เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์กับสถานการณ์กาซ่า :
    ปฏิบัติการ “ปั่นข่าวให้คนอ่านข่าวหัวปั่น”

    Tom Eley -:เขียน Shaffi : แปล
    (20 มกราคม 2009)

    ถ้าจะถามว่าหนังสือพิมพ์ฉบับไหนที่มีอิทธิพลต่อความคิดคนอ่าน และถูกอ้างถึงมากที่สุด ก็ขอบอกว่าฉบับนี้แหละครับ..หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ สื่อสิ่งพิมพ์เสรีนิยมที่มีความแนบแน่นกับพรรคเดโมแครต ในช่วงที่อิสราเอลเปิดฉากละเลงเลือดปาเลสไตน์อย่างเหี้ยมโหด นิวยอร์คไทม์ก็ละเลงข่าวเหมือนกัน และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ถึงขนาดเป็นเป็นคอลัมน์พิเศษในปกหน้า เป็นชุดยาวต่อเนื่องกันทุกวัน แบบ Non Stop Propaganda อ่านแล้วเป้าหมายเข้าใจไม่ยาก Single Mind Message คือ ทำให้สงครามเถื่อนของอิสราเอลกลายเป็นสงครามที่ถูกต้องชอบธรรม ..

    บทความในนิวยอร์คไทม์เหล่านี้ ปรากฎขึ้นท่ามกลางกระแสความไม่พอใจของชาวโลกที่มีต่ออิสราเอล โดยเฉพาะการทำสงครามโหดเป็นให้พลเรือนเสียชีวิต มากกว่า 900 คน บาดเจ็บอีกหลายพันคน จากการทิ้งระเบิดแบบไม่หยุดทางอากาศ ยิงด้วยปืนใหญ่ทางภาคพื้นดิน และปิดกั้นทางน้ำ โจมตีผู้ที่ไร้หนทางต่อสู้ ด้วยอาวุธทันสมัยและไฮเทคมากที่สุดในโลก Made in USA.

    หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ ฉบับวันที่ 9 มกราคม 2009 ตีพิมพ์บทความย่อบทหนึ่งไว้ที่หน้าแรกโดยโปรยหัวบทความนั้นว่า “นักสู้เห็นสวรรค์รำไร..ในกาซ่าที่เจ็บปวด” เขียนโดย ตักฮ์รีด อัล-คอดารี รายงานจากกาซ่า, บทความบรรยายฉากอันสยดสยองจากความตายที่โรงพยาบาลชิิฟา ในเมืองกาซ่าซิตี้ แต่เนื้อหาพุ่งไปที่บรรดานักรบอิสลามิกญิฮาดที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ซึ่งบทความนี้พยายามจะกล่าวย้ำว่าพวกนี้แหละที่เป็นพวกที่เปิดประตูต้อนรับความตายมาสู่ประชาชนปาเลสไตน์ในนามของการพลีชีพเพื่อศาสนา ซึ่งตรงกับเป้าหมายขององค์กรของพวกเขา อัล-คอดารี เขียนว่า “วิธีนี้แหละที่คนธรรมดาๆถูกบีบบังคับให้ต้องสละชีพตามแบบอย่างนักรบพวกนั้น”

    ช่างเป็นคำพูดที่ถากถางเสียดสีอะไรปานนั้น.. บทความทำให้คนอ่านรู้สึกเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมพลเรือนชาวปาเลสไตน์ ที่ต้องกลายเป็นเหยื่อสงคราม ทีอิสราเอลพุ่งเป้าหมายโจมตีกลุ่มต่อต้านอิสราเอล ซึ่งไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด..!

    ประชาชนในกาซ่าไม่ใช่ เหยื่อที่อยู่ตรงกลางระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มต่อต้านอิสราเอล มีหลักฐานมากมาย มากจริงๆ และชัดเจนมากพอที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าความจริงที่ยิ่งกว่าจริง ก็คือ.. ชาวปาเลสไตน์ผู้บริสุทธิ์ คือ “เป้าหมาย” การจงใจทำลายล้างอย่างโหดเหี้ยมทารุณ พวกเขา “อยู่ในหมู่บ้านกระสุนตก” พวกเขา “ขวางทางปืน” เพราะอิสราเอลจงใจวางแผนนี้มาอีกอย่างดี อิสราเองจงใจลงโทษประชาชนชาวปาเลสไตน์เพราะทั้งประชาชนและกลุ่มต่อต้านก็ล้วนเป็นปาเลสไตน์ที่อิสราเอลต้องการทำลายล้างเผ่าพันธุ์
    ใน วันที่ 11 มกราคม 2009 นิวยอร์คไทม์ ก็ตีพิมพ์อีกบทความหนึ่ง โดย สตีเวน เออลังเกอร์ ชื่อ “สงครามกาซ่า-กลอุบายและกับดัก”

    บทความของสตีเวน ย่อหน้าแรกทั้งหมดอุทิศให้กับเนื้อหาว่า “ฮามาส, ด้วยการฝึกฝนมาจากอิหร่าน และกลุ่มฮิซบัลลอฮ์ ได้ใช้สองปีที่ผ่านมาเพื่อทำให้กาซ่ากลายเป็นอุโมงค์มรณะ หลุมพราง และช่องทางลำเลียงระเบิด มัสญิดกลายเป็นคลังที่ซ่อนอาวุธ รวมทั้งตามโรงเรียนและบ้านเรือน ห้องบัญชาการของผู้นำฮามาสซ่อนอยู่ในบังเกอร์ลับใต้อาคารโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในกาซ่า” ทั้งหมดเป็นคำบอกเล่าจากสายลับอิสราเอล

    นิวยอร์คไทม์ บรรยายภาพเป็นตุเป็นตะราวกับว่าเรื่องพวกนี้เป็นสิ่งเร้นลับที่ไม่อาจ ไม่อาจพิสูจน์ค้นหาความจริงมาเปิดเผยได้ง่ายๆ อิสราเอลอ้างว่า “มัสญิด โรงเรียน และบ้านพลเรือน” เป็นแหล่งซ่องสุมอาวุธ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำลายให้หมดสิ้น ที่จริงมันก็คือข้ออ้างในการหาเหตุเพื่อสังหารประชาชนให้ตายในบ้านตัวเองนับร้อยๆคนนั่นเอง

    แม้ว่าอิสราเอลสามารถยืนยันข้อมูลได้ว่าคลังอาวุธอยู่ที่ไหน แต่ด้วยกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการทำสงคราม ไม่ได้อนุญาตให้ใช้พลเรือนเป็นเป้าหมายในการโจมตี

    เออลังเกอร์ อ้างว่าผู้นำฮามาสซ่อน “บังเกอร์บัญชาการไว้ใต้โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุด” นี่เป็นการใช้วิธีตีปลาหน้าไซ ที่น่าสพรึงกลัวแค่ไหน ลองคิดถึงภาพการทิ้งระเบิดถล่มโรงพยาบาลโดยอ้างว่าต้องการสังหารผู้นำฮามาส คิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยล้นออกมานอนที่ถนน หมอไม่พอ ยาและอุปกรณ์พื้นฐานที่ขาดแคลนมาหลายเดือนจากการปิดล้อมของอิสราเอล คนที่นอนรอความตาย เออลังเกอร์กล้าพอที่จะอ้างชื่อสายลับที่เป็นแหล่งข่าวให้ลังเกอร์ได้หรือไม่ ? ถ้ามีแผนที่จะถล่มโรงพยาบาลจริงๆ


    บทความอ้างข้อเท็จจริงว่าฮามาส ถูกฝึกโดยอิหร่านและฮิซบัลลอฮ์ แต่บทความเลือกที่จะไม่พูดข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องปิดบังโลกว่า กองทัพอิสราเอลครอบครองอาวุธมรณะที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในโลก โดยใช้เงินที่สหรัฐให้มาปีละไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านเหรียญ

    เออลังเกอร์ ระบุว่า กลุ่มฮามาส “ไม่ปรารถนาที่จะ..รบอย่างเปิดเผย” และ “ปฏิบัติการทางทหารภายใต้เครื่องแต่งกายพลเรือน, แม้แต่ตำรวจก็ถูกสั่งให้ถอดเครื่องแบบ”

    นี่คือข้อโต้แย้งที่ไม่ต้องสงสัยอีกแล้วว่า กองทัพอิสราเอลจงใจสังหารประชาชนปาเลสไตน์ เท่าๆกับการออกกวาดล้างจับกุมตัวชายชาวปาเลสไตน์ขนานใหญ่ อย่างที่เออลังเกอร์ อ้างไว้แล้วนั่นแหละ ว่า..นี่คือสิ่งที่ยุติธรรมแล้ว ก็เพราะว่านักรบปาเลสไตน์ไม่สวมเครื่องแบบ แต่ผู้เขียนลืมไปว่า ในชั่วโมงแรกที่อิสราเอลโจมตีกาซ่า ชาวปาเลสไตน์คนไหนที่สวมเครื่องแบบล้วนตกเป็นเป้าหมายของจรวด และระเบิด เพื่อที่จะพยายามหาข้อสนับสนุนคำโกหกของอิสราเอล ที่ว่าฮามาสควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความตายและความพินาศทั้งหมดเพราะฮามาสใช้ประชาชนเป็น “โล่ห์มนุษย์” เออลังเกอร์อ้างว่า “ผู้สื่อข่าวอิสราเอลคนหนึ่งแฝงตัวอยู่ในกองกำลังอิสราเอล” เพื่อให้ข้ออ้างมีน้ำหนักว่า “ในอาคารอพาร์ตเมนต์หลังหนึ่ง ในซัยตูน ทางตอนเหนือของกาซ่า ฮามาสวางกับดักสังหาร” โดยจัดวาง “หุ่นโชว์ไว้ในทางเดินเข้าด้านหน้าอาคาร” เขาเล่าต่อไปว่า “ฮามาสหวังจะล่อหลอก โดยใช้ความมืดสลัวหลอกให้ทหารอิสราเอลยิงใส่หุ่นโชว์ ซึ่งผูกระเบิดติดไว้กับตัวหุ่น เมื่อระเบิดขึ้นอาคารจะพังลงมาทับทหารอิสราเอล”

    ข้อมูลพิลึกพิลั่น ที่อ้างว่ามาจากแหล่งข่าวของเออลังเกอร์ อะไรคือนัยยะของการให้ข้อมูลพิสดารพวกนี้ปรากฎออกมาสู่สาธารณะ ชัดเจนเลยว่า..ฮามาสล่อทหารอิสราเอลให้มาถูกระเบิดแล้วโดนตึกถล่มใส่ เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกทหารอิสราเอลเล่นงาน เออลังเกอร์ระบุว่านักข่าวอิสราเอลที่เล่าให้ฟัง คือ รอน เบน-ยิชชี “ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายทหารของหนังสือพิมพ์ เยเดียต อะฮาโรน๊อธ” เออลังเกอร์ ไม่ได้บอกให้ผู้อ่านรู้ด้วยว่า รอน เบน-ยิชชี เป็นใครมาจากไหน เขาเป็นนักข่าวนิยมขวาจัดสายเหยี่ยว ที่มีความผูกพันธ์ใกล้ชิดทั้งกับกองทัพอิสราเอลและพรรคลิคุต ...ทำไมไม่กล้าบอกว่า ความจริงของ รอน เบน-ยิชช มีค่าควรแก่การให้น้ำหนัก ความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

    ผู้เขียนเลือก ใช้เมืองซัยตูนเป็นฉากบรรยายเหตุการณ์ในบทความ ไม่ใช่อุบัติเหตุ หลายเมืองทางตอนใต้ของฉนวนการซ่า ทหารอิสราเองใช้ปืนจี้บังคับให้ประชาชนอพยพกลับเข้าในอยู่ในอาคาร แล้วสั่งให้ยิงจรวดใส่อาคารพวกนั้น สังหารประชาชนไปอย่างน้อย 70 คน ทั้งหมดเป็นพลเรือน ส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก เป็นเวลา 4 วัน ที่อิสราเอลปฏิเสธไม่ให้กาชาดสากลเข้าไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในที่สุดเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในระหว่าง 3 ชั่วโมงของการถล่ม พวกเขาพบกับสิ่งที่ไม่อาจบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ ความเจ็บปวด ความทุกข์ระทมของมนุษย์ รวมทั้งเด็กสี่คนที่อยู่ในสภาพเป็นตายเท่ากัน ที่ต่างก็กำลังร้องไห้คร่ำครวญเรียกหาแม่ ด้วยความเจ็บปวดทรมาน

    เออลังเกอร์ ยังเล่าต่อไปว่า “เจ้าหน้าที่อิสราเอลกล่าวว่าพวกเขายึดมั่นในกฎหมายการทำสงคราม และใช้ความพยายามอย่างหนักที่จะไม่ทำอันตรายกับประชาชน แต่ฮามาสใช้ประชาชนเป็นโล่ห์มนุษย์ อิสราเอลคาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงการสังหารประชาชน” “หนังสือพิมพ์อิสราเอลเรียกกลยุทธ์ของฮามาสว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และผิดหลักมนุษยธรรม สื่ออิสราเอลมีความเห็นร่วมกันว่า การที่ฮามาสยิงจรวดใส่พลเรือนอิสราเอล และใช้ประชาชนเป็นโล่ห์กำบังในกาซ่า ล้วนเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ”

    ต่อกรณีการทิ้งระเบิดใส่โรงเรียนขององค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติในเมืองญะบัลยา ทำให้พลเรือนเสียช่วิต 40 คน เออลังเกอร์ เขียนถึงกรณีนี้ว่า “อิสราเอลกล่าวว่า ทหารอิสราเอลยิงโต้ตอบระเบิดที่ยิงใส่ทหารอิสราเอล ซึ่งถือว่าเป็นการตอบโต้ที่ถูกกฎหมาย..”
    ในวันเดียวกับวันที่บทความของเออลังเกอร์ตีพิมพ์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ คลาร์ค ฮอยต์ เขียนคอลัมน์หนึ่งที่บ่นเกี่ยวกับเรื่องการรายงานข่าวที่แฝงอคติของทั้งฝ่ายสนุนสนุนปาเลสไตน์ และฝ่ายที่สนับสนุนอิสราเอล โดยปราศจากความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ การเซ็นเซอร์สื่อเสนอข่าวสงคราม เราวทั้งการสั่งห้ามผู้สื่อข่าวไม่ให้เข้าไปทำข่าวในกาซ่า เขาสรุปด้วยความพึงพอใจ “หนังสือพิมพ์ของเราได้พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะให้เกิดความยุติธรรมในการนำเสนอ ด้วยเนื้อหาข่าวสารที่สมดุลและสมบูรณ์ และเราก็ประสบความสำเร็จในความพยายามนั้นอย่างยิ่ง”
    นิวยอร์คไทม์ ไม่ซ่ื่อสัตย์ และใช้เทคนิคในการนำเสนอเพื่อปกป้องการกระทำทารุณกรรมต่อชาวปาเลสไตน์ในกาซ่า ซึ่งถือได้ว่าสิ่งที่พวกเขานำมาใช้เป็นวิธีที่ผิดจริยธรรมและผิดหลักการเสรีนิยม ในการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมือง มันเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าสื่ออเมริกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพวกเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยม ทั้งหมดล้วนมีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการก่ออาชญากรรมสงครามของอิสราเอล

    ˹ѧ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อาหรับเอ๋ย..โลกมองคุณอยู่..

    อัยญาด ซากา ซัยยิด : เขียน

    (จากหนังสือพิมพ์ปาเลสไตน์ครอนิคัล เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2008))

    Shaffi: แปล

    (14 มกราคม 2009)

    แค่ลองนึกถึงเพื่อนปาเลสไตน์ในยามนี้ ยามที่พวกเขาไม่เหลืออะไรที่จะเสีย ไม่มีอะไรจะเป็นการทดสอบธาตุแท้ของความทรหดอดทนไปมากกว่านี้อีกแล้ว

    แค่มองดูสิ่งที่เพื่อนชาวปาเลสไตน์ได้รับการปฏิบัติเสมือนพวกเขาไม่มีสถานะเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีอันเท่าเทียมเช่นเดียวกับพวกเรา ในปฏิบัติการโหดที่เรียกว่า “Shock and Awe” มันช่างเหมาะเจาะพอดิบพอดีอะไรเช่นนั้น ที่ต้องกระโดดหนีความตายและความอดอยากหิวโหย จากของขวัญจากฟากฟ้าที่อิสราเอลมอบให้ด้วยความชิงชัง ในช่วงเดียวกับเทศกาลที่คนทั้งโลกกำลังฉลองความสุขอย่างไม่ลืมหูลืมตา ดินแดนที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งสามศาสนา... ปาเลสไตน์ ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนแห่งมะกอกอาณาจักรแห่งศาสดา แผ่นดินแห่งสันภาพ นี้..สมควรได้รับโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองนี้ อย่างมีความสุขมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

    ยามนี้..เพื่อนชาวปาเลสไตน์ของเรา กลับง่วนอยู่กับการฝังกลบร่างไร้วิญญาณ ของเพื่อน ของพ่อ ของแม่ ร่างของพี่น้อง แม้แต่ร่างไร้วิญญาณของลูกๆที่น่ารักที่เพิ่งเกิดมามองดูโลกโสมมนี้ได้ไม่ถึง 6 เดือน กลับคืนสู่ใต้ผืนแผ่นดินเกิด

    ขณะที่อิสราเอล ก็กำลังง่วนอยู่กับการฝังกลบเกียรติภูมิ เกียรติยศ การยอมรับนับถือ ความรัก ความเมตตา ความเป็นมนุษย์ ที่ควรได้รับจากชาวโลก ของอิสราเอล ฝังไว้ใต้ดินชั่วนิรันดร์..เช่นกัน

    อะไรที่ทำให้อิสราเอลต้องปลดปล่อยพลังแห่งความชั่วช้าสามานย์นี้ออกมา..อามีรา ฮาส ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์รายวันตีพิมพ์ในอิสราเอล “ฮาอะเร็ตซ์” เธอเขียนบทความโดยจั่วหัวเรื่องว่า “Christmas in Gaza : No More Room in the Morgue” หรือ “คริสมาสต์ในกาซ่า : ไม่มีที่ว่างในห้องเก็บศพ” อามีรา เขียนว่า “ทุกนาที..ที่ผ่านไป คือการเพิ่มตัวเลขรายชื่อผู้ตายในบัญชีหางว่าวให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ ช่องว่างสำหรับบรรจุศพในห้องศพถูกจองเต็มไปนานแล้ว.. บรรดาญาติต่างมองหาพ่อแม่พี่น้องและลูกๆของตัวเองจากกองของร่างไร้วิญญาณเหล่านั้น เพื่อจะได้นำไปฝัง จะได้มีช่องว่างๆไว้รอรับศพใหม่ๆที่ทยอยเข้ามาไมรู้่จักหมดจักสิ้น ฉันพบกับแม่คนหนึ่งที่สูญเสียลูกเล็กๆสามคนของเธอไปในคราวเดียวกัน เฝ้าอดทนเดินเปิดดูห่อศพในห้องนั้น ทีละศพ ทีละศพ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทั้งที่เต็มไปด้วยความหม่นหมองอย่างแม่ซึ่งหัวใจสลาย จะยังพอทำได้ ฉันเฝ้ามองดูเธออย่างเงียบๆ.. เธอร้องไห้ แล้วร้องไห้อีก .”

    อีกคนหนึ่งที่ต้องนับว่าเป็นคนแรกๆที่รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบสดๆร้อนๆออกมาจากกาซ่าในช่วงแรกของเหตุการณ์ ศอฟา ญุดดี พูดถึง “ประสบการณ์เหนือจริง” ของเขาโดยเปรียบเทียบบรรยากาศในโรงพยาบาลที่กาซ่าว่าในยามนั้นมีสภาพไม่ต่างอะไรกับโรงฆ่าสัตว์เราดีๆนี่เอง ..เขาเล่าว่า “ไม่มีวันที่เราจะจินตนาการภาพอย่างที่กำลังปรากฎอยู่ตรงหน้าได้ อะไรต่อมิอะไรมันเกิดขึ้นเร็วมาก ศพคนตายจำนวนมากมายมาถึงโรงพยาบาลพร้อมๆกัน สภาพศพแต่ละศพที่เข้ามาถูกทำลายจนรุ่งริ่ง บางศพมีแต่ลำตัวซีกเดียวดูไม่ว่าออกว่าใครเป็นใคร บ้างเปลือยเปล่า บ้างมีแต่รองเท้า โรงพยาบาลไม่มีที่รองรับศพจำนวนมากในคราวเดียว ต้องใช้ลานจอดรถหน้าโรงพยาบาลเป็นสถานที่ห่อศพ หรืออวัยวะที่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของไว้เป็นห่อๆ เพื่อให้ญาติมารับศพไปฝัง รอบๆกองศพเหล่านั้นเต็มไปด้วยครอบครัวที่อยู่ในอาการเศร้าโศกและพยายามมองหาอะไรบางอย่างที่พอจะระบุได้ว่าศพนั้นเป็นญาติของตัวเอง และแม้ว่าจะสามารถระบุได้ว่าศพนั้นเป็นใคร แต่บรรดาแแพทย์ก็ต้องเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการค้นหาชิ้นส่วนอวัยวะของศพที่ขาดหายไป และไปปะปนอยู่ในกองศพอื่นๆ ก่อนที่จะรวบรวมเศษชิ้นส่วนเหล่านั้น ส่งมอบให้ญาติไปดำเนินการต่อไป ที่ว่างในโรงพยาบาลแทบทุกซอกทุกมุม ทุกช่องทางเดิน ถูกใช้เป็นที่กองศพและเศษชิ้นส่วนอวัยวะ ที่แหลกเหลวจำนวนมากมาย ..นีี่แหละที่ผมว่าเหมือนโรงฆ่าสัตว์ ภาพแบบนี้แม้แต่คนที่สร้างภาพยนตร์สยองขวัญสั่นประสาทที่สุด ยังไม่กล้าจินตนาการถึง..”

    อิสราเอลไม่รอช้า..รีบใช้สื่อในมือ จัดการให้คนทั้งโลกที่เห็นภาพเหล่านี้ เข้าใจว่า นี่คือศพของนักรบฮามาส ผู้ก่อการร้ายที่อิสราเอลต้องจัดการ นี่ไง..ศพพวกผู้ก่อการร้าย..พวกมันสมควรต้องตาย ..ทั้งที่ภาพทารกตัวน้อยที่กำลังขาดใจตายในอ้อมอกแม่ หรือแม้แต่เด็กวัยกำลังซนที่ตายไปทั้งที่ยังมีแววตาไร้เดียงสาฉายอยู่ เป็นภาพที่ฟ้องไปทั้งโลกให้รู้ถึงสิ่งที่อิสราเอลปฏิบัติต่อเพื่อนปาเลสไตน์เสมือนพวกเขาไม่ใช่มนุษย์ ครอบครัวของอันวาร์ บารุสชา สูญเสียลูกสาวทั้งหมดของเขารวม 5 คน ตอนที่อิสราเอลทิ้งระเบิดใส่มัสญิดในเมืองบีธ ฮานูน ขณะที่ลูกสาวเล็กๆทั้ง 5 คน กลังหลับใหล กำแพงมัสญิดถูกระเบิดและพังลงมาทั้งแผงฝังร่างพวกเธอทั้ง 5 เสียชีวิตทันที ทั้งๆที่ยังหลับ ลูกสาวคนที่อายุมากที่สุดคือ 17 ปี คนเล็กที่สุดแค่ 4 ขวบ สมควรหรือกับการที่พวกเธอต้องมาตายในคราวเดียวกันเพียงเพื่อให้อิสราเอลได้รับความปลอดภัยอย่างที่อิสราเอลกล่าวอ้าง

    ทซิบปี ไลว์นี รัฐมนตรีต่างประเทศ ทายาททางการเมืองของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล โอลด์เมิร์ต กล่าวย้ำกับสื่อตะวันตก และนานาชาติว่า อิสราเอลจำเป็นต้องป้องกันตัวเอง “เราต้องการให้ชีวิตที่ดีกว่า ความสงบสันติสุขแก่ประชาชนของเรา..” ไลว์นีออกมากล่าวสองวันหลังจากที่ฆ่าเพื่อนชาวปาเลสไตน์ไปแล้ว 300 ศพ..การเข่นฆ่าชาวปาเลสไตน์ และถล่มที่อยู่อาศัยของพวกเขาให้ราบเป็นหน้ากลอง คือวิธีที่จะนำสันติสุขมาสู่ประชาชนชาวอิสราเอล..


    ประสานเสียงกับ ซัลมี คอลลิซาต เอกอัคราชทูตอิสราเอลประจำมิตรประเทศที่ใกล้ชิดที่สุดของอิสราเอลคือสหรัฐ รีบออกมาสนับสนุนถ้อยแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศตนเองว่า “ต้นต้อของเรื่องนี้ ก็เพราะจรวดของฮามาสยิงใส่อิสราเอลก่อน”

    เราลองมาเรียบเรียงลำดับ และไล่เรียงความเป็นมากันสักหน่อย.. ท่านทูตคอลลิซาต คงลืมไปแล้ว ทำไมไม่ลองย้อนเวลากลับไปดูว่าอะไรที่ทำให้ฮามาสยิงจรวดพวกนั้น คือตอบง่ายๆที่เด็กก็ตอบได้..ก็เพราะอิสราเอลไปยึดครองดินแดนของพวกเขามาตั้ง 60 ปี ไม่ใช่หรือ เอาแค่ย้อนกลับไปใกล้ๆแค่ 7 ปี ใน 7 ปี อิสราเอลถูกสังหารไป 14 ศพ แต่เวลาเท่ากันอิสราเอลฆ่าชาวปาเลสไตน์ไปถึง 5.000 ศพ ด้วยอาวุธที่สุดแสนจะไฮเทคที่วิจัยผลิตและให้ใช้ฟรีโดยสหรัฐ

    แต่พวกยุโรปมองเหตุการณ์นี้ต่างไป พวกยุโรปขอให้ทั้งสองฝ่ายอดทน พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เหยื่อชาวปาเลสไตน์ก็สมควรถูกตำหนิที่ไปทำอะไรซึ่งเป็นการยั่วยุให้อิสราเอลตัดสินใจลงไม้ลงมือ พูดแบบนี้ก็เป็นนัยว่าพวกเราชาวยุโรปจะไม่ประนามอิสราเอล แต่จะพยายามพูดด้วยความเห็นใจชาวปาเลสไตน์ไปด้วยกัน ก็เหมือนๆกับการทิ้งระเบิดใส่อิรักและอัฟกานิสถานนั่นแหละ สรุปว่าพวกยุโรปก็พึ่งพาเป็นปากเป็นเสียงไม่ได้

    ทีนี้มาดู UN. ใครก็รู้ว่า UN. เป็นเวทีของใคร วงที่จ้างมาโชว์ก็รับเงินมหาอำนาจ จำเป็นอยู่เองที่ต้องบรรเลงเพลงที่สปอนเซอร์ชอบฟัง ขืนเล่ยเพลงผิดหูเดี๋ยววงแตก แต่ก็ยังดีหน่อยในคราวนี้ ที่อย่างน้อยก็ออกมาพูดอะไรบ้าง บันคีมูนเลขาธิการ UN. คนที่สหรัฐจับมานั่งหัวโต๊ะ UN. เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที บันคีมูนจะพูดอะไรต้องระวังและเหลือบตามองทำเนียบขาวอยู่เสมอ ขืนเผลอไปยืนข้างปาเลสไตน์มากๆเดี๋ยวเร็คคอร์ดไม่สวย เหตุการณ์นี้เห็นชัดเลยว่า บันคีมูนเหมือนไก่หัวขาด ที่ไม่รู้ว่าหัวหายไปทางไหน

    มามองดูโลกอาหรับ กับโลกมุสลิมกันหน่อย ถึงคราวที่ต้องวัดใจกันว่า โลกอาหรับยังมีน้ำยาอยู่หรือเปล่า จะปล่อยให้ปาเลสไตน์ฉายเดี่ยวต่อหน้าอิสราเอล ผจญอยู่กับความยากลำบากอยู่ต่อไปได้ลงคอหรือไม่ การโจมตีสามวันแรกประเทศอาหรับและมุสลิมเงียบเป็นเป่าสาก แค่จะตกลงกันว่าจะคุยกันมั๊ย..เมื่อไหร่..ที่ไหนดี..จะคุยไปเพื่อะไร แค่นี้ก้หมดไปสามสี่วันโดยไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง..

    อิสราเอลก็สะดวกโยธิน และไม่ออมมือที่ไล่ทุบปาเลสไตน์และกาซ่าจนบี้แบนแหลกเหลวคามือ โลกก็ได้แต่ทำหน้าเจี๋ยวเจี้ยมหุบปากเงียบดูไปเรื่อยๆ ประเทศอาหรับและมุสลิมแกล้งทำไขสือ ทั้งๆที่มีเรื่องง่ายๆให้ทำได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงให้เปลืองตัวอะไรเลย ก็แค่ประณามอิสราเอลที่กระทำการอันเป็นภัยต่อมนุษยชาติและทำลายหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศอาหรับและมุสลิมสงวนท่าทีไปทำไมให้เสียความรู้สึก ต่อให้อาหรับประณามเป็นร้อยเป็นครั้ง อิสราเอลก็ไม่แคร์พวกคุณหรอก แต่คนที่แครฺคุณและอยากได้เสียงของคุณ คือเพื่อนปาเลสไตน์ของเราต่างหากเล่า..

    หุบปากนิ่งกันหมดแล้วจะปก้อะไรได้ไหม..ตัดหางปล่อยวัดปาเลสไตน์ ก็เท่ากับเห็นด้วยในหลักการ ที่ยิวอ้างว่านี่คือความขัดแย้งของยิวกับปาเลสไตน์ แน่นอน..อิสราเอลก็เล่นต่อไป ฆ่า เผา ระเบิดภูเขาเผากระท่อมโชว์ชาวโลกให้นั่งดูด้วยความบันเทิงต่อไป เหมือนนั่งดูแอ๊คชั่นฮอลีวู๊ด ที่ไม่รู้สึกรู้สาว่าที่แท้ที่เห็นในจอนั่นมันของจริง ตายจริง เจ็บจริง ระเบิดจริง ไม่ใช่เอ็ฟเฟ็กส์แต่อย่างใด

    โลกของมนุษย์ผู้ศิวิไลท์ อยู่ที่ไหนกัน... ประชาคมโลก องค์กรนานาชาติ กลวงโบ๋ ทำงานเหลวไหลไปวันๆ พูดจาลมๆแล้งๆหลอกคนทั้งโลกว่าช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาได้ องค์กรเพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่ปากก็พร่ำว่าสิทธิมนุษยชนสำคัญเหนือยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด แต่ไม่เคยพูดเรื่องการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และ..พวกผู้นำอาหรับ และนักการเมืองขี้โอ่ประเทศมุสลิม หายหัวไปไหนกันหมด พวกเขามีเงินในกระเป๋าหลายแสนล้านๆๆๆดอลล่าห์ เงินพวกนี้จะมีความหมายอะไร หากพวกเขาไม่อาจยุติความชั่วร้าย หรือไม่อาจป้องกันเพื่อนปาเลสไตน์ของเรา เพื่อนผู้้บริสุทธิ์ของเราให้พ้นจากความตาย ที่มาเยือนถึงเตียงนอนได้

    เราตระหนักกันแล้วหรือยังว่าการยังคงนิ่งเงียบไม่ทำอะไรเลย ได้กลายเป็นส่วนที่ส่งเสิมสนับสนุนให้การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติยังคงดำเนินต่อไป อาหรับเอ๋ย..โลกกำลังเฝ้ามองพวกคุณ ถ้าคุณไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรเลย ในวันนี้..จำไว้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่ยอมให้อภัยพวกคุณอีกเลย

     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยิวสังหารโหด (ตอนที่ 6)
    [ THE JEWISH MASSACRE ]
    โดย Shaffi


    (14 มกราคม 2009)


    เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มัสญิดอัล-อักศอ
    เมื่อ 8 ตุลาคม ปี 1990


    หลายวันก่อนเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มัสญิดอัล-อักศอ คณะกรรมการของยิวขวาจัดที่เรียกว่า “Temple Trustees” (กลุ่มยิวพวกนี้เป็นยิวขวาจัดที่จัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อรณรงค์เรียกร้องให้ยึดเอามัสญิดอัล-อักศอ คืนมาเป็นของยิว โดยอ้างว่ามุสลิมเข้ามายึดครองและเปลี่ยนโบสถ์ยิวของศาสดาเดวิด หรือดาวูด ให้กลายเป็นมัสญิดอัล-อักศอ และมัสญิดโดมศิลา องค์นี้ได้พยายามหาทุนมาดำเนินขุดค้นทางโบราณคดีโดยเจาะช่องอุโมงคืเข้าไปใต้ฐานมัสญิดอัล-อักศอ จนถึงฐานรากและทำให้มัสญิดได้รับความเสียหาย)


    คณะกรรมการดังกล่าวได้ออกประกาศทางสื่อเชิญชวนชาวยิวให้มาร่วมงานที่พวกเขาจัดขึ้น เป็นงานเทศกาลที่พวกยิวเรียกว่า “The Throne Festival” หรือ เทศกาลกษัตริย์ ซึ่งกษัตริย์ของพวกยิว ในที่นี้หมายถึง กษัตริย์เดวิดนั่นเอง ในคำประกาศเชิญชวนชาวยิวให้มาร่วมงานดังกล่าวนี้ ได้มีการเชิญชวนชสวยิวให้มาร่วมกิจกรรมสำคัญในงานเทศกาลกษัตริย์เดวิด ได้แก่การร่วมเดินขบวนชาวยิวไปยัง Temple Mount หรือมัสญิดอัล-อักศอ นั่นเอง ตามคำโฆษณาเชิญชวนนั้นกล่าวว่า เป็นการร่วมกันเดินขบวนอัญเชิญ “ศิลารากรากฐาน” (คล้ายศิลาฤกษ์ตามแบบประเพณีไทย ที่จะเริ่มก่อสร้างอาคารสำคัญใดๆต้องมีการวางศิลาก้อนแรกเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อ) ของ “The Third Temple” หรือ “วิหารที่ 3”


    การเชิญชวนชาวยิวร่วมกันเดินขบวนอัญเชิญศิลารากฐานเพื่อสร้าง “วิหารที่ 3” แม้เป็นเพียงการแสดงออกทางสัญลักษณ์ แต่ก้แสดงให้เห็นเจตจำนงค์ที่แฝงอยู่ในจิตใจชาวยิวว่า มีความประสงค์จะรื้อมัสญิดอัล-อักศอ ศาสนาสถานที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่สามของโลกมุสลิมทิ้งไป และสร้างวิหารกษัตริย์เดวิดขึ้นมาแทนที่ ที่เรียกว่าวิหารยุคที่ 3 (วิหารเดวิดยุคที่ 1 ถูกพวกบาบิโลเนียเข้ายึดและทำลาย วิหารยุคที่ 2 ถูกพวกโรมันทำลาย มุสลิมเข้าปกครองปาเลสไตน์ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 600 คอลิฟะห์อุมัร (ฝรั่งเรียก โอมาร์) ผู้นำอาณาจักรอิสลามคนที่ 3 เป็นผู้สร้างมัสยิดอัล-อักศอ ไว้บนเนินเขาเตี้ย พวกยิวเรียกเนินเขานี้ว่าไซออน) ดังนั้นการโฆษณาเชิญชวนชาวยิวเดินขบวนแห่ศิลาเพื่อนำไปไว้ที่มัสยิดอัล-อักศอ เพื่อแสดงให้ชาวมุสลิมทั้งโลกเห็นว่า ยิวต้องการทำลายมัสญิดอัล-อักศอ เป็นสิ่งที่ท้าทายและมุสลิมไม่อาจยอมรับได้
    ผู้ซึ่งจุดชนวนเรื่องนี้ขึ้นมาได้แก่ ประธานกรรมการรณรงค์ก่อสร้างวิหารกษัตร์เดวิดยุคที่ 3 คือ นายเกอชุน ซัลโมน เขาประกาศในสื่อรณรงค์ของยิวว่า “การยึดครองวิหารศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิว โดยโลกอิสลาม และชาวอาหรับ ถึงเวลาที่ต้องสิ้นสุดลงแล้ว ภูเขาศักดิ์สิทธ์ต้องกลับมาเป็นของชาวยิว และยิวจะสร้างวิหารกษัตริย์เดวิดขึ้นมาใหม่” การประกาศดังกล่าวหวังผลทางการโฆษณาหวังให้มีผู้ร่วมในเทศกาลเป็นจำนวนมาก แล้วก็ได้ผลเกินคาดมีชาวยิวถูกปลุกระดมให้มีจิตใจฮึกเหิมออกมาร่วมเดินขบวนได้มากถึง 200,000 คน ขณะเดียวกันการปลุกระดมของนายซัลโมน ก็ทำให้ชาวมุสลิมไม่พอใจเป็นอย่างมาก


    วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม เวลา สิบโมงเช้า ครึ่งชั่วโมงก่อนเหตุการณ์สังหารหมูู่เกิดขึ้น กองกำลังอิสราเอลเริ่มต้นตั้งกำแพงไปตามแนวถนนสายหลักๆที่มุ่งสู่นครเยรูซาเล็ม เพื่อป้องกันมิให้ชาวมุสลิมปาเลสไตน์ที่ไม่พอใจการปลุกระดมของชาวยิวเดินมาทางรวมตัวกันที่มัสญิดอัล-อักศอ ทหารอิสราเอลที่รักษาการณ์รอบเนินเขาที่ตั้งมัสญิด ได้ปิดประตูทางเข้าลานรอบมัสญิดทั้งหมดและประกาศห้ามชาวปาเลสไตน์เข้าไปด้านในอย่างเด็ดขาด แต่ตอนที่สั่งปิดประตูนั้นมีชาวปาเลสไตน์ที่เข้าในมัสญิดอัล-อักศอ ก่อนหน้านั้นแล้วเป็นจำนวนหลายพันคน ตามที่อิหม่ามประจำมัสญิดได้เชิญชวนเรียกร้องให้ชาวมุสลิมอาสาสมัครปกป้องมัสญิดจากพวกยิวจากคลื่นชาวยิว 200,000 คน ที่ถูกยุยงปลุกปั่นกำลังโกรธเกรี้ยว กำลังเดินขบวนแห่ศิลารากฐานจะมาถึงมัสญิด


    เมื่อชบวนแห่พวกยิวมาถึง ได้มีความพยายามจะนำศิลารากฐานวิหารกษริย์หลังที่ 3 มาวางแต่ก็ถูกชาวมุสลิมที่ชุมนุมในมัสญิดออกมาแสดงอาการคัดค้าน ทหารอิสราเอลที่สังเกตุการณ์อยู่ก่อนก็เริ่มระดมยิงเข้าใส้ผู้ชุมนุมชาวปาเลสไตน์ ทั้งแก๊สน้ำตา ปืนกล ทั้งจากทหารที่ล้อมปราบ และจากเฮลิคอปเตอร์ติดปืนที่บินโจมตีอยู่่รอบๆมัสญิด ผู้ที่รอดจากเหตุการณ์มาได้เล่าว่า นอกจากทหารอิสราเอลที่ระดทยิงใส่ผู้ชุมนุมชาวปาเลสไตน์แล้วยังมีกลุ่มติดอาวุธยิวขวาจัดหัวรุนแรงร่วมสังหารผู้ชุมนุมด้วย กระสุนที่สาดมายังชาวปาเลสไตน์ดั่งสเปรย์ที่พ่นออกมาใส่ฝูงชนที่ยืนเป็นเป้านิ่ง และถูกจำกัดพื้นที่สังหารที่ไม่อาจหนีไปทางใดได้เลย ผลการล้อมปราบครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตหลากหลายอายุรวมกันทั้งสิ้น 23 คน และผู้บาดเจ็บ 850 คน รวมเวลาที่ปรามปรามชาวปาเลสไตน์ครั้งนี้ ในเวลาเพียง 35 นาที




    (จบตอนที่ 6 - ยังมีต่อ)
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กาซ่าหลั่งเลือด - ยิวเปลืองน้ำลาย

    โดย Shaffi

    (13 มกราคม 2009)

    “ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงมองโลกในแง่ดีนัก ทำไมพวกอาหรับถึงต้องยอมอยู่เฉยๆ ? ถ้าผมเป็นผู้นำอาหรับนะ ผมจะไม่มีวันเจรจากับอิสราเอลเป็นอันขาด เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยากเลยอยู่ๆเรา (ยิว) ไปฉกเอาประเทศของพวกเขา(ปาเลสไตน์) มาเป็นของเรา โดยอ้างว่าพระเจ้ามอบให้พวกเรา ทำไมอาหรับต้องแคร์เรา ก็พระเจ้าของเราอยู่ตรงนั้นเสียเมื่อไหร่ล่ะ ใช่..เรามาจากเผ่าพันธุ์อิสราเอล..แล้วไง..เรื่องเล่านี่มันตั้งสองพันกว่าปีมาแล้ว ชนชาติยิวเคยถูกนาซี ต่อต้านมาแล้ว ฮิตเลอร์ถึงได้สร้างค่ายกักกันที่เอ๊าซ์วิช .แล้วพวกนั้น(บรรดาพวกผู้นำยิวไซออนิสต์หัวแข็งบางคน) ผิดพลาดตรงไหน..? ก็ผิดตรงที่พวกเขาคิดเอาแต่ได้ คิดง่ายๆว่า ชาวยิวไปที่นั่นพออาหรับเผลอ ก็ขโมยประเทศของพวกเขา มาเป็นของเรา พวกนั้นคิดหรือว่าพวกอาหรับจะยอมพวกคุณง่ายๆ... ? “

    นั่นคือตอนหนึ่งจากหนังสือ ชื่อ The Jewish Paradox : A Country Why Should They accept that หน้าที่ 99 บันทึกเรื่องราวภายในองค์กรยิวไซออนิสต์ ก่อนตั้งรัฐยิวบนดินแดนปาเลสไตน์ บันทึกโดย นาฮุม โกลด์แมน สมาชิกอาวุโสองค์กรยิวไซออนิสต์ หนังสือเล่มนี้ แปลจากภาษาฮิบรู โดย สตีฟ ค๊อก ข้อความในบันทึกนั้นเป็นการถกเถียงกันระหว่างผู้นำสมาคมยิวไซออนิสต์ ที่กำลังเตรียมแผนการก่อตั้งรัฐยิว เดวิด เบนกูเรียน เสนอว่าให้ขโมยดินแดนปาเลสไตน์มาตั้งรัฐยิวเอาดื้อๆ โดยอ้างว่าพระเจ้าของพวกยิวมอบดินแดนแห่งนี้ให้แก่ลูกหลานอิสราเอล แต่นาฮุม โกลแมน ซึ่งเป็นผู้นำอีกคนหนึ่งคัดค้าน และเห็นว่าการกระทำเช่นนี้จะถูกต่อต้านจากเจ้าของดินแดน คำทักท้วงของนาฮุม โกลแมน ยังคงเป็นความจริงที่ดำรงอยู่ในวันนี้

    ในโลกด้านที่ยุติธรรมมองการโจมตีของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์กาซ่าว่าเป็นการก่อ “อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ” อิสราเอลนั้นบัดนี้อยู่ในโลกคนละโลกกับพวกเรา โลกของพวกเรามี มติสหประชาชาติ-กฎหมายระหว่างประเทศ-สนธิสัญญาเจนีวา-และกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้ยึดถือ แต่อิสราเอลกลับเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไร้ความหมาย

    ในช่วงเวลาที่นั่งอยู่บนเก้าอี้เปื้อนเลือด ของนายกรัฐมนตรีโอลเมิร์ต เขาเล่นงานเลบานอนเมื่อสองปีก่อน คราวนี้ถล่มกาซ่า การซ่าที่อิสราเอลบอกโลกว่ามีพิษสงร้ายกาจ สำนักข่าวกระแสหลักที่สนับสนุนอิสราเอลอย่าง CNN FOX CNBC และ AP มักให้เหตุผลต่อท้ายการรายงานข่าวการโจมตีของอิสราเอลทุกครั้งว่า ทำไปเพื่อเป็นการตอบโต้ที่ฮามาส โจมตีอิสราเอลด้วยจรวด Home Made ที่เรียกว่า ก๊อตซามร๊อกเก๊ต เป็นภาคบังคับในการเสนอข่าวตลอดมา จรวดก๊อตซามของฮามาสที่นักข่าวอิสระที่ได้เห็นมันอดไม่ได้ที่จะอมยิ้มเพราะที่จริงมันมีอานุภาพทำลายไม่มากไปกว่าระเบิดที่ทำจากดอกไม้ไฟ (บ้านเราน่าจะเรียกว่าบั้งไฟ) มันเป็นอาวุธทำเองที่บ่อยครั้งก็ระเบิดใส่ทั้งคนทำ และคนยิง มันจึงเป็นเพียงแค่การต่อสู้ทางสัญลักษณ์ และผลทางจิตวิทยา มากกว่าการต่อสู้เพื่อหวังผลในการทำลายล้าง อิสราเอลอ้างเสมอว่าฉนวนกาซ่าเป็นแหล่งซ่องสุมผู้ก่อการร้าย ที่จริงเป็นเพียงกาซ่าที่แม้จะยืนด้วยตัวเองก็ยังไม่ได้ เพราะถูกปิดล้อมจนอดอยากยากไร้ไม่มีน้ำไม่มีไฟฟ้า มาตั้งแต่ปี 2007 เป็นกาซ่าที่ถูกจับยัดใส่กรงขังมานาน ไม่มีน้ำสะอาด ไม่มีอาหาร ไม่มียา ที่เพียงพอ โจมตีกาซ่าคราวนี้ ของโอลเมิร์ตจึงสมควรถูกเรียกว่า “หายนะของมนุษยชาติ” ดังคำพูดที่เลขาธิการ UN นายบันคีมูน เรียกขาน รายงานออกมามากมายที่ยืนยันว่า การโจมตีครั้งนี้ไม่ใช่การตัดสินใจฉุกเฉิน แต่มันถูกเตรียมการมานาน 6 เดือน... ! และเรื่องนี้ไม่ได้ปิดเงียบอยู่แต่ในรัฐบาลอิสราเอล แต่อับบาส ผู้นำ PA. และมุบาร๊อก ผู้นำตลอดกาลของอียิปต์ ก็รู้ดีว่าสักวัน อิสราเอลต้องลงมือเช่นนี้

    ตลอดระยะเวลาในข้อตกลงหยุดยิงเมื่อ ปี 2007 ต่อเนื่อง 2008 ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจากฝ่ายฮามาสมากกว่าอิสราเอล เรื่องนี้มิได้เป็นการกล่าวหาอย่างไร้หลักฐาน แต่สามารถยืนยันการตรวจสอบการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ได้จากองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนนานาชาติ หรือแม้แต่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนของอิสราเอลที่ว่า องค์กรเบ็ธซาเล็ม เองก็มีบันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวปาเลสไตน์โดยอิสราเอลไว้้ด้วยเช่นกัน

    หนังสือพิมพ์อิสราเอลรายงาน เมื่วันที่ 27 เดือนมิถุนายน 2008 ว่า องค์การสหประชาชาติ ได้รายงานว่า กองทัพบกอิสราเอลได้ทำการละเมิดข้อตกลง อย่างน้อย 7 ครั้ง โดยการใช้กำลังทหารผลักดันเกษตรกรชาวปาเลสไตน์ให้ออกจากพื้นที่ใกล่ชายแดนด้วยการใช้อาวุธข่มขู่และสังหารชาวปาเลสไตน์

    อิสราเอลยังใช้วิธีการที่เรียกว่า “ตัดสินประหารชีวิตด้วยวิธีการลอบสังหาร” ที่เรียกว่า ““extrajudicial assassinations” ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่ผิดกฎหมาย ด้วยการสั่งให้ปลิดชีพผู้นำฮามาสในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2008 ซึ่งทำให้ผู้นำฮามาส 2 คนเสียชีวิต ประชาชน 4 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส รวมถึงผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างที่อิสราเอลบุกเมือง ญุห์ร อัดดีก, การยิงจรวดโจมตีที่เมืองคานยูนิส และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การแถลงของโฆษกกองทัพอิสราเอลที่อ้างว่าการบุกครั้งนั้นเพื่อป้องกันให้ข้อตกลงหยุดยิงถูกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากจะเป็นเรื่องโกหกที่ขัดต่อหลักฐานของสหประชาชาติแล้ว ยังเป็นการจงใจปกปิดการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย

    บทความชิ้นหนึ่งปรากฎในหนังสือพิมพ์อิสราเอล ชื่อ ฮาอะเร็ตซ์ ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2008 โดยแบรดลีย์ เบอร์สตัน เขียนบทความโดยเรียกกองทัพอิสราเอลว่า “กองทัพของเรา..สงครามที่เป็นอาชญากรรมของเรา..ผู้ก่อการร้ายของเรา..” ในบทความเบิร์สตันเขียนอธิบายว่าหทารอิสราเอลชั่วร้ายแค่ไหน ด้วยการวาดภาพให้เราเห็นว่า ทหารอิสราเอลใช้ลูกกระสุนปืนใหม่ ที่ทันสมัยที่สุด ที่มีอานุุภาพในการทำลายมากที่สุด ยิงใส่บ้านของชาปาเลสไตน์หลังหนึ่งใน เมืองบีท ฮานูน ในฉนวนกาซ่า ขณะที่แม่บ้านกำลังปรุงอาหารเช้าให้ลูกๆของเธอ คนโต 6 ขวบ รองลงมา 4 และ 3 ขวบ คนสุดท้องมีอายุเพียง 15 เดือน ทั้งหมดถูกสังหารเสียชีวิตทันที และโลกก็ได้เห็นภาพอันน่าสลดใจนี้

    เบอร์สตันบรรยายต่อไปว่า “แต่อาชญากรรม..ที่จริงน่าจะเรียกว่า ความชั่วช้าสามานย์ ยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ภายใต้สถานการณ์เดิมๆ ข้ออ้างเดิมๆว่าทำไปเพื่อปกป้องข้อตกลงหยุดยิง”

    เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการต่างประเทศ ที่่ทั้งสหรัฐและอิสราเอล ต้องออกมาลอยหน้าลอยตาตำหนิฮามาส ว่าเป็นต้นตอของการสังหารหมู่ แล้วก็โกหกหน้าตาเฉยว่าฮามาสทำดินระเบิดที่เตรียมไว้ทำจรวดระเบิดเองจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย เอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหม ในฐานะเจ้าของแผนการสังหารโหดปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าครั้งนี้ กล่าวอย่างหน้าไม่อายว่า “เราเห็นว่าฮามาสควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหคุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด”

    ในช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ฮามาสได้สร้างจรวดชนิดทำมือขึ้นมา เรียกว่า ก๊อตซาม ร๊อคเก็ต มันเป็นจำเลย เพราะถูกกล่าวหาว่า มีการยิงจรวดก๊อตซามจากกาซ่าไปสู่อิสราเอล ทำให้ชาวอิสราเอล 17 คนเสียชีวิต ในรอบ 6 ปี ที่ผ่านมา สมมติว่าข้อมูลอิสราเอล เป็นความจริง ลองมาเปรียบเทียบความสูญเสียกันหน่อยว่า ขณะที่ชาวปาเลสไตน์เจ้าของแผ่นดินต้องสังเวยชีวิตแลกกับความป่าเถื่อนของอิสราเอล เพียงวันเดียว (27 ธันวาคม 2008) ถึง 300 กว่าคน บาดเจ็บสูญเสียอวัยวะอีกกว่า 1,400 คน (ขณะที่เขียนบทความอยู่นี้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 900 คน)

    แล้วถ้านับสองปีที่กาซ่าถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้ประชาชน พลเรือนชาวกาซ่า 1.5 ล้านคน ขาดแคลนปัจจัยจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีพ อิสราเอลใช้สื่อสหรัฐ ที่หนุนหลังสร้างภาพลวงตา โดยโยนความผิดให้ผู้ถูกกระทำ กล่าวตำหนิประชาชนชาวกาซ่า และอ้างเหตุผลที่โกหกพกลม ปั้นน้ำเป็นตัวผ่านสื่อโลกอย่างนาไม่อาย

    คำถามก็คือ..อิสราเอลชิ่งหนีความรับผิดชอบไปได้อย่างลอยนวล ด้วยวิธีโจมตีก่อนแบบหน้าด้านๆไร้ยางอายเช่นนี้ อิสราเอลอธิบายกับชาติตะวันตกอย่างไร ? อิสราเอลล๊อบบี้พวกชาติมหาอำนาจอย่างไร ? เรื่องนี้ ศาสตราจารย์จอร์น เมชเชอร์มายเยอร์ และสตีเฟน วอลท์ มีคำตอบ “อิสราเอลล๊อบบี้ โดยใช้เครื่องมือหลายชนิด การเงิน การเมือง และอิทธิพลด้านสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสื่อสหรัฐ ไม่เว้นแม้แต่สื่อยุโรป เนื้อหาสาระสำคัญ ที่อิสราเอลอัดฉีดความคิดมนุษย์ในโลกตะวันตกผ่านสื่อในมือ ได้แก่ 1. เพื่อสั่งสอนบทเรียนให้อยู่เงียบๆไม่ต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล 2. โค่นล้มระบอบก่อการร้ายและสถาปนาประชาธิปไตย 3. ฆ่าประชาชนจำนวนหนึ่งที่เพียงพอจะกดดันให้ระบอบเหล่านั้นสละอำนาจ 4. ข้อสุดท้าย อิสราเองมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะป้องกันตัวเอง


    เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่สหรัฐใช้อ้างในการเข้ารุกรานอิรัก นักการเมืองในโลกตะวันตกพร่ำพูดซ้ำๆซากว่าเป็นการกระทำที่ยุติธรรม ขณะที่สื่อตะวันตกพยายามสร้างภาพว่าอิสราเอลได้รับความทุกข์ยากจากการต่อต้านของปาเลสไตน์ ฝ่ายปาเลสไตน์ต่างหากที่ไม่เคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์ นั่นคือภาพที่สื่อตะวันตกปั่นให้ทั้งโลกคล้อยตาม

    ขณะที่กาซ่ากำลังหลั่งเลือดนองแผ่นดิน แต่จอร์จ ดับยา บุช ได้รับอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดในนามประชาชนชาวซาอุดิอารเบีย และคอนดิ คอนโดลิซ่า ไรท์ ได้รับรางวัลจากซาอุดิอารเบีย ประเทศสมาชิกอ่าวเปอร์เซีย และจอร์แดน ในการอำลาตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ด้วยเครื่องเพชรมูลค่าเกือบ 400,000 เหรียญสหรัฐ ในบทบาทของทั้งสองที่สนับสนุนอิสราเอลอย่างสุดตัวให้ “อิสราเอลมีสิทธิในการป้องกันตัวเอง” ซึ่งแปลได้ว่า อิสราเอลจงสังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์ในกาซ่าต่อไปจนกว่าฮามาสจะถูกกำจัดจนสิ้นซาก ..ระเบิดที่ทันสมัยที่สุด กับการทูตโง่ๆของนักการเมือง ไม่มีมีวันนำสันติภาพมาสู่โลก

    ทั้งผู้นำอาหรับและสหรัฐ รู้และเข้าใจถึงอำนาจและอิทธิพลของอิสราเอล และอำนาจจากมือที่มองไม่เห็นที่ล็อบบี้ให้ต่อต้านใครก็ตามที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอิสราเอล ..ผลก็คือ ฆาตกรอิสราเอลยังลอยนวลอยู่ต่อไป อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล โมเช่ ชาเล็ต สร้างภาพให้เห็นถึงการขยายตัวของลัทธินิยมทหารของอิสราเอล เมื่อกล่าวว่า “ผมได้เรียนรู้ว่า รัฐอิสราเอลไม่สามารถอยู่ได้ด้วยระบอบการปกครองแบบทั่วๆไป โดยปราศจากการเล่ท์กระเท่ การกลิ้งกลอก และลัทธิยมความเสี่ยง” (โมเช่ ชาเล็ต จากหนังสือ The Birth Of Israel ตีพิมพ์เมื่อ 1987 หน้า 51)

     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Alberto Cruz นักข่าวและคอลัมนิสต์สายการเมือง ชาวสเปนเชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและตะวันออกกลาง เขียนบทความแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา กรณีที่ผู้นำอาหรับแสดงปฏิกริยาเฉยเมยต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ในกาซ่า มีที่มาและเบื้อง หลังที่น่าสนใจ จึงแปลมาให้ผู้สนใจได้อ่าน

    _________________________________________________________________

    อาหรับสบายใจ-สังหารหมู่กาซ่า

    Alberto Cruz -: เขียน, Shaffi -: แปล

    (11 มกราคม 2009)

    ด้วยการสมรู้ร่วมคิด การรู้เห็นเป็นใจ และการรับรองของสหประชาชาติ สหภาพยุโรป และปฏิกริยาเฉยเมยของกลุ่มประเทศอาหรับ เท่ากับเป็นการเปิดทางให้อิสราเอลทำการสังหารเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธั์ชาวปาเลสไตน์อย่างสะดวกสบายไร้ขวากหนาม อิสราเอลนั้นที่จริงแล้วไม่เคยต้องการสันติภาพอย่างที่เที่ยวร้องแร่แห่กระเฌอแต่อย่างใด แต่อิสราเอลต้องการให้ปาเลสไตน์ยอมแพ้อย่างราบคาบต่างหาก มุมมองของอิสราเอลในกระบวนการสันติภาพที่แท้นั้นวางอยู่บนบัญชีหัวข้อเจรจาที่ประทับตราว่า “ไม่” คือ เจรจาอะไรก็เจรจาไปแต่อิสราเอลจะตอบว่าไม่ตลอดเวลา นั่นคิแความหมายของการเจรจาสันติภาพจากจุดยืนของอิสราเอลตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา บนโต๊ะเจรจา อิสราเอลจะตอบว่า “ไม่” ไม่พูดถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าดินแดนนี้ใครอยู่มาก่อน ใครเป็นเข้าของแผ่นดิน อิสราเอลจะบอกว่า “ไม่” เมื่อมีการมีพูดถึงสิทธิเหนือนครเยรูซาเล็ม, “ไม่” ไม่มีการถอยนิคมชาวยิวออกจากเขตแดนปาเลสไตน์ที่ขีดโดยสหประชาชาติเมื่อ ปี 1967 และเหนืออื่นใดที่อิสราเอลจะพหคำว่า “ไม่” มาด้ยทุกครั้งเมื่อนั่งโต๊ะเจรจา คือ ปาเลสไตน์ไม่มีวันจะมีสิทธิสภาพเหนือปาเลสไตน์ในฐานะรัฐที่มีเอกราช

    ด้วยการยื่นคำขาดปฏิเสธหัวข้อเจรจาด้วยวิสัยทัศน์ของคำว่าสันติภาพตามแบบอิสราเอล เช่นนี้ อิสราเอลจึงเตรียมการเดินหน้าที่จะพยายามทำให้วิถุชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวปาเลสไตน์เลวร้ายลง ด้วยการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเคลื่อนไหวต่อสู้ใดๆ โดยอิสราเอลจะถือว่าการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ ก็คือ การก่ออาชญากรรม และต้องกำจัดให้หมดไป อิสราเอลวางนโยบายปิดล้อมปาเลสไตน์ ทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำลายมหาวิทยาลัย ทำลายมัสญิด โรงพยาบาล รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม และเรือประมง การยึดครองกาซ่า ก็คือสิ่งที่พวกไซออนิสต์ แสดงออกถึงพฤติกรรมนาซีในศตวรรษที่ 21 การสังหารหมู่ที่กาซ่า พวกทหารอิสราเอลก็เหมือนกันพวกหน่วย SS ของนาซี สำหรับชาวปาเลสไตน์นั้นทางเลือกของพวกเขาที่ถูกอิสราเอลบีบให้เลือก มีอยู่สองทางที่ชัดเจนคือ ผละจากการสนับสนุนฮามาส หรือมิเช่นนั้นก็ต้องตาย ไม่ว่าชาวปาเลสไตน์เลือกจะอยู่ในฐานะของนักรบฮามาส หรือประชาชน พวกเขาก็ถูกปิดล้อม และถูดยึดครองอยู่ดี


    เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องนับรวมถึงพันธมิตรที่ดีที่สุดของอิสราเอลไว้ด้วย จะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่สหรัฐ และสหภาพยุโรป แต่ปฏิกริยาจากบรรดาระบอบปกครองในประเทศอาหรับ อย่างซาอุดิอารเบีย และอียิปต์ ทำให้เราได้ข้อมูลมากกว่านั้น ... ดังที่หนังสือพิมพ์รายวันอัล-กุดส์ อัล-อารอบีย์ รายงานในบทบรรณาธิการ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม 2008 ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาแทบไม่สนในเรื่องที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์เลย หนึ่งชั่วโมงหลังการโจมตีเริ่มขึ้น สื่อของซาอุดิอารเบียออกมากล่าวตำหนิฮามาส ว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้น ขณะที่สื่อของซาอุดิอารเบีย ตีพิมพ์ในลอนดอน หนังสือพิมพ์อัล-ชากุลเอาศอต ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ชิมมอน เปเรซ ประธานาธิบดีอิสราเอล เปเรซ กล่าวว่า อิสราเอลไม่ได้ตั้งใจจะโจมตีกาซ่า และอิสราเอลกำลังเตรียมการเพื่อ “เตรียมพร้อมสู่สันติภาพ” เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า การให้สัมภาษณ์ของผู้นำในรัฐบาลไซออนิสต์ เป็นเพียงกลอุบาย ที่เปิดทางให้แผนการโจมตีบรรลุเป้าหมายสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นักข่าวของหนังสือพิมพ์ภาษาฮิบรูในอิสราเอล ฮาอะเรตซ์ ในบทบรรณาธิการฉบับวันอาทิตย์ ที่ 28 ธันวาคม 2008

    หนังสือพิมพ์อิสราเอลรายงานว่า บรรดารัฐบาลประเทศอาหรับ “เปิดไฟเขียว” ให้อิสราเอลกำจัดผู้นำของฮามาส เหมือนตอนที่อิสราเอลปฏิบัติการโจมตีเลบานนอนในช่วงหน้าร้อนปี 2006 ปฏิกริยาของบรรดาผู้นำชาติอาหรับที่แสดงออกมาอย่างเย็นชา บรรดาผู้นำกลุ่มชิอะฮ์ฮิสบัลลอฮ์ ออกมากล่าวตำหนิผู้นำชาติอาหรับว่ารู้เห็นเป็นใจให้อิสราเอลโจมตีฮิสบัลลอฮ์

    ที่จริงแล้วปฏิกริยาของบรรดาชาติอาหรับที่เฉยเมยนั้น เพียงเพราะพวกเขาต้องการปกป้องตนเอง จนกระทั่ง อียิปต์ และซาอุดิอารเบียจัดการประชุมฉุกเฉินขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2008 ในเลบานอน เป็นการประชุมที่ไม่เกี่ยวข้อง กับสันติบาตอาหรับ คราวนั้นพวกผู้นำอาหรับเพียงแค่ซื้อเวลาให้อิสราเอล หรือไม่ก็ทำให้ฮามาสอ่อนแรงลงเท่านั้น พวกเขาจะพูดกันไปอย่างไร ก็ไม่มีผลกับรัฐบาสอิสราเอล การประชุมทำนองนี้ของพวกอาหรับจึงเป็นแค่พิธีกรรมในแสดงวาทกรรมที่ไ่ม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ


    อียิปต์นั้นไม่เคยลืมเลยว่าฮามาสปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอของอียิปต์ให้จัดการเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนรัฐบาลประธานาธิบดีอับบาส ของ PLO. ฮามาสถอนตัวออกจากการประชุม เนชั่นแนล ไดอะล๊อค ที่อียิปต์เป็นตัวตั้งตัวตีจัดขึ้นในไคโร จนกว่าอียิปต์จะเปิดด่านที่เมืองรอฟาห์ ความแค้นระหว่างอียิปต์ กับรัฐบาลฮามาส ทำให้อียิปต์มองว่าการโจมตีฮามาสของอิสราเอลครั้งนี้สมเหตุสมผล และสมควรแล้วที่ฮามาสต้องถูกจัดการ

    แต่ในบรรดาผู้นำอาหรับที่ต่ำช้าที่สุด น่าจะเป็นมะห์มูด อับบาส ผู้ที่วางตัวเป็นประธานองค์การบริหารตนเองปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian Authority แต่ขณะเดียวกันอับบาส ก็ออกมา กล่าวหาฮามาสให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวปาเลสไตน์ เหตุผลก็เพราะว่า “รัฐบาลฮามาสไม่ยอมแพ้ต่ออิสราเอล” ขณะที่อับบาสกลับทำตัวเป็นเด็กในโอวาทของอิสราเอล และสหรัฐ ที่ชี้นิ้วให้ทำตามที่อิสราเอลต้องการอย่างว่านอนสอนง่าย อับบาสฉวยโอกาสท่ามกลางกองเลือดพี่น้องร่วมชาติของเขาเองเพื่อช่วงชิงอำนาจของฮามาสเหนือฉนวนกาซ่า มาไว้กับตัวเอง อับบาสกล่าวว่า ถ้าฮามาสถูกกวาดล้างสิ้นซากไปเมื่อไหร่ เขาจะเปลี่ยนให้กาซ่ากลายเป็นเมืองตากอากาศของรัฐบาลของเขา อับบาสก็ไม่ต่างอะไรกับสมุนนาซีไซออนิสต์นั่นเอง

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ชุดเรื่องเล่าจากกาซ่า
    ตอน “ฉันจะเล่าให้ฟังว่าอารอฟา..ตายยังไง ”
    อีวา บาธเล็ต -: เขียน Shaffi -: แปล


    (4 มกราคม 2009)


    ชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นคนดีมีน้ำใจงดงาม กล้าหาญและเป็นคนสนุกสนาน. เขายังไม่สมควรจะตาย แต่.เขาถูกฆ่าตาย เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2009 ขณะที่กำลังทำหน้าที่ ลำเลียงศพของชายคนหนึ่งที่ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล ใส่รถพยาบาล เขาเป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำรถพยาบาลฉุกเฉิน อายุ 35 ปี ชื่อ อารอฟา ฮานี อับดุล ดายิม อาชีพจริงๆเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ อารอฟาและเพื่อนของเขาชื่ออะลา อุสมา ซะฮ์รอน อายุ 21 ปี ได้รับแจ้งทางวิทยุุสื่อสารจากเพื่อนอีก 2 คน คือ ซัรร์ อะบีด อัมมัด อายุ 19 ปี ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส กับเพื่อนของเขาได้แก่ อลี อายุ 19 ปี ซึ่งถูกฆ่าตายขณะที่กำลังวิ่งหนีกระสุนปืนใหญ่ที่ระดมยิงใส่พวกเขาจากรถถังอิสราเอล


    เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ....
    หลังแปดโมงครึ่งของวันอาทิตย์ ขณะนั้นซัรร์ กับอลี อยู่ที่ เบธ ลาฮิยาห์ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของฉนวนกาซ่า ตรงที่พวกเขาอยู่นั้นใกล้กับโรงเรียนอเมริกัน ที่เพิ่งโดนทิ้งระเบิดพังราบไปเมื่อวันก่อน ฆ่าชายคนที่มีหน้าที่เฝ้ายามให้โรงเรียนไป 1 คน โรงเรียนถูกกองเพลิงไหม้จนเกลี้ยง


    ลูกกระสุนปืนใหญ่รถถังอิสราเอลที่ตกใส่ ทำให้ขาข้างขวาของซัรร์ขาดทันที สะเก็ดระเบิดฝังกระจายบริเวณหลังและทั่วร่างกาย ซัร์ร์ อธิบายว่าเพื่อนของเขา..อลีถูกสังหารอย่างไร ซัรร์เล่าว่า “รถถังยิงปืนใหญ่เข้ามา ทุกคนหนีออกจากบ้าน ขณะที่กำลังข้ามถนน “ เขาหยุดเล่าและส่งเสียงร้องอีกครั้ง จากความเจ็บปวดบาดแผล


    เมื่อสองวันก่อนหน้านี้ อิสราเอลบุกข้ามเข้ามาในเชตฉนวนกาซ่า แล้วการโจมตีครั้งใหญ่ก็เริ่มต้นขึ้น ประชาชนทั่วทั้งกาซ่าพากันละทิ้งบ้านเรือนหนีเอาชีวิตรอด ผู้คนจำนวนมากที่หนีไม่ทัน ก็ต้องตกอยู่ในวงล้อมของดงระเบิดและห่ากระสุนปืนใหญ่รถถัง และถูกเศษซากอาคารพังลงมาทับฝังร่างพวกเขาทั้งเป็น


    แพทย์คนหนึ่งช่วยเล่าให้ฉันฟังเรื่องของซัรร์ ส่วนที่เหลือ เพราะความเจ็บปวดจากการเสียขาและแผลจากสะเก็ดระเบิดทำให้เขาไม่สามารถเล่าต่อไปได้ แพทย์คนนั้นส่วนที่ซัรร์ยังเล่าไม่จบว่า.. ”หลังจากที่พวกเขาถูกปืนใหญ่รถถังระดมยิงใส่ ซัรร์ขาขาดทันที ไม่อาจเดินหรือวิ่งหนีได้อีก เขาร้องเรียกอลีเพื่อนของเขาให้มาช่วยประคองเขาเดินต่อไป” อลีแบกซัรร์เพื่อนของเขาไปได้ไม่ไกลนัก อลีก็ถูกยิงจากกระสุนของทหารอิสราเอล ซึ่งหลบซ่อนอยู่ตรงไหนไม่มีใครเห็น กระสุนเจาะเข้าที่หัวของอลี อลีล้มลงสิ้นใจตรงนั้นทันที ท่ามกลางความสับสนอลม่านไม่มีใครช่วยใครได้ ซัรร์ขาขาดสะเก็ดระเบิดฝังทั่วตัว อลีถูกยิงที่หัวขาดใจตาย ใครบางคนพยายามโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน


    เมื่ออารอฟากับอะลา อาสาสมัครพยาบาลประจำรถฉุกเฉินไปถึง อารอฟาพยายามที่จะลำเลียงซัรร์ใส่รถพยาบาล ส่วนศพของอลีก็พยายามเอาไปใส่ไว้ตรงที่ว่างในรถพยาบาล ตอนนั้นเองลูกกระสุนปืนใหญ่ลูกหนึ่งก็แหวกอากาศตรงเข้ามาแล้วระเบิดอย่างรุนแรง ตรงที่อารอฟากับเพื่อนปฏิบัติงานอยู่ ศพของอลีถูกสะเก็ดระเบิดฉีกศรีษะของเขาขาดออกจากร่างทันที อารอฟาถูกสะเก็ดระเบิดหน้าอกและช่องท้องฉีกเปิดออกเป็นแผลใหญ่ พอมาถึงโรงพยาบาล แพทย์พยายามช่วยชีวิตอารอฟา แต่ขณะที่กำลังผ่าตัดหัวใจให้เขา อารอฟาเกิดอาการซ๊อค และเสียชีวิตในหนึ่งชั่วโมงต่อมา


    พิธีศพของอารอฟาถูกจัดขึ้นอย่างเร่งรีบฉุกละหุก ขณะที่กำลังทำพิธี กระสุนปืนใหญ่ก็ยิงมาใส่เต็นท์ที่มีคนที่มาร่วมพิธีศพอยู่ในนั้น เจ้าหน้าที่แพทย์อีกคนหนึ่งเล่าให้ฉันฟังว่า พี่ชายของอารอฟาโทรศัพท์ไปยังรายการข่าววิทยุ รายงานว่า “เรากำลังถูกยิง ใคร..ก็ได้มาช่วยเราหน่อย..”


    อารอฟา มีอาชีพเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เขามาทำหน้าที่พยาบาลอาสาสมัครประจำรถฉุกเฉินมานาน 8 ปีแล้ว เขาเป็นคนที่จิตใจดีงาม อบอุ่น ร้องเพลงเสียงดีมาก และเป็นคนที่ไม่อายใครเวลาที่เผลอทำอะไรๆโง่ๆออกมาให้คนอื่นเห็น ฉันยังจำท่าทางตลกๆของเขาได้ดี ตอนที่ทหารอิสราเอลบุกเข้ามายึดพื้นที่ อารอฟา..เต้นแร้งเต้นกา ไปรอบๆสำนักงานซีกวงเดือนแดงในเมืองญาบาลิยะฮ์ (องค์กรนี้ทำหน้าที่เดียวกับสำนักงานกาชาด แต่ในประเทศมุสลิมจะใช้สัญลักษณ์วงเดือนแดงแทนกากะบาด -: ผู้แปล) ปากก็ร้องว่าหิว..หิว..หิวมาก ปากก็กัดขนมปัง กับชีส ...


    ฉันมีโอกาสทำงานกับอารอฟาในคืนหนึ่ง มันทำให้ฉันได้เห็นความเป็นมืออาชีพของเขา และมนุษยธรรมที่เต็มเปี่ยมในหัวใจ ... อุสมา เจ้าหน้าที่พยาบาลคนหนึ่งอธิบายให้ฉันฟังว่า “เขา(อารอฟา) อยากตาย (ในหน้าที่) แบบนั้น ตายในการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติของเรา “ ไม่ต้องไปร่วมสงครามเพื่อพลีชีพ แต่เราสร้างมันขึ้นมาเองได้ ด้วยการอยู่กับความตาย การยึดครอง การโจมตีล้างผลาญ มนุษยธรรม และความอยุติธรรม อยู่กับมันให้นานที่สุดเท่าที่จะอยู่ได้ เพื่ออุทิศสิ่งที่เราทำเพื่อเพื่อนร่วมชาติของเรา...


    ความตายของอารอฟา.. ได้กลายเป็นแบบฉบับที่อย่างน้อย ก็มีเจ้าหน้าที่พยาบาลอาสาฉุกเฉินมากกว่า 3 คนที่สัญญาว่าจะยึดสิ่งที่ อารอฟา ทำไว้เป็นแบบอย่าง..


    อีวา บาธเล็ต
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รอมี อัลมิฆอรี นักเขียนอิสระ และนักจัดรายการข่าววิทยุ และอาจารย์สอนวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยกาซ่า เขาเคยเป็นผู้แปลให้กับ International Press Center of the Gaza-based Palestinian Information Service. (กระทรวงข่าวสาร) ในระหว่างการโจมตีอันทารุณต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่า รอมีเขียนเรื่องเล่าจากเหตุการณ์ จากปากคำ และสิ่งเขาพบเห็น ให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าความจริงที่ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็นนั้นเป็นอย่างไร ?

    _____________________________________________________________

    ชุดเรื่องเล่าจากกาซ่า

    ตอน “วันนี้...ไม่มีคุณหมอใจดีอีกแล้ว

    แปลโดย Shaffi

    ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2008 จะไม่มี นายแพทย์ เอฮาบ ญะชิร อัล-ชาอีย์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยแห่งยูเครน อีกแล้ว...

    วันนั้น..คุณหมอเอฮาบ รอญา-น้องชาย ญะซิร-ลุง และฮิซาม และทามิรฺ ญาติของคุณหมอ ทั้งหมดเดินทางไปที่ อาคารศาลากลางเมืองรอฟา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซ่า เมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่

    ญะซิร อัลชาอีย์ พ่อวัย 60 ปีของคุณหมอ เล่าว่า “ตอน 10 โมงเช้า ลูกชาย พี่ชาย และหลานๆ ไปที่ศาลากลาง เกือบๆ 11 โมงครึ่ง เราได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหวรอบๆตัวเราทั่วไปหมด” ขณะที่ผมนั่งอยู่บนโซฟาที่คลีนิค “เพื่อนบ้าบอกเราว่า ศาลากลางโดนระเบิดอิสราเอล หัวใจผมเต้นแรง ผมออกจากบ้านและรีบไปที่นั่นทันที ผมฝ่าเข้าไปท่ามกลางร่างไร้วิญญาณที่นอนเกลื่อนกลาด แล้วผมก็ได้พบร่างของลูกชาย น้องชาย และหลาน พวกเขาสิ้นลมหายใจแล้ว”

    แนนซี่ โจดา ภรรยาวัย 28 ปี แม่หม้ายลูก 3 ของคุณหมอเอฮาบ เล่าให้ฟังน้ำตานองหน้า ว่า “ไม่มีเวลาไหนเลยที่เราจะไม่เห็นรอยยิ้มของคุณหมอ เพราะเขาเป็นคนที่ร่าเริง เป็นสามีที่ใจดี และห่วงใยเอาใจใส่ครอบครัว นั่นคือทั้งหมดที่ฉันได้รู้จักสามีที่ฉันแต่งงานด้วยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว” เธอกำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่ 3 “มันช่างน่าเศร้าใจนัก ที่ลูกคนเล็กจะเกิดมาโดยไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าพ่อของเขา” แม่หม้ายลูกสามของลูกชายและลูกสาวตัวเล็กๆ กับอีกหนึ่งในท้อง คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร

    แม่ของคุณหมอก็โศกเศร้างไม่แพ้กัน ตั้งแต่ทราบว่าคุณหมอจากไปอย่างไม่มีวันกลับ น้ำตาเธอยังไหลไม่หยุด “ขอพระเจ้าทรงให้ความอดทนกับฉันด้วย” อุมมฺเอฮาบ คร่ำครวญวิงวอนของแด่พระเจ้าผู้ทรงไม่ทำให้เราสิ้นหวัง “ขอพระองค์ทรงตอบแทนบ่าวของพระองค์ผู้ต้องสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นี้ด้วยเถิด..”

    ครอบครัวของคุณหมอ เป็นผู้ลี้ภัยสงครามตั้งแต่ ปี 1948 ครอบครัวคุณหมอถูกทหารอิสราเอลยึดบ้านและที่ดินในเมืองคารอติยา หนึ่งในบรรดา 450 เมืองของชาวอาหรับปาเลสไตน์ ที่ถูกอิสราเอลยึดของพวกเขาไป และผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งในดินแดนของอิสราเอลตลอดกาล ครอบครัวญะซิรฺ อัล-ชาอีย์ ของคุณหมอใจดีผู้นี้ ต้องสูญเสียลูกชายไปสองคนเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2004 เมื่อกองทัพอิสราเอลบุกเข้าโจมตีย่านที่พวกเขาอาศัยอยู่ใน ทาลัลซุลฏอน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองรอฟา

    ผู้ป่วยของคุณหมอเอฮายต่างพอกันช๊อค ทันทีที่ได้ทราบว่าคุณหมอเอฮาบเสียชีวิตแล้ว คนไข้ของคุณหมอคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า “ฉันโทรหาคุณหมอเพื่อจะนัดหมอ แต่เสียงที่ปลายสายกลับไม่ใช่เสียงคุณหมอเหมือนอย่างเคย แต่เป็นเสียงน้องชายคุณหมอ พอได้ยินว่าคุณหมอตายแล้ว ฉันเกือบจะเป็นลม พอตั้งตัวได้น้ำ้ตามันก็ไหลพรากๆออกมาไม่หยุด..”

    คุณหมอเอฮาบเปิดคลีนิกรักษาผู้ป่วยในเมืองรอฟาเมื่อปี 2006 และก่อตั้งศูนย์โรคผิวหนังที่ได้รับความเชื่อถือ แค่ปีเดียวชื่อเสียงและคำร่ำลือในผลงานก็แพร่สะพัดไปทั่วอย่างรวดเร็ว จนต้องเปิดสาขาเพิ่มในค่ายผู้ลี้ภัยนูซิรอต ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของฉนวนกาซ่า

    เคาลา เอลีย ผู้จัดการคลีนิคของคุณหมอเอฮาบ เล่าว่า “ในช่วงกลางวัน เราต้องรับคนไข้จำนวนมาก” คนไข้ของคุณหมอส่วนมากเป็นคนยากไร้ คุณหมอเปิดรับทำศัลยกรรมตกแต่งเล็กๆน้อย เพื่อเอารายได้มาชดเชยเป็นค่ายาให้ผู้ป่วยที่ไม่มีเงินที่มีจำนวนมาก เอลีย เล่าต่อว่า “คุณหมอเอฮาบ เป็นคนรักสงบชอบอยู่อย่างสันติ ทำหน้าที่เป็นหมออย่างที่เรียกว่าหมอมืออาชีพจริงๆ ฉันแปลกใจว่าทำไมทุกคน จากทุกหนทุกแห่งในกาซ่า จึงต้องมาที่คลีนิกของคุณหมอ” “เราสูญเสีย.. “ เธอกล่าว ตอนนี้ มีแต่ความเงียบงันเข้าปกคลุม คลีนิกทีี่ครั้งหนึ่งเคยคราคร่ำไปด้วยผู้ป่วยผู้ยากไร้ มารอคอยคุณหมอผู้เมตตา แต่ตอนนี้ .. ไม่มีผู้ป่วย ..ไม่มีหมอ ..ไม่มียา และไม่มีครอบยิ้มของคุณ หมอเอฮาบให้เราเห็นอีกต่อไป

    จะต้องมีความสูญเสียอีกมากมายแค่ไหน ที่ยิ่งใหญ่อย่างที่ต้องสูญเสียคุณหมอผู้เมตตาอย่างหมอเฮฮาบไป ?​ขณะที่ผมกำลังเขียนเรื่องนี้อยู่ เครื่องบินอิสราเอล F16 ของอิสราเอลยังคงโจมตีทิ้งระเบิดใส่เมืองใส่บ้านของพวกเรา รอบๆบ้านที่ผมนั่งเขียนต้นฉบับนี้อยู่ อย่างไม่หยุดหย่อน ต่อเนื่องมาสองสามชั่วโมงแล้ว คนเจ็บ คนป่วย อาจเป็นเพื่อนบ้านของผม ผมไม่รู้เลย..ผมสงสัยว่านี่มันสงครามโจมตีฮามาส หรือมันเป็นสงครามเข่นฆ่าประชาชนกันแน่ ?

    รอมีย์ อัล-มีฆอรี

     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทสนทนาผู้นำยิว ที่ปล้นประเทศปาเลสไตน์เปลี่ยนเป็นรัฐยิว
    “ผมไม่เข้าใจการมองโลกในแง่ดีของคุณ ทำไมอาหรับจะยอมอยู่อย่างสันติ ? ถ้าผมเป็นผู้นำอาหรับ ผมจะไม่คุยกับอิสราเอล นี่มันเรื่องตื้นๆเลย อยู่ๆเราก็ไปฉกฉวยเอาประเทศของพวกเขามาเป็นของเรา เราอ้างว่าพระเจ้ามอบให้พวกเรา แต่ทำไมพวกเขาต้องสนใจ พระเจ้าของเราไม่ได้อยู่กับเราตรงนั้นด้วยนี่นา เรามาจากเผ่าพันธุ์อิสราเอล..แล้วไง..นั่นมันตั้งสองพันกว่าปีมาแล้ว ยิวเคยถูก ต่อต้านมาแล้ว จากนาซี ฮิตเลอร์ ไปลงเอยที่..ค่ายกักกันที่เอ๊าววิช .แล้วพวกเขา(พวกผู้นำไซออนิสต์หัวแข็งบางคน) พลาดตรงไหน..? พวกเขาพลาดเพราะคิดเอาง่ายๆว่า เราไปที่นั่นแล้วขโมยประเทศมาเป็นของเรา คิดหรือว่าพวกอาหรับจะยอม ? “
    นาฮุม โกลด์แมน เขียนบันทึกตอนหนึ่ง ที่ต่อมาไปปรากฎอยู่ในหนังสือ ชื่อ The Jewish Paradox : A Country Why Should They accept that หน้าที่ 99 แปลจากภาษาฮิบรู โดย สตีฟ ค๊อก ข้อความในบันทึกนั้นเป็นการถกเถียงกันระหว่างผู้นำสมาคมยิวไซออนิสต์ ที่กำลังเตรียมแผนการก่อตั้งรัฐยิว เดวิด เบนกูเรียน เสนอว่าให้ขโมยดินแดนปาเลสไตน์มาตั้งรัฐยิวเอาดื้อๆ โดยอ้างว่าพระเจ้าของพวกยิวมอบดินแดนแห่งนี้ให้แก่ลูกหลานอิสราเอล แต่นาฮุม โกลแมน ซึ่งเป็นผู้นำอีกคนหนึ่งคัดค้าน และเห็นว่าการกระทำเช่นนี้จะถูกต่อต้านจากเจ้าของดินแดน คำทักท้วงของนาฮุม โกลแมน ยังคงเป็นความจริงที่ดำรงอยู่จนวันนี้ ...
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เรื่องเล่าจากปาเลสไตน์ : ฮัสซัน อลีฟ อัล-ฮัสซัน

    ดร.ฮัสซัน อลีฟ อัล-ฮัสซัน เกิดในเมืองนาบรัส ปาเลสไตน์ สำเร็จปริญญาเอกสาขาการเมือง คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ Palestine Chronicle

    (แปลโดย Shaffi)

    ____________________________________________________________

    เรื่องเล่าจากกาซ่า : ดร.ฮัสซัน อลีฟ อัล-ฮัสซัน

    เหตุการณ์ที่นำความเศร้าความอาดูรอย่างหาที่สุดมิได้ เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ในปี 1948 เรียกว่า “วันแห่งความมหาพินาศ” ภาษาอาหรับเรียกวันนี้ว่า “นักบา”(วันที่ชาวยิวประกาศตั้งรัฐอิสราเอลบนแผ่นดินที่ปล้นมาจากชาวปาเลสไตน์ได้สำเร็จ -: ผู้แปล) แต่สำหรับชาวกาซ่า(เรียก “ก๊อตซา” ในภาษาอาหรับ -:ผู้แปล) เหตุการณ์มหาพิินาศครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งเดียวและครั้งสุดท้าย ของการถูกยึดครอง กาซ่าเคยถูกใช้เป็นสนามรบมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาก็ถูกยึดครองอีกโดยอิสราเอล กาซ่าเคยเป็นที่ซึ่งเริ่มเกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล โดยประชาชนลุกขึ้นต่อต้านพร้อมกัน ครั้งแรกหลังการยึดครองของอิสราเอลตั้งแต่หลังสงคราม 6 วัน ในปี 1967 ชาวอาหรับเรียกการลุกฮือขึ้นพร้อมกันนี้ว่า “อินฏิฟาเฎาะฮ์” แปลว่า “ดิ้นให้หลุดจากพันธนาการ” ซึ่งหมายถึงการลุกขึ้นมาต่อต้านนั่นเอง ในกาซ่าเป็นที่ซึ่งมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อการต่อต้านอิสราเอล มีกองกำลังขึ้นต่อสู้กับอิสราเอลผู้ยึดครองหลายกลุ่ม และเป็นองค์กรที่แข็งขัน เด็ดเดี่ยว และประกาศตัวยืดหยัดต่อสู้กับอิสราเอลจนกว่าจะได้แผ่นดินคืนมา และประกาศตัวเป็นศัตรกับสหรัฐที่มีนโยบายหนุนหลังอิสราเอลมาโดยตลอด องค์กรและกลุ่มต่อต้านอิสราเอลในกาซ่า มีจุดยืนมั่นคงเด็ดเดี่ยว และไม่อ่อนข้อในการเจรจาให้กับฝ่ายอิสราเอล ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ชาติอาหรับแสดงความเฉยเมยและไม่แยแสแม้ว่าอิสราเอลจะยังคงกระทำการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ต่อหน้าต่อตาชาวโลกติดต่อกันมาหลายวันแล้วก็ตาม

    ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 กาซ่าเป็นชุมชนเมืองที่เจริญ เต็มไปด้วยความสงบร่มเย็นสันติสุข และมั่งคั่ง แต่เมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น กาซ่าได้กลายเป็นพื้นที่แนวหน้าเพื่อป้องกันภูมิภาคตะวันออกกลาง กาซ่ากลายเป็นสมรภูมิรบละเลงเลือดของทั้งฝ่ายอังกฤษและเติร์ก และในที่สุดอังกฤษก็เข้าครอบครองกาซ่าและอาณาบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของชาวเติร์ก เจ้าของอาณาจักรอุษมาณีย์ อาณาจักรสุดท้ายของโลกมุสลิม (ตะวันตกเรียก อุษมาณีย์ว่า ออตโตมาน -:ผู้แปล) ในระหว่างสงครามช่วงชิงอาณาบริเวณยุทธศาสตร์แห่งนี้ กาซ่าซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งชุมชนที่ใหญ่ที่สุดถูกทำลายอย่างย่อยยับ พลเรือนชาวกาซ่าตกเป็นเหยื่อสังเวยสงครามเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก อีกหลายพันคนถูกบังคับให้อพบพออกจากบ้านของตัวเอง คุณปู่ของผม (ฮัสซัน อลีฟ อัล-ฮัสซัน - ผู้เขียนบทความนี้ -:ผู้แปล ) ชื่อฮัสซัน เคยเป็นทหารม้าในกองทัพเติร์ก ที่ได้เข้าร่วมรบในสมรภูมิกาซ่า และตายในสนามรบ เฮอร์เบิร์ต ซามูเอล ผู้บัญชาการทหารศุงสุดของอังกฤษ บันทึกว่า ก่อนสงคราม กาซ่า เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามในปาเลสไตน์ และมีประชากร 40,000 คน แต่พอหลังสงคราม มีประชากรเหลืออยู่เพียงหนึ่งในสาม ชาวปาเลสไตน์เริ่มกลับมาอยู่รวมกันอีกครั้งหนึ่งอย่างเป็นทางการในปี 1919 อยู่ทางตอนใต้ของซีเรีย และสันนิบาติชาติ มีมติประกาศให้ดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมดเป็นอินแดนในอาณัติของรัฐบาลอังกฤษ

    เมื่ออินแดนปาเลสไตน์สิ้นสุดสภาพดินแดนใต้อาณัติของอังกฤษในปี 1948 สงครามก็ระเบิดขึ้นทันที กองทัพพันธมิตรฝ่ายอาหรับยาตราทัพเข้าสู่ปาเลสไตน์เพื่อปกป้องแผ่นดิน และชาวมุสลิมปาเลสไตน์ ที่กำลังถูกอิสราเอลแย่งชิงแผ่นดินและนำไปสู่การตั้งรัฐอิสราเอลโดยนานาชาติลงมติเป็นประเทศถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการโหวตในองค์การสหประชาชาติ และการรับรองโดยชาติมหาอำนาจ ในสงคราม ปี 1948 อิสราเอลยึดครองดินแดน 2,000 ตารางไมล์ และข้ามเข้าไปในดินแดนอียิปต์ที่อิสราเอลยึดไว้ได้อีก 8,300 ตารางไมล์ อียิปต์สามารถรักษาพื้นที่เล็กๆ แคบๆขนานกับแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่เรียกว่าฉนวนกาซ่า ซึ่งมีพื้นที่ 140 ตารางไมล์เอาไว้ได้ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เพียง หนึ่งเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับขนาดของเมืองในแหลมไซนายที่เคยมีชาวปาเลสไตน์ตั้งรกรากอยู่มาก่อนในประวัติศาสตร์ เมืองหรือชุมชนหลักๆในพื้นที่ที่เรียกว่าฉนวนกาซ่า ได้แก่ กาซ่า หรือ กาซ่าซิตี้, คาน-ยูนีส, และรอฟาฮ์ เหตุการณ์ในปี 1948 นี้กลายเป็นเหตุการณ์ที่ดับความใฝ่ฝันของชาวปาเลสไตน์ที่จะมีประเทศเป็นของตัวเองลงอย่างสิ้นเชิง กาซ่ายังคงเป็นดินแดนที่ถูกทำลายต่อมาอีกยาวนานภายใต้ยุคที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ก่อนที่สงครามระหว่างพันธมิตรอาหรับกับอิสราเอล ในปี 1948 จะเริ่มต้นขึ้น ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าเดิมมี 80,000 คน หลังสงครามมีผู้ลี้ภัยอพยพเข้าสู่กาซ่าอีกกว่า 170,000 คน และอียิปต์เข้ามาควบคุมฉนวนกาซ่า หลังสงครามหนึ่งปี ผู้อพยพจำนวนมากเสี่ยงที่จะเดินเท้าฝ่าแนวรบ กลับบ้านตัวเองในเขตที่อิสราเอลยึดครอง ผู้อพยพพยายามเรียกร้องสิทธิ์ในบ้านและที่ดินของพวกเขากลับคืนมา แต่ผูอพยพเหล่านั้นหลายร้อยคนไม่ได้กลับมาอีกเลยเนื่องจากถูกทหารอิสราเอลสังหาร ประชากรในกาซ่าวันนี้มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน ในจำนวนนี้มีหนึ่งล้านคนที่ขึ้นทะเบียนด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย

    ผู้ลี้ภัยที่น่าสงสารเหล่านี้ มาโดยไม่มีอะไรติดตัวมาเลยนอกจากเสื้อผ้า ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ใดๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากที่ใด ชาวกาซ่าไม่อาจให้ความช่วยเหลือคลื่นมนุษย์ผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างเพียงพอ ชาวอียิปต์ ได้ทำสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าขบวนรถไฟสายแห่งความเมตตา ในภาษาอาหรับเรียกว่า คิตะรอตุล-เราะฮ์มะฮ์ ซึ่งเป็นรถไฟสายที่วิ่งระหว่างไคโร-กาซ่า ขนส่งอาหารและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมายังกาซ่า แต่อย่างไรความช่วยเหลือนี้ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะรัฐบาลอียิปต์ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ นั่นเป็นผลให้ผู้ลี้ภัยต้องอยู่ในสภาพที่อดอยากขาดแคลนเป็นเวลานานกว่า 5 เดือน เป็น 5 เดือนที่ไม่มีอาหาร ไม่มีที่พัก ขาดแคลนยารักษาโรค จนกระทั่งองค์กรศาสนาชาวคริสต์ ต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ และองค์กรบรรเทาทุกข์ ของสหประชาชาต ิก็เข้ามารับหน้าที่ในที่สุด UNRWA หรือ UN Relief and Work Organization ก็เริ่มเข้ามาจัดตั้งศูนย์บริการทำหน้าที่ปันส่วนแป้ง,นม,ถั่ว,น้ำมันพืช,อินทผาลัมแห้ง,เต็นท์ผ้าใบและผ้าห่ม การสูญสิ้นชาติในปี 1948 ของชาวปาเลสไตน์ นับเป็นโศกนาฏกรรมและความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง มันทำให้คนที่เคยเปี่ยมล้นและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และเคยดูแลตัวเองและครอบครัวให้มีความสุขได้ ต้องพลิกชะตากรรมกลายมาเป็นคนที่ไม่อาจดูแลตัวเองได้ และต้องคอยรับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพียงเพื่อจะอยู่รอดไปเพียงวันๆเท่านั้น

    ในปี 1956 นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เดวิด เบนกูเรียน นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส กี โมลเล่ และรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เซลวิน ลอยด์ ร่วมกันวางแผนโจมตีอียิปต์ อียิปต์นั้นในทัศนะของอิสราเอล อียิปต์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอิสราเอล เบนกูเรียนต้องการกำจัดกองกำลังที่ข้ามมาจากกาซ่า ที่ข้ามมาปฏิบัติการทางการทหารในเขตยึดครองของอิสราเอล ดังนั้นตามแผนการโจมตีอียิปต์ของสามพันธมิตร ตกลงให้อิสราเองรับผิดชอบในการจู่โจมกาซ่า ซึ่งทำให้อียิปต์สูญเสียทหารจำนวนมาก ชาวปาเลสไตน์ถูกยึดที่อยู่อาศัย แต่แล้วสงครามต่ออียิปต์ที่เปิดฉากโดยอิสราเอลก็ต้องยุติลงภายในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อประธานาธิบดีไอเซนฮาว ส่งจดหมายถึงเบนกูเรียน ของให้อิสราเอลถอนออกจากการยึดครองกาซ่าและแหลมไซนาย อิสราเอลจำต้องถอนทหารออกตามร้องขอของสหรัฐ และกลับสู่ข้อตกลงสันติภาพ โดยแลกกับผลประโยชน์ที่อิสราเอลจะได้รับคือความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งได้รับเสรีภาพในการเดินเรือในอ่าวอะกอบา และคลองสุเอช

    อิปต์จำกัดบทบาทตัวเองต่อฉนวนกาซ่า เพื่อเตรียมการส่งมอบให้ฉนวนกาซ่าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต ปี 1960 ผู้ตรวจการทั่วไปอียิปต์ประจำกาซ่าทำบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรงกลาโหม ใจความว่า “สำนักงานบริหารกิจการกาซ่าจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างสังคมให้เป็นประชาธิปไตย และสนับสนุนให้มีความร่วมกันระหว่างปาเลสไตน์ส่วนอื่นๆเพื่อเตรียมสู่ความเป็นเอกราช” รัฐบาลอียิปต์ปฏิบัติต่อกาซ่าค่อนข้างผ่อนคลาย เว้นแต่เรื่องกิจกรรมทางการเมืองที่ยังควบคุมเข้มงวดเหมือนส่วนอื่นๆในอียิปต์ พรรคและกลุ่มการเมืองนกกฎหมายมีอยู่ทั่วไปทั้งในอียิปต์และกาซ่า รัฐบาลอียิปตืภายใต้อำนาจของกามาล อับดุล นัสเซอร์ สร้างโครงการเพื่อรองรับการมีงานทำ ด้วยโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนานใหญ่ในอียิปต์ แต่กลับไม่ทำอะไรเลยในกาซ่า การจัดการให้ชาวกาซ่ามีงานทำอยู่ในความรับผิดชอบของ UNRWA ของสหประชาชาติ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในกาซ่าเป็นผู้ลี้ภัย UNRWA จึงมีภาระในการจัดหาอาหาร จัดการด้านสาธารณสุข จัดการการศึกษา และทำให้เกิดการจ้างงาน

    ในวันที่ 18 พฤษภาคม ปี 1967 นัสเซอร์สั่งให้ผู้สังเกตุการณ์ของสหประชาชาติถอนออกจากแนวกันชน ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 1957 และเคลื่อนทัพอียิปต์เข้ามาใกล้พรมแดนอิสราเอล นัสเซอร์ตัดสินใจที่จะกดดันอิสราเอล นัสเซอร์ตัดสินใจประกาศสงคราม ผลจากการตัดสินใจนั้นก็คือผลของวันนี้ คือ กองทัพอียิปต์ถูกอิสราเอลทำลายย่อยยับใน 5 มิถุนายน อียิปต์เสียกาซ่า และแหลมไซนาย ซีเรียเสียที่ราบสูงโกลัน จอร์แดน เสียเวสต์แบ๊งค์

    หลังสงครามหกวันในปี 1967 และก่อนจะถึงข้อตกลงสันติภาพออสโลว์ และการจัดตั้งองค์การบริหารและปกครองตนเองปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian Authority (PA.) ในกาซ่า เขตยึดครองของอิสราเอล ถูกต่อต้านอย่างหนักหน่วงและต่เนื่องจากชาวปาเลสไตน์ ประชาชนดื้อดึงไม่เชื่อฟังคำสั่งอิสราเอล คว่ำบาตรสินค้าอิสราเอล มีการเดิยขบวนในโรงเรียนและถนน ทนายความปฏิเสธที่จะนำคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาลทหารที่อิสราเอลตั้งขึ้น มีกลุ่มติดอาวุธโจมตีกองกำลังผู้ยึดครอง โจมตีนิคมชาวยิวที่มาตั้งถิ่นฐานในกาซ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่าง ปี 1969 และ 1971 อิสราเอลนำมาตรการควบคุมเข้มข้นมาใช้กับค่ายผู้ลี้ภัย โดยการรื้อถอนทำลายที่พักอาศัยผู้ลี้ภัยเพื่อเปิดเป็นถนนเพื่อใช้สำหรับลาดตระเวณ อิสราเอลย้ายผู้ลี้ภัยออกจากกาซ่าไปอยู่ที่ใหม่ ใกล้กับเมืองอัล-อะรีส ซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนอียิปต์ ยิ่งชาวปาเลสไตน์ต่อต้านอิสราเอลมากเท่าไหร่ การปราบปรามอย่างทารุณโหดร้ายของอิสราเอลก๊ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

    แล้วเหตุการณ์การลุกฮือของประชาชนครั้งใหญ่ก็อุบัติขึ้นในปี 1987 เรียกว่าอินฏิฟาเฎาะฮ์ ครั้งที่ 1 เหตุการณ์นี้มีชนวนมาจากอุบัติเหตุทางถนนเมื่อรถบรรทุกของอิสราเอล ชนกับรถบรรทุกคนงานมาจากฉนวนกาซ่า ใกล้กับค่ายผู้ลี้ภัยญาบาลิยาฮ์ เป็นเหตุให้คนงานปาเสลไตน์ที่โดยสารมากับรถเสียชีวิต 4 คน ในงานศพของผู้ตาย ความเศร้าและความโกรธแค้นที่สะสมมานาน กลายเป็นความอลม่าน เมื่อก้อนอิฐก้อนหินกลายเป็นอาวุธที่ชาวปาเลสไตน์ระดมขว้างปาใส่กองทัพอิสราเอลที่รักษาการณ์อยู่ รวมทั้งที่จุดรักษาความปลอดภัยของตกรวจอิสราเอลในค่ายผู้ลี้ภัย ความวุ่นวายลุกลามไปอย่างรวดเร็วในค่ายผู้ลี้ภัยทุกแห่ง และในกาซ่าซิตี้ และไปถึงตอนใต้และทั่วไปในฉนวนกาซ่า เวสต์แบงค์ เยรูซาเล็มตะวันออก ฮามาส แปรรูปจากองค์กรเพื่อบริการสังคมไปเป็นองค์กรนำในการต่อสู้ทางการเมืองและมีอิทธิพลในฉนวนกาซ่า มีบทบาทสำคัญในการเป็นองค์กรนำเพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล ในที่สุดฮามาสเข้าร่วมการเลือกตั้งในปี 2006 และชนะการเลือกตั้ง ฮามาสเข้าควบคุมฉนวนกาซ่าอย่างเบ็ดเสร็จ

    การจัดตั้งองค์การบริหารตนเองปาเลสไตน์ หรือ PA. เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของอิสราเอล ที่จะแยกคนออกจากดินแดน PA. ซึ่งถูกอ้างว่ามีอธิปไตยเหนือปาเลสไตน์ ทั้งหมด ทั้งๆที่ปราศจากอำนาจการบริหารที่แท้จริง PA. ทำให้ชาวปาเลสไตน์มีความรู้สึกว่า รัฐบาลปาเลสไตน์ล้มเหลว ทั้งที่เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถบริหารจัดการอาณาบริเวณเล็กอย่างฉนวนกาซ่าให้อยู่ในการควบคุมได้ ชาวปาเลสไตน์ได้ตระหนักในความจริงที่ว่า เจ้าหน้าที่ราชการของ PA. ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจอะไรอย่างจริงจัง วิถีชีวิตในแต่ละวันของชาวปาเลสไตน์ ยังต้องฟังและทำตามที่อิสราเอลกำหนดให้ทำหรือไม่ทำ ตั้งแต่การที่อิสราเอลตรวจสอบเอสารราชการของ PA. ทั้งหมดว่าเรื่องต่างๆจะได้รับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติ การตัดถนน การเดินทางข้ามเขตแดน การจัดหาและการให้บริการน้ำประปา ควบคุมการส่งออกและนำเข้า ตรวจตราอนุมัติและไม่อนุมัติการเดินระหว่างฉนวนกาซ่ากับเวสต์แบ็งค์ เมื่อฮามาสชนะการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อิสราเอลปฏิเสธที่จะยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยวิถึประชาธิปไตย อิสราเอลจับกุมตัวสมาชิกรัฐสภาและกุมขังในเรือนจำ แม้อิสราเอลจะถอนทหารและนิคมชาวยิวออกจากฉนวนกาซ่า แต่กองกำลังอิสราเอลยังคงเฝ้าอยู่ตามแนวชายแดน และเริ่มต้นดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมฉนวนกาซ่าอีกครั้งหนึ่งนับแต่ฮามาสควบคุมอำนาจทางการเมืองในฉนวนกาซ่า การปิดล้อมของอิสราเอลทำให้ประชาชน 1.5 ล้านคน ต้องประสบความขาดแคลนอาหาร ไฟฟ้าเพื่อใช้บำบัดน้ำเสีย ทำให้สุขอนามัยเลวร้ายลง และตอนนี้กาซ่ากำลังถูกสังหารหมู่จากเครื่องจักรสังหารที่ชื่ออิสราเอล

    ผมไม่มีอะไรจะขอจากอาหรับ ซึ่งรู้ดีอยู่แก่ใจถึงความยากลำบากของชาวปาเลสไตน์ ในวันนี้ แต่ผมอยากถามชาวอิสราเอล ว่าคุณรู้สึกของความยุติธรรม กับสิ่งเลวร้ายที่รัฐบาลอิสราเอลของคุณมอบแก่ชาวปาเลสไตน์ ในกาซ่า และเวสต์แบ็งค์บ้างไหม มันเป็นรัฐบาลที่มาจากมือของพวกคุณไม่ใช่หรือ ผมถามชาวอิสราเอล ถ้าอิสราเอลมีนโยบายที่จะปิดล้อมและทำให้คน 1.5 ล้านคนต้องอดตาย พวกคุณยอมรับการปิดล้อมกาซ่า และปล่อนให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้อย่างนั้นหรือ พวกคุณยอมรับรัฐบาลของคุณที่ปิดล้อมจนทำให้คนเป็นล้านต้องอดตาย และสิ้นสูญความช่วยเหลือเยียวยาด้านมนุษยธรรม พวกคุณยอมรับได้อย่างนั้นหรือ พวกคุณอยากใครตราหน้า และจดจำพวกคุณในฐานะที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลไร้มนุษยธรรมอย่างนั้นหรือ ?

     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผมพบบทความชิ้นหนึ่ง จากสำนักข่าว Palestine Chronicle ชื่อของผู้เขียน ทำให้ผมสนใจก่อนที่จะอ่านเนื้อหาเสียอีก ไม่รู้ว่าคนที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารด้วยตัวจริง จะสนใจอ่านเหมือนผมหรือเปล่า เขาคือราฟ เนเดอร์ ผู้ที่เคยท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในฐานะผู้สมัครอิสระลงแข่งขันถึง 3 สมัย ท้าชนกับคลินตัน และจอร์จ ดับยาบุช มาแล้ว เนเดอร์ไม่ได้ลงสมัครเพราะอยากดัง หรืออยากเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ แต่เนเดอร์ต้องการขุดคุ้ย และเปิดโปงระบบผลประโยชน์ในวงการเมืองอเมริกัน ที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ และนักการเงินยิวที่มีอิทธิพลใน 5th Avenue โยงไปถึง Tel Aviv การลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทำให้โลกฟังเสียงเขามากขึ้น สำนวนจริงๆของบทความที่เนเดอร์เขียน เต็มไปด้วยถ้อยคำเสียดสีประชดประชันนายจอร์จ ดับยา บุช ผมพยายามเลือกใช้ถ้อยคำให้มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งอาจไม่ได้รสชาติเท่ากับต้นฉบับ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
    ________________________________________________________________________


    จดหมายถึงบุชกรณีวิกฤติกาซ่า
    โดย ราฟ เนเดอร์


    จากสำนักข่าว Palestine Chronicle แปลโดย Shaffi




    จอร์จ ดับยา บุช ที่เคารพ,


    สมาชิกสภาคองเกรส บาร์นีย์ แฟรงค์ ได้อ้างถึงคำพูดของ บารัก โอบาม่า ที่กล่าวไว้เมื่อเร็วๆนี้ว่า “ในชั่วเวลาหนึ่งจะมีประธานาธิบดีได้เพียงคนเดียวเท่านั้น” ซึ่งโอบามาหมายถึงในยามที่ต้องตัดสินใจเรื่องปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น (ในช่วงที่โอบามายังไม่ได้สาบานตัว การตัดสินใจยังคงเป็นของบุช-ผู้แปล) แต่ผมอยากรู้หน่อยคุณไปอยู่ซะที่ไหนตอนที่เกิดเรื่องโจมตีกาซ่า ชีวิตพลเรือน เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ ที่ทำการราชการ อาคารสาธารณะ ถูกเข่นฆ่าและทำลายด้วยเครื่องบิน F16 และเฮลิคอปเตอร์กันชิพที่ผลิตในสหรัฐ


    อำนาจการตัดสินใจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียวของคุณเท่านั้นที่จะหยุดการกระทำอันเลวร้ายต่อประชาชน 1.5 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ลี้ภัย ที่ถูกอิสราเอลปิดล้อมมานานหลายเดือนทั้งทางอากาศ ทางน้ำ และพื้นดิน คุณมันขี้ขลาด ไม่เหมือนอดีตประธานาธิบดี ดไวท์ ไอน์เซนฮาว ในปี 1956 เขาแสดงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว โดยสั่งอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลมิให้รุมกินโต๊ะอียิปต์ในกรณีสงครามคลองสุเอช


    เหยื่อเคราะห์ร้ายในกาซ่าต้องสังเวยชีวิตไปแล้วกว่า 400 คน บาดเจ็บเท่าที่รู้อีก 2,000 กว่าคน ในบรรดาความรุนแรงที่โจมตีพลเรือนปาเลสไตน์ทั้งหมดกว่า 400 ครั้ง เกือบทั้งหมดมาจากน้ำมือของอิสราเอล แต่มันน่าแปลกใจไหมล่ะ ที่ความช่วยเหลือต่างๆที่คุณให้อิสราเอล แล้วอิสราเอลก็เอามันไปใช้เข่นฆ่าพลเรือน มันก็เป็นความช่วยเหลือแบบเดียวกันกับที่คุณกำลังมอบให้กับอิรักและอัฟกานิสถานในตอนนี้เหมือนกันนั่นแหละ


    ภาพรายงานข่าวที่เห็นยืนยันได้ว่า เครื่องบินรบอิสราเอล ได้ทำลายสถานีตำรวจ บ้านเรือนประชาชน โรงพยาบาล ร้านขายยา มัสยิด เรือประมง และสถานที่ราชการ สิ่งอำนายความสะดวก สาธารณูปโภค และอื่นที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต พินาศย่อยยับใช้การไม่ได้


    ทำไมคุณไม่ทำอะไรสักอย่างกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ? นี่คือการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้ง
    สนธิสัญญาเจนีวาและละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติชัดๆ เมื่อคุณไม่ทำอะไร ก็เท่ากับคุณล่วงละเมิด และฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศซ้ำเข้าไปอีก


    ทีนี้มาถึงเรื่องที่อิสราเอลปิดล้อม ห้ามมิให้นำเข้าสินค้าและความจำเป็นต่อการยังชีพเข้าไปในกาซ่า จนเกิดความขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ น้ำมันเชื้อเพลิง อาหาร น้ำสะอาด อะไหล่ และกระแสไฟฟ้า เป็นเวลานานเกือบสองปี ความช่วยเหลือจากสหประชาชาติไม่มีเหลืออีกแล้ว การปิดล้อมไม่ให้ประชาชนที่กำลังวิกฤติ เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นกับเด็กๆ คนชรา และผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งที่่ผิดกฎหมาย ภาวะขาดแคลนอาหาร และทุพโภชนาการในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความช่วยเหลือร้อยละ 80 จากสหประชาชาติ ถูกนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนกำลังหมดลง


    ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้เหล่านี้ ทำให้คุณรู้สึกอะไรบ้างหรือไม่ ? คุณรู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือมันเป็นอย่างที่คุณชอบเรียกมันว่า ใจกุศลของชาวคริสต์หรือเปล่า ?


    อะไรนะที่จะทำให้ คนโตแห่งเท็กซัส(บุช)หัวหด ไม่ออกมายับยั้งกองทัพที่มีอานุภาพมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก ? (หมายถึงกองทัพอิสราเอล-ผู้แปล)


    กีเดียล เลวี่ อดีตทหารผ่านศึกอิสราเอล คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฮาอะเรซ (หนังสือพิมพ์ออกในอิสราเอล-ผู้แปล) เรียกการโจมตีของอิสราเอลนี้ว่า “ปฏิบัติการรุนแรงที่เหี้ยมโหด” ที่เกินกว่าเหตุ เกินเลยกว่าเหตุผลที่เอามาอ้างว่าทำไปเพื่อปกป้องพื้นที่ตอนใต้ของอิสราเอล เขากล่าวอีกว่า “ถ้าใช้วิธีเจรจาตั้งแต่แรก ผมเชื่อว่าจะตกลงหยุดยิงครั้งใหม่ได้่ ไม่ต้องมาเสียเลือดเนื้อกันอย่างนี้เลย ... แค่วันนี้ (27 ธ.ค.2008) วันเดียวใช้เครื่องบินจำนวนมากถล่มใส่ประชาชนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ระเบิดพังอาคารถล่มใส่เด็กๆพี่น้องท้องเดียวกันห้าคนตายพร้อมกันทันที ผมหมายถึงว่านี่มันไม่รู้ไม่ได้ยินหรือไงกัน อิสราเอลทำอย่างนี้อีกไม่ได้ มันไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าการป้องกันตัว หรือแม้แต่จะแก้แค้นก็ไม่ควรจะทำ เหตุการณ์จะซ้ำรอยเดิมเหมือนที่อิสราเอลเคยทำที่เลาบนอนเมื่อสองปีครึ่งที่ผ่านมา”


    ที่เห็นอยู่ตอนนี้คือกองทัพบกอิสราเอลหลายพันคน เตรียมพร้อมที่ชายแดน พร้อมที่จะเดินหน้ากวาดล้างทำลายล้างกาซ่าให้พินาศย่อยยับ คงจะไม่มีใครได้เห็นจากสื่อนานาชาติใดๆเพราะอิสราเอลประกาศห้ามไม่ให้นักข่าวอเมริกันหรือสำนักข่าวใดเข้าไปในกาซ่า อย่างเด็ดขาด


    โฆษกทำเนียบขาวของคุณ ไปมัวทำเรื่องเสียเวลาอะไรในช่วงหกเดือนของข้อตกลงหยุดยิง ใครคือผู้ยึดครอง ? ใครมีอำนาจทางการทหารมากว่ากัน ? ใครปิดล้อมกาซ่า ? ใครรุกข้ามพรมแดนไปโจมตีบ่อยครั้งกว่ากัน ? ใครยิงปืนใหญ่ และจรวดใส่พลเรือน ? ใครกันที่ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายอาหรับ ที่ขอให้กลับไปสานต่อการเจรจาสันติภาพ ปี 2002 หากอิสราเอลกลับไปยอมรับเขตแดนในปี 1967 และตกลงยอมให้รัฐอิสระเล็กๆที่มีดินแดนเหลืออยู่เพียงแค่ 22 เปอร์เซ็นต์ ของดินแดนเดิมของปาเลสไตน์ทั้งหมด กลายเป็นประเทศใหม่?


    “จรวดไร้ประสิทธิภาพที่ไม่มีความแม่นยำใดๆ” คือสิ่งที่ผู้สื่อข่าวเรียกอาวุธที่ยิงจากฝ่ายฮามาส และกลุ่มต่อต้านอื่นๆ ไม่อาจเทียบเทียมได้กับแสนยานุภาพจากอาวุธสมัยใหม่ล่าสุดที่มีอำนาจทำลายล้างสูงต่อชีวิตมนุษย์ อาวุธที่อยู่ในมืออิสราเอล


    ไม่เคยมีการยิงระเบิดหรือจรวดมาจากเขตเวสต์แบ็งค์ เช้าใส่ดินแดนอิสราเอล แต่อิสราเอลก็ยังส่งกองกำลังเข้าไปยึดครองเวสต์แบ็งค์ ที่ยังมีสภาพเหมือนเป็นอาณานิคม ทหารอิสราเอลติดอาวุธยังคงลาดตระเวณ และตั้งจุดตรวจตราอย่างเข้มงวดทั้งทางบก และทางน้ำ นี่คือสิ่งที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป ในดินแดนที่ผู้นำเวสต์แบ็งค์ ประธานาธิบดีอับบาสผู้เชื่อฟังยอมทำตามที่คุณบอกให้ทำทุกอย่าง ก็คนเดียวกับที่คุณพบที่ไวท์เฮ้าส์ และสรรเสริญต่างๆนานาซ้ำแล้วว้ำอีกไงเล่า หรือว่าคุณกับรัฐมนตรีคอนโดลิซ่าลืมเลือนไปหมดแล้ว ?


    สันติภาพคือสิ่งที่เป็นไปได้.. แต่คุณมันขาดภาวะผู้นำ คุณก็คอยแต่รับใช้ และสนองตอบความต้องการทุกสิ่งที่รัฐบาลอิสราเอลอยากได้ เหมือนอย่างตอนที่อิสราเอลบุกเลบานอนเมื่อ ปี 2006 คุณยังคงให้สิ่งที่อิสราเอลร้องขอ ทั้งที่อิสราเอลยังทิ้งระเบิดใส่ประเทศนั้นไม่หยุดไม่หย่อน


    เวลาที่เถียงกันว่าใครเล่นงานใครก่อน หรือใครเล่นงานอิสราเอล ทุกครั้งคุณชี้ไปที่ปาเลสไตน์ แล้วก็กล่าวหาว่าพวกปาเลสไตน์ใช้ความรุนแรง และโจมตีทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์


    มองจากมุมของปาเลสไตน์ ซึ่งคุณคงยังจดจำได้ดีว่าอะไรคือที่มาของความขัดแย้งทั้งหมดตั้งแต่ต้น คุณจำได้ใช่หรือไม่ว่า เรื่องทั้งหมดมันเริ่มมาจากการที่ไปแย่งชิงแผ่นดินของพวกเขา ทีนี้..เพื่อให้คุณมีอารมณ์ร่วม ลองนึกถึงคำพูดที่ถูกนำไปพูดกันอยู่บ่อยๆ คำพูดของคนสำคัญผู้ก่อตั้งรัฐอิสราเอล เขาตือ เดวิด เบนกูเรียน เบนกูเรียนกล่าวกับ นาฮุม โกลก์มาน ผู้นำองค์กรยิวไซออนิสต์ ว่า...


    “พวกนาซีมีอุดมการณ์ต่อต้านยิว จึงมี Auschwitz (ค่ายกักกันยิวของนาซี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ที่โปร์แลนด์ -ผู้แปล) แต่ที่นี่ (ปาเลสไตน์) ที่นี่ พวกมัน (ปาเลสไตน์) ได้แต่่มอง ; เราก็แค่มาที่นี่แล้วขโมยประเทศของพวกมัน ทำไมพวกมันจะไม่ยอม ?”


    อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด เคยกล่าวว่า “ภารกิจทำตอนที่ไม่มีอำนาจก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้” คุณก็เหมือนกันโยน 8 ปีที่ผ่านมาทิ้งไป โดยไม่ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ คือ การนำสันติภาพมาสู่ปาเลสไตน์และอิสราเอล และทำให้ มันเป็นอีกแห่งหนึ่งในโลกที่มีความมั่นคงปลอดภัย


    อย่างน้อยที่สุด คุณยังอาจพอจะทำได้ ในวันเวลาที่ยังพอจะเหลืออยู่ในทำเนียบขาว ด้วยการแสดงความกล้าหาญ แสดงออกอย่างแข็งขันสั่งให้หยุดยิงทันที จากนั้นก็ปล่อยให้บารัค โอบามา มารับไม้ต่อไป ดีกว่าเล่นละครโชว์ไปวันๆ แล้วปิดปากตัวเองไม่ยอมพูดยอมจา ไม่สนใจผลประโยชน์แห่งชาติ

     
  12. พี่โจซี่

    พี่โจซี่ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล แต่ก่อนก็ยังงงว่ามันจะอะไรกันนักหนา อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ รบกันแทบจะตลอด ได้ยินแต่ยังเด็กจนตอนนี้มีลูกแล้วก็ยังไม่หยุด ได้มองโลกในมุมที่กว้างขึ้น ขอบคุณค่ะ
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปาเลสไตน์ จะรอดหรือไม่ (ตอนที่ 1)
    ย่อโลก...ปาเลสไตน์ ใครจะช่วย

    1917 - ปล้นเงียบ

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง อาณาจักรออตโตมานผู้แพ้สงครามล่มสลาย ปาเลสไตน์ตกเป็นของอังกฤษ ยิวในยุโรปเรียกว่าองค์กรไซออนิสต์ มุ่งก่อตั้งรัฐยิวโดยใช้เงิน,อำนาจและเส้นสายทางการเมือง จัดการให้อังกฤษยกปาเลสไตน์ให้แก่ยิวอย่างถูกกฎหมาย ลอร์ดบัลฟอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เขียนคำประกาศรับรองให้ยิวตั้งรัฐอิสระในดินแดนมุสลิม โดยไม่เคยถามเจ้าของแผ่นดินชาวมุสลิม คำประกาศนี้เรียกว่า คำประกาศบัลฟอร์ หรือ “The Balfour Declaration”

    1929-36 - อาหรับเพิ่งตื่น

    อังกฤษจัดการให้ยิวอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์อย่างเงียบๆ แค่สองปีมีคนยิวเข้าปาเลสไตน์ถึง 750,000 คน อังกฤษออกเอกสารสิทธิ์บนที่ดินให้ยิวอพยพ เมื่อใดที่ยิวทะเลาะกับอาหรับ ตำรวจอังกฤษจะเข้าข้างยิว คนอาหรับปาเลสไตน์เริ่มไม่พอใจ นำไปสู่การปะทะกันตำรวจอังกฤษยิงชาวปาเลสไตน์ตายไปถึง 110 คน ความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น ยิวตั้งกองกำลังทหารบ้านโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความปลอดภัย ความรุนแรงแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดทุกหนทุกแห่งจึงเต็มไปด้วยการโจมตีกัน ชาวปาเลสไตน์เริ่มรู้สึกถึงอันตรายที่กำลังคืบเข้ามาใกล้ตัวในบ้านของพวกเขาเองอย่างช้าๆ

    1947 มติสหประชาชาติ-ปล้นแผ่นดินรอบสอง

    อังกฤษนำปัญหาปาเลสไตน์สู่สหประชาชาติ ในปี 1947 ปัญหาก็คือ “อังกฤษมีสิทธิ์อะไร ที่เอาดินแดนของมุสลิมไปยกให้ยิว” สหประชาชาติตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหา สุดท้ายก็เสนอแบ่งประเทศเป็นสองส่วน 56.47 % เป็นของมุสลิม อีก 43.53 % เป็นของยิว อาหรับปฏิเสธแผนคดโกงปล้นชาตินี้ทันที แต่ยิวรีบตกลง อังกฤษหนีปัญหา ประกาศว่าจะถอนจากปาเลสไตน์ 15 พฤษภาคม อาหรับเตรียมทำสงครามแย่งดินแดนคืน

    1948 - วันแห่งความ “ฉิบหาย”

    ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐและอังกฤษ วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ไซออนิสต์ประกาศตั้งรัฐอิสราเอล ทันทีที่อังกฤษถอนตัวออกไป ยิวอ้างอธิปไตยเหนือปาเลสไตน์ทันที อาหรับเรียกวันชาติของยิวว่า “อัล-นักบา” แปลว่าวันแห่งความพิินาศฉิบหาย ทหารบ้านเถื่อนของยิวกลุ่มอิรกุนและเลฮี ติดอาวุธโดยจากชาติมหาอำนาจตะวันตกและเปลี่ยนเป็นทหารเต็มรูปแบบ ทหารยิวเริ่มสังหารอาหรับทุกคนที่ลุกขึ้นเรียกร้องขัดขวาง และใช้กำลังขับไสชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านของตัวเอง ทหารยิวปล้นและยึดบ้าน-ที่ดิน และทรัพย์สินชาวอาหรับ ขณะที่อียิปต์ฉวยโอกาสผนวกฉนวนกาซ่าเป็นของอียิปต์ ส่วนจอร์แดนผนวกเยรูซาเล็ม และเวสต์แบ็งค์เป็นของจอร์แดน

    1964 - กำเนิด PLO.

    สหรัฐและตะวันตกรับรองรัฐยิวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายอาหรับรวมตัวกันไม่ติดเพราะต่างก็เพิ่งได้รับเอกราชเป็นประเทศเกิดใหม่เกือบทั้งหมด ชาวปาเลสไตน์ไม่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการและไม่มีใครรับรองให้ปาเลสไตน์เป็นรัฐตามกฎหมาย อาหรับช่วยกันจัดตั้งองค์กรขึ้นต่อสู้ทางการเมืองเรียกว่า The Palestinian Liberation Organization หรือ PLO. และแต่งตั้งให้นายยัสเซอร์ อารอฟัต หัวหน้าขบวนการอัล-ฟาตาห์ เป็นประธานและ เป็นตัวแทนชาวปาเลสไตน์ทั้งมวล แต่สหรัฐและอิสราเอลไม่ยอมรับ กลับถือว่า PLO. เป็นองค์กรผิดกฎหมาย

    1967 - สงคราม 7 วัน

    สงครามระหว่างชาติพันธมิตรอาหรับ กับอิสราเอลที่หนุนหลังโดยอังกฤษและสหรัฐ ก็ระเบิดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน ปี 1967 และสิ้นสุดลงในวันที่ 11 มิถุนายน เป็นเวลา 6 วัน เรียกสงครามนี้ว่า “สงคราม 6 วัน” เป็น 6 วันแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของมุสลิมทั้งโลก เนื่องจากยิวได้ยึดเยรูซาเล็มไว้ได้ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน พ่ายแพ้อย่างยับเยิน จอร์แดนเสียเวสต์แบ็งค์ อียิปต์เสียฉนวนกาซ่าให้แก่ยิว สหประชาชาติเรียกประชุมเพื่อออกมติด่วนยุติสงคราม

    พฤศจิกายน 22, 1967 มติ 242 ความอัปยศบนเศษกระดาษ

    คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ มีมติด่วนที่ 242 โดยมีสาระสำคัญได้แก่ คำสั่งให้ยิวถอนตัวออกจากดินแดนที่ยึดครองได้ในระหว่างสงคราม 6 วันทันที ห้ามมิให้อิสราเอลผนวกดินแดนใดๆเพิ่มจากที่เคยมีมติเมื่อ ปี 1947 แต่มติที่ 242 นี้ ได้กลายเป็นเศษกระดาษที่ไร้ค่า อิสราเอลเพิกเฉย และยึดครองเวสต์แบ็งค์ ฉนวนกาซ่า เยรูซาเล็ม รวมทั้งที่ราบสูงโกลานของซีเรีย

    1973 - สงครามโยมคิปปูร์

    อาหรับเมื่อสูญเสียดินแดนไปในสงคราม 6 วัน และสหประชาติไม่มีอำนาจบังคับให้อิสราเอลคืนดินแดนให้ตามมติที่ 242 บรรดาพันธมิตรอาหรับจึงเตรียมทำสงครามอีกครั้งหนึ่ง ส่วนขบวนการฟาตาห์ของนายยัสเซอร์ อารอฟัตเริ่มใช้การรบแบบจรยุทธ์ลอบโจมตีที่มั่นทางทหารของอิสราเอล แต่เมื่อสงครามระเบิดขึ้น อียิปต์ซึ่งเปิดแนวรบเพื่อช่วงชิงฉนวนกาซ่าคืน กลับต้องสูญเสียคาบสมุมรไซนายทั้งหมดให้แก่อิสราเอล สหประชาติมีมติที่ 338 ให้หยุดยิง และเช่นเคยอิสราเอลผนวกดินแดนที่ยึดได้ไปโดยไม่สนใจต่อสิ่งใด

    1974 - อารอฟัตในเวทีโลก

    ในช่วงทศวรรษที่ 1970 PLO. และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านอิสราเอล ทำสงตรามนอกรูปแบบกับอิสราเอลอย่างหนัก และในทุกสนามรบ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์ฤดูร้อน ที่เมืองมิวนิก เยอรมันตะวันตก ในปี 1972 นักรบ PLO. จับตัวนักกีฬาอิสราเอลเป็นตัวประกัน ในปี 1974 ยัสเซอร์ อารอฟัต ก็ได้ไปปรากฎตัวบนเวทีสหประชาชาติ เขากล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาติ ประนามแผนการของยิวไซออนิสต์และคำกล่าวของเขาได้กลายเป็นวลีอมตะในเวลาต่อมา เขากล่าวว่า “Today I have come bearing an Olive branch and a Freedom fighter’s Gun. Do not let the Olive Branch fall from my hand” ในปีต่อมา PLO. ได้รับการยอมรับในการร่วมเจรจาปัญหาในฐานะตัวแทนชาวปาเลสไตน์

    1977 - ยิวขวาจัด

    ยิวไซออนิสต์ตั้งพรรคแนวขวาจัดที่มีจุดยืนแข็งกร้าว และมีนโยบายครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมดเป็นรัฐยิว พรรคการเมืองนี้ก็คือพรรคเฮรุต หรือลิคุต นั่นเอง พรรคลิคุตที่มีจุดยืนแข็งกร้าว ครองอำนาจในอิสราเอลมากที่สุดยาวนานและมีอิทธิพลในการกำหนดชะตากรรมของปาเลสไตน์มากที่สุด ผลผลิตอัปยศของพรรคลิคุตก็คือ นายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดอย่างเช่น นายเบนญามีน เอธันยาฮู นายยิตชัก ชาร์มี และนายเอเรียล ชารอน

    1979 - อียิปต์-เหยื่อสันติภาพ

    หากคำว่าสันติภาพ หมายถึง “กับดัก” เหยื่อรายแรกที่ติดกับดักนี้ก็คือ อียิปต์ เมื่อประธานาธิบดีอันวา ซาดัต กลายเป็นผู้นำอาหรับคนแรกที่จับมือกับนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล โดยการจัดการของอดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ สิ่งที่อียิปต์ได้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสันติภาพ คือได้คาบสมุทรไซนายคืนมา และเงินช่วยเหลือในรูปของความร่วมมือทางการทหารจากสหรัฐทุกปี จำนวนมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากที่ตุรกี เคยได้รับ ผลก็คือซาดัดผู้ทรยศถูกชาติอาหรับคว่ำบาตร อิสราเอลและสหรัฐใช้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยซื้อ ซาดัด เพื่อตัดกำลังฝ่ายอาหรับขณะเดียวกันก็เป็นการลดอิทธิพลโซเวียตที่ครอบงำอียิปต์มาตั้งแต่ยุคของอดีตประธานาธิบดีกามาล อับดุล นัสเซอร์ แต่รางวัลของผู้ทรยศ คือความตาย ซาดัด ถูกสังหารเสียชีวิต ในปี 1981

    1982 - ยิวกระหายเลือด

    นายเอเรียล ชารอน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ส่งทหารเข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ทางตอนใต้ของเมืองเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน โดยอ้างว่าต้องการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธฟาตาห์ และ PLO. นับเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ เมื่อกองทัพอิสราเอลร่วมมือกับพรรคคริสเตียนฟาลังกิสต์ฝ่ายขวาของเลบานอน ปิดล้อมและสังหารชาวปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยอย่างทารุณเหี้ยมโหด อารอฟัตตัดสินใจย้ายศูนย์บัญชาการของ PLO. ไปยังตูนีเซีย

    1987 - สู้ด้วยก้อนอิฐครั้งที่ 1

    ในปี 1987 ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ทั้งเด็ก สตรี คนหนุ่มคนสาว แม้แต่คนชรา ในฉนวนกาซ่า และเวสแบ็งค์ ลุกฮือขึ้นเดิยขบวนประท้วงอิสราเอลพร้อมกันทั่วประเทศ คนทั้งโลกได้เห็นภาพการต่อสู้ของคนมือเปล่าที่มี เพียงก้อนอิฐก้อนหินขว้างใส่รถถังของศัตรูผู้รุกราน ชาวอาหรับเรียกการลุกฮือพร้อมกันนี้ว่า อินฎิฟาเฎาะ แปลว่า การดิ้นให้หลุด เหตุการณ์นี้อิสราเอลใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงเฉัยบขาดไร้ความปรานี ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารอย่างทารุณมากกว่า 1,000 คน

    1988 - PLO เปิดประตูรับโจร

    แรงกดดันและความสูญเสียจากเหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 1 ผลักดันให้ PLO. ต้องหาทางกลับสู่การเจรจาอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลพลัดถิ่นปาเลสไตน์เปิดการประชุมในอัลจีเรีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1988 และมีมติให้ยอมรับมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ 181 และ 242 คือ ยอมรับแผนการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ ออกเป็นสองส่วน คือรัฐยิวและรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการเปิดประตูไปสู่การเจรจา ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายอาหรับยอมรับมติที่มีมาตั้งแต่ ปี 1947 และ 1967 รวมทั้งมีมติให้เปิดทางเจรจากับอิสราเอล เพื่อปฎิบัติให้เป็นไปตามมติที่ 338 ปี 1967 สหรัฐได้จังหวะรีบเข้ามาเป็นคนกลาง(ที่ค่อนไปทางยิว) ขณะที่ นายยิตชัก ชามีร์ จากพรรค ลิคุตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล

     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปาเลสไตน์ จะรอดหรือไม่ (ตอนที่ 2)

    1991 - ฝันสลายที่แมดริด

    รัฐบาลนำโดยนายชามีร์ ปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองอย่างไร้มนุษยธรรม และทารุณ การตรวจตราประชาชนที่ผ่านเข้าออกด่านต่างๆเป็นไปอย่างเข้มงวด ประชาชนถูกตรวจตรา ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่มต่อต้านหรือผู้ให้การช่วยเหลือรวมทั้งครอบครัวถูกจับสอบสวนด้วยการทรมานและถูกสังหารโดยไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย โลกไม่เคยให้ความสนใจ ทุกครั้งที่อิสราเอลปฎิบัติการทางทหารที่ป่าเถือน สหรัฐจะใช้สิทธิ์สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาติวีโต้ยับยั้งการประณามการกระทำของอิสราเอลทุกครั้ง ในปี 1991 อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ต้องการสร้างผลงานด้านสันติภาพ จึงเสนอแนวคิดการเจรจาครั้งใหม่ ที่แมดริด ประเทศสเปน แต่ชามีร์ปฏิเสธที่จะเจรจากับอารอฟัต จึงเป็นการประชุมโดยไม่มีอารอฟัต ที่สุดการประชุมก็ล้มเหลว

    1993 - ฝีมือคลินตัน

    อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจมากมาย แต่ยังขาดผลงานที่ประธานาธิบดีสหรัฐทุกคนต้องมี ไม่ว่ามันจะเป็นของจริงหรือสิ่งลวงตาลวงโลกก็ตาม นั่นก็คือผลงานการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง คราวนี้บรรยากาศดีกว่าสองปีก่อนในจังหวะที่อิสราเอลเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลพรรคกรรมกรนิยมซ้าย นายกรัฐมนตรียิสซาก ราบิน มีจุดยืนและท่าทีที่รอมชอบกว่านายกฯจากพรรคลิคุต ในที่สุดคลินตันก็ทำให้มีภาพอารอฟัตจับมือกับราบิน ที่สนามหญ้าหน้าทำเนียบขาว และเป็นภาพข่าวไปทั่วโลกได้ ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1993 ข้อตกลงนี้เรียกว่า แผนสันติภาพออสโลว์

    1994 - ยิวเดือด

    แผนสันติภาพออสโลว์ ในปี 1993 มีผลเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 1994 หลักการ ก็คือ ตั้งรัฐปาเลสไตน์ โดยอิสราเอลต้องถอนทหารและนิคมชาวยิวออกจากฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสต์แบ็งค์ ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดและยกดินแดนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้ การบริหารของ PA. องค์กรบริหารรัฐปาเลสไตน์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ชาวปาเลสไตน์ พากันออกมาเดินขบวนเฉลิมฉลองยินทีกับผลงานอารอฟัต ชาวยิวส่วนมากกลับไม่พอใจ และมองว่า แผนสันติภาพออสโลว์ทำให้อิสราเอลเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะชาวยิวในนิคมที่ต้องย้ายออก ต่อต้านอย่างหนัก PLO. แปลงโฉมเป็นองค์กรบริหารกิจการปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian Authority มีฐานะเทียบเท่ารัฐบาลรัฐปาเลสไตน์ เพื่อเตรียมรับดินแดนคืนมาใต้อธิปไตยของปาเลสไตน์

    1995 - สังหารราบิน สันติภาพโบยบิน

    PA. รับมอบอำนาจบริหารฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเวสแบ็งค์ ปีแรกท่ามกลางการต่อต้านในอิสราเอล รัฐบาลราบิน เริ่มสั่นคลอน แต่ราบินไม่หวั่นไหว เดินหน้าสู่สันติภาพต่อไป วันที่ 24 กันยายน PA. กับอิสราเอลบรรลุข้อตกลงเพิ่มเติม เรียกว่า แผนออสโลว์ ฉบับที่ 2 โดยข้อตกลงนี้แบ่งเขตเวสแบ็งค์เป็นสามโซน โซน A ส่วนใหญ่เป็นเมืองของชาวปาเลสไตน์ ประกอบด้วย เฮบรอน และเยรูซาเล็มตะวันออก ยกให้ PA. บริหารทั้งหมด โซน B เป็นพื้นที่บริหารร่วมกัน PA. กับอิสราเอล และโซน C ให้อิสราเอลครอบครองต่อไป ข้อตกลงฉบับนี้เองที่นำความตายมาสู่นายยิซชาก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนื่องจากชาวยิวขวาจัดถือว่าสัญญาฉบับนี้หมายถึง “ยิว-ยอมแพ้” ราบิน ถูกลอบสังหารโดยฝีมือชาวยิวขวาจัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 19

    1996-99 - วายร้ายเนธันยาฮู

    ชิมมอน เปเรช ทำหน้าที่แทนยิซชาก ราบิน ในระยะเวลาสั้นๆที่เหลืออยู่ ท่ามกลางบรรยากาศสิ้นหวังและไฟสงครามที่เริ่มก่อตัวขึ้นเงียบๆอีกครั้งหนึ่ง การปลุกระดมแนวคิดว่านายกฯราบินทำให้ยิวพ่ายแพ้ยังก้องกังวานอยู่ทั่วไป ส่งผลให้พรรคลิคุตกลับสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งเมื่อ 29 พฤษภาคม เบญามีน เนธันยาฮู จัดตั้งรัฐบาลผสมขวาจัดู ลิคุตชนะเลือกตั้งด้วยการรณรงค์ว่าถ้าเลือกลิคุต ลิคุตจะล้มแผนออสโลว์ของราบิน เมื่อเนธันยาฮู เข้าสู่อำนาจ เขาไม่แยแสและเพิกเฉยต่อข้อตกลงออสโลว์ แต่ที่สุดก็ทนแรงกดดันจากสหรัฐไม่ได้ (เพราะการเพิกเฉยทำหน้าสหรัฐเสียหน้า) ต้องยอมปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเสียไม่ได้ ส่งผลให้รัฐบาลผสมขวาจัดคว่ำลง เนธันยาฮูยุบสภาจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในเดือนมกราคม ปี 1999 พรรคกรรมกรกลับมาชนะได้ โดยมีเอฮุด บารัค (รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน 2007) เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความคาดหวังว่าบารัค จะสานต่อสันติภาพที่ยิซชาก ราบินทำไว้

    2000 - สู้ด้วยก้อนหิน ครั้งที่ 2

    แผนสันติภาพออสโลว์ที่เจอทางตันในยุคของเนธันยาฮู ไม่อาจเดินหน้าได้ในยุของเอฮุด บารัค อย่างที่คาดหมาย บารัคนอกจากไม่เดินหน้าแล้ว ยังใส่เกียร์ถอยหลัง เพราะความขี้ขลาดเขาหันไปให้ความสนใจเจรจากับซีเรียมากกว่า ท่ามกลางแรงกดดันและความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิสราเอล เอเรียล ชารอน ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุด แทนนายเนธันยาฮูเพื่อเตรียมทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลปีกซ้ายอันอ่อนแอของนายเอฮุต บารัค ในวันที่ 28 กันยายน ปี 2000 นายชารอนไปที่มัสยิดอัล-อักศอ ทำให้ชาวปาเลสไตน์โกรธและพากันลุกฮือขึ้นเดินขบวนทั่วประเทศพร้อมกัน ถือเป็นการอินฎิฟาเฎาะ ครั้งที่ 2 ทหารอิสราเอลปราบปรามประชาชนปาเลสไตน์อย่างรุนแรง ภาพข่าวที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเผยแพร่ไปทั่วโลกเป็นภาพของพ่อลูก มูฮัมมัด อัล-ดุรฺรอห์ ที่แม้จะร้องขอชีวิตแต่ก็ถูกทหารอิสราเอลล้อมยิงอย่างเหี้ยมโหดจนเสียชีวิต

    2001 - เอเรียล ชารอน นายกฯกระหายเลือด

    เหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะครั้งที่ 2 ทำให้รัฐบาลผสมพรรคกรรมกรของบารัคคว่ำไม่เป็นท่า เอฮุด บารัค ลาออก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2000 การเลือกตั้งครั้งใหม่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2001 เอเรียล ชารอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหมมือเปื้อนเลือดจากการสังหารโหดล้างเผ่าพันธ์ุปาเลสไตน์ในค่ายผู้ลี้ภัยในเลบานอนเมื่อ ปี 1982 หวนกลับมาครองเข้าสู่บัลลังก์เลือดพ้องกับสหรัฐที่ได้ผู้นำคนใหม่ที่ชื่อจอร์จ ดับยา บุช

    2002 - กลับเวสต์แบ็งค์

    องค์การบริหารรัฐปาเลสไตน์ หรือ PA. ได้รับมอบอำนาจบริหารเพียง 2 ปี กองกำลังอิสราเอลในยุคเอเรียล ชารอน ก็ยาตราทัพกลับเข้ายึดครองดินแดนที่ส่งมอบในสมัยนายกฯยิซชาก ราบินการกระทำเช่นนี้ ถือว่าชารอนฉีกข้อตกลงออสโลว์ทิ้งอย่างเป็นทางการ อิสราเอลปิดล้อมเมืองลามัลลอฮ์ ที่ตั้งสำนักงาน PA. และทำเนียบของนายยัสเซอร์ อารอฟัต สหรัฐรีบฉวยโอกาสยื่นข้อเสนอให้ PA. ปลดยัสเซอร์ อารอฟัตจากผู้นำ PA. เพื่อเตรียมการสู่แผนสันติภาพฉบับใหม่ ที่บุชเรียกว่า Road Map (แผนที่รับรองว่าอิสราเอลจะไม่เสียผลประโยชน์เหมือนฉบับออสโลว์ของคลินตัน) เชื่อกันว่าชารอนมีคำสั่งลับให้ลอบสังหารยัสเซอร์ อารอฟัต

     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปาเลสไตน์ จะรอดหรือไม่ (ตอนที่ 3)

    2003 - โรดแมพเปื้อนเลือด
    เดือนพฤษภาคม รัฐสภาอิสราเอลให้สัตยาบรรณรับรองแผนสันติภาพ Road Map ของจอร์จ ดับยา บุช การประชุมจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2003 ที่เมืองอะกอบา ประเทศจอร์แดน นายกรัฐมนตรีมะห์มูด อับบาส รับหน้าที่เจรจาแทรอารอฟัต อับบาสถูกกดดันให้ยอมรับหลักการว่า “การจับอาวุธขึ้นต่อต้านอิสราเอลจะต้องยุติลง กลุ่มติดอาวุธต้องถูกกำจัด” เพื่อแลกกับการที่ชารอน จะมีแถลงการณ์สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นเคียงคู่กับรัฐอิสราเอลอย่างสันติ ฮามาสประนามว่า PLO. และฟาตาห์ ว่าเป็นผู้ทรยศ เพราะจุดยืนของฮามาส คือ ปาเลสไตน์ต้องเป็นของมุสลิม และต้องต่อสู้จนกว่าจะขับไล่ยิวออกไปจากแผ่นดินมุสลิม


    แผนสันติภาพ Road Map ระบุว่า อิสราเอลจะถอนตัวจากฉนวนกาซ่า และเมืองเบธเลเฮม PA. ของอับบาส ต้องควบคุมมิให้กลุ่มต่อต้านปาเลสไตน์โจมตีอิสราเอลอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่า PA. ต้องกำจัดกลุ่มต่อต้านยิวนอกกฎหมายทุกกลุ่มอย่างสิ้นซาก เท่ากับว่าสหรัฐและอิสราเอล ยืมมือชาวปาเลสไตน์ฆ่าปาเลสไตน์ด้วยกันนั่นเอง หากอับบาสจัดการไม่ได้ อิสราเอลก็ถือเป็นเหตุยกเลิกข้อตกลง นายอับบาสจึงตกที่นั่งลำบาก ที่ต้องคอยควบคุม มิให้เกิดการโจมตีอิสราเอล ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย


    เดือนสิงหาคม 2003 การปฎิบัติการโจมตีอิสราเอลก็เริ่มขึ้น อิสราเอลถือโอกาสใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ในที่สุดนายอับบาส ถูกกดดันให้ต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรี อารอฟัตแต่งตั้งให้ นายอะห์เหม็ด ฆูรีย์ มือขวาคนสนิทมาทำหน้าที่แทนอับบาส ขณะที่อิสราเอล ยังคงเดินหน้าสร้างกำแพงปิดล้อมเขตเวสต์แบ็งค์ โดยไม่สนใจการประณามจากนานาชาติ


    เดือนธันวาคม ปี 2003 คณะรัฐมนตรีอิสราเอลภายใต้การนำของนายเอเรียล ชารอน มีมติคณะรัฐมนตรีเนรเทศนายอารอฟัต ให้ออกจากดินแดนปาเลสไตน์ และส่งเฮลิคอปเตอร์ยิงจรวดถล่มบ้านพักนายอารอฟัตทั้งในกาซ่าซิตี้ และเมืองลามัลลอฮฺ เค้ารางความล้มเหลวของแผนสันติภาพ Road Map เริ่มปรากฎให้เห็น เด่นชัดขึ้นท่ามกลางกองเลือดและความทุกข์ยากของชาวปาเลสไตน์ต่อไป
    2004 - ลาแล้วอารอฟัต
    ขณะที่อารอฟัต ถูกโดดเดี่ยวจากสหรัฐ และอิสราเอล อิสราเอลใช้กำลังทางอากาศโจมตีที่หมายในกาซ่า อย่างรุนแรงโหดเหี้ยม และหมายเลขหนึ่งที่อิสราเอลมุ่งปลิดชีวิตด้วยวิธีอันเหี้ยมโหดนี้ ก็คือ ผู้นำและผู้ก่อตั้งฮามาส นั่นคือเช็คอะห์หมัด ยาซีน เดือนต่อมา เมษายน 2004 ผู้นำระดับสูงหมายเลข 2 ของฮามาส อับดุลอะซีซ อัล-รอฏีซีีย์ ก็ถูกสังหารโดยวิธีการเดียวกัน


    เมษายน 2004 นายชารอน อ้างเหตุประกาศยกเลิกแผนการถอนนิคมชาวยิวจำนวน 8,000 แห่ง รวมทั้งยกเลิกการถอนทหารออกจากเขตฉนวนกาซ่า และบางส่วนในเขตเวสต์แบ็งค์ แผนการ Road Map ของนายจอร์จ ดับยา บุช พังทลายไม่เป็นท่า เหตุผลเพราะชารอนกังวล การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่กำลังจะมาถึง


    ช่วงเวลาเดียวกันข่าวสำคัญอีกข่าวหนึ่งก็ดึงดูดความสนใจโลกไปทั้งหมด นั่นคือข่าวอาการป่วยของนายยัสเซอร์อารอฟัต ผู้นำตลอดกาลของ PLO. ข่าวอารอฟัตล้มป่วยแพร่สะพัดไปไม่นาน เขาถูกนำส่งฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลทหารแห่งหนึ่งชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายอารอฟัตมีอาการป่วยหนักโดยไม่ระบุรายละเอียด และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2004 นายอารอฟัตก็ถึงแก่อสัญกรรม แพทย์ระบว่าติดเชื้อในกระแสโลหิต ข่าวการจากไปของนายอารอฟัตสร้างความผิดหวังและเศร้าเสียใจโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์ที่สนับสนุน PLO. นายอารอฟัต จากโลกนี้ไป โดยที่ยังไม่ทันได้ยินเสียงเพลงชาติปาเลสไตน์ และไม่มีโอกาสได้เห็นธงชาติปาเลสไตน์ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสา


    คนที่มาแทนอารอฟัต ก็คือ นายมะห์มูด อับบาส อดีตนายกรัฐมนตรี PA. เมื่อ ปี 2002 สถานภาพใหม่ของนายอับบาส คราวนี้ ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำสูงสุดของ PLO. และ พรรคฟาตาห์เท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นประธานาบดีของรัฐปาเลสไตน์อีกด้วย แม้ว่าชาวปาเลสไตน์ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในฉนวนกาซ่าจะไม่เคยยอมรับก็ตาม
    2005 - ออกจากกาซ่า
    มกราคม ปี 2005 มะห์มูด อับบาส ชนะการเลือกตั้ง เข้าดำรงตำแหน่งประธานองค์การบริหารปาเลสไตน์ - PA. หรือ Palestinian Authority มีฐานะเป็นประธานาธิบดีของรัฐปาเลสไตน์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ท่ามกลางความคาดหวังว่านายอับบาส จะนำพาปาเลสไตน์ไปสู่ความฝันในการเป็นรัฐปาเลสไตน์ได้สำเร็จ แต่ภาระกิจผู้นำปาเลสไตน์ กลายเป็นต้นเหตุที่นำความแตกแยกมาสู่ชาวปาเลสไตน์ที่รุนแรงที่สุดและส่งผลกระทบมาจนกระทั่งวันนี้ นายมะห์มูด อับบาส ได้รับความช่วยเหลือจากอิสราเอล และสหรัฐ ติดอาวุธให้ตำรวจรัฐบาล PA. เพื่อจัดการกับกลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซ่า โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อไล่ล่านักรบฮามาส กลุ่มเครือข่ายอิสลามิก ญิฮาด และอัล-ก็อตซาม และยุติปฏิบัติการโจมตีอิสราเอล การปราบปรามกันเองของปาเลสไตน์ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจปาเลสไตน์ของนายอับบาส กับนักรบฮามาส รุนแรง และสูญเสียมากขึ้น


    อับบาสกลายเป็นเด็กดีของ อิสราเอลและสหรัฐ ทำให้อิสราเอลตกลงร่วมกันกับ PA. ประกาศหยุดยิง ในการประชุมสุดยอด จัดขึ้นที่ประเทศอียิปต์ ทั้งนี้เพื่อเตรียมการกลับสู่แผนสันติภาพ Road Map อีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูกระบวนการถอนที่ตั้งนิคมชาวยิว 8,000 แห่ง และถอนกำลังทหารอิสราเอลออกจากกาซ่า อย่างเป็นรูปธรรม สถานภาพของกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลายเป็น “กลุ่มติดอาวุธผิดกฎหมาย” หรือ “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ PA. ของนายอับบาสต้องกำจัด สหรัฐ อิสราเอล และอียิปต์ ร่วมกันฝึกกองกำลัง PA. ของอับบาส เพื่อปฏิบัติการกวาดล้างฮามาสและพันธมิตรนอกจากนั้น PA. และเจ้าหน้าที่ฟาตาห์ของอับบาส ยังมีส่วนร่วมในการจับกุมตัวและการลอบสังหารผู้นำกลุ่มต่างๆ อีกด้วย
    2006 - รัฐบาลฮามาส
    ความเป็นปฎิปักษ์ และการกวาดล้างนักรบฮามาส ทั้งจากอิสราเอล และองค์การบริหารปาเลสไตน์ของนายอับบาสดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และกดดันฮามาสอย่างหนัก จนในที่สุดฮามาสต้องยอมเข้าสู่การเมืองโดยผ่านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งถูกจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2006 ผลปรากฎว่ากลุ่มฮามาสได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น อิสราเอลและสหรัฐพยายามอย่างหนักที่จะแทรกแซงผลการเลือกตั้ง โดยกีดกันฮามาสไม่ให้เข้าสู่อำนาจ


    สหรัฐและอิสราเอล กดดันประธานาธิบดีมะห์มูด อับบาสอย่างหนัก แต่ในที่สุด ทั้งอับบาสและสหรัฐก็ไม่อาจยับยั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ของฮามาสได้ อิสมาอีล ฮานิยาห์ ผู้นำฮามาสขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปาเลสไตน์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง


    ปมความขัดแย้งระหว่างฮามาส ที่มีอำนาจรัฐและประชาชนหนุนหลัง กับ PA. และฟาตาห์ที่นำโดยประธานาธิบดีอับบาส ที่สหรัฐและอิสราเอลให้การยอมรับ และสนับสนุน กลายเป็นปมปัญหาที่ทวีความร้อนระอุขึ้นอย่างช้าๆและรุนแรงขึ้น ไม่นานหลังการจัดตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์โดยฮามาส PA. ก็เริ่มช่วงชิงและแทรกแซงอำนาจบริหารจัดการในเขตฉนวนกาซ่า ซึ่งฮามาสมีอิทธิพลมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง PA. ของอับบาสทำหน้าที่เป็นฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เกิดการใช้อำนาจทับซ้อนกัน


    ในที่สุดก็นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฮามาส กับเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงขององค์การบริหารปาเลสไตน์ ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2006
    2007 คว่ำฮามาส
    การปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างฮามาสกับกองกำลังของอับบาส เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฮามาสเข้ายึดที่ทำการและวิลล่าส่วนตัวของนายอารอฟัต และนายอับบาส เปิดเผยให้เห็นความร่ำรวยผิดปกติของบรรดาผู้นำ PLO. ฮามาสปลดคนของอับบาส แต่งคนของฮามาสเข้าไปทำหน้าที่แทน จนมาถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2006 สหรัฐและอิสราเอลกดดันให้ นายอับบาสใช้อำนาจประธานาธิบดีมีคำสั่งปลดนายอิสมาอีล ฮานายห์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ฮานิยาห์ไม่ยอมรับอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ด้วยเหตุนี้ทำให้ ปาเลสไตน์ถูกแบ่งแยกเป็นสองขั้ว คือขั้วของ PA. ที่มีนายอับบาสเป็นผู้นำในฐานะประธานาธิบดี รับรองโดยสหรัฐ อิสราเอล และชาติตะวันตก มีอำนาจเต็มในเวสต์แบ็งค์ แต่ไม่มีอำนาจบริหารที่แท้จริงในฉนวนกาซ่า อีกขั้วหนึ่งคือรัฐบาลฮามาส ที่มีชาวปาเลสไตน์ในกาซ่าสนับสนุน และถือว่ายังเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มทั่วประเทศปาเลสไตน์ แต่อำนาจที่แท้จริงมีเฉพาะในเขตฉนวนกาซ่า ทั้ง PA. และฟาตาห์ของอับบาส และอิสราเอล หันมาร่วมมือกันปราบปรามฮามาสอย่างรุนแรงหมายใจจะกำจัดฮามาสให้สิ้นสภาพ หมดอำนาจไปจากกาซ่าให้ได้ ในที่สุดเอฮุด โอลเมิร์ต จากพรรคคาดีม่า นายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่มารับหน้าที่ต่อจากชารอน เนื่องจากปัญหาสุขภาพ ตกลงทำข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส ครั้งแรกข้อตกลงถูกละเมิด และได้มีการตกลงหยุดยิงกันอีกหนึ่งครั้งซึ่งหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008
    2008-2009 - สงครามแห่งความขมขื่น
    รัฐบาลผสมคาดีม่าและพรรคกรรมกร ของเอฮุด โอลเมิร์ต กำลังประสบปัญหา ตัวเอฮุด โอลเมิร์ตเองถูกสอบสวนในข้อหาคอรัปชั่น และหลีกเลี่ยงภาษี พรรคกรรมกรพยายามกดดันให้โอลเมิร๖ลาออก เพื่อนายเอฮุด บารัค รัฐมนตรีกลาโหมจะขี้นดำรงตำแหน่งแทน อิสราเองต้องการแก้ปัญหาภายใน ก่อนที่ข้อตกลงหยุดยิง จะหมดวาระในเดือน พฤศจิกายน 2008 แต่ฮามาสปฏิเสธ อิสราเอลบีบให้ฮามาสเจรจายืดระยะเวลาหยุดยิงออกไปโดยการปิดล้อมฉนวนกาซ่า จนขาดแคลนอาหารและพลังงานแต่ไม่สำเร็จ เมื่อข้อตกลงหนุดยิงหมดวาระลง ฮามาสระดมยิงจรวดเข้าใส่อิราเอลอย่างหนัก เอฮุด บารัค ฉวยโอกาสเสนอแผนการโจมตีฮามาส และเมืองต่างๆในฉนวนกาซ่า โดยไม่เลือกเป้าหมาย กลายเป็นอาชกรรมที่โหดร้ายที่สุดในรอบ 60 ปี ด้วยความปรารถนาที่จะทำลายล้างเผ่าพันธุ์ปา้ลสไตน์อย่างถอนรากถอนโคน นายเอฮุด บารัค เรียกแผนนี้ว่า The War of Bitter End หรือสงครามเพื่อยุติความเจ็บปวด โดยลงมือปฎิบัติการทางอากาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2008 มาจนถึงปัจจุบัน

     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (1)
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (1) ยิวเรียกว่าผู้ก่อการร้าย สหรัฐเรียกพวกนอกกฎหมาย สื่อตะวันตกเรียกพวกหัวรุนแรง แต่ทำไมพวกเขาจึงชนะใจชาวปาเลสไตน์ ชนะเลือกตั้ง แน่ใจหรือว่าเรารู้จักตัวจริงของพวกเขา...ฮามาส เป็นใครกันแน่ ? shaffi : เขียน ( 28 กุมภาพันธ์ 2009)
    [​IMG]
    [​IMG]
    เช็คอะห์หมัด ยาซีน ผู้นำฮามาสคนแรก


    ฮามาส หรือ Hamas เป็นอักษรย่อที่มาจากตัวอีกษรตัวหน้าของชื่อเต็มๆเป็นภาษาอาหรับ่ว่า Harakat al-Muqawima al-Islamiyya แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Islamic Resistance Movement และแปลเป็นไทยง่ายๆว่า กลุ่มอิสลามเพื่อการการต่อต้าน(อิสราเอล) ที่ต้อเรียกว่ากลุ่มอิสลาม เพราะใช้ความศรัทธาในศาสนาเป็นทางนำ หรือเป็นเครื่องชี้นำ และกำหนดนโยบายในการต่อสู้นั่นเอง.. ดังนั้นศัตรูของฮามาสจึงเป็นศัตรูของศาสนาไปด้วยตามแนวคิดนี้

    ฮามาสเริ่มจากการเป็นเพียง ฝ่ายปฏิบัติการด้านกำลัง หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆว่าเป็นกองกำลัง ทำงานด้านยุทธการเป็นหลัก ไม่ทำงานด้านการเมือง เป้าหมายเพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล ฮามาสเป็นหน่วยกำลังขององค์กรหลักอีกองค์กรหนึ่ง เป็นองค์กรหรือขบวนการเพื่อการฟื้นฟูอิสลาม องคืกรหรือขบวนการนี้ถูกเรียกในภาษาอาหรับว่า Ikhwan al-Muslimin อ่านว่า อิควานุ้ลมุสลิมูน แปลตรงๆว่า “ภราดรภาพมุสลิม” (อิควาน-แปลว่า ความเป็นพี่เป็นน้องกัน) ด้วยชื่อและบทบาทเช่นนี้ ทำให้ขบวนการนี้กลายเป็นเครือข่ายที่มีสาขาในประเทศอาหรับทั้งในและนอกภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศมุสลิมอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง

    แต่เดิมองค์กรเพื่อรวมชาวมุสลิมเป็นหนึ่งเดียว อิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม ตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายในการฟื้นฟูสถานภาพของมุสลิมและอิสลามที่ถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสทำลายไปในยุคล่าอาณานิคม องค์กรนี้มีที่มาจากอียิปต์ ในยุคที่ประเทศอาณานิคมเข้ามายึดครองดินแดนของชาวมุสลิมในตะวันออกกลางและตอนเหนือของทวีปอัฟริกา ที่ล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจ เช่น อัลจีเรีย-เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส, ลิเบีย-เป็นเมืองขึ้นของอิตาลี (ต่อมาตกเป็นของอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) และอียิปต์ตกเป็นของอังกฤษ บรรดาเจ้าอาณานิคม กวาดล้างจับกุมผู้นำศาสนา และผู้ต่อต้านอย่างหนัก ทำให้สังคมอันสงบสุขตามแบบฉบับชาวมุสลิมถูกทำลาย สุรา สตรี การพนัน และการขูดรีด กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความศรัทธาถูกเหยียบย่ำทำลาย ด้วยฝีมือนักล่าอาณานิคม ขบวนการอิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม ถือเป็นองค์ใต้ดินหัวหอก ที่ออกปฏิบัติการต่อต้านผู้รุกรานตะวันตก ในทุกประเทศ และกลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของเจ้าอาณานิคมตะวันตกในทุกประเทศที่ถูกยึดครอง แนวคิดและปรัชญาของขนวนการอิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดร ภาพมุสลิม ได้แพร่ขยายไปในดินแดนมุสลิมในตะวันออกกลางอย่างรวดเร็ว ในทุกประเทศ และปัจจุบันขบวนการ อิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม ในบางประเทศยังมีสภาพเป็นองค์กรใต้ดิน(ิดกฎหมาย) และในบางประเทศก็เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพรรคการเมือง บางประเทศแม้ยังเป็นองค์กรใต้ดินผิดกฎหมาย แต่ก็แอบส่งผู้สมัครซึ่งเป็นสมาชิกของขบวนการลงชิงชัยในการเลือกตั้ง(ในนามผู้สมัครอิสระ) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลตลอดกาล เช่น ในประเทศอียิปต์

    เหตุที่ต้องเล่าเรื่องราวของขบวนการอิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม มาเสียยืดยาวก็เพราะว่าการทำความเข้าใจฮามาส ต้องเริ่มจากเข้าใจแนวคิดของ อิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม เสียก่อนนั่นเอง เช่นเดียวกับดินแดนในส่วนอื่นๆของตะวันออกกลาง อิทธิพลของแนวคิด อิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม ก็เข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์ด้วยเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่า ที่จริงแล้วฮามาส ก็เหมือนกับกิ่งก้านสาขาของ อิควานุลมุสลิมมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม นั่นเอง ขบวนการอิควานุลมุสลิมมูน ก่อตั้งในฉนวนกาซ่าเมื่อ ปี 1946 โดยมีเป้าหมายไม่ต่างจาก ขบวนการอิควานุลมุสลิมมูน ในประเทศอาหรับอื่นๆคือ เตรียมการสะสมกองกำลังอย่างเงียบๆเพื่อรอการฟื้นคืนและนำพาประเทศและสังคมมุสลิมกลับสู่สังคมในระบบอิสลาม (ประเทศอาณานิคมทั้งหลายเมื่อเข้าครอบครองประเทศมุสลิมก็ยกเลิกระบบกฎหมายอิสลาม และจัดตั้งรัฐบาลหุ่นในระบบ Secular State (รัฐที่แยกศาสนาออกจากการเมือง) แบบสาธารณรัฐ รูปแบบเดียวกับประเทศเจ้าอาณานิคม)

    หลังจาก ปี 1967 (สงคราม 6 วัน) แนวทางการต่อสู้ขององค์กรและขบวนการต่างๆที่ต่อต้านอิสราเอล ภายใต้ปีกของอิควานุลมุสลิมูนปาเลสไตน์ แยกออกเป็นหลายองค์กร มีแนวทางการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในปี 1973 ในเขตฉนวนกาซ่า ได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อเป้าหมายการกุศลและให้บริการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ เช่น จัดตั้งคลีนิกดูผู้ป่วย สร้างโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก องค์กรนี้ใช้ชื่อว่า มุจญ์มะอฺ (Mujama) ก่อตั้งโดย เช็คอะห์หมัด ยาซีน องค์กรนี้ระดมทุนมาจากเงินบริจาคซะกาต (ศาสนาอิสลามกำหนดเป็นภาคบังคับ ให้ผู้มีรายได้และเหลือจากการบริโภค ต้องบริจาคแก่บุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ศาสนากำหนด ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี การบริจาคภาคบังคับนี้ เรียกว่าซะกาต) และเงินบริจาคตามความสมัครใจ จากประเทศอาหรับ และชาวปาเลสไตน์ที่อยู่นอกประเทศ (บริจาคโดยความสมัครใจไม่อยู่ในเงื่อนไขที่ศาสนาบังคับ) เป้าหมายก็็เพื่อแสดงให้เห็นพลังแห่งความศรัทธาตามหลักการทางศาสนา ความเป็นหนึ่งเดียวกันของมุสลิม ซึ่งวิธีการขององค์กรมุจญ์มะ ทำให้เกิดแรงกดต่อต่อ PLO ที่ดำเนินนโยบายไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา

    ซึ่งกลายเป็นเรื่องราวบานปลายในเดือนมกราคม ปี 1980 นักเคลื่อนไหวเพื่อการฟื้นฟูอิสลาม ก่อการประท้วงโจมตีที่ทำการสำนักงานสภาซีกวงเดือนแดง (องค์กรกาชาดในกลุ่มประเทศอาหรับ) และปิดล้อมบ้านพักผู้อำนวยการ ฮัยดัร อับดุลชาฟีย์ ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยอิสลามกาซ่า (มหาวิทยาลัยแห่งนี้สร้างขึ้นหลังจากประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัดแห่งอียิปต์สั่งปิดมหาวิทยาลัยที่ชาวกาซ่าเรียน เนื่องจากไม่พอใจที่นักศึกษาปาเลสไตน์เดินขบวนประท้วงอียิปต์ที่ไปเจรจาสงบศึกกับอิสราเอลที่แคมป์เดวิด สมัยรัฐบาลจิมมี่ คาร์เตอร์) เป้าหมายการประท้วงเพื่อให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนมาใช้นโยบาย มาใช้ปฏิบัติกับนักศึกษาตามหลักการอิสลามที่เคร่งครัด เช่น ให้นักศึกษาสตรีคลุมศรีษะ และสวมชุดยาว การแยกนักศึกษาหญิง ออกจากนักศึกษาชาย จนในที่สุดมหาวิทยากาซ่าจึงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดภายใต้การยึดครองของอิสราเอล นักศักษาที่มีสิทธิ์เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกาซ่าจะต้องผ่านการตัดเลือกโดยองค์กรมุจญ์มะ เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษา 4,500 คนเหล่านี้ จะอยู่ภายใต้หลักการของอิสลามอย่างเคร่งครัด องค์กรมุจญ์มะ จึงมีอิทธิพลต่อกาซ่าในฐานะของผู้สนับสนุนการศึกษา แต่ก็ยังจำกัดบทบาทขององค์กรไว้แค่เพียงในมหาวิทยาลัย

    มาถึงช่วงทศวรรษที่ 1980 มุจญ์มะ เริ่มมีบทบาทในการต่อต้าน สื่อภาพยนตร์ ต่อต้านสถานที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ สถานบริการที่มีการพนัน และอบายมุขอื่นๆที่ขัดกับหลักการอิสลาม การกวาดล้างสิ่งชั่วร้ายและอบายมุขเริ่มกลายเป็นปมขัดแย้งกับผู้ยึดครองอิสราเอล เมื่อการต่อต้านอบายมุขถูกยกระดับขึ้นมาเป็นประเด็นปลุกเร้าทางการเมือง โดยเฉะาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ในเมือง คาน ยูนีส

    องค์กรที่เริ่มจากงานสังคมสงเคราะห์ และเข้ามามีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานทางศีลธรรมตามหลักการอิสลามที่เคร่งครัด...ขยายบทบาทเข้ามาทำงานการเมืองในนาม ฮามาสได้อย่างไร ..? ต้องติดตามต่อไปครับ

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (2) shaffi : เขียน ( 28 กุมภาพันธ์ 2009)
    ฮามาสฟอร์มตัวขึ้นมาจากองค์กรด้านสังคมและศีลธรรม เป็นองค์กรในบทบาทใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1988 เพื่อเข้าร่วมในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การลุกฮือ” หรือ ที่ชาวอาหรับเรียกว่า เหตุการณ์อินฎิฟาเฎาะฮ์ ครั้งที่ 1 ที่นำโดยขบวนการอิควานุล มุสลิมูน หรือ ภราดรภาพมุสลิม บุคคลสำคัญที่ร่วมกันก่อตั้ง ฮามาส ได้แก่ เช็คอะห์หมัด ยาซีน (ผู้ก่อตั้งหน่วยงานการกุศลมุจญ์มะอฺ) อับดุลฟะตะห์ ดุคคอน, มุฮัมมัด ชามาอฺ อิบริฮีม อัล-ยาซูรี, อิสสา อัล-นัจญญัรฺ, ศอละฮฺ ชีฮาดี, และอับดุลอะซีซ รอนฏีซี, ดร.มะห์มูด ซะฮัรฺ ก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อผู้มีส่วนร่วมก่อตั้งขบวนการ ฮามามาตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญอืนๆอีก เช่น เช็คคอลิล เกากอ, อิสสา อัซชัรฺ, มูซา อบูมัรฺซูก, อิบริฮีม ฆุษชา และ คอลลิล มะชาอล์


    พอถึงเดือนสิงหาคม ปี 1988 ก็มีการปฏิญญาฮามาส เป็นการแสดงถึงบทบาทใหม่ของขบวนการที่มีเป้าหมายทางการเมืองและเป็นตัวแทนการต่อสู้เพื่อชสวปาเลสไตน์ โดยปฏิญญาฮามาสครั้งแรก ได้มีการประกาศว่า
    “ดินแดนปาเลสไตน์ คือ ดินแดนของชาวมุสลิม ที่ชาวมุสลิมจะไม่มีวันยอมแพ้แก่ศัตรูที่ไม่ใช่มุสลิมที่พยายามจะผนวกเอาดินแดนมุสลิมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา”
    การประกาศเปิดตัวพร้อมเป้าหมายเช่นนี้ ย่อมส่งผลสะเทือนทางการเมืองในปาเลสไตน์ทันที การประกาศเช่นนี้ของฮามาสคือการประกาศสงครามต่ออิสราเอลนั่นเอง คำประกาศของฮามาส สะท้อนเนื้อหาที่ตรงข้ามกับ นโยบายตามเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งของขบวนการยิวไซออนิสต์ นั่นคือ Protocol ที่ร่างขึ้นโดยปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน (ที่ประกาศว่าดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมดเป็นดินแดนที่พระเจ้ามอบให้ชาวยิว และเป็นหน้าที่ที่ต้องแย่งชิงแผ่นดินมาเป็นของชาวยิวให้ได้)


    จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของฮามาส มีความประสงค์ที่จะต่อต้านการยึดครองของอิสราเอลและปลดปล่อยดินแดนขงมุสลิมกลับมาอยู่ใต้ร่มธงของชาวปาเลสไตน์อย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายนี้ คือการต่อสู้ และจัดตั้งรัฐของชาวปาเลสไตน์ (รัฐตามแนวติดของชาวปาเลสไตน์ที่จะเป็นผู้กำหนดเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้กำหนดตามแผนสันติภาพใดๆ และแนวคิดในการก่อรูปรัฐปาเลสไตน์ ในแนวทางของรัฐอิสลาม) เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ฮามาส จึงจัดรูปองค์กรการจัดการออกเป็นกลายส่วนเช่น ปีกที่ทำงานการเมือง ที่กำหนดแนวทางโดยเช็คอะห์หมัด ยาซีน (ร่วมด้วย ชานาบ,ยาซูรี. รอนฏีซี และซะฮัรฺ) มีหน้าที่หลักในการทำงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ การระดมทุนสนับสนุนจากประเทศในกลุ่มอ่าวเปอร์เซีย, ระดมหาสมาชิก และทำงานประสานกับชุมชนและมัสญิดต่างๆ


    หน่วยงานในปีกที่ทำงานด้านงานลับ ที่รู้จักกันดีในชื่อของ อัล-มัจญ์ดฺ เป็นส่วนงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดย ยะห์ยา ซันวารฺ และ รูฮฺ มุสฏอฮา มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนโยายการเมืองภายในฉนวนกาซ่า ส่วนงานนี้ต่อมารวมตัวกับองค์กรทางการทหาร ที่ชื่อว่า แนวร่วมอิซซุดดีน อัล-ก๊อตซาม ซึ่งนี่ถิอว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกองกำลังเล็กๆของฮามาส ที่บริหารจัดการโดยแบ่งชั้นการสั่งการและปกครองออกเป็นหน่วยย่อยๆที่เรียกว่า Cell System (โดยวิธีการเช่นนี้นี่เองที่ทำให้กองทัพอิสราเอลจัดการกวาดล้างให้สิ้นซากได้อย่างยากลำบาก) หลังจากฮามาสยกระดับจากองค์กรด้านสังคมสงเคราะห์มาทำงานด้านการเมืองและการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล อิสราเอลประกาศแบนฮามาส และจับตัวเช็คอะห์หมัด ยาซีน กับคนอื่นๆ


    การปฏิบัติการทางการทหารในช่วงต้นๆ ฮามาสยังไม่ได้พัฒนารูปแบบและหลอมรวมแนวคิดทำงานกับศาสนา แต่คงใช้แนวทางชาตินิยม ตามแบบแนวคิดและยุทธศาสตร์ของขบวนการอิควานุลมุสลิมูน การใช้แนวทางชาตินิยมในเบื้องต้นสามารถดึงการสนับสนุนมาจากผู้อพยพ, กลุ่มคนชั้นแรงงาน, และกลุ่มนักวิชาชีพอิสระให้มาสนับสนุนแนวทางฮามาสได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 1989 ขบวนการฮามาสตกลงจะอดทน ใช้วิธีการตัดสินปัญหาต่างๆผ่านทางสภาปาเลสไตน์แห่งชาติ หรือ National Palestinian Congress ไปก่อน แต่ก็ขอให้จัดการเลือกตั้งขึ้นในปี 1991 ด้วยแนวทางทางการเมือง แนวนโยบายการต่อสู้ การแสดงตัวเป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ ทำให้แนวทางของฮามาส กับ PLO. เริ่มมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ฮามาสจับมือเป็นพันธมิตรทางการเมืองร่วมกับกลุ่ม PFLP ซึ่งเป็นฝ่ายค้านกับพรรคฟาตาห์ที่อยู่ใต้ปีก PLO.


    นโยบาย จุดยืน เป้าหมายและยุทธศาสตร์ ของฮามาส แตกต่างจาก PLO ของยัสเซอร์ อารอฟัต เช่น ในช่วงเวลาเริ่มต้นของการก่อตั้งขบวนการฮามาส (ปี 1989-1991) เป็นช่วงเวลาเดียวกับการเกิดวิกฤตการณ์อ่าว ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับอดีตประธานาธิบดีซัดดาม ฮุสเซ็น กำลังดำเนินไปถึงจุดแตกหัก เมื่ออิรักบุกแบบสายฟ้าแลบเข้าครอบครองคูเวต ขณะที่ยัสเซอร์ อารอฟัต เลือกเล่นเกมการเมืองโดยเลือกเข้าข้างอิรัก แต่ฮามาสกลับแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ทั้งอิรัก และสหรัฐถอนกำลังทหารออกไป การตัดสินใจของฮามาสทำให้ได้รับความเห็นใจจากบรรดากลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย และได้เปลี่ยนการสนับสนุนเงินช่วยเหลือที่เคยจัดสรรให้ PLO. ของอารอฟัต ไปให้ฮามาสแทน ตัวเลขเท่าที่ยืนยันทางบัญชีปรากฎว่าประเทศอ่าวได้ส่งความช่วยเหลือทางการเงินสู่ชาวปาเลสไตน์ ผ่านขบวนการฮามาสถึงเดือนละ 28 ล้านเหรียญ เท่ากับว่าต่อจากนี้ไปการช่วยเหลือและการสงเคราห์ชาวปาเลสไตน์จะถูกส่งผ่านไปตามท่อของขบวนการฮามาสแทนท่อของ PLO. ที่เคยใช้กันมาตลอด
    เดาออกใช่ไหมครับว่าบรรดาพลพรรค PLO. และ ฟาตาห์ จะคิดและรู้สึกอย่างไรกับฮามาส..


    ในตอนแรกๆ เงินช่วยเหลือเหล่านี้ก็มีอิทธิพลไม่น้อยต่อการตัดสินใจปรับแต่งยุทธศาสตร์และเป้าหมายเดิมของฮามาส ฮามาสจำเป็นต้องเปิดกว้างในการยอมใช้วิธีการเจรจามากขึ้น ดังเช่น การยอมรับการเจรจากับ PLO. เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ การเจรจากับยานกรัฐมนตรียิชชาก ชาร์มีย์ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1992 การเจรจาก็ไม่ได้มีอะไคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งปรับแนวทางยุทธศาสตร์ดดยหวนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น คือ การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้กลับคืนมาเป็นดินแดนของมุสลิม ฮามาสประกาศว่าทหารอิสราเอลและชาวนิคมยิวที่เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนปาเลสไตน์คือเป้าหมายทางการทหารของฮามาส


    ในปี 1992 บิล คลินตัน เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ PLO. อยู่สภาพถดถอยทางการเมือง คลินตันเตรียมเสนอแผนสันติภาพ Oslo องค์การฮามาสปฏิเสธที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแผน Oslo และเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับแนวร่วมองค์กรที่ต่อต้านแผน Oslo ในสภาปาเลสไตน์ ซึ่งมีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 20 ที่หันมาจับมือกับฮามาสต่อต้านแผน Oslo ฮามาสประกาศปฏิบัติการทางการทหารต่อต้านแผน Oslo โดยเริ่มต้นในปี 1993


    องค์การบริหารรัฐปาเลสไตน์ หรือ PA. มีสถานะเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลของรัฐปาเลสไตน์ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1994 ตามแผน Oslo อยู่ในสภาพที่เสียเปรียบฮามาส เนื่องจากเงินบริจาคจำนวนมากจากประเทศกลุ่มรัฐอ่าวเปอร์เซียไหลไปตามท่อฮามาสมาหลายปี (นับจากช่วงสงครามอ่าว ปี 1990) PA. แทบไม่มีงบประมาณเหลือเพื่อบริหารจัดการหรือสงเคราะห์ชาวปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อารอฟัต วิ่งเต้นอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนท่อน้ำเลี้ยงให้เปลี่ยนจากไหลไปฮามาส ให้ไหลกลับมาที่ PA. แต่ความพยายามยิ่งยากลำบากเมื่ออารอฟัต เดินหน้ามาไกลจนต้องตกลงร่วมลงนามในแผน Oslo ซึ่งตามแผนนั้นทำให้ PA. PLO และฟาตาห์ ต้องเปลี่ยนสถานภาพ เลิกการต่อต้านอิสราเอลทันที


    ในปี 1994 ฮามาสจัดการเดินขบวนประท้วงแผน Oslo ตำรวจ PA. เข้าสลายการชุมนุมและยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมประท้วง ความเป็นปรปักษ์กันระหว่างฮามาสกับ PLO. และฟาตาห์ยิ่งบานปลาย การเผชิญหน้าที่ถือว่าแสดงความเป็นศัตรูกันที่ชัดเจนที่สุด เมื่อเช็คอะฆหมัด ยาซีน, รอนฏีซี และมัรฺซุก ถูกจับกุมและต่อมาก็ได้รับการปล่อยคัว เช็คอะห์หมัด ยาซีน ได้รับการปล่อยตัวในปี 1997 ขณะที่คอลลิล มาชาล ถูกทางการอิสราเอลตามลอบสังหารในจอร์แดน ฝ่าย PA. พยายามจะหาทางลดความบาดหมางกับฮามาส เพราะไม่ต้องการให้ฮามาส รบกวนกระบวนการตามแผน Oslo โดยปล่อยให้ฮามาสดำเนินกิจการในฉนวนกาซ่าไปอย่างเป็นอิสระ ตราบใดที่ฮามาสไม่ลุกขึ้นมาคัดค้าน PA. PA. ก็จะไม่ตอบโต้ใดๆ ฮามาสก็ยุติการต่อต้านแผน Oslo โดยตรง ฮามาสไม่ระบุว่า PA. เป็นปฎิปักษ์ แต่ระบุว่าอิสราเอลคือเป้าหมายที่จะต้องโจมตี พูดง่ายๆว่าเลี่ยงที่จะเป็นศุตรูกับปาเลสไตน์ด้วยกันแต่หันไปโจมตีอิสราเอลเป้าหมายตัวจริง


    ฮามาสสร้างแนวทางการเมืองในเวทีนานาชาติด้วยยุทธศาสตร์ใหม่ โดยฮามาสเสนอ ตนเองว่าเป็น ทางเลือกใหม่ที่จะนำปาเลสไตน์ยกระดับไปสู่การทูตระดับชาติ เพื่อเดินเกมลดความสำคัญของ PLO. และ PA. ของอารอฟัด รวมทั้งเป็นการแสดงจุดยืนต่อต้านแผน Oslo โดยไม่ต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอารอฟัต..


    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (3) ฮามาส - PLO. สายเลือดเดียวกัน ทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวาน และ..ขมขื่น
    shaffi : เขียน ( 2 มีนาคม 2009)
    เพราะองค์กรหรือขบวนการต่อต้านอิสราเอลในปาเลสไตน์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะและปลดปล่อยปาเลสไตน์จากการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งเป็นภาระกิจที่ยากลำบาก องค์กรหรือชบวนการต่อต้านในปาเลสไตน์เหล่านี้ ส่วนมากใช้ยุทธศาสตร์ การจัดการองค์กรคล้ายๆกัน คือแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆหลายส่วน ฮามาสก็เช่นเดียวกัน ที่แบ่งออกเป็นส่วนงานการเมือง กับส่วนที่เป็นกองกำลัง แบบกึ่งอิสระ ในช่วงเวลาแห่งความแตกร้าว ของแผนสันติภาพ Oslo ระหว่างยัสเซอร์ อารอฟัต แห่ง PA. กับฮามาส อารอฟัต ใช้วิธีการทางการเมืองเจรจากับฝ่ายการเมืองของฮามาส ขณะที่ฝ่ายกองกำลังตำรวจ PA. ก็จับคู่ปะทะกับกองกำลัง อิซซุดดีน อัล-ก๊อตซาม ซึ่งเป็นกองกำลังใต้ปีกฝ่ายทหารของฮามาส เหตุผลสำคัญที่ฮามาสต่อต้านแผน Oslo ก็เพราะว่า แผน Oslo ทำให้สถานภาพของ PLO และฟาตาห์ มีสถานภาพเป็นกลางและถูกกฎหมายในฐานะตัวแทนปาเลสไตน์ แต่กลับทำให้ขบวนการหรือองค์กรอื่นๆรวมทั้งฮามาส ซึ่งมิได้อยู่ในกระบวนการเจรจามาตั้งแต่ตนมีสถานภาพกลายเป็นกลุ่มก่อการร้ายนอกกฎหมาย
    แม้กระนั้นก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์ลุกฮือครั้งที่ 2 หรือ อินฏิฟาเฎาะฮ์ ครั้งที่ 2 ฮามาสแสดงปฏิกริยาร่วมกับ PLO และฟาตาห์ โดยทั้งฝ่ายงานการเมืองและการทหาร เข้าร่วมกับกองทัพฟาตะห์แห่งอัล-อักศอ ก่อเหตุการณ์ระเบิดโจมตีอิสราเอลหลายครั้ง เหตุการการลุกฮือครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในวันที่ 28-29 กันยายน ปี 2000 การลุกฮือเกิดขึ้นจากกรณีที่นายเอเรียล ชารอน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการต่างประเทศ เดินทางไปเยือน The Temple Mount หรือที่รู้จักกันของโลกมุสลิมคือ มัสยิดอัล-อักศอ ในนครเยรูซาเล็ม กระแสความไม่พอใจของชาวมุสลิมกลายเป็นการรวมตัวกันประท้วง ผู้ประท้วงปาเลสไตน์ถูกตำรวจอิสราเอลเข้าล้อมปราบ ในเวลานั้นเป็นเวลาเดียวกับการประชุมสุดยอดในแค้มป์เดวิดระหว่างผู้นำ PLO ยัสเซอร์ อารอฟัต กับนายเอฮุด บารัค นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้การประชุมหารือล่มลงกลางคัน
    สถานภาพกลุ่มก่อการร้ายมาจากแผน Oslo ทำให้ฮามาสเริ่มถูกเพิกถอนการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน(อย่างเป็นทางการ) จากรัฐบาลในประเทศกลุ่มอ่าวที่นำโดยซาอุดิอาระเบีย อิหร่านสบช่องรีบเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ฮามาสแทนที่การถอนตัวไปของประเทศอาหรับ เพื่อให้เตหะรานได้รับการยอมรับในบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคมากขึ้น วิธีการที่เตหะรานให้การสนับสนุนฮามาสโดยผ่านทางท่อของฮิชบัลลอฮ์ ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ทางตอนใต้ของเลบานอน ในท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ PA. ของนายกฯอับบาสตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากความเป็นกลางของ PA. ตามแผน Oslo กำหนดให้ PA. มีหน้าที่ยับยั้งกลุ่มนอกกฎหมายที่หมายถึงฮามาสทำการปฏิบัติการทางการทหารโจมตีอิสราเอลให้ได้ ซึ่งโดนสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติ PA. ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการให้ได้ผลเลยแม้แต่น้อย
    อิสราเอลเองก็ตระหนักในความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี จึงไม่สนใจ PA. และเดินหน้าใช้ปฏิบัติการทางการทหารเต็มรูปแบบบดขยี้ฮามาสและพันธมิตรอย่างไม่ลดละ ส่วนหนึ่งอิสราเอลมองว่ากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ได้เปรียบ ประการแรก เพราะฝ่าย PLO. PA. ถูกเปลี่ยนสถานภาพไปอยู่ในแผน Oslo ไปเรียบร้อยแล้ว ประการที่สองฮามาสกลายเป็นกลุ่มนอกกฎหมายที่อิสราเอลอ้างว่าสามารถใช้กำลังทหารเข้าบดขยี้ได้โดยอ้างความชอบธรรม รัฐบาลอิสราเอลประกาศนำนโยบายสังประหารชีวิตผู้นำฮามาสด้วยวิธีการลอบสังหาร และเริ่มลงมือปฏิบัติการอย่างจริงจังและหนักหน่วง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ เมื่อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอิสราเอล ยิงจรวดลูกหนึ่งเข้าใส่รถยนตร์สังหารผู้นำอาวุโสของฮามาส เช็คอะห์หมัด ยาซีน จนถึงแก่ชีวิต ในตอนเช้ามืดของวันที่ 22 มีนาคม ปี 2004 หลังจากที่เช็คอะห์หมัด ยาซีนกลับจากการไปละหมาดที่มัสยิดในตอนเช้า เหตุการณ์นี้ทำให้ฮามาสยิ่งได้รับความเห็นใจจากชาวปาเลสไตน์มากขึ้น เนื่องจากเช็คอะห์หมัด ยาซีน มีภาพลักษณ์ของผู้ที่เคยให้การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่ามาเป็นเวลายาวนานเป็นทั้งที่รักและเคารพนับถือจากชาวปาเลสไตน์ทั่วไป ทั้งในขณะนั้นก็มีสภาพเป็นเพียงชายชราพิการที่ต้องอยู่ยนรถเข็นและไม่สามารถพูดได้ ดังนั้นการกระทำการลอบสังหารผู้นำตามนโยบายของอิสราเอล จึงเป็นวิธีการที่โหดร้ายและป่าเถื่อน ที่ไม่อาจยอมรับได้ คะแนนนิยมของฮามาสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งเป็นภาพสะท้อนความผิดพลาดของ PLO. ที่เข้าร่วมแผนการ Oslo ที่สถานการณ์ทั้งหลายกำลังบ่งชี้ว่ามันกำลังเดินไปสู่ทางตัน
    อับดุลอะซีซ รอนฎีซี ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ผู้นำคนใหม่ของฮามาส รอนฎีซีเริ่มแสวงหาหนทางเปิดการเจรจาเพื่อลกความบาดหมางกับ PLO และสภาปาเลสไตน์ การตกลงประนีประนอมกันถึงขนาดยอมให้ ฝ่ายฮามาสเข้ามามีส่วนร่วมในรัฐบาล PA. และฮามาสดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับ PLO. การตัดสินใจของผู้นำฮามาสเช่นนี้ น่าจะมาจากแรงกดดันอย่างน้อยสองประการ ประการแรกคือฮามาสถูกถอดถอนความช่วยเหลือทางการเงินจากประเทศในกลุ่มอาหรับ (เป็นที่รู้กันว่ามีเงินทุนที่ส่งผ่านมายังฮามาสในรูปเงินบริจาคเพื่อสังคมสงเคราะห์ อย่างไม่เป็นทางการ ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกลดลงด้วย) ประการที่สองฮามาสถูกระบุว่าเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย ทำให้โอกาสในการเดินเกมทางการทูตในเวทีนานาชาติหมดสิ้นไป
    ขณะที่อิสราเอล ไม่ต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างฮามาสกับ PLO. และยังเดินหน้าปราบปรามฮามาสหนักมือขึ้น หลังจากการตายของเช็คอะห์หมัด ยาซีน เพียงไม่ถึงเดือน ผู้นำฮามาสอับดุลอะซีซ ณอนฏีซี ก็ถูกกองกำลังทางอากาศอิสราเอล ลอบสังหารด้วยวิธีการเดียวกัน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2004 ฮามาสแต่งตั้งให้ มะห์มูด ซะฮัรฺ ขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการ แต่ไม่ได้มีการประกาสแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
    หลังจากแผน Oslo สิ้นสภาพจนมิอาจหวนคืน สอดคล้องกับก้าวจังหวะและนโยบายตะวันออกกลางโฉมใหม่ ของประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐจอร์จ ดับยา บุช คือแผนสันติภาพ Road Map ที่ก้าวผ่านช่วงปีแรกไปโดยไม่เกิดมรรคผลใดๆ ประธานาธิบดีบุช และเอเรียล ชารอน พร้อมใจกันปฏิเสธสถานภาพผู้นำของยัสเซอร์ อารอฟัต ในเดือนมีนาคม 2005 ปาเลสไตน์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่ง PA. คนใหม่ และมะห์มูด อับบาส ก็ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตกแหน่งประธานาธิบดี ควบกับประธาน PLO. อีกตำแหน่งหนึ่ง ส่วนยัสเซอร์ อารอฟัต ก็ถูกดันให้พ้นวงจรออกไปนอกวงเจรจา จากนั้นกลุ่มการเมืองต่างๆในปาเลสไตน์ได้จัดประชุมผู้นำขึ้นในนครไคโร ประเทศอียิปต์ ที่ประชุมตกลงใจที่จะใช้ยุทธศาสตร์ “หยุดนิ่ง” ตอบโต้อิสราเอล ฮามาส ยังคงมุ่งหน้าสานต่องานการเมืองที่รอนฏีซี อดีตผู้นำฮามาส พยายามที่สร้างแนวทางเพื่อสถาปนาความปรองดองกับ PLO. อีกครั้ง ด้วยการจับมือกับกลุ่มอิสลามลิก-ญิฮาด ให้กลับมาสานต่อความร่วมมือกับ PLO. อีกครั้งหนึ่ง
    ผลจากการหวนกลับมาสร้างความปรองดองกันครั้งนี้ ทำให้ฮามาสตัดสินใจทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดนั่นคือ การลงสู่สนามเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกนับแต่มีการตั้งรัฐปาเลสไตน์ ฮามาสยอม “งอ-ไม่ยอมหัก” คราวนี้ ... คนที่กระอักกระอ่วนใจกลายเป็น PLO.-ฟาตาห์ เพราะเสียคะแนนนิยมให้ฮามาสไปตั้งพะเรอ ไหนเลยจะพร้อมลงแข่งกับฮามาส ...
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (4)
    ฮามาสชนะเลือกตั้ง..ชัยชนะของชาวปาเลสไตน์ ดับฝันฟาตาห์
    shaffi : เขียน ( 3 มีนาคม 2009)
    หนทางของฮามาสเหลืออยู่ไม่มากนัก หากฮามาสต้องการรักษาบทบาททางการเมือง และใช้มันเพื่อแสวงหาเงินบริจาคจากบรรดาชาติอาหรับที่ร่ำรวย นั่นคือฮามาสต้องเปลี่ยนสถานภาพตัวเองจากองค์กรนอกกฎหมายมาเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ต้องม่ทำให้จุดยืนของฮามาสที่มีต่ออิสราเอลต้องเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจร่วมส่วนหนึ่งในองค์การบริหารรัฐปาเลสไตน์ หรือ PA. ในปี 2005 และเข้าร่วมการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใน ปี 2006 จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของฮามาส
    สำหรับ PA. และอับบาสแล้ว ต้องถือว่าการเดินร่วมกันกับฮามาสเป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย สำหรับ PA. ซึ่ง Road Map กำหนดบทให้เป็นผู้ควบคุมมิให้มีการโจมตีอิสราเอล การดึงฮามาสมาเป็นเพื่อนเป็นวิธีการที่ดีกว่าเป็นศัตรูกับฮามาส ส่วนฝ่ายฮามาสเอง การยอมร่วมในรัฐบาลของอับบาส เป็นการลดภาพที่แข็งกร้าว และอาจทำให้นานาชาติกลับมาให้การยอมรับฮามาส
    ก่อนเลือกตั้ง 2006 สภาประชาชนปาเลสไตน์ หรือ The Palestinian National Congress (PNC) ถูกครอบครองโดยพรรคฟาตาห์ ซึ่งมีที่นั่ง 68 จากทั้งหมด 88 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นการแข่งกันเองในพรรคฟาตาห์ ที่แบ่งออกเป็นก๊วนเป็นมุ้งต่างๆ แย่งชิงอำนาจกันเอง ที่ชัดเจนที่สุด คือ ก๊วนของมุฮัมมัด ดะห์ลัน กับมัรฺวาน บัรฺกูฏี ในสายตาพรรคฟาตาห์ มูฮัมมัด ดะห์ละ เป็นคนสำคัญที่จะขึ้นมาสู่ระดับสูงในอนาคต และมีอิทธิพลในฟาตาห์สูงขึ้นเรื่อยๆ นับั้งแต่ปี 1993 เมื่อดะห์ลันเข้ามามีส่วนในการบวนสันติภาพ Oslo
    ฮามาสเคยปฏิเสธการเข้าร่วมเลือกตั้งแรกที่จัดขึ้นในปี 1996 ฮามาสกล่าวหาว่า PA. เป็นองค์กรที่ผิดกฎหมาย (เนื่องจากไปร่วมเจรจากับอิสราเอล ในกระบวนการ Oslo) ซึ่งในเวลานั้นฮามาสถึงกับมีแถลงการณ์ประณามยัสเซอร์ อารอฟัตว่าเป็นคนทรยศและขายชาติ แม้แต่ในการเข้าร่วมการเลือกตั้งใน ปี 2006 ฮามาส ก็ยังคงยืนยันจุดยืนเดิม คือ ไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล เช่นเคย แต่ที่น่าสังเกตก็คือพันธมิตรใกล้ชิดอย่างขบวนการอิสลามิก-ญิฮาด ปฏิเสธการเลือกตั้ง และเชิญชวนให้ประชาชนปาเสไตน์คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้.. ฮามาสจึงกลายเป็นคู่แข่งหนึ่งเดียวทางการเมืองที่ท้าทายฟาตาห์มากที่สุด ... ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2006 ปรากฎผลดังนี้
    ฮามาส - 74 ที่นั่ง, ฟาตาห์ - 45 ที่นั่ง, กลุ่ม Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP) - 3 ที่นั่ง, กลุ่มแนวร่วม Democratic Front of the Liberation of Palestine + Palestinian’s People Party + Palestinian Democratic Union รวมกัน 2 ที่นั่ง, ผู้สมัครอิสระ 4 ที่นั่ง, และกลุ่มทางเลือกที่สาม 2 ที่นั่ง
    แกนนำพรรคฟาตาห์ และประธานาธิบดีอับบาส ค่อนข้างผิดหวังและไม่พอใจผลการเลือกตั้ง เพราะรู้ดีว่าชัยชนะของฮามาส อาจทำให้อนาคตของปาเลสไตน์ภายใต้แผน Road Map เปลี่ยนไป แต่ที่จะเปลี่ยนไปมากกว่าก็คือ ผมประโยชน์จำนวนมากที่เคยไหลผ่านมาทาง PA. PLO. และฟาตาห์ จะเปลี่ยนทาง ไหลไปสู่ฮามาส มุฮัมมัด ดะห์ลัน แกนนำคนสำคัญในฟาตาห์ สาย Pro American-Israel เคยประกาศในที่ประชุมพรรคฟาตาห์ว่า ฟาตาห์ไม่พร้อมสำหรับการเลือกตั้ง 2006 ดะห์ลัยเคยคาดการณ์ว่าถ้าฮามาสลงชิงชัยในศึกเลือกตั้ง 2006 มีความเป็นไปได้สูงที่ฮามาสจะชนะการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอับบาสเลื่อนกำหนดการเลือกตั้งออกไปจนกว่าฟาตาห์จะได้เปรียบ แต่อับบาสถูกสหรัฐกดดันและยืนยันว่าต้องจัดเลือกตั้งให้ทันภายในปี 2006 (บุชจะหมดอำนาจในปี 2008 เหลือเวลาอีกไม่มากสำหรับ Road Map ที่ยังคืบหน้าไปได้ไม่ถึงไหน ทำเนียบขาวเริ่มร้อนก้น) ผลการเลือกตั้ง ทำให้ทั้งสหรัฐ PA. ฟาตาห์ และอิสราเอล ต่างโยนความผิดกันไปมา เหตุที่ปล่อยให้ฮามาสชนะในการเลือกตั้ง ...แล้วเหตุใดฮามาสจึงชนะเลือกตั้ง 2006
    Nave Gordon อาจารย์ผู้สอนสาขาสิทธิมนุษยชน ที่มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน อิสราเอล เสนอรายงานวิจัยเหคุผลที่ฮามาสชนะเลือกตั้ง 2006 ดังนี้
    “...ชาวปาเลสไตน์ที่ลงคะแนนให้ฮามาส ไม่ใช่เพราะบทบาทความเป็นฮีโร่่ แต่ฮามาสชนะใจประชาชนเพราะฮามาสเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือว่า มือสะอาด ถ่อมเนื้อถ่อมตัว และซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ตรงข้ามกับนักการเมืองคู่แข่ง ในองค์การบริหารปาเลสไตน์ (PA.)..ชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก ไม่ได้สนับสนุนฮามาสด้วยเหตุผลที่ความเคร่งครัดในหลักการศาสนาของฮามาส แต่สนับสนุนเพราะเชื่อมั่นว่า คุณสมบัติเช่นนี้ของฮามาส จะนำมาพวกเขาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และฮามาสจะปฏิบัตหน้าที่ิได้ผลเป็นจริงมากกว่าในระยะเวลาสั้นๆ..” นอกจากเรื่องของภาพลักษณ์ที่สะอาดกว่าและน่าไว้วางใจมากกว่าพรรคคู่แข่ง ฮามาสยังมีที่มาที่แตกต่างจากกลุ่มการเมืองอื่นๆ Nave Gordon กล่าวว่า “สิ่งที่เป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ฮามาสชนะ อาจเป็นเพราะฮามาสมาจากองค์กรที่ดำเนินงานด้านสังคมสงเคราะห์มาตั้งแต่ต้น การทำงานเพื่อสังคม รับใช้ประชาชนปาเลสไตน์ ผู้ยากไร้ โดยไม่ได้หวังผลทางการเมือง..อาจทำให้ชาวปาเลสไตน์...สำนึกในความสำคัญของฮามาส..” ฮามาสนั้นเริ่มจากการให้สวัสดิการเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี แก่ชาวปาเลสไตน์ มาตั้งแต่ต้น ฮามาสนำเงินบริจาคจากกลุ่มประเทศอาหรับมาใช้เป็นทุนในการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานพยาบาล โรงพยาบาล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ฮามาสทำตัวเหมือนเป็นรัฐาธิปัตย์ ทั้งที่ไม่มีอำนาจและไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งยังไม่หวังผลทางการเมือง ซึ่งหน้าที่ที่ฮามาสรับภาระนี้ ควรที่รัฐบาลชั่วคราวปเลสไตน์ หรือ PA. จะต้องเป็นผู้ดำเนินการ แต่ PA.
    ฮามาสได้รับชัยชนะไม่เพียงเพราะชาวปาเลสไตน์อยากเปลี่ยนชะตากรรมของพวกเขาที่เคยอยู่ในมือ PA. PLO. มานานหลายสิบปี ไปสู่สิ่งใหม่ที่ให้ความหวังได้มากกว่า เชื่อถือได้มากกว่านั่นเอง อิสราเอลเอง ก็ต้องถูกนับว่าเป็นผู้มีส่วนสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อฮามาส ให้ชนะการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ..ยังไง..
    ตามตัวเลขของสหประชาประชาชาติ ที่รายงานสถานภาพความยากจนของชาวปาเลสไตน์ ว่าชาวปาเลสไตน์แต่ละคนดำรงชีพในแต่ละวันด้วยรายได้น้อยกว่า 2.2 เหรียญ ตัวเลขในปี 2005 บ่งชี้ว่าชาวปาเลสไตน์ยากจนเพิ่มขึ้น 64 % หรือคิดเป็นจำนวนชาวปาเลสไตน์ที่มีชีวิตอยู่อย่างอดอยากยากแค้น 1.2 ล้านคน แต่ตัวเลขจากองค์กรเอกชนในท้องถิ่นรายงานว่า ตัวเลขในรายงานของสหประชาชาติยังสูงเกินจริง เพราะที่จริงแล้วชาวปาเลสไตน์มีชีวิตอยู่ด้วยรายได้เพียงวันละไม่ถึง 1.6 เหรียญ(ไม่เกิน 50 บาท) สภาพการดำรงชีพเช่นนี้อยู่ไม่ได้หากได้รับความช่วยเหลือ และองค์กรการกุศลเช่นฮามาสนี่แหละที่เข้ามาเติมส่วนที่ขาดไปนี้ให้กับชาวปาเลสไตน์ นอกจากชาวปาเลสไตน์ที่มีสภาพยากจนเนื่องมาจากการเป็นผู้ลี้ภัยที่ขาดงานขาดที่ดินทำกินจะได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณกุศลแล้ว คนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยที่ได้รับความยากลำบากจะอิสราเอล ยิ่งอิสราเอลทำลายสาธารณูปการมากเท่าใด ความช่วยเหลือจากรัฐก็ยิ่งกลายเป็นสูญญากาศมากขึ้น และฮามาสก็คือส่วนที่มาเติมเต็มให้สูญญากาศเหล่านี้หมดสิ้นไป ฮามาสรู้ดีถึงข้อได้เปรียบเหล่านี้ ซึ่งต่อมาฮามาสได้บรรจุความต้องการเหล่านี้ลงในวาระสำคัญที่ฮามาสจะต้องดำเนินการเพื่อขจัดปัญหาให้ชาวปาเลสไตน์
    เมื่อ PA. ไม่สนใจจะดูแลทุกข์สุขให้ชาวปาเลสไตน์ แล้วผิดตรงไนที่ฮามาสจะทำในสิ่งที่รัฐไม่ได้ทำ แล้วมันผิดตรงไหนที่ชาวปาเลสไตน์จะรักฮามาสมากกว่าฟาตาห์
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำไมโลกไม่รัก..ฮามาส (5) ฮามาสแข็งกร้าว-หัวรุนแรง ดื้อรั้น-จริงๆ อย่างที่โลกได้ยินจริงหรือ ?
    Shaffi : เขียน (4 มีนาคม 2009)
    ฮามาสลงสู่สนามเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยความตั้งใจ ถึงกับลงมือเขียน นโยบายใหม่เฉพาะการเลือกตั้ง นำเสนอเนื้อหาด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้มีความโดดเด่นชัดเจน มากกว่านโยบายทางด้านศาสนา หรือเงื่อนไขทางการเมือง เพื่อหวังให้เป็นนโยบายที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนมากขึ้น รวมทั้งลดกระแสต่อต้านกลุ่มที่ปฏิเสธแนวคิดทางศาสนาของฮามาส ผลปรากฎว่าคะแนนนิยม ฮามาสเพิ่มขึ้นทันที
    ทันทีที่ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าฮามาสชนะ รักษาการนายกรัฐมนตรีอิสราเอลเอฮุด โอลเมิร์ต ได้ออกมาเรียกต้องให้นานาชาติแสดงปฏิกริยาตอบโต้ด้วยการ Boycott รัฐบาลใหม่ปาเลสไตน์ หากรัฐบาลฮามาส ไม่ดำเนินการ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 - ให้รัฐบาลฮามาสปลดอาวุธกลุ่มอิซซุดดีน อัล-ก๊อซซาม (ปีกกองกำลังสายทหารของฮามาส) รวมทั้งกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลุ่มอื่นๆ ประการการที่ 2 - ฮามาสต้องยกเลิกเพิกถอนกฎบัตรของฮามาสบางประการที่แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กับอิสราเอล และประการที่ 3 - ฮามาสต้องยอมรับข้อตกลงใดๆที่รัฐบาล PA. ทำไว้ อย่างไม่มีเงื่อนไข
    ฝ่ายโลกตะวันตกนำโดยสหรัฐ สหภาพยุโรป สหประชาชาติ และรัสเซีย พอหายตกตะลึงในชัยชนะของฮามาส ก็แยกเขี้ยวใส่ฮามาสด้วยเงื่อนไขที่ห้ามปฏิเสธว่า รัฐบาลปาเลสไตน์ที่นำโดยฮามาสต้องนำปาเลสไตน์ไปสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ Road Map ต่อไป และฮามาสจะต้องยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นการถาวร เหมือนอย่างที่ PLO. เคยยอมทำมาแล้วในทศวรรษที่ 1980 ฮามาสต้องยอมรับว่าดินแดปาเลสไตน์นั่น รัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ดำรงอยู่ด้วยกัน เป็นรัฐเคียงคู่กัน และแนวทางการยอมรับว่ามีสองรัฐบนแผ่นดินปาเลสไตน์นี้เท่านั้น คือหนทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งมวล หากทั้งหมดผิดไปจากนี้ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากปาเลสไตน์จะถูกตัดงบประมาณความช่วยเหลือจากนานาชาติ ประธานาธิบดีบุช แสดงจุดยืนของสหรัฐอย่างชัดเจนว่า “สหรัฐไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดที่ต้องการทำลายอิสราเอลซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐ ประชาชนต้องยุติการสนับสนุน” ความมุ่งมั่นเพื่อยืนยันความคิดนี้เอง ที่นำไปสู่แผนการโค่นล้มรัฐบาลฮามาส ตามที่ปรากฎในหนังสือ The Vanity Fair ซึ่งนำแผนการลับดังกล่าวมาเปิดเผย (ตามไปอ่านได้จากบทตวามเก่าๆใน blog นี้ผมเขียนไว้ มีรายละเอียดเรื่องนี้หมดแล้วครับ)
    แม้ว่าแผนการใต้ดิน ที่่มุ่งโค่นฮามาสของสหรัฐจะล้มเหลว แต่รัฐสภาสหรัฐก็เข็นกฎหมายออกมาเล่นงานฮามาสถึง 3 ฉบับ ภายในปีเดียวกัน รัฐบาลฮามาสกลายเป็นรัฐบาลผิดกฎหมาย ที่สหรัฐและนานาชาติตัดเงินช่วยเหลือ น่าสงสัยว่าทำไม ฮามาส ไม่ปฏิบัติตามส่งที่สหรัฐ และอิสราเอลต้องการ ... ? ฮามาสดื้อหรือ ..ฮามาสกระหายสงครามหรือ ?
    ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ฮามาส “หัวรุนแรง” หรือไม่ยอมรับ “วิธีการเจรจา” อย่างที่โลกชอบกล่าวหา.. แต่ปัญหาอยู่ที่ฮามาส ชนะเลือกตั้ง ทำไมสหรัฐและบริวารจึงไม่รับรองรัฐบาลฮามาส อดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ผู้สังเกตุการณ์พิเศษการเลือกตั้ง รายงานในหนังสือพิมพ์ Herald Tribune ว่า “...การเลือกตั้งเป็นไปอย่างที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ภายใต้บรรยากาสการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ปราจากความรุนแรง และผลการเลือกตั้งที่ปรากฎเป็นที่ยอมรับทั้งฝ่ายที่แพ้ และฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้ง..ในทัศนะของข้าพเจ้าที่เฝ้าติดตามสังเกตุการณ์การเลือกตั้งนานาชาติมาแล้ว ใน 62 ประเทศ การเลือกตั้งในปาเลสไตน์ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้มากที่สุดเท่าที่เห็นมา”แบบนี้ยังไม่เป็นที่พอใจของสหรัฐอีกหรือ ?


    ตั้งแต่เดือนมกราคม 2005 ฮามาสประกาศใช้การต่อสู้ทางการเมือง และตกลงทำข้อตกลงหยุดยิงฝ่ายเดียวเป็นเวลา 17 เดือน ฮามาสไม่ได้ใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธอีกเลยจนกระทั่งการเลือกตั้งปี 2006 นี่เท่ากับเป็นการประกาศถึงเจตนารมณ์ของฮามาสได้้เป็นอย่างดี นี่ยังไม่เป็นการตอบสนองข้อเรียกร้องของสหรัฐที่ดีพออีกหรือ ?


    และสำหรับกรณีที่สหรัฐเรียกร้องให้ฮามาส ยอมรับข้อตกลงทั้งหมดที่เคยทำมาในรัฐบาล PA. นั้น นายกรัฐมนตรีอิสมาอีล ฮานิยา แห่งฮามาสอธิบายว่าแม้ว่าในช่วงระหว่างทำข้อตกลง Oslo ปี 1993 นั้น รัฐปาเลสไตน์ก็เกิดขึ้นในระหว่างนั้นอิสราเอลเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรงและละเมิดข้อตกลงก่อนเสมอ อิสราเอลยังคงครอบครอบและผลักไสชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านของพวกเขาเอง แต่จากนี้ไป..(ในช่วงรัฐบาลฮามาส) รัฐบาลของข้าพเจ้า จะให้เกียรติต่อข้อตกลงทั้งหมดที่เคยมีและผูกพันเฉพาะข้อตกลงที่ดีสำหรับชาวปาเลสไตน์เท่านั้น..”


    “ตั้งแต่มีข้อตกลง Oslo อิสราเอลและเรา(ปาเลสไตน์) เจรจากันเฉพาะในเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ต่ออิสราเอล ปาเลสไตน์ต้องรับรองการมีอยู่ของอิสราเอล และปาเลสไตน์ต้องคอยดูแลให้อิสราเอลได้รับความมั่นคงปลอดภัย แต่อิสราเอลกลับแสดงท่าทีขัดใจเมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่ยอมเล่นเกมของอิสราเอลอีกต่อไป ..”


    นายกรัฐมนตรีอิสมาอีล ฮานิยา กำลังบอกรัฐบาลอิสราเอลว่า : จากนี้ไปอิสราเอลต้องเล่นบทคู่เจรจาให้แฟร์ๆอย่างที่ควรจะเป็น แล้วฮามาสก็จะตอบสนอง ด้วยการวางตัวในฐานะคู่เจรจาที่ดี ตามบทบาทที่ควรจะเป็น เช่นกัน อย่ามาเล่นละครตบตากัน แค่นี้..อิสราเอล ก็ทำไม่ได้ โวยวาย หาเรื่องฟาดงวงฟาดงา ตกลงฮามาสผิดหรือ คิดดูเอาเถอะ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...