หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /เห็นภพชาติในถ้ำทอง

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    __16_472.jpg

    หลวงพ่อกลั่น
    พระผู้สามารถสื่อภาษาจิตกับสัตว์

    นิตยสารหญิงไทย ฉบับที่ ๖๙๘ ปีที่ ๓๐
    ปักษ์แรก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗
    โดย คุณสายทิพย์


    ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศักราช ๒๓๙๐ ปีมะแม ณ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีฐานะยากจนได้ให้กำเนิดเด็กชายผู้มีบุญมาเกิด นามว่า “กลั่น” ซึ่งอนาคตกาลท่านคือ พระเถระผู้เลื่องชื่อในบุญญาภินิหาร และเมตตาจิตที่มีต่อสรรพสัตว์นานัปการ

    หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ แห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา ในสมัยเด็กท่านต้องทำงานเลี้ยงพ่อแม่ด้วยการรับจ้างทั่วไป และต้องต่อสู้เพียงลำพังคนเดียว ทำให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งมีอายุได้ ๒๗ ปี ท่านจึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดประดู่ทรงธรรม ได้รับนามฉายาว่า “ธมฺมโชติ” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “เป็นผู้สร้างในทางธรรม หรือเจริญรุ่งเรืองในธรรม”

    เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม หลวงพ่อกลั่นได้ศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนรู้เรื่องวิชาคาถาอาคม ตลอดจนสมุนไพร การแพทย์แผนโบราณจนแตกฉาน เมื่อฝึกฝนวิชาต่างๆ จนเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้ออกธุดงค์ไปทั่วป่าเขาลำเนาไพรเผชิญสัตว์ร้ายนานาชนิด คราวหนึ่งท่านได้เดินทางกลับจากออกธุดงค์ มาถึงวัดพระญาติการามในเวลาค่ำ ท่านพิจารณาว่า วัดนี้เงียบสงบดี เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม สามารถเจริญสมาธิและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้สะดวก ท่านจึงได้ปักกลดพักอยู่ที่บริเวณวัดในคืนนั้น

    “วัดพระญาติการาม” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ราวปี พ.ศ. ๒๑๐๐ เดิมเรียกว่า “วัดพบญาติ” ซึ่งมีตำนานเล่าว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีหมู่บ้านด้านทิศตะวันออกของเมืองหมู่บ้านหนึ่ง ที่ลูกสาวชาวบ้านของที่นี่มักมีผิวพรรณดี หน้าตาสวยงาม ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงเสด็จประพาสมายังหมู่บ้านแห่งนี้ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร และทรงพอพระทัยบุตรสาวของชาวบ้านคนหนึ่ง จึงเอ่ยพระโอษฐ์ขอรับอุปถัมภ์ค้ำชูหญิงสาวคนนั้น ผู้เป็นพ่อแม่ก็ยินดียกบุตรสาวถวายให้

    เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ กลับพระราชวังแล้ว จึงมอบให้อำมาตย์นำคานหามมารับหญิงสาวคนนั้น เมื่อนางจะไปก็ได้สั่งบอกพ่อและแม่ไม่ให้มีความห่วงใย อีกไม่นานจะกลับมาเยี่ยม ขณะขบวนคานหามเดินทางกลับ พวกญาติของหญิงสาวได้ไปดักรอพบเพื่อล่ำลา นางจึงได้พบญาติตรงบริเวณนั้น จนเมื่อนางได้ตำแหน่งมเหสีแล้ว จึงเสด็จฯ มาเยี่ยมญาติในหมู่บ้านเดิม และโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณที่ญาติๆ มารอดักพบ ตั้งชื่อว่า “วัดพบญาติ” ต่อมาจึงกลายเป็น “วัดพระญาติการาม” ในเวลาต่อมา

    ย้อนกลับไปถึง “หลวงพ่อกลั่น” เมื่อธุดงค์มาพักที่วัดพระญาติฯ รุ่งเช้าก็มีชาวบ้านมาตักบาตร ขณะรับบาตรอยู่หลวงพ่อกลั่นมองไปทั่วบริเวณวัด เห็นมีสุนัข แมว และนก กา อาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัตว์พวกนี้คล้ายมารอคอยอาหารด้วยความหิวโหย หลวงพ่อกลั่นเป็นพระที่มีเมตตาจิตสูง ท่านจึงนำข้าวที่ชาวบ้านใส่บาตรให้มาแบ่งโปรยให้ทานสัตว์เหล่านั้นได้กินจนอิ่ม จากนั้นท่านจึงฉันเช้า ท่านปฏิบัติเช่นนี้ทุกวันเป็นประจำ ทำให้ชาวบ้านที่มาตักบาตรเห็นวัตรปฏิบัติของท่านน่าเลื่อมใส ศรัทธา จึงนิมนต์ให้อยู่จำพรรษาที่วัดพระญาติฯ ซึ่งหลวงพ่อกลั่นก็ยินดี เพราะท่านพิจารณาแล้วว่า วัดแห่งนี้สงบไม่มีคนพลุกพล่าน มีพระจำพรรษาเพียงไม่กี่รูป บริเวณวัดร่มครึ้ม เป็นป่าสะแก มีต้นไม้ใหญ่เยอะ เหมาะแก่การจำศีลภาวนา ประกอบกับท่านเป็นพระที่ชอบสันโดษ ชอบอยู่อย่างง่ายๆ เล่ากันว่า ท่านไม่ค่อยพิถีพิถันยึดติดกับอะไรมากนัก ในกุฏิของท่านจึงไม่มีสมบัติพัสถานที่มีค่า มีเพียงสื่อผืนหมอนใบ แถมอัฏฐบริขาร เครื่องนุ่งห่มก็มีอยู่ชุดเดียว ซึ่งเก่าคร่ำคร่า

    มีเรื่องเล่าถึงหลวงพ่อกลั่นอีกว่า ทุกเช้าหลังจากบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านจะต้องโปรยข้าวส่วนหนึ่งให้นก กา หมา ไก่ และลิง ที่ออกมาคอย ให้ได้กินจนอิ่มทั่ว ชาวบ้านละแวกวัดจะได้เห็นหลวงพ่อกลั่นเดินอยู่ท่ามกลางฝูงสัตว์อยู่เป็นประจำทุกวัน ชาวบ้านและเณรในวัดจึงพากันสงสัยว่าทำไมสัตว์จึงชอบเดินตามท่าน เมื่อสงสัยจึงมีการทดลอง สอบหาความจริง โดยในวันหนึ่งเมื่อหลวงพ่อกลั่นไม่อยู่ ได้มีพระรูปหนึ่งแอบนำผ้าเหลืองของหลวงพ่อกลั่นมาปลอมเป็นหลวงพ่อทุกอย่าง แล้วทำเป็นเดินขึ้นมาจากเรือคล้ายว่าเพิ่งกลับจากวัด เมื่อเดินผ่านสัตว์ต่างๆ ที่เคยได้ข้าวและอาหารจากหลวงพ่อ สัตว์เหล่านั้นก็เฉยๆ เพราะจำได้ว่าไม่ใช่หลวงพ่อ เป็นเพราะความเมตตาที่แผ่ออกมา ทำให้สัตว์เหล่านั้นจดจำหลวงพ่อได้เป็นอย่างดี เพราะพวกมันสัมผัสรู้ได้

    หลวงพ่อกลั่นเมื่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระญาติฯ ทุกๆ เช้าเมื่อออกบิณฑบาต พระสงฆ์ในวัดจะต้องพายเรือไปตามลำน้ำ ซึ่งจะมีชาวบ้านมารอตักบาตรทั้ง ๒ ฝั่ง และชาวบ้านจะรู้ว่าเรือลำไหนเป็นของหลวงพ่อกลั่น เพราะจะมีจุดสังเกตคือ เรือของหลวงพ่อจะมีสีดำสนิท ปกคลุมตั้งแต่หัวเรือไปจรดกลางลำเรือ สีดำเหล่านั้นก็คือ “อีกา” นับสิบๆ ตัวที่มาเกาะเรือของหลวงพ่อ แล้วเวลาชาวบ้านมาลงตักบาตรแก่หลวงพ่อ “อีกา” ทั้งฝูงจะบินวนรอบๆ เรือไม่ไปไหน พอชาวบ้านตักบาตรเสร็จมันก็บินกลับมาเกาะเรือเหมือนเดิม ส่วนอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายหลวงพ่อเต็มลำเรือนั้น เหล่าอีกาไม่แตะต้องเลย

    และพอเรือมาถึงวัด หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์ขนสำรับขึ้นไปก่อน ตัวท่านจะอุ้มบาตรมาทีหลัง และจะมีอีกาอีกฝูงหนึ่งคอยรอรับท่านอยู่หน้าวัด มันจะบินรุมล้อมหน้าล้อมหลังเป็นกลุ่ม แทบไม่เห็นองค์หลวงพ่อ เมื่อได้เวลาฉันหลวงพ่อจะจัดแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ เตรียมให้อีกา หมา และแมว อีกาฝูงใหญ่จะคอยรอท่าอยู่ห่างๆ พอหลวงพ่อนั่งเรียบร้อย เมื่อเปิดฝาบาตรจะลงมือฉัน อีกาทั้งฝูงก็จะกระโดดไปที่กองอาหารแล้วลงมือจิกกินทันที

    หลวงพ่อกลั่นท่านสื่อภาษาสัตว์กับอีกาเหล่านั้นได้ เพราะบางครั้งที่มันแย่งอาหารจิกตีกัน หลวงพ่อจะพูดด้วยเสียงเบา ๆ อีกาก็หยุดตีกันทันทีแล้วค่อยๆ กินอย่างสงบ

    เรื่องราวของหลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ ภิกษุผู้มีความมหัศจรรย์อันประกอบไปด้วยเมตตาธรรม สามารถสื่อภาษาสัตว์ได้เข้าใจ หลวงพ่อท่านนี้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านมักแสดงอภินิหารให้ใครหลายคนได้ประจักษ์หลายต่อหลายเรื่อง เช่นว่ามีอยู่คราวหนึ่งอยู่ในช่วงออกพรรษา ซึ่งพระสงฆ์ตามวัดต่างๆนิยมออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก และเพื่อโปรดพุทธบริษัทที่อยู่ในชนบทห่างไกลในถิ่นกันดาร หลวงพ่อกลั่นพร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ท่านก็ออกธุดงค์เช่นกัน โดยตั้งใจจะไปนมัสการพระเจดีย์ในเมืองพม่า เมื่อคณะของหลวงพ่อรอนแรมเดินทางมาถึงแม่น้ำสะโตง ซึ่งกว้างใหญ่มาก แต่หาเรือแพข้ามฟากไม่ได้ หลวงพ่อกลั่นจึงต้องหาทางข้ามด้วยตัวเอง

    หลวงพ่อกลั่นจึงสั่งให้พระภิกษุที่ร่วมธุดงค์กับท่านเอาผ้าผูกตาให้หมดแล้ว เกาะจีวรตามท่านเป็นแถวเรียงหนึ่ง มีข้อห้ามคือไม่ให้พูดจากัน พอถึงฝั่งแม่น้ำฟากนั้นจึงบอกให้เอาผ้าผูกตาออก และน่าอัศจรรย์ที่พระแต่ละรูปไม่มีใครที่จีวรเปียกน้ำเลย และยังไม่มีใครรู้อีกว่า หลวงพ่อท่านพามาโดยวิธีใด อีกครั้งหนึ่งคือเมื่อคราวที่หลวงพ่อและพระลูกวัดพระญาติฯ รับกิจนิมนต์ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ครั้นใกล้เวลาที่เขานิมนต์ปรากฏว่าฝนตั้งเค้าทำท่าจะตก พระที่เดินทางไปกับหลวงพ่อเตือนให้ท่านรีบไปจะได้กันฝน แต่หลวงพ่อกลับบอกให้พระเหล่านั้นไปก่อนล่วงหน้า ส่วนท่านจะตามไปทีหลัง และพอท่านออกจากวัดฝนก็ตกไล่หลังท่านเรื่อยไปจนถึงบ้านงาน แต่ตัวท่านกลับไม่เปียกฝนเลย

    และยังมีเรื่องเล่าถึงอภินิหารของหลวงพ่อกลั่นกันปากต่อปากว่า ในครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่คลองข้างวัดของท่านมีปลาปักเป้าชุกชุม ลูกศิษย์วัดมาลงอาบน้ำจะถูกปลาปักเป้ากัดบ่อยๆ เดือดร้อนหลวงพ่อต้องหายามารักษา อยู่มาวันหนึ่งหลวงพ่อได้สั่งให้เด็กลงเล่นน้ำ เพื่อล่อให้ปลาปักเป้ากัด ปลาปักเป้าก็กัดติดเนื้อเด็กอย่างไม่ปล่อย แต่เด็กที่เป็นเหยื่อล่อปลากลับไม่มีบาทแผลซักคน จากนั้นหลวงพ่อจึงเอาปลาเหล่านั้นใส่ลงไปในถังน้ำ แล้วเอามือจุ่มลงไปในถัง คนอยู่พักเดียวก็เอาปลาไปปล่อยริมคลองหน้าวัดเหมือนเดิม และเป็นที่อัศจรรย์คือตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีเด็กวัดถูกปลาปักเป้ากัดอีกเลย

    หลวงพ่อกลั่นท่านเชี่ยวชาญวิชาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นวิชาฟันดาบหรือต่อสู้ด้วยเพลงอาวุธแบบโบราณ และยังมีวิชาด้านอื่นที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์อีกมาก จนบางครั้งมีคนมาขอพบเพื่อลองวิชา ซึ่งหลวงพ่อท่านก็รู้ด้วยญาณของท่านว่าคนๆนี้มาลองดีกับท่าน เพราะอยากรู้ว่าหลวงพ่อกลั่นจะแน่จริง

    เหมือนกิตติมศักดิ์ที่ร่ำลือกันหรือไม่ คราวหนึ่งได้มีนักเลงคนหนึ่งมาขอลองวิชากับหลวงพ่อด้วยปืนยาว หลวงพ่อก็ยินดีให้ทดสอบโดยโยนผ้าให้ยิง นักเลงผู้นั้นก็เหนี่ยวไกปืนยิงไม่ยั้ง แต่สิ่งที่ได้ยินมีเพียงเสียงไกปืนกระทบกับลูกกระสุนเท่านั้น ไม่มีเสียงระเบิดแต่อย่างใด คนลองดีถึงกับตะลึง แปลกใจแล้วพอหันกระบอกปืนยิงขึ้นฟ้า ลูกปืนกลับระเบิดเสียงดังสนั่น หลวงพ่อกลั่นบอกให้นักเลงผู้นั้นลองยิงอีกครั้ง ท่านก็โยนผ้าขึ้นฟ้า พอนักเลงผู้นั้นลั่นกระสุนออกไปก็ได้ยินเสียง “แชะๆ ๆ” เช่นเดิม ลูกปืนไม่ระเบิด

    นักเลงต่างถิ่นถึงกับก้มกราบหลวงพ่อกลั่นด้วยความศรัทธา และเป็นที่โจษขานกันทั่วอยุธยา

    หลวงพ่อกลั่นท่านยังมีวิชาลูกเบา หรือวิชาชาตรี ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพันวิชาหนึ่งขอท่าน วิชาลูกเบาหรือวิชาชาตรีไม่มีการสักอักขระยันต์ แต่มีการชักยันต์ซึ่งมีบทคาถาแขกภาวนา ในขณะที่ศิษย์ได้รับการถ่ายทอดจากครูอาจารย์ จะโดนทุ่มด้วยของหนัก เช่น ก้อนหินที่มีน้ำหนักมากๆ อย่างหินลับมีด แต่ผู้ที่ได้รับการครอบวิชาจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเหมือนโดนทุ่มด้วยของเบาๆ แต่ถ้าไม่ได้เรียนวิชานี้มา ถ้าโดนทุ่มขนาดนี้อาจจะคอหักตาย ผู้ที่มาขอฝากตัวเป็นศิษย์จึงโดนทุ่มด้วยก้อนหินเป็นการขึ้นครูทุกคน

    อำนาจจิตของหลวงพ่อกลั่นนั้นมากมาย ในเรื่องนี้ “หลวงพ่ออั้น คนฺธาโร” พระอุปัฏฐากหลวงพ่อกลั่น ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงครั้งที่เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกลั่นว่า ขณะที่เรียนกรรมฐานนั้นหลวงพ่อกลั่นได้ให้หลวงพ่ออั้นไปนั่งปฏิบัติในโบสถ์ ขณะนั่งอยู่ หลวงพ่ออั้นมองเห็นหลวงพ่อกลั่นจากในนิมิตว่า เห็นท่านเดินจากกุฏิมานั่งอยู่ตรงหน้า คอยสั่งสอนว่าผิดตรงไหนควรทำอะไร อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเพราะหลวงพ่ออั้นท่านก็รู้ว่า หลวงพ่อกลั่นท่านอยู่บนกุฏิ กำลังคุยเรื่องธุระกับญาติโยมที่มาหาท่าน แต่ท่านก็ยังแบ่งร่างมาสอนหลวงพ่ออั้นในโบสถ์ได้

    หลวงพ่อกลั่นมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เล่ากันว่าในวันที่หลวงพ่อจะมรณภาพ อีกานับร้อยพันตัวมาออกันทั่ววัด ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ พอหลวงพ่อสิ้นลม อีกาเหล่านั้นเงียบเสียงเป็นปลิดทิ้ง แล้วโผบินจากไปเป็นกลุ่มๆ ครั้นพอถึงวันฌาปนกิจร่างหลวงพ่อกลั่น รุ่งขึ้นมีการทำบุญอัฐิ อีกาของหลวงพ่อก็กลับมาอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย พวกมันบินมาเกาะที่เชิงตะกอน และบริเวณลานวัด จากนั้นก็พากันบินวนไปรอบๆ อยู่ ๓ รอบ และตั้งแต่วันนั้นก็ไม่มีใครได้เห็นอีกาที่วัดพระญาติการามอีกเลย
    :- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39481
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ท่านถอดจิต..!!!ออกไปเที่ยว | หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง

    หลวงตา
    Jan 21, 2024
    หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร


     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ภาพบูชาหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง-3.jpg
    ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง เจ้าของพระพันแปดไฟที่แสนจะหายาก
    หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง หรือ พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองสองห้อง ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ท่านมีนามเดิมว่า "สาย" นามสกุล "เพชรนิล" เกิดเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๕๔ โยมบิดาชื่อนายสง เพชรนิล โยมมารดาชื่อนางอุบ เพชรนิล ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

    หลวงพ่อสาย ท่านเกิด ณ บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองสองห้อง(เดิมคือตำบลดอนไผ่)อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๖ คน

    เมื่อครั้งเยาว์วัย ท่านได้เรียนหนังสือกับหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จนมีความรู้ความชำนาญในด้านภาษาไทยเทียบเท่าชั้นประถม ๔ ในด้านภาษาขอม ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนจนสามารถจารอักขระลงในใบลานเป็นหนังสือเทศน์ได้อย่างดี



    %25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3-%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594.jpg
    หลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร



    จนเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ พัทธสีมาวัดตึก โดยมีหลวงปู่นิล วัดตึก เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้รับมอบหมายจากหลวงปู่นิล ได้เป็นผู้จารหนังสือเทศน์เป็นภาษาขอมลงในใบลานวันละหลายๆหน้า

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ หลวงพ่อสาย มีอายุได้ ๒๐ ปี ก็เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดตึกมหาชยาราม ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมี

    หลวงปู่นิล วัดตึก เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษา ณ วัดตึกมหาชยาราม เพื่อศึกษาวิชาอาคมกับหลวงปู่นิล ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ เรื่อยมาเป็นระยะเวลาได้ ๑๓ พรรษา ก็ได้ทำการลาสิกขาบท กลับภูมิลำเนาเดิม


    8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5.jpg

    หลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี

    ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากที่ลาสิกขาได้ ๗ วันหลวงพ่อสาย ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์อีกครั้ง ณ พัทธสีมาวัดใหญ่โพธิ์หัก ตำบลโพธิ์หัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ฉายาว่า "สุกกปุณโณ" โดยมี

    พระอธิการแช่ม วัดดอนเซ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์

    พระครูธรรมสาทิศ(แม้น) วัดใหญ่โพธิ์หัก เป็นพระกรรมวาจารย์

    พระอาจารย์ปลื้ม วัดใหญ่โพธิ์หัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงพ่อสาย หลังจากอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดใหญ่โพธิ์หัก เป็นเวลา ๑ พรรษา ก่อนที่จะกลับไปจำพรรษาที่วัดหนองสองห้อง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙

    และการที่ท่านเดินทางกลับมาที่บ้านหนองสองห้องนี้เอง ท่านได้ริเริ่มสร้างวัดโดยการชักชวนและร่วมมือกับชาวบ้านหนองสองห้อง ในการสร้างวัด และสร้างเสนาสนะต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์และบำเพ็ญกุศล ซึ่งได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด จนวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยมีหลวงพ่อสาย รับหน้าที่ดูแลและปกครองวัดเรื่อยมา

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลังจากสร้างวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อสายจึงได้รับการแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์สมุทรสาคร ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดหนองสองห้องอย่างเป็นทางการ

    8%25B8%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3.jpg
    หลวงพ่อพุทธศิลา วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร



    หลังจากได้เป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านก็ได้พัฒนาวัดเรื่อยมารวมทั้งยังได้ อัญเชิญหลวงพ่อศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ในวัดร้างในจังหวัดสมุทรสงคราม

    สร้างด้วยหินทรายขนาดหน้าตัก ๒ เมตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเดิมประดิษฐานอยู่คู่กับหลวงพ่อโต ที่ถูกอัญเชิญไปที่วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร โดยหลวงพ่อศิลาถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดหนองสองห้อง เพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้จนถึงปัจจุบัน

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงพ่อสายได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านการศึกษาของบุตรหลาน ในพื้นที่หนองสองห้อง ท่านจึงได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อีกด้วย



    8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-3.jpg
    หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร



    ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ หลวงพ่อสาย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงพ่อสายได้ทำการสร้างพระอุโบสถ แทนพระอุโบสถไม้หลังเดิมที่ชำรุด ให้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในอุโบสถมีพระประธานพร้อมพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร

    หลวงพ่อสาย ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ นับรวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี ๘ เดือน ๗ วัน ๖๒ พรรษา สร้างความอาลัยให้ลูกศิษย์ชาวสมุทรสาคร และจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก คงไว้แต่อนุสรณ์แห่งความดีอีกทั้งร่างกายของท่านก็ไม่เน่าเปื่อยยังคงมีสภาพเดิมเป็นที่น่าอัศจรรย์.

    8%25B8%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3.jpg
    หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร

     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง พิมพ์นางพญา พิมพ์ใหญ่

    สร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นพระที่สร้างในยุคแรกของหลวงพ่อ ลักษณะคล้ายพระนางพญา มีการสร้างด้วยเนื้อชินเงิน มีการสร้างด้วยกัน ๒ พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก เพื่อแจกให้กับแจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีน และสงครามเกาหลี ที่เรียกว่าธาตุพันแปดไฟนั้น เพราะหลวงพ่อสายได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จแล้ว เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นจึงนำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนครบหนึ่งพันกับแปดครั้ง จึงเรียกว่า พระพันแปดไฟ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25B2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7.jpg
    พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พิมพ์นางพญา พิมพ์ใหญ่






    8%25B1%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C.jpg
    พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พิมพ์นางพญา พิมพ์เล็ก


    ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธ เข้าใจว่าหมายถึงหลวงพ่อพุทธศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดหนองสองห้อง ที่หลวงพ่อสายนิมนต์มาจากวัดร้าง ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีขอบกนกล้อมรอบองค์พระ

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ในบางองค์หลังจะเรียบ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

    พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง พิมพ์หลวงพ่อศิลา

    สร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยจำลองหลวงพ่อพุทธศิลามาเป็นพิมพ์พระ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน เพื่อแจกให้กับแจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีน และสงครามเกาหลี ที่เรียกว่า ธาตุพันแปดไฟนั้น เพราะหลวงพ่อสายได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จแล้ว เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นจึงนำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนครบหนึ่งพันกับแปดครั้ง จึงเรียกว่า พระพันแปดไฟ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    8%259E%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2.jpg
    พระพันแปดไฟหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗ พิมพ์หลวงพ่อพทธศิลา


    ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธ เข้าใจว่าหมายถึงหลวงพ่อพุทธศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดหนองสองห้อง ที่หลวงพ่อสายนิมนต์มาจากวัดร้างในจังหวัดสมุทรสงคราม ประทับนั่งบนฐานมีผ้าทิพย์สวยงาม มีขอบกนก

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

    เหรียญหล่อพระโมคคัลลา-สารีบุตร หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นพระหล่อโบราณแบบหูปลิง สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง ทำขึ้นเพื่อแจกให้กับแจกศิษย์ลูกหาของท่านที่บริจาคทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คืิอพิมพ์ซุ้มแหลม และพิมพ์ซุ้มเว้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3.jpg
    เหรียญหล่อพระโมคคัลลา-สารีบุตร หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ พิมพ์ซุ้มแหลม ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกซ้าย-ขวา ด้านล่างมีอักขระยันต์

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

    พระหล่อหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง พิมพ์ใบมะขาม

    สร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นพระหล่อขนาดเล็กแบบพระใบมะขาม ทำขึ้นเพื่อแจกให้กับแจกศิษย์ลูกหาของท่านที่บริจาคทรัพย์เพื่อปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยสร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    9%2583%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1.jpg
    เหรียญหล่อหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ พิมพ์ใบมะขาม


    9%2580%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD.jpg
    เหรียญหล่อหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ พิมพ์ใบมะขาม ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานเขียง ๔ ชั้น องค์พระมีเส้นซุ้มยอมุมสวยงาม

    ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระใดๆ ในบางองค์มีรอยจาร

    เหรียญหลวงพ่อศิลา หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เพื่อแจกให้กับผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อพัฒนาและปฏิสังขรณ์วัดหนองสองห้อง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    496%2B%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2587.jpg
    เหรียญหลวงพ่อพุทธศิลา วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้อทองแดง


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพุทธศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดหนองสองห้อง ที่หลวงพ่อสายนิมนต์มาจากวัดร้างในจังหวัดสมุทรสงคราม มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระพุทธศิลา วัดหนองสองห้อง"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกในงานทำบุญอายุ ๗๒ ปี ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นมาด้วยกัน ๒ บล็อกคือ บล็อกตัวหนังสือใหญ่ กับบล็อกตัวหนังสือเล็ก(เสริม) มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยา เนื้อเงิน และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

    8%25A5%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2587.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือใหญ่ เนื้อเงินลงยา
    8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือใหญ่ เนื้อเงินลงยา




    5AB%25E0%25B8%258D%25E0%25B9%2588%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือใหญ่ เนื้อเงิน




    8%25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือใหญ่ เนื้ออัลปาก้า
    5A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2581%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก(เสริม) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือเล็ก เนื้อเงิน




    8%25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก(เสริม) ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พิมพ์หนังสือเล็ก เนื้ออัลปาก้า

    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดหนองสองห้อง" ด้านล่างของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสาย"


    ด้านหลัง มียันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกทำบุญวันเกิด ครบอายุ ๗๒ ปี ๓๐ ส.ค. ๐๖"

    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๒

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในคราวที่หลวงพ่อได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยา และเนื้ออัลปาก้า หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อเงินลงยา


    25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2-2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้า
    8%25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้า
    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๕ ธ.ค. สาย ๐๙"

    เหรียญหลวงพ่อพุทธศิลา หลังหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%2B2509%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599.jpg
    เหรียญหลวงพ่อพุทธศิลา หลังหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อเงิน
    8%25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อพุทธศิลา หลังหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้า


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพุทธศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดหนองสองห้อง ที่หลวงพ่อสายนิมนต์มาจากวัดร้างที่เดี่ยวกับหลวงพ่อโต วัดหลักสี่ฯ ด้านล่างของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพุทธศิลา"

    ด้านหลัง เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน ๕ ธ.ค. สาย ๐๙"

    เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้ออัลปาก้า หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%2B2515%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599.jpg
    เหรียญหลวงพ่อไร่ขิงจำลอง วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อเงิน


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อไร่ขิง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสมุทรสาคร ที่หลวงพ่อสายหล่อจำลองไว้ รอบรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิงจำลอง วัดหนองสองห้อง พ.ศ. ๒๕๑๕"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๓

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อแจกจ่ายในคราวที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๘๑ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง และเนื้อทองแดง หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองเหลือง




    8%25AD%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2587.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง

    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (หลวงพ่อสาย) วัดหนองสองห้อง"




    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึก อายุครบ ๘๑ ปี ๒๕๑๖"
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๔

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เพื่อแจกจ่ายในงานวางศิลาฤกษ์พระอุโบถส ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    25B1%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2-2.jpg
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้ออัลปาก้า


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ วัดหนองสองห้อง"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ พ.ศ. ๒๕๑๗"

    รูปหล่อโบราณหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในคราวที่หลวงพ่อได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ ซึ่งในปีนั้นมีการสร้างวัตถุมงคลหลายชนิดและรูปหล่อโบราณก็เป็นหนึ่งในนั้น ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณ สร้างด้วยเนื้อทองเหลือง หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

    8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    รูปหล่อโบราณหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อทองเหลือง


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายนั่งเต็มองค์บนฐานเขียง มือทั้งสองข้างจับที่หัวเข่า องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสาย"

    ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดหนองสองห้อง"

    ด้านฐาน เรียบ มีรอยอุดกริ่ง

    พระยอดธงหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในคราวที่หลวงพ่อได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ ซึ่งในปีนั้นมีการสร้างวัตถุมงคลหลายชนิด สร้างด้วยเนื้อทองเหลือง หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    พระยอดธง หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ด้านหน้า เป็นรูจำลองพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับบนฐานชุกชี ไม่ปรากฏขระภาษาไทยใดๆ

    ด้านหลัง ที่ประทับบนฐานชุกชี ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

    ด้านฐาน เรียบ มีเลขไทยเขียนว่า "๑" ซึ่งหมายถึงเป็นพระรุ่นแรกของทางวัด

    พระสมเด็จหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นแรก

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในคราวที่หลวงพ่อได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ ซึ่งในปีนั้นมีการสร้างวัตถุมงคลหลายชนิดและพระสมเด็จก็เป็นหนึ่งในนั้น ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผงเหมือนพระสมเด็จทั่วไป สร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณที่หลวงพ่อลบผง และรวบรวมผงเองจำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    พระสมเด็จหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พิมพ์ฐาน ๓ ชั้น (พิมพ์เล็ก) ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    พระสมเด็จหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พิมพ์ฐาน ๕ ชั้น (พิมพ์กลาง) ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม
    ด้านหน้า เป็นพระสมเด็จที่มีพิมพ์พระเหมือนพระสมเด็จทั่วไป ครอบด้วยซุ่มระฆังมีทั้งที่เป็นฐาน ๓ ชั้น,ฐาน ๕ ชั้น และฐาน ๗ ชั้น

    ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ


    ภาพถ่ายห้อยคอหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์และบุคคลทั่วไป ลักษณะเป็นภาพถ่ายขนาดเล็กสำหรับห้อยคอแล้วเลี่ยมเงินจับขอบแบบโบราณ หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    ภาพขนาดห้อยคอหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม
    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ

    ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระยันต์ใดๆ ในบางภาพมีรอยจาร
    ภาพถ่ายห้อยคอหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง (กระดาษหนังไก่)

    สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์และบุคคลทั่วไป ลักษณะเป็นภาพถ่ายบนกระดาษหนังไก่ขนาดเล็กสำหรับห้อยคอ หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    ภาพถ่ายห้อยคอหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง (กระดาษหนังไก่) ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์จารด้วยดินสอ บางภาพมีชานหมากของหลวงพ่อติดไว้ด้วย

    ภาพถ่ายบูชาหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ขณะที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๘๙ ปี เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์และบุคคลทั่วไป ลักษณะเป็นภาพถ่ายใส่กรอบวิทยาศาสตร์สำหรับตั้งบูชา หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    ภาพบูชาหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม
    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (หลวงพ่อสาย) วัดหนองสองห้อง อายุ ๘๙ ปี"

    ด้านหลัง มีอักขระยันต์

    เสื้อยันต์หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์ที่ไปรบในสงครามอินโดจีน และสงครามเกาหลี ลักษณะเป็นเสื้อยันต์ มีการสร้างด้วยผ้าสีแดงและผ้าสีขาว หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้


    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    เสื้อยันต์หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง (สีขาว) ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม

    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    เสื้อยันต์หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง (สีแดง) ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ด้านหน้า มีอักขระยันต์ ที่เกิดจากการพิมพ์ยันต์ลงไปที่เสื้อด้วยหมึกดำ ซึ่งเสื้อแต่ละตัวจะมีไม่เหมือนกัน

    ด้านหลัง เช่นเดียวกับด้านหน้าคือมีอักขระยันต์ ที่เกิดจากการพิมพ์ยันต์ลงไปที่เสื้อด้วยหมึกดำ ซึ่งเสื้อแต่ละตัวจะมีไม่เหมือนกัน

    ตะกรุดชุดหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง

    สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะเป็นตะกรุดชุดที่สร้างจากแผ่นทองแดง และแผ่นเงิน ที่หลวงพ่อสายจะทำการจารตะกรุดด้วยตัวท่านเอง เสร็จแล้วจึงรอยเชือกไหม ไว้ด้วยกัน จัดเป็นเครื่องรางที่เป็นมาตราฐานของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    8%25AA%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587.jpg
    ตะกรุดชุดหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง ของพระครูธรรมธรรัตนะ วัดใหม่ต้นกระทุ่ม


    ในการสร้างนั้นหลวงพ่อสาย ท่านจะสร้างตะกรุดที่ประกอบไปด้วยตะกรุดทองแดงที่ยาวเป็น ๓ เท่าของตะกรุดเงินจำนวน ๙ ดอก ซึ่งแต่ละดอกจะเห็นรอยจารอย่างชัดเจน และตะกรุดเงินที่มีขนาดสั้นกว่าตะกรุดทองแดง อีกจำนวน ๘ ดอก เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการร้อยสลับกัน โดยใช้เชือกไหมเป็นตัวร้อยตะกรุด

    พระบูชาหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่น ๘๘ ปี

    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในคราวที่ทำบุญอายุหลวงพ่อครบ ๘๘ ปี สร้างด้วยเนื้อทองเหลือง หลวงพ่อสายปลุกเสกเดี่ยว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



    5E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8%2B88%2B%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B5.jpg
    พระบูชาหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง รุ่นอายุ ๘๘ ปี ออกปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ขนาด ๕ นิ้ว


    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ (หลวงพ่อสาย) วัดหนองสองห้อง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อายุ ๘๘ ปี"

    ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ

    ด้านฐาน ไม่มีดินไทย

    โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
    :- https://www.pra-maeklong.com/2021/07/watnongsonghong.html
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    สุโขวิเวโก..พระธุดงค์หนุ่มผจญภัย ตอน ๑

    thamnu onprasert
    Jan 28, 2024

    เรื่องราวประสบการณ์ธุดงค์เผชิญภัยลี้ลับของพระสุปฏิปันโนในอดีตรูปหนึ่งที่ดำเนินรอยตามพุทธอุทาน" สุโขวิเวโก..ความสงบวิเวก นำมาซึ่งความสุข"
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    สุโขวิเวโก พระธุดงค์หนุ่มผจญภัย ตอน๒ (จบ)

    thamnu onprasert
    Jan 29, 2024

    เรื่องราวการเดินธุดงค์ผจญภัยเสี่ยงชีวิตในป่าดงของพระธุดงค์หนุ่ม ผู้มุ่งมั่นตามรอยคำสอนของพระพุทธองค์
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ลูกศิษย์เข้าใจว่าตนเองบรรลุอรหันต์ จึงมาโปรดอาจารย์ในยามดึก!

    ปู่ดอน station
    Jan 23, 2024

    หลวงตาพวงปฏิบัติภาวนาอยู่ที่เขาพนมรุ้ง จีงหวัดบุรีรัมย์ เกิดสัญญาวิปลาสเข้าใจผิดคิดว่าตนเองบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงรีบเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์เพื่อโปรดหลวงปู่ดูลย์ผู้เป็นอาจารย์ ความโกลาหลเลยเกิดขึ้น!..
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ๑๖๐.วิญญาณเข้าฝัน ผจญภัยบนดอยสูง

    thamnu onprasert
    Jan 31, 2024
    ส่างอุ่นเปิงพาลุงมัคนายกจองจันข้ามดงดอยไปตามหาลูกสาวที่สูญหายไปที่ เมืองปาย
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    หลวงปู่ผั่นเที่ยวธุดงค์ (เรื่องยาว 4 ชม.)

    หลวงตา
    Jan 28, 2024

    หลวงปู่ผั่นเที่ยวธุดงค์ (เรื่องยาว 4 ชม.)
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร
    -ปาเรสโก.jpg
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้
    “พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทาประดุจม้าศึก”

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก พระอริยเจ้าผู้มีวิถีชีวิตและปฏิปทาที่ไม่หยุดนิ่งในความเพียรที่จะเสาะแสวงหาที่สงัดวิเวกเปล่าเปลี่ยว อดีตชาติท่านเคยเกิดเป็นคนประเทศฟิลิปปินส์ เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่สำคัญรูปหนึ่ง เริ่มแรกท่านศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล และ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านมีอุบายในการปฏิบัติที่แปลกแต่อุบายนั้นให้ผลในทางบวกเสมอ และมีวิถียาวไกลสามารถบอกวันตายล่วงหน้าได้ถึง ๒ ปี

    ท่านชอบธุดงค์และท่องเที่ยวอยู่ตามถ้ำเป็นส่วนมาก ถ้ำทั่วทุกภาคในประเทศไทยไม่ว่าใกล้หรือไกลท่านได้เข้าไปอาศัยภาวนามาแล้วแทบทั้งนั้นตามบันทึก การเดินทางธุดงค์ของท่านนับได้กว่า ๗๒ ถ้ำ ถ้ำที่ท่านสร้างและอยู่จำพรรษาคือ ถ้ำเอราวัณ อำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี และถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    ท่านได้รับการยกย่องจากพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ว่า “เป็นพระกรรมฐานม้า” หมายความว่า เหมือนม้าศึกตัวปราดเปรียวฝีเท้าเร็วในเชิงรุกและรับ ท่านมีนิสัยต้องเที่ยวไปเหมือนม้า คือต้องเดินท่องเที่ยวรอนแรมปีนป่ายป่าเขาอาศัยอยู่ตามท้องถ้ำ อาศัยปัญญาเป็นอาวุธในการรุกรบกับกิเลส
    ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีวอก เวลาใกล้รุ่ง ณ บ้านหนองหิน หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของขุนเสลวาปี (ศรีคัทธมาส ลูกคำ) และนางหา ลูกคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม ๑๑ คน เป็นชาย ๕ คน และหญิง ๖ คน ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ หลังฤดูกาลออกพรรษาเดือนพฤศจิกายน ขึ้น ๑๕ ค่ำ มีพระธุดงค์กรรมฐานมาพักใต้ร่มไม้ในป่าช้าบ้านยางเดี่ยว ๔ รูป สามเณร ๕ รูป ตาผ้าขาว ๒ คน มีพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นหัวหน้าคณะ ท่านได้ฟังเทศน์จากพระอาจารย์มหาปิ่น ทำให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นท่านอายุได้ ๑๙ ปี รับราชการเป็นครูใหญ่ โรงเรียนประชาบาลตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
    -หลวงปู่ผั่น-ปาเรสโก-1024x576.jpg
    ใบสุทธิ หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
    ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ อายุ ๒๑ ปี ได้ออกบวชเป็นคณะสงฆ์ ฝ่ายมหานิกาย บวชได้ ๔ เดือนก็ลาสิกขา เข้ารับราชการเป็นนายทหารปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้รับเลื่อนยศเป็นสิบเอก ทุกวันหยุดราชการได้เดินทางไปฟังธรรมจากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ที่วัดป่าสาลวัน และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนสามารถรวมจิตเป็นหนึ่ง ยกจิตขึ้นมาพิจารณาอสุภะกรรมฐานเป็นที่น่าเบื่อหน่ายในกายสังขาร จึงตัดสินใจลาออกจากราชการเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ด้วยความเลื่อมใส อุปสมบทครั้งที่ ๒ ในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุได้ ๒๙ ปี ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสุทัศน์ สุทสฺสโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่อบวชแล้วไปศึกษาธรรมกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จากนั้นท่านธุดงค์ไปจำพรรษาตามถ้ำและป่าเขาในจังหวัดต่างๆ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ อายุ ๓๙ ปี พรรษา ๑๐ จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (ต่อ)
    ในวันพระปาฏิโมกข์วันหนึ่ง ท่านนั่งคิดคนเดียวว่าอยากจะลงสวดปาฏิโมกข์ ในวันอุโบสถ พอถึงเวลาลงอุโบสถ หลวงตามหาบัวกำลังจะขึ้นสวดพระปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นรีบพูดขึ้นว่า

    “เดี๋ยวก่อนท่านมหา(บัว) วันนี้พักก่อน เห็นท่านผั่นอยากสวดปาฏิโมกข์อยู่พอดี ให้ท่านผั่นสวดแทนก็แล้วกัน”

    หลวงปู่มั่นรู้วาระจิตที่คิดเช่นนั้น ท่านแทบล้มสลบไปต่อหน้า เหงื่อซึมไหลไปทั้งตัว มึนชาไปหมด นี่คือความมหัศจรรย์ในวาระจิตของท่านพระอาจารย์มั่น ถ้าเราคิดดีก็ดีไป แต่ถ้าคิดไม่ดีนี่สิ ย่อมอยู่กับท่านไม่ได้ เพราะท่านรู้หมดทุกอย่าง ท่านได้ศึกษาวัตรปฏิบัติ และอุบายธรรมในสำนักของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นที่เข้าใจสมประสงค์แล้วเมื่อท่านจะออกไปทำความเพียรเฉพาะตน ท่านได้ตั้งเจตนาของท่านไว้ ๙ ข้อ ดังนี้
    ๑.จะไม่ไปคลุกคลีหมู่คณะอีก นอกเสียจากสามเณรที่ติดตามท่านมาแต่ไหนแต่ไรมา ๒ รูป
    ๒. จะไปเลือกหาสถานที่ ที่เห็นว่าเหมาะพอสะดวกในการทำความเพียรได้แล้ว จะอยู่เป็นที่ ไม่เที่ยวเตร็ดเตร่
    ๓. จะพยายามใช้สติปัฏฐานให้มาก พิจารณากายคตาสติแต่อย่างเดียว ให้เป็น เอกายโน มคฺโค วิสุทฺธิยา
    ๔. การเทศนาแก่สานุศิษย์ และพุทธบริษัทภายนอกจะให้มีน้อยที่สุด
    ๕. คุณวิเศษจะไม่เกิดขึ้นในจิตโดยเร็วพลัน ทันความประสงค์ของตนสักปานใดก็ตาม จะถือเอาความสงบสงัด วิเวกกาย วิเวกวาจาเป็นหลัก
    ๖. เท่าที่ศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พอควรแก่การอบรมย่อมเป็นแนวทางจะฝึกตนดำเนินตนไปข้างหน้าได้แล้ว ไม่ต้องได้ยินได้ฟังอีก ก็พอจะเป็นไปบ้างแล้ว เว้นเสียแต่จะเกิดวิจิกิจฉาลังเลขึ้นภายหลังอีก จึงจะไปศึกษากราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตอีก
    ๗. จะเที่ยวเลือกหาสถานที่ทำความเพียร ที่ไม่ห่างไกลจากท่านพระอาจารย์มั่นจนเกินไป สถานที่ที่ได้เลือกคือบ้านหนองมะโฮง ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ระยะทางจากวัดป่าหนองผือ ประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร เท่านั้นและจำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษา
    ๘. ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆซึ่งศึกษาอบรมมาจะพยายามทำให้เป็นเนืองนิจ สม่ำเสมอ ไม่ให้ลุ่มๆดอนๆ ให้คงเส้นคงวา เป็นบรรทัดฐานตั้งอยู่ ถึงแม้จะเสื่อมถอยไป โดยอนุโลมสานุศิษย์หรือ ญาติโยมและกิเลสของตนเหล่านี้ให้มีน้อยครั้งที่สุด
    ๙. ถ้าเห็นสำนักใดหรือหมู่คณะใดประพฤติเลวทรามกว่าตน เจตนาจะไม่เพ่งโทษ สำนักใดหรือใครเป็นอันขาด
    [​IMG]
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก


    ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ กำนันโทน ลูกคำ ซึ่งเป็นพี่ชาย ได้นิมนต์ให้กลับมาโปรดญาติโยม ในถิ่นเกิดท่านพักภาวนาที่เสนาสนะป่าแห่งหนึ่ง ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ขณะที่ท่านพักจำพรรษา มีแสงสว่างสุกใสพวยพุ่งขึ้นมาจากทางด้านทิศตะวันตก เป็นอย่างนี้ตลอดพรรษา ด้วยบุพพนิมิตแห่งเทพบันดาล แนะนำสถานที่อันเป็นมหามงคล ท่านจึงสร้าง “วัดป่าหนองไคร้” บ้านหนองทองหลาง ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่หน้าตักกว้าง ๔ เมตร สูง ๕ เมตร (วัดจากฐาน ๗ เมตร) เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังไหว้และเพื่อจะได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับจากท่านพ่อลี กับอัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านมีอยู่มาก (ท่านรับแต่งตั้งให้เป็นพระผู้มีหน้าที่ลงไปเก็บอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์มั่น จึงได้รับส่วนแบ่งมามาก) เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประทานนามพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ว่า “พระพิชิตมาร” โดยได้บรรจะพระบรมสารีริกธาตุที่พระเศียร และพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จำนวนหลายร้อยองค์ ประมาณครึ่งแก้วไว้ที่พระนาภี(สะดือ) ในงานคราวนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
    ท่านบรรลุอุดมธรรมขั้นสูงสุดที่วัดป่าหนองหัวเสือ บ้านโต่งโต้น ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ก่อนมรณภาพเพียง ๕ เดือน มรณภาพเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ที่โรงพยาบบาลยโสธร สิริอายุ ๗๙ ปี ๑๐ เดือน ๔๙ พรรษา

    [​IMG]
    เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล ( ผั่น ปาเรสโก ) ณ วัดหนองใคร้
    [​IMG]
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าหนองไคร้ และเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ประสาร (ภาพเขียนฝาผนังภายในศาลา
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่ผั่น-ปาเรสโก/
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ๒๙๘.โปรดผีเมืองพาน ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Feb 2, 2024

    เรื่องราวลี้ลับการเดินธุดงค์ไปโปรดผีที่เมืองพาน
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    อาจารย์ยอด : หลวงพ่อเคน ออกธุดงค์ [พระ] new

    อาจารย์ยอด
    Jun 12, 2020
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า บ้านหนองหว้า ต.ทรายมูล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    -เขมาสโย-วัดป่าบ้านหนองหว้า.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พระอริยสงฆ์ผู้ยินดีอาศัยในธรรม

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า “พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง

     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    -เขมาสํโย-วัดป่าหนองหว้า-จ.สกลนคร.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า จ.สกลนคร

    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า “เขมาสโย” แปลว่า “ผู้ยินดีอาศัยในธรรม” ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท
    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง

    ภายหลังพระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ
    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์ อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘

    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ

    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด

    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก
    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น

    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕

    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น

    -เขมาสํโย-วัดป่าหนองหว้า.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสํโย วัดป่าหนองหว้า
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย

    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    สโย-วัดป่าบ้านหนองหว้า-จ.สกลนคร-970x1024.jpg
    หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า จ.สกลนคร
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงปู่จันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงปู่จันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงปู่จันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ

    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    (cont.)
    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน

    [​IMG]
    เจดีย์ หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า สว่างแดนดิน สกลนคร
    [​IMG]
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    [​IMG]
    อัฐิธาตุของท่านหลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่เคน-เขมาสโย/
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,285
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,033
    ๑๔.ลี้ลับเปรตเฝ้าวัด ธุดงค์ป่ากับหลวงปู่

    thamnu onprasert
    Feb 4, 2024

    เรื่องราวลี้ลับของผีเปรตเฝ้าวัดร้าง ชายป่าดงพญาเย็น อันเป็นที่มาแห่งวัด"จอมไทรวนาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...