อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ หรือปล่อยรู้ไปตามธรรมชาติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อ๋อ ก็เป็น สติสัมปชัญญะ ไง

    เป็น ความเห็นผิด ไง

    * * * * *

    แล้ว กรุณาเข้าใจด้วยนะครับ ที่มาโพสนี่ ไม่ใช่ว่า มาแย้งว่า คนอย่างคุณ
    หรือ สาวกชั้นหลัง สอนคนให้เข้าถึงนิพพานไม่ได้

    ไม่ได้มาแย้งว่า พวกคุณๆ สอนนิพพานไม่ได้

    ที่มาเย้วๆ หรือ กระทั่ง ขอให้โสดาบันอย่างจินนี่ ผู้บริสุทธิจากกิเลสเป็น
    กำลังนั้น ให้แสดงความอาจหาญที่จะพิจารณาว่า

    คำสอนของสาวกชั้นหลัง(ที่สอนให้ถึงนิพพานได้) กับ คำสอนของพระตถาคต

    อย่างไหนควรให้ความนิยม นำมาพร่ำสอน โดยไม่ต้องแก้ไข แต่งเติม

    คำสอนของท่านไหนที่ยกแล้ว ไม่เกิดปัญหา

    โสดาบันจินนี่ผู้ยริสุทธิย่อมชี้ชวนได้ ย่อมอาจหาญได้ ย่อมแสดงทัศนะได้

    ว่า คำสอนของพระตถาคต กับ คำสอนของสาวกชั้นหลัง เราๆต่อไปนี้

    ควรนิยมคำสอนของท่านไหน ควรสนับสนุนคำสอนไหน ควรยกอันไหน
    มาบ่อยๆ อันไหนไม่ควรยกมาแสดงเลย
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เห็นไหมล่ะ ที่ผมไม่คุยกับคุณก็เพราะ ไม่ต้องการให้คุณพูดผิด ก็ยิ่งพูดมันก็ยิ่งผิด

    อย่ามาแข่งดีเลย ไม่เกี่ยวกับใครสอนธรรมได้มาก ก็คนเห็นผิด มันจะมาสอนธรรมได้อย่างไร มันก็เอาความเห็นผิดมาสอนก็เท่านั้น

    สัตว์ทั้งหลายทั่วสากลโลก ก็เอานิพพานเป็นเกณฑ์ เอาสัมมาทิฐิเป็นเครื่องวัดทั้งนั้น มีคุณเอกวีร์นี่ เอาความเห็นข้า เป็นตัววัด เอาความเห็นผิดข้า เป็นเกณฑ์

    คุณธรรมระหว่างอันธพาลปุถุชน กับพระโสดาบัน มันห่างกันมากนะครับ แม้พระศาสดาจะกล่าวว่า เป็นผู้มีปัญญาน้อย สมาธิน้อย ก็ตาม เพราะท่านหักสงสารวัฎได้แล้ว ต่างจากปุถุชนที่หาเบื้องปลายไม่เจอ

    คุณควรทำตัวให้เข้ามาอยู่ในศาสนา ควรเคารพนอบน้อม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ควรเอาพระรัตนไตยเป็นที่พึ่งครับ มิใช่ทำตัวอยู่ที่เป็น ที่ทำอยู่เค้าเรียกพวกนอกศาสนาครับ เหมือนที่คุณชอบกล่าว สมาธิเด็ก ๆ นอกศาสนานั่นแหล่ะ

    เช้า ๆ ตื่นมาคุกเข่าลง ใส่บาตรพระสงฆ์ ให้มันมีความบริสุทธิ์ใจก่อน แล้วเอาโอกาสนั้นขอขมาพระรัตนไตยที่เคยล่วงเกินเสีย

    เอาเท่านี้ก่อน ทำให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาคุย ส่วนเรื่องพระอริยะ พระโสดาบัน ก็อย่าไปเ่อ่ยเลย วิสัยของพระอริยะ ไม่ใช่จะมาคาดการเดาได้ถึง เป็นผมผมไม่เดาวิสัยพวกท่านเหล่านั้นหรอก ผมสำเหนียกอยู่ว่าตัวว่าตนยังมีกิเลสอยู่ ทำอย่างที่บอก กราบพระสงฆ์ให้สนิทใจให้ได้เสียก่อน
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อ้าว นี่ประเภทสุดโต่ง

    กฎหมาย เขาบัญญัติไว้ ไม่ต้องแก้ แต่เวลาพูด ใครเขาเอากฎหมายมาพูด มาอธิบายกัน

    อย่าว่าแต่ คำสอนพระศาสดาเลย

    ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร ก็มีคำสอนของท่าน

    พระพุทธโฆษาจารย์ ก็มีคำสอนของท่าน

    การอธิบาย มันคนละเรื่องกันกับการเลือก ข้างนี่
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อย่าพูดเลยคุณเอกวีร์ ยิ่งพูด มันก็ยิ่งผิด

    คนอ่านตำรามา ก็ย่อมเห็น พระโสดาบันยังมีกิเลสอยู่ การที่คุณกล่าวมา โสดาบันผู้บริสุทธิ์ มันไม่มี

    อย่าไปสร้างกรรม ไม่ดีเลย มันจะเสียเวลา ทำร้ายตัวเอง
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อะไรของท่านโสดาบันจินนี่หละครับเนี่ยะ

    ก็คุณยกตลอดเลยว่า ผมนั้นมีกิเลสหนาปัญญาทราม ต่างจากคุณจินนี่ผู้มี
    โสดาบันเป็นการันตี ผ่านนิพพานแล้วเป็นข้อชี้วัด จะเสวนากันกี่ที ผมก็
    เห็นแต่โสดาบันจนนี่ พร่ำยกคุณสมบัติตัวเองกำกับทุกครั้ง เหมือนว่า เตือน
    ผมว่า อย่าตัดตำแหน่งของโสดาบันจินนี่ออกไปนะ ให้เรียกด้วยสำนึกใน
    คุณธรรมอันเลิศนั้นเสมอ

    ผมก็เลย เรียก โสดาบันจินนี่ เสมอ ไงครับ เรียกแล้ว ทำไมยังต้อง
    มาชี้อีกหละครับว่า คุณมีสมบัติเป็นโสดาบันนะ ก็เรียกชื่อกำกับสรรพคุณ
    ให้แล้วไงครับ

    ทีนี้ บอกว่าควรเอาโสดาบันจินนี่เป็นที่พึ่ง ก็นี่ไงครับ ขอให้เป็นที่พึ่งให้
    ผมหน่อย โดยการ

    อาจหาญ เป็นแถวหน้า ที่จะ ชูคำสอนของศาสดาว่าไม่มีข้อบกพร่อง ไม่
    ควรแต่งเติม ควรยกคำสอนของศาสดาเป็นหลัก และไม่ต้องแต่งเติมาทรอด
    แทรกอะไรเลย คำสอนของศาสดาย่อมใช้สอนได้แน่นอน ย่อมไม่ทำให้คน
    เข้าใจผิดแน่นอน นี่ผมแทบจะกราบอยู่แล้วนะครับว่า ช่วยเป็นสรณะที่พึ่ง
    เดินหัวขบวนให้หน่อย


    นี่เห็นไหม ว่า คนที่ยกกระทู้ว่า อานาปานสติของพระพุทธองค์มีข้อบกพร่อง
    ให้ดีควรชี้ชัดว่า ต้องกำหนด ต้องหาที่ตั้ง ต้องบริกรรมใส่ ต้องวางจุด
    ต้องอย่างนั้น ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่มีหรอกที่จะทำได้อย่างนี้ จะต้องทำตามที่
    เขายกให้ฟังอย่างนั้นๆ

    แล้วมียกอีกว่า พระสารีบุตรก็แสดงธรรม

    แต่ผมก็อยากจะยกเหมือนกันว่า พระพุทธองค์ก็พูดเหมือนกันว่า สาวก
    ย่อมใช้คำของตน ไม่นิยมใช้คำของพระพุทธองค์ ตอนที่พระพุทธองค์
    อยู่พระสาวกต่างๆยกคำสอนของตนแทนคำสอนของศาสดา แล้วศาสดา
    ก็ทรงดำเนินมาสั่งว่าอย่าใช้คำนั้นอย่างนั้น ให้ใช้คำสอนของศาสดาเท่านั้น

    สาวกชั้นต้นนั้น ท่านไม่ดื้อ ท่านยอมปรับคำไปใช้คำของศาสดาทันที

    แต่แน่นอนหละว่า สาวกชั้นหลังนี่ คงไม่มีวินัยอย่างนั้น ย่อมสำคัญตนว่า
    คำตนนั้นเลิศกว่า สอนได้ดีกว่า อันนี้ก็เป็นเรื่องปรกติ คนจะนิยมคำสอน
    ของสาวกชั้นหลังด้วยเพราะกรรมของเผ่าพันธ์อันนี้ก็เรื่องปรกติ

    แต่..........ผมก็อยากให้ โสดาบันจินนี่เป็นที่พึ่ง เป็นแถวหน้า ในการ
    กลับไปยกคำสอนของตถาคตเป็นหลัก และควรชี้ว่า ถ้อยคำใดคือการ
    แต่งเติม เสริมแต่ง ที่ไม่ใช่คำของ ตถาคต บ้าง

    ก็แค่ทำให้ประจักษ์ ไม่ใช่เรื่อง การเสียดสี ประจาน ด่าทอ ว่าร้าย
    อะไรเลย เพราะมันเป็นเรื่องปรกติ แต่ดีกว่าจะไม่สำเนียกสำนึกในพุทธวัจนะ
    ที่ตรัสชี้เอาไว้ว่า

    "พระศาสนาของพระพุทธองค์จะอายุสั้นลง เพราะสาวกนิยมใช้คำของตนเอง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เข้ารกเข้าพง ไปไกลมาก
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มาดูกันว่า ผมอุตสาห์หา พระสูตรอานาปานสติ ที่เเป็น บาลี มาให้ โสดาบันจินนี่
    ผู้เป็นที่พึ่ง ได้ช่วยชี้อะไรคือสิ่งที่ควรยก อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรยก

    หรือกล่าวว่า อะไรคือ ส่วนแต่งเติม อะไรคือส่วนนำออก

    จากบาลี นอกจากจะไม่มีคำว่า กำหนดแล้ว ก็ไม่มีคำว่า สำเหนียก ด้วย

    แล้วคำว่า กำหนด ก็ดี สำเหนียก ก็ดี มันมาจากคำไหน หากดู บาลี ก็
    จะพบว่า มาจากคำว่า "สิกฺขติ"

    สิกขติ แปลตามพื้นๆ ก็มาจากคำว่า "สิกขา" หากดูบทอรรถกถาที่แปลแบ
    ตรงนัยยะ ก็ใช้วลีว่า "เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา"

    ตรงคำว่า "เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา" หรือ ทำ สิกขาบท นั้น ก็จะมี
    อีกสำนวนแปลไปอีกว่า "ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไป
    ปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์"

    ซึ่งบทวลียาวๆ ตรงนี้ เมื่อมาจับเอาคำไทยสั้นๆเข้าจะได้คำศัพท์ว่า "สำเหนียก"

    เมื่อได้คำว่า "สำเหนียก" ซึ่งเพี้ยนไปจาก บาลีหลายลำดับแล้ว ก็เกิดการ
    แปลอีกว่า "สำเหนียก" แปลว่าอะไร ก็จะไปเจอพจนานุกรม ระบุการใช้
    คำแปลสำเหนียก เป็น สามนัยนะ สามความนิยม ที่เห็นใช้อยู่กันปัจจุบัน

    นักภาษาที่พร่อง ก็จะหยิบเอา วรรค ที่ไม่ถูกมาใช้เป็นคำแปล แทนที่จะได้
    คำแปลกลับไปยังคำว่า "สิกฺขติ" ก็จะหยิบผิดวรรค แล้วบังเอิญว่า มีวรรค
    หนึ่งใช้คำว่า "กำหนด"

    เมื่อนั้น คำว่า กำหนด ก็ปรากฏในพระสูตรอานาปานสติ เป็นลำดับหลังๆ
    ของการแปลทางภาษาศาสตร์ที่ปริวัติเพี้ยนไปตามลำดับ

    คนไม่รู้ ไม่สืบสาวไปหาคำของ พระตถาคต ก็หยิบ "สำเหนียก" บ้าง "กำหนด"
    บ้าง เอามาใช้คิดว่าเป็นคำของพระศาสดา โดยไม่รู้ว่า แท้ที่จริง "ท่องจำมาผิด"

    สุดท้ายเลยปรักปรำพระสูตรว่า สอนไม่ถูกอย่างงั้นอย่างงี้ ต้องกำหนดอย่างงั้น
    อย่างงี้

    โดยที่มันก็ไม่ได้ดูหลอกว่า บทที่ใช้ว่า กำหนด หรือ สำเหนียก มันใช้ไปถึง
    ตัวบทไหนในพระสูตรอานาปานสติ

    แต่ที่แน่ๆ คือ "สิกฺขติ" ใช้ดำเนินไปถึงขั้น "สลัดกิเลส" กันเลยทีเดียว ก็ถ้า
    ใครก็ตาม ชี้ว่า ต้องกำหนด ต้องปรุง ต้องเจตนา ต้องทำก่อน

    ก็จะทำให้ พระสูตรอานาปานสตินั้น กลายเป็น "ต้องกำหนดสลัดกิเลสด้วย"

    มันก็เลย คิดว่า ต้องคิดเอา ต้องคิดๆตัดกิเลสด้วย ต้องสำเหนียกสลัดคืน
    กิเลสด้วย ต้องกำหนดสลัดคืนกิเลสด้วย ไปกันใหญ่ กลายเป็นการทำดี
    แบบเด็กๆ ไปเลย ทั้งที่ อานาปานสติที่ดำเนินไปถึงขั้น "จิตสลัดคืนกิเลส ก็
    มีสติรู้ลมหายใจเข้า จิตสลัดคืนกิเลส สติก็มีสติรู้ลมหายใจออก" กลายเป็น
    เรื่อง รู้ลมอย่างเดียว ลมปราณีต เพี้ยนจาก อานาปานสติ กลายเป็น กสิณ
    ไปเสียแต่จุดไหนไม่อาจทราบได้ ทั้งๆที่ อานาปานสตินั้นจิตดำเนินถึงขั้นสลัด
    คืนกิเลสก็ยังมีสติ รู้เนื้อ รู้ตัวบริบูรณ์ ที่ภูมิปรกติมนุหษย์นี่แหละ


    นี่ดีนะ ไอ้คนแปลคำว่า สำเหนียก ยังมีปฏิภาณพอไม่หยิบความหมาย "จดจำ"
    มาใช้ เพราะถ้าหยิบมาใช้ งง กันอีก เอ้าทำไมแปลจาก กำหนด เป็น จดจำแม่น
    ได้ด้วย

    ก็เพราะไปใช้คำว่า สำเหนียก ไง

    ใช้คำว่า สิกฺขติ หรือ สิกขา ใกล้เคียงดังเดิม ก็ไม่มีปัญหามานั่งคว่ำสำนักกันหรอก
    ทั้งที่ เวลาสืบคำไปนะ โอ้ยมาจากคำว่า สำเหนียก เลยทะเลาะกันเพราะ ต่างนิยม
    แปลคำว่า สำเหนียก ไปตามแต่ที่ตนพอใจจะใช้


    ก็ไม่รู้ว่า คำว่า สิกฺขติ หรืก สิกขา อะไรนี่ มันแปลยากตรงไหน
    มันพูดให้ติดปากเหมือนภาษาอังกฤษ ภาษาอีสาน ภาษาเหนือ
    ภาษาพ่อภาษาแม่ ไม่ได้ตรงไหน ภาษาบาลีมันต่ำชั้นตรงไหนหรือ

    คำง่ายๆ ยังต้องไปแปลให้มันยุ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การกำหนดสลัดกิเลส แน่นอน ต้องมีเจตนา วางลง ด้วยอาการรู้แล้ว ศึกษาแล้วว่า

    ตัวที่เราค้างอยู่นี้ เป็นตัวไม่รู้ หายใจเข้า ก็วางลงเสีย หายใจออกวางลงเสีย

    เพราะ ด้วยการกำหนดรู้ หรือ สำเหนียกนี้แหละ

    ว่า อาการแบบนี้ เป็นอาการยึด

    ไม่สำเหนียก จะไปรู้ได้หรือว่า อาการแบบใด ค้างอยู่ ติดอยู่ข้องอยู่
     
  9. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    การ กำหนด เป็นการตั้ง ขอบเขต ของลมหายใจ (เรียกอีกอย่างว่า บังคับ ) เพราะร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำงานเป็น อัตโนมัติ แต่ก้อมีลมนี้ละที่พอจะกำหนดได้หรือ บังคับได้ แต่หลักของอานาปา คือ ตามรู้ ว่าขันธ์ 5 นี่กำลัง รู้สึกนึกคิดอย่างไรร้อนหนาวอย่างไร สุข ทุกข์ในอาริยาบททั้ง 4
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666

    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญ
    อานาปานสติอยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ภิกษุที่เจริญ
    อานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

    ภิกษุที่เจริญ
    สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

    ภิกษุที่เจริญ
    โพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ


    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงสมาก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดีนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว, หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น, หรือเมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก, ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก, ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ


    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว, หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น, หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้า นี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย(เพราะ)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ (ย่อม)กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ (เพราะทำเหตุ กล่าวคือมีสติ รู้สึกตัวไม่ซัดส่ายไปปรุงแต่งนั่นเอง อภิชฌาและโทมนัสจึงระงับไปด้วยปฎิจจสมุปบันธรรมจึงมิได้หมายถึงต้องกระทำอะไรๆเพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัส)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้
    จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า, สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เ
    จริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    http://www.nkgen.com/37.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  11. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    การ กำหนด เป็นการตั้ง ขอบเขต ของลมหายใจ (เรียกอีกอย่างว่า บังคับ ) เพราะร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำงานเป็น อัตโนมัติ แต่ก้อมีลมนี้ละที่พอจะกำหนดได้หรือ บังคับได้ แต่หลักของอานาปา คือ ตามรู้ ว่าขันธ์ 5 นี่กำลัง รู้สึกนึกคิดอย่างไรร้อนหนาวอย่างไร สุข ทุกข์ในอาริยาบททั้ง 4
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    บอกตรงๆ นี่ยังไม่ ละเอียดในมหาสติปัฎฐาน ดีพอหรอก

    เรื่อง ความละเอียดมีอยู่ ความปล่อยตัวละเอียดมีอยู่

    ที่ดูธรรมดา มันหยาบทั้งนั้น

    ถึงบอกว่า อานาปานสติ เป็นของประณีต

    แต่จะเห็นละเอียดได้ ให้ฝึกตามที่ จขกท กล่าวไว้นั่นแหละ
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แล้วมันสอดคล้องกับ "สำเหนียก" ในโพสแรกของคุณไหม

    กลายเป็นว่า การสลัดกิเลส คุณต้องสร้าง ต้องปั้น ต้องแต่งขึ้น [ กูวางกิเลสและ ]

    จนกระทั่ง จิตมันเลิกปั้นการสลัดวางกิเลส เลิกแต่งการสลัดวางกิเลส จน
    มันสงบตัวลง แล้ววางเรื่องปั้นแต่งการสลัดวางกิเลสไปเอง แล้วเรียกว่า
    เกิด อุเบกขา หรือไง
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ทำแบบนั้นแหละครับ

    อานาปานสตินั้น เป็นหลัก พหุลีกตา เป็น กายคตา ต้องทำมากๆ ทำซ้ำๆ

    ไอ้ที่ เอ่ยปากเห็นลิ้นไก่แล้ว ยกว่าต้องกำหนด ต้องทำ ต้องปั้น ต้องแต่ง
    นี่พวกไม่เข้าใจหลัก พหุลีกตา

    กลายเป็นพวก ลีลานกตา ก็จะเอาเดี๋ยวนี้ ทำเป็น แยกเป็น เห็นเป็นกัน
    แค่ไม่กี่อึดใจ อันเป็นลักษณะของตัณหาจริต

    คนที่มั่นใจ และ รู้อยู่ว่า ต้องเป็น งานพหุลีกตา จะไม่มีทางเห็นพระสูตร
    นี้มีข้อต้องบ่งชี้ว่าต้องทำอย่างงั้นอย่างงี้เลย ทำมากๆเท่านั้นมันจะค่อยๆทำให้
    เราแยกแยะ ว่าอะไรควรยกเป็นข้อศึกษาได้
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนไม่เข้าใจ สับสน ก็เป็นแบบคุณนั่นแหละ

    สรุปความให้คน เข้าใจยากฟังอีกครั้ง

    เข้าไปดู รู้ แล้ัว วาง เพราะเห็นว่า ไม่มีอะไร

    แต่ ด้วยความไม่ฉลาดของ คุณนิวรณ์เอง คุณจึง ไม่รู้จักการวาง

    คนคิด กับ คนทำ มันก็ไม่เหมือนกัน เพราะคนคิด ไม่เคยรู้เคยเห็น

    จึงตั้งคำถามเสียตะพรึดตะพรือ
     
  16. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    การ กำหนด เป็นการตั้ง ขอบเขต ของลมหายใจ (เรียกอีกอย่างว่า บังคับ ) เพราะร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำงานเป็น อัตโนมัติ แต่ก้อมีลมนี้ละที่พอจะกำหนดได้หรือ บังคับได้ แต่หลักของอานาปา คือ ตามรู้ ว่าขันธ์ 5 นี่กำลัง รู้สึกนึกคิดอย่างไรร้อนหนาวอย่างไร สุข ทุกข์ในอาริยาบททั้ง 4
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตลกนะ ทำไม่เป็นเที่ยวไปสอนคนอื่น

    เอาแค่ สติ ที่ระลึกในเรื่องง่ายๆ หลักการง่ายๆ ยังหยิบจับ เรื่อยเปื่อย

    จะมาสอนอานาปานสติ
     
  18. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    ผมไม่แน่ใจว่า ขันธ์ เคยเห็นจิตตัวเองมั้ย จิต กับ ผู้รู้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะ อานาปา หรือ สติ 4 เป็นต้นน้ำของ มรรค 8
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่ต้องไปไกลถึงจิตผู้รู้ เอาเหตุผลใกล้ๆ ก่อนว่า เวลา คุณจะทำสมาธิ ดูลมหายใจ

    คำถามคือ คุณดูลมหายใจที่เป็นธรรมชาติ แล้วคุณได้อะไร

    คุณสานต่อจากตรงนี้ให้ได้ก่อน แล้วค่อยเอาเหตุผลตรงนั้นมาแย้ง
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนเราเวลาจะแย้ง ไม่แย้งในเรื่องที่พูดอยู่ แต่ไปหยิบเรื่องราวอื่นๆ แสดงภูมิรู้ของตนเองเกี่ยวกับ จิตผู้รู้บ้าง เกี่ยวกับ มรรคบ้าง

    แสดงว่า สติไม่มี ไม่กำหนดเรื่องที่ชัดเจน นั่นหนะ ตามทันไหม

    กระโดดไปทำไมถึงจิตผู้รู้หละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...