พุทธทำนายปลอม ? (หรือเปล่า)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 21 มีนาคม 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ท่านจิตโต เทศน์เรื่องอย<wbr>่าประมาทในการทำความดี (26/09/2553)

    "..เธอจำคำพูดของฉันไว้อย่างนึงนะ
    กาลสมัยช่วงเวลานี้เป็นต้นไป ความประมาทจะเป็นเหตุแห่งความฉิบหายของคนจำนวนมาก เรากล่าวว่า กาลเวลาของความวุ่นวาย และสิ่งที่เกิดความฉิบหายของมนุษย์ มันเป็นกาลเวลาที่ถึง...แล้ว ผู้ที่ประมาทในการทำความดี ประมาทในการสำรวมระวัง ในเรื่องของจิตใจของเธอเอง วาจาของเธอเอง การกระทำของเธอเอง คนนั้นแหละจะถึงความฉิบหายจากคว<wbr>ามดี แล้วการจะกลับมาสู่ความดีเป็นขอ<wbr>งยากนัก เพราะว่าวิบากแห่งกรรมความชั่วม<wbr>ันมีกำลังสูง เหมือนกับเงาที่มันหนาแน่น มันพร้อมจะทับเราปิดความสว่างไส<wbr>วในใจของเราเมื่อไหร่ก็ได้เสมอ อย่าพลั้งเผลอว่าบุญกุศลว่าเราท<wbr>ำมาแค่นี้มากเหลือเกินเราทำนี้ม<wbr>ันบุญใหญ่มาพอแล้วเราไม่ต้องทำม<wbr>ากกว่านี้ก็ได้ ถ้าเธอคิดแบบนี้เธอก็รอเถอะว่าส<wbr>ิ่งที่มันกำลังจะทับถมเธอคือสิ่<wbr>งที่เป็นความชั่ว มันกำลังคืบคลานเข้ามา ให้ระวังไว้ เราเตือนพวกเธอหลายครั้ง ครั้งนี้เราขอเตือนพวกเธออีกครั<wbr>้งนะว่า อย่าประมาทนะ การปฏิบัติให้ดูตนเองเป็นหลักไม<wbr>่ต้องไปดูคนอื่นเค้า สำรวมระวังใจของตนเป็นหลัก ไม่ต้องไปสำรวมระวังใจคนอื่นเค้<wbr>าจะดีจะชั่ว สิ่งที่เกิดกับเราจะดีก็ตามจะร้<wbr>ายก็ตาม เราก็ยอมรับได้ว่าไอ้นี่มันเป็น<wbr>ผลของเรา เราเคยทำมาก่อน แต่เราเลิกทำความชั่วแล้ว บัดนี้ เราตั้งใจทำความดีของเราตลอดชีว<wbr>ิต ยอมตายเสียดีกว่าที่เราจะกลับไป<wbr>ทำความชั่วอีก การระมัดระวังจิตใจของเธอ มันจะทำให้เธอยืนอยู่บนที่ที่สู<wbr>ง แล้วก็รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งป<wbr>วง อุปมาดังกับว่า.. ถ้าที่ใดเป็นที่เนิน ที่นั่นน้ำไม่ท่วม ข้อนี้ฉันใด ที่ใดที่เธอตั้งอยู่ในความดี ที่นั่นกรรมก็ไปไม่ถึง ความชั่วมันพาเธอไปเจอะเจอสิ่งเ<wbr>ลวร้ายไม่ได้เลย มีแต่บุญกุศลของเธอ ที่จะค้ำจุนให้เธออยู่รอดได้ แล้วก็อยู่อย่างปลอดภัย บุญกุศลทั้งหลายจะประคับประคองเ<wbr>ธอไว้จากความเดือดร้อน มันถึงกาลสมัยแล้วนะ อย่าพลั้งเผลอปล่อยตัวปล่อยใจเก<wbr>ินไป นะ สำรวมไว้ . . ระวังไว้ เราทำความดีมามากแล้ว ถ้าเราประมาท ความดีก็ช่วยอะไรเราไม่ได้ งั้นที่สุดแห่งธรรม ที่เราได้แสดงธรรมเทศนาใน พุทธะอาราธนานัง ธรรมะอาราธนานัง สังฆะอาราธนานัง ที่เราได้อาราธณาคุณของพระพุทธเ<wbr>จ้า พระธรรมและ พระอริยสงฆ์ มาให้เธอทั้งหลายได้ทราบซึ้งว่า<wbr> พระองค์ต้องการให้เธอ เห็นทุกข์ เห็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ต้องการให้รู้สึกถึงทุกข์ทั้งหล<wbr>ายว่า ใจอยากจะดับทุกข์เสีย แล้วก็ต้องการให้เห็นว่า การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เป็นสิ่<wbr>งที่ควรทำมาก เราจะละเลยมิได้ ในสิ่งที่เป็น ศีล สมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในการใคร่ครวญ<wbr>และพิจารณา เพื่อชำระสิ่งที่เป็นความชั่วใน<wbr>จิตใจของเราออกได้ง่าย ก็ขอคุณสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา<wbr>สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย <wbr> คุณของบิดามารดา คุณของครูบาอาจารย์สืบต่อกันมา มีหลวงปู่ปาน และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพร<wbr>หมยานเป็นที่สุด คุณของท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายใ<wbr>น ท่านปู่สัมปติพรหม ท่านลุงพระอินทร์ และท่านย่า ท่านลุงพญายม ท่านนายบัญชี พร้อมทั้งท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง<wbr>สี่ ท่านอินทันกะ และท่านบริวารทั้งหลาย ขอพลาอานิสงค์ใดๆ ที่เธอเหล่าใดที่มีความศรัทธาเล<wbr>ื่อมใส อาราธนาคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่เสมอ ขอให้บุคคลผู้นั้นจงคลาดแคล้วคว<wbr>ามทุกข์ทั้งปวง ขอให้เธอเหล่านั้น จงมีจิตอันตั้งมั่น มีสติอันมั่นคง ดำรงปัญญาอันเป็นเครื่องตัดสมุท<wbr>เฉกประหารถึงซึ่งอรหัตผลในชาติน<wbr>ี้โดยง่ายทุกคนในชาติปัจจุบันด้<wbr>วยเทอญ เอวัง ก็มีด้วยประการละฉะนี้ "

    ท่านจิตโต 26/09/2553
    ไฟล์: 2553-09-26_09-12-เทศน์เรื่องอย<wbr>่าประมาทในการทำความดี
    คัดลอกจากคุณ Supakorn Gift
     
  2. dragoona

    dragoona เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +129
    เค้าสั่งสอนอบรมกันมาอย่างนี้ จริงๆด้วยครับ ลัทธิศาสนาที่มาจากญี่ปุ่นเค้า อบรม ใส่สมอง คนที่อ่อนแอทางความเชื่อแบบนี้เลยครับ ไม่รู้เป็นบาปมากมายขนาดไหน ที่เขาบอกว่า พระพุทธเจ้ามาแย่งดอกบัวมาจุติ ทำให้คนเกิดความสับสนทางความเชื่อ ไปกันใหญ่อีก ที่หลงๆกัน
     
  3. ฟาสิรี

    ฟาสิรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2011
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +729
    คำว่า พุทธทำนาย เอามาจากไหนหรือ???

    พระไตรปิฎก หมวดไหน ???

    เขียนกันมาเอง เขียนต่อ ๆ กันมา ใช่หรือไม่???
     
  4. Navyaek

    Navyaek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +190


    สาธุ ครับ คงจะเป็นการเขียนที่แม่นน่าดูเลยนะครับ ถ้าอ้างอิงเหตุการณ์ปัจจุบันไปตอนนี้...... อาจจะไม่มีในตำรา..ก็ตาม.....

    เอาเป็น ว่า สัจธรรม คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ....แต่ที่รู้ๆ
    ไม่ความประมาท...หากเราไม่รู้จริงๆ และเท่าที่อ่าน รู้สึกจะเป็นประโยชน์อีกมุมมองที่ควรทราบ..ไว้ก็ดีนะครับ ไม่ใช้ว่า จะไม่เชื่ออะไรเลย แต่ก็ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า สิ่งที่อ่านไปพิจารณาไปล้วนเป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น ด้วยความไม่ประมาท จ้า...
     
  5. hearsay

    hearsay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +186
    ด้วยความเคารพครับ บางอย่างอาจจะผิดเพี้ยนหรือตีความคลาดเคลื่อนได้ด้วยการแปรความหมาย เช่น จัดเลี้ยงเจ็ดวันเจ็ดคืน ที่นิยมพูดกัน อันที่จริงเขาหมายถึง มีอาหารมากมายทานเท่าไหร่ก็ไม่หมด แต่เรากลับมาสนใจตรงคำพูดที่เขาอุปมาแทนที่จะดูที่มาของคำพูด เป็นต้น หรืออย่างกรณีโจรห้าร้อยก็อาจจะไม่ได้หมายถึงโจรห้าร้อยคนอาจจะมีความหมายเพียงว่าโจรกลุ่มหนึ่งที่ร้ายกาจมากเหมือนโจรห้าร้อยคน ต้องไม่ลืมนะครับเมื่อมีการแปลก็ต้องมีการผิดเพี้ยนของภาษาด้วย ถ้าอยากรู้จริงๆต้องไปหาคัมภีร์ของฝ่ายมหายานมาอ่านเพิ่มเติมแล้วจะเข้าใจ ส่วนเล่มไหนนั้นก็ต้องค่อยๆอ่านไปครับ
     
  6. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379

    ผมรวบรวมข้อมูลมาให้ลองพิจารณาแล้ว ลองย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่ข้อความแรกๆดู คำตอบอยู่ในนี้แล้ว
     
  7. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    พุทธทำนายบางส่วนที่ไม่ปรากฎในพระไตรปิฎก อาจมีเหตุผลที่เป็นไปได้คือ

    1. เพราะมันไม่ใช่พุทธทำนาย หรือไม่มีพุทธทำนายไว้อย่างนั้น จึงปรากฎเพียงบางส่วนคือ
    พุทธทำนายที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินนิมิตชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย
    ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล มีจำนวน 16 ข้อ


    2. เพราะ 'พระไตรปิฎก' ไม่ได้มีหน้าที่สำหรับบึนทึกคำทำนาย
    แต่มีหน้าที่เพื่อบันทึกพระธรรมเพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน
    เหมือนกับเราพยายามค้นหารหัสไปรษณีย์จากในสมุดจดเบอร์โทรศัพท์
    (ย่อมไม่พบรหัสไปรษณีย์ในสมุดจดเบอร์โทรศัพท์ หรือเจอเล็กน้อยเพียงบางส่วน)

    3. อาจมีบางส่วนที่ตรัสไว้หลังจากมีพระไตรปิฎกแล้ว
    (กรุณาย้อนกลับไปข้อความที่อ้างอิงเรื่อง 'พุทธทำนาย' จากที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าไว้)
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านว่าพุทธพยากรณ์ที่นำมาเล่าให้ฟังนี้
    ไม่ใช่พุทธพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งก่อนปรินิพพาน
    แต่เป็นพุทธพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อปี พ.ศ. 2528


    4. "พระไตรปิฎก" เป็นบันทึกที่สำคัญที่สุด....แต่ไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกสิ่ง
    พระไตรปิฎกไม่ได้บันทึกความจริงไว้ทุกสิ่งอย่าง แต่บันทึกเฉพาะความจริงบางอย่าง
    อาจเป็นบันทึกส่วนใหญ่ของ 'ใบไม้ในกำมือ'
    อาจมีบางส่วนที่พระองค์ตรัสเป็นพุทธทำนายไว้แล้วไม่ได้อยู่ในบันทึก
    อาจมีบางส่วนที่ถูกเรียกว่า 'ใบไม้ในป่า' หรือใบไม้นอกกำมือ

    'ไม่มีในพระไตรปิฎก' ไม่ได้แปลว่า 'ไม่มีอยู่จริง'
    ตัวอย่าง เช่น วิชาการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

    ".....เนื่องจากวิชาการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์นี้ต้องเรียนกับพระโพธิสัตว์ด้วยกันเท่านั้น
    เป็นใบไม้นอกกำมือ เป็นวิชาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้แสดงไว้ หากแต่มีอยู่จริง..."


    ข้อความ 2 บรรทัดบนนี้ คัดลอกจากบางตอนของหนังสือ "ไตรรัตนญาณจักรพรรดิเปิดโลก"
    โดย พระวรงคต วิริยะธโร (หลวงตาม้า)
    วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่





    [SIZE=+2]ใบไม้ในกำมือ
    [/SIZE]
    สีสปาสูตร
    เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น

    เล่มที่ ๑๙
    [๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
    พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
    เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.

    [๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว
    เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
    จบสูตรที่ ๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2011
  8. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เทพเมรัย [​IMG]
    สงสัยน่ะครับ ขอประทานอภัย ถ้าจะถามว่า

    พุทธทำนายนั้น รู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำนายจริง

    ในพระไตรปิฏกได้บันทึกเรื่องราวไว้จริงหรือ และถ้ามีจริง อยู่ในเล่มไหน วรรคไหน บทไหน

    ผมมาคิดว่า ถ้าคำทำนายนี้ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า และถ้ามันไม่จริง ก็จะมีคนปรามาสพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นบาปอย่างมาก เลยอยากให้มั่นใจว่า เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือที่ทำนายเช่นนี้

    เพราะตามปกติ พระพุทธเจ้ามักทำนายเหตุการณ์ ในส่วนที่ต้องนำมาประกอบกับคำสอน เพื่อยกตัวอย่าง แก่ผู้ที่ทูลถามปัญหาพระองค์ และคำถามนั้นเป็นไปเพื่อความหมดทุกข์

    การที่พระองค์จะทำนายอะไรนั้น ถือเป็นการแสดงฤทธิ์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการแสดงฤทธิ์นี้เอง พระองค์ถึงกับตำหนิพระอริยะเจ้ารูปหนึ่ง ที่เหาะขึ้นไปเก็บเอาบาตรทองคำ ที่เศรษฐีแขวนไว้บนปลายไม้

    พระองค์ให้เหตุผลที่ตำหนิพระรูปนั้นไว้ว่า ไม่อยากให้คนทั่วไปมาศรัทธาศาสนาของพระองค์ด้วยว่าเพราะมีฤทธิ์ (นักบวชนิกายอื่นๆก็มีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้มากมาย) แต่อยากให้พวกเขารู้จักศาสนาของพระองค์ว่า มีหนทางพ้นทุกข์ได้จริง ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงห้ามพระสงฆ์แสดงฤทธิ์ต่อธารกำนันและ กลายมาเป็นธรรมวินัยอีกข้อหนึ่ง

    ดังนั้น ผมคิดว่าพุทธทำนายนี้ ควรมีที่มาที่ไปอย่างแน่ชัด ว่าเป็นของพระพุทธเจ้าจริงๆ
    </td> </tr> </tbody></table>
    พระพุทธองค์กำหนดไม่ให้สาวกแสดงฤทธิ์ก็จริง แต่มีข้อยกเว้น คือ

    1. กรณีเป็นพุทธบัญชา เช่น ให้พระโมคัลลาน์ใช้ฤทธิ์ปราบ

    2. กรณีพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์เอง



    1. กรณีเป็นพุทธบัญชา เช่น ให้พระโมคัลลาน์ใช้ฤทธิ์ปราบ

    ดังปรากฏหลักฐานอยู่ใน พระคาถาพาหุง บทที่ 7

    ในคาถาพาหุง บทที่ ๗ มีคำแปลเป็นไทยใจความว่า "พระจอมมุนี ทรงโปรดให้พระมหาโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส (นิรมิตกายเป็นนาคราช) ไปทรมานพระยานาคราชชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ห์แห่งฤทธิ์แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น"

    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ



    พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มี
    ความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี
    พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป
    ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช
    แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน




    สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาล้วน
    เสด็จไปโดยนภากาศด้วยอำนาจอิทธิปาฏิหาริย์แห่งฌานสมาบัติ จนลุถึงถิ่นที่อยู่แห่งพญานาคนามว่า นันโทปนันทะ


    นันโทปนันทะ และบริวารกำลังพักผ่อนสำเริงสำราญอยู่ในสถานที่อยู่ของตน
    เห็นพระพุทะองค์พร้อมภิกษุจำนวนมาก เหาะข้ามศรีษะ ของตนก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
    “สมณะ โล้นพวกนี้ถือดีว่ามีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินหาวได้ เหาะข้ามศรีษะเรา ปล่อยผงธุลีจากเท้าหล่นต้องศรีษะเรา เดี๋ยวจะเห็นดีกัน”
    ว่าแล้วแกก็ใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้เกิดหมอกควันมืดฟ้ามัวดิน ดุจดังกลุ่มหมอกควันพิษจากไฟป่า
    พระเถระนามว่า รัฐปาละ พระอรหันต์ทรงอภิญญารูปหนึ่ง กราบทูลอาสาไปปราบพญานาคอันธพาลตัวนี้
    พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า


    “หน้าที่นี้เป็นของโมคคัลลานะ บุตรตถาคตอยู่แล้ว เธอจะรู้เองว่าควรทำอย่างไร”

    พระโมคคัลลานะ ทราบว่าพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้ท่านไปปราบพญานาค
    จึงนิรมิตกายเป็นพญานาคเหมือนกัน แต่รูปร่างใหญ่และยาวกว่านันโทปนันทะหนึ่งเท่า
    รัดร่างนันโทปนันทะกับเขาพระสุเมรุ
    พญานาค จะดิ้นอย่างไร ก็ไม่หลุด ยิ่งดิ้นยิ่งถูกรัดแน่นเข้าๆ จนในที่สุดต้องยอมแพ้แต่โดยดี
    จำแลงกายเป็นมาณพน้อยรูปหล่อ ยืนประคองอัญชลีนมัสการพระเถระเจ้า ขอถวายตนเป็นศิษย์
    พระ เถระพามาณพน้อยไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงประทานพระโอวาท
    ให้นันโทปนันทะ เว้นขาดจากปาณาติบาต ดำรงตนอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัดแต่บัดนั้นมา
    การเอาชนะพญานาคราชผู้มีฤทธิ์ครั้งนี้ พระพุทธองค์มิได้ทรงแสดงฤทธิ์ปราบเอง

    หากทรงมีพุทะบัญชาให้พระอัครสาวกเบื้องซ้ายคือพระโมคคัลลานะไปปราบแทน
    ซึ่งก็มีหลายครั้ง เมื่อเกิดเหตุการณ์คล้ายกันนี้ ผู้ที่รับพุทธบัญชาไปดำเนินการปราบจนสำเร็จมักจะเป็นพระเถระรูปนี้
    เนื่องจากท่านเป็นพระเถระที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มาก


    ข้อมูลจาก

    ��ФҶҾ��ا ����� 7

    พระอัครสาวก #4 พระมหาโมคคัลลานะ (ผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์)


    2. กรณีพระพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์เอง
    อันที่จริงมีอยู่หลายครั้งด้วยกัน เช่น การทรมานอุรุเวรกัสสปชฏิลให้เลื่อมใส
    และในที่สุดก็บวชพร้อมด้วยศิษย์ 500 หรือการปราบองคุลีมาลโจร เป็นต้น

    ท่านอาจสงสัยว่า อ้าว พระพุทธเจ้าห้ามแล้วทำไมมาแสดงฤิทธิ์เสียเอง
    ลองค่อยอ่านต่อไปนะครับแล้วจะได้คำตอบ
    เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ยังให้คำตอบอีกด้วยว่า
    พระพุทธเจ้าและอาจรวมถึงพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีใกล้เต็มหรือเต็มแล้วนั้น
    อาจปรากฏกายพร้อมกันในหลายๆที่ หรือบางคนอาจเรียกว่าแบ่งภาค


    เรื่องที่น่านำมาเล่าคือตอน "ยมกปาฏิหาริย์"

    เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์
    ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว
    ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป
    ครั้นพวกเดียรถีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้ว
    จึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว
    ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า

    "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
    "เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
    "ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏิหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
    "ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
    "ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
    "ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่
    เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้
    ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"


    พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
    "ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"
    ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี
    พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
    ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร
    ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้

    ครั้นนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์
    พระบรมศาสดาไม่ทรงรับ ตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์
    ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง
    จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมด
    เพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์

    ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘
    พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต
    ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก
    จึงได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา
    พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส
    พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ
    แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน
    เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อมมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า

    ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น
    พระอานนท์เถระจัดอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว
    ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง
    คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า
    "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด "
    นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น

    พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลัน บังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น
    เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง
    ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก
    ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา
    นายทัณฑะมีปีติเลื่อมใสได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้า
    ก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน

    เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล
    สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป
    ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏี
    ประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น
    โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล
    งามตระการวิจิต ควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์

    พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำ ปาฏิหาริย์ให้บังเกิด
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากกรรณข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย
    และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย
    เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆสลับกันรวม ๖ สี
    คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร
    (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)

    เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ
    เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ

    ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการ
    และโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระ อาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ
    เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืน
    เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑

    เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา)
    เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑

    เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑

    รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้ เห็นและได้ยินกันทั่วถึง
    เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก

    ในที่สุดแห่งยมกปาติหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก


    ข้อมูลจาก ���ү���������Ȩ����俤���� : �����������ǡѺ��оط���� - �������


    <center> พระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่องฤทธิ์จริงหรือ

    </center>ข้อมูลจาก ��оط��������͹����ͧķ����ԧ���� �ҡ���͡ ���๪�� oknation.net

    คำถาม เรื่องฤทธิ์เขาว่า เป็นเรื่องเหลวไหลเพ้อเจ้อ เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน

    คำตอบ "เขา" ที่ว่าอย่างนั้นแหละเป็นคนเพ้อเจ้อ พูดไม่มีหลักมีเกณฑ์คิดเอาเอง
    ควรจำไว้บ้างว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า พูดอะไรก็ต้องมีหลักอ้างอิงอยู่เสมออย่าพูดเฉย ๆ

    ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าท่านทรงสนับสนุนเรื่องฤทธิ์ และใช้ฤทธิ์อยู่บ่อย ๆ
    แต่ทรงใช้เมื่อเห็นว่า เกิดประโยชน์เท่านั้น ไม่ใช่แสดงฤทธิ์ เล่นสนุก ๆ หรือ แสดงตามคำขอร้อง
    การแสดงฤทธิ์ เป็นเครื่องช่วยให้เกิดความเลื่อมใสเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครื่องตัดอาสวะกิเลสโดยตรง

    เล่ม 4 หน้า 30 พระพุทธเจ้าทรง "บันดาลอิทธาภิสังขาร"
    มิให้เศรษฐีบิดาของยสกุลบุตรมองเห็นท่านยสกุลบุตร ซึ่งนั่งอยู่ ณ ที่นั่น
    ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ พระยสกุลบุตรได้เป็นพระอรหันต์ ส่วนบิดาเป็นพระโสดาบัน

    เล่ม 4 หน้า 44 ถึง 55 ทรงแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ คือ
    [​IMG]
    [​IMG] สู้กับนาคที่แสดงฤทธิ์
    [​IMG] ไปบิณฑบาตที่อุตตรกุรุทวีป แล้วนำกลับมาในเวลาอันสั้น
    [​IMG] ไปเก็บผลหว้าประจำชมพูทวีป และ ดอกปาริฉัตรจากดาวดึงส์
    [​IMG] บันดาลให้ชฎิลผ่าฟืนไม่ออก
    [​IMG] บันดาลให้ก่อไฟไม่ติด
    [​IMG] เนรมิตไฟ 500 กองให้พวกชฏิลผิง
    [​IMG] บันดาลให้น้ำที่กำลังท่วม ไม่ท่วมตรงที่ประทับ
    ประโยชน์คือ เป็นการทรมานอุรุเวรกัสสปชฏิลให้เลื่อมใส และในที่สุดก็บวชพร้อมด้วยศิษย์ 500

    เล่ม 5 หน้า 2
    ผู้แทนชาวบ้านแปดหมื่นตำบลไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ท่านพระสาคตะแสดงฤทธิ์ดำดินให้เห็น
    ชาวบ้านก็เลย ไม่แน่ใจว่า องค์ไหนเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้แสดงฤทธิ์มากกว่านั้นอีก
    ท่านสาคตะ คงจะรู้พระทัยว่า ไม่เป็นการสะดวกแก่พระพุทธเจ้าที่จะบอกว่า นั่นเป็นเพียงศิษย์
    เมื่อแสดงฤทธิ์ พอควรแล้ว ก็มาซบที่พระบาทกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า
    นอกจากนี้ ทรงแสดงฤทธิ์อีกหลายแห่งเพื่อการสอน
    เช่น ขณะที่สาวกในที่ไกลกำลังคิดผิด ก็จะทรงปรากฏพระองค์สั่งสอนทันที เป็นต้น


    เล่ม 13 หน้า 390 ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้องคุลิมาลโจรวิ่งไม่ทัน
    ทรงสนับสนุนให้สาวก ทำตน ให้มีฤทธิ์ด้วย เช่น ในเล่ม 11 หน้า 305
    ทรงสอนว่า ธรรม 6 อย่างที่ ภิกษุ ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา 6 (ข้อ 1 ของอภิญญา 6 คือ บรรลุอิทธิวิธี)

    เล่ม 13 หน้า 275 ตรัสว่า สาวกของพระองค์บรรลุอภิญญาเป็นจำนวนมาก

    เล่ม 20 หน้า 194 สาวกที่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ 3 มีมาก

    ฝ่ายที่แอนตี้การแสดงฤทธิ์มักจะยกหลักฐานมา 2 แห่ง
    แห่งแรก เล่ม 11 หน้า 3 สืบเนื่องมาจากโอรสเจ้าลิจฉวี ชื่อ สุนักขัตตะจะออกจากการเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า
    ด้วยเหตุที่ "พระผู้มีพรภาคเจ้ามิได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่ ข้าพระองค์เลย"

    พระพุทธเจ้าท่านก็สอนไม่ให้ติดในฤิทธิ์ เพราะคนลักษณะนี้ถ้าได้เห็นฤทธิ์แสดงแล้ว
    ก็คงจะหมกมุ่น อยู่แต่เรื่องฤทธิ์ไม่มุ่งที่จะตัดกิเลส คือ ทรงสอนว่า

    "ดูกรสุ นักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเรา ได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมเนียมยิ่งยวดของมนุษย์
    หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติ ให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
    เช่นนี้ เธอจะปรารถนากระทำ อิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ไปทำไม"

    ผู้อ่านหนังสือควรระลึกว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้สอนชั้นเยี่ยม สอนให้เหมาะแก่บุคคลนั้น ๆ
    คำตอบนี้ตอบแก่ สุนักขัตตะเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่าเป็นคำสอนทั่วไป
    ทั้งนี้เพราะการแสดงปาฏิหาริย์ ไม่มีค่าแก่บุคคลผู้นี้ ป่วยการแสดง
    ในหน้าต่อ ๆ ไปได้ทรงเตือนสุนักขัตตะถึงเรื่องที่ ผ่านมาแล้ว 3 เรื่อง
    และชี้ว่านั่นคือ ปาฏิหาริย์ ที่พระองค์ทรงแสดงให้เห็นอยู่แล้ว
    ยังไม่พออีกหรือ (ใน 3 เรื่องนั้น สุนักขัตตะ เป็นตัวเกี่ยวข้องสำคัญอยู่ด้วย)

    แห่งที่สอง เล่ม 9 หน้า 347 เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรทูลขอพระพุทธเจ้า
    ให้ส่งภิกษุสักรูปหนึ่ง ทำปาฏิหาริย์เพื่อให้ชาวเมืองเกิดความเลื่อมใส พระองค์ทรงปฏิเสธ
    แล้วทรงกล่าวว่า ปาฏิหาริย์ 3 นั้นทรงทราบแต่...

    [​IMG] เมื่อเล็งเห็นโทษเช่นนี้จึงอึดอัด ระอา เกลียด อิทธิปาฏิหาริย์
    [​IMG] เมื่อเล็งเห็นโทษเช่นนี้จึงอึดอัด ระอา เกลียด อาเทศนาปาฏิหาริย์
    [​IMG] แต่ไม่ตรัสว่า อึดอัด ระอา เกลียด อนุสาสนีปาฏิหาริย์

    เมื่อยกมาเช่นนี้แล้วก็ประโคมกันว่า ทรงคัดค้านการแสดงปาฏิหาริย์
    ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าขัดกันกับคำสอนเรื่อง ให้ทำอภิญญา 6 และขัดกับที่ทรงประพฤติ
    ในการแสดงฤทธิ์หลายครั้ง แต่เราต้องไม่ลืมว่าพระพุทธเจ้านั้นจะไม่มีการค้านได้เลย ฉะนั้นจะต้องพิจารณาเรื่องนี้โดยละเอียด

    ประการที่ 1 จะต้องระลึกว่า พึ่งจะเสด็จมาถึงที่นั่น (สวนมะม่วงของปาวาธิกเศรษฐี เขตเมือง นาลันทา)
    ยังไม่มีผู้เลื่อมใส ยังไม่มีโอกาสแสดงธรรม ถ้าจู่ ๆ ไปแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เข้า
    ผลที่เกิดก็คือคนที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส จะกล่าวได้ว่ามีวิชา คือ คันธารี ใช้แสดงเช่นนี้ได้เช่นกัน
    ถ้าหากแสดงครั้งแรกแล้ว มีคนค้านได้ก็เห็นได้ว่า "เสียเส้น" หมด
    อันนี้เราควรจะต้องเห็นพระปัญญาของพระพุทธเจ้าในปัญหาว่า
    จะปฏิเสธเกวัฏฏ์อย่างไรดีจึงจะไม่เสียน้ำใจ วิธีที่ทรงเลือกนี้ นับว่าเหมาะสมที่สุด

    เรื่องนี้พอดีมีตัวอย่าง ในสมัยปัจจุบันคือ เรื่องของนาวสาวศศิธร เมธางกูร
    ซึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่านาย บุญมี เมธางกูร ผู้เป็นบิดาได้นำมาแสดง การปิดตาอ่านหนังสือ และขับรถ
    ด้วยอำนาจจิตศาสตร์ต่อมาหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521
    ทำข่าวสัมภาษณ์ นักเล่นกลหลายคน นักเล่นกลบอกว่า อย่างนี้เป็นกลชั้นต่ำ
    นักเล่นกลที่ไหนก็ทำได้ จะทำยิ่งกว่านี้ เช่น ให้คนลอยในอากาศก็ยังได้ ผ้าปิดตาสีดำ
    ทำไว้ขายสำหรับเล่นกลอย่างนี้ มีขายถมเถไป

    นายบุญมี เมธางกูร ผู้นี้มีชื่อเสียงดีงามในกิจของพระศานา
    คือ เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรม ที่ออกเป็นรายการวิทยุก็ดูเหมือนมี
    ถ้าบังเอิญเรื่องการใช้จิตศาสตร์ ของนางสาวศศิธร เป็นเรื่องจริง แท้ไม่แปลกปลอม
    นายบุญมี กลับไม่ได้รับอะไรเลย นอกจากความเสียหาย
    พระพุทธเจ้าท่านคงจะรู้ทันข้อนี้ ถ้าให้สาวกแสดงปาฏิหาริย์ก็คงจะถูกหักล้างว่า
    ใช้วิชาคันธารี ถ้า วิชาคันธารี เป็นการแสดงกลชนิดหนึ่ง ก็จะกลายเป็นว่า พระพุทธเจ้าหลอกลวงให้คนเลื่อมใส
    ดังนั้น จึงเลี่ยงเสีย ปฏิเสธเสียไม่แสดง (ทำให้คนสมัยนี้บาง พวกนำไปอ้างว่า พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้แสดงฤทธิ์)

    ประการที่ 2 อาเทศนาปาฏิหาริย์ ก็มีวิชาชื่อ มณิภา สามารถนำมาใช้ได้ผลอย่างเดียวกัน
    จึงทรง "อึดอัด ระอา และเกลียด" อีก

    ประการที่ 3 ทรงกล่าวถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์โดยละเอียด ซึ่งอันที่จริงก็คือ หลักสูตรพระพุทธศาสนาทั้งดุ้น นั่นเอง
    คือ กล่าวถึงจุลศีล (หน้า 350) มัชฌิมศีล (หน้า 352) มหาศีล (หน้า 255)
    แล้วต่อด้วย การละนิวรณ์ 5 บำเพ็ญฌาน 1 ถึง 4 แล้วน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ นิรมิตรรูปอื่น จากกายนี้
    มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี
    คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ทำให้หายไป ก็ได้ ฯลฯ (เหมือนกับที่ระบุไว้ในอิทธิปาฏิหาริย์)
    น้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุได้ยินเสียง 2 ชนิดคือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
    ทั้งอยู่ใกล้และไกลล่วงโสตมนุษย์ น้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสสติ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
    6 อย่างหลัง นี้ คือ อภิญญา 6 ทั้งหมด นี้ คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ต่อจากนั้น
    ท่านก็ทรงบรรยายถึง นิพพานโดยย่อเป็นอันจบหลักสูตร
    ถ้าเราจะจับเรื่องโดยย่อ เราจะเห็นได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังคนกลุ่มใหม่นั้น
    เกวัฏฏ์ก็จะขอให้อาจารย์ของตน (พระพุทธเจ้า) สั่งสาวกแสดงปาฏิหาริย์ ให้เป็นที่ประจักษ์
    พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ไม่เป็นโอกาสที่ควรแสดง เพราะคนยังไม่รู้จัก
    และถ้าแสดงไปก็จะมีคนค้านได้ กลับทำให้ความเลื่อมใสไม่เกิด จึงปฏิเสธโดยอ้อม ๆ
    แล้วถือโอกาสนั้น แสดงธรรมว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไรบ้าง แทรกไว้ใน อนุสาสนีปาฏิหาริ์
    ซึ่งในนั้นเองกล่าวว่า สามารถแสดงฤทธิ์ได้

    โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าถ้าแสดงฤทธิ์ได้ประโยชน์ก็ทรงสนับสนุน ถ้าแสดงแล้วเกิดโทษไม่สนับสนุน
    ส่วนที่ห้ามสาวกแสดงฤทธิ์แก่ฆราวาสนั้น น่าจะเป็นการช่วยพระสาวกให้รอดตัวมากกว่า
    เพราะคราวนั้นท่านบิณโฑลภารทวาชะ เหาะไปเอาบาตรไม้จันทน์แล้วลอยไปรอบเมือง
    คนที่ยังไม่เห็นก็ตามกันมาเกรียวกราว จะให้เหาะให้ดูอีก
    ถ้าไม่ทรงห้ามท่านบิณโฑลเห็นจะต้องเหาะโชว์ตลอดวันแน่
    จะว่าไปการเหาะคราวนั้นก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
    เพราะคล้ายเป็นการลองฤทธิ์ซึ่งผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า

    เรื่องฤทธิ์นี้ จำเป็นต้องพิสูจน์ตามระเบียบว่าเป็นไปได้หรือไม่
    ขอให้ไปดูเล่ม 31 หน้า 419 ถึง 428 ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องฤทธิ์
    เช่น ในหน้า 422 "คำว่า เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ ปฐวีกสิณสมาบัติ
    โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน
    ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศ กลางหาว เหมือนนกได้
    เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่นบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดินฉะนั้น ฯ"
    พูดตามภาษาชาวบ้าน ผู้ที่จะทำฤทธิ์ได้นั้น ต้องได้อรูปฌาน และต้องคล่องในกสิณ 10
    เวลาจะทำฤทธิ์ก็เข้าอรูปฌาน มีกสิณอย่างใด อย่างหนึ่งเป็นนิมิต แล้วอธิษฐานก็จะสำเร็จดังประสงค์
    เห็นได้ว่าท่านไม่ได้กล่าวไว้อย่างเลื่อนลอย วิธีแสดงฤทธิ์ท่านก็บอกไว้เสร็จ
    ขอเชิญพิสูจน์ด้วยตนเองก่อน แล้วจึงกล่าวว่า เป็นไปได้หรือไม่ได้

    ประโยชน์ของฤทธิ์นั้นมิใช่ว่า ทำให้เกิดความเลื่อมใสแล้วจะเข้าปฏิบัติธรรมอย่างเดียว
    ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีก ในเล่ม 20 หน้า 258
    พระอานนท์กราบทูลว่า "เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอ
    ที่ข้าพระองค์มีพระศาสดาผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

    ท่านพระอุทายีก็ติงว่า "ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ท่านจะได้ประโยชน์อะไร
    ถ้าศาสดาของท่านมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ "


    พระพุทธเจ้าทรงแก้ให้ว่า "ดูกรอุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้
    ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะเช่นนี้พึงทำกาละไป เธอพึงเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่เทวดา 7 ครั้ง
    พึงเป็นเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีปนี้แหละ 7 ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น
    ดูกรอุทายี ก็แต่ว่า อานนท์จักนิพพานในอัตภาพนี้เอง"


    ส่วนคำถามที่ว่ามีหลักฐานอะไร
    รู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำนายจริง


    เชิญอ่านเรื่องพุทธทำนายปลอมหรือเปล่า ?

    http://palungjit.org/threads/%E0%...B2.284425/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2011
  9. หมูน้ำยืน

    หมูน้ำยืน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +38
    เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ ขอบคุณมากนะครับ
     
  10. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ดังตฤณยังมีคนเชื่อถืออีกหรือ
     
  11. น้ำใหลนิ่ง

    น้ำใหลนิ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +79

แชร์หน้านี้

Loading...