พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=1828&Z=2126


    <CENTER>๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ

    </CENTER><CENTER>๑. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
    วัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
    วัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
    วัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    <SMALL>@๑. สุทธิกะ ๓ จตุกกะ ชาครันติ ๓ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@สุตตะ ๓ จตุกกะ มัตตะ ๓ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@อุมมัตตะ ๓ จตุกกะ ปมัตตะ ๓ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@มตอักขายิตะ ๓ จตุกกะ มตเยภุยยะอักขายิตะ ๓ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@มตเยภุยยะขายิตะ ๓ จตุกกะ ๓x๙= ๒๗ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@ มนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ อมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@ติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ มนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@อมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ ติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ</SMALL>
    <SMALL>@๒๗x๖=๑๖๒ จตุกกะ</SMALL>
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
    วัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดี
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วย
    วัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
    ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๒. มนุสสะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วย
    ปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้อง
    อาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วย
    ปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วย
    ปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วย
    ปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์มาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วย
    ปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
    ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๓. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดี
    การถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๔. มนุสสะปัณฑกะ ชาครันตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่นมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
    ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๕. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.

    <CENTER>๖. มนุสสะปัณฑกะ สุตตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้หลับมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดี
    การถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๗. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด
    ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดี
    การถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๘. มนุสสะปัณฑกะ มัตตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก
    ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เมามาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิด
    ด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการ
    ถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๙. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
    แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
    ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>๑๐. มนุสสะปัณฑกะ อุมมัตตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้วิกลจริตมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
    ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๑. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
    แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์
    กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่
    ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๒. มนุสสะปัณฑกะ ปมัตตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการ
    ถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดี
    การถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้เผลอสติมาในสำนักภิกษุ แล้วให้อมองค์
    กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่
    ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๓. มนุสสะปัณฑกะ มตอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
    การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
    ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
    ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
    ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๔. มนุสสะปัณฑกะ มตอักขายิตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
    การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
    การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ


    <CENTER>๑๕. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ยินดี การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๖. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ไม่ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติปาราชิก
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนัก
    ภิกษุ แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
    ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๗. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ทับ]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดี
    การหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่
    ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
    ยินดีการหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่
    ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>๑๘. มนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [อม]
    </CENTER>พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการหยุดอยู่
    ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว แต่ยินดีการ
    หยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
    การหยุดอยู่ แต่ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ
    แล้วให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดี
    การหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.


    <CENTER>หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ.
    </CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘๒๘ - ๒๑๒๖. หน้าที่ ๗๑ - ๘๒.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=1828&Z=2126&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka-1. อ่านพระวินัย";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT>



    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=2127&Z=2138



    <CENTER></CENTER>
    ๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑. ๒. อมนุสสะบัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์ ... อมนุษย์บัณเฑาะก์ผู้ตื่น ... ผู้หลับ ...ผู้เมา ... ผู้วิกลจริต ... ผู้เผลอสติ ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปากถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติปาราชิก ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ <SUP>๑-</SUP>
    ๑๗. ๑๘. อมนุสสะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์บัณเฑาะก์ ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๑๒๗ - ๒๑๓๘. หน้าที่ ๘๒ - ๘๓.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=2127&Z=2138&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_1


    </PRE>



    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=2139&Z=2151
    ๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑. ๒. ติรัจฉานคตะปัณฑกะ สุทธิกะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ ... สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตื่น ...ผู้หลับ ... ผู้เมา ... ผู้วิกลจริต ... ผู้เผลอสติ ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติปาราชิก ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
    ๑๗. ๑๘. ติรัจฉานคตะปัณฑกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ จบ.
    <SMALL>@๑ ... ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ไว้นั้น พึงพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้วในมนุสสะปัณฑกะนั้นเถิด</SMALL>



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๑๓๙ - ๒๑๕๑. หน้าที่ ๘๓.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=2139&Z=2151&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_1


    </PRE>

    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=2152&Z=2163

    ๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑.๒. มนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชาย ... มนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น ... ผู้หลับ ... ผู้เมา ... ผู้วิกล-*จริต ... ผู้เผลอสติ ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ...ต้องอาบัติปาราชิก ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
    ๑๗. ๑๘. มนุสสะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้ชายผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติ.ถุลลัจจัย ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๑๕๒ - ๒๑๖๓. หน้าที่ ๘๔.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=2152&Z=2163&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_1




    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=2164&Z=2175
    ๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑. ๒. อมนุสสะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชาย ... อมนุษย์ผู้ชายผู้ตื่น ... ผู้หลับ ... ผู้เมา ... ผู้วิกลจริต ...ผู้เผลอสติ ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุแล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติปาราชิก ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
    ๑๗. ๑๘. อมนุสสะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุษย์ผู้ชายผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุแล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติ-*ถุลลัจจัย ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    หมวด อมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๑๖๔ - ๒๑๗๕. หน้าที่ ๘๔.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=2164&Z=2175&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_1




    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=2176&Z=2187
    ๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑. ๒. ติรัจฉานคตะปุริสะ สุทธิกะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตื่น ... ผู้หลับ ... ผู้เมา ...ผู้วิกลจริต ... ผู้เผลอสติ ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ... ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป...ต้องอาบัติปาราชิก ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
    ๑๗. ๑๘. ติรัจฉานคตะปุริสะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ
    พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ผู้ตายแล้วถูกสัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุแล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค ... ให้อมองค์กำเนิดด้วยปาก ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ... ต้องอาบัติ-*ถุลลัจจัย ... ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ... ไม่ต้องอาบัติ.
    หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ จบ. <SUP>๑-</SUP>


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๑๗๖ - ๒๑๘๗. หน้าที่ ๘๔ - ๘๕.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=2176&Z=2187&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>http://84000.org/tipitaka/read/?index_1


    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka-1. อ่านพระวินัย";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT>​
    <CENTER>
    </PRE></CENTER><CENTER>
    </PRE></CENTER>
    </PRE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01bud01200151&day=2008-01-20&sectionid=0121

    ภิกษุสันดานลา

    คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ

    โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

    วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10907

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"ภิกษุทั้งหลาย ลาที่เดินตามฝูงโค แม้มันจะร้องว่า "ข้าเป็นโค ข้าเป็นโค" ก็ตาม แต่สีของมันหาเป็นเสียงของโคไม่ เท้าของมันหาเป็นเท้าของโคไม่ มันได้แต่เดินตามฝูงโคแล้วร้องว่า "ข้าเป็นโค ข้าเป็นโค" ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปก็ฉันนั้น แม้เดินตามหลังภิกษุทั้งหลายและร้องประกาศว่า "ฉันเป็นพระ ฉันเป็นพระ" ก็ตาม ศีลสิกขาบทของเธอไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย จิตตสิกขาของเธอไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ปัญญาสกขาของเธอไม่เหมือนของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นได้แต่เดินตามหลังภิกษุทั้งหลาย ประกาศตนว่า "ฉันเป็นพระ ฉันเป็นพระ" เธอหาใช่พระไม่

    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกศึกษาอย่างนี้ว่า การประพฤติในศีลสิกขาบท ในจิตตสิกขา ในปัญญาสิกขาของเรา ต้องเข้มงวดเสมอ พวกเธอพึงสำเหนียกศึกษาอย่างนี้"

    ข้อความข้างต้นคัดจาก คัทรภสูตร (สูตรว่าด้วยลา) ให้ข้อคิดว่า ในพระพุทธศาสนาก็อาจมีผู้แอบแฝงเข้ามาในร่างของภิกษุ อาศัยศาสนาหากินเป็นจำนวนมาก คนพวกนี้บางทีก็บวชเข้ามาอย่างถูกต้อง มีอุปัชฌาย์อาจารย์ แต่อุปัชฌาย์อาจารย์ไม่สั่งสอนอบรม ถูกความอยากใหญ่ครอบงำ ตั้งตนเป็นอาจารย์จัดฉาก โฆษณาตัวเอง เพื่อสร้างความเด่นดัง ไม่สนใจศึกษาปฏิบัติ

    บ้างก็สอนธรรมะผิดๆ ถูกๆ บ้างก็ละเมิดวินัยอย่างร้ายแรง คนพวกนี้ถึงจะบอกใครต่อใครว่า "อาตมาเป็นพระ" ก็ใช่พระไม่ พระพุทธองค์ทรงเปรียบเห็นภาพดี คือเปรียบดุจลาในฝูงโค ถึงมันจะร้อง "มอๆ" ก็หาใช่โคไม่

    พระปลอมอาศัยพระศาสนาหากินนับว่าบาปอยู่แล้ว ญาติโยมที่อุปถัมภ์บำรุงหรือสนับสนุนพระปลอมนั้น บาปกว่าหลายร้อยเท่า เพราะให้กำลังแก่อลัชชีทำลายพระพุทธศาสนา

    อลัชชีส่วนมากมักจะเก่งในการโกหกหลอกลวงคน โดยการแกล้งวางตนให้สงบเสงี่ยม จะเดินจะเหิน จะพูดจะจา ดูเรียบร้อยน่าเลื่อมใสไปหมด แต่พอลับหลังคน จะกลายเป็นอีกคนหนึ่ง

    สมัยพุทธกาล มีปริพาชกคนหนึ่งชื่อชัมพุกะ ประชาชนแห่แหนมากราบไหว้ เสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าชัมพุกะเป็นพระอรหันต์มีตบะเคร่งครัด ไม่นั่งไม่นอนยืนขาเดียว มีลมเป็นภักษา

    แต่เบื้องหลังอรหันต์ปลอมคนนี้น่าสะอิดสะเอียนยิ่ง ตั้งแต่เกิดมาแกไม่ยอมนุ่งผ้า เวลาพ่อแม่เผลอก็จะแอบกินอุจจาระของตนเอง ข้าวปลาไม่ยอมกิน จนกระทั่งพ่อแม่ต้องนำไปฝากไว้กับพวกอาชีวก (นักบวชชีเปลือย) เพราะกลัวใครรู้ความจริงเข้าจะขายหน้าเขาว่ามีลูกชายกินขี้เป็นอาหาร

    มาอยู่กับพวกอาชีวก ชัมพุกะประพฤติตนเรียบร้อย เป็นที่รักของพวกอาชีวกรุ่นพี่ๆ เวลาเช้า เมื่อพวกอาชีวกออกไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน ชัมพุกะไม่ยอมไปกับพวกเขา ขอเฝ้าวัดอยู่คนเดียว เมื่อพวกอาชีวกบิณฑบาตกลับมา ชวนชัมพุกะรับประทานอาหาร แกก็บอกว่า แกกินเรียบร้อยแล้ว พวกอาชีวกสงสัยว่าชัมพุกะได้อาหารมาจากไหน เพราะในวัดไม่มีอะไรเลย

    อยู่มาวันหนึ่งพวกเขาก็จับได้ว่า ขณะที่พวกเขาเข้าไปหมู่บ้าน ชัมพุกะแอบไปกินอุจจาระที่ส้วมหลุม (ถาน) จึงไล่แกไปอยู่ที่อื่น ด้วยเกรงว่านักบวชศาสนาอื่น โดยเฉพาะพระพุทธศาสนารู้เรื่องเข้า จะเข้าใจผิดว่าพวกอาชีวกกินขี้กันหมดทุกคน ทำให้หมู่คณะเสียชื่อเสียง

    เมื่อถูกไล่แกก็ไปอยู่ที่เชิงผาแห่งหนึ่ง ใกล้ชิดผานั้นมีลานหินดาดอยู่ เช้ามืดประชาชนจะมา "ปล่อยทุกข์" ไว้ที่ลานหินดาดนั้น ชัมพุกะก็ย่องไปกินอุจจาระอิ่มแปล้ เสร็จแล้วก็มายืนขาเดียว อ้าปากอยู่ข้างทาง

    ประชาชนเดินผ่านไปผ่านมา เห็นชัมพุกะเคร่งตบะอย่างยิ่งยวด ก็หลั่งไหลมากราบไหว้บูชาด้วยเข้าใจว่าท่านผู้นี้เป็นพระอรหันต์

    กว่าจะรู้ว่าถูกอรหันต์กินขี้หลอกต้ม ประชาชนก็ทุ่มให้หมดใจแล้ว ดีแต่ว่าแกเป็นนักบวชไม่นุ่งผ้าสมบัติพัสถานอะไร จะรับไว้มากๆ ก็ไม่ได้ กลัวคนจะหาว่าโลภมาก ไม่มักน้อยสันโดษสมกับราคาคุย

    แต่นักบวชปลอมสมัยนี้ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ ได้เท่าไรก็ไม่พอ เข้าทำนอง "ถมไม่รู้จักเต็ม" แต่ละคนล้วนมีเทคนิควิธีหลอกให้คนเลื่อมใส แปลกๆ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งเช่น

    1.วิธีที่หนึ่ง อ้างอิทธิปาฏิหาริย์ พวกนี้มักอ้างอิทธิปาฏิหาริย์ ถึงไม่พูดออกมาตรงๆ ก็พูดเป็นนัยๆ หรือไม่ก็ให้ "หน้าม้า" (ส่วนมากก็ลูกศิษย์ใกล้ชิด) คอยปล่อยข่าวว่า ท่านอาจารย์ของพวกเขามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างนั้นอย่างนี้

    บางรายหน้าด้านถึงขนาดสร้างฉากให้คนเห็นว่าตนมีอิทธิปาฏิหาริย์เช่น ห่มจีวรแล้วให้ลูกศิษย์มุดเข้าไปฉายไฟออกมาจากจีวร แล้วถ่ายรูปไว้ รูปจะปรากฏมีรัศมีพุ่งออกจากกายของอลัชชีลวงโลกคนนั้น

    เมื่อแจกจ่ายรูปออกไป ประชาชนก็แห่กันมากราบไหว้ ด้วยความเลื่อมใส บ้างก็มาจากไกลๆ เพียงเพื่อจะได้ชมบารมีพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา

    อุบายตื้นๆ อย่างนี้ทำให้คนหลงเชื่อและเลื่อมใสมานักต่อนัก เมื่อเลื่อมใสแล้ว มีทรัพย์สินเงินทองเท่าไหร่ ก็ยินดีทุ่มให้สุดตัว ว่ากันว่าบรรดาคุณหญิงไฮโซๆ แย่งกันทำบุญกับพระอรหันต์ดิบพวกนี้กันล้นหลาม จนตัวคนทำบุญเองจะ "โซ" อยู่แล้ว แต่อลัชชีเจ้าก็รวยเอาๆ อยู่อย่างสบายบนความโง่เขลาของประชาชน

    มีผู้กล่าวว่า ถ้าคุณไฉน แสงทองสุข นักเล่นมายากลมือฉกาจ ออกบวชแล้วเล่นกลให้คนดูโดยไม่บอกว่าเป็นกล อรหันต์เก๊ลวงโลกทั้งหลายคง "ชิดซ้าย" ไปตามๆ กัน เพราะมายากลของคุณไฉน น่าทึ่งมหัศจรรย์และไม่สามารถจับผิดได้

    แต่คุณไฉน ท่านก็ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ซื่อสัตย์ต่อประชาชน ท่านก็บอกทุกครั้งว่า "นี่กลนะครับ ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์อะไร"

    2.วิธีสอง คล้ายวิธีแรกคือ พูดในสิ่งที่คนทั่วไปไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องมดเท็จทั้งนั้น ทางพระท่านเรียกว่า "อวดอุตริมนุสสธรรม" (อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน, ตนทำไม่ได้) เช่น

    บางรูปอ้างนรก สวรรค์ อ้างตนว่าสามารถเข้าสมาธิแล้วไปนรก ไปสวรรค์ได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรู้ว่าพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน ตนสามารถเข้าฌานดูให้ได้

    เมื่อญาติโยมขอร้องให้ดูพ่อแม่ของตนที่ตายไปแล้ว อลัชชีจอมบทบาทเหล่านี้ก็จะทำท่าผู้ทรงศีลหลับตาเข้าฌานแล้วก็บอกว่าโยมเอย พ่อแม่ของโยมกำลังตกนรกขุมที่ลึกที่สุด ทรมานที่สุด ถ้าโยมอยากจะช่วยดับไฟนรกให้พ่อแม่ของโยม ก็จงทำบุญเสียแสนบาท หรือสองแสนบาท

    ถ้าให้น้อยกว่าแสน ก็ดับไฟนรกได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ถ้าจะให้ไฟนรกดับถาวรก็ต้องบริจาคตั้งแต่แสนขึ้นไป

    แล้วใครมันจะอยากให้พ่อแม่ของตนทุกข์ละครับ มีทางใดที่ลูกๆ จะผ่อนคลายไฟนรกได้ก็ยินดีทำเพื่อตอบแทนคุณบิดามารดา

    ครับยิ่งช่วยให้คนตกนรกพ้นขุมนรกได้มากเท่าใด เจ้ากูท่านก็ยิ่งถุงย่ามตุงขึ้นทุกวัน

    ยังมีอีกหลายวิธี มีเวลาค่อยนำมาเล่าให้ฟังภายหลัง สรุปตรงนี้ว่าพระปลอม (ไม่ว่าปลอมบวชหรือบวชมาถูกต้องแต่ทำผิดธรรมวินัย) ไม่ต่างอะไรกับลาเดินหลังโคร้อง "มอๆ" อย่างไรก็หาใช่โคไม่

    ชาวพุทธจึงควรดูกันให้ถี่ถ้วนว่าตัวไหนโค ตัวไหนลา จะได้ไม่หลงเลี้ยงผิดประเภท
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอโมทนาบุญ post เผยแพร่พระไตรปิฎกแต่เช้าเลยนะครับ
     
  6. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน )
    [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    chaipat, :::เพชร:::, sithiphong


    ท่านพี่ทั้งสอง แอบอะไรครับ

    จุ๊ๆ สาธุครับ

    ยังเช้าอยู่ครับ
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เขาเรียกจิตมีสื่อ ต้องมาตื่น มาเข้าที่นี่โดยมิได้นัดหมายกันแต่เช้า
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 30px">
    อ่านตรงนี้ก่อนให้ลูกหลานกิน 'ยาเจริญอาหาร' อันตราย

    [19 ม.ค. 51 - 00:11]
    http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=75700


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" align=left border=0><TBODY><TR><TD>พ่อแม่ ผู้ปกครองมักจะชอบเลี้ยงลูกหลานให้ อ้วนท้วนสมบูรณ์ คราวใดที่หนูน้อยไม่อยากกินข้าวก็อาจมีการใช้ตัวช่วยด้วยการซื้อ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2008
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    บันทึกไว้ให้ศิษย์ในสายคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรอ่านกันนะครับ ไม่ใช่สายบุญของท่านก็จะได้ไม่ต้องทราบกัน

    พระกริ่งอรหัง ๒๔๙๘ วัดราชบพิธฯ
    ชนวนทองพันปีหลวงพ่อโอภาสี
    เกร็ดประวัติหลวงพ่อโอภาสี
    โดย แล่ม จันท์พิศาโล
    ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/07/15/02.php

    พระกริ่งอรหัง ๒๔๙๘ เป็นพระกริ่งที่วงการพระเครื่อง ส่วนหนึ่ง เช่าหากันในนาม พระกริ่งหลวงพ่อโอภาสี ทั้งนี้เนื่องจากได้รับ ทองชนวน (ทองเก่าพันปี) จากหลวงพ่อโอภาสี มาเป็นส่วนผสมในการหล่อสร้างด้วย
    พระกริ่งอรหัง เป็นองค์พระพุทธปฏิมากร ที่ได้จำลอง มาจากองค์ พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ คือ "พระพุทธอังคีรส" และได้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ โดยมีพระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก
    ความเป็นมาของ พระกริ่งอรหัง นี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย ได้เขียนไว้ในตอนหนึ่ง ของประวัติ หลวงพ่อโอภาสี...ว่า
    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในเรื่องกฤตยาคมอยู่มาก โดยเฉพาะท่านมีความเคารพศรัทธาเลื่อมใส หลวงพ่อโอภาสี และเคยได้รับครอบน้ำมนต์สำหรับเก็บใส่น้ำล้างหน้าจากหลวงพ่อโอภาสีไว้ด้วย
    ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มียศ พลเอก ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ท่านได้สร้าง พระกริ่งอรหัง ไว้รุ่นหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื่องจากในปีนั้นท่านมีอายุครบ ๔ รอบ ๔๘ ปี จึงเห็นว่า ควรจะสร้างพระพุทธปฏิมากร องค์พระประธานไว้ในบวรพุทธศาสนาสักองค์หนึ่ง
    พอดีกับในขณะนั้น ทาง วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี กำลังวางรากโบสถ์ และยังไม่มีองค์พระประธาน พลเอกสฤษดิ์ จึงตกลงใจสร้าง พระประธานถวาย โดยได้ปรึกษากับ พระธรรมปาโมกข์ (สมเด็จพระสังฆราช-วาสน วาสโน) และ พระครูอาทรธรรมานุวัตร วัดราชบพิธฯ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พลเอกสฤษดิ์มีความเคารพนับถืออย่างยิ่ง
    พระพุทธรูปที่สร้างนี้เป็นแบบขัดสมาธิ แบบสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ประกอบพิธีหล่อที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม. เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
    พระพุทธสยมภูพรรณพิจิตร
    พร้อมกันนั้น ท่านก็ได้จัดสร้าง พระกริ่งอรหัง โดยจำลองรูปแบบจากองค์พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชบพิธฯ คือ พระพุทธอังคีรส
    พระกริ่งอรหัง ที่สร้างมีจำนวน ๑๐,๐๐๙ องค์ และพระคะแนน ซึ่งเป็น พระกริ่ง ๒ หน้าเหมือนกัน อีกจำนวน ๑๐๐ องค์
    ในการสร้างพระ-เททองผสมโลหะ-หล่อพระในคราวนั้น คณะกรรมการตกลงกันว่า จะว่าจ้างทีมสร้างและหล่อพระของ นายช่างฟุ้ง บ้านช่างหล่อ ไปปั้นหุ้นถอดแบบพระกริ่งและเทผสมโลหะหล่อพระในมณฑลพิธีภายในบริเวณวัดราชบพิธฯ
    สำหรับแผ่นโลหะ ทองคำ เงิน นาก ทองแดง ทองเหลือง ได้ลงอักขระเลขยันต์ โดยพระคณาจารย์จากทั่วเมืองไทย ประมาณกว่า ๑๐๘ แผ่น เท่าที่มีหลักฐานแน่นอน คือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก (สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ปลด กิตติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร, หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด, พระภาวนาโกศลเถระ (พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี เป็นต้น
    สำหรับ หลวงพ่อโอภาสี ท่านได้บริกรรม ทองชนวน ให้กับพลเอกสฤษดิ์ไว้ผสมกับทองที่จะหล่อพระประธาน และพระกริ่งอรหังครั้งนั้นไว้ด้วย โดยท่านบอกว่าเป็น "ทองเก่าพันปี"
    [​IMG]พิธีผสมโลหะหล่อพระและพิธีพุทธาภิเษกฯ ได้ประกอบกันที่วัดราชบพิธฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ ปีมะแม เวลา ๐๙.๒๕ น. เป็นเวลาปฐมฤกษ์ เป็นการจัดพิธีทั้งหมดให้สำเร็จเสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน โดยใช้เวลาตลอดทั้งวันทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า โดยมีพระครูอาทรธรรมานุวัตร เป็นผู้ดำเนินการฝ่ายพระสงฆ์, พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโนทัย) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญชัยมงคลคาถา และพระคณาจารย์ร่วมบริกรรมคาถา นั่งปรกปลุกเสก ภายในบริเวณพิธี
    อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส, ท่านพ่อลี วัดอโศการาม, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุทัศนฯ, เจ้าคุณศรีฯ (ประหยัด) วัดสุทัศนฯ, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อมิ่ง วัดกก, เจ้าคุณผล วัดหนัง, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว ฯลฯ
    หลังจากนั้นพลเอกสฤษดิ์ ได้ถวายพระกริ่งอรหัง แด่สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรฯ จำนวนหนึ่ง ถวายพระครูอาทรฯ จำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ผู้ร่วมทำบุญในครั้งนั้น และอีกจำนวนหนึ่งได้ถวายให้วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว ส่วนที่เหลือพลเอกสฤษดิ์ได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติสนิทมิตรสหาย และเหล่าบรรดาทหารทั้งหลายที่ใกล้ชิด เนื่องในโอกาสทำบุญวันคล้ายวันเกิดอายุ ครบ ๔๘ ปี ของท่าน
    พระกริ่งอรหัง ในส่วนของพระครูอาทรฯ ท่านได้แจกไปส่วนหนึ่งและเหลืออยู่อีกส่วนหนึ่งประมาณ ๑๕๐ องค์ ท่านได้มอบให้กับ พระครูวิบูลธรรมธัช วัดราชบพิธฯ เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้ศรัทธาสาธุชนได้ร่วมกันทำบุญเช่าบูชา นำปัจจัยถวายวัดราชบพิธฯ ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนเพื่อการศึกษาของเยาวชนในท้องที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
    ขนาดขององค์ พระกริ่งอรหัง กว้าง ๒.๐ ซม. สูง ๓.๕ ซม. เป็นเนื้อโลหะผสม ...ติดต่อสอบถามได้ที่ พระครูวิบูลธรรมธัช โทร. ๐-๒๒๒๑-๑๘๘๘, ๐-๑๙๓๐-๖๓๘๘ หรือที่ "มด" โทร. ๐-๖๕๖๕-๕๒๗๔
    พระกริ่งอรหัง นี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย ได้เขียนไว้ว่า...สร้างขึ้นด้วยพิธีแบบลงเลขยันต์และพิธีพุทธาภิเษก เพื่อให้ทรงคุณพระทั้งฝ่าย พระเดช และ พระคุณ
    ในฝ่ายพระเดช ทำหน้าที่กำจัดและป้องกันส่วนเสีย จึงแสดงผลดีในเชิงคงกระพันชาตรี อยู่คงคมศัตราวุธ แคล้วคลาด ปลอดภัย เพราะแสดงอำนาจปราบสิ่งตรงกันข้ามให้สลาย
    ในฝ่ายพระคุณ ทำหน้าที่รักษาและก่อส่วนดี จึงแสดงผลดีในทางให้เกิด เมตตา มหานิยม ศรีสวัสดี ลาภสักการะ ความสำเร็จ เพราะแสดงอำนาจ ฝ่ายสร้างความดี
    เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะนำ พระกริ่งอรหัง ติดตัวไปไหน จึงควรทำใจให้เลื่อมใสและเชื่อมั่นจริงๆ ในคุณพระ แล้วอาราธนาด้วยพระคาถา
    "อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวี คงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง"
    พระคาถานี้ หลวงพ่อโอภาสี ได้นำมาจารึกไว้หลังเหรียญกลมที่สร้างครั้งแรก ที่มีรูปสวัสติกะ (๒๔๙๕)
    นั่นคือข้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในประวัติของหลวงพ่อโอภาสี
    อนึ่ง ตามที่เคยมีผู้เข้าใจกันว่า พระกริ่งอรหัง รุ่นนี้ หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกให้ด้วยนั้น เป็นความเข้าใจผิด ทั้งนี้เนื่องจากวันประกอบพิธีที่วัดราชบพิธฯ คือ วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ ซึ่งทางคณะกรรมการได้นิมนต์ หลวงพ่อโอภาสี ไปร่วมนั่งปรกปลุกเสกด้วย ตามความประสงค์ของ พลเอกสฤษดิ์ โดยตรง แต่พอดี หลวงพ่อโอภาสี ได้มรณภาพเสียก่อน คือ ท่านได้มรณภาพในตอนเช้าของ วันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๔๙๘ ก่อนพิธี ๑๖ วันเท่านั้น (ในปัจจุบันสรีระของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ที่วัดหลวงพ่อโอภาสี บางมด)
    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคารพเลื่อมใสใน หลวงพ่อโอภาสี ต่างก็ให้ความศรัทธาเช่าหา พระกริ่งอรหัง รุ่นนี้กันมาก เพราะถือว่ามีส่วนผสมของ "ทองเก่าพันปี" ที่หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกไว้แล้วนั่นเอง
    อีกทั้งยังมีพระคณาจารย์เก่งๆ ในสมัยนั้นลงจารแผ่นทองชนวนและร่วมนั่งปรกปลุกเสกหลายท่านด้วยกัน จึงมีความเชื่อกันว่าเป็นพระกริ่งที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยเลยทีเดียว
    และถ้าหากจะนับถึงความเก่า "พระกริ่งอรหัง" มีอายุการสร้างมาแล้ว ๔๙ ปี นับว่าเป็นพระกริ่งเก่าพอสมควรอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อภินิหารของหลวงพ่อโอภาสี
    เกร็ดประวัติหลวงพ่อโอภาสี
    คัดจากหนังสือคุณทองทิว สุวรรณทัต
    โพสท์ใน http://www.thaimisc.com/ กระทู้ที่ 00181 โดย ยุ [2 ก.ค. 2545 ]


    บรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายซึ่งมีอภินิหารหรือคุณธรรมอันวิเศษที่มรณภาพไปแล้วนั้น ถ้าใครเอ่ยถึง หลวงพ่อโอภาสี ก็คงจะอดอัศจรรย์ในคุณวิเศษอันสืบเนื่องจากผลการปฏิบัติของท่านไม่ได้ และด้วยเหตุนี้จึงมีผู้อ่านหลายท่านขอให้ผู้เขียนนำประวัติของท่านมาเล่าสู่ให้ฟังกันบ้าง
    ระหว่างปี 2484-2485 ผู้เขียนยังเรียนหนังสืออยู่จำได้ว่าผู้คนทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปชุมนุมที่หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร นับแต่ถนนหน้าวัดบวรฯไปจนจรดตลาดบางลำพูมีคนเข้าแถวเต็มไปหมด ได้ความภายหลังว่ามารอหลวงพ่อโอภาสี แจกพระเครื่องที่ท่านทำพิธีปลุกเสก
    ในครั้งนั้น ชื่อเสียงของ หลวงพ่อโอภาสี โด่งดังไปทั่งสารทิศ เพราะพิธีกรรมของท่านแปลกพิสดารเกินกว่าคนธรรมดาจะกระทำได้ กล่าวคือ ท่านขนเอาสมบัติพัสถานในกุฏิของท่าน ไม่ว่าจะเป็นตู้โต๊ะ หนังสือตำรา ถ้วยโถโอชามอันเป็นของเก่าแก่มีราคา ตลอดจนกองธนบัตรที่มีคนมาถวาย มากองสุม ณ บริเวณสนามหญ้า แล้วจุดไฟเผาท่ามกลางความตกตะลึงของพระภิกษุสามเณร และผู้คนที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง พอไฟมอดลงแล้วท่านก็เดินหายไปในกุฏิเพื่อสวดมนต์ภาวนาของท่านต่อไป
    การประกอบพิธีกรรมอันประหลาดของท่านซึ่งมีติดต่อกันหลายครั้งในสมัยนั้น ทำให้วัดบวรนิเวศวิหารพลุกพล่านไปด้วยผู้คนเป็นประวัติการณ์ จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อโอภาสีต้องออกจากวัดบวรฯในเวลาต่อมา และในที่สุดท่านก็ไปอยู่ที่อาศรม ณ ตำบลบางมด
    เรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์ของพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีความรู้ในพระธรรม พระวินัย จนสอบได้เปรียบแปดประโยคท่านนี้ ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมเรื่องราวของท่านจากหนังสือบางเล่ม และจากท่านผู้รู้บางท่าน พอได้ใจความมาเสนอดังต่อไปนี้
    หลวงพ่อโอภาสี หรือ พระมหาชวน โอภาสี (ป.เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2441 เรียนหนังสือจบขั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมโทจึงเดินทางมาศึกษาบาลีควบคู่ไปกับนักธรรมเอก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ จนสอบได้เปรียญ 8 ประโยค จากนั้นได้หันมาปฏิบัติตามลำพัง เป็นสำคัญกระทั่งในวันหนึ่งท่านได้ประกาศว่า
    "มหาชวนนั้นตายไปแล้ว บัดนี้เหลือแต่โอภาสีผู้ปรารถนาในความหมดสิ้นจากอาสวะทั้งหลาย"
    ท่านเจ้าคุณราชธรรมนิเทศ เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
    "มีสิ่งที่น่าประหลาดอยู่เรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับหลวงพ่อโอภาสีเห็นเขาพูดกันว่า เมื่อครั้งท่านยังเป็นพระมหาชวนนั้นที่แก้มซีกขวาของท่านยังไม่มีไฝฝ้า แต่ครั้นมาเป็นหลวงพ่อโอภาสีกลับมีปานดำขึ้นที่แก้มจนเห็นได้ชัด ไม่ทราบว่าปานนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคนเรามักจะมีปานหรือไฝก็มีกันแต่เล็กแต่น้อย นี่ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว อายุตอนนั้นประมาณ 40 ทำไมปานเกิดขึ้นมาได้ก็ไม่ทราบ"
    เกี่ยวกับเรื่องอภินิหารของหลวงพ่อโอภาสีนั้นดูจะมีหลายประการ โดยเฉพาะได้แก่การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ และวาจาสิทธิ์ ท่านกล่าวคำใดออกมาไม่ใคร่จะพลาดจากคำนั้น ซึ่งอาจจะสืบจากผลการปฏิบัติอย่างแรงกล้าของท่านก็เป็นได้
    มีเรื่องเล่าว่า เคยมีสุภาพสตรีสูงอายุท่านหนึ่ง มีความศรัทธาหลวงพ่อโอภาสีเหลือเกิน ถึงแก่ปรารภกับญาติพี่น้องที่บ้านว่า อยากได้เส้นผมของหลวงพ่อไว้บูชา ครั้นต่อมาสุภาพสตรีท่านนั้นไปนมัสการหลวงพ่อ พอก้มลงกราบ ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรหลวงพ่อก็ยกมือจับเส้นผมของท่าน พร้อมกับบอกว่า
    "ผมของอาตมาสั้นออกอย่างนี้ จะตัดไปให้โยมได้อย่างไร"
    สุภาพสตรีท่านนั้นถึงแก่นั่งตกตะลึงพูดไม่ออก
    ครั้งหนึ่งได้มีสุภาพสตรีผู้สูงด้วยอำนาจวาสนาท่านหนึ่งพาบริวารไปนมัสการหลวงพ่อที่สวนส้มบางมด ได้สนทนาปราศรัยกับท่านเป็นอันดี ชั่วครู่หลวงพ่อเหลือบไปเห็นแหวนเพชรในนิ้วมือของสุภาพสตรีท่านนั้น เปล่งประกายสุกสกาวจึงถามว่า
    "ถ้าอาตมาจะขอแหวนวงนี้จากคุณโยม จะเสียดายไหม"
    สุภาพสตรีท่านนั้นถอดแหวนออกจากนิ้วนางประเคนท่านแทนคำตอบทันที ท่ามกลางความชื่นชมของบริวาร หลวงพ่อรับไว้ หยิบพลิกดูไปมาแล้วหันไปหยิบค้อนที่อยู่ข้างหลัง วางแหวนเพชรที่ไม่รู้ว่ากี่กะรัตลงบนพื้นแล้วตอกด้วยค้อนบัดนี้!
    สุภาพสตรีท่านนั้นเกือบเป็นลม
    หลวงพ่อโอภาสีมองหน้าพลางเปรยออกมาว่า
    "ของดี ๆ อย่างนี้ จะสูญได้อย่างไร"
    สุภาพสตรีผู้นั้นหมดกำลังใจจะสนทนาต่อ อ้อมแอ้ม ๆ ออกมาสอง-สามประโยค ก็นมัสการลากลับไม่เหลียวหลัง
    ปรากฏว่าเย็นวันนั้น หลังจากอาบน้ำชำระกายเรียบร้อยแล้ว เปิดโถแป้งออกมา ตั้งใจจะหยิบแป้งขึ้นมาผัด กลับเห็นแหวนเพชรวงที่หลวงพ่อโอภาสีทุบจนแตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ วางอยู่ในนั้นชัดแจ้ง...เป็นวงแหวนสมบูรณ์เหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน!
    อีกคราวหนึ่ง คุณหลวงประเสริฐรัฐวิจารณ์ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ขององค์การท่าเรือฯ ผู้รู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อมาช้านาน ได้เข้าไปนมัสการและสนทนาด้วย จนได้เวลาพอสมควรจะลากลับหลวงพ่อกลับบอกว่าประเดี๋ยวก่อน แล้วท่านก็ลุกเข้าไปในอาศรมถือธนบัตรใบละ 100 จำนวนสองใบมายื่นให้คุณหลวงพลางบอกว่า "เก็บไว้ให้ดี เป็นเงินก้นถุง"
    คุณหลวงก้มลงกราบรับไว้ด้วยความปีติยินดี แต่เมื่อกลับมาบ้านแล้ว ท่านนึกไปถึงเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไปรับราชการอยู่ที่กรุงวอชิงตัน อเมริกาในขณะนั้น เพราะเพื่อนผู้นี้เคยปรารภกับท่านว่าอยากได้เงินก้นถุงของหลวงพ่อโอภาสีมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสจะได้กับเขา คุณหลวงประเสริฐคิดถึงเพื่อนผู้นั้นก็อยากจะสละเงินก้นถุงที่ตนได้มาให้แก่เพื่อนไปก่อน ด้วยคิดว่าท่านอยู่ใกล้กับหลวงพ่อ วันหน้าคงจะมีโอกาสขอได้ใหม่ ท่านจึงจัดแจงจดหมายเลขธนบัตรเอาไว้ แล้วส่งเงินนั้นไปให้เพื่อนที่วอชิงตันทันที
    ต่อมาอีกสามสี่วัน คุณหลวงไปนมัสการหลวงพ่ออีกครั้ง พอหลวงพ่อเห็นหน้าท่านก็หยิบธนบัตรใบละ 100 สองใบส่งให้คุณหลวง พลางหัวเราะบอกว่า
    "ไม่ต้องตกใจดอกคุณหลวง เขาไปเที่ยววอชิงตันมา!"
    ก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพเพียงไม่กี่วัน พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเดินทางไปร่วมประชุมสงฆ์ทั่วโลก หลวงพ่อรับนิมนต์ ทั้งได้ส่งสานุศิษย์ผู้ติดตามอันได้แก่ นายสนิท วชิรสาร กับ นายยี.อี.เอิร์ด เดินทางล่วงหน้าไปก่อนหนึ่งสัปดาห์ ส่วนหลวงพ่อจะเดินทางไปโดยลำพังในวันที่ 31 ตุลาคม 2498
    หลวงพ่อบ๋าวเอิง ทราบข่าวว่า หลวงพ่อโอภาสีจะไปอินเดียก็จะขอติดตามไปด้วย แต่หลวงพ่อบอกว่า
    "ขณะนี้ท่านมีธุระมาก อย่าเพิ่งไปดีกว่า และอาตมาไปครั้งนี้ก็ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตเหมือนคนอื่นเขา จึงให้ร่วมไปไม่ได้"
    ภายหลังจาก นายสนิท วชิรสาร กับ นาย ยี.อี.เอิร์ดเดินทางไปถึงอินเดีย ได้พำนักอยู่ในพุทธวิหารแห่งหนึ่ง ซึ่งทางพุทธสมาคมอินเดียจัดไว้รับรอง ครั้นเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 31 ตุลาคม 2498 นายยี.อี.เอิร์ด ได้เห็นภาพของหลวงพ่อโอภาสีลอยเด่นอยู่เหนือศีรษะ ใบหน้าของท่านอิ่มเอิบสดใส ภาพนั้นปรากฏเพียงชั่วครู่ก็เลือนหายไป
    ครั้นตกบ่ายได้มีคนเข้ามาบอกแก่คนทั้งสองว่า มีพระแก่รูปหนึ่งรอพบอยู่ข้างนอก จึงรีบชวนกันออกไป กลับพบหลวงพ่อโอภาสียืนรออยู่! ท่านบอกว่า
    "ฉันมาตามคำพูด ไม่มีอะไรมาห้ามฉันได้ อย่าแปลกใจเลย"
    ศิษย์ทั้งสองดีอกดีใจ รีบพาหลวงพ่อเข้าไปยังพุทธวิหารพลางขอตัวเพื่อไปเอาของในห้องพักของตน เตรียมจะนำหลวงพ่อออกชมบ้านเมืองอินเดีย แต่ในขณะนั้นเอง มีบุรุษไปรษณีย์นำโทรเลขมาส่ง คนทั้งสองเปิดโทรเลขอ่านดูแล้วต้องยืนตัวแข็งเพราะข้อความมีว่า "หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2498 กลับด่วน"
    ปัจจุบันศพของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ในอาศรมบางมดเชิญผู้มีจิตศรัทธาไปนมัสการได้
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อภินิหารหลวงพ่อโอภาสี ๒
    จากนิตยสารโลกหน้ามีจริง

    โพสท์ในเวบกองทัพพลังจิต > พุทธศาสนา > พระเครื่อง - วัตถุมงคล
    โดย vacharaphol เมื่อ 17/10/2549
    พระมหาชวน เปรียญ ๗ ประโยค ได้เข้ามาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร จนได้เปรียญ ๗ ประโยค ครั้นเมื่อท่านได้ไปทอดกฐินที่วัดหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา ที่ลพบุรี ได้เห็นหลวงพ่อกบ เผาสมบัติที่มีผู้นำมาถวาย จึงเข้าไปกราบนมัสการเรียนถามเหตุผล เมื่อได้ฟังธรรมจากหลวงพ่อกบแล้วก็เลื่อมใส จนเมื่อกลับมาถึงวัดบวรนิเวศวิหาร ก็หยุดการเรียนปริยัติหันมาเรียนทาง ปฏิบัติ ออกธุดงค์และบูชาไฟตามรอยหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา
    บรรดาพระในวัดบวรนิเวศวิหารเข้าร้องเรียนเรื่อง มหาชวนเผาข้าวของที่มีผู้นำมาถวายและ บูชาไฟ ว่าอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้วัดบวรฯ ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งวัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดหลวง ฝ่ายธรรมยุต การบูชาไฟย่อมขัดกับข้อวัตรปฏิบัติแห่งธรรมยุติกนิกาย
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรฯ ขณะนั้น จึงเรียกมหาชวนมาพบ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงให้มหาชวนเลือกปฏิบัติสองทาง คือทางแรกอยู่ในสำนักวัดบวรฯ ต่อไป แต่ต้องยุติการบูชาไฟ และทางที่สอง คือย้ายออกจากวัดบวรฯ ไปจำพรรษาที่อื่น
    มหาชวนกราบทูลว่าขอเลือกทางที่สอง คือแบบแบกกลดธุดงค์ออกจากวัดบวรฯ
    มหาชวนซึ่งต่อมาได้เรียกตัวเองว่า
     
  13. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เอ๊ะ ไม่ทราบเป็นไง อยู่หน้า 700ดูได้ไม่หมด ช่องโพสต์ข้อความก็ไม่ปรากฎ ท่านอื่นๆ เหมือนผมมั้ยครับ บอกหน่อย
     
  14. tawatd

    tawatd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    506
    ค่าพลัง:
    +2,020
    ขอบคุณ คุณสิทธิพงษ์คุณเพชรและท่านอื่นๆที่มีความรู้ที่ลึกซึ้งและกว้างขวางที่เสียสละเวลามาโพสท์ให้อ่านศึกษาหาความรู้ ขออนุญาตเวฟเก็บไว้ด้วยครับ
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอบคุณ และขอโมทนาบุญธรรมทานนี้ด้วยครับ เพียงเผยแพร่สิ่งที่รู้มาให้ได้ทราบกัน สามารถนำไปต่อยอดความรู้ในมุมอื่น ไม่จำเพาะพระสกุลวังหน้าครับ คืนนี้คุณหนุ่มจะมาแจ้งชื่อชมรมที่ได้ชื่อโดยสรุปแล้วนะครับ ถูกใจจริงๆ เป็นอะไรที่ครอบคลุมภูมิปัญญาของช่างสิบหมู่แห่งวังหน้า วังหลวงไว้หมด
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ไปคุยกันในเรื่องของการตั้งชมรม ในเบื้องต้นนี้ สรุปชื่อชมรมว่า "ชมรมอนุรักษ์ศิลปะวังหน้าและวังหลวง" โดยประธานชมรม เป็นพี่จิ๋ว(ลูกชายท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร) โดยมีประธานที่ปรึกษา 2 ท่านคือ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาครและพี่ใหญ่

    ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เช่น คณะกรรมการที่จะดำเนินการของชมรม ,วัตถุประสงค์การตั้งชมรม การสมัครสมาชิกชมรม และรายละเอียดด้านอื่นๆ จะไปประชุมกันอีกครั้งก่อน

    ในอนาคต คงจะมีการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ตอนนี้ผมได้สถานที่แล้ว จะเป็นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีห้องประชุม มีจอมอนิเตอร์ รายละเอียดผมจะมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้งนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    <TABLE class=tborder id=post929595 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">21/1/2550, 07:28 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14025</TD></TR></TBODY></TABLE>
    :::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_929595", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 08:28 AM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 42 ปี
    ข้อความ: 2,564 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 16,272 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 25,595 ครั้ง ใน 2,635 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 2830 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    นับได้ ๑๓ คำพอดี และเป็นกำลังมหาอุด ซึ่งอายุจรของกระทู้นี้คือ อายุย่างเข้าปีที่ ๓ ซึ่งก็คือพระเกตุทับพระพฤหัส นับว่าสอดคล้องกันกับช่วงเวลาของดวงดาวดีมากครับ ชื่อนี้เกิดจากภูมิปัญญาของอาจารย์ปู่ประถม อาจสาคร และเป็นวาระที่ถูกกำหนดไว้แล้วครับ...

    แปลกที่ช่วงเช้าถึงเย็น ใช้เวลากับการเดินทางดู"กรุพระ" พูดคุยเรื่องสัพเพเหระ มาได้คุยเรื่องชื่อชมรมกันหลังเวลา ๑๖.๑๐ น. ช่วงเวลาที่ได้ชื่อชมรม เป็นเวลาของเทวีฤกษ์ หรือบูรณฤกษ์ ได้ชื่อในช่วง ๑๖.๔๐-๑๗.๑๕ น.<!-- / message --><!-- sig -->

    มาคุยกันในเรื่องฤกษ์ยามของการตั้งชื่อชมรมกันต่อซักนิดนะครับ ซึ่งหากจะว่ากันไปแล้ว สิ่งนี้หลายคนเชื่อหลายคนก็ไม่ค่อยเชื่อ จะอย่างไรด็ตามแต่ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเสมือนมีการจัดวางให้เรียบร้อย และสะดวกจริงๆ ก็ไม่ทราบจะพูดอย่างไร คงต้องใช้การสังเกตุพิจารณาไปด้วย หลายๆเรื่องเมื่อประมวลเข้าด้วยกันแล้ว รวมทั้งช่วงเวลาของการตั้งกระทู้นี้หากคลาดเวลาเดินหน้าไปเพียง ๑ นาทีเศษๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่ค่อยดีคือลัคนาไปสถิตย์ในตำแหน่งมรณะ หรือช่วงของเวลาที่คุณหนุ่มสอบถามเรื่องฤกษ์ยามนี้ซึ่งถือเป็นการนับอายุที่ย่างเข้ามาในเวลานี้ ถือเป็นเวลาในขณะปัจจุบัน หรือการพบเรื่องราวของกรุพระในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน รวมทั้งการตั้งชื่อชมรมก็ตาม ผมตรวจย้อนหลังไปถึง post ๆ หนึ่งของผมที่ว่ากันในเรื่องของฤกษ์ยามกันเอาไว้ล่วงหน้าดังนี้ครับเมื่อวันที่ ๑๐ เดือน ๐๑ เวลา บ่าย ๐๒ โมง ๒๐ นาที สังเกตุเลขฤกษ์ยามนี้ในเวลาที่กด post ก็แปลกๆครับ ..

    เทวีฤกษ์
    ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ


    เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

    สรุปการใช้ฤกษนี้
    ฤกษ์สู่ขอ หมั้น แต่งงาน ขอความช่วยเหลือจากสตรี (ผู้หญิง) ฤกษ์ที่ใช้ความโอ่อ่า หรูหรา สง่า งาม สวย รวมทั้งศิปละ ออกแบบ ตกแต่ง สวย หรู เช่น โชว์อัญมณี เครื่องประดับ ให้ใช้ฤกษ์นี้

    http://palungjit.org/showthread.php?t=108299

    จึงเป็นไปโดยเบื้องบนเป็นผู้กำหนด...สาธุ<!-- / message --><!-- sig -->
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2008
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จับธนบัตร...ติดเชื้อหวัด?
    http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01fun03200151&day=2008-01-20&sectionid=0140

    คอลัมน์ เรื่องไม่ธรรมดา

    โดย สุทธาสินี จิตรกรรมไทย

    วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10907


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รู้กันว่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด หวัด แพร่กระจายทางอากาศ ใครเป็นหวัดแล้วมาไอ-จามอยู่ใกล้ๆ ต้องรีบถอยหนี

    ติดเชื้อหวัดเข้าแล้ว ใช่ว่าจะใช้เวลารักษาตัวให้หายดีเพียงวันเดียวเสียเมื่อไหร่

    แต่ดูเหมือนเชื้อหวัดจะไม่ได้มีที่ทางล่องลอยอยู่แค่ในอากาศอย่างเดียว เพราะคณะวิจัยชาวสวิสพบว่า...

    นอกเหนือไปจากเชื้อโรคอื่นๆ ที่อาศัยธนบัตรเป็นแหล่งพักพิงแล้ว เชื้อไวรัสหวัดก็กระโดดร่วมวงเข้าไปอยู่ด้วย

    อีฟ โธมัส ผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยด้านโรคหวัด ของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ออกมาบอกถึงการวิจัยที่คณะของเขาได้ทำขึ้น

    พวกเขาทำการทดลองในห้องแล็บ ด้วยการนำเอาเชื้อไวรัสไปใส่ธนบัตร แล้วผลก็ออกมาว่าเชื้อไวรัส "เอช 1 เอ็น 1" (H1N1) ใช้ชีวิตอยู่บนธนบัตรเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็สิ้นฤทธิ์ ขณะที่เชื้อไวรัส "เอช 3 เอ็น 2" (H3N2) อายุยืนกว่า เพราะอยู่บนธนบัตรได้ถึง 3 วัน

    ส่วนเชื้อมรณะอย่าง "เอช 5 เอ็น 1" (H5N1) หรือเชื้อไข้หวัดนก ที่คร่าชีวิตสัตว์ปีกไปแล้วมากมายนั้น ทางคณะวิจัยไม่ได้นำมาทดลอง เพราะเน้นไปที่เชื้อไวรัสหวัดที่แพร่กระจายจากคนสู่คนอย่างง่ายดายเท่านั้น

    มีเชื้อไวรัสหวัดอยู่บนธนบัตรแล้ว อย่างนี้คนที่หยิบจับธนบัตรจะมีความเสี่ยงในการติดหวัดหรือเปล่า

    ข้อนี้โธมัสชี้แจงแถลงไขว่า...ก็มีโอกาสเป็นไปได้ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหวัดจากธนบัตร คือพวกที่ต้องสัมผัสธนบัตรเป็นจำนวนมาก อย่างพนักงานธนาคาร หรือพนักงานเก็บเงิน

    ทางที่พอจะช่วยแก้ปัญหาได้คือ การสวมถุงมือ หรือสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก หากต้องทำงานใกล้ชิดกับธนบัตรมากๆ

    คนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานใกล้ชิดกับธนบัตรก็สามารถรับเชื้อหวัดจากธนบัตรได้ แต่อย่าเพิ่งตระหนกตกใจไปเสียก่อน

    เพราะโอกาสที่จะรับเชื้อหวัดนั้นน้อย...น้อยมากๆ - ขอย้ำ

    เนื่องจากหากสัมผัสเฉยๆ คงไม่เป็นไร แต่หากจับแล้วเอามือไปสัมผัสกับจมูกหรือปากต่อ ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อหวัด

    ถึงจะเป็นอย่างไร ธนบัตร-เงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ใครๆ ก็อยากได้มาไว้ในครอบครองอยู่ดี
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นักวิทยาศาสตร์เผยเชื้อหวัดติดเชื้อบนธนบัตรได้ถึง 2 สัปดาห์
    วันที่ 18 มกราคม 2551 - เวลา 12:18:15 น.

    http://www.matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=1224

    ตะลึงนักวิทยาศาสตร์แฉ เชื้อหวัดสามารถติดบนธนบัตรได้นานเป็นอาทิตย์ และหากติดเชื้อจะดื้อยาเป็นเวลาหลายอาทิตย์


    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 18 ม.ค.ว่า จากการเปิดเผยของมหาวิทยาลัยเจนีวาต่อธนาคารสวิสในประเด็นความวิตกเรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อหวัดระบุว่า เชื้อไวรัสสามารถขยายตัวและมีชีวิตบนธนบัตรได้เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากการทดลองของกลุ่มที่ได้นำเอาตัวอย่างเชื้อหวัดมาเพาะยังธนบัตรใช้แล้ว พบว่าเชื้อไวรัสบางส่วนจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมง และหากติดเชื้อจะมีลักษณะดื้อยาเป็นเวลาหลายวัน นอกจากนี้ ในกรณีร้ายสุดคือ เชื้อไวรัสจะสามารถอยู่ได้เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ หากมีการผสมเชื้อกับน้ำมูกของคนเรา ทั้งนี้ ทีมสำรวจนี้ยังเตรียมสำรวจต่อไปว่า จะต้องมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ธนบัตรกลายเป็นพาหะแพร่เชื้อหวัดสู่มนุษย์
    ด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การทดสอบนี้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ไม่ควรมองข้ามเรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส


    .
     
  19. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    สาธุ ผมเข้ามาดูทั้งวัน ไหงหน้า 700 โพสต์ไม่ได้ดูไม่หมด ไม่ทราบท่านอื่นๆเป็นเหมือนผมมั้ยครับ
     
  20. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พวกเซียนพระบางกลุ่มยังมั่วนิ่มว่าพระกริ่งอรหัง รุ่นนี้ หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกให้ด้วยนั้น เป็นความเข้าใจผิด ทั้งนี้เนื่องจากวันประกอบพิธีที่วัดราชบพิธฯ คือ วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ ซึ่งทางคณะกรรมการได้นิมนต์ หลวงพ่อโอภาสี ไปร่วมนั่งปรกปลุกเสกด้วย ตามความประสงค์ของ พลเอกสฤษดิ์ โดยตรง แต่พอดี หลวงพ่อโอภาสี ได้มรณภาพเสียก่อน คือ ท่านได้มรณภาพในตอนเช้าของ วันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๔๙๘ ก่อนพิธี ๑๖ วันเท่านั้น (ในปัจจุบันสรีระของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ที่วัดหลวงพ่อโอภาสี บางมด)
    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคารพเลื่อมใสใน หลวงพ่อโอภาสี ต่างก็ให้ความศรัทธาเช่าหา พระกริ่งอรหัง รุ่นนี้กันมาก เพราะถือว่ามีส่วนผสมของ "ทองเก่าพันปี" ที่หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกไว้แล้วนั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...