สังฆทานที่ถูกต้อง

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 12 สิงหาคม 2007.

  1. Laywoman

    Laywoman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +201
    อนุโมทนา สาธุ...[​IMG]
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    คุณศึกษาธรรม2551 ครับ

    ผมมิได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียดนะครับ

    ผมอาศัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้ทำหนังสือให้ลูกหลานได้อ่าน

    และผมก็อ่านเจอในหนังสือของ อ.ศิริพงษ์ ซึ่งท่านศึกษาพระไตรปิฎกมาอย่างดี

    อาศัยบารมีของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ฯ ท่านได้บอกเอาไว้เอาไว้ในหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม1"

    ผมก็เชื่อสนิทใจแล้วครับ

    คุณศึกษาธรรม ฯ
    คิดว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านกล่าวผิดหรือไม่แหละครับ ?

    ผมไม่คิดว่าคุณจะศึกษาพระไตรปิฎกได้ดีกว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ฯ นะครับ


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff colSpan=2 height=65>
    อานิสงส์ถวายสังฆทานและวิหารทาน [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=61 bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top width=435 bgColor=#ffffff>ถ้าเราตั้งจิตจะถวายสังฆทาน แต่ว่าไม่ได้บอกเล่าคะ ?
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ถ้าตั้งจิตแต่ไม่ได้บอกก็ไม่ได้ยิน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพระนั่งฉันอยู่ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปหนูเอาของไปถวายเอาน้ำไปถวายถ้วยเดียว ก็เป็นสังฆทานทันที ไม่ต้องบอก ถ้ามีพระตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปนะ ถ้าองค์เดียวต้องบอก แล้วเขาจะเก็บไว้เป็นสังฆทานเลย จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นคนรับก็ไปนรกซิ ผู้ให้ไปสวรรค์เพราะว่าถวายทานเป็นส่วนบุคคลกับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า แล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจากสมาบัติ นี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไร การถวายสังฆทานนี้มีอานิสงส์มาก ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทาน เราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวลการบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมากอานิสงส์มันก็น้อย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทาน คำว่าสังฆทานก็หมายความว่า ถวายสงฆ์ในหมู่ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่าคณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็นคณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>การที่เราทำบุญใส่บาตร ตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ.....?</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ถ้าฉันตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ องค์ ถึง ๓ องค์ อย่างนี้เป็น"ปาฏิปุคคลิกทาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>มีอานิสงส์มากไหมคะ......?</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>"มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ถ้าวัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับ คนไม่มีศีล จนถึง พระอรหันต์ มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่า
    ให้ทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
    และถ้า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
    คือสร้างวิหาร มีการก่อสร้างเช่นสร้างส้วม ศาลา การเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
    การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวายเกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจน เข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้ว จะไม่เกิดในที่นั้นผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่า แม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน
    คำว่าไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด คำว่าอานิสงส์ ยังไม่หมดก็เพราะว่าถ้าบุคคลใดบูชาบุคคลผู้ควรบูชา นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
    ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระ มีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่งคือ หมายความว่าถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ ประการ อย่างนี้เราถวายกี่หมื่นกี่แสน อานิสงส์มันก็ไม่มาก ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็นพระอริยเจ้า ก็เข้าถึงผลสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้มีผลมาก"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม1

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดูก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที
     
  4. ศึกษาธรรม2551

    ศึกษาธรรม2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +234
    สรุปข้อมูลการทำสังฆทาน

    เห็นคุณเฮียปออ้างข้อมูลทางหลวงพ่อ และผมก็คิดว่าหลวงพ่อท่านก็คงคิดไม่ผิด ข้อมูลของคุณเฮียปอก็ถูก แต่ผมบอกว่าถูกไม่หมด ซึ่งคุณกับผมก็ถูกทั้งคู่นั่นแหละ
    ผมขอถามว่า
    1.คุณคิดว่าพระไตรปิฏก ถูกต้องหรือไม่? ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ฉบับมหามงกุฏ91เล่ม
    2.หากคุณคิดว่าถูก คุณคิดว่าพระไตรปิฏก เป็นการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่
    3.หากใช่ ..แล้วคุณคิดว่าสาวก หรือปุถุชนทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะศึกษาคลาดเคลื่อนหรือไม่ หากเคยได้อ่านจะเห็นว่าไม่ง่ายเลยที่จะอ่านพระไตรปิฏกแล้วรู้เรื่อง
    โดยง่าย ต้องอ่านแล้วพิจารณาไปด้วย
    4.หากพระไตรปิฏกนี้ถูกต้อง และเป็นพระธรรมซึ่งแทนพระองค์ เป็นวจนะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมตลอด45พรรษาแล้วไซร้ ....คุณจะเลือกเชื่อใคร
    ผมไม่ได้ลบหลู่ดูหมิ่นใคร...แต่อยากให้คิดไตร่ตรองพิจารณาดูครับ
    พระธรรมคำสั่งสอนจะได้ไม่คลาดเคลื่อนครับ โดยใช้หลักการของกาลามสูตร
    เรื่องการไม่เชื่อใน10อย่างครับ
    5.ข้อมูลจากแหล่งที่มาใด ในพระไตรปิฏกหรือไม่? ยืนยัยได้?
    6.เท่าที่ผมศึกษามาแม้พระอรหันต์ที่ความรู้น้อย ที่ผิดก็มีนะครับ ท่านตัดกิเลสเฉพาะตนได้จริงๆ แต่เรื่องรายละเอียดบางอย่างที่ผิดก็มี เค้าเรียกว่า พระอรหันต์มีความรู้น้อยทำให้คนบาปได้มาก
    แต่ขอย้ำว่าท่านกับผมก็ถูกทั้งคู่นั่นแหละ ผมไม่ขอเถียง แต่!
    ขอแสดงข้อมูลที่ผมรู้มา...ควรมิควรก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณา

    ขอยกข้อมูลที่ผมไปค้นหามาประกอบความคิดเห็นที่ผมได้ศึกษามาจาก2web
    และจากพระไตปิฏก ซึ่ง2ที่นี้ก็ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังและมายาวนานครับ
    ข้อมูลอาจจะยาว แต่อยากให้ข้อมูลที่ถูกและมีแหล่งที่มาครับ
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4899<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มีผู้โพสต์ท่านหนึ่ง ถามว่า<o:p></o:p>
    ที่เห็นอยู่มี 2 แนวความคิดซึ่งก็เป็นที่มาจากพระไตรปิฏกทั้ง 2 แนวนี้ครับ คือ


    แนวที่ 1 สังฆทานต้องถวายแด่พระ 4 รูปและต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น ไม่ใช่

    อาหารแห้งหรือที่เราเคยถวายเป็นถังๆ และการถวายต้องเป็นพิธีมีการกล่าวถวายและมีการ

    กล่าวอปโลกน์ของพระเพื่อสละอาหารนั้นๆ หลังจากได้รับการถวายหรือตักแล้วเพื่อให้ญาติ

    โยมได้กินกัน หากไม่มีการอปโลกน์ฆราวาสไปกินไม่ได้ หากกินถือว่ากินของสงฆ์ผลคือจะ

    ไปเป็นเปรต


    แนวที่ 2 ก็คือตามแบบที่บอกว่าถวายด้วยจิตใจที่นอบน้อมที่คิดว่าถวายแด่สงฆ์ไม่ใช่บุคคล

    ครับ

    1. เลยสงสัยว่าอย่างไหนถูกผิดกันแน่อยากทำแบบที่ถูกต้องครับ

    2. หากแบบ 2 ถูก อย่างงี้ถ้าตอนเช้าใส่บาตรคิดว่าถวายแด่สงฆ์หรือถวายที่ไม่ใช่บุคคลอย่าง

    งี้เป็นสังฆทานหรือเปล่าครับ เพราะสังฆทานได้ผลมากครับ(เท่าที่รู้มาผล10,000ล้านเท่าเป็น

    อย่างน้อยหรือนับไม่ได้ครับ) ผมเคยอ่านในพระไตรปิฏกตอนหนึ่งอยากแสดงให้ช่วยกันคิด

    ครับ<o:p></o:p>

    นางภัทราใส่บาตรหน้าบ้านตลอดชีวิตไปบังเกิดเป็นบาทบริจาคของพระอินทร์

    ซึ่งผมก็คิดว่าคงจะไม่ใช่ใส่บาตรเจาะจงผู้ใดนะครับ ส่วนน้องสาวนางสุภัทรา

    ไม่เคยทำบุญเลยจนวันหนึ่งเริ่มแก่ลงเลยอยากทำบุญแต่โชคดีที่ได้ใส่บาตร

    แบบสังฆทานโดยมีพระรูปหนึ่งในตอนเช้ามารับบาตรและเป็นพระอรหันต์เป็น

    ผู้แนะนำเพื่อให้ได้บุญมากแก่หญิงคนนี้โดยให้นิมนตร์พระมารับอาหาร 8 รูป

    ที่บ้านเป็นเวลา 7 วันซึ่งนางสุภัทราตายไปไปบังเกิดเป็นเทพนารีผู้ยิ่งใหญ่มี

    วิมานอยู่ชั้นนิมมานนรดี ตรงนี้พระโมคคัลลานะเป็นผู้เล่าครับ และไม่รู้ว่าใคร

    เคยอ่านตอนนี้บ้างครับ<o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ควรทราบการจำแนกทานในพระศาสนานี้ประเภทใหญ่ๆ มี ๒ ประเภท คือ

    การให้เจาะจงบุคคล (ปาฏิปุคคลิกทาน) ๑ การให้ไม่เจาะจงบุคคล ให้แก่คณะสงฆ์ (สังฆทาน)

    ประเภทที่หนึ่งเลือกบุคคลผู้รับทาน ไม่ใช่สังฆทาน ประเภทที่สอง ไม่เลือกหรือเจาะจงผู้รับ

    ให้ทั้งคณะ แม้ว่าจะมีตัวแทนของคณะมาเพียงรูปเดียว ก็เป็นสังฆทาน และองค์ประกอบอื่นๆ

    ด้วย อนึ่งผลของกุศลกรรมที่กระทำในชาตินี้ ย่อมมีได้ คือการรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น <o:p></o:p>

    กาย ซึ่งมีการเสวยผลกันอยู่ทุกวัน แต่เราไม่รู้ว่าเป็นผลของกรรมใด ชาติไหน ไม่ควรกล่าวว่า<o:p></o:p>
    ไม่เห็นผลและไม่ควรเพ่งแต่เรื่องทรัพย์สินเท่านั้น เพราะกุศลวิบาก ไม่ใช่รูปธรรม

    ขอเชิญอ่านทาน ๒ ประเภทจากพระไตรปิฎก ดังนี้ <o:p></o:p>
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

    [๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ

    ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

    ที่ ๑. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.

    ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

    ที่ ๓. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุค-

    คลิกประการที่ ๔. ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

    ที่ ๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-

    ปุคคลิกประการที่ ๖. ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก

    ประการที่ ๗. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็น

    ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘. ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-

    ปุคคลิกประการที่ ๙. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้

    เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจาก

    ความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑. ให้ทานใน

    ปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒. ให้ทานในปุถุชน

    ผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน

    นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.

    [๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์

    เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล

    ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.

    ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้

    แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล

    ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน

    ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ

    เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล

    ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน

    ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

    [๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้

    ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

    ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น

    ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น

    ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่

    ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว

    ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน

    เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

    ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่

    ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์

    ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน

    เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.<o:p></o:p>

    ###บุญอยู่ที่จิตนะ ไม่ใช่พิธีการ สังฆทานก็อยู่ที่จิตเช่นกัน จะเป็นสังฆทานหรือไม่ ถ้าจิต<o:p></o:p>
    ไม่นอบน้อมดังเช่น พระอริยสงฆ์แล้วก็ไม่เป็นสังฆทาน แต่ที่สำคัญนะ การมี<o:p></o:p>
    จิตนอบน้อมถวายแด่สงฆ์ อาจจะคิดว่าง่าย ไม่ใช่อย่างนั้นครับ ยากมากเพราะต้องเป็น<o:p></o:p>
    ปัญญาที่รู้พระคุณของพระสงฆ์และอริยสงฆ์ว่าคืออะไร ไม่ใช่นอบน้อมเฉยๆ ดังนั้น<o:p></o:p>
    สังฆทานจึงไม่ใช่ง่ายที่จะเป็นสังฆทานแต่ไม่ว่าจะถวายกับภิกษุรูปใดแต่จิตมุ่งตรง<o:p></o:p>
    นอบน้อมถวายแด่สงฆ์แล้วก็เป็นสังฆทาน <o:p></o:p>
    ลองอ่านข้อความในพระไตรปิฎกครับ<o:p></o:p>
    เรื่อง จิตนอบน้อม ยำเกรงถวายแด่สงฆ์ทำได้ยาก ถ้าจิตนอบน้อมยำเกรงแด่สงฆ์จึง

    เป็นสังฆทานโดยไม่สำคัญว่าเป็นภิกษุรูปใด

    แต่ถ้าดีใจหรือเสียใจที่ได้ภิกษุรูปใด นั่นไม่ใช่สังฆทาน

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407<o:p></o:p>
    ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา ทักขิณาวิภังคสูตร<o:p></o:p>
    แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-<o:p></o:p>
    เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่<o:p></o:p>
    ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ<o:p></o:p>
    เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ <o:p></o:p>
    แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า<o:p></o:p>
    เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง<o:p></o:p>
    ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง<o:p></o:p>
    ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น<o:p></o:p>
    ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ<o:p></o:p>
    แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป- <o:p></o:p>
    สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก <o:p></o:p>
    สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.<o:p></o:p>
    ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3591
    ###สังฆทานไม่ใช่เรื่องง่าย เวลาที่ภิกษุจัดสงฆ์มาให้ ถ้าเราได้พระภิกษุที่เป็นผู้ทรงคุณธรรมมี

    ความรู้ เราดีใจ ฟูใจ ก็ไม่เป็นสังฆทาน ได้สามเณรแล้วเกิดความหดหู่ไม่ดีใจ ไม่มี

    ความยำเกรง ก็ไม่เป็นสังฆทาน อยากได้อานิสงส์ของสังฆทาน ก็ไม่เป็นสังฆทาน <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=1&id=3141
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 104.74%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="104%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #d4d0c8; WIDTH: 435pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top width=580><TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #d4d0c8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent">
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 435pt; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 6.0pt 6.0pt 6.0pt 6.0pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=580 border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #d4d0c8; PADDING-RIGHT: 6pt; BORDER-TOP: #d4d0c8; PADDING-LEFT: 6pt; PADDING-BOTTOM: 6pt; BORDER-LEFT: #d4d0c8; PADDING-TOP: 6pt; BORDER-BOTTOM: #d4d0c8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top>###คำว่า สงฆ์ ในพระไตรปิฎกมีหลายความหมาย ในบางแห่งหมายถึง พระอริยสงฆ์

    หรือปรมัตถสงฆ์ ในบางแห่งหมายถึงสมมุติสงฆ์ โดยศัพท์ คำว่า สงฆ์ หมายถึงหมู่

    สังฆทานหมายถึง ทานที่ถวายมุ่งตรงต่อสงฆ์ มีความเคารพในพระสงฆ์ ส่วนจำนวน

    ของพระภิกษุที่มารับทานจำนวนกี่รูปก็ได้ คือ ตามกำลังทรัพย์ของผู้เป็นทายก
    <o:p></o:p>
    ###สังฆทาน หมายถึง จิตที่มุ่งตรงต่อพระอริยสงฆ์ ไม่เจาะจงภิกษุบุคคล ไม่ว่าพระภิกษุ

    รูปนั้นจะเป็นพระเถระ หรือเป็นสามเณร หรือเป็นภิกษุที่ทุศีล เราก็ไม่หวั่นไหว ให้ด้วย

    ความนอบน้อมเคารพในสงฆ์<o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    ###สังฆทาน คือ การถวายเป็นของส่วนกลาง จะถวายแก่ภิกษุ หรือสามเณรก็ได้ ก็เป็น

    สังฆทาน แต่มีข้อแม้ว่า ผู้ที่มารับนั้น จะกี่รูปก็ตาม ต้องเป็นตัวแทนของสงฆ์ที่เรานิมนต์มา

    รับ การตักบาตรตอนเช้า ไม่เป็นสังฆทาน ถึงแม้ผู้ที่ใส่บาตรจะน้อมจิตไปในสงฆ์ก็ตาม เพราะ

    พระที่มารับไม่ใช่ตัวแทนสงฆ์ และท่านก็ไม่รู้เรื่องด้วยว่าเราถวายสังฆทาน ถ้าจะให้เป็น

    สังฆทานตอนใส่บาตร ก็ต้องบอกพระท่านว่า นิมนต์ท่านเป็นตัวแทนสงฆ์รับบิณฑบาต ถึงจะ

    เป็นสังฆทาน ไม่เช่นนั้นก็คงเป็นปาฏิบุคคลิกทาน จำไว้ว่า สังฆทาน คือการถวายเป็นของส่วน

    กลาง คณะสงฆ์ต้องรับรู้ด้วย
    <o:p></o:p>

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

    แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-

    เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่

    ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ

    เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์

    แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า

    เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง

    ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง

    ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น

    ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ

    แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-

    สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก

    สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.

    ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. <o:p></o:p>

    การถวายสังฆทาน<o:p></o:p>
    http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=1&id=2334<o:p></o:p>
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ 394

    [๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้

    ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

    ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น

    ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น

    ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่

    ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว

    ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน

    เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

    ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่

    ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์

    ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน

    เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.<o:p></o:p>

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407<o:p></o:p>
    ข้อความในอรรถกถาบางตอน หน้า ๔๐๗<o:p></o:p>
    แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-

    เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่

    ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ

    เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์

    แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า

    เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง

    ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง

    ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น

    ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ

    แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-

    สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก

    สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.

    ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    และข้อแสดงจาก วัดสามแยก โดยหลวงพ่อเกษม<o:p></o:p>
    พระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม จากเล่มที่ 36 หน้า 739 บรรทัด 1
    สุตตันตปิฎก
    ๕. ทารุกัมมิกสูตร

    [๓๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้นาทิกคาม ครั้งนั้น คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ (พ่อค้าฟืน) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรคฤหบดี ทานในสกุล ท่านยังให้อยู่หรือ
    คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังให้อยู่ และทานนั้นแล ข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ฯ

    พ. ดูกรคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร บริโภคจันทน์แคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตมรรค
    ดูกรคฤหบดี ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดี จีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน ไม่มี สัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น
    มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
    ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น
    มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้ รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น

    ดูกรคฤหบดี เชิญท่านให้สังฆทานเถิด
    เมื่อท่านให้สังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส ท่านนั้นเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ ทูลสนองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้จักให้สังฆทานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ


    --------------------------------------------------------------------------------
    จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม จากเล่มที่ 23 หน้า 395 บรรทัด 1
    สุตตันตปิฎก
    ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

    [๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท
    สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน กรอด้าย ทอเอง
    ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย
    ความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ

    [๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจ อุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้า ใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด
    แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะพระนาง
    แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูกรโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ ฯ

    [๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับ ผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรสแด่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน
    แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่ม น้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีฯ

    [๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์ จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็น ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัยได้
    เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ มุ่งหมายได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
    เราไม่กล่าวการที่ บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯ

    [๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
    ให้ ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
    ให้ทาน ในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒
    ให้ทานในสาวก ของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
    ให้ทาน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
    ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕
    ให้ทานในท่าน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
    ให้ทาน แก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗
    ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
    ให้ทาน ในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
    ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
    ให้ทาน ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๑๑
    ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
    ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
    ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔

    [๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
    ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา ได้พันเท่า
    ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
    ให้ทานในบุคคล ภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
    ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้ จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ

    [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
    ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๑
    ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒
    ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๓
    ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
    เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕
    เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖
    เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ

    [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู
    มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก
    คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
    ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกล่าวทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ

    [๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง
    ๔ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
    บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
    บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่ บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
    บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

    [๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ฯ

    [๗๑๖] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายทายกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

    [๗๑๗] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
    ดูกรอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ

    [๗๑๘] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่าย ปฏิคาหกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก ฯ
    ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ

    [๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า
    (๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
    ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
    (๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
    (๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
    (๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรม และผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีลเรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
    (๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย ฯ

    จบทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒ จบวิภังควรรคที่ ๔


    หมายเหตุ *คนทุศีลนะไม่ใช่สมณะทุศีล* (เมตตาเตือนมาจากจากทางวัดฯ ค่ะ)

    ตรวจทานแล้วอีกครั้ง ตรงกับในพระไตรปิฎกที่ข้าพเจ้ามีอยู่จริ<o:p></o:p>
    ในทางพระวินัย ภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า สงฆ์
    แต่การถวายไทยธรรมแก่ภิกษุแม้รูปเดียวที่สงฆ์จัดให้เป็นองค์แทนของสงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานเหมือนกัน

    ดังมีเรื่องเล่าไว้ใน อรรถกถาปปัญจสูทนี
    ภาค ๓ (หน้า ๗๑๗) อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร ว่า
    <o:p></o:p>
    กุฎุมพี คือ เศรษฐีคนหนึ่งเป็นเจ้าของวัดวัดหนึ่ง ได้ไปขอภิกษุรูปหนึ่งมาจากสงฆ์ ด้วยคำว่า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้ภิกษุรูปหนึ่งจากสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แม้เขาจะได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่งเขาก็ปฏิบัติต่อภิกษุรูปนั้นด้วยความเคารพนอบน้อม ตกแต่งเสนาสนะและเครื่องบูชาสักการะพร้อม ล้างเท้าให้ภิกษุนั้นเอาน้ำมันทาเท้าให้ แล้วถวายไทยธรรมด้วยความเคารพยำเกรงต่อสงฆ์เหมือนกับบุคคลเคารพยำเกรงต่อพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นฉันภัตตาหารแล้วก็กลับวัด หลังจากนั้นได้กลับมาขอยืมจอบที่บ้านของกุฎุมพีนั้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กุฎุมพีเอาเท้าเขี่ยจอบให้ คนที่เห็นกิริยาของกุฎุมพีนั้นก็ถามว่า เมื่อเช้านี้ท่านถวายทานแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่ง แต่บัดนี้แม้สักว่ากิริยาที่เคารพก็ไม่มี กุฎุมพีตอบว่า เมื่อเช้านี้เราเคารพยำเกรงต่อสงฆ์ เราหาได้เคารพยำเกรงต่อภิกษุรูปนี้เป็นส่วนตัวไม่
    การถวายทานในสงฆ์ที่เรียกว่าสังฆทานนั้น คำว่า สงฆ์ ท่านมุ่งเอา พระอริยสงฆ์ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค และพระอรหัตตผล รวมเป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล หาได้หมายเอาสมมุติสงฆ์ไม่ ทั้งนี้เพราะพระอริยสงฆ์นั้นเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุปฏิปันโน คือ ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโน ปฏิบัติแล้วเพื่อญายธรรม สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติชอบ ทั้งพระอริยสงฆ์เหล่านั้นยังเป็นอาหุเนยโย คือ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาต้อนรับทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมที่เขานำมาถวายด้วยศรัทธา อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกระทำอัญชลี อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก ไม่มีนาบุญอื่นที่ยิ่งกว่า

    ใน ขุ. วิมานวัตถุ ทัททัลลวิมาน ข้อ ๓๔ กล่าวถึง อานิสงส์ของสังฆทานว่า มากกว่า ทานธรรมดา ดังนี้
    นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวว่า
    ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรืองยศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี ดิฉันไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้เป็นครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงมาเรียกดิฉันด้วยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า
    นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า
    ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อนครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ ดิฉันได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้งได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่ด้วย ดิฉันตายจากมนุษย์โลกนั้นมาแล้ว ได้มาแล้วเกิดเป็นเทพธิดาประจำสวรรค์ ชั้นนิมมานรดี
    นางภัททาเทพธิดา ถามต่อไปว่า
    ดูก่อนแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของเธอในหมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ ๆ สัตว์ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มากแล้วจึงได้มาบังเกิด เธอได้มาเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใครเป็นครูแนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และถึงความสุขพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูก่อนแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลของกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย
    นางสุภัททาเทพธิดา ตอบว่า
    เมื่อชาติก่อน ดิฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑบาต ๘ ที่แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดิฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น
    นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า
    พี่เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมากกว่าเธอ ครั้นให้ทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไรจึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้เหล่าแน่ะแม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลเป็นกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย
    นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า
    เมื่อชาติก่อน ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรมทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธาน ด้วยภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประโยชน์ อนุเคราะห์แก่ดิฉัน จึงบอกดิฉันว่าจงถวายสงฆ์เถิด ดิฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของดิฉันนั้นจึงเป็นสังฆทาน อันดิฉันให้เข้าไปตั้งไว้ในสงฆ์ เป็นทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่ามีอยู่เท่าไร ส่วนทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุด้วยความเลื่อมใสนั้น เป็นรายบุคคล จึงมีผลไม่มาก
    นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้น จึงกล่าวว่า
    พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มีผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ถวายสังฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์
    เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพวิมานของตนบนสวรรค์ขั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนานั้น จึงตรัสถามนางภัททาเทพธิดาว่า เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มาสนทนากับเธอ มีรัศมีรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ทั้งหมด
    นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้น้องสาวว่ามีผลมาก จึงทูลว่าขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดาผู้นั้นเมื่อชาติก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และยังได้เคยร่วมสามีเดียวกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศล คือ
    ถวายสังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้เพคะ
    สมเด็จอมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานจึงตรัสว่า
    ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่าเธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน คือ การถวายสังฆทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรมที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่ผลมากของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มุ่งบุญ ให้ทานอยู่หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายในบุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้นแก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่ในอริยผล ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่าสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็นผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานในท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ๆ ได้ เหมือนทะเลยากที่คาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ฉะนั้น
    พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรเป็นเยี่ยมในหมู่นรชน เป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือญาณของชาวโลก ได้แก่ นำเอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้แจง ปวงชนผู้ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ทักขิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชาแล้วชอบเพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญ
    ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัดมลทิน คือความตระหนี่ทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลในใจ และความวิปลาสอันเป็นมูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน ชนเหล่านั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ที่เป็นแดนสวรรค์
    จากวิมานวัตถุเรื่องนี้ แสดงชัดว่า สังฆทาน ที่ถวายเจาะจงแด่พระอริยสงฆ์นั้น มีผลมาก มีอานิสงส์มากจริง
    ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระอริยสงฆ์ท่านประกอบด้วย พระคุณ ๙ ประการดังกล่าวมาแล้ว ทานที่ถวายในท่านเหล่านี้จึงมีผลมาก ถ้ายังเกิดอยู่ตราบใดสังฆทานนี้ก็ให้ผลไปเกิดในที่ดีมีความสุขนับชาติไม่ได้ทีเดียว ยิ่งกว่านั้น พระอริยสงฆ์ท่านยังอาจแสดงธรรมที่ท่านได้เห็นแล้วบรรลุแล้วให้ผู้ถวายได้เห็นตามบรรลุตามเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสเช่นเดียวกับท่านได้อีกด้วย การหมดจดจากกิเลสนี้เป็นอานิสงส์สูงที่สุดสำหรับบุคคลที่ถวายในสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ ทานที่ถวายในสงฆ์หรือสังฆทานจึงมีผลมากและอานิสงส์มากอย่างนี้
    ก็พระคุณ ๙ ประการ ของพระอริยสงฆ์นั้น ๔ ประการแรก เป็นพระคุณเฉพาะส่วนตัวของท่าน ๕ ประการหลัง มีอาหุเนยโยเป็นต้น เป็นพระคุณที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ถวายทานแก่ท่าน คือให้ได้รับผลมาก แม้อุทิศให้แก่เปรต เปรตทราบแล้วอนุโมทนาชื่นชมยินดี ก็ยังพ้นสภาพเปรต เป็นเทวดาได้
    <o:p></o:p>
    .......สรุปว่า ในปัจจุบันนี้ เราสามารถถวายทานแด่สงฆ์ได้ในข้อที่ ๓ และ ๖ ( เพราะภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว ) สงฆ์จึงมีอยู่ ๒ แบบ คือ

    ๑. พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป จัดว่าเป็นสงฆ์ในพระวินัยการถวายทานแด่หมู่ภิกษุที่ไม่เจาะจง ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็จัดเป็นสังฆทาน

    ๒. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้ไปรับไทยธรรม เช่น เราไปนิมนต์ โดยขอภิกษุกับคณะสงฆ์ว่า " ขอจงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับสังฆทานที่บ้านด้วยครับ " ครั้นได้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็มีความเคารพยำเกรงในภิกษุรูปนั้น ยินดีว่าได้สงฆ์มาแล้ว ก็เต็มใจถวายทานนั้นลักษณะเช่นนี้เรียกว่า สังฆทานเหมือนกัน ดังมีเรื่องเล่าว่า


    ข้อความนี้คงต้องแก้ไขด้วย เพราะสรุปผิด คลาดเคลื่อนไป

    ที่ถูกต้อง น่าจะแก้ ในข้อ ๑ เป็นว่า..... ๑. พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป จัดว่าเป็นสงฆ์ในพระวินัย แต่ไม่ถือว่าเป็นสงฆ์ในความหมายของการถวายสังฆทาน เพราะว่าแม้การให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์เพียงรูปเดียวก็จัดว่าเป็นตัวแทนแห่งหมู่สงฆ์ที่ผู้ให้ทานสามารถน้อมใจไปเพื่อการให้ทานแก่หมู่สงฆ์ทั้งหลายได้ และแม้ว่าพระภิกษุสงฆ์เพียงรูปเดียวที่รับทานนั้นจะเป็นพระทุศิล การถวายสังฆทานก็บริบูรณ์ได้ด้วยใจของผู้ถวายทานที่น้อมระลึกไปถึงหมู่สงฆ์อย่างถูกต้องแล้ว ....ดังนี้ (ส่วนข้อ ๒. ถูกต้องตามนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    แหล่งที่มา : 1.พระไตรปิฏกฉบับมหามงกุฎ ฉบับ91เล่ม ในพระสุตตันตปิฏก
    2.Drammahome.com บรรยายโดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ท่านศึกษามานากว่า50ปี
    และได้ประกาศเกียรติคุณ ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์
    เมื่อพค.2551ที่ผ่านมา<o:p></o:p>
    3.samyaek.com โดยหลวงพ่อเกษม อาจิณสีโล ท่านศึกษาพระไตรปิฏกอย่างแตกฉาน
    มีหลักอ้างอิงที่มาที่ไปจากพระไตรปิฏก <o:p></o:p>
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เห็นคุณเฮียปออ้างข้อมูลทางหลวงพ่อ และผมก็คิดว่าหลวงพ่อท่านก็คงคิดไม่ผิด ข้อมูลของคุณเฮียปอก็ถูก แต่ผมบอกว่าถูกไม่หมด ซึ่งคุณกับผมก็ถูกทั้งคู่นั่นแหละ
    ผมขอถามว่า
    1.คุณคิดว่าพระไตรปิฏก ถูกต้องหรือไม่? ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ฉบับมหามงกุฏ91เล่ม

    เท่าที่ผมรู้นะ จากหนังสือของ อ.ศิริพงษ์

    หลวงพ่อสรวง อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำขวัญเมือง ซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ท่านบอกเอาไว้ว่า "พระไตรปิฎกฉบับหลวงของไทย"นั้นใช้ได้ 100 %


    2.หากคุณคิดว่าถูก คุณคิดว่าพระไตรปิฏก เป็นการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่

    ใช่


    3.หากใช่ ..แล้วคุณคิดว่าสาวก หรือปุถุชนทั่วไปมีสิทธิ์ที่จะศึกษาคลาดเคลื่อนหรือไม่ หากเคยได้อ่านจะเห็นว่าไม่ง่ายเลยที่จะอ่านพระไตรปิฏกแล้วรู้เรื่อง
    โดยง่าย ต้องอ่านแล้วพิจารณาไปด้วย

    ถ้าพระอรหันต์ขีณาสพ ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และมีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อย่างครบถ้วน ไม่มีทางพิจารณาคลาดเคลื่อน

    คนธรรมดาถ้าศึกษา ย่อมพิจารณาคลาดเคลื่อนแน่นอน

    4.หากพระไตรปิฏกนี้ถูกต้อง และเป็นพระธรรมซึ่งแทนพระองค์ เป็นวจนะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมตลอด45พรรษาแล้วไซร้ ....คุณจะเลือกเชื่อใคร

    ผมเชื่อพระพุทธองค์และพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีหลวงดำ

    ผมไม่ได้ลบหลู่ดูหมิ่นใคร...แต่อยากให้คิดไตร่ตรองพิจารณาดูครับ
    พระธรรมคำสั่งสอนจะได้ไม่คลาดเคลื่อนครับ โดยใช้หลักการของกาลามสูตร
    เรื่องการไม่เชื่อใน10อย่างครับ

    ผมเกิดไม่ทันพระพุทธเจ้า

    แต่ผมเกิดทันหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์
    ท่านแต่งหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม1"

    หลวงพ่อฤาษี ฯ ท่านบอกอะไร ผมก็เชื่อครับเพราะผมไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างละเอียด ถึงศึกษาได้อย่างละเอียดก็ไม่ สามารถตีความไม่แม่นยำเท่า หลวงพ่อฤาษี ฯ

    ดังนั้น การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง ผมจะทำตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านกล่าวเอาไว้ เพราะ หลวงพ่อฤาษี ฯ ท่านศึกษาพระไตรปิฎกได้อย่างละเอียด ดีกว่าปุถุชนที่มีกิเลสหนา


    5.ข้อมูลจากแหล่งที่มาใด ในพระไตรปิฏกหรือไม่? ยืนยัยได้?


    ใช่ ต้องมีแหล่งที่มา

    6.เท่าที่ผมศึกษามาแม้พระอรหันต์ที่ความรู้น้อย ที่ผิดก็มีนะครับ ท่านตัดกิเลสเฉพาะตนได้จริงๆ แต่เรื่องรายละเอียดบางอย่างที่ผิดก็มี เค้าเรียกว่า พระอรหันต์มีความรู้น้อยทำให้คนบาปได้มาก

    แล้วคุณคิดว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี ฯ ท่านทำหนังสือ

    "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม1"

    โดยเฉพาะตอนที่(อานิสงส์ถวายสังฆทาน )ผมยกมานี้ ถูกต้องหรือไม่ ?


    แต่ขอย้ำว่าท่านกับผมก็ถูกทั้งคู่นั่นแหละ ผมไม่ขอเถียง แต่!
    ขอแสดงข้อมูลที่ผมรู้มา...ควรมิควรก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณา

    ผมคงไม่มีปัญญาไปหาข้อมูล ในพระไตรปิฎกให้รู้ได้ครับ...อาศัย บารมีหลวงพ่อฤาษี ฯ ท่าน

    เขียนตำราก็เชื่อแล้ว,,, ใช่ควรจะพิจารณาว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

    ดังนั้นขอพิจารณา

    พระอรหันต์ท่านแต่งตำรามาให้อ่านง่าย ๆๆ เข้าใจง่าย ๆๆ

    พระอรหันต์ท่านอ่านพระไตรปิฎก แล้วมาทำเป็นตำราออกมา..ย่อมดีกว่า

    คนกิเลสหนาอย่างผม ไปอ่านพระไตรปิฎก แล้วมาตีความคงจะผิดตลอด



    ขอยกข้อมูลที่ผมไปค้นหามาประกอบความคิดเห็นที่ผมได้ศึกษามาจาก2web
    และจากพระไตปิฏก ซึ่ง2ที่นี้ก็ศึกษาพระไตรปิฏกอย่างจริงจังและมายาวนานครับ
    ข้อมูลอาจจะยาว แต่อยากให้ข้อมูลที่ถูกและมีแหล่งที่มาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2008
  6. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ถูกต้อง


    ถูกต้อง ก็ไม่ผิด

     
  7. คนกรุงศรี

    คนกรุงศรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +763
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ให้ความรู้ทางธรรมะเพิ่มขึ้นขอน้อมรับและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันครับ
     
  8. Sujinno

    Sujinno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +90

    ต้องขอทำความเข้าใจ
    การนำของไปวางไว้ให้ได้บุญก็จริง แต่พระภิกษุจะรับหรือใช้ของนั้นไม่ได้ เพราะขาดองค์ประกอบคือการประเคน ทางที่ดีถ้ามีเรื่องด่วน หรือติดธุระ ควรมอบให้กับผุ้ใดผู้หนึ่งที่มีอยู่เพื่อเป็นผู้ถวายแทนเรา จึงจะสมควร
    เจริญพร
     
  9. Sujinno

    Sujinno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +90
    การถวายทาน สงฆ์ 4 รูปขึ้นไป จึงจะนับว่าเป็นองค์สงฆ์
     
  10. Sujinno

    Sujinno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +90
    การใส่บาตร หน้าบ้านโดยไม่เจาะจงว่าเป็นพระรูปหนึ่งรูปใด พระรูปใดมาก็ใส่ ถือว่าเป็นการถวายทานทั่วไป จะนับเป็นสังฆทานก็ได้ เพราะเรามุ่งที่สงฆ์
    การถวายสังฆทานที่วัดแล้วมีผู้มารับแทน เพียงองค์เดียวถ้าเราสมมุติว่าเป็นตัวแทนสงฆ์หรือผู้นั้นสงฆ์สมมุติให้เป็นผู้รับแทน ก็ถือว่าเป็นสังฆทาน แต่ผู้รับไปแล้วต้องถวายให้แก่สงฆ์ ถือว่าเป็นกองกลาง แต่ถ้านำไปเป็นการส่วนตัว ก็ต้องอาบัติ เพราะนำของที่ทายกทายิกาถวายสงฆ์มาเป็นของตน ส่วนผู้ถวายได้รับผลบุญครบถ้วนอยู่แล้ว
     
  11. Sujinno

    Sujinno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +90

    ถ้าเป็นผลไม้กระป๋อง , มาม่า ฯลฯ นำไปถวายพระในตอนหลังเที่ยงแล้ว พระจะฉันสิ่งนั้นไม่ได้ ทางที่ดีควรนำไปมอบให้กับทายกผู้ดูแลพระ และให้เป็นผุ้ถวายให้ โดยไม่ต้องบอกพระว่าได้ฝากอะไรไว้
     
  12. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้คะ มีผู้ให้ความรู้หลายหน้าจัง จะค่อย ๆ ทยอยอ่านนะคะ
     
  13. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    [​IMG] สาธุ สาธุ สาธุ [​IMG]
     
  14. Nutuk

    Nutuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +347
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top><TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 3.0pt 3.0pt 3.0pt 3.0pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 3pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 3pt; PADDING-BOTTOM: 3pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 3pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top>ธรรมะกับชีวิตประจำวัน ; สังฆทานไม่ใช่แค่ถังเหลือง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 3.0pt 3.0pt 3.0pt 3.0pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 3pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 3pt; PADDING-BOTTOM: 3pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 3pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top><TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top>
    การทำบุญกุศลไม่ว่าประเภทใดๆเราจะต้องทำด้วยปัญญา อย่าทำด้วย ความเขลา อย่าทำตามเขาว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้เราต้องพิจารณาว่าทำทำไม ท ำแล้วจะได้อะไร นี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเวลานี้มีการทำสังฆทานกันบ่อยๆโดยมากก็ถวายกันองค์หนึ่งบ้าง ๒ องค์บ้าง ๓ องค์ ๔องค์บ้าง



    คำว่า
     
  15. godman

    godman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,254
    อืม !ไม่รู้เลยจริงนะเนี่ยว่าทำกันยากขนาดนี้เลยเหรอ
     
  16. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    วันพ่อนี้ อย่าลืมพาพ่อและแม่ไปถวายสังฆทานกันนะครับ

    โมทนาครับ
     
  17. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ......
     
  18. sathitth

    sathitth สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +9
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=66984
    [​IMG][​IMG]

    สังฆทานคืออะไร

    พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ ให้ความหมาย “สังฆทาน” ไว้ดังนี้

    “สังฆทาน” คือ ทานที่ตั้งใจถวายแก่สงฆ์หรือผู้แทนของสงฆ์ ไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง หากถวายโดยเจาะจง เรียกว่า ‘บุคลิกทาน’ ดังนั้น สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน เพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าจะเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ

    ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงพระในงานต่างๆ การไปทำบุญตักบาตรที่วัด การใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาต หากไม่จำเพาะเจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง นับเป็นสังฆทานทั้งสิ้น

    มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าคือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นนั้น

    [​IMG]

    จัดสังฆทานให้ได้ประโยชน์

    เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึง “สังฆทาน” พวกเราจะนึกถึงถังสีเหลืองๆ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้เยอะแยะมากมาย จนล้นออกมาปากถัง แล้วมีพลาสติกใสหุ้มทับอีกที

    แท้จริงแล้วของที่จะถวายหมู่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงที่เรียกว่า สังฆทาน นั้น คืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับชีวิตสมณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นถังเหลืองๆ ที่วางขายตามหน้าร้านสังฆภัณฑ์เสมอไป

    ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุมักเป็นของที่พระภิกษุเก็บไว้ใช้ในช่วงวัน เข้าพรรษา (ประมาณ 3 เดือน) ส่วนมากก็จะเป็นของที่ใช้ดำรงชีวิตทั่วไปเหมือนเราๆ ท่านๆ นี่แหละ เช่น ผงซักฟอก, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, สบู่, ยาสระผม เป็นต้น จะมีเพิ่มมาหน่อยก็จะเป็นผ้าอาบน้ำฝน สบงจีวรเครื่องนุ่งห่ม ที่พระภิกษุจะต้องมีไว้ใช้

    [​IMG]

    ถ้าเราไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรไปถวายพระสงฆ์ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยเครื่องสังฆทานที่มีจำหน่ายตามร้านบรรจุให้สำเร็จ รูป อีกทั้งการบรรจุกระป๋องก็ทำมาให้เรียบร้อยสวยงาม ซื้อปุ๊บก็ถือไปถวายปั๊บ เข้ากับยุคสมัยพอดี ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหามาประกอบให้ลำบาก

    ถึงเวลาที่ต้องมาทบทวนการทำสังฆทานกันเสียที สังฆทานที่ดีไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมาย ขอเพียงเป็นของที่จำเป็นและมีคุณภาพดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว และการเลือกซื้อของมาประกอบเป็นสังฆทานเอง จะได้ของดีมีคุณภาพกว่าการไปซื้อ “ถังเหลืองๆ” ตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป หากผ้าอาบน้ำฝนราคาผืนละ 60-80 บาท ราคาถังสังฆทานก็จะประมาณ 200-600 บาท แล้วแต่ของข้างในและขนาดถัง

    “ถังเหลืองๆ” ที่มีวางขายตามร้านสังฆภัณฑ์นั้น บางร้านจะยัดหนังสือพิมพ์หรือกระดาษแข็งเข้าไว้เต็มกระป๋อง ส่วนที่เป็นสังฆทานหรือข้าวของเครื่องใช้จริงๆ จะถูกบรรจุไว้แถวขอบปากถัง เพื่อให้ดูว่ามีของใช้มากมายจนล้นปากถัง แล้วเอาพลาสติกใสหุ้มอีกทีเพื่อไม่ให้ของล้นจนหก แท้จริงแล้วมีของใช้ไม่กี่อย่างเท่านั้นเอง

    [​IMG]

    ข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อหามาจัดเป็นสังฆทานได้

    - สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย

    - ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรก็น่าสนใจ

    - แปรงสีฟัน เลือกที่เป็นชนิดขนแปรงอ่อนๆ จะได้สบายเหงือก

    - ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น

    - ใบมีดโกน เป็นของจำเป็นมาก เพื่อใช้โกนศีรษะ

    - ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด

    - เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง จำพวกขิงผง ชารางจืด มะตูม, นม UHT, น้ำผัก-น้ำผลไม้ 100 % , เครื่องดื่มผสมธัญพืช หรือจะเป็นเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ไมโลหรือโอวัลตินพร้อมดื่มก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย

    [​IMG]

    - ผ้าอาบน้ำฝน เลือกที่เนื้อหนาๆ หรืออาจเลือกซื้อเป็นสบง (ผ้านุ่ง) หรือจะเป็นอังสะก็ได้ เพราะพระท่านมักจะมีผ้าอาบน้ำฝนอยู่มากแล้ว จะขาดแคลนก็คือสบงและอังสะ ถ้าถวายให้สามเณรก็จัดเหมือนพระเช่นกัน

    - ถวายสังฆทานแม่ชี ก็เปลี่ยนจากผ้าเหลืองเป็นชุดแม่ชี ซึ่งหาซื้อได้จากวัดบวรนิเวศวิหาร, สถาบันแม่ชีไทย หรือร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป หากหาซื้อไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นผ้าขาวเนื้อดีตามร้านขนาด 2-4 เมตรแทน จากนั้นแม่ชีท่านจะนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าถุง ผ้าครอง ตามสมควร

    - ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อนำไปบอกกล่าวแก่ญาติโยมได้

    - ยาสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ยาลดกรด ในกระเพาะอาหาร แอลกอฮอล์ล้างแผล เบตาดีนสำหรับใส่แผลสด ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยาทาเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ

    - เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ รวมทั้ง ซองจดหมาย แสตมป์

    - ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ซึ่งวัดตามชนบทและวัดป่าสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก

    [​IMG]

    - จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้นๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายเป็นของสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่างๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ

    - ร่ม สำหรับให้พระท่านได้ใช้ในช่วงฤดูฝน ควรหาซื้อสีที่เหมาะสม เช่น สีดำหรือสีน้ำตาล

    - บาตร ควรหาซื้อบาตรที่มีความหนาพอสมควร เวลาที่ญาติโยมใส่ข้าวสุกร้อนๆ ลงไป มือท่านจะได้ไม่พอง ที่สำคัญไม่ควรมีน้ำหนักมาก เพราะท่านต้องใช้เดินบิณฑบาตเป็นระยะทางไกล

    - ของอื่นๆ ที่มักนิยมใส่ก็มี กระดาษชำระ ข้าวสาร หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำตาล เกลือ น้ำปลา ฯลฯ ที่จัดว่าเป็นของแห้งเก็บไว้ได้นาน ของเหล่านี้ถ้าพระท่านใช้ไม่ทัน ท่านก็มักจะเก็บรวบรวมนำไปบริจาคต่างจังหวัดอีกที นับเป็นวงจรบุญไม่มีที่สิ้นสุด

    จัดเรียงข้าวของที่ซื้อมาลงในภาชนะซักผ้าที่ซื้อมาต่างหาก อาจจะเป็นถังหรือกะละมังก็ได้ แล้วนำไปถวายได้ทันที

    [​IMG]

    ข้าวของบางอย่างที่ไม่ควรถวาย

    - บุหรี่ กาแฟ สิ่งเสพติด เครื่องดื่มชูกำลังทุกประเภท

    - ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

    - อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้

    - ใบชาคุณภาพต่ำ พระไม่ค่อยได้ชงฉัน ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ให้ประโยชน์กับสุขภาพมากกว่า

    - กล่องสบู่ ปกติพระท่านมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อถวายอีก

    - บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสด และมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย

    - น้ำอัดลมหรือน้ำที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่นและสี เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่นที่แต่งกลิ่นและสี

    [​IMG]

    แสงสว่างไสวถึงชาติหน้า

    เทียนและหลอดไฟ เป็นอีกอย่าง หนึ่งที่เป็นของนิยมในการถวาย เพราะในสมัยก่อนพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดต่างจังหวัดต้องใช้เทียนเพื่อ เป็นแสงสว่างในวัด แต่ในปัจจุบันวัดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ากันแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากเราจะเปลี่ยนมาถวายหลอดไฟนีออนกันบ้าง ราคาเทียนที่ถวายกันก็จะประมาณ 150-1,600 บาท แล้วแต่ว่ามีสลักลายหรือไม่มี ถ้าขนาดเดียวกันก็จะต่างกันประมาณ 100 บาท

    ถ้าดูจากความหมายแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่นัก เพราะนัยว่าจะทำให้ชีวิตของผู้ถวายรุ่งโรจน์สว่างไสวไปถึงภพหน้าชาติหน้า ยิ่งถ้าใครหนทางชีวิตมืดมิด ถือโอกาสดีช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้ถวายเทียนหรือหลอดไฟนีออนกันแก้เคล็ดสัก หน่อย สาธุ !!!
     
  19. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    เหนือกว่าทานคือการรักษาศีล เหนือกว่าศีลคือภาวนา....สาธุ...ขออนุโมทนากับทุกๆท่านค่ะ
     
  20. พงศ์กฤต

    พงศ์กฤต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    5,699
    ค่าพลัง:
    +33,737
    เหนือกว่าสังฆทานก็คือวิหารทานเหนือกว่าวิหารทานคือธรรมทาน โดยพระพุทธวจนะทรงตรัสไว้ว่า สัพทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง<!-- google_ad_section_end --> และเหนือกว่าการให้ธรรมมะเป็นทาน คือการให้อภัยทาน ถูกป่าวครับ โมทนาสาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...