สนทนาภาคปฏิบัติธรรมที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Follower007, 15 สิงหาคม 2011.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,794
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กราบ กราบ กราบ _/i\_ _/i\_ _/i\_ หลวงปู่ดู่เจ้าค่ะ

    สาธุๆๆๆขอบพระคุณค่ะ
     
  2. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ปฏิบัติแบบง่าย ๆ จะได้ผลจริงหรือ

    ปฏิบัติแบบง่าย ๆ จะได้ผลจริงหรือ:
    มีผู้มาภายหลังจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติของหลวงปู่ดู่คลาดเคลื่อนไปจากฎทิปทาหรือแนวทางที่ท่านสอน โดยคิดว่าหลวงปู่สอนให้ “ปฏิบัติแบบง่าย ๆ สบาย ๆ” บ้างถึงขนาดบัญญัติชื่อแนวทางการปฏิบัติขึ้นใหม่ อาทิ “การปฏิบัติแนวพระโพธิสัตว์” เป็นต้น ซึ่งถือเป็นความคลาดเคลื่อนและออกห่างจากคำสอนหลวงปู่อย่างยิ่ง
    แท้จริงแล้ว หลวงปู่ท่านเน้นการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์โดยเร็ว เพราะท่านตระหนักถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต รวมถึงความไม่เที่ยงแท้แห่งศรัทธาของตัวผู้ปฏิบัติเอง ดังจะเห็นได้จากคำสอนมากมายหลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “หนึ่งในสี่” ที่หลวงปู่ท่านสอนให้นักปฏิบัติมีความอุตสาหะที่จะให้ได้มรรคผลขั้นต้นในภพ ชาติปัจจุบัน เพื่อที่จะมีความเที่ยงแท้ต่อการเข้าถึงฝั่งแห่งพระนิพพานอย่างไม่เนิ่นช้า เพราะ หากไม่ได้หนึ่งในสี่ ก็ไม่มีอะไรมารับประกันไม่ว่าจะเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า ว่าเรายังจะมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย หรือยังจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกหรือไม่ ดังมีตัวอย่างคือท่านพาหิยะ ที่แม้ชาติก่อนจะตายในขณะบำเพ็ญเพียร แต่ชาติต่อมาก็ปรากฏว่าไปเป็นนักบวชต่างศาสนา หรือกรณีของหัว หน้าผู้นำบุญซึ่งเป็นผู้ชักชวนคนเข้าวัดจำนวนมาก แต่พอเกิดเหตุร้ายในชีวิต เขาก็ละทิ้งศาสนาพุทธไปหาศาสนาแห่งพระเจ้าไปก็มี นั่นเพราะยังมิได้มีศรัทธาและปัญญาในระดับที่มั่นคงเพียงพอนั่นเอง
    ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าหลวงปู่สอนให้ปฏิบัติแบบสบาย ๆ นั้น อาจมาจากความไม่เข้าใจคำว่า “ให้เคร่งแต่ไม่ให้เครียด” กล่าวคือ หลวงปู่จะสอนให้ลูกศิษย์เป็นผู้มีวินัยในการปฏิบัติด้วยเห็นภัยของความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงไม่ควรนอนใจแล้วเลือกปฏิบัติเฉพาะในยามขยัน อย่างที่เรียกว่า “ปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง” แต่ในยามที่ขี้เกียจก็ทิ้งการปฏิบัติไปเลย
    อย่างไรก็ดี หลวงปู่ท่านก็ไม่ให้เครียดในระหว่างปฏิบัติ คืออย่าปฏิบัติด้วยความอยากจะสงบหรืออยากจะเห็นผลไว ๆ ถ้าจะอยากก็ให้อยากในส่วนเหตุ คือ อยากที่จะปฏิบัติแทน พูดเป็นสำนวนก็ว่า “ขวนขวายในเหตุ สันโดษในผล” คือพอใจที่ได้ปฏิบัติ ส่วนผลของมันก็สุดแท้แต่เหตุปัจจัย ไม่เอามาเป็นเรื่องกดดันหรือสร้างความเครียด แนวทางการปฏิบัติที่หลวงปู่สอนจึงมิใช่ปฏิบัติแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ที่ดูค่อนไปในทาง “มักง่าย” มิใช่”มรรคแปด” ที่พระพุทธองค์ทรงสอน ซึ่งหลวงพ่อจรัญท่านก็เคยพูดทำนองเดียวกันนี้ว่า หากธรรมะเป็นเหมือนน้ำเย็น คนก็คงไปนิพพานกันหมดแล้ว แต่นี่ธรรมะเป็นเหมือนน้ำกรด เพราะมันต้องฝึกต้องฝืน มันจึงไมใช่เรื่องที่จะปฏิบัติเอาแบบง่าย ๆ ดังที่เข้าใจกัน
    กล่าวโดยสรุปก็คือ หลวงปู่แนะนำให้มีความจริงจังและมีวินัยในการปฏิบัติ เอาปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์ภัยในวัฏฏะเป็นตัวขับเคลื่อนหรือกระตุ้นเร้าให้ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติ แต่ในระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ท่านให้วางใจเบา ๆ เป็นกลาง ๆ คือ ระวังไม่ให้วางใจชนิดเต็มไปด้วยการบังคับหรือกดข่มมากจนเกินไป หรือเต็มไปด้วยความอยากที่จะสงบ หรืออยากที่จะเห็นนิมิต ฯลฯ ที่สำคัญท่านสอนให้ทำสม่ำเสมอในทุกอิริยาบถ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง หรือนอน ดังคำที่ท่านกระหนาบลูกศิษย์ว่า “คนฉลาดน่ะ เขาไม่เคยมีเวลาว่าง”

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com

     
  3. paitoon01

    paitoon01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +4,160
    ขออนุโมทนาบุญที่นำคำสอนหลวงปู่มาเผยแพร่ด้วยครับ
     
  4. torr200925

    torr200925 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    753
    ค่าพลัง:
    +2,684
    มีใครเคยเอาพระท่านไปให้พระอริยเจ้าตรวจพลังไหมครับ
    จะได้รู้กันไงครับว่ามีพลังจักพรรดิจริงไหม แล้วเอามาพูดกันจะๆดูครับ
    ผมเองก็อยากรู้ว่าเกจิที่เก่งๆ ท่านจะบอกว่าอย่างไร
    เรื่องจักรพรรดิที่พูดๆๆๆกันตลอดนี่ มันจริงหรือหลอก
     
  5. thaiput

    thaiput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    9,528
    ค่าพลัง:
    +27,656
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    กราบหลวงปู่ดู่ วัดแก สาธุๆๆๆ

    thaiput007@hotmail.com
     
  6. คนกันเอง

    คนกันเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    7,441
    ค่าพลัง:
    +8,977
    กราบสักการะบูชา หลวงปู่ดู่ครับ..............
     
  7. Haarhus

    Haarhus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +2,542
    กราบหลวงปู่ดู่ วัดสะแกขอรับ วันนี้ได้มีโอกาสไปที่วัด(ซะที) เช่าวัตถุมงคลของหลวงปู่มาเล็กน้อย ได้ขุนแผนเคลือบปี31หลังตัว"ด"ปั้มตรายางวัดมาด้วย(ยุคหลังนะครับองค์นี้ย้อนยุค)200บาท
    พระผงใบโพธิ์ปี20(350บาท) เหรียญหลวงปู่ทวดปี2528(4000บาท) มีความสุขครับอิอิใครมีโอกาสอย่าลืมไปนะครับที่วัดยังพอมีเหลือให้บูชา ทำบุญกันอยู่:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2011
  8. คนกันเอง

    คนกันเอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    7,441
    ค่าพลัง:
    +8,977
    อนุุโมทนาบุญด้วยครับ

    ว่างๆ ถ่ายรูปมาให้ชมด้วยนะครับ

    ไปที่วัด ได้ทั้งบุญ ไ้ด้ทั้งพระ ครับ
     
  9. paitoon01

    paitoon01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +4,160
    ผมไปกราบหลวงปู่เดือนที่แล้วครับมีความสุขใจมาก
    ทุกวันนี้ศึกษาและน้อมเอาคำสั่งสอนของหลวงปู่มาปฏิบัติภาวนา
    วันที่่ไปวัดก็ได้บูชาพระสมเด็จประทานพรเนื่้อผง๑องค์ เนื้อดินเผา๑องค์ พระใบโพธิ์๑องค์และรูปบูชา๕รูป
     
  10. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    "ติด" ที่ไม่จำเป็น

    "ติด" ที่ไม่จำเป็น
    บางคนอ้างคำหลวงปู่ที่ว่า "ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล" เพื่อใช้ชักชวนให้คนอื่นมาติดวัตถุมงคลเช่นเดียวกับตน
    อันนี้ถือว่าไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของหลวงปู่
    เรา ควรเข้าใจบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่ทำ ให้หลวงปู่กล่าวคำนี้ ซึ่งก็เป็นเพราะมีบางคนยังขาดพื้นฐานธรรมะ แถมยังติดหลงกับเรื่องอบายมุข ดังนั้น หากคนเหล่านี้จะค่อย ๆ มาเข้าใกล้พระศาสนาผ่านทางความชอบเรื่องวัตถุมงคล ก็จัดว่าเป็นสิ่งที่ดี คือดีกว่าจะให้ไปติดเรื่องอบายมุข
    ดัง นั้น สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานจิตใจที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องไปชักชวนกันให้ติดยึดเรื่องวัตถุมงคลแต่อย่างใด เลย ไม่จำเป็นต้องไปขวนขวายศึกษาวัตถุมงคลรุ่นนั้นรุ่นนี้ และไม่จำเป็นต้องแขวนพระเปลี่ยนพระที่ห้อยคอกันบ่อย ๆ
    แค่มีพระห้อยคอไว้สักองค์หนึ่ง หรือจะไม่มีเลย ก็ไม่จัดว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับคำสอนหลวงปู่แต่อย่างใด
    บางคนจะรู้สึกสบายใจ หากได้ชักชวนให้สมัครพรรคพวกมาทำอย่างตนกันมาก ๆ จนถึงขนาดดัดแปลงคำสอนของหลวงปู่ข้างต้นให้ผิดเพี้ยนไปเป็นว่า "หลวงปู่สอนให้เราต้องยึดติดวัตถุมงคล" ...นี่ ไปถึงขนาดนี้กันแล้ว
    จึงต้องเรียกว่าเป็น "ติด" ที่ไม่จำเป็น
    เรื่อง "ติด" ที่ไม่จำเป็นนี้ ยังประยุกต์ได้กับเรื่องของพิธีพราหมณ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธอย่างเรา ๆ เลย เช่น เรื่องพิธีบวงสรวงต่าง ๆ หรือการตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ...แค่เราไม่ไปเที่ยวลบหลู่ก็พอ
    สมัย หลวงปู่ยังมีชีวิต หลวงปู่เคยแนะนำลูกศิษย์ที่บ้านมีศาลพระภูมิอยู่เดิม ว่าควรอธิษฐานวิมานแก้วพระพุทธเจ้ามาครอบ นัยยะก็คือแปลงพราหมณ์ให้มาเป็นพุทธ เพื่อว่าการสักการะของเราจะยังคงอยู่ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เรียกว่าไม่ไปทำสิ่งที่จะทำให้ไตรสรณคมน์ของเราขาดนั่นเอง มิใช่ว่าหลวงปู่จะไปสอนหรือชักชวนให้ใคร ๆ ไปตั้งศาลพระภูมิ
    บาง คนก็อ้างว่า ทีในหลวงยังทรงมีพิธีพราหมณ์เลย ซึ่งข้ออ้างนี้ใช้ไม่ได้ เพราะในหลวงท่านอยู่ในฐานะที่ต้องให้การดูแลอุปถัมภ์ทุก ๆ ศาสนาในเมืองไทยอย่างเสมอหน้ากัน แล้ว เราล่ะ มีหน้าที่อย่างใดหรือที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอื่น ๆ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการขาดจากไตรสรณคมณ์อันเป็นพื้นฐานของการบรรลุหนึ่งในสี่
    จึงว่าเรื่องเหล่านี้ก็เป็น "ติด" ที่ไม่จำเป็นเช่นเดียวกัน
    จริง ๆ แล้ว ใครติดอย่างไร ก็ควรยอมรับไปตามตรงว่ายังติดสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่ (คือยังอยู่ระหว่างการพัฒนาตนเองไปในทางให้ติดน้อยลง ๆ) โดยไม่ควรไปชักชวนใคร ๆ ให้มาหลงติดอย่างตน หรือถึงขนาดอ้างคำครูบาอาจารย์ (อย่างผิด ๆ) บ้าง อ้างบุคคลสำคัญ ๆ บ้าง เพื่อให้ได้ชื่อว่าการหลงติดของตนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อให้มีคนอื่นมาทำอย่างที่ตนทำกันมาก ๆ
    จึงขอฝากเรื่อง "ติด" ที่ไม่จำเป็นนี้ให้พิจารณากันด้วยครับ


    ที่มา:Luangpudu.com / Luangpordu.com
     
  11. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: ศรัทธาไม่เที่ยง

    ศรัทธาไม่เที่ยง
    เรื่องที่หยิบยกขึ้นมาในวันนี้ คือเรื่องความไม่เที่ยงของกำลังใจและกำลังศรัทธาของผู้ปฏิบัติ

    เพื่อน ๆ สมาชิกเชื่อหรือไม่ว่า ในขณะที่หลาย ๆ ท่านรวมทั้งคนจำนวนมากมายมารู้จักและศรัทธาปฏิปทาและคำสอนของหลวงปู่ แต่ก็มีลูกศิษย์สมัยท่าน ที่ห่างเหินท่านไป คือลืมท่านไป เพราะเหตุที่ยังไม่ได้หลักได้เกณฑ์ จึงตื่นครูตื่นอาจารย์ ตื่นพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการสะเดาะเคราะห์สืบชะตา แก้คุณไสย์ต่าง ๆ แล้วจมอยู่ในมงคลตื่นข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า ปีแล้วปีเล่า บ้างก็หมกมุ่นกับกิจกรรมนำบุญบอกบุญ จนไม่มีเวลาให้กับเนื้อแท้หรือสาระสำคัญนั่นคือการปฏิบัติ

    วาระ ใดที่มีการเปิดตัวของครูอาจารย์ที่ยกย่องกันว่ารู้วาระจิต หรือมีญาณหยั่งรู้ภัยพิบัติของโลก หรือประกาศสอนหนทางลัดให้สามารถบรรลุธรรมได้โดยง่ายหรือโดยฉับพลัน คนพวกนี้ก็จะแห่กันไป หลายคนมีศรัทธาลงลึกเกินเยียวยา แต่ก็มีบางคนที่หวนคืนมาหาหลวงปู่ กว่าจะกลับมาปฏิบัติเพื่อให้ได้หลักได้เกณฑ์ ก็เสียเวลาไปมาก บางคนไม่กล้ากลับมา เพราะดูว่าจะเสียศักดิ์ศรีที่จะมาต่อท้ายแถวอีก ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว ไม่มีหัวแถวหรือท้าย แถวทั้งนั้น เพราะการปฏิบัติมันเป็นเรื่องของตัวเราเอง มันเป็นเรื่องของแต่ละคน ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปเปรียบเทียบกับใคร ๆ เลย เก่าใหม่ไม่สำคัญยิ่งไปกว่าการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และการขยันภาวนา

    กำลัง ใจและกำลังศรัทธาของแต่ละคนนั้นมันไม่เที่ยงจริง ๆ ครั้งพุทธกาลก็มีตัวอย่างที่มีเศรษฐีคนใจบุญขอให้พระโมคคัลลานะใช้ญาณหยั่ง รู้ตรวจดูอายุขัยแล้วรับรองว่าอายุขัยของเขายังไม่หมดใช่หรือไม่ พระโมคคัลลานะก็รับรองเช่นนั้น ตรวจดูทรัพย์ของเขาว่าจะไม่วิบัติใช่หรือไม่ พระโมคคัลลานะก็รับรอง แต่พอมาถึงเรื่องศรัทธา (ที่มีต่อพระรัตนตรัย) พระโมคคัลลานะกลับไม่รับรอง ท่านว่าเรื่องนี้รับรองไม่ได้ ศรัทธาเป็นเรื่องที่เจ้าตัวเท่านั้นจะต้องรับรองตัวเอง

    แล้วศรัทธาที่ยั่งยืนจะมาจากไหนได้เล่า ถ้ามิใช่จากผลแห่งการปฏิบัติซึ่งจะมาพร้อม ทั้งศรัทธาและการเข้าใกล้หลวงปู่ ดังคำรับรองของหลวงปู่ที่ว่า “เมื่อใดที่แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว เมื่อนั้น ข้าจึงว่าแกรู้จักข้าดีขึ้น...”

    มาช่วยกันปลูกศรัทธาที่มั่นคงลงในพระรัตนตรัยในใจของแต่ละคน มาเป็นอุบาสกอุบาสิกาแก้วที่พ้นแล้วจากการถือมงคลตื่นข่าว หรือกิจกรรมอันหมิ่นเหม่ต่อการทำไตรสรณคมณ์ในตัวเราให้ขาดวิ่นไป

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com


     
  12. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    กรรมฐานพาลจิตเพี้ยน

    กรรมฐานพาลจิตเพี้ยน

    หลายปีก่อนมีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โรคจิตกับกรรมฐาน” จัดโดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้นมีการเชิญจิตแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช มาเล่าถึงปัญหาโรคจิตที่เกิดจากการนั่งวิปัสสนากรรมฐานว่า ที่

    จริงแล้วการทำกรรมฐานไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคจิต
    แต่ประการใด การที่คนทั่วไปนั่งวิปัสสนากลับมาแล้วเกิดอาการทางจิตที่คนอื่นมองว่า “เพี้ยน” หรือเป็นโรคประสาท เป็นเพราะทำไม่ถูกวิธี

    จิตแพทย์ ท่านนั้นได้กล่าวว่า การที่มีผู้ไปทำวิปัสสนากลับมาแล้วผิดปกติมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากก็คือปัจจุบันมีสำนักสอนการปฏิบัติรวมทั้งวิปัสสนา เกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้คนคิดว่าเป็นแฟชั่นที่กำลังได้รับ

    ความ นิยม คาดว่ามีสำนักน้อยใหญ่ทั่วประเทศเป็นพันแห่ง สาเหตุที่ทำให้คนมุ่งเข้าสู่สำนักกรรมฐานเหล่านี้เนื่องมาจากความทุกข์ ความผิดหวังในชีวิต ต้องการที่พึ่งทางใจ สรุปได้ว่าคนที่เพี้ยนจากการทำ กรรมฐานนั้นส่วน

    ใหญ่มีความอ่อนแอทางจิตใจอยู่แล้ว และมาพบแนวทาง ปฏิบัติที่ผิดๆ เช่น อ่านตำราแล้วนำไปตีความเอง หรือคิดค้นวิธีปฏิบัติเองนอกแบบของครูอาจารย์ หรือฟังจากเพื่อนที่เล่าให้ฟังต่อๆ กันมา

    เจ้าสำนักกรรมฐานบางแห่ง มักใช้วิธีพิสดารต่างๆ เพื่อสร้างความขลังให้สำนักตนด้วยการฝึกแบบแปลกๆ จนทำให้คนที่ฝึกแบบที่ผิดๆ นี้เกิดอาการเคร่งเครียด บ้างก็เกิดความกลัวหวาดระแวง เกิดเป็นอาการเพี้ยนต่างๆ ตามมา

    อาการเพี้ยนนี้มิใช่เพิ่งเกิดในสมัยปัจจุบัน หากแต่ในครั้งพุทธกาลก็มีหลักฐานปรากฏในพระวินัยปิฎกภาคอาทิกัมมิกะ คือ

    สมัย หนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนกรรมฐานข้อที่ว่าด้วยการให้พิจารณาร่างกายดุจ เป็นซากศพแก่พระภิกษุ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าผาสุกวิหารธรรม คือทรงพักผ่อนส่วนพระองค์เป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างนี้ จะไม่

    เสด็จออกบิณฑบาต จะมีแต่พระภิกษุผู้ทำหน้าที่คอยอุปัฏฐากอยู่ ไม่ทรงรับแขกและงดการแสดงธรรม

    พระ ภิกษุที่ได้ฟังพระพุทธเจ้าสอนเรื่อง อสุภะกรรมฐาน ได้นำคำสอนไปปฏิบัติโดยไม่มีครูอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิดก็เกิดอาการ วิปริต เห็นร่างกายเป็นซากศพ เป็นที่น่าขยะแขยงเป็นทุกข์ จึงจ้างวานคนอื่นให้ฆ่าตัวเองบ้าง

    ลงมือฆ่ากันเองบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสร็จจากผาสุกวิหารธรรม ทรงทราบเรื่องเข้า จึงทรงสอนให้ภิกษุที่เหลืออยู่ให้พิจารณากรรมฐานในแนวใหม่

    อีกเรื่อง หนึ่ง เรื่องพระภิกษุกลุ่มหนึ่งเรียนกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลลาเข้าป่าหา ที่สงบปฏิบัติกรรมฐานจนได้บรรลุฌานแล้ว ไม่นานก็เกิดความสำคัญผิดคิดว่าตนได้สำเร็จขั้นอรหันต์แล้ว จึงชวนกันออกจากป่ากลับ

    มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้บอกความประสงค์เรื่องนี้แก่พระอานนท์ พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อขออนุญาตเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต รับสั่งให้พระอานนท์ไปบอกพระภิกษุเหล่านั้นให้ไปพิจารณาซากศพ

    ใน ป่าช้าก่อน ซึ่งในขณะนั้นในป่าช้ามีคนที่ตายใหม่ๆ ยังไม่ได้เผา พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ไปดูศพในป่าช้า เมื่อดูศพที่กำลังขึ้นอืดก็บังเกิดความเกลียด และเมื่อไปดูศพหญิงสาวที่เพิ่งตาย แลเห็นอวัยวะ ทุกส่วนยังสดอยู่ก็บังเกิด

    ราคะ พระภิกษุเหล่านั้นจึงทราบว่า พวกตน ยังไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ ก็เกิดความสลดสังเวชใจในความสำคัญผิดของตน หลังจากนั้นได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา

    นี้เป็นหลักฐานว่า การปฏิบัติกรรมฐานตามหลักศาสนาพุทธ จำเป็นต้องมีครูอาจารย์คอยดูแล เช่นคอยแนะนำว่าภาพที่เห็นและความคิดที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญพระกรรมฐาน หรือเวลานั่งกรรมฐาน ตลอดจนอารมณ์ต่างๆ ที่เกิด

    ขึ้นในระหว่างนั้นมี ความหมายอย่างไร และควรวางอารมณ์ต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร มิฉะนั้น ผู้ทำกรรมฐานอาจเกิดความเห็นผิด แล้วพัฒนากลายเป็นความวิปริตหรือผิดเพี้ยน ที่สุดแล้วอาการอาจรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ กลายเป็น

    คนวิกลจริตไปก็มี

    ผู้ ปฏิบัติจึงควรเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาด้วยการศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ ก่อนที่จะลงมือ นั่งสมาธิเจริญภาวนา เพราะการทำสมาธิแต่เพียงอย่างเดียวก็มีโทษ มิใช่มีประโยชน์ด้าน

    เดียว

    ดังนั้น จึงขอฝากผู้ปฏิบัติที่มักมีนิมิตภาวนา ไม่ว่าเป็นนิมิตประเภทภาพ เสียง กลิ่น หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม หลวงปู่ท่านเคยสอนไว้ว่า

    “อย่ายินดียินร้าย และอย่าน้อมใจเชื่อในนิมิตที่เกิดขึ้น”

    ท่านสอนไม่ให้ปฏิเสธ หรือว่าไม่ให้เชื่อนิมิตทันทีที่นิมิตเกิดขึ้น แต่สอนให้เชื่อหรือปฏิเสธก็ต่อเมื่อ ความจริง ปรากฏขึ้นเท่านั้น

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านได้เคยแนะนำวิธีละนิมิตกับศิษย์คนหนึ่งในหนังสือ “หลวงปู่ฝากไว้” เรียบเรียงโดยพระโพธินันทมุนี ว่า

    “...นิมิต บางอย่างมันก็สนุกดี น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นมันก็เสียเวลาเปล่า วิธีละได้ง่ายๆ ก็คืออย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั่นก็จะหายไปเอง”

    ที่มา: หนังสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
    หัวข้อ ๙๓ หน้า 186 -189
     
  13. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านทำเพื่อสิ่งไร

    พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านทำเพื่อสิ่งไร

    เราเคยคิดไหมว่าการที่พ่อแม่ครูอาจารย์ มีหลวงปู่มั่นและหลวงปู่ดู่เป็นต้น ท่านลำบากตรากตรำในการพร่ำสอนลูกศิษย์นั้นเพื่อสิ่งไร ท่านต้องการผลตอบแทนอะไรเพื่อตัวท่านเองบ้าง
    ในขณะที่วัดหลายวัดตั้งตู้รับบริจาคกัน เกลื่อนกล่น แต่ครูบาอาจารย์ในอดีต ไม่มีเลย บางแห่งพอลูกศิษย์คะนั้นคะยอให้ยอมเอาตู้รับบริจาคที่เขามาถวายตั้งไว้ที่ วัด ท่านถึงขนาดพูดแรง ๆ ว่าท่านไม่ใช่สัตว์ประหลาดที่จะให้ชาวบ้านเอาเงินมาหยอดตู้เพื่อดูการแสดง! ธรรมะของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ให้มาฟรี ๆ เราจะขายธรรมะพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
    บางสำนักก็ให้ถึอเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ที่จะให้มีการถวายเงินกัณฑ์เทศน์ทุก ๆ ครั้งที่แสดงธรรมจบ วันหนึ่งแสดงธรรม ๓ หน ก็ให้เรียงคิวมาถวาย ๓ หน อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่าขายธรรมะ จะเรียกว่าอะไร
    บางแห่งเกิดลาภสักการะมาก จนถึงขนาดมากพอจะไปลงทุนในตราสารทางการเงินต่าง ๆ ...นั่นมันกิจที่พระควรใส่ใจหรือ ..."สังฆะ" ที่พระพุทธเจ้าตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นสังคมในอุดมคติที่ไม่เป็นทาสของวัตถุ นิยม เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พออยู่พอกิน ไม่มีกิจทางโลก ๆ ที่จะเป็นเครื่องกังวลใจ เพื่อจะได้ทุ่มเทเวลาไปกับกิจหลัก คือ การเจริญจิตตภาวนา สังฆะจะได้ไม่ถูกกระทบกระเทือนไปเพราะเหตุที่สงฆ์ประพฤติโน้มเอียงไปอย่าง คฤหัสถ์ที่วุ่นแต่เรื่องวัตถุนิยม เรื่องรำเรื่องรวย แล้วกลายเป็นซวยที่ต้องตายเปล่าไปอีกชาติหนึ่ง เพราะถูกล่อด้วยเรื่องบุญ เรื่องสวรรค์ หรือเรื่องมรรคผลที่แต่งตั้งให้กันได้
    พวกเราลองนึกภาพหลวงปู่มั่นที่แทบทั้ง ชีวิตท่านอยู่แต่ในโรงเรียนสอนธรรมะของท่าน นั่นก็คือป่าเขาซึ่งหาความสะดวกสบายไม่ได้เลย แต่ธรรมะการขัดเกลาที่ได้ผลก็มักเกิดในที่เช่นนั้น (แต่คนสมัยนี้กำลังได้รับการสอนจากพระยุคใหม่ว่านั่นเป็นการทรมานตนเปล่า ๆ เพราะธรรมะอยู่ที่ใจ! ไม่อิงสถานที่หรือรูปแบบการปฏิบัติ ...โปรดศึกษาเรื่องความผิดในความถูก)
    บางครั้งหลวงปู่มั่นท่านก็ต้องเหนื่อย ลำบากเดินทางออกมาในเมือง เพื่อรับลูกศิษย์เข้าโรงเรียน (ป่า) เอาไปฝึกฝนตั้งแต่เรื่องนอก ๆ อย่างการนุ่งห่ม จนไปถึงการปฏิบัติภาวนาละกิเลส
    ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ฝั้น ท่านพ่อลี กระทั่งหลวงตามหาบัว ฯลฯ ก็ล้วนผ่านโรงเรียนของหลวงปู่มั่นมาแล้วทั้งนั้น ถามว่าการที่หลวงปู่มั่นท่านเหยื่อยยากถึงปานนั้น ท่านทำแล้วได้อะไรแก่องค์ท่านเองบ้าง การอยู่การฉันของท่านสะดวกสบายขึ้นไหม หรือได้ทรัพย์ได้ฐานันดรศักดิ์ใด ๆ ไหม ฯลฯ
    คำตอบก็คือ ท่านไม่ได้ทำเพื่อองค์ท่านเองเลย หากแต่ท่านทำเพื่อพระพุทธศาสนาโดยรวม เพื่อให้มีพระจริง พระแท้ มาทำหน้าที่สงเคราะห์สัตว์โลก
    ดัง นั้น หลวงปู่มั่นท่านจึงเปรียบเหมือนพระพุทธเจ้าองค์น้อย ๆ แห่งยุคกึ่งพุทธกาล ที่มาผลิตพระอริยเจ้าจำนวนมาก เพื่อการรื้อขนสัตว์โลก


    วกมาที่หลวงปู่ดู่ พระผู้จุดประทีปในดวงใจของพวกเราหลายคน หลวงปู่ท่านนั่งบนกระดานแข็ง ๆ อบรมสั่งสอนญาติโยมเป็นเวลายาวนานถึงยี่สิบสามสิบปี ถามว่าท่านทำเพื่ออะไร กุฏิท่านหรูขึ้นไหม หรือท่านหวังชื่อเสียงโด่งดัง ฯลฯ เงินส่วนตัวท่านก็ไม่มีสักบาท มีคนจะมาขอถ่ายรูปเขียนเรื่องราวของท่านลงในหนังสือนิตยสารหรือหนังสือพระ ท่านก็ไม่อนุญาต แม้กระทั่งจะมาเสนอแต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านก็ไม่เอา แล้วท่านทำเพื่อสิ่งไร ถ้าไม่ใช่เพื่อหัวใจของลูกศิษย์ที่ปราถนาความพ้นทุกข์ ...ท่านทำเพื่อหัวใจ เพื่อหัวใจของลูกศิษย์ มิใช่เพื่อตัวท่านเอง ซึ่งท่านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วด้วยการกระทำของท่านจวบจนวันมรณภาพ
    สิ่งที่ควรเรียนรู้และตระหนักก็คือ เราควรนำธรรมเข้าไปดับไฟในโลก มิใช่นำโลกไปเผาธรรม

    ที่มา: Luangpudu.com / Luangpordu.com

     
  14. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    แบบปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ?

    แบบปฏิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ?

    ในยุคปัจจุบันที่สังคมมี การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนเผชิญกับความทุกข์ความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องปากท้อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนต่างแสวงหาที่พึ่ง แสวงหาคำตอบของชีวิต

    ในขณะเดียวกันก็มีผู้ตั้งตนเป็นอาจารย์สอนการปฏิบัติธรรมกันมาก
    เกี่ยว กับเรื่องแบบปฏิบัติธรรมนี้ หลวงปู่ได้เล่าไว้ว่าเคยมีผู้พิมพ์ แบบปฏิบัติธรรมมาถวายและใช้คำว่า “แบบปฏิบัติธรรมวัดสะแก” ท่านแก้ให้ว่า อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นแบบของพระพุทธเจ้า ไม่ควรใช้ว่าเป็นแบบของวัดใด

    อีกครั้งหนึ่งที่เคยมีผู้ตั้งคำถามในอินเตอร์เน็ตว่า

    “แบบปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ดู่เป็นอย่างไร”

    ข้าพเจ้า หวนระลึกถึงบทสนทนาตอนหนึ่งที่หลวงปู่เคยเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งมีลูกศิษย์มาขอศึกษาธรรมตามแบบของท่าน หลวงปู่ได้ตอบศิษย์ ผู้นั้นไปว่า ข้าไม่ใช่อาจารย์หรอก อาจารย์นั่น ต้องพระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด นั่น ข้าเป็น

    ลูกศิษย์ท่าน

    ข้าพเจ้ากลับมานั่งคิดทบทวนอยู่หลายครั้ง ความชัดเจนในคำตอบของหลวงปู่จึงค่อย ๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ เสียงสวดมนต์ทำวัตรแว่วมาแต่ไกล

    ....โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะ จะริยัง ปะกาเสสิ

    แปลได้ความว่า

    ....พระ ผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว มีความไพเราะงดงามในเบื้องต้น ไพเราะงดงามในท่ามกลาง ไพเราะงดงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง

    พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ

    สาธุ ถูกของหลวงปู่และจริงเป็นที่สุด พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนการปฏิบัติไว้อย่างดียิ่ง เป็นขั้นเป็นตอนและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องการผู้ใดมาแต่งมาเติมอีก กุญแจคำตอบสำหรับเรื่องนี้ได้เฉลยแล้ว

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ

    ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ด้วยเศียรเกล้า

    ที่มา: หนังสือ ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
    หัวข้อ ๕๔ หน้า 94-95
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,736
    ค่าพลัง:
    +21,341
    เรียนถามท่าน Follower007 ครับผมไม่มีเจตนาอื่นใดแต่เพื่อความเข้าใจถูกต้องในส่วน

    ตัวก็มีความศรัทธราหลวงปู่ท่าน การขยายความที่นำมาลงให้อ่านนี้ไม่ทราบว่าท่านใดเป็นผู้

    ขยายความครับ เพราะที่ผมอ่านเหมือนเป็นบทขยายความวิเคราะห์เอาความรู้ส่วนตัวมา

    ปรับเข้ากับบทความคำพูดหลวงปู่ มีบางข้อความที่ผมอ่านแล้วมันขัดแย้งกับความรู้เก่าที่

    ได้รับจากครูบาอาจารย์โดยตรง คือในส่วนตัวผม ผมจะชอบถามโดยตรงต่อครูบาอาจารย์

    ไม่ชอบถามศิษย์ เพราะศิษย์บางคนขยายเกินอาจารย์ แต่ส่วนมากเรื่องวัตถุ

    มงคล ......แต่เรื่องแบบนี้อย่างเช่นเรื่องติดที่ไม่จำเป็นนี้ เรื่องตั้งตู้บริจาค หรือแบบนี้

    หลวงปู่มั่นท่านจึงเปรียบเหมือนพระพุทธเจ้าองค์น้อย ๆ แห่งยุคกึ่งพุทธกาล ที่มาผลิตพระอริยเจ้าจำนวนมาก เพื่อการรื้อขนสัตว์โลก

    ข้อเปรียบเทียบสมมุติอย่างนี้ไม่น่าใช้สายหลวงปู่มั่นแน่นอนครับ เท่าที่เคยอ่านปฎิปทาและ

    ฟังธรรมเทศน์ของสายหลวงปู่มั่น และองค์หลวงตามหาบัว หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อ

    ชา หนองป่าพง หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทศน์ เทศรังสี ไม่เคยได้ยินการเปรียบเปรยเช่นนี้เลย

    ไม่น่าจะมีการนำพระอรหันต์ไปเทียบกับพระพุทธองค์ ข้อความ

    แบบนี้ไม่น่าจะมีแน่ในสายพระป่าสายหลวงปู่มั่น น่าจะเป็นการเปรียบเปรยของคนใดคนหนึ่ง

    เสียดายที่ผมเกิดทันหลวงปู่ดู่แต่รู้จักท่านช้าไปหลังท่านมรณภาพไปแล้วไม่อย่างนั้นข้อข้อง

    ใจที่เห็นๆอยู่ในข้อมูลที่บอกว่าหลวงปู่พูด จะได้ถามท่านโดยตรง

    รบกวนท่านด้วยครับเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องที่จะได้รับครับ.ไม่ได้มีเจตนาจับผิดหรือมาขัด

    ขวางการเผยแพร่คำสอนหลวงปู่นะครับ เพราะผมก็ชอบอ่าน ชอบวิเคราะห์ และชอบวัตถุ

    มงคลหลวงปู่ครับ และก็นับถือหลวงปู่เช่นกันครับ
    เรื่องจริงที่ควรรู้ของ "หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ" สำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ


    อยากได้ข้อมูลถูกต้องเช่นกันครับสายหลวงปู่เพื่อเป็นประโยชน์ในการรับธรรมะอย่าบถูกต้อง

    จากหลวงปู่ครับ

    นะโมพรหมปัญโญ นะโมพรหมปัญโญ นะโมพรหมปัญโญ

    ขอบคุณครับ
     
  16. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303

    เรียนคุณ ่่่Jumbo A ทราบ

    ข้อความทั้งหมดที่นำมาลงได้ระบุที่มา ไว้ที่ข้างท้ายของทุกบทความ
    หรือคุณ
    ่่่Jumbo A จะเข้าไปหาอ่านได้โดยตรงจากสองที่นี้

    www.luangpordu.com
    (ลูกศิษย์ของหลวงปู่กลุ่มผู้จัดทำหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู)

    www.wadsakae.com

    และถ้าข้อความที่นำมาลง บอกว่าเป็นคำพูดของท่านแล้ว คุณ ่่Jumbo A เห็นว่าไม่ใช่ไม่ถูกต้อง ก็ช่วยชี้แนะด้วยเพราะกลัวบาป เพราะเดี์ยวจะกลายเป็นชนิดที่ว่า “เอาคำของเราไปใส่ปากครูอาจารย์” ทำให้คนฟังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคำพูดออกจากองค์ท่านจริง ๆ ซึ่งถึงแม้จะมีเนื้อหาเป็นธรรม (ตามทัศนะของเรา ณ วันนี้) แต่ก็จัดว่าเป็นการกระทำที่ขาดความเคารพและไม่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์
    แล้วขอเรียนถามว่าเรื่องของหลวงปู่ดู่ท่าน ถ้าไม่ได้ถามจากศิษย์ของท่านแล้วจะให้ไปถามโดยตรงต่อครูบาอาจารย์ ท่านใดได้ จะได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเพื่อ
    มาลงเผยแพร่คำสอนที่ถูกต้องเช่นกัน

    รบกวนคุณ
    ่่่Jumbo A ช่วยชี้แนะด้วย

    ขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้
     
  17. Aimee2500

    Aimee2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +1,765

    [FONT=&quot]นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    [/FONT][FONT=&quot]นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    [/FONT][FONT=&quot]นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

    [/FONT][FONT=&quot]นะโม พรหมปัญโญ
    [/FONT][FONT=&quot]นะโม พรหมปัญโญ
    [/FONT]
    [FONT=&quot]นะโม พรหมปัญโญ

    _/I\_ _/I\_ _/I\_
    [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
     
  18. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585

    พี่ครับขอถามเรื่องบทสัพเพหน่อยครับ
    ที่ตอนท้ายจะต่อด้วย พุทธังอธิษฐานมิ......สังฆังอธิษฐานมิ
    บทท้ายนี้ให้เราท่องหลังแผ่นเมตตาแล้ว หรือก่อนแผ่นเมตตาครับ
     
  19. Yanky1890

    Yanky1890 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +234
    นะโม พรหมปัญโญ
    นะโม พรหมปัญโญ
    นะโม พรหมปัญโญ

    ขออนุโมทนากับทุกข้อความที่เจ้าของกระทู้นำมาลง
    อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่า ได้รู้จักท่านดีมากขึ้น และไม่หลงงมงายเหมือนเมื่อก่อน
    อนุโมทนา สาธุ
     
  20. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    เรียนคุณ bus4s2v
    เท่าที่ทราบมาและเห็นที่ปฏิบัติที่วัดสะแก
    ปรกติเมื่อจะเลิกนั่ง ก็จะรวมจิตรวมใจให้ดีอีกครั้ง แล้วตั้งใจอาราธนาพระเข้าตัว โดยว่าบทสัพเพฯ ซึ่งจะจบด้วยพุทธังอธิษฐามิ....<wbr>สังฆังอธิษฐามิ จากนั้นจึงค่อยน้อมจิตแผ่เมตตา โดยว่าบทพุทธัง อนันตังฯ พร้อม ๆ กับการแผ่เมตตาออกไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...