พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีเข้าวังเคารพพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

    http://hilight.kapook.com/view/19189




    พระพี่นาง ข่าว ข่าวในพระราชสำนัก รายงานเจ้าหน้าที่จัดระเบียบเส้นทางเดินรถ จุดจอดรถ จุดห้ามจอดรถ รองรับประชาชนที่จะมาถวายสักการะพระศพ พระพี่นาง พระพี่นางเธอ สมเด็จพระพี่นางเธอ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 51 เป็นต้นไป ติดตามอ่าน ข่าว พระพี่นาง ประวัติพระพี่นาง ประวัติพระพี่นางเธอ ได้ที่นี่
    <CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER>
    กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้ประชาสัมพันธ์เส้นทางเดินรถ จุดจอดรถ ห้ามจอดรถ ไว้รองรับประชาชนที่จะมาถวายสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม เวลา 14.00-16.00 น. และในวันที่ 11 มกราคม ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. เป็นต้นไปนั้น


    1.ผู้นำรถยนต์มา

    <CENTER></CENTER>
    ให้นำรถเข้าจอดภายในบริเวณท้องสนามหลวง จุได้จำนวน 2,000 คัน โดยเข้าทางฝั่งถนนราชดำเนินใน หน้าศาลฎีกา และออกฝั่งถนนหน้าพระธาตุ หน้าวัดมหาธาตุฯ


    2.บริเวณอื่นที่สามารถจอดรถ
    - ถนนราชินีด้านหลังศาลฎีกา ริมคลองหลอด ตั้งแต่จุดตัดถนนราชดำเนินกลางถึงถนนเจริญกรุง โดยในวันจันทร์ถึงศุกร์ ส่วนใหญ่จะมีข้าราชการมาจอด ส่วนในวันเสาร์-วันอาทิตย์ ประชาชนสามารถนำรถมาจอดได้ ปริมาณรถยนต์ที่รองรับได้ประมาณ 200 คัน
    - ถนนมหาราช 2 ฝั่ง จัดเป็นที่จอดรถสำหรับแขกชั้นผู้ใหญ่ บรรจุรถยนต์ได้ประมาณ 200 คัน
    - ถนนท้ายวัง จัดไว้สำหรับจอดรถแขกชั้นผู้ใหญ่อีก 50 คัน
    - ท่าราชวรดิษฐ์ 200 คัน

    3.จุดที่ห้ามจอดรถ คือ ถนนสนามไชย และถนนโดยรอบพื้นที่สนามหลวง

    4.รถบัสโดยสารขนาดใหญ่ ที่ประชาชนจ้างมาจากต่างจังหวัด สามารถจอดส่งผู้โดยสารลงได้บริเวณริมถนนหน้าพระธาตุ ริมถนนราชดำเนินใน ริมถนนสนามไชย หลังส่งผู้โดยสารแล้วให้รถบัสทั้งหมดข้ามสะพานพระปิ่นเกล้าฯ ไปจอดที่ถนนราชพฤกษ์ และถนนพุทธมณฑลสาย 1 เพื่อรอเวลานัดมารับผู้โดยสาร

    5.ประชาชนที่จะเดินทางมาถวายสักการะพระศพ ขอความร่วมมือให้ใช้บริการรถสาธารณะเป็นหลัก ขณะนี้รถโดยสารสาธารณะสายที่วิ่งเข้าสนามหลวงได้เพิ่มปริมาณรถวิ่งอีก 30% เพื่อบริการประชาชน

    6.ประตูที่เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระศพได้ คือ ประตูวิเศษไชยศรี และประตูสวัสดิโสภา ส่วนประตูมณีนพรัตน์จะปิด บริเวณถนนหน้าประตูที่เปิดให้ประชาชนเข้าจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตามโครงการพระราชดำริ คอยอำนวยความสะดวกดูแล คนข้ามถนนอยู่ด้วย

    7.กองรักษาการณ์ร่วมของ บช.น. อยู่บริเวณสามเหลี่ยมเยื้องๆ กับประตูวิเศษไชยศรี

    8.กทม.จัดรถรางรับ-ส่งจากลานคนเมือง (เสาชิงช้า)-พระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม เป็นต้นไป

    9.กรณีมีประชาชนเดินทางมาถวายสักการะพระศพจำนวนมากจนล้นออกมาบริเวณหน้าถนนพระลาน หากมีความจำเป็นในการคลี่คลายปัญหาการจราจร ทางตำรวจจราจรจะจัดเส้นทางให้รถยนต์วิ่งทางเดียว (วันเวย์) โดยปิดถนนให้วิ่งเป็นวงกลมจากถนนราชดำเนินใน ไม่ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน จะบังคับให้ตรงไปทางถนนสนามไชย แล้วเลี้ยวเข้าทางถนนท้ายวังหรือทางถนนเชตุพน วกกลับมาทางถนนมหาราช ก่อนจะเลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลานได้ แต่หากบริเวณถนนหน้าพระลานมีการจราจรคับคั่ง ก็จะปิดไม่ให้เข้า โดยให้ตรงไปทางท่าพระจันทร์

    "แต่กรณีจัดการจราจรแบบวันเวย์เพื่อยืดเส้นทางรถวิ่งนั้น จะเป็นกรณีที่รถเข้าถนนหน้าพระลานไม่ได้จริงๆ ตำรวจจะไม่จัดวันเวย์ ถ้าไม่จำเป็น อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวในช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 16.00-19.00 น. เพราะถนนราชดำเนินนอกเชื่อมต่อถนนราชดำเนินกลาง และเชื่อมต่อสะพานพระปิ่นเกล้า จะมีการจราจรคับคั่ง" พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น.ระบุ

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

    <CENTER></CENTER>
    - ราชวงศ์ทั่วโลกราชสาส์นไว้อาลัย พระพี่นาง

    - น้อมรำลึก เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ... เชษฐภคินี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    - ตามรอยสมเด็จเจ้าฟ้าเผยแผ่พระไตรปิฎก
    - ด้วยรักและผูกพัน ระหว่างพระเชษฐภคินี และพระอนุชา แห่งราชจักรีวงศ์
    - ทรงเปิดโลกกว้าง ประจักษ์สู่สายตาปวงไทย
    - มูลนิธิแพทย์อาสาฯ แบบฉบับรักษาฟรีทุกโรค
    - พระพี่นาง เมื่อวัยเยาว์ ทรงพระสิริโฉมเลิศล้ำ
    - เวลาเป็นของมีค่า พระนิพนธ์ของพระพี่นาง สอนคนไทยมีสติ - อย่าปล่อยเวลาสูญเปล่า
    - ตุ๊กตาหมีย้อนวัยเยาว์ในหลวง - พระพี่นาง
    - พระราชประวัติ พระพี่นางฯ
    - พระองค์ทรงเป็นครูตัวอย่างตั้งพระทัยสอนและรักษาระเบียบวินัย
    - เผยเรื่องราวที่ พระพี่นางฯ สนพระทัย ทรงโปรดกีฬาและทรงบินเดี่ยว
    - ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาองค์เดียว
    - สำนักพระราชวังประกาศ การถวายสักการะพระศพ
    - พระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์ ประกาศให้ประชาชนร่วมไว้ทุกข์ 15 วัน
    - พระราชประวัติ พระพี่นางฯ
    - ลำดับพระอาการประชวร พระพี่นาง
    - บองมาร์เช่-ตลาดพระพี่นางเงียบ หลังทราบข่าวสิ้นพระชนม์
    - เผยเรื่องราวที่ พระพี่นางฯ สนพระทัย ทรงโปรดกีฬาและทรงบินเดี่ยว
    - พระองค์ทรงเป็นครูตัวอย่างตั้งพระทัยสอนและรักษาระเบียบวินัย
    - สื่อเทศชั้นนำยกย่องสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
    - ในหลวง-พระราชินีเสด็จ สรงน้ำพระศพพระเจ้าพี่นางฯ
    - นายกฯประธานอำนวยการ จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิง
    - เผยแสตมป์ที่ระลึก พระพี่นางฯ ชุดสุดท้าย
    - กำหนดการพระราชพิธีถวายน้ำสรง-เส้นทางเคลื่อนพระศพ พระพี่นางฯ

    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    ข้อมูลและภาพประกอบจาก

    [​IMG]

    <CENTER></CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 100_17.jpg
      100_17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      1,388
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width="75%" align=center>

    <CENTER>การนับเวลาเป็น...อสงไขย...เขานับกันอย่างไร </CENTER>

    <CENTER>เรื่องของอสงไขย </CENTER>

    เป็นเรื่องของการนับเวลา ของอสงไขย คุณ คนธรรมดา ได้พยายามหาคำตอบมาให้อ่าน อย่างมาก แต่หลังจากผมอ่านแล้ว พบว่า มีการแก้ไขอยู่มาก(พี่คนธรรมดา เป็นคนพบข้อบกพร่องและแก้ไขอันนั้นเองนะครับ) ประกอบกับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่มาก และเป็นเรื่องที่ผมเองก็ใคร่อยากจะรู้อยู่ไม่น้อย
    หลังจากได้อ่านกระทู้นั้นแล้ว ก็ได้พยายามค้นหา ข้อมูลเท่าที่ผมจะมี และนำมาทำสรุปให้ เพื่อ เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ท่านใดสนใจ จะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกต่อหนึ่ง
    การนับ อสงไขย นั้น จะต้องรู้จักกับคำหลายคำต่อไปนี้นะครับ....
    1. อสงไขยปี
    2. รอบอสงไขยปี
    3. อันตรกัป
    4. อสงไขยกัป
    5. มหากัป
    คำทั้งหมดนั้นมีความหมาย
    และมีความสัมพันธ์ กันดังนี้ครับ
    1 รอบอสงไขยปี เป็น 1 อันตรกัป
    64 อันตรกัป เป็น 1 อสงไขยกัป
    4 อสงไขยกัป เป็น 1 มหากัป

    <CENTER>อสงไขยปี เป็นอย่างไร </CENTER>

    ในยุคแรกๆ มนุษย์นั้น จะมีอายุขัยที่ยืนยาวมาก คือจะมีอายุ เท่ากับ เอาเลข 1 นำหน้า แล้วตามด้วยเลข 0 อีก 140 ตัว จำนวนทั้งหมดนี้แหละครับที่เขาเรียกกันว่า อสงไขยปี

    <CENTER>หนึ่งรอบอสงไขยปี เป็นอย่างไร </CENTER>

    ในทุก 100 ปี มนุษย์เราจะมีอายุขัยสั้นลง 1 ปี และจะเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยมา คือ จะมีอายุขัยสั้นลงๆ จนกว่าจะมีอายุขัยที่ต่ำสุด คือ 10 ปี การลดลงของอายุขัยก็จะหยุดลง และจะเริ่มต้น การมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จาก 10 ปี เป็น 11 ปี โดยใช้วิวัฒนาการ ทุกๆ 100 ปีเช่นกัน และจะมีการพัฒนาเช่นนี้ ต่อไปเรื่อยๆ
    จนกว่า อายุ จะเท่ากับ อสงไขยปี เช่นเดิม คือ 1 แล้วตามด้วย 140 ศุนย์ กำหนดระยะเวลาทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า หนึ่งรอบอสงไขยปี และการที่ครบรอบหนึ่งอสงไขยปีนี้แหละ ก็จะเท่ากับ หนึ่ง อันตรกัป

    <CENTER>อสงไขยกัป เป็นอย่างไร </CENTER>

    เมื่อนับจำนวนอันตรกัป ตามที่พูดมานั้น ได้ครบ 64 อันตรกัป นั้น จึงเรียกว่า อสงไขยกัป
    ทีนี้ผมขอขยายความ คำว่า อสงไขยกัป นิดหนึ่งนะครับ
    อสงไขยกัปนี้ มีอยู่ 4 อสงไขยกัป ด้วยกัน โดยแบ่งเป็นตอนๆ ดังนี้ คือ
    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลาย ซึ่งได้แก่คำว่า สงวฏฏตีต สงวัฏโฏ คือ กัปที่กำลังพินาศอยู่
    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า สงวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ สงวฏฏฐยี คือ กับที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่
    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกกำลังจะเริ่มพัฒนาเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏฏตีติ วิวฏโฏ คือกัปที่กำลังเริ่มเจริญขึ้น
    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิมแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี คือกัปที่เจริญขึ้น พร้อมแล้วทุกอย่างตั้งอยู่ตามปกติ
    ทีนี้มีข้อควรทราบไว้คือ สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์และเดียรฉาน เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ก็เฉพาะตอน อสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนี้เท่านั้น ส่วนในตอน 3 อสงไขยกัปข้างต้น จะไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ในโลกนี้เลย
    <CENTER>มหากัป เป็นอย่างไร </CENTER>

    เมื่อนับจำนวนทั้ง 4 อสงไขยรวมกัน เราจะเรียกว่า 1 มหากัป คือ
    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    รวม 4 อสงไขยกัป ก็เป็น 256 อันตรกัป ซึ่งจะเท่ากับ 1 มหากัป
    แต่ทีนี้เวลาบอกว่า พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญเพียร สั่งสมบารมี เป็น 4 อสงไขยกับหนึ่งแสนมหากัป นั้น คำว่า อสงไขยในที่นี้ หมายถึง การนับจำนวนของมหากัป เป็นอสงไขย กับ อีกหนึ่ง แสน มหากัป ครับ
    ตรงนี้แหละครับที่ผมเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ว่า การนับ จำนวนของ มหากัปได้ เท่ากับ อสงไขยนั้น เป็นจำนวนเท่าไหร่ ขอฝากไว้ให้ลองคิดกันดูแล้วกันนะครับ
    หมายเหตุ คำว่ากัปและกัลนั้น ต่างก็มีความหมายเหมือนกัน แตกต่างกันที่ คำหนึ่งเป็น ภาษาบาลี อีกคำหนึ่งเป็น ภาษาสันสกฤต แต่ไม่แน่ใจว่าคำใดเป็นบาลี คำใดเป็นภาษาสันสกฤต
    แหล่งข้อมูล จากหนังสือชื่อ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้า (มุนีนาถทีปนี) สำนักพิมพ์ คณะสังคมผาสุก ผู้แต่ง พระเทพมุนี (วิลาส ญาณวโร) ISBN: 974-7437-92-9
    ในเรื่องของมหากัป นั้น มีการแบ่งมหากัป ออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ประเภทที่ มีพระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้ เรียกว่า อสุญกัป
    2. ประเภทที่ไม่มี พระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้ สุญกัป
    อสุญกัป คือ กัปที่ไม่สูญจากพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังรวมถึง การที่จะมีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอริยบุคคล และพระจักรพรรดิ จะได้มาอุบัติในมหากัปดังกล่าวนี้ด้วย
    ในทางตรงกันข้าม สุญกัปคือ กัปที่ไม่มีบุคคลผู้วิเศษเหล่านี้เลย
    หากพูดถึงเรื่องอสุญกัปแล้ว ไม่กล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้คงจะไม่ครบถ้วนกระบวนความนะครับ
    ในบรรดาอสุญกัปนั้น คือกัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ยังมีชื่อเรียกตามจำนวนสมเด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้อีก ดังต่อไปนี้
    1. สารกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 1 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า สารกัป
    2. มัณณฑกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 2 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป
    3. วรกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 3 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า วรกัป
    4. สารมัณฑกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 4 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑกัป 5. ภัทรกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า ภัทรกัป ในกัป ประเภทสุดท้ายนี้ เป็นกัปที่ประเสริฐที่สุด คือมี พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัส มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เหล่าสัตว์โลก คือ มนุษย์และเทวดาอินทร์ พรหม ผู้ที่มีจิตเป็นกุศลโสภณ ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ ประกอบไปด้วยบุญวาสนาบารมี ย่อมสามารถที่จะกระทำอาสวะกิเลส ให้สูญสิ้นไปจากขันธสัน-ดาน แห่งตนโดยชุกชุม เป็นกัปที่หาได้โดยยากยิ่ง นานแสนนาน จึงจักปรากฏมีในโลกเรานี้สักครั้งหนึ่ง ท่านจึงขนานนามอสุญกัปนี้ว่า ภัทรกัป = กัปที่เจริญที่สุด


    <TBODY></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.larnbuddhism.com/praanon/11111.html



    <TABLE width="75%" align=center>
    <CENTER>อายุของเหล่าเทวดา </CENTER>

    เทวดาที่จะพูดถึงนี้คือ เทวดาที่อยู่ในชั้นกามวจรทั้ง 6 ชั้น ต่อไปนี้
    1. สวรรค์ชั้น จาตุมมหาราชิกา มีอายุ 500 ปีสวรรค์
    2. สวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีอายุ 1,000 ปีสวรรค์
    3. สวรรค์ชั้น ยามา มีอายุ 2,000 ปีสวรรค์
    4. สวรรค์ชั้น ดุสิต มีอายุ 4,000 ปีสวรรค์
    5. สวรรค์ชั้น นิมมานรดี มีอายุ 8,000 ปีสวรรค์
    6. สวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี มีอายุ 16,000 ปีสวรรค์
    ปัญหาต่อไปคือ ใน 1 วันสวรรค์ของ สวรรค์แต่ละชั้น มีระยะเวลาเมื่อเทียบกับระยะเวลาในโลกมนุษย์ไม่เท่ากันดังนี้
    1. 1 วันของสวรรค์ชั้น จาตุมมหาราชิกา เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์
    2. 1 วันของสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ เท่ากับ 100 ปีโลกมนุษย์
    3. 1 วันของสวรรค์ชั้น ยามา เท่ากับ 200 ปีโลกมนุษย์
    4. 1 วันของสวรรค์ชั้น ดุสิต เท่ากับ 400 ปีโลกมนุษย์
    5. 1 วันของสวรรค์ชั้น นิมมานรดี เท่ากับ 800 ปีโลกมนุษย์
    6. 1 วันของสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี เท่ากับ 1,600 ปีโลกมนุษย์
    เพราะฉะนั้น อายุของเทวดาในสวรรค์ชั้นต่างๆ ถ้าจะเทียบกับเวลาในมนุษย์จะได้ดังนี้
    1. ชั้น จาตุมมหาราชิกา เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์ (500 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 50ปีมนุษย์ )
    2. ชั้น ดาวดึงส์ เท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์ (1,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 100ปีมนุษย์ )
    3. ชั้นยามา เท่ากับ 144 ล้านปีมนุษย์ (2,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 200ปีมนุษย์ )
    4. ชั้น ดุสิต เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์ (4,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 400ปีมนุษย์ )
    5. ชั้น นิมมานรดี เท่ากับ 2,304 ล้านปีมนุษย์ (8,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 800ปีมนุษย์ )
    6. ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี เท่ากับ 9,216 ล้านปีมนุษย์ (16,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 1,600ปีมนุษย์ )
    ข้อมูลนี้ได้มาจากตำรา ผมไม่แน่ใจว่า ตำราที่ผมอ่านนั้น มีความถูกต้องแม่นยำแค่ไหน ฝากไว้ให้ผู้รู้ช่วยตรวจสอบด้วยแล้วกันครับ
    <MARQUEE>@ จากคุณกวางน้อย @</MARQUEE>
    ***เพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดไปหน่อยนะครับ ***
    คำว่า อสงไขย นั้นมี ๒ ความหมาย คือในแง่ที่เป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้ ก็หมายถึงจำนวน ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ตามที่อธิบายไว้แล้ว แต่ในแง่ที่เป็นอุปมา มันมากมายถึงขั้นนับไม่ได้ นับไม่ไหวแล้ว เอาพระพรหมจากพรหมโลกมานับท่านก็นับไม่ไหว คือมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวไปแล้วครับ
    คราวนี้ก็สงสัยว่าพระโพธิสัตว์ท่านบำเพ็ญปรมัตถบารมีในช่วง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปสุดท้ายนี่นับกันยังไง เขาไม่นับกันเป็นตัวเลขแล้วครับ เพราะนับไม่ได้อย่างที่บอก แต่เขาใช้วิธีนับเป็นช่วงแทน ในช่วง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปสุดท้ายนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสุญอสงไขยครับ คือแต่ละกัปที่ผ่านไปนี่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเลย
    ย้อนกลับไปอสงไขยที่ ๕ ก่อนโน้นเป็นอสุญอสงไขย เรียกว่า สัพพผาละอสงไขย มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒,๐๐๐ พระองค์ เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว กัปก็สูญสิ้นไป แล้วก็เกิดสุญกัปจำนวนหนึ่ง .....จากนั้นก็มีสารมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกร พระเมทังกร พระสรณังกร และพระทีปังกร กัปนี้เขาเรียกว่ากัปแทรก เป็นกัปต้นของอสงไขยที่ ๔ ย้อนหลังไปครับ เพราะพอสิ้นกัปนี้ไปแล้ว ก็เกิดเป็นสุญกัปจำนวนเท่ากับ ๑ ๒ ๓ ....... จนถึง ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว แล้วก็ยังต่อไปอีกแบบนับไม่ได้ นี่แหละครับเรียกว่าอสงไขย อสงไขยนี้ชื่อว่าเสละอสงไขย แล้วเสละอสงไขยสิ้นสุดกันตรงไหน สิ้นสุดอสงไขยนี้ตรงที่มีกัปหนึ่งมาคั่นอยู่ เรียกว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๑ พระองค์ คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว กัปก็สูญสิ้นไป แล้วก็เกิดสุญกัปจำนวนมาก จำนวนเท่ากับ ๑ ๒ ๓ ....... จนถึง ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว แล้วก็ยังต่อไปอีกแบบนับไม่ได้ นี่เป็นอีกอสงไขยหนึ่ง อสงไขยนี้ชื่อว่าภาสะอสงไขย แล้วภาสะอสงไขยสิ้นสุดกันตรงไหน สิ้นสุดตรงมีสารมัณฑกัปหนึ่งมาแทรกอยู่ มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติอีก ๔ พระองค์ คงพอเข้าใจคำว่าอสงไขยกันนะครับ ถ้าถามว่า แต่ละอสงไขยนี่มันยาวนานเท่ากันไหม ไม่เท่ากันครับ เพราะมันเป็นเพียงอุปมา ไม่สามารถบอกระยะเวลาจริงๆ ได้ อสงไขยหนึ่งอาจจะนานกว่าอีกอสงไขยหนึ่งเป็น ๒ เท่าก็ได้ครับ แต่ที่แน่ๆ คือนานจริงๆ ครับ


    จากคุณ อังคาร
    <TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY>

    </TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.larnbuddhism.com/praanon/07.html


    <CENTER>นโม วิมุตตานัง มโน วิมุตติยา </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <TABLE width="75%" align=center>

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นท่อนไม้ที่ลอยมาตามกระแสน้ำคงคาหรือไม่
    ถ้าท่อนไม้นั้น ไม่เข้าไปติดฝั่งใน หรือฝั่งนอก
    ไม่จมในกลางน้ำ
    ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก
    ไม่ถูกมนุษย์จับไว้
    ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้
    ไม่วนอยู่ในวังน้ำวน
    ไม่ผุเน่าในเสียเองก่อน
    ท่อนไม้นั้น ย่อมลอยไหลไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่าลำน้ำคงคาลาดเอียงไปสู่ทะเล ข้อนี้ฉันใด การประพฤติปฏิบัติของพวกเธอก็ฉันนั้น หากไม่เข้าไปติดฝั่งใน หรือฝั่งนอก......ฯลฯ......ไม่ผุเน่าในเสียก่อนฯ พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่พระนิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบย่อมน้อมนำจิตไปสู่นิพพาน นั่นเอง
    ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ความหมายคืออะไร จนถึง....ไม่ผุเน่าในเสียก่อนฯ หมายถึงอะไร มาดูคำเฉลยกันครับ
    ฝั่งใน.........คือ การไม่สำรวมใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปล่อยให้ถูกครอบงำด้วยกิเลส
    ฝั่งนอก......คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่ครอบงำจิตใจ
    จมในกลางน้ำ......คือ ความเพลิดเพลินใน กามราคะ
    ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก........คือ ความสำคัญมั่นหมายในตัวตนว่า เรามี เราเป็น
    ถูกมนุษย์จับไว้...........คือ เป็นผู้คลุกคลีระคนด้วยคฤหัสถ์
    ถูกอมนุษย์จับไว้........คือ การประพฤติพรมจรรย์เพื่อหวังเดชานุภาพและกามคุณ
    วนอยู่ในวังน้ำวน.......คือ ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ใน กามคุณห้า
    ผุเน่าในเสียเองก่อน.......เน่าในคือ เป็นผู้ทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีการประพฤติที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปิดบังซ่อนเร้น

    <CENTER>[​IMG]

    <CENTER>[​IMG] </CENTER>
    อุ่นใดๆ โลกนี้..มิมีเทียบเทียม อุ่นอกอ้อมแขน อ้อมกอดแม่ตระกอง
    รักเจ้าจึงปลูก รักลูกแม่ย่อมห่วงใย ไม่อยากจากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน
    ให้กายเรา..ใกล้กัน ให้ดวงตา..ใกล้ตา ให้ดวงใจ เราสองเชื่อมโยงผูกพัน
    อิ่มใดๆ โลกนี้..มิมีเทียบเทียม อิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอน
    น้ำนมจากอก อาหารของความอาทร แม่พร่ำเตือน พร่ำสอน สอนสั่ง
    ให้เจ้าเป็น..เด็กดี ให้เจ้ามี..พลัง ให้เจ้าเป็น ความหวังของแม่ต่อไป
    ใช่เพียง...อิ่มท้อง ที่ลูกร่ำร้อง เพราะต้องการ...ไออุ่น
    อุ่นไอรัก อุ่นละมุน ขอน้ำนมอุ่น...จากอกให้ลูกดื่มกิน

    พ่อแก่ - แม่เฒ่า
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <CENTER>พ่อแม่ก็แก่เฒ่า............จำจากเจ้าไม่อยู่นาน
    จะพบจะพ้องพาน..........เพียงเสี่ยววารของคืนวัน
    ใจจริงไม่อยากจาก........เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน
    แต่ชีพมิทนทาน.............ย่อมร้าวรานสลายไป
    ขอเถิดถ้าสงสาร.............อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ
    คนแก่ชะแรวัย..............คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
    ไม่รักก็ไม่ว่า..................เพียงเมตตาช่วยอาทร
    ให้กินและให้นอน..........คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
    เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง........ให้คิดถึงเมื่อเยาว์วัย
    ร้องไห้ยามป่วยไข้...........ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน
    เฝ้าเลี้ยงจนเติบใหญ่.......แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน
    หวังเพียงจะได้ยล............เติบโตจนสง่างาม
    ขอโทษถ้าทำผิด...............ขอให้คิดทุกทุกยาม
    ใจแท้มีแต่ความ..............หวังติดตามช่วยอวยชัย ต้นไม่ที่ใกล้ฝั่ง.................มีหรือหวังอยู่นานได้ วันหนึ่งคงล้มไป...............ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง ..........................................(อ.สุนทรเกตุ) </CENTER>
    </CENTER>


    <TBODY></TBODY>
    </TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 227.jpg
      227.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.8 KB
      เปิดดู:
      324
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“โรคห่า” บุก กทม.-ยะลา เตือนปี 50 ตายแล้ว 7
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000002594
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 มกราคม 2551 15:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> กระทรวงสาธารณสุข เร่งทุกจังหวัดควบคุมป้องกันอหิวาตกโรค ตลอดปี 2550 มีผู้ป่วยทั้งหมด 988 ราย เสียชีวิต 7 ราย ชี้แนวโน้มการแพร่ระบาดโรคในปี 2551 ลดลง ขณะนี้มี 2 จังหวัด ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง 10 วัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และยะลา ย้ำเตือนประชาชนให้ถ่ายอุจจาระลงส้วม อย่าถ่ายเรี่ยราด ซึ่งปริมาณเชื้ออหิวาต์ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคนี้ มีมากถึงซีซีละ 1 พันล้านตัว

    นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ของอหิวาตกโรค ว่า ตลอดปี 2550 กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยที่ยืนยันติดเชื้ออหิวาตกโรค จำนวน 988 ราย เสียชีวิต 7 ราย อัตราตายร้อยละ 0.7 ซึ่งถือว่าต่ำมาก ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งที่มีและไม่มีรายงานผู้ป่วย เร่งควบคุมป้องกันโรคอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ให้แยกผู้ป่วยดูแลและค้นหาเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการในชุมชนละแวกเดียวกัน เป็นเวลา 10 วัน ขณะนี้มี 2 จังหวัดที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง ได้แก่ ยะลา พบผู้ป่วยรายล่าสุดเมื่อ 26 ธันวาคม 2550 และที่กรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยรายล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 ทั้งนี้ อหิวาตกโรคมีการระบาดทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนหลายประเทศก็มีรายงานโรคเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับไทย

    สำหรับสิ่งที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ขอให้ยึดหลักการคือ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมทุกครั้ง ประการสำคัญ ขอให้ประชาชนถ่ายอุจจาระลงส้วม ซึ่งเป็นวิธีป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปที่อื่นๆ ได้ดีที่สุด เพราะหากผู้ที่ถ่ายอุจจาระติดเชื้ออหิวาตกโรค เชื้อจะปนออกมากับอุจจาระ

    โดยจากการวิเคราะห์พบว่า ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคอหิวาต์จำนวน 1 ซีซี จะมีเชื้ออหิวาต์ 1 พันล้านตัว ในอุจจาระของผู้ที่มีเชื้ออหิวาต์ แต่ยังไม่มีอาการถ่ายเหลวขนาดน้ำหนัก 1 กรัม จะมีเชื้อโรคดังกล่าวประมาณ 1,000 ตัว โดยเชื้ออหิวาต์เพียง 2 ตัว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพชื้นๆ จะสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 9 ชั่วโมง สามารถเพิ่มจำนวนได้มากถึง 137,000 ล้านตัว

    อย่างไรก็ตาม หากประชาชนทุกวัยมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ขอให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อที่จะเก็บอุจจาระส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ห้ามซื้อยาแก้ท้องเสียที่ทำให้หยุดถ่ายกินอย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้เชื้อโรคคั่งอยู่ในลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบ อาการรุนแรงมากขึ้น โดยหากได้รับยาแก้อักเสบมากินเองที่บ้าน ขอให้กินยาให้ครบตามที่บุคลากรสาธารณสุขแนะนำ เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ซึ่งอหิวาตกโรคนี้สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก หากกินอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/


    <CENTER>ความหมายของพระวินัยปิฎก</CENTER>
    พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย​

    พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่)คือ ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร

    บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน) ๓. ปริวาร ว่า คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)​

    พระวินัยปิฎก ๘ เล่มเล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ(เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณีเล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณาเล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคีเล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย​

    พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์​
    </PRE>คัดลอกจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

    6 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    </CENTER>มหาวิภังค์ ภาค ๑
    เวรัญชกัณฑ์
    เรื่องเวรัญชพราหมณ์
    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
    ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
    ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
    เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก

    เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
    พระพุทธประเพณี
    พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
    เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
    ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
    เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์


    ปาราชิกกัณฑ์
    ปฐมปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย เมถุนธรรม]</SMALL>
    เรื่องพระสุทินน์
    สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ ๑ เรื่องลิงตัวเมีย
    พระอนุบัญญัติ ๒ เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    สิกขาบทวิภังค์
    ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]</SMALL>
    ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]</SMALL>
    ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน
    บทภาชนีย์
    มรรคภาณวาร
    อสันถตภาณวาร
    ๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ

    สันถตภาณวาร
    ๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๘. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๐. หมวดสนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ

    อสันถตภาณวาร
    ๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๕. หมวดอนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ

    สันถตภาณวาร
    ๑. หมวดมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๒. หมวดอมนุสสิตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๓. หมวดติรัจฉานคติตถี ๒๗ จตุกกะ
    ๔. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๕. หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๖. หมวดติรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนก ๒๗ จตุกกะ
    ๗. หมวดมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๘. หมวดอมนุสสะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๙. หมวดติรัจฉานคตะปัณฑกะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๐. หมวดมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๑. หมวดอมนุสสะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ
    ๑๒. หมวดติรัจฉานคตะปุริสะ ๑๘ จตุกกะ


    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องลิงตัวเมีย เป็นต้น

    ทุติยปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย อทินนาทาน]</SMALL>
    เรื่องพระธนิยะ กุมภการบุตร
    วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
    พระปฐมบัญญัติ
    เรื่องพระฉัพพัคคีย์
    พระอนุบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ มาติกา
    บทภาชนีย์ ภุมมัฏฐวิภาค เป็นต้น
    อาณัตติกประโยค
    อาการแห่งอวหาร
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง เป็นต้น

    ตติยปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย มนุสสวิคคหะ]</SMALL>
    นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
    ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
    พระปฐมบัญญัติ
    อนุบัญญัติ เรื่องพระฉัพพัคคีย์
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์
    มาติกา
    มาติกาวิภังค์
    สาหัตถิกประโยค ทำเอง เป็นต้น
    อาณัตติกประโยค สั่งทูต เป็นต้น
    พรรณนาด้วยกาย เป็นต้น
    พรรณนาด้วยวาจา เป็นต้น
    การนำรูปเข้าไป เป็นต้น


    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องพรรณนา






    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/

    จตุตถปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย อุตตริมนุสสธรรม]</SMALL>

    เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
    มหาโจร ๕ จำพวก
    นิคมคาถา
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์
    สุทธิกะฌาน เป็นต้น
    สุทธิกะฌาน ปฐมฌาน เป็นต้น
    สุทธิกะวิโมกข์ เป็นต้น
    สุทธิกะสมาธิ เป็นต้น
    สุทธิกะสมาบัติ เป็นต้น
    สุทธิกะ ญาณทัสสนะ เป็นต้น
    สุทธิกะ มรรคภาวนา เป็นต้น
    สุทธิกะ อริยผล เป็นต้น
    สุทธิกะ การละกิเลส เป็นต้น
    สุทธิกะ ความเปิดจิต เป็นต้น

    ขัณฑจักร ปฐมฌาน-ทุติยฌาน เป็นต้น
    พัทธจักร ทุติยฌานและตติยฌาน เป็นต้น
    พัทธจักร เอกมูลกนัย เป็นต้น
    ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
    พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ
    มูลแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้
    ปัจจยปฏิสังยุตวารกถา เปยยาล ๑๕ หมวด
    ปัจจัตตวจนวาร ๕ หมวด
    กรณวจนวาร ๕ หมวด
    อุปโยควจนวาร ๕ หมวด

    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ เป็นต้น

    บทสรุปปาราชิก ๔ สิกขาบท
    หัวข้อประจำเรื่อง

    เตรสกัณฑ์

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑<SMALL> [ว่าด้วย ปล่อยสุกกะ]</SMALL>
    เรื่องพระเสยยสกะ
    พระบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์
    สุทธิกสังฆาทิเสส
    ขัณฑจักร มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
    พันธจักร มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
    ขัณฑจักร มีความประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
    พัทธจักร มีความประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
    ขัณฑจักรและพัทธจักร มีความประสงค์ทุกอย่างเป็นมูล
    ขัณฑจักร มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
    พัทธจักร มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล
    ขัณฑจักร มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
    พัทธจักร มีวัตถุประสงค์ ๒ อย่างเป็นมูล
    ขัณฑจักรและพัทธจักร มีวัตถุประสงค์ทุกอย่างเป็นมูล
    อุภโตพัทธมิสสกจักร
    กุจฉิจักร หมวดที่ ๑ เป็นต้น
    ปิฏฐิจักร หมวดที่ ๑ เป็นต้น
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ คาถาแสดงชื่อเรื่อง
    วินีตวัตถุ เรื่องฝัน เป็นต้น


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒ <SMALL>[ว่าด้วย เคล้าคลึงกาย]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายี
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ ภิกษุเปยยาล
    บทภาชนีย์ อิตถีเปยยาล
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ คาถาแสดงชื่อเรื่อง
    วินีตวัตถุ เรื่องมารดา เป็นต้น


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๓ <SMALL>[ว่าด้วย วาจาชั่วหยาบ]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายี
    พระปฐมบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ มาติกา
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องสีแดง เป็นต้น


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๔ <SMALL>[ว่าด้วย บำเรอกามของตน]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายี
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ สตรีคนเดียว เป็นต้น
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร เป็นต้น


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕ <SMALL>[ว่าด้วย ชักสื่อ]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายี
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ เรื่องนักเลงหญิง
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ มาติกา สตรี ๑๐ จำพวก
    บทภาชนีย์ มาติกา ภรรยา ๑๐ จำพวก

    มาติกาวิภังค์
    จักรเปยยาลทั้งมวญ
    ๑. ธนักกีตาจักร หมวดภรรยาสินไถ่
    ๒. ฉันทวาสินีจักร หมวดภรรยาที่อยู่ด้วยความเต็มใจ
    ๓. โภควาสินีจักร หมวดภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ
    ๔. ปฏวาสินีจักร หมวดภรรยาที่อยู่เพราะผ้า
    ๕. โอทปัตตกินีจักร หมวดภรรยาที่สมรส
    ๖. โอภตจุมพฏาจักร หมวดภรรยาที่ถูกปลงเทริด
    ๗. ทาสีภริยาจักร หมวดภรรยาที่เป็นทั้งคนใช้เป็นทั้งภรรยา
    ๘. กัมมการีภริยาจักร หมวดภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้งภรรยา
    ๙. ธชาหฏาจักร หมวดภรรยาเชลย

    ๑๐. มุหุตติกาจักร หมวดภรรยาชั่วคราว

    ๑. มาตุรักขิตาจักร หมวดสตรีมีมารดาปกครอง
    ๒. ปิตุรักขิตาจักร หมวดสตรีมีบิดาปกครอง
    ๓. มาตาปิตุรักขิตาจักร หมวดสตรีมีมารดาบิดาปกครอง
    ๔. ภาตุรักขิตาจักร หมวดสตรีมีพี่น้องชายปกครอง
    ๕. ภคินีรักขิตาจักร หมวดสตรีมีพี่น้องหญิงปกครอง
    ๖. ญาติรักขิตาจักร หมวดสตรีมีญาติปกครอง
    ๗. โคตตรักขิตาจักร หมวดสตรีมีโคตรปกครอง
    ๘. ธัมมรักขิตาจักร หมวดสตรีมีธรรมคุ้มครอง
    ๙. สารักขาจักร หมวดสตรีมีคู่หมั้น

    ๑๐. สปริทัณฑาจักร หมวดสตรีมีกฏหมายคุ้มครอง

    อุภโตพัทธกจักร มีสตรีและภรรยารวมกันข้างละหนึ่ง เป็นต้น
    ปุริสเปยยาล มีปุริสมาตุจักร เป็นต้น
    อิตถีเปยยาล มีมาตุรักขิตามาตุจักร เป็นต้น

    ภิกษุรับคำ ภิกษุไม่รับคำ
    บุรุษสั่งภิกษุหลายรูป บุรุษสั่งภิกษุรูปเดียว
    ภิกษุจัดการสำเร็จและบอกเคลื่อนคลาด
    อนาปัตติวาร
    วินีตวัตถุ อุทานคาถา
    วินีตวัตถุ เรื่องสตรีหลับ เป็นต้น


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖ <SMALL>[ว่าด้วย ทำกุฎี]</SMALL>
    เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
    เรื่องฤาษีสองพี่น้อง
    เรื่องนกฝูงใหญ่
    เรื่องรัฐบาลกุลบุตร
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ พื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เป็นต้น
    อนาปัตติวาร

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๗ <SMALL>[ว่าด้วย ทำวิหาร]</SMALL>
    เรื่องพระฉันนะ
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ สร้างวิหารมีพื้นที่อันสงฆ์มิได้แสดงให้ เป็นต้น
    อนาปัตติวาร

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๘ <SMALL>[ว่าด้วย โจทด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล]</SMALL>
    เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
    กรรมวาจาสมมติภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะและแจกอาหาร
    เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
    เรื่องภิกษุณีเมตติยา
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    บทภาชนีย์ ไม่เห็น โจทว่าได้เห็น เป็นต้น
    ความเห็น ๔ อย่าง
    อนาปัตติวาร

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙ <SMALL>[ว่าด้วย โจทอ้างเลศบางอย่าง]</SMALL>
    เรื่องพระเมตติยะ และพระภุมมชกะ
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    เลศ ๑๐ อย่าง และอธิบายเลศ ๑๐ อย่าง
    บทภาชนีย์ เอเกกมูลจักร เป็นต้น
    อนาปัตติวาร

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐<SMALL> [ว่าด้วย ทำลายสงฆ์]</SMALL>
    เรื่องพระเทวทัตต์
    วัตถุ ๕ ประการที่พระเทวทัตต์ทูลขอ
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
    บทภาชนีย์
    อนาปัตติวาร


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑<SMALL> [ว่าด้วย ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่นแหละ]</SMALL>
    เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัตต์
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
    บทภาชนีย์
    อนาปัตติวาร


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๒<SMALL> [ว่าด้วย ว่ายาก]</SMALL>
    เรื่องพระฉันนะ
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    กรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
    บทภาชนีย์
    อนาปัตติวาร


    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓<SMALL> [ว่าด้วย ประทุษร้ายสกุล]</SMALL>
    เรื่องภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
    วิธีทำปัพพาชนียกรรม และกรรมวาจาทำปัพพาชนียกรรม
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    กรรมวาจาสวดสมนุภาส
    บทภาชนีย์
    อนาปัตติวาร

    บทสรุป
    หัวข้อประจำเรื่อง

    อนิยตกัณฑ์

    อนิยตสิกขาบทที่ ๑<SMALL> [ว่าด้วย นั่งในที่ลับพอจะทำการได้]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    ปฏิญญาตกรณะ เห็นนั่งกำลังเสพเมถุนธรรม เป็นต้น
    บทภาชนีย์

    อนิยตสิกขาบทที่ ๒<SMALL> [ว่าด้วย แลนั่งในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่]</SMALL>
    เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา มิคารมาตา
    พระบัญญัติ
    สิกขาบทวิภังค์
    ปฏิญญาตกรณะ เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง เป็นต้น
    บทภาชนีย์

    บทสรุป
    หัวข้อประจำเรื่อง


    สารบัญ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ จบ
    บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นับตั้งแต่นี้ นอกจากพระพิมพ์ที่ผมจะนำมามอบให้กับทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญแล้ว และเรื่องต่างๆที่ผมหรือท่านอื่นๆเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่งาม ที่ถูกต้อง นำมาลงเพื่อเป็นความรู้ในการดำรงชีวิตแล้ว

    ผมจะขอลงเรื่องของพระไตรปิฎก เพื่อให้เป็นความรู้ เพื่อให้เป็น "สติ" และ "ปัญญา" ในเรื่องของพระศาสนาครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=0&Z=164


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑

    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER><CENTER class=n>พระวินัยปิฎก

    </CENTER><CENTER class=n>เล่ม ๑

    </CENTER><CENTER class=n>มหาวิภังค์ ปฐมภาค

    </CENTER><CENTER class=n>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

    </CENTER><CENTER>เวรัญชกัณฑ์

    </CENTER><CENTER>เรื่องเวรัญชพราหมณ์
    </CENTER>[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูลประทับอยู่ ณ บริเวณต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
    แม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด
    ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพและมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็น
    ปานนั้น เป็นความดี.


    <CENTER>เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
    </CENTER>[๒] หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณะโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่า ตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป.

    ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี
    ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้
    ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการไม่ทำ
    ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวความขาดสูญ
    ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดม
    กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้
    ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ
    ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมช่างกำจัด.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้
    ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญ พราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งควรเผาผลาญตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลังมีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ
    ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด.
    ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้
    ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดาเรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่า
    กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.


    <CENTER>ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
    </CENTER>[๓] ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่
    เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.
    ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.


    <CENTER>ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
    </CENTER>ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟองอันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้
    ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลกเพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.


    <CENTER>ปฐมฌาน
    </CENTER>เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.


    <CENTER>ทุติยฌาน
    </CENTER>เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.


    <CENTER>ตติยฌาน
    </CENTER>เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.


    <CENTER>จตุตถฌาน
    </CENTER>เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.


    <CENTER>บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    </CENTER>เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์
    เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
    อันมาก พร้อมทั้งอุเทส พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการ
    ทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น.




    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>จุตูปปาตญาณ
    </CENTER>เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้วแสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไป
    แล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.


    <CENTER>อาสวักขยญาณ
    </CENTER>เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
    อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.


    <CENTER>เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
    </CENTER>[๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดมภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด.
    พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญชพราหมณ์ทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไป.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ - ๑๖๔. หน้าที่ ๑ - ๗.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=0&Z=164&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=0&Z=164
    *************************************************
    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=165&Z=315

    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle VSpace="0" HSpace="0">[​IMG]</TD><TR><TD vAlign=bottom align=middle width="100%" bgColor=mistyrose vspace="0">บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑

    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER><CENTER>เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
    </CENTER>[๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง
    มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการ
    ถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ มีม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว ได้
    เข้าพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุรูปละแล่งไว้ที่
    คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวรัญชา
    เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงเที่ยวไปบิณฑบาตที่คอกม้า รับข้าวแดงรูปละแล่ง นำไปสู่อารามแล้วลงครก
    โขลกฉัน ส่วนท่านพระอานนท์บดข้าวแดงแล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาค
    พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่บดถวายนั้นอยู่ ได้ทรงสดับเสียงครกแล้ว.


    <CENTER>พระพุทธประเพณี
    </CENTER>พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
    ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่ง
    ที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ สิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถาม
    ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงครกหรือหนอ
    จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่า ดีละ
    ดีละ อานนท์ พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลังจักดูหมิ่นข้าว
    สาลีและข้าวสุกอันระคนด้วยเนื้อ.


    <CENTER>พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
    </CENTER>[๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชา
    มีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้อ
    อาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้า
    พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น
    ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน
    พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่า เธอจะทำ
    อย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น?
    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดิน
    เหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจะพึง
    ได้รับผลตรงกันข้าม.
    ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตในอุตรกุรุทวีป พระ-
    *พุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น?
    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่า
    พอใจเลย.


    <CENTER>เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
    </CENTER>[๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิด
    ขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของ
    พระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
    *ภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปใน
    ที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มี
    พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
    พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระ
    นามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
    ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
    พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?
    ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู
    ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ
    เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้ง
    สามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะ
    อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
    เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึง
    ยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้น
    กระดาน ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้น
    เพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
    เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน
    ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับ
    พลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรง
    กำหนดจิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก.
    ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม
    เวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณ
    พันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จง
    ทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล
    จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรง
    สั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
    ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่ง
    ยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน.
    ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
    พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรงอยู่นาน.
    ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ
    พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?
    ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนาม
    กัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ
    เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มี
    พระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะ
    อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
    เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึง
    ดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บน
    พื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค
    พุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่
    ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้
    ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน.
    ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
    พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.




    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=165&Z=315

    <CENTER>ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
    </CENTER> [๘] ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
    ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต
    ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้
    พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้
    กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลา
    ที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏ-
    *ฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง
    ปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่
    ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อ
    เมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อม
    ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก
    เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ใน
    ศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็น
    หมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้
    เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม
    เหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์
    ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และ
    อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติ-
    *สิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ ดูกรสารีบุตร
    ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดา
    ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
    ผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

    <CENTER>เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
    </CENTER> [๙] ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
    ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่
    จาริกในชนบท ข้อนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจะบอกลา
    เวรัญชพราหมณ์.
    ท่านพระอานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็น
    ปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ
    พระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ทันใดนั้น เวรัญชพราหมณ์ดำเนินเข้าไปสู่ที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย
    บังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกรพราหมณ์ เราเป็นผู้อันท่านนิมนต์
    อยู่จำพรรษาแล้ว เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท.
    เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า เป็นความจริง ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านิมนต์พระองค์อยู่
    จำพรรษา ก็แต่ว่าไทยธรรมอันใดที่จะพึงถวาย ไทยธรรมอันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้ถวาย และไทย-
    *ธรรมนั้นมิใช่ว่าจะไม่มี ทั้งประสงค์จะไม่ถวายก็หาไม่ ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทย-
    *ธรรมนั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยพระสงฆ์
    จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่
    ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
    พระผู้มีพระภาคทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณีภาพ และแล้วทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์
    เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
    หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตในนิเวศน์ของตน
    โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่าน
    พระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
    ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธ-
    *ดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญชพราหมณ์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-
    *โภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่พระผู้มีพระภาค
    ผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครอง รูปละ
    สำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
    แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
    เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมือง
    กัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้น
    พระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไป
    สู่พระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับ
    อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.

    <CENTER>เวรัญชภาณวาร จบ.
    </CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๖๕ - ๓๑๕. หน้าที่ ๗ - ๑๓.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=165&Z=315&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=165&Z=315
    ***********************************************

    .
     
  15. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    หลายคนฝึกสมาธิมาหลายแบบ หาที่ถูกจริตยังไม่ได้ซักทีดูนี่เลยครับ อาจจะถูกใจ (คัดลอกจากhttp://www.dhammathai.org/store/kammatan/sun.php)
    กรรมฐานประจำวันเกิด<table align="center" border="0" width="560"> <tbody> <tr valign="top"> <td width="420"> <table bgcolor="#eeeeee" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc00" height="22"> โ ด ย : อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffffef" valign="top"> <table align="center" border="0" width="95%"> <tbody> <tr> <td> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    คำนำ
    </td></tr></tbody></table> ฟังดูชื่อเรื่องแล้ว บางท่านอาจจะงง มีด้วยหรือ กรรมฐานประจำวันเกิด ? เคยได้ยินแต่กรรมฐานที่เหมาะแก่ จริตต่างๆ…. แต่สำหรับกรรมฐานประจำวันเกิดนั้น ไม่เคยได้ยินจริงๆ แล้ว ในตำรา ท่านก็ไม่ได้ระบุไว้ โดยตรง หรอกครับ เป็นแต่เพียงเห็นว่า ลักษณะจริตนิสัยของคนที่เกิดในแต่ละวันนั้นเราสามารถเอาเรื่องของกรรมฐาน เข้าไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อบั่นทอนลักษณะนิสัยที่ไม่ดี และส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น ก็จึงได้ รวบรวม เพื่อให้เป็นแนวทางได้ศึกษากัน ถ้าประโยชน์อันใด ที่จะพึงบังเกิดมี จากบทความเรื่องนี้ก็ขอน้อมถวาย เป็นพุทธบูชา และอุทิศประโยชน์นี้ ให้แก่เพื่อนร่วมโลก ทุกรูป ทุกนาม แต่ถ้ามีข้อผิดพลาดบกพร่อง อันใด ก็ต้องขอน้อมรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียว กรรมฐานคืออะไร
    ก่อนที่จะว่ากันถึงรายละเอียด ว่ากรรมฐานประจำวันเกิดในแต่ละวันนั้น มีอะไรบ้าง ? เราก็ควรจะได้มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ที่เรียกกันว่า กรรมฐานๆนั้น คืออะไรกันแน่

    กรรมฐาน มาจากคำ ๒ คำ คือคำว่า กรรม + ฐาน
    กรรม แปลว่า การกระทำก็ได้ หรือแปลว่าการงานก็ได้
    ส่วน ฐาน นั้นแปลว่า ที่ตั้ง ฉะนั้น ในเมื่อเอาคำ ๒ คำนี้ มารวมกัน แล้วแปลให้ได้ความ ก็ควรจะแปลว่า อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงาน ทางใจ คือพูดง่ายๆ หางานให้ใจมันทำซะ อย่าปล่อยใจให้ว่างงาน ไม่เช่นนั้น เดี๋ยวมันจะฟุ้งซ่านแล้วนำความรำคาญ มาสู่จิตใจ

    กรรมฐานมี ๒ ขั้น
    กรรมฐาน หรืองานทางใจนี้ ยังมีถึง ๒ ขั้น
    ขั้นแรก เป็นงานทางใจในระดับต้น ที่จะช่วยกวาดล้างอารมณ์ฟุ้งซ่านต่างๆ ให้ออกไปจากใจ ทำใจให้สงบ ประณีต ไปโดยลำดับ ซึ่งมีวิธีการฝึก อยู่หลายอย่าง หลายวิธี ซึ่งจะได้แนะนำกันต่อไป… ขั้นนี้ เราเรียกว่า ขั้นสมถกรรมฐาน หรือ สมาธิ
    พอขั้นต่อมาก็เป็นขั้นของการพัฒนาความเห็น ให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง.. สิ่งใดไม่เที่ยง ก็เห็นโดย ความจริง ว่าไม่เที่ยง… สิ่งใดเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็เห็นโดยความจริง ว่าเป็นทุกข์….สิ่งใดเป็นอนัตตา บังคับบัญชา ให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้ ก็เห็นโดยความจริงว่าเป็นอนัตตา… การเห็นความจริงอย่างนี้ ในทุกสิ่งทุกอย่าง จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ( นิพพิทา ) และคืนคลายถ่ายถอน ความยึดมั่นติดใจ ( อุปาทาน ) ในสิ่งทั้งหลายลงได้ และเมื่อนั้นความทุกข์ทางใจ ก็จะมลาย หายไปสิ้น… ขั้นนี้แหละ ที่ท่านเรียกว่า ขั้นของ วิปัสสนากรรมฐาน เอาล่ะเมื่อได้ทราบแล้วว่า กรรมฐานมีถึง ๒ ขั้นอย่างนี้ ทีนี้ก็เข้าสู่ประเด็น สำคัญของเรื่องล่ะ คือคนเกิดวันไหน ควรฝึกกรรมฐานอย่างใด

    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td> <td> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    กรรมฐานประจำวัน
    </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" bgcolor="#eeeeee" border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="550"> <tbody> <tr> <td bgcolor="#9d3e00">[​IMG]</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffcc00" height="22"> โ ด ย : อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน</td></tr> <tr> <td bgcolor="#ffffef" valign="top"> <table align="center" border="0" width="95%"> <tbody> <tr> <td valign="top"> <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>กรรมฐานของคนที่เกิดวันอาทิตย์ </td></tr></tbody></table> ดาวอาทิตย์ ตามตำราโหราศาสตร์ ถ้าพูดถึงนิสัย ก็หมายถึง นิสัยที่เย่อหยิ่ง ค่อนข้างจะถือตัว เข้าทำนอง ฆ่าได้ แต่หยามไม่ได้ ว่างั้นเถอะ และก็มีลักษณะใจร้อน คล้ายๆลักษณะของดวงอาทิตย์ คือชอบอะไรเร็วๆ ช้าไม่เป็น คนที่มีลักษณะนิสัยอย่างนี้ ถ้าอยากจะฝึกกรรมฐาน ก็ควรฝึกกรรมฐาน ดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. จตุธาตุววัตถาน คือการพิจารณาร่างกาย ให้เห็น เป็นแต่เพียงธาตุ ๔
    ๒. มรณัสสติ คือการนึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๓. พรหมวิหาร คือการแผ่ความรักความสงสารไปยังเพื่อนมนุษย์
    ๔. วิปัสสนากรรมฐาน

    ทำไมจึงแนะนำให้เจริญกรรมฐานทั้ง ๔ นี้ ?…. ก็เพื่อแก้นิสัยที่เป็นจุดอ่อน ดังต่อไปนี้

    - นิสัยเย่อหยิ่ง ถือตัว ต้องแก้ด้วย จตุธาตุววัตถาน, มรณัสสติ หรือ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นความจริงของร่างกาย จะได้คลายจากความถือตัวถือตนลง
    - นิสัยใจร้อน ต้องแก้ด้วยการเจริญพรหมวิหาร เพื่อทำจิตใจให้เย็นลง

    ทีนี้ ถ้าจะลงมือปฏิบัติล่ะ จะทำอย่างไร ? อย่างการเจริญ "จตุธาตุววัตถาน" ได้แก่การพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เราก็ต้องแยกแยะเป็นว่าอะไรเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ธาตุดิน ก็ได้แก่ พวกที่เป็นของแข็ง… มีอะไรในร่างกายบ้างล่ะ ที่เป็นพวกของแข็ง ? ท่านลองนึกดู… ก็มีพวกโครงกระดูก, พวกเล็บ, พวกฟัน, พวกเอ็น ฯลฯ เป็นต้น ลองนึกดู ธาตุน้ำ ก็ได้แก่ พวกที่เป็นของเหลว… มีอะไรในร่างกาย บ้างล่ะ ที่เป็นพวกของเหลว ? ท่านลองนึกดูซิ… ก็มีพวกน้ำเลือด, น้ำลาย, น้ำปัสสาวะ ฯลฯ เป็นต้น ธาตุลม ก็ได้แก่พวกที่เป็นอากาศเคลื่อนไหว…..ที่เห็นได้ชัดก็คือลมหายใจ เข้าออก หรือที่ภาษาพระท่านเรียกว่า ลมอัสสาสะ - ปัสสาสะ นั่นแหละ และธาตุสุดท้าย คือ ธาตุไฟ ได้แก่ความอบอุ่น หรือถ้าจะพูดให้ทันสมัยหน่อย ก็คือ อุณหภูมิ ในร่างกายนี่เอง
    ถามว่า แยกแยะอย่างนี้แล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? ได้ประโยชน์แน่ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้เราได้เห็น ความจริงว่า ร่างกาย ที่เราเคยยึดมั่นถือมั่น โดยความเป็นตัวเราของเรานั้น ที่แท้ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ อย่าง มาประชุมกันขึ้นเท่านั้น มันไม่ได้มีความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่ประการใดเลย ในเมื่อมันไม่ได้มี ความเป็นตัวเป็นตนอย่างแท้จริง ควรแล้วหรือ ที่เราจะถือตัวในเมื่อตัวจริงๆ มันก็ไม่มีให้ยึดถือ มีแต่ธาตุ ๔ ที่รอเวลาเสื่อม รอเวลาสิ้นเท่านั้น…. แล้วเราจะถือตนถือตัวให้มันหนักใจไปทำไม ?
    เอ้า ! มาว่าถึงกรรมฐาน ที่จะช่วยละคลายความเย่อหยิ่ง ถือตัว อย่างที่ ๒ กันต่อดีกว่า นั่นก็คือ กรรมฐานที่ชื่อว่า "มรณัสสติ" มรณัสสติ ชื่อก็บอกแล้วว่า คงจะเกี่ยวกับความตายแหงๆ จริงอยู่ ! มรณัสสติ ถึงแม้จะเป็นการระลึก ถึงความตาย แต่ก็ไม่ใช่ระลึก เพื่อจะให้เราเกิดความหวาดกลัว แต่ระลึก เพื่อไม่ให้ประมาทต่างหากความตาย ทุกคนรู้ ว่าไม่มีใครหลีกพ้น แต่ทุกคนก็อดที่จะหวั่นหวาดเสียมิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่นึกถึงความตาย เอาเลย พอต้องเผชิญหน้ากับความตายเข้าจริงๆ ก็อดใจหายมิได้ ให้เรามานึกถึงความตาย ในแง่ของความเป็นจริงว่า คนเราเมื่อตายแล้ว ศักดิ์ศรีที่เคยมีทุกอย่าง มันก็หมดไปด้วย ต่อให้มีคนมาถ่มน้ำลายรดก็นอนให้เขา ถ่มเฉย แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่ล่ะก้อ ใครขืนมาทำอย่างนี้…..ฮึ่ม ! น่าดู ฉะนั้น การนึกถึงความตายหรือเจริญมรณัสสติบ่อยๆ มันก็ช่วยทำให้การถือตนถือตัวลดน้อยลงไปได้เหมือนกัน
    ต่อไป ก็เป็นกรรมฐานที่จะละคลายความถือตนถือตัว อย่างสุดท้าย และถือว่า เป็นสุดยอดของการละคลายกิเลส ในใจ นั่นก็คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเรื่องของการเจริญวิปัสสนา หลักใหญ่ๆ ก็อยู่ที่ว่า ทำอย่างไร จึงจะมี สติเห็นความจริง เพิกถอนสิ่งสมมุติ ( คือความเป็นสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ) ออกจากใจเสียได้แล้วเข้าไปเห็น ความจริง คือความเป็น รูป และ นาม เท่านั้น แค่นั้นยังไม่พอ เมื่อเห็นว่า ชีวิตของมนุษย์เรา มีแต่ธรรมชาติ ๒ อย่าง ที่เรียกว่า รูป และนาม แล้ว ก็จะต้องเห็นความจริงต่อไปว่า รูปและนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนมีความจริง อิงอาศัยอยู่… ความจริงที่ว่า ก็คือ ไตรลักษณ์ หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง เมื่อเห็นรูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยประจักษ์ชัดแล้ว มันก็จะเกิดความเบื่อหน่าย ( นิพพิทา ) คลายความติดใจ ( วิราคะ ) และหลุดพ้น ( วิมุตติ ) จากการยึดมั่นถือมั่นในที่สุด… นี่แหละ คือสุดยอดอุบายวิธี ที่จะละความเย่อหยิ่งถือตัวล่ะ
    ทีนี้ มาพูดถึงกรรมฐานอีกข้อหนึ่ง ซึ่งจะช่วยละนิสัยใจร้อน นั่นก็คือการเจริญพรหมวิหาร การเจริญพรหมวิหาร ก็คือการแผ่ความรักและความสงสารไปยังเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย วิธีแผ่ที่ง่าย และได้ผลก็คือ ถ้าใครมีครอบครัว และมีลูกแล้ว ก็ให้นึกถึงความรู้สึกที่รักลูก ว่าเป็นอย่างไร แล้วให้แผ่ความรู้สึกนั้น ไปยังคนอื่น สัตว์อื่น ให้มีความรักในบุคคลเหล่านั้น เหมือนกับเป็นญาติมิตร หรือลูกหลานของเราจริงๆ พูดง่ายๆ คือ พยายามทำความรู้สึกว่า ถึงแม้เขาจะไม่ใช่ลูกหลานของเรา แต่ก็ให้รักเขา เสมือนเป็นลูก เป็นหลาน… นี่แหละ คือความรู้สึกที่เรียกว่า เมตตา… แผ่เมตา คือแผ่อย่างนี้ แต่ถ้าใครยังไม่มีครอบครัว นึกไม่ออก ว่าความรักลูก เป็นอย่างไร ก็ให้ใช้วิธี นึกถึงเด็กเล็กๆ ที่น่ารัก น่าเอ็นดู พอจะนึกออกไหมความรู้สึกที่รักเด็ก เอ็นดูเด็กเป็น อย่างไร นั่นแหละ ความรู้สึกที่เรียกว่าเมตตา ให้แผ่ความรู้สึกอย่างนั้น ไปยังคนรอบข้าง และสัตว์รอบข้าง และ พยายามนึกแผ่ออกไปให้ไกลที่สุด เท่าที่จะไกลได้ นี่ก็เป็นการแผ่เมตตา อีกวิธีหนึ่ง การแผ่เมตตา โดยอุบาย ดังกล่าวนี้ จะช่วยทำให้ใจ ที่เคยร้อน มีความสงบเย็นลงอย่างไม่น่าเชื่อ ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนใจร้อน ควรลองทำดู




    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2008
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    "อรหันต์"เหมือนกัน แต่"ไม่เหมือน"กัน?????

    พระสัมมาสัมพุทธะ พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
    [๓๘] บุคคลเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งสัจจะด้วยตนเองในธรรมทั้งหลาย ที่ตนมิได้เคยสดับมาแล้วในก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น และบรรลุความเป็นผู้มีความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธะ

    พระปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น
    [๓๙] บุคคลเป็นพระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ในธรรมทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า พระปัจเจกพุทธะ

    อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

    พระอัครสาวก หมายถึง สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม ในพุทธกาลนี้ได้แก่พระสารีบุตร (พระอัครสาวกเบื้องขวา เป็นเลิศทางด้านปัญญา) และพระมหาโมคคัลลานะ (พระอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นเลิศทางด้านฤทธิ์)

    เอตทัคคะ หมายถึง พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง
    See also เอตทัคคะตำแหน่งต่างๆ
    See also อสีติมหาสาวก

    พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ หมายถึง ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
    ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน,
    ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

    พระฉฬภิญญะ หมายถึง ผู้ได้อภิญญา ๖
    อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
    ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

    พระเตวิชชะ หมายถึง ผู้ได้วิชชา ๓
    วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ
    วิชชา ๓ คือ
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น

    สุกขวิปัสสก หมายถึง พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง ทุกๆเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพระศาสนา ต้องดูในพระไตรปิฎกเป็นหลัก เหตุเนื่องจากว่า ไม่มีใครเป็นผู้รู้จริงๆ รู้ทุกๆเรื่อง นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น องค์พระอรหันต์ท่านยังไม่ได้รู้หมดทุกเรื่อง

    เนื่องจากในปัจจุบัน เราๆ ท่านๆ รวมทั้งผู้เขียนตำรา เขียนหนังสือต่างๆ เกิดไม่ทันที่จะได้มีโอกาสฟังธรรมะและสิ่งต่างๆจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า หากพระพุทธองค์ไม่อยู่แล้ว พระธรรม(คำสั่งสอนของพระพุทธองค์)จักเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์

    ดังนั้น ในทุกๆเรื่อง ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง ที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา จึงต้องดูในพระไตรปิฎกเป็นหลัก

    ผมจึงมีความคิดว่า จะนำเรื่องของพระไตรปิฏกมาให้ทุกๆท่านที่เข้ามาในกระทู้พระวังหน้าฯ ได้อ่านกันวันละเล็ก วันละน้อย เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ เพื่อเป็นพื้นความรู้ ในการที่เราต้องมี "สติ" และ "ปัญญา" ในการพิจารณาสิ่งต่างๆให้ดีและรอบคอบมากขึ้นครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 8 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, guawn+, นายสติ+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จ๊ะเอ๋ น้องกวง

    สวัสดีครับคุณปุ๊

    มาพร้อมกันเลยนะครับเนี่ย คิคิคิ
    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE width=609 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=521><DD>
    บุญกริยาวัตถุ 10


    <DD>



    <DD>

    <DD>
    คำว่า <Q>"บุญ"</Q> ปัจจุบันเรามักใช้ควบคู่กับคำว่าทาน เช่น ทำบุญทำทาน คำว่าทำบุญ ในที่นี้คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั้นเอง คือ การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ


    <DD>

    แต่คำว่าบุญในทางพระพุทธศาสนามีความหมายมากกว่าการให้<Q>"บุญ"</Q>หมายถึง ความดีฉะนั้นการทำความดีก็คือการทำบุญการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง ในทางพระพุทธศาสนาการทำบุญนั้นสามารถทำได้ 10 ทาง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่

    <DD>
    1.ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2.สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล

    <DD>
    3.ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

    <DD>
    4.อปวายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่ คือ ไม่ทำตัวเป็นคนพาล การทำตัวหยิ่งยโส แต่เป็นคนสุภาพอ่อนโยน

    <DD>
    5.เวยยาวัจวมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจกรรมที่ชอบ เช่น รับใช้บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์รวมตลอดถึงคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องการความช่วยเหลือจากเราในบางโอกาส โดยที่กิจการต่างๆที่เราช่วยนี้ด้วยชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยประเพณี และชอบด้วยธรรม

    <DD>
    6.ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เฉลี่ยส่วนความดีให้กับผู้อื่น

    <DD>
    7.ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ยินดีในความดีของผู้อื่น

    <DD>
    8.ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ รับฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในความเห็นที่ดีงาม

    <DD>
    9.ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือ การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

    10.ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง คือ การใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิด อะไรถูก



    • <LI dir=ltr>
      ทานมัย การให้ทานมีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดความตระหนี่ ความโลภในจิตใจมนุษย์ และการให้ทานยังมีจุดประสงค์อย่างอื่น ได้แก่ เพื่อบุชาคุณ เพื่อการสงเคราะห์ เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อทำคุณ การทำทานมี4ประเภทคือ 1) อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ 2) วิทยาทาน ได้แก่การให้ความรู้ทางโลกแก่บุคคลอื่น 3) ธรรมทาน ได้แก่ การให้ความรู้ทางธรรม 4)อภัยทาน ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน การให้ทานที่กล่าวมานั้น " การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง (ธม.มทานํ สพ.พทานํ ชินาติ) " ทั้งนี้เนื่องจากการให้ทานอย่างอื่นมีประโยชน์เฉพาะหน้า หรือในชาตินี้เท่านั้น แต่ธรรมทานมีประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้า สำหรับการทำบุญตักบาตรนั้น จะต้องมีองค์คุณ 3ประการ จะทำให้บุญมาก คือ
      <LI dir=ltr>
    • 1) วัตถุบริสุทธิ์
    • 2) เจตนาบริสุทธิ์ (ก่อนให้ทานมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เต็มใจขณะให้ทาน ให้ด้วยจิตใจเบิกบาน หลังให้มีจิตใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย)
      3)บุคลบริสุทธิ์(ปฎิคาหก คือ ผู้รับทานเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบระงับ มีกายวาจาเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม)
    • สีลมัย หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว พระองค์ทรงพิจารณาสัตว์โลกว่า ทำไมจึงมีวิบากกรรรมต่างๆกันทำไม จึงไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย หรือดิรัจฉาน และทำไมจึงเกิดเป็นมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนพิการ บางคนสติปัญญาดี บางคนทรัพย์น้อย บางคนสร้างฐานะไม่ได้สักที เป็นต้น เหตุที่มนุษย์เป็นคนสมบูรณ์ คือ ศีล5 พระองค์ทรงบัญญัติศีล5 เพื่อให้มนุษย์รักษาและถือเป็นหลักปฏิบัติ เป็นการป้องกันตนเองไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว เช่น อบายภูมิ เป็นต้น

      ....... การรักษาศีลเป็นการขจัดกิเลสขั้นละเอียดกว่าการให้ทาน คือ ขจัดความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางจากจิตใจ ทำให้มนุษย์มีความสุขกายสุขใจมากขึ้น

    • ภาวนามัย การเจริญภาวนา หมายถึง การฝึกอบรมจิตให้เจริญขึ้น ซึ่งมีอยู่2วิธีคือ
      1) สมถภาวนา คือ การฝึกจิตเพื่อมุ่งความสงบของจิต การฝึกจิตให้มีสงบอารมณ์เดียวดิ่งแน่วแน่ มีความตั้งมั่น(หรือที่เรียกว่าสมาธิ) ซึ่งมี40 วิธี(กรรมฐาน40) จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล แต่วิธีที่นิยมกันคือ การเจริญภาวนาปานสติ
      2) วิปัสนาภาวนา คือ การฝึกจิตที่สงบแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญารู้เป็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ




    </DD></TD></TR></B></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>
    Copyright &copy; 2003 TangmoWorld.Com - All Rights Reserved
    <CENTER> </CENTER>
    www.buddhism.tangmoworld.com
    T@ngmo is a registered trademark and copyright of Teerapong Jakkapaddipong and/or its licensors. No copyright infringement intended.
    Desing for Microsoft Windows XP (SP1) , Microsoft Internet Explorer 6 ( or batter ) and Macromedia Flash Player
    Ture Color 24 bits 800x600 pixels or 1024x768 pixels
    <CENTER> </CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2008
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คลังลั่นคงแวต 7% ถึงสิ้น ก.ย. ชงปรับโครงสร้างภาษีลดช่องว่างรายได้รัฐ
    http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9510000002753
    </TD><TD vAlign=baseline align=right width=85>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>9 มกราคม 2551 08:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> กระทรวงการคลังยันคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ไว้ที่ 7% ถึงสิ้นเดือนกันยายน 51 ก่อนชงรัฐบาลชุดใหม่พิจารณาปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบภายหลังประเมินพบอีก 10 ปีช่องว่างรายได้และรายจ่ายรัฐจะเพิ่มสูงถึง 3-4% เชื่อหากประกาศใช้ภาษีใหม่ตามแผนแม่บทจะเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นเป็น 8 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี จากเดิมที่มีรายได้เพียง 2 หมื่นล้านบาทช่วยลดภาระการอุดหนุนจากรัฐได้ในระดับหนึ่ง

    นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบเสร็จสิ้นแล้วและได้เตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาว่าจะประกาศใช้ตามที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีเสนอหรือไม่ ซึ่งการปรับปรุงโรงสร้างภาษีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฐานรายได้ในการจัดเก็บภาษีเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต

    โดยกระทรวงการคลังจะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ไว้ที่ 7% เช่นเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มีมติไว้ให้คงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2551 หรือภายในสิ้นเดือนกันยายน 2551 แต่รัฐบาลชุดต่อไปจะพิจารณาปรับขึ้นภาษ๊มูลค่าเพิ่มหรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศจะเป็นผู้ตัดสินใจ

    ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดเตรียมตัวเลขประมาณการรายจ่ายของรัฐบาลในอีก 10 ปีข้างหน้าให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศโดยพบว่ารายจ่ายจะอยู่ที่ระดับประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท ซึ่งรายจ่ายดังกล่าวนี้เป็นรายจ่ายที่ยังไม่รวมถึงงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการประชานิยม เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้าภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษาของประชาชนจะอนู่ในระดับที่สูงมาก

    นอกจากนี้หากรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบจะส่งผลให้ฐานรายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเป็นระยะเวลาอีกหลายปี จึงต้องมีความจำเป็นอย่างมากที่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการปรับปรุงโครงสร้างภาษีนั้นจะต้องทำทั้งระบบไม่ควรแก้เป็นจุดๆ ซึ่งจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้และที่สำคัญจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้รับทราบเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย

    "การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างภาษีของประเทศให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกๆ ฝ่าย เป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันระหว่างประเทศและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งหากยังไม่มีการปรับโครงสร้างภาษีและปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่งผลให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นถึง 3-4% " นายสมชัยกล่าว

    นายสมชัยกล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งรับบในครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นการเพิ่มฐานรายได้ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ให้สามารถหารรายได้จากภาษีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีมรดกและภาษีสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาษีที่ดินจากที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีศึกษาไว้ในเบื้องต้นพบว่าภายใน 3 ปี ภาษีส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านบาทในปัจจุบันเป็น 80,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะช่วยลดภาระในการสนับสนุนของรัฐบาลลงได้ในระดับหนึ่ง

    ทั้งนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะมีการปรับลดในส่วนของภาษีนิติบุคคลลงบ้างแต่จะไม่กระทบต่อภาพรวมการจัดเก็บภาษี เนื่องจากการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงอาจมองว่ารัฐบาลจะมีรายได้ลดลงแต่ในภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้นก็จะส่งผลให้ฐานภาษีเพิ่มขึ้นทำให้การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...