สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015

    พูดได้ดี ตัวเราเองก็กำลังฝึกปล่อยวางอยู่
    พอจะรู้แนวทางอยู่บ้าง แล้วก็เคยเป็นแบบเดียวกับ จ่ายักษ์
    โทษคนรอบข้างไปหมด โทษคนรอบข้างไปทั่ว คิดกำจัดให้หมด
    สุดท้ายคิดได้ โทษตัวเราคนเดียว ก็หมดเรื่อง
    ุุถึงจะเป็น เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทำเพื่อ คนส่วนมาก
    บุญส่วนนั้นก็จะได้ไป รวมไว้เพื่อเป็น พระโพธิสัตว์
    แต่บาปในการฆ่าคน หรือ ฆ่าสัตว์ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ฆ่าอายุสั้นลง
    ต้องรับกรรมในนรกเพื่อชดเชย กรรมที่ได้กระทำเอาไว้
    แล้วก็ต้องเกิดเป็นสัตว์ให้เค้าฆ่า ห้าร้อยชาติ ต่อหนึ่งเคจ
    เกิดเป็นคนให้เค้าฆ่า อีกห้าร้อยชาติ ต่อหนึ่งเคจ
    เรียกว่าฆ่าหนึ่งครั้ง ต้องรับกรรมถึง ห้าร้อยชาติ
    หลักการเดียวกัน ทำอะไรกับใครไว้ ถึงแม้จะทำตามหน้าที่
    แต่กฏแห่งกรรม จะไม่ยอมให้ผู้ใดหนี กฏแห่งกรรม ไปได้
    กรรมจะกำหนดให้ผู้นั้น ต้องไปเกิดในอัตภาพที่จะต้องรับกรรม
    กรรมจะกำหนดเราไว้ ล่วงหน้าก่อนที่เราจะเกิดเสียอีก

    แต่พอเราเกิดมารับกรรมจริงๆ เราก็จะโทษว่า
    ตัวเรานี้ช่างวาสนาน้อยเสียจริง ฟ้าช่างกลั่นแกล้งเราเสียจริง
    ทั้งที่ความจริงแล้ว เราไปทำกรรมไว้กับคนอื่นก่อนแล้ว
    เราจึงต้องมาชดใช้กรรม ตามกรรมที่เราทำก่อนหน้า
    แล้วมันก็กำหนดชีวีตเราไว้แล้ว

    จ่ายักษ์ก็แบบเดียว อาจจะถูกกำหนดมา
    ให้ถูกโจรสังหาร ห้าร้อยชาติก็เป็นได้ ใครจะรู้
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    พูดได้ดี ตัวเราเองก็กำลังฝึกปล่อยวางอยู่
    พอจะรู้แนวทางอยู่บ้าง แล้วก็เคยเป็นแบบเดียวกับ จ่ายักษ์
    โทษคนรอบข้างไปหมด โทษคนรอบข้างไปทั่ว คิดกำจัดให้หมด
    สุดท้ายคิดได้ โทษตัวเราคนเดียว ก็หมดเรื่อง

    คนติ๊งต๊องแท้ๆ คือ คิดว่าคนอื่นเขาจะต้องติ๊งต๊องเหมือนกับที่เราติ๊งต๊องนั้นหละ

    ุุถึงจะเป็น เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทำเพื่อ คนส่วนมาก
    บุญส่วนนั้นก็จะได้ไป รวมไว้เพื่อเป็น พระโพธิสัตว์
    แต่บาปในการฆ่าคน หรือ ฆ่าสัตว์ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ฆ่าอายุสั้นลง
    ต้องรับกรรมในนรกเพื่อชดเชย กรรมที่ได้กระทำเอาไว้
    แล้วก็ต้องเกิดเป็นสัตว์ให้เค้าฆ่า ห้าร้อยชาติ ต่อหนึ่งเคจ
    เกิดเป็นคนให้เค้าฆ่า อีกห้าร้อยชาติ ต่อหนึ่งเคจ
    เรียกว่าฆ่าหนึ่งครั้ง ต้องรับกรรมถึง ห้าร้อยชาติ
    หลักการเดียวกัน ทำอะไรกับใครไว้ ถึงแม้จะทำตามหน้าที่
    แต่กฏแห่งกรรม จะไม่ยอมให้ผู้ใดหนี กฏแห่งกรรม ไปได้
    กรรมจะกำหนดให้ผู้นั้น ต้องไปเกิดในอัตภาพที่จะต้องรับกรรม
    กรรมจะกำหนดเราไว้ ล่วงหน้าก่อนที่เราจะเกิดเสียอีก

    แต่พอเราเกิดมารับกรรมจริงๆ เราก็จะโทษว่า
    ตัวเรานี้ช่างวาสนาน้อยเสียจริง ฟ้าช่างกลั่นแกล้งเราเสียจริง
    ทั้งที่ความจริงแล้ว เราไปทำกรรมไว้กับคนอื่นก่อนแล้ว
    เราจึงต้องมาชดใช้กรรม ตามกรรมที่เราทำก่อนหน้า
    แล้วมันก็กำหนดชีวีตเราไว้แล้ว

    จ่ายักษ์ก็แบบเดียว อาจจะถูกกำหนดมา
    ให้ถูกโจรสังหาร ห้าร้อยชาติก็เป็นได้ ใครจะรู้

    ปรกติมนุษย์ นั้นมี สติรู้ ศีล 5 เป็นพื้นฐาน
    ขนาดพระสงฆ์ยังมี พระแท้ + พวกเหลือบแฝงในผ้าเหลือง เลย
    ประสาอะไรกับร่างกายมนุษย์ใช่ว่าใจนั้นจะอยู่ในระดับมนุษย์ทั้งหมด

    ร่างมนุษย์แต่ใจต่ำทรามกว่ามนุษย์ด้วยกัน
    หรือตกต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานลงไปอีก นั้นก็ย่อมมีอยู่

    การป้องกันบุคคลผู้มีใจที่ต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉาน
    ก็เสมือนกับเกษตรกรที่ปกป้องแมลงจากสิ่งที่เขาเพาะปลูกอยู่นั้นหละ


    พิจารณาแบบนั้นนี้ติ๊งต๊องนะในเรื่องกฏแห่งกรรมหนะ
    ดูคลิบนี้เอานะ หากคิดในแบบติ๊งต๊องๆแบบท่านเนี๊ย
    สมเด็จนเรศวรต้องถูกคนอื่นยิงตายอีก 500 ชาติรึเปล่าหละ
    ซึ่งในความเป็นจริงหนะ
    คงไม่เป็นในแบบที่ท่านคิดเองเออเองเอาหรอกนะ

     
  3. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015

    ถ้าเป็น คนสามัญธรรมดา
    เมื่อใดที่ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ก็จะต้องเกิดมาชดใช้ให้เค้า
    แบบเดียวกับที่เราทำกับคนอื่นไว้
    ทำกับเค้าไว้อย่างไร ก็จะต้องรับกรรม
    แบบเดียวกัน 500 ชาติ เป็นอย่างสูง
    แต่ถ้าใครสำนึกผิดได้ ในสิ่งที่ตนเองทำได้
    ขอ อโหสิกรรมต่อกัน ต่อเจ้ากรรมนายเวร
    อาจจะไม่ต้องรับกรรมถึง 500 ชาติก็ได้
    แต่ เจ้ากรรมนายเวรของเรา
    จะต้องอโหสิกรรมให้เราด้วย
    หากเราขอ อโหสิกรรมข้างเดียว
    ก็จะไม่ได้ลดหย่อนผ่อนโทษ

    แต่ถ้าหาว่า รับกรรมห้าร้อยชาติแล้ว
    เรายังไม่สำนึกผิดในกรรมที่เราเคยก่อไว้
    ทีนี้แหละ ที่จะต้อง ลงนรก ไปรับกรรมอีกครั้งหนึ่ง
     
  4. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    คำว่า 100 ชาติ 500 ชาติ เปน idiom
    ของภาษาบาลี

    ไม่ได้หมายเอา จำนวน

    แต่เปนความหมาย เชิงความถี่ ความบ่อย

    500 ชาติ ก้จะหมายถึง ตลอดไป ไม่มีจบ

    300 ชาติ ก้จะมี ว่างเว้นบ้าง

    100 ชาติ นี่มีพอเวลา หายใจ
    นั่งพัก กลับตัว กลับใจ ยังสู้ได้
    แบบ เจืองจาง( พุทธ ไม่มีแก้กรรม
    ล้างหาย)

    หรือ กรณี จำนวน เช่น โจร500
    ก้ไม่ได้แปลว่า มีโจร500 คน แต่
    หมายถึง คนในที่นั้นทั้งหมดเปน
    โจรโดยสมบูรณ์ จำนวนจริงอาจ
    จะมี แค่ 1 คนอะไรงี้

    ปล. ในทางนัยยะ ซ้อน เวลาพูด
    ว่าต้องรับ กรรม500 ชาตินั้น ใน
    แต่ละชาติใน 500 หากไม่อโหสิกรรม
    ก้จะต้องเสวยอีก 500

    ดังนั้น มิติ ไม่จบสิ้นที่แฝง เวลา
    พูดว่า 500 คือ ต้องคูณ 500
    และ พอคูณแล้ว ได้เท่าไหร่
    ก้เอา 500 คูณเข้าไปอีก หาก
    "ขาดการสดับธรรม" หรือ ได้
    พบ สัตตบุรุษ

    เช่น พระสมณโคดม สมัยเปน
    พระโพธิสัตว์ เกิด มานะ นิดเดียว
    ก้ไปเกิดเปน สิงห์โตในป่า

    ซึ่ง สิงห์โตในป่า นี่ เวลาตายก้จะ
    เวียนเปน สิงห์โตอยู่อย่างนั้นไม่
    จบสิ้น ถ้าไม่เจอ สัตตบุรุษ ซึ่ง
    ในชาดกก้ตรัสว่า เดชะบุญมี
    พระปัจเจกไปเจอเข้า จึงไปเตือน
    ถึงได้กลับมาเกิดเปนคน
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    โย วาปิ กตฺวา น กโรมิจฺจาห
    อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
    นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ฯ
    ผู้ที่พูดคำไม่จริงเสมอย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ที่ทำแล้วกลับบอกว่าไม่ได้ทำ
    ชนทั้ง ๒ นั้น เป็นมนุษย์ที่มีกรรมอันต่ำช้า ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ฯ






    เรื่องของทางธรรม ผิดก็คือผิด แม้เราเองกล่าวผิด ไม่ถูกก็จะต้องได้รับผลกรรมเฉกเช่นเดียวกัน จะไม่มีการไว้หน้า ในการแสดงธรรม เมื่อติดกระดุมเม็ดแรกที่สำคัญที่สุดผิด เม็ดต่อไปก็ย่อมผิดพลาดตามไปด้วย และยังกล่าวสอนชี้ทางปฎิบัติให้ผู้อื่นหลงทางหลงโลกหลงธรรม

    ข้อคิด

    บุคคลที่คิดว่าตนเองมีความมั่นคง คิดเอาว่ามีความจริงแท้แน่นอน แท้จริงกลับมีเนื้อหาสาระที่ปลอม แต่กลับกระทำตนให้มีตนสั่นไหว ผุ กร่อน ลงได้ แม้แต่กลับเสียงนกเสียงกาใดๆ

    กับ

    บุคคลที่ยังไม่มีความมั่นคง แต่มีความจริงแท้แน่นอน แม้กระนั้นก็สามารถทำให้ผู้อื่นที่มีความเท็จสั่นไหวได้ ด้วยความเป็น กรด กัดเซาะ แหลมคม ทิ่มตำ

    ไม่อยากจะคิดเลยว่า เมื่อถึงเวลานั้น ปรากฎ

    บุคคลที่มีความมั่นคง ยืนหลักปักฐาน ยึดที่มั่นในชัยสมรภูมิ มีความจริงแท้แน่นอน จะสามารถสลาย เหตุแห่งบาป และเหตุแห่งกรรม ไปได้มากมายสักเพียงใด

    ก็หวังว่า ท่านผู้นั้น จะปรากฎตนในเร็ววัน เวลาโลก เวลาภพภูมิ ต่างกันแค่อึดใจ





    - ดวงตาเห็นธรรมที่แท้จริง (จักษุ ๕)
    - คุณสมบัติธรรมของความเป็นครูสอนธรรมชั้นสูงเป็นโลกุตระธรรม ๕ ประการ ศีล ปัญญา สมาธิ วิมุตติ วิมุตติญานทัสสนะ
    -
    การสังคายนาพระไตรปิฏก ด้วยปฎิสัมภิทาญานและวสี ๕
    - พุทธทำนาย มหาสุบิน (การปรากฎ และ ทำลายอภยปริตร ห้วงกึ่งพุทธกาล)







     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2020
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฝากไว้กับบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้เราจนปัญญา

    แต่อยากจะได้ดีได้เด่นในทางธรรมของพระบรมมหาศาสดา

    แต่กระทำตัว เหมือน นางชีลาขาด ไอ้เณร ไอ้ทิด ลาสึก หรือ หนีสึก บอกว่า ธรรมทั้งมวลคิดขึ้นมาเองประมวลขึ้นมาเอง

    เกิดมาไม่เคยเจอคนสอน ธรรมเหนือโลก เหลือพ้นวิสัย และถ้าเขาผู้นั้นหรือใครหรือมันมึงกูเอ็งข้าไม่รู้ไม่เห็นจริงๆ แล้วใครหน้าไหน มันจะมีปัญญาธรรมที่ไหน มาวิสัชนาธรรม ขั้นสูง



    อันที่จริงแล้ว ถ้ามันรู้ฐานะ มันควรจะตกใจ หรือไม่ก็ขอคำแนะนำ ฝากตัวเรียนธรรม ร่วมปรึกษาวิสัชนาธรรม ร่วมพิจารณาธรรมกัน เป็นบทเป็นข้อธรรมไป เพื่อประโยชน์สุข ของมวลมหาชน
    เห็นแต่ ปริยัติงูพิษโดยส่วนมากที่ปรากฎ มายียวนกวนใจ ทำตัวต่ำๆ กลางๆ พอลงเล่นด้วย ก็ว่าไม่สำรวม พอต่อปากต่อคำ ก็ว่าไม่เหมาะ ไม่ใช่ไม่มี

    เวลาก็ยิ่งมีน้อย แต่ก็มีเรื่องงี่เง่าตั้งแต่ สากเบือยันเรือรบ ราคะ โทสะ โมหะ กิเลส หนา กินขี้ปี้เยี่ยว มามั่วนิ่ม มั่วซั่วในกระทู้ธรรม ในชีวิต ไม่รู้เป็นเวรกรรมอะไร

    พฤติกรรมเลวกว่า ลูกศิษย์ นิครนถ์ เพราะอะไร เพราะกิเลสหนา ไอ้ครั้นจะให้เป็น อุบาสก อุบาสิกา พุทธบริษัท ๔ มันก็จะเป็นกับเขาไม่ได้ ก็เลยจะเป็นได้แค่ อลัชชี โมฆะบุรุษ อามิสทายาทแทน



    มหาสีหนาทสูตร


    โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะลาสิกขาจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน เธอได้กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า

    สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมา ด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น”


    สารีบุตร เวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

    บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้


    ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
    ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า


    วันนี้เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็นธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก




    ไฉนหนอแล เราพึงสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นอาศัยเถิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกแห่งใจของ
    เราด้วยใจ ได้อันตรธานจากพรหมโลกไปปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือน
    บุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดี-
    *พรหมกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกมณฑลเข่าเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน
    ประนมอัญชลีมาทางเรา แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็น
    อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่านั้นสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียว อาศัยอยู่แล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีในอนาคต
    แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็จักสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียว
    อาศัยอยู่แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็จงสักการะเคารพ
    พระธรรมนั่นแหละอาศัยอยู่เถิด ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นได้กล่าวไวยากรณ
    ภาษิตนี้จบลงแล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเหล่าใดด้วย พระพุทธเจ้าใน อนาคตเหล่าใดด้วย และพระพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วย ผู้ยังความโศกของสัตว์เป็นอันมากให้เสื่อมคลาย ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักษาตน จำนงความเป็นใหญ่เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงทำความเคารพพระสัทธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวประพันธ์คาถานี้ ครั้น
    แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้การที่เราทราบการเชื้อเชิญของพรหมแล้วสักการะเคารพอาศัยธรรมที่เราตรัสรู้นั้น
    นั่นแหละอยู่ เป็นการสมควรแก่ตน เมื่อใด แม้สงฆ์ประกอบไปด้วยความเป็น
    ใหญ่แล้ว เมื่อนั้น เราก็เคารพแม้ในสงฆ์ ฯ





    ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒
    ประการเป็นไฉน คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็น
    ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้อง
    ส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์
    รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไป
    เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไป
    เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด
    ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์
    ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์
    และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
    อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้
    เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุ
    ให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ
    ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ
    ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
    เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยัง
    ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนด
    รู้แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
    เราละได้แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ
    ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด
    เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
    และมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ
    ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจดดีแล้ว
    เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
    และมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
    มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล
    เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
    ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
    เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯ
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศ
    ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์
    เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า
    อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของ
    ภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดา
    ชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศ
    ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา
    มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า
    อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ
    เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไป
    จนตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง
    แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ
    ของเทวดาทั้งหลาย ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
    โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ
    อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
    จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่าง
    เกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไร
    คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ
    อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น
    เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
    แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรม
    ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
    ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
    เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรม
    ทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
    แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ
    ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่าน
    จึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ
    นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
    ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
    โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ
    ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม
    เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจร
    ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ
    จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ
    เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น
    แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
    เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณ
    ทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย
    ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
    เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา
    เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
    มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว
    การพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้
    ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
    เราเจริญแล้ว ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง
    มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น
    วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร
    จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้
    คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    แทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
    แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม
    ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม
    เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
    ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
    แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ-
    *ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ
    นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
    ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
    โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕
    ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภานปฏิสัมภิทา
    ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาน
    ปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ
    พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้
    ฯลฯ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
    เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน
    ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือ
    การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐
    มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ
    และปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธาน
    สังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา
    ไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร
    นี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
    ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้
    ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    สว่างไสว ... ฯ
    จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธาน
    สังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท
    ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ
    ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ
    ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท
    ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม
    ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
    พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
    พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ-
    ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐
    มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระ-
    *โคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ
    ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ
    ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ
    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่ง
    แห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถ
    ว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง
    ภาวนา ฯลฯ ฯ
    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา
    รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง
    แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ
    ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ
    ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕
    มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ
    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง
    แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ
    อรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม
    ทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว
    ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัย
    ไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุง
    แต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน
    อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่า
    บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย
    ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี
    นิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ
    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก
    แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ
    อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐
    มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มี
    ญาณ ๔๐๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน
    อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก
    ต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มี
    ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
    เกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความ
    แตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่ง
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
    แล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
    มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐
    มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ ฯ

    [จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ใน
    อินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของ
    สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณ-
    *ญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมด
    ด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณ-
    *ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน
    พุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุติ ๓๐๐ มีญาณ
    ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุติ ๑๗๐๐
    มีญาณ ๓๔๐๐ ฉะนี้แล ฯ
    จบปฏิสัมภิทากถา



    คนที่ไม่เข้าใจ ก็คงจะคิดได้เพียงว่า สวดมนต์ท่องจำได้จนขึ้นใจ หรือไม่ขึ้นใจก็ตาม แทงตลอดด้วยทิฐิ หรือแทงไม่ได้ตลอดก็ตาม เมื่อตายไปก็มีและไม่มีสามารถ จดจำไม่ได้บ้าง จดจำได้บ้างแล้วนำไปสวดสาธยายต่อในภพภูมิอื่นๆ ทำให้ปราฏกด้วยตนเองก็ดี พระมหาเถระไปเทศนาโปรดก็ดี เทพบริษัทแสดงธรรมก็ดี

    อยู่ๆพระสูตรใด พระสูตรหนึ่ง ลอยตามไปบนสวรรค์หรือ?
    พระสูตรใดพระสูตรหนึ่ง หายไปเพราะหลงลืมหรือ?

    แล้วจู่ๆพระสูตรนั้นปรากฎแก่เราได้อย่างไร? พระมหาเถระไปเทศนาโปรดก็ดี เทพบริษัทแสดงธรรมก็ดี แล้วทำไมต้องสูตรนั้น บทแห่งธรรมทั้งหลายนั้น ในเมื่อเราจำไม่ได้ด้วย สภาวะกรรมบันดาล แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องจำได้

    การสืบต่อเนื่องก็ดี ขอให้เจริญๆ

    (คำถาม อันตราย ที่ปุถุชน เทวดา มิได้ถาม หรือคิดมาถามไม่ได้ ใครจะพึงสามารถถามได้ นั่นก็เป็นอัธยาศัยแห่งบุพกรรมนั้นๆ แต่ไม่ใช่ไม่มี ในบางเรื่อง แห่ง พุทธเนรมิต )


    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.


    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.





    มหาวรรคที่ ๕
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
    ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคล
    พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ
    นั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติ หลงลืม
    เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย
    ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
    สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้
    บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่ง
    ธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
    อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
    ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี
    ด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
    บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลยแต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความ
    ปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือ
    ธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียง
    กลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
    ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ
    คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรม
    ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

    ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม
    แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม
    ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
    แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดง
    ธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้
    นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าว
    อย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
    แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึง
    กล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกันย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔
    ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
    ด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ


    ในคลังสมบัติ
    ดูกรท่านทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากัน
    หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา
    เมื่อพวก
    นั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา
    สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็น
    ฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็น
    อย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียร
    เป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัย
    ความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว
    ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
    เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากัน
    หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติ
    ย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง
    ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้น
    ทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการ
    สรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึง
    พากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็น
    อย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาป-
    *โทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบ
    อย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกร
    ภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่น
    ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคต
    จึงไม่ถึงทุกข์ ฯ

    pdx5ama815dJtGvrG4j-o.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2020
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องราว พุทธปาสาทิกธรรม ต่อเนื่องที่มาจักเป็นเรื่องราวต่อมายัง สังคติสูตร สู่ ปฐมสังคายนา


    เวลาไล่เลี่ยกัน!

    ปาสาทิกสูตร
    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทในสวนอัมพวันของพวก
    ศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล นิครณฐ์นาฏบุตร
    ทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นานนัก
    เพราะกาลกิริยาของนิครณฐ์นาฏบุตรนั้น พวก
    นิครณฐ์แตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะวิวาทกัน
    ขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้า
    รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้า
    ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควร
    จะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
    ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้า
    ข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ คงมีแต่
    ความตายเท่านั้น จะเป็นไปในพวกสาวกของนิครณฐ์นาฏบุตร พวกสาวกของ
    นิครณฐ์นาฏบุตรแม้เหล่าใด ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว พวกสาวกแม้เหล่านั้น
    มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอย ในพวกสาวกของนิครณฐ์นาฏบุตร
    โดยเหตุที่ธรรมวินัยอันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม
    ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่าน
    ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็น
    ธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ฯ

    ครั้งนั้น สามเณรจุนทะอยู่จำพรรษาในเมืองปาวา ได้เข้าไปหา
    ท่านพระอานนท์ซึ่งอยู่ในสามคาม ครั้นกราบไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว ได้นั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    นิครณฐ์นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครณฐ์-
    *นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์แตกกันแล้ว เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุ
    ที่ธรรมวินัยอันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่
    จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่
    ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว
    เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ฯ

    เมื่อสามเณรจุนทะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสามเณร
    จุนทะว่า อาวุโส จุนทะ มีมูลเหตุแห่งถ้อยคำนี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าละ
    อาวุโส จุนทะ มาเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
    พึงทูลบอกเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาค สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์
    แล้ว
    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์และสามเณรจุนทะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
    *พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐ์นาฏ-
    *บุตรทำกาละแล้วที่เมืองปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครณฐ์นาฏบุตรนั้น
    พวกนิครณฐ์นาฏบุตรแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัย
    อันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติ
    ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น
    สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรม
    วินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ดังนี้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ข้อนี้ย่อมมีได้อย่างนั้น ใน
    ธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้
    ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัย
    ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ อย่างนี้แล ดูกรจุนทะ ศาสดาในโลกนี้
    ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ
    ไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ
    ความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกไม่
    เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตาม
    ธรรม และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้นเป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เป็นลาภของท่านนั้นละ ท่านนั้นได้ดีแล้ว ศาสดาของท่าน
    ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่าก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ
    ไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความ
    สงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ท่านไม่เป็นผู้
    ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรมและ
    ย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ แม้ศาสดาก็เป็นผู้ควร
    ติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรติเตียนในธรรมนั้น ส่วนสาวกควรสรรเสริญใน
    ธรรมนั้นอย่างนี้ ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
    จงมาปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงแล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด ผู้ที่ชักชวน
    ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้นจะประสบสิ่งที่
    ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่า ข้อนี้ย่อมมีใน
    ธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติ
    ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น
    สัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และ
    ธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะ
    นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่าน
    ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม เป็นผู้
    ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้นประพฤติ สาวก
    นั้นเป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่านนั้น ท่าน
    นั้นได้ไม่ดีแล้ว ด้วยว่า ศาสดาของท่านไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่าก็
    เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติ
    ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมา-
    *สัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งตัวท่านก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติ
    ชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้นประพฤติ ด้วยเหตุดังนี้แล
    จุนทะ แม้ศาสดาก็เป็นผู้ควรติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรติเตียนในธรรมนั้น
    แม้สาวกก็เป็นผู้ควรติเตียนในธรรมนั้น อย่างนี้ ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะ
    สาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมอันควร
    รู้ให้สำเร็จได้โดยแท้ ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้ว
    ปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น จะประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอัน
    มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดา
    กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์
    ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
    ประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรม
    เล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้
    ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็น
    สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เป็น
    ผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น
    สาวกนั้นเป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่านนั้น
    ท่านนั้นได้ไม่ดีแล้ว ด้วยว่าศาสดาของท่านเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ และธรรม
    เล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะ
    นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้
    เป็นพระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าตัวท่านไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่
    ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติหลีก
    เลี่ยงจากธรรมนั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ แม้ศาสดาก็ควรสรรเสริญในธรรมนั้น
    แม้ธรรมก็ควรสรรเสริญในธรรมนั้น แต่ว่าสาวกควรติเตียนในธรรมนั้นอย่างนี้
    ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาปฏิบัติตาม
    ธรรมที่พระศาสดาของท่านแสดงแล้ว บัญญัติแล้วเถิด ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน
    ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้น จะประสบ
    บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัย
    ที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไป
    จากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
    ประกาศไว้อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรม
    เล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้
    ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันท่านผู้เป็น
    สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้
    ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้นประพฤติ สาวก
    นั้นเป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เป็นลาภอย่างยิ่งของท่านนั้น
    ท่านนั้นได้ดีแล้ว ด้วยว่าพระศาสดาของท่านก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็น
    ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม
    ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งตัวท่านก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
    แก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้น
    ประพฤติ ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ แม้ศาสดาก็ควรได้รับสรรเสริญในธรรมนั้น
    แม้ธรรมก็ควรได้รับสรรเสริญในธรรมนั้น แม้สาวกเล่าก็ควรได้รับสรรเสริญใน
    ธรรมนั้นอย่างนี้ ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
    เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมอันควรรู้ให้สำเร็จได้โดยแท้ ผู้ที่สรร
    เสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้วย่อมปรารภความเพียรโดย
    ประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ
    เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็น
    ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม
    ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ ศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้ว
    ในโลกนี้ และธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่
    นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้
    เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง
    อรรถในพระสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อันศาสดาของ
    สาวกเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว
    ทำให้มีปาฏิหาริย์พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดีแก่สาวกเหล่านั้น ครั้น
    ต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดาของสาวกเหล่านั้น ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็น
    ปานนี้แล เป็นผู้ทำกาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้เกิดแล้ว
    ในโลก และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว
    เป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม
    ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าเราทั้งหลายไม่ได้เป็นผู้รู้แจ้งอรรถใน
    พระสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่ได้เป็นปาพจน์อันเราทั้งหลาย
    ทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์
    พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่
    ศาสดาของเราทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้วย่อมเป็นเหตุ
    เดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย ฯ

    ดูกรจุนทะ อนึ่ง พระศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว
    เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็น
    ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น
    เป็นผู้รู้แจ้งอรรถในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อัน
    ศาสดานั้นทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำ
    ให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น
    ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดาของสาวกเหล่านั้น ดูกรจุนทะ ศาสดา
    เห็นปานนี้แล ทำกาละแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้ศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เกิดขึ้น
    แล้วในโลก และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้
    ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
    เป็นธรรมอันท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และเราทั้งหลายก็ได้เป็นผู้รู้แจ้ง
    อรรถในสัทธรรม ทั้งพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นปาพจน์อันเราทั้งหลาย
    ทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มี
    ปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี ครั้นต่อมา ความอันตรธาน
    ย่อมมีแก่ศาสดา ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้ว ย่อมไม่เป็น
    เหตุเดือดร้อนในภายหลังแก่สาวกทั้งหลาย ฯ

    ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
    ศาสดาไม่ได้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้รู้ราตรีนาน ไม่เป็นผู้บวชนาน ไม่เป็นผู้ล่วงกาล
    ผ่านวัยมาโดยลำดับแล้วอย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกร
    จุนทะ เมื่อใดแล แม้ถ้าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ
    เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ อย่างนี้
    พรหมจรรย์นั้น บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เมื่อนั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดา
    เป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
    แต่ว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้นไม่เป็นเถระ ไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่
    เป็นผู้ได้รับแนะนำ ไม่เป็นผู้แกล้วกล้า และไม่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
    ไม่สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ ไม่สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มี
    ปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม พรหมจรรย์นั้น
    ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ ดูกรจุนทะ ในกาลใดแล แม้ถ้าพรหมจรรย์
    ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน
    เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดา
    นั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า และ
    เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้
    โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นแล้วด้วยดี
    โดยชอบธรรม อย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้คือ ศาสดา
    เป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ
    และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้นก็เป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้
    รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
    สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มี-
    *ปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทอันบังเกิดขึ้นแล้วด้วยดี โดยชอบธรรม แต่ภิกษุทั้งหลาย
    ที่เป็นสาวกของศาสดานั้นที่เป็นผู้ปานกลางไม่มี หรือภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกผู้
    ปานกลางมีอยู่ แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี ภิกษุณี
    ทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นเป็นผู้ใหม่มีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาวิกา
    ของศาสดานั้นที่เป็นเถรีไม่มี หรือภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็น
    เถรีมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นผู้ปานกลางไม่มี หรือ
    ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นผู้ปานกลางมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลาย
    ผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี หรือภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของ
    ศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่มีอยู่ แต่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็น
    คฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี หรืออุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวก
    ของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ แต่อุบาสก
    ทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกามไม่มี
    หรืออุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวบริโภค
    กามมีอยู่ แต่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
    ห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี หรืออุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น
    ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ แต่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็น
    สาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกามมีอยู่ แต่พรหมจรรย์
    ของศาสดานั้น มิได้เป็นพรหมจรรย์สำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง ชนเป็นอันมาก
    รู้ได้ เป็นปึกแผ่นพอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี หรือพรหมจรรย์
    ของศาสดานั้น เป็นพรหมจรรย์สำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้
    เป็นปึกแผ่นพอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แต่พรหมจรรย์นั้นไม่เป็น
    พรหมจรรย์ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศอย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่
    บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น


    ดูกรจุนทะ เมื่อใดแล พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้
    คือศาสดาเป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมา
    โดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของศาสดานั้นก็เป็นเถระเชี่ยวชาญ ได้รับ
    แนะนำแล้ว แกล้วกล้า บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว สามารถเพื่อจะ
    กล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัป-
    *วาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยดี โดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของ
    ศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่
    เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นเถรีก็มีอยู่ ภิกษุณี
    ทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดา
    นั้นที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่ อุบาสกทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์
    นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น
    ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกามก็มีอยู่ อุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของ
    ศาสดานั้นที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ อุบาสิกาทั้งหลาย
    ผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวบริโภคกามก็มีอยู่ และ
    พรหมจรรย์ของศาสดานั้นก็เป็นปาพจน์สำเร็จแพร่หลายกว้างขวาง ชนเป็นอันมาก
    รู้ได้ เป็นปึกแผ่นพอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี และถึงความ
    เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศแล้วอย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
    เมื่อนั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็บัดนี้ เราแลเป็นศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    เกิดขึ้นแล้วในโลก ธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็น
    ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม
    อันเราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้แล้ว สาวกทั้งหลายของเราเล่า ก็เป็นผู้
    รู้แจ้งอรรถในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิงเล่า ก็เป็นพรหมจรรย์
    อันเราทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มี
    ปาฏิหาริย์พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดีแก่เหล่าสาวกแล้ว ดูกรจุนทะ
    ก็บัดนี้ เราแลเป็นศาสดาผู้เถระ ผู้รู้ราตรีนาน ผู้บวชนาน ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา
    โดยลำดับ ฯ

    [ ดูกรจุนทะ ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของเราเป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ
    ได้รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
    สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถเพื่อจะแสดงธรรมให้มี
    ปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยดี โดยชอบธรรมมีอยู่ ดูกรจุนทะ
    บัดนี้ ภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นเถระก็มีอยู่ ผู้ปานกลางก็มีอยู่ ผู้ใหม่ก็มีอยู่
    ดูกรจุนทะ บัดนี้ ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นเถรีก็มีอยู่ ผู้ปานกลางก็มีอยู่
    ผู้ใหม่ก็มีอยู่ ดูกรจุนทะ อุบาสกสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว
    ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่ ดูกรจุนทะ บัดนี้ อุบาสิกา
    สาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริ-
    *โภคกามก็มีอยู่ ดูกรจุนทะ อนึ่ง ในบัดนี้ พรหมจรรย์ของเราก็สำเร็จผลแพร่หลาย
    กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่นพอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้
    ด้วยดีแล้ว ฯ

    ดูกรจุนทะ เท่าที่ศาสดาทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลก ในบัดนี้
    เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาอื่นสักผู้หนึ่งผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศเหมือน
    เรา ดูกรจุนทะ อนึ่ง เท่าที่สงฆ์หรือคณะเกิดขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เราไม่
    พิจารณาเห็นสงฆ์หรือคณะสักหมู่หนึ่งหรือคณะหนึ่ง ซึ่งถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศ
    ด้วยยศเหมือนภิกษุสงฆ์เลย ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าว
    พรหมจรรย์นั้นใดว่า เป็นพรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการ
    ทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง ประกาศไว้
    ดีแล้ว ดังนี้ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์นั้นนี้แหละว่า เป็น
    พรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง
    อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง ประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า บุคคลเห็น
    อยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นพื้น
    แห่งมีดโกนอันลับดีแล้ว แต่จะไม่เห็นคมแห่งมีดโกนนั้น ดูกรจุนทะ ข้อนี้อัน
    อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น ดูกรจุนทะ ก็คำนี้
    นั้นแล อันอุทกดาบสรามบุตรกล่าวแล้ว เป็นคำเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
    ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะหมายเอามีดโกน
    เท่านั้น ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นใดแลว่า บุคคลเห็น
    อยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นนี้เทียวว่า
    บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้ บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็น
    บุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วย
    อาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็น
    พรหมจรรย์อันท่านผู้เป็นศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล ในคำนั้น
    บุคคลพึงนำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์
    นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลพึง
    นำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้นเข้าไว้ในคำนั่น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์นั้น
    อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่าพึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลชื่อว่า
    ย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละเรียกว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น
    ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์อันสมบูรณ์ด้วยอาการ
    ทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว
    บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศดีแล้วดังนี้ บุคคลเมื่อกล่าวโดย
    ชอบพึงกล่าวพรหมจรรย์นั่นนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์
    ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง
    เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศดีแล้ว ดังนี้ ฯ

    เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน
    เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
    รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น
    โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน
    พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น
    อันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ
    สุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ก็ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น อันเรา
    แสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
    รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์
    นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์
    แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    คืออะไรบ้าง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
    โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
    ดูกรจุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล อันเราแสดง
    แล้วด้วยความรู้ยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
    รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์
    นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน
    พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่
    ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ


    ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกัน
    ไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิต
    ของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล
    ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ เธอทั้งหลาย
    ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอ
    พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้
    เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหน
    จะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะ
    เหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควร
    กว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารี
    นั้นแหละ
    อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่า
    นั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หาก
    ว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล
    ถือเอาอรรถเท่านั้นผิด ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึง
    ยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้อย่างไหนจะสมควร
    กว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้แหละของ
    พยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้น อันพวกเธอไม่พึงยกย่อง ไม่พึง
    รุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ
    อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรอง
    อรรถนั้น ฯ


    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่า
    ในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล
    ถือเอาอรรถเท่านั้นชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ พวกเธอทั้งหลาย
    ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้เทียว หรือว่าพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้
    เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะ
    เหล่านี้แหละ ของอรรถนี้แล สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยก
    ย่อง ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี
    เพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่า
    ในภาษิตของสพรหมจารีนั้น
    คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล
    ถือเอาอรรถนั่นแหละชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายก็ชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลาย
    พึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของสพรหมจารีนั้นว่า ดีแล้ว
    สพรหมจารีนั้น
    อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย อาวุโส พวกเรา
    ได้ดีแล้วที่จักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน
    ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้า
    ถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้ ฯ


    ดูกรจุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อเป็นเครื่องปิดกั้นอาสวะ
    ทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบันแก่พวกเธออย่างเดียวเท่านั้น ดูกรจุนทะ อนึ่ง เราไม่ได้
    แสดงธรรมเพื่อเป็นเครื่องกำจัดอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในสัมปรายภพอย่างเดียว
    เท่านั้น ดูกรจุนทะ แต่เราแสดงธรรมเพื่อเป็นเครื่องปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่เป็น
    ไปในปัจจุบันด้วย เพื่อเป็นเครื่องกำจัดอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพด้วย
    ดูกรจุนทะ เพราะฉะนั้นแล จีวรใดอันเราอนุญาตแล้วแก่พวกเธอ จีวรนั้นควร
    แก่พวกเธอ เพียงเพื่อเป็นเครื่องบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ
    ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความ
    ละอายให้กำเริบ บิณฑบาตใดอันเราอนุญาตแล้วแก่พวกเธอ บิณฑบาตนั้นควร
    แก่พวกเธอ เพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไปได้ เพื่อ
    จะให้ความลำบากสงบ เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทา
    เวทนาแก่ จักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น ด้วยประการดังนี้ และความเป็นไป
    แห่งชีวิต ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่สำราญ จักมีแก่เรา เสนาสนะใด
    อันเราอนุญาตแล้วแก่พวกเธอ เสนาสนะนั้นควรแก่พวกเธอ เพียงเพื่อเป็นเครื่อง
    บำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
    เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในการหลีกออก
    เร้นอยู่ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารใดอันเราอนุญาตแล้วแก่พวกเธอ คิลานปัจจัย
    เภสัชบริขารนั้น ควรแก่พวกเธอ เพียงเพื่อเป็นเครื่องกำจัดเวทนาทั้งหลายอันเกิด
    แต่อาพาธต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีความลำบากเป็นอย่างยิ่ง
    ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
    อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบ
    ตนให้ติดเนื่องในความสุขอยู่ ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าว
    อยู่อย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส การประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุขนั้นเป็นไฉน เพราะว่า แม้การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขมี
    มากหลายอย่างต่างๆ ประการกัน ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความ
    สุข ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของ
    พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลาย
    กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อ
    พระนิพพาน ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรจุนทะ คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์แล้ว
    ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องใน
    ความสุขข้อที่ ๑ ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้ถือเอาสิ่งของ
    ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบ
    ตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒ ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลก
    นี้ กล่าวเท็จแล้ว ยังตนให้ถึงความสุขให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้
    ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๓ ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้
    เป็นผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นการประกอบตน
    ให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔ ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔
    ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด
    เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระ-
    *นิพพาน ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญ-
    *เดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตน
    ให้ติดเนื่องในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้อยู่ ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น
    อันพวกเธอพึงกล่าวว่าพวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
    เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบพึงกล่าวกะพวกเธอหามิได้ พวกปริพาชกอัญญ-
    *เดียรถีย์เหล่านั้นพึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นจริงก็หามิได้ ดูกรจุนทะ
    การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรจุนทะ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุขข้อที่ ๑ ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
    แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข
    ข้อที่ ๒ ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
    ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุข ข้อที่ ๓ ดูกรจุนทะ ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
    ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา
    เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔
    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น
    ไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ดูกรจุนทะ ก็ฐานะ
    นี้แลย่อมมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณ
    ศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการ
    เหล่านี้แล ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้
    พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบ
    พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริง
    หามิได้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
    อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เมื่อพวกท่านประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ ผลกี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ อันท่าน
    ทั้งหลายพึงหวังได้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวก
    เธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความ
    สุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึง
    หวังได้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะเป็นพระโสดาบัน
    มีอันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าเพราะสังโยชน์
    สามสิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ดูกรอาวุโส ข้ออื่น
    ยังมีอีก ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุด
    แห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ
    เบาบางข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ดูกรอาวุโส ข้ออื่น
    ยังมีอีก ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ [เป็นพระอนาคามี] ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น
    เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ สิ้นไป
    ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก
    ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
    สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔
    เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องใน
    ความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้
    อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
    อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้มีธรรมไม่ตั้งมั่นแล้วอยู่
    ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า มีอยู่แลอาวุโส ธรรมทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย
    เป็นธรรมอันพวกสาวกไม่ควรก้าวล่วงตลอดชีวิต ดูกรอาวุโส เสาเขื่อนหรือ
    เสาเหล็กมีรากอันลึก อันบุคคลปักไว้ดีแล้วเป็นของไม่หวั่นไหว ไม่สะเทื้อน
    แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ธรรมทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย
    เป็นธรรมอันพวกสาวกไม่ควรก้าวล่วงตลอดชีวิต
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรอาวุโส
    ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ
    ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงที่แล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์
    ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้
    ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ ดูกรอาวุโส ภิกษุผู้เป็นขีณาสพเป็นผู้
    ไม่ควรเพื่อจงใจปลงสัตว์จากชีวิต เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
    ซึ่งนับว่าเป็นส่วนขโมย เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออันเสพเมถุนธรรม เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออัน
    กล่าวคำเท็จทั้งรู้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออันบริโภคกามที่ทำความสั่งสม เหมือนอย่างที่ตน
    เป็นผู้ครองเรือนในกาลก่อน เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออันถึงฉันทาคติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
    อันถึงโทสาคติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออันถึงโมหาคติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่ออันถึงภยาคติ
    ดูกรอาวุโส ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจ
    ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้วโดยลำดับ
    มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้
    อันไม่ควรแท้เพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการเหล่านี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญ-
    *เดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถกาลนานที่เป็นอดีต บัญญัติญาณ-
    *ทัสนะอันไม่มีฝั่ง แต่หาได้ปรารภกาลนานที่เป็นอนาคต บัญญัติญาณทัสนะที่ไม่
    มีฝั่งไม่ การที่ทรงบัญญัติเช่นนั้น เป็นเพราะเหตุไร การที่ทรงบัญญัติเช่นนั้น
    เป็นอย่างไรเล่า พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมสำคัญสิ่งที่พึงบัญญัติอันไม่
    ใช่ญาณทัสนะ ซึ่งเป็นอย่างอื่น ด้วยญาณทัสนะซึ่งเป็นอย่างอื่น เหมือนคนพาล
    ทั้งหลายผู้ไม่เชี่ยวชาญฉะนั้น ดูกรจุนทะ สตานุสาริญาณปรารภกาลนานที่เป็น
    อดีตแล ย่อมมีแก่ตถาคต ตถาคตนั้นย่อมระลึกได้ตลอดกาลมีประมาณเท่าที่ตน
    จำนงและญาณอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ตถาคต เพราะปรารภกาลนาน
    ที่เป็นอนาคตว่า ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
    เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์
    แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต เป็นของจริง เป็นของแท้
    ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น
    ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง
    เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ
    แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
    ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่
    พยากรณ์สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้
    แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูกรจุนทะ แม้หากว่า
    สิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อม
    เป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคต
    เป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาที
    ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ชาวโลก
    จึงเรียกว่าตถาคโต ด้วยประการดังนี้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็สิ่งใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
    พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทพดามนุษย์ เห็นแล้ว ฟังแล้ว
    ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ สิ่งนั้น
    ตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคโต ดูกรจุนทะ
    ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ ในราตรีใดก็ดี ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส
    นิพพานธาตุในราตรีใดก็ดี ตถาคตย่อมกล่าว ย่อมร้องเรียก ย่อมแสดงซึ่งสิ่งใด
    ในระหว่างนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ย่อมไม่เป็นโดยประการอื่น
    เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคโต ดูกรจุนทะ ตถาคตเป็นผู้กล่าว
    อย่างใดทำอย่างนั้น เป็นผู้ทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น ด้วยเหตุดังนี้ ตถาคตชื่อว่า
    เป็นผู้กล่าวอย่างใดทำอย่างนั้น หรือเป็นผู้ทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น เพราะฉะนั้น
    ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคโต ตถาคตเป็นผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ไม่มีผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่า
    เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
    ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ เพราะเหตุนั้น ชาวโลกจึงเรียก
    ว่าตถาคโต ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญ-
    *เดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมี สิ่งนี้แหละ
    จริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอแล ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มี
    วาทะอย่างนี้แล อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคมิได้
    ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง
    สิ่งอื่นเปล่าหรือ ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้
    อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรง
    พยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีด้วย ย่อมไม่มีด้วย
    สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือ ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
    ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาค
    ก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีด้วย ย่อมไม่มีด้วย สิ่งนี้
    แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
    อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อม
    มีหามิได้ ย่อมไม่มีก็หาไม่ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือ ดังนี้ ดูกรจุนทะ
    พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส
    แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อม
    มีก็หามิได้ ย่อมไม่มีก็หาไม่ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก
    อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้น่า ดูกรอาวุโส ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระสมณโคดม
    จึงไม่ได้ทรงพยากรณ์ไว้เล่า ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้
    อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เพราะว่าข้อนี้ไม่ประกอบด้วยอรรถ
    ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
    เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
    ตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ฉะนั้น ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้
    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าว
    พระสมณโคดมทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
    อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส
    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์
    ไว้ว่า นี้ทุกขสมุทัย ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกขนิโรธ
    ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้แล ฯ
    ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
    พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระสมณโคดมจึงได้ทรง
    พยากรณ์ไว้เล่า ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอ
    พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เพราะว่าข้อนี้เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยอรรถ ประกอบ
    ด้วยธรรม ข้อนี้เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
    ตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ฉะนั้นข้อนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรง
    พยากรณ์ไว้ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยแม้เหล่าใด อันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้น
    ทิฐินิสัยแม้เหล่านั้นแล เราได้พยากรณ์ไว้แล้ว ทิฐินิสัยเหล่านั้น เราพึงพยากรณ์
    ด้วยประการใด และเราไม่พึงพยากรณ์ด้วยประการใด ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฐิ
    นิสัยเหล่านั้นกะพวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นในข้อนั้นเล่า ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยแม้
    เหล่าใด อันประกอบด้วยส่วนเบื้องปลาย ทิฐินิสัยแม้เหล่านั้น เราได้พยากรณ์
    แล้วกะพวกเธอ ทิฐินิสัยเหล่านั้น เราพึงพยากรณ์ด้วยประการใด และเราไม่พึง
    พยากรณ์ด้วยประการใด ไฉนเราจักไม่พยากรณ์ทิฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอ ใน
    ข้อนั้นเล่า ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยทั้งหลายอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้น ที่เราได้
    พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึง
    พยากรณ์เป็นไฉน ดูกรจุนทะ มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มี
    ทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรจุนทะ อนึ่ง
    สมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง
    สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ... อัตตาและโลกเที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย ... ... อัตตาและโลกเที่ยง
    ก็หามิได้ไม่เที่ยงก็หามิได้ ... ... อัตตาและโลก สัตว์ทำได้เอง ... ... อัตตาและโลกผู้อื่นทำให้ ...
    ... อัตตาและโลก สัตว์ทำได้เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ... ... อัตตาและโลก สัตว์มิได้ทำเอง และ
    ผู้อื่นมิได้ทำ เกิดขึ้นลอยๆ ... ... สุขและทุกข์เที่ยง ... ... สุขและทุกข์ไม่เที่ยง ... ... สุข
    และทุกข์เที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย ... ... สุขและทุกข์เที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ...
    ... สุขและทุกข์ สัตว์ทำได้เอง ... ... สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้ ... ... สุขและทุกข์
    สัตว์ทำได้เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์สัตว์มิได้ทำเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำ
    ให้ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ฯ

    ดูกรจุนทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด
    ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น
    เปล่า ดังนี้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกร
    อาวุโส มีอยู่หรือหนอแล คำนี้อันท่านทั้งหลายกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง
    ดังนี้ และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น
    เปล่า ดังนี้ เราย่อมไม่คล้อยตามคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์จำพวกหนึ่งแม้
    เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ดูกรจุนทะ ด้วยบัญญัติแม้นี้แล เราไม่พิจารณา
    เห็นผู้สม่ำเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ที่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในบัญญัติที่เป็น
    อธิบัญญัตินี้โดยแท้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด
    เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง
    สิ่งอื่นเปล่า ... ... อัตตาและโลกเที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย ... ... อัตตาและโลกเที่ยงก็
    หามิได้ไม่เที่ยงก็หามิได้ ... ... อัตตาและโลก อันสัตว์ทำได้เอง ... ... อัตตาและโลก
    ผู้อื่นทำให้ ... ... อัตตาและโลกสัตว์ทำได้เองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย ... ... อัตตาและโลก
    สัตว์มิได้ทำเอง และผู้อื่นมิได้ทำให้เกิดขึ้นลอยๆ ... ... สุขและทุกข์เที่ยง ... ... สุข
    และทุกข์ไม่เที่ยง ... ... สุขและทุกข์เที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย ... ... สุขและทุกข์เที่ยงก็
    หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ... ... สุขและทุกข์ สัตว์ทำได้เอง ... ... สุขและทุกข์ผู้อื่น
    ทำให้ ... ... สุขและทุกข์สัตว์ทำได้เองด้วย ให้ผู้อื่นทำให้ด้วย ... ... สุขและทุกข์
    สัตว์มิได้ทำเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำให้ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น
    เปล่า เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า มีอยู่หรือหนอแล
    คำนี้อันท่านทั้งหลายกล่าวว่า สุขและทุกข์ สัตว์มิได้ทำเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำให้
    ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดแลอย่างนี้ว่า สิ่งนี้
    แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราย่อมไม่คล้อยตามคำนั้น ของสมณพราหมณ์
    เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่าในสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    สัตว์จำพวกหนึ่ง แม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ดูกรจุนทะ ด้วยบัญญัติ
    แม้นี้แล เราไม่พิจารณาเห็นผู้สม่ำเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ที่ไหน เราผู้เดียว
    เป็นผู้ยิ่งในบัญญัติที่เป็นอธิบัญญัติโดยแท้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้นเหล่านี้แล ที่เราได้
    พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึง
    พยากรณ์ ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอ ในข้อนั้นเล่า ฯ

    ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยทั้งหลายอันประกอบด้วยส่วนเบื้องปลาย
    ที่เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพยากรณ์แล้ว และโดยประการที่
    เราไม่พึงพยากรณ์ เป็นไฉน ดูกรจุนทะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะ
    อย่างนี้ ผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูป หาโรคมิได้ สิ่งนี้
    แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ดูกรจุนทะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะ
    อย่างนี้ ผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่มีรูป ... ... อัตตามีรูปด้วย
    ไม่มีรูปด้วย ... ... อัตตามีรูปก็หามิได้ ไม่มีรูปก็หามิได้ ... ... อัตตามีสัญญา ...
    ... อัตตาไม่มีสัญญา ... ... อัตตามีสัญญาด้วยไม่มีสัญญาด้วย ... ... อัตตามีสัญญาก็หา
    มิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ... ... อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี สิ่งนี้
    แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ดูกรจุนทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
    *พราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ
    อัตตามีรูป หาโรคมิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราเข้าไปหา
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส มีอยู่หรือหนอแล
    คำนี้อันท่านทั้งหลายกล่าวว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูป หาโรคมิได้ และ
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวคำใดแล อย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
    ดังนี้ เราย่อมไม่คล้อยตามคำนั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร ดูกรจุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่งแม้เป็น
    ผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ดูกรจุนทะ ด้วยบัญญัติแม้นี้แล เราไม่พิจารณาเห็น
    ผู้สม่ำเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ที่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในบัญญัติที่เป็น
    อธิบัญญัตินี้โดยแท้แล ฯ

    ดูกรจุนทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด
    เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีทิฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่มีรูป ...
    อัตตามีรูปด้วย ไม่มีรูปด้วย ... อัตตามีรูปก็หามิได้ ไม่มีรูปก็หามิได้ ... อัตตามี
    สัญญา ... อัตตามีสัญญาด้วย ไม่มีสัญญาด้วย ... อัตตามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มี
    สัญญาก็หามิได้ ... เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี
    สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วกล่าว
    อย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส มีอยู่หรือหนอแล คำนี้อันท่านทั้งหลายกล่าวว่า
    เบื้องหน้าแต่มรณะ ตนย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี และสมณพราหมณ์
    เหล่านั้นกล่าวคำใดแลอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราไม่คล้อย
    ตามคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรจุนทะ
    เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่งแม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่น
    มีอยู่ ดูกรจุนทะ ด้วยบัญญัติแม้นี้แล เราไม่พิจารณาเห็นผู้สม่ำเสมอตนเลย
    ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ที่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในบัญญัติที่เป็นอธิบัญญัตินี้ โดยแท้แล
    ดูกรจุนทะ ทิฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่านี้แล ที่เราได้พยากรณ์
    กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์
    เพราะฉะนั้น ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอในข้อนั้นเล่า ฯ

    ดูกรจุนทะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันเราแสดงแล้ว บัญญัติ
    แล้วอย่างนี้ เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงซึ่งทิฐินิสัย อันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้น
    เหล่านี้ด้วย ซึ่งทิฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องปลาย เหล่านี้ด้วย ๔ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ
    อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    ได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี
    สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณา
    เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    ดูกรจุนทะ สติปัฏฐาน ๔ ประการเหล่านี้ อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนี้
    เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงซึ่งทิฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย ซึ่ง
    ทิฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่านี้ด้วย ดังนี้แล ฯ

    ก็โดยสมัยนั้นแล พระอุปทานะผู้มีอายุ ยืนถวายอยู่งานพัด
    พระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้นแล พระอุปทานะผู้มีอายุ ได้
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า
    ธรรมปริยายนี้ น่าเลื่อมใสนัก พระเจ้าข้า ธรรมปริยายนี้ น่าเลื่อมใสดีนัก
    พระเจ้าข้า ธรรมปริยายนี้มีนามว่ากระไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ดูกรอุปทานะ เพราะฉะนั้นแล เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้เถิดว่า "ปาสาทิกะ"
    ดังนี้เทียว ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว พระอุปทานะผู้มีอายุ ยินดี
    ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล ฯ
    จบ ปาสาทิกสูตร ที่ ๖



    ถ้าจะคิดอย่างผู้มีปัญญา เอาอย่างพระธรรมเสนาบดี เมื่อจะยก พุทธปาสาทิกธรรม ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงในกาลเดียวกันนี้ หากจะแยกประเภทของเนื้อหา หัวข้อใหญ่ ว่าเป็นอย่างนี้ เพราะมีอย่างนี้ มาอย่างนี้ ตามอิทัปปัจจยตาธรรม มาเพื่อ สังคีติสูตร ก็จะไม่หลุดจาก หมวดธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นแน่แท้

    ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
    ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
    ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯมี ดังนี้ ฯลฯเป็นต้น


    นี่ไม่ใช่การ วิจัย แต่เป็นผลสืบเนื่องแห่งบทธรรมทั้งหลาย ฯ ขาดแต่เพียง อดีตังสญานเพียงเท่านั้น จึงจะทำเผยเหตุให้เห็นเป็นจริงไตร่ตรองตามได้ในกาล

    สิ่งที่เพิ่มเติมชัดเจนขึ้นมา การสังคายนา พระธรรมคำสั่งสอน นั้นมิใช่ เริ่มต้นธรรมโดยส่วนเดียว จาก สังคีติสูตร มาดังนี้ แต่ มาจาก
    พุทธปาสาธิกะธรรม ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มาดังนี้แล

    คลังสมบัติ รัตนมณีมหาธาตุ มีสมบัติซ่อนอยู่เป็นอันมาก
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่มี ไม่ได้ ไม่เป็น ไม่ถึง ไม่เอา ไม่สน ไม่ดี ไม่ควร ไม่ต้อง ไม่มา ไม่ไป ไม่เจอ


    ครูไม่มี ครูไม่มา พอครูมา ก็ดู ไม่เป็น ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เอา ฯลฯ

    ๑.วิกขัมภนวิมุตติ
    ๒. ตทังควิมุตติ
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
    ๕. นิสสรณวิมุตติ


    ศีล สีลสัมปทา
    สมาธิ สมาธิสัมปทา
    ปัญญา ปัญญาสัมปทา
    วิมุตติ วิมุตติสัมปทา
    วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา


    ศีลพระอเสขะ
    สมาธิ พระอเสขะ
    ปัญญา พระอเสขะ
    วิมุตติ พระอเสขะ
    วิมุตติญาณทัสสนะ พระอเสขะ


    บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    พิจารณาจิตตามที่วิมุติ



    วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์
    หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา
    หรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอ
    ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ
    ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกาย
    สงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดน
    วิมุตติข้อที่หนึ่ง ฯ

    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
    องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ
    แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ
    รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์
    ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว
    กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อม
    เสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สอง ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
    องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอ
    กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้ง
    อรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์
    ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว
    กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว
    ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม ฯ

    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
    องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ
    ตรึกตรองตามซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อม
    รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตาม
    ด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อม
    เกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ
    เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
    นี้แดนวิมุตติข้อที่สี่ ฯ

    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
    องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอ
    เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทง
    ตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ
    ที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
    แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ
    รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบ
    ด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้
    มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า ฯ



    สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า
    เป็นของไม่เที่ยง]
    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา
    เห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณา
    เห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์]
    ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่า
    ควรละเสีย]
    ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความ
    คลายเสียซึ่งความกำหนัด]


    ควรพิจารณา ทุกเรื่อง ทุกครั้ง ทุกคราว ทุกวัน ทุกยาม ทุกเวลา

    เวรกรรม สัตว์โลก!

    16473703_1350969591633402_124891631828477404_n.jpg
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มูสิกชาดก : จิ้งจอกหลอกกินหนู




    ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ประการเป็นไฉน คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์
    รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉนอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลายมัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนด
    รู้แล้ว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
    เราละได้แล้ว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใดเราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจดดีแล้วเมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
    มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯ

    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดา
    ชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดามาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ

    เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไปจนตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่งแสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ฯ

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะอุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ

    จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไรคำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ

    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรมแสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของ
    ธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ

    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ

    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ

    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ

    จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯเรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้นแสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ

    คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ

    จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯเราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯเราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้วการพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ฯลฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯเราเจริญแล้ว ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้นวิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไรจักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรมแสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ

    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ

    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ

    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ
    พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ฯลฯ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐มีญาณ ๒๔๐ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    สว่างไสว ... ฯ

    จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ
    ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯพระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าสมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐มีญาณ ๔๐ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ

    ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ

    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่ง
    แห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ
    อรรถ
    ว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง
    ภาวนา ฯลฯ ฯ

    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา
    รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง
    แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ

    ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ
    ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕
    มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ


    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง
    แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ

    อรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม
    ทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว
    ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัย
    ไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุง
    แต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน

    อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่า
    บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย
    ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี
    นิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ


    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก
    แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ


    แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ
    อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐
    มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มี
    ญาณ ๔๐๐ ฯ


    จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน
    อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก
    ต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มี
    ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่าง
    เกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความ
    แตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่ง
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
    แล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
    มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐
    มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ ฯ



    [จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ใน
    อินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของ
    สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณ-
    *ญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมด
    ด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณญาณ
    มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน
    พุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุติ ๓๐๐ มีญาณ
    ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุติ ๑๗๐๐
    มีญาณ ๓๔๐๐ ฉะนี้แล ฯ


    จบปฏิสัมภิทากถา



    โคตรน่าสงสาร ผู้ที่สอนและยอมรับคำสั่งสอน ที่สอนให้ไม่เอาพระไตรปิฏกพระธรรม ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯทรงแสดงไว้

    นวังคสัตถุสาสน์ ก็ไม่รับไม่เอา

    ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ

    ดังที่ท่านพระสารีบุตรได้แสดงมา ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
    ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
    ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯมี ดังนี้ ฯลฯเป็นต้นฯ




    พวกนี้มันไปทำกรรมทำเวรอะไรกันขึ้นมานะ จึงไปสุมหัวรวมตัวกัน เป็นแก๊ง! อลัชชีโมฆะบุรุษอามิสทายาท ด้วยกันได้

    โคตรน่าเวทนา

    อุปมาชรอยจะเหมือนเป็นวัวเป็นควาย ด้วยชาติเชื้อ ลัทธิเดียร์ถีย์กลับชาติที่เที่ยวหลอกหลอนผู้คนให้หลงเชื่อ โดยให้ไปฆ่าสัตว์บูชายัญ ในครั้งกระโน้น ด้วยไม่สนคำสั่งสอนทัดทานห้ามปรามของพระสุคตเจ้า

    เพราะแค้นใจ จึงได้พามาเกิด ขึ้นมาเพื่อมุ่งทำลาย พระสัทธรรม ปากบอกดูแลรักษาปกป้อง แต่มือและเท้าฉุดกระชากลากดึง กระทืบ ฉีก คว้าน โยนฝุ่นสบัดไปมาดุจปุยนุ่น





    p19rc28kve1blea8b1l68rt895q5.jpg
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ก็โดยสมัยนั้น นักษัตรประจำเดือนอาสาฬหะได้ถูกประกาศแล้ว ในกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสิกาชื่อ กาฬี กุรรฆริกา ในกรุงราชคฤห์ซึ่งประดับประดาตกแต่งโดยรอบ ดุจเสวยอยู่ซึ่งสิริในเทวนคร ขึ้นสู่ปราสาทเปิดหน้าต่าง กำลังบรรเทาความแพ้ครรภ์ อยู่ในประเทศที่รับลมเพื่อตากอากาศ ได้ฟังการสนทนาที่ประกอบด้วยพุทธคุณนั้นของเสนาบดียักษ์เหล่านั้นโดยเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ครั้นฟังแล้วก็เกิดปีติมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงพร้อมด้วยพระคุณต่างๆ อย่างนี้ ข่มนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปีตินั้น ยืนอยู่ในประเทศนั้นแล ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
    ก็ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา กาฬี กุรรฆริกา เป็นผู้เลิศแห่งอุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเราที่เลื่อมใสในการฟัง.
    เสนาบดียักษ์แม้เหล่านั้น มียักษ์ ๑,๐๐๐ เป็นบริวาร ถึงอิสิปตนะในสมัยแห่งมัชฌิมยาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งโดยบัลลังก์ที่ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไป ถวายบังคมชมเชย กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาสด้วยคาถานี้ว่า อกฺขาตารํ ปวตฺตารํ ดังนี้.
    คาถานั้นมีเนื้อความว่า
    ผู้ตรัสบอกด้วยถ้อยคำกำหนดสัจจะทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า เว้นตัณหาในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลชื่อทุกขอริยสัจจะ. ผู้ทรงแสดงด้วยการยังกิจญาณและกตญาณให้เป็นไปในสัจจะเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจจะนั้นนี้แลอันบุคคลพึงกำหนดรู้. หรือผู้ตรัสบอกโดยการตรัสถึงโวหาร โดยประการที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายที่บุคคลจะพึงกล่าว. ผู้ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นโดยสมควรแก่สัตว์. หรือผู้ตรัสบอกโดยแสดงแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคลและวิปจิตัญญูบุคคล. ผู้ทรงแสดงโดยให้เวไนยสัตว์ดำเนินตาม. หรือผู้ตรัสบอกโดยอุทเทส ผู้ทรงแสดงโดยจำแนก โดยกล่าวถึงด้วยประการนั้นๆ. หรือผู้ตรัสบอกด้วยการแสดงลักษณะของโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย. ผู้ทรงแสดงด้วยการเป็นไปในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย. หรือผู้ตรัสบอกด้วยการตรัสบอกสัจจะทั้งหลายด้วยปริวัฏ ๓ โดยย่อ. ผู้ทรงแสดงด้วยการตรัสสัจจะทั้งหลายโดยพิสดาร คือผู้ทรงแสดงด้วยการประกาศพระธรรมจักรที่ให้พิสดารแล้ว โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทา มีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมมีสัทธินทริย์เป็นต้น ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่ายังธรรมนั้นๆ ให้เป็นไป
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ระยะนี้ตลอดไปในชีวิต เราจักอยู่ในวิหารธรรม ตลอด แม้สมาธิ แม้ปัญญา แม้ฯ

    พระมหาสัตว์ได้สดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม. พระราชธิดาผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนำตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยคิดว่า เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกุมารผู้มีรูปร่างน่าเกลียด ความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา ด้วยประการฉะนี้. ประโยชน์อะไร เราจะอยู่เป็นฆราวาส เราบำรุงมารดาบิดา ผู้ยังทรงพระชนม์ไปก่อน พอท่านทั้งสองนั้นสวรรคตแล้ว ก็จักออกบวช.
    แม้พระโพธิสัตว์เจ้านั้นที่มีพระรูปกายไม่งดงาม ก็ด้วยอำนาจบุรพกรรมของพระองค์เอง.
    สาธุ สาธุ สาธุ

    พันธนสูตรที่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
    ๘ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการ
    ยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑ ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปปกิริยา ๑
    ด้วยของกำนัล ๑ ด้วยผัสสะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ
    ๘ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ชื่อว่าถูก
    ผูกด้วยบ่วง ฯ
    จบสูตรที่ ๗



    วิธุรชาดก
    พระมหาสัตว์ทูลว่า
    ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ฝ่าพระบาทตรัสถึงธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดงประโยชน์ล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้ ก็คุณวิเศษของบุคคล ผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อมปรากฏในเมื่อมีภยันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.

    พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคิดจะสึกจริงหรือ.
    เมื่อภิกษุรูปนั้นกราบทูลตามความเป็นจริงแล้ว
    จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสเลย. ธรรมดาว่า มาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้ามจิตที่คิดรักใคร่เยื่อใยในมาตุคามนั้นเสีย จงยินดีในพระศาสนาเถิด. จริงอยู่ บัณฑิตครั้งโบราณทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้มีเดช ย่อมต้องเสื่อมไปได้ เพราะเป็นผู้มีจิตคิดรักใคร่ในมาตุคาม และเป็นผู้หมดเดช ถึงความพินาศย่อยยับเพราะมาตุคาม.

    ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี จะว่าแต่พระโอรสคนหนึ่งเลย พี่จะให้พระโอรสสัก ๒ พระองค์แก่เธอ. แต่ว่าในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น พระองค์หนึ่งทรงมีปัญญา แต่รูปร่างไม่สวยงาม พระองค์หนึ่งรูปร่างสวยงาม แต่หาปัญญามิได้. ในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น เธอจะปรารถนาต้องการคนไหนก่อน. พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาอยากได้พระโอรสที่มีปัญญาก่อน. ท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสรับว่า ดีละ. ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2020
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บันทึกราตรี 28/5/63 เหล่า บุคคลพิเศษ ทีมปกป้องพุทธฯ ยกพลลงมายกแก๊ง เกือบ20 ทีมร๊อคแก๊งสเตอสิงนักบิดล้วนๆ ไม่รู้ว่าเป็นทีมจาก มหาสมุทร หรือเปล่า ที่ครองแผ่นฟ้าและผืนน้ำ

    มาเล่นเพลงให้ฟัง จำกันได้ ทัก ก็เลยทักทายกัน ชวนไปแสดงสดต่อ เลยบอกว่า ตอนนี้ไม่สะดวกติดธุระ ให้เริ่มแสดงรอไปก่อน (จะรอดู แบบเมากัญชาแมว)

    ไม่ใช่ทีมมนุษย์ เพราะร้องขอตรวจทานสแกนหาไป เมื่อคืน


    และผู้มียศมากทำมีดบาดนิ้วเลือดมาหยดลงห้องอีกหลาย หยด เที่ยวนี้ไม่ใช่พระศิวะ ไม่รู้ใครจำแลงงานนี้ แสดงว่าใกล้ตัว อีกไม่นานวันจักต้องปลิดชีพอีก พร้อมทั้งทำแผลด้วยพุทธโอสถ

    ตื่นก่อน! เลยอดล้าง กำลังจูงมือ

    ...มาไวจริงๆ หายนะ แบบไหนเนี่ย มาเล่นงานมนุษย์โชว์พาวนิวเคลียร์กันรึเปล่า ได้สะเทือนกันทั้งแผ่นดินผืนฟ้าล่ะงานนี้

    ดูชิลล์ๆไม่สนใครจะเป็นจะตายเสียด้วย ยักษ์ นาค คนธรรพ์ สายนี้ ทีมสายฟ้า ก็ไปแสดงตัวที่บ้านแล้ว สายผ่า ทักทายได้ดี นึกว่า สายผ่า มีแต่สายโจร



    "จงเป็น สีหะ มาเถิด ! เราล้วนแต่เป็นสหายผู้ร่วม อุดมการณ์เดียวกันในชาติ คือบรรลุแก่น คือความพ้นทุกข์ เมื่อยังไม่สิ้น เมื่อนั้นได้กำหนดกิจของพุทธบริษัท คือทุกข์แล้ว เพื่อกระทำกิจ ในการต่อไป "

    พึ่งตน พึ่งธรรม เชื่อมั่น ในตนและในธรรม ปฎิบัติ ให้ได้ตามในแดน วิมุตตายตนะ เมื่อหักดิบของล่อใจในชีวิตจริงได้ มันจะเอามาล่อในจิตภวังค์ต่อ จิตอ่อนใจต้องแข็ง ผู้ช่วยจะมาปหาน เป็นเกราะให้ จนกว่าจะละทิฐิวิปลาสได้ คือไม่ฝัน ต้องพบพานอยู่เสมอ ยิ่งสูงยิ่งหนาว ยิ่งเมายิ่งมา


    "คนเมื่อสิ้นฤทธิ์สิ้นเดชจะต้องเริ่มไอม่องคร่อ โรคปอดกิน หวัดลงปอด"

    ถ้าทำผิดกระบวน สัญญาณเตือนคือการไอ ย่อมมา ผู้มีเดชา ไกรยศาสตร์ พึงจื่อไว้ บ่เกี่ยวกับขี้ฝุ่น ไง่ยาสูบ แม้นนายทับใหญ่ ยังเพลี้ยง เลือดฟ่งก็จั่งเห็น งดดราม่า!

    ประเทศไอหลาย ไอน่อย ไอหลาย ตายหลาย เดชก็ลดลงหลาย พึ่งถิ่มเป็นขบวน แนวเหี่ยสิตามมา ถ้าเบิ่งเอา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2020
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015
    พญามาร ก็คือ มหาเทพสูงสุด ใน สรวงสวรรค์
    มีฤทธิ์ เกือบจะเทียบเท่า พระพุทธองค์
    ก็เพราะว่า ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น
    จะได้เป็น พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
    แต่ด้วยความที่ เค้าอิจฉาพระพุทธเจ้า
    ที่ได้บรรลุธรรมไปก่อน จึงได้เข้าขัดขวาง
    เพราะอวิชชาครอบงำ เหมือน พระเทวทัต
    ที่จะได้เป็น พระปัจเจกะพุทธเจ้า ในที่สุด

    พยามาร มีฤทธิ์มากแค่ไหน ก็ลองตรองดู
    สามารถหลอก พระยาพรหม ในชั้นพรหมได้
    สามารถหลอก พระอริยะเจ้าได้
    เช่น หลอก พระโสดาบัน ได้
    หลอก พระสกิทาคามี ได้
    หลอก พระอนาคามี ได้
    หลอก พระอรหันต์มรรค ได้
    แต่หลอก พระอรหันตผล ไม่ได้
    เพราะหมดสิ้นกิเลส และ กรรม แล้ว
    เมื่อไม่ต้องรับกรรม ก็ไม่รู้ว่าจะหลอก อะไรได้อีก
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สบายดี วันนี้มาแปลกๆ นะนิรกาล จะมาล้างโลกช่วงกลียุคหรือ?
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ช่วงนี้ ชีวิตกำลังผ่องใส เพราะอยู่ใน วิหารธรรม ปฎิบัติธรรม สวดมนต์ พิจารณาธรรม ทำสมาธิ ตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อให้ได้ความเจริญในพระสัทธรรมและบรรลุคุณวิเศษยิ่งขึ้นไปอีก


    ดาวน์โหลด.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2020
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทำสมาธิต่อละ

    บาย!

    images (16).jpg
     
  17. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015

    ถึงเวลาแล้ว ที่คนชั่วจะถูกล้างโลก
    อย่างน้อย 10 เปอร์เซนต์
    ถึงเวลาของท่านแล้ว ที่จะต้องสอนคนตาม
    พระไตรปิฏก
    โดยการสร้างกระทู้ใหม่ สอนสั่งลูกศิษย์
    พวกที่เค้าเก่งกาจด้านพระไตรปิฏก
    จะต้องจับกลุ่มกันไว้ ท่านไม่อาจจะทำคนเดียวได้
    จะต้องทำงานกันเป็นกลุ่มๆ

    แต่ถ้าจะให้จบเร็ว แบบคนมีฤทธิ์
    ก็จะต้องสอนเป็น ภาษาต่างชาติ
    ภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือจะหลายๆภาษาก็ได
    ลงในกระทู้นั้นๆ
     
  18. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    29 พ.ค. 2563 วันพระ

     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คนเราเมื่อจะนึกถึงใครก็ตาม ให้ดูที่ความดี มาก่อนเป็นหลัก

    ส่วนการดูความชั่วก่อน ให้พิจารณาด้วย ผลเสียที่มีต่อส่วนรวม ที่มีธรรมปกติสุข อันเป็นข้อใหญ่

    เมื่อแยกแยะได้ ก็ให้พิจารณาถึงผลเสียที่จะขึ้นมาตามลำดับ

    เมื่อมีการจำกัดควบคุมในวงแคบขึ้น ในการพิจารณาสาวไปถึงยังต้นสายปลายเหตุ ก็จะสามารถชี้ชัดถึงเจตนา ของ การกระทำได้

    ความสมเหตุ สมผล สมควร ต้องอยู่ที่ความถูกต้อง ไม่ใช่ให้อยู่ที่ความถูกใจของใครบางคน หรือหลายคน

    หลักการพิจารณา ต้องตั้งมั่นอยู่ที่ตรงกลาง เป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย วางใจเป็นกลาง และหาทางแก้ไขปัญหา ไม่ใช่หาทางกลบปัญหา

    ปัญหาทุกๆปัญหามีไว้แก้ไข และทำให้มันดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้มันแย่ลง ด้วย กาย วาจาและใจ

    เรื่องราวทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องร้าย จะได้รับการแก้ไขตอบแทน เมื่อถึงเวลาอย่างแน่นอน

    สามัญผล ทำกรรมดีย่อมได้ผลตอบแทนดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลตอบแทนชั่ว

    ไม่ดีไม่ชั่ว เหนือพ้นแล้ว จึงรู้ สูงสุดนั้นเท่าเทียม




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2020
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    29/5/2563

    คืนแรก มาอยู่ตำหนัก ฯ ณ ค่อนปลายกลางดึก นั่งสมาธิ ตั้งใจว่าคงพบได้เจ้าที่เจ้าทาง ถ้ามีวาสนา เสร็จแล้ว ก็ ทิ้งตัวหลับตื่นๆ พิจารณาธรรมไปด้วยตลอดคืน ฝันว่าเดินสำรวจพื้นที่ทำงานพิเศษ เห็นคนนั่งสองคน ใกล้ๆ สรุปวิ่งหนี 2ตน ไปคนละทาง เราต้องตะโกนบอก อย่าตกใจ มีอะไรก็มาคุยกัน แต่เพราะตกใจร้องทักแต่ไกล เลยแอบมองเราห่างๆ เลยเดินไปตรงที่เขานั่ง ว่าทำอะไรกัน สรุปเขากำลังพากันนั่งตกปลา มีกุ้งหอย ปลากระเบน ปูปลา งู เต็มไปหมด ตกแบบหลุม รูน้ำแข็ง คันเบ็ดฝรั่งเสียด้วย

    เดินไม่ดูทาง เพราะมืด ไปเหยียบแม่งป่อง แขนขาด แต่มันไม่ยอมต่อย สงสารเลย แผ่เมตตาไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...