สนทนาภาคปฏิบัติธรรมที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Follower007, 15 สิงหาคม 2011.

  1. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    กับดักของการปฏิบัติที่หลวงปู่ดู่สอน

    ๑๒๐
    กับดักของการปฏิบัติที่หลวงปู่ดู่สอน

    นับเป็นเมตตาอย่างใหญ่หลวงที่หลวงปู่ดู่ได้สั่งสอน และชี้แนะให้ลูกศิษย์ของท่านได้ตระหนักถึงกับดักบนหนทางของการปฏิบัิติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า "คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร" และ
    "อย่าให้เลยพระพุทธเจ้า" เป็นต้น

    ใคร จะคิดบ้างเล่าว่า แม้จะเข้ามาในหนทางแห่งการสร้างสมความดีงาม ก็ยังมีสิ่งที่เป็นกับดักรออยู่อย่างมากมาย และเป็นสิ่งที่แก้ได้ยากเสียด้วย ดังคำพูดของหลวงปู่มั่นที่ว่า "ติดดีน่ะ แก้ยากกว่าติดชั่ว" เพราะคนที่ถือว่าตนเป็นนักปฏิบัติ หรือเป็นครูเป็นอาจารย์ เป็นคนเข้าวัดเข้าวา เป็นคนถือศีลกินเจ เป็นคนปฏิบัติสมาธิภาวนา หากเผลอตัวให้กิเลสความหลงตัวหลงตนเข้าครอบงำจนสำคัญว่าตนวิเศษวิโสกว่าคน อื่น ทำตัวเป็นชาล้นถ้วยแล้ว นอกจากจะเป็นตัวปิดกั้นความดีไม่ให้งอกงาม ก็ยังทำให้จิตใจเสื่อมลงๆ เที่ยวกล่าวตีคนโน้นคนนี้ ยิ่งกว่าการกล่าวสอนตักเตือนตนเอง เข้าลักษณะที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

    "
    คนรู้ธรรมชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนมีธรรมชอบเอาชนะตนเอง"

    ที่เลยเถิดไปกว่านั้นก็เข้าทำนองเลยพระพุทธเจ้า คือเก่งกว่าพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่าคิดค้นและประกาศสอนแนวทางการปฏิบัิติธรรมของตนเองว่าเป็นทางลัด ตรง

    หากเราพิจารณาคำเตือนของหลวงปู่ดู่ที่ว่า อย่าให้เลยพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นเครื่องเตือนใจว่า จงอย่าอวดดี อย่าบัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์มิได้บัญญัติ หากพิจารณาให้ดี ใน ๓ โลกนี้จะหาใครที่มีความบริสุทธิ์อีกทั้งเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาและพระมหา ปัญญาเท่ากับพระพุทธองค์ ดังนั้น หากมีทางลัดกว่านี้ มีหรือที่พระพุทธองค์จะไม่ทรงบอกทรงสอน พระองค์สละชีวิตมานับภพนับชาติไม่ถ้วนก็เพื่อค้นหาหนทางหลุดพ้น คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี้มาประกาศสอนแก่สัตว์โลกทั้งหลาย แล้วผู้ที่ประกาศทางลัดเหล่านั้นเล่า จะมีปัญญาเหนือพระองค์เชียวหรือ ?

    แม้ หลวงปู่ดู่ก็ยังยืนยันหนักแน่นหลายครั้งว่าท่านมิได้บัญญัติคำสอนแปลก ใหม่อันใด ไม่มีคำว่าแบบปฏิบัติของวัดสะแก (นั่นเป็นแค่ชื่อเรียกที่คนอื่นเรียกกันเอง) เพราะมีแต่แนวทางหรือแบบปฏิบัติของพระพุทธเจ้าเท่านั้น อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ หรือบางแห่งอาจนำมรรคข้อที่ว่าด้วยสัมมาสติ มามุ่งเน้นเป็นพิเศษดังที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม แต่รากฐานหรือหลักการที่สำคัญที่ทิ้งไม่ได้ก็คือ "มรรคสมังคี" ได้แก่ความพร้อมบริบูรณ์แห่งศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่จะเอาแต่ในแง่ศีล หรือสมาธิ หรือปัญญา เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วละเลยมรรคตัวอื่นๆ สมาธิที่ไม่อยู่บนฐานของศีลหรือไม่มีปัญญาเป็นที่หมาย หรือไม่มีภาวะแห่งความรู้ ตื่น เบิกบาน ก็ไม่อาจเรียกว่า สัมมาสมาธิได้ ปัญญาที่ขาดสมาธิก็เหมือนเอาใบมีดเล็กๆ ไปโค่นต้นไม้ใหญ่ ย่อมเสียแรงเปล่า หรือจะเอาแต่แก่นธรรมแล้วละเลยวินัยหรือศีลก็เหมือนแก่นไม้ที่ปราศจากเปลือก และกระพี้ ย่อมไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน

    ดังนั้น มรรคสมังคีของพระพุทธองค์จึงทรงวางเอาไว้ดีแล้ว ไม่มีหนทางลัดตรงไปกว่านี้แล้ว และข้าพเจ้าก็หมดสงสัยที่เคยคะยั้นคะยอถามหลวงปู่ว่า "แบบปฏิบัติของหลวงปู่เป็นอย่างไรครับ ?" เพราะมันจะไม่มีวันได้ การที่หลวงปู่บอกสอนคำบริกรรมไตรสรณาคมน์นั้น ก็เป็นเพียงเบื้องต้นแห่งการปฏิบัิติก่อนจะลาดเอียงเทสู่ครรลองหรือแบบ ปฏิบัติของพระพุทธเจ้าต่อไปเท่านั้น

    การติดดี และการปฏิบัติจนเลยครูอาจารย์ เลยพระพุทธเจ้า เหล่านี้ เป็นแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ได้ศึกษา เพราะกับดักต่างๆ ยังมีอีกมากมาย เช่น หลงติดเป็นเจ้าข้าวเจ้าของครูบาอาจารย์ หรือศิษย์ก้นกุฏิ หลงติดแนวทางที่ตนถนัดว่าเป็นหนทางสายเอกหรือสายเดียว การยึดติดในความไม่ยึดติด ฯลฯ

    คุณธรรม สำคัญที่ช่วยให้เราผ่านพ้นกับดักไปได้ ก็คือปฏิปทาที่ว่าปฏิบัติเพื่อละ ไม่ใช่ปฏิบัิติเพื่อเอา หรือเพื่อได้ เพื่อเป็นอะไรทั้งนั้น รวมทั้งควรเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เนืองนิตย์ ประกอบกับยึดถือคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก หากคำสอนใดแม้เป็นของครูอาจารย์ที่เรานับถือ แต่ขัดกับคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ต้องยึดคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก หมั่นเข้าหากัลยาณมิตรผู้ปรกติมีปฏิปทาไปในทางห่างโลภ โกรธ หลง และสุดท้ายไม่ควรลืมคำสอนคำเตือนของหลวงปู่ดู่ที่ว่า "อย่าให้เลยพระพุทธเจ้า"

    ("พอ")


    ที่มาหนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู"
     
  2. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    สวัสดีปีใหม่กัลยาณมิตรทุกท่าน
    ขออาราธนาคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณครูบาอาจารย์ มีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ และหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก เป็นที่สุดนี้ ขออำนวยพรให้ทุกท่านเข้าถึงความสุขและความดีตลอดปี ๒๕๕๕ และตลอดไป
    ต้องขอขอบคุณทุกๆ บทความ คำชี้แนะ คำตักเตือน
    ของทุกท่าน และถ้าล่วงเกิน หรือก้าวล่วงอันใดไป ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
    สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ...........
     
  3. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    [​IMG]

    คุณเมธา กล่าวไว้ว่าภาพนี้ ถ่ายโดยคุณวรวิทย์ ด่านชัยวิจิตร ศิษย์หลวงปู่ดู่ผู้ที่ชักชวนให้คุณเมธาได้มากราบหลวงปู่ในช่วงปี ๒๕๒๖ เป็นภาพหลวงปู่ภาพแรกที่คุณเมธามีไว้บูชา
    หลวงปู่ท่านเคยบอกคุณเมธาว่า "รูปข้าคุยกับแกได้"
    (ตัดตอนมาจาก : Luangpudu.com / Luangpordu.com )

    คิดว่าน่าจะเอาไปอัดแล้วจะได้เอาไว้บูชา ไว้พูดคุยกราบขอคำชี้แนะหรือไขปัญหาทางธรรมกับหลวงปู่ท่านก็คงจะดีไม่น้อยทีเดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP Du 001 .jpg
      LP Du 001 .jpg
      ขนาดไฟล์:
      424.8 KB
      เปิดดู:
      78
  4. papawich

    papawich เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +1,399
    ก่อนปีใหม่ฝันว่าหลวงปู่ดู่ท่านเมตตามาบอกกล่าวเรื่องราวของภัยภิบัติ แล้วท่านเมตตาเป่าศรีษะให้ เลยลองซื้อหวยพรรษาท่าน 65 พรรษา ได้ใต้ดินมา 200 แล้วก็ เลขท้าย 2 ตัว มา 6 คู่ ขอบพระคุณความเมตตาของหลวงปู่ดู่มาก ๆ ครับที่เมตตาลูก ลูกได้ทำบุญไปประมาณ 1500 บาทครับในช่วงปีใหม่
     
  5. thongchat

    thongchat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +2,195
    กราบนมัสการหลวงปู่ดู่ ด้วยศรัทธาจากจิตจากใจ สาธุ..สาธุ..สาธุ..
     
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,593
    ค่าพลัง:
    +53,107
    พระกริ่งองค์นี้ พอจะเป็นของหลวงปู่ดู่ ใหมครับ รบกวนท่านๆ ช่วยชี้แนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_1878.JPG
      SAM_1878.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      64
    • SAM_1880.JPG
      SAM_1880.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      62
    • SAM_1882.JPG
      SAM_1882.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      58
  7. เอกสุกิตติมา

    เอกสุกิตติมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,814
    ไม่ทราบว่าเหรียญนี้ที่ไหนสร้างครับ ด้านบนน่าจะเป็นสมเด็จองค์ปฐม ด้านล่างเป็นหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลังคาถาอิติปิโสแปดทิศ ล้อมด้วยคาถามหาจักรพรรดิ์หลวงปู่ดู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    คำอธิษฐานอาหารสมอง กับ โอวาทธรรมของหลวงปู่

    คำอธิษฐานอาหารสมอง กับ โอวาทธรรมของหลวงปู่

    สมัยที่ยังไม่รู้เดียงสา อ่านตำรามามาก
    แต่การปฏิบัติ "เท่าหางอึ่ง" จึงเต็มไปด้วยความสงสัยและใจร้อน
    ปฏิบัติอยู่กลางเสื่อกลางหมอน นอนก็มากแต่อยากเห็นผลเร็ว ๆ

    ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีมากมาย แต่หลวงปู่สอนย้ำที่ "ไตรสรณาคมณ์"
    แล้วจะไปต่อกันตรงไหน ใจอยากที่จะรู้ ดูไปดูมาก็เหมือนใครบางคน
    ที่สนใจหอบตำรามาถามหลวงปู่ ทำไป ๆ จึงได้รู้ความหมาย
    ที่หลวงปู่บอกว่า "ข้าสอนตามแบบพระพุทธเจ้า"
    "พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ครบถ้วนดีอยู่แล้ว
    ถ้าตั้งแบบใหม่จะเป็นบาป" หลวงปู่บอกอาหารสมองว่า
    "หลวงพ่อทวดท่านบอกไว้อย่างนี้"

    (หมายเหตุ: หลวงปู่ดู่ ท่านเรียกหลวงปู่ทวดว่า "หลวงพ่อทวด")


    **************XXX***********************
    ปีใหม่นี้ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่ที่วัดสะแกอย่างเป็นทางการ
    เมื่อช่วงเย็นวันเสาร์ที่ ๗ มกรา ที่ผ่านมา ที่วัดในช่วงโพล้เพล้
    กุฏิหลวงปู่แลดูเงียบสงบ เป็นอีกหนึ่งบรรยากาศที่ชวนให้จดจำ
    อาหารสมองได้เข้าไปกราบหลวงปู่และขอโอวาทจากท่าน
    ได้อธิษฐานขอหลวงปู่เมตตาชี้แนะการปฏิบัติทั้งของตนและหมู่คณะ
    เช้าวันอาทิตย์ที่ ๘ มกรา ตื่นขึ้นมายังไม่ทันได้ลืมตา
    ภาพและเสียงหลวงปู่พร้อมโอวาทธรรมบทนี้
    เกิดขึ้นทันทีพร้อมกับเสียงจิ้งจกที่ร้องทักรับขวัญในวันใหม่
    หลวงปู่ท่านสอนให้หัดพิจารณา "โกรธ โลภ หลง กับ ขันธ์๕"
    ธรรมโอวาทนี้มีความหมายอย่างไร
    ตัวโกรธ กับ รูป
    ตัวโกรธ กับ เวทนา
    ตัวโกรธ กับ สัญญา
    ตัวโกรธ กับ สังขาร
    ตัวโกรธ กับ วิญญาณ
    โลภ กับ หลง ก็เช่นกัน ท่านให้หัดพิจารณาทำนองเดียวกัน
    หมั่นพิจารณาให้เห็นตามความจริงว่า
    เราไม่มีในขันธ์๕ ขันธ์๕ ไม่มีในเรา
    เราไม่ใช่ขันธ์๕ ขันธ์ทั้ง๕ ไม่ใช่เรา
    โกรธโลภหลง จึงไม่มีในขันธ์๕
    พิจารณาขันธ์๕ ไม่ให้มาติดกับโกรธ โลภ หลง
    พยายามระลึกรู้และกำหนดอย่างนี้ไว้ในใจให้บ่อย ๆ
    ด้วยอุบายแยบแคบตามสติปัญญาของแต่ละคน ๆ
    ขอฝากให้เพื่อนหมู่คณะและผู้สนใจ ได้นำไปพิจารณา
    ให้เป็นธรรมของแท้ ของจริง ถึงความสวัสดีทุกคน


    ที่มา : Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  9. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อุบายการสอนอย่างหนึ่งของหลวงปู่ที่นับว่าได้ผลมากคือการ พูดในเชิงสบประมาทลูกศิษย์เพื่อกระตุ้นเร้าให้ลูกศิษย์ฝึกฝืนกิเลสและขวน ขวายในการฝึกฝนตนเองให้ยิ่งขึ้นไปอีก คำพูดเชิงสบประมาทของหลวงปู่ที่ขอยกมา ณ ที่นี้ ได้แก่

    ๑. “แกมันยังเละ ๆ เทะ ๆ”
    คำ พูดนี้ เป็นการย้ำเตือนว่านักปฏิบัติอย่างเรา ๆ ว่ายังไม่หลักได้เกณฑ์ ยังห่างไกลคำว่ามีตนเป็นที่พึ่ง เพราะยังสอนหรือเตือนตัวเองไม่ได้ จึงยังไม่มีธรรมที่จะเป็นเครื่องรักษาจิต และพร้อมจะโกรธ โลภ หลง ไปตามสิ่งที่มากระทบ
    ดังนั้น เมื่อพิจารณาคำหลวงปู่นี้แล้ว ก็ให้เกิดสำนึกว่าเราต้องเร่งปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ เจริญสัมมาปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อให้เป็นคนมีหลักมีเกณฑ์โดยไม่เนิ่นช้า จะได้ลดอาการเละ ๆ เทะ ๆ ลงเสียบ้าง

    ๒. “ชาวบ้านเขาไม่เห็นต้องปฏิบัติอย่างคนรู้มากอย่างแกเลย”

    สมัย นี้ สื่อหรือช่องทางการเรียนรู้มันมายเสียเหลือเกิน การเสพสื่อธรรมะโดยเจ้าตัวขาดการปฏิบัติหรือเจริญสติสัมปชัญญะไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้สัญญาหรือความจดความจำมันมาก ส่วนผลการปฏิบัติที่ประจักษ์ใจเจ้าของมันยังมีน้อยกว่ามาก ดีไม่ดีสำคัญผิดคิดว่าเราได้เราถึงอย่างครูบาอาจารย์ (เข้าใจเอาว่าฟังแล้ว เข้าใจแล้ว แปลว่าเป็นปัญญาหรือสมบัติของเราแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นแค่สมบัติตัวหนังสือ ส่วนกิเลสก็เป็นกิเลสตัวหนังสือ ไม่ได้น่ากลัวอะไรเลย ทุกข์ก็ทุกข์ตามตัวหนังสือ ไม่ได้รู้สึกสังเวชใจและอยากจะหนีทุกข์จริง ๆ) ผลคือเป็นชาล้นถ้วย ปิดกั้นไม่รับความรู้หรือการตักเตือนจากผู้ใด นั่นก็เพราะความสำคัญผิดคิดว่าสัญญาเป็นปัญญา
    ด้วย เหตุนี้ เวลาไปปฏิบัติกับหลวงปู่ ท่านจึงให้วางตำราไว้ก่อน ทำตัวเป็นภาชนะว่างเปล่าพร้อมรับธรรมคำสอนจากท่าน แล้วศึกษาจากสนามรบจริง คือ กายใจเราเอง โดยพิจารณาและสังเกตสภาวะของจริง มิใช่ตัวหนังสือที่จำมา

    ๓. “ตราบใดที่แกยังไม่เห็นความดีในตัว ก็ยังไม่นับว่าแกรู้จักข้า”
    ประโยค นี้ หลวงปู่ต้องการตอกย้ำว่า อาศัยเพียงความใกล้ชิดองค์ท่านหรืออยู่กับหลวงปู่นาน ๆ ก็มิได้แปลว่าเราจะรู้จักท่านจริง ต่อเมื่อเราได้น้อมนำเอาคำแนะนำสั่งสอนของท่านไปปฏิบัติขัดเกลากายวาจาจิต ของตนเองให้มีคุณธรรมความดีขึ้นมากระทั่งตัวเองก็รู้สึกหรือเห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงนี้ได้ชัด นั้นแหละจึงจะนับว่าเรารู้จักหลวงปู่ดีขึ้น กล่าวคือเราจะทราบซึ้งในคุณธรรมความดีขององค์หลวงปู่ที่เมตตาพร่ำสอนกระทั่งเปลี่ยนปุถุชนให้กลายเป็นกัลยณชนขึ้นมาได้


    ๔. “แกมันเชื่อไม่จริง”
    ประโยคนี้ มีความหมายกว้างและครอบคลุมในหลาย ๆ กรณี ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ตั้งแต่ว่า
    · พากันไปกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ ฯลฯ ก็เพราะเราไม่เชื่อพระรัตนตรัยจริง
    · มาปฏิบัติ รับฟังคำสอนและการอบรมจากครูอาจารย์ เราก็พากันฟังแล้วเอาไปทิ้ง มิได้ฟังเอาไปทำ นั่นก็เพราะเชื่อท่านไม่จริง
    · ใน ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน ท่านให้บริกรรมภาวนาไตรสรณคมน์ พอมีอารมณ์อื่นเข้ามา เราก็ทิ้งเลย ทิ้งคำบริกรรมภาวนาแล้วไปปรุงแต่งอารมณ์อื่นเป็นภาพยนตร์เรื่องยาว นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง เห็นอารมณ์อื่นดีกว่าคำบริกรรมภาวนา
    · เวลา เกิดเคราะห์ร้าย หรือโรคภัย บางคนก็พร้อมจะไปยึดอย่างอื่นเป็นสรณะ ละทิ้งคำว่าพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิไปโดยสิ้นเชิง บางคนถึงขั้นเปลี่ยนศาสนาไปก็มี
    · เราปฏิบัติธรรมชนิดทำ ๆ หยุด ๆ ปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง วูบ ๆ วาบ ๆ ไม่สม่ำเสมอ นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง
    · เวลา ปฏิบัติเกิดความทุกข์ยากลำบากขึ้นมาเป็นต้นว่าปวดแข้งปวดขา หรือฟุ้งหนัก เราก็ทิ้งการปฏิบัติ หาทางลัดดีกว่า นั่งสมาธิ เดินจงกรมทำไมให้เมื่อย ทรมานตัวเองเปล่า ๆ ให้กิเลสหรอกว่ารูปแบบอย่างนั้นไม่เหมาะกับคนยุคนี้แล้ว ต้องมีทางลัดกว่านั้น นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริงว่าหนทางที่ท่านสอนเป็นทางพ้นทุกข์ได้จริง
    · เวลา ครูบาอาจารย์กระหนาบหนักเข้าเพื่อจะเจียระไนให้เราผู้เปรียบเหมือนหินให้ เป็นเพชรเป็นพลอยขึ้นมา ก็ไม่อาจจะอดทนต่อการอบรมสั่งสอนของท่าน นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริงว่าท่านทำด้วยเมตตาต่อเรา
    · ปฏิบัติ ไป ๆ ยังไม่ก้าวหน้าอย่างที่คาดหวัง ก็แสวงหาหนทางใหม่ ๆ มันเรื่อยไป เหมือนย้ายที่ปลูกต้นไม้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ต้นไม้ยังไม่เหี่ยวเฉาถึงที่สุด หรืออายุขัยยังไม่ใกล้หมด ก็ยังจะไม่ได้คิดปักหลักแล้วเอาจริงเอาจังสักที นั่นก็เพราะความที่เชื่อไม่จริง
    · ใน ระหว่างหนทางการปฏิบัติ พระท่านเตือนแล้วว่าให้ระวังกับดัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความหลงตัวหลงตน และลาภสักการะต่าง ๆ ก็ยังพากันติดกับดัก นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง
    · ฯลฯ

    ที่มา:
    www.luangpordu.com
     
  10. tong5959

    tong5959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,056
    ค่าพลัง:
    +6,083
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัติ

    วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัติ
    ๖๙
    วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัติ
    ท่ามกลางความหลากหลายของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และกระแสแห่งความแสวงหา ใจทุกดวงที่มีความเร่าร้อนวุ่นวายสับสน เป้าหมาย คือเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมา แต่เมื่อได้สิ่งที่คิดว่าต้องการมาแล้ว ก็ดูเหมือนว่ายิ่งแสวงหา ก็ยิ่งต้องดิ้นรนมากขึ้น สิ่งที่ได้มานั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก หากจะมีสุขบ้างก็เป็นเพียงสุขเล็กน้อยในเบื้องต้น แต่ในที่สุดก็กลับกลายเป็นทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ ไม่เพียงพอที่จะให้เกิดความชุ่มฉ่ำเย็นใจอบอุ่นได้ยาวนาน หากแต่เป็นอารมณ์ที่ค้างใจอยู่ตลอดเวลาทำให้อยากดิ้นรนแสวงหาสิ่งใหม่มาทด แทนอยู่เสมอ นี้เป็นธรรมดาของ...วัตถุสมบัติ

    ส่วน...ธรรมสมบัติ นั้น จะยังความชุ่มชื่น เพียงพอให้เกิดขึ้นแก่จิตใจได้ มีลักษณะเป็นความสุขที่ไม่กลับกลายมาเป็นความทุกข์อีก วัตถุสมบัติยิ่งใช้นับวันยิ่งหมดไป ต้องขวนขวายแสวงหาเพิ่มเติมด้วยความกังวลใจ ธรรมสมบัติยิ่งใช้นับวันยิ่งเจริญงอกงามขึ้น ก่อให้เกิดความสุข สงบ เย็นใจแก่ตนและคนรอบข้าง
    คง ไม่มีใครที่ได้รู้จักหลวงปู่ปฏิเสธว่า หลวงปู่ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่ใช้ธรรมสมบัติ ยังความสงบเย็นให้แก่ใจทุกดวงที่ได้เข้ามาใกล้ชิดท่านไม่เฉพาะคนหรือสัตว์ แต่รวมไปถึงเหล่าเทพยดาและอมนุษย์ทั้งหลายที่ศิษย์ของหลวงปู่หลายคน ต่างมีประสบการณ์อันเป็น ปัจจัตตัง และสามารถเป็นประจักษ์พยานได้อย่างดี
    หลวงปู่เคยบอกข้าพเจ้าว่า
    “คนทำ (ภาวนา) เป็นนี่ ใครๆ ก็รัก
    ไม่เฉพาะคน หรือสัตว์ที่รัก
    แม้แต่เทวดาเขาก็อนุโมทนาด้วย”


    ที่มา: หนังสือ"ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู"
     
  12. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    รอว่าเมื่อไหร่....แกจะเสียบปลั๊ก

    รอว่าเมื่อไหร่....แกจะเสียบปลั๊ก


    [FONT=&quot] ดังที่ทราบกันดีว่า พระพุทธศานานั้นประกอบด้วยทั้งในส่วนของ "ปริยัติ" "ปฏิบัติ" และ "ปฏิเวธ"

    "ภาคปริยัติ" ... นั้นอาจมาจาก "การอ่าน หรือ การฟัง"
    ซึ่งสิ่งที่ได้อ่าน หรือได้ยินได้ฟังนั้น ก็มิใช่อะไรอื่น
    ก็คือ "ปฏิเวธ หรือ ผลการปฏิบัติ" ...ของพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์นั่นเอง

    ธรรมะ(ปฏิเวธ)จริง ๆ นั้นต้องเป็น "ธรรมที่เกิด และ สัมผัสใจเจ้าของ"
    แต่พอเอามาถ่ายทอด หรือพูดเล่าออกไป มันก็กลายเป็นปริยัติ คือ ส่วนที่เป็นแผนที่ (แต่มิใช่ของจริง)ไปเสียแล้ว

    คนรู้ธรรมะมาก ๆ บางทีท่านจึงเรียกว่า เป็นพวกที่รู้แผนที่เส้นทางการเดินทางเป็นอย่างดี
    หรือไม่ก็เรียกว่า เป็นพวกที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อม
    ก่อนจะเอามาใช้งานใช้การให้เกิดผลงาน (ปฏิเวธ) เพื่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาจริง ๆ

    คราวหนึ่ง สามีภรรยาคู่หนึ่งมาปฏิบัติภาวนากับหลวงปู่
    ฝ่ายสามีนั้น...เป็นผู้มีอุตสาหะในการปฏิบัติภาวนา

    ในขณะที่ภรรยา เป็นผู้ที่หลวงปู่บอกว่า เป็นผู้มีของเก่า (สั่งสมมาแต่อดีต) มากกว่าสามี... แต่ขี้เกียจปฏิบัติ

    เพื่อที่จะกระตุ้นเตือนมิให้ฝ่ายภรรยาตั้งอยู่ใน "ความประมาท"
    หลวงปู่ท่านจึงพูดขึ้นด้วยสำนวนของท่านว่า

    "อุปกรณ์ต่าง ๆ ของแกก็มีพร้อมแล้ว รอว่าเมื่อไหร่...แกจะเสียบปลั๊กเสียที"

    คำพูดของหลวงปู่จึงเป็นเหมือนการเตือน... "ไม่ให้ประมาท" พอใจยินดีเพียงแค่ความรู้ความเข้าใจในธรรม
    หรือบุญบารมีที่สั่งสมมาแต่เก่าก่อน
    ในขณะเดียวกัน คำพูดของหลวงปู่ก็ยังเป็นการให้กำลังใจว่า...

    ความสำเร็จ (ปฏิเวธ) นั้น อยู่ไม่ไกล ขอเพียง...เสียบปลั๊ก
    กล่าวคือ "ลงมือปฏิบัติ"...เพื่อเชื่อมสายปริยัติ-ปฏิเวธ


    "อุปกรณ์ หรือ ปริยัติ" นั้นก็จะเป็นปัจจัยให้เกิด... "ปฏิเวธ"
    เกิดความสว่างไสวขึ้นมาในจิตขึ้นมาจนได้สักวันหนึ่ง


    *** จากบทความของ คุณสิทธิ์
    ที่มา http://www.luangpordu.com/[/FONT]
     
  13. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ความหมายของคำว่า "...รู้จักข้าดีขึ้น"

    ความหมายของคำว่า "...รู้จักข้าดีขึ้น"

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-GB</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>X-NONE</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi; mso-fareast-language:EN-US;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]วันก่อนมีคนสอบถามความหมายของประโยคที่หลวงปู่กล่าวว่า "...เมื่อใดที่แกเห็นความดีในตัว เมื่อนั้นจึงนับว่าแกรู้จักข้าดีขึ้น"[/FONT]
    [FONT=&quot]ความ หมายก็คือ จิตที่ยังหยาบหรือยังมิได้รับการอบรมในศีล สมาธิ และปัญญาดีพอ ก็ย่อมไม่ได้สัมผัสธรรมที่ใจเจ้าของ กล่าวคือคุณธรรมความดียังไม่เกิด หรือเกิดไม่มากพอ ใจยังชุ่มอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ ใจชนิดนี้จึงยังไม่ซึ้งในคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ [/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ ในเมื่อจิตยังไม่ซึ้งในคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เวลากราบพระก็ไม่ถูกพระ ถูกแต่กระดานอยู่ตราบใด ใจนั้นจะรู้ถึงคุณธรรมความดีของหลวงปู่ก็ย่อมไม่มี ได้แต่รู้นอก ๆ รู้ผิวเผินว่าหลวงปู่ชื่อนั้นชื่อนี้ อยู่วัดนั้นวัดนี้ มีผู้คนมากราบไหว้ท่านมาก พระที่ท่านอธิษฐานจิตให้ ใคร ๆ ก็อยากได้ ฯลฯ ก็จบเพียงแค่นี้[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่สำหรับผู้ที่น้อมนำคำสอน ของท่านไปปฏิบัติดัดกายวาจาจิตของตนจนใจเข้าใกล้ความเป็นพระ ใจเริ่มสว่าง ใจเริ่มสงบ ใจเริ่มไม่ถูกย่ำยีด้วยอำนาจแห่งความโกรธ โลภ หลง ใจเริ่มทันกิเลส เป็นใจที่ปลอดโปร่งและคลายความสงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ใจเช่นนี้แหละจึงจะซึ้งในคุณความดีของหลวงปู่ ซึ้งในธรรมที่หลวงปู่พร่ำสอน [/FONT]
    [FONT=&quot]พูดง่าย ๆ ก็คือ หากใจเรายังไม่สัมผัสธรรมแท้ที่ใจเราบ้างเลย คำสอนของหลวงปู่ก็เป็นโมฆะที่ตัวเรา จึงป่วยการพูดว่าเรารู้จักหลวงปู่ดี[/FONT]
    [FONT=&quot]ใน ทางกลับกัน หากธรรมะของหลวงปู่มาบังเกิดผลที่ใจเรา คำสอนหลวงปู่ไม่เป็นโมฆะที่ตัวเรา เราจะเห็นคุณค่าเหลือประมาณในคำสอนของหลวงปู่ ก็คำสอนที่มีค่ายิ่งนี้จะมาจากที่ใดเล่า ถ้ามิใช่คุณธรรมที่เลิศล้ำในตัวหลวงปู่ ธรรมที่ทำให้ชีวิตนี้ไม่เป็นโมฆะ ทำให้เกิดมาไม่เสียชาติเกิด อย่างนี้จะไม่ซึ้งใจในองค์หลวงปู่ได้อย่างไร เพราะท่านเป็นดุจพ่อ ดุจแม่ ดุจครูอาจารย์ ...ท่านเป็นพระผู้จุดประทีปในดวงใจศิษย์ให้พ้นจากภาวะแห่งความมืดมน[/FONT]
    [FONT=&quot]เกิดมากี่ครั้ง เกิดมากี่ชาติ จะมีโอกาสได้พบพระผู้ประเสริฐอย่างหลวง ปู่ หลวงปู่เมตตาพร่ำสอนโดยมิจำต้องประกาศอวดสรรพคุณตัวเองแม้แต่น้อย แต่คุณธรรมความดีของหลวงปู่นั้นกลับหอมทวนลม และนับวันจะหอมไปไกลขึ้น ๆ [/FONT]
    [FONT=&quot]จิต หยาบก็สัมผัสหยาบ จิตละเอียดก็สัมผัสละเอียด ของจริงนั้นมีอยู่ หนทางเก่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ถากถางไว้ รอผู้ก้าวเดินตามนั้นก็ยังมี อยู่...[/FONT]


    [FONT=&quot]ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
     
  14. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ผู้ปฏิบัติภาวนา...จะรู้ได้อย่างไรว่ากรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน

    คำถามที่ว่า จะรู้ได้อย่างไร...กรรมฐานกองใดที่ใช่จริตตน
    คำตอบนี้ไม่มีในตำราหรือหนังสือหนังหาเล่มใด
    แต่หลวงปู่ท่านตอบจากใจ ฝากไว้ให้พิจารณากัน
    ผมโชคดีที่มีโอกาสกราบเรียนถามท่านในค่ำคืนวันหนึ่ง
    หลวงปู่ท่านตอบคำถามนี้ไว้ว่า...
    คนหัดใหม่น่ะ...ไม่รู้หรอก ให้เชื่อครูอาจารย์ไปก่อน
    เหมือนท่านสอนให้เขียน ก ไก่ ข ไข่ ค่อยหัดเรื่อยไป
    เด็กก็ยังไม่รู้เรื่องหรอก พอเริ่มเขียนเป็นคำได้ พอรู้เรื่อง
    ความรู้ก็จะแตกออกไป แตกออกไป
    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ในนั้นน่ะ มีหมดแล้ว
    กรรมฐานทุกกองเลย...แกไปตรองดูให้ดี
    สำคัญที่ทำจริง
    "จริง" นี่ ก็มี ตรี โท เอก
    ตรีก็ต่ำหน่อย โทก็ปานกลาง เอกนี่ขั้นอุกฤษฏ์
    ข้าว่าของข้าอย่างนี้แหละ แกจะว่าไง...

    [​IMG][​IMG][​IMG]


    [FONT=&quot]ที่มา:Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
     
  15. มหาใจเย็น

    มหาใจเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนา ด้วยครับ ฐาตุ จิรัง สะตังธัมโม ขอพระสัทธรรมจงตั้งอยู่สิ้นกาลนานเทอญ
     
  16. Zeezar

    Zeezar Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +58
    ๔. “แกมันเชื่อไม่จริง”
    ประโยคนี้ มีความหมายกว้างและครอบคลุมในหลาย ๆ กรณี ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ตั้งแต่ว่า
    · พากันไปกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ ฯลฯ ก็เพราะเราไม่เชื่อพระรัตนตรัยจริง
    · มาปฏิบัติ รับฟังคำสอนและการอบรมจากครูอาจารย์ เราก็พากันฟังแล้วเอาไปทิ้ง มิได้ฟังเอาไปทำ นั่นก็เพราะเชื่อท่านไม่จริง
    · ใน ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน ท่านให้บริกรรมภาวนาไตรสรณคมน์ พอมีอารมณ์อื่นเข้ามา เราก็ทิ้งเลย ทิ้งคำบริกรรมภาวนาแล้วไปปรุงแต่งอารมณ์อื่นเป็นภาพยนตร์เรื่องยาว นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง เห็นอารมณ์อื่นดีกว่าคำบริกรรมภาวนา
    · เวลา เกิดเคราะห์ร้าย หรือโรคภัย บางคนก็พร้อมจะไปยึดอย่างอื่นเป็นสรณะ ละทิ้งคำว่าพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิไปโดยสิ้นเชิง บางคนถึงขั้นเปลี่ยนศาสนาไปก็มี
    · เราปฏิบัติธรรมชนิดทำ ๆ หยุด ๆ ปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง วูบ ๆ วาบ ๆ ไม่สม่ำเสมอ นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง
    · เวลา ปฏิบัติเกิดความทุกข์ยากลำบากขึ้นมาเป็นต้นว่าปวดแข้งปวดขา หรือฟุ้งหนัก เราก็ทิ้งการปฏิบัติ หาทางลัดดีกว่า นั่งสมาธิ เดินจงกรมทำไมให้เมื่อย ทรมานตัวเองเปล่า ๆ ให้กิเลสหรอกว่ารูปแบบอย่างนั้นไม่เหมาะกับคนยุคนี้แล้ว ต้องมีทางลัดกว่านั้น นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริงว่าหนทางที่ท่านสอนเป็นทางพ้นทุกข์ได้จริง
    · เวลา ครูบาอาจารย์กระหนาบหนักเข้าเพื่อจะเจียระไนให้เราผู้เปรียบเหมือนหินให้ เป็นเพชรเป็นพลอยขึ้นมา ก็ไม่อาจจะอดทนต่อการอบรมสั่งสอนของท่าน นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริงว่าท่านทำด้วยเมตตาต่อเรา
    · ปฏิบัติ ไป ๆ ยังไม่ก้าวหน้าอย่างที่คาดหวัง ก็แสวงหาหนทางใหม่ ๆ มันเรื่อยไป เหมือนย้ายที่ปลูกต้นไม้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ต้นไม้ยังไม่เหี่ยวเฉาถึงที่สุด หรืออายุขัยยังไม่ใกล้หมด ก็ยังจะไม่ได้คิดปักหลักแล้วเอาจริงเอาจังสักที นั่นก็เพราะความที่เชื่อไม่จริง
    · ใน ระหว่างหนทางการปฏิบัติ พระท่านเตือนแล้วว่าให้ระวังกับดัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความหลงตัวหลงตน และลาภสักการะต่าง ๆ ก็ยังพากันติดกับดัก นั่นก็เพราะเชื่อไม่จริง
    · ฯลฯ

    ตอนผมอ่านข้อความนี้ครั้งแรกจากเวปหลวงปู่ผมชอบมากครับ
    มาได้อ่านอีกครั้ง
    รู้สึกได้เลยครับ
    เราจะเปลี่ยนพระเปลี่ยนครูบาอาจารย์ไปเรื่อยๆทำไม
    ถ้าเมื่อแรกเรามั่นใจแล้ว และหลวงพ่อหลวงปู่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
    จะเปลี่ยนพระจากคอทำไม
    หลายคนอาจารย์ไหนดีตามไป ใครว่าสักเจ้าไหนดีตามไป
    เหมือนคนบ้าเลยครับ
    ผมก้เริ่มจะบ้าแล้วเหมือนกัน เพราะตั้งแต่บูชาพระเครื่องมันเห็นผลจริง ชีวิตดีขึ้นจริง
    แต่พอมาอ่านธรรมะหลวงปู่ดู่ทีไร
    ธรรมะ มันอยู่ตรงนี้ มันมีแค่นี้
    ไม่ต้องไปไกล ไม่ต้องสัก ไม่ต้องหลงบ้าวัตถุมงคล
    สังเกตุไหมครับ ใครไปยึดติดวัตถุมงคล นี่ หลายคนห่างธรรมะเลยนะครับ
    มีแขวะมีโกรธมีหลง เมื่อใครมาพูดจากระทบสิ่งที่ตัวเองยึดติด เปลี่ยนพระเสาะแสวงหาไปเรื่อยๆ ไกลพระรัตนไตรย์ไปเรื่อยๆ
    คนพวกนี้ผมว่าเสื่อมไปเรื่อยๆโงหัวไม่ขึ้น อวดแต่ว่ารู้มาก(เรื่องพระเครื่องเรื่องอาจารย์)
    แต่ใจ เหี่ยวจริงๆ สังเกตุดูได้พวกนี้ปล่อยวางไม่เป็นปล่อยวางไม่ได้ ต่อล้อต่อเถียงในสิ่งที่เป็นตัวตนของตนสูง ไม่รู้จักขอโทษไม่รู้ตัวไม่กล้าพิมพ์ให้อภัยด้วยซ้ำ ไม่รู้ตัวด้วยว่าตัวเองมีแต่พระเครื่องแต่ห่างพระจริงไปทุกที เฮ้อ...

    จะว่าไปผมเริ่มจะเป็นแบบเขาอีกแล้ว มาๆหายๆ ด้วยกิเลศล้วนๆ

    ขอกราบหลวงปู่ดู่และยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติต่อไปครับ
     
  17. นพคุณ

    นพคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +3,815
    คำสอน ที่หลวงปู่เมตตาถ่ายทอดมานั้น
    ล้วนมุ่งตรงตามธรรมะที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัส
    แต่หลวงปู่ ได้ถ่ายทอดออกมาด้วยถ้อยคำที่ง่ายสำหรับชาวบ้าน
    คนที่ไม่เคยศึกษาธรรมะมาก็สามารถเข้าใจความหมายได้
    กราบหลวงปู่ครับ
     
  18. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ทำไมหลวงปู่สอนว่า ทำทุกวัน ดีทุกวัน ไม่มีไม่ดี

    <table width="100%" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>metha </td> </tr> </tbody></table>
    Posts: 73 topics
    Joined: 9/12/2552

    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="dot-bottom"><table width="100%" border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="25" height="25" align="center">[​IMG]</td> <td><table width="100%" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>ความคิดเห็นที่ 69 « on 25/2/2555 1:33:00 IP : 171.7.83.203 »</td> <td rowspan="2" valign="top" align="right">[​IMG] </td> </tr> <tr> <td>Re: วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> <table width="99%" align="center"> <tbody> <tr> <td> <table width="500" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" align="center"> <tbody><tr> <td>metha Talk:</td> </tr> <tr> <td><table width="100%" bgcolor="#d1d7dc" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td valign="top" bgcolor="#fafafa" height="50"> หลวงปู่เคยบอกว่า
    "แกไม่ปฏิบัตินี่ วันหนึ่งคืนหนึ่งเสียหายหลายแสน"
    ท่องไว้ในใจ ไม่ประมาท ไม่ประมาท
    คนทั่วไปทำ(ปฏิบัติภาวนา) เดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดี เดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดี
    แต่ทำไมหลวงปู่สอนว่า ทำทุกวัน ดีทุกวัน ไม่มีไม่ดี
    เรื่องนี้สำคัญ เรื่องนี้สำคัญ
    ปริศนานี้ ฝากให้หญิงและเพื่อนๆ ไว้คิดเล่นๆ ประจำสัปดาห์
    วันศุกร์นี้... เราค่อยมาเฉลยกัน
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>


    </td> </tr> </tbody> </table> ก่อนอื่นต้องขออภัยเพื่อนสมาชิกที่มารออ่านคำตอบ
    ไม่ได้ผิดนัดที่ไม่มาตอบตามสัญญาว่าวันศุกร์ และ
    คืนวันศุกร์ แต่ไม่สามารถเข้า web หลวงปู่ได้
    ตอนหัวค่ำยังเข้าได้อยู่ หลังจากทำกิจธุระเสร็จสี่ทุ่มไปแล้ว
    ก็ไม่สามารถเข้าได้อีกเลย กว่าจะพยายามสำเร็จก็ตีหนึ่ง
    สงสัยจะโดนลงโทษกระมังที่แกล้งลุงสิทธิ์กับคณะในวันนี้
    ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ ที่นำเรื่องหลวงปู่ท่านสอนว่า
    ทำทุกวัน ดีทุกวัน ไม่มีไม่ดี มาเล่านั้น เพราะยังมีหมู่คณะ
    บางคนเมื่อปฏิบัติภาวนาหรือนั่งสมาธิเสร็จ ก็จะประเมินตัวเอง
    ว่าวันนี้นั่งดี จิตใจก็อิ่มเอิบ วันนี้นั่งไม่ดี จิตใจก็ห่อเหี่ยว
    ผู้ปฏิบัติไม่ควรวางใจอย่างนี้
    ควรวางใจใหม่ว่า ทุกๆครั้งที่เราภาวนาไตรสรณาคมน์
    ด้วยความเคารพเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย
    องค์พระจะเกิดขึ้นที่จิตเราในทุกขณะ ในทุกคำภาวนาที่กล่าว
    ดังนั้น คำว่า "ดี" หรือบุญกุศลนี้จะเกิดขึ้นที่จิตเช่นกัน
    จะมืดจะสว่าง ใครที่ตั้งใจภาวนาแล้ว "ดี" ทั้งนั้น
    ส่วนใครที่ทำเป็นทำเห็น ก็จะได้เปรียบคนอื่น ตรงที่ได้พบกับ
    พระแท้พระเก่าในตัว เป็นประจักษ์พยานในคำสอนของท่าน
    ครั้งหนึ่งได้พาเพื่อนมากราบหลวงปู่ แล้วเพื่อนก็กราบเรียน
    หลวงปู่ว่าตนเองภาวนาไม่ดี นั่งสมาธิก็ไม่มีความสงบ
    ทำให้น้อยใจคิดว่าตนเป็นคนไม่มีวาสนาบารมี
    หลวงปู่ท่านฟังอย่างตั้งใจ เมื่อเพื่อนเล่าจบ ท่านก็ถามเขาว่า
    "แล้วแกรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเปล่า"
    เพื่อนตอบว่า "รู้จักครับ"
    หลวงปู่ท่านจึงเมตตาให้กำลังใจว่า
    "เออ! นั่นสิ ทำไมแกถึงว่าไม่มีดี"
    จากนั้น ท่านก็ให้กำลังใจต่อว่า
    "ของดีนั้นอยู่ที่เรา อยู่ที่จิต ให้รักษาจิต"
    หากถามว่ารักษาจิต รักษาอย่างไร
    ก็ขอตอบว่า...
    รักษาไว้ให้ ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง นั่นเอง!
    </td></tr></tbody></table>

    Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  19. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    "ประพฤติพรหมจรรย์" หลวงปู่ดู่ท่านเคยสอนอาหารสมองไว้อย่างไร

    <table width="100%" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>metha </td> </tr> </tbody></table>
    Posts: 73 topics
    Joined: 9/12/2552

    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="dot-bottom"><table width="100%" border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="25" height="25" align="center">[​IMG]</td> <td><table width="100%" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>ความคิดเห็นที่ 70 « on 25/2/2555 2:57:00 IP : 171.7.83.203 »</td> <td rowspan="2" valign="top" align="right">[​IMG] </td> </tr> <tr> <td>Re: วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td> <table style="width: 99%;" border="0" align="center"> <tbody> <tr> <td> <table style="width: 500px;" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" align="center"> <tbody> <tr> <td>metha Talk:</td> </tr> <tr> <td> <table style="width: 100%;" bgcolor="#d1d7dc" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"> <tbody> <tr> <td valign="top" bgcolor="#fafafa" height="50"> มีคำอยู่คำหนึ่งที่ไพเราะจับใจอาหารสมองมาก
    คือคำว่า "พรหมจรรย์" จึงขอนำพุทธประวัติตอนหนึ่ง
    มาให้ได้อ่านกัน
    ����ûԯ������� � - ����Թ�»Ԯ������� �
    เป็นตอนที่กล่าวถึงเหล่าบรรดาชฎิล ซึ่งภายหลังมีความเลื่อมใส
    พระพุทธเจ้า แล้วขอบวชในพระพุทธศาสนา ความตอนหนึ่งว่า...
    ชฏิลก้มศีรษะซบเศียรลงที่พระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วทูลขอ
    บรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า "ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า
    พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเถิด"

    พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า
    "เธอทั้งหลายจงมาเป็นภิกษุเถิด
    ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"

    พุทธประวัติตอนนี้ นึกถึงทีไรน้ำตาไหลทุกที หลายครั้งที่
    หลวงปู่ดู่เล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าให้อาหารสมองฟัง
    อาหารสมองก็ได้แต่ฟังอย่างใจจดใจจ่อ ค่อยๆนึกตาม
    ที่ท่านอธิบาย
    สำหรับเรื่อง "ประพฤติพรหมจรรย์"
    หลวงปู่ดู่ท่านเคยสอนอาหารสมองไว้อย่างไร
    ขอเพื่อนสมาชิกอดใจไว้ โปรดติดตามกันต่อไป...

    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody> </table> </td> </tr> </tbody> </table>


    </td> </tr> </tbody> </table> คำว่า "พรหมจรรย์" นี้หลายคนมักมองในความหมายเพียงแคบๆ
    คือการครองเพศบรรพชิตและการเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งเป็นเพียง
    ความหมายนัยหนึ่งเท่านั้น ความจริงพระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่าพรหมจรรย์
    หมายถึงการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธศาสนาทั้งหมด
    หรือการครองชีวิตที่ประเสริฐ
    การประพฤติพรหมจรรย์จึงมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ความสิ้นโลภะ
    โทสะ โมหะ บรรลุวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
    (จาก"พุทธธรรม" พระพรหมคุณาภรณ์ ปยุตโต)
    เรื่อง "ประพฤติพรหมจรรย์"
    หลวงปู่ท่านเคยสอนอาหารสมองไว้อย่างไร
    เรื่องแรกขอให้นึกถึงคำสอนตอนนี้ เป็นคำที่ชาวบ้านฟังแล้ว
    เข้าใจง่ายที่สุด มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์คือ
    "โกรธ โลภ หลง น่ะของโลก
    ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง นี่ของพระพุทธเจ้า"
    เรื่องที่ ๒ เป็นตอนที่ลุงสิทธิ์ได้มีโอกาสบวชเรียนภาคฤดูร้อน
    อาหารสมองก็อยากบวชบ้าง แต่ความปรารถนาไม่สมหวัง
    เพราะพ่อแม่ไม่อนุญาต ในเวลานั้นท่านคงกลัวลูกชายบวชไม่สึก
    จึงได้มาเล่าความตั้งใจให้หลวงปู่ฟัง ท่านก็เมตตาให้ข้อคิด
    โดยถามว่า "เป็นพระ เขาเป็นกันที่ไหน" ตอบท่านว่า "เป็นที่ใจ"
    ท่านจึงเล่าว่า การบวชในพุทธศาสนามี ๓ แบบ แบบแรกที่เรียกว่า เอหิภิกขุนั้น
    พระพุทธเจ้าท่านบวชให้ ที่ท่านว่า "จงมาเป็นภิกษุเถิด..." นั่น
    แบบที่สอง บวชโดยให้กล่าวไตรสรณาคมน์
    ส่วนแบบที่สาม คือที่บวชกันทุกวันนี้ ที่เรียกว่าสวดญัตติ...
    หลวงปู่ท่านสรุปว่าที่เรากล่าวคำถึง
    ไตรสรณาคมณ์นี้จึงถือเป็นการบวชอย่างหนึ่งคือบวชที่จิต
    เรื่องที่ ๓ เมื่อศิษย์ตั้งใจรักษาศีล๕ไป ภาวนาไป ปฏิบัติไป ใจอยากจะรักษาศีล๘
    แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ หลวงปู่ท่านก็แนะนำให้รักษาศีล๕ นี่แหละ
    แต่เปลี่ยนข้อ ๓ กาเม...เป็น อพรหมจริยา...
    ท่านว่าจะทำให้จิตมีความละเอียดขึ้น จิตสงบง่ายขึ้น จิตรวมง่ายขึ้น
    ส่วนการรักษาศีลอพรหมฯ นี้ จะรักษาให้ดีได้อย่างไร ขอให้ดูใน link
    ท้ายความเห็นที่ ๔ ที่ใส่ไว้ตอนต้นกระทู้ศึกษาดูอีกครั้ง
    หวังว่าเพื่อนหมู่คณะคงอิ่มเอมในธรรม ค่ำคืนนี้
    เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้....
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td align="right"><table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td height="30" align="right">[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  20. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ

    วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ
    วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ
    วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ
    วันนี้วันพระ...มาภาวนากันนะ


    ทุกๆ วันพระ เวลา ๒๒.๐๐ น. ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจมาร่วมภาวนากับศิษย์ของหลวงปู่ดู่ท่านในเว็บ Luangpudu.com / Luangpordu.com

    มารวมจิตรวมใจ ถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาพระคุณหลวงปู่ดู่

    ขอเชิญทุกท่านโดยพร้อมเพรียงกันที่หน้าพระพุทธ

    และรูปหลวงปู่ ที่โต๊ะหมู่หรือสถานที่บูชาพระ บ้านของเราเอง

    นะโม พรหมปัญโญ
    นะโม พรหมปัญโญ
    นะโม พรหมปัญโญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...