว่า BRIC ก็เริ่มเป็นคำที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
    เหตุผลที่ จิม โอนีล เชื่ออย่างนั้นเป็นเพราะโลกยุคใหม่เป็นโลกที่ไร้พรมแดน ทำให้สินค้า-บริการ-เงินทุนและเทคโนโลยี ถ่ายเทถึงกันได้หมด ประเทศกำลังพัฒนาจึงสามารถขยับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ให้เข้าไปใกล้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างรวดเร็ว เหมือนเวลาที่เราเปิดท่อเชื่อมถึงกัน น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ จนระดับน้ำเท่ากัน ประเทศกำลังพัฒนาที่นำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมาใช้หรือที่เรียกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจนไปถึงปี 2050 ความเป็นอยู่ของคนในประเทศเหล่านี้ จะแตกต่างจากคนในประเทศที่พัฒนาแล้วน้อยลง
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม BRIC ซึ่งแต่เดิมเคยถูกกดเอาไว้นาน เนื่องจากระบบการเมืองแบบปิดหรือมิฉะนั้นก็ไม่มีเสถียรภาพ ในยุคปัจจุบันประเทศกลุ่มนี้สามารถปรับเปลี่ยนระบอบการเมืองของตัวเองใหม่ เพื่อทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์อย่างเต็มที่ จีนอาศัยค่าแรงที่ถูกมานานและประชากรที่มากในการขันอาสาเป็นโรงผลิตสินค้าให้กับโลก ทำให้เกิดการจ้างงานมากมาย อินเดียก็จะทำตัวเป็นเอาท์ซอร์สเซอร์ธุรกิจบริการของโลก ส่วนรัสเซียและบราซิลนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติมาก จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของโลก และทำให้มีอำนาจต่อรองกับโลกมากขึ้น ประเทศที่มีประชากรมากยังทำให้มีตลาดเศรษฐกิจภายในประเทศที่ใหญ่ ทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุนต่อหน่วย และยังกลายเป็นตลาดสำคัญที่ประเทศอื่นจะต้องจับตาอีกด้วย
    เกือบสิบปีที่ผ่านไป คำทำนายของจิม โอนีล ที่หลายคนมองไม่ออกว่าจะเป็นไปได้จริง ก็ดูเหมือนจะชัดเจนหนักขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีจีน ซึ่ง โอนีลได้ทายไว้ว่าภายในปี 2015 จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจแซงประเทศญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนว่าภายในปีนี้ จีนน่าจะแซงญี่ปุ่นได้แล้ว นับว่าสิ่งที่โอนีลทายไว้เกี่ยวกับจีนนั้นออกจะอนุรักษนิยมมากเกินไปด้วยซ้ำ โอนีลเชื่อว่าถัดจากจีนจะเป็นคราวของอินเดียบ้าง โดยที่อินเดียจะเติบโตได้ในอัตราที่เร็วกว่าจีนด้วย แต่เวลานี้ ยังดูไม่ออกว่าจะเป็นไปได้อย่างไร คงต้องคอยติดตามกันดูครับ ส่วนบราซิลนั้นมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่โดดเด่นมากนัก ส่วนรัสเซียนั้นค่อนข้างจะเติบโตจากฐานที่สูงกว่าเพื่อนอยู่แล้ว อัตราการเติบโตจึงอาจดูไม่โดดเด่นมากนัก แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มาก คงหนีไม่พ้นที่รัสเซียจะต้องมีบทบาทในโลกมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนยุคของ BRIC กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่ต้องรอให้ถึงปี 2050
    นอกจากประเทศในกลุ่ม BRIC แล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพไม่แพ้กัน แต่อาจจะมีจำนวนประชากรไม่มากเท่า ทำให้สุดท้ายแล้วขนาดเศรษฐกิจโดยรวมเลยไม่ใหญ่ติดอันดับยังมีอีก 11 ประเทศที่โอนีลมองไว้ เรียกว่า กลุ่ม N 11 (Next Eleven) ได้แก่ บังกลาเทศ อียิปต์ อินโดนีเซีย อิหร่าน เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ตุรกี และเวียดนาม ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะถูกลดความสำคัญลงไป เพราะเติบโตได้ช้ากว่ามากจนทำให้ขนาดของเศรษฐกิจแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในอีก 40 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง
    โลกทุกวันนี้ เปลี่ยนโฉมหน้าไปเร็วมาก ถ้าปรับความคิดของเราไม่ทันอาจเป็นคนหลุดโลกได้เลย

    ที่มา
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Reviewed: Bric country and a comparison of BRIC to global market cap.

    <!--Main-->เมื่อเช้า ฟังรายการ Money talk หัวข้อ megatrend มีการพูดถึง ศัพท์คำหนึ่ง ประเทศ กลุ่ม bric

    เลยมาอ่านข้อมูลคร่าวๆ ก็เลยสรุปไว้เพื่อการทบทวนในอนาคต –


    [​IMG]



    Goldman Sachs
    เป็นสถาบันการเงินเพื่อการลงทุนสำคัญของโลก โดยมี Jim O’Neill หัวหน้าคณะวิจัยเศรษฐกิจโลกเป็นผู้ทำการศึกษาวิเคราะห์พบว่ากลุ่มประเทศประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน หลังจากผ่านความลำบากด้านเศรษฐกิจจากระบบการเมืองในอดีต จนปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างทางการเมืองเพื่อปรับเข้ากับเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันทำให้ประเทศเหล่านี้เริ่มมีจุดเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญมากขึ้น และน่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เร็วมาก อีกทั้งยังพยากรณ์ไปถึงปี 2593(2050) ว่า BRIC จะมีขนาดเศรษฐกิจขึ้นมาใหญ่แซงหน้ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายได้ ดังเช่น ภาพทำพยากรณ์ทำนายGDP ระหว่าง ประเทศ G6 กับ กลุ่มประเทศBRIC

    [​IMG]

    จากภาพขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
    1. จะเห็นว่า GDP ของประเทศในกลุ่ม bric จะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ และภายในปี 2040 เราจะเห็น GDP ของประเทศในกลุ่มนี้เริ่มแซงหน้า กลุ่มในประเทศG6ได้ และในปี 2050ก็จะเป็นผู้นำในด้านเศรษฐกิจมากกว่า G6
    2. GDP ในกลุ่ม G6 มีอัตราการเติบโตที่ slowly โดยเฉพาะในช่วง20ปีข้างหน้านี้ (ระหว่าง 2010-2030) จะมีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ bric


    แล้วประเทศในกลุ่ม BRIC มีอะไรโดดเด่นจนทำให้นักเศรษศาสตร์ต่างๆทั่วโลกมองกันเป็นตาเดียวกัน ผมขอยกเอาบทความ(REF.)มาลงด้วย

    Brazil - GDP สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
    - มีทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานเป็นจำนวนมาก
    - ผู้ส่งออกหลักในด้านวัตถุดิบเพื่อการผลิต เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม
    - แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก เช่น กาแฟ ข้าวโพด ถั่วเหลือง

    Russia - GDP สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
    - มีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านพลังงานมหาศาล มีแหล่งถ่านหินอันดับ 2 ของโลก ก๊าซธรรมชาติ 35% ของโลก น้ำมัน 20% ของโลก
    - เป็นแหล่งผลิตถ่านหินอันดับ 2 ของโลก

    India - ประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และคาดว่าในปี 2040 จะมีประชากรมากที่สุดในโลก- ประชากรมีคุณภาพ มีการศึกษาดี มีความพร้อมทางภาษาอังกฤษ ในขณะที่อัตราค่าแรงไม่สูงนัก จึงเป็นแหล่งการให้บริการในลักษณะ Outsource ให้กับบริษัทในสหรัฐและยุโรปและเป็นผู้ส่งออกหลักในส่วนของสินค้าซอฟต์แวร์ ไอที

    China - ประชากรมากที่สุดในโลก ทำให้เป็นผู้บริโภคสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติรายใหญ่ของโลก
    - แหล่งผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลก
    - มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี
    ........

    ในแง่ของตลาดการลงทุนทั่วโลก (จากข้อมูลใน bespokeinvest )
    [​IMG]

    The current value of all stocks around the world based on Bloomberg data is $46.8 trillion. Even in this post-Collapse age where we have become numb to numbers in the billions and trillions, $46.8 trillion is high. On the day that US equity markets hit their all-time highs in 2007, world market cap stood at $61.26 trillion. At the lows in March 2009, that number stood at $25.6 trillion -- an astonishing one and a half year decline in value of $35.67 trillion, or 58.2%. Since the lows last March, the total value of stocks around the world has risen by $21.2 trillion (82.9%). Global markets need to gain another $14.4 trillion (+31%) to get back to all-time highs.

    และเมื่อเราเอา Market cap. ของล่าสุด เดือนมีนาคม(จำนวน 46,827 พันล้าน US ) มาแยกประเทศดังนี้
    [​IMG]

    The US makes up 30% of the total world with over $14 trillion in stock market cap. The top ten markets account for 73% of total pie. Interestingly, the much talked about BRIC economies (Brazil, Russia, India, China) total just over $6 trillion in stock market cap, less than half of America.

    จากข้อมูลนี้จะเห็นว่า ประเทศในกลุ่ม BRIC ยังมีขนาดของมูลค่าในตลาดหุ้นแค่เพียง ครึ่งเดียวของประเทศสหรัฐหรือเทียบเท่ากับ ราวๆ20 เปอร์ของทั่วโลก แต่จากการศึกษาของ Goldman Sachs นี้ คาดว่าขนาดของมูลค่าตลาดหุ้นในกลุ่ม BRIC จะเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% ในปี 2050

    Goldman Sachsก็ยังคาดการณ์ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุดของเศรษฐกิจโลก ด้วยแรงผลักดันจาก “ปรากฏการณ์ BRIC” หรือ “BRIC Phenomena” ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการขยายตัวของกำลังซื้อในกลุ่มคนชั้นกลางที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากถึง 4 เท่า นอกจากนี้ความต้องการใช้พลังงานและน้ำมันก็คาดว่าน่าจะสูงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นพื้นฐานและพลังงานทั้งหลาย โดยคาดว่าโลกจะยังมีความต้องการในอัตราสูง ซึ่งหากไม่มีการลงทุนขุดค้นเพิ่มปริมาณการผลิตกันอย่างต่อเนื่องขนานใหญ่แล้วบราซิล และรัสเซียก็น่าจะเป็นผู้ได้รับอานิสงส์แบบเต็มๆจากภาวะขาดแคลนพลังงานและน้ำมันในโลกครับ

    และสุดท้าย โอกาสรับผลตอบแทนจากค่าเงินครับ โดยจากโมเดลประมาณการค่าเงินในปี 2050 แสดงว่าค่าเงินที่แท้จริงของจีนมีโอกาสแข็งมากถึง 289% ในขณะที่อินเดียแข็งขึ้น281% ส่วนรัสเซียก็ไม่น้อยหน้าครับ คาดว่าจะแข็งขึ้นถึง 208% โดยมีค่าเงินแซมบ้าตามมาห่างๆแค่ 129% เองครับ!

    Reference

    1. Mutual Fund - Manager Online - BRIC
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แรงโน้มถ่วงโลกาภิวัตน์:กลุ่มประเทศ BRIC กับวิกฤตการณ์โลกาภิวัตน์



    แบ่งปัน<SCRIPT src="http://static.ak.fbcdn.net/connect.php/js/FB.Share" type=text/javascript></SCRIPT>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 พฤศจิกายน 2551 16:20 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    แม้เราจะได้ยินหรือสัมผัสประสบการณ์ที่ว่าด้วยโลกาภิวัตน์มาอย่างโชก โชนแล้ว แต่หลายๆ คนยังหาบทสรุปไม่ได้ว่าทิศทางของโลกาภิวัตน์จะพามนุษยชาติไปสิ้นสุดที่บทสรุ ปใด

    แรกเริ่มเดิมที ต้นกำเนิดของคำว่า โลกาภิวัตน์ ถูกบัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในระเบียบโลกใหม่หรือที่เรียกว่า The New World Order ซึ่งถูกจัดระบบอย่างพิลึกพิลั่นชนิดที่ตัวแสดงหลักๆ ดังเช่นรัฐชาติ ที่เคยยิ่งใหญ่ เป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมืองโลกยังจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ทั้งนี้เนื่องจากในยุคโลกาภิวัตน์ได้สร้าง สั่งสม และเปิดโอกาสให้ตัวแสดงใหม่ๆ ได้โลดแล่นในเวทีโลก สร้างกระแสข้ามชาติในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในมุมของเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม

    ตัวแสดงหลักตัวหนึ่งซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการนำพาโลกาภิวัตน์ให้ดำเนินมาถึงบท สรุปในปัจจุบันคือ บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations) ซึ่งแม้วิวัฒนาการบางช่วงของมันจะพยายามปฏิเสธซึ่งความผูกพันที่มีต่อรัฐชาต ิต้นกำเนิดของตัวเอง พร้อมกับโอ้อวดความไร้รากไร้รัฐ ผ่านความหลากหลายทางเชื้อชาติของผู้ถือหุ้นหรือพนักงานของบริษัทตน แต่เมื่อเกิดวิกฤตถึงขั้นคอขาดบาดตาย สายสัมพันธ์ที่ตัดกันไม่ขาดระหว่างรัฐชาติซึ่งยกให้เป็น “ตัวแม่” กับบรรษัทข้ามชาติที่เล่นบทบาทเป็น “ตัวลูก” ก็ถือกำเนิดขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้

    ล่าสุด 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ อันได้แก่ จีเอ็ม ฟอร์ด และไครสเลอร์ ประสบปัญหาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจนส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของบริษัท “ตัวแม่” อย่างรัฐบาลสหรัฐฯ ก็จำเป็นต้องออกแผนการกู้สถานการณ์ให้กับตัวลูกอย่างเร่งด่วน เพราะแม้จะดูเหมือนเป็นการเข้าอุ้มบริษัทของชาติตัวเอง แต่ความจริงแล้วมันคือการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนชาวอเมริกันแบบอ้อมๆ เนื่องจากหากเราคิดคำนวณการจ้างงานของทั้งสามบริษัทเหล่านั้นรวมกันจะพบว่า พลเมืองในสหรัฐอเมริกากว่า 250,000 คน ฝากชีวิตและการเลี้ยงชีพของตนไว้กับทั้งสามบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ยังไม่นับรวมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมากับงานอีกกว่า 4 ล้านตำแหน่งที่บริษัททั้งสามได้ผูกโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายใต้การกำกับของห่วงโซ่อุปทาน

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างรัฐกับตลาด ที่ก่อสายสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน เพราะตราบใดที่เรายังวัดค่าความมั่งคั่งและความมั่นคงของผู้คนในประเทศหนึ่ง ๆ ด้วยการคำนวณตัวเลขของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐชาติและบรรษัทข้ามชาติต่างก็จะมุ่งแสวงหาและพัฒนาตัวเลขดังกล่าวให้สูงขึ ้นเรื่อยๆ ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวหาได้จำกัดอยู่ในประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่พัฒนาแล้ วเท่านั้น หากยังฝังลึกอยู่ในดีเอ็นเอของผู้นำทุกประเทศและทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ ประเทศตะวันออกหรือตะวันตก หรือประเทศพัฒนาแล้วหรือที่กำลังพัฒนาก็ตาม อันเป็นสาเหตุที่ของการก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่พร้อมจะปฏิเสธการผูกขาดอำนาจ ซึ่งเคยอยู่ภายใต้อุ้งมือของเหล่าประเทศมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว

    ล่าสุดโลกาภิวัตน์ได้แสดงอานิสงส์ของมันโดยเปิดพื้นที่แห่งโอกาสทางการแข่งข ันให้เกิดขึ้นทุกที่ทุกทาง และทุกสิ่งอย่าง จนเป็นปรากฏการณ์ที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งว่า “competing with everyone from everywhere for everything” ซึ่งอธิบายสภาพการแข่งขันในตลาดโลกที่ไม่จำกัดอยู่เพียงการขยายตัวจากประเทศ ที่รวยกว่าไปยังประเทศที่จนกว่าเท่านั้น หากแต่ประเทศที่เคยจนบางประเทศได้ใช้โอกาสที่ระเบียบโลกใหม่หยิบยื่นให้แสวง หาตำแหน่งแห่งที่ของตนบนพื้นที่ของยุคโลกาภิวัตน์ ขยับขยายเศรษฐกิจของตน จนสามารถลืมตาอ้าปาก แข่งขันท้าทายกับมหาอำนาจเก่าๆ ได้อย่างไม่ปรานีปราศรัย

    ประเทศที่เคยจนดังกล่าว ซึ่งบางประเทศเคยถูกขนานนามว่าประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่ก็เคยถูกโจมตีว่าเป็นประเทศสังคมปิด ก็ได้กลับกลายเปลี่ยนสถานภาพตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า Emerging economy โดยในที่นี้มีอยู่ 4 ประเทศที่น่าจับตามอง ได้แก่ 1) บราซิล 2) รัสเซีย 3) อินเดีย และ 4) จีน ซึ่งถูกเรียกรวมๆว่า “BRIC” ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ ที่มีลักษณะร่วมคล้ายๆ กันตรงที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบ การประกอบการ และผู้บริโภคจำนวนมหาศาล

    แรงท้าทายที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ได้ประกาศศักดาให้ชาวโลกได้ประจ ักษ์เกิดขึ้นเมื่อผลการสำรวจ 500 บรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ระดับโลกในปีล่าสุดมาในนิตยสารฟอร์จูน ปรากฏให้เห็นถึงจำนวนของบริษัทของประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ที่เพิ่มขึ้นจาก เดิมที่เคยมีอยู่เพียง 31 บริษัทเมื่อปี 2003 เป็น 62 บริษัทในปี 2007

    แม้นักวิเคราะห์จากหลายสำนักจะเพ่งเล็งถึงความสุ่มเสี่ยงในการเร่งรัดพัฒนาเ ศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าว แต่ในสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลพวงที่กระทบชิ่งจากมหาอำนาจเก่า กลุ่มประเทศ BRIC ทั้งสี่ประเทศอาจกลายเป็นฐานทางการตลาดที่ช่วยผ่อนปรนวิกฤตการณ์ดังกล่าวให้ ดีขึ้นได้ ดังเช่นที่เกิดในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มมีนโยบายในการทำตลาด จากเดิมที่เน้นในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งกำลังอิ่มตัวไปสู่การทำตลาดในประเทศเศรษฐกิจใหม่ทั้งสี่ ซึ่งรอการเติมเต็มความศิวิไลซ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความอยู่รอดของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสามของสหรัฐอเมริกาด้วย

    ป รากฏการณ์น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าที่สะท้อนสถานะคู่ค้าอย่างเท่าเทียมกันระหว ่างประเทศเคยรวยกับประเทศเคยจนน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนประวัติศาสตร์หน้ าใหม่ของยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งอาจเป็นคำบอกใบ้ให้เราได้ทำนายว่า ในท้ายที่สุดโลกาภิวัตน์จะนำเราไปสู่บทสรุปเช่นไร

    from Daily News - Manager Online -
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า...กลุ่ม'BRIC'เร่งดันศก.-จีดีพีพลิกฟื้น

    Source - ทันหุ้น (Th)
    Wednesday, June 17, 2009 10:40

    ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของเศรษฐกิจประเทศที่มีบทบาทของโลกอย่างกลุ่ม G3 ได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น แต่ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจที่ยังผันผวนและไม่มั่นคงนัก โดยเฉพาะปัญหาการว่างงาน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่อาจสูงขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่กลุ่ม BRIC ที่ประกอบด้วยจีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้ ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้อย่างเลี่ยงได้ยาก ส่งผลให้เศรษฐกิจไตรมาสแรกในปีนี้ของกลุ่ม BRIC ต้องชะลอตัวรุนแรง โดยรัสเซียและบราซิลประสบภาวะเศรษฐกิจหดตัว อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจกลุ่ม BRIC มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ตามนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ส่งผลให้ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในเริ่มปรับดีขึ้น ขณะที่มีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่น่าจะมั่นคงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ประกอบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางการเงินของกลุ่ม BRIC โดยถือเป็นกลุ่มที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของจีดีพีโลกจำนวนประชากรมีสัดส่วนร้อยละ 42 ของประชากรโลก และเงินทุนสำรองต่างประเทศรวมกันระดับสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 37 ของเงินทุนสำรองต่างประเทศของโลก ทั้งนี้ผู้นำกลุ่ม BRIC แสดงท่าทีที่จะใช้เงินสำรองต่างประเทศซื้อพันธบัตรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสนับสนุนกลุ่ม BRIC ให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กรด้านการเงินระหว่างประเทศและอาจเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นต่อทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินระหว่างประเทศในระยะต่อไป

    นอกจากนี้ กลุ่ม BRIC ยังพยายามหาแนวทางลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีเงินสกุลใดที่มีบทบาทแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้ แต่ประเทศสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ จีนและบราซิลได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายระหว่างกันโดยหันมาใช้เงินหยวนของจีนและเงินเรียลของบราซิลแทนเพื่อเป็นการลดต้นทุนของ 2 ประเทศ ก่อนหน้านี้ทางการจีนพยายามเพิ่มบทบาทเงินสกุลหยวนในเวทีโลกโดยพยายามผลักดันให้หยวนกลายเป็นค่าเงินนานาชาติ โดยทางการจีนได้เริ่มอนุญาตให้ใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินหักชำระบัญชีการค้าระหว่างประเทศในช่วงปลายปี 2551 สำหรับมณฑลของจีนที่มีบทบาทด้านการค้าระหว่างประเทศกับประเทศฮ่องกง มาเก๊า และกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่การยกระดับเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสากลในระยะยาว แม้ว่าบทบาทของเงินหยวนในการค้าโลกในปัจจุบันยังคงมีข้อจำกัดจากกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินเข้าและออกของจีน

    สำหรับประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่ม BRIC ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าการค้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของการค้าระหว่างประเทศของไทยในปี 2551 โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่เศรษฐกิจเติบโตในระดับสูงติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ความต้องการภายในเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระดับทวิภาคีกับอินเดียและความตกลง FTA ระดับภูมิภาคกับจีน (FTA อาเซียน-จีน ในปี 2547 ได้ส่งผลให้การส่งออกและการนำเข้าระหว่างไทยกับจีนและอินเดียเติบโตในระดับสูง ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียและบราซิลยังค่อนข้างน้อย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าการค้าทั้งการส่งออกและนำเข้าระหว่างไทยกับรัสเซียและบราซิลขยายตัวในระดับสูงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2550-2551) แม้ว่าการค้าของไทยกับกลุ่ม BRIC ต้องประสบภาวะหดตัวตามวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศทั่วโลก แต่คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจกลุ่ม BRIC ที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นจะส่งผลขับเคลื่อนให้การส่งออกของไทยไปกลุ่ม BRIC กลับมาขยายตัวได้ดีดังเดิม โดยสินค้าส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะต่อไปตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่ม BRIC ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอาหารแปรรูป

    สำหรับการใช้เงินสกุลหยวนในการค้าระหว่างประเทศนั้นเนื่องจากปัจจุบันไทยยังไม่ได้จัดทำความตกลงแลกเปลลี่ยนเงินตรา (Currency Swap) กับจีน หากไทยพิจารณาจัดทำข้อตกลงสวอปกับจีนบ้าง ดังเช่นประเทศในอาเซียนอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ก็น่าจะทำให้เงินหยวนเข้ามามีบทบาททางการค้าระหว่างประเทศของไทยมากขึ้น และน่าจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐโดยปัจจุบันไทยนำเข้าจากจีนกว่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย ซึ่งจีนถือเป็นประเทศที่ไทยนำเข้ามีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย--จบ--

    ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น

    นักวิเคราะห์ไม่เห็นด้วย BRIC เล็งลดพึ่งพาดอลลาร์ ชี้พันธบัตรสกุลดอลลาร์ให้ผลตอบแทนดีกว่า
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    17 เมษายน 2553
    'BRIC'ร้องปฏิรูประบบการเงิน
    บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน 4 ยักษ์เศรษฐกิจเกิดใหม่ของโลกที่รู้จักกันในนามกลุ่ม BRIC ปิดฉากการประชุมสุดยอดหนที่ 2 ไปเมื่อวันพฤหัสบดี หลังประสานเสียงเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หวังเพิ่มสิทธิ์และเสียงให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
    การประชุมสุดยอดผู้นำ BRIC ครั้งนี้ต้องเป็นไปในแบบรวบรัดตัดความ เนื่องจากประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีนมีความจำเป็นต้องรีบเดินทางกลับไปดูแลผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวที่ชิงไห่เมื่อวันพุธ ซึ่งคร่าชีวิตชาวจีนไปแล้ว 760 ราย
    ประธานาธิบดีลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล เจ้าภาพการประชุม ประธานาธิบดีดมิตรี เมดเวเดฟ แห่งรัสเซีย และนายกรัฐมนตรีมันโมฮัน ซิงห์ ของอินเดีย ต่างส่งกำลังใจผ่านประธานาธิบดีหูไปยังผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวทุกคน
    ผู้นำบราซิลกล่าวแสดงความหวังว่า BRIC จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น หากระบบระเบียบการเงินโลกได้รับการปรับปรุงให้มีความโปร่งใสและยุติธรรมกว่าที่เป็นอยู่
    ด้านนายกรัฐมนตรีอินเดียระบุว่า การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พร้อมยกย่องว่า BRIC เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของโลก
    ส่วนประธานาธิบดีเมดเวเดฟชี้ว่า BRIC เป็นกลุ่มก้อนที่แข็งแกร่ง ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มความร่วมมือแบบหลวมๆ แต่ยังตัดสินใจร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
    แถลงการณ์หลังการประชุม BRIC เน้นย้ำจุดยืนที่อยากจะเห็นระเบียบโลกใหม่แบบเป็นประชาธิปไตยมีหลายขั้วและเท่าเทียม ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิรูปโครงสร้างขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลกเสียใหม่ เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบันที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นทุกวัน
    นอกจากนี้ BRIC ยังพูดถึงความสำคัญของเสถียรภาพค่าเงินดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลหลักของโลก รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงินแบบยั่งยืนเพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีสมดุลของเศรษฐกิจในระยะยาว
    แถลงการณ์ของ BRIC ไม่ได้เอ่ยถึงประเด็นนิวเคลียร์อิหร่านแต่อย่างใด แม้จะมีการพูดถึงอย่างกว้างขวางในการประชุมนอกรอบ หลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกให้เห็นชอบมติคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม
    เวทีประชุม 3 ฝ่าย ระหว่างบราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ ที่จัดขึ้นก่อนหน้า BRIC เห็นพ้องว่าปัญหานิวเคลียร์อิหร่านควรคลี่คลายด้วยวิธีทางการทูต
    ประธานาธิบดีลูลา, นายกฯ ซิงห์ และประธานาธิบดีจาคอบ ซูมา ของแอฟริกาใต้ เห็นตรงกันว่าทางการเตหะรานมีสิทธิ์พัฒนาโครงการนิวเคลียร์เพื่อพลเรือนได้ พร้อมเน้นย้ำว่าประชาคมโลกควรใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหานี้
    ช่วงระยะหลังรัสเซียและจีนสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสประชาชาติซึ่งมีสิทธิ์วีโตมติได้ดูจะมีท่าทางอ่อนลง หลังสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ออกแรงบีบหนักขึ้นให้สนับสนุนแผนคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม แต่บราซิลซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกถาวรยังคงย้ำจุดยืนปกป้องอิหร่านอย่างแข็งขัน.
    'BRIC'ร้องปฏิรูประบบการเงิน | ไทยโพสต์
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    11 กรกฎาคม 2009
    เกมการเงินระดับโลกในมือกลุ่ม BRIC

    คริสตีน ลาการ์ด รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสได้แสดงความกังขาต่อบทบาทยิ่งใหญ่ของดอลล่าร์สหรัฐในโลก ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วจากผลกระทบของวิกฤตการณ์และบทบาทที่ขยายใหญ่ขึ้นของเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งการวิพาษ์วิจารณ์ของบุคคลระดับรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกรายสำคัญของสหภาพยุโรป ทำให้ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการหาเงินสกุลใหม่มาแทนที่ดอลล่าร์สหรัฐในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศกลับมาเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้ง

    จีนเป็นชาติแรกที่เปิดประเด็นเกี่วกับการเฟ้นหาเงินสกุลใหม่มาเป็นทางเลือกในทุนสำรองของทั่วโลก และแสดงความต้องการชัดว่าอยากให้มีการหารือในประเด็นนี้ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ จี - 8 ที่อิตาลีด้วย รอยเตอร์สอ้างคำกล่าวของแหล่งข่าวซึ่งเปิดเผยว่าอินเดียและ บราซิล สมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ดาวรุ่ง ( BRIC ) ร่วมกับจีนและรัสเซียสนับสนุนข้อเรียกร้องของจีน ขณะที่สมาชิกกลุ่มจี -8 บางประเทศยังไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอยู่ ในจำนวนนั้นรวมถึง ญี่ปุ่นและแคนาดาที่คาดว่าจะแสดงท่าทีสนับสนุนการคงสถานะของดอลล่าร์ต่อไป

    ความพยายามผลักดันให้เกิดเงินสกุลทางเลือกมาแทนที่ดอลล่าร์มาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐที่อ่อนแอลง อย่างไรก็ดี จากข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศพบว่าในไตรมาสแรกของปี 2552 การถือครองสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์ในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของทั่วโลกมีสัดส่วนราว 65%

    จีนซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ถือครองสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์มากที่สุดได้พยายามกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของดอลล่าร์สหรัฐด้วยการอนุญาตให้มีการทำธุรกรรมการค้าขายชายแดนเป็นเงินสกุลหยวน โดยธนาคารกลางจีนได้อนุญาตให้บริษัทจำนวนหนึ่งชำระธุรกรรมการค้าด้วยเงินหยวนผ่านสถาบันการเงิในฮ่องกงและมาเก๊าเป็นกรณีนำร่อง จากนั้นจะอนุญาตให้เมืองต่างๆ ทางตอนใต้ของประเทศทำธุรกรรมในลักษณะนี้ได้ในภายหลัง เช่น เดียวกับกาเรปิดทางให้พันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้หยวนเป็นเงินสกุลหลักในการทำการค้ากับมณฑลทางตอนใต้ อาที ยูนนานและกวางสี

    เว็บไซต์ asianews.it ตั้งข้อสังเกตว่าในระยะสั้นการเคลื่อนไหวของจีนอาจไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่การออกกฏเกณฑ์ใหม่ของจีนก็เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ชี้ชัดว่ารัฐบาลปักกิ่งต้องการเพิ่มการใช้เงินสกุลหลักของประเทศในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าข้อสรุปเวทีจี-8 เกี่ยวกับอนาคตของดอลล่าร์จะลงเอยอย่างไร แต่อีกหนึ่งทางเลือกซึ่งเริ่มมีพลังในระยะหลังๆ คือการกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดทำระบบทุนสำรองของโลกที่ประกอบด้วยเงินสกุลหลักหลายสกุล ( divesification ) แต่กระนั้นนักเศรษฐศาสตร์บางรายเตือนว่าแนวทาง divesification อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะแทนที่ระบบเดิม เนื่องจากจะมีช่องของการระบายสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์ที่ถือครองอยู่ออกมาในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงเร็วเกินไป

    เจฟฟรีย์ แซกส์ ผู้อำนวยการสถาบันการเงินในโลกของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐ กล่าวว่า ดอลล่าร์สหรัฐไม่ควรจะรับผิดชอบระบบการเงินโลกไว้ทั้งหมด ดังนั้นจีงมีความจำเป็นต้องมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการเงินในโลกใหม่ที่จริงจังและมีความต่อเนื่อง เนื่องจากหลังผ่านระยะเวลาเปลี่ยนผ่านแล้ว ดอลล่าร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปประมาณ 20-25 % เพื่อสร้างความสมดุลใหม่ให้กับระบบการเงินโลก

    ศาสตราจารย์แซกส์เสนอแนะว่าควรมีการปรับสูตรในการคำนวณสิทธิพิเศษในการถอนเงินหรือเอสดีอาร์ใหม่ โดยครอบคลุมเงินสกุลอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นรวมถึงเงินหยวนของจีน เพื่อทำให้เอสดีอาร์มีฐานที่ครอบคลุมเงินสกุลต่างๆมากขึ้น

    ด้าน ลอว์เรนซ์ เจ เหลา อธิการบดีมหาลัยไชนิสยูนิเวอร์ซิตี้ออฟฮ่องกง เชื่อว่าในอนาคตจะไม่มีเงินสกุลเดียวที่เป็นเงินสกุลหลักในทุนสำรอง โดยคาดว่าจะมีสกุลเงินทางเลือกเกิดขึ้นดังกรณีการจัดตั้งธนาคาเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ในเอเชียตะวันออก และการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่น

    เขาคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้ที่ หยวน ของจีนจะแทนที่ดอลล่าร์สหรัฐในเอเชียตะวันออก

    เกมการเงินระดับโลกในมือกลุ่ม BRIC
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    Phase II.......Part 1 of ( ทำลายกรอบความคิด )


    ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่าน อาจจะยังสงสัยครับ ว่าสิ่งที่ผมเขียนมาทั้งหมดว่าเรื่องไหนจริง เรื่องไหนเป็นเพียงทฤษฏีสมรู้ร่วมคิด ซึ่ง "จะเชื่อเลยทั้งหมดก็ไม่ได้ แต่จะไม่เชื่อก็ไม่ได้" เพราะมันก็เห็นๆ กันอยู่ แล้วก็คิดกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น.......ซึ่งไม่แปลกครับ


    ผมจะบอกให้ครับว่าทำไม สมองและความนึกคิดของเราทำงานอย่างไร และอะไรซึ่งทำให้เราคิดอย่างนั้น เพราะทุกสิ่งที่คุณรับรู้จากข่าวสารและสถานการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันก็เป็นอย่างนั้น แล้วกำลังมุ่งไปในทิศทางนั้นจริงๆ แต่ในอีกห้วงความคิดคุณก็อาจจะคิดว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น!!!

    นั่นก็เพราะสมองของคุณถูก "โปรแกรม" มาให้เชื่อในสิ่งที่เห็นแค่นั้นไงครับ แต่เรียกให้ฟังดูดีว่า "เรียนรู้" มา "ให้เชื่อ" ในสิ่งที่เค้า "โกหก" ว่าเป็นความจริงไงครับ และคนส่วนใหญ่ก็คิดว่านั่นคือความจริงของโลกใบนี้ทั้งหมด เช่นเค้าบอกเราว่า บิล เกต เป็นคนที่รวยที่สุดในโลก ใครบอกครับ นิตยสาร์น "Forbes" ทุกคนเชื่อครับ แต่ไม่เคยคิดว่าทำไมเราต้องไปเชื่อ "Forbes" ล่ะ แล้ววันนี้มีผมมาบอกคุณว่าไม่ใชบิล เกต แต่เป็น [ame="http://www.youtube.com/watch?v=v4kZd4Roies"]Sir Everlyn Rothchild หรือเซอร์เอเวอรินน์ ร๊อทไชล์[/ame] ที่เป็นมือการเงินของพระราชินีอลิซเบ๊ธที่ 2 ของอังกฤษ และเป็นเจ้าของ Bank of England และ[ame="http://www.youtube.com/watch?v=emWGKI0GfDE"]เครือข่ายธนาคารกลางของโลก โดยเฉพาะธนาคารสวิตซ์[/ame] รวมทั้ง FED ของสหรัฐ........คุณจะรู้สึกยังไงครับ



    ผมเชื่อว่าหลายๆ คนจะปฏิเสธทันทีว่า "ไม่ไช่" ต้องเป็นบิล เกต สิ เพราะ Forbes บอกอย่างนั้น นั่นแหละครับคือปัญหา เพราะถ้าลองค้นดูข้อมูลซักหน่อยคุณจะพบความจริงว่า Fobes เป็นเพียงแม๊กกาซีนระดับโลกฉบับหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเครือข่ายธุรกิจสิ่งพิมพ์ ที่รวมทั้งหนังสือพิมพ์ The Sun, Wall Street Journal และอีกสารพัดในเครือ ซึ่งมีเจ้าของ "คนเดียวกัน"

    มีคติพจน์ของฝรั่งอยู่บทนึงที่ต้องทำความเข้าใจคือ "ถ้าคุณสามารถโกหกเรื่องใดเรื่องหนึ่งและกรอกหูคนได้ทุกวันอย่างต่อเนื่องและยาวนานพอ คนเหล่านั้นจะคิดว่าเป็นเรื่องจริง" และเชื่อไม๊ครับว่าโลกใบนี้ถูกคนกลุ่มหนึ่ง "โกหก" มาตลอดนับ 100 ปี และนี่ก็คือทฤษฏีของการโฆษณาชวนเชื่อ ที่ใช้กันในวงการสื่อแทบทุกชนิด ก็คือการยิงข้อความถี่ๆ ซ้ำๆๆๆๆๆ จนกลายเป็นความเชื่อและเป็นความจริงในชีวิตของคนๆนั้นไปในที่สุด และที่แย่ไปกว่านั้นคือความเชื่อ "ที่ผิดๆ" เหล่านั้นถูกถ่ายทอดมายังรุ่นลูก รุ่นหลานสืบมา



    ซึ่งผมก็เป็นเหมือนกับที่คุณเป็นครับ ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกัน แต่อาจจะมีบางสิ่งที่ผมแตกต่างออกไปบ้างคือ จากประสบการณ์ในการทำธุรกิจทำให้เชื่อและวางใจอะไรง่ายๆไม่ได้ครับ โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะพลิกชีวิตเราไปมาได้ในทันที อันนี้ไม่ได้เลยครับ ต้องไม่ใช่แค่รู้หรือเข้าใจ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วโอกาส "พลาด" มีสูงมากกกก และในบางช่วงบางวัยของชีวิตเราคงจะ "เจ๊งซ้ำเจ๊งซาก" ไปไม่ได้ตลอด ก็คือบทเรียนที่ผ่านมามันสอนเราครับ


    โดยเฉพาะเรื่องทั้งหมดที่คุณกำลังอ่านจากบล๊อกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มันคือประวัติศาสตร์ครับ ซึ่งก็คือเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้ในอดีต จากหลายแหล่งที่มา ที่จะเป็นตัวกำหนด "อนาคต" ของโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่เคยสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์หรือไม่มีพื้นเลย คุณ "อาจจะ" ไม่เข้าใจหรือมองไม่เห็นในสิ่งที่ผมพยายามสื่อครับ ไม่ใช่ว่าผมเก่งกว่าหรือรู้มากกว่า แต่ก็เพราะผมทุ่มเทเวลาที่จะศึกษามัน ถ้าคุณมีแต่องค์ความรู้ไหม่ๆ ทันสมัยอยู่เต็มหัว โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ แต่คุณไม่เคยรู้ว่า "ครอบครัวร๊อธไชล์" และกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในระดับโลกเหล่านี้ เป็นใคร??? มีที่มาและมีบทบาทต่อระบบเศรษกิจ การเมือง สังคม โดยเฉพาะการเงินของโลกใบนี้อย่างไร เชื่อเถอะครับว่าองค์ความรู้เหล่านั้นที่ไปร่ำเรียน" แทบจะใช้งานไม่ได้เลยครับในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของวิกฤติการณ์ครั้งสำคัญๆและเราจะกลายเป็น "เหยื่อ" ครับ


    ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ ในวิกฤติการณ์เศรษฐกิจครั้งร้ายแรงของไทย เมื่อปี 2540 คุณว่า "คณะ" บุคคลนักเศรษฐกิจและนักเศรษฐศาสตร์ที่บริหารประเทศเรา ซึ่งยังไม่นับรวมนักวิชาการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่รวมคณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจทั้งที่เป็นคนไทย และจ้างพิเศษมาจากต่างประเทศ ซึ่งใช้งบประมาณแผ่นดินไปเป็นร้อยๆ ล้านบาทต่อปี ท่านทั้งหลายเหล่านั้น "มีความสามารถ" ไม๊ครับ คำถามคือทำไมเราจึงล้มไม่เป็นท่าขนาดนั้น ยังไม่พอครับ ชักชวนเพื่อฝูงล้มตามกันไปทั่วเอเซีย นั่นก็คือ ทุกคนที่อยู่ในทีมที่แก้สถานการณ์นะเวลานั้น รู้ในสิ่งเดียวกัน เรียนมาในระบบเดียวกัน หรือใช้ทฤษฏีเดียวกันนั่นเองครับ แล้วทฤษฏีนั้นใครถ่ายทอดมา ลองคิดกลับไปที่เรื่องบิล เกตและฟอร์บที่ผมยกตัวอย่างไว้ คงพอจะนึกออกแล้วนะครับ


    เพราะกลุ่มคนที่เค้าจะเข้ามาล้มระบบเรา เค้ารู้หมดแล้วว่าเรารู้อะไร เพราะเค้าเป็นคนที่บอกให้เราเชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ไงครับ แต่เวลาที่เค้าโจมตีเราเค้าก็ใช้อีกทฤษฏีหนึ่งที่เราไม่เคยรู้ หรือที่เราคิดว่า "เป็นไปไม่ได้ และไม่มีอยู่จริง" เพราะเรา...ติดกับดัก...ซึ่งก็คือกรอบความคิดที่อยู่ในสมองเราเองไงครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่าการไม่รู้ซะอีก เพราะถ้าเราคิดว่าเราไม่รู้ เราอาจจะไฝ่หรือขวนขวายที่จะรู้ แต่ถ้าเราบอกตัวเราเองว่าเรารู้หมดแล้ว เราสุดยอดแล้ว นั่นแหละครับ "คุณเสร็จพวกเค้าแล้ว"


    เราลองมาดูตัวอย่างกรอบความคิดเหล่านี้แล้วลองทำลายมันลงไปจากสมองของคุณครับ แล้วลองโปรแกรมสิ่งเหล่านี้เข้าไปใหม่ แล้วคุณจะเชื่อมโยงเรื่องราวอีกหลายๆ อย่างในโลกใบนี้ได้อย่างลงตัวครับ ...


    1.กลุ่มอิลลูมินาติไม่มีอยู่จริง เป็นเรื่องแต่ง มีอยู่แต่ในหนังของแดน บราวน์เท่านั้น เพราะฉะนั้น "ต้อง" ไม่เป็นเรื่องจริง


    ทั้งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้อย่างมากมายในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ และหาอ่านได้ตามห้องสมุดทั่วไปในประเทศตะวันตก มีตัวตนอยู่จริงในทุกช่วงเวลาที่สำคัญของประวัติศาสตร์ แต่เอกสารส่วนใหญ่จะอยู่ในภาษาอังกฤษ และอยู่ในซีกโลกตะวันตก ถ้าวันนี้ไปถามฝรั่งว่ารู้จัก "เสรีไทย" ไม๊ ก็คงจะได้คำตอบว่าไม่รู้ และคงไม่มีเพราะไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่บังเอิญว่าเสรีไปไทยไม่เคยไปยึดครองประเทศไหนแล้วจะเปลี่ยนแปลงโลก ก็คงไม่จำเป็นที่เค้าจะต้องมารู้จัก แต่กับอิลลูมินาติ มันต่างกัน ในงานเขียนที่ผ่านมาผมจะโฟกัสไปในสิ่งที่เค้าจะผลักดันหรือทำมากกว่ารู้ว่าเค้าชื่ออะไรครับ


    2. สหรัฐอเมริกา ล้มไม่ได้หรอก เพราะมีทองเยอะมากตั้ง 8,000 ตันแน่ะ เพราะถ้าล้มแล้วก็จะล้มกันไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นล้มไม่ได้หรอก เดี๋ยวก็ฟื้น เหมือนที่ผ่านมาแหละ


    อันนี้คนที่คิดเตรียมล้มนำไปก่อนอเมริกาได้เลยครับ หรือเมื่อเวลามาถึงแล้วคุณหมดตัวแน่นอน


    3.สมาคมลับต้องเป็นสมาคมลับสิ จะนำเรื่องราวต่างๆ ออกมาเปิดเผยได้ยังไง เพราะฉะนั้นต้องไม่มีจริง


    เมื่อ 100 ปีที่แล้วเค้าเป็นสมาคมลับครับ และต้องทำอะไรหลบซ่อนๆ ความเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะใต้ดินทั้งหมด เพราะยังไม่มีอำนาจพอ โลกโดยรวมอยู่ในระบบกษัตริย์ อำนาจสิทธิ์ขาดยังอยู่ในมือกษัตริย์ของประเทศต่างๆ แต่วันนี้เค้ายึดไปหมดแล้วครับ ล้มชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทั้งยุโรป อังกฤษ สหรัฐ เอเซีย จีนและอีกกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่แผ่อิทธิพลโดยการไปตั้งฐานที่มั่นทางทหารไว้ (เราก็เป็นหนึ่งในนั้น) แล้วกำลังจะถึงเวลา "เชคบิล" ส่วนที่เหลือแล้วครับ จะปิด จะเปิด จะลับไม่ลับ คงไม่ได้มีความหมายอะไรแล้ว เค้าก็พูดอยู่ทุกวันประกาศปาวๆว่าข้านี้แหละคือ วาระโลกใหม่ หรือ [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7a9Syi12RJo"]New World Order หรือ New World Agenda[/ame] พูดใน[ame="http://www.youtube.com/watch?v=m89SB59DT34&feature=related"]ทุกเวทีผู้นำในระดับโลก[/ame] การประชุมก็เปิดเผยแล้ว[ame="http://www.youtube.com/watch?v=jg0pDtr53Qg"](CFR, Bilderberg)[/ame] ก็คือเค้าไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ หรือทำอะไรลับๆ อย่างในอดีต นอกจากการลอบสังหาร การก่อสงคราม และต้องเข้าใจอย่างนึงครับว่า


    " ทุกวันนี้ที่เราเกิดมา เราอยู่ในโลกของพวกเค้า เค้าไม่ได้อยู่ในโลกของเรา "


    แต่เราเองกลับไปคิดว่าเค้าเป็นสมาคมลับ ต้องเป็นความลับสิ แต่พอเค้าเปิดเผยตัวแล้ว ทำเรื่องสารพัดในระดับโลก แต่เรากลับไปคิดว่าพวกเค้าไม่มีอยู่จริง และเป็นเพียง "ทฤษฏีสมรู้ร่วมคิด"


    4.กระดาษที่อยู่ในกระเป๋าเราคือเงินจริงๆ เพราะเราเรียกมันว่าเงิน และแบงค์ดอลล่าสหรัฐก็ต้องเป็นเงินด้วย


    อันนี้ไม่นานคงได้คำตอบครับ ไม่นานเลยจริงๆ


    5. นักวิชาการบ้านเราเรียกพวกเค้าว่า "World Fund" หรือหนักกว่านั้นคือเหมารวมไปเลยว่าเป็น "Hedge Fund" ซึ่งพวกเค้านำเสนอจอร์จ โซรอสให้ออกหน้าแทนคนเดียว และก็ไม่รู้ว่าพวกเค้าเป็นใคร มีรากฐานมาจากไหนและมีความเป็นมาอย่างไร เจ้า "World Fund" แต่พอมารู้อีกที เราและอีกหลายๆประเทศล้มระเนระนาดแล้ว โดนเข้ามาตีซ้ำอีกในตอนหลังทั้งจากภายนอกและภายใน โดนเจ้า World Fund อีกแล้ว.....ฮึ่ม แล้วนักวิชาการเหล่านั้นก็เขียนหนังสือเขียนทฤษฏีออกมาขายมากมายเพื่อจะอธิบาย เป็นครูบาอาจารย์สอนเรื่อง "World Fund" ***ถ้าเรายังไม่รู้เลยครับว่าเค้าเป็นใคร แล้วเราจะไปรับมือกับเค้าได้ยังไง***


    6.นักวิชาการอีกบางส่วนไปโทษตลาดหุ้นเป็นต้นกำเนิดของปัญหาทั้งมวล ซึ่งก็ถูกบางส่วนครับ แต่คนที่ออกแบบและวางโครงสร้างตลาดหุ้นนี่สิที่เป็นตัวปัญหาจริงๆ เพราะเค้ารู้ระบบทุกอย่างเพราะเค้าใช้มาก่อนเราเกือบ 100 ปี แล้วด้วยโครงสร้างเดียวกันทั่วโลก พวกเค้าก็เข้าไปทุบตลาดโน้นที ตลาดนี้ที ขนเงินเข้า ขนเงินออก ทำกำไรแล้วก็กลับบ้าน เรากลับมาโทษกันว่านั่นเป็นเพราะการมีตลาดหุ้น "ผิด"


    7.ทุกอย่างเป็นไปตาม "ระบบการค้าเสรี" "กลไกตลาด" "ดีมานด์และซัพพลาย" และเป็น "เป็นวัฐจักร"


    ประเทศไหนที่ปล่อยให้ระบบประเทศตัวเองให้เป็นไปตามนี้ รับรองครัวว่า โดนเข้าไป "ล้มและตกเป็นทาส" ทางเศรษฐกิจแทบทุกประเทศครับ


    8.เศรษฐกิจมีขึ้นมีลงเป็นวัฐจักร


    "วัฐจักรของเศรษฐกิจ" มีขึ้นก็ย่อมมีลง แต่คุณรู้หรือไม่ครับว่า "วิกฤติการณ์เศรษฐกิจ" ในรอบ 100 ปีผ่านมาของทุกประเทศทั่วโลก บางส่วนเกิดจากการคอรัปชั่น แต่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ ใน The Great Depression นั่นก็คือน้ำมือมนุษย์ทำทั้งหมดครับ โดยวิธีการควบคุมปริมาณเงินในระบบของ FED ในสมัยนั้น "และเมื่อเป็นวิกฤติของคุณกลุ่มหนึ่ง ก็จะเป็นโอกาสของคนอีกกลุ่มหนึ่งเสมอ" การทุบตลาดหุ้นหลักๆครั้งใหญ่หลายๆ ครั้ง จะมีคนที่ได้ประโยชน์เสมอ ไม่ใช่ว่าเค้ารู้ทันครับ แต่เค้ารู้ "ก่อน" เพราะทำเองครับ


    9.สงครามและความเปลี่ยนแปลงระบอบที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดของมนุษยชาติไม่ได้เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง แต่เกือบทั้งหมดเป็นการ "เสี้ยม" เพื่อให้เกิด เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากสงครามนั้นๆ ตั้งแต่ WW1, WW2, สงครามเวียดนาม, สงครามเกาหลี, การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการล้มเจ้า ล้มกษัตริย์ในประเทศต่างๆ


    ทั้งหมดก็เป็นตัวอย่างบางส่วนครับ เพื่อให้เห็นว่าทำไมและอะไรเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา ทำไมเรามองบางอย่างไม่เห็นทั้งที่มันอยู่ตรงหน้า ทั้งหมดเป็นมุมองส่วนตัว ซึ่งอาจจะให้ไอเดียหรือจุดประกายความคิดอะไรได้บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ครับ


    ลองมาดูประวัติศาสตร์สำคัญกันซักหน่อยครับ คือเรื่อง FED, IRS กับการเก็บภาษี CIA และทิศทางของอเมริกาในอนาคต โดยเฉพาะเรื่อง IRS ผมค้นพบความลับอย่างหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐครับ ในช่วงก่อนจะกลับมาอยู่ประเทศไทย คือ

    เราไม่ต้องไฟล์ 1040 หรือจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ลองศึกษาเรื่องนี้ให้ดีสิครับ เพราะไม่กฏหมายใดๆรองรับ หรือระบุไว้เลยซักข้อเดียวในกฏหมายภาษีหรือแม้แต่รัฐธรรมนูญสหรัฐ แล้วคนที่จ่ายทั้งหมดก็เพราะความไม่รู้ และคิดว่าเป็นกฏหมาย กลัว IRS มาจับเข้าคุก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดในสหรัฐ เป็น "Valuntary Base" หรือภาคสมัครใจทั้งสิ้น ก็คือจะไม่จ่ายก็ได้ เค้าไม่สามารถบังคับเราได้ครับ โดยมีลายลักษณ์อักษรโดยเป็นคำสั่งของ Supreme Court หรือ ศาลฏีกาของสหรัฐออกมาในเรื่องนี้ว่าเป็นการผิดรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่ IRS ส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ในข้อกฏหมายเหล่านี้ และทำตามหน้าที่เท่านั้น

    และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมเค้าถึงต้องเอาเรื่องเสียภาษีเงินได้ หรือ Tax Return นี้ไปผูกติดกับระบบเครดิต การเงิน การธนาคารไงครับ เพื่อเป็นการบังคับทางอ้อม แต่ก็ไม่มีกฏหมายรองรับอยู่ดี ถ้ายังจำกันได้ เรื่องนี้ที่โด่งดังที่สุดก็คือกรณีที่การเข้ารัฐตำแหน่งของนายทิม ไกเนอร์ รัฐมนตรีคลังคนปัจจุบันในรัฐบาลโอบาม่า ออกมาเปิดเผยว่าตนเองก็ไม่เคยจ่ายภาษีเงินได้ จนมาถึงการเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว

    แล้วรู้ไม๊ครับว่าเงินภาษีที่เค้าเก็บในส่วนนี้ถูกนำไปที่ไหน คำตอบคือ...จ่ายเป็น "ดอกเบี้ย" ให้ FED โดยรัฐบาลสหรัฐที่กู้ยืมเงินมาตลอดตั้งแต่ 1913 ไงครับ แล้วใครเป็นคนตั้ง IRS รู้ไม๊ครับ ก็คือ FED โดยสภาคองเกรสผ่านทางร่างกฏหมาย Federal Reserve Act : 1913 นั่นเอง รู้แล้วก็เหยียบไว้นะครับ และที่ผม "ต้อง" รู้เรื่องนี้ก็เพราะอีกอาชีพหนึ่งของผมก็คือรับจัดทำภาษีหรือไฟล์เจ้าแบบฟอร์ม 1040 นี่เอง


    และในหนังสารคดีเรื่องนี้ "America : From Freedom to Fascism" โดยนาย Arron Russo ซึ่งเสียชีวิตแล้วและเป็นผู้สร้างหนังฮอลลีวูดอีกหลายๆเรื่องที่เคยได้รับรางวัลใหญ่มาแล้ว ที่สำคัญยังเป็นคนวงในของกลุ่มอิลลูมินาติ ได้ฝากผลงานชิ้นสุดท้ายไว้และได้เปิดเผยความจริงเหล่านี้ไว้ให้คนรุ่นได้รับรู้ครับ.......อย่าพลาดครับ!!!


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/8NpTVXitOQk?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0xe1600f&color2=0xfebd01 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>





    ยังมีอีกมากครับที่เรามองเห็นมันในแบบที่เค้าอยากให้เราเห็น ซึ่งเราไม่เคยมองไม่เห็นในสิ่งที่มันเป็นครับ.......

    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1



    โพสต์โดย What's going on in America โพสต์เมื่อ <A class=timestamp-link title="permanent link" href="http://jimmysiri.blogspot.com/2010/12/phase-iipart-1-of.html" rel=bookmark><ABBR class=published title=2010-12-14T11:51:00+07:00>11:51 ก่อนเที่ยง</ABBR> 0 comments [​IMG] [​IMG]






    <SCRIPT type=text/javascript>if (window['tickAboveFold']) {window['tickAboveFold'](document.getElementById("latency-3307888246199111864")); } </SCRIPT>USA Today...to the End of Civilization.......Detroit, Michigan


    [​IMG]
    มืองดีทรอยท์ ในรัฐมิชิแกน เคยถูกขนานนามว่าเป็น "Motor City" หรือเมืองแห่งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แห่งศตวรรษที่ 20 แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นเมืองที่มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดในสหรัฐ คือ 25% และพื้นที่กว่า 80% ของเมืองปิดตัวลงและถูกทิ้งร้างว่างเปล่า ( US Most Abandoned City ) จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ย้ายฐานการผลิตออกไป และเหลือไว้แต่เพียงความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ของเมืองนี้


    [​IMG]



















    [​IMG]



















    ด้วยปัญหาของงบประมาณที่เข้าขั้นวิกฤติ เทศบาลเมืองจึงตัดสินใจหยุดพักการเก็บขยะทั้งหมดของเมือง และลดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยออกตรวจในที่ต่างๆ เหลือเพียง 20% ของพื้นที่ และคาดว่าเมืองดีทรอยต์ ในรัฐมิชิแกน จะเข้าสู่ภาวะ "ล้มละลาย" ในปี 2011 นี้


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/yIgC5whSP8E?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 width=500 height=306 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/1hhJ_49leBw?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 width=500 height=306 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>





    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America โพสต์เมื่อ <A class=timestamp-link title="permanent link" href="http://jimmysiri.blogspot.com/2010/12/usa-todayto-end-of-civilizationdetroit.html" rel=bookmark><ABBR class=published title=2010-12-14T10:34:00+07:00>10:34 ก่อนเที่ยง</ABBR> 0 comments [​IMG] [​IMG]






    <SCRIPT type=text/javascript>if (window['tickAboveFold']) {window['tickAboveFold'](document.getElementById("latency-8414724608215341613")); } </SCRIPT>USA Today...to the End of Civilization.......Las Vegas, Nevada


    [​IMG]คุณคงพอจะได้เห็นภาพเหล่านี้มาผ่านตามาบ้างแล้วนะครับ จนถึงวันนี้อัตราการว่างงานจริงของสหรัฐ หรือ U6 คงจะอยู่ที่ 17%-22% และสูงสุด 25 % ในบางรัฐเช่น มิชิแกน






    ณ วันนี้มีคนอเมริกันที่ ตกงาน โดนยึดบ้าน ต้องทิ้งบ้าน ทิ้งที่อยู่อาศัยเพราะผ่อนจ่ายไม่ไหวจำนวนมหาศาลอาจจะสูงถึง 11-12 ล้านรายนับจนถึงปัจจุบัน นับจากการเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้คือ 2007-2008


    [​IMG]

    ลาส เวกัส ในรัฐเนวาด้า ที่ถือได้ว่าเป็นเมืองการพนันที่ใหญ่ที่สุดของโลกหรือที่เรียกกันว่าเมืองคนบาป (Sins City) หรือ American Playground ที่มักจะใช้เรียกกันในหมู่คนอเมริกัน มีกว่า 1,000 ชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่ใน "อุโมงค์ส่งน้ำ" (Flood Tunnel) ใต้พื้นถนนของเมืองแห่งนี้ แล้วปริมาณผู้ต้องอาศัยอุโมงค์เหล่านี้เป็นที่หลับนอนก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ


    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG]
    [​IMG]





























    Link :
    The tunnel people of Las Vegas: How 1,000 live in flooded labyrinth under Sin City's shimmering strip


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/pDwHy8limtU?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/1hJvC8d8Gnw?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 width=480 height=385 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>
    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/qnwulGZe_lo?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 width=480 height=295 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>​

    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri
    บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1



    โพสต์โดย What's going on in America
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=300 height=20>ภาพรัฐภูเขาที่เห็น 7 รัฐและเนวาด้าที่อยู่ค่อนมาทางตะวันตกนั้นถือเป็นการแบ่งเวลาหรือ Time zone</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=3 height=724><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD vAlign=top width=592 height=724>
    8 รัฐภูเขาตะวันตกอยู่ไหนบ้าง<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    ขณะนี้การว่างงานเพิ่ม 9.3 % <O:p></O:p>
    สหรัฐได้แบ่งพื้นที่เรียกเขตต่างๆให้เข้าใจง่ายขึ้นดังเช่นได้เรียก 8 รัฐทางตะวันตกว่าเป็นรัฐภูเขา(the Mountain States หรือ the Mountain West) ก็เป็นที่เข้าใจกัน โดยแยกรัฐภูเขาเหล่านี้ออกเป็น 2 ส่วนประกอบด้วยรัฐตะวันตกเฉียงเหนือ(Northwest)ประกอบด้วย <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:STATE><ST1:pLACE>Idaho</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>Montana</ST1:pLACE></ST1:STATE> และ<ST1:STATE><ST1:pLACE>Wyoming</ST1:pLACE></ST1:STATE> ส่วนตะวันตกเฉียงใต้(Southwest)ประกอบด้วยรัฐ <ST1:STATE><ST1:pLACE>Arizona</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>New Mexico</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>Colorado</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>Nevada</ST1:pLACE></ST1:STATE> และ<ST1:STATE><ST1:pLACE>Utah</ST1:pLACE></ST1:STATE> <O:p></O:p>
    เหตุที่เรียกว่ารัฐภูเขาได้ถือเอาเทือกเขาร้อคกี้(the <ST1:pLACE>Rocky Mountains</ST1:pLACE>)เป็นแนวยาวจากเหนือจดใต้ เมืองใหญ่ที่สุดของรัฐภูเขาคือฟินิกซ์ตามด้วยเดนเวอร์และลาส เวกัส <O:p></O:p>
    ส่วนรัฐที่เรียกว่าแปซิฟิก(the Pacific States)ประกอบด้วย <ST1:STATE><ST1:pLACE>Alaska</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>California</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>Hawaii</ST1:pLACE></ST1:STATE>, <ST1:STATE><ST1:pLACE>Oregon</ST1:pLACE></ST1:STATE> และ <ST1:STATE><ST1:pLACE>Washington</ST1:pLACE></ST1:STATE> นอกจากนี้ยังแยกออกเป็นภูมิภาคอาทิเช่น Northeast, South และ <ST1:pLACE>Midwest</ST1:pLACE> เป็นต้น <O:p></O:p>
    ประเด็นที่จะพูดถึงก็คือปรากฎว่ารัฐภูเขาเหล่านี้อัตราการว่างงานเพิ่มรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆกล่าวคือการว่างงานปัจจุบันอยู่ที่ 9.3 % หรือพุ่งจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 8.7 % ขณะที่อัตราการว่างงานของสหรัฐอยู่ที่ 9.6 % <O:p></O:p>
    โดยความเป็นจริงแล้วงานการของภูมิภาคนี้อยู่ในระดับมีเสถียรภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่องเหตุเพราะมีการเคลื่อนย้ายคนหนุ่มสาวเข้าไปอยู่รวมทั้งคนในแคลิฟอร์เนียทำให้ภูมิภาคเติบโตโดยเฉพาะในรัฐนิว เม็กซิโกและมอนทานา เมืองที่อสังหาริมทรัพย์บูมมากที่สุดคือเมืองบอยซี่(<ST1:CITY><ST1:pLACE>Boise</ST1:pLACE></ST1:CITY>),ซอลท์ เลก ซิตี้และเดนเวอร์<O:p></O:p>
    รัฐที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเนวาด้าและอริโซนาเพราะการก่อสร้างบ้านบูมมาก เมื่อเศรษฐกิจถดถอยจึงได้รับผลกระทบมาก ส่วนอีก 6 รัฐถือว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นไปอย่างปกติดังนั้นปัญหา subprime จึงเกิดน้อย <O:p></O:p>
    แต่ปัญหาย่อมได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่กล่าวคือการซื้อขายบ้านซบเซา ราคาบ้านตก ในรัฐไอดาโฮ,โคโลราโด้และมอนทานา คนงานก่อสร้างหลายพันคนตกงาน อุตสาหกรรมป่าไม้หลายบริษัท สูญเสียธุรกิจเพราะเมื่อการก่อสร้างลด ความต้องการไม้ก็ลดลงไปด้วย<O:p></O:p>
    ในภาคการท่องเที่ยวรัฐเหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ชอบเที่ยวในหิมะหรือภูเขาธรรมชาติ แต่เมื่อเศรษฐกิจถดถอย นักท่องเที่ยวก็ถดถอยตามไปด้วย<O:p></O:p><O:p></O:p><O:p></O:p>
    ไอดาโฮ่ได้รับผลกระทบมากในปี 2009 เหตุเพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์เช่น Micron Technology และ Hewlett-Packard <ST1:pLACE>Co.</ST1:pLACE> ลอยแพคนงานหลายพันคน แม้ว่าอุตสาหกรรมนี้จะกลับมาแต่การจ้างงานกลับไม่เพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็น ปัจจุบันจำนวนคนในไอดาโฮที่รับแสตมป์อาหาร(food stamps)จากรัฐมีปริมาณเพิ่มขึ้น<O:p></O:p>
    รัฐมอนทานาถือว่าอัตราการว่างงานพุ่งเร็วที่สุดในประเทศเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์กล่าวคือเมื่อเดือนกันยายน 2009 การว่างงานเพิ่มจาก 6.5 เป็น 7.4 % เกิดจากอุตสาหกรรมป่าไม้และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรวมกัน <O:p></O:p>
    แม้ว่ามอนทานาจะมีสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงอาทิเช่น<ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Glacier</ST1:pLACENAME><ST1:pLACETYPE>National Park</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> หรือ <ST1:pLACE>Yellowstone</ST1:pLACE> แม้กระทั่ง <ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Flathead</ST1:pLACENAME><ST1:pLACETYPE>Valley</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> ซึ่งเป็นสกีรีสอร์ต เขานี้อัตราการว่างงานสูงสุดอยู่ที่ 14 % เมื่อถึงเดือนมีนาคม 2010 แม้ว่าในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา <ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Glacier</ST1:pLACENAME><ST1:pLACETYPE>National Park</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> จะฉลองครบรอบ 100 ปี มีนักท่องเที่ยวกลับไปเที่ยวมากขึ้นก็ตามแต่การจ้างงานไม่ได้กระเตื้องแม้แต่น้อย <O:p></O:p>
    รัฐไอดาโฮ ก็ได้รับผลกระทบมากอัตราการว่างงานอยู่ที่ 9 % ในปัจจุบัน เมื่อเดือนธันวาคม 2007 รัฐนี้มีอัตราการว่างงานเพียง 3.5 % ที่เมืองบอยซี่ (Boise)ราคาบ้านลดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่มีการก่อสร้างทำให้ตำแหน่งงานก่อสร้าง 4,000 ตำแหน่งต้องถูกลอยแพ<O:p></O:p>
    ตัวอย่างเช่นคอนโดมิเนียมในดาวทาวน์ไอดาโฮ่เพิ่งก่อสร้างเมื่อปี 2008 รวม 75 ยูนิต เมื่อเศรษฐกิจถดถอยนายสก๊อต คิมบอล นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เมืองบอยซี่ได้นำออกประมูล เพราะยังเหลือว่างอยู่ถึงครึ่ง โดยเริ่มจากการตั้งราคา 99,000 ดอลลาร์ต่อยูนิตสำหรับแบบ studio และแบบ 1 ห้องนอนหรือคิดเป็นครึ่งราคาที่เคยตั้งไว้<O:p></O:p>
    สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่มีผู้ไปขอรับฟู้ดแสตมป์จากรัฐไอดาโฮเพิ่ม 40 % เมื่อเทียบกับปี 2009 นับว่าเป็นการเพิ่มมากที่สุดกว่าทุกรัฐ อันดับ 2 ก็คือรัฐเนวาด้า ส่วนรัฐยูท่าห์มาอันดับ 5
    <O:p></O:p>
    ผลจากภาวะเสรษฐกิจถดถอยส่งไปยังคนทุกคนในสหรัฐ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในเขตใดของ<O:p></O:p>
    ประเทศ<O:p></O:p>....

    http://www.apacnews.net/americanway/508.htm
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    ธนาคารสั่งระงับการยึดบ้าน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    อัยการ 40 รัฐเตรียมยื่นฟ้อง<O:p></O:p>
    เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2010 ภายหลังจากที่ธนาคารแห่งอเมริกาประกาศระงับการยึดบ้านทั้ง 50 รัฐไว้ชั่วคราว สำนักงานอัยการสูงสุด 40 รัฐก็จัดประชุมกันโดยมีนายทอม มิลเลอร์ อัยการสูงสุดรัฐไอโอวาเป็นแกนนำ จะลงมือสอบสวนการยึดบ้านที่ผ่านๆมาของสถาบันการเงิน โดยนายมิลเลอร์เป็นผู้ศึกษาและทบทวนเอกสารการยึดบ้านของหลายรัฐมาก่อนหน้านี้<O:p></O:p>
    ไม่แต่เพียง BofA เท่านั้นที่สั่งระงับยึดบ้าน สถาบันการเงินอื่นอาทิเช่น JPMorgan Chase & Co., Ally Bank(บริษัทลูกของGMAC Mortgage)และ <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:STOCKTICKER>PNC</ST1:STOCKTICKER> Financial สั่งระงับการยึดบ้านใน 23 รัฐ เพราะการจะสั่งยึดบ้านได้ใน 23 รัฐจะต้องผ่านการอนุมัติจากผู้พิพากษา <O:p></O:p>
    สาเหตุเกิดจากการสืบสวนพบว่ามีการใช้ช่องโหว่ของเอกสารเข้าไปยึดบ้านและขับไล่ (evict) เจ้าของบ้านออกจากบ้าน จุดนี้เองที่ทำให้อัยการของรัฐหรือรัฐบาลกลางต้องเข้ามาลงมือสอบสวนและเรียกร้องให้ระงับการยึดบ้านไว้ก่อน<O:p></O:p>
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนายริชาร์ด คอร์เดรย์ อัยการสูงสุดรัฐโอไฮโอ้ยื่นฟ้อง Ally Bank ในข้อหาพนักงานของบริษัทได้ลงนามและยื่นเอกสารปลอมให้ศาลเข้าใจผิดก่อนจะเข้ายึดบ้าน โดยธนาคารโต้ว่าการกระทำของธนาคารไม่ถือว่าเป็นการฉ้อโกง<O:p></O:p>
    ภายหลังจากนั้นอัยการสูงสุดสหรัฐนายเอริค โฮลเดอร์ กล่าวว่าจะเข้ามาดูเรื่องนี้เช่นเดียวกับนายคริสโตเฟอร์ ด็อดด์ ประธานกรรมาธิการธนาคารแห่งวุฒิสภาจะเปิดการไต่สวนเรื่องนี้ในเดือนพฤศจิกายน<O:p></O:p>
    การที่สถาบันการเงินหรือธนาคารเข้ายึดบ้านถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะคนไม่มีเงินผ่อน เศรษฐกิจถดถอย สังคมก็จะเต็มไปด้วย”คนจรจัด”หรือประเภทไร้ที่อยู่อาศัย<O:p></O:p>
    สิ่งที่ฝ่ายสืบสวนพบพฤติกรรมของสถาบันการเงินก็คือการใช้เอกสารปลอม,ปลอมหมายเลขโซเชี่ยล,การใช้กรรมสิทธิ์แบบไม่มีตัวตน( phantom titles)เอกสารสูญหายรวมทั้งการเวซ็นชื่อโดยไม่ได้อ่านเอกสาร(Robo-signers) โดยที่ไม่มีใครรู้จริงว่าเจ้าของบ้านหลังนั้นเป็นใคร <O:p></O:p>
    การสั่งระงับยึดบ้านของธนาคารครั้งนี้จะมีผลตามมาในระยะสั้นดังนี้ <O:p></O:p>
    1.ผลดีกับเจ้าของบ้านที่จะได้อยู่ต่อไปแบบไม่ต้องเสียค่าเช่าเพราะจะต้องมีการทบทวนเอกสารต่างๆที่เป็นสัญญาซื้อขายนับแสนๆราย ทำให้เจ้าของบ้านตั้งหลักและหายใจสะดวกมากขึ้น<O:p></O:p>
    2.ราคาบ้านโดยทั่วไปจะมีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะเมื่อยึดมาแล้วสถาบันการเงินจะต้องรีบประกาศขายหรือ”เทขาย”ในราคาถูก<O:p></O:p>
    3.ปัจจุบันบรรดาเอเยนต์ที่นำบ้านที่ธนาคารยึดมาออกจำหน่ายในตลาดถูกสั่งระงับเช่นกัน อาทิเช่นดอโรธี บิวส์ เอเยนต์ของ Coldwell Bankerที่เมืองออร์แลนโด้ รัฐฟลอริด้าที่เธอลีสต์ออกจำหน่าย 200 หลัง มี 40 หลังจะต้องสั่งระงับการจำหน่าย แม้ว่าในจำนวนนี้ 12 หลังเริ่มมีการทำสัญญาซื้อขายแล้วก็ตาม ส่วนอีก 160 หลังคงไม่มีใครเสนอซื้อขายกันจนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น<O:p></O:p>
    4.ผลในระยะยาวนายมาร์ค แซนดิ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ Moody's Analytics เคยประเมินว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐจะฟื้นตัว แต่เมื่อเกิดปัญหานี้ตามมาจะทำให้การฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ยืดออกไปอีก 2-3 ปี <O:p></O:p>
    5.เมื่อมีการสอบสวนขึ้นมา เจ้าหน้าที่อาจพบขั้นตอนการยึดบ้านของธนาคารทำอย่างผิดกฎหมายถือเป็นการฉ้อโกงเจ้าของบ้าน จะเกิดการฟ้องร้องตามมาและแน่นอนบางกรณีเจ้าของบ้านอาจได้บ้านของตนคืน<O:p></O:p>
    สำหรับพฤติกรรมของสถาบันการเงินหรือธนาคารมีตัวอย่างดังนี้ เมื่อวันที่ 24 กันยายนผู้พิพากษารัฐบาลกลางแห่งรัฐเมนไม่เห็นด้วยกับ GMAC ที่จะเข้าไปยึดบ้านของแม่ลูกสองที่ว่างงาน โดยคดีนี้จะนำขึ้นไต่าวนที่เมืองปอร์ตแลนด์ โดยเห็นว่า”คดีนี้ไม่ใช่กรณีแรกที่ขั้นตอนการทำเอกสารของ <O:p></O:p>
    GMAC ไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะหลักฐานการเซ็นชื่อประกอบที่เห็นได้ชัดเจน”<O:p></O:p>
    อีกตัวอย่างหนึ่งนายไมเคิ่ล โอล์มส์ บ้าจของเขาที่เมืองเบลฟาสท์ รัฐเมนอยู่ในขั้นตอนของการถูกยึด แต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมเขาได้รับแจ้งจาก GMAC ว่าบ้านของเขาที่ดำลังจะถูกยึดต้องระงับไว้ แต่ก็ไม่ได้บอกว่านานเท่าใด<O:p></O:p>
    ไมเคิ่ลบอกว่าเขาใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งเพื่อที่จะขอเปลี่ยนเงินกู้(loan modification)จาก<O:p></O:p>
    GMAC แต่ไม่ได้รับการตอบรับอย่างใด รวมทั้งเขาเองก็ไม่ได้รับหมายในการยึดบ้าน (Written notice of a foreclosure)จากสถาบันการเงิน<O:p></O:p>
    ไมเคิ่ลเป็นเจ้าของบ้านทรงวิคทอเรียในเมืองเบลฟาสต์ตัวเขาเองเป็นผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมในบอสตันอย่างเช่นโรงแรม Ritz-Carlton และ <ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Copley</ST1:pLACENAME><ST1:pLACETYPE>Plaza</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> เขาต้องการที่จะรักษาบ้านที่เขาเติบโตขึ้นมาไว้อย่างถึงที่สุด แต่ก็ยังไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น <O:p></O:p>
    “สิ่งที่ปลอดภัยที่สุดในชีวิตของคุณคือบ้าน เป็นจุดที่คุณรู้สึกสบาย แต่ตอนนี้รู้สึกว่าจะมีหมาป่ามาอาศัยอยู่หน้าบ้าน”<O:p></O:p>....
    Apacnews.net
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    เจ้าหน้าที่ตำรวจ,พาราเมดิกและฝ่ายดับเพลิงเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุร้าน The Hot Spot Caf้ภาพจากทีวีช่อง 5 KTLA.com
    สังหาร 4 ศพที่นอร์ธ ฮอลลีวู้ด<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    กับอาร์เมเนียนแก๊งในแอล.เอ.<O:p></O:p>
    เหตุเกิดเวลาประมาณ 16.40 น.วันเสาร์ที่ 3 เมษายนที่ห้องอาหารเล็กๆแห่งหนึ่งชื่อ The Hot Spot Caf้ หรือห้องอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่เลขที่ <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:ADDRESS><ST1:STREET>11651 Riverside Drive, North</ST1:STREET> <ST1:CITY>Hollywood</ST1:CITY>, <ST1:STATE>CA</ST1:STATE> <ST1:pOSTALCODE>91602</ST1:pOSTALCODE></ST1:ADDRESS> ถนนตัดคือ <ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Colfax</ST1:pLACENAME> <ST1:pLACENAME>Avenue</ST1:pLACENAME> <ST1:pLACENAME>ย่านนี้เรียกว่า</ST1:pLACENAME> <ST1:pLACETYPE>Valley</ST1:pLACETYPE> <ST1:pLACETYPE>Village</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE><O:p></O:p>
    ชาย 6 คนถูกกระหน่ำยิงจากมือปืนคนเดียว ตำรวจไม่ทราบว่ามือปืนเดินเข้ามาหรืออยู่ในร้านแล้วค่อยชักปืนออกมายิง ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 3 คน ตายที่โรงพยาบาล 1 คนและบาดเจ็บอีก 2 คน จากนั้นคนร้ายขึ้นรถหลบหนีไป<O:p></O:p>
    ต่อมาตำรวจเปิดเผยรายชื่อผู้เสียชีวิตประกอบด้วยฮารัต บาบูร์ยัน (Harut Baburyan) อายุ 28 ปี,ซาร์กีส คาราดเจี้ยน(Sarkis Karadjian)อายุ 26 ปี,วาร์ดาน โตฟาลยัน(Vardan Tofalyan)อายุ 31 ปีและฮายัค เย็กนานยัน(Hayk Yegnanyan)อายุ 25 ปี <O:p></O:p>
    ทั้งหมดเป็นชาวอาร์เมเนียน ข้อสังเกตง่ายๆคนอาร์เมเนียนามสกุลจะลงด้วยคำว่า ian และ yan<O:p></O:p>
    โรซาริโอ เฮอร์รารา ตำรวจแอลเอพีดี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่ามือปืนอายุประมาณ 30 ปีเป็นคนผิวขาว แต่ไม่ได้บอกว่าผิวขาวแบบไหนเพราะพวกอาร์เมเนียนก็ผิวขาว คนคอเคเซียนก็ผิวขาว อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวตำรวจจึงฟันธงลงไปว่าน่าเป็นจะเป็นลักษณะของการล้างแค้นในหมู่แก๊งอาร์เมเนียนด้วยกัน เพราะคนถูกฆ่าทั้งหมดคือ”เป้าหมาย”ที่จะต้องถูกสังหารมีการตั้งใจมายิงโดยเฉพาะ<O:p></O:p>
    เขต <ST1:pLACE><ST1:pLACETYPE>Valley</ST1:pLACETYPE> <ST1:pLACETYPE>Village</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> และนอร์ธ ฮอลลีวู้ดมีสมาชิกสภานครแอล.เอ.ชื่อ พอล ครีคอเรียน( Paul Krekorian)ชาวอาร์เมเนียนได้รับเลือกเข้ามาแทน เวนดี้ กรูล ที่ขยับขึ้นไปเป็นซิตี้คอนโทรลเลอร์หรือฝ่ายควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของซิตี้ <O:p></O:p>
    ว่าไปแล้วชาวอาร์เมเนียนในเขตแอล.เอ.เคาน์ตี้ก็อยู่ใกล้กับคนไทยทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่นเมื่อเรามี <ST1:pLACE><ST1:pLACENAME>Thai</ST1:pLACENAME> <ST1:pLACETYPE>Town</ST1:pLACETYPE></ST1:pLACE> ขึ้นมาบนถนนฮอลลีวู้ดเขาก็มี Little Armenia ขึ้นมาห้อมล้อมไทยทาวน์อีกชั้นหนึ่งและกินเนื้อที่กว้างขวางกว่า เพราะแน่นอนผู้คนของเขามีจำนวนมากกว่าคนไทย<O:p></O:p>
    ในสหรัฐฯรู้จักกันในนาม”พลังชาวอาร์เมเนียน”หรือ Armenian Power ชื่อย่อคือ AP<O:p></O:p>
    เป็นลักษณะของแก๊งที่เริ่มก่อตัวขึ้นในปี 1988 ปริมณฑลของพวกเขาอยู่บนถนนฮอลลีวู้ดตัดกับ <ST1:STREET><ST1:ADDRESS>Normandie Ave.</ST1:ADDRESS></ST1:STREET> โดย AP มีสมาชิกสนับสนุนระหว่าง 1-5 หมื่นคน <O:p></O:p>
    การประกอบอาชญากรรมของกลุ่ม AP อาทิเช่นค้ายาเสพติด,ฆาตกรรม,ขับรถยิง,ขโมย,ขโมยID,ทำร้ายร่างกาย,ตบทรัพย์,ลักพา,ฉ้อโกง,รับจ้างฆ่า,ขโมยรถยนต์และปล้น กลุ่มนี้จะเป็นพันธมิตรกับแก๊งอื่นๆอาทิเช่นแม็กซิกันมาเฟีย,รัสเซียน มาเฟีย,ดิ อะเวนิว,ซูรีโนและแก๊ง 18 street ส่วนแก๊งที่เป็นคู่อริประกอบด้วยแก๊ง Rivals Tooner Ville Rifa 13, MS-13 และ White Fence <O:p></O:p>
    แก๊งอาร์เมเนียนเริ่มภายหลังจากสงครามเย็นจบลง เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต บรรดาคนอาร์เมเนียนอพยพเข้ามาอยู่สหรัฐมากขึ้น ในจำนวนนี้เข้ามาปักหลักในฮอลลีวู้ดทั้ง อีสต์ ฮอลลีวู้ด,นอร์ธ ฮอลลีวู้ด,เบอร์แบงก์และเกลนเดล เมื่อเข้ามาอยู่ก็ถูกแก๊งแม็กซิกัน มาเฟียและแก๊งซัลวาดอร์ กดดัน คนหนุ่มอาร์เมเนียนจึงตั้งแก๊งของตัวเองขึ้นมาบ้างเรียกว่า The Armenian Power อยู่ในเขตฮอลลีวู้ดและเกลนเดลโดยขอความช่วยเหลือจากแก๊งอื่นๆ<O:p></O:p>
    ในปี 1988 สมาชิกแก๊ง AP เข้าไปยึดครองพาร์คกิ๊งล็อตในมินิมอลของอีสต์ ฮอลลีวู้ดจัดทำเป็นศูนย์บัญชาการจากนั้นก็ออกเรียกค่าคุ้มครองร้านอาหารและร้านเสื้อผ้าในย่านนั้น จนมินิมอลต้องจ้างตำรวจแอลเอพีดี(นอกเวลางาน)เข้ามาเป็นฝ่ายรปภ.<O:p></O:p>
    การแต่งตัวของแก๊งนี้นุ่งกางเกงขายาวสีกากี,สวมเสื้อทีเชี๊ตสีขาว,บางรายใช้ตาข่ายคลุมผมหรือไม่เช่นนั้นก็สวมหมวกแก๊ปสีน้ำเงินและใส่แว่นกันแดด หลายคนสักสีที่แขนหรือตามร่างกาย อาวุธประจำกายคือปืนพกเบเรตต้า,ปืนกล็อกและปืน Kalashnikovs หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามปืนกลอาร์ก้า(AK-47)<O:p></O:p>
    ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 120 คนที่ยังคงแอ๊คทีฟ เจ้าหน้าที่ระบุว่ามีการฆาตกรรมเกิดขึ้นหลายครั้งโดยเฉพาะการสังหารแก๊งตรงข้าม การดวลปืนเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง<O:p></O:p>
    จากการติดตามเว็บไซท์ของชาวอาร์เมเนียน พวกเขาบรรยายผู้คนในชุมชนของเขาไว้ว่าการใช้ชีวิตของพวกเขานั้นดูยิ่งใหญ่ แต่ในแอล.เอ.รู้จักกันในนามของผู้อยู่ในซอกมืดและเย็นเยือก คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ดูมั่งคั่ง แต่ละคนชอบที่จะขี่รถ BMW คนทั่วไปอาจไม่ชอบพวกเรา(อาร์เมเนียน)เพราะเราเป็นคนที่ชอบก่อความรุนแรง แต่มันอยู่ในสายเลือดของเรานับพันๆปีมาแล้ว พวกเราถูกทรยศและได้รับความทุกข์ทรมานมาตลอดเวลา”<O:p></O:p>
    อาร์เมเนียนแก๊งประกอบตัวกันขึ้นเป็นองค์กรอาชญากรรมอาทิเช่นการเรียกค่าคุ้มครอง,ขโมยรถยนต์,ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยโหด(loan sharking,)รวมทั้งการฉ้อโกงเกี่ยวกับการประกันภัย,ฉ้อโกงน้ำมันเชื้อเพลง,การโทรคมนาคมและเครดิต คาร์ด <O:p></O:p>
    สมาชิกแก๊งอาร์เมเนียน 5 คน ต้องโทษเมื่อปี 1994 ในข้อหาเรียกค่าคุ้มครอง,ลักพาและพยายามฆ่า แก๊งเหล่านี้เรียกค่าคุ้มครองชาวอาร์เมเนียนด้วยกันมาไม่น้อยกว่า 13 ปี ด้วยการข่มขู่ว่าจะทำร้ายสมาชิกในครอบครัวนั้นๆหากไม่จ่ายค่าคุ้มครอง<O:p></O:p>
    เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1995 เฮโรอีน 7 กิโลกรัมถูกจับได้จากสมาชิกกลุ่มอาร์เมเนียนในเขตเมืองเกลนเดล เฮโรอีนเหล่านี้มาจากตะวันออกกลางเพื่อนำมาจัดจำหน่ายทั่วสหรัฐ ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 1995 อาร์เมเนียน 13 คนถูกจับกุมในข้อหาต่างๆประกอบด้วยเป็นธุระจัดหากระทำผิดทั้งเรื่องเมลและฉ้อโกงเรื่องไวร์เงิน,การฟอกเงิน,เรียกค่าคุ้มครองและการค้าเฮโรอีน<O:p></O:p>
    ทางด้านการฉ้อฉลน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel frauds)ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในแอล.เอ.และนิวยอร์ก ทำให้รัฐบาลสูญรายได้จากภาษีตกปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยกลุ่มรัสเซีย-อาร์เมเนียนเรียกตัวเองว่า the Mikaelian Organization มีหัวหน้ากลุ่มชื่อฮอฟเซฟ มิเคเลียน (Hovsep Mikaelian) บุคคลผู้นี้ถือว่าเป็น”มาเฟีย”หรือเจ้าพ่อทำธุรกิจมืดเครือข่ายน้ำมันดีเซล ด้วยการจัดส่งน้ำมันไปจ่ายตามปั๊มต่างๆและที่จอดรถบรรทุกในเขตแคลิฟอร์เนียภาคใต้ สำนักงานอัยการแคลิฟอร์เนียระบุว่าในปีเดียวแก๊งนี้ไม่จ่ายเงินภาษีน้ำมันถึง 3.6 ล้านดอลลาร์ <O:p></O:p>
    อาร์เมเนียนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นประเทศสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1991 หลังจากโซเวียตรัสเซียล่มสลายลง มีเนื้อที่ 11,500 ตารางไมล์ สถติปี 2005 ประชากรนับได้ 2,983,000 คน เมือง <ST1:CITY><ST1:pLACE>Yerevan</ST1:pLACE></ST1:CITY> เป็นเมืองหลวง ประเทศนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของอิหร่าน,ทิศเหนือจดประเทศจอร์เจีย,ตะวันออกจดอะเซอร์ไบจานและทิศใต้จดอิหร่าน ก่อนหน้านี้ในปี 1918 ก็ได้รับจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐขึ้นมาแล้ว แต่เมื่อถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 1920 ก็ถูกรวบเข้าไปอยู่ใต้การปกครองของโซเวียตรัสเซีย<O:p></O:p>
    ชาวอาร์เมเนียนกลายเป็นคนเร่ร่อนไม่มีที่อยู่มานานและต้องเป็นชาวอพยพไปอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก ปัจจุบันชาวอาร์เมเนียนกระจายอยู่ทั่วโลก 8 ล้านคน อยู่ในสหรัฐและรัสเซียประเทศละประมาณ 1 ล้านคน นอกจากนั้นอาศัยอยู่ในประเทศ <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Georgia</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>France</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Iran</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Lebanon</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Syria</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Argentina</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION>, และ <ST1:COUNTRY-REGION><ST1:pLACE>Canada</ST1:pLACE></ST1:COUNTRY-REGION> อาร์เมเนียนเป็นชนชาติที่เป็นศัตรูกับคนตุรกีมาตลอด 100 ปีมีการเข่นฆ่าสังหารกันไม่น้อยกว่า 600,000-1.5 ล้านราย<O:p></O:p>
    คนอาร์เมเนียนชื่อดังยังประกอบด้วย <ST1:pLACE>Cher</ST1:pLACE> นักร้อง,อังเดร อะกาสซี นักเทนนิส,นายจอร์จ ดุ๊กเมเจี้ยน อดีตผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมทั้ง”แพทย์แห่งความตาย”-แจ๊ค เคอโวร์เกี้ยน ผู้ระบุว่าคนไข้มีสิทธิ์ที่จะขอตาย(right-to-die)เพื่อหนีความทุกข์ทรมาน ฯลฯ<O:p></O:p>....
    http://www.apacnews.net/americanway/479.htm


     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การยึดบ้านของธนาคารยังไม่จบ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    คนซื้อบ้านถูกยึดอาจเจอปัญหา<O:p></O:p>
    หลังจากที่ธนาคารแห่งอเมริกาสั่งระงับการยึดบ้านทุกรัฐในสหรัฐไว้ชั่วคราวต่อมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2010 ธนาคารแห่งอเมริกาประกาศที่จะดำเนินการยึดต่อไปในสัปดาห์หน้าประมาณ 100,000 หลังใน 23 รัฐ โดยให้เหตุผลว่าธนาคารมีสิทธิ์ที่จะทำได้ เพราะรัฐเหล่านี้จะต้องให้ผู้พิพากษาเป็นผู้สั่งการ ส่วนอีก 27 รัฐที่ไม่จำเป็นต้องให้ผู้พิพากษาสั่งนั้นธนาคารก็ยังไม่ยึดเพราะเกรงปัญหาทางกหมายตามมา <O:p></O:p>
    Ally Financial Inc.ก็ประกาศจะยึดบ้านต่อไปหลังจากตรวจสอบแล้วว่าบริษัทไม่ได้ทำผิดขั้นตอนอะไร<O:p></O:p>
    อย่างไรก็ตามยังไม่มีเสียงออกมาจากบริษัทปล่อยเงินกู้อื่นๆอาทิเช่น <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:STOCKTICKER>PNC</ST1:STOCKTICKER> Financial Services Inc. และ JPMorgan Chase & Co ซึ่งก็สั่งระงับการยึดบ้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว<O:p></O:p>
    สรุปแล้วเรื่องยึดหรือไม่ยึดบ้านคงจะเป็นปัญหากันต่อไป และจะส่งผลกระทบไปยังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน <O:p></O:p>
    คราวนี้ก็เกิดปัญหาตามมาว่า สมมติเราซื้อบ้านที่ถูกยึดต่อจากธนาคาร จากนั้นก็นำมาตกแต่งใหม่หรือ remodeled ขึ้นมา ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาเอกสารที่ธนาคารยึดแบบผิดพลาดจะส่งผลกระทบถึงท่านหรือไม่ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ <O:p></O:p>
    นายจอร์จ บ๊าบค็อก ทนายความแห่งเมืองโพรวิเดนซ์ รัฐโรด ไอส์แลนด์กล่าวว่าหากใครซื้อ<O:p></O:p>
    บ้านถูกยึดมาเมื่อ 3 ปีที่แล้วจะต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมด้วยการโทร.ไปปรึกษาทนายความว่าบ้านที่ซื้อมานั้นจะมีปัญหาตามมาหรือไม่ <O:p></O:p>
    สิ่งที่ผู้ซื้อบ้านถูกยึดมาต้องตรวจสอบคือการซื้อประกันกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์(title insurance) สิ่งนี้จะเป็นตัวประกันว่าผู้ซื้อบ้านจะไม่มีใครกลับมาเคลมทรัพย์สินที่เราซื้อมาได้หลังจากการซื้อขายสิ้นสุดลง <O:p></O:p>
    โดยทั่วไปแล้วผู้ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อบ้าน(ถูกยึด)สถาบันการเงินจะต้องให้ซื้อประกัน และหากท่านซื้อประกันด้วยเงินสดจะเป็นการดียิ่งเพราะได้จ่ายไปหมดแล้ว <O:p></O:p>
    การซื้อประกับประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วตก 0.5 % ของเงินกู้ อาทิเช่นผู้กู้ซื้อบ้าน 200,000 ดอลลาร์ จะใช้เงินประมาณ 1,000 ดอลลาร์ซื้อประกัน <O:p></O:p>
    เจ้าของบ้านผู้ซื้อประกันเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นห่วงว่าเจ้าของบ้านเดิมที่ถูกธนาคารยึดไปแล้วจะกลับมาเคลมเพราะหากมีการยื่นฟ้องศาลบุคคลที่เข้ามาเป็นตัวกลางก็คือบริษัทประกัน<O:p></O:p>
    การตรวจสอบกรรมสิทธิ์ หากกรรมสิทธิ์ชัดเจนหมายถึงว่าไม่มีใคร liens เข้ามาก็แสดงว่ากรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของบ้านอยู่ที่ท่านแน่นอน<O:p></O:p>
    สำหรับผู้ต้องการทราบว่ากรรมสิทธิ์เป็นของตนหรือไม่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการค้นหาตกประมาณ 35-100 ดอลลาร์ หลังจากนั้นก็แนะนำให้ตรวจสอบกรรมสิทธิ์ทุก 6 เดือน <O:p></O:p>
    ผู้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ด้วยเงินสดและไม่มี Title insurance ไม่จำเป็นต้องถูกบังคับให้ขนของออกจากบ้าน<O:p></O:p>
    ปัญหาทางด้านกฎหมายอาจจะตามมาในกรณีที่ธนาคารยึดบ้านมาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายอาจมีการพลิกกลับมาให้เป็นประโยชน์แก่เจ้าของบ้านเดิมที่ถูกยึด เรื่องนี้การฟ้องร้องจะตามมาระหว่างเจ้าของบ้านเดิมและสถาบันการเงิน<O:p></O:p>
    การประกาศยึดบ้านของสถาบันการเงินหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาธนาคารจะสูญประมาณ 80 พันล้านดอลลาร์ เป็นการวิเคราะห์ของริชาร์ด โบวี นักวิเคราะห์การเงินแห่ง <ST1:pLACE>Rochdale</ST1:pLACE> Securities เพราะเงินจำนวนนี้จะมาจากการฟ้องร้องในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า ปัญหาที่จะถูกยื่นฟ้องมาจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีหุ้นแบคอัพ<O:p></O:p>
    อีกสิ่งหนึ่งที่จะตามมาก็คือหากบริษัท Title insurance ล้มไปและไม่อาจปกป้องทรัพย์สินของท่านได้จะทำอย่างไร แม้ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นยากแต่มันก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ท่านจะต้องสอบถามไปยังบริษัท A.M. Best Co.ซึ่งเป็นบริษัทจัดเรตติ้งของ บริษัท title insurance ว่าบริษัทใดบ้างที่มีปัญหาทางการเงิน<O:p></O:p>
    บริษัท RealtyTrac Inc. ผู้เก็บตัวเลขสถิติการยึดบ้านรายงานว่าระหว่างเมษายนถึงมิถุนายน 2010 มีการยึดบ้าน 250,000 หลัง ในจำนวนนี้บ้านถูกยึดในรัฐเนวาด้า 56 %,อริโซนา 47 % และแคลิฟอร์เนีย 43 % <O:p></O:p>
    สำหรับการดำเนินงานจากเจ้าหน้าที่และฝ่ายการเมืองมีดังนี้<O:p></O:p>
    1.มีรายงานว่าสำนักสืบสวนกลาง (FBI)เข้าไปสืบสวนว่าสถาบันการเงินทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่อาทิเช่นการลงลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินอาจเป็นการผิดกฎหมายปลอมแปลงเอกสาร<O:p></O:p>
    2.อัยการสูงสุด 50 รัฐเข้าร่วมในการสอบสวนว่าสถาบันการเงินทำผิดกฎหมายของรัฐหรือไม่<O:p></O:p>
    3.ทนายความของผู้ถูกยึดบ้านหลายรายเตรียมยื่นฟ้องสถาบันการเงินที่ยึดบ้านแบบผิดกฎหมายของลูกความตน<O:p></O:p>
    4.ผู้พิพากษาระดับมลรัฐจะทบทวนเอกสารการยึดบ้านของสถาบันการเมืองว่ากระทำอย่างถูกต้องหรือไม่ <O:p></O:p>
    5.สภาคองเกรงจะเปิดการไต่สวนสถาบันการเงินขึ้นมา<O:p></O:p>....
    Apacnews.net
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เงินที่สูญเปล่าในสงครามอิรัก<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    สหรัฐถอนทหารอเมริกันออกจากอิรัก หลังจากไปเปิดศึกถล่มซัดดัม ฮุสเซ็น นาน 7 ปีครึ่งหรือตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา นั่นเป็นอดีต ขณะเดียวกันองค์กรตรวจสอบภาคประชาชนก็เข้าไปตรวจสอบถึง”ขยะ”ที่หลงเหลืออยู่ในสหรัฐตัวอย่างเช่น<O:p></O:p>
    คุกที่สร้างไว้บริเวณด้านเหนือกรุงแบกแดดมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ว่างเปล่า<O:p></O:p>
    โรงพยาบาลเด็กสร้างด้วยเงิน 160 ล้านดอลลาร์ทางใต้ไม่ได้ใช้<O:p></O:p>
    ระบบบำบัดน้ำเสียที่เมืองฟาลูจาห์มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์(สร้างแพงเกินโครงการ 3 เท่า)ไม่ได้ใช้ แต่ระบบน้ำทิ้งยังต้องทิ้งกันตามถนน และยังมีอีกนับร้อยโครงการก่อสร้างที่ยังไม่ได้สร้างหรือสร้างไม่เสร็จ<O:p></O:p>
    ประเมินว่าเงินภาษีของคนอเมริกันที่สูญเปล่าไม่น้อยกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ และอีก 10 % ของเงิน 50 พันล้านดอลลาร์จะต้องนำไปเพื่อรื้อฟื้นประเทศอิรัก <O:p></O:p>
    แต่ก็มีหลายโครงการที่สร้างได้เรียบร้อยอาทิเช่นกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติอิรัก,สถานที่ราชการ,กองกำลังรักษาความปลอดภัยที่ฝึกมานานเริ่มพัฒนาขึ้นมาก,ท่าเรือน้ำลึกที่ Umm Qasr อันเป็นศูนย์กลางของการจัดเก็บและส่งออกน้ำมันได้รับการซ่อมแซมกลับมาใช้ได้<O:p></O:p>
    อย่างไรก็ตามสำนักข่าวเอ.พี.รายงานว่าจากการสำรวจด้วยตาในบริเวณต่างๆรวมทั้งรายงานจากฝ่ายสอบสวนและการ audits ส่วนใหญ่มักจะไม่ผ่านสายตา<O:p></O:p>
    พันเอกจอน คริสเตนเซน ผู้บังคับการหน่วย the U.S. Army Corps of Engineers Gulf Region District ช่วงฤดูร้อนนี้เปิดเผยว่ารัฐบาลกลางทำงานสำเร็จทั้งหมด 4,800 โครงการและอีก 233 โครงการต้องเร่งรีบจัดทำ ส่วนอีก 595 โครงการต้องระงับ เหตุผลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่<O:p></O:p>
    นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมาบทบาทและหน้าที่ทหารอเมริกันเน้นหนักไปทางปกป้องชาวอิรักเพื่อเอาชนะใจพวกเขา จากนั้นก็จ้างผู้รับเหมามารับงานทาสีโรงเรียน,ฟื้นฟูสระน้ำและดูแลการแจกจ่ายน้ำ นอกจากนี้หน่วยทหาร Emergency Response Program ยังทำหน้าที่แจกจ่ายเงิน 3.6 พันล้านดอลลาร์ให้กับกองกำลังอิหร่านนิกายสุหนี่เพื่อให้ต่อสู้กับกลุ่มอัล-ไควดะ ในอิรักโดยจ่ายเงินเป็นเดือนๆไป<O:p></O:p>
    เมื่อปี 2004 ทหารช่างได้ว่าจ้างบริษัท Parsons Corp. เพื่อออกแบบก่อสร้างคุกมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ขังนักโทษ 3,600 คน ภายในยังมีศูนย์การศึกษาและการฝึกอาชีพ โครงการนี้ต้องเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2005 <O:p></O:p>
    แต่เนื่องจากการสู้รบในเขตนั้นระหว่างมุสลิมนิกายสุหนี่และชีอะห์เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากก่อสร้างไปได้ 6 เดือนก็ทำให้ล่าช้า รัฐบาลสั่งระงับบริษัท Parsons เมื่อเดือนมิถุนายน 2006 เหตุผลเพราะทำเกินงบประมาณ อย่างไรก็ตามต่อมาได้ว่าจ้างอีก 3 บริษัทเพื่อให้โครงการเสร็จ<O:p></O:p>
    กระทั่งเดือนมิถุนายน 2007 โครงการนี้ก็ยังไม่เสร็จทำให้รัฐบาลอเมริกันต้องมอบภาระนี้ไปให้กระทรวงยุติธรรมอิรักต่อ แต่กระทรวงยุติธรรมก็ปฏิเสธที่จะสร้างให้เสร็จ,ไม่ส่งนักโทษไปอยู่และไม่รักษาความปลอดภัย ทำให้วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง 1.2 ล้านดอลลาร์ต้องทิ้งเปล่าเหตุเพราะการสู้รบในเขตนั้นรุนแรงขึ้น ทุกวันนี้คุกแห่งนี้ก็ยังไม่เคยใช้ขังนักโทษสักคนเดียว <O:p></O:p>
    เชย์มา โมฮัมหมัด อามิน หัวหน้าองค์กร the Diyala ของอิรักซึ่งร่วมโครงการฟื้นฟูอิรักกล่าวว่าเงินที่ก่อสร้างต่างๆสูญไปมากเพราะฝ่ายอิรักไม่ได้เริ่มต้นด้วย อย่างเช่นการส่งมอบคลีนิกแห่งหนึ่งที่เมือง Baqoubaให้องค์กรแต่กลับว่าไม่มีบันไดขึ้นชั้นบน <O:p></O:p>
    สิ่งที่อิรักต้องการมากอาทิเช่นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆรวมทั้งโรงเรียนของเด็กๆ โรงเรียนบางแห่งไม่ได้ทาสี ไม่มีกระดานดำหน้าห้องเรียน ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มเป็น 2 เท่า<O:p></O:p>
    โครงการก่อสร้างคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ที่บริษัทสนามบินนานาชาติแบกแดดมูลค่า 5.7 ล้านดอลลาร์ ประกอบด้วยศูนย์การค้าและธุรกิจ กองทัพสหรัฐมีความหวังว่าจะเป็นสถานที่จูงใจนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์แห่งนี้ก็ใช้งานเพียงไม่กี่ครั้ง เช่นมีการประชุมด้านพลังงาน 3 วันในช่วงปี 2008 โดยมีนักธุรกิจน้ำมันจากรัสเซียและญี่ปุ่นบินไปร่วม รวมแล้วงานประชุมทำเงินให้คอนเวนชั่นเพียง 1 ล้านดอลลาร์เท่านั้น<O:p></O:p>
    การก่อสร้างโรงพยาบาลเด็กที่เมือง <?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:CITY><ST1:pLACE>Basra</ST1:pLACE></ST1:CITY> ถือเป็นโครงการใหญ่แห่งหนึ่งที่สร้างในระบบ state of the art มีศูนย์บำบัดมะเร็งกำหนดเสร็จธันวาคม 2005 ใช้งบประมรณ 50 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อถึงปี 2009 โครงการยังไม่เสร็จทำให้งบก่อสร้างพุ่งเป็น 165 ล้านดอลลาร์เงินจำนวนนี้รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆด้วย <O:p></O:p>
    ปัญหาการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้มีไปหมดทั้งกรอบเวลา,ที่ดินใช้ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน,การมีเงินทุนจากหลายองค์กร,ปัญหาความมั่นคงปลอดภัยในบริเวณก่อสร้างและที่สำคัญมีคนงานเพียง 24 คน ทำให้บริษัท Bechtel ผู้รับเหมาโครงการถูกยกเลิกว่าจ้าง<O:p></O:p>
    นี่คือตัวอย่างหนึ่งของความสูญเสียอันเป็นเงินภาษีอากรของคนอเมริกัน <O:p></O:p>
    แต่ปัญหาที่จะตามมาไม่เพียงแต่ในอิรักเท่านั้น สังคมอเมริกันโดยเฉพาะทหารที่เดินทางกลับมามีตัวอย่างเช่นร้อยโทไมค์ แมคไมเคิลวัย 36 ปีแห่งกองทัพบกหลังจากรถถังของเขาถูกวางระเบิดข้างทางในอิรักตัวเขาเองสลบไสลไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการการหลงๆลืมๆตั้งแต่บัดนั้นมา เขาเกิดโรคที่เรียกว่าการบาดเจ็บทางสมอง(Traumatic Brain Injury =TBI) และเป็นโรคได้รับความกดดันหลังการบาดเจ็บ( Post-traumatic stress disorder =PTSD)<O:p></O:p>
    ปัจจุบันไมค์ลาออกจากทหารกองหนุน(National Guard)ต้องไปรักษาตัวกับจิตแพทย์ เขายอมรับกับผู้สื่อข่าวว่าบางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองอยู่ไหน <O:p></O:p>
    ทหารที่ผ่านการรบมาไม่เพียงแต่ร้อยโทไมค์เท่านั้นยังมีอีกนับหมื่นคนที่ได้รับผลกระทางอารมณ์และจิตใจหลังสงคราม จะส่งผลมายังครอบครัวโดยเฉพาะปัญหาทางการเงินที่จะตามมาในครอบครัว อีกทั้งจะเป็นภาระของรัฐบาลอเมริกันและสังคมโดยรวม <O:p></O:p>....
    Apacnews.net
     

แชร์หน้านี้

Loading...