ว่าด้วย ทิฏฐิ 62 (๑. พรหมชาลสูตร )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 21 มีนาคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พิจารณายังไงเหรอน้าหม้อ ที่ให้มาลงสู่ไตรลักษณ์
     
  2. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    รู้แล้วว่าต้องถามต่อ ไม่บอก ยังไงก็ไม่บอก
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    จะถามดูว่าน้าหม้อ ไปเข้าใจยังไง

    กับการพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์

    หากเอาคำว่าพิจารณา หมายถึงอะไร

    1. คือการคิดเอา นั่นคือมีเราเข้าไปคิด


    2. กับการที่จิตเค้าพิจารณาของเขาเอง


    จังหวะไหน ที่จะลงสู่ไตรลักษณ์
     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    จังหวะไหนก็ลงสู่ไตรลักษณ์ได้ทั้งนั้นแหละครับ
    ไม่ต่างกันหรอกครับ
    ขอให้เป็นการพิจารณาเถอะ
    เมื่อจิตจำนนต่อความเป็นจริง ลงสู่ไตรลักษณ์ได้หมด
     
  5. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ท่านมีทิฏฐิ ไม่ชอบการสั่งสม แต่ทุกวันนี้ทำเพื่ออะไร

    ลองถามตนเองดู ก็จะถามต่ออีกว่า...
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กลัวเหรอการถามการฝึกฝน
    กลัวทำไม เข้าใจแบบไหนก็ตอบแบบนั้น อธิบายแบบนั้น


    จะเข้าเรื่องต่อ จะเอาประเด็นนี้ก่อนก็ได้

    น้าหม้อ มองไม่ชอบการสั่งสมของผมออกยังไง

    1.คิดว่าผมสั่งสมอะไร
    2.ไม่สั่งสมอะไร


    ทำไมถึงสรุปว่า ผมมีทิฏฐิไม่ชอบการสั่งสม
     
  7. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ทิฐิ บางตัวนี่ก็น่ากลัว มาก บรึ๋ยๆ
     
  8. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
    จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
    จบภาณวารที่หนึ่ง.
     
  9. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    เ่อ่อ ครือว่า

    ทิฐิ นี้เกิดจากอะไร ขันธ์ไหนหนอจิตมันคงคิดเองไม่ได้ แล้วการสิ้นสุดของทิฐิ ใช้ปัญญาดับใช่ไหม
     
  10. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    วันนี้วันศุกร์ เอากระปุกไปใส่กระเป๋า
    พรุ่งนี้วันเสาร์ เอากระเป๋าไปใส่กระปุก
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทิฏฐิเจตสิก

    ๖. ทิฏฐิเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ทำให้จิตเห็นผิดจากความเป็นจริง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณา มีการถือมั่นด้วยหาปัญญามิได้ เป็นลักษณะ

    ปรามาส รสา มีการถือผิดจากสภาวะ เป็นกิจ

    มิจฺฉาภินิเวสปจฺจุปฏฺฐานา มีการยึดถือความเห็นผิด เป็นผล

    อริยานํ อทสฺสน กามตาทิ ปทฏฺฐานา ไม่ต้องการเห็นพระอริยะเป็นต้น เป็นเหตุใกล้

    คำว่า ทิฏฐิ ถ้าใช้ลอย ๆ ก็หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด เว้นไว้แต่ที่ใดบ่งว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ จึงมีความเห็นว่าเป็นความเห็นชอบ ความเห็นถูก

    โดยเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นความเห็นผิดเสมอไป และทิฏฐินี้แบ่งอย่างหยาบ ๆ เป็น ๒ คือ ทิฏฐิสามัญ และทิฏฐิพิเศษ

    ทิฏฐิสามัญ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือเห็นเป็นตัวตนบุคคลเราเขา อันเป็นความเห็นผิดแต่ที่จัดเป็นสามัญ เพราะทิฏฐิชนิดนี้มีประจำทั่วทุกตัวสัตว์เป็นปกติวิสัย (เว้นพระอริยบุคคล)

    ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คืออเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุ นัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล และสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยงแท้แน่นอน อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญ ตลอดทั้งทิฏฐิ ๖๒ ที่จัดเป็นทิฏฐิพิเศษ ก็เพราะว่าทิฏฐิชนิดนี้บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี


     
  12. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    นิพพานคือนิพพาน
    ทิฏฐิคือทิฏฐิ

    นิพพานไม่มีทิฏฐิ

    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป จัดเป็น ปัญญา
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846



    ขอบคุรเจ่เค ที่หามาให้ทัศนา _/ _
     
  14. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    อนุโมทนา ค่ะพี่ขวัญ

    บุคคลใด เห็นว่าโลกนี้ไม่มีอะไร ทั้งที่ไม่มีปัญญาไปตัดสิน
    ทิฐิตัวนี้ เขาจะดับได้อย่างไร หรือต้องเจอพระศาสดา
    มีพระสูตรเทียบไว้ไหม
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทิฏฐิเจตสิกนี่เรามีทุกคนแหละค่ะ ตราบใดที่ยังเป็นปุถชน
    ละได้ตอนเกิดมรรคญาณผลญาณ บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ละสักกายะทิฏฐิได้แล้ว
    ก็ดับทิฏฐิเจตสิกนี่เป็นสมุทเฉท ถึงได้เห็นโลกตามจริงของสัจธรรมไง
    ละการเห็นผิดถาวร และเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติก็จะสำเร็จพระอรหันต์ มีแต่ขึ้นที่สูงไม่มีเสื่อม
    เพราะไม่มีทฺิฏฐิแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  16. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ไม่หลงใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ผมจำพี่ทริกมาครับ):cool:
     
  17. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ดูก่อนโมฆราช พูดง่ายๆ ก็คือว่าเธอจะเป็นที่หนึ่งตรัสรู้ในระยะนี้ ความหมายว่าอย่างนั้น ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ สทา สโต สทาทุกเมื่อ สโตคือสติ เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาโลกที่มันแน่นหนาไปด้วยฟืนด้วยไฟด้วยกิเลสตัณหานี้ เอาไฟคือธรรมะตปธรรมเผาให้มันแหลกไปหมด ให้กลายเป็นสุญฺญโต โลกํเป็นโลกว่างไปหมด โลกนี้ว่างโลกนี้สูญไปหมด ถอนอัตตานุทิฏฐิความเห็นว่าเราว่าเขาซึ่งเป็นเหมือนกับก้างขวางคอออกเสีย จะพึงหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ พญามัจจุราชจะตามไม่ทันผู้พิจารณาโลกเป็นของสูญเปล่าอยู่อย่างนี้

    อ้างอิง : หลวงตามหาบัว
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปุถุชนอย่างเราๆนี่ละทิฏฐิไม่ได้ แต่รู้ทันทิฏฐิได้ ถ้าเข้าใจเรื่องทิฏฐิของตัวเราเอง
    เหมือนรู้โทสะ เพราะรู้ทันโทสะ โทสะก็ละไปได้ชั่วคราว
    รู้ทันทิฏฐิตนเอง ก็ละทิฏฐิลงได้ชั่วคราว ไม่เอาทิฏฐิตนไปฟาดฟัน หรือยัดเยียดให้คนอื่นต้องมีทิฏฐิตรงกับเรา
    ก็เห็นเป็นเรื่องนานาทัศนะ ไม่ยึดติในทิฏฐิของเราและของคนอื่น
    เพราะเข้าใจเรื่องทิฏฐิเจตสิกนั่นเอง
     
  19. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    หยุด นันทิราคะ ด้วยสติ ทุกอย่างก็จบ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นันทิราคะ อวิชชา
    เมื่อได้ตรัสเป็นนิทานขึ้นมาดั่งนี้ ก็ได้ทรงสาธกด้วยธรรมะ ทรงชี้ว่า
    ที่ลุ่มน้ำอันมีเปือกตมเป็นอันมากนั้นก็ได้แก่กามคุณารมณ์ คืออารมณ์ที่ประกอบไปด้วยกามคุณ อันได้แก่รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย เทียบกับที่ลุ่มน้ำอันประกอบด้วยเปือกตมเป็นอันมาก
    ฝูงเนื้อใหญ่ที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มน้ำนั้น ก็ได้แก่หมู่สัตว์คือหมู่ชนเป็นอันมากในโลกนี้
    และบุรุษผู้มุ่งร้ายคือพรานที่ต้องการทำลายเนื้อ ก็ได้แก่มารผู้มุ่งร้าย
    เนื้อต่อตัวผู้ก็ได้แก่ นันทิราคะ ความติดใจกำหนัดยินดี ด้วยอำนาจของความเพลิดเพลินในกามคุณารมณ์นั้น
    เนื้อต่อตัวเมียก็ได้แก่ อวิชชา คือความไม่รู้ในสัจจธรรม ธรรมะที่เป็นตัวความจริง
    หนทางที่ผิดซึ่งนายพรานต้องการให้เนื้อออกมาเพื่อทำลายนั้น ก็ได้แก่มิจฉามรรค มรรคคือทางที่ผิด มีองค์ ๘ อันได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด มิจฉาสังกัปปะ ความดำริผิด มิจฉาวาจา เจรจาผิด มิจฉากัมมันตะ การงานผิด ๔ มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตผิด มิจฉาวายามะ เพียรพยายามผิด มิจฉาสติ ระลึกผิด มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด
    ส่วนบุรุษผู้มุ่งดีซึ่งเปิดทางอันเกษมสำหรับช่วยเนื้อหมู่ใหญ่ทั้งหลาย ก็คือตถาคต ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และหนทางอันเกษมที่บุรุษผู้มุ่งดีเปิดให้หมู่เนื้อออกมานี้ ก็ได้แก่สัมมามรรคคือทางอันชอบมีองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ดั่งนี้
    เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงสั่งสอนแนะนำให้ผู้มุ่งปฏิบัติธรรมะทั้งหลาย ได้ตั้งใจปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ดำเนินในสัมมามรรคคือทางถูกชอบที่ได้ทรงแสดงไว้ เพื่อประสบความสุขสวัสดี ดั่งนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...