มาดูสมเด็จกัน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย wasabi san, 25 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. sin_pattaya

    sin_pattaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +233
    องค์ที่2 เนี่ยแหละครับ คือมวลสารที่ถูกต้องแน่นอนของสมเด็จ :cool:
    และถือว่ามวลสารจัดมากครับ มีหลายมวลสารหลายชนิดอยู่ทั่วองค์พระ
    และมองเห็นผงอิทธิเจค่อนข้างเยอะครับ
    อย่าไปมองที่ความเก่ากันมากนะครับ มันมีหลายปัจจัยที่ทำให้พระดูเก่า
    คนที่รักษาและเก็บพระดีมาก ๆ มีอยู่เยอะครับ การที่จะมองพระแล้วดูไม่เก่าแล้ว
    มองว่า 50/50 เลย ไม่ถูกนะครับ จะพลาดโอกาสดี ๆ ไปเสียเปล่า
     
  2. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    ภูมิใจครับ ที่มีคนรู้เรื่องพระสมเด็จมากๆ

    งั้นผมขอแสดงความคิดเห็นบ้าง

    พระสมเด็จเกศไชโย มีหลายเนื้อ แต่มีมวลสารที่ไม่ต่างกันนัก

    องค์ที่ 1 แก่ปูน มีมวลสารลอยออกมาน้อย เวลาใช้มากๆ เนื้อปูนจะทำเคมีกับเหงือ(กรดยูริก) ประกอบกับมีตัวปูนมากเนื้อจะออกเป็นมัน(เนื้อนั่ย)

    องค์ที่ 2 ผสมมวลสารที่พอดี มีให้เห็นทั่วองค์ ตัวปูนน้อย มีน้ำมันตั้งอิ้วมาก เมื่อตั้งอิ้วระเหือด เนื้อจะใส เมื่อหดตัว ผิวพระจะเหมือนแตกลายงา

    องค์ที่ 3 ผสมมวลสารที่พอดี มีให้เห็นทั่วองค์เช่นกัน มีคราบแป้งโรยพิมพ์สมบูรณ์ พระมิได้ใช้ การหดตัวต่ำ เนื่องจากสภาพการเก็บที่ดีมาตั้งแต่แรก

    ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เป็นเพียงการตั้งสมมุติฐาน ทุกคนสามารถเสนอข้อมูลเพิ่มเติมได้ ยินดีรับฟังความคิดเห็นครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      277.8 KB
      เปิดดู:
      690
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.3 KB
      เปิดดู:
      544
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      361.2 KB
      เปิดดู:
      1,189
  3. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    เอามาอีกแล้ว พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. tomie_pattaya

    tomie_pattaya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +57
    ความเห็นส่วนตัวของผมไม่รู้ว่าถูกหรือผิดนะครับ แต่ขอออกความเห็นนิดหนึงแล้วกันนะครับ ผมว่าพระสมเด็จเกศไชโยนั้นไม่น่าจะมีน้ำมันตั้งอิ้วนะครับ เพราะน้ำมันตั้งอิ้วนั้น สมเด็จโตพึ่งจะนำมาผสม หลังจากที่ได้คำแนะนำจากหลวงวิจารณ์ไม่ใช่หรือครับ ซึ่งพระเกศไชโยนั้น น่าจะหนักไปทางน้ำผึ้ง กับ น้ำอ้อยไม่ใช่หรือครับ
    ผิดถูกยังไง รบกวน อธิบายด้วยครับ
     
  5. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    สวัสดีตอนเช้าครับ คุณtomie_pattaya ตามที่ตั้งคำถามไว้

    ผมว่าพระสมเด็จเกศไชโยนั้นไม่น่าจะมีน้ำมันตั้งอิ้วนะครับ เพราะน้ำมันตั้งอิ้วนั้น สมเด็จโตพึ่งจะนำมาผสม หลังจากที่ได้คำแนะนำจากหลวงวิจารณ์ไม่ใช่หรือครับ ซึ่งพระเกศไชโยนั้น น่าจะหนักไปทางน้ำผึ้ง กับ น้ำอ้อยไม่ใช่หรือครับ

    พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
    วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี
    การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
    คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
    พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก
    เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง
    พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว )

    พระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง

    พระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย

    พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น และสมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม



    อ้างอิง :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  6. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    การตอบคำถามใดๆ ถ้าผมเป็นผู้ตอบด้วยตัวเอง บางครั้งมันจะดูไม่มีน้ำหนัก ถึงจะตอบถูกต้อง ก็ไม่น่าเชื่อถือ ผมจึงใช้องค์ความรู้ของผู้รู้ในเวปอื่นเข้ามาร่วมด้วย เพื่อสนับสนุน และเพื่อยืนยันในความรู้ ผู้อ่านจะได้ไม่ต่อว่าผมว่าการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ ผมจะตอบคำถามอย่างมาตราฐานสากล ถ้าความรู้ไม่สากล หรือไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ผมจะไม่โพสต์ง่ายๆ เพราะจะทำให้ผู้อื่นที่ต้องการศึกษาหลงทาง มันจะกลายเป็นบาปโดยไม่เจตนา ส่งผลเสียต่อผู้เรียนรู้จดจำ

    การเขียนโพสต์บ้างครั้ง ผมอาจจะเขียนด้วยความเร็ว อาจเกิดการผิดพลาด ต้องขออภัยด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  7. tomie_pattaya

    tomie_pattaya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +57
    อันนั้นผมเข้าใจดีครับ แต่ตามที่ผมได้ศึกษา สมเด็จโตได้ให้หลานชาย คือนายเทด เจ้าวังหลังกรมสิบหมู่แกะพิมพ์พระเกศไชโยในช่วงยุคกลาง (ช่วงพ.ศ.2404)ส่วนน้ำมันตั้งอิ้ว หลวงวิจารณ์ ได้ให้คำแนะนำกับสมเด็จโตในช่วงการสร้างสมเด็จยุคปลาย ช่วงพ.ศ. 2408 ดังนั้นผมจึงคิดว่า พระเกศไชโยมิได้ใช้น้ำมันตั้งอิ้ว แต่ใช้ น้ำผึ้งกับน้ำอ้อยเป็นต้วช่วยประสาน ส่วนข้อมูลที่ผมได้มานั้นมิอาจเปิดเผยได้ครับ
    ผิดถูกประการใดถือซะว่าเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลก็แล้วกันครับ
     
  8. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    คุยกันเพื่อความรู้
    สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 มีเรื่องเล่าว่าแต่ก่อนภรรยาของหลวงวิจารณ์เป็นคนที่เคารพนับถือสมเด็จโตมาก จะทำสำรับกับข้าวคาวหวานไปถวายสมเด็จเป็นประจำ บางครั้งดูว่าหลวงวิจารณ์จะมองว่าภรรยางมงายกับสมเด็จโตมากไป มีการพูดกระแนะกระแหนอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาหลวงวิจารณ์ได้เบิกทองท้องพระคลังมาเพื่อจะทำเครื่องทรงประดับถวาย รัชกาลที่ 4 จู่ๆทองที่เบิกมาหายไปจากลิ้นชักที่เก็บ หลวงวิจารณ์ตกใจได้ไต่ถามคนในบ้านก็ไม่มีใครรู้เห็น จึงเป็นทุกข์กังวลกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ภรรยาจึงแนะนำให้ท่านไปหาสมเด็จโต เพื่อจับยามสามตาดู หลวงวิจารณ์ไม่มีทางใดที่ดีกว่านี้จึงให้ภรรยาทำกับข้าวคาวหวานไปถวาย สมเด็จ ก่อนที่จะพูดเรื่องของตน สมเด็จท่านรู้ด้วยญาณว่าหลวงวิจารณ์มาหาท่านด้วยเรื่องอะไร ท่านเลยแซวหลวงวิจรณ์ว่าเดือดร้อนแล้วซิถึงได้มาหา หลวงวิจารณ์ได้บอกท่านเรื่องทองคำท้องพระคลังที่เบิกมาหายไปอย่างไร้ร่อง รอย สมเด็จท่านตอบว่า คนใจไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้ตามืดมัวสมองสับสนหลงๆลืมๆ ไปตั้งสติและทำใจให้ดีก็จะพบทองเอง ทองไม่ได้ไปไหน แต่ความเขลาทำให้มองไม่เห็น หลวงวิจารณ์กลับไปบ้านไปสวดมนต์นั่งสมาธิ แล้วมาค้นหาทองก็พบทองอยู่ในที่เดิม เรื่องแบบนี้โบราณเรียกว่าผีลักซ่อน หลวงวิจารณ์จึงเลื่อมใสศรัทธาสมเด็จโตมาก ไปมาหาสู่เอาอาหารคาวหวานไปถวายท่านพร้อมภรรยาอยู่เป็นนิจ ครั้นท่านได้ไปวัดได้ไปเห็นการทำพระสมเด็จแต่ดูพิมพ์ทรงไม่สวยไม่ถูกตามพุทธ ลักษณะ ด้วยหลวงวิจารณ์เป็นนักสะสมพระบูชาจึงรู้พุทธลักษณะที่งดงามของพระเชียงแสน สุโขทัย ลังกา อู่ทอง ลพบุรี จึงเอาแบบพุทธศิลป์ พุทธลักษณะที่งดงามของพระบูชาดังกล่าวมาแกะเป็นแม่พิมพ์พระสมเด็จถวายแด่ สมเด็จโต จนกลายเป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมมาถึงปัจจุบัน และยังมีน้ำมันตังอิ๊วจากจีนมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระสมเด็จทำให้พระสมเด็จ เนือ้หนึก นุ่ม แกร่ง ไม่ร้าวไม่แปราะไม่แตกหักอีกต่อไป

    เมื่ออ่านแล้วต้องหาความรู้เรื่องน้ำมันตั้งอิ้วต่อ

    ปูนสดแบบจีน หรือเรียกว่างานปูนน้ำมัน มักพบในงานประดับของศิลปะล้านนารุ่นหลัง ซึ่ง ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่ายังไม่แน่ใจว่างานปูนน้ำมันเริ่มนิยมกันในศิลปะล้านนาก่อนกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๓ หรือไม่

    เนื้อปูนสดแบบจีนนั้นประกอบด้วยปูนขาว น้ำมันตั้งอิ้วใช้เป็นตัวยึดให้เนื้อปูนติดกัน และชันผงจากยางไม้ ทำให้ปูนนั้นผสมรัดตัวและแห้งเร็วขึ้น

    สมัยก่อนเราใช้ปูนน้ำมันเพื่อการก่อสร้าง

    ปูนชนิดนี้ไม่เหมาะกับสภาพทนแดดทนฝน จึงควรใช้ภายในอาคารเนื่องจากปูนชนิดนี้ เป็นสูตรผสมน้ำมันย่อมยึดเกาะกับวัตถุที่แห้งๆ ได้ดีกว่าที่มีความชื้น ถ้าใช้ภายนอกอาคารและถูกแดดถูกฝนมากๆ เกิดการยืดหดตัวมากเกินไปก็จะเกิดรอยร้าวบริเวณรอยต่อนั้น นานวันน้ำฝนกัดเซาะเข้าไปถึงข้างในก็จะหลุดร่อนในที่สุด

    บทความที่คัดมา ผู้เขียนท่านเขียนถึงว่า
    และยังมีน้ำมันตังอิ๊วจากจีนมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระสมเด็จทำให้พระสมเด็จ เนือ้หนึก นุ่ม แกร่ง ไม่ร้าวไม่แปราะไม่แตกหักอีกต่อไป

    เมื่ออ่านแล้วดูผิวเผินเหมือนว่า หลวงวิจารณ์ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำน้ำมันตั้งอิ้วมาใช้เท่านั้นเอง
    หรืออาจเป็นความเข้าใจส่วนตัวของผู้เขียนก็เป็นได้ ขอรับ


    สรุป : ความเป็นจริงน้ำมันตั้งอิ้วใช้มาก่อนที่หลวงวิจารณ์จะนำมาถวาย


    น้ำมันตั้งอิ้วมีมานานแล้วก่อนยุคล้านนา เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตฯ ท่านได้ใช้มาก่อนแล้ว

    ส่วนหลวงวิจารณ์ท่านมาสร้างพระพิมพ์อย่างเดียว



    อนุโมทนาครับ คุณ
    tomie_pattaya

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  9. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    มาดูพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม เพิ่มอีกหนึ่งพิมพ์

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. A-Ho-Si

    A-Ho-Si เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +739
    ไม่เห็นด้วยที่เก็บแต่ของสวยคนเดียว 5555
    เห็นสมเด็จฐานแซม 3 องค์แล้ว ถ้ามีอีก !!!!!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2010
  11. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    ขอบคุณครับ คุณA-Ho-Si

    จริงๆก็ยังมีพระสมเด็จ พิมพ์ฐานแซมอีก และพิมพ์อื่นอีกหลายองค์ แต่พิจารณาแล้ว ไม่ควรนำออกมาโพสต์ เนื่องจากความเหมาะสมหลายๆด้าน การศึกษาต้องค่อยๆเริ่ม จะให้ใครเป็นเลยทีเดียวคงจะยาก

    ย้อนดูตัวเอง(พิจารณาตนเอง) การศึกษากับผู้รู้น่าจะคุยกันมันส์กว่า ไม่ต้องระวังตัว มีความจริงใจสูงกว่า เพราะพวกเรารู้จักกัน เห็นหน้ากันอยู่แล้ว ผมจึงเห็นสมควรอ่านอย่างเดียวจะดีที่สุด

    ผมสังเกตเห็น

    ได้ให้อนุโมทนา ได้รับอนุโมทนา

    พวกเรายังไม่เข้าถึงคำว่า"อนุโมทนา" ผมชอบสังเกตการอนุโมทนาของหลายๆท่าน การให้-การรับ ต่างกันมาก นั้นหมายถึงการมีธรรมะ มีเมตตาธรรม อยากจะให้การแสดงออกด้านธรรมะหรือคุณธรรมกันมากกว่านี้ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้อะไรในชีวิตเลย


    ส่วนกระทู้ดีก็มี เป็นกระทู้ที่แนะนำจุดตำหนิ อ่านแล้วมีประโยชน์ เพื่อความรู้จริงๆ อย่างนี้ต้องอนุโมทนา

    ขอขอบคุณทุกคนที่ตามอ่าน และที่ PM มาถาม ทุกท่าน

    ขอให้อ่านอย่างมีสติ เชื่ออย่างมีความรู้มารองรับ
     
  12. pitijit

    pitijit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +428
    ได้ความรู้ดีมากครับ ถ้าท่านมีเวลาว่างพอก็ช่วยวิเคราะห์ พระสมเด็จ ของผมให้หน่อยครับเผื่อจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ ตกทอดมาหลายปี ยังไม่รู้อะไรเลย
     
  13. ทรงกลด999

    ทรงกลด999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,284
    ค่าพลัง:
    +1,510
    วิธีดูพระแท้ครับ

    1.หาหนังสือที่น่าเชื่อถือได้ครับ เช่นของอาจารย์อรรคเดช ปทานุกรมพระสมเด็จครับ เยี่ยมมากครับเพราะได้นักวิทยาศาสตร์อเมริกามาช่วยดูแบบวิทยาศาสตร์จะเห็นความจริงสิ่งที่เซียนไม่รู้และไม่อยากรับรู้ครับ
    2.ลองนำไปถ่ายออร่าครับ พิสูจน์จะจะครับ
     
  14. พันตา

    พันตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +60
    คุณ wasabi san ทำไมมีพระสมเด็จเยอะขนาดนี้ครับเนี่ย ผมว่าเซียนใหญ่ๆที่เขาขายกันยังไม่เยอะขนาดนี้เลยนะครับ สุดยอดจริงๆ
     
  15. mansung

    mansung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +474
    รบกวนคุรวาซาบิ ดูพระสมเด็จของผมด้วยครับ

    รบกวนคุณวาซาบิ ดูพระสมเด็จให้ผมด้วยครับ องค์แรกมีประสบการณ์ครับ ส่วนองค์ที่สองเพิ่งมีผู้ใหญ่ที่นับถือให้มาวันปีใหม่ครับ อ่านติดตามกระทู้นี้มายาวมากข้อมูลแน่นดีครับ
    ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    คุณpitichit
    ได้ความรู้ดีมากครับ
    ถ้าท่านมีเวลาว่างพอก็ช่วยวิเคราะห์ พระสมเด็จ ของผมให้หน่อยครับเผื่อจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับ ตกทอดมาหลายปี ยังไม่รู้อะไรเลย

    ครั้งที่แล้วเราได้สนทนากันไปบ้างแล้ว ผลออกมาไปทดลองเป็นอย่างไรบ้าง

    คุณธนกฤต999
    1.หาหนังสือที่น่าเชื่อถือได้ครับ เช่นของอาจารย์อรรคเดช ปทานุกรมพระสมเด็จครับ เยี่ยมมากครับเพราะได้นักวิทยาศาสตร์อเมริกามาช่วยดูแบบวิทยาศาสตร์จะเห็น ความจริงสิ่งที่เซียนไม่รู้และไม่อยากรับรู้ครับ
    2.ลองนำไปถ่ายออร่าครับ พิสูจน์จะจะครับ


    ผมเห็นด้วยกับการหาตำรามาอ่าน เพื่อความรู้ แล้วจึงหาพระเพื่อประสบการณ์

    ส่วนเรื่องเครื่อง ออร่า เคยเจอกับผมตัวต่อตัวมาแล้ว เครื่องแปรปรวนทันที เพราะจริงๆแล้ว ตัวเราก็สามารถเปลี่ยนกระแสออร่าได้ ถ้ามีสมาธิแรงพอ


    คุณพันตา
    คุณ wasabi san ทำไมมีพระสมเด็จเยอะขนาดนี้ครับเนี่ย ผมว่าเซียนใหญ่ๆที่เขาขายกันยังไม่เยอะขนาดนี้เลยนะครับ สุดยอดจริงๆ วันนี้ 10:32 AM


    ยังมีน้อยกว่าผู้หลักผู้ใหญ่อีกหลายคน สายสกุลเก่าๆก็ยังมีมาก มากกว่าผมเสียอีก ยังไม่รวมนักสะสมรุ่นคุณปู่ที่เก็บตั้งแต่หลักร้อย ประมาณปี 2500 คนรุ่นนี้สิ ของจริง เพราะช่วงนั้นเปิดกรุหลายกรุ


    คุณmansung
    รบกวนคุณวาซาบิ ดูพระสมเด็จให้ผมด้วยครับ องค์แรกมีประสบการณ์ครับ ส่วนองค์ที่สองเพิ่งมีผู้ใหญ่ที่นับถือให้มาวันปีใหม่ครับ อ่านติดตามกระทู้นี้มายาวมากข้อมูลแน่นดีครับ
    ขอบคุณมากครับ

    องค์แรก เนื้อที่ดูไม่เก่าเท่าไหร่ แต่มวลสารดี ทรงพิมพ์ดี พระแท้แต่รุ่นหลัง แต่การดูด้วยภาพ ต่างจากการสัมผัสจริง ถ้าจะให้ดีต้องทิ้งพระให้แห้งว่านี้แล้วถ่ายภาพใหม่

    องค์ที่2 พระลงชาดมา มวลสารดี ทรงพิมพ์ดี เป็นพระบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้ายใหญ่
    ส่วนตัวผมว่าดี

    ข้อควรระวัง

    ปัจจุบันทำพระปลอมกันมาก ต้องใช้จมูกดมให้ดี ถ้ามีกลิ่นหืนน้ำมัน ให้วางกันที่ นั่นคือพระปลอมที่ใส่น้ำมันพืช หรือน้ำมันกระเพาะ ถึงจะดูเนื้อเก่า แต่มีกลิ่นก็ตีเก๊ทันที เว้นแต่คุณจะสมารถแยกแยะได้แล้ว อันนี้บางทีคนเก็บพระอาจเก็บไม่ดี กลิ่นจึงเข้ามาติดในองค์พระ

    ขอให้โชดีทุกท่าน อนุโมทนาในความใฝ่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2010
  17. mansung

    mansung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +474
    ขอบคุณคุณวาซาบิ มากครับ
     
  18. พันตา

    พันตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +60
    ขอบคุณคุณวาซาบินะครับ เดี๋ยววันไหนจะเอาสมเด็จ(น่าจะเสร็จหมด)มาให้ช่วยดูบ้างนะครับ
     
  19. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    ผมแนะนำให้อ่าน

    <table width="95%" align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td style="padding: 5px;" align="left" bgcolor="#014990"> พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่(4405)

    </td></tr> <tr> <td>
    </td></tr> <tr> <td class="txtNormal">
    
    ลำดับต่อไปนี้เป็นการคัดลอกจากตำราของอาจารย์ พน นิลผึ้ง จากหนังสือทีเด็ดพระสมเด็จมาให้อ่านกัน เรื่องความรู้ตามตำรานี่หาอ่านได้ไม่ยาก สมเด็จแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆดังนี้
    1. สมเด็จพิมพ์ชาวบ้าน หมายถึงพระสมเด็จที่ชาวบ้านที่เป็นช่าง แกะแม่พิมพ์พระถวายให้ท่าน ที่รู้จักกันทั่วไปเช่น นายเทด แห่งบ้านช่างหล่อซึ่งเป็นหลานชายของสมเด็จโตเอง นายจอน นายเจิม นายเจียน บ้านช่างหล่อ ช่างจีนมี เจ็กตง เจ็กไต๋ เจ็กกง ท่านเหล่านี้ได้แกะพิมพ์ไว้ให้ท่านหลายแบบ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางพญา พระรอด พระผงสุพรรณ พระขุนแผน พระเม็ดขนุน พระกลีบบัว พระหลวงพ่อโต พระข้างเม็ด พระพิมพ์เล็บมือ พิมพ์ขอบกระด้ง หน้าโหนกอกครุฑไกเซอร์ กลักไม้ขีด ว่าวจุฬา(คล้ายพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร) นักเลงโต เศียรโล้น ซุ้มระฆัง ปิดตา หูไห และพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักอีกหลายพิมพ์ ซึ่งเป็นฝีมือแกะของช่างชาวบ้านทั้งสิ้น บางพิมพ์ดูตลกเลยเรียกว่าพิมพ์ตลกไปเลยก็มี พิมพ์ไม่สวยไม่ได้สัดส่วนไม่ปราณีตงดงาม ส่วนผสมไม่ค่อยดีจึงร้าวง่าย แตกหักเปราะง่าย จึงไม่นิยมกันจะมีเหลืออยู่บ้างก็น้อยมาก
    2.สมเด็จวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงให้เจ้าฟ้าอิศราพงศ์และช่างของพระองค์แกะพิมพ์ถวายสมเด็จโตทำแจกพระประยูรญาติและเจ้านายผู้ใหญ่ ข้าราชบริภารในวังหน้า สมเด็จวังหน้ามีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่น พิมพ์เทวดาทรงเครื่อง พิมพ์ซุ้มระฆัง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์เศียรโล้น พิมพ์อุ้มบาตร พิมพ์ปิดตา พิมพ์ข้างเม็ด พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต บางพิมพ์ฝังอัญมณี มีจารึกไว้ข้างหลังและพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก พิมพ์นี้ค่อนข้างมาก มีการลงลักปิดทอง ปัจจุบันลักทองล่อนออกแล้ว พระพิมพ์ชุดนี้เป็นยุคกลางสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯพิมพ์จะสวยกว่าพิมพ์ชาวบ้าน ทำที่วังหน้าโดยเอาผงวิเศษมาทำแล้วให้ท่านปลุกเศกอีกครั้งก่อนแจก
    3.สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะพิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทารงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามาบดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิดพิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น
    4.สมเด็จช่างหลวง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 มีเรื่องเล่าว่าแต่ก่อนภรรยาของหลวงวิจารณ์เป็นคนที่เคารพนับถือสมเด็จโตมาก จะทำสำรับกับข้าวคาวหวานไปถวายสมเด็จเป็นประจำ บางครั้งดูว่าหลวงวิจารณ์จะมองว่าภรรยางมงายกับสมเด็จโตมากไป มีการพูดกระแนะกระแหนอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาหลวงวิจารณ์ได้เบิกทองท้องพระคลังมาเพื่อจะทำเครื่องทรงประดับถวายรัชกาลที่ 4 จู่ๆทองที่เบิกมาหายไปจากลิ้นชักที่เก็บ หลวงวิจารณ์ตกใจได้ไต่ถามคนในบ้านก็ไม่มีใครรู้เห็น จึงเป็นทุกข์กังวลกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ภรรยาจึงแนะนำให้ท่านไปหาสมเด็จโต เพื่อจับยามสามตาดู หลวงวิจารณ์ไม่มีทางใดที่ดีกว่านี้จึงให้ภรรยาทำกับข้าวคาวหวานไปถวายสมเด็จ ก่อนที่จะพูดเรื่องของตน สมเด็จท่านรู้ด้วยญาณว่าหลวงวิจารณ์มาหาท่านด้วยเรื่องอะไร ท่านเลยแซวหลวงวิจรณ์ว่าเดือดร้อนแล้วซิถึงได้มาหา หลวงวิจารณ์ได้บอกท่านเรื่องทองคำท้องพระคลังที่เบิกมาหายไปอย่างไร้ร่องรอย สมเด็จท่านตอบว่า คนใจไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้ตามืดมัวสมองสับสนหลงๆลืมๆ ไปตั้งสติและทำใจให้ดีก็จะพบทองเอง ทองไม่ได้ไปไหน แต่ความเขลาทำให้มองไม่เห็น หลวงวิจารณ์กลับไปบ้านไปสวดมนต์นั่งสมาธิ แล้วมาค้นหาทองก็พบทองอยู่ในที่เดิม เรื่องแบบนี้โบราณเรียกว่าผีลักซ่อน หลวงวิจารณ์จึงเลื่อมใสศรัทธาสมเด็จโตมาก ไปมาหาสู่เอาอาหารคาวหวานไปถวายท่านพร้อมภรรยาอยู่เป็นนิจ ครั้นท่านได้ไปวัดได้ไปเห็นการทำพระสมเด็จแต่ดูพิมพ์ทรงไม่สวยไม่ถูกตามพุทธลักษณะ ด้วยหลวงวิจารณ์เป็นนักสะสมพระบูชาจึงรู้พุทธลักษณะที่งดงามของพระเชียงแสน สุโขทัย ลังกา อู่ทอง ลพบุรี จึงเอาแบบพุทธศิลป์ พุทธลักษณะที่งดงามของพระบูชาดังกล่าวมาแกะเป็นแม่พิมพ์พระสมเด็จถวายแด่สมเด็จโต จนกลายเป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมมาถึงปัจจุบัน และยังมีน้ำมันตังอิ๊วจากจีนมาเป็นส่วนผสมเนื้อพระสมเด็จทำให้พระสมเด็จ เนือ้หนึก นุ่ม แกร่ง ไม่ร้าวไม่แปราะไม่แตกหักอีกต่อไป
    5. สมเด็จสองคลอง คือพระสมเด็จวัดระฆังที่สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี นำไปผสมกับพระสมเด็จวัดใหม่อมตะรสบางขุนพรหม เพื่อให้ครบจำนวน 84000 องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ตามหลักนิยมในการพระบรรจุกรุ
    6. สมเด็จตกเบ็ด คือพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม ที่ถูกขโมยออกจากกรุก่อนเปิดกรุ เป็นพระที่อยู่ในช่วงบนหรือรอบนอกของกองพระในกรุและอยู่ในกรุได้ไม่นาน จึงมีคราบกรุน้อยและบาง การขโมยพระสมเด็จบางขุนพรหมโดยการตกเบ็ด ขโมยจะใช้ของเหนียวๆ เช่นดินเหนียว ยางไม้ กาวจิ้งจก ผูกเชือกแล้วนำไปผูกกับปลายไม้ หย่อนตกลงไปตามช่องที่เจาะ พระติดของเหนียวที่ติดขึ้นมาเรียกว่าสมเด็จตกเบ็ด
    7. สมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า คือสมเด็จบางขุนพรหมกรุวัดใหม่อมตะรสที่มีคนลักลอบตกเบ็ดขโมยขุด ออกมาจากเจดีย์ที่บรรจุกรุพระไว้ก่อนที่จะมีการเปิดกรุเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2500 นั่นคือพระกรุบางขุนพรหมถ้าออกมาก่อนเปิดกรุจริงเรียกว่าพระกรุเก่าทั้งสิ้น ลักษณะของพระกรุเก่าจะมีคราบกรุน้อย บางองค์แทบจะไม่มีเลย
    8. สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ คือพระสมเด็จบางขุนพรหมที่เปิดจากกรุบางขุนพรหม เมื่อพ.ศ. 2500 เรียกกันเป็นบางขุนพรหมกรุใหม่ จะมีคราบกรุมากและหนากว่าพระกรุเก่า สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่และกรุเก่าก็คือสมเด็จบางขุนพรหมจากกรุเดียวกันนั่นเอง
    9. สมเด็จสัตตศิริ คือพระสมเด็จที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศิริมงคล โดยสร้างพระให้มีสีตามวันทั้ง เจ็ดวัน คือวันอาทิตย์สีแดง วันจันทร์สีเหือง วันอังคารสีชมพู วันพุธสีเขียว วันพฤหัสสีส้ม วันศุกร์สีฟ้า วันเสาร์สีม่วง เป็นลักษณะพระสีประจำวัน แต่บางองค์จะทำองค์เดียวเจ็ดสีเลยก็มี สมเด็จสัตตศิริสร้างที่วัดพระแก้ว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเจ้าฟ้าอิศราพงศ์แกะพิมพ์ และเอาผงสมเด็จจากวัดระฆังมาผสมในเนื้อสัตตศิริ สร้างแจกพระประยูรญาติ และเจ้านายผู้ใหญ่ คนในวังหน้า ส่วนที่เหลือได้นำไปบรรจุกรุเจดีย์ไว้ที่วัดพระแก้ว มีหลายพิมพ์ทรงตามพระวังหน้า พิมพ์ที่นิยมคือพิมพ์พระแก้วมรกต และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม
    10. สมเด็จนางใน เรื่องสมเด็จนางในนี้ทราบว่า เมื่อครั้งสมเด็จโตได้เข้าไปเทศนาในวังสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านได้แจกพระสมเด็จแก่คนในวังเป็นสมเด็จชิ้นฟักขนาดใหญ่ สนมนางในวังได้บอกท่านว่า ท่านทำแต่พระองค์ใหญ่ๆ เหมาะสำหรับผู้ชาย อยากให้ท่านทำพระองค์เล็กๆ ที่เหมาะแก่ผู้หญิงที่จะเอามาห้อยคอบ้าง ท่านจึงไปทำสมเด็จขนาดเล็กที่เหมาะแก่เด็กและผู้หญิง ดังเช่นพิมพ์สมเด็จแหวกม่านชั้นเดียวดูสวยงามมาก และแจกให้แก่สนมนางในไว้ใช้บูชา จึงเรียกพระสมเด็จพิมพ์นี้ว่าสมเด็จนางในนี่เอง คงจะไม่มีมากนักเพราะทำแจกแต่เพาะสนมนางในเท่านั้น
    11. สมเด็จยายจันทร์ ยายจันทร์เป็นแม่ค้าขายของอยู่แถวใกล้ๆวัดระฆัง มีฐานะยากจนแต่ใจบุญสุนทาน เอาสำรับกับข้าวมาถวายสมเด็จบ่อยๆ วันหนึ่งสมเด็จท่านถามยายจันทร์ว่าหมู่นี้ค้าขายเป็นอย่างไร ยายจันทร์ตอบว่า แย่มีแต่พอทุนและขาดทุนขายไม่ค่อยดี จึงต้องมาหาท่านบ่อยๆเผื่อจะขายของได้ดีบ้าง สมเด็จโตจึงให้พระพิมพ์ นางพญาเนื้อสมเด็จ แก่ยายจันทร์ไป แล้วบอกมาว่าต่อไปนี้คงขายของได้ดีมีกำไร รำรวยจะได้ไม่ต้องมาหาบ่อยๆ ตั้งแต่ยายจันทร์ได้ของไปก็ค้าขายร่ำรวยจริงๆ พระสมเด็จนางพญาพิมพ์นี้จึงเรียกขนานนามกันต่อมาว่า สมเด็จยายจันทร์ตั้งแต่นั้นมา

    ให้อ่านเอาความรู้ แต่ต้องพิจารณา ของทุกอย่างมีหลายด้าน


    อ้างอิง : พระเครื่องเมืองสยาม : พระสมเด็จวัดระฆัง

    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  20. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    เรื่องมวลสารว่าสมเด็จท่านจะใส่อะไรบ้างนั้น...ถ้าเป็นตำราเซียนทั่วไปอันนี้ผมไม่เชื่อเลยครับ

    แต่ถ้าเป็นจากบันทึกของหลวงปู่คำ เป็นพระสหธรรมิกของเจ้าประคุณสมเด็จบันทึกไว้หละก็ผมเชื่อถือได้สนิทใจเลยครับ.....

    เซียนส่วนใหญ่ก็นั่งเทียนเขียนลอกๆ จากเซียนเก่าก่อนทั้งนั้น เชื่อยากครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...