สนทนาภาคปฏิบัติธรรมที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Follower007, 15 สิงหาคม 2011.

  1. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    [​IMG][​IMG]

    หลวง ปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับ การฝึกหัดอบรมพัฒนา ตนเองจากความเป็น ปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชน ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียด ประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

    หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือนจะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวง ปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป


    ปฏิปทาการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่

    บันทึกปฏิปทาการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่ไว้เพื่อชนรุ่นหลังได้รับทราบ
    ๑. หลวงปู่เน้นสอนแบบตั้งรับ
    หลวงปู่ไม่เคยเดินสายไปเทศน์ที่ไหน ๆ มีแต่ตั้งรับ และตั้งรับชนิดว่ามาเมื่อไหร่เป็นได้เจอท่าน ใครมาจริงก็จะเจอของจริง
    ๒. หลวงปู่ไม่นิยมก่อสร้าง
    ไม่ ปรากฏว่าหลวงปู่สร้างถาวรวัตถุนั่น นี่ มีแต่บูรณะอุโบสถบ้าง กุฏิเสนาสนะในวัดบ้าง ซ่อมสะพานคนข้ามบ้าง บริจาคบำรุงการศึกษาให้เด็กนักเรียนบ้าง ให้เป็นทุนรักษาพระอาพาธบ้าง ฯลฯ แม้แต่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๆ โต ๆ ก็ไม่เคยเห็นท่านสร้าง เพราะท่านเป็นคนบอกบุญใครไม่เป็น และไม่นิยมสร้างวัตถุ หากแต่เน้นสร้างคนให้เป็นพระ
    ๓. หลวงปู่ไม่นิยมองค์กรจัดตั้ง
    ท่าน สอนของท่านแบบชาวบ้าน ๆ จะมีอะไรขลุกขลักบ้างก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องให้ถึงขนาดจัดแบ่งแผนก หรือเป็นคณะ เป็นสำนัก หรือเป็นองค์กร เพราะท่านไม่ยัดเยียดธรรมะให้ใคร ๆ
    ครั้งหนึ่ง ได้ยินท่านอุทานภายหลังอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์กรณีวัดไล่ที่ชาวบ้าน ว่า "ข้าว่าแล้วเชียว" คือท่านไม่เห็นด้วยกับการมุ่งขยายสำนักให้ใหญ่โตจนเป็นเหตุให้เกิดการเบียด เบียนกันขึ้น (คราวนั้น สำนักปฏิบัติใหญ่ได้ซื้อที่จากนายทุน แล้วส่งคนไปไล่ชาวบ้านที่เช่าที่ทำกินออกไป)
    ดู เอาเถิด ขนาดข้าวเปล่าทัพพีเดียวที่ยาจกใส่บาตรพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ยังจำบุญคุณมิรู้ลืม นี่ชาวบ้านบางส่วนก็คือคนใส่บาตรพระสำนักนี้ ก็ยังบีบให้เขาจำต้องทิ้งที่ทำกินถิ่นอาศัยไป บ้างมีที่เป็นของ ๆ ตนก็ยังบีบให้เป็นที่ตาบอด จนต้องขายทิ้งทั้งน้ำตา
    ๔. หลวงปู่ชอบสอนด้วยการทำให้ดู
    ไม่ ว่าเรื่องขันติ เรื่องความสันโดษ เรื่องการรักษาอารมณ์ เรื่องความเมตตา เรื่องอุเบกขา หลวงปู่ท่านทำให้ดู ใครมีปัญญาก็จะได้เห็นแบบอย่างที่อยู่ตรงหน้า รวมทั้งเรื่องมงคลตื่นข่าว หรือเรื่องหมอดู ท่านก็ไม่ข้องแวะ
    ๕. หลวงปู่ใช้ฤทธิ์แบบไม่แสดง
    หลวง ปู่ท่านใช้ของท่านแบบเนียน ๆ มุ่งเอาผลคือความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของลูกศิษย์เป็นที่ตั้ง มิใช่แสดงให้ลูกศิษย์มาอัศจรรย์กับเครื่องมือคือฤทธิ์ของท่าน
    ๖. ท่านไม่ได้สอนให้พอใจหรือหยุดอยู่เพียงแค่วัตถุมงคล
    กับ ผู้ที่ยังข้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เป็น มงคล หลวงปู่ท่านก็ยอมให้มาติดกับวัตถุมงคลไปก่อน จากนั้นท่านก็สอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เขาหาพระเก่าพระแท้ในใจตนเองให้ เจอ เพื่อเป็นหลักประกันว่า "ตนที่ฝึกดีแล้ว จะเป็นที่พึ่งแห่งตน" ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ความดีที่ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่อีก มิใช่มีเพียงเท่านี้"
    ๗. หลวงปู่สอนให้สวดตัวเองยิ่งกว่ามนตร์ใด ๆ
    สวด ตัวเองก็คือด่าตัวเอง สอนตัวเอง ดังโอวาทของท่านที่ว่า "ตนไม่เตือนตนเอง จะให้ใครมาเตือน" สวดตัวเองก็ต้องอาศัยหลักธรรมใหญ่ที่ท่านเน้น นั่นก็คือ "หมั่นดูจิต รักษาจิต" มนตร์วิเศษภายนอกก็คือบทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ใน ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน ที่ท่านใช้เป็นหลัก มิใช่บทจักรพรรดิดังที่เผยแพร่กันอยู่ นี่ถ้าพระพุทธเจ้ายังอาลัยในสมบัติจักรพรรดิ พระองค์ก็คงยังต้องทุกข์จมอยู่ในวัฏฏะอีกนานแสนนาน และพวกเราก็คงไม่มีโอกาสพบแสงสว่างแห่งธรรมอีกนานแสนนานเช่นกัน พลังโลกียะ ฤาจะเปรียบกับพลังแห่งธรรมแท้ ...พลังที่จะพาเราออกจากวัฏฏะ มิใช่ข้องหรือจมอยู่กับวัฏฏะ
    ๘. หลวงปู่เน้นอรรถะมากกว่าพยัญชนะ
    ด้วย เหตุที่วัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้นอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้รับ สาร ดังนั้นหลวงปู่จึงเลือกใช้ภาษาที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ มากกว่าจะถ่ายทอดด้วยภาษาพุทธวจนะในพระไตรปิฎก หรือศัพท์แสงบาลีที่แม้แต่นักวิชาการก็ยังต้องมาถกกันในความหมายที่แท้จริง นอกจากนี้หลวงปู่ชอบที่จะใช้อุปมาอุปไมยในแบบของท่าน เช่น “เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล” “ตายเล็ก ตายใหญ่” “ธรรมะเหมือนแกงส้ม” “ธรรมเท่าปลายเข็ม” “เมตตาพาตกเหว” ฯลฯ
    ๙. หลวงปู่เน้นให้กำลังใจมากกว่าจะให้กลัวเกรง
    เวลา ที่อยู่ต่อหน้าหลวงปู่ เราจะไม่รู้สึกเกร็งว่าท่านจะมาสอบอารมณ์แล้วติติงทำนองไม่เห็นก้าวหน้าไป ไหนจนทำให้รู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจในการปฏิบัติ ตรงกันข้าม หลวงปู่ท่านมีแต่ให้กำลังใจ และช่วยให้เราพ้นไปจากอาการเศร้า หมองเพราะเหตุที่คิดว่าปฏิบัติไม่ถึงไหน ดังที่ท่านว่า หากรู้จักและเชื่อมั่นศรัทธาในพระรัตนตรัยมากขึ้น ก็นับเป็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติแล้ว หรือการที่เราคลายความขี้โมโหโทโส ยอมฟังคนอื่นมากขึ้น ฯลฯ ก็ถือเป็นความก้าวหน้าเช่นกัน มิใช่จะมาวัดกันที่การรู้เห็นนิมิตหรือรู้จำสภาวธรรมมาตอบแข่งกันหรือตอบพอ ไม่ให้อายครูอาจารย์ (ที่มาสอบอารมณ์) ซึ่ง จริง ๆ แล้ว หลวงปู่ รวมทั้งครูอาจารย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถร จะไม่นิยมการสอบอารมณ์ เพราะท่านเน้นให้นักปฏิบัติต้องสอบอารมณ์ตัวเอง ด้วยใจเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง เพื่อผลคือความสามารถดับทุกข์ให้กับตนเองเป็นสำคัญ
    ๑๐. หลวงปู่มุ่งเน้นที่ประโยชน์ของผู้รับมากกว่าผู้ให้
    หลวง ปู่สู้อุตส่าห์นั่งโปรดญาติโยม (บนไม้กระดานแข็ง ๆ) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ก็ด้วยมุ่งหวังจะให้ศิษย์ได้ที่พึ่งที่ปลอดภัย นั่นก็คือ “ตน...ที่ฝึกมาดีแล้ว” รวมทั้งไม่ให้ยึดติดองค์ท่าน ...ตลอด ระยะเวลาหลายสิบปีที่ท่านอบรมสั่งสอนลูกศิษย์จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ ชัดเจนว่าท่านมิได้มุ่งหวังความอยากเด่นอยากดัง หรือลาภสักการะแต่อย่างใดเลย ซึ่งลาภสักการะมักเป็นกับดักที่ได้ผลที่ฆ่าลูกพระตถาคตมาทุกยุคทุกสมัย
    ๑๑. ความเมตตาของหลวงปู่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
    สิ่ง น่าอัศจรรย์อันหนึ่งที่ได้รับทราบจากการได้มีโอกาสพูดคุยกับศิษย์เก่าแก่ของ หลวงปู่บางท่าน ซึ่งนับเป็นผู้ขวนขวายปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่สมัยหลวงปู่มีชีวิต โดยที่ท่านเหล่านั้นต่างก็มิได้รู้จักคุ้นเคยกัน แต่กลับพูดถึงสิ่งอัศจรรย์ตรงกัน นั่นก็คือความเมตตาของหลวงปู่ที่ท่านตามไปส่งลูกศิษย์จนเข้าเขตที่ปลอดภัย (กรุงเทพฯ) กล่าวคือ ครอบครัวนักปฏิบัติเหล่านั้น เมื่อขับรถกลับจากวัดสะแกในเวลาเย็นค่ำ เมื่อขับจนพ้นช่วงที่มืดและเปลี่ยวในระหว่างทางอยุธยาจะเข้ากรุงเทพฯ บริเวณรังสิต เขาจะได้ยินเสียงหลวงปู่ว่า “ข้าส่งแกแค่นี้นะ” ทุกครั้ง พร้อมกับอาการปีติขนลุกด้วยความซาบซึ้งใจในความเมตตาของหลวงปู่ที่เป็นห่วง เป็นใย ท่านคงต้องการให้มั่นใจว่าลูกศิษย์นักปฏิบัติเหล่านั้นเดินทางกลับบ้านด้วย ความปลอดภัยทุก ๆ คน นี้ยังไม่รวมถึงความเมตตาที่ท่านตามไปดูแลถึงที่บ้าน ไม่ว่าจะให้ทราบโดยทางนิมิตหรือทางเสียงจิ้งจกก็ตาม

    ที่มา:
    Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  2. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303


    [FONT=&quot]๑. ครูอาจารย์ดีๆ มีอยู่มากก็จริง แต่สำคัญที่เราต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี [/FONT]

    [FONT=&quot]๒. การปฏิบัติ ถ้าหยิบตำราโน้นนี้มาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา …การ จะปฏิบัติให้รู้ธรรมเห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง เอาให้จริงให้รู้ ถ้าไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์[/FONT]

    [FONT=&quot]๓. การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ศีลคือ ดิน สมาธิ คือ ลำต้น ปัญญาคือ ดอกผล เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน และต้องคอยระมัดระวังมิให้ตัวหนอนคือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน[/FONT]

    [FONT=&quot]๔. ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]๕. “โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”
    เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง... ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง[/FONT]

    [FONT=&quot]๖. ให้ พยายามภาวนาไว้เรื่อยๆ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ตลอดเวลาถ้าเราจะทำ ดีกว่านั่งร้องเพลง จะซักผ้า หุงข้าว ต้มแกง นั่งรถ ทำได้ทั้งนั้น เขาเรียกว่า พยายามเกลี่ยจิตใจให้เข้าที่ ถ้าจะรอเวลาปฏิบัติ (นั่งสมาธิภาวนา) ทีเดียวมันยาก เพราะจิตมันแตกมาตลอดวัน[/FONT]

    [FONT=&quot]๗. ของดีอยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต[/FONT]

    [FONT=&quot]๘. คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร[/FONT]

    [FONT=&quot]๙. ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนรสแกงส้ม[/FONT]
    [FONT=&quot] ศีล เปรียบได้กับรสเปรี้ยว ความเปรี้ยวทำหน้าที่กัดกร่อนความสกปรกออก ทำนองเดียวกัน ศีลจะช่วยขัดเกลาความหยาบออกจากทางกาย วาจา ใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] สมาธิ เปรียบได้กับรสเค็ม เพราะความเค็มช่วยรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสีย สมาธิก็เหมือนกัน สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีได้[/FONT]
    [FONT=&quot] ปัญญา เปรียบได้กับรสเผ็ด เพราะปัญญามีลักษณะคิด อ่าน ตริตรอง โลดแล่นไป เพื่อขจัดอวิชชาความหลง[/FONT]

    [FONT=&quot]๑๐. การ ปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย เลยไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกรรมฐานที่ตั้งไว้ ภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าว ไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไป มันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัว แล้วเราจะรู้ชัดว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป[/FONT]

    [FONT=&quot]๑๑. รวย กับซวยมันใกล้กันนะ จะเอารวยน่ะ จะหามายังไงก็ทุกข์ กลัวคนจะมาจี้มาปล้น หมดไปก็เป็นทุกข์อีก ไปคิดดูเถอะ มันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอา “ดี” ดีกว่า[/FONT]

    [FONT=&quot]๑๒. ความสำเร็จนั้น มิใช่อยู่ที่การสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา[/FONT]
    [FONT=&quot]ประทานให้ หากแต่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าตั้งใจทำตามแบบแล้วทุกอย่าง [/FONT]
    [FONT=&quot]รับรอง ว่าต้องสำเร็จ ไม่ใช่จะสำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านวางแบบเอาไว้แล้ว ครูบาอาจารย์ทุกองค์มีพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด ก็ได้ทำตามแบบ เป็นตัวอย่างให้เราดูอัฐิของท่านก็เลยกลายเป็นพระธาตุกันหมด [/FONT]

    [FONT=&quot]๑๓. รอให้แก่เฒ่าหรือจวนตัวแล้วจึงสนใจภาวนา ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำตอนเรือหรือ[/FONT]
    [FONT=&quot]แพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์ [/FONT]

    [FONT=&quot]๑๔. ที่ว่านิมิต แสงสว่างเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส [/FONT]
    [FONT=&quot](อาศัยกิเลสละเอียดไปละกิเลสอย่างหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดแสงสว่างหรือหลง[/FONT]
    [FONT=&quot]แสง สว่าง ท่านให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เกิดประโยชน์เหมือนอย่างกับเราเดินทางผ่านไปในที่มืด ก็ต้องอาศัยแสงไฟช่วยนำทาง หรืออย่างว่าเราจะข้ามแม่น้ำ ก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ เมื่อถึงฝั่งแล้ว เราจะแบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไปด้วยทำไม[/FONT]

    [FONT=&quot]๑๕. อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ โดยไม่ได้เอาน้ำร้อนไปใช้ประโยชน์ (หมายถึงอย่าเอาแต่ทำสมาธิโดยไม่พิจารณาธรรม)[/FONT]
    [FONT=&quot]๑๖. อย่าปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง (หมายถึงไหม้วูบเดียวแล้วก็ดับ กล่าวคือ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็หยุด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องทำ (ปฏิบัติธรรม) ให้สม่ำเสมอให้ได้ทั้งในยามขยันและขี้เกียจ)[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่มา:[/FONT][FONT=&quot] Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
     
  3. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    พุทโธ กับ พุทธัง

    LP Du.jpg
    พุทโธ กับ พุทธัง
    การทำสมาธิภาวนาในภาคปฏิบัตินั้น อุบายวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือการใช้คำบริกรรมภาวนา
    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล เคยมีพระภิกษุรูปหนึ่งเอา "ชื่อนก" ที่ท่านเห็นในระหว่างเดินทางมาเป็นคำบริกรรมภาวนา ท่านบริกรรมของท่านจนจิต สงบเป็นสมาธิ ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความที่สัตว์เล็กต้องตกเป็นอาหารของสัตว์ที่ใหญ่กว่า ฯลฯ จิตท่านก็เกิดธรรมสังเวช กระทั่งบรรลุธรรมในที่สุด
    ในสมัยปัจจุบันที่หลวงปู่มั่นส่งเสริม การปฏิบัติกรรมฐานอย่างแพร่หลาย คำบริกรรมที่เป็นที่นิยมก็คือ "พุทโธ" ถ้าเป็นหลวงพ่อสดก็นิยมใช้คำบริกรรมภาวนาว่า "สัมมา อะระหัง" ในขณะที่หลวงปู่ดู่นิยมให้ลูกศิษย์บริกรรมว่า "พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ"
    คำบริกรรมจึงเป็นเครื่องมือ/เครื่อง อาศัยเพื่อการรวมจิตรวมใจให้อยู่ในอารมณ์เดียว (คืออารมณ์แห่งการบริกรรมภาวนา) จิตก็จะเข้าถึงความสงบระงับละเอียดประณีตไปตามลำดับ
    เคยมีศิษย์ใหม่มากราบเรียนหลวงปู่ว่า เขาเคยภาวนา "พุทโธ" บ้าง "สัมมา อะระหัง" บ้าง ฯลฯ หลวงปู่ก็มักจะว่า "ดีแล้ว ให้ภาวนาอย่างนั้นต่อไป เว้นแต่ศิษย์บางคนจะลองเปลี่ยนคำบริกรรมทั้งนี้เป็นไปตามความสมัครใจของตน เอง
    แต่สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ ยังไม่รู้จะใช้คำบริกรรมภาวนาใดดี หลวงปู่ก็จะแนะนำให้บริกรรมไตรสรณาคมน์ (คือพุทธัง...ธัมมัง...สังฆัง สะระณังคัจฉามิ) ท่านว่า "ไตรสรณาคมน์คือรากแก้วของพระพุทธศาสนา"
    ถึงกระนั้นก็ยังมีลูกศิษย์ขี้สงสัยถามหลวงปู่ว่า "หลวงปู่ครับ ทำไมไม่พุทโธ...ทำไมต้อง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ครับ"
    หลวงปู่อมยิ้มแล้วตอบว่า "ก็แล้วแกจะขึ้นต้นไม้ทางโคนหรือทางยอดล่ะ"
    ความหมายของหลวงปู่ก็คือ พุทโธ หรือ ความรู้ ตื่น เบิกบาน นั้นเป็นภาวะที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติ ในขณะที่พุทธัง..ธัมมัง...สังฆังฯ นั้นเป็นฐานรากแห่งการปฏิบัติ
    คนเราจะมาเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ได้ก็ด้วยอาศัยศรัทธาเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธ พรระธรรม พระสงฆ์ อาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งในเบื้องต้น แล้วก้าวเดินทางภาคปฏิบัติไปจนกว่าจะได้ตนเป็นที่พึ่ง วันที่ได้ตนเป็นที่พึ่งนั้นแหละ คือได้พุทโธ
    นี่ว่ากันโดยความหมาย แต่ในทางปฏิบัติหรือการบริกรรมภาวนาจริง ๆ หลวงปู่ท่านก็มิได้บังคับให้ใคร ๆ ต้องมาเปลี่ยนคำบริกรรมหรอก เพราะมันก็เป็นแค่เครื่องมือจูงจิตให้พ้นจากนิวรณ์ความฟุ้งซ่าน ฯลฯ ให้เข้าถึงความสงบอันเป็นเป้าหมายปลายทางเดียวกัน ไม่มีหรอกว่าบริกรรมอย่างนี้จะเป็นสมถะ บริกรรมอย่างนี้จะเป็นวิปัสสนา ท่านไม่เคยแยกอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายมีหลวงพ่อชาก็ไม่เคยแยกอย่างนั้น สมถะ-วิปัสสนาเป็นการแยกในทางปริยัติให้เข้าใจแบบ slow motion mode หรือแบบช้า ๆ หรืออาจเรียกว่าแบบแยกส่วน (ไม่ใช่แบบองค์รวม) แต่ในภาคปฏิบัติแล้วท่านไม่ให้แยก แยกแล้วมีปัญหา แยกแล้วก็มักจะไปติดการเรียกชื่อว่านี้วิปัสสนานะตัดกิเลส ได้ โน่นแค่สมถะเป็นแค่กดข่มกิเลสนะ ฯลฯ
    พูดเรื่องคำบริกรรม "พุทโธ กับ พัทธังฯ" ไป ๆ มา ๆ ชักเลยเถิดไปถึงเรื่องสมถะ-วิปัสสนาซะแล้ว ขอสรุปอีกทีว่าจะบริกรรมพุทโธ หรือพุทธัง ธัมมัง สังฆังฯ หลวงปู่ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ความหมายก็ดีทั้งคู่ คำหนึ่งหมายถึงส่วนผล อีกคำหนึ่งหมายถึงส่วนเหตุ

    [FONT=&quot]ที่มา: [/FONT]Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  4. rungpetch

    rungpetch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +42
    อวดบ้างนะ เดือนที่แล้วไปวัดสะแกมา ได้เหรียญหลวงปู่ทวดบัวข้างมา(ปลื้มมาก)
    ที่โพสมาคืออยากรบกวนเรียนถามหน่อยครับว่าเวลาระลึกถึงหลวงปู่ดู่
    ใช้คำอธิฐานไหนถูกต้องและเหมาะสมครับระหว่าง
    "นะโม พรหมปัญโญ" กับ "นะโม โพธิสัตยโต พรหมปัญโญ" ขอบพระคุณครับ
     
  5. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ลองอ่านความคิดเห็นจากข้างล่าง
    อนุโมทนากับคุณ rungpetch



     
  6. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    วัดสะแก สภาพน้ำเป็นยังไงบ้างครับ ได้รับผลกระทบมากมั้ย
     
  7. rungpetch

    rungpetch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +42
    ขอบพระคุณครับ
     
  8. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    ที่มา

    http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=304&qid=29681


    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]



    อัพเดจ จากเวบยูครับ ภาพน้ำท่วม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2011
  9. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อนุโมทนากับคุณ Ong ที่ช่วย update ข่าวน้ำท่วมที่วัดสะแกให้ทราบ
    และขอเอาใจช่วยทุกท่านที่โดนผลกระทบทั้งทางตรงละทางอ้อม
    ขอให้ผ่านพ้นไปด้วยดี.....หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่คุ้มครอง
     
  10. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    สั้นๆ ก็มี

    สั้นๆ ก็มี

    เคยมีผู้ปฏิบัติกราบเรียนถามหลวงปู่ว่า

    “หลวงปู่ครับ ขอธรรมะสั้นๆ ในเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้กิเลส ๓ ตัว คือ โกรธ โลภ หลง หมดไปจากใจเรา จะทำได้อย่างไรครับ”

    หลวงปู่ตอบเสียงดังฟังชัด จนพวกเราในที่นั้นได้ยินกันทุกคนว่า


    “สติ”

    ******************************

    คติธรรมเรื่องที่ ๕๓ "สั้นๆ ก็มี" จากหน้งสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญหน้า 93
     
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    แบบปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ?

    แบบปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ?

    ในยุคปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนเผชิญกับความทุกข์ความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องปากท้อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนต่างแสวงหาที่พึ่ง แสวงหาคำตอบของชีวิต

    ในขณะเดียวกันก็มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์สอนการปฏิบัติธรรมกันมาก เกี่ยวกับเรื่องแบบปฏิบัติธรรมนี้ หลวงปู่ได้เล่าไว้ว่าเคยมีผู้พิมพ์ แบบปฏิบัติธรรมมาถวายและใช้คำว่า “แบบปฏิบัติธรรมวัดสะแก” ท่านแก้ให้ว่า อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นแบบของพระพุทธเจ้า ไม่ควรใช้ว่าเป็นแบบของวัดใด

    อีกครั้งหนึ่งที่เคยมีผู้ตั้งคำถามในอินเตอร์เน็ตว่า

    “แบบปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ดู่เป็นอย่างไร”

    ข้าพเจ้า หวนระลึกถึงบทสนทนาตอนหนึ่งที่หลวงปู่เคยเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งมีลูกศิษย์มาขอศึกษาธรรมตามแบบของท่าน หลวงปู่ได้ตอบศิษย์ ผู้นั้นไปว่า ข้าไม่ใช่อาจารย์หรอก อาจารย์นั่น ต้องพระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด นั่น ข้าเป็นลูกศิษย์ท่าน

    ข้าพเจ้ากลับมานั่งคิดทบทวนอยู่หลายครั้ง ความชัดเจนในคำตอบของหลวงปู่จึงค่อย ๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ เสียงสวดมนต์ทำวัตรแว่วมาแต่ไกล

    ....โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะ จะริยัง ปะกาเสสิ

    แปลได้ความว่า

    ....พระ ผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว มีความไพเราะงดงามในเบื้องต้น ไพเราะงดงามในท่ามกลาง ไพเราะงดงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง

    พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

    สาธุ ถูกของหลวงปู่และจริงเป็นที่สุด พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนการปฏิบัติไว้อย่างดียิ่ง เป็นขั้นเป็นตอนและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องการผู้ใดมาแต่งมาเติมอีก กุญแจคำตอบสำหรับเรื่องนี้ได้เฉลยแล้ว

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ

    ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ด้วยเศียรเกล้า



    ****************************************
    คติธรรมเรื่องที่ ๕๔ "แบบปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ?" จากหน้งสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญหน้า 94/95
     
  12. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ปลูกต้นธรรม

    ปลูกต้นธรรม

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่เคยเปรียบการปฏิบัติธรรมเหมือนการปลูกต้นไม้

    ท่านว่า...ปฏิบัตินี้มันยาก ต้องคอยบำรุงดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้

    ศีล...................คือ ดิน

    สมาธิ...............คือ ลำต้น

    ปัญญา.............คือ ดอก ผล


    ออก ดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดิน ระวังรักษาต้นธรรมให้ผลิดอก ออกใบ มี

    ผลน่ารับประทาน ต้องคอยระวังตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง มิให้มากัดกินต้นธรรมได้อย่างนี้ จึงจะได้ชื่อว่าผู้รักธรรม รักการปฏิบัติจริง


    คติธรรมเรื่องที่ ๖ "ปลูกต้นธรรม" จากหน้งสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญหน้า 36
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2011
  13. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ตรี โท เอก

    ตรี โท เอก

    ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนจะจัดทำบุญเพื่อเป็นกตัญญูกตเวทิตาธรรม น้อมถวายแด่หลวงปู่เกษม เขมโก เนื่องในโอกาสที่หลวงปู่ท่านมีอายุครบ ๗๔ พรรษา

    เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

    ผู้เขียนได้เรียนถามหลวงปู่ว่า “การทำบุญอย่างไร จึงจะดีที่สุด”

    หลวงปู่ท่านได้เมตตาตอบว่า

    “ของดีนั้นอยู่ที่เรา ของดีนั้นอยู่ที่จิต จิตมี ๓ ชั้น ตรี โท เอก ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย โทก็ปานกลาง เอกนี่อย่างอุกฤษฏ์
    มัน ไม่มีอะไร... ก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวอนัตตานี่แหละ เป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นสังขารร่างกายเรา ตายแน่ๆ คนเราหนีตายไปไม่พ้น

    ตายน้อย ตายใหญ่ ตายใหญ่ก็ตายหมด ตายน้อยก็หลับ ไปตรองดูให้ดีเถอะ... ”


    คติธรรมเรื่องที่ ๑๐ "ตรี โท เอก" จากหน้งสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญหน้า 40
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2011
  14. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    [​IMG][​IMG]

    หลวง ปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับ การฝึกหัดอบรมพัฒนา ตนเองจากความเป็น ปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชน ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียด ประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

    หวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือนจะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวง ปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป


    ปฏิปทาการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่

    บันทึกปฏิปทาการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่ไว้เพื่อชนรุ่นหลังได้รับทราบ
    ๑. หลวงปู่เน้นสอนแบบตั้งรับ
    หลวงปู่ไม่เคยเดินสายไปเทศน์ที่ไหน ๆ มีแต่ตั้งรับ และตั้งรับชนิดว่ามาเมื่อไหร่เป็นได้เจอท่าน ใครมาจริงก็จะเจอของจริง
    ๒. หลวงปู่ไม่นิยมก่อสร้าง
    ไม่ ปรากฏว่าหลวงปู่สร้างถาวรวัตถุนั่น นี่ มีแต่บูรณะอุโบสถบ้าง กุฏิเสนาสนะในวัดบ้าง ซ่อมสะพานคนข้ามบ้าง บริจาคบำรุงการศึกษาให้เด็กนักเรียนบ้าง ให้เป็นทุนรักษาพระอาพาธบ้าง ฯลฯ แม้แต่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๆ โต ๆ ก็ไม่เคยเห็นท่านสร้าง เพราะท่านเป็นคนบอกบุญใครไม่เป็น และไม่นิยมสร้างวัตถุ หากแต่เน้นสร้างคนให้เป็นพระ
    ๓. หลวงปู่ไม่นิยมองค์กรจัดตั้ง
    ท่าน สอนของท่านแบบชาวบ้าน ๆ จะมีอะไรขลุกขลักบ้างก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องให้ถึงขนาดจัดแบ่งแผนก หรือเป็นคณะ เป็นสำนัก หรือเป็นองค์กร เพราะท่านไม่ยัดเยียดธรรมะให้ใคร ๆ
    ครั้งหนึ่ง ได้ยินท่านอุทานภายหลังอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์กรณีวัดไล่ที่ชาวบ้าน ว่า "ข้าว่าแล้วเชียว" คือท่านไม่เห็นด้วยกับการมุ่งขยายสำนักให้ใหญ่โตจนเป็นเหตุให้เกิดการเบียด เบียนกันขึ้น (คราวนั้น สำนักปฏิบัติใหญ่ได้ซื้อที่จากนายทุน แล้วส่งคนไปไล่ชาวบ้านที่เช่าที่ทำกินออกไป)
    ดู เอาเถิด ขนาดข้าวเปล่าทัพพีเดียวที่ยาจกใส่บาตรพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ยังจำบุญคุณมิรู้ลืม นี่ชาวบ้านบางส่วนก็คือคนใส่บาตรพระสำนักนี้ ก็ยังบีบให้เขาจำต้องทิ้งที่ทำกินถิ่นอาศัยไป บ้างมีที่เป็นของ ๆ ตนก็ยังบีบให้เป็นที่ตาบอด จนต้องขายทิ้งทั้งน้ำตา
    ๔. หลวงปู่ชอบสอนด้วยการทำให้ดู
    ไม่ ว่าเรื่องขันติ เรื่องความสันโดษ เรื่องการรักษาอารมณ์ เรื่องความเมตตา เรื่องอุเบกขา หลวงปู่ท่านทำให้ดู ใครมีปัญญาก็จะได้เห็นแบบอย่างที่อยู่ตรงหน้า รวมทั้งเรื่องมงคลตื่นข่าว หรือเรื่องหมอดู ท่านก็ไม่ข้องแวะ
    ๕. หลวงปู่ใช้ฤทธิ์แบบไม่แสดง
    หลวง ปู่ท่านใช้ของท่านแบบเนียน ๆ มุ่งเอาผลคือความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของลูกศิษย์เป็นที่ตั้ง มิใช่แสดงให้ลูกศิษย์มาอัศจรรย์กับเครื่องมือคือฤทธิ์ของท่าน
    ๖. ท่านไม่ได้สอนให้พอใจหรือหยุดอยู่เพียงแค่วัตถุมงคล
    กับ ผู้ที่ยังข้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เป็น มงคล หลวงปู่ท่านก็ยอมให้มาติดกับวัตถุมงคลไปก่อน จากนั้นท่านก็สอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เขาหาพระเก่าพระแท้ในใจตนเองให้ เจอ เพื่อเป็นหลักประกันว่า "ตนที่ฝึกดีแล้ว จะเป็นที่พึ่งแห่งตน" ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ความดีที่ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่อีก มิใช่มีเพียงเท่านี้"
    ๗. หลวงปู่สอนให้สวดตัวเองยิ่งกว่ามนตร์ใด ๆ
    สวด ตัวเองก็คือด่าตัวเอง สอนตัวเอง ดังโอวาทของท่านที่ว่า "ตนไม่เตือนตนเอง จะให้ใครมาเตือน" สวดตัวเองก็ต้องอาศัยหลักธรรมใหญ่ที่ท่านเน้น นั่นก็คือ "หมั่นดูจิต รักษาจิต" มนตร์วิเศษภายนอกก็คือบทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ใน ๗ ตำนาน และ ๑๒ ตำนาน ที่ท่านใช้เป็นหลัก มิใช่บทจักรพรรดิดังที่เผยแพร่กันอยู่ นี่ถ้าพระพุทธเจ้ายังอาลัยในสมบัติจักรพรรดิ พระองค์ก็คงยังต้องทุกข์จมอยู่ในวัฏฏะอีกนานแสนนาน และพวกเราก็คงไม่มีโอกาสพบแสงสว่างแห่งธรรมอีกนานแสนนานเช่นกัน พลังโลกียะ ฤาจะเปรียบกับพลังแห่งธรรมแท้ ...พลังที่จะพาเราออกจากวัฏฏะ มิใช่ข้องหรือจมอยู่กับวัฏฏะ
    ๘. หลวงปู่เน้นอรรถะมากกว่าพยัญชนะ
    ด้วย เหตุที่วัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้นอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้รับ สาร ดังนั้นหลวงปู่จึงเลือกใช้ภาษาที่ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ มากกว่าจะถ่ายทอดด้วยภาษาพุทธวจนะในพระไตรปิฎก หรือศัพท์แสงบาลีที่แม้แต่นักวิชาการก็ยังต้องมาถกกันในความหมายที่แท้จริง นอกจากนี้หลวงปู่ชอบที่จะใช้อุปมาอุปไมยในแบบของท่าน เช่น “เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล” “ตายเล็ก ตายใหญ่” “ธรรมะเหมือนแกงส้ม” “ธรรมเท่าปลายเข็ม” “เมตตาพาตกเหว” ฯลฯ
    ๙. หลวงปู่เน้นให้กำลังใจมากกว่าจะให้กลัวเกรง
    เวลา ที่อยู่ต่อหน้าหลวงปู่ เราจะไม่รู้สึกเกร็งว่าท่านจะมาสอบอารมณ์แล้วติติงทำนองไม่เห็นก้าวหน้าไป ไหนจนทำให้รู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจในการปฏิบัติ ตรงกันข้าม หลวงปู่ท่านมีแต่ให้กำลังใจ และช่วยให้เราพ้นไปจากอาการเศร้า หมองเพราะเหตุที่คิดว่าปฏิบัติไม่ถึงไหน ดังที่ท่านว่า หากรู้จักและเชื่อมั่นศรัทธาในพระรัตนตรัยมากขึ้น ก็นับเป็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติแล้ว หรือการที่เราคลายความขี้โมโหโทโส ยอมฟังคนอื่นมากขึ้น ฯลฯ ก็ถือเป็นความก้าวหน้าเช่นกัน มิใช่จะมาวัดกันที่การรู้เห็นนิมิตหรือรู้จำสภาวธรรมมาตอบแข่งกันหรือตอบพอ ไม่ให้อายครูอาจารย์ (ที่มาสอบอารมณ์) ซึ่ง จริง ๆ แล้ว หลวงปู่ รวมทั้งครูอาจารย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถร จะไม่นิยมการสอบอารมณ์ เพราะท่านเน้นให้นักปฏิบัติต้องสอบอารมณ์ตัวเอง ด้วยใจเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง เพื่อผลคือความสามารถดับทุกข์ให้กับตนเองเป็นสำคัญ
    ๑๐. หลวงปู่มุ่งเน้นที่ประโยชน์ของผู้รับมากกว่าผู้ให้
    หลวง ปู่สู้อุตส่าห์นั่งโปรดญาติโยม (บนไม้กระดานแข็ง ๆ) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ก็ด้วยมุ่งหวังจะให้ศิษย์ได้ที่พึ่งที่ปลอดภัย นั่นก็คือ “ตน...ที่ฝึกมาดีแล้ว” รวมทั้งไม่ให้ยึดติดองค์ท่าน ...ตลอด ระยะเวลาหลายสิบปีที่ท่านอบรมสั่งสอนลูกศิษย์จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ ชัดเจนว่าท่านมิได้มุ่งหวังความอยากเด่นอยากดัง หรือลาภสักการะแต่อย่างใดเลย ซึ่งลาภสักการะมักเป็นกับดักที่ได้ผลที่ฆ่าลูกพระตถาคตมาทุกยุคทุกสมัย
    ๑๑. ความเมตตาของหลวงปู่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
    สิ่ง น่าอัศจรรย์อันหนึ่งที่ได้รับทราบจากการได้มีโอกาสพูดคุยกับศิษย์เก่าแก่ของ หลวงปู่บางท่าน ซึ่งนับเป็นผู้ขวนขวายปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่สมัยหลวงปู่มีชีวิต โดยที่ท่านเหล่านั้นต่างก็มิได้รู้จักคุ้นเคยกัน แต่กลับพูดถึงสิ่งอัศจรรย์ตรงกัน นั่นก็คือความเมตตาของหลวงปู่ที่ท่านตามไปส่งลูกศิษย์จนเข้าเขตที่ปลอดภัย (กรุงเทพฯ) กล่าวคือ ครอบครัวนักปฏิบัติเหล่านั้น เมื่อขับรถกลับจากวัดสะแกในเวลาเย็นค่ำ เมื่อขับจนพ้นช่วงที่มืดและเปลี่ยวในระหว่างทางอยุธยาจะเข้ากรุงเทพฯ บริเวณรังสิต เขาจะได้ยินเสียงหลวงปู่ว่า “ข้าส่งแกแค่นี้นะ” ทุกครั้ง พร้อมกับอาการปีติขนลุกด้วยความซาบซึ้งใจในความเมตตาของหลวงปู่ที่เป็นห่วง เป็นใย ท่านคงต้องการให้มั่นใจว่าลูกศิษย์นักปฏิบัติเหล่านั้นเดินทางกลับบ้านด้วย ความปลอดภัยทุก ๆ คน นี้ยังไม่รวมถึงความเมตตาที่ท่านตามไปดูแลถึงที่บ้าน ไม่ว่าจะให้ทราบโดยทางนิมิตหรือทางเสียงจิ้งจกก็ตาม

    ที่มา:
    Luangpudu.com / Luangpordu.com

    [​IMG]
    ปฏิปทาหลวงปู่ดู่ วัดสะแก


    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td style="background-color: #FFFFFF;">๑. หลวงปู่เป็นผู้มักน้อยสันโดษ
    ของ ที่หลวงปู่ท่านใช้สอยไม่ว่าผ้าสบงจีวร ผ้าขนหนู กาน้ำ ฯลฯ ท่านไม่เปลี่ยนง่าย ๆ ท่าน จะใช้จนคุ้มค่าอย่างที่สุด อีกทั้งยังไม่สะสมของใช้ แม้แต่เศษวัสดุอย่างหนังยางรัดของ ท่านจะไม่ทิ้ง หากแต่จะรวบรวมเก็บไว้ใช้ประโยชน์
    ท่าน สอนให้ศิษย์ระมัดระวังเรื่องของสงฆ์ ทั้งไม่หยิบฉวยไปโดยพลการ และไม่ทำให้ข้าวของของสงฆ์ชำรุดเสียหาย เพื่อฝึกให้รับผิดชอบต่อของส่วนรวม ที่สำคัญ ท่านไม่ต้องการเกิดเศษกรรมที่อาจทำให้มาวัดได้บุญไม่คุ้มบาป
    ๒. หลวงปู่สอนเน้นหนักลงที่การปฏิบัติให้มาก และไม่ให้มากพิธีรีตอง
    ทุก ครั้งที่ใคร ๆ ไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็สอนเน้นหนักไปที่จุดเดียวนั่นก็คือการภาวนา ได้แก่ การทำสมาธิ การหมั่นดูจิต รักษาจิต การหมั่นพิจารณา ฯลฯ พิธีรีตองอะไรที่วุ่น ๆ วาย ๆ ไม่ต้องพูดถึง แค่จะพับดอกบัวใส่แจกัน ท่านก็ยังแนะให้ไม่ต้องพับจะดีกว่า ปรุงแต่งให้มันน้อยที่สุด
    เรื่องการกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ท่านเน้นที่การตั้งจิตตั้งใจมากกว่ารูปแบบภายนอก ดังนั้น จึงไม่ต้องลำบากหาแก้วหาน้ำ หลวงปู่นิยมให้ใช้วิธีกรวดแห้ง คือให้ตั้งใจแผ่เมตตาผ่านการทำจิตให้เป็นสมาธิแทนการกรวดน้ำ
    นอก จากนี้ สำหรับคนที่ชอบการสะเดาะเคราะห์ หลวงปู่ก็ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้ จึงไม่พ้นมาลงที่การทำบุญและนั่งกรรมฐานภาวนาแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรแทน ท่านให้ห่างสำนักทรงหรือพิธีสะเดาะเคราะห์ที่มักหลอกให้คนกลัวแล้วก็เสีย เงินเสียทองกับพิธีรีตองอะไรต่อมิอะไรรุงรังไปหมด จนไม่รู้ว่าเป็นพุทธัง ธัมมัง สังฆังสรณังคัจฉามิ หรือจะเป็นเทพเทวาสรณังคัจฉามิ หรือจะเป็นพิธีกรรมสรณังคัจฉามิ
    เพราะ เหตุที่ท่านเน้นหนักที่การปฏิบัติ ดังนั้นท่านจึงให้ระวังว่าความรู้จำจากการอ่านการฟังอาจจะมาบังความรู้จริง จากการปฏิบัติได้ หลวงปู่ท่านให้ใช้ความพินิจพิจารณาสิ่งรอบตัวให้มากแทนการอ่านหนังสือธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาตัวเกิด แก่ เจ็บ ตาย จากโรงเรียนที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งนั่นก็คือ โรงพยาบาล
    </td> </tr> <tr> <td style="background-color: #FFFFFF;">๓. หลวงปู่ไม่เทศน์สอนยาว ๆ
    เรา จะไม่เคยเห็นภาพหลวงปู่นั่งบนธรรมาสน์แสดงธรรมอย่างเป็นทางการหรือแม้แต่ แสดงธรรมที่ยืดยาวต่อเนื่องเป็นหลาย ๆ สิบนาทีหรือเป็นชั่วโมง ๆ หลวงปู่ไม่เคยแสดงธรรมยาว ๆ ท่านพูดถ่อมตัวเสมอ ๆ ว่าท่านเป็นพระบ้านนอก ธัมม้งธัมมะอะไรท่านพูดไม่เป็น เทศน์ไม่เป็น เป็นแต่พูดอย่างของท่านตามประสาพระบ้านนอก
    ดังนั้น เรา จึงพบแต่คำปรารภธรรมสั้น ๆ ที่เป็นข้อคิดสะกิดใจสำหรับให้เอาไปคิด ไปตรึกตรองตาม ก็จะได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งไปตามลำดับแห่งกาลเวลาและประสบการณ์ทางธรรม เพราะโอวาทเพียงสั้น ๆ เท่านี้แหละ ทว่า ๑ ปีให้หลัง หรือ ๕ ปี ๑๐ ปีให้หลัง ความเข้าใจและความซาบซึ้งใจย่อมไม่เหมือนเก่า
    ๔. หลวงปู่เป็นผู้มีปฏิสันถารที่ดีแก่ผู้มาเยือน
    หลวง ปู่จะยิ้มและพูดทักทายกับผู้ที่มากราบท่านอย่างเสมอหน้ากันหมด ยิ่งถ้าเป็นเด็กหนุ่มสาวสนใจซักถามข้อธรรม ท่านจะสนทนาธรรมด้วยความเมตตายิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังฝึกให้ศิษย์ทุกคนทุกชนชั้นรู้จักสลายทิฏฐิมานะอัตตาตัวตนลงโดยการให้ นั่งรับประทานอาหารที่หลวงปู่ฉันเหลือร่วมกันแบบนั่งกับพื้นเรียงลำดับเป็น แถวยาว มีกับข้าววางเรียงอยู่ตรงหน้ายาวไปจนสุดแนว จนไม่รู้สึกว่าใครสูงใครต่ำ ใครรวยใครจน ทุกคนเสมอภาคกันหมดในทางธรรม
    กับ พระสงฆ์องค์เจ้า หลวงปู่ไม่เคยวางตัวชนิดว่าฉันเป็นเจ้าสำนักหรือเป็นผู้มีศักดาใด ๆ พระรูปไหนมาเยี่ยมเยียน หลวงปู่ก็จะรินน้ำชายื่นให้ฉัน (ดื่ม) เสมอ ถ้าเป็นพระที่พรรษามากกว่า หลวงปู่ก็จะลุกขึ้นนั่งกราบ ดังเช่นหลวงปู่บุดดา เป็นต้น กับ พระสงฆ์บางองค์ที่เหมือนจะรู้ใจกันค่อนข้างดี เช่นหลวงปู่โง่น โสรโย จ. พิจิตร และหลวงพ่อเป้า เขมกาโม จ. นครสวรรค์ เป็นต้น เมื่อมาถึงและฉันน้ำชาแล้ว บางทีต่างองค์ต่างก็นั่งเงียบ ๆ ไม่ค่อยได้พูดจาซักถามเท่าใดนัก ไม่นานก็กราบลากัน
    ๕. หลวงปู่ไม่แบ่งแยกลูกศิษย์
    ด้วย ลูกศิษย์หลวงปู่ที่ขยายวงกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักธุรกิจ ข้าราชการ ฯลฯ ไม่ว่าจาก จ. พระนครอยุธยา กรุงเทพฯ หรือจังหวัดใด ๆ เกิดเป็นกลุ่มก้อนและคณะต่าง ๆ บ้าง ก็นิยมมาตอนเช้า บ้างนิยมมาตอนสาย บ้างนิยมมาตอนบ่ายแก่ ๆ บ้างนิยมมาตอนเย็น บ้างนิยมมาตอนค่ำ ทำเอาหลวงปู่โง่นต้องขออนุญาตทำป้ายกำหนดเวลาที่งดรับแขกในช่วงบ่าย ซึ่งติดได้ไม่นาน หลวงปู่ก็ให้เอาออก เพราะต้องการเปิดโอกาสให้คนมากราบนมัสการท่านได้โดยสะดวก

    แต่ ถึงหลวงปู่จะมีลูกศิษย์หลายหมู่หลายคณะและมากันหลากหลายเวลา หลวงปู่ก็ไม่เคยกล่าวเปรียบเทียบว่ากลุ่มนั้นดีกว่ากลุ่มนี้ ท่านยินดีในความพร้อมเพรียงกันในการปฏิบัติธรรม ศิษย์คนใดขวนขวายในการปฏิบัติภาวนามาก ท่านก็จะให้ความเมตตาชี้แนะให้มากเป็นพิเศษ

    ๖. หลวงปู่วางตัวอย่างเป็นธรรมชาติ
    หลวง ปู่ท่านวางตัวเป็นธรรมชาติ ไม่แสร้งทำให้ใคร ๆ เห็นเป็นทำนองว่าท่านสำรวมและเคร่ง บางทีท่านหยิบบุหรี่มาสูบบ้างในยามที่ปลอดคน บางทีท่านพูดชวนให้ผู้ฟังอารมณ์ดีหรือขำขันบ้าง แต่ท่านก็วาง องค์ท่านพอเหมาะพอดี ประกอบกับด้วยบารมีธรรมเฉพาะองค์ท่าน ดังนั้น ถึงแม้จะดูว่าท่านไม่ถือตัว แต่ทุกคนก็ยังคงให้ความเคารพยำเกรง ไม่กล้าลามปามท่าน (ยกเว้นแต่ผู้ที่ยังหยาบอยู่มาก)
    ๗. หลวงปู่ท่านไม่พยากรณ์มรรคผลให้ใคร ๆ
    หลวง ปู่จะไม่พูดทำนายทายทัก หรือพูดพยากรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยากรณ์เรื่องมรรคผลของลูกศิษย์ หลวงปู่ไม่เคยบอกว่าศิษย์คนไหนเป็นโสดา สกิทา อนาคา ฯลฯ หลวงปู่ไม่เคยบอกว่าใครปฏิบัติอีกกี่ชาติแล้วจะสำเร็จ หลวงปู่ยืนยันว่าท่านพยากรณ์ไม่ได้ ซึ่งหากเราพิจารณาให้ดีก็จะเห็นจริงตามท่าน เพราะแค่จะรับรองตัวเองว่าในแต่ละวันขอให้มีความขยันในการเจริญสติให้สม่ำ เสมอ ก็ยังรับรองตัวเองไม่ได้เลย นอกจากนี้ที่จะให้รับรองความศรัทธาของตัวเราเองที่มีต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ให้มั่นคงตลอดไปก็ยังไม่แน่นอนเลย บางวันศรัทธามาก บางวันศรัทธาน้อย บางวันขยันปฏิบัติ บางวันขี้เกียจปฏิบัติ บางวันรักษาใจได้ดี บางวันเผลอสติจมจ่อมอยู่กับเรื่องโลก ๆ บาง คนที่เคยเป็นผู้นำหมู่คณะ ก็ยังสามารถเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นได้เลย เช่นนี้แล้ว ใครจะมารับรองใครได้ เว้นเสียแต่เป็นผู้ที่เที่ยงแท้ เช่นอย่างพระโสดาบันผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหวแล้วเท่านั้น ที่พระพุทธองค์สามารถพยากรณ์ได้ว่าไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะถึงฝั่งพระนิพพาน เป็นต้น
    นอก จากนั้นแล้ว หากยังมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ เอาแน่นอนไม่ได้ ยามขยันก็เพียรจัด ยามขี้เกียจก็ทิ้งเลย ยังเป็นผู้ติดสุขติดสบายและสามารถหาเหตุผลเข้าข้างกิเลสตัวเองได้สารพัด เช่นนี้แล้วจะพยากรณ์ได้อย่างไร
    ๘. หลวงปู่ให้ความเคารพในสงฆ์
    หลวง ปู่จะวางตัวเป็นพระผู้น้อยในท่ามกลางคณะสงฆ์ ท่านให้ความเคารพกับคำว่าสงฆ์ ท่านถือสงฆ์เป็นใหญ่ แม้ กระทั่งปัจจัยและสิ่งของทุกอย่างที่มีคนนำมาถวายท่าน ท่านก็จะให้ศิษย์รวบรวมส่งให้เจ้าอาวาสเพื่อเข้าเป็นกองกลางของวัด (สงฆ์) ในทุก ๆ เย็น
    ๙. หลวงปู่มีปรกติถ่อมตัวและไม่ปรารภความเด่นดัง
    บ่อย ครั้งที่มีนิตยสารมาขอสัมภาษณ์และถ่ายรูปหลวงปู่ หลวงปู่ก็มักปฏิเสธเสมอทุกครั้งไป ท่านไม่ปรารถนาความเด่นดัง ท่านว่าหากท่านดัง ก็คงไม่มีเวลาให้ลูกศิษย์ที่ใฝ่ใจในธรรมได้ซักถามข้อธรรมะกับท่าน อีกทั้งยังเป็นการทำให้สังขารขันธ์ของท่านเสื่อมโทรมเร็วเพราะการที่ต้องรับ แขกมาก ๆ ทุก ๆ วัน
    นอก จากนี้ เวลาใครมากล่าวยกท่านอย่างไร ท่านก็จะยิ้มแล้วพูดไปในทางถ่อมตัวเสมอ เช่น ใครว่าองค์ท่านสว่างไสวมาก หรือมีการรู้เห็นภายใน (ญาณ) เป็นที่อัศจรรย์ ฯลฯ ท่านก็จะตอบทำนองว่า ท่านยังมืดอยู่เลย บาง ครั้งมีคนขอสร้างรูปเหมือนท่าน หากเลี่ยงได้ท่านก็จะให้เลี่ยงไปสร้างรูปหลวงปู่ทวดแทนโดยบอกว่าสร้างรูปครู อาจารย์คือหลวงปู่ทวดดีกว่า ดังเช่นเหรียญรุ่นเปิดโลก เป็นต้
    เคย สังเกตในเวลาที่มีเรื่องแจ้งว่าจะมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมากราบนมัสการหลวงปู่ ก็ไม่เห็นหลวงปู่จะแสดงอาการตื่นเต้น หรือสั่งให้มีการจัดเตรียมอะไร ๆ เป็นพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้ใหญ่ ทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปรกติธรรมดา นี้จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนว่าหลวงปู่ท่านไม่ประสงค์จะเอาอกเอาใจใคร เป็นพิเศษ รวมทั้งยืนยันว่าท่านไม่อยากเป็นคนเด่นคนดังอย่างใดเลยจริง ๆ
    ๑๐. หลวงปู่สอนให้ทวนกระแสแต่ไม่ให้ต้านกระแส
    หลวง ปู่สอนให้ทุกคนทวนกระแสกิเลสของตน แต่ไม่ให้ไปคิดต้านหรือเปลี่ยนกระแสโลก หรือคิดเปลี่ยนใคร ๆ เช่นอย่างที่วัดสะแก ชาวบ้านชาววัดเขาชอบจัดมหรสพตามธรรมเนียมนิยมของคนแถบนั้นซึ่งมักส่งเสียง รบกวนการทำภาวนาของท่านและศิษย์ที่กำลังปฏิบัติธรรม ท่านก็ไม่ให้ถือเป็นอารมณ์ คงให้ทำภาวนาไปให้ได้คล้ายฝึกทำภาวนาในท่ามกลางตลาดสด เพราะจะให้คนวัดมีศรัทธาในการปฏิบัติเหมือนกันหมดทุกคนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ใครเอา (สนใจปฏิบัติ) หลวงปู่ก็เมตตาชี้แนะให้ ใครไม่เอา หลวงปู่ก็ไม่ยัดเยียด เว้นแต่จะส่อแวว ประกอบกับมีช่องมีจังหวะที่พอสอดแทรกให้แง่คิดแก่ผู้ทุกข์ผู้ยากบ้างเท่า นั้น
    ท่านให้หลักว่า แก้ที่ตัวเราเป็นเรื่องธรรม มัวคิดแก้คนอื่น ปรับปรุงคนอื่น ปรับปรุงเรื่องนอก ๆ นั้นเป็นเรื่องโลก แก้ ที่ตัวเรามีวันจบ (วันที่ชำระจิตจนหมดโกรธ โลภ หลง) แต่การแก้ที่ภายนอก (แก้ไขเรื่องโลก ๆ) นั้นไม่มีวันจบสิ้น เพราะโลกนั้นพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบเลย การเข้าไปมีส่วนแก้ไขปรับปรุงภายนอกนั้นก็ยังอาจเป็นสิ่งที่ต้องทำตามแต่ บทบาท เพียงแต่ต้องทำใจว่าแก้อย่างไรก็ไม่มีวันจบสิ้น ไม่มีวันบอกได้ว่าแก้ไขจนดีที่สุดแล้ว และที่สำคัญที่สุด ต้องไม่ละเลยการแก้ไขปรับปรุงตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้การเกิดมาชาติหนึ่งของเรานั้นไม่เป็นโมฆะ
    ๑๑. หลวงปู่ให้ใช้ประโยชน์จากพระเครื่อง แต่ไม่ได้สอนให้ลุ่มหลงจมจ่อมในพระเครื่อง
    หลวง ปู่มีอุบายสร้างพระไว้สำหรับแจกให้ลูกศิษย์เอาไปใช้เป็นสื่ออาราธนาพระและ ให้กำไว้ในมือขณะนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อเป็นเครื่องเหนี่ยวนำจิตให้มีพุทธานุสสติเพื่อให้เข้าสู่ความสงบตั้ง มั่นได้โดยเร็ว พระกำนั่งมีหลากหลายรูปทรง แต่ที่มีมากกว่าเพื่อน ดูเหมือนจะเป็นพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง นอกจากพระกำนั่งที่แจกให้ฟรี ๆ แล้ว ก็ยังมีพระในส่วนของวัดสะแกที่ทางวัดจัดสร้างเพื่อหารายได้บำรุงวัด แล้วก็ส่วนของลูกศิษย์ที่พากันสร้างมาขออนุญาตหลวงปู่ให้ช่วยอธิษฐานจิตให้ แล้วนำไปแจกจ่ายกันเองก็มีไม่น้อย บางคนเทพิมพ์พระพรหมมา ๓ ปี๊บ หลังจากหลวงปู่อธิษฐานให้เสร็จแล้ว ก็อาจแบ่งถวายหลวงปู่ ๒ ปี๊บ นำกลับไปปี๊บหนึ่ง เป็นต้น
    หลวง ปู่ท่านสอนไม่ให้สุดโต่งในเรื่องวัตถุมงคล กล่าวคือ ในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ยังใหม่อยู่ ยังไม่พร้อมจะรับธรรมคำสอนที่เป็นแก่นสารสาระโดยตรง ท่านก็ว่าให้มาติดวัตถุมงคลก็ยังจะดีกว่าให้ไปติดวัตถุอัปมงคล แต่พอมีใจโน้มเอียงเข้าในทางปฏิบัติมากขึ้น แล้วยังหาเช่าพระมาก ๆ ท่านก็จะดุว่าจะเอาไปขายหรือยังไง พระของท่านน่ะ ทำ (ปฏิบัติ) ให้มันจริง มีองค์เดียวก็พอแล้ว
    ๑๒. มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู
    หลวง ปู่ท่านมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูสูงยิ่ง ท่านเมตตาสงเคราะห์และสั่งสอนศิษย์ตั้งแต่เช้าตรู่กระทั่งค่ำมืด โดยมิเคยปริปากบ่น ท่านเคยพูดทำนองว่า เกิดมาเป็นครูเขา เมื่อเสียงนกหวีดดังก็ต้องทำหน้าที่ ท่านจึงถือเป็นภารกิจปรกติ (มิใช่เป็นภาระส่วนเพิ่ม) ในการสงเคราะห์ให้คนเป็นคนขึ้นมาเต็มตัว ไม่ให้ศิษย์ท่านต้องเป็นโมฆบุรุษหรือโมฆสตรี ที่ปล่อยชีวิตให้ตายเปล่าไปชาติหนึ่ง ๆ
    ลูกศิษย์ หลวงปู่มีหลากหลายประเภท แต่ละคนมีการสั่งสมมาต่าง ๆ กัน ดังนั้น ในฐานะหน้าที่แห่งความเป็นครู หลวงปู่จึงต้องมียาหลายประเภทที่เหมาะกับโรคและลักษณะเฉพาะของคนไข้ (ลูกศิษย์) แต่ละคน
    บาง คนได้ยาขม (ธรรมะที่เผ็ดร้อน) บางคนได้ยาเคลือบช็อกโกแลต (พูดชมบ้าง แจกพระให้บ้าง) บางคนได้ยาพื้นบ้าน (เน้นศีลให้มาก ๆ ก่อน) บางคนได้ยาเฉพาะโรค (พิจารณาธรรมข้อหนึ่งข้อใด) บางคนได้ยาบำรุง (เรื่องเล่าเจริญศรัทธา) บางคนต้องปรับยาให้แรงขึ้น (เช่น สอนให้ฝึกฝืนหรือต่อสู้กับกิเลสบ้าง สู้กับเวทนาขณะปฏิบัติบ้าง เพื่อให้สมกับ “ธรรมะนั้นอยู่ฟากตาย”) หลาย ๆ คนได้ยาครอบจักรวาล (คำสอนที่ว่าให้หมั่นดูจิต รักษาจิต) เป็นต้น
    หลวง ปู่ท่านเน้นย้ำว่าทางลัดไม่มี พวกเราต้องปฏิบัติขัดเกลาตัวเองไปให้ครบทั้งศีล สมาธิ ปัญญา จากหยาบไปหาละเอียด เราต้องทำตัวเหมือนท่อนไม้ดิบ ๆ ที่กำลังเข้าสู่กระบวนการเลื่อย ไส ขัด กว่าจะไปถึงขั้นนำไปประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์พร้อมกับลงยาเคลือบผิวไม้ เพื่อให้พร้อมใช้งาน มิใช่ให้ทำตัวราวกับไม้ที่ผ่านกระบวนการขัดมาแล้วอย่างดี นั่นเป็นการประมาท และจะพาให้ไม่ได้หลักได้เกณฑ์ใด ๆ เหมือนที่ท่านเตือนศิษย์ที่มักจะจำลองภาวะจิตแห่งผู้หลุดพ้นแล้วมาอนุมาน เข้ากับตัวเอง (เช่นว่ารู้สึกตนเป็นผู้หมดความยินดียินร้ายแล้ว) เพราะมันถูกอยู่แต่ที่คำพูด แต่ของจริงยังไม่ได้ ภาวะอย่างนี้หลวงปู่เรียกว่า “ของโกหก” มันถูกในขั้นที่เป็น “ผล” มิใช่ขั้น “เหตุ” พวก เรานั้นยังอยู่ในขั้นที่ต้องหมั่นประกอบเหตุ ยังจะต้องฝึกฝนอบรมดัดกายวาจาใจอีกมาก กว่าจะได้เสวยผลเป็นความปล่อยวางหรือภาวะที่หมดความยินดียินร้ายจริง ๆ ชนิดที่ไม่กลับมากำเริบได้อีก
    หลวง ปู่ท่านทำหน้าที่ครูที่จักหาใครทำหน้าที่อย่างท่านได้ยาก ท่านสอนจนวันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะละสังขาร อย่างนี้จะให้ศิษย์คนใดลืมเลือนท่านได้เล่า


    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com
    </td></tr></tbody></table>
     
  15. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    กรรมฐานที่หลวงปู่สอน


    • [FONT=&quot]ข้อพึงสังวรในเบื้องต้น[/FONT]
    • [FONT=&quot]บทอาราธนากรรมฐานและแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานที่เผยแพร่นี้ [/FONT]
    • [FONT=&quot]หลวงปู่ดู่ท่านมิให้ใช้คำว่า “แบบปฏิบัติธรรมวัดสะแก ” [/FONT]
    • [FONT=&quot]ท่านว่าการเรียกเช่นนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ควรใช้คำว่าแบบปฏิบัติของวัดใดๆ[/FONT]
    • [FONT=&quot] มีแต่แบบปฏิบัติของพระพุทธเจ้า[/FONT]
    • [FONT=&quot]เพราะ...ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีความไพเราะงดงาม[/FONT]
    • [FONT=&quot]ทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด [/FONT]
    • [FONT=&quot]พระองค์ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ [/FONT]
    • [FONT=&quot]บริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิง ทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]คำสมาทานพระกรรมฐาน[/FONT][FONT=&quot]

    บทบูชาพระ[/FONT]
    [FONT=&quot]

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )
    [/FONT][FONT=&quot]
    พุทธัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ธัมมัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    สังฆัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ
    [/FONT][FONT=&quot]

    กราบพระ ๖ ครั้ง[/FONT]
    [FONT=&quot]

    ๑. พุทธัง วันทามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๒. ธัมมัง วันทามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๓. สังฆัง วันทามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๔. อุปัชฌาย์ อาจาริยะ คุณัง วันทามิ (สำหรับผู้ชาย) /
    [/FONT][FONT=&quot]
    คุณครูบาอาจารย์ วันทามิ (สำหรับผู้หญิง)
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๕. มาตาปิตุคุณัง วันทาม
    [/FONT][FONT=&quot]๖. พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ

    [/FONT][FONT=&quot]สมาทาน ศีล ๕[/FONT]
    • [FONT=&quot]นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ ) [/FONT]
    [FONT=&quot] • พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ[/FONT][FONT=&quot]
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    • ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    • ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    [/FONT][FONT=&quot]
    ๕. สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
    สะมาทิ ยามิ
    [/FONT]

    [FONT=&quot] อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ ( ๓ ครั้ง )[/FONT][FONT=&quot]
    สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติงยันติ
    ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย
    [/FONT][FONT=&quot]
    คำอาราธนาพระ[/FONT]

    • [FONT=&quot]พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ [/FONT]
    • [FONT=&quot]ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ [/FONT]
    • สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ
    น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด แล้วว่า
    • [FONT=&quot]นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง) [/FONT]
    [FONT=&quot] น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่ โดยว่าคาถาดังนี้ [/FONT]
    • [FONT=&quot]นะโม พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)[/FONT]
    [FONT=&quot] คำอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นกระทำไว้ดีแล้ว [/FONT]
    • [FONT=&quot]สัทธา ทานัง อนุโมทามิ (๓ ครั้ง)[/FONT]
    [FONT=&quot]คำขอขมาพระรัตนตรัย [/FONT]
    • [FONT=&quot]โยโทโส โมหะจิตเต นะ พุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา [/FONT]
    • [FONT=&quot]ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ [/FONT]
    • [FONT=&quot]โยโทโส โมหะจิตเต นะ ธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา [/FONT]
    • [FONT=&quot]ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ [/FONT]
    • [FONT=&quot]โยโทโส โมหะจิตเต นะ สังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา [/FONT]
    • [FONT=&quot]ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ [/FONT]
    [FONT=&quot]คำอธิษฐานแผ่เมตตา[/FONT][FONT=&quot]
    ให้ตั้งใจเจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ววกล่าวคำอธิษฐานว่า
    [/FONT]
    • [FONT=&quot]“พุทธัง อะนันตัง [/FONT]
    • [FONT=&quot] ธัมมัง จักกะวาฬัง [/FONT]
    • [FONT=&quot] สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ ” [/FONT]
    [FONT=&quot]คำอธิษฐานพระเข้าตัว[/FONT][FONT=&quot]
    (คำอธิษฐานขออัญเชิญคุณพระมาไว้ที่จิต
    [/FONT][FONT=&quot] เพื่อความสำรวมระวังและการภาวนาต่อ แม้จะออกจากการนั่งกรรมฐาน[/FONT][FONT=&quot] รวมทั้งขอคุณพระคุ้มครองรักษาในระหว่างวัน)[/FONT]
    • [FONT=&quot]สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา [/FONT]
    • [FONT=&quot]พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง [/FONT]
    • [FONT=&quot]อะระหันตานัญ จะ เต เชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส [/FONT]
    • [FONT=&quot]พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ [/FONT]
    [FONT=&quot]ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้น[/FONT]
    • [FONT=&quot]๑. เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระ สมาทานศีล (เปลี่ยนศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร เป็น อะพรัหมะจะริยาฯ เพื่อเตรียมจิตก่อนอธิษฐานบวชจิต) จากนั้น ก็กล่าวคำอาราธนากรรมฐาน ว่า “พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ, ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ, สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ” เป็นต้น [/FONT]
    • [FONT=&quot]๒. เบื้องต้น ยังไม่ต้องรีบร้อนบริกรรมภาวนา หรือนึกนิมิตใดๆ หากแต่ให้ปรับท่านั่งให้เข้าเป็นที่สบาย โดยตั้งกายให้ตรง ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจลึกๆ สักสองสามครั้ง พร้อมกับทำจิตใจของเราให้ปลอดโปร่งโล่งว่าง สร้างฉันทะที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ระลึกว่าเรากำลังใช้เวลาที่มีคุณค่าแก่ชีวิต คือการพัฒนาจิตใจ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่ากว่าสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือทรัพย์สมบัติ[/FONT]
    • [FONT=&quot]๓. กล่าวอาราธนาขอให้พระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงปู่เกษม ได้โปรดมาเป็นผู้นำและอุปการะจิตในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ จากนั้น ก็น้อมจิตกราบพระว่า พุทธังวันทามิ ธัมมังวันทามิ สังฆังวันทามิ [/FONT]
    • [FONT=&quot]๔. สำรวจ อารมณ์ที่ค้างคาอยู่ในใจเรา แล้วชำระมันออกไป ทั้งเรื่องน่าสนุกเพลิดเพลิน หรือเรื่องชวนให้ขุ่นมัวต่าง ๆ ตลอดถึงความง่วงเหงาหาวนอน และความฟุ้งซ่านรำคาญใจต่าง ๆ รวมทั้งปล่อยวางความลังเลสงสัยเสียก่อน[/FONT]
    • [FONT=&quot]๕. เมื่อ ชำระนิวรณ์อันเป็นอุปสรรคของการเจริญสมาธิออกไปในระดับหนึ่งแล้ว กระทั่งรู้สึกปลอดโปร่งโล่งว่างตามสมควร จึงค่อยบริกรรมภาวนาในใจว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”[/FONT]
    • [FONT=&quot]๖. มีหลักอยู่ว่าต้องบริกรรมภาวนาด้วยใจที่สบายๆ (ยิ้มน้อยๆ ในดวงใจ) ไม่เคร่งเครียด หรือจี้จ้องบังคับใจจนเกินไป [/FONT]
    • [FONT=&quot]๗. ทำความรู้สึกว่าร่างกายของเราโปร่ง กระทั่งว่าลมที่พัดผ่านร่างกายเรา คล้ายๆ กับว่าจะทะลุผ่านร่างของเราออกไปได้[/FONT]
    • [FONT=&quot]๘. ให้มีจิตยินดีในทุกๆ คำบริกรรมภาวนา ว่าทุกๆ คำบริกรรมภาวนา จะกลั่นจิตของเราให้ใสสว่างขึ้นๆ[/FONT]
    • [FONT=&quot]๙. เอาจิตที่เป็นสมาธิพอประมาณนี้มาพิจารณาร่างกายว่ามันเป็นก้อนทุกข์ ยามจะแก่ จะเจ็บ จะตาย เราก็ไม่อาจบังคับบัญชา หรือห้ามปรามมันได้ ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมันดีอย่างไร มันก็จะทรยศเรา มันจะไม่เชื่อฟังเรา ให้พิจารณาให้ละเอียดลงไปซ้ำๆ จนกว่าจิตจะเห็นและยอมรับความจริง เมื่อจิตยอมรับจิตก็จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นว่ากายนี้เป็นเราหรือเป็น ของเรา (การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อไป ก็อาจเปลี่ยนเป็นการพิจารณาอย่างอื่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น หรือพิจารณาโดยรวมว่าร่างกายเราหรือคนอื่นก็สักแต่ว่าเป็นโครงกระดูก แม้ภายนอกจะดูแตกต่าง มีทั้งที่ผิวพรรณงาม หรือทรามอย่างไร แต่เบื้องลึกภายในก็ไม่แตกต่างกันในความเป็นกระดูก ที่ไม่น่าดูน่าชม เสมอกันหมด ให้พิจารณาให้จิตยอมรับความจริง เพื่อให้คลายความหลงยึดในร่างกาย ฯลฯ) [/FONT]
    • [FONT=&quot]๑๐. เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มขาดกำลังหรือความแจ่มชัด ก็ให้หันกลับมาบริกรรมภาวนาเพื่อสร้างสมาธิขึ้นอีก [/FONT]
    • [FONT=&quot]๑๑. ในบางครั้งที่จิตขาดกำลัง หรือขาดศรัทธา ก็ให้นึกนิมิต (นอกเหนือจากคำบริกรรมภาวนา) เช่น นึกนิมิตหลวงปู่ดู่ อยู่เบื้องหน้าเรา นึกง่ายๆ สบายๆ ให้คำบริกรรมดังก้องกังวานมาจากองค์นิมิตนั้น ทำไปเรื่อยๆ เวลาเผลอสติไปคิดนึกเรื่องอื่น ก็พยายามมีสติระลึกรู้เท่าทัน ดึงจิตกลับมาอยู่ในองค์บริกรรมภาวนาดังเดิม[/FONT]
    • [FONT=&quot]๑๒. เมื่อจิตมีกำลัง หรือรู้สึกถึงปีติและความสว่าง ก็ให้พิจารณาทบทวนในเรื่องกาย หรือเรื่องความตาย หรือเรื่องความพลัดพราก ฯลฯ หรือเรื่องอื่นใด โดยมีหลักว่าต้องอยู่ในกรอบของเรื่องความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เที่ยงแท้แน่นอน (อนัตตา)[/FONT]
    • [FONT=&quot]๑๓. ก่อนจะเลิก (หากจิตยังไม่รวม หรือไม่โปร่งเบา หรือไม่สว่าง ก็ควรเพียรรวมจิตอีกครั้ง โดยให้เลิกตอนที่จิตดีที่สุด) จากนั้นให้อาราธนาพระเข้าตัวว่า สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง อะระหัน ตานัญ จะเต เชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมังอธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (นึกอาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาไว้ที่จิตเรา หรืออาจจะนึกเป็นนิมิตองค์พระมาตั้งไว้ในตัวเรา [/FONT]
    • [FONT=&quot]๑๔. สุดท้าย ให้นึกแผ่เมตตา โดยนึกเป็นแสงสว่างออกจากใจเรา พร้อมๆ กับว่า พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ป?จจะโยโหตุ โดย น้อมนึกถึงบุญอันมากมายไม่มีประมาณของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งบุญกุศลที่เราสั่งสมมาดีแล้ว รวมทั้งบุญจากการภาวนาในครั้งนี้ ไปให้กับเทพผู้ปกปักรักษาเรา ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้กับบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผีเหย้าผีเรือน พระภูมิเจ้าที่ เทพ พรหม ทั้งหลาย แลสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ท่านทั้งหลายที่ยังทุกข์ ขอจงพ้นทุกข์ ท่านทั้งหลายที่มีความสุขอยู่แล้ว ขอจงมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป[/FONT]
    • [FONT=&quot]หมาย เหตุ การอาราธนาพระเข้าตัว (บทสัพเพฯ) ก็เพื่อว่าเมื่อเวลาเลิกนั่งสมาธิไปแล้ว จะได้ระมัดระวังรักษาองค์พระในตัว โดยการสำรวมระวังรักษากาย วาจา ใจ ตลอดวัน ซึ่งการสำรวมระวัง หรือที่เรียกว่าอินทรียสังวรนี้ จะช่วยให้การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อๆ ไป จิตจะเข้าถึงความสงบได้โดยง่าย [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มา:Luangpudu.com / Luangpordu.com[/FONT]
     
  16. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    การบวชจิต - บวชใน

    การบวชจิต - บวชใน
    หลวงปู่เคยปรารภไว้ว่า... จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีศีล รักในการปฏิบัติ จิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด ย่อมมีโอกาสเป็นพระกัน ได้ทุกๆ คน มี โอกาสที่จะบรรลุมรรคผล นิพพาน ได้เท่าเทียมกันทุกคน ไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะแต่อย่างใด ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้ นอกจากใจของผู้ฏิบัติเอง ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า..... ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น คำกล่าวว่า
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระธรรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    แล้วอย่าสนใจขันธ์ ๕ หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช ชายก็เป็นพระภิกษุ หญิงก็เป็นพระภิกษุณี อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฏ์ทีเดียว

    คติธรรมเรื่องที่ ๑๔ "การบวชจิต - บวชใน" จากหน้งสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญหน้า 44/45
     
  17. rungpetch

    rungpetch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +42
    รบกวนเรียนถามครับ ในกรณีของคนที่ไม่สามารถนั่งนานได้เนี่องจากโรคประจำตัว ถ้าจะปฏิบัติด้วยวิธีนอน เช่นนอนเหยียดตรงมือประสานกันที่ท้อง แบบผ่อนคลายไม่ฝืนไม่เกร็งแล้วก็บริกรรมภาวนา คุณว่าพอได้ไม๊่ครับ
     
  18. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    สมาธิสามารถทำได้ทุกอิริยาบทครับ
     
  19. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    อนุโมทนากับคุณ bus4s2v

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves/> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-GB</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>X-NONE</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-fareast-language:EN-US;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]ได้แน่นอน ที่อีสานก็เคยมีพระรูปหนึ่งนอนป่วยที่โรงพยาบาลนับสิบ ๆ ปี สุดท้ายท่านภาวนาในท่านอน จนเมื่อท่านมรณภาพที่โรงพยาบาล ปรากฏว่ากระดูกท่านเป็นพระธาตุ[/FONT]
    [FONT=&quot]การภาวนาในท่านั่งถือเป็นท่ามาตรฐาน ก็เหมือนนักกอล์ฟ นักมวย นักฟุตบอล ฯลฯ เขาก็ต้องมีท่าฝึกมาตรฐาน ที่จะทำให้ได้ผลสำเร็จ แต่หากติดขัดด้วยสรีระไม่เอื้อ ก็ต้องฝึกในรูปแบบอื่น เคยเห็นไหม คนพิการที่เล่นดนตรีด้วยเท้าได้ ถ้าฝึกจนชำนาญ[/FONT]
    [FONT=&quot]มีข้อระวังเพียงว่าท่านอนนั้น นิวรณ์ตัวง่วงเหงาหาวนอน มันจะครอบงำได้ง่าย ซึ่งผู้ที่จะฝึกภาวนาในท่านอน ก็จำต้องหาทางแก้ เช่น ผ่อนอาหาร นอนตะแคง ทำสติให้แข็งแก่งเสมอ ๆ พอรู้ตัวว่าง่วงก็ให้ลืมตา ลูบหน้าลูบตา ขยับเนื้อขยับตัว ฯลฯ แล้วค่อยเริ่มเจริญสติต่อ เป็นต้น[/FONT]
     
  20. teera-chang

    teera-chang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +1,529
    "รบกวนเรียนถามครับ ในกรณีของคนที่ไม่สามารถนั่งนานได้เนี่องจากโรคประจำตัว ถ้าจะปฏิบัติด้วยวิธีนอน เช่นนอนเหยียดตรงมือประสานกันที่ท้อง แบบผ่อนคลายไม่ฝืนไม่เกร็งแล้วก็บริกรรมภาวนา คุณว่าพอได้ไม๊่ครับ"

    จริงๆแล้วคนป่วยปกติจิตมันก็ไม่สอดส่ายไปไหนอยู่แล้ว มันก็คิดแต่ว่าร่างกายป่วย ก็เป็นอุเบกขาอยู่ในตัวอยู่แล้วให้ตัดเป็นวิปัสสนาไปเลย ดูร่างกายว่ามันทุกข์(ให้เห็นในทุกขสัจจ์) เพราะมีร่างกายจึงทุกข์จึงป่วยอยู่เป็นประจำ ถ้ามันเป็นของเราจริงเราก็สั่งให้มันหายป่วยได้นี้ทำไม่ได้ ป่วยเข้ามากๆเราก็ต้องจากมันไปสักวัน เอาอะไรติดตัวไปก็ไม่ได้ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ติดตัวไป ลองหาเทปธรรมะมาเปิดให้ฟังบ่อยๆจะได้ ฟังเพลงธรรมะก็ได้จิตจะได้พักผ่อนบ้าง ถ้าพิจารณามากไปแล้วตึง(เครียด)ไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...