เรื่องเด่น สานสัมพันธ์..สงฆ์สองแผ่นดิน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b89ee0b8b1e0b899e0b898e0b98c-e0b8aae0b887e0b886e0b98ce0b8aae0b8ade0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899.jpg
    ผู้เขียนเดินทางมายังประเทศเมียนมา รัฐมอญ เมืองเมาละแหม่งตั้งแต่เมื่อวานนี้ เพื่อทำภารกิจ 2 ประการด้วยกัน ภารกิจแรกในฐานะเลขาธิการสมาคมการค้าไทย -เมียนมา นักธุรกิจรัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยงเชิญมาให้มาร่วมประชุม เพื่อปรึกษาหารือจับคู่ธุรกิจระหว่างนักนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจมอญ พม่าและกะเหรี่ยง รวมทั้งเพื่อปรึกษาหารือร่วมมือกันในการที่จะเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ด้านธุรกิจด้วยกัน

    89ee0b8b1e0b899e0b898e0b98c-e0b8aae0b887e0b886e0b98ce0b8aae0b8ade0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899-1.jpg
    ส่วนอีกภารกิจหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนในฐานะคนไทยเชื้อสายมอญ ทำมานานหลายปี นั่นคือ พยายามก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ด้านการศึกษาระหว่างคณะไทยและคณะสงฆ์มอญหรือคณะสงฆ์รามัญนิกายผ่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ปัจจุบันคณะสงฆ์รามัญนิกาย ประเทศเมียนมา มีอยู่ประมาณ 10,000 รูป เมื่อ 8 ปีที่แล้วมีพระนักเทศน์รูปหนึ่งชื่อว่า ตะละกุ้นแหมะ หรือพระศีลาจาระ เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังของรามัญ ได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นมาแห่งหนึ่งบนเนื้องที่ประมาณ 20 ไร่ ณ เมืองเมาะละแหม่ง จุดประสงค์ของท่านเพื่อให้คณะสงฆ์รามัญได้มีโอกาศทางการศึกษาเหมือนกับคณะสงฆ์ไทย ท่านพยายามอยู่หลายปีในการก่อสร้างโดยอาศัยเงินที่ท่านได้จากการเทศน์นั่นแหละมาเป็นทุนในการซื้อที่ดินและสร้างอาคารเรียน อาคารปฎิบัติธรรม และหอพัก

    ผู้เขียนสัมผัสกับคณะสงฆ์รามัญอยู่บ่อยครั้ง จุดอ่อนของคณะสงฆ์รามัญนิกายคือ ไม่รู้ศาสตร์ทางโลกสมัยใหม่ ไม่รู้หลักการบริหารจัดการองค์กร ทั้งไม่มีองค์ความรู้ในการเชื่อมโยงหรือสานสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก แต่มีจุดแข็งคือ รวมตัวกันเหนียวแน่นและรักในการที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของตัวเอง รวมทั้งมีองค์ความรู้ในพระธรรมวินัย มีการสอบบาลีประจำปีด้วยอักษรรามัญ ซึ่งเป็นคณะสงฆ์นิกายเดียวเท่านั้นที่รัฐบาลพม่าอนุญาตให้สอบได้ด้วยภาษาของตัวเองและวัดผลสอบด้วยคณะสงฆ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเอง

    ประมาณ 5 ปีมาแล้วที่ผู้เขียนมีความพยามยามที่จะให้คณะสงฆ์รามัญนิกายเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยผ่านการนิมนต์พระนิสิตชาวรามัญหรือมอญมาเรียน ณ ที่สถาบันแห่งนี้บ้าง เชิญให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสงฆ์มอญมาอบรม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบ้าง และทุกปีได้รับเกียรติจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในฐานะ ผู้จัดกิจกรรมงานวิสาขบูชาโลก นิมนต์ทั้งผู้บริการคณะสงฆ์รามัญนิกายและคหบดีชาวรามัญ มาร่วมประชุม อันนี้คือ ความพยามยามที่ผู้เขียนทำมาหลายปี

    89ee0b8b1e0b899e0b898e0b98c-e0b8aae0b887e0b886e0b98ce0b8aae0b8ade0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899-2.jpg
    ปีนี้ถือว่าเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์เนื่องจากในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายนนี้ จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมหรือ MOU ระหว่าง วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ แห่งคณะสงฆ์รามัญนิกาย ณ เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศเมียนมา

    เท่าที่คุยกับ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะในการไปเซ็น MOU ในคราวนี้ ท่านให้ความมั่นใจว่า จะช่วยเต็มที่ จะไม่ทำให้ผู้เขียนผิดหวัง

    คณะสงฆ์รามัญมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนกระทั้งกลางยุครัตนโกสินทร์ หลังจากประเทศไทยกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น ความสัมพันธ์ก็ยิ่งแนบแน่นยิ่งขึ้น แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลง มีการแบ่งเขตดินแดน การไปมาหาสู่ลำบากมากยิ่งขึ้น ผนวกกับในพม่าเองก็มีปัญหาการเมืองในภายใน ทำให้การเชื่อมโยงขาดความต่อเนื่อง

    หวังว่าหลังจากนี้คณะสงฆ์ไทยโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับคณะสงฆ์รามัญนิกายคงจะมีการติดต่อและช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้

    89ee0b8b1e0b899e0b898e0b98c-e0b8aae0b887e0b886e0b98ce0b8aae0b8ade0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899-3.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/605222
     

แชร์หน้านี้

Loading...