เสียงธรรม มั่นคงในวิถีธรรม / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 1 กุมภาพันธ์ 2018.

แท็ก: แก้ไข
  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ก่อนน้ำทะเลจะท่วมกรุงเทพ / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 22, 2023
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ความเข้าใจผิดของนักปฎิบัติ / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 23, 2023
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เรียนรู้ชีวิตที่ดีจากหมา/ หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 23, 2023
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อย่ายึดมั่นความถูกต้องจนไร้เมตตา / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 24, 2023
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เบื้องหลังความเทอะทะคือความงดงาม / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 24, 2023
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    รู้ทันความคิดที่ไม่ได้รับเชิญ / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 25, 2023
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ฟังให้ได้ธรรม / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 26, 2023
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ปลุกความดีงามในใจเรา / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jun 30, 2023
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ขับเคลื่อนชีวิตด้วยพลังบวก / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 1, 2023
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อยู่ตึกไม้ใช้ชีวิตเรียบง่าย สู้ภัยโลกร้อน / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 1, 2023
    United Nations
    Climate change refers to long-term shifts in temperatures and weather patterns, mainly caused by human activities, especially the burning of fossil fuels.
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    สวดมนต์ให้ได้ธรรม / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 2, 2023
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ทุกข์หลุดเพราะวาง / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 3, 2023
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    [​IMG]
    สุคะโตในวันที่ผันผ่าน
    โดย พระไพศาล วิสาโล

    ตีพิมพ์ลงหนังสือ ๕๐ ปี วัดป่าสุคะโต
    อ่านคำนำ





    ข้าพเจ้ามาวัดป่าสุคะโตครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๓ ที่จำได้แม่นก็เพราะก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ข้าพเจ้าได้พาผู้คนจากกรุงเทพฯ เกือบ ๕๐ ชีวิต ขึ้นมาค้างแรมที่วัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน (ตอนนั้นยังไม่เป็นตำบล) จุดประสงค์คือเพื่อทอดผ้าป่า เรียกผ้าป่ากองนี้ว่า “ผ้าป่าข้าว” ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนสหกรณ์ข้าวบ้านท่ามะไฟหวาน ซึ่งหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ได้ริเริ่มขึ้นสำหรับจัดหาข้าวราคาถูกให้แก่ชาวบ้าน งานนี้จัดโดยกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (กศส.) ซึ่งตอนนั้นข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติงาน

    เมื่อทอดผ้าป่าเสร็จ ตอนบ่ายๆ พวกเราหลายคนได้เดินมาเยี่ยมชมวัดป่าสุคะโต ซึ่งตอนนั้นดูเหมือนจะไม่มีพระค้างแรมเลย หลวงพ่อคำเขียนและพระรูปอื่นๆ ไปอยู่ที่วัดภูเขาทองกันหมด ส่วนหลวงพ่อบุญธรรม อุตฺตมธมฺโม ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งวัดป่าสุคะโตตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส ณ บ้านเกิดของท่านตั้งแต่ต้นปีแล้ว

    ตอนนั้นหอไตรเพิ่งสร้างเสร็จอยู่บนเขา (ปัจจุบันมีกุฏิ ๘ มาแทนที่) พวกเราขึ้นไปดูข้างในก็เห็นแต่ความว่างเปล่า (พระไตรปิฎกที่เดิมคิดว่าจะเก็บไว้ที่นั้น ภายหลังย้ายมาเก็บไว้ในตู้ที่ศาลาหน้า) จำได้ว่าเมื่อเดินไปที่สระน้ำ ก็ไปต่อไม่ได้เพราะไม่มีสะพาน เข้าใจไปว่าอีกด้านหนึ่งของสระน้ำเป็นไร่นาหรือป่ายูคาลิปตัสเหมือนกับที่เห็นระหว่างเดินมาสุคะโต หารู้ไม่ว่ามีหมู่บ้านตั้งอยู่ไม่ไกล

    พวกเรามาเที่ยวชมวัดป่าสุคะโตได้ไม่นาน ก็เดินทางกลับวัดภูเขาทอง ตอนนั้นข้าพเจ้าไม่มีความคิดเลยแม้แต่น้อยว่าจะได้กลับมาวัดป่าสุคะโตอีก และไม่ใช่แค่มาเยือน แต่มาพักอาศัยต่อเนื่องถึงค่อนชีวิต

    แม้จะเป็นครั้งแรกที่มาสุคะโต แต่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าขึ้นมาบนภูโค้ง ก่อนหน้านั้นราวเดือนกรกฎาคม เคยขึ้นมาทีหนึ่งแล้ว เพื่อมาสนทนากับหลวงพ่อคำเขียน แต่มาถึงแค่วัดภูเขาทอง ตอนนั้นเราต้องปีนเขาขึ้นมา เพราะถนนยังไม่มี สัมภาระก็ต้องสะพายขึ้นมาเอง เช่นเดียวกับชาวบ้าน (เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าวที่ท่ามะไฟหวานราคาแพงกว่าที่แก้งคร้อมาก คนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนยากจน หลวงพ่อจึงจัดตั้งสหกรณ์ข้าวขึ้น โดยขนข้าวจากชัยภูมิ ซึ่งมีถนนมาถึงท่ามะไฟหวาน)

    หลวงพ่อมาพบกับพวกเราในวันรุ่งขึ้น ท่านขอโทษที่ไม่สามารถต้อนรับเราวันก่อนหน้านี้ เพราะน้ำท่วมสะพาน ตอนนั้นท่านอยู่สุคะโต ไม่สามารถข้ามน้ำมาได้ ต้องรอให้น้ำลดก่อน การสนทนากันในวันนั้น ทำให้เกิดความคิดเรื่องการทอดผ้าป่าข้าวเพื่อสนับสนุนสหกรณ์ข้าวของหลวงพ่อ

    ควรกล่าวด้วยว่าก่อนหน้านั้นข้าพเจ้าสนใจงานศูนย์เด็กเล็กที่หลวงพ่อจัดตั้งขึ้นที่วัดภูเขาทอง ตอนนั้น กศส. อยากสนับสนุนโครงการของพระและชาวบ้านที่มุ่งแก้ปัญหาเด็กขาดอาหาร งานของข้าพเจ้าคือออกไปเยี่ยมเยียนโครงการดังกล่าวเพื่อให้ความช่วยเหลือตามที่เขาต้องการ ตอนนั้นพระที่ทำศูนย์เด็กเล็ก มีน้อยมาก เพราะเป็นของใหม่มาก ผลจากการพบปะโครงการเหล่านี้ กศส. ได้จัดทำโครงการ “แด่น้องคนเล็กของเรา” เพื่อหาทุนมาสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในชนบท ไม่กี่ปีต่อมาโครงการได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แด่น้องผู้หิวโหย” และสังกัดมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กแทน

    ตอนที่ข้าพเจ้าพบปะหลวงพ่อคำเขียนครั้งแรกที่โรงพยาบาลประทาย ราวเดือนเมษายน ๒๕๒๓ ท่านมาประชุมร่วมกับครูและชาวบ้านจากที่ต่างๆ ที่ทำโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็ก ท่านเป็นพระรูปเดียวในการประชุมครั้งนั้น แต่ก็ไม่ถือตัว มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟังมากกว่าที่จะออกความเห็น ใครเห็นก็ประทับใจ แต่ตอนนั้น คงไม่มีใครรู้ว่าท่านเป็นอาจารย์กรรมฐานด้วย

    หลังจากงานทอดผ้าป่าข้าวที่วัดภูเขาทองสำเร็จเสร็จสิ้น ข้าพเจ้าก็ไม่ได้กลับไปเยือนภูโค้งอีกเลย และคงจะไม่ได้ไปอีกนานหากว่าข้าพเจ้าไม่ตัดสินใจลางานเพื่อออกบวชต้นปี ๒๕๒๖ ทั้งๆ ที่มีกำหนดแน่ชัด แต่จนถึงปลายปี ๒๕๒๕ ข้าพเจ้าก็ยังไม่รู้ว่าบวชแล้วจะไปอยู่วัดไหนดี ในความตั้งใจนั้นอยากไปอยู่กับครูบาอาจารย์ที่มีเวลาสอนศิษย์ ดังนั้นจึงควรเป็นวัดที่มีคนไม่เยอะ บังเอิญได้พบกับพระนพ (พัฒนาพงศ์ โกไศยกานนท์) ซึ่งเพิ่งเสร็จจากการจำพรรษาที่วัดป่าสุคะโตได้ไม่กี่เดือน เมื่อสนทนากับท่านจึงรู้ว่าหลวงพ่อคำเขียนเป็นอาจารย์กรรมฐานด้วย ไม่ใช่พระ “นักพัฒนา” เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจที่จะไปบวชปฏิบัติกับท่านที่วัดป่าสุคะโต

    ข้าพเจ้าบวชเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ที่วัดทองนพคุณ แต่กว่าจะขึ้นไปวัดป่าสุคะโตก็อีก ๕ เดือนต่อมา ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อคำเขียนอยากให้ข้าพเจ้าไปปฏิบัติที่วัดสนามใน เนื่องจากช่วงนั้นวัดป่าสุคะโตไม่มีพระเลย หลวงพ่อก็มีกิจนิมนต์ต่อเนื่อง ไม่ค่อยได้อยู่วัด ประกอบกับวัดสนามในมีหลวงพ่อเทียนเป็นประธานสงฆ์ ดังนั้นข้าพเจ้าปฏิบัติกับหลวงพ่อเทียนน่าจะดีกว่า

    หากข้าพเจ้าทำตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิมคือบวชสามเดือน ก็คงไม่ได้ขึ้นไปปฏิบัติที่วัดป่าสุคะโต แต่เมื่อการปฏิบัติที่วัดสนามในให้ผลดีกว่าที่คิด จึงตัดสินใจบวชต่อให้ได้พรรษา และวัดป่าสุคะโตเป็นวัดที่ข้าพเจ้าเลือกไปจำพรรษา

    พรรษาแรกที่สุคะโต

    ข้าพเจ้าขึ้นไปจำพรรษาที่วัดป่าสุคะโตแบบจวนเจียน คือถึงวัดตอนเย็นของวันที่ ๒๔ กรกฎาคม อันเป็นวันอาสาฬหบูชา การเดินทางวันนั้นสะดวกกว่าการมาครั้งแรกมาก เพราะมีการตัดถนนขึ้นเขาแล้ว รถโดยสารจากแก้งคร้อมาถึงหน้าวัดป่าสุคะโตเลย แม้ทางจะลื่นไถลบ้างในบางช่วงเพราะฝนเพิ่งตกและยังเป็นถนนดินอยู่

    ตอนนั้นศาลาหน้ายังสร้างไม่เสร็จ มีแต่โครงคือเสากับหลังคา เดินไปอีกหน่อย ก่อนจะถึงสะพาน มีกุฏิอยู่หลังหนึ่ง (ตรงบริเวณห้องน้ำข้างครัวในปัจจุบัน) สะพานข้ามสระทำอย่างง่ายๆ เอาปีกไม้มาวางเป็นระยะๆ และมีราวให้จับ เมื่อเดินขึ้นเนินสักพักก็ถึงศาลาไก่ มีชาวบ้านที่จำศีลนั่งพักอยู่เต็มศาลา

    ตอนนั้นศาลาไก่ยังเป็นศาลาหลังเล็กๆ ยกพื้นสูงแค่ท่วมหัว (ด้านทิศเหนือ) บันไดก็ทำอย่างง่ายๆ คือเอาปีกไม้มาวางแค่สองสามขั้น หลังคาสังกะสีคลุมไม่หมด ช่วงที่อยู่ใกล้บันไดเปิดโล่ง มองเห็นต้นไม้และท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน เป็นมุมที่พระและเณรชอบมาสนทนากันในยามเย็น เพราะบรรยากาศโปร่งโล่ง เป็นเสน่ห์ของศาลาไก่ก็ว่าได้ ทุกวันนี้ภาพนั้นยังประทับอยู่ในใจไม่ลืมเลือน

    วันนั้นกว่าข้าพเจ้าจะเข้าที่พักก็มืดแล้ว หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าพักที่หอไตร ร่วมกับใหญ่ (สุจินต์ สันติภราภพ) ซึ่งเดินทางมาด้วยกันจากกรุงเทพฯ ตอนนั้นรู้สึกผิดหวังเล็กน้อยที่ไม่ได้พักกุฏิเป็นเอกเทศ ตอนหลังจึงรู้ว่าวัดมีกุฏิน้อยมาก คือแค่สองสามหลัง ขณะที่พระและเณรจำพรรษาถึง ๑๑ รูป (พระ ๗ เณร ๔) พระรูปอื่นต้องนอนเพิง แม้แต่หลวงพ่อก็ไม่มีกุฏิของตนเอง ต้องพักที่ศาลาไก่ (แต่บ่อยครั้งท่านเลือกไปจำวัดใต้ต้นไม้) ข้าพเจ้านับว่าโชคดีด้วยซ้ำที่นอนหอไตร ซึ่งโล่งกว้าง มีใต้ถุน แถมมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ หอไตรตอนนั้นมีการกั้นห้องด้านทิศตะวันออก ข้าพเจ้าพักอยู่ในห้องนั้น ซึ่งกว้างขวาง (ที่จริงนอนได้นับสิบคนแบบสบายๆ) ส่วนใหญ่นอนอยู่ด้านนอก

    ที่หอไตรนั้นมีพระที่อยู่ก่อนเตือนตั้งแต่แรกว่า หากกลางค่ำกลางคืนได้ยินเสียงคล้ายผู้หญิงร้องโหยหวน หรือร้องทำนองว่า “ช่วยด้วยๆ” อย่าตกใจ เพราะมันเป็นเสียงของบ่าง คำเตือนนี้มีประโยชน์มาก หาไม่ข้าพเจ้าคงผวาในยามค่ำคืน เพราะตอนนั้นไม่คุ้นกับความมืด แต่จะว่าไปแล้วหลังจากอยู่นานเป็นเดือน คืนไหนต้องเดินขึ้นหอไตรคนเดียวยังรู้สึกกลัว เพราะสองข้างทางเป็นป่าทึบ

    วันที่ข้าพเจ้ามาถึงสุคะโตนั้น มีเพื่อนๆ จากกรุงเทพฯ ขึ้นมาอีกคณะหนึ่งด้วย วันรุ่งขึ้นส่วนใหญ่ก็กลับกรุงเทพฯ เหลือสองคนที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรมที่สุคะโตต่อเนื่อง คือ จริง (ฐิติมา คุณติรานนท์) กับ สมถวิล (วิริยะสุมน/ลือชาพัฒนพร) จริงนั้นตั้งใจอยู่จนครบพรรษา ส่วนสมถวิลขอปฏิบัติแค่หนึ่งเดือน และเมื่อครบกำหนดกลับ เพื่อนอีกคนคือ ฮุ้ง (ศุกรจิต จตุจินดา) ก็ขึ้นมารับไม้ต่อ ปฏิบัติเป็นเพื่อนจริง จนคนหลังกลับกรุงเทพฯ เมื่อออกพรรษา

    เป็นอันว่าพรรษาแรกที่สุคะโตของข้าพเจ้า นอกจากพระอีก ๖ รูปและเณร ๒ รูปแล้ว ก็มีฆราวาสอีก ๔ คน รวมทั้งใหญ่ด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่าสมัยนั้นกุฏิมีน้อย จึงไม่มีการแยกเขตอุบาสิกาชัดเจน ผู้หญิงนั้นพักรวมกันที่กุฏิริมทางเดิน ที่เชื่อมต่อระหว่างสะพานกับศาลาไก่ ซึ่งพวกเราเรียกว่า “กุฏิชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพราะมีข้อความเขียนอยู่ข้างฝากุฏิด้านนอกว่า “เพื่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” เป็นกุฏิที่เก่าที่สุดของสุคะโต สร้างเมื่อปี ๒๕๑๙ (น่าเสียดายที่ถูกรื้อไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน)

    สมัยนั้นพระและเณรจะมาสรงน้ำกลางสะพาน มีท่าน้ำเล็กๆ ให้ลงไปหย่อนตัวและตักน้ำมาอาบ เป็นมุมที่เห็นวิวทิวทัศน์ดีมาก จำได้ว่ามองไปด้านทิศตะวันออก เห็นภูเขาหลังบ้านกุดโง้ง (เพราะต้นไม้ของสุคะโตด้านนั้นยังไม่สูงมาก จนบังทัศนียภาพที่ไกลออกไป) มีคราวหนึ่งเณรน้อยหลอกข้าพเจ้าว่า บนเขาลูกนั้น ที่เห็นอยู่ลิบๆ คือช้าง ข้าพเจ้าก็หลงเชื่อด้วยความที่ยังไม่คุ้นกับสถานที่

    ตอนนั้นคนมาสุคะโตน้อยมาก ดังนั้นการอาบน้ำกลางสะพานจึงทำได้ง่าย ไม่ต้องพะวงว่าโยมหรือใครจะเดินผ่านไปผ่านมา ตอนเย็นๆ พระและเณรจะมาชุมนุมกันตรงนี้ อาบน้ำไปด้วยสนทนาไปด้วย และแน่นอนว่าย่อมมีการทำของตกลงน้ำ ไม่ใช่แค่สบู่ ยาสีฟัน บางครั้งก็เป็นของมีค่า เช่น นาฬิกา แต่เนื่องจากตรงนั้นเป็นจุดที่ลึกที่สุดของสระน้ำก็ว่าได้ จึงยากที่จะงมของขึ้นมาได้

    สะพานของสุคะโตสมัยแรกๆ ทำแบบง่ายๆ เอาไม้มาต่อๆ กัน บางแผ่นก็ตีตะปู แต่บางแผ่นก็แค่วางเฉยๆ โดยเฉพาะปีกไม้ อีกทั้งไม่สูงจากระดับน้ำมากๆ ดังนั้นหน้าฝน วันไหนฝนตกหนัก น้ำขึ้นสูง ก็จะท่วมสะพานอย่างรวดเร็ว ไม้บางแผ่นก็จะลอยขึ้นมา เวลาเดินข้ามสะพานเพื่อจะไปบิณฑบาต จะต้องเดินอย่างระมัดระวัง แต่ละแผ่นต้องเหยียบหยั่งดูก่อนให้แน่ใจว่าไม่พลิก ที่สำคัญคือเพื่อให้แน่ใจว่ามีไม้อยู่ใต้ฝ่าเท้า หาไม่อาจจมลงไปในน้ำเลย

    พรรษาแรกทั้งพรรษา การทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น การฟังธรรม รวมทั้งการฉันอาหาร ทำที่ศาลาไก่ทั้งหมด ซึ่งจุคนได้ราวๆ ๔๐-๕๐ คน วันพระ ชาวบ้านจากสามหมู่บ้านก็จะมาทำบุญถือศีล ได้แก่บ้านใหม่ บ้านกุดโง้ง และบ้านวังเข้ เพราะละแวกนั้นมีวัดป่าสุคะโตวัดเดียว ดังนั้นศาลาไก่จึงแน่นขนัด ยิ่งวันสำคัญ เช่น วันบุญข้าวสาก (๑๕ ค่ำเดือนสิบ) และวันออกพรรษา คนยิ่งคับคั่งจนออกมานอกศาลาเลย

    สุคะโตในช่วงแรกๆ อัตคัดมาก โดยเฉพาะอาหาร ข้าวเหนียวและน้ำพริกหรือแจ่วเป็นหลัก ข้าวเหนียวนั้นแข็งมาก คงเพราะไม่ได้นึ่งมาก่อน (หรือนึ่งข้ามคืน) ข้าพเจ้าเคี้ยวจนปวดกราม วันไหนมีไข่ต้มหรือปลากระป๋อง ถือว่าโชคดี สมัยนั้นมาม่าหรือไวไว เป็นของวิเศษสุด ซึ่งโยมในวัดต้องไปหามาเอง แต่นานๆ จะได้ฉันเสียที ข้าพเจ้าแม้จะคุ้นเคยกับอาหารของชาวบ้านอีสาน เพราะออกค่ายและอยู่กินบ้านชาวบ้านสมัยเป็นนักเรียนและนักศึกษาต่อเนื่องหลายปี แต่ก็ยอมรับว่าอาหารชาวบ้านที่วัดป่าสุคะโตนั้นฉันยากมาก แต่ก็ได้ถือเป็นการเจริญสติไปด้วย ดังนั้นจึงอยู่ได้ตลอดพรรษาโดยไม่มีปัญหามากนัก

    นอกจากอาหารอัตคัดแล้ว พลังงานก็มีจำกัด ไฟฟ้านั้นมีใช้เฉพาะที่ศาลาไก่ และมาเป็นเวลา เพราะต่อมาจากสำนักงานสวนป่าเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของ อ.อ.ป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของบ้านใหม่ ที่นั่นจะปั่นไฟเฉพาะช่วงค่ำและเช้า ครั้งละสองชั่วโมง (ตอนเช้าหลังทำวัตร หลวงพ่อจะอาศัยไฟฟ้าจากสวนป่าเปิดเครื่องขยายเสียงเพื่อแสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง) ส่วนกุฏินั้น แสงสว่างต้องอาศัยตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นหลัก เทียนนั้นไม่ต้องพูดถึง มีน้อยและแพงกว่าน้ำมันก๊าด ดังนั้นไทยธรรมอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมถวายให้วัด โดยเฉพาะในวันสำคัญ คือ น้ำมันก๊าดซึ่งมาเป็นปี๊บๆ

    พูดถึงน้ำกินน้ำใช้ เราอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ศาลาไก่และหอไตร มีโอ่งน้ำขนาดใหญ่รองรับน้ำฝนหลายใบ พระและเณรส่วนใหญ่ต้องหาบน้ำเป็น เพื่อใช้ในห้องน้ำ หาไม่ก็ต้องหิ้วเอาซึ่งเหนื่อยกว่า ตอนหลังหลวงพ่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำตรงบ่อใกล้สระน้ำ เพื่อสูบน้ำไปใช้ที่ศาลาไก่ เครื่องสูบน้ำตัวนี้รับใช้วัดอยู่หลายปี ที่ใช้ได้นานก็เพราะหลวงพ่อขยันซ่อมมัน ภาพหลวงพ่อปลุกปล้ำเครื่องสูบน้ำเครื่องนี้เป็นภาพที่เราคุ้นเคย หลวงพ่อคงเป็นองค์เดียวที่รู้จักเครื่องสูบน้ำนี้ดี จึงยืดอายุมันได้นาน

    ชีวิตและเพื่อนร่วมวัด

    สายบิณฑบาตแบ่งเป็นสามสาย คือ บ้านใหม่ กุดโง้ง และวังเข้ สมัยนั้นยังไม่มีสะพานคอนกรีตไปบ้านกุดโง้ง เวลาไปบ้านกุดโง้ง แทนที่จะตรงไปเหมือนทุกวันนี้ เราต้องเลี้ยวซ้ายที่หน้าวัด เดินประมาณ ๑๐๐ เมตร แล้วเลี้ยวขวาลงเนินไปจนถึงริมฝั่งลำปะทาว จากนั้นจึงไต่ขอนไม้ ซึ่งวางขวางลำห้วยเป็นสะพานให้คนเดิน ถ้าวันไหนฝนตกหนัก น้ำก็จะเอ่อท่วมขอนไม้ เดินยาก แต่ก็ตื่นเต้นดี แต่สะพานแบบนี้อยู่ได้ไม่นาน ในที่สุดก็จะโดนน้ำซัดไป แต่เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำลดลงมาก เราเดินข้ามห้วยได้อย่างสบาย

    วันแรกๆ ที่เดินบาตรสายบ้านใหม่ ก่อนถึงสวนป่า ข้าพเจ้าสังเกตเห็นป้าย “วัดเอราวัณ” ตรงซ้ายมือ มองเข้าไปก็เห็นแต่แนวป่า ไม่เห็นมีสิ่งปลูกสร้างใดๆ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมมีอีกวัดตั้งอยู่ใกล้ๆ สุคะโต ภายหลังจึงรู้ว่า “เอราวัณ” เป็นชื่อดั้งเดิมของสุคะโต หลวงพ่อบุญธรรม อุตฺตมธมฺโม ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดตั้งชื่อนี้ แต่ต่อมาหลวงพ่อคำเขียนอยากให้ชื่อของวัดมีความหมายเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้า มากกว่าที่จะเชื่อมโยงกับพระอินทร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสุคะโต ซึ่งหมายถึงผู้ไปแล้วด้วยดี อันเป็นองค์คุณประการหนึ่งของพระพุทธองค์ อย่างไรก็ตามจนทุกวันนี้เอราวัณก็ยังเป็นชื่อทางการของสุคะโต

    สุคะโตสมัยนั้นเงียบสงัดมาก นอกจากชาวบ้านที่มาถวายจังหันและเพลแล้ว ทั้งวันแทบไม่มีใครมาวัด พระเณรจึงไม่มีกิจอื่นนอกจากการปฏิบัติธรรม แต่เณรสามรูปซึ่งยังเด็ก อายุแค่ ๑๐-๑๒ ขวบ ดูจะไม่ค่อยสนใจการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อคงเห็นว่าเณรว่างมากไป วันหนึ่งจึงขอให้ข้าพเจ้าสอนภาษาอังกฤษแก่เณรทั้งสอง แม้ข้าพเจ้าไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของการสอนภาษาอังกฤษแก่เณร เพราะเรียนไปก็คงไม่ได้ใช้ ต่อไปก็คงลืม กระทั่งภาษาไทยที่เด็กๆ เรียนมาหลายปี จำนวนมากก็ลืมเพราะไม่มีหนังสือให้อ่าน แต่ข้าพเจ้าก็ยินดีทำตามความประสงค์ของหลวงพ่อ มีการสอนที่ศาลาไก่วันละหนึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ แต่ไม่นานก็ต้องเลิก เพราะเณรไม่สนใจ และที่สำคัญก็คือ ข้าพเจ้าเองก็สอนไม่เก่งด้วย เณรคงเบื่อกับการสอนของข้าพเจ้า

    พรรษาแรกข้าพเจ้าอยู่วัดตลอด นอกจากบิณฑบาตแล้วก็ไม่ได้ไปที่ไหนเลย มีครั้งเดียวเท่านั้นคือไปวัดโมกขวนารามกับหลวงพ่อรวมทั้งพระอีกหลายรูป จำไม่ได้ว่ามีงานอะไร เสร็จแล้วก็กลับวัด ผิดกับโยมที่อยู่วัด เช่น สมถวิล จริง และฮุ้ง มีกิจลงไปแก้งคร้อหรือชัยภูมิเป็นครั้งคราว ลงไปแต่ละครั้งก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่ใช่ว่าจะไปได้ง่ายๆ คนที่อยู่วัดก็ฝากซื้อนั่นซื้อนี่ ส่วนข้าพเจ้านั้นฝากจดหมายไปส่งเป็นหลัก

    ทั้งๆ ที่อยู่วัดตลอดสามเดือน ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ซอกแซกไปไหนมาก ฉันเสร็จที่ศาลาไก่ก็ขึ้นไปหอไตรเลย และอยู่ที่นั่นทั้งวัน บริเวณเขตอุบาสิกาตอนนี้ ซึ่งตอนนั้นมีพระบางรูปพักอยู่ ข้าพเจ้าก็ไม่เคยไปเยือนเลยตลอดพรรษา เวลาส่วนใหญ่ข้าพเจ้าใช้ไปกับการเดินจงกรมใต้ถุนหอไตร ส่วนโยมชื่อใหญ่ ซึ่งอยู่ที่หอไตรด้วยกัน (แต่คนละห้อง) ก็อ่านหนังสือ หรือไม่ก็ทำนั่นทำนี่ การพูดคุยมีน้อยมาก ยกเว้นช่วงเย็นหลังทำวัตร ซึ่งเขาทำน้ำปานะมาถวาย กับฟังข่าวภาคค่ำจากวิทยุของเขาเป็นบางวัน

    บรรยากาศแบบนี้สำหรับคนเมืองอย่างข้าพเจ้า น่าจะชวนให้เหงา แต่กลับไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นเลย แม้แต่ความอยากจะพูดคุยกับโยมที่มาอยู่วัดด้วยกัน ก็ไม่มี พบกันแค่ตอนทำวัตรเช้า อาหารเช้า และทำวัตรเย็นเท่านั้น

    พูดถึงสิงสาราสัตว์ สุคะโตเคยมีช้างมาอาศัยอยู่โขลงหนึ่ง แต่นั่นเป็นสมัยที่ยังมีป่าหนาทึบ ก่อนจะเสียหายจากการทำไม้เมื่อราวปี ๒๕๑๔แม้กระนั้นก็ยังมีช้างมาอาศัย แต่เมื่อชาวบ้านอพยพมาทำไร่มากขึ้น พื้นที่ป่าลดลง ช้างก็เดือดร้อน บางวันลงมากินข้าวโพดที่ไร่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงตอบโต้ด้วยการยิงช้างตายไป ๑ ตัว ผลก็คือช้างพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อข้าพเจ้าขึ้นไปอยู่หอไตรก็ยังเห็นกะโหลกช้างหน้าหอไตร

    สัตว์ใหญ่นอกนั้น เช่น หมูป่า ก็ไม่เหลือแล้ว แต่เก้งหรือกวางยังมีอยู่ เพราะเห็นรอยเท้าของมันตรงบริเวณที่เป็นเขตอุบาสิกาปัจจุบันเพราะใกล้กับสระน้ำ มันคงมาหากินน้ำ สัตว์ที่เห็นอยู่เป็นครั้งคราวคือ นิ่ม แต่ตอนหลังก็สาบสูญไปเพราะชาวบ้านเอาไปกิน

    สมัยนั้นนกกะรางหัวหงอกมีอยู่ฝูงหนึ่ง มันชอบมาร้องส่งเสียงกังวานใกล้ๆ กับสระน้ำ หลวงพ่อคำเขียนชอบเสียงร้องของนกกะรางหัวหงอก เวลามันร้องพร้อมๆ กัน ท่านว่าเป็นเสียง “โซปราโน” ที่มาคู่กันคือนกแซงแซวหางบ่วง ซึ่งทุกวันนี้ยังหลงเหลืออยู่ แต่กะรางหัวหงอกหายสาบสูญไปนานแล้ว

    ออกพรรษาไม่นาน ก็มีการทอดกฐิน พิธีทำกันอย่างง่ายๆ เพราะเจ้าภาพมาแค่สองคน มิใช่ลูกศิษย์ของหลวงพ่อโดยตรง แต่อยากทอดกฐินในวัดชนบท เมื่อรู้จักหลวงพ่อที่กรุงเทพฯ จึงแจ้งความประสงค์ พร้อมออกตัวว่ามีปัจจัยถวายไม่มาก แค่สองหมื่นบาท หลวงพ่อก็อนุโมทนา ท่านว่าจะถวายเท่าไหร่ก็ได้ทั้งนั้น โยมทั้งสองกว่าจะมาถึงวัดก็ทุลักทุเล เพราะมีฝนตกหนักก่อนหน้านั้น ทางแฉะ ถนนลื่น แล้วก็มานอนค้างคืนที่ศาลาไก่ โดยมีผู้ใหญ่บ้านกุดโง้งมาดูแลความปลอดภัยให้ วันรุ่งขึ้นเมื่อทอดกฐินเสร็จ ก็กลับกรุงเทพฯ
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (cont.)
    เมื่อออกพรรษาแล้ว ข้าพเจ้าลงไปกรุงเทพฯ โดยพักที่วัดสนามในพักใหญ่ เพื่อสะสางงานการที่ค้างคาอยู่ จะได้ต่ออายุบวชได้นานขึ้น จากนั้นก็กลับมาสุคะโต คราวนี้ไม่ได้พักที่หอไตรแล้ว แต่ย้ายไปพักในเพิงใกล้ๆ ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของพระอีกรูปหนึ่งในพรรษาที่ผ่านมา เพิงนี้มีแต่หลังคา ไม่มีฝา ข้าวของและหนังสือของข้าพเจ้าวางกองไว้ที่มุมหนึ่งของเพิง บางช่วงมีธุระที่กรุงเทพฯ ก็วางของไว้อย่างนั้น กลับมาก็ยังอยู่ครบ ไม่มีหาย ทั้งๆ ที่มีชาวบ้านบางคนผ่านไปผ่านมา เพราะมีทางเล็กๆ ทะลุป่าไปท่ามะไฟหวานได้

    กำเนิดพุทธเกษตร

    ช่วงไล่ๆ กัน จริงก็กลับไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ ฆราวาสที่วัดจึงเหลือสองคนคือ ฮุ้งกับใหญ่ ปลายปี แมว (ประคำเพชร มีสิงห์) ซึ่งเป็นเพื่อนฮุ้งก็มาสมทบ ทั้งสามคนมีความคิดที่จะอยู่สุคะโตอย่างต่อเนื่อง เพราะอยากทำอะไรบางอย่างตามความใฝ่ฝันของตน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ปฏิบัติธรรมในวัดเท่านั้น ความใฝ่ฝันที่ว่าก็คือการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในชนบท สามารถพึ่งตนเองได้ และช่วยเหลือชาวบ้านตามสมควร สอดคล้องกับความคิดของหลวงพ่อ ที่อยากช่วยเหลือชาวบ้านในด้านความเป็นอยู่ เช่น มีอาชีพเสริม รวมทั้งหันมาพึ่งตนเองให้มากขึ้น เช่น ปลูกผักเพื่อลดรายจ่าย หรือทำเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น แทนที่จะปลูกมันขายอย่างเดียว ซึ่งมีแต่จะทำให้มีหนี้สินมากขึ้น ที่จริงหลวงพ่อยังมีความคิดว่าหากศาลาหน้าสร้างเสร็จ ก็จะหาจักรเย็บผ้ามาเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าเพิ่มรายได้

    วันหนึ่งหลวงพ่อจึงพาข้าพเจ้าและฮุ้งกับใหญ่ ไปดูพื้นที่ด้านทิศตะวันตก (คือบริเวณที่ตั้งใหม่ของหอไตรและเรือนพักของผู้หญิง) ตอนนั้นเป็นป่าพงรกมาก หลวงพ่อว่าเดิมเป็นไร่ข้าวโพดของชาวบ้าน แต่ตอนหลังเลิกทำเพราะช้างมากวนมาก กลายเป็นที่รกร้าง ภายหลังเจ้าของที่ยกให้วัด หลวงพ่อเสนอว่าจะใช้พื้นที่ตรงนี้ทำสวน ปลูกไม้ผล เพื่อเป็นแปลงสาธิตให้ชาวบ้านดูเป็นตัวอย่าง อีกส่วนหนึ่งท่านจะชักชวนให้ชาวบ้านมาปลูกผัก จะเพื่อกินเองหรือขายก็ได้ หลวงพ่อเห็นว่าถ้าฆราวาสอย่างฮุ้งและใหญ่จะมาอยู่วัด ควรมีรายได้ของตัวเอง แทนที่จะพึ่งข้าวปลาอาหารวัดอย่างเดียว ไม้ผลที่ว่าน่าจะสร้างรายได้ให้แก่ทั้งสองคนได้บ้าง

    นั่นเป็นที่มาของ “พุทธเกษตร” ซึ่งมีการถางป่าพงกลางปี ๒๕๒๗ ตามด้วยการปลูกถั่วลิสงบำรุงดินเต็มพื้นที่ ออกพรรษาก็ระดมคนมาขุดถั่วลิสงออก ต่อมาก็ปลูกกะหล่ำ แล้วหาไม้ผลมาลง หลักๆ คือลำไยและลิ้นจี่ ส่วนแปลงผักอยู่ด้านทิศตะวันออก (บริเวณซุ้มประตูสุญญตา) มีชาวบ้านหลายครอบครัวมาปลูกผัก โดยทางวัดหาเครื่องสูบน้ำมาสนับสนุน ต่อมาได้สร้างถังเก็บน้ำไว้บนเนินจอมปลวก เพื่อให้ชาวบ้านใช้ปลูกผักได้อย่างสะดวก

    ปลายปี ๒๕๒๖ มีพระเหลือเพียงไม่กี่รูป หนึ่งในนั้นคือพระประยูร ซึ่งเป็นกำลังหลักของวัด ส่วนเณรทั้ง ๔ รูปสึกหาลาเพศไปหมด สุคะโตจึงสงบสงัดยิ่งกว่าเดิม เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนามาก ข้าพเจ้ายังคงปักหลักอยู่ใต้ถุนหอไตร บางช่วงก็ไปนอนในป่า ไม่ไกลจากหอไตร เอาผ้าพลาสติกมาขึงเป็นหลังคาแล้วนอนบนฟางโดยมีผ้าพลาสติกปูทับอีกชั้น อากาศเดือนธันวาคมหนาวมาก ปีนั้นเช้ามืดหนาวถึง ๘ องศา แค่ยกมือสร้างจังหวะไม่นานก็หนาวเหน็บที่ปลายนิ้ว อานิสงส์อย่างหนึ่งที่ได้คือ หายกลัวผี การอยู่คนเดียวกลางป่ามิใช่เรื่องชวนผวาอีกแล้ว

    หน้าร้อนปี ๒๕๒๗ วันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่หอไตร หลวงพ่อก็พาเณรสองสามรูปออกมาจากป่า ท่านบอกว่าเพิ่งไปดับไฟมา ตอนนั้นเองที่ข้าพเจ้าได้รู้ว่าไฟป่าเป็นปัญหาหนึ่งของสุคะโต นั่นเป็นครั้งแรกๆ ที่ทำให้ข้าพเจ้าตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาป่า และเห็นว่าหากข้าพเจ้าจะบวชพระต่อไป อย่างหนึ่งที่จะทำประโยชน์ได้ในฐานะพระคือการรักษาป่า ความคิดดังกล่าวเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ข้าพเจ้าอยากบวชพระต่อไป แม้ครบปีแล้ว

    ช่วงเดียวกันนั้นเอง สุคะโตได้ที่แปลงหนึ่งมา คือแปลงที่อยู่ตรงข้ามศาลาหน้า เจ้าของเดิมเป็นชาวบ้าน ภรรยาเสียมือเพราะสามีเมาเหล้า เอามีดฟันข้อมือจนขาด ภรรยาคงถูกสามีทำร้ายบ่อยๆ จนพ่อของเธอทนไม่ได้ ลอบฆ่าลูกเขยในทุ่งนา สุดท้ายภรรยาหม้ายก็ย้ายไปที่อื่น โดยขายที่ให้แก่ทางวัด (แต่ขายเฉพาะที่ดิน ส่วนต้นไม้ที่ปลูก อาทิ มะม่วงและพริกขายให้แก่ชาวบ้านอีกคน นี่เป็นธรรมเนียมหนึ่งซึ่งคนเมืองอย่างข้าพเจ้าไม่เคยรับรู้มาก่อน)

    ตอนนี้ศาลาหน้าสร้างเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ขาดแต่ติดตั้งหน้าต่างด้านทิศใต้ ที่จริงเริ่มใช้งานเป็นประเดิมในวันออกพรรษาปีก่อนนั้น แต่การทำวัตรสวดมนต์ยังใช้ที่ศาลาไก่เป็นหลัก ยกเว้นมีงานการที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านจึงมาใช้ศาลาหน้า เดือนเมษายน ช่วงใกล้ๆ สงกรานต์ ศาลาหน้าก็ได้หลวงพ่อขาวมาเป็นพระประธาน หลวงพ่อองค์นี้อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง จากมหาวิทยาลัยศิลปากร หามาให้ เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์งดงาม ท่านเป็นพระประธานของศาลาหน้านานร่วม ๒๐ ปีเห็นจะได้

    ใต้ถุนศาลาหน้าเป็นที่โล่งๆ มีโต๊ะยาวอยู่หนึ่งตัว ติดตรึงอยู่กับเสาศาลาสองเสา และมีม้านั่งประกบอยู่สองข้าง กลางวันข้าพเจ้าชอบมานั่งอ่านหนังสือและเขียนหนังสือ เพราะเย็นสบาย หน้าร้อนก็ไม่ร้อนมาก แม้จะอยู่ใกล้ทางเข้าวัด แต่ทั้งวันแทบไม่มีคนมา จึงเงียบสงบมาก บางช่วงทำงานเหนื่อย ก็นอนพักบนม้านั่ง แล้วค่อยลุกมาทำงานต่อ ต่อเมื่อมีศาลาน้ำ ข้าพเจ้าจึงย้ายไปทำงานที่นั่น

    ในช่วงเดียวกันนั้นเอง หลวงพ่อได้สร้างกุฏิใหม่เพิ่มขึ้นสองหลังด้านหลังหอไตร ข้าพเจ้าจึงย้ายไปอยู่กุฏิใหม่ (กุฏิ ๑๐) ส่วนอีกหลัง (กุฏิ ๙) ผู้พำนักคือหลวงพ่อเสถียร ซึ่งคุ้นเคยกับข้าพเจ้าตอนอยู่วัดสนามใน และย้ายมาอยู่สุคะโตช่วงต้นปี ๒๕๒๗

    พระอีกรูปหนึ่งซึ่งย้ายมาจากวัดสนามในมาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๖ คือหลวงพี่สมชาย (มารศรี) ท่านผู้นี้เป็นกำลังหลักของวัดสนามในเลยทีเดียว เมื่อย้ายมาอยู่สุคะโต ก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงให้กับวัดแทบทุกเรื่อง โดยเฉพาะการก่อสร้าง นอกจากนั้นท่านยังเก่งเรื่องทำครัว (เช่นเดียวกับหลวงพ่อเสถียร) ไม่นานข้างๆ ศาลาไก่ ด้านกอไผ่ ก็มีเพิงเล็กๆ เกิดขึ้น เพื่อทำครัว ท่านสมชายกับฮุ้งและแมว (ซึ่งต่อมาได้บวชเป็นชี) มาช่วยกันทำครัวอยู่เนืองๆ อาหารที่เคยอัตคัด ก็แปรเปลี่ยนไป

    พรรษาปี ๒๕๒๗ มีพระจำพรรษาประมาณ ๗ รูป นอกจากข้าพเจ้า มีอีกสองรูปที่มาจากกรุงเทพฯ พระมหาดิเรก (พุทฺธยานนฺโท) ก็มาจำพรรษากับพวกเราด้วย แต่ท่านไม่ได้มีบทบาทอะไร การแสดงธรรมเช้าและเย็น ยังเป็นหน้าที่ของหลวงพ่อ ในพรรษานี้ทุกเช้าวันเสาร์ ข้าพเจ้ากับชีแมวและฮุ้งจะเดินเท้าไปวัดภูเขาทอง เพื่อสอนหนังสือให้เด็กชาวบ้าน ข้าพเจ้าสอนภาษาอังกฤษเช่นเคย ตอนบ่ายก็เดินกลับวัด เป็นเช่นนี้เกือบทั้งพรรษา ดูเหมือนเด็กๆ จะไม่ค่อยได้อะไรจากการสอนของข้าพเจ้าเท่าใดนัก แต่ส่วนใหญ่ชอบครูแมวและครูฮุ้ง นอกจากสอนหนังสือแล้ว ยังมีการทำกิจกรรมหลายอย่าง รวมทั้งการฟ้อนรำ พอถึงวันแม่ ก็พากันมาฟ้อนรำที่ศาลาหน้ายามค่ำคืน เด็กและผู้ใหญ่ชอบกันมาก

    หลังจากออกพรรษาปี ๒๕๒๗ หลวงพ่อก็สั่งรื้อศาลาไก่ และสร้างศาลาหลังใหม่ ยกพื้นสูง และรับคนได้มากขึ้น แต่ยังคงชื่อศาลาไก่ดังเดิม เพราะยังมีไก่มาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ บางช่วงมีมากถึง ๒๐๐ ตัว ไก่เหล่านี้เป็นไก่ป่าทั้งนั้น มันชอบมากินข้าวเหนียวที่พระและโยมโปรยให้หลังอาหารเช้า หลายตัวมาออกไข่และฟักไข่ในศาลาไก่เลย ทำให้บางช่วงไรไก่จะชุมมาก พวกเราได้เรียนรู้ธรรมชาติและนิสัยของไก่ได้อย่างชัดเจนที่นี่

    พุทธเกษตรตอนนี้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ถั่วลิสงที่ปลูกไว้หลายไร่ก็ได้ผล พระและโยมช่วยกันเก็บถั่วลิสงมาไว้ที่ศาลาหน้า กำลังหลักด้านนี้คือพระอาวุธ ซึ่งเพิ่งมาใหม่หลังออกพรรษา ตอนหลังได้ไปฟื้นวัดป่ามหาวันหรือภูหลงขึ้นมาปลายปี ๒๕๒๘ (โดยมีสามเณรโต๋หรืออภิชาติ ไสวดี ซึ่งมาจำพรรษาที่สุคะโตปีนั้นไปด้วย) หลังจากที่ขาดพระมานานนับสิบปี นับแต่นั้นภูหลงก็มีพระมาอยู่ประจำต่อเนื่องไม่เคยขาดจนทุกวันนี้ แม้ว่าท่านจะออกจากภูหลงไปในปี ๒๕๓๐ ก็ตาม

    ย้อนกลับมาปลายปี ๒๕๒๗ หลังจากที่เก็บถั่วลิสงหมด ที่พุทธเกษตรก็มีการปลูกกะหล่ำโดยไม่ใช้สารเคมี ต่อมาก็ลงไม้ผล เช่น ลำไย และลิ้นจี่ หลวงพี่สมชายถนัดเรื่องนี้ จึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพุทธเกษตร รวมทั้งสร้างถังเก็บน้ำ และทำป้ายที่เตือนใจพวกเราได้ดีมากคือ “ปลูกผักแก้จน ดับมืดมนพึงปลูกสติ” ป้ายนี้อยู่ติดกับกุฏิหลังหนึ่งซึ่งสร้างบนจอมปลวก ไว้เป็นที่พักเหนื่อยเวลามาทำงานที่นั่น ข้าพเจ้าได้ใช้กุฏินี้ทำงาน อ่านหนังสือ และค้างแรมอยู่พักใหญ่ช่วงปี ๒๕๒๘-๒๕๒๙

    ควรกล่าวด้วยว่ากิจกรรมในพุทธเกษตรดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากมีการสร้างคันกั้นน้ำใกล้ทางเข้าวัดด้านทิศเหนือ ทำให้หนองน้ำของบ้านใหม่กับสระวัดแยกจากกัน แม้จะทำให้ทัศนียภาพเปลี่ยนไป ไม่มีคุ้งน้ำที่ดูแปลกตาอีกต่อไป แต่ก็มีประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากช่วยป้องกันไม่ให้สารพิษจากไร่ชาวบ้านแพร่เข้ามาในสระวัดแล้ว ยังเป็นทางเดินเชื่อมระหว่างศาลาหน้ากับพุทธเกษตร สมัยนั้นมีป่าผืนเล็กๆ ต้นไม้ค่อนข้างทึบอยู่ก่อนถึงพุทธเกษตร ให้บรรยากาศที่ดีมาก คล้ายเกาะที่รกร้างผู้คน แต่เมื่อสร้างคันกั้นน้ำ ผู้คนผ่านไปผ่านมา ความลึกลับของเกาะนี้ก็หายไป

    อาคันตุกะเริ่มหลั่งไหล

    ปี ๒๕๒๘ สุคะโตเริ่มมีแขกมาเยือนมากขึ้น เพราะหลวงพ่อเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่นักพัฒนาชุมชน ตอนนั้นมีหน่วยงานที่เรียกว่า เอ็นจีโอ เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก คนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่ใฝ่ฝันอยากพัฒนาชนบท ได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเหล่านั้นมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ขณะเดียวกันรัฐบาลก็หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทมากขึ้น มีการถกเถียงอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาชนบท ซึ่งมีหลายแนวทาง แนวทางหนึ่งก็คือการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความสามารถในการพึ่งตนเองมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมผู้นำชาวบ้านให้มีบทบาทในเรื่องนี้ ช่วงนี้เองที่คำว่า “พระนักพัฒนา” เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในวงการพัฒนาชุมชน หลายคนเมื่อทราบว่าหลวงพ่อเคยทำงานฟื้นฟูและพัฒนาบ้านท่ามะไฟหวาน ก็พากันมาดูงาน และพูดคุยกับหลวงพ่อ นิรมล เมธีสุวกุล แห่งแปซิฟิคของสมเกียรติ อ่อนวิมล ซึ่งกำลังดังในช่วงนั้น ก็มาทำสารคดีเกี่ยวกับหลวงพ่อในปีนี้

    นอกจากนักพัฒนาชนบทแล้ว ยังมีนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยมาออกค่ายที่วัด วันดีคืนดีก็มีนักศึกษาญี่ปุ่นมาค้างแรมที่วัดเพื่อศึกษาพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ขณะเดียวกันชาววัดก็ริเริ่มกิจกรรมหลายอย่างเพื่อทำให้พุทธเกษตรเกิดขึ้นเป็นจริง นอกจากการทำสวนแล้ว ยังมีการเลี้ยงผึ้ง โดยได้ความคิดจากอาจารย์ไพบูลย์ ทีปกร ซึ่งเลี้ยงตัวได้จากการเลี้ยงผึ้งที่เมืองกาญจน์ พวกเรายังยกทีมกันไปดูงานเลี้ยงผึ้งที่ชุมชนชาวคริสต์แห่งหนึ่งที่เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ข้าพเจ้าเองเลยมีประสบการณ์การเลี้ยงผึ้งอยู่ปีกว่า รังผึ้งนั้นมีหลายรัง วางตรงริมทางใกล้ๆ กับครัวในปัจจุบัน คราวหนึ่งถูกผึ้งต่อยตรงหว่างคิ้ว ผลคือหน้าบวมไปพักใหญ่

    กล่าวได้ว่าช่วงนั้นสุคะโตคึกคักมาก พระ แม่ชี และโยม ร่วมกันทำงานกันอย่างแข็งขัน ขณะเดียวกันหลวงพ่อก็ได้ตัดทางบนภูเขาเป็นรูปวงรี ให้มาบรรจบกัน พร้อมกับสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีก ๖ หลัง (กุฏิ ๑๑-กุฏิ ๑๗) ทำให้สามารถรองรับพระที่มาจำพรรษาเพิ่มขึ้น ปีนั้นมีพระมาจำพรรษา ๑๐ กว่ารูป บางรูปมาจากหาดใหญ่ อีกรูปมาจากเชียงใหม่ หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่โรงพยาบาลชุมพวง ก็ลางานมาบวชในพรรษานี้ นอกจากพระหนุ่มๆ แล้ว พระสูงวัยอย่างหลวงพ่อกรม ก็มาจำพรรษาด้วย

    กลางปีนั้นหลวงพ่อชักชวนชาวบ้านมารื้อกอหญ้ากลางสระน้ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “สนม” กอสนมขยายตัวเร็วมาก ทำให้คุณภาพน้ำในสระแย่ลง เพราะน้ำไม่ได้รับแสงแดดและออกซิเจนเท่าที่ควร สนมนั้นกำจัดยากมาก เพราะแผ่รากลงไปยึดกับพื้นสระ ต้องใช้มีดตัดทั้งข้างบนและข้างล่างเพี่อแยกออกมาทีละกอๆ ครั้นจะเอาขึ้นฝั่งก็ไม่ง่ายเพราะหนักมากเนื่องจากอุ้มน้ำไว้เยอะ งานแบบนี้ต้องอาศัยแรงชาวบ้านอย่างเดียว และต้องใช้คนเยอะด้วย แต่ทางวัดไม่มีเงินจ้าง หลวงพ่อจึงอนุญาตให้ชาวบ้านมาจับปลาในวัดได้โดยแลกกับการออกแรงมารื้อสนมเป็นเวลาหนึ่งวัน งานนี้ชาวบ้านมากันเยอะ หลายคนมาเพราะอยากได้ปลา เพราะรู้ว่าปลาในสระมีเยอะมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะจับได้ง่ายๆ เพราะปลาหลบไปซ่อนกลางสระซึ่งเป็นบริเวณที่ลึกมาก ชาวบ้านได้แต่เหวี่ยงแหริมสระ

    การรื้อสนมเป็นงานที่ทำต่อเนื่องมาหลายปี แต่ไม่ได้ทำทุกปี จนกระทั่งทุกวันนี้สนมหายไปจากสระแล้ว

    ปีนี้ครัววัดได้ย้ายมาอยู่ฟากเดียวกับศาลาหน้า เพราะใช้ศาลาหน้าเป็นที่ฉันอาหาร ทีแรกครัวอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่เป็นห้องสุขาข้างครัวในปัจจุบัน สองสามปีต่อมาก็ย้ายไปอยู่ตรงตำแหน่งปัจจุบัน ช่วงนั้นผู้ที่เป็นแม่ครัว รับภาระหนักมาก เพราะคนน้อย ขณะที่พระมีจำนวนมากขึ้น มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหานี้หลายครั้ง จนบางปี เช่นปี ๒๕๓๑ ตกลงกันว่า อาหารเช้าจะเป็นข้าวต้ม เพราะทำง่าย เสร็จเร็ว ตอนเพลจึงจะทำกับข้าวมาเสริมกับอาหารที่ได้จากบิณฑบาต ตอนนั้นยังฉันเป็นวงอยู่ (ก่อนหน้านั้นฉันเป็นวงทั้งตอนเช้าและเพล) เพราะอาหารมีน้อย พระบางรูปคงจะเบื่อเพราะฉันข้าวต้มรสชาติเดียวกันทุกเช้า แต่วิธีนี้ก็ช่วยผ่อนเบาภาระแม่ครัวได้มาก กล่าวได้ว่าในช่วงหลายปีแรกของสุคะโต งานครัวเป็นงานที่หนักที่สุด และมีเรื่องที่ต้องประชุมแก้ปัญหาอยู่เนืองๆ

    ก่อนออกพรรษา พระนวกะได้ร่วมกันทำพื้นที่ว่างหน้าวัดให้เป็นสนามเด็กเล่น มีชิงช้า กระดานหก ทั้งนี้เพื่อเป็นนวกานุสรณ์ สนามเด็กเล่นนี้เด็กๆ ในหมู่บ้านไม่ค่อยได้มาใช้ แต่ก็เป็นที่ที่ญาติโยมที่มาเยือนวัด ใช้เป็นที่นั่งเล่น หรือใช้สอยแบบเอนกประสงค์

    ออกพรรษาหลวงพี่สมชายก็ลาสิกขา วัดจึงขาดกำลังสำคัญไป ไม่นานชีแมวก็ย้ายไปอยู่ที่วัดภูเขาทอง ช่วยก่อตั้งสหกรณ์ร้านค้าเพื่อหาทุนให้ศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งขยายตัวจากเดิม กิจกรรมของวัดจึงเริ่มซาลง สวนพุทธเกษตร ที่เคยเป็นความหวังว่าจะเป็นที่มาของรายได้สำหรับโยมที่อยู่วัด ก็ไม่ค่อยออกดอกออกผลเท่าใดนัก เช่นเดียวกับการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะมีต่อและแตนมากวนผึ้งมาก ต้นปี ๒๕๓๐ โครงการนี้ก็ยุบเลิกไป
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (cont.)
    ไฟไหม้ใหญ่

    มีนาคม ๒๕๒๙ เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นที่สุคะโต ไฟมาหลายระลอก เริ่มจากด้านทิศใต้หลังหอไตร ไฟลามมาจากไร่มันซึ่งอยู่ติดวัด บริเวณนั้นเป็นดงหญ้าซึ่งหน้าร้อนจะแห้งกรอบเป็นเชื้อไฟอย่างดี ต่อมาได้ลามไปรอบวัด ลงมาจนถึงเขตพุทธเกษตร ดับกันหลายวัน กลางคืนก็ยังไม่เลิก ชาวบ้านก็มาช่วยดับไฟด้วย ไฟไหม้คราวนั้นร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น ป่าถูกทำลายนับร้อยไร่ นับว่าน่าเสียดายอย่างมาก บริเวณกุฏิ ๑๓ ซึ่งเคยมองลงมาเห็นแนวต้นไม้หนาทึบ กลับกลายเป็นที่โล่ง ต้นไม้หลายต้นยืนตายเพราะถูกไฟเผา

    ความเสียหายครั้งนี้ หลวงพ่อเห็นว่าหากจะรอให้ป่าฟื้นตัวคงยาก เพราะบริเวณที่ถูกไฟไหม้นั้น หน้าฝนหญ้าก็จะขึ้นเป็นวงกว้าง กลายเป็นเชื้อไฟอย่างดีในหน้าแล้ง ทางออกที่ดีที่สุดคือให้ชาวบ้านมาทำสวนหรือทำไร่ก็ได้ จะได้ขจัดหญ้าไม่ให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ดูแลต้นไม้ที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ชาวบ้านจะไม่ได้มาทำต่อเนื่อง แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีไฟไหม้ใหญ่อย่างปีนั้นอีก แม้กระนั้นก็ยังเกิดขึ้นแทบทุกปี จนเลือนหายไปราวๆ ๑๕ ปีหลังจากนั้น สาเหตุก็เพราะหลวงพ่อได้ชวนชาวบ้านมาสร้างกำแพงรอบวัด ขณะเดียวกันก็ปลูกป่าต่อเนื่องทุกปี จนต้นไม้ใหญ่คลุมพื้นที่ป่า ไม่เปิดช่องให้มีดงหญ้าหรือป่าพงดังแต่ก่อน

    เนื่องจากระยะหลังมีผู้หญิงมาปฏิบัติธรรมมากขึ้น หลวงพ่อจึงกำหนดเขตอุบาสิกาขึ้น พร้อมกับสร้างกุฏิในเขตนี้เพิ่มขึ้นสองสามหลัง ส่วนกุฏิหลังเดิม ซึ่งโดนต้นไม้ล้มทับ หลวงพ่อย้ายไม้ที่เหลือไปประกอบเป็นกุฏิหลังใหม่หลังหอไตร (กุฏิ ๑๑) บริเวณที่กำหนดเป็นเขตอุบาสิกานี้เคยพบรอยเก้งกวางมากินน้ำตรงขอบสระ แต่มาถึงตอนนี้รอยดังกล่าวหายไปแล้ว สันนิษฐานว่าเก้งกวางแตกตื่นหนีตอนไฟไหม้ใหญ่หน้าแล้ง

    ปีนี้หลวงพ่อไปจำพรรษาที่วัดภูเขาทอง เพราะเจ้าอาวาสที่นั่นลาสิกขา เป็นครั้งแรกในรอบห้าปีที่หลวงพ่อไปจำพรรษาที่นั่นอีกครั้ง ข้าพเจ้าจึงต้องกลายเป็นรักษาการเจ้าอาวาสสุคะโตไปโดยปริยาย เพราะพรรษามากที่สุดคือ ย่างสี่พรรษา ปีนี้มีพระจากโครงการ “บวชเพื่อสังคมและสันติภาพ” มาจำพรรษาที่สุคะโตเกือบ ๒๐ รูป เป็นพระหนุ่มส่วนใหญ่ กลางพรรษาเกิดความขัดแย้งระหว่างพระกลุ่มนี้กับพระและโยมที่มาอยู่ก่อน พระใหม่ประท้วงด้วยการย้ายไปอยู่วัดอื่นในละแวกนี้ ข้าพเจ้าต้องไปตามกลับมา และเจรจาจนพระเหล่านี้อยู่จนครบพรรษา นับเป็นช่วงที่วุ่นวายที่สุดช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังดีที่จบลงด้วยดีในที่สุด

    ดูเหมือนจะเป็นปีนี้ที่อิศรา (สุคงคารัตนกุล) ได้มาอยู่วัดป่าสุคะโต และเริ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กในหมู่บ้าน ช่วงนี้จึงมีเด็กๆ มาที่วัดมากขึ้น กิจกรรมส่วนใหญ่จัดขึ้นที่ศาลาหน้า โดยเฉพาะบริเวณใต้ถุน ซึ่งตอนนั้นยังเป็นพื้นที่โล่งๆ ไม่ได้เทปูนหรือมีเหล็กดัดล้อมรอบดังปัจจุบัน

    ปลายพรรษา มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในหมู่บ้าน นั่นคือ สายส่งไฟฟ้าได้ขยายมาถึง วัดจึงพลอยได้รับอานิสงส์ด้วย มีการต่อไฟฟ้ามายังศาลาหน้าและศาลาไก่ ทำให้การทำครัวสะดวกขึ้น รวมทั้งการทำกิจกรรมในวัด เช่น การแสดงธรรม และการสูบน้ำ แต่กุฏิส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งตะเกียงน้ำมันก๊าดกับเทียนเช่นเดิม

    ออกพรรษาแล้ว ข้าพเจ้าได้ย้ายมาอยู่กุฏิ ๗ ริมทางขึ้นหอไตร กุฏิหลังนี้สร้างเมื่อปี ๒๕๒๘ เดิมเจ้าของอยากให้เป็นกุฏิสำหรับพระที่อาพาธ แต่ตอนหลังกลายเป็นกุฏิของหลวงพ่ออาจ (ซึ่งเคยอยู่บ้านใหม่ไทยเจริญ) ต่อมาหลวงพ่ออาจย้ายไปอยู่กุฏิใกล้ศาลาไก่ (กุฏิของพระยูกิในปัจจุบัน) ข้าพเจ้าจึงย้ายมาอยู่แทน

    ปี ๒๕๓๐ มีการสร้างหอเก็บน้ำหน้าวัด โดยได้รับเงินบริจาคจากกลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่งจัดรายการ “ธรรมหรรษา” ทุกปี โดยพาสมาชิกจากที่ต่างๆ มาฟังธรรมและปฏิบัติธรรมครั้งละสองสามคืนทุกปี นำโดยคุณวุฒิชัย ทวีศักดิ์ศิริผล ประธานกลุ่ม กลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นกลุ่มแรกๆ ที่อุปถัมภ์วัดป่าสุคะโตอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๕ สมัยที่สุคะโตยังไม่เป็นที่รู้จัก (พระอาจารย์พยอม กลฺยาโณ ซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ก็มาฉายสไลด์และบรรยายธรรมให้ชาวบ้านได้หัวเราะด้วย)

    อย่างไรก็ตามกลางเมษายนปีนั้น คุณวุฒิชัยได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ญาติสนิทมิตรสหายอยากสร้างอนุสรณ์ให้กับคุณวุฒิชัยที่วัดป่าสุคะโต ศาลากลางสระน้ำจึงถือกำเนิดขึ้น โดยทางวัดซื้อบ้านเก่าของชาวบ้าน แล้วมาประกอบใหม่ ตอนนั้นสมชายได้ย้ายมามีครอบครัวที่บ้านใหม่ไทยเจริญ จึงเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างศาลาน้ำร่วมกับชาวบ้าน เริ่มสร้างเดือนสิงหาคม เสร็จก่อนออกพรรษา

    มีเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับศาลาน้ำ ตอนที่รื้อบ้านเก่าแล้วบรรทุกรถมาสุคะโตนั้น ปรากฏว่าถนนลื่นมากเนื่องจากฝนตก พอถึงเนินแถวบ้านวังเข้ รถบรรทุกขึ้นไม่ได้ ต้องรอให้ถนนแห้งก่อน ซึ่งก็หมายความว่ากว่าจะขับรถขึ้นเนินได้ก็ต้องวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างเร็ว แต่จะจอดรถไว้ข้างทางทั้งคืนก็ไม่ได้ เพราะเจ้าของต้องใช้รถ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขนไม้ลงจากรถ กองไว้ข้างทางตั้งแต่บ่ายแก่ๆ ปัญหาเกิดขึ้นตามมาคือ ถ้าไม่มีคนเฝ้าไม้ ไม้ที่กองไว้คงถูกคนขโมยไป ข้าพเจ้าจึงรับอาสาไปเฝ้าไม้จนเกือบค่ำ กลางคืนต้องปล่อยไม้ไว้อย่างนั้น เพราะหาคนมาเฝ้าแทนไม่ได้ โชคดีที่เมื่อมาขนไม้ขึ้นรถในวันรุ่งขึ้น ไม้ยังอยู่ครบ

    ปีนี้หลวงพ่อยังคงไปจำพรรษาที่วัดภูเขาทอง เพราะยังหาพระรูปอื่นมาเป็นหลักไม่ได้ ต่อเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อจึงกลับมายังสุคะโต แต่ก็ยังไปๆ มาๆ ระหว่างสุคะโตกับวัดภูเขาทองตลอดทั้งปี เป็นเช่นนี้จนถึงปี ๒๕๓๘ (ยกเว้นปี ๒๕๓๕ ที่ไปจำพรรษาวัดโมกขวนาราม และปี ๒๕๓๗ ไปจำพรรษาที่วัดจวงเหยิน สหรัฐอเมริกา) ข้าพเจ้าจึงรักษาการเจ้าอาวาสโดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษาติดต่อหลายปี รวมทั้งมีกิจต้องแสดงธรรมให้พระและโยมฟังทุกวันด้วยตลอดสามเดือน นับเป็นงานหนักมิใช่น้อยสำหรับพระพรรษาน้อยอย่างข้าพเจ้า แต่ก็เอาตัวรอดไปได้ทุกปี

    กลางปี ๒๕๓๑ อิศราตัดสินใจบวชพระ นอกจากนั้นยังมีหนุ่มญี่ปุ่นชื่อฮิเดยูกิ ซาคาโมโตะ มาบวชพระจำพรรษาด้วยกัน พร้อมๆ กับลูกชายหลวงพ่อ (อำนวย เหล่าชำนิ) ปีนี้มีพระจำพรรษารวมแล้วไม่เกิน ๑๐ รูป เช่นเดียวกับปีก่อนๆ (ยกเว้นปี ๒๕๒๘) ส่วนเณรซึ่งเดิมเคยมาจำพรรษาที่สุคะโตทุกปี (หรือไม่ก็มาอยู่นอกพรรษา) ก็เริ่มหดหายไป เพราะเด็กมาบวชเณรน้อยลง เนื่องจากเข้าถึงโรงเรียนได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยวัดเป็นช่องทางในการศึกษาต่อดังแต่ก่อน

    เช่นเดียวกับปีก่อนหน้านั้น เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็เหลือพระไม่กี่รูป แต่ที่ยืนพื้นคือหลวงพ่อคำเขียน หลวงพ่อเสถียร กับข้าพเจ้า (ภายหลังก็มีพระอิศรา สุวฒฺโน และพระยูกิ นรเทโว) ส่วนแม่ชีและฆราวาสก็มีไม่กี่คนเช่นกัน รวมแล้วก็ไม่เกิน ๑๐ ชีวิต บางช่วงก็มีอาคันตุกะมาพัก เป็นพระบ้าง ฆราวาสบ้าง ส่วนใหญ่อยู่ไม่กี่วัน และมากันไม่กี่คน ดังนั้นพวกเราจึงรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของอาคันตุกะแทบทุกคน หลังทำวัตรเย็นก็มีการสนทนากันตามสมควร

    พระอิศรา ยังคงทำกิจกรรมกับเด็กอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ที่ทางวัดเคยทำกับชาวบ้านก็ยุติไปแล้ว รวมทั้งการชักชวนชาวบ้านมาปลูกผักเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ อย่างไรก็ตาม สวนผลไม้ทั้งลำไยและลิ้นจี่ก็ยังมีอยู่ แต่เนื่องจากวัดไม่มีกำลังดูแล หลวงพ่อจึงชักชวนพ่อแม่ของโต๋ มาช่วยดูแลสวน โดยสร้างบ้านให้อยู่ใกล้ๆ กับสวนป่า ขณะเดียวกันก็ทำสวนทำไร่เลี้ยงตัวเองไปด้วย

    ขึ้นปี ๒๕๓๒ วัดกุดโง้งสร้างเสร็จ ชาวบ้านกุดโง้งจึงไม่มาทำบุญและจำศีลที่วัดป่าสุคะโตอีกต่อไป แต่พระสุคะโตก็ยังคงไปบิณฑบาตที่บ้านกุดโง้งต่อไปดังเดิม ส่วนบ้านใหม่ก็ต้องหาทายกวัดคนใหม่มาแทนพ่อเจียม ซึ่งผันตัวไปเป็นทายกวัดกุดโง้งเพราะเป็นคนบ้านกุดโง้ง

    ช่วงนี้พระอาจารย์ชาลส์ นิโรโธ ซึ่งเคยเป็นพระปัจฉาสมณะ ติดตามหลวงพ่อเทียน ได้มาพำนักที่สุคะโตบ่อยขึ้น เนื่องจากหลวงพ่อเทียนได้มรณภาพแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ มาแต่ละครั้งท่านอยู่ค่อนข้างนาน สถานที่ที่ท่านชอบมาพำนักคือศาลาน้ำ แต่ท่านไม่เคยมาจำพรรษาที่สุคะโต ท่านว่ามีปัญหาหัวเข่า ไปนั่งทำวัตรสวดมนต์ลำบาก ในปีนี้เองท่านไปจำพรรษาที่ภูหลง ซึ่งตอนนี้มีหลวงพ่อณรงค์เป็นหลัก ส่วนท่านอาวุธได้ลาสิกขาไปแล้ว

    ช่วงไหนที่ท่านชาลส์ ไม่มาพำนักที่ศาลาน้ำ ข้าพเจ้าก็มาอยู่แทน แต่อยู่เฉพาะช่วงเช้ากับบ่าย เพื่อมาทำงานเขียนหนังสือ นับเป็นจุดที่เหมาะมาก เพราะโปร่งโล่ง ไม่มียุงมากวน ส่วนแขกนั้นไม่ต้องพูดถึง มีน้อยมาก หน้าฝนจะมีปลาจีนตัวใหญ่หลายตัวแหวกว่ายมากรายใกล้ ปลาเหล่านี้รวมทั้งปลาชนิดอื่นด้วย เป็นที่หมายปองของชาวบ้านหลายคน บางคนก็มาวางเบ็ดราวตอนกลางคืนแล้วมาเก็บกู้ตอนเช้ามืด บ้างก็มาวางไซ ช่วงไหนที่มีคนมาลักจับปลากันมาก ข้าพเจ้าและเพื่อนพระจะมาตรวจตราตอนเช้ามืดหรือกลางดึก มีคืนหนึ่งเห็นคนมาลักจับปลา จึงตรงไปหา หมายจะจับให้ได้คาหนังคาเขา แต่เขารู้ทันรีบขึ้นจากน้ำ และวิ่งหนีโดยนุ่งกางเกงในตัวเดียว ดีแล้วที่ข้าพเจ้าไม่เห็นหน้า หาไม่คงเป็นเรื่องยาว เพราะดูจากข้างหลังก็รู้ว่าเป็นครูคนหนึ่งในหมู่บ้านที่คุ้นเคยกันอยู่

    ช่วงเดียวกันนี้สังเกตว่าปลาหลายตัว รวมทั้งปลาจีน มีแผลตามตัว เดาว่าคงเป็นเพราะสารพิษในน้ำที่มาจากไร่ของชาวบ้าน ระยะหลังชาวบ้านใช้สารเคมีมากขึ้นทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เวลาฝนตกสารพิษเหล่านี้คงถูกชะลงลำห้วยแล้วไหลสู่สระน้ำของวัด ปัญหาอย่างนี้แก้ได้อย่างเดียวคือควบคุมไม่ให้น้ำจากไร่ชาวบ้านไหลเข้าสระวัด โดยเฉพาะหน้าแล้ง ต่อเมื่อหน้าฝนมาถึง ปัญหาปลามีแผลก็ค่อยบรรเทาลง

    ออกพรรษา พระก็เหลือน้อยเช่นเคย เป็นช่วงที่วัดมีบรรยากาศที่สงบสงัดมาก ช่วงต้นฤดูหนาวคือเดือนพฤศจิกายน อากาศเย็นสบาย ขณะที่รอบตัวยังเขียวขจี แมลงก็ไม่ค่อยรบกวนแล้ว พระบางรูป เช่น หลวงพ่อจรัล นิยมมาเก็บอารมณ์ที่สุคะโตช่วงนี้ แต่พอเข้าเดือนธันวาคม ใบไม้จะร่วงเยอะมาก การกวาดใบไม้บริเวณหน้าศาลาไก่หรือศาลาหน้า ถ้าทำคนเดียว ต้องใช้เวลาไม่น้อย ครั้นถึงเดือนมีนาคม ก็ต้องระมัดระวังไฟป่า ซึ่งมักเข้ามาทุกปี โดยเฉพาะจากด้านทิศใต้หรือหลังหอไตร ยังไม่ต้องพูดถึงการจัดการกับคนที่มาลักลอบล่าสัตว์ ตัดไม้ ตัดสมุนไพร และตีผึ้ง (ซึ่งบางครั้งเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ป่าเพราะใช้ไฟไล่ผึ้ง)

    ระยะนี้เริ่มมีชาวต่างชาติมาปฏิบัติธรรมที่วัดมากขึ้น บางคนบางคณะมาเป็นเดือน กลุ่มที่มาต่อเนื่องกันหลายปี เป็นชาวสิงคโปร์ ซึ่งเคยปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเทียนเมื่อครั้งที่ท่านไปสอนธรรมที่นั่น เช่น มิสเตอร์หว่อง มิสกี และเจมส์ สองคนแรกนั้นอายุมากกว่า ๖๐ ปี แม้รู้ว่าชีวิตที่สุคะโตค่อนข้างลำบาก แต่ก็ยินดีมาปฏิบัติเพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อคำเขียน ชาวสิงคโปร์กลุ่มนี้จะมาช่วงหน้าหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่วัดมีคนไม่มาก บรรยากาศสงบสงัด นักปฏิบัติกลุ่มนี้ได้อาศัยท่านชาลส์ เป็นล่าม (ก่อนจะมาไทยจึงมีการนัดหมายล่วงหน้ากับท่านชาลส์) ตอนหลังก็มีหมอไทยจากอเมริกามาปฏิบัติ เช่น หมอพงษ์ศักดิ์ ซึ่งอายุมากแล้ว และเป็นหมอใหญ่ที่นั่น แต่มีใจใฝ่ในการปฏิบัติมาก การละชีวิตที่สะดวกสบาย มาพักอยู่ในกุฏิเล็กๆ เก่าๆ ของวัดป่าสุคะโต โดยไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ เลย ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับท่าน แต่ท่านก็อยู่ได้โดยไม่ปริปากบ่นแต่อย่างใด
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (cont)
    ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

    ปี ๒๕๓๓ มีการสร้างสะพานคอนกรีตข้ามลำปะทาวตรงบ้านกุดโง้ง ทำให้การเดินทางมาวัดป่าสุคะโตสะดวกขึ้น ไม่ต้องนั่งรถมาลงที่บ้านกุดโง้ง แล้วข้ามสะพานไม้หรือลุยน้ำข้ามลำปะทาว ดังแต่ก่อน อีกทั้งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการขับรถมาทางด้านหลังวัดโดยผ่านป่าสักบ้านท่ามะไฟหวาน ซึ่งบางครั้งก็เจอน้ำท่วมสะพาน หรือสะพานขาด จนข้ามมาไม่ได้

    ในปีนั้นเกิดเหตุสำคัญกล่าวคือ หลวงพ่อบุญธรรม ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวัดเกิดความเข้าใจผิดในตัวหลวงพ่อคำเขียน ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน และแสดงทีท่าว่าจะเอาวัดคืน ทั้งนี้โดยมีชาวบ้านใหม่ส่วนหนึ่งสนับสนุน ท่านกับพระอีกรูปซึ่งรู้จักมักคุ้นกับหลวงพ่อคำเขียนดีสมัยที่บวชปฏิบัติกับหลวงพ่อเทียนที่วัดป่าพุทธยาน แจ้งว่าจะมาจำพรรษาที่สุคะโต หลวงพ่อกับข้าพเจ้าใคร่ครวญดูแล้ว เห็นว่าหากเราทั้งสองอยู่จำพรรษาที่สุคะโตด้วย จะต้องเกิดเรื่องวุ่นวาย ทั้งพระและโยมเห็นจะอยู่ไม่เป็นสุข และอาจเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกัน จึงตัดสินใจแยกย้ายกันไปอยู่ที่อื่น เพื่อตัดปัญหา ลึกๆ ข้าพเจ้าก็เชื่อว่าทั้งสองท่านคงจะอยู่สุคะโตได้ไม่นาน ในที่สุดก็ย่อมแพ้ภัยตัวเอง

    ปีนั้นหลวงพ่อจึงไปจำพรรษาที่วัดภูเขาทอง ส่วนข้าพเจ้าไปจำพรรษาที่วัดป่ามหาวัน หรือภูหลง เมื่อหลวงพ่อเสถียรทราบ ก็ตามไปภูหลงด้วย เช่นเดียวกับพระนวกะที่เพิ่งบวช (พระปริมาตร) สำหรับพระอิศรา ย้ายไปวัดภูเขาทอง เพราะมีงานเกี่ยวกับเยาวชนติดพันอยู่ ส่วนพระยูกิยังอยู่สุคะโต แต่พรรษาต่อๆ มา ได้ย้ายไปวัดท่าทางเกวียน

    สุคะโตกลางปีนั้น จึงมีพระแค่ไม่กี่รูป คือหลวงพ่อบุญธรรมกับพระมหาบัวทอง ซึ่งปักหลักอยู่ที่ศาลาหน้า ส่วนพระยูกิ อยู่ด้านในเป็นหลัก ในปี ๒๕๓๔ มีพระสมนึกมาจำพรรษาด้วย ตอนหลังท่านมีปัญหากับหลวงพ่อบุญธรรมและคณะ จึงแยกไปอยู่ที่ศาลาไก่ โดยมีพระอาจารย์ชาลส์มาร่วมสมทบด้วยในช่วงเข้าพรรษา นับแต่นั้นมาสุคะโตก็แยกออกเป็นสองส่วนราวกับสองวัด คือด้านหน้าเป็นของหลวงพ่อบุญธรรม ด้านหลังเป็นของลูกศิษย์หลวงพ่อคำเขียน ได้แก่ พระอาจารย์ชาลส์ พระยูกิ และท่านสมนึก ชาวบ้านใหม่ก็พลอยแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งไปทำบุญที่ศาลาหน้า อีกกลุ่มหนึ่งไปทำบุญที่ศาลาไก่

    ในช่วงนี้เองที่ธรรมชาติภายในวัดถูกทำลายอย่างหนัก เพราะไม่มีคนสนใจเฝ้าระวังการล่าสัตว์และตัดไม้ แถมยังมีการปล่อยให้ชาวบ้านมาจับปลาในสระน้ำอย่างสะดวกสบาย นัยว่าเพื่อหวังดึงชาวบ้านมาเป็นพวก ปลาจีนซึ่งเคยมีมากมาย จึงหายไปจากสระน้ำนับแต่นั้น

    ปี ๒๕๓๖ ชาวบ้านใหม่จำนวนมาก ทนไม่ได้กับพฤติกรรมของหลวงพ่อบุญธรรมและคณะ หลังจากที่อดกลั้นมานาน ในที่สุดก็รวมกลุ่มกันขับไล่ท่านและคณะออกจากวัด มีการชุมนุมหน้าศาลาหน้า และขว้างปาก้อนหิน จนกระจกแตกไปหลายบาน สุดท้ายหลวงพ่อบุญธรรมและคณะก็ต้องอพยพหนีจากวัดไปตั้งแต่ก่อนเข้าพรรษา เมื่อนายอำเภอ (และผู้ว่าราชการจังหวัด) ทราบเรื่องก็มีคำสั่งว่าในพรรษานั้นให้วัดป่าสุคะโตว่างเว้นพระไปก่อน ต่อเมื่อขึ้นปีใหม่จึงให้พระกลุ่มเดิมกลับมาดูแลวัด

    เป็นเวลา ๗-๘ เดือนที่วัดป่าสุคะโตร้างผู้คน การลักลอบจับปลา ฆ่าสัตว์ ตัดไม้ จึงเกิดขึ้นอย่างมิอาจควบคุมหรือห้ามปรามได้ สร้างความเสียหายซ้ำเติมแก่สภาพธรรมชาติ แต่ยังดีที่ช่วงนั้นไม่มีไฟไหม้ป่าที่รุนแรง

    ช่วงสามปีนั้นข้าพเจ้ากลับไปสุคะโตแค่ครั้งเดียว คือหลังจากออกพรรษาปี ๒๕๓๓ ได้แวะไปนอนที่นั่นหนึ่งคืน หลวงพ่อบุญธรรมทีแรกตกใจ นึกว่าข้าพเจ้าจะมายึดวัดคืน ชาวบ้านที่อยู่ฝ่ายหลวงพ่อบุญธรรมหลายคนออกมาที่วัดและต่อว่าข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็นิ่งเฉย วันรุ่งขึ้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ

    ระหว่างนั้นชาวบ้านใหม่ยกพวกขึ้นไปเยี่ยมข้าพเจ้าและหลวงพ่อเสถียรหลายครั้ง ส่วนใหญ่เป็นแม่ออกที่เคยมาวัดเป็นประจำ เช่น แม่เพียร แม่มะลิ และแม่อ้วน พากันเรียกร้องให้พวกเรากลับไปสุคะโต อย่างไรก็ตามการจะกลับไปฟื้นสุคะโตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากหลวงพ่อบุญธรรมและคณะยังอยู่ ก็คงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ประกอบกับข้าพเจ้าเองต้องดูแลภูหลงด้วย เพราะตอนนั้นเริ่มมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนัก อีกทั้งพระก็มีน้อย นอกจากข้าพเจ้าแล้วก็มีหลวงพ่อเสถียร และพระเอ (สถาพร อรัณยกานนท์ ซึ่งอยู่ภูหลงตั้งแต่ปี ๒๕๓๒) เท่านั้นที่เป็นหลัก

    ฟื้นสุคะโต

    ๗ เดือนหลังจากที่สุคะโตร้างผู้คน ต้นปี ๒๕๓๗ การฟื้นสุคะโตก็เริ่มขึ้น แต่เป็นไปอย่างช้าๆ มาฆบูชาปีนั้น (๒๖ กุมภาพันธ์) พวกเรานัดกันไปจัดงานปฏิบัติธรรมและเวียนเทียนที่สุคะโต หลวงพ่อมาเป็นประธาน ในงานนี้ได้อาศัยเพื่อนๆ จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี โดยการนำของต้อม (สุภาภรณ์ ปิติพร) มาช่วยทำความสะอาดศาลาหน้าและบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะถูกปล่อยทิ้งไปนาน

    เสร็จงานผู้คนก็แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง ข้าพเจ้าและเพื่อนพระกลับภูหลง เพราะมีงานเฝ้าระวังไฟป่าอยู่ ดังนั้นจึงยังไม่มีใครมาอยู่สุคะโต จนกระทั่งกลางเดือนมีนาคม ข้าพเจ้าก็กลับมาที่สุคะโตอีกครั้ง คราวนี้อยู่หลายวัน ตอนนั้นทั้งวัดมีพระแค่สองรูป คือข้าพเจ้ากับพระสมเดช ท่านหลังนั้นเป็นอดีตมหาเปรียญและทนายความ ซึ่งคุ้นเคยกับสุคะโตอยู่หลายปีก่อนจะกลับมาบวชใหม่ ข้าพเจ้าเลือกศาลาน้ำเป็นที่พัก เพราะเป็นชัยภูมิที่ดี อีกอย่างตอนนั้นจะเลือกอยู่ที่ไหนก็ได้ตามสบายเพราะมีกันแค่สองชีวิต

    เมื่อข้าพเจ้ากลับภูหลง ท่านสมเดชก็อยู่โยงที่สุคะโต จึงมีชาวบ้านมาถวายจังหันเป็นประจำ ดูเหมือนจะเป็นท่านสมเดชที่ริเริ่มธรรมเนียมสวดมนต์ย่อก่อนฉันเช้า ซึ่งทำสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้

    พรรษาปี ๒๕๓๗ ข้าพเจ้าย้ายมาอยู่ที่สุคะโต มีพระมาจำพรรษาอีกห้ารูป รวมทั้งท่านสุรทัต (ซึ่งมาร่วมงานวันมาฆบูชาด้วย) กับเณรอีกหนึ่งรูป การที่มีพระมาอยู่ประจำ ทำให้สุคะโตค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ฆราวาสก็เริ่มแวะเวียน เยี่ยมเยียน และมาปฏิบัติธรรมที่สุคะโตกันมากขึ้น

    ปี ๒๕๓๘ ข้าพเจ้ายังคงอยู่ที่สุคะโตเป็นหลัก ส่วนที่ภูหลง หลวงพ่อพิมกับท่านวรเทพช่วยดูแลอยู่ โดยทั่วไปสุคะโตมีบรรยากาศไม่ต่างจากช่วงก่อนปี ๒๕๓๓ คือมีพระจำพรรษาไม่เกิน ๑๐ รูป นอกพรรษาก็มีพระเหลือไม่กี่รูป นอกจากข้าพเจ้าก็มีท่านสุรทัตเท่านั้น (ท่านยูกิไปมาระหว่างสุคะโตกับญี่ปุ่น) ส่วนหลวงพ่อคำเขียนอยู่วัดภูเขาทองเป็นหลัก

    ปีนั้นมีโยมผู้หญิงคนหนึ่งป่วยเป็นมะเร็ง มาขออยู่ที่สุคะโต สามีซึ่งเป็นทหารยศพันโทขอสร้างกุฏิริมสระน้ำให้ภรรยาอยู่เป็นการเฉพาะ หลวงพ่ออนุญาต นับเป็นกุฏิหลังแรกที่เจ้าภาพสร้างเพื่ออยู่เอง ต่างจากกุฏิก่อนหน้านั้นที่เจ้าภาพสร้างขึ้นแล้วถวายวัด ใครจะมาอยู่ก็แล้วแต่ทางวัดจะจัดการ สองสามปีต่อมาโยมผู้นี้ก็เสียชีวิตที่วัด และมีการฌาปนกิจศพที่วัด กุฏิหลังนี้ต่อมาเรียกว่า “กุฏิคุณนายผู้พัน”

    ปี ๒๕๓๙ ข้าพเจ้าต้องไปจำพรรษาที่ภูหลง เพื่อสะสางปัญหาบางอย่างที่นั่น ท่านวรเทพย้ายไปอยู่ที่อื่น คงเหลือแต่หลวงพ่อพิม นับแต่นั้นข้าพเจ้าก็กลับไปอยู่ภูหลงเป็นหลัก โดยจำพรรษาสลับปีเว้นปีระหว่างภูหลงกับสุคะโต ส่วนหลวงพ่อคำเขียน ได้กลับมาดูแลสุคะโตมากขึ้น แม้ท่านจะเดินเรื่องให้ข้าพเจ้าเป็นเจ้าอาวาสสุคะโต แต่ในทางปฏิบัติหลวงพ่อคือเจ้าอาวาสตัวจริง

    ช่วงฟื้นฟูสุคะโต พระที่อยู่ประจำ คือ ท่านสุรทัต ไม่กี่ปีต่อมาท่านวรเทพก็มาสมทบ ทั้งสองท่านสนิทสนมกันดี นอกจากสนใจการภาวนาแล้ว ยังมีฉันทะในการจัดสอนภาวนา ดังนั้นสุคะโตจึงเริ่มมีการจัดปฏิบัติธรรมให้กับนักเรียน และภายหลังก็ขยายไปยังผู้ใหญ่ด้วย
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (cont.)
    สถาบันสติปัฏฐาน

    สุคะโตนับแต่ช่วงนี้ไปมีการจัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น เพราะพระหลายท่านมีฉันทะในด้านนี้ จากเดิมที่จัดให้แก่นักเรียนก็ขยายให้แก่คนทั่วไป กำลังหลักด้านนี้ได้แก่ ท่านสุรทัต ท่านวรเทพ ตอนหลังก็มีท่านทรงศิลป์ ซึ่งบวชปี ๒๕๔๒ มาร่วมด้วย เช่นเดียวกับท่านวัฒนชัย ซึ่งมาสมทบภายหลัง

    ปี ๒๕๔๒ อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ได้ย้ายมาอยู่สุคะโตพร้อมกับคุณพ่อ เดิมท่านอยู่นครสวรรค์ แต่ภายหลังมีฉันทะในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นจนเห็นผล ความทุกข์ลดลงมาก จึงอยากปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง หลวงพ่อคำเขียนจึงชวนมาอยู่ที่สุคะโต โดยพักที่กุฏิ ๑๖ ภายหลังก็ย้ายมาอยู่กุฏิใหม่ใกล้ซุ้มประตูสุญญตา ซึ่งมีความกว้างขวางและสะดวกกว่าเดิม ระยะหลังกุฏินี้ได้ต้อนรับผู้คนจำนวนมากที่มาขอคำปรึกษาจากท่านทั้งเรื่องชีวิตและการปฏิบัติธรรม แต่ภายหลังท่านก็ย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยได้รับความดูแลอย่างดีจากชมรมเพื่อนคุณธรรม นอกจากให้ที่พักที่สะดวกสบายแล้ว ยังช่วยเผยแพร่คำสอนของท่านทั้งในรูปหนังสือ ซีดี และผ่านรายการวิทยุ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน

    ปี ๒๕๔๓ เริ่มมีการจัดปฏิบัติธรรมประจำเดือน ครั้งละ ๗ วัน โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบุรีรัมย์มารับการอบรมเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมดังกล่าวทำให้มีคนมาวัดมากขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างกุฏิที่พักเพิ่มขึ้น สวนพุทธเกษตรซึ่งเคยมีแต่ต้นไม้ ก็เริ่มมีกุฏิผุดขึ้นมาทีละหลังสองหลัง ขณะเดียวกันศาลาหน้าซึ่งเดิมด้านล่างเป็นพื้นโล่งๆ ก็ต่อเติมดัดแปลงให้เป็นห้องโถง ที่เคยฉันบนศาลา ก็ย้ายลงมาฉันข้างล่าง และใช้ทำกิจต่างๆ เช่น ทำวัตรสวดมนต์ ในวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้ง ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หรือถวายสังฆทาน ส่วนห้องครัวก็มีการขยายให้ใหญ่ขึ้นและยกใต้ถุนสูงในอีกหลายปีถัดมา

    กล่าวได้ว่าความเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของวัดป่าสุคะโตเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและต่อเนื่องนับแต่ช่วงนี้ไป นอกจากกุฏิเสนาสนะที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการตัดถนนรอบวัด รวมทั้งเชื่อมส่วนต่างๆ ภายในวัด เพื่อขยายพื้นที่ใช้สอย มีการสร้างกุฏิพระหลายหลังกระจายไปตามถนนดังกล่าว รวมทั้งจัดทำฌาปนสถานใกล้กำแพงด้านทิศตะวันตก ถนนเหล่านี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการปลูกต้นไม้ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นงานที่หลวงพ่อให้ความสำคัญมาก ในด้านหนึ่งสุคะโตมีสิ่งปลูกสร้างมากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งป่าก็หนาแน่นขึ้น เพราะไฟป่าไม่มารังควานเหมือนก่อนเนื่องจากมีกำแพงล้อมรอบ ขณะเดียวกันก็มีการปลูกป่าช่วงหน้าฝนอย่างต่อเนื่องจนเต็มพื้นที่ สุคะโตจึงกลับมามีป่าเขียวครึ้ม แม้ไม่มีไม้ใหญ่มากและหลากหลายดังแต่ก่อนก็ตาม

    นับแต่ปี ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน สุคะโตมีการปฏิบัติธรรมประจำเดือนตลอดทั้งปี กลายเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมเต็มรูปแบบ โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า สถาบันสติปัฏฐาน แม้ว่าในเวลาต่อมาท่านสุรทัตและท่านวรเทพจะไม่ได้เป็นหลัก เพราะท่านหนึ่งสึกหาลาเพศ อีกท่านหนึ่งก็มรณภาพ แต่ก็ยังมีท่านทรงศิลป์เป็นหลักอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีพระรูปอื่นๆ มาร่วมคณะด้วย ส่วนผู้ที่มาปฏิบัตินอกคอร์สประจำเดือน ก็ได้ท่านวัฒนชัยมาช่วยสอน และภายหลังก็มีอีกหลายท่านมาช่วยสอนด้วย

    กลางพรรษาปี ๒๕๔๔ หลวงพ่อเห็นควรให้ย้ายหอไตรลงมายังตำแหน่งปัจจุบัน เนื่องจากศาลาไก่ซึ่งเคยใช้ทำวัตรเช้าและเย็นมาโดยตลอด ตอนนี้เล็กเกินไปแล้วสำหรับชาววัดที่มาอยู่ประจำ ไม่นับผู้ปฏิบัติธรรมหรืออาคันตุกะซึ่งบางครั้งมาเป็นคณะใหญ่ แต่ผ่านไปไม่กี่ปี ก็ต้องขยายหอไตรให้กว้างขึ้นอีก หลังจากนั้นมีการขยายหอไตรอีกสองครั้ง ส่วนศาลาหน้าก็มีการต่อเติมเป็นระยะๆ อาทิ การกั้นห้องบนชั้นสอง ล่าสุดคือการสร้างห้องคอมพิวเตอร์

    ดูเหมือนจะเป็นปี ๒๕๔๕ ที่หลวงพ่อชักชวนชาวบ้านมาสร้างกำแพงล้อมรอบวัด นับเป็นงานก่อสร้างที่ใหญ่สุดที่ทางวัดเคยทำมา ชาวบ้านรวมกันเป็นกลุ่มๆ และรับเหมาก่อกำแพงเป็นบล็อกๆ ในราคาที่ไม่สูงนัก แต่รวมแล้วก็เป็นจำนวนเงินหลายแสนบาทหรือเหยียบล้าน ใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จ โครงการนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วยป้องกันไม่ให้ไฟจากข้างนอกลามเข้ามาในวัด ไฟป่าที่เคยเกิดขึ้นทุกปีเมื่อถึงหน้าแล้ง ก็มาคุกคามน้อยลง ขณะเดียวกันการลักลอบฆ่าสัตว์ ตัดไม้ และตัดสมุนไพรก็ลดน้อยลงไปมากเช่นกัน

    ราวปี ๒๕๔๗ มีการขุดลอกสระขนานใหญ่และเสริมขอบสระให้สูงขึ้น รวมทั้งตัดถนนรอบสระเพื่อให้รถแล่นได้รอบ ภูมิทัศน์รอบสระโดยเฉพาะด้านทิศใต้จึงเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ทำให้การสัญจรภายในวัดสะดวกขึ้น ปีถัดมามีการสร้างลานหินโค้งขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนที่มาเดินจงกรมได้นับร้อย สำหรับพระประธานที่ลานหินโค้งนั้นชะลอมาจากลานข้างศาลาไก่ ซึ่งอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์และมิตรสหาย ได้นำมาถวายเมื่อปี ๒๕๔๓ ส่วนธรรมจักรนั้นได้นำมาประดิษฐานเมื่อปี ๒๕๕๒ หลวงพ่อตั้งใจให้ใต้ฐานธรรมจักรเป็นที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อเทียนและพระในวัด รวมทั้งอัฐิของท่านเองด้วย (ปัจจุบันนอกจากอัฐิของหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียนแล้ว ยังมีอัฐิของท่านวรเทพ หลวงพ่อเสถียร หลวงพ่อกรม และอาจารย์กำพลด้วย)

    ปี ๒๕๔๙ หลวงพ่อล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง แต่ไหนแต่ไรมา หลวงพ่อมีสุขภาพดีมาก ไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อเลยก็ว่าได้ แต่ปีนี้ท่านถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนานนับเดือน แม้ออกจากโรงพยาบาล แล้วร่างกายท่านก็ไม่เหมือนเดิม จึงมีการสร้างกุฏิใหม่ซึ่งกว้างขวางและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย ก่อนหน้านี้มีการสร้างกุฏิให้แก่หลวงพ่อเป็นช่วงๆ แต่ท่านก็ไม่ค่อยอยู่ประจำ ท่านพอใจนอนในป่าหรือใต้ต้นไม้มากกว่า (ช่วง ๑๒ ปีแรกที่ข้าพเจ้ามาอยู่สุคะโต หลวงพ่อไม่เคยมีกุฏิส่วนตัวเลย แต่เปลี่ยนที่จำวัดไปเรื่อยๆ ในบริเวณวัด) แต่หลังจากที่ท่านอาพาธ ก็ใช้กุฏิใหม่หลังนี้เป็นที่จำวัดอย่างต่อเนื่อง

    ปี ๒๕๕๔ ศาลาไก่ถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารสามชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่พักของพระอาคันตุกะและผู้ปฏิบัติธรรม สามปีต่อมา มีการเทปูนถนนรอบสระ รวมทั้งถนนภายในวัดที่เชื่อมระหว่างศาลาหน้า หอไตร ลานหินโค้ง และศาลาไก่

    เมื่อสุคะโตไร้หลวงพ่อคำเขียน

    ปี ๒๕๕๗ เหตุการณ์ที่หลายคนหวั่นวิตกก็ได้เกิดขึ้น หลวงพ่อคำเขียน ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งครั้งที่สองตั้งแต่ต้นปี และกลับมาพักรักษาตัวที่สุคะโตนับแต่เดือนมิถุนายน ได้ถึงแก่มรณภาพวันที่ ๒๓ สิงหาคม นับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดนับแต่สร้างวัดมา ในประวัติศาสตร์ของสุคะโตไม่มีใครที่มีบทบาทสำคัญเท่าหลวงพ่อ ท่านเป็นเสมือนจิตวิญญาณของสุคะโต เป็นทั้งศูนย์รวมใจและที่พึ่งทางใจของชาววัด การละสังขารของท่านนับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญที่ไม่มีอะไรจะมาทดแทนได้ หลายสิบปีที่ผ่านมาหลวงพ่ออยู่คู่กับสุคะโตแทบจะโดยตลอด อย่างน้อยก็ในความรู้สึกของผู้คน เมื่อมาถึงวันหนึ่งที่สุคะโตไม่มีหลวงพ่อแล้ว หลายคนย่อมรู้สึกเคว้งคว้างและทำใจได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเอาเลย

    อย่างไรก็ตามในแง่ของการบริหารวัด หลวงพ่อซึ่งเคยเป็นหลักมาตลอด ได้ค่อยๆ วางมือมานานก่อนที่จะมรณภาพ โดยเฉพาะนับแต่ล้มป่วยด้วยมะเร็งครั้งแรก ท่านเริ่มแสดงธรรมน้อยลง และให้ลูกศิษย์แสดงธรรมมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ท่านแสดงธรรมหลังทำวัตรเช้า ส่วนหลังทำวัตรเย็น หากข้าพเจ้าอยู่ ก็มีหน้าที่แสดงธรรม มีบางพรรษาที่ข้าพเจ้าต้องแสดงธรรมทั้งเช้าและเย็นตลอดทั้งพรรษา ส่วนการงานภายในวัด ท่านมอบหมายให้ลูกศิษย์ตัดสินใจมากขึ้น บางครั้งก็มีการประชุมและตัดสินใจร่วมกัน หลังจากที่ท่านมรณภาพ การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆ ของวัด ทำโดยอาศัยความเห็นพ้องต้องกันของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยพระ แม่ชี และฆราวาส

    ๕ ปีหลังจากการมรณภาพของหลวงพ่อคำเขียน สุคะโตก็มีอายุครบ ๕๐ ปี แม้จะเปลี่ยนไปจากปีแรกๆ ที่หลวงพ่อมาอยู่ แต่ก็ยังคงดำเนินตามแนวทางที่หลวงพ่อได้วางไว้ และยังคงสืบสานปณิธานที่หลวงพ่อปรารถนาให้วัดป่าสุคะโตเป็นสถานปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะการเจริญสติและทำความรู้สึกตัว ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ท่ามกลางแมกไม้อันร่มรื่น และด้วยสำนึกในคุณค่าของธรรมชาติ

    เมื่อหลวงพ่อคำเขียนตัดสินใจมาปักหลักที่วัดป่าสุคะโตเมื่อเกือบ ๕๐ ปีที่แล้ว ท่านตั้งใจเผยแผ่ธรรมให้แก่ชาวบ้านบนป่าเขาเป็นสำคัญ เพราะท่านเห็นว่าคนเหล่านี้อยู่ห่างวัดห่างพระ ไม่เหมือนคนในเมือง ซึ่งมีโอกาสฟังธรรมได้มากกว่า ประสบการณ์จากการติดตามหลวงพ่อเทียนไปสอนธรรมแก่คนในเมืองทั้งที่ขอนแก่น (วัดโมกขวนาราม) และกรุงเทพฯ (วัดสนามใน) ทำให้ท่านพบว่าคนเมืองมีความสนใจธรรม หันมาปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น ท่านจึงอยากให้โอกาสดีๆ เช่นนี้เกิดขึ้นกับคนชนบทโดยเฉพาะในป่าเขาบ้าง ตอนที่ท่านตัดสินใจมาอยู่ที่สุคะโตนั้น หลวงพ่อเทียนไม่เห็นด้วยเลย แต่หลวงพ่อคำเขียนก็ยังยืนยันที่จะทำตามความคิดของท่าน และเมื่อท่านมาอยู่ที่นี่ ท่านก็ได้ช่วยเหลือชาวบ้านมากมาย ทำให้เขามีที่พึ่งทางใจ และได้เข้าใกล้ธรรมมากขึ้น

    แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านอาจไม่คาดคิดมาก่อนเลยก็คือ ในเวลาต่อมาคนเมืองจำนวนไม่น้อยพากันดั้นด้นขึ้นเขามาเรียนธรรมจากท่านด้วย และกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่มาปฏิบัติธรรมกับท่านที่สุคะโต แม้สุคะโตจะอยู่ไกล เดินทางมาไม่ใช่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อ ๓๐ ปีก่อน แต่ความสงบร่มรื่นเพราะแวดล้อมด้วยต้นไม้ ปกคลุมด้วยป่า เป็นสิ่งดึงดูดใจคนเมืองที่จิตใจรุ่มร้อนแห้งผาก ให้เดินทางไกลมาเพื่อแสวงหาความสงบเย็นในร่มธรรม

    ทั้งหมดนี้พิสูจน์ว่าสิ่งที่หลวงพ่อคำเขียนได้ลงทุนลงแรงไปนั้นไม่เสียเปล่า หากก่อประโยชน์ให้แก่ผู้คนมากมาย ข้าพเจ้าเชื่อว่า หาก ๕๐ ปีข้างหน้า สุคะโตยังดำเนินตามแนวทางที่หลวงพ่อได้วางไว้และได้ทำเป็นแบบอย่าง ก็จะก่อคุณูปการมากมายแก่พระพุทธศาสนาและเพื่อนมนุษย์อย่างแน่นอน
    ................ RoseUnderline.gif
    :- https://visalo.org/article/sukato.html
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    โชคดีที่เราไม่ทุกข์เท่าเขา / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล..วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖

    zen sukato
    Jul 3, 2023
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เวลาใดเหมาะกับการปฎิบัติธรรม / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 4, 2023
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ใจสุขสบาย กายคลายปวด / หลวงพ่อไพศาล วิสาโล

    zen sukato
    Jul 4, 2023
     

แชร์หน้านี้

Loading...