สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา

    เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา เป็นบทร้อยกรองประเภทเพลงยาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนายสถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาในอนาคตว่าจะประสบวิบัติภัยนานา โดยคาดว่าประพันธ์ขึ้นราวสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วนผู้ประพันธ์ยังไม่อาจระบุตัวได้แน่ชัด

    เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาแต่งขึ้นเลียนแบบมหาสุบินชาดก และนิทาน "พยาปัถเวนทำนายฝัน" ชาดกและนิทานดังกล่าวเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระสุบินนิมิตสิบหกประการของประการของพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ได้ทูลถามคำพยากรณ์จากพระโคตมพุทธเจ้า

    เพลงยาวฯ นี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือ "อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา" ซึ่งมหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา และอดีตอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดี พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชพิธีทรงบวงสรวงอดีตมหาราชเจ้าที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2459

    สันนิษฐานว่าเพลงยาวนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นักวิชาการยังไม่อาจสรุปแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่ง แม้ว่าในตอนท้ายของบทกลอนได้บันทึกกำกับไว้ว่า "พระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนาย..." หากว่าเป็นจริงตามนั้น "พระนารายณ์" ก็หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ส่วน"นพบุรี" คือเมืองลพบุรี

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในคำนำหนังสือดังกล่าว มีความตอนหนึ่งว่า "...เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อ้างไว้ข้างท้ายว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพลงยาวนี้มีหลักฐานควรเชื่อแต่ว่าแต่งเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ด้วยในคำให้การของพวกชาวกรุงเก่าที่พม่าจับไปถามคำให้การเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวอ้างถึง แต่ข้อที่ว่าเปนพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นไม่มีหลักฐานอย่างอื่นนอกจากที่มีเขียนอ้างไว้กับเพลงยาว ปลาดอยู่ที่เพลงยาวบทนี้ยังมีผู้ท่องจำกันมาได้แพร่หลายจนในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่เรียกกันว่าเพลงยาวพุทธทำนาย...”

    ในหนังสือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” ก็มีเรื่องคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยานี้เช่นกัน กล่าวว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระพุทธเจ้าเสือ มีเนื้อความสั้นกว่าและปรากฏความเป็นร้อยแก้ว ซึ่งสันนิษฐานเพิ่มเติมได้อีกว่า เพลงยาวฯ นี้อาจแต่งขึ้นเพื่อใช้ทำลายขวัญกำลังใจสาธารณะอันเป็นจิตวิทยาทางการเมือง เพราะบทกลอนดังกล่าวมีเนื้อความคล้ายกับร่ายของพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีหรือพระเจ้าเสือที่ทรงประพันธ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในปฏิบัติการจิตวิทยาทางการเมืองในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งต่อมาผู้นำในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ใช้ประโยชน์จากบทกลอนดังกล่าวมาอธิบายเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีเป้าหมายในทางการเมืองที่ต่างไปจากพระเจ้าเสือ

    สรุปก็คือ ถ้าหากว่าเพลงยาวนี้ได้ถูกแต่งในสมัยอยุธยาจริง อาจกล่าวได้ว่า

    1. ผู้แต่งจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง มีความสามารถในทางโหราศาสตร์หรือทางจิตวิทยาและเป็นนักประพันธ์นำมาผนวกกับเรื่องราวของพุทธทำนายดังกล่าวข้างต้น

    2. เพลงยาวฯ นี้อาจใช้เป็นจุดประสงค์ในทางการเมือง

    ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การทำนายชะตาบ้านเมืองไปในทางเลวร้ายเช่นนี้ถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตายและเป็นการอัปมงคล หากเป็นการแต่งโดยบุคคลธรรมดาก็อาจจะถูกลงโทษสถานหนัก ดังนั้นผู้ที่สามารถทำนายกล่าวอ้างออกมาได้และทำให้ผู้คนยอมรับและจดจำกันได้นั้น ก็ย่อมต้องเป็นบุคคลที่มีความสำคัญระดับพระมหากษัตริย์ หรือบุคคลที่พระมหากษัตริย์ให้การยอมรับนับถือ

    อ้างอิง
    หนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ 2 ฉบับโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2509
    เรื่องศิลปและภูมิสถานอยุธยา ของกรมศิลปากร ฉบับโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2509
    หนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า โดย อนันต์ อมรรตัย สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ 2544
    บทความ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาโดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
    นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2700 ปีที่ 52 ประจำวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2549 [1]
    หมวดหมู่: วรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาการทำนายความเชื่อไทย



    ใครมีสติปัญญาว่า พุทธทำนาย พุทธพยากรณ์ มอมเมา หลอกลวง ให้พิจารณาว่าลืมกำพืดตนเองก่อน ว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า ถึงไม่พิจารณาตามบรรพบุรุษกล่าวไว้

    ถ้าโง่เขลาเบาปัญญาจน ลืมกำพืดของตนเอง ก็จะเหมือนกับพวกสำนักวัดนาป่าพง ที่ลืมกำพืดของตนเอง ใครที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับสำนักตนเองเป็นเดรัจฉานวิชาเป็นคำแต่งใหม่ทั้งหมดฯ นั่นก็หมายถึง"ได้สาปแช่งบรรพบุรุษชาติตระกูลของตนเองนั้นด้วย ผิดที่ท่านเกิดไม่ทัน พุทธวจนปิฏกในสำนักวัดนาป่าพงของคึกฤทธิ์และสาวกในปัจจุบัน จะไม่เป็นเหล่าบุคคลที่เป็นโมฆะบุรุษอามิสทายาทอกตัญญูเนรคุณได้อย่างไร? ก็เพราะถือทิฏฐิคิดอย่างนั้น บรรพบุรุษชาติตระกูลของตนก็พลอยโง่เขลาเบาปัญญาไปด้วย" ช่างน่าเวทนา ศิษย์สำนักวัดนาป่าพงเสียๆจริง


    เรื่องจะอุทิศบุญนำส่วนกุศลให้บรรพบุรุษบุพการี หมดสิทธิ์มีแต่กระแสกรรมเพียงเท่านั้น บาปอกตัญญูเนรคุณนั้นแลฯ อุทิศให้เขาก็ไม่เอา เก็บไว้เองเถิดอย่าหวังในส่วนบุญไม่มีแม้เพียงเสี้ยวธุลีฯ กินข้าวปลาที่เขานำมาทำบุญ ก็เท่ากับกินถ่านเหล็กเผาไฟแดงครุกกรุ่น ต่อให้พิจารณาก่อนกินยังไงก็บาปหนาอยู่ดี



    พระสัทธรรมเมื่อเข้าไปตั้งอยู่ในจิตของปุถุชน ก็ย่อมกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป


    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมเป็นของปลอมทั้งสิ้น (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยะเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง


    อยู่อย่างตายทั้งเป็น เกิดมาตายเปล่าไปอย่างนั้นล่ะ สังขารมันหมดจบสภาพแล้ว หลงเหลือแต่วิญญานธาตุที่อาศัยในกายนั้น ที่ดื้อด้านด้วยอวิชชาอันโคจรแม้จะฉาบด้วย ไม่มีทางเป็นจิตประภัสสรได้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ



    จากระดับสมเด็จท่านจนถึง ระดับผู้พระราชามหาราชผู้ครองแผ่นดินในอดีตพระองค์ท่านยังพิจารณา เรื่องราวเหล่านี้ บุคคลประเภทไหน จึงไม่คิดพิจารณาตาม รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ให้เกิดสติปัญญา มิใช่เรียกว่า เนรคุณแผ่นดินถิ่นเกิด เนรคุณพระรัตนตรัย เนรคุณบรรพบุรุษเป็นคนหนักแผ่นดินหรอกหรือ ?
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธพยากรณ์โลก

    แผ่นทองคำจารึก

    (หลวงพ่อบรรจุไว้ในพระอุโบสถวัดท่าซุง งานฝังลูกนิมิต ๒๔ เมษายน ๒๕๒๐ )

    " เราพระมหาวีระ มีพระราชานามว่าภูมิพลเป็นผู้อุปถัมภ์ร่วมด้วย พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่สร้างวัดนี้ไว้เป็นพุทธบูชา เมื่อศักราชล่วงไปได้ ๒,๗๐๐ ปีปลาย จะมีพระเจ้าธรรมิกราช นามว่า "ศิริธรรมราชา" สืบเชื้อสายมาจากเชียงแสนบวกสุโขทัย ร่วมกับพระอรหันต์ จะมาบูรณะวัดนี้สืบพระศาสนาต่อไป คณะเราขอโมทนาด้วย แต่อยู่ช่วยไม่ได้ เพราะไปนิพพานหมดแล้ว "

    ถ้าไม่ใช่รุ่นใหม่ถัดจากนี้ไป ๒๐๐ - ๓๐๐ ปี ก็แสดงว่าอายุขัยยืนมาก เมื่อแก่ตัวลงขนาดนั้นพระโพธิสัตว์ต่างๆจะได้รับ อาหารอันเป็นทิพย์หรือจึงกลับมาหนุ่ม หรือทรงฌานแปลงอสุภะ รูปสัญญาคืนสู่เยาว์เอา หรือว่า ท่านจะถืออิทธิบาท ๔ ข้อนี้ต้องพิจารณา

    ตามสภาวะธรรมเมื่อพิจารณาอีกกรณีหนึ่งอันว่าพระอริยะเจ้าหากปรากฎตามกาล ก็ให้เห็นควรแล้วว่า การที่กระทำกิจอันเป็นวัตรปฎิบัติอันเป็นกิจอันสมควรแก่กาล จนเป็นที่รู้เห็นและทราบแก่เหล่าเวไนยสัตว์บุคคลทั่วไป จนสาธุชนขนานนามท่านว่า " ศิริธรรมราชา " การบูรณะวัดท่าซุง ย่อมเป็นการฉลองชัย หลังจากกิจอันสมควรจบ ข้อนั้นพึงสมควร มิใช่พึงประกาศตนเป็นแล้วจึงกระทำกิจในพระพุทธศาสนา อ้างตามองค์คุณของกลามสูตร พึงทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ แก่สายตาของบัณฑิตปัญญาชน ข้อนั้นพึงถือทิฏฐิอันงามได้ ๒๗๐๐ ปีกลาย เวลานั้นฉลองชัยเป็นแน่แท้


    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๓ เป็นอันว่า ในระหว่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท คงจะทราบว่าตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ่าวเปอร์เซีย กำลังจะเกิดสงครามจากอิรักกับหลายประเทศร่วมกัน คือ "อิรัก" ฝ่ายหนึ่ง กับหลายประเทศฝ่ายหนึ่ง ถ้าจะเปรียบเทียบกัน คล้ายๆ กับสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ เยอรมัน กับอิตาลี ญี่ปุ่นฝ่าย หนึ่ง อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส อีกหลายประเทศร่วมกัน

    แต่ทว่าสงครามนี้จะเกิดหรือไม่เกิด อันนี้ก็ทราบไม่ได้เหมือนกัน เพราะว่า ต่างคนต่างก็ตั้งท่า ต่างคนต่างก็เตรียมพร้อม ที่จะลงมือซึ่งกันและกันและคำพยากรณ์ ก็จะไม่พยากรณ์ว่าจะ มีสงครามหรือไม่ แต่ทว่ามีหนังสือเล่มหนึ่ง เขาให้ชื่อว่า นอสตราดามุส เขาพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ถึง ๒,๐๐๐ ปี

    โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปีนี้ ค.ศ.๑๙๙๐ จะเป็นปีเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ แล้วสงครามโลกครั้งที่ ๓ นี่จะเป็นสงครามที่มีความร้ายแรงมาก แต่ความจริงหนังสือนี่อาตมาก็ไม่ได้อ่าน เขาให้มาเหมือนกัน อ่านผ่านไปนิดเดียว แล้วก็เขาบอกว่าประเทศอเมริกา อาจจะถูกระเบิดนิวเคลียร์ แล้วก็จะมีเหตุการณ์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้น

    รวมความแล้ว เป็นสงครามทำลายศาสนา ในระหว่างศาสนากับศาสนาคือ ศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม เขาว่าอย่างนั้นนะ ตามที่หนังสือว่า หรือ ตามที่คนบอก อาตมาก็ไม่ได้อ่านชัด ทีนี้เรื่องของ "ดามุส" ดามุสเขาพูดไว้จะแน่นอนขนาดไหน ก็เป็นเรื่องของเขา สำหรับพวกเราบรรดาท่านพุทธบริษัท ในฐานะที่เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นลูกของพระพุทธเจ้าเราก็มา ดูคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าบ้าง

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้กับพระอานนท์ว่า
    อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกลงจากอากาศ จะเผาผลาญประชาชน และบุคคลให้พินาศจะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก แต่ว่าอานันทะ..ดูก่อนอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะถือว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงนักยังหาไม่ได้ ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว

    อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ จะมีความร้ายแรงมากกว่าก่อนกึ่งพุทธกาลมาก ยักษ์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ยักษ์นอกพุทธศาสนานั่นหมายถึง คนที่ไม่ได้เคารพพระพุทธศาสนา จะรบราฆ่าฟัน ซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตาย ฝ่ายละมากๆ สมณะ ชี พราหมณ์จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่ง จึงจะเลิกรากัน สำหรับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก นี่เป็นคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เป็นอันว่า ท่านดามุสคนนี้ ก็พยากรณ์ไว้ตรง แต่เขาบอกว่า ค.ศ.๒๐๐๐ โลกจะสลาย แต่ว่าพระพุทธเจ้าของเราบอกว่า โลก ยังไม่สลาย พระพุทธศาสนา จะทรงอยู่ได้ ตลอด ๕,๐๐๐ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงพยากรณ์ ไว้ที่ พระธาตุดอยกิตติ ครั้งหนึ่งทรงตรัสว่า

    "ชี้ว่าเขตประเทศนี้ ต่อไปจะเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก จะสามารถทรงพระพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี" นี่หมาย ถึงประเทศไทย

    เป็นอันว่า สงครามจะเกิดขึ้นที่ดามุสบอก ก็หมายถึงสงครามซีกตะวันตก หมายถึงอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ กับตะวันออกกลาง สงครามจริงๆ ยังคงไม่ถึงประเทศไทย

    ทีนี้เรามาย้อนรอยถอยหลังกันก่อนว่า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติตรัสรู้ว่า ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะมี การรบราฆ่าฟัน ซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกลงจากอากาศ ไฟจะลุกจากอากาศ ก็เป็นความจริง ในขณะนั้นปรากฏว่า ลูกปืนกลจากอากาศบ้าง ลูกระเบิดจากอากาศบ้าง ลูกระเบิดเพลิงบ้าง ทิ้งจากอากาศ ประเทศไทยเรา ก็พลอยยับเยิน ไม่น้อยเหมือนกัน เล่นเอาตู้รถไฟ ต้องไปขี่กัน ที่บางกอกน้อย ทั้งๆ ที่ตู้มันหนัก แต่แรงของระเบิด ดันตู้รถไฟจนไปขี่กัน ตึกบ้านเรือนโรงลำบากมาก

    แต่ว่าสงครามนั้น เป็นเหตุบันดาลอย่างหนึ่ง นั่นคือว่าสร้างความทุกข์ บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า สงคราม นี่ อาตมา ผู้พูดเอง ก็ยังรู้สึกหวาดเสียวอยู่ เพราะว่า เคยอยู่ในระหว่างสงคราม ขณะนั้นอยู่กรุงเทพฯ แสงไฟฟ้าก็ใช้อะไรไม่ได้ ต้องใช้ตะเกียง ตะเกียงน้ำมันก๊าดไม่มีจะใช้ น้ำมันโซล่าก็หาไม่ได้ ต้องใช้น้ำมันหมู หรือน้ำมันมะพร้าวมาทำตะเกียง ของทุกอย่าง ของกินของใช้ต้องปันส่วน เพราะหาไม่ได้ จะได้ก็ของจากญี่ปุ่น เวลานั้นของเรามีน้อย เวลานี้โรงงานมีมาก แต่ก็ไม่ แน่นัก เพราะระเบิดจากอากาศก็ดีจรวดก็ดี หรือว่าระเบิดจากภาคพื้นดินก็ดี อาจจะเกิดกับโรงงานต่างๆ ในประเทศไทยได้ ถ้าสงครามเขา เกิดขึ้น

    หากว่าท่านจะถามว่า ทำไมสงครามเกิดขึ้นที่ตะวันออกกลางแล้วจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทำไมไทยจึงต้องหวาด ระแวง ความจริงไม่ได้พูดให้ระแวง พูดให้ทราบ ตามความจริง หรือ ตามความรู้สึก นึกคิด ถ้าเรื่องนี้ผิด ก็ต้องขออภัยด้วย เพราะว่าเป็นการคาดคะเน มากกว่าอย่างอื่น คิดว่าถ้าสงครามเกิดขึ้น ระหว่างสงครามศาสนา ก็จงอย่าลืมว่า ศาสนาที่อยู่ ระหว่างสงคราม ก็มีอยู่ในประเทศไทยทั้ง ๒ ศาสนา ถ้าเขารบกัน แต่เพียงภายนอกก็ดี

    แต่บังเอิญคนที่นับถือศาสนานั้นๆ ทั้ง ๒ ศาสนาเกิดทะเลาะ วิวาท รบราฆ่าฟันกันในเขตของเรา เขตของเราก็ต้องยับเยิบไป เหมือนกับสนามหญ้ากับสุนัข ๒ ฝ่ายกัดกัน สนามหญ้าก็แหลก ถ้าบังเอิญเขารบกัน ก็ไม่เป็นไร ดีไม่ดีเขาจะชวนเรารบ เราจะรบหรือไม่รบ เขาก็จะรบหรือ ว่าเราไม่รบ เขาก็ไม่รบ แต่เขายึด เรายอมให้เขายึดไหม ในส่วนต่างๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศไทย

    สำหรับความนึกคิด ในเวลานี้ ไม่ใช่หมอดูนะ ไม่ใช่พยากรณ์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักอะไรทั้งหมด เป็นแต่การคาดคะเนว่า เหตุการณ์จะต้องเกิดขึ้น อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏในปัจจุบันจะฟูขึ้น เพราะรับการสนับสนุนเรื่องการเงิน กำลังอาวุธจากที่อื่น จากนั้นเหล่าทหารตำรวจของเรา ก็ต้องเคลื่อนกำลังเข้าไปรักษาเขต ทีนี้เขตต่อเขต เขตยันเขต เขตที่เขาก่อขึ้นเป็นเขตในประเทศไทย และเขตต่อไปข้างหน้า ก็เป็นเขตที่เขาพวกเดียวกัน อะไรมันจะเกิดขึ้นบ้าง ลองวาดภาพกันดู ถ้ามันเกิดจริงๆ ตามเขาว่านะ อันนี้ไม่ได้รับรองว่า มันจะเกิดจริงหรือไม่

    ถ้าเกิดจริงส่วนประเทศไทย ทุกจุดทุกภาค ก็มีบุคคลที่ถือ ศาสนาตรงกันข้าม กับพระพุทธศาสนา ก็มีกำลังสูงขึ้น ที่เขาโต้กันที่เชียงใหม่ อภิปรายก่อนหน้าที่จะพูดนี้ไม่ถึงเดือน เขาโต้กันถึงหลักสูตรการศึกษาว่า

    หลักสูตรพระพุทธศาสนาถูกลดลงไป หลักสูตรศาสนาอื่น เข้ามาแทน อย่างนี้ก็ต้องมีอาการน่าคิดว่า เขาวางแผนล่วงหน้าไว้ไกลมาก หรือว่าเป็นการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน โดยเฉพาะระยะใกล้ก็ได้

    ก็เป็นอันว่า ในเมื่อสงครามใหญ่เกิดขึ้น ทางด้านตะวันออกกลาง ทีนี้ เศษสงครามมันก็อาจจะเข้ามาถึงประเทศไทย ต่อไปก็เป็นการเดาอีก ขอเดานะ ไม่ได้พูดตรงๆ จะหาว่าดูผิดก็ไม่ได้ เดามันผิดได้ ขอเดาว่า ถ้าสงครามเกิดขึ้นอย่างนั้นจริงๆ แต่ความจริงเวลานี้ ยังไม่มีใครจะให้เกิด เวลาที่พูดนี่นะ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๓ แต่กว่าหนังสือนี่จะออกถึงเดือนมีนาคม ถ้าสงครามเกิดก็เกิดแล้ว ไม่เกิดก็ไม่เกิด

    ในระหว่างนี้ต่างคนต่างมองต่างคนต่างพูด แสดงเรื่องการเมือง เอาเหตุผลต่างๆ มาหักล้างกัน ก็ไม่แน่นักว่ามันจะเกิด ก็อยากจะบนบานศาลกล่าวว่ามันไม่เกิดนั่นแหละเป็นการดี แต่ทว่าพระดำรัสของ องค์สมเด็จพระชินสีห์ ไม่เคยผิด แต่ว่าท่านไม่ได้บอก พ.ศ.

    เป็นอันว่าประเทศไทยก็จะถูกหาง หรือท้ายฝน ละอองฝนจากสงคราม ก็เป็นอันว่าเราถูกละอองฝน ดินแดนเราก็จะไม่เสีย แต่ว่าชีวิตคนอาจจะเสียไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่น่าห่วง ก็คือ ของกินของใช้ ราคามันจะแพงมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราต้องใช้น้ำมัน โรงงานต่างๆ ต้องใช้น้ำมัน ในเมื่อสงครามเกิดขึ้น ในเขตของบ่อน้ำมัน เราจะมีโอกาสซื้อน้ำมันได้หรือเปล่าก็ยังไม่แน่

    ท่านดามุส ท่านบอกว่า อำนาจของฝ่ายน้ำมัน มีอำนาจมาก สามารถเอาอาวุธ ใส่ในท้องปลา ไปยิงที่ไหนก็ได้ นั่นหมายถึง เรือดำน้ำ ถ้าเราส่งเรือไปซื้อของในเขตใดเขตหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตของศัตรูของเขาเรือดำน้ำของเขา ก็อาจจะยิงเรือพาณิชย์ ของเราก็ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คนที่พบระหว่างสงคราม จะมีความรู้สึก หนาวๆ ร้อนๆ

    แต่ว่าขอยืนยัน บรรดาท่านพุทธบริษัทว่า สิ่งที่เราไม่ต้องกลัวอย่างหนึ่งคือ เขาประกาศบอกว่า การสงครามนี้เขาจะใช้อาวุธเคมีบ้าง จะใช้นิวเคลียร์บ้าง จะใช้นิวตรอนบ้าง อาวุธทั้งหลายเหล่านี้ น่ากลัวจริงๆ แต่สำหรับความรูสึกของผู้พูด ไม่มีความรู้สึกกลัวเลย เพราะว่าพระพุทธเจ้ามีความศักดิ์สิทธิ์ ของๆ ท่าน ทุกชิ้นที่ผลิตออกมา ท่านบอกว่า กันรังสีต่างๆ ได้หมด รังสีต่างๆ จะไม่สามารถกระทบกาย หรือทรัพย์สินบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีของของท่านได้ ที่ท่านทำให้นะ

    ก็เป็นอันว่า ท่านยืนยันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๑ และท่านทำทุกครั้ง ท่านก็ยืนยันทุกครั้งว่า เกี่ยวกับรังสีต่างๆ ไม่ต้องกลัวเลย รังสีจะไม่เข้าใกล้บุคคลที่มีของที่ท่านทำให้ของนั้นอยู่ไหน ก็หาเอาเองก็แล้วกัน ของนั้นจะขอบอกเป็นนัยๆ เอาตรงๆ เลย ก็ได้คือ พุทธานุสสติ นั่นคือนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และก็ภาวนาไว้ว่า "พุทโธ" เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกถึง "โธ"

    ก่อนจะออกจากบ้าน ตื่นขึ้นมาใหม่ๆ บูชาพระก่อน ภาวนาว่า "พุทโธ" ก่อนอธิษฐานขอความปลอดภัยก่อน จะไปก็เสกน้ำลาย ด้วยกำลังของพุทโธสัก ๓ ครั้ง แล้วก็เดินออกจากบ้านไป หรืออยู่บ้านก็ได้ ภัยอันตรายจะไม่มีแก่ท่าน หรือว่าถ้าทำอย่างนั้น ยังไม่เกิดความมั่นใจ ก็เอาของที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทำไว้ติดกับร่างกาย

    แต่ต้องอาราธนาทุกวัน ว่า "นะโม ตัสสะ 3 ครั้ง" แล้วก็ว่า "พุทโธ" เหมือนกัน และก็อธิษฐานให้ปลอดภัย อย่างนี้จะปลอดภัยจากรังสีต่างๆ แม้แต่สะเก็ดระเบิด หรือว่ากระสุนปืนของข้าศึก ก็จะไม่มีอันตรายกับท่าน ถ้าท่านทั้งหลายมี "พุทธานุสสติ" เป็นกำลังใจ

    ทีนี้เรามาคุยกันต่อไปนี่มันเรื่องคุยนะ ถ้าบังเอิญเวลานี้มีอิรักตั้งท่ายัน อิรักปรากฏว่า ประกาศว่ามีคน ๑๘ ล้าน แต่ทว่า "อิรัก" อิรักอิหร่านนี่รบกันมาประมาณ ๘ ปี พออเมริกาส่งกำลังเข้ามาในอ่าวเปอร์เซีย อิรักอิหร่านดีกันฉิบ พื้นที่ของอิหร่านที่อิรัก ยึดได้ ก็พันตารางไมล์ก็ตาม คืนให้หมดปล่อยเชลยให้หมด เวลานี้ศัตรูกับศัตรู อิรักกับอิหร่านเป็นมิตรกัน อิหร่านก็เข้ากับอิรัก ไม่เห็นด้วยที่อเมริกา จะเอาวัฒนธรรมของเธอ มาใช้ในตะวันออกกลาง เขาถือว่าผิดกฏของพระศาสนา

    นี่ป็นอันว่า อิรักก็มีเพื่อน เข้าอีกหนึ่งประเทศ คือ อิหร่าน อิหร่านนี่ก็ไม่ใช่เล่นเหมือนกัน หนักเหมือนกัน แล้วต่อมาอย่าลืมว่า สายเลือด ที่ร่วมกันมา เขาอาจจะไม่ทิ้งกันนั่นคือศาสนา คนที่นับถือศาสนาร่วมกัน อาจจะร่วมมือกันภายหลัง อย่างนี้สงครามใหญ่จะ เกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำพยากรณ์ของพระท่าน

    ในปีที่ญวนแตกอเมริกาหนีกลับบ้าน ปีนั้นก็ถามพระท่านว่า หลังจากนี้จะมีอะไรบ้าง สงครามใหญ่จะเกิดขึ้นไหม ท่านบอกว่า คำว่าสงครามโลก ยังไม่เกิด คำว่าสงครามโลกนั่นหมายถึงว่า ทั้งโลกแบ่งกันเป็น ๒ พวก ร่วมกันทั้งหมด แล้วก็ตีกันในระหว่างฝ่ายต่อฝ่าย คือตีกันรบกันอย่างนี้เรียกว่า "สงครามโลก"

    แต่สงครามครั้งที่จะเกิดทางด้านตะวันออกกลาง ท่านบอกตรงว่า จะเกิดที่ด้านตะวันออกกลาง เขายังไม่เรียกว่าสงครามโลก เขาเรียกว่า สงครามใหญ่ สงครามใหญ่คราวนี้จะ มีความร้ายแรงไม่น้อย ร้ายแรงกว่าสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ว่าท่านก็ไม่ได้บอกอย่างดามุสว่า ถึงแม้อเมริกาอาจจะถูกนิวเคลียร์ ท่านไม่ได้บอกไว้ คือไม่ได้ถาม

    รวมความว่าคำพยากรณ์ของท่านที่พยากรณ์ว่าจะเกิดที่ตะวันออกกลางก็ตรงแล้ว เวลานี้ตะวันออกกลางจะมีสงคราม อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสงครามเศรษฐกิจ เริ่มบีบรัดกันขึ้นมาการถูกบีบนี่ บรรดาท่านผู้ฟังและท่านผู้อ่าน สมัยเยอรมันก็ดี ญี่ปุ่นก็ดี อิตาลีก็ดี ที่ต้องประกาศเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เพราะว่า การถูกบีบคั้นจากโลกตะวันตกหรือหลายๆ ประเทศ ที่เรียกกันว่า "สันนิบาตชาติ" ในเวลานั้นทั้ง ๓ ประเทศ ลาออกจากสันนิบาตชาติ

    "สันนิบาตชาติ" ต่างคนต่างบีบคั้นต่างๆ หาทางกลั่นแกล้ง ถ้าไม่รบก็อดตายมีความจำเป็นต้องรบ หมายถึงว่า ยอมเสี่ยง ยอมเสี่ยงการเสียอิรภาพ การเสียประเทศจะต้อง เป็นเมืองขึ้นเขากับความตาย ทีนี้การรบความตายมันก็เกิด แต่เกิดเฉพาะบุคคลบางกลุ่มที่เป็นทหาร และบุคคลที่อยู่ใกล้จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกระเบิด คนนอกนั้นจะไม่ตาย ถ้าไม่รบ ความอดเกิดขึ้น มันจะตายทั้งประเทศ เขาต้องตัดสินใจรบ เรื่อง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีฉันใด เวลานี้อิรักกับอิหร่าน กำลังจับมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนามุสลิมเขาเป็นศาสนาที่มีความรักกันมาก

    อย่างตอนใต้ประเทศไทย คราวนั้นฟังข่าวจากทางโทรทัศน์ จากท่าน พันเอกณรงค์ กิตติขจร ท่านบอกว่า ใครล่ะ พันเอกกัดดาฟี มั้ง ถ้าพูดชื่อผิดขออภัยด้วย ท่านเคยไปเจรจากัน บอกว่า อย่ามายุ่งกับประเทศไทยเลย แต่เขาบอกว่า รัฐบาลไม่ได้ยุ่งด้วย แต่ที่ยุ่งนั้นเป็นเรื่องของศาสนา ที่จะให้มีการแบ่งแยกประเทศไทย ออกเป็นของมุสลิมส่วนหนึ่ง ของไทยส่วนหนึ่ง เขาหวัง ๔ จังหวัด แต่ความจริงถ้าเขายึด ๔ จังหวัดได้ เขาจะเอาอีก ๘ จังหวัด ถ้า ๘ จังหวัดได้ เขาจะเอาอีก ๑๖ จังหวัด ผลที่สุดเขาต้องการยึดทั้งหมดทั้งประเทศไทย ความพอใจของคนไม่มีฉันใด

    บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าสงครามเกิดขึ้น ถ้าเราจำเป็นต้องเสียดินแดน เรื่องเสียเฉพาะน่ะ ไม่มีแน่นอน มันต้องเสียกันเรื่อยไป เวลานี้เรา ก็ไม่มีพอที่จะเสียแล้ว แต่ที่พูดนี่ก็ไม่ได้หมายความว่า สงครามจะเกิดจริง สมมติว่าถ้ามันจะเกิดทีนี้เรื่องของศาสนา ก็จะเกิดขึ้นที่พูดนี่ไม่ได้ยุให้คน ๒ ศาสนาทะเลาะกันนะ เป็นแต่เพียงว่าท่านณรงค์ท่านบอกว่า ท่านไปพูดกับประธานาธิบดีของเขา ประธานาธิบดีของเขาก็บอกว่า รัฐบาลไม่ได้ยุ่งเป็นเรื่องของศาสนา ทีนี้ศาสนาจะเอาเงินมาจากไหน ก็ทราบไม่ได้เหมือนกัน

    รวมความว่า หันมาคุยกันในประเทศไทย ถ้าสงครามเกิดขึ้นจริงๆ เราจะเป็นอย่างไร ประการแรก เรายังพูดถึงศาสนาก่อน ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ เราจะหนักเรื่อง น้ำมัน นิดหน่อย แต่ว่าน้ำมันในประเทศไทย ถ้าเร่งรัดจริงๆ จะเหลือใช้ เพราะอะไร เพราะว่าน้ำมันในประเทศไทยนี่มีมาก การเจาะ บรรดาท่านผู้อ่านและท่านผู้ฟัง ที่พูดนี่ก็ขอเดา คิดว่าท่านที่เจาะเขาคงจะเจาะไม่ถึงเพดานจริงๆ ของน้ำมัน รวมความว่า ถังน้ำมันถังใหญ่จริงๆ น่ะ เราจะพูดตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศจีน เขาก็มีน้ำมันเขาอยู่สูงกว่าเรา ประเทศพม่าก็มีน้ำมัน อินโดนีเซียก็มีน้ำมัน แล้วก็ไทยล่ะอยู่กลางทำไมจะไม่มีน้ำมัน

    ทีนี้เวลานี้การเจาะน้ำมัน การดูดน้ำมันเขาว่าได้น้อย แต่ความรู้สึกของผู้พูด หรือตามข่าวหนังสือพิมพ์ เขาบอกว่าความจริงประมาณน้ำมันที่ได้ มันมากกว่าข่าวที่เขาแจ้งมา ข้อนี้จะเท็จจริงประการใดก็ไม่ทราบ สุดแล้วแต่หนังสือพิมพ์ แต่เขาบอกว่าเขาแจ้งได้น้อย ก็ยังมีอีกหลายหลุมที่เขาเจาะพบแล้ว เขาบอกว่าไม่พอกับเชิงพาณิชย์ จึงไม่ยอมดูดขึ้นมา นี่ก็เป็นลีลาของพ่อค้าเป็นของธรรมดา ถ้ากำไรน้อยเขาจะไม่เอา หรือจะมาพูดกันอีกทีหนึ่ง

    เวลานี้ทราบว่า คนไทยศึกษาเรื่องวิชาการเจาะน้ำมันมาได้ดีแล้ว มีความชำนาญพอแล้ว แล้วก็กำลังจะเจาะก่อน หนังสือจะออกคงจะเจาะแล้วละมั้ง เจาะก๊าซที่สงขลาใกล้ๆ กับบ่อเดิม จะเอาก๊าซมารวมกัน เข้ากับท่อเดียวกัน ขึ้นมาใช้จะได้มีปริมาณสูง ถ้าบังเอิญท่าน หรือนายทุนท่านใดท่านหนึ่ง ในพื้นที่ ที่ไม่มีสัญญาประมูลกับบริษัทต่างๆ แต่น้ำมันมีมาก ปริมาณของประเทศไทยนี่ ถ้าจะลองเจาะอย่างต่างประเทศเขา เอาที่ใดที่หนึ่งก็ได้สักที่หนึ่ง ที่พูดนี่เป็นการสมมติกันนะ จะเชื่อหรือไม่สมควรเชื่อ

    เพราะความรู้สึกว่ามีอยู่ว่าการเจาะที่แล้วมา เขาเจาะกันยังไม่ถึงฝาผนังหรือเพดาน ของถังน้ำมัน ซึ่งมันเป็น ถังใหญ่คลุมจักรวาล มันเป็นทะเลอีกชั้นหนึ่งต่างหาก คือเป็นทะเลน้ำมันจริงๆ ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือทะเล น้ำมันจีน ก็เช่นเดียวกันแล้วก็พม่าก็เหมือนกัน อินโดนีเซียก็เหมือนกัน มาเลเซียก็เหมือนกัน บรูไนก็เหมือนกัน มันเป็นถังถังเดียวกัน ถ้าบังเอิญ เราจะเจาะอย่างอังกฤษ ที่เขาบอกว่า อังกฤษเจาะที่ทะเลเหนือ เจาะลง ไปลึกลงไปใต้ดินถึง ๖ กิโลเมตร ก็ได้น้ำมันขึ้นมาเพียงพอ

    แต่ประเทศไทยเราสำรวจแล้วว่า ที่ใดที่หนึ่งมีน้ำมันพอที่จะเจาะได้ ก็ลองเจาะสัก ๖ กิโลเมตร จะมีผลเป็นประการใดเรื่อง นี้ก็ลองถามท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ท่านมีความชำนาญในด้านนี้มาก ก็เรียกว่า "ดร.สรรพศาสตร์"

    ท่านดร.สรรพศาสตร์ ท่านบอกว่า
    ถ้าเจาะลงไปถึง ๖ กิโลเมตร ในถังน้ำมันที่มีพื้นแผ่นดินหนา หมายความว่า หลังถังน่ะลึกลงไป เจาะลงไปแค่ ๓ กิโลเมตร จะถึงผิวถังน้ำมัน หรือหลังคาน้ำมัน ถ้าเจาะถึง ๖ กิโลเมตร ไอ้ท่อที่เจาะลงไปนั้น จะจมไปในตัวถังน้ำมัน บ่อน้ำมันจริงๆ ครึ่งกิโลเมตร ถ้าเจาะในที่ตื้น ที่บางจุดอยู่ไม่ไกลกรุงเทพนัก

    ในที่นี้ถ้าเจาะถึง ๖ กิโลเมตร ท่อจะจมลงไปในเขตของน้ำมัน ประมาณ ๖ กิโลเมตร ถามว่า ดร.สรรพศาสตร์ ถ้าเราจะดูดใช้อย่างปัจจุบันนี่ ถ้าทำอย่างนั้นจะใช้ได้สักกี่ปี ท่านบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เอา ๓๐ เท่าของปัจจุบันใช้ไป ๕,๐๐๐ ปี น้ำมันยังไม่หมด ปริมาณยังไม่ลด

    นี่แหละบรรดาท่านผู้อ่านและท่านผู้ฟัง ถ้าบังเอิญท่านดร.สรรพศาสตร์ ท่านพยากรณ์ตามความรู้ของท่าน ถ้าตรงตามนี้ประเทศไทยเราก็ไม่จน อย่างอื่นจะไม่มีก็ไม่เป็นไร ไฟของเรามีน้ำมันเราก็ถูก อุตสาหกรรมของเราลงทุนถูก เพราะน้ำมันถูก เราจะขายต่างชาติได้ดี ระยะนั้นประเทศไทยเราจะรวย

    เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เราคุยกันมาวันนี้ก็ป่วย แต่เกรงว่าเล่มที่ ๑๘ นี่จะไม่ครบ ทำไปแล้ว บ้างตามสมควร แต่ไม่แน่ใจ ว่าจะครบหรือไม่ครบ ก็ลุกขึ้นมาทำหันไปดูเวลาเหลือเวลาประมาณนาทีเศษ ก็ขอเตือนบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ว่า จงอย่าหวั่นไหวต่อสงคราม

    ขอยืนยันว่า ถึงแม้ว่าสงครามจะเกิด ก็จริงแหล่แต่ทว่าเราจะไม่ตายเพราะสงครามโลก เราจะไม่อดตายเพราะสงครามโลก และนักเกษตรศาสตร์ก็ดี นักเกษตรศาสตร์นี่จะมีโชคดีมากคือจะรวย ข้าวจะแพง พวกที่เลี้ยงสัตว์ก็ดี ราคาจะแพง จะรวยทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีความประมาท บรรดาท่านพุทธบริษัทประเทศไทยจะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์.

    ที่มา - จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับพิเศษ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    พุทธพยากรณ์ โดย..หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (โพสต์ในเว็บไซด์ต่างๆ)


    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=897

    TestH_04.jpg

    จารึกแผ่นทองคำหลวงพ่อ (1).jpg
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จงพึงระวัง อสัทธรรม คัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร หรือ อหังการวิเศษมาร คัมภีร์มารของเดียร์ถีย์

    อย่าลืมว่า ในยุทธจักรคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวมักจะไม่เปิดเผย

    ข้อควรนำไปคิด เพื่อแปลงสภาพ ภาวะฐานะธรรม
    "ถ้าเราท่านมีพลังฝีมือ และมียอดวิชา ที่ตัวเองถนัดอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ทว่ามีอุปสรรคบางอย่าง ทำให้ไปไม่ถึงไหน อาศัยแต่ทริกเล็กๆ หลอกขู่คนอื่นไปได้ แต่ถ้าเจอของจริงที่จับสังเกตุได้ เราท่านนี้ก็อาจจะสู้ไม่ได้ อย่างง่ายดายเหมือนกัน" เรื่องแพ้-ชนะแล้วจะได้อะไร? ค่อยว่ากันอีกที

    มัวแต่รบกันเองโดยไม่รู้จักศัตรูที่แท้จริง เราไม่เป็นข้าศึกในโลกก็จริง แต่ข้าศึกเห็นเราเป็นข้าศึกในโลก ข้อนั้นพึงระวัง

    14522976_322570314773912_6283104158411911574_n.jpg

    hqdefault.jpg
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำทำนายของ...พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ

    เมื่อสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้วได้ประมาณ 236 ปี พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เล็งญาณดูกาลอนาคตของพระพุทธศาสนาเห็นว่าต่อไปชมพูทวีปซึ่งเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจะไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปอื่น จึงได้ถวายพระพรพระเจ้าอโศกมหาราช ขอความอุปถัมภ์ เพื่อจัดส่งพระเถรานุเถระเป็นคณะไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศนอกชมพูทวีป ด้านใต้ถึงเกาะลังกา ด้านตะวันตกถึงเปอร์เซีย ด้านเหนือถึงประเทศแถบเชิงเขาหิมาลัย ด้านตะวันออกถึงสุวรรณภูมิ เหตุการณ์ก็จริงดังคาด พอพระพุทธศักราช ประมาณ 1100 ปีเศษ พระพุทธศาสนาก็อันตรธานจากชมพูทวีป ไปเจริญรุ่งเรืองยังนานาประเทศจริงๆ สุวรรณภูมิ ก็คือแหลมทอง ซึ่งหมายถึงผืนแผ่นดินตั้งแต่อ่างเบงกอลมาจนถึงทะเลญวณ ได้เป็นที่รองรับพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่พระพุทธศักราชประมาณ 236 ปีเศษ มีโบราณวัตถุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นสักขีพยานในโบราณสถานนั้นๆ เช่นพระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดใหญ่โตมาก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น เพราะยังไม่เกิดประเพณีสร้างพระพุทธรูปที่เมืองเสมา (ร้าง) ในจังหวัดนครราชสีมา ก็มีวงล้อธรรมจักรทำด้วยศิลาขนาดเดียวกันกับที่นครปฐม และที่ตำบลฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีภาพแกะสลักศิลาเป็นเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเป็นพยานว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ณ. แหลมทอง โดยเฉพาะที่นครปฐมและนครราชสีมาในสมัยเดียวกัน ประมาณว่าในราวพุทธศตวรรตที่ 4 การที่พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องเป็นระยะไกลถึงเกือบพันปีเช่นนี้ ย่อมต้องมีทิพยจักขุญาณแจ่มใสจริงๆ แน่นอน เมื่อทราบแล้ว ท่านก็ดำเนินการแก้วิกฤตการณ์ไว้ล่วงหน้าทันที

    ผลดีที่เกิดขึ้นคือ พระพุทธศาสนาแพร่หลายและดำรงอยู่ได้ในนานาประเทศนอกชมพูทวีปมาจนถึงปัจจุบัน ชมพูทวีปคือ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนา ได้ว่างเปล่าจากพระพุทธศาสนามานานประมาณพันปีแล้ว พึ่งจะมีพระภิกษุจากลังกา พม่า และอาหม เข้าไปทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปอีกเมื่อประมาณ 60 ปีมานี่เท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังหวังความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในสมัยพุทธกาลได้ยาก เพราะสภาพการณ์ของบ้านเมืองและประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลัทธิศาสนาอื่นได้ฝักรกรากแทนที่พระพุทธศาสนามานาน บุคคลผู้จะนำพระพุทธศาสนาไปปลูกฝังลงยังอินเดีย ได้อีกจะต้องเป็นผู้มีบุญญาภิสมภารและอิทธิภินิหารเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าเจ้าลัทธิคณาจารย์ในถิ่นเป็นอย่างมาก

    มีคำทำนายโบราณชิ้นหนึ่งได้เป็นที่ตื่นเต้นสนใจกัน เมื่อประมาณ 60 ปีกว่ามานี้ มีว่า เมื่อพระพุทธศาสนาอายุถึงกึ่ง 5,000 ปีนับแต่พุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาจะกลับมาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดคล้ายสมัยพุทธกาล แลจักมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงภูมิพระอรหันต์ เชี่ยวชาญทางอภิญญา พระมหาเถระโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภิสมภาร แลถึงพร้อมด้วยบุญญฤทธิ์อิทธาภินิหาร ในสุวรรณภูมิแคว้นประเทศ จักได้เป็นประธานาธิบดีสงฆ์ทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นที่อินเดียไปยุโรปและอเมริกา ประชาชนชาวโลกจะหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนามากมาย คนทั้งหลายจะนิยมในการฝึกฝนอบรมจิตในทางพระพุทธศาสนา ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะร่มเย็นเป็นสุข ด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนา เงาเจริญแห่งพระศาสนาเริ่มปรากฏแล้ว ชาวอัศดงประเทศกำลังหันมาสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น แต่ใครเป็นตัวการตามทำนายนั้น ยังมิได้ปรากฏแก่วงการพระพุทธศาสนา ขอให้คอยดูกันต่อไปว่า จะจริงเท็จแค่ไหน ถ้าคำทำนายเป็นจริงขึ้นก็แปลว่า ชาวพุทธผู้ให้คำทำนายไว้นั้น มีทิพยจักขุญาณวิเศษที่สุดได้แน่ๆ ทีเดียว และตัวการในคำทำนายนั้น จะเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของโลกสมัยใหม่ด้วย ข้าพเจ้าได้เรียนถามพระอาจารย์ภูริทัตตเถระ (มั่น) ว่า คำทำนายโบราณนี้จะเป็นจริงไหม ท่านว่าเจ้าพระคุณพระอุบาลีปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) บอกว่าจริง เมื่อข้าพเจ้าถามถึงความเห็นเฉพาะตัวของท่าน ท่านก็บอกว่าเป็นจริง เวลานี้ก็จวนถึงเวลาแล้ว เราคอยดูกันต่อไป เอวัง.............

    ที่มาจากหนังสือ ทิพยอำนาจ แต่งโดยพระอาจารย์ เส็ง ปุสโส ป.ธ.6
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ว่ากันว่า พระยาธรรมมิกราช ผู้ต้องพยากรณ์ มีหลายท่านหลายองค์เสด็จมาตามห้วงกาลเวลา เคยอ่านผ่านตาอยู่เหมือนกัน


    ตำนานละแวก


    ต้นฉบับตำนานละแวกนี้ เป็นของวัดศรีพิงค์เมือง (วัดศรีปิงเมือง) ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน ๑ ผูก ความยาว ๖๒ หน้า คัดลอกโดยมหาวันภิกขุ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับ จ.ศ.๑๒๔๒ ปีกดสะง้า เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ำ วัน ๓ สรุปใจความได้ดังนี้


    ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายัง ทรงพระชนม์อยู่นั้น ทรงทำนายเหตุการณ์ในอนาคตไว้ที่เมืองละแวก เมื่อเสด็จมาถึงเมืองแห่งนี้ พญานาคได้มาอุปัฏฐาก จึงทำนายว่า สถานที่ดังกล่าวนี้จะเป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา พระอานนท์จึงขอเอาพระเกศาธาตุบรรจุไว้ที่นี่ พระพุทธองค์ทรงมอบพระเกศาธาตุให้จำนวน ๕ เส้น จากนั้นพระอินทร์ พระพรหม ครุฑ นาค และพญาเจ้าเมืองละแวก จึงก่อเจดีย์ขึ้นเป็นจำนวน ๕ องค์ สำหรับเป็นเครื่องหมายของศาสนา ๕ พันปี

    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ นิพพานไปแล้ว ๒๒ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้มาบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวให้เจริญรุ่งเรือง โดยก่อกำแพงแก้วรอบบริเวณพร้อมทั้งติดแผ่นทองทุกองค์เจดีย์ ส่วนเมืองละแวกแห่งนั้นมีบริเวณกว้าง ๓ พันวา ยาว ๒ พันวา กำแพงเมืองก่อด้วยหินหนา ๖ พันวา สูง ๔ พันวา คูเมืองลึก ๗ วา สำหรับบริเวณที่สร้างเจดีย์ ๕ องค์กว้าง ๓๐๐ วา ฐานเจดีย์องค์หนึ่งกว้าง ๑๔ วา สูง ๒๐ วา แต่ละเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้าน เหมือนกันหมดทุกองค์

    เจดีย์ทั้ง ๕ องค์ดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์ให้สร้างไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายทางศาสนา หากเจดีย์จมพื้นดินลงไป ๑ องค์ เท่ากับศาสนาพ้นไปแล้ว ๑ พันปี จนกว่าจะครบ ๕ พันปี เจดีย์ทั้งหมดจึงจะหายไปในที่สุด เจดีย์ดังกล่าวนี้มีผู้อุปัฏฐากดูแลคือ ภิกษุ ๕๐๐ องค์ สามเณร ๕๐๐ รูป คฤหัสถ์ ๕๐๐ คน

    ใน ช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศาสนา ๕ พันปีนั้น จะมีพญาธรรมมิกราชเกิดมาจำนวน ๕ องค์โดยมีช่วงเวลาครั้งละ ๑ พันปื สำหรับพญาธรรมมิกราชองค์ที่ ๓ ที่จะเกิดมาในระหว่างพุทธศาสนาได้ ๓ พันปีนั้น(พ.ศ.๒๐๐๑-๓๐๐๐) จะเกิดมาในขณะที่บ้านเมืองเดือดร้อนวุ่นวาย ผู้คนไม่มีศีลธรรม เกิดมีการรบพุ่งฆ่าฟันกันไปทั่ว

    ก่อนที่จะมีพญาธรรมมิกราชปรากฏกายลักษณะขึ้นนั้น ท้องฟ้าจะมืดมิดเป็นเวลา ๗ วัน ครั้นถึงวันที่ ๘ ท้องฟ้าจึงจะสว่างสดใส เทวบุตรจะนำเอาเครื่องสูง ๕ ประการมาทำพิธีราชาภิเษกโดยมีนางฟ้าและพระฤาษีมาร่วมพิธีด้วย รวมทั้งข้าทาสบาทบริจาริกาจำนวนหนึ่งหมื่นหกพันนางจากอุตรกุรุทวีป

    เมื่อเสร็จพิธีราชภิเษก แล้ว ปราสาท ๓ หลังจะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แต่ละหลังทำด้วยทองคำ แก้วและเงิน พญาธรรมมิกราชองค์นั้นได้เสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ในราชสำนักจะมีบุรุษผู้ประเสริฐ จำนวน ๖ คน พญาธรรมมิกราชจะขุดเอาข้าวของเงินทองจากพื้นดินมาบูรณะบ้านเมืองและแจกจ่าย เป็นทานแก่คนทั่วไป หลังจากนั้นจึงได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป


    ข้าทาสบาทบริจาริกาตามมาจากอุตรกุรุทวีป อันมีต้นกัลปพฤกษ์ เป็นไม้ประจำทวีป พอได้เค้าลางๆ แบบปัตจัตตัง


    เมื่อวิสัชนา ตามนั้นก็แสดงว่า
    การต้องพุทธทำนาย ประเทศราชอื่นยอมพ่ายแพ้ ยามนั้น ต้องมีพระยาธรรมมิกราช เป็นที่แน่นอน ตามหลักฐาน

    โบราณสถาน
    http://place.thai-tour.com/sukhothai/sisatchanalai
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผมเป็นเพียงพยาน และหาหลักฐานให้ตามสมควรแก่กาล โดยเฉพาะในเรื่องพุทธทำนายมหาสุบิน เกี่ยวข้องกับ มหาสุบิน ๑๖ ประการของพระเจ้าประเสนทิโกศล โดยตรงครับ มีหน้าที่ปกป้องรักษา อภยปริตร พระไตรปิฏกทั้งหลายฉบับ พระเกียรติภูมิและพระราชวินิจฉัยของบุคคลอันควรให้ความเคารพศรัทธาและนับถือ ตลอดจน พระมหาเถระและพระสงฆ์ทั้งหลายฯ ตลอดจนพระอริยะบุคคล ที่ถูกทำลายโดยสอนไม่ให้เชื่อไม่ให้ฟัง โดยการวิสัชาธรรมอย่างผิดเพี้ยน ของโมฆะบุรุษ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และสาวกแห่ง สำนักวัดนาป่าพง

    ***********************************************************************
    พระไตรปิฏกมีไว้สั่งสอนคนให้เป็นคนดี ไม่ใช่มีไว้ให้คนชั่วๆสั่งสอนแก่พระไตรปิฏก


    เห็นหลายท่านบ่นบอกพระไตรปิฏกไม่มีสอนพระพุทธศาสนา มีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปี จะเอาภัทร์กัปป์ไหนล่ะครับ ถึงจะพอใจท่าน น้อยกว่าห้าพันก็มีครับ ต้องค้นไหม?ครับ



    สำนักวัดนาป่าพง คึกฤทธ์และสาวก จบเห่ พ่ายธรรมยุทธ์เพราะไปจาบจ้วงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในพระมหาราชปณิธานของ องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    คึกฤทธิ์วิสัชนาสั่งสอนสาวก
    พระศาสดาทรงตรัสว่า สาวกภาสิตา (โต) แปลได้ว่า สาวกภาษิต
    คือคำที่สาวกของพระศาสดาพูดขึ้นเอง
    โดยเมื่อเทียบกับสูตรธรรมและวินัยทั้งอรรถะ และ พยัญชนะแล้ว ไม่สามารถลงรอยได้เลยกับตถาคตภาษิต

    ดังนั้น อายุของศาสนาของพระองค์ ไม่มีสูตรใดๆเลยที่พระองค์ทรงตรัสว่า
    สัทธรรมของพระศาสดาจะเสื่อมสูญไปภายใน 5000 ปี
    ตามที่สาวกนั้นๆกล่าวหรือพยากรณ์ขึ้นมาเอง

    [ame]


    สำนักวัดนาป่าพงไม่เอา๕,๐๐๐ปี



    แต่แอบอ้างเอาหลักฐานมาจากพระไตรปิฏกมาจากสมเด็จพระปฐมพระบรมมหากษัตริย์ ที่ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาและพระไตรปิฏก แต่ลืมไปว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงจารึกบันทึกคำตรัส ในพระราชปณิธานไว้ก่อนรัชสมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี


    นาทีที่ 16:18 แสดงข้อมูลที่มาของพระไตรปิฏก แต่ไม่มีบันทึก พระราชมหาปณิธาน ดำรัสตรัสของ สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ทรงตรัสอายุของพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ฉนั้นจึงเป็นการวิสัชนาที่ผิดพลาดอย่างมหาศาล ถ้าคิดอย่างนั้นก็แสดงว่า ไปสรุปว่า " ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไม่มีพระไตรปิฏก ไม่ทรงรู้ทรงทราบพระไตรปิฏก และก็ไม่มีใครรู้จักพระธรรมคำสั่งสอนที่มีมาในพระไตรปิฏกนั้นด้วย สรุป เรื่องพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี คึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพงร่วมมือร่วมใจกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ว่าพระองค์ทรงตรัสกล่าวใน พระราชมหาปณิธาน นั้นเป็นเรื่องไม่จริง

    [ame]




    หลักฐาน พระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี

    พระราชปณิธาน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา
    ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา แด่พระศาสดาสมณะพระพุทธโคดม

    ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสม
    เจริญสมถะวิปัสนาพ่อชื่นชม ถวายบังคมรอยพระบาทพระศาสดา
    คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา
    พุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน



    แม้พระองค์จักเสด็จไปดีแล้ว ก็ยังทรงกอบกู้พระพุทธศาสนามาจนถึงเวลานี้ ด้วยโคลงฉันท์กาพย์กลอน โดยกระแสนิรุตติญานทัสสนะที่ทรงกล่าวไว้ ขอเทิดไท้องค์ราชันย์มหาราช
    ****************************************************************************

    การสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น แผ่นดินใหญ่นี้ได้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว เป็นอเนกประการทั่วไปจนถึงน้ำรองแผ่นดิน เป็นประหนึ่งว่าเกิดความปราโมทย์ให้สาธุการว่า ศาสนาของพระทศพลนี้ พระมหากัสสปเถระได้ทำให้สามารถมีอายุยืนไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ ปี และได้ปรากฏมหัศจรรย์ทั้งหลายมิใช่น้อยด้วยประการฉะนี้.
    สังคายนาใดในโลกเรียกกันว่า ปัญจสตา เพราะพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำไว้ และเรียกกันว่า เถริกา เพราะพระสงฆ์ชั้นพระเถระทั้งนั้นได้ทำไว้ สังคายนานี้ชื่อปฐมมหาสังคายนาด้วยประการฉะนี้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1#ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม_๕_ค่ำ_เดือน_๙



    ***************************************************************
    ก็ด้วยบทว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อเขาไม่พูนคันกั้นสระใหญ่ น้ำสักหน่อยหนึ่งก็ไม่ขังอยู่เลย แต่เมื่อเขาปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด. ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราบัญญัติเสียก่อนเพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วงละเมิดในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรมเหล่านั้น เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้อีก ๕๐๐ ปี รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.

    ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน ปฏิเวธสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีโดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็ไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=141

    ***********************************************************************
    มีพระพุทธพจน์ ตรัสชัดเจนครับว่า

    พระพุทธศาสนาจักตั้งมั่นอยู่ได้ "หนึ่งพันปี" (๑๐๐๐ ปี)

    พระพุทธพจน์ (จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ หากมาตุคามจักไม่ได้ออกบวชเป็น
    บรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน
    สัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ใน
    ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จัก
    ดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5753&Z=5887

    คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน, รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้.

    พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙



    อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สัมปสาทนียสูตร ที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

    “แต่วงศ์ของสมณะผู้นุ่งผ้าขาว ไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้ ตั้งแต่กาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ
    1. ศาสนาดำรงอยู่ได้ตลอดพันปีด้วยภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
    2. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้ทรงอภิญญา ๖
    3. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้ทรงวิชชา ๓
    4.ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้เป็นสุกขวิปัสสกะ
    5. ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยเหล่าภิกษุผู้ทรงปาฏิโมกข์
    ก็ศาสนาย่อมมีอันทรุดลงตั้งแต่การแทงตลอดสัจจะของภิกษุรูปหลังๆ และแต่การทำลายศีลของภิกษุรูปหลังๆ”

    จะเห็นได้ว่านี่ กรณีที่เชื่อกันว่า พุทธศาสนาอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนี่ มีหลักฐานว่าเป็นเหตุการณ์ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ส่วนในศาสนาของพระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้าใน พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ ภิกขุนิกขันธก วรรณนา กล่าวว่า อธิบายเรื่องที่พระพุทธเจ้าบัญญัติครุธรรม ๘ ประการให้พระนางปชาบดีโคตมี ก่อนบวชภิกษุณีว่า ถ้าไม่บัญญัติครุธรรม ๘ ประการ ศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐ ปีแทนที่จะอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งตรงจุดนี้อรรถถาอธิบายว่า ๑,๐๐๐ ปีแบ่งเป็นช่วงๆ ดังนี้

    “แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วย
    - อำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น.
    แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่สิ้นพันปี
    - ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    - จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    - จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    - จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้”
    ****************************************************************************************
    เหตุการณ์เมื่อสมัยพุทธันดรล่วงมาแล้ว

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1661

    มหากัณหชาดก
    ว่าด้วย คราวที่สุนัขดำกินคน
    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภความประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กณฺโห กณฺโห จ โฆโร จ ดังนี้.
    ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึงพระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า

    ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวนมาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลกโดยส่วนเดียว จำเดิมแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรงถือบาตรจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทานพระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไปคยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิลพันหนึ่ง เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบทด้วยโอวาทสามข้อ

    ครั้งหนึ่ง เวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต

    ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้าตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์

    ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมาภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัตแก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะและศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการต่างๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.

    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

    ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุสสินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลื้องมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลส ด้วยจตุราริยสัจเทศนา ทำพระนครคือพระนิพพานให้เต็มแล้วเสด็จปรินิพพาน ครั้นกาลล่วงมานาน ศาสนาก็เสื่อม ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้องกับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและพราหมณ์ ต่างละธรรมของตนเสียสิ้น โดยมากพวกมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถสิบ ผู้ที่ตายไปๆ จึงไปอัดแน่นกันอยู่ในอบาย.

    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชไม่เห็นเทวบุตรใหม่ๆ จึงตรวจดูมนุษยโลก ก็ทรงทราบว่า พวกมนุษยโลกไปเกิดในอบาย ทรงเล็งเห็นความที่ศาสนาของพระศาสดาเสื่อมโทรม ทรงดำริว่า จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงเห็นอุบายมีอยู่อย่างหนึ่ง จึงตกลงพระทัยว่า เราจักต้องทำให้มหาชนกลัว สะดุ้งหวาดเสียว แล้วค่อยปลอบโยนแสดงธรรม ยกย่องพระศาสนาที่เสื่อมแล้วให้ถาวรต่อไปได้อีกพันปี รับสั่งให้มาตลีเทพบุตรแปลงเพศเป็นสุนัขดำใหญ่เท่าม้าอาชาไนย มีรูปร่างดุร้าย มีเขี้ยวโตเท่าผลกล้วย มีรัศมีร้อนเป็นไฟ พลุ่งออกจากเขี้ยวทั้งสี่ รูปพิลึกน่าสะพรึงกลัว หญิงมีครรภ์เห็นเข้าอาจแท้งลูก มีเชือกผูกอยู่ห้าแห่งคือที่เท้าทั้งสี่และที่คอ บนศีรษะประดับพวงดอกไม้แดง

    ท้าวสักกะแปลงเพศเป็นนายพรานป่า นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มุ่นผมข้างหน้าไว้ข้างหลังแล้วประดับพวงดอกไม้แดง มือขวาถือปลายเชือกที่ผูกสุนัข มือซ้ายถือธนูใหญ่มีสายมีสีดังแก้วประพาฬ กวัดแกว่งวชิราวุธด้วยพระนขา เหาะลงในที่ห่างพระนครโยชน์หนึ่ง ส่งเสียงขึ้นสามครั้งว่า มนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักพินาศทำให้มนุษย์ทั้งหลายหวาดเสียว แล้วไปชานพระนครส่งเสียงขึ้นอีก พวกมนุษย์เห็นสุนัขนั้นก็หวาดเสียวพากันเข้าพระนคร กราบทูลความเป็นไปให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ปิดพระนครโดยด่วน ท้าวสักกะได้โดดข้ามกำแพงสูงสิบแปดศอก เข้าไปข้างในพระนครพร้อมกับสุนัข พวกมนุษย์กลัวสะดุ้งหวาดเสียว ต่างก็หนีเข้าเรือนปิดประตู ฝ่ายสุนัขดำใหญ่ก็วิ่งไล่พวกมนุษย์ที่ตนได้เห็น ทำให้พวกมนุษย์หวาดเสียวไปพระราชนิเวศน์.

    พวกมนุษย์ที่พระลานหลวงพากันหนีไปด้วยความกลัวเข้าพระราชนิเวศน์แล้วปิดพระทวาร แม้พระเจ้าอุสสินนรราชก็พานางสนมทั้งหลายขึ้นปราสาท สุนัขดำใหญ่ยกเท้าหน้าขึ้นเกาะบานประตูแล้วเห่าลั่น เสียงที่สุนัขเห่าดังสนั่นเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัครพรหม สกลจักรวาลสะเทือนทั่วถึงกันหมด เสียงดังเช่นนี้ได้มีในชมพูทวีปสามครั้ง คือ เสียงของพระเจ้าปุณณกราช ใน ปุณณกชาดก ครั้งหนึ่ง เสียงของพระยาสุทัศนนาคราช ใน ภูริทัตชาดก ครั้งหนึ่ง และ เสียงในมหากัณหชาดกนี้ครั้งหนึ่ง ชาวพระนครพากันกลัวสะดุ้งหวาดเสียว แม้บุรุษคนหนึ่งก็ไม่อาจมาเจรจากับท้าวสักกะได้.

    พระราชาเท่านั้นดำรงพระสติไว้มั่นคง เยี่ยมพระแกล เรียกท้าวสักกะมาตรัสว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขของท่านเห่าเพื่ออะไร.

    ท้าวสักกะตอบว่า เห่าด้วยความหิว

    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้ข้าวแก่สุนัข แล้วรับสั่งให้ให้ข้าวที่หุงไว้สำหรับคนในราชสำนักและสำหรับพระองค์ทั้งหมด สุนัขได้ทำข้าวทั้งหมดนั้นเหมือนกะเป็นข้าวคำเดียว แล้วก็เห่าขึ้นอีก

    พระราชาตรัสถามอีก ทรงสดับว่า บัดนี้สุนัขของเรายังหิวอยู่ จึงรับสั่งให้นำอาหารที่หุงไว้สำหรับช้างม้าเป็นต้นทั้งหมดมาให้ สุนัขได้กินคำเดียวหมดเหมือนกัน รับสั่งให้ให้อาหารที่หุงไว้สำหรับพระนครทั้งสิ้น สุนัขได้กินอาหารนั้นโดยทำนองนั้นแหละ แล้วก็เห่าขึ้นอีก

    พระราชาทรงตกพระทัยสะดุ้งกลัว ทรงดำริว่า นี่เห็นจะไม่ใช่มนุษย์ ต้องเป็นยักษ์โดยไม่ต้องสงสัย เราจะถามเหตุที่มาของนายพรานนี้
    เมื่อจะตรัสถามได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า

    ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว ท่านผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺโห กณฺโห ความว่า เปล่งเสียงซ้ำด้วยอำนาจความกลัว หรือด้วยอำนาจกรรมอันมั่น. บทว่า โฆโร ได้แก่ ให้เกิดความกลัวแก่ผู้ได้พบเห็น. บทว่า ปตาปวา ความว่า มีแสงร้อน ด้วยความร้อนแห่งรัศมีที่พลุ่งออกมาจากเขี้ยวทั้งหลาย. บทว่า กึ วีร ความว่า พระราชาตรัสอย่างนั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวดุร้ายของท่านเห็นปานนี้นั้น ทำอะไร มันจับมฤคกินหรือจับอมิตรให้ท่าน ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยสุนัขตัวนี้ จงปล่อยมันไปเถิด.

    ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

    ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้องการกินเนื้อ แต่เพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใดจักมีมนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้นสุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินมนุษย์.

    คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ก็สุนัขตัวนี้มิได้มาในที่นี้ด้วยหวังว่า จะกินเนื้อมฤค เพราะฉะนั้นจะไม่มีประโยชน์สำหรับพวกมฤค แต่มาเพื่อจะกินเนื้อมนุษย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะทำความฉิบหายความพินาศให้แก่มนุษย์เหล่านั้น เมื่อใด ผู้นั้นทำพวกมนุษย์ให้ถึงความพินาศ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้ย่อมหลุด คือจักหลุดจากมือของเราไปกินผู้นั้น.

    ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขดำของท่านจักกินเนื้อมนุษย์ทุกคน หรือว่าจักกินแต่ผู้ที่มิใช่มิตรของท่านเท่านั้น

    ท้าวสักกะตอบว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ สุนัขจักกินเนื้อมนุษย์ที่มิใช่มิตรของเราเท่านั้น.

    คนเช่นไร ที่มิใช่มิตรของท่านในที่นี้.

    คนที่ไม่ยินดีในธรรม มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ชื่อว่าผู้มิใช่มิตร.

    ขอท่านจงกล่าวลักษณะคนเหล่านั้นให้เราทราบก่อน.

    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระราชา ได้ตรัสพระคาถาสิบคาถาว่า

    ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมีบาตรในมือ มีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ ทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพ คนเหล่านี้เป็นคนทุศีล มิใช่มิตรของเรา สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อได้เมื่อใด สุนัขดำจะหลุดจากเชือกห้าเส้นไป เมื่อนั้น.

    เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ บวชมีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ เที่ยวบริโภคกามคุณอยู่ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟันเขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกขาจาร รวมทรัพย์ไว้ให้กู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.

    เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตร แล้วรับจ้างบูชายัญ เมื่อนั้น สุนัขดำเหล่านี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจะคบหาภรรยาของอาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

    เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และดาบ คอยดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.

    เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุงร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิงหม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของหญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.

    เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำจะหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณกา ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้โดยโวหารว่าละอายเพียงปฏิญาณตนว่า เราเป็นสมณะ. บทว่า กสิสฺสนฺติ ความว่า คนเหล่านั้นย่อมทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพอย่างเดียว แม้ในเวลานั้น ก็ท้าวสักกะทำเป็นเหมือนไม่รู้จึงกล่าวอย่างนี้. จริงอยู่ ท่านมีประสงค์ดังนี้ว่า คนเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ เป็นคนทุศีล ไม่ใช่เป็นมิตรของเรา เมื่อใด สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อคนเหล่านี้ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ ย่อมหลุดพ้นจากเชือก ๕ เส้นนี้.

    ด้วยอุบายนี้ พึงทราบประกอบอธิบายในคาถาทั้งปวง.

    บทว่า ปพฺพชิตา ได้แก่ เป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนา. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า เที่ยวบริโภคกามคุณ ๕ ในท่ามกลางเรือน. บทว่า ทีฆุตฺตโรฏฺฐา ความว่า ชื่อว่า มีริมฝีปากสูงยาว เพราะมีเขี้ยวโต. บทว่า ปงฺกทนฺตา ได้แก่ ฟันประกอบด้วยมลทินดังเปือกตม. บทว่า อิณํ โมทาย ความว่า รวบรวมทรัพย์ด้วยภิกขาจารประกอบหนี้ด้วยความเจริญ ยินดีการทำเช่นนั้น เลี้ยงชีพด้วยทรัพย์ที่ได้มาจากภิกขาจารนั้นไปในกาลใด. บทว่า สาวิตฺตึ ได้แก่เรียนเวทคือสาวัตติศาสตร์. บทว่า ยฺํ ตตฺรฺจ ได้แก่ เรียนยัญญวิธี และยัญญสูตรในที่นั้น. บทว่า ภติกาย ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเข้าไปหาพระราชาและราชมหาอำมาตย์ แล้วบูชายัญเพื่อต้องการค่าจ้างอย่างนี้ว่า เราจักบูชายัญเพื่อท่าน ท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา. บทว่า ปหุสนฺตา ความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพอกเลี้ยง.

    บทว่า พาลา ตุมฺเห ความว่า คนพาลทั้งหลายกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้อะไร. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า จักไปด้วยอำนาจการเสพโมกขธรรม. บทว่า ปนฺถฆาฏํ ความว่า ยืนอยู่ในทางเปลี่ยว แล้วปล้นฆ่าพวกมนุษย์ ยึดเอาสิ่งของๆ พวกมนุษย์เหล่านั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี ความว่า นักเลงหญิงทั้งหลายตบแต่งด้วยการขัดสีด้วยจุณน้ำฝาดเป็นต้น มีผิวพรรณขาว. ในบทว่า เวธเวรา ที่ชื่อว่านักเลงหญิงเพราะอรรถว่าประพฤติเป็นเวรกับหญิงหม้าย คือหญิงผัวตายเหล่านั้น. บทว่า ถูลพาหุ ความว่า มีร่างกายอ้วนพีด้วยการบำรุงร่างกายเป็นต้น มีการนวดขยำเท้าเป็นต้น. บทว่า อปาตุภา ความว่า เพราะไม่ปรากฏ คือเพราะไม่ทำทรัพย์ให้เกิด.

    บทว่า มิตฺตเภทํ แปลว่า ทำลายมิตร. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อใดนักเลงหญิงเห็นปานนี้คิดว่า หญิงเหล่านี้จักไม่ละพวกเรา จึงเข้าไปหาหญิงหม้ายผู้มีเงินร่วมสังวาสกัน เคี้ยวกินทรัพย์ของหญิงเหล่านั้น จักทำลายมิตรกับหญิงเหล่านั้น ทำลายความคุ้นเคยไปหาหญิงอื่นผู้มีทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งเป็นโจร.

    บทว่า อสปฺปุริสจินฺติกา ความว่า มีปกติคิดอย่างอสัตบุรุษ คือคิดทำร้ายผู้อื่น.
    เมื่อนั้น สุนัขดำหลุดออก ฆ่าพวกเหล่านั้นหมด กัดกินเนื้อแล.

    ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช คนเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเรา แล้วทรงแสดงสุนัขทำเป็นอยากจะวิ่งไปกัดพวกอธรรมนั้นๆ ขณะนั้น มหาชนมีจิตหวาดกลัว ท้าวสักกะทำเป็นฉุดเชือกรั้งสุนัขไว้ แล้วละเพศนายพราน เหาะขึ้นไปในอากาศดังดวงอาทิตย์แรกขึ้น รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า
    ดูก่อนมหาราช เราคือท้าวสักกเทวราช มาด้วยเห็นว่าโลกนี้จักพินาศ เพราะเดี๋ยวนี้ มหาชนพากันประมาทประพฤติอธรรม ตายไปๆ แออัดอยู่ในอบาย เทวโลกดุจว่างเปล่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักรู้สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ไม่ประพฤติธรรม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิดพระมหาราช แล้วทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาที่มีค่าตั้งร้อยสี่พระคาถาให้มนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมและศีล ทำพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้สามารถเป็นไปได้อีกพันปี แล้วพามาตลีเสด็จไปยังพิมานของพระองค์.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราประพฤติประโยชน์แก่โลก แม้ในกาลก่อนอย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์

    ส่วนท้าวสักกะได้มาเป็น เราตถาคต แล.

    จบอรรถกถามหากัณหชาดกที่ ๖


    หรือใครคิดว่าเหตุการณ์ใน มหากัณหชาดก นี้จะไม่เกิดขึ้นอีก ว่าด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไฮเทค ศิวิไลซ์ตระการตา

    สงสัยจะลืมคิด หรือคิดไม่ออก ว่าพระพุทธศาสนาจะไม่มีวันล่มสลาย เขาคงลืมคิดว่าในพุทธันดรนี้ - ช่วงเว้นว่าง - ข้ามกัปป์ จนมาถึง ภัทรกัปป์นี้ เราได้มาเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ แล้ว

     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ด้วยสำนักวัดนาป่าพงสั่งสอนให้เอาแต่ พุทธวจนปลอมๆของสำนักตนเอง ที่สร้างขึ้นมาเองในหมู่ และวิสัชนาด้วยตนเองอย่างผิดเพี้ยน บิดเบือนผ่านสื่อ ในรูปแบบต่างๆ ว่าไม่ให้ฟังคำใครนอกจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ต้องเป็นคำพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะเชื่อได้ คำอื่นที่ใครพูดใครสอนห้ามฟังเด็ดขาด ต้องเอาแต่คำพระพุทธเจ้าในสำนักตนเอง สำนักอื่นผิดหมดเป็นของแต่งใหม่ เป็นเดรัจฉานวิชา โทษและภัยอันมากจะเกิดแก่เหล่าเวไนยสัตว์และประเทศไทย อย่างมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งเดียวในโลก ที่ทำลายกันแบบนี้


    ผู้ปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป พึงรักษาจิตของตนไว้ เหมือนคนประคองไปซึ่งโถน้ำมันอันเต็มเปียมเสมอขอบ มิได้มีส่วนพร่องเลย

    กว่าเขาจะได้นิสสัยอันชี้นำทางสว่างในการปฎิบัติและศึกษาธรรม นั่นก็สั่งสมมาหลายภพหลายชาติแล้ว สติปัญญาจึงมีความเจริญสนใจในพระธรรมคำสั่งสอน ก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยที่บุคคลเหล่านั้นได้มี จริตสติปัญญา นำกาย วาจา ใจของเขาเข้าสู่การพิจารณาและใส่ใจ ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงมีพระมหากรุณาตรัสสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ไว้

    ผู้ริเริ่มต้น ไม่ว่าจะด้วย ศรัทธา ๔

    ๑. กัมมสัทธา เชื่อว่า กรรมมีจริง

    ๒. วิปากสัทธา เชื่อว่า ผลของกรรมมีจริง

    ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนจริง

    ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ การตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า


    หรือ บุคคลผู้อยู่นอกพระพุทธศาสนา หรือเป็นผู้ที่ยังไม่มีศรัทธาก็ตาม แม้ว่าเขาจะมีโอกาสได้หยิบ ได้อ่านผ่านตา ได้ยินได้มองเห็น พระธรรมคำสั่งสอนแม้เพียงแต่พุทธภาษิตเดียว ณ ที่แห่งหนตำบลใด แล้วเกิดจิตเลื่อมใส เกิดจิตยินดี นั่นก็จักเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้าแก่เขา เพราะเขาเพ่งไปที่ธรรมนั้น พิจารณาธรรมนั้น ด้วยตนเอง มิใช่อาศัยบุคคลอื่นที่กล่าวผิด หรืออาศัยโดยบุคคลอื่นก็ตาม แต่ว่าข้อนั้นจะต้องถูกต้องอย่างกว้างขวาง และเขาต้องมีความพยายามที่จะต้องรู้ให้จริงให้ลึกซึ้ง ในการสั่งสมสุตตะโดยมาก

    แต่ไม่ใช่ไปหวังพึ่งติดตาม ผู้ที่วิสัชนาธรรมสั่งสอนออกมาอย่างผิดๆ หรือคิดผิดเอง ซึ่งนั่นก็ต้องอาศัยการปฎิบัติเพื่อเทียบเคียงผล ต้องอาศัยการเจริญในมรรคผลขั้นต่อไป

    ถ้าเริ่มต้นผิด ดูผิด อ่านผิด ฟังผิด เขียนผิดและยึดติด ไม่ปล่อยวาง ไม่แก้ไข เขาก็ได้นำตนเองเข้าสู่ทางตัน


    ว่าด้วย สำนักวัดนาป่าพงห้ามฟังคำสั่งสอนใดๆก็ตามของสงฆ์โดยสัจฉิกัฐปรมัตถ์ธรรม และ โดยกระแสนิรุตติญานทัสสนะกถา

    "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"


    "ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"





    มิลินทปัญหา
    http://www.dhammathai.org/milin/milin05.php


    บุคคลมีศรัทธาต่อสิ่งใด เมื่อระลึกถึงสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จิตใจย่อมผ่องใส และจิตใจของเขาย่อมแล่นไปยังสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้นเสมอ ๆ

    ผู้ศรัทธาในพระนิพพาน หรือผู้ถึงนิพพานแล้ว จิตย่อมแล่นไปในนิพพานเนืองๆ มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ย่อมทำความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น



    แล้วจึงจักเจริญยิ่งขึ้นไป เรื่อยๆ ใครตั้งใจ ใครมีความเพียรมากกว่า ผู้นั้นย่อมได้ผลก่อน และผู้ที่ได้ไตร่ตรองว่ามีผลดีอย่างแน่นอนแล้ว เขาย่อมเห็นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่ากว่าทรัพย์สมบัติใดๆในโลก จะไม่ยอมหยุดที่จะพอใจในสมบัติอันวิหารธรรมต่างๆที่มีนี้จนกว่าจะพ้นวิเศษแล้ว



    เราบอกแล้ว ว่าต้องเป็นเรื่องนอกแนว เท่านั้น สำหรับผู้หวังความเจริญและยังเป็นในฐานะผู้ร่ำเรียนอยู่ ยังไม่ผ่องใสและกระจ่างในพระสัทธรรม ตามลำดับสติปัญญาที่สั่งสมมา แต่จะเป็นสาวกภาษิตหรือใครภาษิตก็ตาม ถ้าไตร่ตรองพิจารณาโดยหลักสัมมาทิฎฐิแล้วว่าถูกต้อง เข้ากันได้ กับหลักธรรมทั้งหลายฯ ใน มหาประเทศ ๔ ก็สามารถยกเข้าสู่พระสัทธรรมที่แท้จริงได้

    เรียนให้ผ่านแล้วจะข้ามไประดับสูงขึ้นไปอีก ถ้าเรียนไม่ผ่านก็จะได้เท่าที่รู้ที่เห็นโดยใส่กรอบกรงขังเอาไว้


    อุปมาอย่างเช่น ศาสนาลัทธิอื่น มีการยกย่องชื่นชมส่งเสริมคำสอนให้บุตรมีความกตัญญูต่อพ่อและแม่ของตนเอง เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนคุณพ่อแม่

    ศาสนาพุทธก็มิได้ขัดข้องกับคำสั่งสอนแบบนั้นอย่างนั้น กับจะสาธุการเสียด้วยซ้ำ ว่า


    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ, กตญฺญูกตเวทิตา,
    ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

    เมื่อเขามีสติปัญญาเขาก็จักได้เงี่ยหูฟังเกิดความเลื่อมใส โอว่าหนอ ทำไมบุคคลผู้นี้จึงสรรเสริญคุณงามความดีอย่างแจ่มใสนัก เขาก็จะเพียรพยามยามต่อไปที่จะศึกษาถ้อยคำและคุณความหมายนั้นๆอย่างใช้สติปัญญาโดยไม่งมงาย

    ทุกๆอย่างก็ล้วนแต่เป็นพลวปัจจัยทั้งนั้น ยกเว้นไว้แต่เพียง ปริยัติงูพิษ อันเหล่าโมฆะบุรุษและอามิสทายาทแสดงแล้วด้วยความประสงค์อื่นอันไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมนำภัยมาให้ มากกว่าจะเกิดผลดี

    ถือวิสัชนาให้พอเข้าใจ แต่เพียงนี้ในกาล


    สำหรับผู้มีปัญญาธรรมระดับสูง เป็นครูเป็นอาจารย์ ย่อมวิสัชนาให้ลุ่มลึกขึ้นไปอีกถึงความเป็นจริง ได้ตามนี้ ฟังได้ คิดได้ พิจารณาได้ ไม่ว่าแนวนอก หรือแนวใน จึงจะชี้แจงบอกและสอนเขาออกมาจากอสัทธรรมได้ เพราะรู้ทิฏฐิ คติที่ไป ของเหล่าทิฏฐิ ๖๒ นี้เป็นที่สุด ทิฏฐิสติปัญญา คติที่ไป ทิฏฐิที่รู้ ตลอดจนในอนันตริยะจักวาลนี้ ไม่มีมากเกินไปกว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันเป็นพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของพระพุทธศาสนา ที่ล่วงรู้แผนการ ชัยภูมิของข้าศึก ขึ้นชื่อว่ารู้เขา แต่เขาไม่รู้เรา นี่คือปัญญาระดับสูง จึงรู้คติที่ไปของเรื่องแนวนอก และแนวใน เพราะนี่ไม่ใช่โลกที่มีแต่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่โลกที่มีบัวเพียงสามเหล่าอันวิบัติขาดสูญ ของคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง

    พระสัพพัญญูทรงรู้รอบทั้งแนวนอกและแนวใน สามารถสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์จากเดียรถีย์วัตรแม้เจ้าลัทธิอื่นแม้จะมีคำสั่งสอนแบบใดก็ตาม มีคติที่ไปอย่างไรก็ตาม มีและได้ผลไปในทิศทางใด พระองค์ก็ทรงรู้ทรงทราบอย่างละเอียด ถึงคำสั่งสอนของลัทธินั้นๆ จนเจ้าลัทธิศาสนานั้นๆและอันเตวาสิกลูกศิษย์ทั้งหลายฯ ต้องศิโรราบคาบแก้ว จนผู้มีปัญญาอยู่บ้างก็สามารถออกจากความเห็นผิดได้



    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ


    พระพุทธานุญาตมหาปเทส ๔


    ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้.
    ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
    ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.


    หมวดที่ ๑ ว่าด้วยหลักทั่วไป

    ๑. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

    ๒. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

    ๓. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยูจำนวนมากเป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง ๕ นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

    ๔. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย

    ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

    ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี

    โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน ๔ คือ

    ๑. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
    ๒. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง)
    ๓. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
    ๔. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)


    มหาปเทส ๔
    หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย

    ๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

    ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

    ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

    ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร



    หลักมหาประเทศ ๔ นั้นเป็นรากฐานวางบทในการตรวจสอบ ตรวจค้น ชี้ชัดในพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง และพระอรหันตสาวกทั้งหลายฯ ได้แสดงไว้แก่เหล่าเวไนยสัตว์ ว่าจริงหรือเท็จในกรณีมีผู้ไปแอบอ้างแต่งเติมเข้าไปหรือไม่ ใช้แม้กระทั่งการขโมยธรรมในพระพุทธศาสนา นำไปแอบอ้า่งเป็นคำสั่งสอนของตนเองโดยลัทธิศาสนาอื่น เพราะพระธรรมในพระพุทธศาสนานี้ทั้งมวลฯ ก็ล้วนเป็นไปด้วยการตรัสรู้ธรรมตามองค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา มิใช่มีที่มาจากการนั่งเรียนเขียนแต่งเอา หรือจดจำเอาโดยการท่องจำด้วยมุขปาฐะ เพียงเท่านั้น เพราะฉนั้นเหล่าผู้ประสงค์ไม่ดีที่ได้กระทำการลักลอบเปลี่ยนแปลง ต่อเติม บิดเบือน ตลอดจนถึงการขโมยธรรม ก็สามาถทำได้เท่านั้นตามกาลตามกำลัง ของเหล่าโมฆะบุรุษพาลบุคคลทั้งหลายฯ โดยไม่รู้ว่าองค์ พระสัทธรรม ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร


    และที่สำคัญหลักมหาประเทศ ๔ ที่ทรงวางไว้เป็นหลักนั้นเบื้องต้นก็เป็นไปเพื่อ ให้พระอริยะบุคคลระดับชั้นปฎิสัมภิทาญานผู้เป็นพระอเสขะ มีพระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายฯ เป็นต้นได้ปฎิบัติกิจในการดูแลเอาใส่ ตรวจตราความเป็นไปเรียบร้อยในสังฆมณฑลกาลสมัย จักอธิบายเป็น ๓ ข้ออันพอให้เห็นจริงตามได้ดังนี้
    ๑. ก็เพื่อจักได้ตรวจสอบเทียบเคียง พระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ในการร่วมทำสังคายนาพระไตรปิฏกเป็นสำคัญอันดับแรก

    ๒. ก็เพื่อจักได้ใช้พิจารณาเหตุและระงับเหตุแห่งอธิกรณ์ทั้งหลาย ฯลฯ เช่นแต่งตั้งให้ภิกษุผู้สามารถระงับเหตุอธิกรณ์ทั้งหลายฯ ด้วยฐานะเป็นผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ ประการสงฆ์พึงสมมติด้วยอุพพาหิกวิธี เป็นต้น
    ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมเป็นอันเธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจา เข้าไปเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฐิ
    ๓. จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี สวดดี วินิจฉัยถูกต้องโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
    ๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
    ๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอม เข้าใจ เพ่งเห็น เลื่อมใส
    ๖. เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ
    ๗. รู้อธิกรณ์
    ๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
    ๙. รู้ความระงับแห่งอธิกรณ์
    ๑๐. รู้ทางระงับอธิกรณ์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๐ นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ฯ
    ๓. ก็เพื่อประกอบกับการวินิจฉัย วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐ เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภหรือประโยชน์ที่ทรงประสงค์ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์สาวก
    ก. ว่าด้วยประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม
    ๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ คือ เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ ซึ่งได้ทรงชี้แจงให้มองเห็นคุณโทษแห่งความประพฤตินั้นๆ ชัดเจนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นไว้โดยความเห็นร่วมกัน
    ๒. สงฺฆผาสุตาย เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

    ข. ว่าด้วยประโยชน์แก่บุคคล
    ๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก คือ เพื่อกำราบคนผู้ด้าน ประพฤติทราม
    ๔. เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

    ค. ว่าด้วยประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ หรือแก่ชีวิต ทั้งทางกายและทางใจ
    ๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน คือ เพื่อระงับปิดทางความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
    ๖. สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย เพื่อบำบัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต คือ เพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ความเดือดร้อน ที่จะมีมาในภายหน้าหรือภพหน้า

    ง. ว่าด้วยประโยชน์แก่ประชาชน
    ๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    ๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

    จ. ว่าด้วยประโยชน์แก่พระศาสนา
    ๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
    ๑๐. วินยานุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์วินัย คือ ทำให้มีบทบัญญัติสำหรับใช้เป็นหลักเกณฑ์จัดระเบียบของหมู่ สนับสนุนความมีวินัยให้หนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น

    มีแต่โมฆะบุรุษนี่แหละที่ทำให้พระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมมหาศาสดาที่กระทำให้พระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงแสดงแล้วนี้เศร้าหมอง




    ญานของพระสัพพัญญูทรงกว้างขวางอย่างนี้ กลับไม่มีสติปัญญาที่จะมองเห็น กลับทำให้คับแคบและตีบตันจนอับสิ้นหนทาง


    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"



    คึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพงประกาศไม่เอาคำใครและไม่เอาธรรมที่ใครแสดงด้วยความโง่เขลาด้วยทิฏฐิอัตตามาร เพื่อหลอกคนลงนรก
    [ame]


    0.13.30 มีเด็กในสังกัดทำเล่ห์ถาม ยิ้มเยาะเย้ย ซึ่งก็มีให้เห็นบ่อยๆ ในคลิปอื่นๆ เช่น การกรวดน้ำ เอาไปรดต้นตะใคร้ดีกว่า.. เป็นต้น พร้อมกับเหยียดหยามลบหลู่ดูหมิ่น พระสัทธรรมในการถามเรื่อง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ "ขันธ์เม็ดถั่วเขียว เป็นฝักเม็ด หรือใหญ่แค่ไหน? นั่นใช่คำถามหรือ? แล้วคึกฤทธิ์ผู้ตอบ ตอบยังไง?

    คึกฤทธิ์ ตอบว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์" คนพูดกันเอง ไม่ใช่คำพระศาสดา ไปหามาสิ "จึงไม่ให้ความเชื่อถือ"

    หาธรรมด้วยวิธีการสแกนเพียงครั้งเดียวก็รู้ผลจริงๆ หายไปทั้ง ๘๔,๐๐๐ ของพระธรรมคำสั่งสอน เหลือแต่ คำคึกฤทธิ์ที่วิสัชนาอย่างผิดเพี้ยนและบิดเบือน

    คำว่าคนในที่นี้ ที่ไปกล่าวตู่ว่า"พูดเองเออเอง" คือ พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกปฏิญาณไว้



    "พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์
    ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์
    จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์"


    "ทฺวาสีติ พุทฺธโต คณฺหิ เทฺวสหสฺสานิ ภิกฺขุโต
    จตุราสีติสหสฺสานิ เย เม ธมฺมา ปวตฺติโน ฯ"


    อ้างพระเจ้าอโศกบันทึกพระพุทธวจนะลงเสาอโศก แต่ไม่พิจารณาวัดและพระธรรมเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกนั้นสร้าง

    [พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัดและเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ แห่ง]

    อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
    คันถารัมภกถา
    ข้าพเจ้าขอไหว้พระโลกนาถเจ้าผู้มีพระทัย
    เปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จถึงฝั่ง
    แห่งสาครคือไญยธรรมได้แล้ว ทรงแสดงธรรม
    อันละเอียดลึกล้ำ มีนัยอันวิจิตร.
    ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันสูงสุดที่สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่อง
    นำผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะออกไปจากโลก.
    ข้าพเจ้าขอไหว้พระอริยสงฆ์ผู้สมบูรณ์ด้วย
    คุณมีศีลเป็นต้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล เป็น
    เนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม.
    ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญที่เกิดจากการไหว้
    พระรัตนตรัย ดังได้พรรณนามานี้ ขอข้าพเจ้าจง
    ปลอดจากอันตรายในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ.
    คาถาเหล่านั้นใดที่ปราศจากอามิส อันพระ
    เถระทั้งหลายผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้คงที่มีพระสุภูติเถระ
    เป็นต้นและพระเถรีทั้งหลายภาษิตแล้ว และคาถา
    เหล่าใด ที่ลึกล้ำละเอียดอ่อน สดับแล้วโดยวิธี มี
    อุทานเป็นต้น ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ประกาศ
    ธรรมของพระอริยเจ้า พระธรรมสังคาหกาจารย์
    ทั้งหลาย ผู้คงที่ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่รวบรวม
    คาถาเหล่านั้นไว้ ในคัมภีร์ขุททกนิกาย โดยเรียก
    ชื่อว่า เถรคาถา และเถรีคาถา.
    อันที่จริง การแต่งอรรถกถาพรรณนาความ
    ลำดับบทที่มีอรรถอันลึกซึ้งที่ข้าพเจ้าทำ มิใช่ของ
    ที่ทำได้ง่ายเลย เพราะเป็นอรรถที่จะพึงหยั่งถึงได้
    ก็ด้วยคัมภีรญาณ แต่เพราะอรรถกถาจะช่วยทรง
    ศาสนาของพระศาสดาไว้ได้ทั้งวินิจฉัยของบรรดา
    บุรพาจารย์ ผู้เปรียบปานด้วยราชสีห์ ก็จะยังคง
    ดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น
    ข้าพเจ้าจึงจักขอแต่งอรรถกถา "เถรคาถา"
    และ "เถรีคาถา" เต็มกำลังความสามารถโดยจะยึด
    วินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์นั้นเป็นหลัก ถือ
    นิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิงอาศัยนัยจากโบราณอรรถ
    กถา แม้จะเป็นเพียงคำบอกกล่าว ที่ได้อาศัยอ้างอิง
    กันมา แต่ก็บริสุทธิ์ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน เป็น
    การวินิจฉัยที่ละเอียดของบรรดาบุรพาจารย์คณะ
    มหาวิหาร และข้อความของคาถาเหล่าใด เว้นอนุ
    ปุพพิกถาเสียแล้วรู้ได้ยาก ข้าพเจ้าจะนำอนุปุพพิ
    กถานั้นของคาถาเหล่านั้นมาแสดงให้แจ่มแจ้ง ทั้ง
    จะแสดงข้อวินิจฉัยอีกด้วย.
    สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายได้โปรดตั้ง
    ใจสดับการพรรณนาความแห่งอรรถกถาเถรคาถา
    และเถรีคาถานั้นซึ่งจะจำแนกต่อไปของข้าพเจ้าผู้
    หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นานต่อไปเทอญ.
    -----------------------------------------------------

    อารัมภกถาวรรณนา
    ก็เถรคาถาและเถรีคาถา แต่ละคาถาเป็นอย่างไร? และมีประวัติเป็นมาอย่างไร?
    ถึงความข้อนี้ ท่านจะกล่าวไว้ในคาถาทั้งหลายแล้วก็จริง แต่เถรคาถาที่พระสุภูติเถระเป็นต้น กล่าวแล้วในคาถานั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวซ้ำอีกเพื่อทำข้อความให้ปรากฎ.
    ก็พระเถระเหล่านั้นพิจารณาเห็นสุขอันเกิดแต่มรรคผลตามที่ตนบรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ ด้วยสามารถแห่งอุทาน ได้กล่าวคาถาบางอย่างด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมเป็นเครื่องอยู่คือสมาบัติของตน ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถแห่งคำถาม ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถ (ชี้ให้เห็น) ข้อที่คำสอนเป็นนิยยานิกธรรม.
    ในเวลาทำสังคายนา พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อยกรองคาถาทั้งหมดเหล่านั้นไว้ เป็นหมวดเดียวกัน (โดยให้ชื่อ) ว่า "เถรคาถา". ส่วนเถรีคาถา ท่านแสดงไว้เฉพาะพระเถรีทั้งหลาย.
    ก็ในบรรดาปิฎกทั้ง ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก. ในบรรดานิกายทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย คาถาเหล่านั้นนับเนื่องในขุททกนิกาย. ในบรรดาสัตถุศาสน์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ สงเคราะห์เข้าเป็น "คาถา"
    ก็ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ที่พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกปฏิญาณไว้อย่างนี้ว่า "ธรรมเหล่าใดที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนเอาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ จาก ภิกษุรูปอื่น ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ดังนี้
    ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย.
    ในบรรดาเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านั้น เถรคาถาจะว่าโดยนิบาตก่อน เอกนิบาตจนถึงจุททสนิบาต โดยนับเกิน ๑ คาถาขึ้นไปรวมเป็นจุททสนิบาต และนิบาต ๗ เหล่านี้ คือ โสฬสนิบาต วีสตินิบาต ติงสนิบาต จัตตาฬีสนิบาต ปัญญาสนิบาต สัฏฐินิบาต (และ) สัตตตินิบาต รวมเป็น ๒๑ นิบาต.
    ชื่อว่านิบาต เพราะอรรถว่าตั้งไว้ วางไว้. ชื่อว่าเอกนิบาต เพราะเป็นที่ตั้งไว้วางไว้ ซึ่งคาถานิบาตละหนึ่งคาถา.
    แม้ในนิบาตที่เหลือก็พึงทราบความโดยนัยนี้.
    ในบรรดานิบาตเหล่านั้น เอกนิบาตมี ๑๒ วรรค. ในวรรคหนึ่งๆ แบ่งออกเป็นวรรคละ ๑๐ จึงมีพระเถระ ๑๒๐ รูป คาถาก็มีเท่านั้นเหมือนกัน
    สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    ในแต่ละนิบาต พระเถระ ๑๒๐ รูปผู้เสร็จกิจแล้ว
    หาอาสวะมิได้ พร้อมด้วยพระธรรมสังคาหกาจารย์
    ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายร้อยกรองไว้ดีแล้ว
    ดังนี้.
    ในทุกนิบาต มีพระเถระ ๔๙ รูป มีคาถา ๙๘ คาถา.
    ในติกนิบาต มีพระเถระ ๑๖ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
    ในจตุกนิบาต มีพระเถระ ๑๓ รูป มีคาถา ๕๒ คาถา.
    ในปัญจกนิบาต มีพระเถระ ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
    ในฉักกนิบาต มีพระเถระ ๑๔ รูป มีคาถา ๘๔ คาถา.
    ในสัตตกนิบาต มีพระเถระ ๕ รูป มีคาถา ๓๕ คาถา.
    ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
    ในนวกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๙ คาถา.
    ในทสกนิบาต มีพระเถระ ๗ รูป มีคาถา ๗๐ คาถา.
    ในเอกาทสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๑ คาถา.
    ในทวาทสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
    ในเตรสกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๑๓ คาถา.
    ในจุททสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๒๘ คาถา.
    ปัณณรสกนิบาต ไม่มี.
    ในโสฬสกนิบาต มีพระเถระ ๒ รูป มีคาถา ๓๒ คาถา.
    ในวีสตินิบาต มีพระเถระ ๑๐ รูป มีคาถา ๒๔๕ คาถา.
    ในติงสนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป มีคาถา ๑๐๕ คาถา.
    ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๔๒ คาถา.
    ในปัญญาสนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๕๕ คาถา.
    ในสัฏฐิกนิบาต มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๖๘ คาถา.
    แม้ในสัตตตินิบาต(มหานิบาต) มีพระเถระ ๑ รูป มีคาถา ๗๑ คาถา.
    ก็เมื่อประมวลแล้ว มีพระเถระ ๒๖๔ รูป มีคาถา ๑,๓๖๐ คาถาฉะนี้แล
    และแม้ข้อนี้ก็มีวจนะประพันธ์คาถาที่ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า
    พระธรรมสังคาหกาจารย์ประกาศไว้ว่า มีคาถา
    ๑,๓๖๐ คาถา มีพระเถระ ๒๖๔ รูปดังนี้.
    ส่วนเถรีคาถาสงเคราะห์เข้าในโสฬสนิบาต คือ นิบาต ๙ นิบาต ได้แก่ เอกนิบาตจนถึงนวกนิบาต โดยเพิ่มขึ้นนิบาตละ ๑ คาถา และเอกาทสกนิบาต ทวาทสกนิบาต โสฬสกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต จัตตาลีสนิบาต มหานิบาต.
    ในเอกนิบาต มีพระเถรี ๑๘ รูป มีคาถา ๑๘ คาถาเท่ากัน.
    ในทุกนิบาต มีพระเถรี ๑๐ รูป มีคาถา ๒๐ คาถา.
    ในติกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๒๔ คาถา.
    ในจตุกนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔ คาถา.
    ในปัญจกนิบาต มีพระเถรี ๑๒ รูป มีคาถา ๖๐ คาถา.
    ในฉักกนิบาต มีพระเถรี ๘ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
    ในสัตตกนิบาต มีพระเถรี ๓ รูป มีคาถา ๒๑ คาถา.
    ตั้งแต่อัฏฐกนิบาตไปจนถึงโสฬสกนิบาต มีพระเถรีนิบาตละ ๑ รูป คาถาก็มีจำนวนเท่ากับนิบาตนั้นๆ.
    ในวีสตินิบาต มีพระเถรี ๕ รูป มีคาถา ๑๑๘ คาถา.
    ในติงสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๓๔ คาถา.
    ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๔๘ คาถา.
    แม้ในมหานิบาต ก็มีพระเถรี ๑ รูป มีคาถา ๗๕ คาถา.
    ในเถรคาถาและเถรีคาถานี้ พึงทราบจำนวนแห่งนิบาต คาถาวรรคและคาถาทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้.

    จบอารัมภกถาวรรณนา

    ขอยืนยันความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์สาวก และพระมหาเถระนุเถระทั้งหลายฯ ตลอดจนพระอริยะบุคคลทั้งสิ้น

    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระวังคีสเถระเอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน)
    พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระพุทธศาสนา)
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีโรคาพยาธน้อย
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางผู้สัทธาธิมุต(หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุบริษัท
    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ
    พระขทิรวนิยเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางผู้อรณวิหาร(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)และทักขิไณยบุคคล
    พระพาหิยทารุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา
    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาณสมบัติ
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นปฐม
    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    พระมหาโกฎฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ
    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
    พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ
    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
    พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระมหาภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
    พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
    พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

    อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ
    ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
    พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
    อุคคคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
    อุคคตคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
    สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
    ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายเป็นที่รักของปวงชน
    นกุลปิตาคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ
    นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
    นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
    นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    ตลอดจนถึงพระสงฆ์หรือพระอริยะบุคคลในประเทศไทยในปัจจุบัน

    ศิษย์เมื่อไม่มีครูที่ดีประเทศชาติก็โกลาหล ธาตุ ๔ ก็พินาศ เมื่อส่งเสริมผู้ทำลายพระสัทธรรม ชาตินั้นก็รับไป

    ท่านใดใครจะนิ่งดูดายวางเฉย นั่นสิทธิของท่านที่จะปล่อยให้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาถูกทำลายย่อยยับ ลงไปต่อหน้าต่อตาด้วย โมฆะบุรุษผู้เป็นมหาโจร ๕ อามิสทายาท ภัยอันตรายจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ นานเท่าไหร่แล้วที่ท่านไม่เคยได้ยิน พ่อข่มขืนลูกที่มีอายุวัยขวบกับห้าเดือน
    ตามสภาวะธรรมกรรมชั่วอย่างนั้น เพราะใคร ? มีที่ไหนในโลกบ้าง

    เรื่องเสื่อมเสียในตอนนี้ ใครจะรู้ว่าได้กลายเป็นอันดับหนึ่งในโลก พ่อเลี้ยงคนงานก่อสร้างชาวไทยหื่น กามลงมือข่มขืนลูกเลี้ยงชาวกัมพูชา วัยขวบกับห้าเดือนยับ ใครเขาทำกันในโลกเรื่องแบบนี้ในยุคนี้




    พ่อเลี้ยงข่มขืนลูก1ขวบ อาการปางตาย

    http://www.thairath.co.th/content/675906

    คนที่ผิดก็คือผู้ที่ไม่ได้กระทำการสั่งสอนให้ถูกวิธี มาร ๕ ทั้งหลายฯจึงได้ช่องมาดลจิตใจให้มนุษย์ทำร้ายทำลายกัน ยิ่งไปทำลายพระสัทธรรมเข้า โดยไม่มีหิริและโอตัปปะ ก็ต้องส่งผลตามมาแก่เหล่าเวไนยสัตว์ทันที หากไม่หยุดก็จะต้องเสียใจ ขมขื่นใจไปมากกว่านี้ อีกอย่างแน่นอน


    กรรมจริงๆ


    11401331_1432079790448783_5702673191892936945_n.jpg
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๔แสนยาก

    ที่ชาติหน้าจะมีโอกาสมาพบเห็นอีกหรือไม่ ?


    ๑. กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก


    การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น จะต้องอาศัยกุศลกรรม คือ กรรมขาวอันเป็นกรรมฝ่ายดี ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของฝ่ายอกุศลกรรมเป็นเหตุปัจจัย จึงจะนำมาให้เกิด คือ ถือปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ได้ ฉะนั้น การที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์สักครั้งหนึ่งนั้น นับว่ายากยิ่งนัก เราท่านทั้งหลายโชคดีแล้วที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และโชคดีอีกชั้นหนึ่ง เมื่อได้พบพระพุทธศาสนา จึงต้องพยายามทำคุณความดีไว้ให้มาก ให้ได้ผลคุ้มค่ากับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา.


    ๒. กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง (ขุ. ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก


    สัตว์นี้หมายถึง สิ่งที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ทุกจำพวก สัตว์ทุกจำพวกไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์จำพวกอื่น ตั้งแต่เกิดลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็ต้องผจญกับภัยอันตรายของชีวิต มีทั้งอันตรายภายใน ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และทั้งอันตรายภายนอก เช่น ความร้อน ความหนาว เป็นต้น ฉะนั้น การที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้ในโลกอันมากไปด้วยอันตรายนี้ จึงนับว่าเป็นการยากลำบากยิ่งนัก


    ๓. กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก


    สัตบุรุษ คือ บุรุษผู้ได้บำเพ็ญบารมีไว้มาก มีสติปัญญาความสามารถเหนือชนทั้งหลาย เป็นพหูสูต รอบรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เว้นจากสิ่งที่มีโทษ ดังนั้น การที่บุคคลจะพบสัตบุรุษเช่นนี้และได้ฟังธรรมจากท่าน ย่อมจะเป็นการยากอย่างยิ่ง เพราะสัตบุรุษไม่ได้มีอยู่ทั่วไป นาน ๆ จึงจะเกิดขึ้นสักคนหนึ่ง.


    ๔. กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท (ขุ.ธ. ๒๕/๓๙)

    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก


    ผู้รู้ หมายถึง บุคคลหลายชนิด มีทั้งผู้รู้ทางคดีโลกและผู้รู้ทางคดีธรรม การที่ท่านเหล่านี้จะเกิดขึ้นมานั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง ในที่นี้จะได้กล่าวเฉพาะความเกิดขึ้นแห่งผู้รู้แจ้งแทงตลอดสิ่งทั้งปวงคือ พระพุทธเจ้า อันธรรมดาผู้ที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้านั้นจะต้องได้สั่งสมบารมีมาเป็นเวลาหลายโกฏิกัปป์เลยที่เดียว เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ท่านทั้งหลายไม่ควรให้โอกาสที่ได้พบพระพุทธศาสนานี้ให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์เลย.
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลังจากเปิดเผยเรื่อง พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท พระสัทธรรม พระธรรมราชา ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรมถึงการทำลายพระปริตร อภยปริตร ของสำนักวัดนาป่าพง และนี้ได้ ๗ วัน เนปาลก็เกิดแผ่นดินไหวและถล่มในรอบ ๘๐ ปี

    บันทึกอดีตจาก ๔ ปีที่แล้ว
    มหานิมิตโดยวิปัสนาญาน ๙

    (ด้วยมหานิมิตแห่งเรา ในกาลนั้น ได้ปรากฎต้นไม้พฤกษชาติที่มีขนาดใหญ่โต หนึ่งต้น ขนาดมหึมาที่สุด สูงกว่าเหล่าบรรพตทั้งหลายในโลกธาตุนี้ นั่นคือเท่าที่จะประมาณได้ เราปรากฎในรูปของบรรพชิต นั่งขัดสมาธิอยู่ที่ ปลายลำต้นไม้นั้น ที่แยกแตกออกเป็นเสนาสนะแห่งเราโดยเฉพาะ ท้องฟ้านภาอากาศมีสีแดงเทาดำชวนให้เศร้าหมอง เราเหลือบมองดูผืนพสุธาที่ครุ่กกรุ่นด้วย ถ่านเพลิงมหาไฟประลัยกันต์เหล่านั้น ด้วยความปลงตกสังเวชใจ เราครุ่นคิดพิจารณาอยู่หนอว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดสภาวะขึ้นกับโลกธาตุนี้ เราไม่อาจจักเห็น น้ำ หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นใดเลย นอกจากเราเองและพฤกษชาตินั้น)


    สำหรับผู้มีอินทรียธาตุและจิตใจที่กล้าแข็งไม่หวาดกลัวอะไรๆ เพราะด้วยท่านบำเพ็ญบารมีธรรมมาพอสมควร การกลัวตายในตนเองไม่ใช่เรื่องเลวร้ายสักเท่าไหร่ แต่หากท่านมีบุคคลอันเป็นที่รัก ที่ท่านมีจิตหวงแหน ห่วงใย เคารพและนับถือเป็นสหายก็ดี เป็นครูบาอาจารย์ก็ดี นั้นต้องผจญกับภัยพาลหรือได้ประสบกับความทุกข์ยากลำบากจนถึงแก่ชีวิต นาทีนั้นแหละ ท่านจะรู้จักกับความกลัว รู้จักกับความสูญเสียที่แท้จริง ว่ามันรู้สึกปวดร้าวและทรมานใจเพียงใด ที่ต้องทนรับรู้กับความพลัดพรากอย่างคนตายทั้งเป็น

    *********************************************************

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า "ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสรีวะ ผู้นี้ ฉะนั้น". ความว่า" เมื่อก่อน วาณิชชื่อเสรีวะได้ถาดทองมีค่าหนึ่งแสน ไม่ทำความเพียรเพื่อจะถือเอาถาดทองนั้น จึงเสื่อมจากถาดทองนั้น เดือดร้อนใจในภายหลังฉันใด แม้เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อไม่บรรลุอริยมรรคอันเช่นกับถาดทองที่เขาจัดเตรียมให้ในศาสนานี้ เพราะละความเพียรเสีย เป็นผู้เสื่อมรอบจากอริยมรรคนั้น จักเดือดร้อนใจภายหลัง ตลอดกาลนาน ก็ถ้าจักไม่ละความเพียรไซร้ จักได้โลกุตรธรรม แม้ทั้ง ๔ ในศาสนาของเรา เหมือนนายวาณิชผู้เป็นบัณฑิต ได้เฉพาะถาดทอง ฉะนั้น.
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คัดลอกบางส่วนมาจาก พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกกัณฑ์ที่ ๙

    ดูรา ยักขราช ท่านจะได้เกิดเป็นพระยาธรรมิกราชในศาสนาตถาคต ในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพันที่สาม(พ.ศ.๒๐๐๑-พ.ศ.๓๐๐๐) คือว่าหลังจากตถาคตนิพพานไปแล้ว ตถาคตจะต้้งพระพุทธศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วได้ ๒,๐๐๐ ปีบริบูรณ์ และย่างเข้าสู่พรรษาที่สามมาถึงเมื่อใด เมื่อนั้นท่านจะได้เกิดเป็นพระยาธรรมิกราชจะได้เกิดในเมืองที่นี้ จะเสวยราชสมบัติเป็นสุขในเมืองเชียงดาวที่นี้ ท่านจะได้ยกย่องส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ภูเขาลูกใหญ่ดอยอ่างสรงนี้ ซึ่งใหญ่และกว้างได้โยชน์ สูงก็ได้โยชน์หนึ่ง มีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งสูง ๑,๐๐๐ วา และมีรูปยักใหญ่ ๔ ตนอยู่เฝ้ารักษาพระพุทธรูปที่นั้น ดูรา ยักขราช ในกาลต่อไปภายหน้า เมื่อศาสนาตถาคตล่วง ๒,๐๐๐ ปีเข้าสู่เขต ๓,๐๐๐ ปี

    ในเมืองหริภุญชัยนครนี้จะมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งพระนามว่า นครสีสา ภาษาไทยว่า พระยาหัวเวียง จะเสวยราชสมบัติในเมืองหริภัญชัยนคร ในเวลานั้นจะมีหญิงโสเภณีคนหนึ่งจะยุยงสนลส่อเท็จทูลให้พระองค์เบียดเบียนเสนาอำมาต์ประชานาราษฎร์ทั้งหลายคือ ให้ปรับไหมให้ถึงความฉิบหายเป็นอันมาก อีกประการหนึ่งพระยาองค์นี้จะมัวเมาในการเล่น ชอบไปเที่ยวตลาดทุกวัน เสนาอำมาตย์ไม่พอใจ จึงพร้อมใจกันปลดจากพระเจ้าแผ่นดิน แล้วยกย่องพระยาองค์อื่นขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาก็เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินถึง ๒๐ รัชกาล ในสมัยที่โอรสพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒๐ ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ข้าศึกพวกลัวะยกลมาจากเมืองโกสัมพี เข้ามาตีนครหริภุญชัยจะเกิดเป็นโกลาหลกลียุคเป็นเวลานาน ศึกสงครามครั้งนั้นจะชนะกันด้วยรี้พลคนกล้าหาญก็หามิได้ แต่จะชนะกันด้วยคนบ้าคนหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาจะไม่มีเชื้อสายท้ายพระยากษัตริย์เสวยเมืองเป็นเวลานานยิ่งนัก

    จนถึงปีกัดไค้ถึงปีเล้า ในระหว่างนั้นท่านจะได้มาเกิดเป็นพระยาธรรมิกราช ได้ยกย่องส่งเสริมศาสนาแห่งตถาคต และปีเบิกสันพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย จะเสด็จลงมาจากชั้นฟ้าดาวดึงส์มาตีกลองแก้วใบหนึ่ง เป่าหอยสังข์ ให้คนทั้งหลายในสกลชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ได้ยินได้ฟังทุกแห่ง เพื่อให้สมณพราหมณ์และคฤหัสถ์หญิงชายทั้งหลายได้กระทำบุญให้ทาน รักษาศีลเจริญเมตตาภาวนาเป็นนิรันดร์เถิด

    ต่อจากนั้นจะบังเกิดภัยอันใหญ่ คือพระอาทิตย์และพระจันทร์ จะปรากฏแก่ตาโลกเห็นเป็นสองดวง จะมีต่อไปภายหน้า

    ที่มา https://sites.google.com/site/krubanphen/phuthth-tanan-phracea-leiyb-lok
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ

    ปริยัติอันตรธาน

    พระปริยัติ ได้แก่พระไตรปิฏกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก ตราบใดที่พระไตรปิฏกยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่ตราบนั้น เพราะบุคคลจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ก็ด้วยอาศัยการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก เมื่อพระปริยัติเสื่อมถอยหาบุคคลที่จะศึกษาเล่าเรียนน้อย ศาสนาก็เสื่อมถอยตามไปด้วย การเสื่อมถอยแห่งพระปริยัตินั้นจะมีสิ่งบอกเหตุให้ทราบเป็นลำดับคือ เมื่อถึงกลียุคสมัย พระราชามหากษัตริย์มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี อีกทั้งหมู่อำมาตย์ราชเสนาบดี รวมทั้งอาณาประชาราษฏร์ทั้งในเมืองและชนบท ต่างพากันงดเว้นจากการประพฤติธรรม พากันหาความสุขสำราญตามอัธยาศัย ข่มเหงเบียดเบียนผู้ที่อ่อนแอกว่าให้เดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ดินฟ้าอากาศก็วิปริต ผิดปกติฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาก็หายาก หมู่มนุษย์และสัตว์พากันลำบากเดือดร้อนขาดแคลนอาหารทั้งทรัพย์สินเงินทอง เมื่อมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันอดอยากยากเข็ญแล้ว จตุปัจจัยไทยทานที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ดีมีสุขก็หายาก ภิกษุสงฆ์ก็พลอยได้รับความลำบากไปด้วย เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถสงเคราะห์กุลบุตรให้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติได้ ครั้นเมื่อพระปริยัติขาดผู้เล่าเรียนแล้วก็เสื่อมทรุดลงตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายจะไม่รู้ความหมายแห่งพระปริยัติ จะเหลือแต่บาลีอย่างเดียวแต่ขาดผู้รู้ความหมาย

    ในการเสื่อมสูญแห่งพระไตรปิฏกนั้น พระอภิธรรมปิฏกจะเสื่อมก่อน พระอภิธรรมนั้นมี ๗ คัมภีร์ ได้แก่
    ๑.พระสังคิณี
    ๒.พระวิภังค์
    ๓.พระธาตุกถา
    ๔.พระปุคคลบัญญัติ
    ๕.พระกถาวัตถุ
    ๖.พระยมก
    ๗.พระมหาปัฏฐาน

    ในพระอภิธัมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ เมื่อจะเสื่อมก็เสื่อมลงจากยอด คือคัมภีร์มหาปัฏฐานก่อน ลำดับต่อไปก็เป็นคัมภีร์ยมก กถาวัตถุ จนถึงสังคิณี โดยลำดับ

    เมื่อพระอภิธรรมปิฏกเสื่อมแล้ว ถ้าพระสุตตันตปิฏกและพระวินัยปิฏกยังดำรงอยู่ ก็ชื่อว่าพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่เช่นกัน

    พระสุตตันตปิฏกนั้น เมื่อจะเสื่อมก็เสื่อมมาจากยอดคือ อังคุตรนิกายเสื่อมก่อน จากนั้นก็ถึง สังยุตนิกาย มัชฌิมนิกาย และทีฆนิกายเป็นสุดท้าย เมื่อทีฆนิกายเสื่อมแล้ว พระสุตตันตปิฏกจึงได้ชื่อว่าเสื่อมสูญ จากนั้นภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำซึ่งชาดกต่างๆ ได้ และชาดกที่จะเสื่อมเป็นชาดกแรกก็คือ เวสสันดรชาดก

    ต่อจากนั้น ภิกษุทั้งหลายก็จะทรงจำไว้ซึ่งพระวินัยปิฏกเพียงอย่างเดียว ครั้นเวลาล่วงไป พระวินัยปิฏกก็เสื่อมลงเป็นปิฏกสุดท้าย และเมื่อเสื่อมคัมภีร์บริวารจะเสื่อมเป็นคัมภีร์แรก ต่อจากนั้นก็เป็นคัมภีร์ขันธกะ คือ จุลวรรค คัมภีร์ภิกขุวิภังค์ ภิกขุณีวิภังค์ เสื่อมลงมาตามลำดับ จึงได้ชื่อว่าพระวินัยปิฏกเสื่อมสูญ

    แม้กระนั้น พระปริยัติก็ชื่อว่าไม่เสื่อม ถ้าตราบใดที่ยังมีบุคคลสามารถจำคาถาแม้ไม่มากเพียง ๔ บาทเท่านั้น พระปริยัติก็ยังชื่อว่าไม่อันตรธาน แต่ถ้าเมื่อใด หาผู้รู้คาถาเพียง ๔ บาทนั้นไม่ได้แล้ว เมื่อนั้น พระปริยัติ ชื่อว่าอันตรธานสูญสิ้นหาเศษมิได้

    ปฏิบัติอันตรธาน

    กาลเวลาผ่านไป ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะบำเพ็ญเพียรปฏิบัติให้เกิดฌาน วิปัสสนาและ มรรคผลได้ จะยังคงรักษาอยู่แต่ปาริสุทธิศีล ๔ เท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านนานไปภิกษุทั้งหลายพากันเบื่อหน่ายต่อการที่จะรักษาให้บริสุทธิ์ เพราะมองไม่เห็นประโยชน์ในการรักษาพากันเลิกละความเพียร มีแต่ความเกียจคร้านล่วงละเมิดอาบัติน้อยใหญ่ หมดสิ้นความละอาย แม้กระนั้นถ้าหากยังมีภิกษุทรงไว้ ซึ่งปาราชิกสิกขาบทอยู่แล้วปฏิบัติ ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ต่อเมื่อไม่มีภิกษุสำรวมรักษาปาราชิกสิกขาบทแล้ว จึงได้ชื่อว่าปฏิบัติอันตรธาน

    ปฏิเวธอันตรธาน

    พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ถ้ายังมีบุคคลสำเร็จเป็นพระโสดาบันแม้เพียงผู้เดียว ก็ยังชื่อว่าปฏิเวธยังดำรงอยู่ แต่ถ้าโลกนี้หาผู้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลไม่มีเลยนั้น ปฏิเวธ ก็ได้ชื่อว่าถึงกาลอันตรธาน



    ต่อไปภายภาคหน้า ภิกษุทั้งหลายมีปฏิปทาไม่นำมาซึ่งความเลื่อมใส จะอยู่ในอิรอยาบถใดก็ไม่สำรวมเหมือนพวกเดียรถีย์ไม่มีความสำรวม ประพฤตินอกรีดอนาจารต่างๆ ผิดเพศภิกษุซึ่งเป็นพุทธสาวก แม้กระนั้นก็ยังชื่อว่าเพศสมณะ ยังไม่ถึงกับอันตรธาน

    แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไป ภิกษุทั้งหลายไม่ใช้ผ้าไตรจีวรมีสีอันควรแก่สมณเพศ เห็นว่าสีผ้ากาสาวพัสตร์ไม่มีความสำคัญ จากนั้นก็พากันละทิ้งบริขารแม้กระทั้งไตรจีวร พากันประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวทั้งบุตรและภรรยา จะมีก็แต่เศษผ้าเหลืองชิ้นน้อยๆ ห้อยอยู่ที่คอหรือผูกไว้ที่ข้อมือเท่านั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการเป็นพระภิกษุ สมดังพระดำรัสที่ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า


    “ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จะหาภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งจีวรมิได้ จะมีก็แต่โครตภูสงฆ์ คือ พระสงฆ์รุ่นสุดท้ายในพระพุทธศาสนา ผู้มีผ้ากาสาวพัสตร์ผูกที่ข้อมือหรือห้อยอยู่ที่คอ หาศีลาจาวัตรมิได้ แม้กระนั้นถ้าหากจะมีทายกมีจิตศรัทธาปรารถนาจะทำบุญ ก็จงตั้งจิตอุทิศถวายเพื่อสงฆ์ แล้ววัตถุจตุปัจจัยถวายแก่ภิกษุผู้มีผ้ากาสาวพัสตร์ผูกที่ข้อมือหรือห้อยที่คอนั้น ก็จะเกิดผลานิสงส์มหาศาลเช่นกัน”

    ถึงแม้ภิกษุทั้งหลายจะมีความเป็นอยู่ย่อหย่อนถึงเพียงนั้น ก็ชื่อว่าเพศภิกษุยังคงอยู่ไม่อันตรธาน แต่เมื่อกาลเวลาล่วงไป ภิกษุเหล่านั้นพากันละทิ้งผ้าเหลืองชิ้นน้อยๆ ที่ติดตัวอยู่นั้นเสีย จึงได้ชื่อว่า ลิงคอันตรธาน คือเพศภิกษุสูญสิ้นไม่เหลือเศษอีกต่อไป


    ธาตุอันตรธาน

    ธาตุอันตรธานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ พระบรมธาตุนิพพาน “ และคำว่านิพพานนั้นมี ๓ ประการ คือ
    ๑. กิเลสนิพพาน คือการตรัสรู้ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์
    ๒. ขันธนิพพาน คือการดับเบญจขันธ์ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา
    ๓. ธาตุนิพพาน คือพระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้นไปจากโลก ซึ่งจักเกิดขึ้นในอนาคต

    การนิพพานแห่งพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระบรมศาสดาที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อไม่มีผู้สักการะบูชาพระบรมธาตุก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่มีคนเคารพสักการบูชา จวบจนวาระสุดท้ายมาถึง ทั่วทุกถิ่นประเทศหาผู้สักการบูชาไม่มีเลย พระบรมธาตุทั้งหลายจากโลกมนุษย์ เทวโลกและนาคพิภพ จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด แล้วรวมกันเป็นรูปของพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐ์สถาน ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ประหนึ่งว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น แต่ในครั้งนี้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายจะมิมีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย

    ฝ่ายเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาประชุม ณ ที่นั้น ต่างก็กรรแสงโศกาอาดูรเหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้นที่พระสรีรธาตุเผาผลาญพระบรมธาตุจนหมดสิ้นหาเศษมิได้ เข้าถึงซึ่งความสูญหายไปจากโลก ได้ชื่อว่า “พระบรมธาตุนิพพาน

    อายุกาลแห่งพระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลง ในบัดนั้น เมื่อพระบรมธาตุนิพพานแล้ว เหล่าเทพยดาพากันทำสักการบูชาแล้ว ทำประทักษิณสิ้น ๓ รอบเสร็จสิ้นต่างก็พากันกลับสู่วิมานของตนๆ ในเทวโลก
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย



    {O}องค์คุณของกาลามสูตร{O}<ที่แท้จริง>

    {O}เฉพาะที่พระองค์{O}

    หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมากเชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้างชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

    พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
    หรือหลักความเชื่อ ๑๐ ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

    ๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
    ๒. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
    ๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    ๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    ๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
    ๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
    ๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
    ๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
    ๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
    ๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

    ดูก่อน ชาวกาลามะทั้งหลาย เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนว่า
    สิ่งทั้งหลายไม่ดีงาม มีโทษ วิญญูชนติเตียน พึงละสิ่งเหล่านั้นเสีย
    เมื่อใดรู้ว่าสิ่งทั้งหลายดีงาม ไม่มีโทษ วิญญูชนสรรเสริญพึงรับและ
    ปฏิบัติสิ่งเหล่านั้น"




    กลามสูตรนี้ป็นหลักฐานในการแสดงฐานะอันทรงพระปรีชาญาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะกาลนั้นด้วย เพราะเป็นเหตุที่ต้องยอมรับนำไปปฎิบัติตาม เพราะรู้โดยปรมัตถ์ธรรมแล้วโดยดุษฏีว่า ถูกต้องเป็นเลิศที่สุด ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้ แต่ไม่ได้มีไว้ให้ผู้ใด นำไปใช้ประกอบในมานะทิฎฐิของตนเอง "ตกทิฏฐิ๖๒ อันเป็นพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ เป็นต้นว่า ไม่รู้ไม่เห็นเหมือนเขา คิดอย่างเขารู้อย่างเขาไม่ได้แต่อวดรู้ ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บอกว่าใช่หรือไม่ใช่ตามที่ตนคิดตนพอใจแต่ไม่รู้ข้อเท็จจริงใด จึงเป็นพวกแส่หาตัณหา เป็นพวกน่ารังเกียจที่สุด ไม่สามารถเป็นผู้ถือทิฏฐิความเชื่อที่สมบูรณ์ได้ " อย่างไม่รู้จักมานะธรรม(พระสัทธรรม) เพื่อโต้แย้งความเชื่ออื่นๆ ตามตรรกะความคิดของตน อันที่จริงแล้ว กาลามสูตรนี้มีไว้เป็นรากฐาน เพื่อสั่งสอนให้รู้จัก การวางใจให้เป็นกลาง กับสิ่งต่างๆ และรู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณาให้แยบคาย ในการตัดสินใจเพียงเท่านั้น


    ส่วนข้อมูลรายละเอียด หากตั้งใจคงพอมองออก อยู่แล้วว่า ต้องอาศัยรายละเอียดเพิ่มเติมมาประกอบการพิจารณาด้วย แต่ที่พระองค์ตรัส ในกาลามสูตรคือหัวข้อใหญ่ รายละเอียดต่อไป ต่อหามาพิจารณาใคร่ครวญ ประมวลผล จำแนกแบ่งแยกชนิดด้วยสติปัญญาของตนเอง หรือ ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะก็ได้ นี่จึงเป็นความคิดที่ถูกต้องตามหลักสัมมาทิฎฐิ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพื่อความไม่รู้ และมีใจสำรวมในความรักใคร่สมัครสมานกลมเกลียว ลงเอยกันด้วยดี ไม่ใช่เพื่อการแตกความสามัคคี ราวฉานอื่นใดซึ่งสามารถใช้ในการตัดสินคดีความได้ไม่สิ้น

    ถ้าไม่รู้จักแยกแยะการสื่อความหมาย การแสดงฐานะในสถานการณ์นั้นจริงๆ และ สิ่งที่ทรงสั่งสอน ย้ำเตือนโดยภายหลัง ก็จะไม่สามารถเห็นความสำคัญของ องค์คุณของกาลามะสูตรได้ครบถ้วน ไม่ได้เฉลียวคิดเลยว่า ตอนนั้นกำลังมีผู้ยกวาทะขึ้นอวดกันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ศิษย์เดียร์ถีย์มากมายกำลังวุ่นวายกันอยู่ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงฐานะ ว่าสติปัญญาของพระองค์เป็นเลิศกว่า พวกที่ถกเถียงกันอยู่ในเมืองชนบทนิคมแห่งนั้น ใครจะฟังพระพุทธองค์ คนนอกกำลังทะเลาะกัน กะแนะกะแหนกัน ฯลฯ ขนาดพระสงฆ์ที่อาศัยบวชในพระศาสนา ที่พระองค์ทรงห้ามแล้วห้ามอีก พวกนั้นยังไม่เชื่อฟังพระพุทธองค์เลย เผลอๆพวกนั้นล่ะที่โดน ธาตุทัณฑ์ตาย ในการทำพระปาฎิโมกขสังวรบริสุทธิศีล นี่เรียกว่าเป็นคนไร้ปัญญาไม่รู้จักคิด มองแคบๆ ควรพัฒนาตนเอง

    กลามสูตรนั้นจะเอาแต่ความอุ่นใจ แต่ไม่รู้จักว่าตนเองคือใคร? และทำไมต้องฟังใคร? เพราะไม่รู้ฐานะ ของผู้สั่งสอน นี่เรียกว่า ไม่เคารพท่าน เพราะจะเอาแต่ประโยชน์ จนลืมมองจิตใจที่ชาวกาลามะ ที่ตั้งเข้าเพื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าก่อนโดยแสดงฐานะใหญ่ได้ ไม่ดูที่เหตุ แต่จะเอาผล นั้นไม่ได้

    นั่นแหละถึงต้องทรงแสดงธรรม (หลักความเชื่อ) ให้เขารู้ยิ่งขึ้น เขาจึงมีศรัทธา และจึง รู้ยิ่งขึ้นไปอีกตามหลักความอุ่นใจ ๔ ประการที่ว่ามาในภายหลัง ซึ่งนำไปพิจารณาได้ทุกๆเรื่อง นี่เรียกว่า อัตถัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเนื้อความแห่งธรรม รู้จักแยกแยะ ธรรม






    ตัวอย่างธรรมกำเนิด๑๐นี่คือผลจากการพิจารณาอย่าแยบคาย ซึ่งได้มาจากองค์คุณของกลามสูตร ด้วยตนเอง นี่ก็เป็นจุดของการเริ่มพิจารณาแยกแยะใคร่ครวญ ซึ่งผู้ใดก็สามารถพิจารณาให้ถี่ถ้วนกว่านี้ได้ในตามแบบจริตธรรมของตนเอง

    "ธรรมกำเนิด๑๐ นี้ในอดีตเราใช้เวลาพิจารณาแล้วบัญญัติสำเร็จในเวลา ๓-๕ นาที ถ้าท่านคิดว่าเป็นอารมณ์บัญญัติ ตรวจเนื้อความเถิดว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอันใด"

    "พึงพิจารณาให้ละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ยังอดีตธรรมนี้ที่เราได้พิจารณาเป็นรากแก้ว เพื่อความเป็นไปของความอยู่รอด จวบจนตลอดอายุพระพุทธศาสนา เพราะเราเป็นผู้รู้อำนาจของคัมภีร์อักขระพยัญชนะมาร*โดยอัศจรรย์ อันเป็นคำสอน*มิจฉาทิฐิ* ของพวกเดียรถีย์"


    {O} ว่าด้วยกำเนิดบุคคล ๑๐ จำพวก หลังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน{O}

    จำพวกที่ ๑ มีโอกาสที่จะได้รับรู้มีความเข้าใจ และปราถนาโดยเห็นว่า " ในรูปลักษณะต่างๆ ในสิ่งก่อสร้างในพระปฏิมาใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้น เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ปฏิบัติตามพระพุทธวจนะ ในพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๒ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " พระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด ที่ปรากฎขึ้นมาจนถึงในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าตามพระพุทธวจนะ ตามพระปัจฉิมโอวาทโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๓ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ทั้งรูปพระปฏิมาและพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ควรอยู่เคียงคู่กันตลอดไปโดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๔ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " จะมีพระธรรมปฏิมาใดใดก็ตาม พระธรรมคำสั่งสอนใดใดก็ตาม แม้จะมีแค่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยเห็นว่า เพียงเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๕ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ถึงแม้จะมีหรือไม่มีสิ่งใดก็ตาม จะเกิดธรรมอันประเสริฐ มีคุณวิเศษเพียงใดก็ตาม ที่ปรากฎในพระพุทธศาสนานี้ ก็หาได้มีความหมายหรือมีประโยชน์ ในการใดใดแก่ตนและพวกพ้อง

    จำพวกที่ ๖ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " ยังลังเลสงสัยอยู่เมื่อได้ยิน และได้พบเห็นทุกๆสิ่งที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนา และยังก็ลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น โดยตลอดโดยไม่มีความเข้าใจว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์ และสิ่งใดไม่มีประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๗ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " สมควรเกลียดชัง กล่าวให้ร้ายป้ายสีและจ้องจะทำลาย อยู่เสมอๆในทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่ปรากฎ ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีโอกาส ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    " จำพวกที่ ๘ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนาโดยเห็นว่า " เห็นดีเห็นงามตามบางสิ่งบางอย่าง ในพระพุทธศาสนาและนำเอาไปประพฤติใช้ โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๙ มีโอกาสที่จะได้รับรู้ มีความเข้าใจและปราถนา โดยเห็นว่า " ทุกสิ่งทุกอย่างในพระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสำนัก และในลัทธิ ในศาสนาที่ตนเองนับถืออยู่แล้ว โดยถือเอาเป็นของตน ด้วยเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนและพวกพ้อง


    จำพวกที่ ๑๐ ไม่มีโอกาสที่จะได้รับรู้ด้วยห่างไกลตามภาวะกรรมบันดาล ทั้งไม่มีความเข้าใจและความปราถนา โดยการใดๆเลยในพระพุทธศาสนา ด้วยขาดการศึกษา,การเรียนรู้,การเจริญภาวนา,การพิจารณาไตร่ตรอง จึงไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดใด แก่ตนและพวกพ้อง


    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ

    มงคลสูตร
    [ame]


    คนมีบุญมีจิตใจที่ตนอบรมดีแล้ว อยู่เสมอฯ ได้อ่านตาม ก็รู้เจตนา ขอให้ท่านเจริญในธรรม ในพระพุทธศาสนาผู้ใดตั้งใจ มีความปรารถนาแรงกล้า ตั้งใจบำเพ็ญเพียร ย่อมได้สิ่งที่หวังไว้ ช่างปั้นหม้อ ย่อมได้หม้อฉันใด ผู้หวังไปในอากาศ ย่อมได้ท่องอากาศฉันนั้นแลฯ

    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หน้าที่พุทธบริษัท๔พึงกระทำ
    ๑. พุทธบริษัท๔ ต้องเป็นผู้รู้ เข้าใจ และสามารถประพฤติธรรมได้ถูกต้อง ตามพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นการปฎิบัติสมควรแก่ธรรมที่มีมาในพระไตรปิฎก
    ๒. พุทธบริษัท๔ ต้องสามารถ แนะนำ สั่งสอนผู้อื่นให้ประพฤติตามได้อย่างถูกต้อง ที่เป็นการปฎิบัติสมควรแก่ธรรมที่มีมาในพระไตรปิฎก
    ๓. เมื่อ มีผู้กล่าว ติเตียน จ้วงจาบ แสดงคำสอน ผิด พลาด พุทธบริษัท๔ต้องสามารถ ชี้แจง แก้ไข ให้ถูกต้องตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ที่เป็นการปฎิบัติสมควรแก่ธรรมที่มีมาในพระไตรปิฎก


    จึงเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท๔ ที่จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้ลูกหลานต่อไปภายหน้ายิ่งชีวิต

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔




    ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธแทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นมารผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า

    " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว"


    เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
    ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ

    ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ...
    เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ...
    เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา จักยังไม่เฉียบแหลม ...
    เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯ
    ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง
    แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดามนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว
    เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพานเพียงนั้น

    ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้เอง มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราที่ปาวาลเจดีย์ครั้นเข้ามาหาแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า


    ดูกรมารผู้มีบาปภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ... เพียงใด ... อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ...เพียงใด ... พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ฯ

    ดูกรอานนท์ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาปท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขารแล้ว ที่ปาวาลเจดีย์ ฯ


    จัณฑาลสูตร

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการสนับสนุนในศาสนานี้ ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.


    ขอจงสรรเสริญแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเทอญฯ

    10buddhist.jpg
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพราะรักเพราะห่วงเพื่อนมนุษย์ พุทธบริษัท สาธุชน สหธรรมิก จึงต้องบอกต้องกล่าวอย่างไม่ตระหนี่ธรรม หากจะพึงมีกรรมอันใดที่เป็นอันตรายิกธรรมแม้สักเพียงเสี้ยวใน ทุจริต ๓ อุปกิเลส๑๖ มิตฉัตตะ๑๐ แก่ท่านทั้งหลายฯ เราก็ขอตั้งจิตอธิษฐาน พร้อมรับผลกรรมใดๆนั้นมาแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นเจ้าของเรื่องเป็นผู้แสดง

    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ


    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ



    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”


    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.



    ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี

    “สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือการจัดระเบียบหลักคำสอนไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำนำไปอ้างอิงนั้น มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว ปรากฏหลักฐานในปาสาทิกสูตรและสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีใจความสรุปได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นรปาวาของเจ้ามัลละ พร้อมด้วยพระสงฆ์ประมาณห้าร้อยรูป นิครนถ์นาฏบุตร หรือเป็นที่รู้จักกันว่า มหาวีระ สาสดาของศาสนาเชนได้ดับขันธ์ลงที่เมืองปาวานั้น พวกสาวกนิครนถ์ เกิดความแตกแยกทะเลาะวิวาทโจมตีกันเอง ด้วยเหตุที่ยึดถือปฎิบัติและแปลความธรรมวินัยของศาสดาที่เพิ่งจะล่วงลับไม่ตรงกัน
    ปาสาทิกสูตรเล่าว่า ท่านพระจุนทะปรึกษากับพระอานนท์ แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน
    ส่วนในสังคีติสูตรบันทึกไว้ว่า ท่านพระสารีบุตรก็ได้ปรารภเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดใจครั้งนี้ จึงพูดกับพระสงฆ์ให้ดูเป็นบทเรียน และว่าควรสังคายนาจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่อให้พระสาสนาไม่วิปริตและดำรงอยู่ได้นานแม้องค์พระศาสดาจะปรินิพพานแล้วท่านได้แสดงไว้ให้ดูเป็ฯอตัวอย่าง โดยเริ่มตั้งแต่ธรรมที่มีองค์ประกอบเดียว (สงฺคีติเอกก) ได้แก่การที่สัตว์ทั้งหลายดำรงชีพอยู่ได้ด้วยอาหาร จนถึงธรรมที่มีองค์ประกอบ ๑๐ (สงฺคีติทสก) เช่น อเสกขธรรม ๑๐ คือ อเสกฺขา สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาญาณํ อเสกฺขา สมฺมาวิมุตฺติ เป็นต้น ความทราบถึงพระบรมศาสดา ก็ทรงเห็นชอบด้วย และทรงอนุโมทนาสาธุการ นับได้ว่า เป็นต้นแบบแห่งการสังคายนาพระธรรมวินัย

    ปฐมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑
    มีความเป็นมาในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยโดยสรุปว่า ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ ๒๑ วัน คือเสร็จจากวันถวายพระเพลิงพุทธสรีะแล้ว พระมหากัสสปะได้ประชุมพระสงฆ์จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูป ที่มาร่วมถวายพระเพลิงที่เมืองกุสินารา โดยปรารภถึงถ้อยคำดูหมิ่มพระบรมศาสดาและพระธรรมวินัยของพระสุภัททะซึ่งบวชเมื่อแก่ ได้กล่าวห้ามปรามพระสงฆ์ปุถุชนที่เศร้าโศกเมื่อพระศาสดาปรินิพพานว่า อย่าได้เศร้าโศกเสียใจกันไปเลย บัดนี้พวกเราพ้นจากพระมหาสมณะพระองค์นั้นแล้ว แต่ก่อนพวกเราถูกพระองค์เบียดเบียนว่ากล่าว
    ห้ามปรามเสมอว่า นี้ควรแก่เธอ นี้ไม่ควรแก่เธอ ที่นี้พวกเราทำได้ตามใจปรารถนาแล้ว
    พระเถระมีความสังเวชว่า พระศาสดาเพิ่งปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีภิกษุอลัชชีมากล่าวย่ำยีพระธรรมวินัยได้ถึงปานนี้ หากไม่รีบแก้ไขสืบไปภายหน้าเมื่ออธรรมวาที วินยวาที มีพวกมากขึ้น ก็จะมีกำลังทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมลงโดยเร็ว พระมหากัสสปะจึงชักชวนพระสงฆ์เหล่านั้นให้ช่วยกันสังคายนาพระธรรมวินัย มีวัตถุประสงค์โดยสรุป คือ
    ๑. ป้องกันพวกอลัชชี มาย่ำยีพระศาสนาด้วยเข้าใจว่า ปาพจน์ย่อมสิ้นไปพร้อมกับองค์พระศาสดา
    ๒. ประกาศให้ทราบว่า พระศาสนายังดำรงอยู่ตราบเท่าที่พระธรรมวินัยยังมีผู้ศึกษา และถือปฏิบัติอยู่ ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ถือพระธรรมวินัยแทนองค์พระศาสดา
    ๓. ป้องกันพวกอธรรมวาที อวินยวาที ได้พรรคพวกแล้ว มีกำลังเบียดเบียนพวกธรรม วาที วินยวาทีในอนาคต
    ที่ประชุมสงฆ์ได้เห็นชอบด้วย แล้วมอบหมายให้พระมหากัสสปะเถระคัดเลือกพระอรหันตขีณาสพ ผู้มีอภิญญาเพียบพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนมากพระผู้มีพระภาคทรงตั้งไว้ในตำแหน่าเอตทัคคะ จำนวน ๔๙๙ รูป หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้รูปหนึ่ง เพื่อให้โอกาสแก่พระอานนท์ เพราะเล็งเห็นว่าการสังคายนาครั้งนั้นเว้นพระอานนท์เสีย ก็จะทำให้ขาดความสมบูรณ์ เพราะท่านเป็นดุจคลังแห่งสัทธรรม ทรงจำคำสอนของพระศาสดาไว้มากแต่หากจะเลือกท่านเข้าในจำนวนพระสังคีติการก ๕๐๐ รูป ในขณะนั้นก็ยังขาดคุณสมบัติที่สำคัญ คือท่านยังเป็นพระเสขบุคคลยังมิได้บรรลุอรหัตผล ที่ประชุมจึงมีมติให้หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้ ๑ รูป เพื่อรอให้พระอานนท์เป็นพระอริยบุคคลโดยสมบูรณ์ แล้วเข้าร่วมเป็นพระสังคีติกาจารย์ด้วย
    เมื่อที่ประชุมสงฆ์ได้ตกลงกันที่จะทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์ เพราะสมบูรณ์ด้วยน้ำและโคจรคาม พระมหากัสสปะจึงสวดญัตติทุติยกรรมวาจาประกาศห้ามพระสงฆ์นอกจากที่ได้รับเลือกเข้าทำสังคายนามิให้เข้าจำพรรษา ณ พระนครนั้น เพื่อเกียจกันมิให้วิสภาคบุคคลเข้าไปขัดขวางให้เสียพิธี ครั้นแล้วพระมหากัสสปเถระและพระอนุรุทธเถระได้พาพระสงฆ์จำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ได้รับเลือกเป็นพระสังคีติกาจารย์เดินทางไปยังพระนคราชคฤห์ ส่วนพระอานนท์พุทธอนุชาได้นำบาตจีวรพุทธบริโภคเดินทางไปยังพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ที่ประทับเดิม เพื่อชำระปรับปรุงพระคันธกุฎีดุจดังเวลาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อได้เวลาจะเข้าพรรษาจึงเดินทางมาพระนครราชคฤห์
    ที่กรุงราชคฤห์มหานคร คณะสงฆ์ได้เข้าเฝ้าถวายพระพรขออุปถัมภ์ในการสังคายนาจากพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งก็ได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านอาณาจักรอย่างสมบูรณ์โดยทรงปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ (มหาวิหาร) ๑๘ แห่งในพระนครราชคฤห์ และทรงให้สร้างมณฑปสำหรับทำสังคีติกรรม ณ ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงเขาเวภารบรรพตถวาย ครั้นถึงกาลกำหนดจะทำสังคายนา พระสงฆ์ทั้ง ๔๙๙ รูป ได้ประชุมกัน ณ มณฑปศาลาแล้ว กล่าวกันว่า พระอานนท์ได้บรรลุอรหันตผลในคืนก่อนถึงกำหนดการสังคายนา และเพื่อประกาศให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบว่า ท่านเป็นอเสขบุคคล ทรงอภิญญาจึงแสดงอภิญญาดำดินมาโผล่ตรงอาสนะที่จัดไว้สำหรับท่าน ที่ประชุมได้ตกลงกันมอบหมายให้พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ทำหน้าที่สอบถามพระธรรมวินัย ให้พระอุบาลีเถระผู้เป็นเอตทัคคะในด้านพระวินัย ทำหน้าที่วิสัชนาในเรื่องที่เกี่ยวกับพระวินัย ให้พระอานนท์พุทธอนุชาผู้ได้ชื่อว่าเป็นคลังแห่งพระสัทธรรม เพราะทรงจำคำสอนของพระศาสดาไว้ได้มาก เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ทั้งพระสูตร และพระปรมัตถาภิธรรม และตกลงให้สังคายนาพระวินัยก่อนเป็นอันดับแรก เพราะพระวินัยเป็นแก่นหรือเป็นรากแก้วของพระศาสนา แล้วจึงสังคายนาพระสุตตาภิธรรม เมื่อสังคายนาแต่ละปิฎกจบลง พระสงฆ์สังคีติภาณกาจารย์ได้ท่องจำและสังวัธยายปิฎกนั้น ๆ โดย มุขปาฐะ การสังคายนาครั้งนั้น ได้กระทำด้วยวิธีนี้ เป็นเวลา ๗ เดือน จึงจบสิ้น

    ผลแห่งการสังคายนา
    คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยได้บรรยายว่า พระสังคีติภาณกาจารย์ได้จัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ เรียกว่า “ปิฎก” คือ
    ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนวินัย
    ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนพระสูตร
    ๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนพระปรมัตถ์
    ๑. พระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ ๆเรียกว่า “ วิภังค์ “ คือ
    - ภิกขุวิภังค์ ข้อบัญญัติเกี่ยวกับพระภิกษุ
    - ภิกขุณีวิภังค์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับภิกษุณี
    ภิกขุวิภังค์ แบ่งออกเป็นตอนๆ เรียกว่า กัณฑ์ ได้ ๘ กัณฑ์คือ
    ๑. ปาราชิกกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๔
    สิกขาบท
    ๒. เตรสกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓
    สิกขาบท
    ๓. อนิยตกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอนิยต ๒
    สิกขาบท
    ๔. นิสัคคียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐
    สิกขาบท
    ๕. ปาจิตตียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ๙๒
    สิกขาบท
    ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ๔
    สิกขาบท
    ๗. อธิกรณสมถกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอธิกรณสมถะ ๗
    สิกขาบท
    รวมเป็น ๒๒๗
    สิกขาบท
    ภิกขุณีวิภังค์ แบ่งออกเป็น ๗ กัณฑ์ คือ
    ๑. คัมภีร์อาทิกรรม ตอนว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๘
    สิกขาบท
    ๒. สัตตรสกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗
    สิกขาบท
    ๓. นิสสัคคียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยนิสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐
    สิกขาบท
    ๔. ปาจิตตียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ๑๖๖
    สิกขาบท
    ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนีย ๘
    สิกขาบท
    ๖. ขิยกัณฑ์ ตอนว่าด้วยเสขิยวัตร ๗๕
    สิกขาบท
    ๗. อธิกรณสมถกัณฑ์ ตอนว่าด้วยอธิกรณสมถะ ๗
    สิกขาบท
    รวมเป็น ๓๑๑
    สิกขาบท
    นอกจากอุภโตวิภังค์ คือ ภิกขุวิภังค์ และภิกขุณีวิภังค์ทั้งสองนี้ พระวินัยปิฎกยังจัดเป็นภาคได้เป็น ๕ ภาคคือ
    ๑. คัมภีร์อาทิกรรม ว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้นบัญญัติ ในสิกขาบทต่าง ๆ
    ๒. คัมภีร์ปาจิตตีย์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งถือว่าเป็นอาบัติเบา
    ๓. คัมภีร์มหาวรรค ว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทางพระวินัย
    ๔. จุลวรรค ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา
    ๕. ปริวารวรรค ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย

    ๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น หมวดใหญ่ ๆ เรียกว่า นิกาย ได้ ๕ นิกาย คือ
    ๑. ทีฆนิกาย ประมวลพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ พระสูตร
    ๒. มัชฌิมนิกาย ประมวลพระสูตรขนาดปานกลางจำนวน
    ๓. สังยุตตนิกาย ประมวลพระสูตรที่จัดหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตต์ มีชื่อตามเนื้หา เช่นเกี่ยวกับแคว้นโกศล เรียกว่า “โกสลสังยุตต์” เกี่ยวกับมรรคเรียกว่า “มรรคสังยุตต์” มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร
    ๔. ขุททกนิกาย ประมวลหลักคำสอนภาษิตเบ็ดเตล็ด ประวัตินิทานต่าง ๆ
    นอกเหนือจากที่จัดไว้ในนิกายทั้ง ๔ ข้างต้น ได้แบ่งออกเป็นหมวดได้ ๑๕ หมวด คือ
    ๑. ขุททกนิกปาฐะ บทสวดเล็กๆ น้อย ๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ
    ๒. ธรรมบท คาถาพุทธภาษิต ประมาณ ๓๐๐ คาถา
    ๓. อุทาน พระพุทธดำรัสเปล่งอุทานเป็นภาษิต มีเนื้อเรื่องประกอบบ้าง
    ๔. อิติวุตตก คำอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
    ๕. สุตตนิบาต รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดไว้ด้วยกัน
    ๖. วิมานวัตถุ เรื่องราวของผู้ได้วิมานแสดงเหตุดีที่ได้วิมานไว้ด้วย
    ๗. เปตวัตถุ เรื่องราวของเปรตที่ได้ทำบาปกรรมไว้
    ๘. เถรคาถา ภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันต์สาวก
    ๙. เถรีคาถา ภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันต์สาวิกา
    ๑๐. ชาตก ประมวลคาถาธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
    ๑๑. นิทเทส แบ่งเป็นมหานิเทส และจุลนิเทสเชื่อกันว่าเป็นคำอธิบายของพระสารีบุตร
    ๑๒. ปฏิสัมภิทามรรค แปลว่าทางแห่งปัญญาแตกฉาน เชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตรด้วย
    ๑๓. อปทาน อัตตชีวประวัติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก และอรหันตสาวิกา
    ๑๔. พุทธวงศ์ แสดงประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
    ๑๕. จริยาปิฎก แสดงเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็นคัมภีร์ได้ ๗ คัมภีร์ คือ
    ๑. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า “กัณฑ์” มี ๔ กัณฑ์ คือ
    ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ จำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น
    ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ จำแนกรูปเป็นต้น
    ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ จำแนกธรรมในบทมาติกานั้นๆ
    ๔) อัตถุทธารกัณฑ์ จำแนกเนื้อความของแต่ละข้อ
    ๒. วิภังค์ จำแนกธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่นแนกขันธ์ เรียกว่า “ขันธวิภังค์”
    ๓. ธาตุกถา ว่าด้วยการจัดหมวดหมู่ธรรมโดยถือธาตุเป็นหลัก
    ๔. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการ และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
    ๕. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบของพระสกวาทีและปรวาที ประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย (คัมภีร์นี้เกิดในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ )
    ๖. ยมก ว่าด้วยธรรมะเป็นคู่ ๆ
    ๗. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัยคือสิ่งที่สนับสนุนเกื้อกูล ๒๔ อย่าง


    ทุติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๒
    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี ภิกษุวัชชีบุตรเมืองไพศาลีได้บัญญัติและประพฤติตามวัตถุ ๑๐ ประการ ซึ่งขัดต่อพุทธบัญญัติคือ
    ๑. กปฺปติ สิงฺคิโลณกปฺโป เกลือที่เก็บไว้ในเขนงควรฉันได้
    ๒. กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป เมื่อพระอาทิตย์ทอดเงาเกินเที่ยงไป ๒ องคุลี ควรฉันภัตตาหารได้
    ๓. กปฺปติ คามนฺตรกปฺโป เมื่อจะเข้าละแวกบ้าน ควรฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้
    ๔. กปฺปติ อาวาสกปฺโป อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถคนละเวลาก็ได
    ๕. กปฺปติ อนุมติกปฺโป ทำอุโบสถโดยไม่ได้รับอนุมัติจากภิกษุผู้ควรนำฉันทะมาก็ได้
    ๖. กปฺปติ อาจณฺณกปฺโป ประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ผู้ปฏิบัติผิดก็ควร
    ๗. กปฺปติ อมถิตกปฺโป นมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้ม ไม่ต้องทำวินัยกรรมก็ฉันได้
    ๘. กปฺปติ ชโลคึ ปาตุ น้ำเมาอย่างอ่อนภิกษุควรฉันได้
    ๙. กปฺปติ อทสกํ นิสีทนํ ผ้านิสีทนะไม่มีชายก็ใช้ได้
    ๑๐. กปฺปติ ชาตรูปรชตํ เงินทองเป็นของควรแก่สมณะ
    พระยสกากัณฑบุตร เป็นพระขีณาสพผู้บรรลุอภิญญา ๖ ทราบเข้าจึงใช้ความพยายามจะระงับความเห็นผิดปฏิบัติผิดจากวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตนั้นหลายวิธี แต่ไม่สำเร็จจึงเดินทางไปยังนครโกสัมพี แจ้งข่าวแก่ภิกษุชาวเมืองปาวาและอวันตีให้ทราบ และเดินทางต่อมาถึงอโธตังคบรรพต แจ้งให้พระสัมภูตเถระ ผู้ฉลาดในพระไตรปิฎก และพระสาฬหเถระ แห่งสหชาตินคร ซึ่งทั้งสองรูปเป็นสัทธิวิหาริกของพระอานนท์
    ฝ่ายพวกภิกษุวัชชีบุตร เมื่อพยายามนิมนต์พระเรวตเถระ และพระสาฬหเถระเข้าเป็นพวกไม่สำเร็จ จึงพากันไปเฝ้าพระเจ้ากาลาโศกราช แห่งนครปาตลีบุตร ทูลล่อลวงว่า พวกตนชำระพระคันธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดาในมหาวันวิหาร แคว้นวัชชี มาบัดนี้พวกภิกษุคามวาสีจะมาชิงเอาเสียจึงทูลขอบรมราชูปถัมภ์ไห้ทรงห้าม ซึ่งทรงหลงเชื่อจึงรับสั่งอำมาตย์ห้ไปห้ามภิกษุอื่นมิให้อยู่ในวิหาร นอกจากพวกภิกษุวัชชีบุตร ในยามค่ำคืนพระองค์ทรงสุบินว่านายนิรยบาลจับพระองค์ทอดในกระทะทองแดง ทรงตกพระทัยมาก พระนางนันทาเถรี ภกษุณีซึ่งเป็นพระขณษฐา เป็นพระขีณาสพทรงอภิญญา ทรงทราบว่า พระเขนิษฐาทรงเห็นผิดเป็นชอบ ด้วยทรงเข้าเป็นฝักฝ่ายพวกภิกษุวัชชีบุตร จะทำให้อลัชชีมีกำลังแล้วเป็นเสี้ยนหนามพระศาสนา จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรพระเชษฐาว่า พระสุบินนิมิตรนี้เลวร้ายยิ่งนัก เพราะพระองค์ทรงเชื่อถ้อยคำของพวกภิกษุผู้ไม่ละอายแก่บาป ขอพระองค์จงทรงกลับพระทัยและอุปถัมภ์พระภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีและวินยวาที ทำนุบำรุงพระศาสนา และขอขมาเสียเถิด
    พระเจ้ากาลาโศกราชเกิดความสังเวชพระหฤทัย เพราะสดับเรื่องราวจากนางนันทาเถรี จึงเสด็จไปมหาวิหารพร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพาร ทรงให้อาราธนาพระสงฆ์ที่จะระงับอธิกรณ์มาประชุมกัน เมื่อพระองค์ทรงฟังความทั้ง ๒ ฝ่าย ก็ทรงวินิจฉัยว่า พวกภิกษุวัชชีบุตรเป็นอลัชชี ถือผิดพระวินัยบัญญัติ จึงทรงขอให้พระสงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีอดโทษแล้วพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ในการระงับอธิกรณ์และสังคายนาพระธรรมวินัย
    พระสงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีประชุมกันแล้ว พระเรวตเถระได้สวดสมมุติพระขีณาสพฝ่ายปาจินกะ ๔ รูป ฝ่ายเมืองปาวา ๔ รูป และภิกษุผู้ปูอาสนะ ๑ รูป
    ฝ่ายปาจีนกะ ๔ รูป คือ
    ๑. พระสัพพกามี ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๒. พระสาฬหเถระ ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๓. พระขุชชโสภิตเถระ ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๔. พระวาสภคามีเถระ ศิษย์พระอนุรุทธทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ฝ่ายปาวา ๔ รูป คือ
    ๑. พระเรวตเถระ ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๒. พระสาณสัมภูตเถระ ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๓. พระยสเถระ ศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
    ๔. พระสุมนเถระ ศิษย์พระอนุรุทธทันเห็นพระพุทธเจ้า

    ภิกษุผู้ปูอาสนะ คือ พระอชิตภิกษุ สวดสมมุติเสร็จแล้ว ได้พากันเดินทางไปวาลุการาม เมืองไพศาลี โดยให้พระสงฆ์ฝ่ายปาวาโดยพระเรวตเถระเป็นผู้ทำหน้าที่ถาม ฝ่ายปาจินกภิกษุโดยพระสัพพกามีมหาเถระสังฆวุฑฒาจารย์ พรรษา ๑๒๐ เป็นผู้แทนทำหน้าที่ตอบในที่ประชุมสงฆ์เพื่อระงับอธิกรณ์ จำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ รูป
    เสร็จจากการระงับอธิกรณ์แล้ว พระเรวตเถระจึงปรึกษาสงฆ์ซึ่งได้ตกลงกันจะทำสังคายนาและคัดเลือกพระขีณาสพปฏิสัมภิทา ๗๐๐ รูป เป็นพระสังคีติการก มีพระเรวตเถระเป็นประธาน มีพระเจ้ากาลาโศกราชทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก
    ทุติยสังคายนานี้ คณะพระสังคีติการกทั้ง ๗๐๐ รูป ได้มอบหมายให้พระเรวตเถระเป็นผู้ไตร่สวนพระธรรมวินัย และพระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชชนา ทำที่วาลุการาม เมืองไพศาลี ในพระบรมรูปถัมภ์พระเจ้ากาลาโศกราช ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี

    ข้อสังเกต
    การสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่๒ นี้ มีเรื่องราวปรากฎในพระไตรปิฎก จุลวรรคแห่งวินัยปิฎก ซึ่งนักปราชญ์สันนิษฐานว่า คงใส่เพิ่มเข้าไว้เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๓ อนึ่งในหนังสือชั้นคัมภีร์บาลีพระไตรปิฎก ในสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีคำว่า “ปิฎก” เลย ใช้คำว่าสังคายนาพระธรรมวินัย หรือวินยวิสัชนา ธรรมวิสัชนา แต่มี่คำอธิบายรายละเอียดในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก

    ตติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๓
    หลังจากทุติยสังคายนา ๑๑๘ ปี คือหลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงครองอิศวริยาธิปัตย์ทั่วสากลชมพูทวีป ณ พระนครปาตลีบุตร ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจตุปัจจัย ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์มหาวิหารมากมาย ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา จนพวกเดียรถีย์ขาดแคลนปัจจัยเครื่องยังชีพบางพวกเข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศาสนาแล้วไม่เลิกละลัทธิของตน พากันประพฤติสับสนวิปริตผิดพุทธบัญญัติ เป็นจำนวนมากจนยากจะแยกแยะออกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด พวกภิกษุภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันระอารังเกียจ งดการทำสังฆกรรมร่วมเป็นเวลานานถึง ๗ ปี
    พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งอำมาตย์ให้ไประงับอธิกรณ์ อำมาตย์ ผู้ไม่หนักในเหตุผลก็ถือพระบรมราชโองการไปสั่งให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกันเสีย หาไม่จะลงโทษประหาร พระสงฆ์ผู้หนักในพระธรรมวินัยไม่ยอมร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับพวกอลัชชี อำมาตย์ได้ให้ประหารเสีย ๒-๓ รูป เพราะถือว่าขัดรับสั่ง พระติสสเถระพระราชอนุชาเห็นเหตุเช่นนั้น ท่านจึงลุกมานั่งคั่นพระสงฆ์อื่นในที่ใกล้อำมาตย์ อำมาตย์จำท่านได้ก็สั่งหยุดการประหารแล้วกลักไปกราบทูลให้ทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด ได้สดับเรื่องราวแล้วทรงร้อนพระทัยกลัวปาป เที่ยวทรงถามพระสงฆ์ว่ากรณีเช่นนี้บาปจะตกแก่อำมาตย์หรือพระองค์ พระสงฆ์ทั้งปลอมและจริงก็ตอบตามลัทธิของตน ไม่ลงเป็นแนวเดียวกัน ทำให้ทรงสงสัยยิ่งขึ้น จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาเพื่อขจัดความสงสัย ท่านได้ถวายพระพรว่า ในกรณีนี้บาปตกแก่อำมาตย์ผู้สั่งประหาร เพราะพระองค์มิได้ทรงมีเจตนาจะทไปาณาติบาตแต่ประการใด ท่านไถวายเทศนาให้ทรงเข้าใจในลัทธิพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องอีกเป็นเวลา ๗ วัน
    เมื่อทรงทราบอธิกรณ์แล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้พระสงฆ์ทั่วชมพูทวีปมาประชุมที่อโศการามแล้วประทับนั่งภายในม่านพร้อมกับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรับสั่งให้เรียกพวกภิกษุที่ถือลัทธิเดียวกันนั่งเป็นกลุ่ม ๆ ตรัสถามและทรงวินิจฉัยตามคำแนะนำของพระโมคคัลีบุตรติสสเถระว่า พวกใดเป็นมิจฉาทฏฐิ พวกใดเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ทรงขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในครั้งนั้นเสียประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป เมื่อทรงชำระอธิกรณ์แล้ว จึงทรงอาราธนาให้พระวิสุทธิสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำอุโบสถสัฆกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน
    เมื่อทรงชำระอธิกรณ์เสร็จแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ เป็นตัวแทนของพระสงฆ์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อประชุมกันทำสังคายนา ตติยสังคายนาครั้งนี้ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน ที่อโศการาม พระนครปาตลีบุตรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘

    จตุตถสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๔
    หลังตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งพระธรรมทูต ๙ สาย ออกไปประกาศพระศาสนาในต่างแดนนอกพระราชอาณาเขต ดินแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ลังกาทวีปซึ่งพระมหินทเถระพระราชโอรสของพระองค์นำคณะพระธรรมทูตไป สามารถกลับพระทัยพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ไห้ทรงหันมาเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนาแล้วทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากสร้างพระสถูป แล้วอาราธนาให้สุมนสามเณรหลานพระมหินทเถระ เที่ยวแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุสถูปสำหรับทรงสักการะบูชา
    ต่อมา สมเด็จพระอนุฬาราชเทวี อัครมเหสีของท้าวมหานาค มหาอุปราชผู้ทรงเป็นพระอนุชาธิราชแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมด้วยหญิงบริวาร ๑,๐๐๐ คน สมาทานศีล ๑๐ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ แสดงความปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี พระมหินทเถระจึงถวายพระพรให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งทูตไปยังราชสำนักแห่งกรุงปาตลีบุตร เพื่อทูลขอกิ่งพระมหาโพธิ์เพื่อปลูกในลังกาทวีป และพระนางเจ้าสังฆมิตตาเถรี เพื่อมาให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณีแด่พระอนุฬาเทวีและหญิงบริการ ซึ่งคณะทุตนำโดยอริฏฐอำมาตย์ได้ทูลพระราชสาสน์ และประสบความสำเร็จด้วยดี พระนางสังฆมิตตาเถรีนำกิ่งมหาโพธิ์เสด็จมาลังกาทวีปเมื่อพระนางอนุฬาราชเทวีกับขัตติยนารี และอันเตปุริกราชนารีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณีบรรลุพระอรหัตผลทั้งสิ้นแล้ว พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะตรัสถามพระมหินทเถระว่า ขณะนี้ พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าตั้งมั่นในลังกาทวีปแล้วหรือหาไม่ พระมหินทเถระถวายพระพรว่า พระไตรรัตน์สมบูรณ์แล้ว ยังบกพร่องอยู่ก็แต่รากแก้วแห่งพระพุทธศาสนา จึงทรงมีพระประสงค์จะทรงจำทำสังคายนา
    สังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ประชุมสงฆ์อรหันต์จำนวน ๖๘,๐๐๐ รูป กระทำ ณ ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๑๒๘ พระมหินทเถระทำหน้าที่ปุจฉา พระอริฏฐมหาเถระราชภาคิไนยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นผู้วิสัชนา ทำอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ
    การทำสังคายนาครั้งนี้ บางมติไม่ยอมรับเพราะสาเหตุไม่ชัดเจน และเวลาห่างจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดียเพียง ๒ ปีเท่านั้น

    ปัญจมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๕
    สังคายนาครั้งที่ ๕ มีความเป็นมาพอสรุปได้ดังนี้ เมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทิวงคตแล้ว มีกษัตริย์สิงหลและกษัตริย์ทมิฬครองราชสมบัติในลังกาสืบมาอีก ๑๐ กว่าพระองค์ จนถึง พ.ศ. ๔๓๓ พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้ราชสมบัติ พวกภิกษุผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นความผันผวนของเหตุการณ์บ้านเมืองแล้วลงความเห็นว่า สืบไปภายหน้ากุลบุตรคงมีศรัทธาน้อยลง และปัญญาที่จะทรงจำพระธรรมวินัยสืบอายุพระศาสนาคงน้อยลงด้วย ควรที่พระสงฆ์จะสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว จดจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงถวายพระพรขอพระบรมราชูปถัมภ์
    พระเจ้าวัฏฏคามิณีมีพระราชศรัทธาให้ทรงสร้างมณฑปไว้ในท่ามกลางติสสมหาวิหาร อาราธนาพระสงฆ์องค์อรหันต์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ให้ประชุมกันสังคายนา ณ ที่นั้น มีพระพุทธทัตตเถระเป็นประธาน พระติสสมหาเถระเป็นผู้วิสัชนาทั้งสามปิฎก ทำอยู่เป็นเวลา ๑ ปี จบแล้วได้จารึกเป็นอักษรลงในใบลานไว้เป็นหลักฐานต่อมา

    ฉัฏฐสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๖
    หลังการสังคายนาครั้ง ที่ ๕ ซึ่งมีการจารพระไตรปิฎกในใบลานแล้ว อีก ๕๒๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ ในรัชกาลของพระเจ้ามหานาม มีพระมหาเถระปราชญ์สำคัญชาวชมพูทวีปรูปหนึ่ง ชื่อ พุทธโฆสะ เดินทางไปยังเกาะลังกาด้วยความประสงค์จะแปลอรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาสิงหลในลังกาทวีปกลับเป็นภาษามคธ ท่านได้เข้าพบพระมหาเถระประธานสงฆ์ในสำนักมหาวิหาร บอกความประสงค์และขออนุญาตแปลอรรถกถา พระเถระเจ้าถิ่นผู้รักษาคัมภีร์ได้ทดสอบความรู้ด้วยการให้คาถา ๑ คาถา ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ให้พระพุทธโฆสะแต่งขยายความแล้วขอตรวจสอบความรู้ คาถากระทู้นั้นคือ
    สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
    อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฎํ
    ท่านพระพุทธโฆสะได้ใช้กระทู้นี้แต่งบรรยายเป็นหนังสือ ชื่อ ปกรณ์พิเศษวิสุทธิมรรค ซึ่งบัดนี้ใช้เป็นหลักสูตร ชั้นประโยค ป.ธ. ๘ และ ป.ธ. ๙ ของสนามหลวงแผนกบาลีในประเทศไทยผลงานของท่านพระพุทธโฆสะเป็นที่พอใจของพระมหาเถระแห่งมหาวิหารมาก ท่านจึงได้รับอนุญาตให้แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธได้
    อรรถกถาเดิมภาษาสิงหลที่สำคัญปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักมี ๓ คัมภีร์ คือ
    ๑. มหาอรรถกถา เป็นปรัมปราภตเถรวาทอธิบายพระสูตรที่พระมหินทเถระนำมายังลังกา แล้วแปลสู่ภาษาสิงหล
    ๒. มหาปัจจริยัตถกถา อรรถกถาอภิธรรมปิฎก มีชื่อตามแพที่พระเถระนั่งประชุมกันทำอรรถกถานี้
    ๓. กุรุนทีอรรถกถา อรรถกถาวินัยปิฎก มีชื่อตามตำบลซึ่งวิหารที่พระสงฆ์ประชุมกันทำอรรถกถานี้ตั้งอยู่
    พระพุทธโฆสะได้ใช้ข้อมูลจากกุรุนทีอรรถกถาแต่งคัมภีร์ อรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา ใช้ข้อมูลจากมหาอรรถกถาแต่งคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกตามลำดับนิกาย คือ
    - สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย
    - ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย
    - สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย
    - มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ฯลฯ
    ใช้ข้อมูลจากอรรถกถามหาปัจจรี แต่งคัมภีร์อรรถกถาอภิธรรมปิฎก คือ
    - อัตถสาลิน อรรถกถา ธัมมสังคณี
    - สัมโมหวิโนทนี อรรถกถา วิภังค์
    - ปรมัตถทีปนี อรรถกถา ปัญจปกรณ์แห่งอภิธรรมปิฎก
    กล่าวกันว่า พระพุทธโฆสะใช้เวลาเพียง ๑ ปี เพื่อแปลอรรถกถาเหล่านี้ ซึ่งทางประเทศลังกาถือเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๖
    สังคายนาครั้งนี้มีบันทึกไว้ในหนังสือสังคีติยวงศ์ บางมิตไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา เพราะไม่มีอธิกรณ์ หรือการชำระพระไตรปิฎก

    สัตตมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๗
    ใน พ.ศ. ๑๕๘๗ ในรัชกาลพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช พระมหากัสสปเถระได้รับอาราธนา และพระบรมราชูปถัมภ์ให้จัดทำสังคายนา จึงประชุมพระสงฆ์พันกว่ารูปประชุมกันจัดทำคำอธิบายอรรถกถา คือคัมภีร์ฎีกาแห่งพระไตรปิฎก เป็นเวลา ๑ ปีคัมภีร์ฎีกาที่กล่าวได้ในหนังสือสังคีติยวงศ์ คือ
    ๑. สารัตถทีปนี ฎีกาสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก
    ๒. ปฐมสารัตถมัญชุสา ฎีกาสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย
    ๓. ทุติยสารัตถมัญชุสา ฎีกาปปัญจสูทน อรรถกถามัชฌิมนิกาย
    ๔. ตติยสารัตถมัญชุสา ฎีกาสารัตถปกาสีน อรรถกถาสังยุตตนิกาย
    ๕. จตุตถสารัตถมัญชุสา ฎีกามโนรถปูรณ อรรถกถาอังคุตตรนิกาย
    ๖. ปฐมปรมัตถัปปกาสินี ฎีกาอัตถสาลินี อรรถกถาอรรมสังคณี
    ๗. ทุติยปรมัตถัปปกาสนี ฎีกาสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์
    ๘. ตติยปรมัตถัปปกาสินี ฎีกาปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์แห่งอภิธรรมปิฎก
    เช่นเดียวกับครั้งที่ ๖ บางมติไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา เพราะเหตุผลเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งที่แล้ว

    อัฏฐสังคายนาฮ : สังคายนาครั้งที่ ๘
    เมื่อศักราชได้ ๘๔๕ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าสิริธรรมจักรวรรติดิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) ได้อาราธนาพระภิกษุทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป ให้ชำระอักขระในพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม (วัดเจดีย์เจ็ดยอม) เชียงใหม เป็นเวลา ๑ ปี สำเร็จแล้วพระองค์ทรงสร้างพระมณเฑียร คือหอไตรไว้ในวัดโพธารามนั้น สำหรับปดิษฐานพระไตรปิฎก และประกอบพิธีสมโพชเป็นมหกรรม

    นวมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๙
    เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ภายหลังจากทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์สำเร็จลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชศรัทธาจะประดิษฐานการพระศาสนาให้ถาวรสืบไป จึงทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ๑๐๐ รูป มารับพระราชทานฉันแล้ว มีพระราชปุจฉาถึงสถานะความถูกต้องแห่งพระไตรปิฎก เมื่อสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะถวายพระพรว่า ยังมีผิดพลาดคลาดเคลื่อนด้วยคัดลอกกันสืบเป็นเวลานาน กับทั้งบางครั้งบางคราวบ้านเมืองเกิดกลียุคเป็นเหตุให้คัมภีร์สูญหายเป็นอันตรายไปบ้าง จึงได้ทรงอาราธนาให้คณะสงฆ์ดำเนินการสังคายนาชำระพระไตรปิฎก คณะสงฆ์มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน คัดเลือกได้พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนได้ จำนวน ๒๑๘ รูป และราชบัณฑิตอุบางสกได้ ๓๒ คน ให้สังคายนาชำระพระไตรปิฎก ซึ่งได้แบ่งออกเป็น ๔ กอง สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก พระวันรุตเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎก พระพุฒาจารย์เป็นแม่กองชำระคัมภีร์สัททาวิเสสประชุมกันทำ ณ วัดนิพพานราม ซึ่งเปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดศรีสรรเพชญ์ คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ปัจจุบัน เพราะวัดนี้เป็นมหาวิหารระหว่างพระบรมราชวังและพระราชวังบวร
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จทรงอังคาสพระสงฆ์ ณ พระอารามนี้วันละ ๒ เวลาทุกเช้าค่ำ คณะสงฆ์และราชบัณฑิตชำระพระไตรปิฎกอยู่เป็นเวลา ๕ เดือนจึงสำเร็จ แล้วมีพระราชศรัทธาทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากจ้างช่างจารึกลงในใบลาน โปรดให้ปิดทองทึบปกหน้า ปกหลัง และกรอบทั้งสิ้นเรียกว่า ฉบับทอง ห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึก และฉลากทอเป็นอักษรบอกชื่อคัมภีร์ทุกคัมภีร์ ใน่ตู้มุกเก็บรักษาไว้ที่หอพระมนเทียรธรรมบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    ทสมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑๐
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาจะสังคายนาชำระพระไตรปิฎก และคัดลอกตีพิมพ์เป็นอักษรไทยเป็นเล่มหนังสือ เพื่อให้คัมภีร์พระไตรปิฎกมั่นคงยั่งยืนแพร่หลายสืบไป เป็ฯการฉลองสิริราชสมบัติในรัชกาลที่ ๕ ครบ ๒๕ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เผดียงพระเถรานุเถระที่ชำนาญในพระไตรปิฎก อันมีสมณศักดิ์ ๑๑๐ รูป โดยมีพระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธานาธิบดีในการตรวจแบบฉบับพระไตรปิฎก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นรองอธิบดีทำหน้าที่จัดการทั้งปวง มีแม่กอง ๘ กอง คือกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นแม่กองตรวจพระวินัย แม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก ๕ กอง มีพระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร พระพรมมุนี พระธรรมไตรโลกย์ พระธรรมราชา และพระเทพโมลีเป็นแม่กองตรวจพระอภิธรรมปิฎก ๒ กอง มีพระพิมลธรรมและพระธรรมวโรดมเป็นแม่กอง
    มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายฝ่ายคฤหัสถ์เป็นกรรมสัมปาทิกสภา ทำหน้าที่อ่านรายการพิมพ์พระไตรปิฎก คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช เป็นสภานายก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าประภากร พระยาภาสกรวงษ์ที่เกษตราธิบดี พระยาศรีสุนทรโวหาร
    การตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้แล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย ๓๕ เล่ม ชุด ตีพิมพ์จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด สิ้นพระราชทรัพย์ประมาณ ๒,๐๐๐ ชั่ง (๑๖๐,๐๐๐ บาท) นับเป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุดในประเทศสยามและโลก

    เอกาทสมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑๑
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการและคณะสงฆ์มีเจตจำนงจะสร้างพระไตรปิฎกเป็นอนุสรณ์เชิดชูพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ด้วยพระราชทรัพย์และเงินโดยเสด็จพระราชกุศลจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการชำระ พระราชาคณะอีก ๘ รูป ได้แบ่งกันรับหน้าที่ผู้ชำระ คือ
    ๑. พระญาณวราภรณ์ (สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๒. พระสาสนโสภณ (ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส
    ๓. พระธรรมปาโมกข์ (จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม
    ๔. พระธรรมดิลก (สุมนนาโค) วัดอรุณราชวราราม
    ๕. พระธรรมโกศาจารย์ (อุตฺตโม) วัดราชาธิวาส
    ๖. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เขมจารี) วัดมหาธาตุ
    ๗. พระธรรมปิฎก (ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพน
    ๘. พระเทพมุนี (กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร
    การจัดทำต้นฉบับใช้ฉบับพิมพ์สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหลัก ส่วนที่ฉบับรัชกาลที่ ๕ ขาดหายไป ใช้ฉบับลานทองของหลวงเป็นหลัก แก้คำผิดเฉพาะที่ปรากฏว่าคัดลอกผิด เปลี่ยนใช้เครื่องหมายพินทุแทนวัญชการและยามักการ จัดวางระยะวรรคตอนหนังสือใหม่ใช้เครื่องหมายประกอบเป็นอย่างเดียวกัน ตามแบบฉบับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานไว้ในการพิมพ์อรรถกถา ซึ่งจัดทำก่อนหน้านี้ เพิ่มเติมและจัดเล่มใหม่เป็น ๔๕ เล่ม ชุด ตั้งชื่อว่า “สยามรฎฺฐสฺส เตปิฏกํ” พิมพ์จำนวน ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานแก่พระอารามหลวงในพระราชอาณาจักร ๒,๐๐๐ จบ พระราชทานไปนานาประเทศ ๔๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ และขอรับหนังสือพระไตรปิฎก จบละ ๔๕๐ บาท อีกประมาณ ๘๐๐ จบ เหลืออีกประมาณ ๕๐ จบ
    ในการนี้ตามรายงานการสร้างพระไตรปิฎกของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เมื่อวันที่ ๒๒ ก.พ. ๒๔๗๐ ว่าจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๐ ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๕๐๗,๘๐๘ บาท จ่าย ๓ ประเภท คือ (๑) จ่ายถวายในการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานถวายพระบรมศพพระบาทาสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕๗๓๖ บาท ( ๒) ประมาณการสร้างรักษา และจัดส่งพระไตรปิฎก ๒๐๓,๘๖๕ บาทและ (๓) ประมาณการจ่ายในการสมโพชพระไตรปิฎก ๑๐,๔๐๐ บาท รวมรายจ่ายทั้งสิ้น ๓ รายการเป็นเงิน ๒๒๐,๒๐๐ บาท หักแล้วคงเหลือ ๓๔๗,๘๐๘ บาท ได้มีการนำเงินที่เหลือไปซื้อใบกู้ต่างประเทศของรัฐบาลสยาม ปีค.ศ. ๑๙๐๗ มีดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕ ต่อปี ไว้ ๒๗,๙๐๐ บาท ดอกผลและส่วนที่เหลือรวมตลอดทั้งส่วนบริจาคเพิ่มเติม ตั้งเป็นกองทุนสำหรับบูรณพระไตรปิฎก ที่พิมพ์ในครั้งนั้น หรือการจัดพิมพ์อรรถกถาหรือฎีกาสืบไป และให้กรรมการฝ่ายคฤหัสถ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายเงินนี้

    การสังคายนาในพม่า
    ในประเทศพม่ามีประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี ๒ ครั้ง พม่าถือว่าการเป็นสังคายนาครั้งที่๕ และครั้งที่๖ โดยยอมรับเพียงการสังคายนาในอินเดีย ๓ ครั้ง การสังคายนาในลังกาครั้งแรกเมื่อพระมหินทเถระไปถีงลังกาใหม่ ๆ พม่าไม่ยอมรับ แต่ยอมรับการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกาโดยถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๔ และนับการสังคายนา ๒ ครั้งของตนว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ การสังคายนาในลังกาและประเทศไทยครั้งต่อ ๆ มา พม่าก็ไม่รับรองด้วย

    การสังคายนาในพม่าครั้งที่ ๑
    พม่าถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๕ ต่อจากการที่ลังกาจารพระไตรปิฎกลงในใบลาน การสังคายนาครั้งนี้ทำที่เมืองมันดาเล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ มีพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนประชุมกัน ๒,๔๐๐ รูป ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง (Min – don – min) โดยพระมหาเถระ ๓ รูป คือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิชะ และพระสุมังคลสามี ผลัดกันเป็นประธาน ชำระบาลีพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนจำนวน ๗๒๙ แผ่น ประชุมทำกันอยู่เป็นเวลา ๕ เดือน

    การสังคายนาในพม่าครั้งที่ ๒
    พม่าถือว่าการสังคายนาครั้งที่ ๖ (ฉัฏฐสังคายนา) ทำพิธีเปิดงานเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จนถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงทำพิธีปิดการสังคายนา (พม่านั้นพุทธศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี จึงตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ ของไทย) เป็นการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษอย่างยิ่งใหญ่ของพม่าด้วย ในการสังคายนาครั้งนี้ พม่าได้ก่อสร้างคูหาจำลองขนาดใหญ่โตมากมีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ ๒๐๐ ไร่เศษ ที่กรุงย่างกุ้ง และได้เชิญพุทธศาสนิกชนในประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมด้วย โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ลังกา ไทย ลาว และเขมร ถือว่าเป็นประเทศสำคัญสำกรับการสังคายนาครั้งนี้ เพราะถือพระไตรปิฎกบาลีเช่นเดียวกัน จัดให้มีสมัยประชุมของแต่ละประเทศ โดยให้ประมุขหรือผู้แทนประเทศนั้น ๆ เป็ฯประธานของแต่ละสมัยประชุม เสร็จแล้วได้พิมพ์พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับอักษรพม่าแจกจ่ายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

    การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
    เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
    ในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบพระนักษัตร
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
    เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธ ได้มีลิขิตไปถึงอธิบดีกรมการศาสนา ให้นัดประชุมมหาเถรสามาคมพิเศษเพื่อปรึกษาและขอทราบความเห็นในการสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎก มหาเถรสมาคมได้ประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ มีมติให้ตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งขึ้นพิจารณาเรื่องนี้เสนอมหาเถรสมาคม และรัฐบาลได้บรรจุโครงการสังคายนาพระธรรมวินัยไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ ห้า (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) โดยมีหลักการให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีฉลองพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบพระนักษัตร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้ทรงมีพระบัญชา ที่ ๑/๒๕๒๗ ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย โดยการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ทั้งภาษามคธและภาษาไทยขึ้นถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบพระนักษัตร ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐบาลได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๑/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานที่ปรึกษา พระมหาเถระ ๒๐ รูปเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานอำนวยการ รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ มีกรรมการ ๑๗ คน อธิบดีกรมการศาสนาเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคมและผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่อำนวยการและแก้ไขอุปสรรคในการดำเนินงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกตลอดจนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อให้การสังคายนาแล้วเสร็จทำกำหนดเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ ๕ รอบพระนักษัตร
    ครั้นวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาจำนวน ๗ ฉบับ คือ
    พระบัญชาที่ ๑/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งสังคีติการกสงฆ์ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระญาณสังวร และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธรมหาเถร) เป็นรองประธานกรรมการ มีพระสังคีติการกะ จำนวน ๑๘๒ รูป มีหน้าที่ประชุมรับรองการตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวงทั้งภาษามคธและภาษาไทย ที่คณะกรรมการปาลิวิโสธกะ ทั้ง ๓ คณะได้จัดทำแล้วเสร็จเป็นคราว ๆ ไป
    พระบัญชาที่ ๒/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก มีสมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถระ) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระวินัยปิฎก พระเทพวราภรณ์ (กมฺพุวณฺณเถระ) เป็นประธานกรรมการ พระราชกิตติโสภณ (โชติมนฺโต) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๒๕ รูป มีหน้าที่ตรวจชำระพระวินัยปิฎกทั้งภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยกับอักษรอื่นๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไชคำแปลให้ถูกต้อง ในการนี้ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย
    พระบัญชาที่ ๓/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระสุตตันตปิฎก โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธรมหาเถร) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระสุตตันตปิฎก พระราชวรมุนี (ปยุตฺเถร) เป็นประธานกรรมการ พระราชเวที (พฺรหฺมวํสเถร) และพระเมธีสุทธิพงศ์ (วชิรญาณเถร) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๗๗ รูป ทำหน้าที่ตรวจชำระพระสุตตันตปิฎก ทั้งภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยและอักษรอื่น ๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไขแปลภาษาไทยให้ถูกต้อง ในการนี้ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระไตรปิฎกและอภิธรรมปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย
    พระบัญชาที่ ๔/๒๕๒ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระอภิธรรมปิฎฏ โดยมีพระพิมลธรรม (อาสภเถร) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระอภิธรรมปิฎก พระเทพสิทธิมุนี (ญาณสิทฺธิเถร) เป็นประธานกรรมการ พระปิฎกโกศล (อริยปญฺญเถระ) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๓๗ รูป มีหน้าที่ตรวจชำระพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระตรปิฎกฉบับอักษรไทยและอักษรอื่น ๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไขคำแปลให้ถูกต้อง ในการนี้ ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย
    พระบัญชาที่ ๕/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งกรรมาธิการแห่งสังคีติการกสงฆ์ โดยมีกรรมาธิการ ๑๕ รูป มีหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ตรวจชำระพระไตรปิฎกให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และสอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน และให้ฉันทานุมัติในการที่จะนำพระไตรปิฎกเล่มที่ชำระแล้วเข้ารับรองจากสังคีติการกสงฆ์ โดยให้กรรมาธิการเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ องค์ละ ๑ รูป
    พระบัญชาที่ ๖/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศาสนบัณฑิตสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีพระภิกษุ ๓๖ รูป ฝ่ายคฤหัสถ์ ๔๓ คน มีหน้าที่ช่วยเหลือทางวิชาการและอำนวจความสะดวกแก่คณะกรรมการปาลิวิโสธกะทั้ง ๓ คณะ คำเนินการตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวงทั้งภาษามคธและภาษาไทยให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายด้วยความเรียบร้อยถูกต้องสมบูรณ์
    และพระบัญชาที่ ๗/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์เป็นที่ปรึกษา ๘ รูป นายมงคล ศรีไพรวรรณ อธิบดีกรมกาศาสนา เป็นประธานกรรมการ นายเลย จันจักร รองอธิบดีกรมการศาสนา เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๑๕ คน มีหน้าที่ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ทั้งภาษามคธและภาษาไทย
    พระมหาเถรานุเถระคณะกรรมการ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ได้ประชุมเป็นมหาสันนิบาต ในพิธีประกาศพระบรมราชโองการ ให้สังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะกรรมการปาลิวิโสธกะได้เริ่มทำการตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลีและภาษาไทย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๘ ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ คณะสงฆ์ได้ทำพิธีมอบต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ชำระแล้วแก่รัฐบาล เพื่อจัดพิมพ์ในรัฐพิธีที่จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    พระไตรปิฎกฉบับนี้ ภาษามคธมีชื่อว่า “ทยฺยรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ ๒๕๓๐ พุทฺธวสฺเส” พิมพ์จำนวน ๕๐๐ ชุด ภาษาไทยมีชื่อว่า “พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ในพระบรมราชูปถัมภ์” จำนวนพิมพ์ ๒๕๓๐ ชุด พระราชทานแด่พระอารามหลวงทุกวัด กระทรวงทบวงกรมทุกแห่ง สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่เหลือจากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างถวายตามวัดวาอาราม และมีไว้เป็นสมบัติส่วนตน ตามประสงค์

    ***************************************************************************************************

    ความสำคัญของพระไตรปิฎก
    จากที่ได้กล่าวข้างต้นถึงคุณอันยิ่งใหญ่มากประมาณมิได้ของพระธรรมนั้น เพื่อจะบอกกล่าวกับทุกท่านถึงความยิ่งใหญ่ของพระธรรม เพื่อที่จะสามารถพิจารณาถึงส่วนต่อมาได้อย่างชัดเจน นั่นคือส่วนของสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสิ่งรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอน นั่นคือพระไตรปิฎก
    ถ้าจะพิจารณาให้ดีนั้น ตัววัตถุหรือสิ่งที่ทำหน้าที่ ไว้สำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอักษรเพื่อบันทึกพระธรรม ล้วนๆนั้น อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไร ถ้าเป็นพระไตรปิฎกที่จารึกบนใบลาน จริงๆแล้วก็จะเป็นแค่ใบลานธรรมดา ถ้าเป็นหนังสือพระไตรปิฎกก็จะเป็นแค่กระดาษกองหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเป็นสมัยก่อนด้วยแล้ว พระไตรปิฎกอยู่ในความทรงจำของพระภิกษุที่แบ่งกันท่องจำกันมา(มุขปาฐะ) ก็จะเป็นแค่จิตกับสัญญาของผู้ที่ทำหน้าที่ท่องจำเท่านั้น แต่ความสำคัญอย่างสูงสุดของพระไตรปิฎกนั้นหาได้อยู่กับสิ่งที่พระไตรปิฎกบันทึกหรือจารึกอยู่บนสิ่งใดไม่ แต่กลับอยู่ในสิ่งที่กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นบันทึกไว้ต่างหาก นั่นคือเป็นสิ่งที่จัดเก็บรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์และเป็นสิ่งที่พระองค์เคารพ เมื่อกระดาษหรือใบลานเหล่านั้นได้ไปติดอยู่กับสิ่งล้ำค่าที่สุด กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดไปโดยปริยาย
    ถ้าเกิดมีใครตั้งใจเจตนาที่จะไปทำลายพระไตรปิฎกใบลานหรือเผาหนังสือพระไตรปิฎก ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน ไปทำลายสิ่งที่เป็นโอกาสให้เหล่าสัตว์ได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน บาปหรือโทษก็จะเกิดขึ้นด้วยเหตุนั้น แล้วยิ่งถ้าเกิดสมัยก่อน สมมติมีใครไปฆ่าพระอรหันต์ที่ทำหน้าที่ท่องจำ(มุขปาฐะ)พระไตรปิฎกด้วยแล้ว ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่รวบรวมพระธรรมคำสอน และพระอรหันต์ในคราวเดียวกัน
    การแสดงธรรมของผู้ใดมีประโยชน์ เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์เราสรรเสริญธรรมนั้นแจกแจงธรรมนั้น
    ขอจงสรรเสริญแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเทอญฯ


    **************************************************************************************

    ปฎิสัมภิทาญาน คืออะไร? นี่คือปัญหาแห่งการถาม ๑ เจตนาถาม ๑ เพื่อต้องการให้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยจะรู้




    ผู้ไม่รู้ก็ควรรู้


    ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

    เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียด
    เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา

    คือการทรงพระไตรปิฏก เห็นพระไตรปิฏก ที่เป็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม ของพระพุทธศาสนา นับตั้งปรากฎพระธรรมคำสั่งสอนมาในทุกวาระกาลสมัยของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ มีแบบอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แปลงเป็นอื่น มีสถานะเป็น อกาลิโก


    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.


    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.


    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.


    "ไม่มีปฎิสัมภิทาญาน อย่าคิดว่าจะเห็น " พุทธวจนะ " แท้ๆ ได้โดยตรง ไม่ใช่ฐานะเลย ที่เห็นเป็นของง่าย ที่ใครเลยก็เห็นได้ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดนั้น คิดว่า พุทธวจนะแท้ๆ เป็นสภาพ เป็นสถานะ คือตัวอักษร เป็น ภาษาบาลี โดยตรง หรือ ปรากฤต สิงหล ฯลฯ บุคคลเหล่านั้น คิดผิดไปเสียแล้ว

    ถ้าไม่ได้พบพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม "

    ฉนั้นความแตกต่างจึงมีอยู่ กับผู้เข้าถึงวิมุตติและนิรุตติญานทัสสนะ ระหว่างผู้ที่มีปฎิสัมภิทาญาน ได้เห็นธรรมโดยตรงจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท และผู้ที่ท่องจำโดยมุขปาฐะและจารึกลงใบลาน จนมาถึงผู้ที่ได้อ่านจากการตีพิมพ์เป็นตัวหนังสือที่มีอยู่ทั่วไป ในการเข้าถึง เป็นลาภอันมากของผู้ที่ได้อ่านได้ท่องจำพระไตรปิฏกที่สังคายนาในยุคแรกๆ

    จากสถานะการณ์ที่ไม่สามารถดูแลรักษาและการเก็บรักษาและจากภัยต่างๆประกอบกับการบิดเบือนและปลอมบวชเข้ามาทำลาย ลักขโมยธรรม จนเกิดสังฆเภท เกิดอาสวัฏฐานิยธรรมต่างๆ การแบ่งแยกนิกาย จึงต้องมีการสังคายนาอยู่บ่อยครั้ง ถ้าเก็บรักษาดี ไม่มีเหตุ จะทำไปทำไม จะไปทำลายของเก่าดั้งเดิมอันสูงค่าทำไม นอกจากจำเป็นจริงๆ


    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ

    เพราะเหตุไร? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย.

    ตราบใดที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ทิพยภาษา ในปฎิสัมภิทาญาน ภาษาที่เราท่านต่างได้เห็น นั่นไม่ใช่พุทธวจน ถ้ามีปฎิสัมภิทา ๔ ที่สมบูรณ์ เห็นตัวอักษร อันเป็นนั้นเข้าจริงๆ {O}ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม{O} แล้วจะรู้เอง แต่จะกล้าเขียนหรือเปล่า นั่นอีกเรื่อง หรือต้องใช้ภาษารองจาก ทิพยภาษา แทน ภาษาใดๆในโลก ก็ เทียบ "ทิพยภาษา" ในพระไตรปิฏกดั้งเดิมไม่ได้ เพราะ ทิพยภาษา คือ กุญแจที่ไข ที่แปล ความหมายได้ทุกๆภาษา

    ภาษาบาลี ไม่ใช่" ทิพยภาษา " ที่มีความหมายละเอียดอ่อนลึกซึ้ง อย่างที่ทรงตรัส ภาษาบาลีนั้นจริงๆแล้ว เป็น อรรถถาธิบาย ต่อจาก ทิพยภาษา นั้นอีกที และ ถ้าคิดว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาที่เป็นพุทธวจนโดยตรง ด้วยปกรณ์ อรรถพยัญชนะ รูปเสียง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์จริงๆ เป็นความเข้าใจที่ผิด และจะขัดกับ ปฎิสัมภิทามรรค ทันที นี่จึงเป็นเหตุให้ สำนักพุทธวจนที่ไม่รู้จักองค์คุณของปฎิสัมภิทาญานดีพอ จึงทำผิดพลาดอย่างมหาศาล

    จะเอา บาลี มาตรวจสอบ ทิพยภาษา ซึ่งเป็นแม่แบบ ต้นแบบ ไม่ใช่ฐานะที่จะทำกลับกันได้

    กถาต่างๆที่ทรงพระดำรัส จะมีทำนอง อรรถพยัญชนะที่สมบูรณ์ที่สุดในอนันตริยจักรวาล ไพเราะ เบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุด มีทำนองที่สุดเป็นสรภัญญะ เมื่อไหร่กันนะ จะมีผู้ได้ปฎิสัมภิทาญาน เกิดขึ้นอีกเสียที จะได้ช่วยเราอธิบายได้ นี่แหละที่ทรงท้อพระทัย ทรงดำริว่ายากถ้าจะสอน ถ้าท้าวสหัมบดีพรหม ไม่ทรงทูลขอ พระอินทร์ไม่ทรงทูลขอ คงยากที่จะได้พบพระศาสนา

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    ผู้ที่มีปฎิสัมภิทาญาน เพียงได้ยินเสียงก็รู้ทันที นี่ใช่หรือไม่ใช่สภาวะ เสียงจากไหน เสียงจากผู้ท่องบ่นหรือถือสวด สาธยายอยู่ ก็เพราะเหตุใดเล่า ก็เพราะรู้แท้ซึ่งจังหวะและท่วงทำนองอันประกอบและสภาวะสูญญตาธรรมอันประกอบด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ในการเข้าถึง เมื่ออยู่ต่อหน้า องค์พระสัทธรรม พระธรรมราชานั้นเอง


    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)


    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว


    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}

    1) มังสจักษุ 2) ทิพยจักษุ 3) ปัญญาจักษุ 4) พุทธจักษุ 5) สมันตจักษุ




    การล่วงรู้เห็นพระสัทธรรมของผู้ที่มีในปฎิสัมภิทาญานคือการตรัสรู้ธรรมอันเป็นสภาวะของวิมุตติ การเสวยสุขในรสพระธรรม แม้ผู้นั้นจะยังจดจำระลึกรู้ไม่ได้ว่าเคยเห็นบทธรรมนั้นๆมาก่อนในอดีตชาติหรือไม่ก็ตาม จะไม่เคยเล่าเรียนและศึกษามาก่อนก็ตามยังบทธรรมนั้น ผู้เห็นธรรม หรือเห็นพระสัทธรรม จะสามารถได้ยินท่วงทำนองเป็นที่สุดคือสรภัญญะและอักขระอักษรนั้น จังหวะ การออกเสียงที่เปลี่ยนแปลของบทธรรม หรือ ภาษานั้นๆได้โดยอัตโนมัติ เป็น ปาฎิหาริย์ ๓ ที่แสดงออกควบคู่กัน อย่างอัศจรรย์ สำหรับเราแล้ว ได้มองเห็นได้ยินและอยู่ในสภาวะที่ออกจากกายหยาบไปสู่กายอันเป็นทิพย์ ไปสู่พื้นที่สูงเทียมเมฆในลักษณะนั่งนั่งห้อยเท้าบนความว่างเปล่า ท่ามกลางบริษัทพระภิกษุสงฆ์ที่อาศัยอยู่บนตัวรถโดยสารนับ ๗๐ รูป ในห้วงเวลาหลังเพล ด้วยอานุภาพแห่งดวงสูญญตาธรรมมาห้อมล้อมแลกยกตนแยกออกไป ณ ที่แห่งนั้น


    หากปรารถนาจะได้ยินก็ได้ยินเสียงต่างๆ หากไม่ปรารถนาจะได้ยินก็จะได้ยินแต่เพียงเสียงธรรมอันประโคมด้วยสังคีตอันเป็นทิพย์ และจักปรากฎ " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ทิพย์วิเศษบริสุทธิธรรม พระสัทธรรม พระธรรมราชา "

    อันพระไตรปิฏกนี้องค์ ยาวไม่เกิน 60-80 Cm. กว้างไม่เกิน10 Cm. แต่เมื่อคลี่ออก จากชั้นฟ้าแล้ว อักขระธรรม ภาษาธรรม ยาวจากชั้นเมฆลงมาสุดลูกหูลูกตา แต่อนิจจาอ่านธรรมได้ทันเพียงแค่บทเดียว

    1 ชม. 47 นาที (116 กม.) เส้นทางไป-กลับ จากวัดพะโคะ แต่ในสภาวะนั้นที่ชั้นเมฆขณะที่อ่านพระไตรปิฏก ที่ เหมือนอยู่เพียงไม่กี่นาที

    เมื่อสภาวะที่ปฎิบัตินั้นบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ รวมทั้งเพศพรหมจรรย์สมบูรณ์ ด้วยบุญบารมีธรรมที่สั่งสมมาในกาลก่อน ก็จะสามารถเข้าสู่สภาวะอย่างนั้นได้อีก และจะสามารถเล่าเรียนได้ไม่รู้จบ


    ต่อให้ไม่ได้เรียนมา ต่อให้อ่านไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อได้อ่านแล้วเพียงครั้งเดียว จะสามารถจดจำได้ตลอด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้ที่เข้าสู่ปฎิสัมภิทาญาน จึงสามารถอ่านออก รู้และเข้าใจภาษาต่างๆได้ ก็ด้วยเพราะมี องค์พระสัทธรรม พระธรรมราชา ท่านเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ให้ ในกาลต่างๆที่สมควรแก่กาล อันบทธรรมทั้งหลายนั้น ผู้ใดมีสภาวะบุญที่ส่งเสริมเกี่ยวข้องอันเป็นการสงเคราะห์ธรรมตามเหตุและปัจจัย มิใช่ว่าทุกๆท่านจะเริ่มหรือจะได้รอบรู้เหมือนกันหมดทุกๆบททุกๆตอน แต่เป็นไปตามกำลังความสามารถที่จะเข้าถึงของแต่ละท่าน เช่นเดียวกับการระลึกชาติ ได้ชาติเดียวบ้าง สองชาติ หรือมากกว่านั้น แต่สำหรับองค์พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม พระสัทธรรมราชาแล้ว พระองค์ท่านมี สัจธรรม อันเป็นที่ตั้ง อันเป็นระเบียบและแบบแผนเดียว จึงเป็นไปตามบทที่กล่าวถึงการตรัสรู้ธรรมอันเสมอกัน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายฯ รองลงมา ก็เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพ พระอรหันตสาวก อุบาสก อุบาสิกา ผู้บรรลุธรรม ทั่วทั้งสหโลกธาตุ



    เรื่องนี้มิใช่ง่าย ไม่ใช่ฐานะอันง่าย ที่จะเกิดขึ้น เช่นครั้งแรกพระเถระทั้งหลายปรึกษากันว่า พวกเราควรจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยที่ไหนดีหนอ ครั้นแล้วเห็นพ้องต้องกันว่า พระนครราชคฤห์ มีโคจรคามมาก มีเสนาสนะเพียงพอ สมควรที่พวกเราจะอยู่ จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่ควร เข้าจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ ด้วยเกรงว่าเพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ซึ่งกำลังทำสังคายนาอยู่ แล้วจะคัดค้านถาวรกรรมของพวกท่านนี้เสีย



    ฉนั้นการทำสังคายนาธรรม พระผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จึงเป็นเลิศยิ่งในการน้อมนำอัญเชิญพระสัทธรรมลงมาสู่ พระไตรปิฏก


    อีกทั้งยังต้องตรวจทาน ตามหลักฐานรำลึกตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ณ ที่โอกาสในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พรหมโลก อมฤตยูโลกธาตุอื่นๆ มนุษย์โลก เทวโลก ฯ เป็นต้นเทียบเคียง ด้วยอตีตังสญาณ

    เวลา ๗ เดือน นั้นยาวนานเพียงพอเป็นแบบแผนขั้นต้น เป็นแม่แบบ สำหรับการทำสังคายนาเป็นต้นไป เพราะเวลาของทางโลกและทางสูญญตาอมฤตธรรม นั้นแตกต่างกันมาก หากจะกล่าวตามตรง การทำสังคายนา อาจจะใช้เวลาไม่กี่วันเสียด้วยซ้ำ หากจะนำมาถ่ายทอดลงตรงๆ ทันที แต่เพื่อรายละเอียดปลีกย่อย ในการแจกแจงรวบรวมที่มานั้น ย่อมเป็นกิจของพระสาวก ฉนั้นในยุคหลังๆจึงใช้เวลามากขึ้นตามลำดับ เพราะจำกัดด้วยญานของพระสงฆ์สาวกผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จากปัญหา สูญเสีย สูญหาย อันเป็นหลักฐานเก่าอันเป็นเหตุที่เกิดจากภัยต่างๆที่ทำให้พระสัทธรรมลบเลือนเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา ด้วยภัยธรรมชาติ ภัยจากสงคราม ภัยจากมนุษย์หรืออมนุษย์ โดยรวมคือ โมฆะบุรุษที่เกิดขึ้นมาเพื่อ บิดเบือนแต่งเติมพระธรรมคำสั่งสอนในพระไตรปิฏกให้ลบเลือนสูญหายไปนั่นเอง

    ส่วนการสังคายนาในครั้งหลังๆ ใช้เวลาน้อยลง เพราะจำกัดด้วยผู้มีปฎิสัมภิทาญาน จึงนิยมใช้วิธีตรวจทาน แก้ไขคำผิด ประดิษฐ์อักษร แก้ความหรือแต่งโคลงร้อยแก้ว หรือร้อยกรองเขาไป ส่วนที่ลอกแบบของเดิมเท่าที่จะพึงมีพึงเก็บรักษาให้เหลือรอดไว้ได้ ก็มีเจือปนอยู่

    เพราะฉนั้น การกำเนิด การบรรลุจุติธรรม ขั้นปฎิสัมภิทาญานของธรรมทายาทจึงสำคัญมาก ที่จะช่วยส่งเสริมรักษาพระสัทธรรม พระธรรมและพระธรรมวินัย ให้อยู่รอดสืบไป ให้พ้นภัยจากสัทธรรมปฎิรูป และ อสัทธรรม นอกพระพุทธศาสนา เพื่อให้พ้นภัย ๕ ประการที่จักมาเยือน

    เหล่าธรรมบุตรทั้งหลายเอย เราคาดหวังให้ท่านบรรลุธรรมโดยปฎิสัมภิทาญาน ขอให้ท่านกระทำจิตให้บริสุทธิ์มีศรัทธาที่เหนือศรัทธา และจงเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะอย่างเร็ววันเถิด แม้เราเองก็ปรารถนาจะพึ่งพาอาศัยพวกท่านเพื่อกระทำกิจอันสมควรในกาลต่อไป



    ใจความสำคัญขอให้ท่านทั้งหลายจดจำไว้ว่า " เมื่อพระสัทธรรมถูกทำลายด้วยการสร้างสัทธรรมปฎิรูปโดยโมฆะบุรุษอย่าง คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง ผู้ไร้คุณสมบัติในการทำสังคายนาพระไตรปิฏก แต่ได้กระทำการล่วงเกิน ลุแก่อำนาจด้วยตัณหา หมิ่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกตลอดจนพุทธบริษัททั้งหลายฯ นับตั้งแต่อดีตกาลจนมาถึงกาลบัดนี้ คึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง ได้ทำลาย กระแสนิรุตติญานทัสสนะอันเป็นวิมุตติญานทัสสนะกถาเป็น สัจฉิกัฐฐะปรมัตถ์ธรรม ที่ปรากฎในพระไตรปิฏก ว่าด้วยอรรถกถา เถรคาถา คำสอนของพระอรหันต์ เป็นเหตุที่จะให้เกิดภัยภยันตรายอันมากต่อพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศไทย ในโลกมนุษย์และในสหโลกธาตุต่างๆในอนัตริยะจักวาล "


    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}

    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต

    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้



    ด้วยการวิสัชนาธรรมอันผิดเพี้ยน จึงไม่เคารพสงฆ์ ไม่เคารพพระอรหันต์สาวก และไม่เอาพระไตรปิฏกฉบับใดทั้งนั้น ยกเว้น พุทธวจนะปิฏกที่ตนเองสร้าง นั้นประเสริฐที่สุด และหวังจะให้พระไตรปิฏกของสำนักตนที่ทำอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า โดยมีฆราวาสร่วมด้วย แทนพระไตรปิฏกทุกฉบับทุกสำนักที่มีอยู่ในโลก

    "สำนักวัดนาป่าพง ประกาศไม่เอาคำสาวกผู้บริสุทธคุณในปฎิสัมภิทาญาน และโดยสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ธรรม ทำลายพระสัทธรรมที่ทรงวินิจฉัยดีแล้ว ทำลายทั้งพระเอตทัคคะ หลายท่าน นี่เป็นเพียงตัวอย่างหลัก ที่น้อมนำมาแสดง คิดแล้วก็น่าอเนจอนาถใจยิ่งนัก"

    "เป็นผู้สร้างความหายนะให้กับชาวพุทธในประเทศไทยและไปในประเทศอื่นทั่วโลกโดยแท้"

    โปรดช่วยกันปกป้องรักษาและคุ้มครององค์พระสัทธรรม พระธรรมราชา พระธรรมและพระธรรมวินัย ตลอดจน พระอรหันตสาวก และอุบาสก อุบาสิกา ไว้ให้คงอยู่ต่อไปจนสิ้นพระวัสสา ไม่ให้ถูกทำลายลบหายด้วยน้ำมือโมฆะบุรุษที่เป็นพาล อย่างคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพงด้วยเถิด

    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระวังคีสเถระเอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
    พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน)
    พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
    พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
    พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
    พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
    พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
    พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูต ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
    พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท
    พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
    พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงปฏิภาณ (ญาณแจ่มแจ้งในพระพุทธศาสนา)
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีโรคาพยาธน้อย
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางผู้สัทธาธิมุต(หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา)
    พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุบริษัท
    พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชนทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ
    พระขทิรวนิยเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
    พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางผู้อรณวิหาร(เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)และทักขิไณยบุคคล
    พระพาหิยทารุจีริยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
    พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา
    พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี
    พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาณสมบัติ
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
    พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ
    พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นปฐม
    พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    พระมหาโกฎฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ
    พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
    พระภิกษุณีที่เป็นเอตทัคคะ
    พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
    พระมหาเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา
    พระมหาอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์
    พระมหาปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
    พระมหานันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ยินดีในฌาน
    พระมหาธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก
    พระมหาโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร
    พระมหาสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
    พระมหาภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
    พระมหาภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้)
    พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธรา) เอตทัคคะในฝ่าย ผู้บรรลุมหาภิญญา
    พระมหากีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
    พระมหาสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

    อุบาสกที่เป็นเอตทัคคะ
    ตปุสสะและภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน
    อนาถปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
    จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    หัตถกอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
    พระเจ้ามหานามะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายปัจจัย ๔ อันประณีต
    อุคคคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ
    อุคคตคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก
    สูรัมพัฏฐเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสอย่างมั่นคง
    ชีวกโกมารภัจจ์ เอตทัคคะในฝ่ายเป็นที่รักของปวงชน
    นกุลปิตาคหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    อุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ
    นางสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
    นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
    นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นพหูสูต
    นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
    นางอุตตรา (นันทมาตา) เอตทัคคะในฝ่ายผู้ยินดีในฌาน
    นางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายรสอันประณีต
    นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก
    นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
    นางกาฬี (อุบาสิกาชาวกุรุรฆริกา) เอตทะคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม
    นางนกุลมาตาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระพุทธเจ้า

    พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่งโสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า. แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า.
    อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
    ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้นของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    ก็บัณฑิตพึงทราบปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕.
    ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระเถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในอเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่านจิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ถึงซึ่งประเภทในเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่งประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

    ขอให้ท่านเจริญในธรรม

    ว่าที่ พระธรรมบุตร ธรรมราชา



    https://www.google.co.th/maps/dir/วัดพะโคะ+หมู่+6+ตำบล+ชุมพล+อำเภอ+สทิงพระ+สงขลา+90190/นครศรีธรรมราช/@8.0152829,99.9019438,10z/am=t/data=!3m1!4b1!4m13!4m12!1m5!1m1!1s0x304d59a6eb34abe9:0x5361bdd5aca20e1!2m2!1d100.3927868!2d7.6014721!1m5!1m1!1s0x30530115a2a6568b:0x34e30843bc5f02f2!2m2!1d99.9631219!2d8.4303975







    เรื่องเล่าอธิบาย คร่าวๆ


    ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ

    แต่ก็นำมาบอกเผื่อจะมีผู้มีสติปัญญาจะรู้ตามและพิจารณารวบรวบผลตามได้

    คนแบบนั้นแหละที่อยากให้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน

    "ฝากถึงศิษย์ของเรา ที่เธอพึงพิจารณาอยู่ตรงนี้ เธอมีจิตใจที่ผ่องใสซื่อตรง เมื่อเธอรักพระสัทธรรม พระสัทธรรมก็รักเธอ และเอ็นดูเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์แก่เธอ จงเจริญและเติบโต กว่าที่เราจะได้ฐานะนี้มาก็ต้องแลกด้วยชีวิตทั้งชีวิต ไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะรอดตายเข้ามาสู่ดินแดนแห่งรสพระธรรมนี้ได้ เธอมีโอกาสดี ที่ได้มีผู้บอกกล่าวที่หาได้ยาก จงอย่าละทิ้งในสิ่งที่อาจารย์พร่ำสอน จดจำความละเอียดอ่อนอันเป็นสภาวะที่เข้าถึงนั้นให้ดี สิ่งที่อาจารย์ได้กล่าวมาในกระทู้นี้นับแต่ต้นก็ล้วนเจือด้วยวิมุตติอันเป็นองค์ประกอบ เมื่อเธอ ซื่อตรง อ่อนโยน บริสุทธิ์ใจ ปรมัตถสัจจะในธรรมเหล่านี้ที่แสดงไว้(เฉพาะ) แล้วจะขจัดสิ่งเศร้าหมองไปได้ ตามอำนาจและกำลังญานบุญบารมีแห่งเธอตามกาล"

    images.jpg images.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2018
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผู้มีปฎิสัมภิทาญานและพระอรหันต์ที่เป็นอเสขะแล้วเท่านั้นที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สมควรแก่การฝากเนื้อฝากตัวเข้าเรียนเข้าศึกษา ที่สมควรสนทนาด้วย และผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น จึงจะสามารถรู้ อรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ และประกอบด้วยสุญญตธรรม อย่างบริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง ซึ่งก็ตรงเข้ากับหลักมหาประเทศ ๔ ที่พระองค์ทรงประทานพุทธดำตรัสไว้ ว่าให้พึงสนทนา กับพระอรหันตผู้มีวิมุตติของพระอเสขะ หรือ พระอริยะบุคคลผู้มีปฎิสัมภิทาญาน เมื่อท่านผู้ดำรงสถานะทั้งสองนี้ กล่าวธรรมอยู่ด้วย อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาจึงสมควร

    ไม่ใช่ใครที่ไหนก็ได้ ที่แค่เพียงอ่านออกเขียนเป็น หรือท่องได้ ไม่อย่างนั้นก็วิมุตติ อรหันต์โสดาบันอนาคามีกันหมดเหมือนอย่างคึกฤทธิ์และสาวกแห่งสำนักวัดนาป่าพง




    "สำคัญผิดไปเลย ยิ่งสำคัญผิดมากยิ่งดี โลกจะได้สงบสุข" แน่นอนนั่นเป็นโลกของบัวสามเหล่าของสำนักวัดนาป่าพง ที่มีแต่พระพุทธศาสนา ไม่มีเดียร์ถีย์ลัทธิศาสนาอื่น โลกนี้ต้องปลอดอาวุธ ปลอดการทำร้าย มิจฉาทิฏฐิทุกรูปแบบ ไม่มีใครได้ไปนรก ไม่มีคนทำบาป ด้วยกายวาจาใจ โลกแบบนี้ ธรรมข้ออื่นก็จะไม่เกิด เมื่อสิ่งนั้นไม่มี สิ่งนี้ก็จักไม่มีตาม มีดีแต่นโยบายสโลแกน เอาไว้หาเสียงหลอกคนโง่ไม่รู้ธรรม แล้วยังทำให้พระสัทธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น เศร้าหมอง


    แม้จะสำคัญผิดว่าตนเองเป็นโสดาบันก็ยังเกิดประโยชน์

    [ame]


    พยสนสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ
    ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
    เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
    สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
    เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
    เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
    ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
    ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
    ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
    เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
    จบสูตรที่ ๘



    ด้วยเพราะว่าปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา


    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.


    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.


    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.


    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.

    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.





    อาณิสูตร
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด

    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน

    ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้

    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
    จบสูตรที่ ๗



    พฤติกรรมอันตรายที่น่าเป็นห่วง
    "ผู้อ้างตนว่ารู้จักอรรถรู้จักธรรม แต่ ไม่รู้จักอรรถไม่รู้จักธรรมใน ปฎิสัมภิทามรรค ก็จะเป็น บุคคลที่อ้าง พุทธวจนะ ที่ไม่ถูกต้องและสมบูรณ์ ย่อมเป็นผู้ทำลายคุณความหมายและถอดถอนทำลายพระสัทธรรม ผู้ใดที่เหยียบย่ำองค์คุณในปฎิสัมภิทาญาน ของพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีจุดจบที่ไม่แตกต่างกันในจนถึงที่สุด"


    เราจะรอ ผู้ที่ได้เสวยวิมุตติสุขนั้น และเข้าใจใน นิรุตติสุขนั้น เผยตนออกมา ผู้เสวยวิมุตติเชี่ยวชาญในนิรุตติ เมื่อแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเผยวิมุตติและนิรุตติญานทัสสน อันผู้รู้เห็นและเข้าใจ จึงจักทัดเทียมกัน สามารถวิสัชนาและพยากรณ์กถาที่ปรารภมา ซึ่งปฎิสัมภิทาญานนั้นได้


    "เรารอมานานแล้วที่จะได้กล่าวธรรมอย่างที่แสดงเอาไว้นี้ โดยพิศดารนั่นก็คือฐานะหนึ่งที่ยืนยันในการที่เรา เป็นผู้ที่รู้เห็นใน" พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เพื่อความสิ้นสงสัย เรานั้นก็ปราถนาให้ท่านทั้งหลายที่เห็นเนื้อความในอรรถที่เราแสดงเอาไว้โดยพิสดารนี้ ได้เป็นผู้ที่รู้ที่เห็น " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม " ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เฉกเช่นเดียวกัน เราจึงไม่เป็นผู้มีความปรารถนาทรามปกปิดพระธรรมเอาไว้ เป็นผู้เปิดเผยและเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ในพระธรรม สมดังตรงตามที่พระบรมมหาศาสดาตรัสให้สอนเราเป็นธรรมทายาทที่ดี เมื่อรู้ดังนี้แล้วจงน้อมนำศรัทธาเข้าสู่ความเพียรพยายามอุตสาหะในการปฎิบัติเพื่อสรรเสริญบูชาอันพระรัตนตรัย เพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรของเหล่ามหาชนนั้นเทอญฯ"

    ความรู้นี้ไม่มีในร่างกาย ไม่มีในสมองเน่าๆของเรา นี่ไม่ใช่เรา เราเป็นเพียงผู้น้อมนำอัญเชิญมาแสดง ขออนุโมทนาบุญฯ

    ขอท่านผู้เจริญสหธรรมกัลยาณมิตรพุทธบริษัท ๔ ทั้งหลายฯ ผู้มีบุญได้รับรู้เรื่องราว เมื่อรู้ดังนี้แล้วเราขอให้ผู้มีบุญที่มาจุติกำเนิดในภพมนุษย์ก่อนแล้ว หรือจะมาจุติภายหลังจากนี้ก็ตาม กุลบุตรผู้มีศรัทธาเอย หากได้เห็นได้ศึกษาในสิ่งที่เราถ่ายทอดไว้นี้ จงถือบวชออกบรรพชา รักษาตนให้บริสุทธิ์ สำรวมในพระปาฏิโมกขสังวรบริสุทธิศีล หมั่นปฎิบัติสมถะวิปัสสนาไตร่ตรองพระสัทธรรมคำสั่งสอน ดำรงตนให้สำรวมด้วยการปลีกวิเวก เพื่อที่จะได้เข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะและบรรลุปฎิสัมภิทาญานโดยเร็วเถิด

    ได้โปรดอย่าให้ใครมาทำลายพระไตรปิฏกและทำลายความร่มเย็นเป็นสุขของเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายฯ จงปรากฎตนออกมาเถิด เราต้องการให้ท่านช่วยแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติภัยอันตราย ในห้วงกึ่งพุทธกาลนี้ให้ผ่านพ้นไปได้

    นี่คือคำอ้อนวอนขอจาก ว่าที่ พระธรรมบุตร
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว
    อุตริมนุสธรรมหมายถึง ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล
    การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม
    ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ


    พระพุทธองค์ และพระองค์ได้ทรงบัญญัติอนุบัญญัติเพิ่มเติมอีกว่า …..เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ…ดังนี้
    ความหมาย อุตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล ภิกษุกล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนเองถือว่ามีโทษหนักขั้นอุกกฤษฎ์ คือ ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ไม่สามารถขอกลับเข้ามาบวชใหม่อีกได้ต่อไป เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกขึ้นมาใหม่ได้ฉันนั้น

    คำว่าอุตริมนุสสธรรมในสิกขาบทนี้ หมายถึงคุณวิเศษที่ภิกษุเจริญกรรมฐานหรือเจริญสมาธิจิตจนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ อันได้แก่ ฌาน เช่น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ฌาน (เช่น วิชชา ๓อภิญญา ๖) มรรคภาวนา มรรคผล (โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล) วิมุตติ ปิติ หรือความยินดีในฌาน เป็นต้น
    ภิกษุอวดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีในตน ต้องปาราชิกเหมือนกัน เช่น ภิกษุประกาศตนว่าได้บรรลุอรหันต์หรือบรรลุอนาคามี เป็นต้น ต้องอาบัติแล้ว อนึ่ง การอวดคุณวิเศษนี้ เมื่อภิกษุกล่าวอวดอ้างไปแล้ว ผู้อื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ถือเป็นสำคัญ เมื่อมีเจตนาที่จะอวด และผู้ฟังได้ฟังรู้เรื่อง ก็ถือว่าต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ถ้าหากพูดแล้วผู้ฟัง ฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความหมายของคำพูดนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย และถ้าภิกษุรูปนั้นพูดบอกคุณวิเศษซึ่งไม่มีในตนของภิกษุรูปอื่นให้แก่บุคคลอื่น ถ้าเขาเข้าใจคำพูดของภิกษุนั้นว่าหมายถึงภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฎ
    ภิกษุผู้พูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงและต้องอาบัตินั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ
    ๑. เบื้องต้นเธอรู้ว่าตนเองจักกล่าวเท็จ
    ๒. กำลังกล่าวเท็จอยู่ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
    ๓. ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่าตนกล่าวเท็จแล้ว

     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
    มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑
    มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑
    มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้
    เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
    ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ



    นอกจากจะเป็นภาระหน้าที่แล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะตระหนี่ธรรม


    หน้าที่ยังไงก็หนีไม่พ้น ไม่ปฎิบัติกายก็ถึงคราวแตก ต่อจากนี้ บุคคลที่เป็นพระเถระหรือพระสงฆ์ที่อยู่สำนัก ผู้มีปัญญา วัดวาอารามต่างๆ เมื่อได้ไตร่ตรองวิสัชนาแล้ว จะเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจได้เอง รวมทั้งพุทธบริษัทเหล่าอื่นด้วย ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ ก็จะมีความหวัง ผู้มีจิตใจทรามก็จะเกิดความหวาดกลัวเกลียดชังเพราะกลัวภัยที่จะมาถึงตน เนื่องด้วยเพราะว่าตนเป็นผู้ทุศีล ไม่เกรงกลัวบาปกรรม จนลืมไปว่า ยังสามารถมีอริยะบุคคลกำเนิดและบรรลุธรรมอยู่เสมอๆไม่สิ้น ด้วยความชะล่าใจจึงห่างเหินมานาน แม้ชีวิตนี้จะเป็นตายร้ายดี ก็ขออุทิศเพื่อพระรัตนตรัยอันสถิตยังบวรพระพุทธศาสนา


    ๐ เรารู้ดีโดยธรรมด้วยตนเอง ว่าผู้ที่ทราบว่าอะไรผิดอะไรถูกก็คือ ผู้ที่อยู่มานานแล้ว ในพรหมโลกก็ดี ในสวรรค์โลกก็ดี ในมารโลกก็ดี แม้แต่ในนรกภูมิ พวกเขาเหล่านั้น บ้างก็เคยเข้าเฝ้าพระพุทธองค์มาแล้ว บ้างก็ได้รับพรมาแล้ว ได้รับฟังคำสั่งสอนมาบ้างแล้ว อย่างมากมายท่วมท้น ชนเหล่านั้น สามารถที่จะชี้แจง บอกข้อมูลในเมื่อครั้งอดีตกาล สมัยพุทธกาลแก่เราได้อย่างชัดเจน และไม่ผิดเพี้ยน หากเขาเหล่านั้นประสงค์จะให้ทราบ ด้วยบุญเก่าก็ดี เราท่านก็ย่อมจักสำเร็จการนั้นเป็นแน่แท้ ๐


    ๐ มนุษย์เรานั้นมักมีความคิด เห็นผิดทำนองคลองธรรมเสมอๆ ทั้งๆที่สิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ควรค่าที่สุดอยู่ตรงหน้าแล้ว อุปมาเหมือนไก่ได้พลอยที่ไม่เห็นคุณค่าของเพชรพลอยนั้น แต่มีความปราถนา ในเมล็ดข้าวเปลือก โดยเห็นว่าควรทีจะมีประโยชน์กับตนเองมากกว่า เพราะทำให้ถูกใจ อิ่มท้อง ขอให้มีผลประโยชน์แก่เราเท่านั้น ไม่ว่าอะไรก็เอาหมด ไม่สนว่าผิดหรือถูก แต่เอาความถูกใจของตนเองเป็นหลัก ความถูกใจของระบบสภาพสังคมเป็นหลัก หากอยู่ในสังคมโจร ก็มีความยินดีและปราถนาที่จะเป็นโจร ปราถนาในทุกสิ่งที่เฉพาะหน้า ไม่ได้หวังถึงอนาคต เพราะเศษวิบากกรรมเก่า ดวงตาจึงมืดบอดไป มองอะไรไม่เห็น น่าเวทนาหนอ นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงท้อพระทัย ในกิเลสของสัตว์โลก ยากจะเยียวยา ๐



    หากมีบุญเก่ามากพอ จงศึกษาพระไตรปิฎกเถิด เราแนะนำให้ท่านถือศีล รักษาธรรม ด้วยกาย วาจา ใจ ท่านจะพบทางสว่าง พร้อมกับได้รับการอนุเคราะห์จากชาวทิพย์ และมาปรากฎให้ท่านพบเจอ ช่วยกิจการทั้งหลายของท่าน ตามแรงบุญแรงกรรม



    ( ฉวาลาตสูตร ) ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
    ๑. ไม่ปฏิบัติ เพื่อตนเองและผู้อื่น ๒. ปฏิบัติเพื่อผู้อื่น แต่ไม่ปฎิบัติเพื่อตนเอง ๓. ปฎิบัติเพื่อตนเอง แต่ไม่ปฎิบัติเพื่อผู้อื่น ๔. ปฎิบัติเพื่อตนเองและผู้อื่น ในบุคคลทั้ง ๔ บุคคล จำพวกที่ ๔ คือ ผู้ที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นเลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ดูกร สารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่ตรงนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็น ญาณทัสสนะ อันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวล ด้วยความตรึกที่ไตร่ตรอง ด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก


    ธรรมข้อนี้ ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน คือรู้สถานะการมีอยู่ของพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ก็จะไม่สามารถวิสัชนาได้ เพราะเหตุใด หากใครคิดว่าพระองค์ทรงคิดค้นตรึกไตร่ตรอง แจ่มแจ้งได้เองเป็นความผิด คิดอย่างนั้นไม่ถูกต้อง นี่ย่อมแสดงว่า พระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมอันยากยิ่ง และพระสัทธรรมนั้นก็มีอยู่แล้ว พระองค์เพียงเป็นผู้เข้าถึงการตรัสรู้ และกระทำตามบทบาทหน้าที่ของพระองค์เอง

    นี่ล่ะ บุคคลทั้งหลายย่อมได้แต่คิดตามว่า อะไรจึงทำให้เป็นอย่างนั้น ซึ่งก็ไม่สามารถจะวิสัชนาให้ถูกต้องได้เลย หากไม่รู้จักพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม


    ดูกร สารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่ตรงนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็น ญาณทัสสนะ อันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวล ด้วยความตรึกที่ไตร่ตรอง ด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก”


    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.


    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.


    ฉนั้น บุคคลทั้งหลายต้องพิจารณา " ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง" คือเห็นธรรม ด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงทรงเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาญานเป็นบุคคลแรก

    และก็ยังสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตามด้วย

    สมดังที่กล่าวมาใน อาสภิวาจา คือ วาจาหรือคำพูดที่ประกาศถึงความเป็นผู้มีความสามารถสูงสุดในโลก ที่ทรงเปล่งออกมาทันทีที่ประสูติ

    พระองค์ตรัสว่า "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี" คือทรงรู้ทรงทราบว่าพระองค์ต้องตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐอย่างแน่นอน


    เพราะนี่เป็นหน้าที่ เป็นบุญบารมีของพระองค์ที่ทรงรู้ทรงทราบตามที่ได้ทรงบำเพ็ญมาอยู่แล้ว ว่าจะทรงพบทางตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนำพาสัตว์ออกจากทุกข์



    ถ้าไม่มี ปฎิสัมภิทาญาน ไม่รู้จัก พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม

    ผู้ใดใครกันจะวิสัชนาธรรมข้อนี้ได้


    เวสารัชชธรรม ๔
    ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความแกล้วกล้า] เหล่าใดจึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่าท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้
    ดูกรสารีบุตรเมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้

    ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใด ว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้

    ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม ดังนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่
    ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัทยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล

    ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสียไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้

    ดูกรสารีบุตรเปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.



    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นธรรมที่เห็นได้ด้วยตัวเองไม่ขึ้นกับกาลเป็นธรรมที่ควรมาดูควรน้อมมาปฏิบัติเป็นธรรมที่วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน***

    ปฐมอุรุเวลสูตร
    ว่าด้วยคนไม่มีที่เคารพไม่มีที่ยำเกรงอยู่เป็นทุกข์สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระวิหารเชตวันตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักที่ต้นอชปาลนิโครธ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลเมื่อเราเร้นอยู่ที่ในที่สงัดเกิดปริวิตกว่า คนไม่มีที่เคารพไม่มีที่ยำเกรงอยู่

    เป็นทุกข์เราจักพึงสักการะ เคารพพึ่งพิงสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดเล่าหนอ เราตรองเห็นว่าเราจักพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ก็เพื่อทำสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ของเราที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ก็แต่ว่าเราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ยิ่งกว่าตนในโลก ทั้งเทวโลก ทั้งมารโลก ทั้งพรหมโลกในหมู่สัตว์ทั้งเทวดา มนุษย์ ทั้งสมณพราหมณ์ ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงอยู่ได้ดังนี้แล้วเราตกลงใจว่า อย่ากระนั้นเลย ธรรมใดที่เราตรัสรู้นี้เราพึงสักการะ เคารพ พึ่งพิง ธรรมนั้นอยู่เถิด




    ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นสหัมบดีพรหม รู้ความปริวิตกของเราด้วยใจของตนแล้ว
    หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏตัวต่อหน้าเรา ประดุจบุรุษผู้มีกำลังฉะนั้น
    คุกเข่าข้างขวาลงพื้นดิน ประคองอัญชลีตรงมาทางเรากล่าวว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่พระองค์ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นถูกแล้ว ชอบแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ แม้หล่าใดที่มีมาแล้วในอดีตกาลพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้น ก็ได้ทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมอยู่เหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะแม้เหล่าใดที่จักมีในอนาคตกาลพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นก็จักทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั่นแลอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั้นอยู่เถิด


    สหัมบดีพรหมกล่าวอีกว่า



    พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ยังไม่มาถึงก็ดี พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายในปัจจุบันนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นเป็นผู้ทรงเคารพพระสัทธรรมแล้ว ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่ และจักทรงเคารพพระสัทธรรม นี่เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ผู้รักตน จำนงความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรมเถิด




    ครั้งนั้นเราแจ้งว่าพรหมวิงวอนและรู้ภาวะอันสมควรแก่ตนแล้ว
    ธรรมใดที่เราได้ตรัสรู้แล้ว เราก็สักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้น อยู่มาก็แต่ว่าเมื่อใด แม้สงฆ์ถึงพร้อมด้วยความใหญ่แล้ว เมื่อนั้นเราจะเคารพในสงฆ์ด้วย

    อุรุเวลสูตรที่ ๑

    ทีนี้ผู้มีปัญญาก็จะเห็นสภาวะของพระสัทธรรมอย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงมีอยู่จริงและทรงเป็นที่พึ่งพิงของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯและพุทธบริษัททั้งหลายดังนี้แล

    รู้แล้วก็ขอให้สิ้นสงสัย

    และเราก็เป็นเพียงผู้น้อมนำมาเปิดเผย นำมาแสดงเพียงเท่านั้น ความรู้ต่างๆเหล่านี้มิได้มีในเรา แต่คือหน้าที่ของเรา

    ส่วนเรื่องของสำนักไม่เคารพสงฆ์ ไม่ต้องนำมาพูดอีกจบไปแล้ว


    ตราบใดที่ปาฎิหาริย์ ๓ ยังไม่ปรากฎ และผู้บรรลุธรรมระดับปฎิสัมภิทาญานปรากฎขึ้นอย่างสมบูรณ์ยังไม่ปรากฎ ตอนนั้นก็ยังมิใช่เวลาที่จะล้างธรณีสงฆ์ แต่เมื่อปรากฎ ก็เป็นไปตามภาระหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายมา ทำอะไรไว้อย่านึกว่าจะไม่รู้แม้แต่อาบัติเล็กน้อย

    คำว่า ฉิบหายกันล่ะทีนี้ ! มีอยู่จริงๆ



    เมื่อมีปฎิสัมภิทาญาน ย่อมเห็นธรรม ที่บริสุทธิคุณ ถูกต้องชัดเจน งดงาม ไพเราะ ในเบื้องตน ท่ามกลาง และบั้นปลาย ตามนามพระสัทธรรมอันเป็นธรรมราชาของอนันตริยจักรวาลทั้งปวง อันเป็นสิ่งเหนือสหโลกธาตุทั้งสิ้น สุดจะพรรณนาหาความได้

    มีปฎิสัมภิทาญาน ย่อมมีธรรม อันเป็นรูปแบบเดียวกันของศาสนาพุทธในทุกๆยุคสมัยของแต่ละห้วงช่วงพุทธันดรของพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆตามลำดับมา อย่าไปค้นหาที่มา ถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าด้วยกัน อันความนึกคิดตริตรองพระองค์ล้วนมีแบบฉบับส่วนของพระองค์เอง ไม่ใช่ฐานะที่จะไปหยั่งรู้ความคิดพิจารณาได้ ถ้าไม่มีคุณสมบัติปัญญาญานที่มากพอ รู้ไว้ตรงนี้


    ถึงเวลานั้นบรรดาคำสั่งสอนที่แอบอ้างเป็นของพระพุทธศาสนา พวกสัทธรรมปฎิรูป คำสอนลัทธิพุทธอื่นนอกนิกายดั้งเดิมหนึ่งเดียวทั้งหลายฯ รวมทั้ง อสัทธรรมนอกพระพุทธศาสนาก็จะจนมุมทำมาหากินที่เบียดเบียนพระพุทธศาสนาเบียดเบียนหลอกลวงเหล่าพุทธบริษัท


    คงโกลาหลกันน่าดู สวนกระแสโลก สงสัยพวกนักสิทธิ การศาสนาลัทธิต่างๆ พวกล่าอาณานิคมที่ทำลายพุทธมาตลอด และที่หวังจะทำลายพุทธ คงผิดหวังในสิ่งที่พยายามทำกันมา หมดท่าไปตามๆกัน


    สำหรับลัทธิพุทธแต่แสวงอื่นทางใครทางมันล่ะกันนะ แต่ถ้าอ้างว่ามาทางเดียวกัน แต่ที่จริงสวนทางก็จะถูกตราหน้าว่าขโมยธรรมไปแอบอ้างทันที รับธาตุฑัณฑ์ไปเป็นของรางวัล


    ที่จริงวันนี้ก็เขียนก็พิจารณาอยู่ แต่ยังไม่ถึงเวลาเปิดเผย ถึงลัทธินิกายพุทธธรรมอื่นนอกพระพุทธศาสนา กลุ่มที่เขาเปิดเผยถึงพวกนั้นตามหลักฐานหลักธรรมก็มีอยู่ แสดงไปก็หน้าแหกแตกพังกันไปเปล่าๆ เพราะเป็นเพียงปลาซิวปลาสร้อย รอเจอของจริงกันเลยดีกว่า ! อันธรรมสมบัติ ฤทธานุภาพของท่านมหาโมคคัลลานะ ชนิดเคลื่อนย้ายสงฆ์หรือสมมุติสงฆ์ทั้งหมดในโลกธาตุให้ไปที่หนึ่งที่ใดได้นั้นมีอยู่ ตำนานอะไรกันนะที่ผ้าไตรจีวรกองสูงเทียมภูเขา อยากพิจารณาอ่านจริงๆ เพียงได้ยินมิเคยเห็นผ่านตา สำหรับเรื่องต่างภาษา ปฎิสัมภิทามรรคมี ธรณีสงฆ์ควรล้างเมื่อใด


    พระไตรปิฏกควรอัญเชิญบูชาหาเข้าบ้าน

    ทุกๆบ้านควรมี


    ในกาลภายภาคหน้าจักได้มีปัญญาแก้ไขรวดเร็ว ไม่ต้องงมหาอยู่

    ถ้าหากอาศัยปฎิสัมภิทาญาน โดยนิรุตติญานทัสสนะ อ่านไม่จบหรอกทั้งชาติ

    ร้อยนัย พันนัย ปรากฎ ทวีคูณ


    ขอจงตั้งใจ มีทิฏฐิหวังได้ใน ปฎิสัมภิทามรรค อย่างแน่นอน


    เรื่องสำคัญที่น่ากลัวและน่าตกใจคือ ในหมู่พุทธบริษัทในตอนนี้เรียกได้ว่า "ไม่ทราบสถานะของ อสัทธรรม ไม่รู้จักฤทธิ์เดชอันน่าหวาดกลัวของมัน คิดว่าธรรมดาๆ อย่างที่รู้ที่เห็น จึงรู้สึกเฉยๆไม่มีอะไร?

    เกรงแต่ว่า หากมีผู้หนึ่งผู้ใดได้เข้าถึงสภาวะนั้นอันลึกลับของมันแล้ว จะไม่มีผู้ใดสามารถต้านฤทธิ์เดชและอานุภาพของมันไว้ได้ นอกจากจะได้ปฎิสัมภิทาญานและอุดมด้วยปาฎิหาริย์ ๓ เท่านั้นจึงจะสามารถต่อกรและรอดพ้นได้ เสียดาย ที่ไม่มีใครล่วงรู้และเห็นเหมือนอย่างเราเลย


    อหังการวิเศษมาร หรืออีกชื่อ คือ อสัทธรรม (มิจฉาทิฏฐิภายนอกพระพุทธศาสนา) เป็นเบอร์ ๑ ร้ายแรงร้ายกาจ
    สัทธรรมปฎิรูป (มิจฉาทิฏฐิภายในพระพุทธศาสนา) เป็นสิ่งแปลกแยกเป็นสนิมเป็นความผุกร่อน
    ศาสนาพุทธ มีเพียงแค่ สัทธรรมปฎิรูป ที่น่าเป็นห่วง เป็นไปตามพุทธทำนายอยู่แล้ว

    แต่ไม่น่ากังวลเท่า อสัทธรรม
    คือผลที่ได้รับ จากสัทธรรมปฎิรูป สัมมาทิฎฐิมาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีการล่มสลาย๑
    แต่อสัทธรรม เป็น มิจฉาทิฏฐิอยู่แล้วโดยปรมัตถ์ ยังเพิ่มดรีกรีเข้าไปอีก คลื่นลมจึงเร็วแรงขึ้น มันทำลายสิ้นเสียทุกสิ่ง๑
    แต่ทว่า!! ความเจ็บปวดที่เกิดจากอามิสทายาทภายในนั้น เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกแย่สุดๆจริงๆ



    การปฎิบัติธรรม พิจารณาธรรมทั้งหลายฯที่ได้แสดงมาเหล่านี้ ก็เพราะอยากให้สรรพสัตว์ได้พ้นภัยในวัฎรสงสาร
    ไม่ใช่เพื่อการสำเร็จมรรคผลส่วนตัว

    บอกตามตรง ที่ต้องออกบวชก็เพราะกลัว มีความขี้ขลาดแบบนี้ก็เพราะ
    กลัวมันมาทำร้ายผู้อื่นจนหมดสิ้นเหมือนในมหานิมิตของเราใน(วิปัสสนาญาณ ๙) กลัวมันทำลายบุคคลอันเป็นที่รัก กลัวมันทำลายสรรพสัตว์


    หากจะถามว่าเรากลัว ภัย ๕ ขนาดไหน ก็ขนาดที่เราต้อง สละโลก ใช้บาตรดินเผาไร้ฝา ไว้คิ้ว ครองผ้าบังสุกุลสามผืนตลอดชีวิต ฉันยาดอง อยู่โคนไม้ อยู่ป่า ตามนิสัย๔ รักษาศีลอุโบสถ สำรวมในพระปาฎิโมกขสังวรบริสุทธิศีล เพื่อให้ได้บรรลุ ปาฎิหาริย์๓ และร่วมมือป้องกันภัยที่ ๕ จนกว่าจะสิ้นใจ


    ต้องใช้ชีวิตร่อนเร่ เดินทางเร่รอน เหมือนนกพลัดถิ่นอาศัยร่มเงากิ่งไม้แล้วจากไป บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ ทนอดทนอยาก น้ำท่าก็นานๆจะได้อาบ เนื้อตัวมอมแมม ทิ้งสันทัดเครื่องปูนั่ง ผ้าผ่อนสกปรกเปื้อนดินสีเศร้าหมอง ทิ้งลาภ ยศ เงินทอง ความรัก กามคุณ ๕ ใครบ้างที่จะไม่ชอบความสุขสบาย แต่มันจำเป็น ไม่ทำก็ไม่ได้ ถึงเวลานั้นก็จะมีแต่ผู้ต้องการโจทก์ คงมีแต่สติวินัย เท่านั้นที่จะนำมาพิจารณาเราได้ ถ้าไม่แสดงฤทธิ์ต่อหน้าเขา นั่นคือหากได้ปาฎิหาริย์ ๓ แล้ว


    ใครที่มีปัญญาธรรมคงรู้ว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะปฎิบัติแบบนั้น แต่มันจำเป็นที่จะต้องสละภาชนะดิน เพื่อให้ได้ภาชนะทอง


    เราจะเป็นจะตายอย่างไร ก็ยังไม่รู้สึกรันทดคร่ำครวญเสียใจเท่านี้เลย คิดพิจารณาแล้วต้องน้ำตาตกทั้งนอกในจริงๆ


    เพราะนี่คือกรรมของเรา


    ถ้ายังไม่กลับตัวกลับใจ ทั้งๆที่ยังมีโอกาส follower เหล่านี้ย่อมไม่เชื่อในพระพุทธศาสนาอีก๑ จนไปเข้ารีต

    สุดจะพรรณนา มาร ๕ ขนคนขึ้นเรือผุท่องมหาสมุทร ต้องจมดิ่งในวัฎสงสารไปอีกนานแสนนาน กว่าจะได้พระอริยะบุคคลมาโปรด ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกที


    ยังจะมีคุณอีกรึท่าน เตรียมตัวเตรียมใจกันดีกว่า ว่าจะพบกับอะไร?

    สัญญานล่วงมา ๕ ปีแล้ว

    ตั้งใจบำเพ็ญเพียรใฝ่ศึกษา รอพระอริยะมาโปรด



    ********************************************

    ข้อเตือนใจ

    ด้วยตรวจดูอุปนิสัย พิจารณาตามกาล เราได้ยอมรับและประกาศแต่แรกว่าเราไม่มีสติปัญญาชาญฉลาดเท่าผู้มีบุญบารมีมาจุติกำเนิด เป็นผู้ประเสริฐดีงามเพียบพร้อมอันยังประโยชน์แก่มหาชน และเราก็พร้อมสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น

    แต่สำหรับบุคคลที่โง่เขลา เป็นคนมืดคนบอดกว่าเราและมาราวีเรา ด้วยวิสัยคนพาล เป็นบุคคล มิใช่บัณฑิต ไม่มีปัญญา เป็นคนทึบ คนหนา ขอให้เจริญๆนะ เกิดใหม่ชาติหนึ่งชาติใดชาติหน้าขอให้พระอริยะไปโปรดจะได้ฉลาดๆเจริญในธรรมกับเขาบ้าง


    เราสนทนากับสหายเพื่อยกเขาออกจาก อสัทธรรม แต่เจ้าอยากให้เราแสดง วาทะเอง ผลก็เลยต้องแสดง

    เพื่ออรรถรส คุณลักษณะในการรับชม ย่อมต้องใช้การแสดงศาสตร์และวาทะศิลป์ ในการอุปมาอุปไมย ที่ปัญญาชน สามารถไตร่ตรองตาม เห็นจริงได้ เปรียบประดุจ หากปราถนาจะทำการบรรเลงทาสี ดูดกลืนกินทับถมพื้นที่เก่า ที่มีสีดำอ่อนๆจางๆ ย่อมต้องใช้สีดำสนิท ที่มีความเข้มข้นลึกล้ำยิ่งกว่า มาระบายวาดสี ในอรรถเหล่านี้ ผู้ใดมีดวงตาและจิตใจ ที่ไม่มืดบอด ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ เห็นดีเห็น ไม่ดีและสามารถ รู้จักแยกแยะ พิจารณาดีหรือชั่วได้อย่างละเอียด ตามความเพียรปัญญาของตน เสมือนคนร่อนกรวดหา แร่ทองและเพชรพลอย ที่อยู่ในโคลนตม ย่อมได้ซึ่งแร่ธาตุและอัญมนีนั้นฯ เราเองก็มิได้โกรธเกลียด อะไรเขาดอก ทำไปพรรณนั้นๆแหละ! อุปมา:ดุจเพชฌฆาต ผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษ แม้มิได้มีเรื่อง โกรธเคืองใจกันมาก่อน ก็ต้องจำใจประหารชีวิตนั้น ผู้มีสะติระลึกได้ ก็ต้องอาศัยตนเป็นหลัก หากไม่รู้จักเตือนตนแล้วไซร้ จักไปตักเตือนอะไรใครที่ไหนได้ ดังพุทธสุภาษิต


    ทน.โต เสฏ.โฐ มนุส.เสสุ
    ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐที่สุด


    แม้เราผู้มีภูมิรู้ปานนี้คือ ออกไปอยู่นอกเหตุ เหนือผลทั้งหลายแล้วฯ แม้ฉะนี้ก็ยังคิด และพิจารณาเสมอๆว่า อันเด็กอ่อนผู้บริสุทธิคุณด้วยบุญญาธิการมาจุติ และกำลังเจริญเติบโต อยู่ถ้วนทั่วทั้งสหโลกธาตุ จักมีความประเสริฐดีงาม เพียบพร้อม ทั้งจริยธรรมคุณธรรม อันยังประโยชน์สุข ให้แก่มหาชนนั้น ยังมีสติปัญญาและความชาญฉลาด กว่าตัวเราอีกมากมายนัก ท่านจะเห็นผิดเป็นไฉน ในการกล่าว ยกย่องเชิดชูตนเอง ว่าดีเลิศประเสริฐศรี กว่าผู้อื่นอยู่อย่างนั้น จักแตกต่างอะไรกับ ผู้มีปัญญาทรามต่ำช้าเล่า ท่านเอย

    สหกัลยาณมิตรทั้งหลายแม้กระทู้นี้ จะต้องถูกอัปเปหิออกจากเว็บพลังจิตไป เพราะภัยของบุคคลผู้เป็นพาล แต่เราก็ขึ้นชื่อว่าได้เตรียมการให้เป็นที่เรียบร้อย และไม่เป็นการเสียเปล่าที่เราประกาศการมีอยู่ขององค์พระสัทธรรม อันชื่อได้ว่า ได้กระทำแล้ว และได้บัณฑิตผู้มีบุญได้รู้พิจารณาทราบตามพอควรแล้ว ถึงเวลานั้นก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะต้องเสียใจ แม้ดูหมิ่นเรา เรานี้ก็ขอให้เขาเจริญยิ่งขึ้นไป แต่สำหรับการดูหมิ่นองค์พระสัทธรรม ที่เราได้น้อมนำมาแสดง แม้เราไม่ยินดียินยอม แต่ก็ห้ามปรามตามสามารถแล้ว ซึ่งการกระทำแบบนั้นของบุคคลพาล เมื่อปรากฎก็ให้สามารถรู้ได้ทันทีว่า บุคคลนั้นต้องมิตฉัตตะ ๑๐ ประการและมาร ๕ ครอบทันที ด้วยวิบากอกุศลกรรมที่เขาได้เพียรสร้างไว้ เขาจะไม่สามารถเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะ ไม่สามารถเจริญในรสพระธรรมต่อไปได้เลย หากดูหมิ่นพระสัทธรรมที่เราน้อมนำมาแสดงอย่างนี้ก็คงต้องขอน้อมนำพระดำรัสตรัสมาว่า" เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคนกินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้"

    ถึงเวลา บุคคลผู้ที่จะต้อง หวาดกลัว พรั่นพรึง โกรธเกรี้ยว เสียใจมิใช่เรา ไม่ใช่ฐานะ

    ขอท่านสหกัลยาณมิตรจงมีความเจริญเถิด

    ของจริง ไม่ใช่ของปลอม

     

แชร์หน้านี้

Loading...