พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.putthapoom.com/

    หลวงพ่อ หมายถึง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    http://www.putthapoom.com/answer/answer3.html

    อานิสงส์การถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน

    สังฆทาน
    ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ ถวายสังฆทานให้พระองค์เดียวได้ไหมคะ.?"
    หลวงพ่อ : "ได้ แต่พระไปกินองค์เดียวพระองค์นั้นลงนรก นี่เรื่องจริงนะ อย่างฉันรับนี่ฉันรับองค์เดียว แต่ว่าองค์เดียวนี่ถือว่าเป็นผู้แทนคณะสงฆ์นะ อย่าไปกินไปใช้แต่ผุ้เดียวนี่ไม่ได้ ของเขาย่อมมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบ พระองค์เดียวหรือพระ 3 องค์ ถือว่าเป็นตัวแทนสงฆ์ พระ 3 องค์ก็แบ่งไปใช้แค่ 3 องค์ไม่ได้ จะต้องไปรวมทั้งคณะ คำว่า สังฆทาน สังฆะ เขาแปลว่า หมู่"

    ผู้ถาม : "ลูกเป็นคนยากจนมีเงินน้อย อยากจะได้อานิสงส์มาก ๆ จะทำบุญอย่างไรดีคะ...?"
    หลวงพ่อ : " คืออานิสงส์จริง ๆ ต้องทำบุญให้มากที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ สมมุติว่าเรามีเงินอยู่ 10 บาท จะไปมาที่นี่เสียค่ารถ 6 บาท กินก๋วยเตี๋ยว 3 บาท ได้ครึ่งชามแล้ว หมดไป 9 บาท เหลือ 1 บาท เขียนที่หน้าซองเลยว่า เงินนี้ถวายสังฆทาน วิหารทาน และ ธรรมทาน อันนี้อานิสงส์มากเหลือเกิน จำนวนเงินเขาไม่จำกัด เขาจำกัดกำลังใจ ถ้ากำลังใจมุ่งด้านดีนะ
    การทำบุญมาก ๆ คำว่า "ทำมาก" หมายความว่า ทำบ่อย ๆ แต่คำว่า "บ่อย" ไม่ต้องทุกวันก็ได้นะ คำว่า "มาก" หมายความว่า ทำเต็มกำลังที่พึงทำ ไม่ใช่ขนเงินมามาก เวลาทำบุญ ต้องดูก่อนว่า ค่าใช้จ่ายเรามีความจำเป็นเพียงไร ไอ้เงินที่มีความจำเป้นอย่านำมาทำบุญ มันจะเดือดร้อนภายหลัง และให้เหลือส่วนนั้นไว้บ้า แล้วแบ่งทำบุญพอสมควร
    และประการที่ 2 การทำบุญถ้าใช้วัตถุมาก แต่กำลังใจน้อยก็มีอานิสงส์น้อย ถ้าหากใช้วัตถุน้อยกำลังใจมีมากก็มีอานิสงส์มาก อย่างถวายสังฆทานที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทนำมานี่ ลงทุนไม่มาก แต่อานิสงส์มหาศาล
    ความจริง ถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านหรือที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทานเราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวล การบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมาก อานิสงส์มันก็น้อย เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะ
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทานในหมู่ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกว่า คณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็น คณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็ฯ ปาฏิปุคคลิกทานทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก
    เรื่องนี้ก็ตัวอย่างคนที่มีทรัพย์น้อยทรัพย์มาก อย่าง ท่านอินทกะเทพบุตร กับ อังกุระเทพบุตร ไงล่ะ
    ท่านอังกุระเทพบุตร ทำบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา เวลานั้นพระพุทธศาสนาไม่มี ตั้งโรงทาน 80 โรง ให้ทานถึงหมื่นปี เลี้ยงคนกำพร้า คนตกยาก คนเดินทาง พอตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็น เทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุดเพราะเขตของบุญเล็กไป คนไร้ศีลไร้ธรรม ใช่ไหม..?
    ตรงกันข้าม ท่านอินทกะเทพบุตร เกิดเป็นคนจน พ่อตาย ตัดฟืนเลี้ยง แม่ ก็ไม่ได้ตัดขายมากมาย เอาแค่วัน ๆ พอกินพอใช้ไปวัน ๆ วันหนึ่งพระสงฆ์เดินผ่านไปที่นั้น ท่านมีโอกาสได้ถวายทานในฐานะไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อน คนจนจะมีอะไรมากนักใช่ไหมล่ะ เพียงแค่ครั้งเดียว ในชีวิตเท่านั้น อาศัยคุณความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่ง แล้วก็ถวายสังฆทานหนึ่ง สองอย่างด้วยกัน ตายแล้วไปเป็นเทวดาที่มีบุญมากที่สุดในดาวดึงส์ นอกจากพระอินทร์แล้วไม่มีใครโตกว่า"
    การทำบุญใส่บาตร
    ผู้ถาม : "การที่เราทำบุญใส่บาตรตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ.?"
    หลวงพ่อ : "คือว่า การใส่บาตรตามหน้าบ้านไม่เฉพาะเจาะจง พระอะไรมาก็ใส่ อย่างนี้ก็เป็นสังฆทาน ทีนี้ไปใส่บาตรตามที่พระชอบ ใช่ไหม..?"

    ผู้ถาม : "ไม่ใช่ชอบค่ะ คือว่าศรัทธาค่ะ"
    หลวงพ่อ : "ชอบกับศรัทธาก็ครือ ๆ กันละ ถ้าศรัทธาฉันตั้งแต่ 4 องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ 1 องค์ ถึง 3 องค์ อย่างนี้เป็น "ปาฏิปุคคลิกทาน""

    ผู้ถาม : "มีอานิสงส์มากไหมคะ..?"
    หลวงพ่อ : "มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ถ้าวัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับคนไม่มีศีล จนถึงพระอรหันต์มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่า
    ถวายทานกับพระอรหันต์ 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน 1 ครั้ง
    และถ้าถวายสังฆทาน 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน 1 ครั้ง คือ สร้างวิหาร มีการก่อสร้าง เช่น สร้างส้วม ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
    การถวายสังฆทาน 1 ครั้งในชีวิต และถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวาย เกิดไปทุกชาติ ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจ ไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้วจะไม่เกิดในที่นั้น ผลที่ให้ไปไกลมาก ท่านกล่าวว่า แม้แต่พระพุทธญาณเอง ก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวาย สังฆทาน
    คำว่า "ไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน" หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ยบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยัง ไม่หมด นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
    ฉะนั้นการถวายทานเป็นส่วนบุคคล กับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า แล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจาก สมาบัติ นี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไร
    ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระมีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่งคือ หมายความว่าถวายทานแก่ พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ 5 ประการ อย่างนี้ เราถวายกี่หมื่นกี่แสนอานิสงส์มันก็ไม่มาก
    ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มี ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึง ฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็น พระอริยเจ้า หมายความว่าให้คนเดียวนะ ก็ให้ผลปัจจุบันทันด่วนได้ผลวันนั้นเลย"

    ผู้ถาม : "แล้วอย่างการใส่บาตรโดยเราลงมือใส่เอง กับให้ลูกจ้าง คือ เด็กของเราใส่แทน อย่างไหนจะได้บุญมากกว่าคะ..?"
    หลวงพ่อ : "เราไปไม่ได้แต่ให้คนอื่นไป ได้บุญเท่ากัน แต่เราใส่เอง เราเกิดความปลื้มใจอันนี้ได้กำไรอีกนิด แต่ผลของทานมันเสมอกัน"

    ผู้ถาม : "เวลาเราใส่บาตรไปแล้ว ถ้าหากว่าพระไม่ได้ฉันอาหารของเรา เราจะได้บุญไหมคะ..?"
    หลวงพ่อ : "บุญมันเริ่มได้ตั้งแต่คิดว่าจะให้แล้วนะ พระจะฉันหรือไม่ฉัน ไม่ใช่ของแปลก คือการให้ทาน ตัวให้นี่มันตัดความโลภ และตัวให้นี่กันความจนในชาติหน้า อันดับรองลงมาก็ "ทานัง สัคคโส ปาณัง" ทานเป็นบันไดให้เกิดในสวรรค์
    ทีนี้พอเราเริ่มให้ปั๊บ มันเริ่มได้ตั้งแต่เราตั้งใจ การตั้งใจน่ะ มันตัดสินใจเด็ดขาดแล้วนะ เช่น คิดว่าพรุ่งนี้จะใส่บาตรข้าวขันนี้ เราไม่กินแน่นอน คิดว่าเราจะไม่กินเอง ตั้งแต่วันนี้คิดว่าจะใส่บาตร นี่บุญมันเกิดตั้งแต่เวลานี้
    แต่พอถึงพรุ่งนี้ต้องใส่จริง ๆ นะ อย่านึกโกหกพระ ไม่ได้นะ ไม่ใช่แกล้งนึกทุกวัน ๆ คิดว่านึกได้บุญ เลยไม่ได้ใส่บาตรสักที นี่ดีไม่ดีฉันพูดไปพูดมาเสียท่าเขานะ
    แต่คิดว่าจะทำจริง ๆนะ คือพรุ่งนี้จะใส่บาตรแน่ ๆ แต่ว่าวันนี้เกิดตายก่อน นี่ได้รับ 100 เปอร์เซ็นต์เลย ก็อย่างที่พระพุทธเจ้าบอกนั่นแหละ
    "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ"
    "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าตัวตั้งใจเป็นตัวบุญ"
    พระพุทธเจ้าบอกว่า มันมีผลตั้งแต่การตั้งใจเริ่มสละออก พอคิดว่าเริ่มจะทำ อารมณ์มันตัดตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว ถือว่าไม่ได้เป็นของเราแล้ว มันได้ตั้งแต่ตอนนั้น"
    ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ การใส่บาตรวิระทะโย มีอานิสงส์อย่างไรคะ..?"
    หลวงพ่อ : "อานิสงส์เท่ากับ ถวายสังฆทานธรรมดา ไม่ต่างกัน อานิสงส์เหมือนกันหมด แต่ว่าใช้ วิระทะโย (คาถาภาวนากันจน) มันมีผลปัจจุบัน ชาตินี้ทำให้เงินไม่ขาดตัว ถ้าใส่บาตรทุกวัน สวดมนต์อยู่เสมอ ถ้าจะหมดก็มีมาต่อจนได้ ถ้าแบ่งเวลาทำสมาธิละก็ขลังมาก รวยมากหน่อย"
    เนื้อนาบุญที่ดี
    ผู้ถาม : "เห็นพระบางองค์ดูลักษณะไม่สำรวม ท่านวนเวียนคอยรับบาตรบ้านคนโน้นคนนี้แล้วก็ถ่ายใส่ถัง ถ้าเราไม่ใส่บาตรพระแบบนี้เราจะเป็นบาปไหมคะ..?"
    หลวงพ่อ : "บาป เขาแปลว่า ชั่ว บุญ เขาแปลว่า ดี ถ้าเราไม่ใส่ก็ไม่ชั่วตรงไหนนี่ เพราะว่ามันเป็นทรัพย์สินของเรา ถ้าเราให้เขา เขาแสดงอาการไม่เป็นที่เลื่อมใส เราไม่ให้ก็ไม่เห็นจะแปลก เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า การให้ทานก็จะต้องเลือกให้เหมือนกัน เพราะผู้รับถือว่าเป็น เนื้อนาบุญ
    ถ้าหว่านพืชลงไปในนาลุ่มน้ำก็ท่วมตาย ถ้าดอนเกินไปน้ำไม่ถึงก็ตาย ต้องหว่านในเนื้อนาที่เหมาะสม ถ้าเราเห็นนามันไม่ควร เราก็ไม่ให้ ทำไม่เหมาะไม่สม ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าให้ก็เป็นการเลี้ยงโจร
    แต่ว่าถ้าพูดถึงทานการให้ เจตนาเราจะตั้งอย่างไรก็ตาม ตัวนี้มันเป็นผลตัดโลภะอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จริง ๆ ที่มีอานิสงส์สูงสุด คือ ตัดโลภะ ความโลภ เพราะคนที่มีความโลภนี้ ให้ทานไม่ได้ เงินที่จะให้ทานนี้มันตัดความสุขของเจ้าของ หากว่าเจ้าของเขาไม่ให้ เขากินเขาใช้ก็มีความสุข เขาอุตส่าห์ตัดวความสุขของเขาส่วนนี้ออกไป เป็นการตัดโลภะ ความโลภ เป็นก้าวหนึ่ง ที่จะถึงพระนิพพาน อันนี้เขาไม่ต่ำ มันเป็น จาคานุสสติกรรมฐาน
    จาคานุสสติกรรมฐานนี่ไม่ต้องไปภาวนา จิตคิดว่าจะให้ทานทุกวัน ๆ นี่นะ จิตคิดว่าถึงเวลานั้นเราจะใส่บาตร มากหรือน้อยก็ตาม อันนี้เป็น จาคานุสสติกรรมฐาน และการใส่บาตรหน้าบ้าน เขาถือว่าเป็นสังฆทาน ถ้าพระองค์ไหนมีจริยาไม่สมควร เราไม่ให้มันก็ไม่แปลก การถวายสังฆทานมันก็มีผล สำหรับพระผู้รับ ถ้าผู้รับไม่ดีก็ลงอเวจีไปเอง"

    ผู้ถาม : "กระผมอยากจะทำบุญใส่บาตรเหมือนกันครับ แต่คิดว่าของที่จะใส่บาตรทำบุญมันไม่ดี ก็เลยอายไม่อยากใส่ กะไว้ว่าถ้ามีอาหารดีเมื่อไรจะใส่บาตร ผมคิดอย่างนี้ถูกไหมครับ ..?"
    หลวงพ่อ : "การทำบุญทำไมจะต้องอาย เคยมีนักเทศน์เขาถามกันว่า "มียายกับตา 2 คน แกหุงข้าวแฉะแล้วแฉะอีก ไอ้แกงก็เปรี้ยวแล้วเปรี้ยวอีก แกกินไม่ลง ของมันกินไม่ได้ เวลาพระมาบิณฆบาตแกก็บอกใส่บาตรดีกว่า
    พระนักเทศน์เขาก็ถามกันว่า "อย่างนี้จะได้อานิสงส์ไหม.." ก็ต้องตอบว่า "ได้อานิสงส์ แต่ผลที่เขาจะได้รับก็เป็นทาสทาน"
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.putthapoom.com/

    หลวงพ่อ หมายถึง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    http://www.putthapoom.com/answer/answer3.html

    อานิสงส์การถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน


    ผู้ถาม : "ทาสทานเป็นยังไงครับ"
    ทานมี 3 ประเภท
    หลวงพ่อ : "คำว่า ทาสทาน หมายความว่า ให้ของเลวกว่าที่เรากินเราใช้ เวลาที่เราใช้สอย มันก็ต้องเลวกว่าที่เขากินเขาใช้กัน ได้ก็ได้ของเลว
    ถ้าให้ของเสมอที่เรากินอยู่ หรือที่เราใช้อยู่ เขาเรียกว่า สหายทาน ผลที่เราจะได้รับ ก็เสมอกับที่เรากินเราใช้
    ถ้าให้ของที่ดีกว่าที่เรากินเราใช้ เขาเรียกว่า สามีทาน สามีทานเขาไม่ได้แปลว่า ผัวทานนะ สามี เขาแปลว่า นาย เวลาที่จะได้รับผลเราก็จะได้ของเลิศ
    ถ้าจะถามว่า ทาสทานมีอานิสงส์ไหม ก็ต้องดุตัวอย่าง ท่านอาฬวีเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์ 80 โกฏิ พระราชาตั้งเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่าผ้าที่แกนุ่งนี่ ผ้าใหม่แกนุ่งไม่ได้ นุ่งผ้าช้ำแล้ว ใกล้จะขาดแกจึงนุ่งได้ ข้าวที่จะกินเม็ดสวย ๆ ก็กินไม่ได้ต้องเป็นข้าวหัก หรือปลายข้าวแกจึงจะกินได้ ของทุกอย่างที่แกใช้ต้องเป็นของเลว แต่อย่าลืมว่าเขาก็เป็นมหาเศรษฐ๊ได้นะ"
    หลวงพ่อปรารภเพิ่มเติมว่า
    หลวงพ่อ : "การตั้งใจว่าจะใส่บาตรด้วยของดี ๆ น่ะดี แต่ว่าวันไหนมีอาหารที่เราคิดว่าไม่ดีก็ใส่บาตรได้
    การให้ทาน พระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าให้เบียดเบียนตัวเอง ถ้าเบียดเบียนตัวเองเป็น อัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานตัว
    และการให้ทานพระพุทธเจ้าให้ดูอีกว่า ควรให้หรือไม่ควรให้ ถ้าให้ในเขตของคนเลวอานิสงส์ก็น้อย อาจจะไม่มีเลย รู้ว่าคนนี้ควรจะให้เราก็ให้ ถ้าไม่ควรให้เราก็ไม่ให้ ให้แล้วไปกินเหล้าเมายา ไปสร้าง อันตรายกับคนอื่น เราไม่ให้ดีกว่าเป็นการต่อเท้าโจร ให้พลังแก่โจร เวลาจะให้ท่านวางกฎไว้ดังนี้
    1.ผู้ให้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์หรือไม่เขาจึงให้สมาทานศีลก่อน ถ้าสักแต่ว่าสมาทานนี่ซวย เวลานั้นต้องตั้งใจรักษาศีลจริง ๆ จิตตอนนั้นมันจึงจะบริสุทธิ์ คืออยู่ในช่วงว่างจากกิเลส ถ้าตั้งใจสมาทานศีลด้วยดี จิตตอนนั้นบริสุทธิ์
    2.ผู้รับบริสุทธิ์ หมายความว่า ถ้าผู้รับเป็นพระ ก็พยายามให้เป็นพระจริง ๆ นะ ถ้าถวายสังฆทานนี่ไม่ต้องห่วง ผู้รับบริสุทธิ์แน่ พระองค์ไหนถ้าไม่บริสุทธิ์ กินแล้วตกนรก
    3.วัตถุทานบริสุทธิ์ ถ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์เอามาทำบุญ ไม่ได้ขโมยสตางค์เขามาทำบุญ เป็นของที่เราหามาได้โดยชอบธรรม
    อย่างนี้ของดีก็ตาม ของเลวก็ตามมีอานิสงส์มาก อานิสงส์คือความดี ความชื่นใจมาก
    ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ความดีก็ลดน้อยลง
    แต่ผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับไม่บริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ให้บาทหนึ่ง จะได้สักสตางค์หรือเปล่าก็ไม่รู้
    รวมความว่า ต้องบริสุทธิ์ 3 อย่าง ถ้าลดไปอย่างใดอย่างหนึ่งอานิสงส์ก็ลดตัวลงมา ถ้าลดเสียหมดเลยก็ไม่มี"
    เจตนาครบ 3 กาล
    หลวงพ่อ : "แต่ว่าการให้ทาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อีกประเภทหนึ่ง ต้องให้ครบ 3 กาล จึงจะมีอานิสงส์สูง คือ
    1. ก่อนที่จะให้ก็ตั้งใจว่าจะให้
    2. ขณะที่ให้ก็ดีใจ
    3. เมื่อให้แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส
    มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จนลง ขนาดข้าวเป็นเม็ดแทบไม่มีกิน ต้องกินปลายข้าว แต่ว่าศรัทธาของท่านยังไม่ถอย ท่านนิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ท่านก็เอาปลายข้าวละเอียด เรียกว่า ข้าวปลายเกวียนต้ม แล้วก็เอาน้ำผักดองเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ ทำเป็นกับมาถวายพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้า
    "เวลานี้ทานของข้าพระพุทธเจ้าเศร้าหมอง พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าถามว่า "เธอมีเจตนาในการถวายทานมีความรู้สึกอย่างไร..?"
    ท่านบอกว่า "ก่อนจะให้เต็มใจพร้อมเสมอ ในขณะที่ให้ก็ปลื้มใจ เมื่อให้แล้วก็เกิดความเลื่อมใส ดีใจว่าให้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า "ดูก่อน มหาเศรษฐี ลูขัง วา ปะณีตัง วา" หมายความว่า ถ้าคนให้ทานมีเจตนาพร้อมเพรียงทั้ง 3 กาลอย่างนี้ ของดีก็ตาม ของเลวก็ตาม ย่อมมีอานิสงส์เลิศ มีอานิสงส์สูง แต่ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีท่านทำนั้น ท่านถวายพระพุทธเจ้า และพระที่ฉันก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นับเป็นยอดของทาน
    ถ้าหากว่าเราไม่รู้จะเลือกยังไง องค์นี้จะเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์หรือเปล่า หรือเป็นพระโปเก พระเชียงกง ถ้าเราไม่รู้ก็ถวายเป็นสังฆทานเลย เพราะสังฆทานอานิสงส์สูงมาก รองจากวิหารทาน"

    ผู้ถาม : "หลวงพ่อครับ ใส่บาตรตอนเช้าบังเอิญหากับข้าวไม่ทัน เอาปลาเค็มที่กินค้างเมื่อวานนี้ใส่ไป เพราะความจำเป็นอย่างนี้มีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่าครับ..?"
    หลวงพ่อ : "มีแน่ เป็นผลร้ายแรงมาก"

    ผู้ถาม : "ขนาดไหนครับหลวงพ่อ..?"
    หลวงพ่อ : "ตายแล้วเป็นเทวดา นี่เป็นจริง ๆ นะ"

    ผู้ถาม : "ก็นี่เขากินเหลือนี่ครับ"
    หลวงพ่อ : "เดี๋ยวก่อน..เคยอ่านเจอในพระไตรปิฎกไหม ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปในที่แห่งหนึ่ง เวลานั้นสายเกินไป เลยเวลาอาหารตอนเช้าใช่ไหม พร้อมกับพระสงฆ์ ก็มีพราหมณ์คนหนึ่งบอกว่า
    "อาหารของข้าพเจ้ามี แต่เวลานี้มันเป็นเดนเสียแล้ว การถวายพระพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระสงฆ์เกรงจะเป็นบาป"
    พระพุทธเจ้าถามว่า "เธอคิดว่าเป็นเดนน่ะ เธอตักกินในหม้อหรือเปล่า"
    เขาบอกว่าเปล่า เขาตักออกมาใส่ถ้วยแล้วกิน พระพุทธเจ้าบอกว่า "อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นเดน ถวายพระสงฆ์หรือพระพุทธเจ้าก็ดี จะมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบ" แล้วท่านก็ตรัสต่อไป "ถึงแม้ว่า อาหารจะเป็นเดน คือ กินในถ้วยนั้นแล้ว แต่ถ้าพระท่านหิว ถ้าเอาไปถวาย ก็มีอานิสงส์สมบูรณ์แบบเหมือนกัน ไม่มีโทษมีแต่คุณ"
    การทำบุญมี 3 วิธี
    หลวงพ่อ : "อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า สมัยพระพุทธกัสสปท่าเนทศน์ไว้อย่างนี้คือ
    "บุคคลใดทำบุญด้วยตนเอง ไม่ชักชวนคนอื่น ถ้าเกิดในชาติต่อไป จะร่ำรวยโภคสมบัติ แต่ขาดเพื่นอขาดบริวารสมบัติ"
    "ถ้าดีแต่ชักชวนเขา ไม่ทำเอง ชาติต่อไปมีเพื่อนมาก แต่ตัวเองจน"
    "ถ้าทำบุญด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย รวยด้วย มีพรรคพวกมากด้วย"
    นี่ท่านเทศน์แบบนี้นะ ถ้าเราทำคนเดียวได้ก็ทำ ทีนี้ถ้าเราชวนเขาด้วย แต่ว่าการชวนนี่ก็ลำบากนะ ถ้าชวนเขาทำบุญด้วย ก็อย่าหวังว่าเขาจะให้เรานะ คิดว่าเขาให้หรือไม่ให้ก็เป็นเรื่องของเขา คือ แนะนำเขา ว่าเวลานี้เราทำโน่นทำนี่ จะทำบุญร่วมด้วยไหม .. ถ้าบังเอิญเขาไม่ทำร่วมด้วยก็อย่าไปโกรธ เราถือว่าเราชวนเขาทำความดี ถ้าเราโกรธเขาเข้า บุญเราจะด้อยลงไป เพราะตัวโกรธเข้ามาตัด"

    ผู้ถาม : "ดิฉันเคยอ่านเจอในหนังสือที่หลวงพ่อเขียนบอกว่า การถวายสังฆทานควรมี พระพุทธรูป ผ้าไตรจีวี และอาหาร อันนี้จำเป็นจะต้องมีครบ ตามนี้ไหมคะ..?"
    หลวงพ่อ : "ความจริงเราไม่ทำถึงขนาดนี้ก็ได้ การถวายสังฆทาน ในที่บางแห่งใช้เครื่อง 5 เครื่อง 8 น่ะเป็นการสร้างขึ้น เรามีข้าวเพียงช้อนหนึ่ง แกงเพียงช้อนหนึ่ง น้ำเพียงช้อนหนึ่งแล้วถวายไป บอกว่า เป็นสังฆทาน เพียงเท่านี้ก็ใช้ได้ แต่ว่าที่เขียนไว้ในหนังสือว่าควรทำแบบนี้เพราะว่า ผีกี่ร้อยกี่พันรายก็ตามมาขอกันแบบนี้เรื่อย คือขอเหมือนกัน ที่ฉัน แนะนำเขาตามที่ผีเขาขอนะ เลยถามเขาว่า "ผลจะได้แก่พวกเอ็งเป็นยังไง..?" เขาบอกว่า
    1. ถวายพระพุทธรูปเป็นของสงฆ์ อานิสงส์ก็คือถ้าเป็นเทวดามีรัศมีกายสว่างไสวมาก เพราะว่าเทวดาหรือพรหม เขาไม่ดูกันที่เครื่องแต่งตัว เขาดูแสงสว่างจากกาย
    2. ผ้าไตรจีวร หรือผ้าสักผืนหนึ่ง เขาจะได้เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ เครื่องแต่งตัวทิพย์
    3. อาหารหรือของกิน จะทำให้มีร่างกายเป็นทิพย์"

    ผู้ถาม : "ทีนี้ถ้าหากว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจุติจากเทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี มาเกิดเป็นมนุษย์ อานิสงส์เหล่านี้จะติดตามมาอีกไหมครับ..?"
    หลวงพ่อ : "อานิสงส์ตามมา คือ
    1. มีรูปร่างหน้าตาสวย เพราะอานิสงส์ถวายพระพุทธรูป แล้วก็มีปัญญาทรงตัว นี่อำนาจพุทธานุภาพนะ
    2. เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวดี และไม่อดอยากเพราะอาศัยทาน
    ตัวอย่าง นางวิสาขา เป็นคนสวยงามมาก เพราะในชาติก่อนได้เคยซ่อมแซมพระพุทธรูป และปลูกโรงทำหลังคาคลุมพระพุทธรุ) จึงเป็นปัจจัยได้ เบญจกัลยาณี คือมี ความงาม 5 ประการ
    และนางวิสาขาก็เป็นคนรวยมาก มีเครื่องลดามหาปสาธน์ราคา 16 โกฏิ เป็นเครื่องประดับ เพราะอานิสงส์เคยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ถ้าเป็นผู้ชายออกบวชในสำนักพระพุทธเจ้า เมื่อท่านตรัสว่า "เอหิ ภิกขุ" แปลว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด" เพียงเท่านี้ ก็จะได้ผ้าไตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ลอยลงมา สวมตัวทันที
    ทั้งนี้ด้วยอำนาจบุญบารมีที่ท่านได้บำเพ็ญแล้วด้วยดี จังเป็นปัจจัยให้นางวิสาขาเป็นทั้งคนสวยคนรวย และเป็นคนที่มีปัญญามาก ได้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ"

    ผู้ถาม : "ทีนี้ก็มีคนสงสัยเรื่องสังฆทานครับ ถามว่าสังฆทานที่มาถวายหลวงพ่อ แล้วก็ ผาติกรรมไป แล้วก็กลับมาถวายหลวงพ่ออีก ครั้งหนึ่ง อานิสงส์จะสมบูรณ์หรือไม่อย่างไรครับ..?"
    หลวงพ่อ : "เท่ากันแหละ เขาเอาแบ๊งค์มาถวายก็เป็นสังฆทาน ถ้าอยากจะมีของ ไปรับเอามาก็เท่ากัน"

    ผู้ถาม : "ซื้อมาเองกับผาติกรรมนะครับ..?"
    หลวงพ่อ : "แต่อย่าลืมว่าสตางค์ของใคร นั่นมันเป็นสัญลักษณ์ เป็นนิมิตออกมา มีของสักหน่อยใจมันสบายกว่าไม่มีของใช่ไหม ถ้าเจตนาให้เงินมันเป็นอะไรมันก็เป็นไปตามนั้น และก็ตั้งใจเฉย ๆ เกรงว่าไม่เป็นไปตามน้นให้มันมีของตั้งอยู่ ถ้าต้องการจีวรต้องการพระพุทธรูปก็เป็นนิมิตจับ
    อย่าลืมว่าอานิสงส์ของสังฆทาน อะไร ๆ ก็ต้องไปดาวดึงส์เป็นอย่างน้อย สังฆทานกับวิหารทาน จุดแรกต่ำที่สุดคือ ดาวดึงส์ หลังจากนั้นจะไปเลวกว่านั้นก็ตามใจ แต่อย่าลืม นะ ดาวดึงส์นี่เข้ายากนะ ไม่ใช่เข้าง่ายนะ นอกจากทำบุญขั้นสังฆทานและวิหารทานแล้ว ถ้าเป็นบุญเล็กน้อย ก็ต้องเป็นการทำบุญตัดชีวิต
    คำว่า "ทำบุญตัดชีวิต" ก็หมายความว่า ถ้าเราเดินทางไป เอาข้าวไปจำกัด ขณะกินข้าวอยู่ก็เห็นสุนัขเดินมา หรือไก่เดินมา นึกสงสารมัน "ให้มันกินหน่อยเถอะวะ"อย่างนี้ ไปดาวดึงส์ก็ได้"
    ทำบุญวันเกิด
    <FFONT style="FONT-SIZE: 14pt; FONT-FAMILY: CordiaUPC, BrowalliaUPC, MS Sans Serif" color="#FF0000">ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ การทำบุญวันเกิด เราจะทำหลังวันเกิดดี หรือก่อนวันเกิดดีคะ..?"
    หลวงพ่อ : "ตอนไหนก็ได้ การทำบุญวันเกิด เราถือว่าปีหนึ่งเรามีโอกาสทำบุญครั้งหนึ่ง ที่เราทำบุญวันเกิดนี่เป็นนโยบายของพระ ท่านให้เรามีจิตเป็นกุศลไว้ ถ้าถึงวันเกิดเราตั้งใจจะทำบุญ เราจะทำอะไรบ้าง มีการเตรียมการไว้ในใจ ถ้าจิตมันนึกอย่างนี้ เวลาจะตายอานิสงส์ได้ทันที
    อย่าง สาตกีเทพธิดา เธอจะเอาดอกบวบขมไปบูชาเจดีย์ที่เขาบรรจุกระดูกของพระอรหันต์ แต่พอจัดดอกไม้ยังไม่ทันพ้นบ้าน ถูกวัวขวิดตาย อาศัยที่เธอจะตั้งใจบูชาพระด้วยดอกไม้ดอกนั้น ยังไปไม่ถึง พอตายแล้วก็เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก มีวินมานทองคำเป็นที่อยู่ มีนางฟ้า 1,000 เป็นบริวาร
    อย่างนี้เขาถือว่าเป็น อนุสสติ ถ้าเรานึกจะถวายเป็นสิ่งของก็เป็นจาคานุสสติ คิดว่าเราจะทำบุญกับพระองค์นั้นองค์นี้ นึกถึงพระสงฆ์ ก็เป็น สังฆานุสสติ ถ้าเราคิด จะทำบุญกับพระสงฆ์ แต่ให้มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ด้วย นึกถึงพระพุทธก็เป็น พุทธานุสสติ ถือว่าเป็นการเจริญพระกรรมฐานไปในตัว แต่พระท่านไม่ได้บอกตรง ๆ เท่านั้นเอง"

    ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ แล้วอย่างทำบุญแค่เพียงเล็กน้อย เช่น การสร้างโบสถ์นี่นะคะ คือไม่ได้ทำทั้งหลังค่ะ ทำเฉพาะประตูไม้ เขามาเรี่ยไรก็ร่วมทำบุญไปกับเขาค่ะ อย่างนีบุญคงน้อยกว่าการทำบุญทั้งหลังใช่ไหมคะ..?"
    หลวงพ่อ : "ถ้าเราทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างกุฏิ สร้างศาลา ทั้งหมดนี่เราไม่ได้ทำเต็มหลัง คือราคาไม่เต็มหลังแต่ว่าไม่ใช่เราได้นิดเดียวนะ เราก็ได้เต็มหลัง วิมานจะปรากฏเลย ถ้าเราได้มาโนมยิทธิจะสามารถไปเที่ยวดูได้"

    ผู้ถาม : "รู้สึกว่า สมบัติที่เราทำไปมันน้อย ก็คิดว่าบุญคงได้น้อยค่ะ"
    หลวงพ่อ : "สมบัติมันเล็กน้อยก็จริง แต่ว่าอานิสงส์มันไม่เล้กน้อย ก็แบบซื้อลอตเตอรี่ใบเดียวถูกรางวัลที่หนึ่งน่ะ อย่างทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างอาคาร สร้างส้วม เขาเรียกว่า วิหารทาน อันนี้จัดเป็นบุญสูงสุด
    ตัวอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็น มฆมานพ ท่านกับเพื่อนอีก 32 คน ช่วยกันทำศาลาหลังหนึ่งไว้เป็นที่พักของคนเดินทาง มีช้างสำหรับลากไม้หนึ่งเชือก มีนายช่างหนึ่งคน
    เวลาตายไปแล้ว ท่ามฆมานพก็ไปเป็นพระอินทร์ เพื่อนอีก 32 คนก็ไปเทวดา มีวิมานคนละหลัง นายช่างไปเป็น วิษณุกรรมเทพบุตร ช้างที่ลากไม้เป็น เอราวัณเทพบุตร มีวิมานคนละหลัง นี่เป็นเรื่องอานิสงส์นะ"

    ผู้ถาม : "หลวงพ่อครับ กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทานบ้างครับ..?"
    หลวงพ่อ : " "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ให้ธรรมทานซิคุณ หนังสือเรียนของเด็ก หนังสือเรียน ของผู้ใหญ่ หนังสือเรียนของพระ หนังสือธรรมะต่าง ๆ
    ดูตัวอย่าง พระสารีบุตร ให้ปัญญากับประชาชนทั้งหลาย เพราะอานิสงส์ได้เคยสร้างพระธรรมซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์ถวายพระพุทธเจ้า เกิดมาชาติหลังสุดเป็นพระที่มีปัญญามาก
    อย่างเงินที่เขาถวายฉันไว้นี่ พอกลับไปถึงวัดก็เรียบร้อย เลี้ยงอาหารพระบ้าง ค่ากระแสไฟฟ้าบ้าง ค่าก่อสร้างบ้างโดยเฉพาะเทปคาสเซทที่ขายม้วนละ 25 บาท ถ้าเอาทุนจริง ๆ แล้วมันไม่พอ รวมความว่า ที่ท่านตั้งใจนี่มีผล 4 อย่าง
    1. สร้างพระพุทธรูป
    2. วิหารทาน
    3. สังฆทาน
    4. ธรรมทาน
    ทั้งหมดนี้ใช้ทุนไม่ต้องมากก็ได้ เอาสัก 50 สตางค์ เป็นอันว่าการทำบุญเอาแค่พอควรนะ แต่ให้มันเป็นบุญใหญ่ เขามุ่งแบบนั้นนะ คือเราเอาไปผสมกับเขาก็แล้วกัน ไม่ต้องสร้างทั้งหลัง"

    ผู้ถาม : "กระผมสงสัยเรื่องการทำบุญ บางคนก็ทำช้า บางคนก็ทำไว อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า การทำบุญช้าบ้าง เร็วบ้าง ยืดยาดบ้าง อานิสงส์จะต่างกันหรือไม่ขอรับ..?"
    หลวงพ่อ : "ต่างกัน คือได้ช้า ได้เร็ว ก็เหมือน ท่านจูเฬกสาฎก ท่านฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ตั้งใจถวายทานตั้งแต่ยามต้น และยามที่ 2 จิตเป็นห่วงยาย ที่บ้านไม่มีโอกาสจะฟังเทศน์เพราะไม่มีผ้าห่ม พอยามที่ 3 ใกล้สว่าง จึงตัดสินใจถวายแล้วประกาศว่า "ชิตัง เม ชิตัง เม" พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยินก็ทราบว่า ชนะความตระหนี่ จึงนำผ้าสาฎกและทรัพย์สินต่าง ๆ มาให้มีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่ง
    ต่อมาพระพุทธเจ้าตรัสว่า "ถ้าพราหมณ์นี้ถวายในยามต้นจะได้เป็น มหาเศรษฐี ถ้าถวายยามที่ 2 จะได้เป็นอนุเศรษฐี ยามที่ 3 จะได้เป็นคหบดีใหญ่ ที่ได้น้อยเพราะถวายช้าเกินไป" พระองค์จึงตรัสว่า การบำเพ็ญกุศลผลความดีในศาสนาของเรานี้จงอย่าให้เนิ่นช้า ต้อง "ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง" คือ เร็ว ๆ ไว ๆ"
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/tipitakaonline/dharmatan.htm

    ธรรมทาน

    1) เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๔
    ... การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ย่อมชำนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นตัณหา ย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง
    โภคทรัพย์ทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
    แต่หาฆ่าผู้ที่แสวงหาฝั่งไม่ คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนได้
    เหมือนบุคคลฆ่าผู้อื่นเพราะความอยากได้โภคทรัพย์
    ฉะนั้น นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์มีราคะเป็นโทษ
    เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากราคะ
    ย่อมมีผลมาก
    นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ
    เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโทสะ
    ย่อมมีผลมาก
    นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นโทษ
    เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากโมหะ
    ย่อมมีผลมาก
    นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ
    หมู่สัตว์นี้มีความอิจฉาเป็นโทษ เพราะเหตุนั้นแล
    ทานที่บุคคลถวายในท่านผู้ปราศจากความอิจฉา ย่อมมีผลมาก ฯ

    2) เล่มที่ ๒๐
    [๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้
    ธรรมทานเป็นเลิศ ฯ

    [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้
    การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้
    การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้
    การบริจาคธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้
    การบริโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้
    การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้
    การจำแนกธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
    การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
    ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
    ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
    จบทานวรรคที่ ๓

    3) ทานสูตร
    เล่มที่ ๒๕
    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ
    อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้
    ธรรมทานเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ
    การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้
    การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
    การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
    การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม
    วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ
    รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ
    ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า
    ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒
    ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ
    จบสูตรที่ ๙

    4) กินททสูตรที่ ๒
    เล่มที่ ๑๕
    [๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า
    บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง
    ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ
    ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้ความสุข
    ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ
    และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์
    ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ฯ

    [๑๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
    ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ
    ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
    ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
    และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
    ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมฤตธรรม ฯ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กรมศิลป์ตั้ง 13 คณะทำงานสร้างพระเมรุ พร้อมเปิดตัวสัตว์หิมพานต์ประดับ</TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000006431
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>16 มกราคม 2551 17:42 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คชสีห์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>วายุภักตร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นกทันทิมา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ไกรษรราชสีห์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>กินนร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://palungjit.org/showthread.php?p=921425#post921425
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สธ.ชี้พิษปลาปักเป้าทนความร้อนสูง “ปลาร้า” ทำลายไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>16 มกราคม 2551 17:59 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=194 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=194>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สธ.ชี้พิษปลาปักเป้าทนความร้อนสูง ระบุความเค็มจากการแปรรูปเป็นปลาร้า ก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ สั่งการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งกวดขันเรื่องการจำหน่ายปลาปักเป้า และขอร้องผู้ประกอบการเห็นแก่ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน ไม่นำปลาปักเป้ามาแปรรูปเป็นอาหารจำหน่าย

    จากกรณีนางสมใจ ซื่อตรง อายุ 48 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ้านค่าย จ.ระยอง เมื่อเช้าวันที่ 14 มกราคม 2551 ภายหลังรับประทานส้มตำปลาร้า ที่เพื่อนบ้านปรุง ร่วมกับบุตร หลาน และเพื่อนบ้าน รวม 5 คน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2551 แล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง แขน ขา อ่อนแรง นิ้วมือชา โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ได้เก็บตัวอย่างจากร้านค้าในตลาดหนองกลับ และพบว่า แหล่งผลิตเป็นโรงงานในจังหวัดนครสวรรค์

    นพ.มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดกวดขันเรื่องการนำปลาปักเป้าน้ำจืดและน้ำเค็มมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ทั้งร้านหมูกระทะ และการแปรรูปเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้น หมักทำเป็นปลาร้ารวมกับปลาอื่นๆ เนื่องจากพิษของปลาปักเป้า ทนต่อความร้อน ความเค็ม ไม่สลายไปเมื่อนำมาปรุงอาหาร โดยพิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า เตดโตรโดทอกซิน (Tetrodotoxin) พบมากที่ส่วนของไข่ ตับ ลำไส้ หนังของปลา หลังได้รับพิษประมาณ 10-30 นาที จะมีอาการเริ่มจากชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า จนมีอาการรุนแรง กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต หายใจไม่ออก ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตในที่สุด

    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 264 พ.ศ.2545 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย คือ ปลาปักเป้าทุกชนิด และอาหารที่มีปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพราะประชาชนไทยยังมีทางเลือกรับประทานอาหารอื่นๆ ได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ขอร้องผู้ประกอบการอาหาร เห็นแก่ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน ไม่นำปลาปักเป้ามาแปรรูปเป็นอาหารจำหน่ายโดยเด็ดขาด

    ด้านนพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า พิษจากปลาปักเป้า ยังไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ การรักษาของแพทย์ จะต้องใช้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยให้น้ำเกลือ หากหยุดหายใจจะใส่เครื่องช่วยหายใจ โดยพิษของปลาปักเป้าจะขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ หากพิษหมดจากร่างกายอาการผู้ป่วยก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในการรับประทานอาหารจำพวกปลา เช่น เนื้อสัตว์ปิ้งย่างในร้านหมูกระทะ ข้าวต้มปลา ปลาผัดคึ่นฉ่าย ปลาผัดเผ็ดต่างๆ ขอให้สังเกตลักษณะของเนื้อปลา ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเนื้อไก่ หากรับประทานแล้วมีอาการผิดปกติให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะที่ผ่านมาการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักมาจากการหยุดหายใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>น้ำมันพืชแพง สั่ง สสจ.ให้ความรู้แม่ค้า หวั่นใช้ซ้ำซากก่อเชื้อมะเร็ง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>16 มกราคม 2551 11:56 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=451 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=451>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งการสำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ แนะนำประชาชนในการใช้น้ำมันมือสองทอดอาหาร โดยเฉพาะแม่ค้าปาท่องโก๋ ลูกชิ้นทอด ทอดมัน กล้วยทอด เต้าหู้ทอด อย่าใช้น้ำมันมือสองทอดเกิน 2 ครั้ง หากต้องการใช้ซ้ำให้เทน้ำมันเก่าทิ้ง 1 ใน 3 ส่วน แล้วจึงเติมน้ำมันใหม่ หากน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น ฟองมาก เป็นควันง่ายและเหม็นไหม้ควรเลิกใช้ โดยหลังทอดอาหารต้องล้างกระทะทุกวัน

    นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำมันพืชในท้องตลาด มีการปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อประชาชนผู้บริโภค เนื่องจากต้องใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารจำพวกทอดและผัดกันมาก และบางรายอาจมีการน้ำมันที่ใช้แล้วมาใช้อีก จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลายๆ ครั้งจะมีคุณสมบัติเสื่อมลง ทั้งสี กลิ่น รสชาติ โดยในระหว่างการทอดจะมีสารโพลาร์ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันเกิดขึ้น ซึ่งสารดังกล่าวสามารถสะสมในร่างกายและส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารเป็นสารก่อกลายพันธุ์ ทำให้เกิดมะเร็งบนผิวหนัง เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง นอกจากนี้สารโพลาร์ยังใช้เป็นตัวชี้วัดการเสื่อมสภาพของน้ำมันโดยรวมได้

    นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจตัวอย่างน้ำมันทอดอาหาร ปี 2548 -2550 จากร้านค้าและและรถเข็นในตลาดสด ตลาดนัด และซูเปอร์มาร์เกต ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 1,464 ตัวอย่าง พบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เช่น ไก่ทอด ปาท่องโก๋ ลูกชิ้น ทอดมัน กล้วยทอด ไส้กรอก กะหรี่พัพฟ์ เป็นต้น มีค่าเกินมาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก จำนวน 116 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7.92 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนรวมทั้งผู้ประกอบการอาหาร ในการใช้น้ำมันโดยเฉพาะน้ำมันมือสองในยุคที่น้ำมันพืชมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

    ทางด้านนายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในการใช้น้ำมันทอดอาหาร ไม่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง หากต้องใช้ซ้ำทอดอาหารครั้งต่อไป ให้เทน้ำมันเก่าทิ้งไป 1 ใน 3 และเติมน้ำมันใหม่ลงไป หากน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ ฟองมาก เป็นควันง่าย และเหม็นไหม้ ไม่ควรใช้ต่อไป

    นายแพทย์นิพนธ์ กล่าวต่อว่า ในการทอดอาหารไม่ควรใช้ไฟแรงเกินไป และรักษาระดับน้ำมันในกระทะให้เท่าเดิมเสมอ ให้ซับน้ำส่วนเกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมัน และทอดอาหารครั้งละไม่มากเกินไป เพื่อลดเวลาในการทอดลง และหมั่นกรองกากอาหารทิ้งระหว่างและหลังการทอดอาหาร เปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารให้บ่อยขึ้นหากทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก ทั้งนี้ น้ำมันที่ใช้แล้วควรทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำไบโอดีเซล แต่หากจำเป็นต้องเก็บไว้เพื่อนำกลับมาปรุงอาหารอีก ภายหลังการทอดอาหารเสร็จ ให้รีบปิดแก๊สหรือยกลงจากเตาทันที แล้วนำไปเก็บไว้ในภาชนะสแตนเลสหรือขวดแก้ว ปิดฝาให้สนิท เก็บในที่เย็นและไม่โดนแสงสว่าง เพื่อป้องกันการเสื่อมสลายของน้ำมัน แต่หากอยู่ระหว่างช่วงพักการทอดอาหาร ควรราไฟลงหรือปิดเครื่องทอด โดยไม่ควรใช้น้ำมันซ้ำเกิน 2 ครั้ง และหากไม่ได้เก็บในสภาวะดังกล่าว ควรทิ้งไป

    นอกจากนี้ ควรล้างทำความสะอาดกระทะหรือเครื่องทอดอาหารทุกวัน เพราะน้ำมันเก่าจะมีอนุมูลอิสระของกรดไขมันอยู่มาก จะเร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารใหม่ที่เติมลงไป และหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระทะที่ทำจากเหล็ก ทองแดง หรือทองเหลือง หรืออลูมิเนียมในการทอดอาหาร เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมันทอดอาหาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post918233 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 09:50 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #13762</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ kittipongc [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมมีความคิดว่าจะตั้งเป็นชมรม โดยใช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมพระวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้ว" ผมจะไปขอให้ท่านอาจารย์ประถม และพี่ใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา ส่วนประธานชมรม, เลขาธิการชมรม และส่วนอื่นๆ ไว้มาคุยกันอีกรอบ เรื่องของประธานชมรมนั้น ผมมีแนวคิดว่า จะให้คุณ นายสติ เป็นประธานชมรม เนื่องจากคุณ นายสติ เป็นผู้ที่รอบรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี จุดประสงค์เพื่อที่จะสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่ให้ออกไปสู่ผู้ที่สนใจ จะได้ไม่เดินหลงทิศหลงทางกัน เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอสมัครเข้าชมรม ด้วยครับพี่ โอกาสดีๆอย่างนี้หายาก (f)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมขอให้เข้ามาคุยกันก่อนนะครับ คุยกันบนบอร์ดก่อนนะครับ

    ผมเจอมาแล้วกับผู้ที่เข้ามาในกลุ่ม แล้วกลับเป็นผู้ที่มีปัญหามากๆ ทำให้ผมกับคุณนักเดินทาง มีเรื่องกับญาติคุณนักเดินทาง และผมได้เจอปัญหากับผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นำปู่ประถม ,ผม หรือคนอื่นๆ ไปเป็นการรับรองในการค้าขาย ผมจึงต้องระวังไว้ให้มากๆครับ

    สมาชิกในเบื้องต้น เป็นผู้ที่เข้ามาทำบุญและผมเองได้ติดต่อไปก่อน ส่วนท่านอื่นๆ ผมรบกวนขอให้เข้ามาร่วมกันทำบุญและคุยกันบนบอร์ดก่อนครับ

    ขอบคุณมากและโมทนาสาธุครับ
    .



    เรื่องชื่อ ยังสามารถเสนอแนวความคิดเข้ามาได้นะครับ
    แต่การตัดสินที่สุด คงอยู่กับท่านอาจารย์ประถมครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ขอบคุณคุณหนุ่มมากครับที่อุตส่าห์ไปค้นคว้าหาธรรมมาให้
    การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง

    โมทนาสาธุครับ
     
  9. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648

    ได้รับคำชมจากผู้มากประสบการณ์อย่าง คุณเพชร แอบดีใจเงียบๆครับ:d

    ส่วนเรื่อง "หัวหมู่ทะลวงฟัน" พี่เขาก็มีแนวทางและเหตุผลของเขาครับแต่เป้าหมายยังคงเดิม ส่วนท่านใดที่รู้สึกโกรธ หรือไม่สบายใจ ก็ลองพิจารณาต้นเหตุของตัวโกรธนะครับแล้วจะรู้ว่าต้องดับที่ใด ส่วนเรื่องข้อมูลถ้าผิด/ถูก ก็ว่ากันไปตามความจริง และหากเมื่อใดที่วิธีการผิดก็จะมี....มาบอก "หัวหมู่ทะลวงฟัน" เหมือนเช่น การประมูลพระครับ


    และ มาร่วมกันเรียนรู้-ทดสอบ-ประเมินผล-ปรับปรุง-ถ่ายทอด นะครับ...

    ด้วยความยินดีครับ แต่ว่ามีสอบด้วย อ่า...:'( แล้วจะติวสอบยังไงเนี่ย :d
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ผมชอบการเรียนรู้ในลักษณะแบบคุณ kittipongc ครับ เพราะถือว่าใช้หลัก"ปัญญา และศรัทธา"ควบคู่กัน หากใช้ปัญญามากเกินไป ก็เกิดข้อสงสัยมาก และหากใช้ศรัทธามากๆ ก็ถูกหลอกชักจูงได้ง่าย หากได้ใช้ทั้ง ๒ ส่วนนี้ให้สมดุลกัน จะเปรียบดัง"ศาสตร์คู่ศิลป์" บางท่านใช้ศรัทธาก่อนปัญญา บางท่านก็ใช้ปัญญาก่อนศรัทธา แล้วแต่จริตของแต่ละคนที่บำเพ็ญมา ท้ายสุดก็ต้องใช้ทั้ง ๒ ส่วนนี้อยู่ดี ดังนั้นจึงขอชื่นชมความพยายาม และความตั้งใจครับ แม้บางครั้งอาจจะพบกับอารมณ์อันไม่ปรารถนาบ้างในบางความเห็น ก็ขอให้อภัยกับ"หัวหมู่ทะลวงฟัน"บ้างนะครับ ต่างก็ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข"วิธีการ"กัน เป้าหมายเปลี่ยนไม่ได้ แต่วิธีการสามารถปรับเปลี่ยนกันได้

    พูดคุยกันตรงจุดที่ผม highlight ไว้ครับ น่าจะครอบคลุมสาระทั้งหมดแล้ว ท่านอื่นช่วยด้วยนะครับ

    คุณได้ใช้ศรัทธานำปัญญา และสร้างให้สมดุลกัน เนื่องจากความศรัทธาในหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั้นมีมาก่อน แต่ข้อมูลในการขยายขอบเขตความรู้ข้อนี้ยังมีน้อยอยู่ ประจวบกับพบกระทู้พระวังหน้านี้ไปเกี่ยวโยงกับหลวงปู่ฯได้อย่างไร ก็ใช้ปัญญา และความพยายาม+ความตั้งใจอ่านไปก่อน โดยเก็บความสงสัยเอาไว้ก่อน ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบข้อมูล คำตอบ และขณะเดียวกันก็พิจารณาเจตนาของกลุ่มคณะนี้ไปด้วยว่าทำเพื่อตนเอง หรือส่วนรวม จนเมื่อ"วาระ"มาถึง ก็พร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะนี้แล้วครับ โดยที่คุณเองก็ไม่ทราบว่าตัวคุณเองนั้นกำลังอยู่ในกระแสของโลกอุดรแล้ว..เป็นแบบธรรมชาติมากๆครับ เพราะขณะนี้คุณได้ใช้ศรัทธามากกว่าปัญญาแล้วนั่นเอง (ได้ผ่านการพิสูจน์ด้านปัญญามาแล้ว) และการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าคืองานของพระธรรมฑูตในคณะของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั่นเองครับ เหตุที่ผมบอกว่าขณะนี้คุณได้ใช้ศรัทธามากกว่าปัญญาแล้วนั้น ผมพิจารณาจาก highlight สีแดง ที่ผมป้ายๆเอาไว้ข้างต้น และปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ ซึ่งต่อไปคุณจะทราบเองว่าพระพิมพ์ที่หลวงปู่ฯเสกนั้นมากมายอย่างไร และมีอะไรบ้าง จะทราบทั้ง"รูป และนาม"ไปพร้อมๆกัน พระที่เป็น"เณร"หากเราพบ เราก็มีวิธีการทำให้เป็น"พระ" และเก็บไว้ใช้เอง หรือจะบรรจุกรุ แต่ไม่มีให้บูชา หรือทำบุญครับ จะเสียความรู้สึก หากคนตั้งใจทำบุญ แล้วภายหลังนำพระเครื่องไปตรวจสอบที่อื่นแล้วมาทราบว่าเป็นเณรเครื่อง กำลังใจ หรือกำลังบุญจะไม่ครบ ๓ เหมือนเดิม คือ ทรัพย์ที่ทำได้มาด้วยความบริสุทธิ์(มองด้านผู้ทำบุญ)/พระที่มอบเป็นพระที่ถูกต้อง(มองด้านผู้บอกบุญ)-ผู้ทำมีเจตนาทั้งก่อน และหลังทำบุญนั้น-ผู้รับมีเจตนาทั้งก่อน และหลังบุญนั้น หลวงพ่อฤาษีฯท่านเคยสอนว่า บุญ คือกำลังใจ กำลังบุญ คือกำลังใจเต็ม ไม่เกี่ยวกับทำมาก หรือทำน้อย ขึ้นกับว่าใจขณะนั้นรู้สึกเต็มขนาดไหน...

    มาร่วมกันเรียนรู้-ทดสอบ-ประเมินผล-ปรับปรุง-ถ่ายทอด นะครับ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรื่องข้อมูลนี่ คิดว่าสำคัญมาก หากให้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้หลงทิศ หลงทางกันไป สำคัญที่สุด กุศลก็ไม่เกิดขึ้น และทำให้ผู้ที่ให้ข้อมูลปัญญาทึบได้

    เรื่องติวเรื่องสอบ คงยังก่อน ต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลในกระทู้นี้ก่อน บางเรื่องผมเองก็จะไม่บอกกันตรงๆ จะบอกกันอ้อมๆ แต่ว่าจะตีความกันถูกหรือไม่นั้น ก็ค่อยว่ากันนะครับ

    มีหลายๆเรื่องที่แอบซุกไว้เหมือนกัน หุหุหุ

    .
     
  11. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648
    ผมเข้าใจครับเพื่อไม่ให้มีปัญหาอีกและเพื่อให้ได้คนที่ใช่ จึงต้องมีการกลั่นกรองครับ(y)

    ส่วนตัวพูดตรงๆ
    • ผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการเพิ่มกรรมหนักให้แก่ตัวเองครับ
    • การได้พระมาโดยผิดวิธี พระท่านก็ไม่คุ้มครอง และเป็นการเพิ่มกรรมหนักให้แก่ตัวเองครับ

    พี่หนุ่มสงสัยอะไรถามได้เลยนะครับ ;) ด้วยความยินดี
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี<O:p</O:p

    http://palungjit.org/showthread.php?t=22445&page=503

    http://palungjit.org/showthread.php?t=22445&page=504

    http://palungjit.org/showthread.php?t=22445&page=505


    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

    ขอน้อมกราบพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกกุสันโธ ,องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามสมณโคดม
    ขอน้อมกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    ขอน้อมกราบพระอรหันต์ทุกๆพระองค์
    ขอน้อมกราบหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และคณะ
    ขอน้อมกราบพระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์
    ขอน้อมกราบสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    <TABLE class=tborder id=post918233 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 09:50 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#13762</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ kittipongc [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    อ้างอิง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมมีความคิดว่าจะตั้งเป็นชมรม โดยใช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมพระวังหน้าและพระกรุวัดพระแก้ว" ผมจะไปขอให้ท่านอาจารย์ประถม และพี่ใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา ส่วนประธานชมรม, เลขาธิการชมรม และส่วนอื่นๆ ไว้มาคุยกันอีกรอบ เรื่องของประธานชมรมนั้น ผมมีแนวคิดว่า จะให้คุณ นายสติ เป็นประธานชมรม เนื่องจากคุณ นายสติ เป็นผู้ที่รอบรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี จุดประสงค์เพื่อที่จะสืบสานและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่ให้ออกไปสู่ผู้ที่สนใจ จะได้ไม่เดินหลงทิศหลงทางกัน เห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอสมัครเข้าชมรม ด้วยครับพี่ โอกาสดีๆอย่างนี้หายาก (f)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมขอให้เข้ามาคุยกันก่อนนะครับ คุยกันบนบอร์ดก่อนนะครับ

    ผมเจอมาแล้วกับผู้ที่เข้ามาในกลุ่ม แล้วกลับเป็นผู้ที่มีปัญหามากๆ ทำให้ผมกับคุณนักเดินทาง มีเรื่องกับญาติคุณนักเดินทาง และผมได้เจอปัญหากับผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นำปู่ประถม ,ผม หรือคนอื่นๆ ไปเป็นการรับรองในการค้าขาย ผมจึงต้องระวังไว้ให้มากๆครับ

    สมาชิกในเบื้องต้น เป็นผู้ที่เข้ามาทำบุญและผมเองได้ติดต่อไปก่อน ส่วนท่านอื่นๆ ผมรบกวนขอให้เข้ามาร่วมกันทำบุญและคุยกันบนบอร์ดก่อนครับ

    ขอบคุณมากและโมทนาสาธุครับ
    .



    เรื่องชื่อ ยังสามารถเสนอแนวความคิดเข้ามาได้นะครับ
    แต่การตัดสินที่สุด คงอยู่กับท่านอาจารย์ประถมครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    (good)
    ไม่ถามนะครับ แต่ขอตอบน๊ะ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

    เรื่องของการได้พระมาผิดวิธี จริงๆหลวงปู่ท่านเมตตาเป็นหลักใหญ่อยู่แล้ว เนื่องจากหลวงปู่ท่านเป็นพระอรหันต์ เพียงแต่ต้องแยกกันระหว่างการที่หลวงปู่คุ้มครองกับกรรมที่เกิดจากการได้พระมาผิดวิธี

    เราๆท่านๆ ก็ได้พระมาผิดวิธีเช่นกัน เพียงแต่เราไม่นำไปเป็นการค้าขาย แต่นำไปเพื่อทำนุบำรุงพระศาสนา ดั่งพระบัณฑูรหลวงปู่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) พระองค์ท่านบอกว่า สร้างพระพิมพ์ขึ้นเพื่อชาติ และพระศาสนาครับ

    .
     
  14. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648
    เอ่อ โทษนะครับ
    ขอขยายเจตนาที่ต้องการสื่อนิดนะครับ ผิดวิธีแบบ โขมย/โกง มาน่ะครับ
    ผมเลยคิดแบบนั้น

    เรื่องของการได้พระมาผิดวิธี จริงๆหลวงปู่ท่านเมตตาเป็นหลักใหญ่อยู่แล้ว เนื่องจากหลวงปู่ท่านเป็นพระอรหันต์ เพียงแต่ต้องแยกกันระหว่างการที่หลวงปู่คุ้มครองกับกรรมที่เกิดจากการได้พระมาผิดวิธี

    ;) ขอบคุณครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ได้อย่าง
    ต้อง
    เสียอย่าง

    ต้องเลือกเอาเอง ระหว่าง เงิน กับ กรรม
    สำหรับท่านที่มีพระวังหน้าหรือพระกรุวัดพระแก้ว


    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648
    โมทนาสาธุครับ...
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10903

    "ฑีฆายุฯ" มีความหมายว่าอย่างไร

    โดย วัฑฒพร เจนการกิจ วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม

    http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act02160151&day=2008-01-16&sectionid=0130



    ในฐานะที่เป็นพสกนิกรที่จงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และในฐานะที่เป็นชาวสยามที่ใช้ภาษาไทย ได้เฝ้าสังเกต การถวายพระพรในวันเฉลิมพระชนมพรรษาทั้งในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่เยาว์วัยได้พบสิ่งผิดปกติในคำถวายพระพรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในระยะหลังๆ ได้ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น

    กล่าวคือ หากเป็นคำถวายพระพรองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ จะใช้คำว่า "ฑีฆายุกา โหตุ มหาราชินี" หากเป็นคำถวายพระพรองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะใช้คำว่า "ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา" ซึ่งทั้งสองคำถวายพระพรดังกล่าว จะใช้คำว่า "ฑีฆายุฯ" โดยใช้กันเกร่อ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของราชการ หรือองค์กรเอกชน ทำให้เกิดความวิตกและสงสัยมากขึ้นทุกปี

    สาเหตุที่ต้องวิตก เพราะหลังจากที่ค้นคว้าศึกษาจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานทั้งฉบับปีพุทธศักราช 2493 ฉบับปีพุทธศักราช 2525 หรือแม้แต่ฉบับล่าสุดปีพุทธศักราช 2542 ไม่มีคำว่า "ฑีฆ หรือฑีฆายุฯ" พบแต่คำว่า "ทีฆ" ซึ่งแปลว่า ยาว, นาน, ยั่งยืน, และ "ทีฆายุ" ซึ่งแปลว่า อายุยืน (เป็น "ท. ทหาร" ไม่ใช่ "ฑ. มณโฑ")

    จึงกังวลใจว่าหากขืนปล่อยให้หน่วยงานราชการ หรือแม้แต่องค์กรเอกชนใช้ "คำถวายพระพรที่ไม่มีความหมาย" อย่างนี้อีกต่อไป นอกจากจะสร้างความสับสนให้กับอนุชนรุ่นหลัง และยังเป็นการทำลายวัฒนธรรมด้านภาษาของเราด้วย

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดความสงสัยว่าเกิดความผิดพลาดเช่นนี้ มาอย่างต่อเนื่อง และแพร่ขยายออกไปได้อย่างไร อาจจะวิเคราะห์ได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้

    1.เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ ในภาษาไทยของชาวสยามเอง เพราะในภาษาไทยของเรานั้น นอกจากจะมีคำไทยๆ ของเราไว้ใช้เองแล้วเรายังได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เข้ามาอยู่ในภาษาไทยของเรา อย่างต่อเนื่องยาวนาน จวบจนปัจจุบัน หากพิจารณาย้อนหลังไปจะพบว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งแพร่อิทธิพลเข้ามาทางศาสนาพุทธ หรือภาษาอื่น เช่น ภาษาเขมร ซึ่งหลายคำนำมาใช้เป็นภาษาชั้นสูง บางคำใช้เป็นคำราชาศัพท์ก็มี เหล่านี้เป็นต้น

    ภาษาต่างประเทศเหล่านี้ล้วนมีผลต่อ "คำ" ในภาษาไทยของเราทั้งสิ้น หากพิจารณาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันจะเห็นว่า คนไทยสมัยนี้คุ้นเคยกับคำต่างๆ ที่มาจากภาษาอังกฤษนั่นเอง (ทั้งๆ ที่ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ยังต้องทรงจ้างแหม่มแอนนามาสอนภาษาอังกฤษให้บรมวงศ์นุวงศ์ ในพระบรมมหาราชวัง สะท้อนให้เห็นว่าชาวสยามในยุคนั้นแทบไม่มีใครรู้ภาษาอังกฤษเลย)

    2.เกิดจากระบบราชการของสยามได้ฝังรากลึกมาอย่างยาวนาน จนก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในความเป็น "ราชการ" ดังนั้น หากหน่วยงานราชการกระทำสิ่งใด เรื่องใดก็ตาม สิ่งนั้น เรื่องนั้นย่อมถูกต้องเสมอ เหตุนี้เอง คำถวายพระพรที่ปราศจากความหมาย เพราะใช้คำว่า "ฑีฆายุฯ" จึงแพร่ขยายออกไป โดยไม่มีใครเอะใจสงสัยว่าถูกต้องหรือไม่

    ถึงเวลาหรือยังที่พวกเราชาวสยามที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันจะหันกลับมามองภาษาไทยของเราอย่าง "เอ็กซเรย์" กันอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้ข้อผิดพลาด บกพร่องทั้งหลายหลุดรอดผ่านเลยไปถึงอนุชนรุ่นหลัง

    เพราะพวกเขาเหล่านั้นทั้งที่เกิดมาแล้วและกำลังจะกำเนิดมาเป็นชาวสยามในอนาคตก็ยังคงต้องใช้ภาษาไทยของเราต่อไปชั่วกาลนาน
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3966 (3166)​

    บริหารอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ กรณีศึกษาการกำหนดงาน-วางแผนงาน

    โดย Andrine Goh (ผู้ให้คำปรึกษาของ HDAP-กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย) แปลและเรียบเรียงโดย สุปวีณ์ ภูมิธรรมรัตน์ HDAP-ประเทศไทย

    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02hmc01140151&day=2008-01-14&sectionid=0220



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มอลลี่เป็นผู้จัดการ เธอต้องการให้ลูกน้องของเธอทำงานเป็นแบบแผนและมีระเบียบในการทำงานแต่ละชิ้น เธอรับไม่ได้หากงานล่าช้า หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากแผนที่ได้กำหนดไว้แต่แรกเธอยังมีกำหนดแผนงานในแต่ละปีที่ชัดเจนที่กำหนดกิจกรรมต่างๆ ของเธอ

    ลูกน้องของเธอไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนกำหนดการ หรือรายละเอียดในกิจกรรมเหล่านี้ คุณจะรู้สึกอย่างไรหากคุณต้องมีเจ้านายแบบมอลลี่ ?

    Isabel Myers และ Katherine Briggs เป็น ผู้คิดค้นตัวชี้วัดแบบ Myers Briggs (Myers Briggs Type Indicat or MBTI) กล่าวว่า เราทุกคนมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ด้วยทัศนคติแบบการตัดสินใจ (judging หรือ J) หรือแบบความรู้สึก (perceiving หรือ P)

    บุคคลที่มีทัศนคติแบบ J คือคนที่ชอบการตัดสินใจ, หาจุดสิ้นสุด, วางแผนการปฏิบัติการ หรือวางแผนจัดการในกิจกรรมต่างๆ มอลลี่ดูเหมือนจะมีลักษณะแบบ J มากกว่าแบบ P

    ซึ่งแบบ P นี้ จะเป็นคนที่เปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ชอบการเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงข้างล่างนี้เป็นตารางบุคลิกลักษณะของบุคคล แบบ P และ J

    ลองให้เวลาสักครู่ในการไตร่ตรองว่าในสภาพแวดล้อมโดยส่วนใหญ่แล้วคุณมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติแบบ P หรือ J

    ทีนี้ลองมาดูสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของ คุณว่าในบริษัท หรือแผนกของคุณมีโครงสร้างที่ดี และมีวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นแบบแผน โดยประเมินด้วยกระบวนการมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (standard operating procedures-SOP) มีการแสดงรายละเอียดงานที่ชัดเจนและ ใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (key performance indicators-KPI) หรือไม่

    หรือว่าที่ทำงานคุณมีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นโดยที่พนักงานมีอิสระที่จะทำตามวิธีของแต่ละคนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ

    ถ้าคุณมีลักษณะแบบ P คุณคงลำบากที่คุณ จะต้องทำงานภายใต้การบังคับบัญชาของมอลลี่ เพราะเธอจะมองว่าคุณเป็นคนที่ชอบผัดวัน ประกันพรุ่ง เป็นคนที่ไม่มีระเบียบ และขาดวินัยในตนเอง

    ในขณะที่คุณกำลังวิ่งเต้นในการเตรียมงานในนาทีสุดท้าย และความตื่นเต้นจากสารอะดรีนาลีนของคุณที่หลั่งออกมาอย่างเต็มที่มอลลี่จะมีความรู้สึก และปฏิกิริยาตอบสนองที่ตรงข้ามกับคุณอย่างแน่นอน เธอกำลังโกรธ และรู้สึก เครียดเพราะการไม่มีความรับผิดชอบของคุณ

    ความขัดแย้งในเรื่องรูปแบบการทำงานระหว่างเจ้านาย และลูกน้องเช่นนี้เป็นเรื่องท้าทาย แทนที่จะเป็นทุกข์จากฝันร้ายนี้ เรามีวิธีที่จะช่วยคุณรับมือกับเจ้านายแบบ J

    1.แบ่งงานที่คุณได้รับออกเป็นงานย่อยๆ โดยแต่ละงานย่อยมีกำหนดส่งงานที่ชัดเจน และคุณจะยังได้รับความตื่นเต้นจากการทำงานย่อยๆ แต่ละส่วนในแบบของคุณเอง

    แต่อย่าลืมว่าต้องทำให้เสร็จตามกำหนดการของงานนั้นๆ วิธีนี้จะยังช่วยฝึกฝนตัวคุณให้มีพัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่จะเป็นแบบรีบเร่งในนาทีสุดท้ายก่อนส่งงาน

    2. จดบันทึกความคิด หรือแผนการที่คุณนึกขึ้นมาได้ เมื่อคุณมีความคิดหรือข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับงานให้คุณเขียนไว้ในสมุดบันทึกของคุณหรือกระดาษโน้ตเล็กๆ ของคุณ แล้วติดไว้ที่โต๊ะทำงานของคุณ รายงานให้เจ้านายคุณทราบถึงความคืบหน้าซึ่งคุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาเขียนในข้อเสนอหรือรายงาน ได้เช่นกัน

    การทำเช่นนี้มันช่วยให้เจ้านาย (แบบ J) ของคุณ มองว่าคุณเป็นคนมีระเบียบแบบแผน

    3. การวางแผนงานกับเจ้านายนั้นเมื่อคุณคิดจะเปลี่ยนแผนการต่างๆ ควรเตรียมข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิด ของคุณ เมื่อเจ้านายของคุณไม่ชอบเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า คุณควรแจ้งให้เจ้านายของคุณทราบเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อคุณคิดจะเปลี่ยนแผนการเพื่อให้เจ้านายของคุณมีเวลาที่จะยอมรับ และปรับตัวเข้าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เจ้านายของคุณตกใจเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระยะท้ายๆ ของโครงการ

    เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าการกำหนดส่งงาน และการวางแผนงานไม่เพียงทำให้งานเป็นระบบมากขึ้น หากยังช่วยทำให้แนวทางในการทำงาน มีความชัดเจนขึ้น

    แต่ทั้งนั้น คงขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะเลือกบุคลิกลักษณะแบบไหนในการทำงานของคุณเอง ?
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02hmc02140151&day=2008-01-14&sectionid=0220


    วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3966 (3166)​

    ฝึกอบรมตั้งมากมาย ...แต่ทำไมไม่ได้ผลซักที ? (1)

    คอลัมน์ HC CORNER

    โดย ไชยยศ ปั้นสกุลไชย ที่ปรึกษาอิสระ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ www.chaiyospun.com

    เคยตั้งใจว่าจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับการฝึกอบรมในองค์กรให้ท่านผู้อ่านฟังมาหลายครั้งแล้ว เพราะตัวผมเองก็ทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้องค์กรธุรกิจมากว่า 20 ปี ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดี เมื่อปลายปีที่แล้วมีผู้บริหารขององค์กรแห่งหนึ่งถามผมว่า "จะทำอย่างไรดี องค์กรได้เชิญวิทยากรมาจัดฝึกอบรมให้พนักงานในบริษัททุกๆ ปี การฝึกอบรมแต่ละปีก็ใช้งบประมาณไปเป็นล้าน บางปีสูงถึง 10-20 ล้านบาท แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ชัดเจน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรม ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ควรจะเป็น ?"

    พูดแบบบ้านๆ ก็คือ ท่านกำลังจะถามว่า องค์กรฝึกอบรมกันตั้งมากมาหลายหลักสูตร แต่ทำไมไม่ได้ผลซักที ?

    เป็นคำถามที่น่าสนใจและควรหาคำตอบใช่ไหมครับ

    ผมคิดว่าผู้บริหารหลายๆ คน รวมทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ในสายงาน HR ก็คงเคยมีคำถามนี้อยู่ในใจเหมือนกัน

    บังเอิญช่วงปีใหม่ที่ผ่านมานี้ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง จัดทำโดยมูลนิธิรักษ์ไทย ชื่อหนังสือ "พัฒนาในงานพัฒนา (Development in Development)" เขียนโดย คุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ ผมเห็นว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยตอบคำถามข้างต้นได้ และผมก็แสดงความเห็นเพิ่มเติมในบางส่วนของคำตอบไว้ในวงเล็บ ลองอ่านดูนะครับ

    ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกไว้ว่า การที่ การฝึกอบรมในองค์กรล้มเหลว มีสาเหตุ 2 ประการ คือ ขาดการเตรียมการที่ดี และขาดหลักสูตรฝึกอบรมที่ดี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    1.ขาดการเตรียมการฝึกอบรมที่ดี หมายถึง

    1.1 ไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการของผู้ เข้ารับการอบรม (ผมขอเสริมว่า และความต้องการขององค์กรด้วย)

    การอบรมที่ล้มเหลวมักจะไม่ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายอย่างแท้จริง

    ทีมวิทยากรจะเป็นผู้กำหนดเนื้อหา การอบรมโดยตั้งเป้าการให้ความรู้เพียง อย่างเดียว แทนที่จะศึกษากลุ่มเป้าหมายและ วิเคราะห์ความต้องการแบบเจาะลึกถึงแก่นจริงๆ ของพฤติกรรมและสาเหตุพฤติกรรม ไม่ใช่ถาม คำสองคำและมาออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม

    1.2 ไม่ได้วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้

    การประเมินกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายมีความสำคัญมากเท่ากับการประเมินความต้องการในการฝึกอบมรม เพราะกลุ่ม เป้าหมายมักมีกระบวนการเรียนรู้ที่ต่างกัน

    ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ ภาษา ระดับการมีส่วนร่วม กิจกรรมประกอบการอบรม ฯลฯ ผู้จัดอบรม และวิทยากรจะต้องวิเคราะห์ให้ออกและนำมาใช้ในการออกแบบการฝึกอบรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในองค์กรนั้น ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีลักษณะ ที่แตกต่างกันออกไป

    1.3 ไม่มีการวางแผนกระบวนการฝึกอบรม

    หมายความว่าการวางแผนมักจะทำแบบลวกๆ ใช้เวลากับการวางแผนเรื่องเวลา สถานที่ อาหาร กิจกรรมสร้างความคุ้นเคยหรือสันทนาการมากเกินไป หรือมากกว่าการบริหารการเรียนรู้ หรือการกำหนดเนื้อหาหลัก หรือ key message ที่ต้องการให้เรียนรู้ ทักษะหลัก ทักษะรองที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้เข้าอบรม และออกแบบกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝนตามเป้าหมายเหล่านี้อย่างชัดเจน

    1.4 ตั้งเป้าหมายการฝึกอบรมในการให้ความรู้มากกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    แม้ว่าการฝึกอบมรมจะเป็นกระบวนการเสริมสร้างความรู้ แต่นักฝึกอบรมไม่ควรออกแบบการอบมรมโดยตั้งเป้าหมายในการถ่ายทอดความรู้อย่างเดียว

    การเพิ่มความรู้ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้น ควรตั้ง เป้าหมายไปที่พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    1.5 จัดน้ำหนักการเรียนรู้น้อยไป

    บ่อยครั้งที่นักฝึกอบรมทราบว่าต้องการให้ความรู้เรื่องอะไร เช่น การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง แต่ใช้เวลาครึ่งหนึ่งของการอบรมในเรื่องอื่น เช่น เล่าถึงการระบาดของโรคในประเทศไทย สถานการณ์เอดส์ในจังหวัด ในอำเภอ ทำให้เสียเวลาที่มีค่าและทำให้การอบรมน่าเบื่อ ผู้เข้าอบรมจะก็ไม่สนใจที่จะฟัง การพัฒนาทักษะความรู้ต่างๆ จึงไม่เกิดตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้

    1.6 ไม่มีการประสานงานที่ดีระหว่างวิทยากร ผู้จัดและผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    หลายครั้งการอบรมต้องใช้วิทยากรจากสถาบันอื่น บ่อยครั้งวิทยากรจะไม่มีโอกาสนัดแนะกันมาก่อน เนื้อหาที่พูดจึงไม่ต่อเนื่อง หรือซ้ำซ้อน

    การใช้วิทยากรภายนอกต้องชัดเจนว่าจะทำอะไร หลีกเลี่ยงการเชิญวิทยากรที่พูดเก่งแต่อบรมไม่เก่ง (ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า ถ้าก่อนการฝึกอบรม วิทยากรไม่ให้เวลาที่จะมาพูดคุย มาเรียนรู้ธุรกิจ และรับฟังข้อมูลความต้องการจากปากของผู้จัดและผู้เข้าอบรม ก็ทำนายได้เลยว่าการฝึกอบรมครั้งนั้นมี แนวโน้มที่จะล้มเหลว (อีกแล้ว)

    ขอแนะนำว่าไหนๆ ท่านก็ต้องจ้างวิทยากรมาฝึกอบรมอยู่แล้ว ก็ควรจะนัดหมายให้เข้ามาพบให้ได้

    และถ้าหากวิทยากรไม่เคยทำงานในธุรกิจเดียวกันกับองค์กรของท่านมาก่อน ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องให้วิทยากรท่านนั้นควรเข้าใจธุรกิจของท่านก่อน เช่น ได้เดินชมกระบวนการผลิตสินค้า ได้ออกตลาดไปพบลูกค้า ได้เห็นกระบวนการขายและการให้บริการ สัมผัสกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขององค์กรและพนักงานในองค์กร

    หากท่านบอกว่า "โอ๊ย...ทำอย่างนั้นไม่ได้หรอก เสียเวลามากเกินไป เราก็งานยุ่ง วิทยากรก็ไม่สะดวก แล้วก็... ..." ก็จงเตรียมใจไว้ได้เลยว่าการฝึกอบรมครั้งนั้นค่อนข้างที่จะล้มเหลวแน่นอน)

    1.7 ใช้สื่อการสอนและวิธีการฝึกอบรมที่ไม่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    นักฝึกอบรมที่ดีไม่ใช่มีดีแค่การพูดเก่ง แต่ต้องมีทักษะการใช้สื่อการเรียนการสอน (และเทคนิคการฝึกอบรมให้เป็น และเหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่มซึ่งมีสไตล์การเรียนรู้แตกต่างกัน เช่น ผู้เข้าฝึกอบรม ที่เป็นคนรุ่นใหม่ ชอบรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำเจ ชอบเรียนรู้ผ่านเกม และภาพยนตร์ เป็นต้น

    ส่วนผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้บริหารหรือ ผู้จัดการมักจะชอบเรียนรู้จากกรณีศึกษา

    ตัวอย่างเรื่องจริง และการถกเถียงอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นต้น หากวิทยากรถนัดแต่การบรรยายและใช้วิธีการบรรยาย ประกอบกับสไลด์ powerpoint ตลอดการอบรม ก็คงเห็นภาพนะครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการฝึกอบรมครั้งนั้น) การออกแบบกิจกรรมสื่อการสอน ไม่ใช่การออกแบบนำเสนอที่ผู้เข้าร่วมการอบรมต้อง รอคอย และเฝ้ามองการตกลงของตัวอักษร ทีละตัวๆ แบบหยดน้ำฝน หรือใช้ปากกา สีแดงเขียนตัวหนังสือบนแผ่นใส หรือถ่ายสำเนาเอกสารมาขึ้นแผ่นใน วิทยากรพวกนี้สมควรสอบตกตั้งแต่เริ่มต้น

    โปรดติดตามอ่านต่อ ตอนที่ 2 ครั้งหน้านะครับ

    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คำมากประสบการณ์คงไม่สามารถจะรับได้ครับ เพราะยังน้อยอยู่จริงๆครับ เพียงชอบเรียนรู้ และตามหาความจริงเท่านั้น

    แต่โบราณแล้ว "วังหน้า คือทัพหน้า" หากวังหน้าทำงานดี ปัญหาไม่ค่อยจะมีมาถึง"วังหลวง หรือทัพหลวง" แม้ปัจจุบันจะไม่มี "วังหน้า" แล้ว แต่จิตวิญญาณแห่งวังหน้ายังมีอยู่

    คำ"เรียนรู้-ทดสอบ-ประเมินผล-ปรับปรุง-ถ่ายทอด" ผมหมายความถึงตัวของแต่ละท่านต้องไปทำเอง จะดี หรือก็ตัวท่าน เรียนรู้เอง ทดสอบด้วยตนเอง ประเมินผลตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง และถ่ายทอดสิ่งที่"รู้"นี้เป็นวิทยาทานต่อไป

    ขยายความคำว่า"รู้" คือต้องรู้ว่า ตัวเองรู้อะไร และไม่รู้อะไร ซึ่งลักษณะนี้เราจะสามารถพัฒนาตนเองได้อยู่ตลอดเวลา และในทุกสถานการณ์ ไม่มีผู้ใดทำให้เราตกต่ำได้ นอกจากตัวเราเอง เช่นศาสตร์หนึ่ง หากมาถึงปลายทางของศาสตร์จริงๆต้อง ๑๐๐ % แต่ขณะนั้นที่เราคิดว่าเรารู้แล้วนั้น เพียง ๓๐ % หากเราเข้าใจว่านั่นคือ ๑๐๐ % นั่นคือ เรา"ไม่รู้"ว่าเรา"ไม่รู้" ลักษณะแบบนี้พัฒนายาก และไม่ค่อยจะฟังใคร แบบนี้ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม ผมก็มักจะอธิษฐานจิตนะครับว่า เกิดชาติใดหากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงไร ขออย่าได้พบ ได้เจอคนแบบนี้เลย เจอแล้วจะทั้งเสียเวลา และความคิด เอาเวลาไปเจอคนใหม่ๆดีกว่า

    ความเข้าใจในศาสตร์หนึ่งๆ หากเราสำเร็จศาสตร์ในบทเรียนบทหนึ่งนั้น มันจะมีอาการโล่ง โปร่ง มีความรู้สึกว่า"ความไม่รู้"มันถูกขจัดออกไป อาจจะเกิดปิติบางอย่างเช่นขนลุกขนพอง หรือน้ำตาไหลเอ่อ มีความรู้สึกคล้ายปรมาจารย์ที่ท่านบรรลุหัวข้อธรรม ชัดเจนในธรรมจริงๆ มาอยู่ใกล้ๆเรา เหมือนมาบอกให้รู้ว่ามาถูกทางแล้ว มาถูกต้องแล้ว ปริศนาธรรมส่วนมากเป็น"นามธรรม" แต่เอ่ยลำบาก จึงแปลความมาเป็น"รูปธรรม" แต่บรรยายได้ยากยิ่งกว่า เพราะการใส่สภาวะเข้าไปใน"รูปธรรม"ให้เกิดความกระจ่าง และเห็นแจ้งนั้นทำได้ยากจริงๆ ต้องอาศัยจินตนาการของผู้แปล"รูปธรรม"นี้เข้าไปช่วย แต่ขณะเดียวกันต้องระวังอุปทานไปด้วย สุดท้ายความเข้าใจใน"รูปธรรม"นี้จะแปลกลับมาเป็น"นามธรรม"อีกครั้ง ซึ่งอาจจะแตกต่างจาก"นามธรรม"ครั้งแรกไปแล้ว

    ผมเคยคุยกับครูเพลงท่านหนึ่งว่า อยากจะให้ทำเพลงบรรเลงประกอบงานของผมชิ้นหนึ่ง ครูเพลงท่านนี้โต้แย้งมาว่า ทำไม่ได้หรอก(แล้วเขาจะแต่งเพลงให้คนฟัง ให้คนสร้างจินตนาการไปกับบทเพลงนั้นทำไม เข้าใจเหมือนกัน???) หากอยากได้ยินเสียงน้ำตกต้องไปฟังที่น้ำตก นั่นคือเขาไม่เชื่อว่าคนสามารถถ่ายทอดนามธรรมเป็นรูปธรรมได้ จะต้องเป็นการสื่อด้วยรูปธรรมกับรูปธรรมด้วยกันเท่านั้น ซึ่งแบบนี้ผมไม่ยอมรับ ลองคิดดูว่าหากคุณทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่เกิดอยากไปไหนต่อไหนในเวลาเพียงวันเดียว และวันละหลายๆครั้งด้วย คุณจะทำยังไง?

    กรุงเทพ->เชียงใหม่->ภูเก็ต->แม่ฮ่องสอน->ชัยภูมิ->พังงา->นครสวรรค์

    ผมเชื่อว่าจิต(นามธรรม)เดินทางได้รวดเร็วกว่ากาย(รูปธรรม) เพียงเสี้ยววินาที จิตเดินทางครบรอบไปแล้ว ดังนั้นการเดินทางด้วยจิต ไม่เป็นปัญหาสำหรับผม ศาสตร์แห่งจิตนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝน ทดสอบ ด้วยตนเองครับ ศาสตร์อื่นๆก็ลักษณะเดียวกัน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...