เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ด้วยจิตเป็นกุศล
    ขออนุโมทนาแบ่งบุญกุศลนี้ไปด้วยแล้วกันครับ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    11/18/2010

    RMF/LTF ลงทุนแล้วคุ้มค่าจริงหรือ ???



    /* บทความนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นการโจมตี บลจ. ต่างๆ หากเพียงเป็นแค่การให้ข้อมูลนักลงทุนในมุมที่ฝ่ายการตลาดกองทุนของ บลจ ต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึง (เพราะถ้ากล่าวถึงคงขายกันไม่ออก) เหรียญมีสองด้าน ผมแค่เพียงพลิกอีกด้านให้คุณดูเท่านั้น ดังนั้นความแรงของบทความอาจจะมากกว่าที่ผมเขียนปกติได้ครับ */ (ขอยืมใช้ Comment แบบภาษา Java)

    ผมขอรีบเขียนบทความนี้ก่อนงาน SET IN THE CITY 2010 จะเริ่มต้น เพื่อให้นักลงทุนได้มุมมองในอีกแง่ต่อ RMF และ LTF ก่อนที่จะไปโดนนักการตลาดเชียร์ในงานครับ

    เรามาตั้งสมมุติฐานกันก่อน เพื่อจะได้ง่ายต่อการเข้าใจนะครับ ผมขอใช้ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากลางๆสัก 20% กับ 30% แล้วกันนะครับ เพื่อจะได้ครอบคลุมคนส่วนมากครับ (ตัวผมเองมีความรู้ด้านภาษีน้อย เนื่องจากไม่เคยเสียนอกจาก VAT 7% ครับ แม้ผมจะไม่เสียภาษีเพราะกำไรหุ้นไม่ต้องเสียภาษีและหลบการเสียภาษีทุกรูปแบบเนื่องจากไม่อยากให้เงินที่ผมจ่ายไปโดนพวกนักการเมืองหักค่าคอมมิชชั่น ผมจึงตอบแทนสังคมด้วยการทำบุญโดยตรงเพราะจะได้เข้าถึงเต็มที่แบบไม่โดนโกงระหว่างทางครับ)


    ผมขอเริ่มจากกอง LTF ก่อนแล้วกันนะครับ กองทุน LTF นั้น ย่อมาจากกองทุน Long Term equity Fund (น่าจะใช้คำว่า LTEF มากกว่าจะได้ชัดเจน) ซึ่งชื่อกองทุนก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นกองทุนหุ้นระยะยาวครับ โดยกองทุนประเภทนี้ส่วนมาก จะเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการประมาณ 1-1.5% ของมูลค่าสินทรัพย์กองทุนครับ หลังจากบวกค่าธรรมเนียมสารพัด เช่น ค่า Custodian ค่าตรวจบัญชี ค่า Registration Fee ค่าโฆษณา(สำหรับบางกองทุน) นั้น เอาขอเหมารวมเอาง่ายๆที่ 1.5% แล้วกันครับ

    แน่นอนครับ ว่าหลังจากที่คุณซื้อ(กรณีซื้อเต็มโควต้า) คุณก็จะได้รับการลดหย่อยภาษี 20% หรือ 30% ตามสมมุติฐานแรกที่เราตั้งกันไว้ต้นบทความ ซึ่งเงินตรงนี้ส่วนใหญ่ ผมจะถือว่าคุณไม่นำกลับมา Re-Invest นะครับ เพราะทุกคนพอได้ Cheque คืนภาษีก็ล้วนเอามาใช้จ่ายกันทั้งนั้น

    คุณลองนำค่าธรรมเนียมที่กองทุนเรียกเก็บมาคำนวนดูสิครับ ว่า 1.5% x 5ปี ได้เท่ากับ 7.5% ซึ่งในที่นี้ เท่ากับว่า เงินที่คุณได้คืนจากภาษีที่คุณเสีย จะเหลือเพียง 12.5%(กรณีฐานภาษี 20%) กับ 22.5% (กรณีฐานภาษี 30%) ตามลำดับเท่านั้น (สำหรับคนที่ฐานภาษี 10% จะเห็นได้ว่า คุณแทบไม่ได้อะไรเลย เพราะได้คืนจริงๆแค่ 2.5% เท่านั้น)

    แต่ความเสี่ยงที่คุณจะได้รับนั้น คือคุณโดนขังในตลาดหุ้น 5 ปีครับ ผมเคยบอกอยู่เสมอๆว่า "ผมจะไม่ลงทุนอะไรในสิ่งที่ผมมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนในอนาคต" ดังนั้นผมจะขอถามคุณกลับว่า "คุณรู้ไหมว่าอีก 5 ปีข้างหน้าใครจะเป็นรัฐบาล และใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี?" , "คุณรู้ไหมว่าอีก 5 ปีข้างหน้านโยบายเศรษฐกิจจะไปในทิศทางไหน?" ,
    "คุณรู้ไหมว่าอีก 5 ปีข้างหน้าใครจะเป็นประธานาธิปดีสหรัฐ(หลังจากรัฐบาลโอบาม่าหมดวาระ)?" , "คุณจะแน่ใจหรือว่า ดัชนีหุ้นไทยจะอยู่เกินระดับพันจุดในอีก 5 ข้างหน้า?" , "คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่เกิดวิกฤตอีกครั้ง?"
    และคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ " คุณคิดว่าคุณพอใจหรือไม่ กับความเสี่ยง(ความไม่รู้) ที่ผมถามคุณมาทั้งหมด เมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุณโดนขังอยู่ในหุ้นเป็นเวลา 5 ปี ?"

    ซึ่งถ้าคุณพอใจก็ซื้อไปเถอะครับ

    ทั้งนี้ผมขอให้คุณคิดดีๆก่อนจะนำเงินเก็บไปลงทุนกับกองทุน LTF (ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ ถ้าคุณรับได้ก็โอเคครับ)

    ส่วนในกรณีของกองทุน RMF นั้น ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund ครับ (เอ ทำไมอันนี้จึงย่อครบนะ) ความคิดเห็นผมจะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงครับ ผมจะแนะนำให้ทุกคนที่ผมรู้จัก ซื้อกองทุน RMF ไว้อย่างเต็มที่ ยกเว้นข้าราชการ (ซึ่งไม่มีใครอยากซื้อ เพราะกว่าจะถอนได้อายุต้องถึง 55 ปี) ด้วยเหตุผลที่ว่า กองทุน RMF เป็นการบังคับคุณให้ออมเงิน และเบิกมาใช้ไม่ได้จนถึงอายุ 55 ครับ รวมทั้งกองทุนประเภทนี้ มีความยืนหยุ่นสูงครับ คุณจะสลับไปสลับมาระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้ได้ทุกวัน เพียงแค่คุณถอนออกมาใช้ไม่ได้เท่านั้นเอง ดังนั้น คุณสามารถเล่นรอบกับ RMF ได้อย่างไม่มีปัญหาครับ หุ้นขึ้นคุณก็ไปซื้อกองหุ้น หุ้นลงคุณก็หนีมาอยู่กองตราสารหนี้ (พันธบัตร) เหมือนคุณเทรดหุ้นเปี๊ยบ แต่โอเคครับ คุณก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆของกองทุนเหมือน LTF แต่เมื่อยามที่คุณไม่อยากอยู่ในหุ้น ค่าธรรมเนียมกองทุนตราสารหนี้นั้น ถูกแสนถูก แถมได้ผลตอบแทนดีกว่าฝากประจำธนาคารเสียอีก ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้คุณซื้อกองทุน RMF ให้เต็มโควต้าก่อน จากนั้นค่อยมาคิดดีๆเรื่อง LTF ครับ

    เนื่องจากเข้าเทศกาลซื้อกองทุนหักภาษี ดังนั้นสองสามวันข้างหน้านี้ ผมจะเขียนเรื่องกองทุนหักภาษี ผสมกับ Chart of the day with HedgeHunter นะครับ จะได้ In Trend ครับ 55555

    HedgeHunter
    TradeTactic.net By HedgeHunter: RMF/LTF ลงทุนแล้วคุ้มค่าจริงหรือ ???
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    11/06/2010

    คิดว่า 600 Billion จะพอหรือ?



    ผมคิดว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ ว่าเงินอัดฉีด 600 Billion USD จะพอต่อการกระตุ้น ศก สหรัฐหรือไม่? ถ้าถามผมจากการประเมินแบบคร่าวๆ เน้นว่าคร่าวๆจริงๆ ผมบอกได้เลยครับว่าคงไม่น่าจะพอ และผมเชื่อว่า S&P500 ที่ระดับนี้ QE2 ถูก price in ไปหมดแล้ว พูดตรงๆว่า ตอนนี้ Trader กำลังต้องการ QE3 และ QE4 ผมยังคงยืนยันคำเดิมครับว่า ถ้าอัดฉีดเม็ดเงินไป 3 Quater แล้วอัตตราการว่างงานยังอยู่เหนือ 7-8% ถ้าไม่มี QE3 ก็จะเกิด Major Global Recession อย่างแน่นอน

    ในส่วนของทองคำผมยังคงเห็น Upside อยู่มาก เรียกได้เลยครับว่ายัง Price QE2 ไม่หมดเสียด้วยซ้ำ ผมประเมินว่า ราคาทองคำที่ QE2 สะท้อนเต็มที่น่าจะอยู่บริเวณ 1500-1600 เหรียญ แต่หากเกินนั้น ผมคิดว่าจะเป็น Bubble Buliding ถ้าไม่มีวี่แวว QE3

    กลับมาที่ตลาดไทยครับ วันนี้ผมได้คุยว่า Private Fund Manager คนหนึ่งเกี่ยวกับดัชนีของไทย เพราะจากการประเมิณของผม ตอนนี้ราคาดัชนีน่าจะสะท้อน Fair Value ของกลางปี 2556 ซึ่งถือว่า Premium ค่อนข้างมาก แต่ปัจจัยหลักคือ Fund Flow ที่เข้ามาโดยไม่สนเรื่อง Valuation มากนักเพราะเป็นการเก็งกำไรสองต่อ ทั้งค่าเงินและส่วนต่างราคาหุ้น พี่เขาบอกผมว่า Fair Value อาจจะก่อนกลางปี 2556 ก็ได้ เพราะถ้าหุ้นขึ้น คนก็รวยมากขึ้น พอคนรวยขึ้น ก็จะใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งก็จะกลับมากระตุ้นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนให้เติมโตเร็วนั่นเอง สำหรับผมแล้ว ตอนนี้ตลาดเป็น Bull Market แต่ผมแนะนำให้ทำ Trading Buy เท่านั้น ไม่มีการซื้อลงทุน เพราะว่าผมคิดว่าเป็นขาปลาย Bull Market และกำลังเข้าขาเริ่มต้นของ Bubble Market เหอๆ

    Commented By HedgeHunter from S2M

    6 Nov 2010
    TradeTactic.net By HedgeHunter: คิดว่า 600 Billion จะพอหรือ?
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Comment the Day with HedgeHunter


    แต่เนื่องจากวันนี้มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ผมเลยเขียนอะไรนอกเหนือ Chart of the Day เพิ่มเติมขึ้นมา หากจะเอาใส่ Weekly Market Monitor คงจะไม่ทันการณ์ คือ กนง. ประกาศขึ้นอัตตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 25bsp (0.25%)ครับ

    ในที่สุดวันนี้ก็พิสูจน์ว่าทฤษฏีตลาดเงินตลาดทุนผิดพลาดยับเยิน ใครเชื่อตำราทางวิชาการวันนี้ก็ขายหมูเสียตังค์ครับ เพราะอะไรน่ะหรือครับ ผมค่อยๆเริ่มอธิบายให้ฟังที่ละขั้นแล้วกันนะครับ

    อย่างแรกการขึ้นดอกเบี้ย เป็นเพราะเพิ่ม WACC (Weighted Average Cost of Capitial) ในส่วนของ Liability ของบริษัทจดทะเบียนซึ่งพูดง่ายๆว่าจะกระทบต่อต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัทจดทะเบียน ดังนั้นย่อมจะกระทบต่อ Earning และ EPS (Earning per share) ของหุ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น ตามตำราแล้วหากดอกเบี้ยขึ้นตลาดหุ้นจะลงครับ ซึ่งนำไปสู่ประเด็นว่า "ทำไมขึ้นตั้ง 12 จุดชนแนวต้าน?"

    ถึงเวลาฉีกตำราเดิมๆทิ้งลงขยะไปได้แล้วครับ เพราะปัจจุบันตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นเกิดใหม่ขนาดเล็กๆแบบตลาดหุ้นไทยนั้น คือ Fund Flow ของฝรั่งครับ ผมไม่เข้าใจว่ากระทรวงการคลังกับแบงค์ชาติคิดอะไรกันอยู่ถึง ดันมาขึ้นอัตตราดอกเบี้ยเอาตอนนี้ ปากก็ว่าต้องการสกัดเงินทุนไหลเข้าเก็งกำไรค่าเงินในตลาดพันธบัตรเพื่อไม่ให้บาทแข็งค่า แต่กลับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มการเก็งกำไรอัตตราแลกเปลี่ยนด้วยการทำ Carry Trade เข้าไปอีก ซึ่งขัดกับการเก็บภาษี Bond สำหรับบัญชีต่างชาติ

    โอเคครับว่า Inflation (เงินเฟ้อ)ในอนาคตอันใกล้นี้เพิ่มขึ้นแน่นอน เนื่องจาก Supply Shock หรือภาษาตำราเรียกว่า Cost Push ครับไม่ใช่ Demand Pull แต่มันก็เกิดจากน้ำท่วมพืชผลทางเกษตรเสียหายหนัก แต่สักพักก็ปลูกใหม่ได้ ข้าวสารก็มีเต็มคลังหลวงจากโครงการจำนำข้าวอันงี่เง่าที่รู้ๆกันอยู่ว่าชาวนาเอาข้าวมาจำนำแล้วได้เงินสดไปจับจ่ายใช้สอย และไม่คิดจะมาไถ่ข้าวคืน ข้าวจะถูกจะแพงรัฐบาลก็คุมเกมได้อยู่แล้ว ดังนั้นปัญหาเรื่องสินค้าข้าวเสียหาย อาหารขึ้นราคาจึงไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอในการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อ Tame Inflation ในมุมมองของผมนะครับ

    หลังจากผม Comment ในเชิงลบกับนโยบายการเงินการคลังแล้ว เรากลับมาที่ตลาดหุ้นกันดีกว่าครับ อย่างที่ผมบอกครับว่าการเก็งกำไรในตลาดขึ้นที่ใช้ได้ตอนนี้ คือการเก็ง Fund Flow ที่จะเข้ามาส่งผลต่อค่าเงินบาทเป็นแรงผลักดันให้ต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้นไทย การขึ้นดอกเบี้ยย่อมทำให้บาทแข็งค่าเข้าไปอีก ตลาดหุ้นถึงขึ้นเพราะ Fund Flow ที่ไหลเข้าโดยไม่สนใจกำไรของบริษัทจดทะเบียนอย่างสิ้นเชิงแล้วครับ ผมเคยเขียนลงบทความสักบทว่า ตลาดหุ้นไทยที่ถึงเป็นตลาดเกิดใหม่ขนาดเล็กนั้นตอนนี้ที่เทรดที่ P/E Ratio ที่ 14-15 เท่า ในขณะที่ S&P500ของสหรัฐ เทรดที่ P/E ที่ประมาณ 16-17 เท่า ผมถามว่าตลาดหุ้นเล็กๆอย่างตลาดหุ้นไทย ที่เอาMarket Cap. ทั้งตลาดมารวมกัน ยังเล็กกว่า Exxon Mobil บริษัทเดียวนั้น เทียบรุ่มกับ Wall Street ได้แล้วหรือ? มันก็คงเหมือนเอานักมวยรุ่น Bantamweight 118lb (ตลาดหุ้นไทย) มาขึ้นสังเวียน(มวยนะครับ ไม่ใช่หอประชุม)กับ Heavyweight 200lb+(ตลาดUS) ซึ่งมันเทียบรุ่นกันไม่ได้เลย ผมคงไม่ต้องตอบนะครับ เพราะก็รู้ๆอยู่แล้ว ผมเชื่อว่านักวิเคราะห์เองก็รู้ว่าตอนนี้ตลาดหุ้นไทยเริ่มเข้าสู่เฟสแรกของภาวะฟองสบู่แล้ว แต่ไม่กล้าพูดเพราะกลัวตกงานกัน อาจจะยกเว้นคนที่เข้าวงการตลาดหุ้นไม่นานอาจจะดูไม่ออก แต่ผมคิดว่ามันค่อนข้างจะชัดเจนแล้วครับ

    สรุปง่ายๆละกันนะครับ สำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านหรืออ่านแล้วยังงงๆ ผมคิดว่าตลาดหุ้นไทยตอนนี้เป็น Trading Market อย่างสมบูรณ์แบบครับ (ยกเว้นหุ้นนอกกระแสบางตัวที่เป็นพวก High Alpha Low Beta) การซื้อแล้วถือยาวเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะผมไม่คิดว่าตลาดหุ้นไทยจะเทรดอยู่ที่ P/E ระดับนี้ได้นานสักเท่าไหร่นัก(EPS ของตลาดหุ้นไทยตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 66-72นะครับ) ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยโดนการเมืองกดดันหนักมาตลอด แต่อย่าลืมว่าการเมืองนั้นยังไม่จบนะครับ ผมคิดว่าทักษิณและสิ่งที่ทักษิณกำลังสู้ด้วยนั้น น่าจะเป็นการรบกันจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแตกดับ ดังนั้นสงครามนี้ยังอีกยาวไกลครับ ช่วงนี้น่าจะแค่พักรบ /* ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลล้วนๆนะครับ*/ ผมคิดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะเทรดที่ P/E ระดับ 10-12 เท่า น่าจะเป็นระดับที่สมเหตุผลและ EPS Growth ของบริษัทจดทะเบียนตามดัชนีทัน (อย่างที่บอกครับ 1เท่าของ P/E คือประมาณ 66-72จุด) หากไม่นับเรื่อง Fund Flow ที่ไหลเข้ามาเก็งกำไร ผมคิดว่าตลาดหุ้นตอนนี้คงอยู่แถวๆ 700ปลายๆ-800ต้นๆ ไม่น่าจะเกินไปกว่านี้ครับ



    <DT class="comment-author blog-author" id=c2105183662637436041>[​IMG]
    HedgeHunter กล่าวว่า...

    <DD class=comment-body id=Blog1_cmt-2105183662637436041>QUESTION:

    Zealot Plus หุหุ กำลังจะถามเรื่องดอกเบี้ยพอดีเลยครับ
    เคยมีคนบอกว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยแล้วหุ้นจะขึ้น ตอนนั้นก้อ งงๆ ว่าเพราะอะไรฟระ ?? จริงๆแล้วมันน่าจะต้องลงสิ O___o" พอมาไล่ๆอ่านแล้วถึงเริ่มเข้าใจ

    แต่คิดไปคิดมาก็อดสงสัยไม่ได้ เมื่อมองย้อนกลับไปตอนที่จีนประก...าศขึ้นดอกเบี้ย เหมือนๆตอนนั้นหุ้นจะร่วงกันหมดเลยหนิ(ทั้งๆที่ ในใจคิดว่าการขึ้นดอกเบี้ยของจีน น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น เพราะทำให้เศรษฐกิจจีนมั่นคงขึ้น และจะค่อยๆโตอย่างมั่นคงแท้ๆ)

    เลยอยากจะรู้ว่าทำไมการกระทำคล้ายๆกัน แต่ผลลัพธ์มันถึงแตกต่างกันระหว่างจีนกับไทย หรือเพราะว่าจีนถูกคาดหวังมากเกิน ว่าจะเป็นผู้กอบกู้เศรษฐกิจโลก จากการบริโภคอย่างมหาศาล พอขึ้นดอกเบี้ยปุ๊ป เหมือนๆไปชะลอการบริโภค นักลงทุนเลยตกใจกัน O__o?

    ANSWER:

    จีนกับสหรัฐเปรียบเหมือนเสาสองเสาแห่งเศรษฐกิจโลกที่ค้ำยันซึ่งกันและกันครับ หากเสาใดเสาหนึ่งเกิดอาการแสดงว่ามีโอกาสร้าว ย่อมเพิ่มความเสี่ยงที่เสาทั้งสองจะพังทลายลงได้

    การขึ้นดอกเบี้ยของประเทศจีนที่ทำให้หุ้นลงนั้น เกิดจากการที่นักลงทุนทั่วโลกมีความระแวงว่าเศรษฐกิจจีนจะเกิดฟองสบู่ จากการราคาอสังหาริมทรัพย์ในบางพื้นที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวภายในระยะเวลาอันสั้น ผสมกับที่รัฐบาลจีนสั่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่ม Require Reserve อย่างต่อเนื่องหลายครั้ง รวมทั้งรัฐบาลยังสั่งให้บางธนาคารหยุดปล่อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการกระทำที่ผมกล่าวมาส่อถึงการสกัดฟองสบู่ ยิ่งสกัดหลายครั้งคนก็ย่อมตีความว่าฟองสบู่ยิ่งพองตัวเกิดกว่าที่คิด ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงเกิน จึงสามารถตีความในรูปแบบที่ว่าเป็นการใช้ยาแรงเพื่อสกัดฟองสบู่อย่างหนัก ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเอาอยู่หรือไม่ครับ ดังนั้นจึงเกิด Global sell off ครับ


    <DD class=comment-footer>2 ธันวาคม 2553, 0:07

    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2010
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    the crash of 1907
    [​IMG]

    วิกฤตปี 1907 จุดชนวนขึ้นเมื่อพี่น้องตระกูล Heinze ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ United Copper พยายามที่จะกว้านซื้อหุ้นของบริษัทตัวเองที่เหลืออยู่ในตลาดทั้งหมด โดยนำเงินจำนวนมากที่กู้มาจาก Knickerbocker Trust มาซื้อ แต่พวกเขาประสบความล้มเหลว…
    อันที่จริงตระกูล Heinze ไม่ได้ต้องการจะครอบงำกิจการแต่อย่างใด แต่พวกเขารู้ว่า ตระกูลของเขาถือหุ้นส่วนใหญ่เอาไว้ ในขณะที่หุ้นส่วนที่เหลือที่เทรดอยู่ในตลาดได้ถูกนักลงทุนกลุ่มหนึ่งยืมไปขายช็อตเป็นจำนวนมากเพื่อหวังจะทุบราคาหุ้นแล้วทำกำไรส่วนต่าง ตระกูล Heinze คิดว่า ถ้าหากพวกเขาเข้าไปเก็บหุ้นที่เหลืออยู่ในตลาดทั้งหมด หุ้นส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่ในมือพวกเขา พวก Short Sellers ก็จะไม่สามารถหาซื้อหุ้นจากที่ไหนมาคืนได้นอกจากต้องซื้อจากพวกเขาเท่านั้น และจะทำให้พวกเขาได้กำไรมหาศาลเพราะจะสามารถเรียกราคาเท่าไรก็ได้จากพวก Short Sellers
    ตระกูล Heinze เคยได้กำไรจากวิธีการแบบนี้มาแล้วหลายครั้งในการกว้านซื้อหุ้นสถาบันการเงินขนาดเล็กหลายแห่ง และทำให้เขามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของ Kickerbocker Trust ซึ่งมักแอบใช้เงินของทรัสต์เพื่อปล่อยกู้ให้พวกเขาทำธุรกรรมเช่นนี้อยู่บ่อยครั้งแล้วแบ่งกำไรกัน แต่สำหรับครั้งนี้ มันเป็นธุรกรรมที่ใหญ่มาก แม้เจ้าของ Kickerbock Trust จะเตือนตระกูล Heinze ว่า เงินจำนวนที่สามารถปล่อยกู้ให้ได้ ไม่น่าจะเพียงพอที่จะกว้านซื้อหุ้น United Copper ได้ทั้งหมด แต่ตระกูล Heinze ก็ต้องการที่จะเสี่ยง เพราะที่ผ่านมาพวกเขาเคยได้กำไรจากธุรกรรมแบบนี้สำเร็จมาทุกครั้ง ตระกูลของพวกเขาร่ำรวยมีหน้ามีตาขึ้นมาได้ก็เพราะวิธีการอันนี้
    วันที่ 14 ตุลาคม 1907 Heinze ไล่เก็บหุ้น United Copper ทุกราคา ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจาก $39 เป็น $52 ในวันเดียว พอวันรุ่งขึ้น พวกเขาก็สั่งโบรกเกอร์ขอเรียกหุ้นคืนจาก Short Sellers ทันที แต่ Heinze คาดการณ์ผิด พวก Short Sellers สามารถหาหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นมาคืนได้เป็นผลสำเร็จ ที่จริงแล้วยังมีหุ้น United Copper จำนวนมากหลงเหลืออยู่ในมือของผู้ถือหุ้นอื่น มีมหกรรมประกาศขอซื้อหุ้นจำนวนมากบนทางเท้านอกอาคารตลาดนิวยอร์คฯ ในช่วงบ่ายของวันนั้น ดังนั้นราคาหุ้น United Copper จึงร่วงเหลือแค่ $30 เมื่อตลาดปิด
    ในวันถัดมา เมื่อข่าวสะพัดออกไปว่า การกว้านซื้อหุ้นของ “ขาใหญ่” อย่างตระกูล Heinze ล้มเหลว พวกรายย่อยที่ได้เข้าไปเก็งกำไรในหุ้นตัวนี้ในช่วงที่ผ่านมาเพราะรู้ว่า Heinze กำลังกว้านซื้อก็ต่างพากันเทขายออกมาพร้อมๆ กันทำให้ราคาหุ้น United Copper ร่วงลงอีกอย่างรุนแรงเหลือเพียงแค่ $10 เท่านั้น ตระกูล Heinze ขาดทุนมหาศาล และทำให้ไม่มีเงินไปคืน Kickerbrock Trust
    <!-- AdSense Now! V1.98 --><!-- Post[count: 1] --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-9887395547539077";/* 125x125, In-between */google_ad_slot = "0056118087";google_ad_width = 125;google_ad_height = 125;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101206/show_ads_impl.js"></SCRIPT>
    วันที่ 22 ตุลาคม 1907 ผู้ฝากเงินของ Kickerbrock Trust จำนวนมากตื่นตระหนกกับข่าวที่เกิดขึ้นจึงพากันไปแห่ถอนเงินออกจาก Kickerbrock พร้อมกัน และทำให้ต้องปิดทำการชั่วคราวในบ่ายวันนั้น นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่รับหุ้น United Copper จำนวนมากไว้เป็นหลักประกัน ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกว่า สถาบันการเงินเหล่านี้จะล้มตามไปด้วย ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้ฝากเงินแห่ไปถอนเงินที่ธนาคารลุกลามไปทั่วประเทศ ในเวลานั้น สหรัฐฯ ยังไม่มี Federal Reserve ทำให้ไม่มีหน่วยงานที่จะช่วยอัดฉีดสภาพคล่องให้กับธนาคารที่มีผู้ฝากเงินแห่มาถอนเงินในภาวะตื่นตระหนกได้
    ความตื่นตระหนกกับข่าวที่เกิดขึ้นยังทำให้สถาบันการเงินจำนวนมากไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้กับบรรดาโบรกเกอร์ด้วย ดอกเบี้ยมาร์จิ้นโลนพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อโบรกเกอร์ขาดสภาพคล่องจึงมีการเรียกเงินคืนจากนักลงทุนทั่วตลาด ตลาดหุ้นนิวยอร์คจึงทรุดตัวลงอย่างรุนแรงถึง 50% จากจุดสูงสุดเดิม
    ในช่วงสัปดาห์นั้น J P Morgan นักการธนาคารผู้มั่งคั่งที่สุดในนิวยอร์คไม่ได้อยู่ในนิวยอร์ค แต่เขากำลังร่วมกิจกรรมของโบสถ์ในเวอร์จิเนีย ทันทีที่เขารู้ข่าว เขาก็รีบเดินทางกลับนิวยอร์คทันที J P Morgan มองว่าสถานการณ์เช่นนี้ปล่อยไว้ไม่ได้ เพราะระบบการเงินจะล่มสลายในที่สุด ในคืนแรกที่กลับมาถึงนิวยอร์ค J P Morgan นั่งวิเคราะห์งบการเงินที่อ่อนแอของ Kinckerbocker ภายในห้องสมุดส่วนตัวของเขา แล้วตัดสินใจไม่เข้าไปยุ่งทรัสต์แห่งนี้ เพราะสายเกินไปแล้วที่จะช่วย แต่เขาเห็นว่าทรัสต์หลายแห่งที่มีผู้ไปแห่ถอนเงินเป็นทรัสต์ที่ยังมีสถานะทางการเงินที่ดีอยู่ เขาจึงเรียกประชุมด่วน นายธนาคาร มหาเศรษฐี และรมต.คลัง แล้วเจรจาให้พวกเขาเหล่านั้นยอมพร้อมใจกันลงขันพร้อมกับเขา เพื่อตั้งเป็นกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับทรัสต์ที่กำลังขาดสภาพคล่อง และประกาศออกไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชน
    พันธบัตรรัฐฯ นิวยอร์คที่ออกมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเวลานั้นขายไม่หมด J P Morgan ต้องแนะให้รัฐฯ ปรับเพิ่ม yield และเขาต้องยอมเข้าทำสัญญาว่าจะซื้อพันธบัตรใหม่นั้นเป็นเงินอย่างน้อย $30 ล้านเหรียญเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในพันธบัตรอีกด้วย
    สุดท้าย วิกฤตการเงินปี 1907 ก็สามารถยุติลงได้ เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้นำไปสู่การจัดตั้ง Federal Reserve ขึ้น เพื่อทำหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบธนาคารในเวลาที่เกิดวิกฤต
    J P Morgan เองต้องขาดทุนจากการกู้วิกฤตครั้งนี้มากถึง $21 ล้านเหรียญ แต่ก็ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำที่เข้ามากอบกู้สถานการณ์ให้กับประเทศ อย่างไรก็ตาม มีผู้วิจารณ์ว่า เขาอาศัยวิกฤตครั้งนี้ในการทำให้บรรดาทรัสต์ซึ่งเป็นคู่แข่งของธนาคารที่เขาเป็นเจ้าของอ่อนแอลง และยังเป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เข้าซื้อบริษัท TC&I ในราคาถูกแสนถูกอีกด้วย หลังวิกฤตเขาถูกสอบสวนอีกหลายครั้งโดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาสอบสวนความโปร่งใสของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้น จนถึงปีที่เขาป่วยหนักและเสียชีวิต
    0300: the crash of 1907 | Dekisugi.net
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Boy Plunger
    "Boy Plunger" เป็นฉายาของ Jesse Livermore เซียนหุ้นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงต้นศตวรรรษที่ 1900 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในยุคนั้นยังมีสภาพไม่ต่างจากบ่อนการพนันเท่าไรนัก Livermore มีความสามารถในการช็อตหุ้นเพื่อทำกำไรหลายครั้งทำให้เขามักถูกเอ่ยถึงในห้องค้าในนาม Boy Plunger
    Livermore เกิดในครอบครัวที่ยากจน เขาหนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 15 ปี เขาเริ่มอาชีพด้วยการเป็นเด็กเขียนกระดานหุ้นในโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง
    Livermore ร่ำรวยขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นนักเทรดหุ้น เขาไม่เชื่อในการถือหุ้นระยะยาว และในเวลาเดียวกัน เขาก็ไม่เชื่อเรื่องเทคนิคัลซึ่งเขามองว่าเป็นสัญญาณที่สับสน วิธีการของเขาคือการมองมหภาคบวกกับการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เขาสนใจติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของรายใหญ่ที่เล่นหุ้นตัวนั้นอยู่ (รวมทั้งพฤติกรรมของตัวเขาเองด้วย) Livermore สามารถจดจำราคาหุ้นที่เขาซื้อในอดีตได้อย่างแม่นยำมาก นอกจากนี้ Livermore เชื่อว่าไม่ว่าบริษัทจะดีเพียงใด เวลาที่ตลาดพัง หุ้นทุกตัวก็จะไป ดังนั้นภาวะตลาดจึงมึความสำคัญเหนือตัวหุ้น
    เขาเป็น millionaire ได้ตั้งแต่ก่อนอายุครบ 30 ปี และเริ่มมีชื่อเสียงมากจากการ short หุ้นช่วงตลาดหุ้น crash ปี 1907 ซึ่งเขาทำได้กำไรได้มากถึง 3 ล้านเหรียญในวันเดียว (เทียบเท่ากับเงิน $60 ล้านในปัจจุบัน) ในเวลานั้น JP Morgan ต้องติดต่อไปยังเขาเพื่อขอร้องให้เขาหยุด short หุ้น เพื่อสกัดวิกฤตการเงินมิให้ลุกลาม ในปี 1929 เขาก็ short หุ้นครั้งใหญ่อีกครั้งทำให้เขาได้กำไรมากกว่า $100 ล้าน
    [​IMG]
    คฤหาสถ์ Evermore ของเขา ชั้นล่างมีร้านตัดผมส่วนตัวที่มีช่างอยู่ประจำ มีโต๊ะอาหารยาวสำหรับแขก 46 คน และสวนหลังบ้านยาวกว่า 300 ฟุต
    Livermore เป็นบุคคลที่เคยเป็นเศรษฐีมากกว่าหนึ่งครั้งในชีวิต เพราะเขาเคยหมดตัวหลายครั้งและสามารถกลับมาเป็นเศรษฐีได้ใหม่ เขากล่าวว่า เขามักจะหมดตัว เพราะไม่สามารถอดใจที่จะไม่ฝ่าฝืนกฏเหล็กในการเทรดหุ้นของตัวเองได้
    ชีวิตส่วนตัวของ Livermore เป็นคนเจ้าชู้ เขามีภรรยาหลายคน ภรรยาคนแรกของเขาเป็นคนสุรุ่ยสุร่ายมาก ลูกของเขาถึงสามคนจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ครอบครัว Livermore มีปัญหามาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เขาเริ่มมีอาการซึมเศร้าเมื่อเข้าสู่บั้นปลายชีวิตและฆ่าตัวตายเมื่ออายุได้ 63 ปี ในช่วงนั้นเขาเพิ่งจะสูญเงินจำนวนมากในตลาดหุ้นและยังไม่สามารถทำกำไรกลับคืนมาได้ อย่างไรก็ตาม หลังการเสียชีวิตของเขาพบว่า เขามีทรัพย์สินเหลืออยู่ประมาณ $5 ล้าน
    แนวของ Livermore อาจจะไม่ใช่แนวทางที่ผมสนใจ เพราะชีวิตของการเป็นนักเก็งกำไรนั้นตื่นเต้นเกินไปสำหรับผม แต่ก็มีแนวคิดหลายอย่างของ Livermore ที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์กับทุกคนในตลาดหุ้น และผมก็พยายามจดจำไว้เสมอ
    Livermore เคยเขียนไว้ในบันทึกของเขาว่า การจะรวยด้วยตลาดหุ้นอย่างที่เขาทำได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คนทั่วไปคิด เขาบอกว่าตลาดหุ้นคือที่ที่อันตรายมากสำหรับ คนที่ไม่ชอบทำการบ้าน คนโง่ คนชอบรวยทางลัด และคนที่อารมณ์ไม่มั่นคง เขากล่าวว่า คนที่คิดว่าจะรวยทางลัดด้วยตลาดหุ้นเปรียบเสมือนคนที่หวังจะรวยเร็วๆ ด้วยการยึดอาชีพเป็นหมอหรือทนายความ เพราะจริงๆ แล้ว นักลงทุนในตลาดหุ้นก็เป็นเหมือนอาชีพอย่างหนึ่ง ถ้าจะรวยได้จะต้องทุ่มเทอย่างหนักหน่วงเท่านั้น
    เขาเล่าว่าทุกครั้งที่เขาไปร่วมงานเลี้ยง ผู้คนมักจะวิ่งเข้ามาถามเขาเสมอว่าจะรวยเร็วๆ ด้วยตลาดหุ้นได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ เขาพยายามอธิบายให้คนเหล่านั้นฟังว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แต่หลังๆ เขาเพียงแต่บอกคนเหล่านั้นว่า เขาไม่รู้ เขารู้สึกเบื่อหน่ายความคิดของคนทั่วไปที่คิดว่าการร่ำรวยด้วยตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ
    Livermore เขียนวิธีการสำหรับคนที่มุ่งมั้นจะเป็นยึดการลงทุนเป็นอาชีพจริงๆ แบบเดียวกับเขาไว้ในหนังสือชื่อ How to Trade in Stocks
    เขากลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้เนื่องจากหนังสือชื่อ Reminescence of a stock operator ซึ่งเป็นหนังสือที่นักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งเขียนเล่าประสบการณ์การเทรดหุ้นในชีวิตของ Livermore จากการสัมภาษณ์เขาอย่างลับๆ โดยปกปิดชื่อจริงของเขาไว้ ได้ถูกนำมาตีพิมพ์อีกครั้ง ทำให้ตำนานของเขากลับมาเป็นที่สนใจของนักลงทุนรุ่นใหม่ในอีก 80 ปีต่อมา
    1001ii
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กลยุทธ์ของเฮดจ์ฟันด์
    ทุกวันนี้ถ้าไม่นับ กองทุนบริหารความมั่งคั่งแห่งรัฐฯ และกองทุนบำเหน็จบำนาญต่างๆ แล้ว "ขาใหญ่" ของตลาดทุนโลกอันดับถัดมาคงหนีไม่พ้น พวกเฮดจ์ฟันด์ ต่างๆ
    เฮดจ์ฟันด์ ตามความหมายดั่งเดิม คือ กองทุนที่ลงทุนด้วยการเสาะหาช่องว่างในการทำกำไรที่ปราศจากความเสี่ยง (Riskless) ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คงหนีไม่พ้น วิธีของกองทุน Long-term Capital Managment ที่อื้อฉาวในอดีต
    ในทางทฤษฏี พันธบัตรรัฐบาลสองตัวที่มีอายุเท่ากันจ่ายดอกเบี้ยเท่ากันจะต้องมีราคาเท่ากันด้วย แต่ในความเป็นจริงอาจมีราคาต่างกันเพราะสภาพคล่องของตลาดในช่วงสั้นที่ไม่สมบูรณ์แบบ LTCM ใช้วิธียืมพันธบัตรรัฐบาลจากกองทุนอื่นที่มีราคาตลาดสูงกว่ามาขาย แล้วเอาเงินที่ได้มาซื้อพันธบัตรตัวที่ถูกกว่ามาถือไว้แทน การถือไว้ทั้ง short และ long position ในราคาที่ต่างกันเล็กน้อยเช่นนี้ จะทำให้เกิดกำไรเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เมื่อใดก็ตามที่ส่วนต่างของราคาในตลาดบีบเข้าหากัน ก็จะเกิด net gain ขนาดเล็กๆ ขึ้น เป็นโอกาสให้ LTCM ล้างสถานะทั้งหมดเพื่อทำกำไรได้
    การลงทุนด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เนื่องจากโอกาสที่ราคาพันธบัตรทั้งสองจะหนีออกจากกันมากๆ (เกิด net loss) มีน้อยมาก ต่อให้เกิดขึ้นจริง ก็ไม่น่ากลัว เพราะสามารถถือต่อไปแล้วรอให้พันธบัตรทั้งสองตัวหมดอายุก็ได้ ราคาจะกลับมาเท่ากันเอง และพันธบัตรก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงยิ่ง การลงทุนด้วยวิธีนี้จึงมีลักษณะคล้ายกับ "โอกาสที่ไม่มีความเสี่ยง"
    แม้ว่า net gain ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กมากๆ เพราะผลต่างของราคาพันธบัตรสองตัวที่เหมือนกันคงต่างกันไม่ได้มากนัก แต่ LTCM ก็ทำกำไรด้วยวิธีการนี้ได้อย่างมหาศาล เพราะไม่ได้ใช้เงินของตัวเอง LTCM เพียงแต่ขอยืมพันธบัตรของคนอื่นมาขาย แล้วเอาเงินก้อนนั้นแหละมาซื้อพันธบัตรอีกตัวหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง LTCM จะต้องถือเงินส่วนตัวไว้จำนวนหนึ่งด้วย เพื่อให้เจ้าของพันธบัตรเชื่อเครดิต เงินจำนวนนี้จึงเป็นส่วนทุนที่แท้จริงของ LTCM ซึ่งก็น้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดพันธบัตรที่ยืมมาหลายสิบเท่าตัว ฉะนั้น แม้ net gain จะแคบมาก แต่ LTCM ก็ได้กำไรหลายสิบเท่าตัวเมื่อเทียบกับทุนที่ใช้ ตลาดพันธบัตรเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มหึมาและมีสภาพคล่องสูง LTCM จึงสามารถเพิ่ม position ได้โดยไม่จำกัด
    แต่สุดท้ายแล้ว LTCM ก็ยังเจ๊งได้ยังไงนั้น ทุกท่านสามารถหาหนังสืออ่านได้ทั่วไป แต่ประเด็นที่ผมอยากจะเขียนถึงในบทความนี้คือ กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงของพวกเฮดจ์ฟันด์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่น่าเรียนรู้
    กลยุทธ์ลดความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งของพวกเฮดจ์ฟันด์ ที่จะขอยกมาเขียนถึงเป็นตัวอย่างเรียกว่า market neutral strategy กลยุทธ์นี้มีแนวคิดว่า บ่อยครั้งที่เราค้นพบหุ้นตัวหนึ่ง ที่มีสตอรี่ที่ดีมาก ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะขยับขึ้นได้ในอนาคต แต่พอเราลงทุนไป ปรากฏว่า ภาวะตลาดเกิดเลวร้ายลง ทำให้แม้หุ้นที่เราลงทุนจะมีสตอรี่ที่ดี แต่ก็ฝืนภาวะตลาดไม่ไหว ทำให้ต้องขาดทุนอยู่ดี ภาวะตลาดจึงเป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ที่สำคัญสำหรับการลงทุนแบบ bottom up
    เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะตลาด (Market Risk) ลง แทนที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นเฉยๆ ก็ให้ short index ไปพร้อมกันด้วย ถ้าหากเกิดโชคร้ายตลาดลงแรง แต่ถ้าเราคิดได้ถูกต้องเกี่ยวกับสตอรี่ของหุ้นตัวนั้น แม้หุ้นจะลงด้วยตามภาวะตลาด แต่เนื่องจากมันลงน้อยกว่าตลาด เพราะมีสตอรี่ที่ดีของตัวเองช่วยเอาไว้ เมื่อ net กับ short index position แล้ว เราจึงยังคงได้กำไรอยู่ แม้ตลาดจะลง วิธีจึงช่วยให้เราลงทุนแบบ bottom up ได้โดยไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร เพราะตราบได้ที่หุ้นของเรา outperform ตลาด เราจะยังได้กำไรเสมอ
    อย่างไรก็ตาม market neutral strategy ไม่ถือว่าเป็น riskless opportunity อย่างแท้จริง เพราะหลักทรัพย์ที่ long กับที่ short นั้นไม่ได้เหมือนกันทุกประการเหมือนอย่างในกรณีของ LTCM วิธีนี้จึงช่วยลดความเสี่ยงลงได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางกองทุนจึงเพียงแต่ short index ไว้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่น เท่ากับ 30% ของหุ้นที่ซื้อ แทนที่จะ short เต็มทั้งจำนวน เพราะการลดความเสี่ยงของตลาดลงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเต็มอัตรา
    อีกกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจของพวกเฮดจ์ฟันด์มีชื่อว่า 130/30 กลยุทธ์นี้มาจากแนวคิดที่ว่า บางครั้งตลาดอยู่ในภาวะฟองสบู่ หุ้นส่วนใหญ๋ในตลาดแพงหมด ถ้าเรามีนโยบายลงทุน 100% ของพอร์ตตลอดเวลา ก็เท่ากับเป็นการบังคับให้เราต้องถือหุ้นบางตัว ทั้งที่เราคิดว่ามันแพงมากแล้ว ดังนั้น แทนที่เราจะซื้อหุ้นอย่างเดียว 100% ของพอร์ต เราเปลี่ยนมาเป็นการซื้อหุ้นในตลาดที่เราคิดว่าถูก 130% ของพอร์ต (ยืมมาร์จิ้นมา) และ short หุ้นในตลาดที่เราคิดว่าแพงอีก 30% แบบนี้ net position ของเราก็ยังคงเท่ากับ 100% อยู่ เช่นเดิม แต่แทนที่เราจะต้องฝืนใจถือหุ้นแพงเข้าพอร์ตทั้งหมด เราหาผลตอบแทนด้วยการ short หุ้นที่แพงไปได้ด้วยอีกส่วนหนึ่ง ในระยะยาวน่าจะทำผลตอบแทนได้สูงกว่า การซื้ออย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ตลาดหุ้นแพงเรื้อรัง
    ที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของพวกเฮดจ์ฟันด์ที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน แต่ละกลยุทธ์ก็แสนพิสดารสุดที่จะคิดกันขึ้นมาได้ สมัยนี้เฮดจ์ฟันด์หลายกองก็ไม่ได้มีกลยุทธ์มุ่งลดความเสี่ยงตามนิยามที่ดั่งเดิมอีกต่อไปแล้วด้วย (วิธีอะไรก็ได้ที่คิดว่าจะดึงดูดเม็ดเงินของนักลงทุนได้เป็นใช้ได้)
    การเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ของพวกเฮดจ์ฟันด์นั้น ช่วยทำให้เห็นว่าโลกนี้ยังมีวิธีการลงทุนแบบอื่นๆ อยู่อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ผมคงไม่แนะนำให้นักลงทุนหน้าใหม่เลียนแบบวิธีการของเฮดจ์ฟันด์ แม้ว่าบางหลายวิธีจะดูมีเหตุผลดีทีเดียว แต่การทำธุรกรรม short นั้นต้องการวินัยอย่างสูง บางครั้งวิธีการดี แต่จิตใจยังไม่หนักแน่นพอ ก็พลาดได้ง่ายๆ
    ผมเชื่อว่า ทุกวันนี้การที่ตลาดทุนโลกเต็มไปด้วยเฮดจ์ฟันด์ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินของรัฐฯ มากกว่าปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นเข้าไปทุกที เพราะกลยุทธ์ส่วนใหญ่ของเฮดจ์ฟันทำกำไรจาก noise จึงสามารถทำกำไรได้เสมอโดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นที่ซื้อจะแพงหรือไม่เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน ดังนั้นเวลาที่เฟดใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เฮดจ์ฟันด์ก็จะหาทุนได้มากขึ้น ก็จะนำมาสร้าง position ในตลาดหุ้นมากขึ้นทันที โดยไม่เกี่ยวกับ outlook ของหุ้น และเมื่อเฟดใช้นโยบายการเงินตึงตัวก็จะให้ผลตรงกันข้าม เงินที่ไหลเข้าออกจากตลาดหุ้นจึงเป็นไปตามภาวะตลาดเงินมากกว่าจะเป็นไปตามตามความคิดของนักลงทุนเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้นในขณะนั้น
    1001ii
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แกะรอย บิล มิลเลอร์
    [​IMG]
    บิล มิลเลอร์ ผู้จัดการกองทุน Value Trust แห่ง Legg Mason Capital Management ถือเป็นผู้จัดการกองทุนคนเดียวที่สามารถเอาชนะดัชนี S&P500 ได้ติดต่อกันยาวนานที่สุดคือ 15 ปี (เขาเพิ่งจะเสียสถิติไปเมื่อปี 2006) แม้ว่าเขาจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อยลงมากหลังจากที่เขาเสียสถิติไปแล้วและผลงานของเขาหลังจากนั้นก็ยังคงดูไม่ค่อยดีนัก แต่วิธีคิดของผู้จัดการกองทุนคนเดียวที่เคยชนะตลาดติดต่อกัน 15 ปีได้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง (เนื้อหาต่อจากนี้ไปมีบางส่วนเป็นความเห็นต่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับความเชื่อที่มีอยู่เดิมของผู้อ่านได้ หากไม่ต้องการอ่านต่อ กรุณาคลิก ที่นี่ )
    บิล มีประวัติที่แปลกกว่าผู้จัดการกองทุนทั่วไป เขาไม่ได้เรียนมาทางการเงินเลย แต่เขาจบปริญญาเอกทางด้านปรัชญา ซึ่งเขาบอกว่า วิธีคิดแบบปรัชญามีอิทธิพลต่อวิธีการมองตลาดทุนของเขาอย่างมาก
    เดิมที บิลไม่ได้ทำงานด้านการเงิน แต่เขาต้องไปรับส่งภรรยาของเขา ซึ่งทำงานอยู่ที่ Legg Mason ทุกวัน เขาจึงชอบไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดของบริษัท เมื่อประธานบริษัทเห็นเขาเป็นประจำก็เกิดความสนใจว่าทำไมคนนี้จึงชอบใช้ห้องสมุดทางการเงินที่เขาอุตส่าห์สร้างขึ้นมาเพื่อหวังให้พนักงานบริษัทอ่านหนังสือมากๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แต่กลับไม่ค่อยมีพนักงานของบริษัทมานั่งอ่าน เมื่อได้คุยกัน ก็ถูกใจในความคิดความอ่านจึงได้ชวนบิลมาทำงาน แล้วชีวิตของบิลก็เดินเข้าสู่วงการการเงินนับแต่นั้น จนกลายมาเป็นผู้จัดการกองทุน ที่มีชือเสียงระดับตำนานในเวลาต่อมา
    บิล บริหารกองทุน Value Trust ซึ่งเขาบอกว่าเป็นกองทุนที่ยึดหลัก Value Investment แต่เขามักถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอว่าไม่ได้ใช้หลักการดังกล่าวจริงๆ เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ในพอร์ตเป็นหุ้นที่ตลาดมองว่าเป็น Growth Stocks เป็นส่วนใหญ่ (Amazon, Google, EBay, etc)
    บิลแย้งว่า สำหรับเขา Value Investment คือการซื้อหุ้นที่เทรดต่ำกว่าคุณค่าของมันมากๆ ไม่ว่าหุ้นเหล่านั้นจะเป็นหุ้นอะไร ที่พอร์ตของเราถือหุ้นเทคโนโลยีไว้มาก เป็นเพราะเรามองว่า หุ้นเทคโนโลยีในปัจจุบันจำนวนมากเป็นหุ้นที่ยังเทรดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันมาก พีอีไม่ใช่สิ่งที่เขาใช้มองหาคุณค่า เขามองว่าพีอีใช้บอกคุณค่าได้แค่เพียงบางด้านเท่านั้น เมื่อตอนที่เขาลงทุนใน Dell เทรดที่พีอี 35 เท่า ในขณะที่ Gateway เทรดที่ 12 เท่า แต่บิลเลือก Dell เพราะในเวลานั้นธุรกิจของ Dell สร้างผลตอบแทนได้ 200% ของเงินลงทุนทุกปี (Return on investment) ในขณะที่ Gateway ทำได้แค่ 40% การที่ Dell เทรดสูงกว่า Gateway แค่ 3 เท่าทั้งที่สามารถสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุนได้สูงกว่าถึง 5 เท่า จึงแสดงว่า Dell เป็นหุ้นที่ undervalued มากกว่าเมื่อเทียบกับ Gateway
    ในการหา intrinsic value บิลจะใช้หลายโมเดลเสมอเพื่อพิจารณาประกอบกันเสมอ แทนที่จะใช้ตัวชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งเพียงแค่ตัวเดียว
    นอกจาก การเลือกลงทุนแต่หุ้นที่ประเมินว่ายังเทรดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ แล้วเท่านั้น บิลยังอาศัยการมองธุรกิจโดยเน้นที่ภาพระยะยาวมากเป็นหลัก บิลอธิบายว่า หุ้นที่มีรายได้เติบโตสูงในระยะยาว ราคาหุ้นมักผันผวนมากในระยะสั้น เพราะคุณค่าของมันขึ้นอยู่กับการเติบโตในอนาคต ราคาจึงอ่อนไหวกับความคาดหวังของตลาดมาก นักลงทุนจึงมักรู้สึกว่าเป็นหุ้นที่เสี่ยง แต่ที่จริงแล้ว หุ้นที่สามารถสร้างรายได้ให้เติบโตสูงในระยะยาวได้เท่านั้นที่จะทำให้ราคาหุ้นวิ่งไปได้ไกลที่สุดในระยะยาว มันจึงเป็นหุ้นที่น่าถือไว้ในระยะยาวมากที่สุด การลงทุนที่มองภาพในระยะยาวมากเป็นหลักทำให้ Value Trust เป็นกองทุนที่มีอัตราการเทรดที่ต่ำมาก คือประมาณ 20% ของทั้งพอร์ตต่อปีเท่านั้น (เทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมในสหรัฐฯ ซึ่งเกิน 100% ต่อปี) บิลต้องการให้พอร์ตโตไปด้วยกันกับกิจการที่เขาลงทุน
    ในการลงทุน บิลไม่ให้ความสำคัญกับข้อมูล forecast เพราะ บิลเชื่อว่า forecast ที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ทั้งหมด ถูก discount ไปในราคาหุ้นหมดแล้ว (if it's in the newspaper, it's in the price) ข้อมูลเกี่ยวกับ forecast จึงเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถช่วยให้ชนะตลาดได้ บิลมองว่ากำไรในอีก 12 เดือนข้างหน้ามักไม่ค่อยมีผลต่อราคาหุ้นในวันนี้ เพราะตลาดมัก forecast ไปล่วงหน้า 12 เดือน กำไรในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะมีผลต่อราคาหุ้นก็ต่อเมื่อกำไรที่ออกมาผิดจาก forecast ไปมากๆ เท่านั้น เขายกตัวอย่างว่า สมมติว่า IBM ถูกคาดหมายว่าจะกำไร $5 ในอนาคตอันใกล้ แต่พอถึงเวลานั้นจริงๆ หาก IBM กลับทำกำไรได้แค่ $3 บางคนอาจคิดว่าราคาหุ้น IBM คงจะลง แต่ปรากฏว่าราคาหุ้น IBM อาจปรับเพิ่มขึ้นถึง 50% เลยก็ได้ถ้าหากตลาดคิดต่อไปแล้วว่าในช่วงเวลาถัดจากอีก 12 เดือนออกไป IBM จะกลับมามีกำไร $7 ปรากฏการณ์ในลักษณะเช่นนี้มีให้เห็นได้บ่อยๆ ในตลาดหุ้น
    บิลเชื่อว่า ตลาดหุ้นไม่ได้มีประสิทธิภาพในแง่ที่ว่าราคาหุ้นสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการตลอดเวลา แต่ตลาดหุ้นก็มีประสิทธิภาพสูงมากในแง่ของการซึมซับข่าวอย่างรวดเร็ว (informationally efficient) หมายความว่า คุณไม่มีทางเอาชนะตลาดได้โดยการรู้ข่าวก่อนคนอื่น ผลกำไรส่วนเกินในตลาดหุ้นต้องมาจากการ exploit ความลำเอียงของตลาดซึ่งเป็นผลมาจาก Psychological Bias อันเป็นข้อบกพร่องของมนุษย์ ซึ่งกลไกตลาดไม่สามารถขจัดออกไปได้ (เพราะตลาดประกอบด้วยมนุษย์) เขาจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่อง Bias ของมนุษย์มาก เพราะมองว่าคือหนทางสำคัญที่จะทำให้ชนะตลาดได้ เขายังเป็นประธาน SantaFe Institute ซึ่งวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกด้วย
    บิลกล่าวว่า วิธีเอาชนะตลาดนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ไม่ใช่แน่นอนคือวิธีการลงทุนที่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ในตลาด

    http://www.settrade.com/blog/1001ii/2009/11/08/664
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วอเรน บัฟเฟต
    [​IMG]

    วอเรน บัฟเฟต จัดว่าเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
    วอเรน ซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุได้เก้าขวบ ราคาหุ้นที่ร่วงลง ทำให้เขาวิตกกังวลมาก เมื่อราคาหุ้นเด้งกลับมาจนมีกำไร เขาก็ขายหุ้นนั้นด้วยความโล่งอก แต่หลังจากนั้น หุ้นดังกล่าวก็ทะยานขึ้นอย่างมากมาย ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้วอเรนเห็นข้อเสียของการขายหุ้น
    ในวัยหนุ่ม วอเรน เริ่มมีแนวการลงทุนที่ชัดเจนเป็นครั้งแรก เมื่อได้ศึกษาแนวทางของ เบนจามิน แกรม ที่เรียกว่า Value Investment ซึ่งสอนให้มองการซื้อหุ้นให้เหมือนการซื้อธุรกิจจริงๆ มากกว่าการซื้อเศษกระดาษ วอเรนกล่าวว่า แนวคิดนี้ช่วยทำให้เขาตาสว่าง
    ในช่วงแรก วอเรนยึดมั่นในวิธีของเบน แกรมอย่างเหนียวแน่น เขาเลือกลงทุนในหุ้นก้นบุหรี่ ซึ่งหมายถึง หุ้นที่มีราคาต่ำกว่าสินทรัพย์ของบริษัทอย่างมากเสียจน ซื้อแล้วแทบไม่มีอะไรจะเสียได้อีกแล้ว
    แต่ต่อมา เขาก็ค้นพบว่า ที่จริงแล้ว ธุรกิจจะมีบางสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีค่ามากมายกว่าสินทรัพย์ในงบดุล เป็นอย่างมาก เขาเรียกมันว่า Franchise Value หลังจากนั้น วอเรน ก็เริ่มลงทุนด้วยการค้นหาบริษัทที่มี Franchise Value เป็นหลัก นี่เองที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผลตอบแทนของวอเรนในช่วงหลัง แซงหน้าเบนจามิน แกรม อย่างมีนัยสำคัญ
    ในช่วงนี้ เขายังได้ศึกษาแนวการลงทุนของ Philip Fisher อีกด้วย ซึ่งเน้นให้ลงทุนในธุรกิจที่มีอนาคตที่ยาวไกล และให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพของผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง ทำให้วอเรน เริ่มมีแนวการลงทุนเป็นของตนเอง ซึ่งเขาบอกว่า เป็นการผสมแนวของแกรมและฟิชเชอร์ในสัดส่วน 70:30
    การลงทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือการใช้เงินจำนวนมากเข้าซื้อหุ้นโคล่าโคล่า ซึ่งวอเรนมองว่าเป็นกิจการที่มี Franchise Value คือ ตราสินค้าที่ไม่มีใครเทียบเคียงได้ เขาซื้อมันที่พีอีเรโชประมาณ 16 เท่า ซึ่งสูงกว่าพีอีตลาดในขณะนั้นถึงเกือบสองเท่าตัว แต่หลังจากนั้น บริษัทโคล่าโคล่าก็มีอัตราการเติบโตของกำไรที่อย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปี ขยายกิจการไปทั่วโลก ทำให้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
    หุ้นโคล่าเคยมีราคาสูงสุดในช่วงปี 2000 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บูมสุดขีด ซึ่งทำให้หุ้นของวอเรนมีมูลค่าตลาดสูงกว่าต้นทุนที่ซื้อมามากถึง 16 เท่าตัว ก่อนที่จะถอยกลับลงมาเหลือประมาณ 9 เท่าตัวในปัจจุบัน แม้จะตกลงมามาก แต่เพราะกำไรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกันที่ยาวนานมากในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากบัฟเฟตเข้าลงทุน ทุกวันนี้แม้ว่าโค้กจะไม่เติบโตมากเท่ากับสมัยก่อน แต่หุ้นโค้กก็ยังให้เงินปันผลแก่เขา ปีละประมาณถึง 1/3 ของต้นทุนที่เขาได้ลงทุนไปทุกๆ ปี
    1001ii
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เบนจามิน แกรม เปลี่ยนแนว
    เบนจามิน แกรม เป็นผู้บุกเบิกแนวการลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แนวทางหนึ่งที่เบนแนะนำคือให้นักลงทุนเลือกซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า net current asset ของมันมากๆ แล้วถือไว้จนกว่าราคาหุ้นจะขึ้นมาเท่ากับค่าดังกล่าว เป็นต้น คำสอนต่างๆ ของเบนถือว่าเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในหมู่นักลงทุนแนว Value Investing
    อย่างไรก็ตาม เรื่องหนึ่งที่นักลงทุนอาจไม่เคยทราบคือ ในช่วงบั้นปลายชีวิต เบนจามิน แกรม ได้ละทิ้งวิธีการลงทุนเหล่านั้นไปโดยสิ้นเชิง ข้อความต่อไปนี้แปลมาจากบทสัมภาษณ์ของเบนจามิน แกรม ใน Financial Analyst Journal เมื่อหลายปีที่แล้ว
    "I am no longer an advocate of elaborate techniques of security analysis in order to find superior value opportunities. This was a rewarding activity, say, 40 years ago, when our textbook "Graham and Dodd" was first published; but the situation has changed a great deal since then. In the old days any well-trained security analyst could do a good professional job of selecting undervalued issues through detailed studies; but in the light of the enormous amount of research now being carried on, I doubt whether in most cases such extensive efforts will generate sufficiently superior selections to justify their cost. To that very limited extent I'm on the side of the "efficient market" school of thought now generally accepted by the professors."
    "ผมไม่แนะนำให้ใช้เทคนิควิเคราะห์หลักทรัพย์ต่างๆ ที่ผมได้อธิบายไว้ในการเสาะหาคุณค่าในตลาดอีกต่อไปแล้ว นั่นเป็นวิธีการที่ได้ผลดีเยี่ยมเมื่อสี่สิบปีที่แล้ว เมื่อตำราของเราถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรก แต่สถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปมากแล้ว สมัยก่อนนักวิเคราะห์ที่มีความรู้คนไหนๆ ก็สามารถประกอบอาชีพค้นหาหุ้นด้วยการทำงานหนัก แต่ด้วยปริมาณบทวิจัยที่ออกมาอย่างมากมายในปัจจุบัน ผมสงสัยว่าการทำงานหนักเหล่านั้นจะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับต้นทุนของมันได้หรือไม่ ในแง่นี้ ผมอยู่ข้างเดียวกันกับแนวคิดเรื่อง ตลาดมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับโดยบรรดานักวิชาการ"
    <FONT class=emoticons size=4 [​IMG]อ่านเวอร์ชั่นเต็มได้ที่ A Conversation With Benjamin Graham [​IMG]
    ใครที่อ่านบทสัมภาษณ์อาจมองว่าเบนเป็นคนโลเล แต่ผมกลับไม่ได้คิดอย่างนั้น บทความนี้กลับทำให้ผมได้เห็นว่า เบนเป็นคนที่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง เพราะโดยปกติแล้ว คนเราถ้าคิดหลักการอะไรขึ้นมาจนมีชื่อเสียง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย แล้ววันหนึ่ง เกิดได้รับข้อมูลใหม่ว่า หลักการเดิมของตนใช้ไม่ได้ผลแล้ว ก็มักหรี่ตาเสียข้างหนึ่ง แล้วยืนกระต่ายขาเดียวต่อไปว่าหลักการเดิมของตนยังใช้ได้อยู่ หาไม่แล้วจะถูกลูกศิษย์ลูกหามองว่าเป็นอาจารย์ที่ล้มเหลว แต่เบนไม่ได้เป็นคนเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย แม้เบนจะแก่มากแล้ว และอยู่ในตลาดมามากกว่าหกสิบปี แต่เบนก็ยังคงเป็นคนที่เรียนรู้ความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ แม้แต่ความคิดเรื่องตลาดประสิทธิภาพ ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของเขาอย่างสิ้นเชิง เบนก็ยังสามารถเปิดใจรับฟังได้ นับว่าเป็นบุคคลที่หาได้ยากยิ่ง เป็นทองแท้ครับ
    เรื่องที่วิธีการของเบนใช้ไม่ได้แล้ว ผมมองว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยไม่แต่น้อย เพราะในสมัยที่เบนเริ่มลงทุนนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดยังไม่รู้จักอาศัยข้อมูลงบการเงินในการตัดสินใจเลือกหุ้น ช่องว่างในการทำกำไรด้วยวิธีแบบใหม่นี้จึงยังมีอยู่มาก ต่อมาแนวทางของเบนมีชื่อเสียง มีผู้ลอกเลียนแบบวิธีการของเบนในการหากำไรในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับตลาดหุ้นพัฒนาขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จึงแพร่หลายทั่วไป อีกทั้งยังมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยค้นหาหุ้นกันอย่างแพร่หลาย ช่องว่างที่เคยมีอยู่อย่างมากมายจึงหายไปหมด ในตลาดหุ้น วิธีการใดๆ ก็ตามที่มีผู้นำไปใช้มากเกินไปจะใช้ไม่ได้ในที่สุด
    แม้ว่าวิธีการของเบนจะไม่เหมาะกับตลาดทุนยุคใหม่แล้ว แต่บุคลิกของเบนที่เป็นคนพร้อมรับความรู้ใหม่ได้อยู่ตลอดเวลาทั้งที่เป็นนักลงทุนระดับตำนานแล้ว ไม่ว่าความรู้ใหม่นั้นจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิมหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นคุณลักษณะที่นักลงทุนน่าจะนำไปเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนที่ลงทุนในแนวเน้นคุณค่า ซึ่งถือเป็นลูกศิษย์สายตรงของเบน แกรม ประสบการณ์ในตลาดทุนต้องใช้เวลาสะสมตลอดชีวิต นักลงทุนจึงต้องหาทางพัฒนาฝีมือของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรหยุดอยู่กับที่ครับ

    1001ii
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Sir John Templeton
    [​IMG]

    Sir John Templeton เป็นนักลงทุนระดับตำนานที่ก่อตั้งกองทุน Templeton ซึ่งมี มาร์ค โมเบียส เป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุน
    JT เกิดในครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน ในวัยเด็กเขาได้เห็นปู่ของเขาซึ่งชอบการเก็งกำไรตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแบบแมงเม่า และหมดตัว ทำให้เขามีทัศนคติว่า อนุพันธ์คือสิ่งที่ทำให้คุณเป็นเศรษฐีได้ในไม่เวลาไม่กี่วัน และวันต่อมาคุณก็หมดตัว เขาสนใจการลงทุนในหุ้นสามัญมากกว่า
    JT เริ่มต้นตำนานการลงทุนของเขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในเวลานั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะที่ซบเซาอย่างเรื้อรัง อันเป็นผลพวงที่ต่อเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 1929 เมื่อสหรัฐฯ ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง นักลงทุนพากันทิ้งหุ้นเพื่อหนีภาวะสงคราม แต่ JT กลับมองว่า การเข้าร่วมสงครามของสหรัฐฯ จะทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจถูกนำออกมาใช้ และจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ หลุดออกจากภาวะซบเซาได้ เมื่อคิดได้ดังนั้น แต่ตัวเองไม่มีเงินเลย เขาจึงขอยืมเงินจากเจ้านายของเขา มาจำนวนหนึ่ง แล้วนำเงินนั้นทั้งหมดมาซื้อหุ้นของบริษัทที่อยู่ในภาวะย่ำแย่กว่า 100 บริษัทสวนทางกับคนอื่นในตลาดในราคาที่ถูกแสนถูก
    หลังจากนั้นปรากฏว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งจริงๆ อย่างที่ JT คิดไว้ เขาถือหุ้นเหล่านั้นไว้อีก 4 ปีก่อนที่จะขายพวกมันออกมาทั้งหมด ซึ่งทำให้เขาได้กำไรอย่างมากมายมหาศาล เขาคืนเงินต้นให้กับเจ้านาย แล้วเก็บกำไรทั้งหมดเอาไว้กับตัวเอง และเขาก็เปลี่ยนเป็นบุคคลที่ร่ำรวยนับแต่นั้นมา
    JT เป็นนักลงทุนสไตล์คอนทราเรียนตัวยง เขาบอกว่า เวลาที่การมองโลกในแง่ร้ายของผู้คนถึงขีดสุด คือเวลาที่ควรเข้าซื้อหุ้นให้เต็มที่
    JTเป็นเจ้าของวลีดังที่ว่า "ตลาดกระทิงเกิดขึ้นท่ามกลางการมองโลกในแง่ร้าย เติบโตภายใต้ความระแวงสงสัย บรรลุวุฒิภาวะด้วยการมองโลกในแง่ดี และล่มสลายด้วยความมั่นใจที่สุดขีด"
    JT ยังเป็นเจ้าของอีกวลีหนึ่งที่ว่า "บางครั้งราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เพียงเพราะราคาเพิ่มขึ้น" หมายความว่า หุ้นที่ราคาขึ้นจะทำให้คนรู้สึกอยากซื้อ ราคาหุ้นจึงขึ้นไปอีก ทั้งที่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวกิจการทั้งสิ้น
    JT มีความชำนาญในการมองภาวะตลาดหุ้นโดยรวม เขาไม่ซื้อหุ้นบ่อยนัก แต่เมื่อถึงเวลาซื้อ จะซื้อครั้งละมากๆ แล้วขายทั้งหมดออกไปในอีกสามถึงสี่ปีต่อมา เพราะเขามองว่า แนวโน้มมหภาคมักจะกินเวลานานเป็นสิบปี แต่เมื่อถึงเวลากลับตัว จะรวดเร็วและเหนือความคาดหวังของนักลงทุนในตลาดเสมอ
    กองทุนของเขามีความชำนาญในการลงทุนในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เขาได้กำไรครั้งใหญ่หลายครั้งจากการมองออกว่า ประเทศใดกำลังจะเข้าสู่ยุคทองแล้วเข้าไปลงทุนก่อนคนอื่น ในการเลือกประเทศที่จะลงทุน เขาชอบประเทศที่เริ่มเข้าสู่ช่วงที่มีนโยบายเป็นเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ มากที่สุด

    1001ii
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    John Neff
    [​IMG]

    John Neff เป็นนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง กลยุทธ์การลงทุนของเขาคือ "ซื้อหุ้นที่ไม่อยู่ในความสนใจของตลาดแต่มีโอกาสเติบโตในอนาคตที่น่าสนใจ และขายเมื่อตลาดกลับมาเห็นด้วยกับคุณอย่างสมบูรณ์แล้ว" นับเป็นกลยุทธ์ที่ผมได้ยินแล้วรู้สึกชอบมากๆ เป็นการส่วนตัว Neff เกลียดการซื้อหุ้นที่กำลังเป็นที่สนใจของตลาดมาก
    จุดเด่นอย่างหนึ่งของ Neff คือ เขามีหลักการซื้อขายหุ้นที่ทำตามได้ไม่ยากและเป็นรูปธรรม เขากล่าวว่า ความน่าสนใจของหุ้นตัวหนึ่งจะถูกวัดจาก อัตราการเติบโตที่คาดบวกด้วยอัตราเงินปันผล หารด้วย พีอี ของมัน เขาเรียกมันว่า PYG ยิ่งมีค่ามากเท่าไร ยิ่งน่าสนใจ
    เวลาคิดจะซื้อหุ้นสักตัวหนึ่งให้เปรียบเทียบ PYG ของมัน กับ PYG ของพอร์ตเดิมที่มีอยู่ ถ้าหาก PYG ของหุ้นตัวนั้นมีค่าสูงกว่า PYG ของพอร์ตปัจจุบัน การซื้อหุ้นนั้นเข้าพอร์ตจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับพอร์ต นักลงทุนควรหาโอกาสเพิ่มค่า PYG ของพอร์ตให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเติมหุ้นที่มี PYG สูงกว่าพอร์ตเข้าไปในพอร์ต ไม่ต้องไปสนใจ PYG ของตลาดมากนัก ยกเว้นในยามที่ PYG ของตลาดสูงมากจริงๆ อาจเปลี่ยนมาเงินสดไว้สัก 20% ก็ได้
    นักลงทุนระดับตำนานมักร่ำรวยมาจากการซื้อหุ้นเพียงไม่กี่ครั้งในชีวิตที่เขามั่นใจมากๆ และทุ่มซื้อด้วยเงินที่เป็นสัดส่วนที่สูงมากของทุนทั้งหมดที่เขามีอยู่ Neff ซื้อ Ford ที่พีอีแค่ 2.5 เท่าที่ราคาเฉลี่ย $14 ในช่วงที่ทุกคนกังวลว่าบริษัทกำลังจะล้มละลาย เขาถือมันไว้ 3 ปี ราคากลับขึ้นไป $50 ทำให้เขาได้กำไรมากถึง 500 ล้านเหรียญจากหุ้นตัวเดียว
    ผลงานตลอดชีวิตของ Neff เป็นตัวเลขที่ไม่ได้สูงมาก เฉลี่ยเพียง 13.7% ต่อปีเท่านั้น แต่เป็นระยะเวลาลงทุนที่ยาวนานถึง 32 ปี มันจึงเป็นผลตอบแทนที่มหาศาล นี่แสดงให้เห็นว่าการจะเป็นนักลงทุนระดับตำนานนั้นไม่จำเป็นต้องได้ผลตอบแทนต่อปีสูงๆ ขอให้เป็นการลงทุนที่มีความมั่นคงพอสมควรเพื่อให้พอร์ตสามารถดำรงอยู่ได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ blow ไปเสียก่อน คุณก็สามารถสร้างตำนานได้แล้วครับ
    1001ii
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Ken Heebner
    [​IMG]

    Ken Heebner เป็นผู้จัดการกองทุน Capital Growth แม้ว่าเขาจะไม่ใช่เจ้าของสถิติผู้จัดการกองทุนที่ทำผลงานได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาล by absolute return (i.e. ปีเตอร์ ลินซ์) แต่ผลตอบแทนของเขาหักด้วยผลตอบแทนตลาดตลอดระยะเวลาที่ลงทุน (excess return) ทำได้ดีกว่าในกรณีของปีเตอร์ ลินซ์
    Heebner ได้ชื่อว่าเป็นคนที่เห็นอะไรได้เร็วกว่าตลาดหลายก้าว เวลาเมฆฝนใหญ่ในตลาดหุ้นกำลังจะมา เขามักสามารถคาดการณ์ได้เร็วกว่าคนทั่วไปและขายออกไปก่อนตั้งแต่ทุกคนยังเห็นว่าทุกอย่างยังดูดีอยู่
    เขาอุทิศตัวให้กับการหาข้อมูลอย่างยิ่งยวด ในช่วงที่น้ำมันเริ่มตึงตัวเมื่อหลายปีที่แล้ว เขาลงทุนเดินทางไปดูบ่อน้ำมันในซาอุด้วยตาตนเอง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และนั่นก็เกิดขึ้นก่อนที่ราคาน้ำมันจะเริ่มทะยานขึ้นเสียอีก คติประจำใจของเขาคือ เขาต้องการแต่ข้อมูล ไม่ใช่ความคิดเห็น เขาจะตัดสินใจซื้อขายหุ้นจากข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว เขามีทีมงานเล็กๆ ที่ประกอบด้วยเพื่อนร่วมงานที่รู้ใจกันมานานกว่ายี่สิบปี ช่วยกันหาข้อมูลอย่างเข้าขา เขาอุทิศชีวิตให้กับการหาข่าว และแทบไม่มีเวลาให้กับเรื่องส่วนตัว เขาทำงานอยู่ที่ออฟฟิศเสมอแม้แต่ในช่วงวันหยุดเทศกาล เขามีความสุขที่ได้ทำอย่างนั้นและทำแบบนั้นมาตลอดช่วงชีวิตของเขา
    ผู้คนมักเข้าใจว่า Heebner มีผลตอบแทนที่ดี เพราะเขาตัดสินใจได้ถูกต้องเสมอ แต่เขาเชื่อว่า ที่จริงแล้ว จุดแข็งของเขาเองอยู่ที่ความสามารถในการยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ทันที่ที่เขารู้ตัวว่าคิดผิด เขาจะขายหุ้นนั้นทั้งหมดทันที โดยไม่สนใจว่าจะต้องขาดทุนเท่าไร เขาไม่เคยมี ego ที่จะถือหุ้นเหล่านั้นต่อไป เพื่อการรักษาหน้าของตัวเอง หรือหวังลมๆ แล้งๆ ว่า ผิดจะกลายเป็นถูกขึ้นมา เพราะเขามองว่า เป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะคิดถูกได้ตลอดเวลาในตลาดหุ้น ดังนั้นการจะได้ผลตอบแทนที่ดี จะต้องอาศัยการขาดทุนให้น้อยที่สุดในครั้งที่เราคิดผิด
    ข้อคิดสำคัญที่ผมได้จาก Heebner คือ ผมสังเกตว่า นักลงทุนระดับตำนานจริงๆ มักไม่เชื่อว่าตัวเอง "มีองค์" คือรู้ว่าหุ้นอะไรเด็ดได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำการบ้าน หรือดูอย่าง Bill Miller ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนที่เอาชนะตลาดได้ 16 ปีติดต่อกันคนเดียวในโลก แต่กลับเชื่อว่า ตลาดหุ้น very very efficient แล้วคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ทำไมกลับดูถูกตลาดหุ้น คิดว่าความสำเร็จในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ได้มาง่ายๆ
    http://www.settrade.com/blog/1001ii/2009/08/31/619
     
  14. ForeverYoung

    ForeverYoung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +135
    บทความต่อไปนี้ เครดิต ThaiGold.info
    ไปหามาให้อ่านอะครับ ลองอ่านดู

    หลายคนอาจจะเคยได้ยินคนเถ้าคน แก่ หรือ อาจจะกระทั่งตัวเองได้เคยซื้อ (ถ้าแก่พอ) ทองคำบาทละ 400 บาท สมัยนั้น (ปี พศ. 2516) ทองคำ 1 ออนซ์ ถูกกำหนดตายตัวไว้แค่ 42.22 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 20 บาทกว่าๆครับ วันนี้ ราคาระดับหมื่นกว่าบาทแล้ว และอาจจะไปถึง 2หมื่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกิดอะไรขึ้นกับทองคำ ใครไม่รู้ประวัติ ก็มาฟังผมเล่าฉบับย่อสุดๆ (เพราะรู้นิดเดียว ฮิฮิ)


    สมัยก่อน ราวปี 1875-1914 ทองคำถูกใช้เป็นมาตรฐานระบบการเงิน ซึ่งกำหนดความแตกต่างด้วยปริมาณทองคำสำรองระหว่างสกุลเงินของ 2 ประเทศ ระบบนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะต้องสำรองทองคำในปริมาณมหาศาลเพื่อรักษาดี มานด์/ซัพพลายทางการเงินให้มีเสถียรภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใหม่หลังสหรัฐตั้งตัวเป็นเจ้าโลกแทนอังกฤษที่เสื่อม อำนาจลง เรียกว่า ข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาต่อมา
    หนึ่งในสาระสำคัญของเบรตัน วูดส์คือ การตีค่าตายตัวเอาไว้ว่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ อำนาจครอบงำจากดอลลาร์จึงเกิดขึ้น

    เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสากลและถูกนำไปใช้ทั่วโลก และตกค้างในประเทศต่างๆในจำนวนพอๆกับในสหรัฐฯ เมื่ออเมริกันกระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนาม และช่วงสงครามเย็น ภาระที่แบกรับมากเกินของรัฐบาลอเมริกัน ทำให้ดอลลาร์เริ่มมีค่าน้อยลงกว่าทองคำ สหรัฐขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศเริ่มแคลงใจ สงสัยว่าสหรัฐพิมพ์แบงค์ออกมาใช้มากกว่าทองคำที่เป็นทุนสำรองอยู่ จึงนำดอลล่าร์ไปแลกทองคำกลับมา และแน่นอน สหรัฐไม่มีปัญญาหาทองคำมาให้แลกคืนได้พอหรอก เพื่อปกป้องค่าดอลลาร์ไว้ ใน ค.ศ. 1971 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยนั้น ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์คงที่กับทองคำ ยุติการซื้อขายทองคำกับดอลลาร์เอาดื้อๆ เป็นการฉีกข้อตกลงเบรตันวูดส์อย่างสิ้นเยื่อใย และแน่นอน ประเทศอื่นก็ทำอะไรไม่ได้

    สหรัฐเป็นผู้ที่มีทองคำเป็นทุนสำรองมากที่สุดในโลกด้วยเหตุนี้ละมั๊งครับ ทั้งที่ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้าโลก ประเทศอื่นเอาทองคำไปแลกกระดาษดอลล่าร์มาเพื่อใช้เป็นทุนสำรองในการซื้อขาย ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ข้าวสาร สากกะเบือ เรือรบ เพราะระบบการเงินที่เอาตัวเองเป็นแกน พอระบบที่ตัวเองตั้งขึ้น มันไปไม่ได้ เพราะตัวเองใช้เกินตัว ก็ชักดาบเอาดื้อๆ โดยไม่มีใครกล้าหือ

    แล้วทำไมเราต้องไปยุ่งกับดอลล่าร์ด้วย
    - เพราะสหรัฐเป็นผู้ที่ถือครองทองคำมากที่สุด มีอิทธิพลในการกำหนดราคาทองคำมากที่สุด
    - เพราะทองคำ ถูกกำหนดมูลค่าเป็นดอลล่าร์ ความสัมพันธ์จึงแนบแน่นเกินจะหลีกเลี่ยง
    นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆที่สหรัฐประดิษฐ์ขึ้น ล้วนเป็นที่มาของฟองสบู่เศรษฐกิจที่แตกมาหลายครั้ง และสะเทือนไปทั่วโลก รวมถึงนวัตกรรมล่าสุด ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤติซัพไพร์มที่กำลังลามทั่วโลกขณะนี้ ทั้งหมด ยังคงเกิดจากพฤติกรรมกร่าง ใช้จ่ายเกินตัวเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมาครับ และคงไม่ต้องเดาเลยว่า มูลค่าทองคำจะสูงขึ้นไปได้อีกขนาดไหน เมื่อเทียบกับดอลล่าร์

    แปลกใจกันบ้างหรือไม่ว่า ทำไมนักวิเคราะห์จึงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่า ทองคำจะขึ้นไปถึง 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น ถ้าได้อ่านบทที่ 1 ถึงความสัมพันธ์ระหว่างทองคำกับดอลล่าร์แล้ว คงพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่า ทองคำคงไม่ลดมูลค่าง่ายๆ ตราบเท่าที่สหรัฐยังคงพิมพ์แบงค์ออกมาใช้เองไม่หยุด


    เมื่อปี 2006 World Gold Council ได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคาทองคำ ได้พบว่า
    - ระยะยาว ราคาทองคำมีสัดส่วนความสัมพันธ์แบบ 1:1 กับเงินเฟ้อของสหรัฐ
    - ราคาทองคำ ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินเฟ้อในส่วนอื่นๆของโลก
    - ความเบี่ยงเบนจากปัจจัยอื่น เช่น การเมือง ความเสี่ยงทางการเงิน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะกินเวลาสั้นๆหรือเป็นปี แต่สุดท้าย ก็จะกลับมาอยู่ที่ความสัมพันธ์หลัก คือเงินเฟ้อสหรัฐเท่านั้น

    หมายความว่า หากเงินเฟ้อสหรัฐขยับ 1% ราคาทองคำจะขยับ 1% ด้วยนั้นแหละครับ และนั่นคือที่มา ที่นักวิเคราะห์ทั้งหลาย ทำนายว่า ทองคำมันจะไป 2000 เหรียญ หรือกว่านั้น เพราะเทียบจากอดีตเมื่อครั้งลอยแพมูลค่าทองคำจนถึงปัจจุบัน ทองคำมันควรจะพุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว แล้วจริงหรือเปล่า ทำไมสิ่งที่เห็นอยู่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเงินเฟ้อเท่าไหร่เลย เห็นทองคำวิ่งตามดอลล่าร์บ้าง น้ำมันบ้าง จนเวียนหัวไปหมด งานวิจัยมันบอกชัดครับ ว่าความเบี่ยงเบนไม่เกี่ยว สุดท้ายเมื่อปัจจัยที่ทำให้ราคาเบี่ยงเบนนั้นจบลง มันก็จะกลับเข้ามาหาความเป็นจริง เพียงแต่ว่า ในมุมมองการลงทุนของเรา กลับต้องมาศึกษาไอ้ปัจจัยเบี่ยงเบนพวกนี้ เพราะคือตัวแปรสำคัญ ตราบเท่าที่ราคาทองคำ มันยังไม่เข้าหาความจริง ที่ 2000 เหรียญกว่าๆโน่น และการที่อเมริกาในช่วงนี้ เร่งพิมพ์แบงค์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจประชาคมโลก ทำให้มีการคำนวณและป่าวประกาศราคาทองคำ 5000 เหรียญแทนซะแล้ว

    ปัจจัยเบี่ยงเบนราคาทองคำที่เราต้องรู้
    ใครๆก็พูดว่า ราคาทองคำมาจากปัจจัยคือดีมานด์การใช้งานจริง กับดีมานด์การลงทุน แต่นั่นมันปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ที่ไม่มีมือมืดมาเกี่ยวข้องครับ คุณแปลกใจมั๊ยล่ะ ว่าทำไมราคาทองคำมันยังอยู่ห่างจากความเป็นจริงมากขนาดนั้น ใครพอจำได้ ทองคำ เคยโดนกดราคาลงถึงแค่ 256 เหรียญในปี 1999

    the Central Bank Gold Agreement CBGA
    นั่นเป็นเพราะมีภาพมายาที่ถูกสร้างขึ้น เพราะทองคำถือเป็นศัตรูตัวฉกาจกับระบบการเงิน นวัตกรรมใหม่ของสหรัฐ ความร่วมมือกันของเหล่าธนาคารกลางที่รวมหัว ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันจึงเกิดขึ้น หัวเรือใหญ่ไม่ใช่ใครที่ไหน คือสหรัฐกับอังกฤษนั่นแหละ ข้อตกลงร่วมกันที่ออกมารู้จักกันในชื่อ the Central Bank Gold Agreement CBGA นั่นเอง
    ในปี 1999 นับเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลงที่ว่า โดยธนาคารต่างๆมีโควตาในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตัน ระหว่างปี 1999-2004 และข้อตกลงฉบับที่ 2 กำหนดไว้ที่ 500 ตันต่อปี ระหว่างปี 2004-2009

    ราคาทองคำลดลงต่ำสุดในช่วงปี 1999 จากการที่อังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ตัดสินใจขายทองคำออกมามากกว่าครึ่งหนึ่งของทองคำสำรองที่มีในคลัง นัยว่า เลิกใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง ยกเลิกบทบาททองคำในฐานะทุนสำรอง ว่างั้น ทำให้ราคาทองคำรูดลงอย่างรวดเร็วจาก 300 กว่าเหรียญ เหลือ 250 กว่าเหรียญ
    หลายปีต่อมา จากการกระทำอย่างต่อเนื่อง ตามข้อตกลง CGBA ทำให้ราคาทองคำซึมอยู่หลายปี แต่ความพยายามดังกล่าว มันเป็นการฝืนความจริง ในที่สุด ทองคำก็กลับมาทวงสิทธิ์ของตัวเองคืน

    The Manipulation Of The Gold Market
    เหล่าธนาคารกลางนำโดยสหรัฐ มีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่ค่อยลับเท่าไหร่ เข้ามาดูแลราคาทองคำ ผ่านการซื้อขายทำธุรกรรมในตลาดทองคำ เหมือนอย่างพวกกองทุนเฮดฟันด์ทั้งหลายทำนั่นแหละ แต่วัตถุประสงค์ต่างจากเฮดฟันด์ คือไม่ได้เข้ามาหากำไร แต่เข้ามาควบคุมราคา ไม่ให้พุ่งเข้าหาราคาจริงตามเงินเฟ้อเร็วเกินไป ซึ่งเรียกว่า The Manipulation Of The Gold Market พวกนี้แหละที่เราต้องแหยงในการลงทุนทองคำ เพราะจะเข้ามาทำลายอารมณ์กระทิงในตลาดทองคำเป็นระยะ ตามแต่อารมณ์มัน

    The Gold Anti-Trust Action Committee GATA
    ทางฝั่งผู้บริโภค ก็มีการตั้งองค์กรขึ้นมาในปี 1999 เช่นเดียวกันครับ เรียกว่า The Gold Anti-Trust Action Committee GATA เพื่อสนับสนุนและรับหน้าที่ต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพื่อการครอบงำตลาด ทองคำ ไม่ให้กำหนดราคาและทิศทางตลาดตามอำเภอใจ

    ดีมานด์การใช้งานจริง
    ในแง่การลงทุนของพวกเรา จะหันกลับมาดูปัจจัยนี้ เมื่อราคามันหล่นลงมาหลังการปั่นขึ้นไปสูงๆแล้ว หรือเรียกว่า การปรับฐานใหญ่นั่นแหละ ปกติ ทุกปีจะมี 1 รอบ เรียกว่าเป็นวัฏจักรของราคาทองคำครับ โดยมีช่วงเวลาขาลงอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนโดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของฝรั่ง รวมถึงดีมานด์จากขาใหญ่อย่างอินเดีย ซึ่งเป็นชาติที่คลั่งใคล้ทองคำมากที่สุด ลดลงในช่วงนี้ ขณะที่ช่วงเดือนที่ราคาทองคำเป็นขาขึ้น จะเป็นช่วงราวเดือนตุลาคมไปจนถึงราวปลายเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ทั่วโลก ต่างก็ซื้อทองเพื่อใช้งานจริงทั้งนั้น
    ช่วงการปรับฐานใหญ่ที่ว่านั้น ราคาจะหล่นลงมาจนกว่าผู้ซื้อทองคำเพื่อการใช้งานจริงๆจะพอใจและมีแรงซื้อ กลับเข้ามามาก พวกนักลงทุนจึงจะมั่นใจ และไล่ราคาขึ้นไปเล่นกันที่สูงๆต่อ เท่ากับว่า ดีมานด์การใช้งานจริงนี้ คือตัวกำหนดราคาฐานที่แข็งแกร่งนั่นเอง
    5 ปีที่ผ่านมา ราคาก็ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุลระหว่างซัพพลายและดีมานด์ครับอ
    - ผลผลิตจากเหมืองที่ลดลงเรื่อยๆ แหล่งผลิตเก่ากำลังการผลิตตก ขณะที่แหล่งผลิตใหม่ๆเกิดขึ้นน้อย
    - ความต้องการทองคำจากประเทศจีน และอินเดียว ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจนซัพพลายไม่เพียงพอ 2 ประเทศนี้ ประชากรรวมกันหลายพันล้านคน หากคิดเหมือนกันว่าอยากได้อะไร คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่าของที่ต้องการนั้น จะขาดแคลนไปในทันที
    ความต้องการใช้งานจริง ไม่ใช่เป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาผันผวน เพราะสามารถกะเกณฑ์ได้ครับ ไอ้ที่ทำให้ผันผวนคือปัจจัยต่อไป

    ดีมานด์ความต้องการลงทุน

    ในฐานะที่ทองคำ มีบทบาทเป็นเงินอีกสกุลที่มีเสถียรภาพมาก ความต้องการใช้งานจริง จะมีผลต่อราคาทองคำเป็นวัฏจักรครับ แต่ตัวขับเคลื่อนหลักในเวลานี้ ต้องบอกว่า คือ ความต้องการในการลงทุนมากกว่า ยิ่งราคาทองคำสูง ความต้องการใช้งานจริงมีแต่จะลดลง ขณะที่ความต้องการสำหรับเพื่อการลงทุนกลับเพิ่มขึ่นเรื่อยๆ กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบ่งได้ 3 กลุ่ม

    NON COMMERICAL เป็นกลุ่มสถาบันการเงิน หรือ พวกนักเก็งกำไร หรือกองทุนขนาดใหญ่ พวกนี้เข้ามาตลาดเมื่อไหร่ จะเป็นตัวกำหนดราคาและสร้างความผันผวนในตลาดได้มากครับ เมื่อพวกนี้เข้ามาเมื่อไหร่ ปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรา ต้องรีบโดดเข้า และเตรียมโดดออกตามให้ทัน

    COMMERCIAL เป็นกลุ่มผู้ผลิต ที่เข้ามาขายกันความเสี่ยงในตลาดล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นผู้ขายออก หรืออยู่ตรงข้ามกับนักเก็งกำไรนั่นแหละ พวกนี้ เมื่อไหร่ที่เริ่มซื้อสัญญากลับหรือไม่ค่อยขายเข้ามา ก็เป็นสัญญาณว่า ราคากำลังจะขึ้นแล้ว

    NON REPORTABLE พวกนี้คือปลาซิวปลาสร้อยอย่างพวกเรานี่แหละครับ


    ปัจจัยความต้องการเพื่อการลงทุนนี้ จะอ่อนไหวกับทิศทางตลาดโดยรวมค่อนข้างมาก โดยในปัจจุบัน ทิศทางของปัจจัยนี้ ถูกกำหนดโดย


    นโยบายของเฟด หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ เป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ทั้งในเทอมดอกเบี้ยและนโยบายที่มีต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือพูดอีกทางคือ พฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัวที่ไม่ละ กำลังค่อยๆโผล่ออกมา เหมือนบ้านที่ไม่เคยกวาดสิ่งสกปรกออกจากบ้าน เอาแต่กวาดซุกใต้พรมแล้วนั่งทับไว้ จนตอนนี้ พรมคงปูดเป็นภูเขาลูกใหญ่แล้วมั๊ง คนนั่งทับ ก็กำลังนั่งง่อนแง่นอยู่บนยอด ทำเป็นไม่สนใจสิ่งหมักหมนที่อยู่ใต้พรม


    ความรุนแรงทางการเมืองโลก จากการที่สหรัฐวางตัวเป็นเจ้าโลกและคุกคามประเทศอื่นๆที่ไม่ยอมตนเอง เพื่อเข้าไปยึดครอบครองทรัพยากรของประเทศอื่น ระเบิดเวลาที่ทิ้งไว้หลายจุดทั่วโลก ทั้งอิสราเอล อัฟกานิสถาน อิรัก อิหร่าน และอีกหลายประเทศ อีกไม่นานคงได้ประทุรุนแรง

    นวัตกรรมทางการเงิน ตามแนวทางสหรัฐ เวลานี้กำลังย้อนกลับมาเล่นงานผู้คิดค้น ทั้งกรณีฉีกข้อตกลงเบรตัน วูดส์ พิมพ์แบงค์ใช้ไม่อั้น อนุพันธ์ทางการเงินเพื่อสร้างเม็ดเงินอย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกรณีซัพไพร์ม การเปิดเสรีทางการเงินรวมทั้งบีบทั้งปลอบให้ประเทศอื่นเชื่อทำตาม การสร้างระบบเก็งกำไร เหล่านี้ล้วนช่วยสร้างเศรษฐกิจสหรัฐให้ขึ้นมาอยู่ชั้นแนวหน้าพร้อมๆกับการ เผชิญความเสี่ยงมหันต์ที่ตามเป็นเงามานาน และกำลังเริ่มแผลงฤทธิ์อีกครั้ง ราคาน้ำมันถีบตัวขึ้นสูง รวมถึงโภคภัณฑ์ต่างๆและทองคำ คือตัวแทนเงามืดที่ตามสหรัฐมานานนั่นเอง

    ปูพื้นฐานปัจจัยพื้นฐานกันแล้ว งวดต่อไปคงเริ่มเข้าเรื่องสิ่งที่พวกเรารอ คือปัจจัยเทคนิคเสียที ใครอ่านความเห็นผมมาตลอด อาจเคยเห็นผมเขียนไว้เสมอว่า


    ปัจจัยพื้นฐาน เป็นตัวบอกว่า ราคาจะไปทางไหน ส่วนปัจจัยเทคนิค จะบอกว่า จะไปได้แค่ไหน

    เคยสงสัยกันใช่ไหมครับ ว่าราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้ ที่นักวิเคราะห์ปล่อยออกมา ทำไมมันถึงได้แม่น หรือใกล้เคียงมาก สมัยก่อนผมเห็นใครให้ตัวเลขราคาเป้าหมายไว้ ผมจะไม่ค่อยสนใจ เพราะคิดว่าคงเดากันไปมากกว่า แต่เมื่อราคานั้นเกิดขึ้นจริง ผมย้อนกลับไปดูราคาที่มีบางท่านเคยทำนายไว้ ก็ต้องทึ่งและเริ่มสนใจศึกษามานับแต่นั้น

    ผมคงไม่อธิบายยืดยาวเหมือนในตำรา แต่เอาเนื้อๆมาคุยกัน เพื่อความกระชับ สิ่งที่ผมสงสัยมานานเกี่ยวกับตัวเลขมหัศจรรย์นั้น มันเกิดมาจาก


    หลักจิตวิทยา ความกล้า และความกลัวของคนนี่แหละ อย่างเช่น คุณซื้อของมา 100 บาท เพื่อเอาไว้ขายทำกำไร วันนึงเมื่อคุณพบว่า คุณกำลังขาดทุน เพราะราคาของนั้นกำลังตกลงทุกวัน คุณอาจพอใจที่จะขายแม้ราคาจะเหลือครึ่งเดียว ขณะที่บางท่าน รอให้มันกลับมาเท่าเดิมค่อยขาย หรือบางรายอดทนกว่านั้น จะรอให้ราคามันขึ้นจนกว่าจะกำไร ไอ้ความอดทนต่อสถานการณ์ที่ต่างกันไป ก็มีสถิติที่เก็บได้ กลายเป็นตัวเลข แนวต้าน แนวรับ ทางเทคนิคที่สามารถนำมาใช้คาดการณ์ได้นั่นเองครับ

    ข้อมูลการลงทุนที่เหมือนกัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่นโปรแกรม MT4, MetaStock ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ มีการใช้เครื่องมือเหมือนๆกัน มองเห็นอย่างเดียวกัน ดังนั้น คุณไม่ต้องแปลกใจเลยว่า บางครั้ง ตัวเลขที่ออกมา มันแทบจะตรงเป๊ะกับที่ทำนายกันไว้
    ในเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คุณจะยังคิดว่า ปัจจัยเทคนิค ยังจะเป็นเรื่องเหลวไหลอีกมั๊ย 555 แน่นอนที่สุด คุณต้องตอบว่าไม่ สิ่งที่คุณต้องทำ คือเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่ไม่ต้องห่วงว่า มันจะยากครับ ผมอยากจะบอกว่า ง่ายๆ

    เป็นไปได้ไง คุณพยายามเรียนรู้มาตั้งนาน ไม่เห็นจะง่ายแบบผมพูด


    เป็นเพราะว่า ยังไม่มีคนบอกคุณว่า จะต้องไปทางไหนนะสิ เหมือนคุณเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมอะไรสักโปรแกรมที่มี function การทำงานครบเครื่อง แต่จริงๆ คุณขอใช้มันแค่ไม่กี่ function คุณก็ได้งานของคุณออกมาแล้ว เท่านั้นเอง
    ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้เก่ง ไม่ได้ครบเครื่อง ผมแค่ใช้งานมันได้ เท่าที่ผมใช้อยู่ เท่าที่มีคนแนะนำผมเท่านั้นเอง และคุณไม่ต้องแปลกใจ ถ้าคุณมาถามนอกเหนือจากที่ผมแนะนำแล้วผมบอกคุณว่า ผมไม่รู้เหมือนกัน 555

    สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ คือคุณแค่รู้ว่า คนอื่นส่วนใหญ่ เขาดูอะไรกัน แล้วคุณก็ดูให้เหมือนเขา ก็เท่านั้นเอง ง่ายมั๊ยครับ เมื่อก่อนผมหัดเองใหม่ๆ ดูคนโน้นวิเคราะห์ที คนนี้วิเคราะห์ที จับต้นชนปลายไม่ถูก ทำไปทำมา ไม่เห็นจะเข้าท่าเลย จนวันนึง น้องชายผม ที่เคยอยู่ในตลาดหุ้น มาบอกผมว่า

    เฮ้ย ดูแค่ไอ้เส้น Fibonacci ก็พอ ไปดูอะไรเยอะแยะวะ งงเปล่าๆ ไอ้เส้นโน้นเส้นนี้น่ะ ใครๆก็ต่างคนต่างขีด ตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง แต่ไอ้ Fibonacci นี่อ่ะ มันขีดยังไง ก็ได้ที่เดียวกันโว้ย!!!

    ผมตาสว่างเห็นธรรมทันทีครับ แต่ผมไม่ได้ดูแค่ Fibonacci ตามที่มันบอกหรอก ผมจับจุดได้ว่า ให้ดูไอ้ที่มันเหมือนชาวบ้านส่วนใหญ่เขาดูกัน อย่าไปแหกคอก ว่างั้น บทความนี้เป็น เครดิต ThaiGold.info นะครับลองอ่านๆกันดูผมเห็นว่ามีประโยชน์ดี
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันจันทร์ ที่ 11 มกราคม 2553
    5 ศตวรรษฟองสบู่โลก
    Posted by บรรยง
    หากมองย้อนไปในอดีต จะพบว่าประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความคลั่งไคล้ที่น่าขัน ความคลั่งไคล้ในวัตถุที่นำไปสู่ฟองสบู่ระดับโลก เราลองมาศึกษาอดีตดูว่า มนุษยชาติเคยมีฟองสบู่อะไรบ้าง
    [​IMG]
    ปี 1634-1638 ดอกทิวลิป
    ฟองสบู่ลูกแรกเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์คือดอกไม้ที่มีรูปคล้ายระฆัง “ดอกทิวลิป” บางครอบครัวชาวดัทช์ถึงกับนำเงินออมของครอบครัวทุ่มซื้อต้นทิวลิป ว่ากันว่าบางต้นมีราคาแพงกว่าบ้าน 1 หลังเสียอีก
    ปี 1720 บริษัททะเลใต้
    กลุ่มนายธนาคารอังกฤษได้ชักชวนผู้คนซื้อหุ้นบริษัททะเลใต้ โดยรับรองว่าจะได้กำไรงาม แต่ผลตอบแทนก็ไม่ได้เป็นจริง สุดท้ายเจ้าหน้าที่บริษัทนี้ก็ถูกส่งเข้าคุก
    ปี 1848 คลั่งทอง 1
    หลังจากที่มีการพบทองในตอนเหนือของรัฐแคลิฟฟอร์เนีย คลามคลั่งไคล้ก็แผ่ไปทั่ว ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปแสวงโชค ผลักดันให้ประชากรรัฐแคลิฟฟอร์เนียพุ่งจาก 15,000 คน เป็นมากกว่า 300,000 คน ในปี 1854
    ปี 1860-1873 ทางรถไฟ
    การก่อสร้างทางรถไฟพุ่งทะยานหลังสงครามกลางเมืองในสหรัฐสงบลง มูลค่าของหุ้นรถไฟทั้งหมดสูงถึง 40%ของมูลค่ารวมของตลาดหุ้นนิวยอร์ค วิกฤติการเงินในปี 1873 ทำให้บริษัทเดินรถไฟนับสิบแห่งต้องล้มละลาย
    [​IMG]
    ทศวรรษ 1890 รถจักรยาน
    ในช่วงนั้น บริษัทและโรงงานกว่า 300 แห่ง แข่งกันผลิตจักยาน ต่อมาเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น บริษัทผู้ผลิตจักรยานของสหรัฐลดลงเหลือเพียง 12 แห่ง ในปี 1905
    ทศวรรษ 1920 วิทยุ
    การกำเนิดเทคโนโลยีวิทยุได้รับความนิยมเช่นเดียวกับการหลงใหลในธุรกิจดอทคอม ตัวอย่างที่ชัดเจนในช่วงนั้นคือ หุ้นของบริษัท RCA ( Radio Corp.of America ) ราคาได้พุ่งทะยานจาก 1 เหรียญไปเป็น 573 เหรียญระหว่างปี 1921-1929 และต่อมา หลังฟองสบู่แตก ราคาหุ้นได้ลดลงกว่า 95%
    ปี 1959 อิเลคโทรนิค
    การเริ่มต้นของยุคอวกาศ ทำให้หุ้นที่ลงท้ายด้วยคำว่า “ตรอน” เช่น Astron หรือ Transitron พุ่งเหมือนจรวด แต่ในปี 1962 หุ้นเหล่านี้ก็ได้ร่วงสู่ดิน
    ปี 1974-1980 คลั่งทอง 2
    หลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ( Great Depression ) เงินเฟ้อพุ่งสูง ชาวอเมริกันได้รับอนุญาตให้ลงทุนในทองเป็นรายบุคคลได้เป็นครั้งแรก ราคาทองพุ่งจาก 100 เหรียญต่อออนซ์ในปี 1974 ไปเป็น 850 เหรียญในปี 1980 และร่วงไม่เป็นท่าในเวลาต่อมา
    ปี 1980-1984 เครื่อง PC
    ก่อนการเกิด Window และ Mac มีบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นดาวเด่นในช่วงนั้น แต่ผู้ผลิต PC ก็ได้ดิ่งมากกว่า 50% ในปี 1984 ทำให้นักลงทุนเข็ดกับเทคโนโลยีไปเป็นทศวรรษ
    ปี 1985-1990 ฟองสบู่สินทรัพย์ญี่ปุ่น
    ดินแดนอาทิตย์อุทัยปวดร้าวกับฟองสบู่ทีเดียว 2 ลูกไล่ๆกัน จากอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์ ระหว่างปี 1985 และ 1989 หุ้นญี่ปุ่นพุ่งกว่า 4 เท่า แต่ก็ทรุดตัวลงในปี 1990 และจนบัดนี้ ราคายังไม่สามารถฟื้นคืนขึ้นมาได้
    ปี 1997-2000 หุ้นอินเตอร์เน็ต
    หลังจากยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ไม่เคยมีการเก็งกำไรใดที่ใหญ่เท่านี้ ธุรกิจที่ลงท้ายด้วยคำว่า “ดอทคอม” ได้รับความนิยม ถึงแม้บางบริษัทจะยังไม่ทำกำไร แต่ในที่สุด ปี 2000 กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ก็พังพาบ หุ้นกลุ่มเทคโนร่วงลงกว่า 4 ใน 5 ของราคาเดิม
    ปี 2003-2007 อสังหาริมทรัพย์
    การลงทุนในบ้านกลายเป็นเรื่องเก็งกำไรที่แพร่หลาย ฟองสบู่ราคาบ้านดึงตลาดหุ้นให้ล่มสลายตามมาด้วยในปี 2008
    ปี 2008-ปัจจุบัน คลั่งทอง 3
    นักลงทุนหันมาลงทุนในทองคำ เมื่อพวกเขาเห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา และตราบใดที่วิกฤติเศรษฐกิจยังไม่ยุติ ราคาทองก็ยังคงไต่ระดับสูงขึ้น และราคาทองคำล่าสุด สูงกว่า 1,100 เหรียญต่อออนซ์
    พวกเราอ่านแล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง ท่านเห็นด้วยกับผมไหมว่าความคลั่งไคล้ของฝูงชนเป็นสิ่งที่น่ากลัว มุ่งใช้อารมณ์เป็นหลัก ปราศจาเหตุผลที่เพียงพอ และอะไรที่พุ่งขึ้นโดยปราศจากพื้นฐานรองรับมักร่วงหล่นลงมาที่เดิมเสมอ ระวังอย่าเป็นเหยื่อของการเก็งกำไรก็แล้วกัน เพราะเวลาฟองสบู่แตก รัฐบาลไหนก็เข้ามาช่วยอุ้มท่านไม่ได้ครับ
    แหล่งข้อมูล CNNMoney.com
    5 centuries of bubbles and bursts - 1634-38: Tulips (1) - Money Magazine
    ที่มา http://www.oknation.net/blog/banyong/2010/01/11/entry-1
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม 2553
    ทำไม ทองคำยังคงทำสถิติราคาสูงสุดใหม่
    Posted by บรรยง
    ราคาทองคำพุ่งทะยานอีกครั้งในวันศุกร์ เกือบจะแตะราคา 1,250 เหรียญต่อออนซ์ ก่อนจะไหลลงตอนปิดตลาดในการซื้อขายที่เบาบาง ขณะที่ตลาดหุ้นยังคงผันผวน นักลงทุนหนีปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปไปลงทุนในโลหะมีค่า ถามว่า ทำไม
    1. ความเสี่ยงต่ำในภาวะผันผวน
    แน่นอนว่า ทองคำจัดเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน หลังจากตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนักในสัปดาห์ก่อน ราคาทองคำกลับพุ่ง 2% จากนั้นเราก็เห็นราคาทองคำค่อยๆขยับสูงขึ้นมาเรื่อยๆ
    ราคาทองคำที่ส่งมอบเดือนมิถุนายน แตะ 1,249.70 เหรียญต่อออนซ์ในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 14พค.) ถือเป็นสถิติสูงสุดของราคาซื้อขายระหว่างวัน ก่อนที่จะมาปิดที่ 1,227.60 เหรียญต่อออนซ์ โดย 2 วันก่อนหน้านั้น ทองคำได้ทำราคาปิดสูงสุดที่ 1,241.10 เหรียญต่อออนซ์ ในการซื้อขายที่ตลาดชิคาโก
    อย่างไรก็ตาม ถ้านำราคาทองคำในอดีตมาปรับค่าตามอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ราคาปัจจุบันยังห่างไกลจากราคาสูงสุดในปี 1980 ตอนนั้นทำสถิติราคาสูงสุดที่ 825.50 เหรียญต่อออนซ์ ซึ่งควรจะเท่ากับราคา 2,180.27 เหรียญ เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน
    [​IMG]

    2. หลักทรัพย์ที่จับต้องได้
    อาการคลั่งทองในสัปดาห์นี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่นักลงทุนผละออกจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นกระดาษ โดยเงินดอลลาร์ ยูโร และเยน ที่ถึงแม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ราคาในช่วงนี้กลับมีความผันผวน
    “ทองคำไม่เหมือนแผ่นกระดาษที่ถูกผลักดันโดยนักการเมืองขี้โกงและรัฐบาลที่ไม่มั่นคง” นาย Phil Streble นักกลยุทธการตลาดกล่าว “ผมรู้สึกสบายใจที่มีทองคำในมือมากกว่าที่จะมีเงินยูโรอยู่ในตอนนี้”
    ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ที่ชาวยุโรปต้องการในช่วงนี้ เมื่อนักลงทุนกังวลว่า ปัญหาหนี้ในภูมิภาคจะยังคงดำรงต่อไป ซึ่งจะทำให้เงินยูโรด้อยค่าลง ผู้เชี่ยวชาญการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์กล่าว
    “ทองคำเป็นสิ่งที่ชาวยุโรปต้องการเป็นเจ้าของ เพราะว่า เขากำลังถูกไฟลนก้นโดยสกุลเงินของพวกเขาเอง ทำให้เขามุ่งไปหาสินทรัพย์ที่มีจับต้องได้แทน”
    3. นักลงทุนกังวลเงินเฟ้อ
    “นักลงทุนกำลังซื้อทองคำด้วยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ แถลงการณ์ของเฟดฉบับล่าสุดมีส่วนทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อมากขึ้น โดยมีเงินจำนวนมหาศาลถึง 1 ล้านล้านเหรียญที่ใช้กอบกู้กลุ่มประทศยุโรปเป็นแรงกระพือให้ไฟแห่งความกังวลลุกโชนขึ้น” นาย Jeffrey Nichols นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าว
    Nichols ได้ทำนายไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วว่า ราคาทองจะพุ่งทำราคาสูงสุดใหม่ในกลางปี 2010 และจะยังขยับขึ้นไปถึง 1,500 เหรียญต่อออนซ์ หรือสูงกว่านั้นในสิ้นปีนี้
    4. ธนาคารกลางต่างกักตุนทอง
    ธนาคารกลางต่างชาติที่กำลังกักตุนทองคำ มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นราคาทองให้พุ่งสูงขึ้น ประเทศอย่างจีนและอินเดีย ได้ทยอยเพิ่มทองคำไว้ในเงินทุนสำรองของตน เพื่อชดเชยการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ขณะที่รัสเซีย คาซัคสถาน และเวเนซูล่า ก็เป็นประเทศที่ซื้อทองคำรายใหญ่
    อย่างไรก็ตาม สหรัฐเป็นประเทศที่มีทองคำไว้ในครอบครองมากที่สุด ประมาณ 261.4 ล้านออนซ์ในทุนสำรอง ถึงแม้ว่าสหรัฐจะไม่ได้ซื้อทองคำเพิ่มเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว
    5. ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร
    พันธบัตรเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยตัวหนึ่งและมีราคาขยับสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ แต่ทองคำเปล่งประกายได้ดีกว่า เพราะนักลงทุนรู้สึกว่า พันธบัตรให้ผลตอบแทนต่ำราวๆ 3.5% ในพันธบัตรแบบ 10 ปี
    “ทองคำอาจไม่มีการจ่ายเงินปันผลแบบพันธบัตร แต่นักลงทุนรู้ว่า บางทีราคาของมันอาจขยับขึ้นถึง 2%ในวันที่ดีได้ พวกเขาสามารถทำเงินได้สูงกว่าในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ จากทองคำ มากกว่าเวลา 1 ปีที่ได้จากพันธบัตร” โบร์กเกอร์คนหนึ่งกล่าว
    เมื่อไรภาวะกระทิงจะสิ้นสุด
    ราคาทองพุ่งเกือบ 40% ตั้งแต่ต้นปี 2009 และยังคงสร้างสถิติใหม่อยู่เรื่อยๆ แต่นักลงทุนจำนวนมากต่างมองการวิ่งครั้งนี้ด้วยคำถามเดียวกัน คือ เมื่อไร ภาวะกระทิงจะสิ้นสุดลง
    ไม่ต้องสงสัยว่า เงิน 1 ล้านล้านเหรียญที่ใช้ในการอุ้มกลุ่มประเทศยุโรป เป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ราคาทองคำทะยาน โดยนักลงทุนเชื่อว่าเม็ดเงิน 1 ล้านล้านเหรียญจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้า และแน่นอนว่าทองคำจะถูกนำมาใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น
    คำถามคือ ต้องใช้เวลาเท่าไรในการอุ้มประเทศที่มีปัญหาและเงินยูโรจะไปรอดหรือไม่ บางคนถึงกับตั้งคำถามว่า ประเทศกรีกจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่
    ขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปยังไม่มีความชัดเจน ราคาหุ้นยังคงผันผวน ราคาทองคำจึงอาจขยับสูงขี้นไปอีกหลายไตรมาส
    “ยอดซื้อจำนวนมากมาจากชาวยุโรป และเขาคงจะเก็บมันไว้อย่างน้อย 6 เดือน แล้วค่อยขายออก เพื่อกลับมาซื้อเงินยูโรที่มีราคาถูกคืน” นักกลยุทธคนหนึ่งกล่าว
    แล้วเมื่อไรละที่ทองคำจะหยุดวิ่ง
    นายหน้าซื้อขายส่วนใหญ่เชื่อว่า เมื่อไรที่ตลาดโดยรวมสงบลง ราคาหุ้นเริ่มตั้งหลักได้ ตลาดพันธบัตรเริ่มทีทิศทางที่ชัดเจน และที่สำคัญที่สุดคือเงินจำนวนมหาศาลที่ใช้แก้ปัญหาประเทศในยุโรปสามารถทำให้ประเทศเหล่านั้นยืนได้จริงๆแล้ว เมื่อนั้นเงินเฟ้อจะกลับมาสู่ภาวะปรกติ และเวลานั้นทองคำจะค่อยๆปรับลดลงมาเอง
    มีเหตุผลมากมายที่ทำให้เชื่อว่าการวิ่งรอบนี้ของทองคำจะไม่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนถาวร แต่มันก็คงไม่ฉลาดนักที่จะไปพนันว่า แรลลี่รอบนี้ของทองคำจะหยุดลงแบบปุบปับในเร็วๆนี้
    แหล่งข้อมูล Five reasons why gold keeps breaking records - May. 14, 2010
    Gold rally's not going away until bailout money disappears - May. 13, 2010
    ที่มา
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 2552
    Dollar Carry Trade ฝันร้ายภาคสองของคนอเมริกัน
    Posted by บรรยง
    หลังจากที่ชาวญี่ปุ่นต้องทนกล้ำกลืนกับธุรกรรม Yen Carry Trade มานานเกือบ 2 ทศวรรษ มาวันนี้การทำ Dollar Carry Trade กำลังจะตามมาหลอกหลอนคนอเมริกัน ที่ยังไม่ตื่นดีจากฝันร้ายทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา
    Dollar Carry Trade หมายถึง การกู้ยืมเงินดอลลาร์ราคาถูก แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
    การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด ) จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย ลงมาจนใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25%ไปอีกนานพอสมควรนั้น
    นักลงทุนรายใหญ่ได้ใช้โอกาสนี้ กู้ยืมเงินดอลลาร์ด้วยต้นทุนต่ำ แล้วนำไปแลกเป็นเงินต่างประเทศเพื่อฝากกินดอกเบี้ยที่สูงกว่าในประเทศอื่นๆ เรียกได้ว่า ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว กล่าวคือ หนึ่ง ได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่า สองคือ สกุลเงินที่ลงทุนมีโอกาสแข็งค่ามากขึ้นในอนาคต
    นอกจากการลงทุนง่ายๆ แบบเสือนอนกินแล้ว ยังมีคนที่กู้เงินดอลลาร์ แล้วนำไปซื้อทองคำ น้ำมันหรือหุ้นในต่างประเทศ เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า และได้ประโยชน์ 2 ต่อเช่นเดียวกัน คือ กำไรจากราคาหุ้น และค่าเงินสกุลท้องถิ่นที่มีโอกาสขยับสูงขึ้น
    ตอนนี้ คนอเมริกันเริ่มตั้งคำถามกันแล้วว่า การที่รัฐบาลของตนทุ่มเงินออกไปมากมาย เพื่อให้ไปกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น สุดท้ายแล้วเม็ดเงินที่ทุ่มออกไป มันไปกระตุ้นเศรษฐกิจของใครกันแน่ ดูเหมือนเงินมันจะไหลออกไปต่างประเทศมากกว่า
    นอกจากนี้ การที่นักลงทุนรายใหญ่จะกู้เงินแล้วแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ไปเป็นเงินสกุลอื่นนั้น ต้องมีการเทขายเงินดอลลาร์เพื่อไปซื้อเงินสกุลอื่น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ถูกบิดเบือนจากกลไกปกติให้อ่อนค่าไปมากขึ้น ซ้ำร้ายเมื่อเงินไหลไปประเทศอื่น ทำให้เศรษฐกิจประเทศปลายทางดีขึ้น มันก็ย้อนกลับมาทำให้ค่าเงินดอลลาร์ด้อยลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟูกว่า
    มันเหมือนกับสิ่งที่เขาเรียกว่า “กับดักสภาพคล่อง” คือรัฐบาลทุ่มเงินดอลลาร์เข้าไปในระบบ แต่สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยกู้ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อธุรกิจหรือสินเชื่อบุคคล ธนาคารจึงนำไปปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินขนาดยักษ์หรือสถาบันการเงินข้ามชาติ ที่เมื่อได้เงินแล้ว ก็ขายดอลลาร์ออก นำไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ปล่อยให้สหรัฐจมอยู่ในภาวะถดถอย ซึมเซาต่อไปเรื่อยๆ
    และเมื่อเศรษฐกิจไม่ฟื้น ธนาคารกลางก็ต้องคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ หนุนให้เกิดวงจรอุบาทว์ ดิ้นไม่หลุด เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในวังวนนี้มาร่วม 20 ปีแล้ว
    แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลสหรัฐจะชิงประกาศว่า เศรษฐกิจของตนฟื้นจากจุดต่ำสุดแล้ว นัยว่าเป็นการพูดให้ประชาชนมั่นใจ จะได้เริ่มจับจ่ายใช้สอยเงินกัน นั่นไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นบ้างบางส่วน จะเป็นการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
    นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญหลายคนของสหรัฐ ต่างออกมาตอกย้ำว่า ยังไม่มีสัญญานชัดเจนว่า เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นแล้ว สินเชื่อบุคคล(เครดิตการ์ด)ในเดือนกรกฎาคมลดลง 10.5% สินเชื่อธนาคารในไตรมาสที่ 2 ลดลง 342,000 ล้านดอลลาร์
    ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งสูงถึง 9.7% ในเดือนสิงหาคม นับว่าสูงสุดในรอบ 26 ปี และข่าวล่าสุดแจ้งว่า ยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 4 เดือน ได้กลับมาติดลบ 2.7% อีกครั้งในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังเปราะบางมาก
    มันจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมค่าเงินดอลลาร์จึงยังอ่อนตัวต่อเนื่อง และกลับเพิ่มอัตราเร่ง เมื่อเริ่มมีธุรกรรม Dollar Carry Trade มาถึงวันนี้ เงินดอลลาร์อ่อนค่าไปแล้ว 14% นับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยดูจาก Dollar index ที่เทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักๆ 7 สกุล
    เรื่องทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐ นายเบน เบอร์นันเก้จะไม่ทราบ แต่ท่านคงไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ เพราะถ้าไม่กระตุ้นตลาดด้วยวิธีตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะยิ่งถดถอยไปกว่านี้ การว่างงานอาจจะพุ่งถึง 20% ก็ได้
    ตอนนี้ เริ่มมีข่าวออกมาในทำนองที่ว่า เงินกองทุนของสถาบันประกันเงินฝากของสหรัฐ ( FDIC ) กำลังร่อยหรอ หลังจากที่ชดใช้เงินให้ผู้ฝากเงินจากการที่มีธนาคารล้มทุกสัปดาห์ โดยในปีนี้ มีธนาคารล้มแล้ว 94 แห่ง หรือประมาณ 10 แห่งต่อเดือน โดย FDIC ออกมายอมรับว่ามีเงินกองทุนเหลือเพียง 4.2 หมื่นล้านเหรียญ ขณะที่มีธนาคารอีก 412 แห่ง ที่อยู่ในข่ายมีปัญหา ( ส่วนใหญ่เป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่จะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป )
    ดูเหมือนสหรัฐยังต้องมีเรื่องยุ่งๆให้สะสางอีกมาก เพราะฉนั้นถ้ามีใครมาพูดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นแล้ว ก็ขออย่าได้วางใจ ยิ่งมีการทำธุรกรรม Dollar Carry Trade แล้วด้วย มันจะยิ่งกดไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐโงหัวขึ้นมาได้ง่ายๆ
    หากว่าเป้าประสงค์ของการลงทุนคือ กำไรสูงสุด ตอนนี้นักลงทุนสถาบันรวมถึงกลุ่มเฮดจ์ฟันด์ต่างๆที่ส่วนใหญ่มีสัญชาติอเมริกัน ต่างกำลังมุ่งทำกำไรสูงสุด โดยม่สนใจว่า นั่นกำลังทำร้ายเศรษฐกิจประเทศตนเอง
    สะท้อนสัจธรรมที่ว่า “เงิน” มันไม่รู้จักคำว่า “คุณธรรม” หรอกครับ
    Dollar Carry Trade
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันศุกร์ ที่ 11 กันยายน 2552
    นักลงทุนทิ้งเงินดอลลาร์ มุ่งลงทุนสินทรัพย์อื่น
    Posted by บรรยง
    เงินดอลลาร์ร่วงต่ำสุดในรอบ 1 ปี เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลต่างๆ จากการที่นักลงทุนพากันทิ้งเงินดอลลาร์เพราะกังวลว่าค่าเงินดอลลาร์จะร่วงลงในระยะยาว
    ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ดิ่งอย่างหนักในรอบ 4 เดือน ขณะที่เงินยูโรพุ่งทะยาน ทำจุดสูงสุดของปีนี้ ที่ 1.4627


    [​IMG]
    ค่าของเงิน 1 ดอลลาร์ เมื่อเทียบออกมาเป็นเงินยูโร ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
    [FONT=arial,helvetica,sans-serif] จากข้อมูลเศรษฐกิจของจีนที่แข็งแกร่ง จุดประกายความหวังว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นแล้ว กระตุ้นให้นักลงทุนผละจากเงินดอลลาร์ไปสู่สกุลเงินของประเทศที่กำลังเติบโตและเสี่ยงกว่า
    คำพูดของนาย David Dollar เจ้าหน้าที่จาก U.S.Treasury’s economic and financial emissary to China ที่กล่าวในงานสัมมนาของ TheWorld Economic Forum ว่า “การที่จีนจะกระจายทุนสำรองจำนวนมหาศาลยังสกุลเงินต่างๆ เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ประเทศจะมั่นคงขึ้น ถ้ามีทุนสำรองที่กระจายและหลากหลาย” คำกล่าวนี้ได้มีส่วนกระตุ้นกระแสขายเงินดอลลาร์
    นักค้าเงินคนหนึ่งกล่าวว่า มีการถกเถียงเรื่องการกระจายเงินทุนสำรอง, ความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางสหรัฐ และการขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาลของสหรัฐในหมู่นักลงทุน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของตลาดต่อเงินสกุลดอลลาร์ และโดยเทคนิคแล้ว ตลาดตอนนี้ กำลังรอการทดสอบจุดสูงสุดของยูโรที่ 1.4720 ซึ่งเคยเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี 2008
    คำปฏิญาณของธนาคารกลางชาติต่างๆที่จะหนุนสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจด้วยเงินดอลลาร์เท่าที่ต้องการ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกฟื้นอย่างยั่งยืนนั้น ได้กระตุ้นความกังวลเรื่องค่าระยะยาวของเงินดอลลาร์ที่อยู่ในทุนสำรองของประเทศต่างๆด้วย
    ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทั่วโลก สภาพคล่องที่ท่วมท้น และค่าเงินดอลลาร์ที่ดิ่งเหว ล้วนกระตุ้นให้นักลงทุนขายเงินดอลลาร์ เพื่อนำไปลงทุนในสกุลเงินและสินทรัพย์อื่น เช่น ทองและหุ้น
    ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ ตัวชี้วัดค่าเงินเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอีก 6 สกุล ร่วงลง 0.2%ในวันนี้ ลงไปที่ 76.70 โดยลงไปถึง 76.511 จุด ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2008
    เงินยูโรเพิ่มขึ้น 0.1% ไปที่ 1.4590 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ลดลง 0.9% ในวันนี้ เทียบกับเงินเยนที่ 90.90 เยนแตะจุดต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ที่ 90.69 เยน ตามข้อมูลของสำนักข่าวรอยเตอร์
    แต่การกระจายเป็นเงินหลายสกุลก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อความต้องการตราสารหนี้ของสหรัฐ การประมูลพันธบัตร 3 ครั้งในสัปดาห์นี้ด้วยยอดเงิน 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ดำเนินไปด้วยดี ลบล้างความกลัวที่ว่า ความต้องการเงินดอลลาร์จะลดลง จากอุปทานจำนวนมหาศาลของเงินสหรัฐ
    ข้อมูลเศรษฐกิจจากเอเชียชี้ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมของจีน เพิ่มมากที่สุดในรอบ 12 เดือน ย้ำให้เห็นว่าเส้นทางสู่การฟื้นตัวดำเนินไปด้วยดี
    ในขณะที่ยอดนำเข้าและส่งออกของจีน ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
    “ข้อมูลเดือนสิงหาคมที่แข็งแกร่ง ( ยกเว้นข้อมูลการนำเข้าและส่งออก ) แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่กว้างขวาง ช่วยหนุนความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังฟื้นแน่" เจ้าหน้าที่ของ Barclays Capital กล่าว
    ตลาดแสดงความใส่ใจเพียงเล็กน้อยต่อข้อมูลจากญี่ปุ่นที่ว่า เศรษฐกิจเติบโต 0.6% ใน 3 เดือนที่ผ่านมา ลดลงกว่าตัวเลขที่คาด แต่ก็ยืนยันว่าเศรษฐกิจเริ่มคลานออกจากภาวะถดถอยที่เลวร้ายตลอด 1 ปีเต็มที่ผ่านมา

    [/FONT]
    แหล่งข้อมูล http://money.cnn.com/2009/09/11/markets/dollar.reut/index.htm
    ที่มา
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอังคาร ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552
    Citibank, Bank of America : ธนาคารที่ตายแล้ว
    Posted by บรรยง
    เมื่อธนาคารใหญ่ที่รัฐบาลเข้าไปอุ้มกำลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ความกลัวว่าธนาคารบางแห่งอาจจะกลายเป็นผีดิบ ( Zombie) เหมือนธนาคารในประเทศญี่ปุ่นในทศวรรษ 1990
    หรือเราต้องแก้ปัญหาด้วยการเข้าไปยึดกิจการให้เป็นของรัฐ ( nationalization )
    ธนาคารผีดิบ ( Zombie Banks ) เป็นคำเรียกธนาคารที่ยังคงอยู่ได้เพียงเพราะมีเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ในอีกความหมายคือ พวกเขาไม่มีโครงสร้างที่ดีพอที่จะดำเนินธุรกรรมปรกติ และทำประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของชาติได้อีก นี่เป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่นในสมัยที่เรียกว่า “ lost decade” ในทศวรรษที่ 1990
    ตอนนี้บางคนกำลังกังวลว่า ธนาคารใหญ่ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว เช่น Bank of America และ Citigroup อาจจะเป็นคนตายที่ยังหายใจอยู่
    “การใช้เงินทุนสามารถกำหนดความเป็นผีดิบ หากธนาคารนำเงินทุนที่ได้มา ใช้เพียงเพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับตนเอง พวกเขาเป็นผีดิบ นั่นคือสิ่งที่คุณได้รับเมื่อให้เงินกับสถาบันที่ล้มละลายแล้ว” นาย Joseph R. Mason ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคาร ที่มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนา กล่าว
    คำถามคือ รัฐบาลควรเข้าไปยึดกิจการของธนาคารที่มีปัญหามาเป็นของรัฐหรือไม่
    ในการให้คำสัมภาษณ์กับ Financial Times ในสัปดาห์ก่อน อดีตประธานเฟด นายอลัน กรีนสแปน กล่าวว่า การเข้ายึดกิจการอาจจะจำเป็น เพื่อทำให้การจัดโครงสร้างธนาคารเกิดขึ้นได้รวดเร็วและเป็นระเบียบ พร้อมกับเสริมว่า มันจะทำให้รัฐโยกสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพไปอยู่ใน Bad Bank ( หน่วยงานที่รับขายทอดตลาดหนี้เสีย ) โดยไม่ต้องห่วงปัญหาว่าจะตีราคามันอย่างไร
    ขณะที่ Mason ไม่คิดว่า การยึดกิจการเป็นของรัฐจะได้ผล เขาโต้แย้งว่า รัฐไม่ควรมาทำธุรกิจธนาคาร แต่รัฐควรยึดกิจการที่มีปัญหามากที่สุด แล้วขายออกให้เอกชน อย่างที่สถาบันประกันเงินฝาก (FDIC)ทำอยู่เวลานี้
    การเข้ายึดธนาคาร ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นของรัฐ ผู้คุมกฎไม่ควรมาแข่งกับเอกชน มันควรนำมาชำระบัญชี นั่นคือสิ่งที่ควรเกิดขึ้น” Mason กล่าว
    ตามที่กล่าวมา Mason บอกว่า ตอนนี้มีธนาคารอยู่ 3 จำพวก
    พวกผีดิบคือ ธนาคารที่ขาดสภาพคล่องและสิ้นหวัง ซึ่งไม่ควรใส่เงินทุนลงไป ควรจะถูกยึด Citigroup และ Bank of America อยู่ในกลุ่มนี้
    จำพวกที่ 2 ธนาคารที่ยังดิ้นรน แต่ยังไม่สิ้นเนื้อประดาตัว การให้เงินช่วยจะทำให้ดีขึ้น เขากล่าวว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนในอดีด เช่น Morgan Stanley และ Goldman Sachs อยู่ในกลุ่มนี้
    สุดท้าย ธนาคารที่มีสภาพคล่อง Mason คิดว่าธนาคารเหล่านี้สามารถขอเงินทุนจากรัฐบาลไปซื้อสินทรัพย์จากธนาคารผีดิบ เขาบอกว่า ธนาคาร PNC และ JP Morgan Chase อยู่ในกลุ่มนี้
    Mason บอกว่า มันอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี ในการชำระบัญชีธนาคารใหญ่ ดังนั้นผู้ดูแลต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลธุรกรรมวันต่อวันของธนาคารเดิมให้ดำเนินต่อไป แต่เป้าหมายคือการชำระบัญชีอย่างเป็นระเบียบ
    แต่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดว่าการชำระบัญชีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดใรการแก้ปัญหาระบบธนาคาร
    “เป้าหมายของการยึดกิจการเป็นของรัฐ ควรทำพื่อรักษาธนาคารที่เกิดปัญหาจากระบบ ถ้าไม่ใช่ปัญหาจากระบบ FDICมีเครื่องมือในการจัดการอยูแล้ว” นาย Daneil Alpert ผู้อำนวยการจากธนาคารเพื่อการลงทุน Westwood Capital กล่าว
    Alpert โต้แย้งว่า ทางที่ดีที่สุดคือการเข้ายึดกิจการ โดยรัฐควรเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ด้วยการซื้อหุ้นสามัญในธนาคารที่มีปัญหา ล้างผู้ถือหุ้นเดิมออก มันจะช่วยให้ธนาคารแข็งแรง ไม่ปล่อยให้ธนาคารใหญ่อ้วนเทอะทะ
    จากนั้น รัฐบาลก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล ประกอบด้วยคนที่มีความรู้ แล้วฟื้นฟูธนาคารให้กลับมาแข็งแรง
    แล้วคุณละ คิดว่าวิธีไหนฟังขึ้นกว่ากัน ยึดเพื่อชำระบัญชี หรือยึดแล้วฟื้นฟูขึ้นมา
    ผู้เชี่ยวชาญปัญหาที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น บอกว่าใช้ทั้ง 2 วิธี มารวมกันเพื่อแก้ปัญหา
    Hugh Patrick ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจญี่ปุ่น ที่ Columbia Business School บอกว่า มันต้องใส่ใจธนาคารที่มีปัญหามากขึ้น อย่าเป็นอย่างที่ญี่ปุ่นที่ใช้เวลามากเกินไปในการฟื้นฟู
    ในบางกรณี รัฐบาลต้องให้เงินธนาคารที่แข็งแรงกว่า เข้าไปซื้อธนาคารที่อ่อนแอ “ผมไม่แปลกใจ ถ้าจะเห็นการควบรวมกิจการทั้งที่สมัครใจและถูกบังคับมากขึ้นในธุรกิจธนาคาร” Patrick กล่าว
    แต่ทางเดียวที่จะแก้ไขระบบธนาคาร คือ เรียนรู้บทเรียนจากญี่ปุ่นและทำอย่างที่ Alpert แนะนำคือ ปฏิบัติอย่างเฉียบขาด
    “ถ้าสหรัฐเข้ายึดกิจการของธนาคาร มันควรชำระธนาคารให้สะอาด แสดงบัญชีตรงไปตรงมา และกำจัดฝ่ายบริหารเดิมออกไป เป้าหมายคือ ทำให้ธนาคารสะอาดพอที่จะดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้ใส่เงินก้อนใหม่เข้าไป ซึ่งจะคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น” Patrick กล่าว
    สำหรับแฟนหนัง Zombie ทุกคนรู้กันว่า เราไม่ได้ฆ่า zombie ด้วยการให้เนื้อชิ้นใหม่เพิ่มขึ้น แต่ต้องทำให้ตายด้วยการยิงที่หัวแหล่งข้อมูล Dawn of the dead banks - Feb. 18, 2009
    ที่มา Citibank, Bank of America :
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอังคาร ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552
    วิกฤตการเงินระลอกสอง
    Posted by บรรยง
    ช่วงนี้มีนักวิชาการหลายท่านออกมาเตือนเรื่อง วิกฤตการเงินระลอกสองในสหรัฐอเมริกา ประกอบกับมีสัญญานชี้นำทางเศรษฐกิจหลายตัวที่บ่งชี้ไปในทิศทางนั้น ไม่ว่าราคาทองคำ ,อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐ
    หรือว่า เรื่องนี้จะเป็นความจริง
    มันเป็นเรื่องที่ขัดความรู้สึกอยู่เหมือนกันที่ใครๆพากันพูดว่า วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930 เมื่อ 70 ปีที่แล้ว แต่แล้วนักเศรษฐศาสตร์เองกลับมาคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มฟื้นในปลายปีนี้ หรืออย่างช้ากลางปีหน้า
    พวกเราคงจำกันได้ว่า ประเทศไทยเราประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ.2540 กว่าจะเริ่มฟื้นตัวก็ปลายปี 2545 เราใช้เวลาถึง 5 ปีกว่าจะเริ่มฟื้นตัว ขณะที่วิกฤตที่เกิดขึ้นในสหรัฐมีขนาดใหญ่กว่า กระทบวงกว้างกว่า จะฟื้นง่ายๆภายใน 1-2 ปีเชียวหรือ
    ประเทศสหรัฐอเมริกา ควรใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีในการฟื้นตัว และผมเชื่อว่าจุดเลวร้ายสุดของวิกฤตยังมาไม่ถึง[​IMG]
    ภาพแสดงวัฏจักรของเศรษฐกิจ จากยุครุ่งเรืองไปถึงยุคตกต่ำ
    ปัญหาที่เริ่มจากสถาบันการเงินล้มเป็นลูกโซ่ แล้วลามไปภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง อย่างบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ สายการบินและร้านค้าปลีก บริษัทต่างๆเริ่มลดเงินเดือนพนักงาน ปลดคนงานออก ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำสุดในรอบหลายสิบปี
    ผู้คนชะลอการใช้จ่าย ราคาน้ำมันดิบลดจาก 140 เหรียญเหลือเพียง 40 เหรียญต่อบาร์เรล อัตราการว่างงานเพิ่มจากปกติที่ 2% มาเป็น 7.6% ในเดือนมกราคม แต่ยังนับว่าห่างไกลมากเมื่อเทียบกับการว่างงานเมื่อตอนเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่ 20%
    ถ้าเราเชื่อว่าวิกฤตครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เราก็ต้องเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่จบลงง่ายๆและจุดต่ำสุดยังมาไม่ถึง
    นางเจนเนต เยลเลน ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก กล่าวเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า สหรัฐจะไม่ประสบปัญหาดิ่งลึกเท่าช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่หลายสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงกลางของการดำดิ่ง ดังนั้นการตอบสนองที่ที่เร่งด่วนและรุนแรงจึงจำเป็น เพื่อหยุดยั้งการถดถอยที่จะลึกไปเรื่อยๆ
    นางเจนเนต เยลเลน พูดในวันเดียวกับที่รัฐบาลสหรัฐออกมาประกาศว่า ตอนนี้ การว่างงานกำลังพุ่งสูงสุดในรอบ 34 ปี นางยังทิ้งท้ายว่า “โชคร้ายที่ตอนนี้ ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด”
    นั่นคือเหตุผลว่าทำไม ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำและอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐเริ่มกลับสูงขึ้นอีกครั้ง
    ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อสัก 2-3 ปีก่อน เราเห็นเหตุการณ์ที่นักลงทุนทยอยขายเงินดอลลาร์ไปซื้อทองคำเพื่อเป็นแหล่งพักเงิน เมื่อวิกฤตปะทุ นักลงทุนเหล่านี้ได้เทขายทองคำในราคาสูงแล้วกลับมาซื้อเงินดอลลาร์ราคาถูกกลับคืน ทำให้ราคาทองคำที่พุ่งขึ้นไปถึง 1,000 เหรียญต่อออนซ์ลดลงมาเหลือ 720 เหรียญต่อออนซ์
    แต่มาถึงวันนี้ พวกเขาเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในเร็ววัน มันอาจจะทรุดฮวบไปอีกครั้ง ค่าเงินดอลลาร์จะดิ่งตามลงไป พวกเขาจึงทยอยขายเงินดอลลาร์แล้วกลับไปซื้อทองคำเพื่อพักเงินไว้อีก ราคาทองคำจึงทยอยขึ้น มาอยู่แถวๆ 900 เหรียญต่อออนซ์อีกครั้ง
    อัตราดอกเบี้ยก็เช่นกัน ช่วงที่เกิดวิกฤตใหม่ๆอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐต่างพุ่งพรวด
    นั กลงทุนถอนเงินลงทุนเมื่อความปลอดภัย ทำให้สถาบันการเงินทุกแห่งขาดสภาพคล่องและหยุดปล่อยสินเชื่อ เพื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นได้ เฟดอัดฉีดเงินเข้าระบบอย่างเต็มที่ ทำให้สภาพคล่องเริ่มผ่อนคลาย อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีที่ใช้เป็นอัตราอ้างอิงของดอกเบี้ยระยะยาว ลดจากก่อนวิกฤตที่ 4.2% ลงมาแตะระดับ 2.04%เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา
    แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐเริ่มขยับขึ้นมาใกล้ 3%อีกครั้ง แสดงว่าปัญหาในสถาบันการเงินสหรัฐยังไม่จบ
    ตราบใดที่เรายังไม่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่มีปัญหาในสถาบันการเงินได้ มันคงยากที่จะดึงดูดนักลงทุนรายใหม่เข้ามา และการปล่อยสินเชื่อใหม่ก็ยากจะเกิดขึ้น
    จริงอยู่ว่าวิกฤตครั้งนี้คงไม่เลวร้ายเท่าสมัยเมื่อ 70 ปีที่แล้ว เพราะเราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากอดีตได้ อีกทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีในปัจจุบันก็มีมากกว่าอดีต ทำให้แผนต่างๆที่ปล่อยออกมาบรรลุผลได้เร็วขึ้น
    แต่ผมคิดว่า รัฐบาลสหรัฐและคนอเมริกันยังประเมินสถานการณ์ต่ำไป
    รัฐบาลสหรัฐใช้เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียง 8.25 แสนล้านเหรียญหรือ 6.00%ของ GDP เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น จีน และอังกฤษที่ใช้เงินถึง 12.30% , 17.90% และ 20.00%ของ GDP ตามลำดับ
    คนอเมริกันก่อนเกิดวิกฤตเชื่อว่า รัฐบาลของตนจะจัดการปัญหาเศรษฐกิจได้ และเมื่อเกิดวิกฤตแล้ว คนอเมริกันก็ยังเชื่อไม่เลิกว่า เศรษฐกิจของตนจะฟื้นใน 1-2 ปี
    ทุกแห่งที่เกิดวิกฤตล้วนมาจากการที่คนในสังคมนั้นๆย่ามใจ ทุ่มลงทุนโดยไม่มีการเตรียมแผนรองรับในกรณีผิดพลาด เวลาเกิดปัญหาจึงเจ็บหนัก
    แต่เมื่อมาดูความเสียหายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสมัยทศวรรษ 1930 แล้ว ผมเห็นว่ายังห่างไกลกันนัก ผมจึงเชื่อว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นยังเผยตัวออกมาไม่หมด
    ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สถาบันการเงินปิดตัวเป็น 1,000 แห่ง ดัชนีหุ้นลดลงเกือบ 90% คนว่างงานกว่า 20% แต่ปัจจุบันสถาบันการเงินปิดไปเพียง 50 แห่ง ดัชนีดาวโจนส์ลดลงเพียง 40% และคนว่างงานแค่ 7.60%
    ขณะที่ดัชนีที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ที่คนนิยมใช้กันมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือGDP ในสมัยเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ GDPสหรัฐลดลงไปกว่า 20% แต่GDPไตรมาสล่าสุดของสหรัฐลดลงเพียง 3.80% มันจึงน่าจะมีแรงส่งไปได้มากกว่านี้
    อะไรจะเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปได้อีก ทั้งที่ตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐก็ดูเหมือนนิ่ง ดีแล้ว
    คำตอบคือ ภาคการเงินที่นับเป็นเส้นเลือดใหญ่ แต่ยังมีปัญหาซุกซ่อนอยู่มาก
    ปัญหาในสถาบันการเงินจะกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อนที่แต่ละสถาบันถืออยู่นั้น มันยากที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ อีกทั้งเจ้าของสถาบันการเงินก็มักจะไม่ยอมเปิดเผยสถานะที่แท้จริงให้ทราบ
    เพราะถ้าขืนไปบอกรัฐบาลหมดว่า ข้างในเสียหายอย่างไร มากเท่าไร หากรัฐบาลเห็นว่าเยียวยาได้ยาก เขาอาจบังคับให้ปิดกิจการ และขายทอดตลาดไปก็ได้ แต่ถ้ารู้จักเผยความเสียหายทีละเล็กทีละน้อย แล้วค่อยๆตอดเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไปเรื่อยๆ ยังมีโอกาสซื้อเวลา ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดได้อยู่
    รากเง่าของปัญหาคือ สินทรัพย์ของสถาบันการเงินมักจะผูกติดกับราคาอสังหาริมทรัพย์ สองปีที่ผ่านมาราคาบ้านได้ลดลงไปแล้ว 28% หากราคาสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินถืออยู่เกิดราคาตกลงไปอีก 7-8% มันจะไปล้างส่วนทุนของสถาบันการเงินจนหมด โดยล่าสุด ราคาบ้านในสหรัฐยังคงลดลงต่อเนื่อง
    เราไม่รู้ว่ามันจะเลวร้ายไปถึงขั้นนั้นหรือไม่ แต่แนวโน้มมีอยู่สูงมาก สังเกตได้จากตอนนี้ที่ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ ทั้งที่รัฐบาลเพิ่งให้เงินช่วยเหลือ แบงค์ออฟอเมริกา , ซิตี้กรุ๊ป และเอไอจีไปหมาดๆ แสดงว่าเนื้อในยังมีปัญหาอีกมาก


    [​IMG]
    ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
    เวลานี้รัฐบาลสหรัฐให้เงินช่วยเหลือธนาคารต่างๆในรูปของการเพิ่มทุนไปแล้วกว่า 350,000 ล้านเหรียญ แต่นักวิเคราะห์บอกว่าเฉพาะ 8 ธนาคารใหญ่ของสหรัฐต้องการเงินอีก 1.2 ล้านล้านเหรียญเพื่อให้อยู่รอด
    ถึงตอนนั้น รัฐบาลสหรัฐจะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถ้าไม่ช่วย ก็จะเกิดเหตุการณ์ล้มเป็นโดมิโน ถ้าเข้าช่วย เงินกู้ที่ส่งไปอาจจะกลายเป็น NPL ชนิดถมท่าไรไม่เต็มสักที ทำให้ธนาคารกลางและเงินดอลลาร์สูญเสียความน่าเชื่อถือในสายตาชาวโลก ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยิ่งสั่นคลอน มีผลกระทบไปถึงภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงที่แย่อยู่แล้วให้กลับยิ่งแย่หนักยิ่งขึ้น ทำให้ GDP ติดลบมากขึ้นไปอีก
    อย่าลืมว่า วิกฤตรอบนี้กว่าจะรู้ตัวว่า เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว เราต้องใช้เวลาถึง 1 ปีเต็ม สมัยเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อ 70 ปีที่แล้ว สหรัฐใช้เวลาเกือบ 4 ปี ถึงจะได้ข้อสรุปว่าเศรษฐกิจแย่ถึงขั้นตกต่ำ ( Depression ) แล้ว
    ตอนนี้เหตุการณ์เพิ่งผ่านมา 15 เดือนแล้ว ( นับจากเดือนที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐ (NBER) แถลงยืนยันว่า เศรษฐกิจสหรัฐก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว คือเดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2550 ) แต่การจะยืนยันว่าวิกฤตเศรษฐกิจหนนี้จะรุนแรงถึงขั้นตกต่ำหรือไม่ เรายังต้องรอคำยืนยันจาก NBER อีกครั้ง
    คำถามที่คนมักจะถามกันมากที่สุด คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้เศรษฐกิจตกต่ำถึงขั้นต่ำสุดแล้ว
    เราคงต้องใช้ความรู้เรื่องวัฎจักรเศรษฐกิจ และความรู้ทางเทคนิคของดัชนีหุ้นมาคาดการณ์ ตามปกติ ช่วงปลายวัฏจักรของเศรษฐกิจขาลง การค้าการลงทุนจะเงียบเหงา คนจำนวนมากว่างงาน ดอกเบี้ยถูก เงินเฟ้อต่ำ การซื้อขายหุ้นจะเบาบาง และดัชนีหุ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะทุกคนต่างสิ้นหวัง และเข็ดหลาบกับการลงทุน
    ตอนนี้ข้อมูลหลายตัวเริ่มปรากฎออกมาให้เห็นแล้ว แต่มันยังไม่สุกงอม เนื่องจากยังมีการเก็งกำไรในหุ้นสหรัฐและราคาน้ำมันแทบทุกวัน ดัชนีดาวโจนส์หุ้นขึ้นลงวันละ 100-300 จุดเป็นว่าเล่น ส่วนราคาน้ำมันก็ผันผวนขึ้นลงวันละ 1-4 ดอลลาร์ได้แทบทุกวัน
    การที่เศรษฐกิจจะนิ่ง ต้องผ่านขั้นตอนที่คนส่วนใหญ่สิ้นหวัง เลิกเล่นหุ้น หันหลังให้ตลาดหุ้น จนราคาหุ้น ราคาน้ำมันไม่ขยับ ปริมาณการซื้อขายต้องลดมาจนน่าตกใจ เมื่อนั้นนักลงทุนระยะยาวจึงกลับมา ดัชนีหุ้นจะค่อยๆไต่ขึ้นช้าๆ ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อยๆฟื้นตัว การค้าการลงทุนค่อยๆขยับ เศรษฐกิจจึงจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
    เราคนไทยเคยผ่านเหตุการณ์นี้ทำนองนี้มาแล้วมิใช่หรือ
    เราเคยเชื่อว่ารัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จะป้องกันเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจไว้ได้ ต่อมาเมื่อมีการลดค่าเงินบาท เราก็เชื่อว่า ค่าเงินบาทคงจะลงไปเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นเราก็เชื่อว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ จะฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ในเวลาอันสั้น
    แต่ทุกอย่างที่เราเชื่อ ผิดหมด เหมือนกับที่คนอเมริกันเชื่ออยู่ตอนนี้ เพียงแต่เวลาต่างกัน 10 ปี เท่านั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...