องค์เครื่องบรรลุโสดา (โสตาปัตติยังคะ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 15 มิถุนายน 2015.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พระอรหันต์เนี่ยะ ท่านภาวนาแทบตาย เพื่อให้ประกาศได้เต็มปากว่า " ท่านหมดเจตนา "


    คนเมาในโลก มัวแต่ไป ปรุงเจตนา ...... โง่ บานลาย จิตมันเป็นอนัตตาติดอวิชชา
    มันจะ เจตนาไปไหน ก็ ออกมาจากอวิชชา ความโง่บานลาย ทั้งหมด


    ศาล ก็แค่ คนที่เอา กฏหมาย ที่ฝ่าย นิติบัญญัติ เขาประกาศใช้ ไปว่าความ เป็นอาชีพ
    [ หากฝ่ายนิติบัญญัติเป็น ไรซ์ที่ 4 ศาลก็ลูกกระจ๊อก ของ ไรท์ที่4 เป็นต้น ]

    ศาล ไม่ได้มีหน้าที่ไปทำอะไร ผิดต่อกฏหมาย หาก กฏหมายสั่งให้ลงโทษ คือ ฆ่า
    ศาลก็ต้องตัดสินคดีนั้น ให้ได้รับผลคือ การฆ่า !!

    แล้ว ศาล จะเอาอะไร เอาอิสระจากไหน ไป ละเว้นการฆ่า มันทำไม่ได้

    การเอา ธรรม ไปรองรับการกระทำของ ศาล ว่า ตัดสินฆ่าคนแล้วเป็นธรรม ทรงพรหมวิหาร
    มีอุเบกขา ฆ่าได้ตามกฏหมาย นั่น มันเอา ธรรมะไปกล่าวให้เป็นอธรรม เอาถาดทองไป
    รองหมาเยี่ยว

    ตัดสินคีดยุติธรรมให้ตายยังไง ก็ไม่ได้ นิพพาน มีแต่ นรก เรียกพี่

    เว้นแต่ ......จะฟังแล้ว ฉลาดทันใด ดำริออกจากภพ ปลงผมออกบวช หมดเจตนาหาร
    ไม่มี จิตแส่ส่ายไปเกิดเหมือนดั่งข้าวผลออกรวงในนา หมดเจตนา นั่นอีกเรื่องหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ที่มี ศีลบริบูรณ์ จนเกิดอำนาจ ได้ครอบครอง จักรแก้ว

    พระเจ้าจักรพรรดิ ยังไม่ดำริจะฆ่า หรือ ลงโทษ ใครแม้แต่คนเดียว หากเกิดโจร
    นั่นก็เพราะ แผ่นดินมันขาดอาหาร มันขาดเงินทุน หากจับโจรได้แล้ว ก็ต้อง
    เอาเงิน เอาที่นา เอาอาชีพให้เขาประกอบ ไม่ใช่ไปขังคุก หรือ ฆ่า

    แล้ว พอพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดปัญญาบริบูรณ์ จะทราบว่า ที่คน นั้นขาดอาหาร
    ขาดเงินทุน ก็เพราะว่า ขาดบุญกุศลอันใหญ่ที่จะได้ทำก็ผู้ทรงฌาณ

    พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่ เกิดปัญญาเต็มที่ จึง ปลงผมออกบวช เพื่อ ให้ตัวเองสำเร็จฌาณ
    แล้ว คนในโลก คนในปกครอง จะได้ อนุโมทนาบุญนั้น เพื่อ ปัจจัยในการ มีทรัพย์
    ใช้ไม่จบไม่สิ้น ไม่ต้องไปเป็นโจร !!!

    มันไปเกียวอะไรกับ ศาล ที่ตัดสินคดีไปตาม ตัวหนังสือ เขากำหนดให้ฆ่า ก็ตัดสินฆ่า

    พรหมวิหาร บ้านเตี่ย คุณเหรอ เป็นแบบนั้น


    ทำเป็น พระสารีบุตรไปสอนศีล5 ให้แก่ ชาวประมง ....ทำไปได้ !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พระพุทธองค์ ตอนเสวยพระชาติเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ์ อายุ 20000 ปี

    รักษาศีล บำเพ็ญพรต ตบะ จน จิตมีอำนาจมาก สามารถขึ้นไปชั้นสวรรคิ์
    ไปนั่งบลัลลังของ ท้าวจตุมาราชิกา ยังไม่พอ ยังอยากได้สมบัติอีก ก็ขึ้น
    ไปขอแบ่งสมบัติ กึ่งหนึ่งของท้าวดุสิตอีก

    ศีลเยี่ยมมาก ฌาณก็แจ่ม แต่.................

    แต่ กิเลสมันไม่ได้ ล้างไปสักแอะ ใครดำริว่า ศีลบริสุทธิ แล้ว มันจะล้างกิเลสได้ นั่น โง่บาทโซบ

    พระพุทธองค์ทรงเตือนเลย ว่า อย่าเห็นผิดว่า ศีลมันจะชำระจิต กิเลสเต็มกบาลหละไม่ว่า

    ในพระชาตินั้น พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็เลยเกิดดำริ จะปลงชีวิต ท้าวดุสิต ซะ เพื่อยึดทรัพย์ทั้งหมด

    ไหนหละ ศีล ไหนหละ พรต ยำเพ็บไปเรื่อยๆ ชำระกิเลสเอง


    กิเลศ มันให้ผล มันรอ กัดกบาล โง่ๆ เต็มเหนี่ยวหละ ไม่ว่า !!!


    ปล. ถ้าจำไม่ผิด พระพุทธองค์ก็เล่าต่อว่า เพราะเศษกรรม แค่ดำริจะฆ่าท้าวดุสิต เพื่อยึดทรัพย์
    ทำให้ ไปเกิดเป็น คนเข็ญใจกินของเน่าที่เขาทิ้ง แบบ ชนิด พระเทวทัตซึ่งเกิดเป็นคนรวย
    กินอาหารที่พระโพธิสัตว์แบ่งให้ยามตกระกำลำบากด้วยกัน เล่นเอา พระเทวทัตในชาตินั้น กระอัก
    เลือดตายแค่ลิ้นสัมผัสรสอาหาร ( แต่ พระโพธิสัตว์ กินยังชีพ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
     
  5. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    อรรถกถา มันธาตุราชชาดก
    ว่าด้วย กามมีความสุขน้อยมีทุกข์มาก
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาวตา จนฺทิมสุริยา ดังนี้
    ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นสตรีผู้หนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม จึงเกิดความกระสันรัญจวนใจ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำภิกษุรูปนั้นมายังธรรมสภา แล้วแสดงแก่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กระสันอยากจะสึก พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เธอกระสันอยากจะสึกจริงหรือภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า
    จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ครองเรือนจักอาจทำตัณหาให้เต็มได้ เมื่อไร เพราะขึ้นชื่อว่ากามตัณหานี้ เต็มได้ยาก ประดุจมหาสมุทร ด้วยว่าโปราณกบัณฑิตทั้งหลายครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้ครองราชย์ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีมนุษย์เป็นบริวารเท่านั้น ทั้งครองเทวราชสมบัติในสถานที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไม่สามารถเลยที่จะทำกามตัณหาของตนให้เต็ม ก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป
    ก็เธอเล่า เมื่อไร อาจทำกามตัณหานั้นให้เต็มได้
    แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
    ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป ได้มีพระราชาพระนามว่าพระเจ้ามหาสมมตราช โอรสของพระองค์พระนามว่าโรชะ. โอรสของพระเจ้าโรชะ พระนามว่า วรโรชะ. โอรสของพระเจ้าวรโรชะ พระนามว่า กัลยาณะ. โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ พระนามว่าวรกัลยาณะ. โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ พระนามว่า อุโปสถ. โอรสของพระเจ้าอุโปสถ พระนามว่า วรอุโปสถ. โอรสของพระเจ้าวรอุโปสถ ได้มีพระนามว่า มันธาตุ
    พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้าย ปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่า ดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ พระเจ้ามันธาตุได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้. ก็พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงเล่นเป็นเด็กอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองความเป็นอุปราชอยู่แปดหมื่นสี่พันปี ทรงครองราชย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแปดหมื่นสี่พันปี. ก็พระองค์ทรงมีพระชนมายุหนึ่งอสงไขย.
    วันหนึ่ง พระเจ้ามันธาตุนั้นไม่สามารถทำกามตัณหาให้เต็มได้ จึงทรงแสดงอาการระอาพระทัย. อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงระอาเพราะเหตุอะไร? พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า เมื่อเรามองเห็นกำลังบุญของเราอยู่ ราชสมบัตินี้จักทำอะไรได้ สถานที่ไหนหนอจึงจะน่ารื่นรมย์ อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เทวโลกน่ารื่นรมย์ พระเจ้าข้า.
    ท้าวเธอจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริษัท.
    ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับ นำพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก. เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้น กาลเวลาล่วงไปช้านาน พระองค์ไม่สามารถทำตัณหาให้เต็มในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นได้ จึงทรงแสดงอาการเบื่อระอา.
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงเบื่อระอาเพราะอะไรหนอ. พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า จากเทวโลกนี้ ที่ไหนน่ารื่นรมย์กว่า. ท้าวมหาราชทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกข้าพระองค์เป็นบริษัทผู้คอยอุปัฏฐากผู้อื่น ขึ้นชื่อว่าเทวโลกชั้นดาวดึงส์น่ารื่นรมย์
    พระเจ้ามันธาตุจึงพุ่งจักรรัตนะออกไป ห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ บ่ายหน้าไปยังภพดาวดึงส์.
    ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพ ทรงทำการต้อนรับรับพระเจ้ามันธาตุนั้น ทรงจับพระองค์ที่พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาทางนี้
    ในเวลาที่พระราชาอันหมู่เทพห้อมล้อมเสด็จไป ปริณายกขุนพลพาจักรแก้วลงมายังถิ่นมนุษย์ พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฉพาะยังนครของตนๆ.
    ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วน ทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุ.
    ตั้งแต่นั้นมา พระราชา ๒ พระองค์ ทรงครองราชสมบัติ (ในภพดาวดึงส์นั้น). เมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ ท้าวสักกะทรงให้พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ. ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน. แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลก แล้วก็จุติไป โดยสิ้นพระชนมายุ. โดยอุบายนี้ ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์จุติไปแล้ว. ส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง.
    เมื่อเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ กามตัณหาก็ยังเกิดขึ้นแก่พระองค์โดยเหลือประมาณยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงดำริว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในเทวโลกกึ่งหนึ่ง เราจักฆ่าท้าวสักกะเสีย ครองราชสมบัติในเทวโลกคนเดียวเถิด ท้าวเธอไม่อาจฆ่าท้าวสักกะได้.
    ก็ตัณหาคือความอยากนี้เป็นมูลรากของความวิบัติ ด้วยเหตุนั้น อายุสังขารของท้าวเธอจึงเสื่อมไป ความชราก็เบียดเบียนพระองค์ ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลก.
    ลำดับนั้น พระเจ้ามันธาตุนั้นจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยาน พนักงานผู้รักษาพระราชอุทยาน จึงกราบทูลความที่พระเจ้ามันธาตุนั้นเสด็จมาให้ราชตระกูลทราบ ราชตระกูลเสด็จมา พากันปูลาดที่บรรทมในพระราชอุทยานนั่นเอง พระราชาทรงบรรทมโดยอนุฏฐานไสยาศน์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกล่าวว่าอย่างไร เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ พระเจ้าข้า.
    พระเจ้ามันธาตุตรัสว่า ท่านทั้งหลายพึงบอกข่าวสาสน์นี้แก่มหาชนว่า พระเจ้ามันธาตุมหาราชครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาตลอดกาลนาน แล้วได้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตามปริมาณพระชนมายุของท้าวสักกะถึง ๓๖ องค์ ยังทำตัณหา คือความอยากให้เต็มไม่ได้เลย ได้สวรรคตไปแล้ว.
    ครั้นพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็สวรรคตเสด็จไปตามยถากรรม.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

    พระจันทร์ พระอาทิตย์ (ย่อมเวียนรอบเขาสิเนรุราช) ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศโดยที่มีกำหนดเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดเท่านั้น ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุราชทั้งสิ้น

    ความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฝนคือกหาปณะ กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตย่อมรู้ชัดอย่างนี้.

    ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ เป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่งตัณหา.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นคำกล่าวถึงกำหนดเขต. บทว่า ปริหรนฺติ ความว่า ย่อมหมุนเวียนเขาพระสิเนรุ โดยกำหนดมีประมาณเท่าใด. บทว่า ทิสา ภนฺติ ความว่า ย่อมส่องสว่างในทิศทั้งสิบ. บทว่า วิโรจนา ความว่า ชื่อว่า มีสภาพสว่างไสว เพราะกระทำความสว่าง. บทว่า สพฺเพว ทาสา มนฺธาตุ เย ปาณา ปฐวิสฺสิตา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลาย คือหมู่มนุษย์ชาวชนบทเหล่าใด ผู้อาศัยแผ่นดินอยู่ในประเทศมีประมาณเท่านี้ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดเมื่อเข้าไปเฝ้าด้วยคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามันธาตุเป็นปู่ของพวกเรา แม้เป็นไท ก็ชื่อว่าเป็นทาสเหมือนกัน.
    ในบทว่า น กหาปณวสฺเสน นี้ พระเจ้ามันธาตุทรงปรบพระหัตถ์ทำให้ฝนคือรัตนะ ๗ อันใดตกลงมา เพื่อทรงสงเคราะห์พวกหมู่มนุษย์ผู้เป็นทาสเหล่านั้น ฝนคือรัตนะ ๗ นั้น ท่านเรียกว่า ฝนคือกหาปณะในพระคาถานี้.
    บทว่า ติตฺติ กาเมสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย เพราะฝนคือกหาปณะแม้นั้นย่อมไม่มี ตัณหานั้นทำให้เต็มได้ยากอย่างนี้. บทว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลาย เปรียบเหมือนความฝัน มีความยินดีน้อย คือมีความสุขน้อย ก็ในกามนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นมากมาย ทุกข์นั้นพึงแสดงโดยกระบวนแห่งทุกขักขันธสูตร.
    บทว่า อิติ วิญฺญาย ได้แก่ กำหนดรู้อย่างนี้. บทว่า ทิพฺเพสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น อันเป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า รตึ โส ความว่า ภิกษุผู้เห็นแจ้งนั้น แม้ถูกเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็ย่อมไม่ถึงความยินดีในกามเหล่านั้น เหมือนท่านพระสมิทธิ.
    บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ได้แก่ ผู้ยินดีแล้วในพระนิพพาน. จริงอยู่ ตัณหามาถึงพระนิพพานย่อมหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตัณหักขยะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหานั้น. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะเพราะตรัสรู้สัจจะโดยชอบด้วยพระองค์เอง ชื่อว่าสาวกเพราะเกิดในที่สุดแห่งการสดับฟัง คือเป็นโยคาวจรบุคคลผู้ได้สดับตรับฟังมาก.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คนเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น.
    พระเจ้ามันธาตุมหาราชในกาลนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
     
  6. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    มหากัปปินเถราปทานที่ ๓
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัปปีนเถระ
    [๑๒๓] พระพิชิตมารผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง พระนามว่าปทุมุตระ ปรากฏใน
    อัษฎากาศ เหมือนพระอาทิตย์ปรากฏในอากาศในสรทกาล ฉะนั้น
    พระองค์ยังดอกบัว คือเวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระรัศมีคือพระดำรัส
    สมเด็จพระโลกนายก ทรงยังเปือกตม คือกิเลสให้แห้งไปด้วย
    พระรัศมี คือพระปรีชา ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์เสียด้วย
    พระญาณปานดังเพชร เหมือนพระอาทิตย์กำจัดความมืด ฉะนั้น
    สมเด็จพระทิพากรเจ้าทรงส่องแสงสว่างจ้าทั้งกลางคืน และกลางวัน
    ในที่ทุกหนทุกแห่ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ เหมือนสาครเป็นบ่อเกิด
    แห่งรัตนะ ทรงยังเมฆ คือ ธรรม ให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์ เหมือน
    เมฆยังฝนให้ตก ฉะนั้น ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระนคร
    หงสวดี ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าปทุมุตระ
    ซึ่งกำลังประกาศคุณของพระสาวกผู้มีสติ ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย
    อยู่ ทรงยังใจของเราให้ยินดี เราได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส นิมนต์
    พระตถาคตพร้อมด้วยศิษย์ ให้เสวยและฉันแล้ว ปรารถนาฐานันดร
    นั้น ครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีส่วนเสมอด้วยหงส์ มี
    พระสุรเสียงเหมือนหงส์และมโหรทึก ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์
    ผู้นี้ ผู้แกล้วกล้าในการตัดสินหมอบอยู่แทบเท้าของเรา มีประกาย
    ดุจลอยขึ้นและมีใจสูงด้วยปิติ มีวรรณะเหมือนแสงแห่งแก้วมุกดา
    งดงาม นัยน์ตาและหน้าผ่องใส มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มี
    ยศใหญ่ มหาอำมาตย์นี้เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุ ผู้ให้โอวาทแก่
    ภิกษุ เพราะพลอยยินดีด้วย ด้วยการบริจาคบิณฑบาตนี้ และด้วย
    การตั้งเจตน์จำนงไว้ เขาจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป จัก
    เสวยความเป็นผู้มีโชคดีในหมู่ทวยเทพ และจักเสวยความเป็น
    ใหญ่ในหมู่มนุษย์ จักบรรลุถึงนิพพานด้วยผลกรรมส่วนที่เหลือ
    ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ทรงสมภพ
    ในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มหาอำมาตย์นี้
    จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดา พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอัน
    ธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่ากัปปินะ ต่อ
    แต่นั้น
     
  7. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ฬนสมัยพุทธกาล เจ้าสรกาณิ ก็เป็นผู้ ทุรพล ด้วยน้ำจัณฑ์ ก็ยังเป้นโสดาบัน ได้ เพราะ พระองค์ เป็นผู้ศัทธาอย่างมั่นคง ในพระพุทธเจ้าเพียงส่วนเดียว และศีลข้ออื่นก็บริบูรณ์ ยกเว้นข้อห้า แต่ ก่อนตาย ได้อาราธนาศีลสิกขา ครบบริบูรณ์
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ถ้ายังงั้นเอาให้ชัดอีกหน่อย ทีนี้ล่ะอร่อยเหาะแน่ :d


    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--> [FONT=&quot]เสริมความหมายจริยะ คห. [/FONT][FONT=&quot]# 38 คำว่าจริยะ (จริยธรรม) ในที่นี้ มีความหมายแนวพุทธธรรม มิใช่มีความหมายอย่างที่ได้ยินในสภา [/FONT]

    [FONT=&quot] "จริย" (เขียนอย่างไทยเป็น จริยะ)

    จริยะในแง่ที่สำคัญคือในฐานะที่เป็นองค์หนึ่งใน ระบบ ๓ ของธรรม คือ สภาวะ- จริยะ-บัญญัติ (สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม) ในแง่นั้นพูดไปแล้ว

    แต่ยังมีอีกแง่หนึ่ง ซึ่งสำคัญไม่น้อยกว่านั้น คือแง่เฉพาะตัวของจริยะ ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในตัวของมันเอง จึงจะพูดเรื่องระบบของจริยะนี้ ต่อไป

    จริยะ คือ อะไร ? จริยะมาจาก “จร” (อ่านอย่างภาษาบาลีว่า “จะระ” อ่านอย่างไทยว่า “จอน”)

    จร ก็คือ เดิน เดินทาง หรือเที่ยวไป เช่น สัญจร คือเดินกันผ่านไปมา จราจร คือเดินไปเดินมา หรือเที่ยวไปเที่ยวมา พเนจร คือเดินป่าหรือเที่ยวไปในป่า (ในภาษาไทย กลายเป็นเที่ยวเรื่อยเปื่อยไปอย่างไร้จุดหมาย)

    ทีนี้ “จร” หรือเดินทางนั้น เมื่อเอามาใช้ทางนามธรรม กลายเป็นเดินทางชีวิต อย่างที่นิยมพูดว่า “ดำเนินชีวิต

    คนแต่ละคนก็ดำเนินชีวิตของตนไป แล้วการดำเนินชีวิตของคนเหล่านั้น ก็ไปรวมกันเป็นสังคม เมื่อมองดูผิวเผินแค่ภายนอก ก็กลายเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิต และระบบของการเป็นอยู่ ประพฤติปฏิบัติของหมู่มนุษย์ ที่เรียกว่า สังคม

    แต่มองแค่นั้น ก็ผิวเผินเกินไป ไม่เพียงพอ ต้องดูให้ลึกลงไปอีก การดำเนินชีวิตของคนเรานี้ อยู่แค่ที่แสดงออกมาเห็นๆกันเท่านั้นหรือ ไม่ใช่แน่

    การดำเนินชีวิตของคนหนึ่งๆ ที่เรามองเห็น และที่คนอื่นเกี่ยวข้องด้วย คือการแสดงออกทางกาย และวาจา ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรามักเรียกว่า ความประพฤติ อันเป็นด้านนอกแห่งการดำเนินชีวิตของเขา เรามักมองคนแค่นี้ (และที่เรียก "จริยธรรม" ก็มักจับเอาความหมายแค่นี้)

    ถ้าเรามองคนแค่นี้ เราจะไม่เห็นตัวจริงของคนนั้นเลย ความประพฤติ หรือการแสดงออกภายนอกทางกาย และวาจา ไม่ใช่ชีวิตทั้งหมดที่เขาดำเนินอยู่ ก็อย่างที่ว่าแล้ว มันเป็นเพียงด้านภายนอกของการดำเนินชีวิตของเขาเท่านั้น


    ลึกลงไป เบื้องหลังการพูด และทำอะไรต่างๆ ที่เราประพฤติหรือแสดงออกมาข้างนอกนั้น มีตัวชี้นำที่กำหนดหรือสั่งการออกมาข้างในจิตใจ ตัวชี้นำกำหนดหรือสั่งการนี้ เราเรียกว่าเจตนา

    ทางพระบอกว่า ถ้าไม่มีเจตนานี้ การแสดงออกของคน ก็ไม่มีความหมายอะไร จะมีค่าเพียงแค่เหมือนกิ่งไม้ผุหักหล่นลงมา หรือต้นไม้ต้องลมสั่นไหวแล้วใบไม้ร่วง เท่านั้นเอง ดังนั้น เจตนาจึงสำคัญอย่างยิ่ง

    เจตนา จะตัดสินใจสั่งการอยางไร ก็มีแรงจูงใจที่ร้ายหรือดีคอยกระซิบบอก อย่างง่ายๆ ก็คือสั่งการไปตามที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

    แต่บางทีการตัดสินใจที่จะสั่งการนี้ ก็เป็นไปอย่างซับซ้อน เจตนาจึงมีกองบัญชาการทำงานให้มัน โดยมีตัวทำงานอยู่ในจิตใจมากมาย รวมแล้วก็คือ มีฝ่ายดี กับ ฝ่ายร้าย

    ในฝ่ายร้าย มีตัวเด่นาคือ โลภะ โทสะ โมหะ ส่วนในฝ่ายดีก็มี มาก เช่น ศรัทธา เมตตา หิริ โอตตัปปะ ซึ่งเรานิยมเรียกกว้างๆ ว่า คุณธรรม

    ตัวทำงานเหล่านี้ส่งข้อเสนอแนะในการสั่งการให้แก่เจตนานั้น ถ้าตัวใดมีกำลังมาก ก็จะมีอิทธิพลครอบงำการสั่งการของเจตนาเลยทีเดียว

    ในกองบัญชาการของจิตใจนี้ ยังมีฝ่ายกำลังสนับสนุน เช่น ความขยัน ความเพียร ความอดทน ความกล้าหาญ ความเข้มแข็งมั่นคง คอบรับสนองงาน ที่จะขับเคลื่อนให้งานสำเร็จตามต้องการ เป็นสมมรรถภาพของจิตใจ

    แล้วก็มีฝ่ายแสดงผล - วัดผล คอยตามกำกับอยู่ตลอดเวลา ว่าอันไหน ทางไหน รับได้หรือไม่ได้ เช่น ความขุ่นมัว ความเครียด ความเศร้า ความหดหู่ ความหงอยเหงา ความว้าเหว่ หรือความสดชื่น ความร่าเริง ความเบิกบาน ความผ่องใส ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ ความสุข เป็นต้น รวมแล้วก็เป็นฝ่ายสุข ที่ตามหา กับ ฝ่ายทุกข์ ที่จะให้ดับหาย


    อย่างไรก็ตาม การ ตัดสินใจสั่งการ และการทำงานของกองบัญชาการในจิตใจทั้ง หมดนั้น ต้องพึ่งพาข้อมูลความรู้ อาศัยความเข้าใจ และการมองเห็น เหตุผล เท่าที่จะมีปัญญารู้ไปถึง


    ปัญญารู้เข้าใจมองเห็นแค่ไหน เจตนาก็สั่งการให้กายวาจามีพฤติกรรมคืบเคลื่อนไปได้ภายในขอบเขตแค่นั้น ถ้าปัญญารู้เข้าใจมองเห็นกว้างไกลออกไป ลึกลงไป มองเห็นช่องทางและโอกาสมากขึ้น เจตนาก็สั่งการให้กายวาจาปรับขยายรูปแบบของพฤติกรรมออกไปช่วยให้ทำการได้ซับ ซ้อนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งได้ผล มีทางสำเร็จมากขึ้น

    ถ้าขาดความรู้ อับไร้ปัญญาเสียแล้ว พฤติกรรมก็ติดตัน ขัดข้อง จิตใจก็อึดอัด อับจน เครียด เป็นทุกข์ ดังนั้น ปัญญาทีรู้เข้าใจนี้ จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการบอกทิศ ชี้ช่อง นำทาง ขยายโอกาส ตลอดจนปลดปล่อยให้อิสรภาพ แก่พฤติกรรม และแก่จิตใจที่มีเจตนาเป็นหัวหน้างานนั้น

    ที่ว่ามานี้ ก็คือระบบการดำเนินชีวิตของคน ที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเป็นไปอยู่ตามที่เป็นอยู่จริง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า สรุปแล้วมี ๓ แดน ทำงานประสานก้าวไปด้วยกัน ต้องครบทั้ง ๓ แดน จะขาดแดนหนึ่งแดนใดมิได้

    สรุปว่า “จริยะ” คือการดำเนินชีวิตของคน เป็นระบบอันหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบ ๓ แดน (จะเรียกว่าด้าน หรือส่วน ก็ได้) คือ

    ๑. แดนพฤติกรรม (กาย-วาจา) ที่แสดงออก ติดต่อสัมพันธ์ และกระทำต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม *

    ๒. แดนจิตใจ ที่เป็นเหมือนเจ้าของพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่เป็นผู้ต้องการ บงการหรือสั่งการ ขับเคลื่อน ตลอดจนเสวยผลของพฤติกรรมทั้งหมดนั้น โดยมีตัวประกอบที่ร่วมในการทำงานแต่ง สรรมากมาย ภายใต้การนำของเจตนา ที่เป็นทั้งหัวหน้า และเป็นตัวแทน ที่ทำงานเชื่อมต่อสั่งการออกมาให้มีผลเป็นพฤติกรรมออกไป ทั้งนี้ ตัวประกอบที่ทำงานนั้น แยกได้เป็น ๓ แดน คือ

    - ตัวแต่งสรรฝ่ายดี กับฝ่ายร้าย ที่พึงคัดเอาไว้แต่ฝ่ายดี ซึ่งมักเรียกกันแบบรวมๆง่ายๆว่า “คุณธรรม” หรือ “คุณภาพจิต” [/FONT]
    [FONT=&quot]
    - ตัวทำงานที่ทำให้ก้าวไปอย่างแน่วแน่เข้มแข็งมั่นคง เรียกพอรู้กันว่า “สมรรถภาพจิต

    [/FONT]
    [FONT=&quot]- ตัวแสดงผล ซึ่งเหมือนกับวัดผลไปในตัว เพราะ จะมีอิทธิพลในการที่จะเลือกพฤติกรรมว่าจะ ทำจะเอาหรือไม่ คือฝ่ายสุข กับ ฝ่ายทุกข์ โดยจะมุ่งไปหาไปพบฝ่ายสุข ที่เรียกพอรู้กันว่า “สุขภาพจิต

    ๓. แดนปัญญาที่เอื้ออำนวยข้อมูล ชี้ช่อง ส่องทาง บอกทิศขยายขอบเขตและโอกาส ปรับแก้ ตลอดจนปล่อยให้เกิดอิสรภาพ แก่พฤติกรรมและจิตใจ

    นี่คือ “จริยะ” หรือระบบการดำเนินชีวิตของคน ซึ่งประกอบด้วยทั้งกาย-วาจา ทั้งใจ ทั้งปัญญา ถ้าไม่ครบ ๓ อย่างนี้ ชีวิตจะดำเนินไปไม่ได้ แต่ ที่จริงก็คือ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ แต่เรานี่แหละ ถ้ามองและปฏิบัติจัดการกับมันไม่ครบส่วน ไม่ครบด้าน เราก็ทำการที่มุ่งหมายไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหาแก่ตัวเอง

    อนึ่ง จริยะ คือระบบการดำเนินชีวิตของคน ที่พูดไปแล้วนี้ ว่าไปตามธรรมชาติของมัน ตอนนี้ ยังไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี หรือควรและไม่ควรอย่างไร

    ทีนี้มาถึงตอนที่ว่า เราต้องการมีจริยะ คือระบบการดำเนินชีวิตที่ดี ในเมื่อ จริยะ คือระบบการดำเนินชีวิต เป็นคำกลางๆ จะให้ดี หรือไม่ดี ก็เติมคุณศัพท์เข้าไปข้างหน้า

    ถ้าเป็นจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ดี ก็เป็นปุญญจริยะ หรือธรรมจริยะ หรือเศรษฐจริยะ ถ้าเป็นจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี ก็เป็นปาปจริยะ หรืออธรรมจริยะ

    ในที่นี้ เรามุ่งเอาจริยะคือการดำเนินชีวิตที่ดี ก็เป็นปุญญจริยะ หรือธรรมจริยะ หรือเศรษฐจริยะ ซึ่งในพระพุทธศาสนามีคำเฉพาะ เรียกไว้ว่า "พรหมจริยะ" ว่า แปลว่า จริยะอันประเสริฐ หรือจริยะที่แท้ ก็คือจริยะหรือการดำเนินชีวิต ซึ่งชีวิตทั้ง ๓ ด้านที่พูดไปแล้วนั้น ดี และประสานกันอย่างถูกต้อง

    การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงสั่งสอนธรรมตลอดเวลา ๔๕ ปี ที่เรียกว่าประกาศพระศาสนานั้น ก็คือทรงประกาศพรหมจริยะนี่แหละ (ประกาศพระศาสนา เป็นคำพูดของเรา แต่พระพุทธเจ้าเองตรัสว่า พระองค์ ประกาศพรหมจริยะ)

    จริยธรรม ในความหมายที่เป็นศัพท์บัญญัติใหม่ ซึ่งถือตามความหมายของคำฝรั่ง คือ ethic (ที่สังคมไทยนำมาใช้ในปัจจุบัน)

    ส่วน จริยธรรม ในความหมายของพุทธธรรม ได้แก่ จริยะ คือธรรม การดำเนินชีวิตถูกต้องดีงาม ซึ่งมีองค์ประกอบประสานสัมพันธ์กันทั้ง ๓ ด้าน (ทั้งกาย วาจา จิตใจ และปัญญา) ที่มีชื่อเดิมว่า “พรหมจริยะ” นี้

    เมื่อได้ทำความเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะเห็นชัดว่า สาระทั้งหมดในชีวิตของมนุษย์ ขยายไปถึงสังคม ที่จะเป็นอยู่กันอย่างถูกต้องดีงามเป็นสุข ก็คือ “จริยธรรม” ในความหมายที่เป็นพรหมจริยะนี่แหละ

    พร้อมกันนั้น การจัดการกับชีวิตทั้ง ๓ ด้านดังว่านั่น โดย ฝึกหัดพัฒนาปรับแก้ให้คนดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้นไปๆ จนมีชีวิตที่ดี งาม เป็นประโยชน์มีความสุขอย่างสมบูรณ์ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “การศึกษา” (คำพระเรียกการศึกษานี้ ในฐานะมีองค์ประกอบ ๓ ด้านว่า ไตรสิกขา)

    ถ้าเราถือหลักตามความหมายของพระพุทธศาสนา ก็จะเห็นว่า สาระหรือแกนของอารยธรรมมนุษย์ ก็มีเพียงการดำเนินชีวิตและสังคมให้ดีด้วยจริยธรรม (พรหมจริยะ) และ พัฒนาคนให้ดำเนินชีวิตและสังคมให้ดีจนมีพรหมจริยะอย่างนั้นด้วยการศึกษา (=ไตรสิกขา) [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ………[/FONT]

    [FONT=&quot]อ้างอิงที่[/FONT][FONT=&quot] *

    * นี้พูดอย่างง่าย แต่ถ้าจะให้ครบจริง ด้านที่ ๑ ที่สัมพันธ์กับโลกภายนอก คือสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ ต้องแยกย่อยเป็น ๒ ด้าน คือ ติดต่อสัมพันธ์โดยการรับรู้ ด้วยผัสสทวาร ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ไปรวมที่ใจ) และติดต่อสัมพันธ์โดยการแสดงออก ด้วยกรรมทวาร คือ กาย และวาจา (ออกมาจากเจตนาในใจ)[/FONT]

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไว้จะตั้งกระทู้เป็นอภินันทนาการแด่ลุงแมวซักกระทู้นะขอรับ :d จะคัดสรรเอาที่เหมาะกับทัศนะของลุงแมว เกี่ยวกับ บุญกิริยาวัตถุ 3 คอยติดตามมุงนะขอรับ:z8
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    **************************************


    สังเกตนะ ครับน้องๆ หนูๆ พระพุทธองค์ ทราบชัดว่า อัญเดียรถีย จะหยิบจับ
    คำว่า ประกาศพรหมจรรย์ ไปใช้

    และแน่นอนว่า ย่อมเอาไปใช้ในความหมายที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ

    พระพุทธองค์จึง กำกับเลยว่า การประกาศ หรือ ประพฤติพรหมจรรย์ ที่เป็น สัมมาทิฏฐิ
    ที่เท่าไหร่ ต้องกำหนดรู้ ลงมือปฏิบัติอย่างไร

    แล้วถ้าจะถามถึง ผล การวัดผล ก็ .................


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ฆารวาสธรรม คืออะไร

    ฆารวาสธรรม ไม่ใช่ การเอา ที่สุดของพรหมจรรย์ (อีกชื่อหนึ่งของ นิพพาน ) ไปประยุกต์
    ให้กลายเป็น หลักปรัชญาการใช้ชีวิต กินดี อยู่ดี ไม่ใช่หลักปรัชญาการปกครอง อยู่ร่วม
    กัน เอากัน ออกลูกกัน อย่างสันติ

    ฆารวาสธรรม หากจะเอา ที่สุดพรหมจรรย์ไปแสดง นั่นหมายถึง ให้เขากำหนดรู้ทุกข์
    มุ่งนิพพาน สถาณเดียว เพียงแต่ รูปแบบการภาวนา จะทำภายใต้กรอบของ ชีวิตาอย่าง
    ฆารวาส


    ฆารวาสธรรม ที่เอา นิพพาน ไปใช้ให้กลายเป็นเรื่อง มีลูก มีหลาน กิน ขี้ ปี้ นอน อย่าง
    กินดี อยู่ดี นั่น มันเรื่อง เอา นิพพานไปรองรับ ความจานลาย !!

    เอา ถาดทองไปรองหมาเยี่ยว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ธรรม ที่ มีการเอาไป ประยุกต์ หากตามไปอ่าน

    จะเห็นเรื่องทำนองว่า

    ลิ้นที่ชิมรสดี เป็นสุข ส่วนอันไหนเป็นทุกข์ ไม่อร่อย ไม่น่าพอใจ เป็น เรกูล
    ก็ให้เลือกกินซะ กินให้เป็น แล้วไป ประกาศว่า นั่นคือ เจตนาในการกินที่
    ดี เป็นคุณธรรม เป็นที่สุดของ พรหมจรรย์ ประกอบด้วยปัญญา เลือกกิน กินเป็น

    โอยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย


    คนละเรื่อง

    ลิ้น กระทบรส ที่เป็นสุขเวทนา ก็ให้กำหนดรู้ว่า เป็นทุกข์ ต่างหากเล่า
    ลิ้น กระทบรส ที่เป็นทุกขเวทนา ก็ให้กำหนดรู้ว่า เป็นทุกข์ ต่างหากเล่า
    ลิ้น กระทบรส ที่เป็นอทุกขมสุขเวทนา ก็ให้กำหนดรู้ว่า เป็นทุกข์ ต่างหากเล่า

    ดังนั้น

    พุทธนั้น ไม่ใช่อยู่ เพื่อเลือกแด_ แต่เฉพาะ ที่ดีๆ แล้วไปบอกว่า เป็นเจตนาฝ่ายดี เป็นคุณธรรม สำหรับตน

    หาก กำหนดรู้ทุกข์ จากลิ้นถูกต้อง จะ กินเฉพาะพอประทัง เพื่อการอบรมการรู้ทุกข์ เพื่อการสิ้นไปของภพ ชาติ เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    กินดี อยู่ดี พิจารณา แดน 3 เลือกแด_ เลือกเสพ อุปโลคเป็นอินทรีย์สังวรณ์ แต่เฉพาะ ที่ พอใจ
    ชอบใจ ของดีๆ เป็น คุณธรรม ประกอบด้วยปัญญา สู่รู้ กระทืบซ้ำ ว่าเป็น ที่สุดพรหมจรรย์
    (นิพพาน)

    โน้นนนนนนนนนนนนนน ไปนอนเป็น โรคกระเพาะ อยู่ใน ป่าโน้นนนนนนนนนนน !!!


    ฆารวาส โง่ๆ ไม่พิจารณาให้ดีๆ ระวังไว้เถอะ !!! มะอึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  14. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๒๑.๑๑

    เฮ้อ...หมามาเยี่ยวรดถาดทอง อนาถจิตจัง
    เบื่อเอกวีร์ สันดานหยาบคายนี่แก้ยากจังวุ้ย

    นี่เอ็งเอาฆราวาสธรรมประเทศไหนมาโม้วะเนี่ย หา
    ก่อนจะด่าไอ้ดัมมีไชโย ก็เอาฆราวาสธรรมไปถามอากู๋
    แล้วตามไปดู ในวิกิพีเดีย ก็ได้ของล้ำค่า มาฝากเพื่อนๆ ความว่า


    ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน
    และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ

    ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ

    สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
    ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
    ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
    จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ

    ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า
    มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศ และความเคารพจากผู้อื่น ให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่
    มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่
    มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่
    มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่


    การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า
    ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว
    หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น
    เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ
    คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ
    และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน


    อานิสงส์ของการสร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

    อานิสงส์ของการมีสัจจะ - ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนหนักแน่นมั่นคง
    - มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน - ได้รับการเคารพยกย่อง
    - มีคนเชื่อถือ และยำเกรง - ครอบครัวมีความมั่นคง - ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง

    อานิสงส์ของการมีทมะ - ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว
    - ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน - ไม่มีเวรกับใคร
    - ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้ - สามารถตั้งตัวได้ - มีปัญญาเป็นเลิศ

    อานิสงส์ของการมีขันติ - ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ - ทำงานได้ผลดี
    - สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้ - สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้
    - ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น - ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้ - ทำให้ได้ทรัพย์มา

    อานิสงส์ของการมีจาคะ - ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว
    - เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง - เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป - ครอบครัวและสังคมเป็นสุข - มีกัลยาณมิตรรอบตัว

    สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ
    เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง
    เมื่อมีทมะย่อมได้รับปัญญา
    เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน
    และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม


    โทษของการไม่สร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

    โทษของการขาดสัจจะ- ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนเหลาะแหละ
    - พบแต่ความตกต่ำ - มีแต่คนดูถูก - ไม่มีคนเชื่อถือ - ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆ ได้ - ไร้เกียรติยศชื่อเสียง

    โทษของการขาดทมะ - ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง - ทำให้ขาดความสามารถในการทำงาน
    - สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - จะเกิดการทะเลาวิวาทได้ง่าย
    - จะจมอยู่กับอบายมุข - ครอบครัวเดือดร้อน - ไม่สามารถตั้งตัวได้ - เป็นคนโง่เขลา

    โทษของการขาดขันติ - ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ - เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง
    - ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้ - หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย
    - ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น - เต็มไปด้วยศัตรู - ขาดความเจริญก้าวหน้า - ทำให้เสื่อมจากทรัพย์

    โทษของการขาดจาคะ - ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ
    - ได้รับคำครหาติเตียน - เป็นทุกข์ใจ - ไม่มีใครอยากเข้าใกล้

    สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ
    เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง
    เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา
    เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน
    และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม



    นี่สิฆราวาสธรรมของแท้และแน่นอน เจ๋งเป้ง ครบถ้วนกระบวนความ
    ไม่รู้ใครมาใส่ไว้ให้นะ ขอขอบคุณแทนคนที่ได้อ่านไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ

    ไม่ใช่สาระบ้าบอ แบบที่เอกวีร์มันมาพล่ามเอาไว้ อย่าไปเชื่อมัน
    เชื่อฉัน อย่าหลงไปเชื่อใคร ๕๕๕ ขอยืมพี่แจ้ซักท่อนละกันนะ เนอะ หึหึหึ


    สมาคมพุทธะซาเปี้ยน / กระต่ายป่า แห่งเกาะนาฬิเกร์

    .
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    มือด่าอย่างเอกวี
    ต้องมือดีอย่างท่านนั่นแหละพอฟัดกันได้
    คนอื่นๆเขาไม่อยากยุ่งเพราะ
    สัญญาด้อยกว่าเอกวีเยอะนะฮะ
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ท่านใดอยู่พท.ร่มเกล้าบ้างครับ
    ุลุงแมวรบกวน pmมาหน่อยครับ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อจาก # 6

    บุคคลโสดาบันตามนัยพุทธพจน์

    เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลโสดาบันที่ถือว่าสำคัญ ขอนำบาลีที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระโสดาบันมาแสดงไว้บางส่วน ดังนี้

    ก) คำเรียก คำแสดงคุณลักษณะ และไวพจน์ต่างๆ ของบุคคลโสดาบัน

    พระพุทธเจ้า: สารีบุตร พูดกันว่า โสดา โสดา (กระแส) โสดาเป็นอย่างไร ?

    พระสารีบุตร: พระองค์ผู้เจริญ มรรคมีองค์ ๘ อันอริยะนี้แล เป็นโสดา กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    พระพุทธเจ้า: ถูกละๆ สารีบุตร ฯลฯ พูดกันว่า โสดาบัน โสดาบัน โสดาบันเป็นอย่างไร ?

    พระสารีบุตร: พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘ อันอริยะนี้ ผู้นี้เรียกว่าเป็นโสดาบัน โสดาบันนั้น เรียกขานกันได้ว่า ท่านที่ชื่อนี้ โคตรนี้ (นามสกุลนี้)

    พระพุทธเจ้า: ถูกละๆ สารีบุตร ฯลฯ

    “อริยสาวกผู้นี้ จะเรียกว่า ทิฏฐิสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์) ก็ได้ ทัสสนสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ คือ มีสัมมาทัศนะสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มาถึงสัทธรรมนี้แล้ว ก็ได้ ผู้เห็นสัทธรรมนี้ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชาก็ได้ ผู้ลุธรรมโสต (ถึงกระแสธรรม) ก็ได้ อริยชนผู้มีปัญญาที่จะเจาะสัจธรรมก็ได้ ผู้ยืนชิดอมตทวาร (อยู่ติดประตูอมตะ) ก็ได้”

    “อริยสาวกผู้มีสุตะ ผู้ได้พบเห็นอริยชน ผู้ฉลาดในอริยธรรม ฝึกดีแล้ว (สุวินีต) ในอริยธรรม ผู้ได้พบเห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปริสธรรม ฝึกดีแล้ว ในสัปริสธรรม”

    “เป็นผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งธรรมทั่วหมดแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว หมดข้อที่จะต้องถาม (หรือปราศจากข้อเคลือบแคลง) ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อคนอื่นในคำสอนของพระศาสดา”

    บางแห่งข้อความต่างไปจากนี้เล็กน้อย เป็น

    “ผู้ทำตามคำสอน (สาสนกร คือทำถูกต้องตามคำสอนแท้จริง) ปฏิบัติตรงโอวาท ข้ามความสงสัยได้แล้ว....ในคำสอนของพระศาสดา”

    และบางแห่ง ยังต่างไปอีกเล็กน้อย เป็น

    “ผู้ได้ที่หยั่ง ได้ที่ตั้งตัว ได้ความโล่งใจ (หรือเบาใจ หายทุกข์ร้อนกังวล) ในธรรมวินัยนี้ ข้ามความสงสัยได้ ...ในคำสอนของพระศาสดา”

    “อริยสาวก ผู้มีผลมาแล้ว (ผู้บรรลุธรรม) ผู้รู้ศาสนาแจ้งชัด”

    “ถึงความแน่ใจในตถาคต เป็นผู้เห็นอมตะ ประจักษ์แจ้งอมตธรรม”

    “เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (ไม่มีทางตกต่ำ) เป็นผู้แน่นอนแล้ว เดินหน้าสู่ความตรัสรู้”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ข) คุณสมบัติทั่วไป

    (ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดี): ดูกรคฤหบดี เมื่อใด อริยสาวกมีภัยเวร ๕ ประการ ระงับแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ และได้เนได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรม อริยสาวกนั้น เมื่อประสงค์ ก็พึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตัวเองว่า เราเป็นผู้สิ้นนรก สิ้นกำเนิดดิรัจฉาน สิ้นเปรตวิสัย สิ้นอบายทุคติวินิบาตแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว เดินหน้าสู่การตรัสรู้

    ๑.ระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นไฉน ?

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้าก็ดี ที่นักทำลายชีวิตจะได้ประสบ ทุกข์โทมนัสทางใจ ที่เขาจะได้เสวยเพราะการทำลายชีวิตเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้าก็ดี ที่นักลักทรัพย์จะได้ประสบ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากอทินนาทาน

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้าก็ดี ที่นักประพฤติในกามจะได้ประสบ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้าก็ดี ที่นักพูดเท็จจะได้ประสบ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากมุสาวาท

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้าก็ดี ที่นักดิ้มสุราและเมรัยฯ จะได้ประสบ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากสุราเมรัย ฯ
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ๒. ประกอบด้วยโสตาปิตติยังคะ ๔ ประการ เป็นไฉน ?

    อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้าว่า โดยเหตุผลดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นสัมมาสัมพุทธะ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนักฝึกคนที่ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นพระผู้ทรงพระเจริญ

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นกับกาล ชวนเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระสงฆ์ว่า สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ บุรุษ ๔ นับเรียงตัวบุคคลเป็น ๘ สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาถวาย เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขาทุทิศบูชา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

    เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งหลาย ที่อริยชนชื่นชม (อริยกันตศีล) ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ ไม่มีอะไรเคลือบแฝง * เป็นไปเพื่อสมาธิ

    ............

    อ้างอิงที่ *

    * คำบาลีว่า อปรามฏฺฐ ว่าตามที่ อ.2/177 ฯลฯ แปลได้ ๒ อย่าง นัยหนึ่งว่า ใครๆ ปรามาสมิได้ คือ ไม่มีข้อผิดพลาดบกพร่องที่ใครจะดูถูกหรือเอาเรื่องได้ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ไม่ถูกลูบคลำ คือไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิจับฉวยลูบคลำให้มัวหมองไปเสีย คงบริสุทธิ์อยู่ ประพฤติไปตามหลักการและความมุ่งหมายของศีลนั้นๆ ไม่ประพฤติอย่างเคลือบแคลง หรือมีเบื้องหลัง เช่น หวังจะได้ผลประโยชน์ จะได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น คือที่ประพฤติได้อย่างนี้ เป็นศีลที่พระอริยะชื่นชมหรืออริยชนยอมรับ คือเป็นอริยกันตศีล ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเลิศ หรือสูงสุดกว่าศีลทั้งปวง
    (องฺ.ปญฺจก.22/32/38)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ๓. ได้เห็นได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรม เป็นไฉน ?


    อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างดี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะอวิชชานั่นเอง สำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


    เมื่อใด อริยสาวกมีภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ ระงับแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และได้เห็นได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรมนี้ อริยสาวกนั้น เมื่อประสงค์ พึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตัวเองว่า....เราเป็นโสดาบัน...เดินหน้าสู่การตรัสรู้


    บรรดาเครื่องวัดตัว ๓ หมวดนี้ โสตาปัตติยังคะ (เรียกง่ายๆว่า องค์ของโสดาบัน) เป็นคุณสมบัติ โดยตรงของบุคคลโสดาบัน ส่วนอีก ๒ หมวด เป็นเหตุเป็นผลของคุณสมบัตินั้น กล่าวคือ การเห็นอริยญายธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) เป็นเหตุของโสตาปัตติยังคะ เพราะเมื่อมีปัญญาเข้าใจกฎธรรมดาแล้ว ก็ทำให้ศรัทธามีเหตผลแน่นแฟ้น ทำให้ศีลบริสุทธิ์ตรงหลักการและความมุ่งหมายของมัน ส่วนหมวดแรก คือการระงับภัยเวรทั้ง ๕ นับว่าเป็นผล เพราะเมื่อมีศรัทธา มีศีล ถึงขั้นนี้แล้ว ภัยเวรเหล่านั้นก็เป็นอันหมดไป


    ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไป ในบาลีส่วนมาก จะกล่าวถึงโสตาปัตติยังคะแต่ลำหมวดเดียว โดยฐานเป็นคุณสมบัติประจำตัวของบุคคลโสดาบัน เช่น ตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยคุณธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้า....ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่อริยชนชื่นชม .... เป็นไปเพื่อสมาธิ" (มีที่มาหลายแห่ง)



    โสตาปัตติยังคะ ๔ นี้ บางแห่งเรียกว่า ธัมมาทาส แปลว่า แว่นส่องธรรม หรือกระจกเงาสำหรับส่องสำรวจคุณสมบัติตนเองของบุคคลโสดาบัน.... บางแห่งเรียกว่าเป็น ห้วงบุญ ห้วงกุศล และอาหารของความสุข.... บางแห่งเรียก ทิฏฐธรรมสุขวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หรือธรรมที่พักใจให้เป็นสุขทันตาเห็น) ทางจิตอย่างสูง....บางแห่งกระจายศีลออกเป็น กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ รวมเรียกว่าสัทธรรม ๗ และเรียกโสตาปัตติยังคะว่า อากังขิยฐาน ๔ ... บางแห่งแยกแยะละเอียดออกไปเป็น ๑๐ ข้อ คือกระจายออกในรูปของสัมมัตตะ ๑๐ (ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ กับ สัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...