สงสัยเรื่อง อานาปานสติ ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บัญชา_, 21 สิงหาคม 2012.

  1. บัญชา_

    บัญชา_ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณนะครับ ผมก็คิดแบบนั้นเหมือนกันครับ:cool:
     
  2. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    สาธุ ๆ ๆ ค่ะ การเดินทางนี้ไม่ยาวไกลอย่างที่คิดอยู่ที่เรามีความมานะและรักที่จะทำ การปฏิบัติธรรมที่ถูกควรเดินทางสายกลาง หากเริ่มฝึกแล้วรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย ขอโปรดทราบว่า อาจจะปฏิบัติไม่ถูกต้องค่ะ จิตที่ควรแก่การปฏิบัติ ต้องโปร่ง โล่งสบาย มีความสุข(ในการปฏิบัติขั้นต้นนะคะ)

    สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเริ่มปฏิบัติ คือ การตัดความกังวล ความฟุ้งซ้าน ออกจากใจ เพื่อให้จิตรวมตัวง่าย

    สำหรับวิธีที่ดิฉันใช้มาตลอดคือ หากวันใดจิตไม่ผ่องใส หลังจากหายใจเข้า-ออกไล่ลมหยาบไปแล้ว ยังรู้สึกอึดอัด วิธีแก้..

    -ให้นึกถึงบุญ หรือคุณความดีที่เราทำมา แล้วเราเกิดความปลื้มปิติใจ ให้นึกย้อนตรงนั้น นึกถึงความร่าเริงแจ่มใส

    -จากนั้นก็กลับมากำหนดลมหายใจเข้า-ออกตามเดิมค่ะ

    หลายท่านเคยนำเทคนิคนี้ไปใช้แล้วได้ผล ขึ้นอยู่กับจริตแต่ละท่านค่ะ

    ขอให้เจริญในธรรมค่ะ

    Numsai
     
  3. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ทำให้นึกถึง เจ้าชายสิทธัตถะ ที่ทรงแสวงหาโมกขธรรม อันเป็นเครื่องหลุดพ้น

    ไปศึกษากับท่าน อาจารย์อาฬารดาบส กับ อาจารย์อุทกดาบส สำเร็จ ถึงฌาณ - สมาบัติ 8

    แต่ยังไม่ ตรัสรู้ธรรม จึงทรงไปศึกษา ด้วยพระองค์เอง ....จนได้ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ แล้วทรง เผยแพร่ธรรมที่ตรัสรู้ แก่สาวก และพระสาวกก็มีวิธีการที่เผยแพร่มาก
    สรรหาวิธี กุศโลบายให้ศาสนิกที่ติดตามคำสอนที่ถูกกับจริตตนเอง มีกระทั่ง คำภาวนา มากมาย หลายอย่าง.......

    อานา ปานะสติ ชื่อก็บอกว่า มี ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก แต่ก็ยังมีคำบริกรรมอีก
    ต้องฝึกแล้ว พิจารณาเอง จะรู้ได้ว่า อะไรเป็นอะไร ..มิฉะนั้น จะเป็นการไปฝึกเข้าฌาณไป หากฌาณ ทำให้ตรัสรู้ บรรลุธรรมได้ พระอาจารย์ อาฬารดาบส กับอุทกดาบส ท่านมิเป็นพระพุทธเจ้าไปก่อนเจ้าชายสิทธัตถะ หรือ....)

    ปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะผ้สสะ นั้น หากยังไปพ่วงอะไรให้มากมาย จนสติตามไม่ทัน ทำไมไม่คิดเอาง่าย ๆ ว่า ...
    เพราะ ไม่รู้(อวิชา)
    จึงไปหลงปรุงแต่ง(สังขาร)
    ในการเกิด (วิญญาณ)
    เมื่อผ้สสะ(นาม-รูป)
    กับอายตนะ ภายนอก-ภายใน(สฬายตนะ)
    แล้วเกิดความพอใจ-ชอบใจ (ตัณหา)
    ยึดถือเป็นสิ่งดี-ไม่ดี (อุปาทาน)
    ...สร้างภาพในการมี ครอบครอง (ภพ)
    เมื่อได้มีครองอยู่(ชาติ)...
    จึง เกิดความเบื่อหน่าย คลาย (ชรา) สูญสิ้น (มรณะ) ความเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน (โศกะ-ปริเทวะ-อุปายาสะ)

    เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป แล้วก็พอใหม่ เอาอีก เป็นวงวัฏฏะสังสาระ ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เรื่อยไป

    การที่จะตัดวงจรวัฏฏะสังสาร นี้ พระพุทธเจ้า ทรงหาวิธีปฏิบัติเพื่อตัดวงจรนี้ได้ ก็ด้วยวิธี ฝึกให้มีสติ ระลึกได้ เท่าทันการเกิดของ วงจรปฏิจจสมุปบาท ...รู้ทัน หยุดได้ ไม่ปรุงแต่ง ต่อไปก็ด้วยการ ฝึกมหาสติปัฏฐาน ทุกผัสสะ มีวิชชา สติมา ปัญญา เกิด รู้เท่าทัน ตัณหา อุปาทาน ก็ไม่เกิด หรือเกิดก็มีปัญญา รู้ทันมัน ไม่สร้างภพ ชาติ การแก่ เจ็บ ตาย ....ไม่มีอีกต่อไป แล้วก็ฝึกไปเรื่อย ๆ จน...........

    อนุโมทนา ที่อ่านจนจบ......
     
  4. บัญชา_

    บัญชา_ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณมากนะครับ ที่ให้คำแนะนำกับผม
     
  5. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    จากประสบการณ์ที่ฝึก..อานาปานสติ..ของผมนะครับไม่ค่อยเน้นการนั่งสมาธิซักเท่าไหร่
    แต่จะเน้นเอามาทำในชีวิตประจำวัน พอนึกขึ้นได้เมื่อไหร่ก็รู้ลมหายใจซักทีนึงแต่ไม่ได้
    กำหนดให้ลมเข้า กำหนดให้ลมออกนะครับ แค่รู้ว่ายังมีลมหายใจอยู่จะเข้าหรือออกไม่ค่อย
    ได้ใส่ใจ วันแรกๆเราอาจจะรู้แค่ครั้งสองครั้งแต่ถ้าทำบ่อยๆ ปริมาณการรู้ลมหายใจต่อวันก็จะ
    มากขึ้นๆ เป็นการฝึกให้เรารู้ตัวเองวันล่ะหลายๆ ครั้ง

    สิ่งสำคัญอย่าไปบังคับลมให้เข้าหรือออกตามความอยาก เพราะจะทำให้เราเครียดปวดหัวได้
    แค่รู้ว่าเรายังมีลมหายใจเฉยๆ แรกๆมันอาจจะยากให้เราแอบสังเกตุการหายใจของเรา
    ว่าหายใจแบบไหนแล้วเรารู้สึกสบายแล้วจำสภาวะนั้นเอาไว้ ลมหายใจก็มีอยู่สามสภาวะ
    เท่านั้นแหละ เข้า-ออก-หยุด ถ้าขาดสภาวะ...หยุด...ให้เรารู้ไว้ว่าช่วงนั้นลมหายใจเราอาจ
    จะไม่ปกติเช่น ออกกำลังกายมา,ทำอะไรเหนื่อยๆมา,ตื่นเต้นอยู่ หรืออาจบังคับลมหายใจอยู่
    ในกรณีถ้าเกิดว่าเรากำลังบังคับลมอยู่แต่แก้ไม่หาย ให้เรากำหมดรู้ลมหายใจและบอกกับ
    ตัวเองในใจว่า "ตอนนี้เรากำลังบังคับลมอยู่" ทุกครั้งที่รู้สึกว่าเราลมหายใจไม่ปกติ

    คุณสามารถเอาวิธีการฝึกอานาปานสติในชีวิตประจำวันได้ทุกสถานะการณ์ ไม่ว่าจะเป็น
    ทำงาน, ประชุม, ดูหนัง ดูละคร, ฟังเพลง ฟังธรรมะ, กินข้าว, รอเพื่อน รอแฟน, ขับรถ
    สามารถทำได้ทุกสถานะการณ์เมื่อเรานึกขึ้นมาได้

    ผลที่ได้จากการฝึกอานาปานสติในชีวิตประจำวันถ้าฝึกมาได้ซักระยะหนึ่งจะเกิด ปิติ แรกๆ
    อาจจะขนลุกอยู่ทั้งวัน และถ้าทำไปเรื่อยจะเกิดอาการเย็นซาบซ่านไปทั้งตัว บางทีอาจะได้
    ซักพักบางครั้งอาจจะได้ทั้งวัน เปรียบไม่ถูกเหมือนกัน เหมือนคุณไปนั่งในโรงน้ำแข็งแต่
    รู้สึกสบายหรือเอาแป้งเย็นตางูมาปะให้ทั่วตัว ความรู้สึกมันดีกว่ากันเยอะแต่ไม่รู้เปรียบเปรย
    ยังไงให้เห็นภาพ

    การฝึกอานาปานสติในชีวิตประจำวันจะเป็นฐานทำให้เราเกิดสมาธิได้เร็วขึ้นตอนเรานั่งสมาธิ
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    คุณ Ennjoy...

    รักษามันไว้ให้ดี ไม่นานมันเสื่อมได้ แล้วก็จะหาทางเข้าไม่ได้อีก นาน.....
    พระอานนท์ ท่านสำเร็จได้ตอนเอนกายจะนอนพักผ่อน...คิดดูซี ท่านไม่ได้นั่งสมาธิ
    จนก้นแตกเลย ท่านทำอย่างไร จึงบรรลุโดยพลัน.....
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เข้าใจว่า

    ก่อนหน้านั้นพระอานนท์ ท่าน ปฏิบัติอย่างองอาจ
    เร่งความเพียรอย่างยิ่งยวด

    ด้วย กายคตาสติ จนครบ อาการ 32

    ทำให้พื้นฐานจิตมีกำลังมากด้วยความพร้อม

    พอได้ความสมควรแก่ธรรม
    กายเคลื่อนด้วยอาการเอน จิตเข้าไปรู้กายที่เคลื่อน ในขณะจิตเดียว
    ท่านก็แจ้งแทงตลอด บรรลุพระอรหันต์
    และยังได้ ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6
    ได้อิทธิฤทธิ์ เข้ากสิณ แล้วไปโผล่ ที่สภาประชุมการสังคายนา
     
  8. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273

    ผมทำของผมอย่างนี้ มันสำคัญที่เราทำจริง และสม่ำเสมอแค่ไหน เราเห็นทุกข์ โทษของการเกิดแค่ไหน แล้วมาเพียรปฎิบัติ ผลการปฏิบัติเมื่อเริ่มสูง ๆ แล้ว ยังเกิดปัญหาตามมาอีก คือ การกลัวความตาย ความอยากให้ได้ผลเหมือนเดิม แต่เมื่อมันผ่านไปได้ สมาธิจะดีมาก และ ปัญหาที่พึงระวังต่อไป คือ วิปัสสนูกิเลส มาหลอกให้เราหลงผิด คิดว่าดีแล้ว สำเร็จแล้ว ... บางท่านจิตว่างมาก ๆ สว่างมาก ๆ บางทีมีเทวดามาบอก ได้ยินเสียงว่า นั่นไง ๆ พวกเราไปกราบพระอรหันต์กัน เกิดญาณทำนายแม่นมาก ไม่ยอมนอน แต่แปลกที่ไม่ภาวนา และอาการแบบนี้จะเริ่มหลง ๆ ลืม ๆ ไม่สนใจศีล วินัย ฯลฯ ... ผมเห็นมาบ้าง และเจอเองมาบ้าง จึงได้พยายามวางหลัก ไว้เตือนตนเอง เพราะเมื่อยามเราหลงผิดไปบ้างแล้ว เราจะคิดจะพิจารณาแบบนี้ไม่ได้ ต้องวางหลักไว้ก่อน ...

    เมื่อเข้ามาอ่านเจอ จึงได้นำมาเสนอ เผื่อจะมีประโยชน์บ้างครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  9. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ผมเข้าใจคำพุดข้างบนนี้หมายถึงปฏิบัติผิดทาง เปนเหตุให้ผู้ปฏิบัติหลงจากการที่จะตัดภพชาติทิ้ง กลายเปนยึดติดในภพชาติแทน เท่ากับเปนการยืดระยะของสังสารวัฏฏออกไปยาวไกล หรือพูดง่ายๆคือ ยังเปนมิจฉาสมาธิอยู่ (การที่มีมิจฉานำหน้าอยู่ จะหาทางเข้าประตูของมรรค8ไม่เจอ นี่แหละคือว่าสังสารวัฏยัง
    อีกยาวไกล๗)

    แต่สำหรับผุ้ที่เคยศึกษาแบบอานาฯมาบ้างผมว่าจะมีคุณประโยชน์มากกว่าโทษนะครับ จะเรียกได้ว่าเปนพื้นฐานที่สำคัญของเกือบทุกกรรมฐานเลยก้ว่าได้ จะไม่มีโทษเลย หากผู้ปฏิบัติมีสติอย่กับตัวตลอดเวลา และอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันได้

    แต่สำหรับคนที่ทำอานาปานสติคล่อง เข้าจะมีพ่วงกรรมฐานที่สุงขึ้นไปอีกด้วย
    เช่น อานาฯ+กายคตาสติ , อานาฯ+เจริญสติปัฏฐาน ,อานาฯ+มรณานุสสติ, อานาฯ +พิจารณากรรมฐาน5 หรือพิจารณา ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพื่อสมาธิ สติ และปัญญาให้มั่นคงยิ่งๆขึ้นไป

    ดังนั้นกรรมฐานด่านแรกจึงหนีไม่พ้นอานาปานสติ ควรจะศึกษาและลองปฏิบัติดูนะ เปนกรรมฐานดูกองลมที่ไม่หนัก ห้อยด้วยคำบริกรรมพุทโธ ลมเข้าสบาย
    ลมออกสบาย ภาวพุทธโธให้จิตมีสติ อยุ่กับกองลม พร้อมอย่กับคำว่าพุทโธ แล้วจะค่อยๆพบความสงบตามลำดับมันเอง เพราะความไม่เข้าใจ ไม่รู้ จะให้เกิดโทษแต่เมื่อเข้าใจแล้วรู้แล้ว ปล่อยวางมันได้แล้ว จะเกิดแต่ประโยชน์ล้วนๆ พร้อมเปนปัจจัยให้ฝึกวิปัสสนากรรมฐานได้ง่ายขึ้นไปอีก ตรงนี้ละครับที่สำคัญ
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ................................อานาปานสติ...ในความเข้าใจของผม..นั่นคือ การเห้นปัจจัยรูป-นาม นั่นเองในเบื้องแรก..ส่วนการศึกษาต่อต่อไปต้อง ลองทำดู................:cool:อานาปานสติ ในความเข้าใจของผม..มีการแยก รูป-นามให้เห็นสำหรับผู้ภาวนา(จิต กับ อารมณ์(อารัมณะ-สิ่งที่จิตรู้)....ทำไม อานาปานสติ บริบูรณ์ จึงยังให้ สติปัฎฐานสี่(กาย เวทนา จิต ธรรม)บริบูรณ์ เป็นเรื่องน่าศึกษาใหม?:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2012
  11. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    น่ากลัวครับท่านที่จะปฏิบัติแล้วเอาผลของการปฏิบัติไปสอบเป็นจอหงวน
    เพื่อจะไปหาโอกาสก้าวหน้าเอาข้างหน้าอีกเพื่อตัวเองไม่ว่าเรื่องทางโลกทางธรรม
    ความจริงเราเกิดมาบนโลกอยากพ้นโลก
    พอจะไปเกิดในทางธรรมอยากบรรลุธรรมเพื่อครองโลก
    ส่วนมากเป็นโรคเป็นราไปหมด
    ราง่ายๆ.......ราคะ
    หากเป็นหญิงก็.....ราฆี
    จึงไม่มีราคา
    กำหนดหมด

    ผมไม่ได้มาเรื่องกระทู้
    พอดีท่านเป็นขอม
    เห็นยันต์ที่ท่านใช้แทนรูปแทนตัว
    ผมอยากถามว่า
    ทำไมพุทธ.....ที่ท่านเขียนในชินบัญชร
    ใช้อักขระเหมือนดอเด็กสกดไม่ใช้....ธ...ธงสกด
    และคำว่าชิน.....หรือชัย....ที่เขียนทำไมตวัดหางตัวอักขระ...ชะ....ขึ้นด้านบน

    ท่านพอจะช่วยชี้แนะได้บ้างหรือไม่ขอรับ


    เอาว่ามาเรื่องกระทู้
    อานาปาไม่ต้องลงทุนไปหาซากศพมานั่งพิจารณาอสุภ
    หรือในแนวทางอื่นๆ
    อย่างเพ่งกสิณ เพ่งสีนี้ต้องหาวิธีหาสีหาไฟ
    แต่ดูลมนี้ดูได้ทุกเวลาไม่มีอุปกรณ์ประกอบและต่อเนื่อง
    ลมหายใจนะขอรับ

    การพิจารณาอสุภนี้บางท่านบอกไปดูซากศพเพื่อตัดกามราคะ
    มันมีรูปเป็นรูปอยู่
    บางท่านเพ่งกสิณไฟ

    ผมถามกลับว่าเป็นรูปอยู่หรือไม่

    ได้อภิญญาไปเยอะแยะไปหมด

    คนเหล่านี้เขารวยมากเพราะเศกหินเป็นทองได้

    ตาทิพย์ไปดูเรื่องชาวบ้านเขารู้เรื่องชาวบ้านเขาแล้วเอาไปนินทา
    รู้หมดรู้เรื่องของเอ็งแต่เรื่องของตัวเองไม่รู้

    ดังนั้นหากจะรู้ทุกขณะหากมาทางนี้ทำได้ทุกขณะเหมือนกันหรือไม่อย่างไร

    ทางสายกลางๆง่ายๆจะหาทางที่มันลงทุนมากมายทำไมขอรับ
    และยิ่งทำมากได้มาก
    ได้อะไร.......ก็แล้วแต่ท่านจะเข้าใจ
    อย่างไรเสียอย่าได้อำนาจชั่วคงจะสงบสุขกันไม่น้อยขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    อานาปานสติ กับ อานาปานฌาณ

    "อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้า และ มหาสาวก ปุถุชนเจริญอานาปานสติได้ยากมาก ถ้าเจริญอานาปานสติผิด สังสารวัฏฏ์ที่ยาวอยู่แล้ว ก็ยิ่งยาวออกไปอีกนับชาติไม่ได้ ควรเริ่มต้นที่ความเข้าใจถูกก่อน คือ การศึกษาแนวทางเจริญสติปัฏฐานค่ะ"

    อานาปานสติ คือ การใช้ลมหายใจเพื่อให้ได้มาซึ่ง สติ จนกลายเป็น ตั้งสติมั่น จึงได้ สติปัฏฐาน
    อานาปานฌาณ คือ การใช้ลมหายใจเพื่อให้ได้มาซึ่ง อารมณ์ จนกลายเป็น อยู่ในอารมณ์ จึงตกใน ฌาณสมาบัติ

    ทั้งสองประการ เกิดจากการใช้ภาษาที่ต่างกันเพียงแค่ คำ ๆ เดียว เท่านั้น ผลลัพธ์จึงออกมาต่างกันจนสุดกู่
    คำ ๆ นั้นคือ "ดู ลมหายใจ" กับ "รู้ ลมหายใจ" ผมเคยพลาดมาเป็นเวลานานหลายปีเพราะคำ ๆ เดียวแบบนี้มาก่อน
    ผมโดนคำว่า "ตั้ง จิต มั่น" แทนที่จะเป็น "ตั้ง สติ มั่น" กว่าจะกลับวิธีการฝึกได้ ไม่ง่ายเลยครับ หมดไป 7 ปีเต็ม ๆ

    กระทู้นี้เป็นเรื่องของการฝึกที่ตั้งฐานอยู่กับ ลมหายใจ ผมจะอธิบายผลลัพธ์ระหว่าง "ดู" กับ "รู้" ว่าต่างกันอย่างไร ดังนี้

    ผลลัพธ์ของคำพูดที่ว่า "ดู ลมหายใจ"

    เมื่อผู้ฝึกใหม่ โดนคำนี้เข้า ก็จะเริ่มเข้าสมาธิ โดยการ "ดู" ไปที่ลมหายใจ โดยธรรมชาติของการ "ดู" จิตก็จะเริ่ม Scan ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้จุดที่พอใจ ตามลมหายใจที่นำร่อง เมื่อได้จุดที่พอใจแล้ว จิตก็จะ "จับ" ไปที่ "จุด" นั้น ๆ เพียง "จุด" เดียว จากนั้นก็จะพยายามอยู่ที่ "จุด" นั้นไปเรื่อย ๆ เมื่อจิต "หยุด" อยู่ที่ "จุด" นั้น ไม่นาน "อารมณ์ ที่เพลิดเพลิน เบา ๆ สบาย ๆ" ก็เริ่มปรากฏ เพราะเป็นผลมาจากการ "หยุด" ชั่วคราวของจิต

    แม้ว่าอารมณ์จะเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่จากการที่จิต "จับ" ไปที่ "จุด" จึงทำให้เกิดอาการ "เมินเฉย" ต่ออารมณ์ที่มีอยู่นั้น ไม่ได้เป็นการ "รู้" แต่ประการใดทั้งสิ้น ยังคง "จับ" ไปที่ "จุด" อย่างเดิม จนกลายเป็น "เพ่ง" ไปโดยปริยาย การ "เพ่งไปที่จุด" นี้ แม้ว่ารูปแบบจะต่างไปจาก กสิณ อยู่บ้าง แต่เนื้อหาจริง ๆ แล้ว ไม่ต่างกัน คือ "จิตเพ่งจุด โดยมีอารมณ์ เป็นพี่เลี้ยง" หากการเพ่งนี้ ยังพอรู้ตัวอยู่บ้าง ก็จะเป็น "รูปฌาณ" หากการเพ่ง จำกัดขอบเขตมากเข้าจะทำให้ ไม่รู้ตัว กลายเป็น "อรูปฌาณ" กระบวนการทำงานตามธรรมชาติอันเกิดจากคำพูดที่ว่า "ดู ลมหายใจ" นี้ ผลลัพธ์จึงกลายเป็น "อานาปานฌาณ" โดยปริยาย

    ผลลัพธ์ของคำพูดที่ว่า "รู้ ลมหายใจ"

    เมื่อผู้ฝึกใหม่ ได้รับคำ ๆ นี้ ก็จะเริ่มฝึก โดยการ "รู้" ไปที่ลมหายใจ โดยธรรมชาติของการ "รู้" จิตก็จะเริ่ม Scan ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ลมหายใจทั้งชุด เรียกได้ว่า "ได้ลมหายใจทั้งยวง" จะไม่มีการ "ตาม" หรือ "จับ" เป็น "จุด ๆ" แต่เป็นการ "รู้" "ลมหายใจทั้งชุด" เมื่อเกิดอาการ "รู้ลมหายใจทั้งชุด" ธรรมชาติของการ "รู้" ก็จะเกิดการ "วาง" ลมหายใจทั้งชุดนั้น แล้ว "รู้" ก็จะเริ่มทรงตัวอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง ในขณะนั้น "จิต" ก็จะ "หยุด" การทำงานลงชั่วคราวด้วยเหมือนกัน ไม่นาน "อารมณ์ ที่เพลิดเพลิน เบา ๆ สบาย ๆ" ก็เริ่มปรากฏ เพราะเป็นผลมาจากการ "หยุด" ชั่วคราวของจิต

    โดยธรรมชาติของ "รู้" แม้ว่าจะยังไม่ชำนาญก็ตาม เมื่ออารมณ์จากความสงบเกิดขึ้น ก็สามารถ "รู้" ได้เอง เพราะเป็นธรรมชาติแท้จริงของ "รู้" อาการ "เมินเฉย" จะไม่ปรากฏ แต่จะสามารถ "อยู่" กับอารมณ์ นั้นได้ โดยการ "วางลมหายใจ" แล้วมา "อยู่กับอารมณ์แทน" หากการ "อยู่กับอารมณ์" นี้ยังวางกายไม่หมด ก็จะเป็น "รูปฌาณ" หากการ "อยู่กับอารมณ์" นี้ลึกละเอียดลงไปจน วางกายได้จนหมดก็จะเป็น "อรูปฌาณ" หากสามารถ "อยู่" ต่อไปได้เรื่อย ๆ กระบวนการทำงานตามธรรมชาติอันเกิดจากคำพูดที่ว่า "รู้ ลมหายใจ" นี้ ผลลัพธ์จึงกลายเป็น "อานาปานสติ" ที่ส่งผลได้ถึง "ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" โดยปริยาย

    คำว่า "สติ-ปัญญา" ของศาสนาพุทธ หมายถึง "สติ" ที่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จนกระทั่งการ "เห็นขันธ์" เกิดขึ้น
    คำว่า "สติ-ปัญญา" ของนักวิชาการ หมายถึง "ปรุงแต่ง" จน "สติไม่เหลือ" แล้วการ "เห็นภาพแบบเสียงในฟีล์ม" เกิดขึ้น

    ลอง ๆ สังเกตุกันดู และขอ วาง เอาไว้เพียงนี้ก่อน นะครับ
     
  13. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ชิ-นะ-ปัน-ชะ-เร

    แปลเอาเองครับช่วยได้เท่านี้แหละ
     
  14. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273

    ผมไปเขียนตัวขอมที่ไหนหรือครับ ? ปกติเขียนแล้วจะถวายวัด ไม่มีคนรู้หรอกว่าใครเขียน ไม่ก็เขียนลงตระกรุดแล้วม้วนเสีย นั่ง ๆ อยู่นี่เดี๋ยวก็ม้วนอีก 3 ดอก กับพันเชือกคืนนี้ ...

    ตัวขอมนั้นเป็นภาษาที่ เขียนตัวสะกดได้บางตัวอาจต่างกัน แต่ การเขียนอักขระตามพยันชนะไทยบางตัว ซึ่งภาษาขอมอาจไม่มี เขาจะใช้ตัวอื่นแทน หรือตัวไทยใส่แทนก็เคยเห็น ได้เช่นเดียวกัน ... แต่ถ้า ยันต์หรือคาถานะ มันมีหลักอยู่ว่า ภาษาต่าง ๆ เราเขียน/สวดเต็มที่ตามภูมิของเรา ส่วนใดผิดหลัก เขาอนุโลมให้ ด้วยเจตนาเรากำหนดให้เป็นเช่นไร ก็เป็นเช่นนั้น อยู่ที่จิตเราบริสุทธิ์พอ มีกำลังไหม ครูบาอาจารย์ท่านสงเคราะห์แน่ ๆ ... ถามมา ยังไม่เข้าใจคำถามเลย แต่ขอตอบแบบนี้นะ .. ผมไม่ใช่นักวิชาการภาษา พอตัว พอเอาตัวรอดได้ ... *-*

    ตัว " ช " นั้นหางยาวดีครับ มันเหมือนหางของธงชัย ที่สะบัดอยู่ ... ตามอารณ์คนเขียนไป ... เดี๋ยวจะเห็นอารมณ์ของอักขระนั้น ๆ เรียกเจโตปริยญาณ ... แต่ตามดูใจเรา ที่สุดอาจเรียกว่า อาสวัขยญาณ ... ดีกว่าประเสริฐที่สุด *-*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2012
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ก็ยังไม่ได้คำตอบอยู่ดีขอรับ
    กราบขอบพระคุณท่านยิ่งขอรับ

    ผมไม่เคยรู้ว่าณานว่าญานมันเป็นอย่างไรสมมุติกันอยู่ตรงไหน
    ทำไปแล้วเป็นบันหรือเป็นหันหรือไม่อย่างไรขอรับ
    แต่ตามหาสมมุติที่ท่านทั้งหลายนำมาเสนออยู่ว่าทำไมมั่วกันจนพระงง

    อย่างคำว่าพุทธนี้
    บาลีเขียนอย่างไร
    ภาษาไทยสยามเขียนอย่างไร
    หลวงพ่อปัญญาท่านเคยกล่าวไว้ว่า.......แปรเป็นไทยสยามได้เท่านี้
    แปลกดีนะขอรับ

    หากผมเป็นไทยอาข่าผมคงสมมุติไปอีกอย่างหรือไม่

    และเรื่องญานเรื่องฌานหรืออะไรทำนองนี้เป็นเรื่องของลมหายใจ
    แต่ธรรมมะไม่มีลมหายใจหรือไม่อย่างไร

    วิญญานไปอยู่ตรงไหนของธรรมมานุสติปัฏฐานหรือไม่อย่างไร

    เอาประเด็นเลยนะขอรับ

    ทำไมบางเล่มสกดพุทธ

    แต่ภาษาที่ว่าเป็นบาลีเหมือนที่ผมยกตัวอย่างบางเล่มเหมือนสกดด้วยดอเด็กขอรับ

    ท่านที่รู้เรื่องทางนี้คือรู้ธรรมไม่ใช่รู้จิตรู้ณานรู้ฌานท่านคงอธิบายได้เพราะมีหลักฐานอยู่

    ขอความกรุณาชี้แนะแนวทางด้วยขอรับ

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  16. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    ที่ว่าเป็นกรรมฐานของมหาบุรุษคือละเอียดและประณีตมากครับ จะทำโดยเป็นสมถะคือความสงบก็ได้หรือจะพลิกเป็นวิปัสสนาก็ได้ ที่อาจจะช้าก็น่าจะหมายถึงทำสมถะแต่คิดว่ากำลังทำวิปัสสนาแหล่ะครับ ถ้ารู้หลักการและรู้จักสภาวะ รู้จักอะไรคือฌาน อะไรคือสัมมาสมาธิ ก็ทำให้ได้ประโยชน์จากการทำมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...