สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไคล์แม๊ก

    มรณุปปตติจตุกก
     
    มรณา              หมายถึง         ความตาย
                                    อุปปตติ          หมายถึง         การเกิดขึ้น
                            จตุกกัก           หมายถึง         จตุกก มี  ๔  อย่าง
                เมื่อรวมแล้ว  มรณุปปตติจตุกก     แปลว่า  ความเกิดขึ้นแห่งความตายมี  ๔  ประการ
                หรือหมายความว่า  เหตุที่ทำให้ความตายปรากฏขึ้น มี  ๔ ประการ  คือ
                            ๑.     อายุกขยมรณะ              ได้แก่              ตายเพราะสิ้นอายุ
                            ๒.     กัมมักขยมรณะ           ได้แก่              ตายเพราะสิ้นกรรม
                            ๓.     อุภยักขยมรณะ            ได้แก่              ตายเพราะสิ้นอายุ และสิ้นกรรม
                            ๔.     อุปัจเฉทกมรณะ         ได้แก่              ตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน
     
     
    แสดงนิมิตที่ปรากฏเมื่อใกล้จะตาย
                เมื่อเวลาใกล้ตาย กรรมอารมณ์,  กรรมนิมิตอารมณ์,  คตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ย่อมปรากฏในทวารใดทวารหนึ่ง ในทวารทั้ง ๖ อยู่เสมอ
                กรรมอารมณ์    ตัวกรรมคือ กุศล  อกุศลเจตนานี้ จะมาเป็นอารมณ์ปรากฏ
    ทางทวารทั้ง ๕ ไม่ได้ นอกจากปรากฏทางใจอย่างเดียว  ฉะนั้นผู้ที่ทำความดี, ความชั่ว 
    แต่ภายในใจส่วนมาก  เมื่อเวลาใกล้จะตาย  การทำดี – ทำชั่ว    แต่ทางวาจาและกายยัง
    ไม่ปรากฏ  เช่นนี้    กรรมอารมณ์ ย่อมมีโอกาสปรากฏได้
    กรรมนิมิตอารมณ์    หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖   ที่ได้ประสพพบแล้วด้วยการ
    กระทำทางกาย,  วาจา, ใจ ของตนนั้น       กรรมนิมิต คือเครื่องหมายจากการกระทำ
    ไม่ว่าจะดีหรือชั่วอย่างไรก็ตาม ย่อมปรากฏได้ทางทวารทั้ง ๖    เมื่อเวลาใกล้จะตาย 
    กรรมนิมิตเครื่องหมายจาการกระทำ  ย่อมมีโอกาสปรากฏได้
    คตินิมิตอารมณ์   หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖  ที่ได้ประสพพบแล้วด้วยการพบเห็น
    และจะได้เสวยในภพหน้า  เป็นคตินิมิตอารมณ์  บอกชี้ทางถึงภพภูมิที่จะไปเกิดให้ปรากฏคตินิมิตอารมณ์นี้  ย่อมปรากฏได้ในทวารทั้ง ๖



    พิจารณาได้ยาวนานเลย
     
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เพ่งโทษในธรรม ไม่เพ่งโทษในบุคคล นี่คือ อริยะวินัย

    ไม่ว่าจะเป็นพระสูตรหรืออรรถกถาก็ตาม ถ้าดูหมิ่นพระพุทธเจ้าและพระธรรมพระสงฆ์สาวกจะอยู่ในลัทธินิกายไหน ผมก็ไม่เอาทั้งนั้นครับ ผมบอกแล้วผมสามารถวิสัชนาเชื่อตามและพิจารณาตามแบบนั้นได้ แต่ผมก็มีสติปัญญาที่คิดพิจารณาให้กว้างขวางออกไปอีก เพราะฉนั้นข้อที่ Anuchit Ruengpradit กล่าวหาว่าผมดูหมิ่นอรรถกถา นั้นไม่ถูกต้องครับ

    ปุจฉา ได้ ก็ต้อง วิสัชนา แก้ได้


    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้


    ผมไม่เอาตาม ปริยัติที่เห็นเพียงอย่างเดียว แต่ผมจะเอาตามปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ที่วิสัชนาอย่างถี่ถ้วนกว้างขวางแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"


    จงเข้าใจว่าคำว่า บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือจะต้องรู้เป็นที่สุดแล้ว คือยกเว้นคนนอกศาสนา คนในฟังอ่านพิจารณาแล้วถูกหมด

    ถ้าไม่สามารถอย่าคิดเอง อย่าเอาหัวข้อธรรมใดธรรมหนึ่งไปประมวลว่าเป็นที่สุด ทั้งๆก็ไม่ถึงที่สุด

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ตอบตรงตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมมหาศาสดาเป็นใหญ่ ให้กว้างขวางลึกซึ้ง

    ไม่เอาบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ตั้งมากกว่าพระองค์ ถ้าจะสอนธรรมของพระองค์ ควรยกพระดำรัสวาจาของพระองค์มาสอน เพราะทรงตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปรีชาญาณ อธิบายเนื้อหาธรรมนั้นอย่างเต็มความสามารถที่สุด แสดงธรรมอย่างมีเหตุ มิใช่ไม่มีเหตุ ทรงประกาศอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ มิใช่ไม่บริสุทธิ์

    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด

    ดังเช่นที่ได้ตรัสกับพระเจ้าอชาติศัตรูในสามัญญผลสูตรใน ที.สี.(แปล) ๙/๑๙๐/๖๔ ว่า

    " มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ และพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณ นั้นเทอญฯ

    ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๒
    ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญในเพราะ
    ความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็นทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่แสดงไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์. อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่งทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์. อุทายี นี้แล ธรรมข้อที่สองอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะเคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.

    เจตนา เราและท่านทั้งหลายต่างมีศัตรูอย่างเดียวกัน คือ กิเลส


    บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๐/๒๔๐.
    ตรัสแก่ภิกษุ
    ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก; เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้
    แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.



    https://youtu.be/ceakUPHWtz8
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 656155153_m.jpg
      656155153_m.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.9 KB
      เปิดดู:
      44
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ใจต้องกว้างครับเรื่องแบบนี้เกิดไม่ทันญานไม่มีไปส่องล่วงรู้เห็นเหตุการณ์ จะได้มาบอกมาสอนกันได้ ขนาดอรรถกถาจารย์ยังถกเถียงให้ความเห็นแตกต่างกัน บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง ในตอนปล่อยให้พระสาวกปลงชีพตนเอง และต่อให้รู้จริง มาบอกเขาแล้ว แต่เขาหรือใครไม่เอาตาม และยังสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม แบบนี้ไม่ใช่วิถีพุทธ ไม่ใช่วิถีอริยะครับ ต้องพิจารณาว่า สามารถคิดเช่นนั้นได้ ตามสภาวะธรรมและฐานะธรรมอันเป็นปัจจัย จะฟันธงเลย ว่า ข้ารู้ข้าเห็นมากับตา ข้าระลึกได้ตามที่เขียนที่บันทึกมานี้ ไม่ถูกต้องนักครับ ค่อยๆพิจารณากัน เรื่องไหนเกินความสามารถก็ปล่อยไปก่อนครับ รอพระอริยะมาโปรด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.5 KB
      เปิดดู:
      40
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอจบแบบนี้นะครับ ว่าพระอริยะฆ่าตัวตายได้หรือไม่?


    {O}องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา{O}

    ทรงตรัสสอนเหล่าเวไนยสัตว์เอาไว้ว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต


    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.5 KB
      เปิดดู:
      43
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีสหายธรรม ร่วมอุปมา วิสัชนาธรรมในข้อนี้มา เราชื่นใจมาก

    Teerapong Boonyasak คำถามง่าย ง่ายนะครับ..
    ถ้ามีคนที่ต้องการล้มล้างพุทธ..และบังคับพระอริยะบุคคลให้ฆ่าตัวตาย
    ..ถ้าไม่ฆ่าตัวตาย..จะฆ่าคนทั้งหมู่บ้าน..ลองพิจารนาว่าพระอริยะบุคคลนั้น..จะฆ่าตัวตายหรือไม่..?
    ท่านทั้งหลายไปพิจารนากันเอาเองครับ..สาธุ
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กระทู้นี้คงจะทำให้เหล่าสหายกัลยาณมิตรทั้งหลายฯ เข้าใจมากขึ้น หรืออาจจะยังลังเลสงสัยก็ตาม ก็ขอให้เป็นกุศลผลบุญอันเป็นพลวปัจจัยที่เกื้อหนุนท่านทั้งหลายฯในภายภาคหน้าต่อไปครับ

    ขอขอบคุณที่ให้โอกาส วิสัชนาและพิจารณาร่วมกันสหายธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ แด่ทุกๆท่านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ด้วยอานาปานัสสติสมาธิกถาอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเกิดเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายปลงชีวิตกันและกัน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผล และเป็นเหตุเริ่มแรกแห่งการบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบทนี้แล้ว ตรัสสอบถามและทรงติเตียนแล้ว
    เพราะในการปลงชีวิตนั้น การปลงชีวิตตนเองและการใช้ให้มิคลัณฑิกสมณกุตก์ปลงชีวิตตน ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก
    ฉะนั้น จึงทรงเว้นการปลงชีวิต ๒ อย่างนั้นเสีย ทรงถือเอาการปลงชีวิตกันและกันอันเป็นวัตถุแห่งปาราชิกอย่างเดียว ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท ตรัสพระพุทธพจน์มีคำว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ดังนี้ เป็นต้น.๑-
    ก็ในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา ตรัสว่า เต ภิกฺขู เพราะภิกษุเหล่านั้นเจือด้วยพระอริยบุคคล.
    ____________________________
    ๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๑๗๙/หน้า ๑๓๔

    พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงกรณีพระอริยบุคคลฆ่าหรือบอกให้คนอื่นฆ่าตนไว้อยู่...

    วิเคราะห์...ตามพระอรรถกถาจารย์ หากพระอริยบุคคลฆ่าตนหรือบอกคนอื่นฆ่าตนจริงนั้น ย่อมไร้ซึ่งอกุศลจิตหรืออัตตาในจิต

    เหตุการเกิดขึ้นก่อนทรงบัญญัติ"ตติยปาราชิก" หลังจากทรงบัญญัติแล้ว. ทราบว่าไม่มีเหตุพระอริยบุคคลฆ่าตัวตายอีก

    ทราบว่าไม่มีเหตุพระอริยบุคคลฆ่าตัวตายอีก! ข้อนี้ใช้คำว่า "ไม่ทราบว่าจะมีพระอริยะบุคคลหรืออริยะบุคคลฆ่าตัวตายอีกหรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ พิจารณาอย่างนี้ ไว้ครับ สหโลกธาตุกว้างกว่าที่เราคิด สิ่งที่เราไม่ล่วงรู้เห็นมีอีกมากมายในแต่ละภพภูมิครับ ผู้ปิดทองหลังพระมีอยู่แน่นอน
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    และถ้าอ่านข้อนี้ ทำใจไว้เลยครับ เรื่องพลิกทันที เถียงกันตาย จนต้อง มีทางรอดทางเดียว คือต้อง นำ อุปัจเฉทกมรณะได้แก่ตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน ว่าด้วยต้องบุพกรรม เท่านั้นจึงรอด สับสนกันน่าดูเลยล่ะครับ


    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบกับตัวอริยสาวก เราย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบและพอใจแก่ชีวิตสัตว์นั้นๆ เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งไหนที่เราไม่ชอบและไม่พอใจ ไฉนเราจึงเอาไปผูกให้คนอื่นเล่า ถ้าอริยสาวกพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตเองด้วย ย่อมชักชวนให้ผู้อื่นงดเว้นด้วย ย่อมสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ อย่างนี้ (กายสมาจารคือ การประพฤติทางกาย มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม หรือเรียกว่า กายสุจริต ๓) จากพุทธพจน์บทนี้ แสดงให้เห็นว่า ทุกชีวิตควรมีเมตตากรุณาต่อกัน ไม่ควรเบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกัน ควรปฏิบัติตนต่อผู้อื่นเหมือนอย่างที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา เมื่อทุกคนมีความสำนึกอย่างนี้ สิกขาบทข้อนี้จะเป็นการสร้างหลักประกันชีวิตให้กับสังคม และถือว่าเป็นการป้องกันการทำลายชีวิตตั้งแต่ต้น
    ปาณาติบาต หมายถึง การทำให้ชีวิตตกล่วง การฆ่าสัตว์ การตัดรอนชีวิต (Destruction of Life) คําว่า “ปาณาติบาต” นั้น หมายถึง “การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป” ซึ่งนัยนี้ได้มีการขยายความเพิ่มเติมว่า “วธกเจตนา (จิตคิดที่จะฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสําคัญในสัตว์นั้นว่ามีชีวิต เป็นไปทางกายทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวาร ที่ตั้งแห่งความพยายามเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า “ปาณาติบาต” พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คําจํากัดความเพิ่มเติมว่า “หมายถึง บุคคลยังประโยคอันเข้าไปตัดเสียซึ่งชีวิตตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่า“ปาณาติบาต” (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ)
    การกระทําที่ถือได้ว่าผิดศีลข้อปาณาติบาตนั้น จะต้องเพียบพร้อมด้วยองค์ประกอบ สําคัญ ๕ ประการด้วยกัน กล่าวคือ
    (ก) สัตว์มีชีวิต (ปาโณ)
    (ข) รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญิตา)
    (ค) มีเจตนาจะฆ่า (วธกเจตนา)
    (ง) มีความพยายามที่จะฆ่า (วธกปโยโค)
    (จ) สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น (เตน มรณํ)
    อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบทั้ง ๕ เหล่านั้น ข้อที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ คือ วธกเจตนา การจงใจฆ่า เพราะการจงใจฆ่านั้น จิต (ใจ) จะตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการกระทำที่เป็นอกุศล คือ ประกอบด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ การกระทำชนิดนี้จะเป็นบาป เพราะเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม”

    คำว่ามนุษย์ในที่นี้ หมายเอาตั้งแต่แรกที่ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาเป็นต้นมาจนคลอดออกมาเป็นทารก ตลอดจนมีชีวิตไปถึงชั่วอายุ ภิกษุใดทำชีวิตเขาให้ตายไปในระหว่างใดก็ตาม เช่นในขณะที่เริ่มตั้งครรภ์ หรือเป็นทารก หรือขณะแก่เฒ่า หรือขณะป่วยหนัก เห็นเขาทรมานแล้วไม่ต้องการให้เขาทรมานจึงฆ่าเขาเสีย เช่นนี้ต้องปาราชิกเช่นกัน
    สิกขาบทนี้เป็นอาบัติประเภทสาหัตถิกะ คือทำเองก็ต้องอาบัติ และอาณัตติกะ สั่งให้คนอื่นทำตนเองก็ต้องอาบัติด้วย ในเรื่องการฆ่าให้ตายนี้มีหลายวิธีและสลับซับซ้อน ในวิธีการฆ่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ถ้าการตายของเขานั้นภิกษุมีส่วนรู้เห็นเป็นใจอยู่ด้วย ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกในขณะที่เขาสิ้นใจไป เช่น การฆ่าให้ตายโดยตรง การพรรณนาให้เขาฆ่าตัวตายเอง การทำให้ตกใจกลัวจนตาย การสั่งให้เขาไปฆ่าให้เขาตาย หากภิกษุพยายามจะฆ่ามนุษย์ให้ตายแต่ไม่ตาย เพียงบาดเจ็บสาหัส ภิกษุต้องถุลลัจจัย ในขณะที่เตรียมการ เช่น เตรียมอาวุธ เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ และภิกษุผู้พยายามจะฆ่าตัวเองตายก็ต้องทุกกฏเหมือนกัน (ส่วนภิกษุผู้ฆ่าสัตว์เดรัจฉานต้องปาจิตตีย์)


    https://th.wikisource.org/wiki/พระว...-_วิเคราะห์ปาราชิก_เป็นต้น_-_วิเคราะห์ปาราชิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เสียดาย ไฟ ๓ สิ่งคอยตามเผาผลาญอยู่ จึงทำให้ล่าช้า เมื่อคืนนี้ผมฝันดีที่สุดในชีวิตคือ เหล่าบุพการี ผู้มีคุณของผมได้ทำกาละแล้วสำเร็จธรรมเป็นพระอริยะบุคคล เป็นเรื่องที่ยากนักจะละทิ้งไปในกาล ต้องดูแลเอาใจใส่ให้ถึงที่สุดก่อน

    เป็นนิมิตที่ยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต หลังจากการทำสมาธิ



    นิมิตในอดีต

    เรื่องเล่า ในคืนวันที่ ๗/๔/๒๕๕๘
    เมื่อคืนนี้เราได้หลับอย่างเป็นสุขอย่างมีสติได้ นิมิตฝันว่า ได้ยกปราสาททองมีรากแผ่นฐานขนาดใหญ่ด้วยมือทั้งสองข้าง ลงบนแผ่นดินว่างเปล่า เพื่อให้ผู้คนที่ประปรายเข้ามาอยู่อาศัย มากหน้าหลายตา และช่วยกันยกผนังแก้วใส่แผ่นบังกระแสลมควันนั้น หลบพายุเมฆขาวมีควันพิษเหลืองสด ที่พัดโหมกระหน่ำ อย่างลุ้นระทึกและปลอดภัย มันช่างสุขจริงๆ แม้จะไม่ถึงเศษเสี้ยวของนิมิตฝันเมื่อครั้งก่อน ขอกล่าวโดยตรงว่า ชีวิตนี้อยู่มาถึงทุกวันนี้ไม่ได้จริงๆถ้าไม่มีความเมตตาจาก"พระธรรม"พระพุทธ"พระสงฆ์"
    เราไม่ได้หลับอย่างเป็นสุขมากว่าครึ่งปีแล้ว เพราะมีภาระปัญหาทำให้ต้องย่อหย่อนในการปฎิบัติธรรม และพิจารณาธรรม จากการนิมิตเข้าถึงวิมุติของพระพุทธสุภาษิต "อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"เมื่อคราวก่อน เราสามารถเกริ่นถึงเรื่องราวได้ แต่ไม่สามารถอธิบายรสให้ท่านเข้าถึงเข้าใจได้ เพราะพุทธภาษิตนี้ ไม่ใช่เพียง"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" อย่างที่เราเข้าใจกัน มันมีรายระเอียดลึกซึ้งเป็นระเบียบแบบแผนเป็นระบบอย่างมาก
    ข้าพเจ้าปราถนาอยากให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมและพ้นทุกข์


    มหานิมิตที่น่าสลดสังเวชใจที่สุด

    หากไม่ถึงที่สุดด้วยกาล บอกไปก็เท่านั้น!(ด้วยมหานิมิตแห่งเรา ในกาลนั้น ได้ปรากฎต้นไม้พฤกษชาติที่มีขนาดใหญ่โต หนึ่งต้น ขนาดมหึมาที่สุด สูงกว่าเหล่าบรรพตทั้งหลายในโลกธาตุนี้ นั่นคือเท่าที่จะประมาณได้ เราปรากฎในรูปของบรรพชิต นั่งขัดสมาธิอยู่ที่ ปลายลำต้นไม้นั้น ที่แยกแตกออกเป็นเสนาสนะแห่งเราโดยเฉพาะ ท้องฟ้านภาอากาศมีสีแดงเทาดำชวนให้เศร้าหมอง เราเหลือบมองดูผืนพสุธาที่ครุ่กกรุ่นด้วย ถ่านเพลิงมหาไฟประลัยกันต์เหล่านั้น ด้วยความปลงตกสังเวชใจ เราครุ่นคิดพิจารณาอยู่หนอว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดสภาวะขึ้นกับโลกธาตุนี้ เราไม่อาจจักเห็น น้ำ หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นใดเลย นอกจากเราเองและพฤกษชาตินั้น) ขออนุโมทนาบุญฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กรรมดำกรรมขาว ๔
                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

    ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้
    เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ดูกรปุณณะกรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ดูกรปุณณะ ก็กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน

    ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์ ผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ย่อมถูกต้อง เขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอันผัสสะประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียวดุจสัตว์นรก ฉะนั้น

    ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใด
    ไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว

    ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้
    เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่ากรรมดำมีวิบากดำ.

                 ดูกรปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลมโนสังขารอันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ย่อมถูกต้อง เขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียวดุจเทพชั้นสุภกิณหะ ฉะนั้น

    ดูกรปุณณะเพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้นผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าว สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมขาว มีวิบากขาว.

                 ดูกรปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขารอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขา ผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้างเขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่า และสัตว์วินิบาตบางเหล่า ฉะนั้น ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว

    ดูกรปุณณะแม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.



                 ดูกรปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน

    ดูกรปุณณะ บรรดากรรม ๓ ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละกรรมขาว มีวิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้
    เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

    ดูกรปุณณะกรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม
    .
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้.
    บุคคลที่อาศัยแต่เพียงปริยัติ แต่ไม่ปฎิบัติให้ถึงปฎิเวธแล้วจึงรวบรวมพิจารณาไตร่ตรองออกมาสอน มีแต่ทฤษฏีแต่ภาคปฎิบัติไม่มี เหมือนมีหอกดาบอาวุธที่เป็นเพียงภาพวาด รู้แค่ว่าใช้เหล็กตี หาเหล็กจากที่ไหน ถลุงที่ไหน รู้สมรภูมิรู้ข้าศึก ก็คิดว่าพอแล้วที่จะไปนำทำการรบ บุคคลเช่นนั้นก็นำไพร่พลไปตายเปล่า ไพร่พลที่ไม่เคยรบจริง ไม่เคยเห็นแม้เลือดและความเจ็บปวด ย่อมไม่มีวันจะได้พบกับชัยชนะในสงคราม ในสถานะธรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสแล้วว่า บุคคลเปล่าเหล่านั้นไม่ควรเป็นครูสอนธรรมแก่ผู้ใด
    การศึกษาปริยัติมี ๓ อย่างคือ
    ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หาง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อ ลาภ สักการะสรรเสริญ หรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเป็นโทษกับตนเอง เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้
    ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่ออบรมปัญญา เป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส เห็นภัยในวัฏฏสงสารปรารถนาจะออกไปจากวัฏฏทุกข์
    ๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ซึ่งหมดกิจในการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสแล้ว แต่มีฉันทะและเห็นประโยชน์ในการศึกษาเพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง
    นิธีนังวะ ปะวัตตารัง ยัง ปัสเส วัชชะทัสสะนัง, นิคคัยหะวาทิง เมธาวิง
    ตาทิสัง ปัณฑิตัง ภะเช, ตาทิสัง ภะชะมานัสสะ เสยโย โหติ นะ ปาปิโย,
    คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ, และกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
    ว่าผู้นั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ล่ะ, ควรคบหากับบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อ
    คบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่, ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียว ไม่มีเสื่อมเลย
    นะ เต อะหัง อานันทะ ตะถา ปะรักกะมิสสามิ, ยะถา กุมภะกาโร อามะเก
    อามะกะมัตเต,
    อานนท์ ! เราจะไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
    เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,
    นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ, ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
    วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,
    อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
    อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,
    ยัง ภิกขะเว สัตถารา กะระณียัง สาวะกานัง, หิเตสินา อะนุกัมปะเกนะ
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ กะตัง โว ตัง มะยา,
    ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดที่ศาสดาผู้เอ็นดู, แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
    จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย,
    เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ,
    ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,
    ฌายะถะ ภิกขะเว มา ปะมาทัตถะ,
    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท,
    มา ปัจฉา วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถุ,
    เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย,
    อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,
    นี้แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา,
    โย โข อานันทะ ภิกขุ วา ภิกขุนี วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา,
    อานนท์ ! ผู้ใดจะเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม
    เป็นอุบาสกหรือเป็นอุบาสิกาก็ตามที,
    ธัมมานุธัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี,
    ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่,
    โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะ ปูชายะ,
    ผู้นั้นแลชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้ความเคารพนับถือ
    และบูชาเราตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด,
    อิติ.........ด้วยประการฉะนี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
    พระพุทธเจ้าข้า?
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ
    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะ
    และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึง
    กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอ
    ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ
    ทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็น
    อนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง
    อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมาธิที่มี
    ทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สัมมัปปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อิทธิบาท
    ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อินทรีย์
    ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน พละ ๕
    นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน โพชฌงค์
    ๗ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อริยมรรค
    ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
    จบนิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค
    -----------------------------------------------------
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร ๓. วิตักกสูตร ๔. สุญญต-
    *สูตร ๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร ๗. อิทธิปาทสูตร
    ๘. อินทรียสูตร ๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌงคสูตร ๑๑. มรรคสูตร
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

    บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย
    ปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด

    บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้น
    เป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษเขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่งเขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไรเพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว แม้ฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่า บางพวกในธรรมวินัยนี้
    ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น
    ย่อมไม่ควรซึ่ง การเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา

    บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเปล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะ
    ธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว.



                  ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือสุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม

    และกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
    ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษ
    นั้นไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนด ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรม
    เหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

    ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล
    ท่านทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะ
    ยึดถือ ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกลพบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่
    แล ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี.


    ทีนี้แล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริ อย่างนี้ว่า แพนี้มี
    อุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เรายก แพนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา.


    ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้นบ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น? ในข้อนี้บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้ โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบกหรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้ว พึงหลีกไปตามความปรารถนา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม
    มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไป
    ไยถึงอธรรมเล่า.
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปลอมยังไง แท้ยังไง พิจารณา


    ผมเคย ได้รับข้อมูล
    จากที่วัดนาครับ แต่ตอนนี้ถอนออกมาแล้วครับ
    เพราะเหตุว่า มีหลายอย่างที่ผู้มีปัญญาอย่างผมเห็นแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อ คลายกำหนัด-เพื่อนิพพาน ครับ

    เป็นเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
    ทำให้มหาชนขาดสุข

    ตอนนี้ผมได้แต่ชี้โทษ เกลาลูกศิษย์ครับ
    ตามธรรมที่เข้าใจครับ


    เป็นอย่างนั้น ถ้าเขาไม่ถูกมาร ๕ ครอบ คงไม่เป็นอย่างนั้น
    ถ้าเขาเป็นโคตรภูสงฆ์เขาก็มีประโยชน์อันหวังได้
    แต่การหว่านแห่ลงอวนจับปลาตาถี่แบบนั้นปลาตัวๆเล็กๆที่ไม่มีสติปัญญาในการเอาตัวรอดแล้วหากิน จักเป็นอันตราย
    แต่ตอนนี้ไม่ใช่วาระของโคตรภูสงฆ์


    ผมก็เห็นอย่างนั้นครับ
    เคยหวังไว้ครับ


    กงจักรเป็นดอกบัวได้ฉันใด ผู้มีดวงตาไม่ใสกระจ่างย่อมมองเห็นด้วยอาการเช่นนั้นสหาย

    เท่าปัญาเห็น
    ก็เลย ไม่สนับสนุนการเผยแผ่ธรรมอันประเสริฐเช่นครับ
    ขอบคุณท่านมากครับ
    ที่ชี้แนะครับ
    ท่านจะแก้ทิฐิ ผู้คนเหล่านั้นอย่างไรได้บ้าง
    ด้วยความเมตตา เพื่อร่วมสังสารวัฎด้วยกัน
    (มิ๗ฉาทิฐิ)



    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อ...มบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.

    ด้วยปาฎิหาริย์ ๓ แม้แสดงเป็นที่สุดแล้ว เขาก็ยังไม่พอใจไม่รู้สึกชอบใจ ฉนั้นจึงควรแสวงหาผู้มีปัญญาที่จักสามารถรับรู้ธรรมนั้นนำไปปฎิบัติเถิด วิสัชนาอย่างนี้ สหาย


    ขออนุโมทนาครับ

    ผู้ใดสั่งสมบุญมาดีเขาย่อมได้เข้าสู่เส้นทางอันประเสริฐ
    ไม่ควรพิจารณาให้เป็นอื่น นอกจากการเห็นใจและเข้าใจ เหล่าพุทธบริษัทที่ปฎิบัติตามธรรมดีแล้วด้วยกันตามองค์คุณกัลยาณมิตร เมื่อมีฐานะธรรมอันสมบูรณ์บ้างแล้วก็ควรหาโอกาส ทำหน้าที่อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์สาธุชนทั้งหลายนั้นด้วย จึงจะเป็นการดี
    เลือกเฟ้นธรรม เลือกเฟ้นผู้จักมีสติปัญญาในการฟังปฎิบัติและพิจารณา


    สาธุครับ
    จะขอปุจฉาอีกสักอย่างครับ
    ผมคิดอยู่ในใจว่า วัดนาฯ
    เป็นแหล่งให้ข้อมูลให้ผมไดสนใจธรรมและทำให้ผมตั้งใจศึกษาและปฎิบัติ แต่ตอนนี้ผมหมดหวังกับที่นี้ ผมควรจะแสดงออกอย่างไร เพื่อเป็นไปตามธรรมเพื่อกุศลครับ และไม่ถูกกล่าวว่าเป็นผู้ไม่กตัญญูครับ
    ช่วยแจกแจงให้ได้ปัญญาด้วยเถิด


    ทุกอย่างล้วนมีเหตุมีปัจจัย ข้อนี้ถือวิสัชนา อย่างคติเดิมของท่าน อุปติสสะ และ ท่านโกลิตตะ ที่มีความปรารถนาแก่ สัญชัยเวลัฏฐบุตร หากกระทำเช่นนั้นไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง
    หากจักสามารถในการ ได้บรรลุธรรมเบื้องสูงในอนาคต ท่านก็สามารถปราบคติที่มีในสำนักนั้นได้ แต่นั่นเขาต้องมีกุศลเป็นปัจจัยด้วย เราจึงควรสำเร็จก่อนแล้วจึงสอนเขา
    ถือวิสัชนายิ่งขึ้นไปอีก ยกปฐมเทศนา อันประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ เป็นตัวอย่างดังนี้แลฯ
    ถ้ามีแต่ปริยัติ ก็จักมีแต่ปริยัติที่นำมาถกมาตีกัน ฉนั้นจึงควรปฎิบัติให้เห็นจริงสหาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีผู้สนใจเรื่อง พุทธทำนายในมหาสุบินจำนวนไม่น้อย ขอให้บุคคลผู้มีบุญและฉลาดในธรรมเหล่านั้น มีดวงตาเห็นธรรมเถิด

    เหลือเชื่อ! คำทำนายพระพุทธเจ้า กว่า 2500 ปี ได้เกิดขึ้นจริง ในประเทศไทยยุคปัจจุบันแล้ว

    จากทำนองเดิมเป็นสังคีตอันเป็นทิพย์ แม้จะนำความไพเราะของเครื่องดนตรีทุกชนิดในโลก มารวมกันเป็นเสียงเดียวก็มิอาจ เท่าเทียมเสียงสังคีตอันเป็นทิพย์ได้

    อัญเชิญพระปริตร วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ปี ๒๕๕๔

    โดยอดีตพระนวกะดีเด่น ในโครงการบวชพระ ๗๐ รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชการที่ ๙ ฝ่าย ภาคทหารภาคใต้


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
    ตำนาน อภยปริตร
    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย
    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่รู้ ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญฯ

    {O}อภยปริตร{O}

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

    [o]คำแปล[o]

    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น
    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยธรรมมานุภาพ ขอความเลวร้ายทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้น
    ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยสังฆานุภาพ ขอความเลวร้าย ทั้งปวงนั้นจงพินาศไปสิ้นฯ


    ท่านสาธุชนทั้งหลายฯ บุคลใดปรารถนาจะฟังพระบทสวดนี้ ด้วยท่วงทำนองอันแท้จริง ตามทำนองที่ เราได้จักสวดสาธยายไว้ ให้ท่านได้รับฟัง ๑ จบในไฟล์วีดีโอนี้เป็นธรรมทาน และเราขอฝากเตือนแก่ท่านทั้งหลายว่า" บทสวดนี้ ไม่ใช่การรจนา แต่งขึ้นใหม่ตามที่ ผู้ไม่มีปฎิสัมภิทาญาน เฉลยบอกข้อมูลนั้นไว้
    อภยปริตนี้เป็นพระสูตรเก่าดั้งเดิม ในพระไตรปิฎกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิม ผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้นจักพึงเห็นพึ่งฟัง นอบน้อมนำมาเป็นธรรมทานได้
    ผู้มีบุญ มีดวงตาเห็นธรรม ใคร่ครวญพิจารณาดีแล้ว ใคร่ปรารถนาจะฟังเพื่อจดจำไปพิจารณาสวดต่อเพื่อความเจริญในพระสัทธรรม เรายินดีในกาลนั้น
    ว่าที่พระ"ธรรมบุตร ธรรมราชา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

    เมตตาธรรม การไม่เบียดเบียนชีวิตสรรพสัตว์ มีอานิสงส์มาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2019
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ

    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย




    ทรงจำแนกสอน"แก่น"ธรรม" แตกต่างกันที่หัวข้อวัตรปฎิบัติ ระหว่าง พระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นทางสายกลาง และ นอกเหนือจากหลักธรรมที่ทรงแสดง ซึ่งเป็นที่น้อมนอมให้เหล่านักบวชนอกพระศาสนาพิจารณาเห็น"แก่น ธรรม" ที่พราหมณ์ไม่มีและถึงมีก็เป็นอย่างอื่นไม่เหมือนกัน ตามพระดำรัส

    ซึ่งเป็นพระธรรมคำสั่งสอนที่จำเป็นแก่เราและท่านบัณฑิตผู้เจริญทั้งหลาย ทั้งที่ต่างสถานะฯ และฐานะธรรมจะต้องทราบและต้องรู้อย่างยิ่ง

    นั่นก็เพื่อปรามตนเองและผู้อื่นที่หลงเข้าใจผิด ไม่รู้จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนานั้นด้วย

    "ตรัสแก่พระภิกษุ"

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ
    หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภ
    สักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่าง
    นั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้
    เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัด
    ยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)


    "ตรัสแก่พราหมณ์"

    ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้
    ไม่ใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
    พรหมจรรย์นี้ มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
    เป็นประโยชน์
    เป็นแก่น
    เป็นที่สุด


    ผู้หวังความเจริญในพระสัทธรรมทั้งหลายฯ ขอท่านจงมีดวงตาและจิตใจที่ใฝ่ธรรม อันจักเป็นประโยชน์แก่ตัวของท่านเองและบุคคลอันเป็นที่รักของท่าน ขอท่านจงมีความเพียรเถิด

    ( The Top Secret ).อย่าข้ามพื้นฐานถ้าคิดจะเรียนธรรม
    {O}เรามีหลักพื้นฐานเบื้องต้นดังนี้ คือการเห็นคุณค่าความสำคัญของพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง{O}
    จงพิจารณาให้ถึงที่สุดเถิด หากไม่มีพระธรรม ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณ ท่านจะอยู่ในลักษณะใดลัทธิความเชื่อใดในตอนนี้

    มีความปรารถนาต้องการอะไรจากพระพุทธศาสนา แรกเริ่มท่านต้องมีความสนใจ ชอบใจ และศรัทธาให้เหนือกว่าที่เคยศรัทธา ไม่ใช่งมงายแต่ให้ใช้สติพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนให้ถ้วนถี่ยิ่งๆขึ้นไป และจงรักเทิดทูนในพระธรรมคำสั่งสอนเป็นอย่างเคารพยิ่งเป็นที่สุด ต้องนอบน้อมต่อพระธรรมคัมภีร์ในพระสูตรอย่างจะมีได้ แน่นอนต้องเหนือกว่าการเทิดทูนบุคคลใดๆทั้งสิ้น เพราะนี่เป็นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้พ้นจากสถานะทั้งปวง

    ไม่ควรพิจารณาถึงธรรมที่ตนเองก็มิได้กระทำวัตรปฎิบัติให้ถึงโดยที่สภาวะของตนไม่เอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมนั้น เพราะจะถูกบีบคั้นจากสภาวะทั้งปวงรอบข้างเป็นอย่างมาก

    เพราะรู้แล้วไม่ปฎิบัติ ย่อมถือว่าไม่รู้ อุปมาเสมือนบุคคลขับยานพาหนะไปในท้องถนนที่คับคั่งด้วยยวดยาน เห็นสัญญานไฟแดงเตือนให้รถหยุด รู้แต่ยังดื้อดึงขับฝ่าย่อมมีเหตุอันตรายให้มาถึง

    อย่าถือดีว่ารู้มากมีความรู้สูงเพราะเข้าใจว่าตนเองนั้นเก่งได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพราะความสามารถตนแล้วเรียนผ่านแม้เพียงอักขระอักษรพยางค์เดียว อย่าเผยวาจาใจว่ารู้หมดจบผ่าน อย่าเห็นว่าพระธรรมเป็นของเข้าใจได้ง่ายๆ และได้มาอย่างง่ายๆในทุกภาษิต อย่าเผลอใจตนพลั้งกายวาจาใจ เพื่อโอ้อวดยกยอตนเองยินดีกับการสรรเสริญจากผู้อื่นอย่างลืมตน

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯท่านทรงสรรเสริญพระธรรม สรรเสริญการแสดงพระสัทธรรม ตำหนิไม่เห็นด้วยกับการแสดงอสัทธรรม การที่ท่านเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เพราะการสั่งสมบุญบารมีมาเป็นอย่างดีและได้อาศัยพระธรรมจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงทศพลญาน๑๐ เจริญพระวรกายด้วยมหาปุริลักษณะ คือลักษณะกายที่มีประสาทการรับรู้ที่ดีที่สุดกว่าผู้ใด เมื่อทุกข์จึงทุกข์กว่าผู้ใด เมื่อสุขจึงสุขกว่าผู้ใด จึงเป็นผู้ "เอก"ไม่มีสอง ต่อให้ผู้ใดก็ตามพระเจ้าใดก็ตามก็ไม่สามารถเนรมิตกายให้สมบูรณ์ครบถ้วนอย่างพระองค์ได้

    และหากไม่มีองค์คุณของพระธรรมคัมภีร์"ธรรมแม่บทดั้งเดิม"ปรากฎ ก็ย่อมไม่มีรูปแบบ หลักฐานที่ชัดแจ้งในการวางหลักปักฐานในพระพุทธศาสนา ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นเพียงมายาคติที่มนุษย์ มาร เทวดา พรหม ในสามแดนโลกธาตุอาศัยฤทธิ์มายาสร้างขึ้นทันที เพราะการกำเนิดพระธรรม เป็นเรื่องเหนือโลก เหนือความคิด เหนือจินตนาการของมนุษย์ เทพ มาร พรหม พระเจ้าใดทั้งปวง ตราบใดที่ไม่มีผู้เข้าถึงพระนิพพานจริงๆด้วยฐานะแล้ว ทั้ง๒ ฐานะ มาอธิบายพระนิพพาน ตราบนั้นก็จะไม่มีใครล่วงรู้ จึงทรงมุ่งสอนให้มีความเพียรพยายามให้เห็นเอง เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าผู้นั้นสามารถสำเร็จธรรมได้

    ผู้ไม่ถึงที่สุดในจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาย่อมไม่สามารถบอกหรือสอนได้ และแม้หากรู้หากถึงก็ตาม แต่ไม่มีปัญญาจะอธิบายพรรณนาถึงภาวะนั้นได้ ไม่อย่างนั้นพระอรหันต์ทุกรูปก็จะบันทึกลงความเห็นในการสำเร็จธรรมของตนไว้ทั้งหมดเป็นแน่ แต่เพราะได้ใคร่ครวญเห็นตามกันดีแล้ว ว่าไม่ใช่ฐานะที่จะพึงกระทำ จึงเน้นถ่ายทอดรูปแบบของการปฎิบัติธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้รู้ว่า การสำเร็จธรรมนั้นต้องเป็นไปตามสภาวะที่ตนสั่งสมตามกรรมตามกาลไว้ ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจในพระธรรมเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วสำเร็จธรรมตามเหมือนกันทั้งหมด เพราะจริตธรรมนำพาแตกต่างกันในอิริยาบทของกรรม

    ขอจงตั้งใจศึกษาพุทธประวัติ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ และพระสูตรต่างๆอย่างน้อมนำสติเป็นตัวอย่าง ตามสติปัญญาของตน ศึกษาแล้วปฎิบัติตาม ท่านสอนให้ละสิ่งนี้ ออกจากสิ่งนี้ก็ต้องรู้ตามและปฎิบัติทันที จึงจะเข้าฐานแห่งการรู้ตามได้ ส่วนใดที่ผิดแผกไปจากเดิม เราไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือแน่ใจว่าถูกต้องได้ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีปฎิสัมภิทาญาน เชี่ยวชาญในพระธรรมคำภีร์มาโปรดอีกที ว่าพิจารณาอย่างนี้ ทำอย่างนั้น ถึงจะถูกถึงลำดับฐานะกาลการตรัสรู้ธรรม อันเป็นสามัญผล

    อย่ามองข้าม ( "มงคลสูตร" )พิจารณาความให้ละเอียดอ่อนเท่าที่จะมากได้เป็นที่สุด เพราะได้ทรงบอกตอบคำถามไว้หมดแล้ว โดยทรงล่วงรู้ ทรงทราบล่วงหน้าโดยข่ายพระญานพระสัพพัญญูแล้ว หากไม่ตรัสตอบ "มงคลสูตร"นี้ ในสหโลกธาตุ มนุษย์ ยักษ์ นาค มาร เทพ เทวดา พรหม ฯจะลำบากในการครุ่นคิดตัดสินใจ ถึงต้องกราบทูลถามให้
    กระจ่างตามฐานะลำดับกาล บันทึกจารึกมั่นหมาย จวบจนพ้นสมัยมาจนถึงปัจจุบันนี้
    https://youtu.be/4VzhGhusKAo
    พิจารณาให้แยบคายให้กว้างขวางลึกซึ้ง
    ปฎิบัติให้อยู่ในสารคุณให้ได้ตาม ( "กรณียเมตสูตร" )
    และยังอีกมากมายในสารคุณนั้นๆ

    ขอจงตั้งใจเถิด พระธรรมนั้นมีมาก ไม่อาจจะทรงจำศึกษาและปฎิบัติตามได้ในทุกพระสูตร เพราะความเฉพาะกาลและบุคคลนั้นแตกต่างกัน อันองค์คุณของ"มรรค ๘ " ทรงตรัสไว้ดีแล้ว จงพิจารณาให้เห็นจริงตามสติปัญญาฐานะกาลในตนนั้นเถิด ไม่มีคำว่าช้าหรือสายสำหรับผู้ปฎิบัติดีแล้วยังสามัญผล ปฎิบัติแล้วต้องได้อย่างแน่นอน
    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ


    เราเป็นเพียงสหายกัลยาณมิตรของท่าน เป็นสหชาติของท่านเพียงเท่านั้น ด้วยรักและปรารถนาดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดูกรสารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของ
    มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดม
    ไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย
    การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสียไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก.

    ดูก่อนสารีบุตรเปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก.



    ธรรมจักร
    นั้นแบ่งเป็น ๒ อย่าง.ก็ธรรมจักรนั้น
    มี ๒ อย่างคือปฏิเวธญาณ ๑ เทสนาญาณ ๑. ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักร
    ที่ปัญญาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผลแก่ตนชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรที่
    กรุณาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผล แก่สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า เทสนาญาณ.
    ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นแล้ว. ก็
    ปฏิเวธญาณนั้น ตั้งแต่การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า
    เกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อนึ่งปฏิเวธญาณ
    ตั้งแต่ชั้นดุสิต จนถึงพระอรหัตมรรคในมหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่.
    ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. ปฏิเวธญาณตั้งแต่พระเจ้าทีปังกรจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. ฝ่ายเทสนาญาณก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นไปอยู่ เป็นไปแล้ว.

    จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ตั้งแต่พระอัญญาโกญฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติมรรค
    ชื่อว่า เป็นไปอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า เป็นไปแล้ว. ในญาณทั้ง ๒ อย่าง
    นั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณ เป็นโลกิยะ. ก็ญาณแม้ทั้งสอง
    นั้น ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น เป็นญาณของโอรสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อย่างเดียว.



    อย่าพึ่งแต่ปริยัติ ถ้าไม่มีปฎิบัติและได้ซึ่งปฎิเวธ หากเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิดแม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย การแสดงธรรมย่อมเลอะเลือนฟั่นเฟือน และจักถึงความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม

    สัทธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษ ใช้ หมายถึงพระพุทธพจน์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกโดยเคารพว่า พระสัทธรรม
    สัทธรรม แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ

    ๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงหลักสำหรับศึกษาเล่าเรียน ทรงจำ แนะนำสั่งสอนกัน ได้แก่ พระสูตร คาถา ชาดก เป็นต้น

    ๒. ปฏิปัตติสัทธรรม คือ คำสอนที่แสดงถึงหลักปฏิบัติตามที่ศึกษามา แสดงวิธีปฏิบัติสูงขึ้นไปตามลำดับ คือระดับศีล ระดับสมาธิ ระดับปัญญา

    ๓. ปฏิเวธสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ซึ่งเรียกว่า โลกุตรธรรม


    เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิดแม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย

    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ ไม่มีที่พึ่งอาศัย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น แม้ชนผู้เกิดมาภายหลังนั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นเพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอัน
    เรียนกันมาดี ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดีไปด้วย


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ



    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่งอาศัย


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือนเพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมากไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้นแม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อนทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม


    ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือนเพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ



    เราขอถามไว้ใครในโลกนี้ที่มีความสามารถและมั่นใจตนเองว่า ได้เล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาถูกลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ถูกแม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ถูก และมีนัยถูกไปทั้งหมดด้วย เราจะกราบเท้าผู้นั้นขอนอบน้อมยอมตัวเป็นศิษย์เฝ้าอุปัฎฐากแต่โดยดี

    ถ้าไม่มีก็อย่ามั่นใจ ว่าสิ่งที่ตนมีตนได้ตนคิดพิจารณาแล้วว่าเป็นเลิศที่สุด แม้เราผู้ ปุจฉา-วิสัชนา ปัญหานี้ขึ้น ก็ยังจนปัญญา แล้วท่านเป็นใคร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    บันทึกไหนเนี่ยสหาย ถ้ามีก็ให้รู้ให้เห็นด้วยสิสหาย ว่าจะถามมานาน บรรดาความรู้ที่เรามีล้วนเป็นข่ายของนิรุตติญานทัสสนะ อันสืบมาจากการต้องวิมุตติธรรมใน พุทธภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ

    ทั้งชีวิตและสติปัญญาที่มีมาได้อย่างนี้ เป็นเพราะ พระสัทธรรมราชา ทิพย์วิเศษ บริสุทธิธรรม มาโปรดถือเป็นเอกอเนกอนันตกาล จึงสามารถหลอมรวมสิ่งที่เป็นปัตจัตตัง นี้ขึ้นในรูปแบบที่จะพึงมีสติปัญญาสามารถจะแสดงได้ในกาล เรารู้เห็นแต่ไม่อาจแสดงได้ทั้งหมด เพราะจนด้วยสภาวะในฐานะธรรมในปัจจุบัน อันไม่เอื้ออำนวยในกาล เพศฆราวาสอย่างเรายังเจือด้วยกิเลสตัณหาอันประหารไม่สิ้นอยู่ แต่รู้ตัวว่าสามารถทำให้สิ้นได้ในกาลอนาคต

    ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔ นั้น


    และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.


    เทสนาประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต



    จะไปไหน 00000 เรามิใช่ผู้บ้าน้ำลายและมิใช่บุรุษเปล่า ท่านไม่พอใจสิ่งใดในเราหรือ? จึงไม่ไขว่คว้าสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญนี้ไว้เพื่อมรรคผลของตน เรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึงปล่อยให้เป็นไปตามกาลก่อนเถิด


    มีข้อหนึ่ง ในปฎิสัมภิทาญาน การที่จักสามารถค้นหาเหตุการณ์รวมรวมวิเคราะห์เหตุเกิดอันเป็นที่มาแห่งญานกถาในพระธรรมบทต่างๆได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...