พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    จริงของพี่หนุ่มครับการที่จะเจอใครนั้นผมว่าไม่ใช่ความบังเอิญครับ อยู่ที่วาสนาจริงๆ ขนาดผมยังไม่เคยได้เจอพี่หนุ่มเลยสักครั้งเดียว ได้ยินแต่เสียงเป็นบ่อยครั้ง แต่อย่างว่าละครับสักวันผมคงได้มีวาสนาเจอพี่ผู้มีแต่ให้ท่านนี้สักวันหนึ่งในชีวิตของผม
     
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    โอ้ขนาดนั้นเลย... งั้นผมต้องขอเรียกบ้างครับ ลุงที่มีแต่ให้ครับเพราะผมเด็กสุด หุ หุ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เกี่ยว กับกำหนดการนัดหมายไปสักการะ ๙ พระศักดิ์สิทธิ์ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอแยกเป็น ๒ ประเด็นเพื่อความเข้าใจเบื้อต้นก่อนนะครับ

    ประเด็น แรก งานรำลึกวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๙.๐๐ น. สถานที่ตรงพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใกล้ๆพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

    เป็นพิธีสำคัญที่ราขสกุลวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไปวางพวงมาลาที่พระ บวรราชานุสาวรีย์ ก็จะมีแจกของที่ระลึกสำหรับผู้ที่ได้ลงชื่อเข้าร่วมในพิธีการ ต้องกระซิบว่า ควรไปแต่เช้า ไปให้เห็นพิธีการตั้งแต่เริ่ม ตั้งแต่พิธีบวงสรวง ไม่ไปช่วงนี้จะไปช่วงไหนหรือ?

    ประเด็น ที่ ๒ การสักการะ ๙ พระศักดิ์สิทธิ์ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ปีนี้เปิดเป็นปีที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑-๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ ตามรายละเอียด

    เทศกาล ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นอกเหนือจากจะเป็นวาระรื่นเริงสังสรรค์ คนไทยส่วนใหญ่ยังถือเป็นโอกาสทำบุญไหว้พระเสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต สำนักพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จึงได้อัญเชิญ 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาให้ประชาชนได้กราบสักการบูชา ระหว่างที่ 1-31 มกราคม 2555

    เป็นพระพุทธรูปมงคล โบราณที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งรวบรวมมาจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยมี "พระพุทธ สิหิงค์" พระพุทธรูปสำคัญประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ซึ่งนับถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของเมืองไทย เป็นประธาน และพระพุทธรูปอีก 8 องค์ ได้แก่ พระชัย พระห้ามสมุทร พระหายโศก พระไภษัชยคุรุ พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก พระทรงเครื่อง พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธ บาท และพระพุทธรูปปางโปรดมหิศรเทพบุตร

    น.ส.เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ พิพิธ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กล่าวแนะนำว่า ในการคัดเลือกพระพุทธรูปให้ประชาชนได้สักการะ แต่ละปีจะต่างกัน แต่ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นคือ พระพุทธรูปองค์ไหน ที่มีอุดมมงคลศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่นับถือของประชาชนก็จะยังคงไว้ อย่างในปีนี้พระพุทธรูปที่ยังคงไว้ก็มี 4 องค์คือ พระพุทธสิหิงค์ พระหายโศก พระไภษัชยคุรุ และพระพุทธรูปหลวงพ่อนาก นอกจากนั้นมีการเปลี่ยน

    สำหรับปีนี้จากการพิจารณาเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา ก็เห็นว่าปีนี้น้ำเยอะ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย จึงตั้งใจที่จะอัญเชิญพระห้ามสมุทรออกมาโดยเฉพาะ เนื่องจากในพิธีโบราณใช้ในพิธีไล่เรือทำให้น้ำลด และยังมีคุณลักษณะพิเศษ คำว่าห้ามของท่านยังหมายถึงห้ามภยันอันตรายต่างๆ ห้ามสิ่งอัปมงคลต่างๆ ด้วย ก็มีความดีหลายสถาน จึงอัญเชิญออกมา แต่การที่เลือกอัญเชิญของสมัยอยุธยาออกมาเนื่องจากอายุและความงาม

    1.พระพุทธสิหิงค์

    พระปฏิมาแบบสุโขทัย-ล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ทรงอานุภาพตามตำนานพระพุทธ สิหิงค์ จึงได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงและเมืองสำคัญแต่โบราณ ของไทยหลายแห่ง คือ นครศรีธรรม ราช สุโขทัย กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระราชวังบวรสถานมงคล พระพุทธสิหิงค์นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการอัญเชิญออกให้ประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี คติการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลและความบริบูรณ์ของบ้านเมืองและผู้สักการบูชา

    2.พระชัย

    ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 ตามพระราชประเพณีแต่โบราณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงสร้างพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลสำหรับบูชาในหอพระ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระองค์เอง รวมทั้งอัญเชิญไปในการศึกสงคราม การเสด็จประพาส และตั้งในการพระราชพิธีต่างๆ เพื่ออำนวยสวัสดิมงคล ขจัดอุปสรรคป้องกันภยันตรายจากสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลต่างๆ พระชัยวัฒน์ของหลวงสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายถือพัด พระชัยวัฒน์องค์นี้ พระรัศมีทองคำลงยา พระนลาฏฝังเพชร มีสังวาลทองคำ พัดทองคำฝังพลอย ฐานสิงห์ผ้าทิพย์สลักลายฝังพลอย เป็นพระพุทธรูปบูชาเพื่อชัยชนะ

    3.พระพุทธรูปห้ามสมุทร

    ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นพระพุทธรูปยืน ทรงเครื่องน้อย แสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ คือ หงายฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองตั้งขึ้นยกในระดับเสมอกับ พระอุระ (อก) มีความหมายถึงการป้องกันภัยอันตราย ตำราพระพุทธรูปไทยใช้แสดงพระพุทธประวัติครั้งทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำหลาก ท่วม เมื่อเสด็จไปโปรดอุรุเวลกัสสปและเหล่าชฎิลในสำนัก ยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ยังเหล่าชฎิลให้เลื่อมใสยอมรับในอานุภาพของพระองค์ และขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระ พุทธศาสนา พระพุทธรูปห้ามสมุทรปรากฏ หลักฐานการสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัย รัตนโกสินทร์อัญเชิญใช้ในพระราชพิธีไล่เรือ หรือพิธีไล่น้ำในเดือนอ้าย เพื่อให้น้ำลด รวมถึงประดิษฐานเป็นสิริมงคลในพิธีขจัดภัยอันตรายต่างๆ เช่น พิธีอาพาธพินาศ พิธีสัมพัจฉรฉินท์ บูชาเพื่อปกป้องอันตรายทั้งปวง

    4.พระหายโศก

    ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จารึกที่ฐานเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระหายโศก" และส่งมาถึงกรุงเทพฯ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธีส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปบูชาเพื่อความสุข สวัสดี พ้นจากความทุกข์โศกทั้งปวง

    5.พระไภษัชยคุรุ

    ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17-18 แสดงปางสมาธินาคปรก ทรงเครื่อง มีผอบบรรจุพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นับถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ผู้ช่วยสัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์ที่เกิดจาก โรคทางกายและโรคทางใจ เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมี โดยอธิษฐานความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บของผู้คนที่บังเกิดในกาลสมัยของพระองค์ เชื่อกันว่าผู้ปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ สามารถหายจากอาการเจ็บป่วย ด้วยการสวดบูชาออกพระนาม และสัมผัสรูปพระปฏิมา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในสถานพยาบาลที่เรียกว่า "อโรคยาศาล" สำหรับผู้ป่วยและประชาชนบูชาเพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

    6.พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก

    ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสัมฤทธิ์มีส่วนผสมของทองคำจำนวนมาก พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จารึกฐานพระพุทธรูประบุว่า พระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างเมื่อ พ.ศ.2019 เดิมคนร้ายขุดค้นพบในเจดีย์โบราณที่วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค จังหวัดพะเยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้พร้อมของกลางที่จังหวัดลำปาง ต่อมาหลวงอดุลยธารณ์ปรีชาไวย์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร พระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม บูชาเพื่อความสุขสงบ เป็นสิริมงคล และโชคลาภ ความมีทรัพย์

    7.พระพุทธรูปทรงเครื่อง

    ปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระ พุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี โดยทรงบันดาลพระเวฬุวันวิหารประดุจเมืองสวรรค์ และเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช แสดงบุญญานุภาพเหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพ และทรงแสดงธรรมจนกระทั่งพระยามหาชมพูสิ้นมานะ ขอบวชเป็นพระสาวกในพระพุทธ ศาสนา พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึงอำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปทรงเครื่องยังอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 ในภัทรกัลป์ ที่จะมาบังเกิดเมื่อสิ้นสุดยุคของพระพุทธเจ้าโคตม บูชาเพื่อยศศักดิ์อำนาจ และเพื่อได้พบพระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรยในอนาคตกาล

    8.พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาท

    ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธเจ้าประทับรอยพระพุทธบาท ปรากฏในตำนานพระเจ้าเลียบโลกของล้านนา กล่าวว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกประกาศธรรมโดยเหาะมาทางอากาศ ครั้นถึงสถานที่แห่งใดซึ่งจะเกิดบ้านเมืองเป็นที่สถิต สถาวรของพระศาสนารุ่งเรืองขึ้นในอนาคต กาล ได้ตรัสพยากรณ์ และเหยียบรอยพระบาทไว้ เป็นเครื่องหมายแห่งการหยั่งรากลงของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะประดิษฐานมั่นคงยั่งยืนเป็นแก่นหลักที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนบ้านเมือง แห่งนั้น พระพุทธเจ้าในอดีตและอนาคตทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญพระจริยวัตรเป็นพุทธประเพณี อย่างเดียวกันทั้งสิ้น พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาท จึงทำเป็นพระพุทธรูปยืนกดรอยพระบาท ภายในรอยพระบาท 3 รอย รวมเป็นพระบาท 4 รอย หมายถึงรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ทรงถือกำเนิดแล้วในภัทรกัลป์ปัจจุบันนี้ 4 พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป และพระโคตม การสักการะบูชาพระพุทธรูปประทับรอยพระบาทจึงเสมือนการถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า พร้อมกัน 4 พระองค์ คติการบูชาเพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนา

    9.พระพุทธรูปปางโปรดมหิศรเทพบุตร

    ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 พระพุทธรูปจงกรมเหนือเศียรมหิศรเทพบุตร หรือพระศิวะ ทรงโคนนทิ สร้างตามคติพระพุทธองค์ทรงทรมานมหิศรเทพบุตร ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์โลกบัญญัติ คัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐี และคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา มีความกล่าวว่า มหิศรเทพบุตรมีความไม่พอใจที่เทวดาทั้งหลายไปนบนอบต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงไปท้าประลองฤทธานุภาพด้วยการซ่อนหา มหิศรเทพบุตรไม่อาจซ่อนตนจากพระญาณของพระพุทธองค์ได้ ครั้นพระพุทธเจ้าทรงเนรมิตองค์เป็นปรมาณูประทับยืนใกล้กับทิพยจักษุของมหิศร เทพบุตร มหิศรเทพบุตรหาไม่พบ จึงยอมจำนน พระบรมศาสดาได้ตรัสเทศนาจนมหิศรเทพบุตรบรรลุธรรม ภายหลังพุทธปรินิพพาน มหิศรเทพบุตรได้เนรมิตพระพุทธปฏิมาเทินไว้เหนือเศียร อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระมหาวิหารบนเขามันทคีรี มหิศรเทพบุตรจึงเป็นผู้ทรงพระพุทธองค์ไว้เหนือเศียรเกล้า บูชาเพื่อขจัดมิจฉาทิฐิ หรือความเห็นผิด


    ส่วน ที่ ๒ นี่มีตั้งแต่สาย ถึงบ่าย ตลอดระยะเวลา ๓๐ วัน แต่..ส่วนที่ ๑ เป็นช่วงเวลาเพียง ๒ ช.ม.เศษๆ และเพียงวันที่ ๗ มกราคมของทุกปีเท่านั้น ก็ต้องวางแผนตารางเวลาให้ถูกครับ ผมก็โดดเรียนช่วงเช้า ช่วงบ่ายผมก็ค่อยกลับไปเข้าเรียนตามปกติ แบ่งเวลาก็จะทำได้ครบทุกอย่าง วันนั้นได้ยินว่า พี่ไฟดูดจะไปด้วย มีของแจกพี่น้องชาวพระวังหน้าจำนวนจำกัด สงสัยจะนับหัวไว้แล้ว คุณหนุ่มก็จะไปแจกพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ฯด้วยไม่ใช่หรือครับ ส่วนจะหมายตาพระพิมพ์ปี ๒๔๐๘ หรือ ๒๕๑๑ ก็ไปเจรจากันเอาเองนะครับ..หุ..หุ..

    ผม ได้แนบสูจิบัตรของเมื่อปีก่อนเอาไว้ให้อ่านคร่าวๆ คิดว่า คงไม่คลาดจากความจริงเท่าไหร่ พิธีการหลักๆเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอกครับ น่าจะเหมือนเดิม ดังนั้นหากไปวันที่ ๗ ก็จะได้ร่วมงาน ๒ งาน บริหารเวลาดีๆ ก็ได้งานที่ ๓ คือ ชมวังหน้า ก็จะได้สักการะป้ายสถิตย์ดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน และอื่นๆอีก ผมยังแอบหวังลึกๆว่า จะได้ไปพระอุโบสถวังหน้าไปชมจิตรกรรมฝาผนัง และทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ตรงนี้เข้ายากที่สุด ผมเคยเข้าไปได้เพียง ๒ ครั้งเท่านั้น..
    </td> </tr> </tbody></table>

    ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน ผมมาบอกว่า ในครั้งหนึ่งในชีวิต ต้องหาโอกาสไปกราบพระพุทธสิหิงค์ให้ได้นะครับ ท่านศักดิ์สิทธิ์มากครับ

    และแอบมา่บอกว่า สำหรับพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) ถึงแม้จะไม่ได้เข้าไปกราบด้านในพระอุโบสถ กราบเพียงด้านนอก แต่กราบด้วยจิตที่มีความศรัทธา องค์พระประธาน , คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร , พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ,หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วังหน้า ก็เหมือนกับได้กราบด้านในครับ

    มีอีกสิ่งหนึ่งที่ว่าจะบอก แต่มาคิดอีกครั้ง คงบอกหน้าบอร์ดไม่ได้ ผมว่าหลายๆท่านคงจะทราบแล้ว เรื่องของพระพิมพ์ 2408 (ฝีพระหัตถ์พระปิ่นเกล้า) ครับ


    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปฐม [​IMG]
    จริง ของพี่หนุ่มครับการที่จะเจอใครนั้นผมว่าไม่ใช่ความบังเอิญครับ อยู่ที่วาสนาจริงๆ ขนาดผมยังไม่เคยได้เจอพี่หนุ่มเลยสักครั้งเดียว ได้ยินแต่เสียงเป็นบ่อยครั้ง แต่อย่างว่าละครับสักวันผมคงได้มีวาสนาเจอพี่ผู้มีแต่ให้ท่านนี้สักวันหนึ่ง ในชีวิตของผม
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    โอ้ขนาดนั้นเลย... งั้นผมต้องขอเรียกบ้างครับ ลุงที่มีแต่ให้ครับเพราะผมเด็กสุด หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ่า ต้องเกาะโต๊ะไว้

    เดี๋ยวลอยไปล่ะยุ่ง แต่ไม่รู้ว่า พองแบบลูกโป่ง หรือ อึ่งอ่าง เหอๆๆๆ

    ลุงกูรู นี่ก็ไม่ธรรมดา เยี่ยมกว่าพี่อีกครับน้องปฐม

    เพียงแต่ไม่โชว์หน้าบอร์ดครับ

    .
     
  5. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    แจ้งในคำตอบแล้วครับพี่กูรู ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ ถ้าไม่ถามจากผู้รู้ผู้เคยสวมใส่ยากที่ผู้เพิ่งศึกษาอย่างผมจะทราบได้ จะให้ทราบเองคงต้องใช้เวลาอันแสนนาน ถ้าผู้รู้ท่านไม่เมตตาบอกกล่าว
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ตาลุงฝากมาค้านลุงหนุ่มครับ ก้ถ้าพระโบราณ ขุดพบแค่หลักหน่วย หรือหลักสิบต้น การที่ท่านมาโปรด 1-2องค์นั้นก็ไม่ธรรมดาแล้วครับ หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    ฝากขอบพระคุณตาลุง ที่ช่วยชี้แนะ แนะนำครับ

    .
     
  7. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    วันนี้ ได้รับพระปิดตา พิมพ์หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณมากๆ ครับ ขออนุโมทนาบุญทุกประการครับ คุณสิทธิพงศ์
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    พระที่ดีที่สุด ต้องเพิ่มให้สมบูรณ์ขึ้นว่า พระพิมพ์ที่ดีที่สุดในความเชื่อต้องอาราธนาสวมใส่เป็นที่พึ่งทางใจบ่อยที่สุด ส่วนพระพิมพ์ที่ดีที่สุดในความต้องการของตลาดต้องอยู่ในเซฟครับ...

    พระทวารวดีองค์ยืนขาวจีวรรี้ว เนื้อดินดิบ ขอชมๆๆ... ขอแบบชัดๆ ใหญ่ๆ ไม่เอาป้าย"สงวนลิขสิทธิ์"ตัวโตๆ..จะ saveๆ

    การที่จะมีวาสนาได้นิมนต์พระโบราณมาเป็นที่พึ่งทางใจ สิ่งหนึ่งต้องระลึกถึงพระท่านเป็นอาจิณ เรียกว่า ไม่ให้คลาดไปจากจิต ศึกษาประวัติความเป็นมาของพระโบราณนั้นๆจนมีความรู้ความเข้าใจมาก ขึ้น การระลึกถึงก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น พระโบราณที่มีจำนวนน้อย แต่ความต้องการมีจำนวนมาก หากสื่อการระลึกถึงหากยิ่งบริสุทธิ์มาก จังหวะโอกาสก็จะเป็นของคนๆนั้น ที่เรามักเรียกว่า "บังเอิญ" จะเห็นว่า ต้องมีความเชื่อเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน แต่ก็มีความรู้ในการคัดกรองเมื่อจังหวะโอกาสมาถึง จึงเป็นที่มาว่า ทำไมบุคคลบางจำพวกพบเจอแต่ของจริง จริง จริง แต่บุคคลอีกจำพวก ทำไมพบเจอแต่เก๊ เก๊ เก๊
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    จะใส่ไปให้ชม เกรงใจคอครับ

    เดี๋ยวคอเคล็ดครับ

    แค่ชุดที่ผมใส่อยู่ประจำในวันหยุด , ชุด 2408 และ ชุดพระมหาธรรมราชา ก็หนักพอสมควรแล้วครับ

    กล้องถ่ายรูป ผมก็ยังไม่ได้ซื้อเลย กำลังเก็บตังอยู่ครับ

    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    อ่าลุงหนุ่มพรี้ว อีกแล้วครับ หุ หุ
    ผมนึกขึ้นได้แปลกแต่จริง นานหลายๆปีก่อน ตาลุงสามารถหาพระทวารวดีได้คู่หนึ่ง องค์เล็ก กับองค์ใหญ่ ตกลงกับลุงหนุ่มใหเลุงหนุ่มเลือกปรากฎว่าลุงหนุ่มเลือกองค์เล็ก ตาลุงเก็บองค์ใหญ่ และจะบอกว่านั่นเป็นการได้เห็นครั้งสุดท้าย จริงๆครับ ในขณะที่แปลกมั้ยเวลาต่อมา ตาลุงกลับได้พบ พิมพ์ เดียวกันที่เป็นองค์ใหญ่ แต่ไม่เจอพิมพ์องค์เล็กอีกเลย ไม่ว่าจะพยายามหาเท่าใดครับ ถึงว่า มันขึ้นอยู่กับท่านเมตตาเราหรือปล่าวครับ ส่วนพระพิมพ์ที่ดีที่สุดในความต้องการของตลาดต้องอยู่ในเซฟครับ... ตามลุงเพชรว่านี่จริงซะยิ่งกว่าจริงครับ หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    มาย้ำตามกูรูครับว่า หากท่านไม่เมตตาเรา ต่อให้เราตามหาเท่าไหร่ ก็ไม่ได้เจอจริงๆ

    บางครั้งตามหามานาน หายังไงก็หาไม่เจอ จนเลิกตามหา

    แต่บางครั้งตามหามานาน พบเพียง 1 หรือ 2 องค์เท่านั้นครับ


    .
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ใช่ เลยครับ ผมอยากจะเพิ่มเติมอีกนิดครับ พระพิมพ์ที่เราห้อย อาจจะ อาจจะนะครับไม่ใช่พระพิมพ์ที่ดี ที่สุด หรือ ที่แพงที่สุด หรือที่หายากที่สุด หรือแรงเชียร์สูงสุด ผมเคยห้อย top1ซึ่งถือว่าเยี่ยมสุดๆ แต่สุดท้าย ก็เก็บท่าน เพราะผมรู้สึก ไม่ตรงกับจริตเราเท่าไหร่ การจะพบพระที่ห้อยแล้ว ถูกจริตตัวต้องใช้การสังเกตุ และใช้เวลาพอสมควรครับ ต้องค่อยๆปรับอย่างเหมาะสม จนภาษาทางวิศวกรรมเรียกว่า optimum ครับ เช่นเหมือนลุงหนุ่มก็ถูกจริตกับพระที่แรงสุดๆ สรุปของสรุปคือ สำคัญที่สุดคือหาพระพิมพ์ที่เหมาะสมกับตัวเองครับ ดีสุด สุด หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    ตาลุงฝากมาค้านลุงหนุ่มครับ ก้ถ้าพระโบราณ ขุดพบแค่หลักหน่วย หรือหลักสิบต้น การที่ท่านมาโปรด 1-2องค์นั้นก็ไม่ธรรมดาแล้วครับ หุ หุ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปฐม [​IMG]
    ขอบพระคุณนะครับพี่กูรูสำหรับความรู้แต่ผมอยากรู้ว่าเราจะทราบได้อย่างไรครับว่าองค์ไหนเราใส่ท่านแล้วจะถูกจริตกับเรา
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    เป้ นคำถามที่ดีครับ เพราะเคยมีบางท่านแย้งมาว่าก้มีแต่ท่านสิถึงรู้ คนอื่นไม่รู้แบบท่านนิ เออเอาแบบง่ายๆนะครับ เมื่อเราห้อยอะไรแล้วไม่รู้สึกอึดอัด คุยหรือสังคมกับใครก็มีแต่ต้อนรับ สะดวกไปซะเกือบทุกเรื่อง ไม่รู้สึกใจร้อน หรือร้อนลนเกิน ไปครับ หุ หุ แต่ถ้าเหมาะสม แบบลุงเพชร ลุงหนุ่มนี่ ถอดมาโชว์แล้วต้อง อุ๊ อุ๊บ โอ๊ย ครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    เหมือนวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุดที่เราอยากใส่เสื้อผ้าสบายๆ ไม่เป็นทางการยังไงยังงั้นแหละ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปฐม [​IMG]
    แจ้ง ในคำตอบแล้วครับพี่กูรู ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ ถ้าไม่ถามจากผู้รู้ผู้เคยสวมใส่ยากที่ผู้เพิ่งศึกษาอย่างผมจะทราบได้ จะให้ทราบเองคงต้องใช้เวลาอันแสนนาน ถ้าผู้รู้ท่านไม่เมตตาบอกกล่าว
    </td> </tr> </tbody></table>
    ที่เคยย้ำบ่อยๆครับว่า พระที่สร้างแต่ละองค์ มีพลังอิทธิคุณที่แตกต่างกัน

    ไม่เฉพาะพระวังหน้า

    หากจะเล่า ต้องย้อนกลับไปสู่ความรู้เดิมๆ เรื่องของมวลสาร , ฤกษ์ในการสร้างและการอธิษฐานจิต ,องค์ผู้อธิษฐานจิต ,พระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงหรือพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งได้เคยบอกในกระทู้พระวังหน้าฯนี้หลายครั้งแล้วครับ

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    วันนี้ ผมส่งพระพิมพ์หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ไปให้ คุณrung847 และคุณอนัตตัง ผมส่งแบบลงทะเบียนครับ


    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    .*****************************************.

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ อนัตตัง [​IMG]
    วันนี้ ได้รับพระปิดตา พิมพ์หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณมากๆ ครับ ขออนุโมทนาบุญทุกประการครับ คุณสิทธิพงศ์
    </td> </tr> </tbody></table>
    ขอบคุณที่แจ้งให้ทราบครับ

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    เรื่องของพระวังหน้าที่เป็นเนื้อทองแปด ผมเองไม่ค่อยจะบอกอะไรมาก เนื่องจากว่า ผมเชื่อว่า หากทราบกันมากๆ ความโลภจะเกิดขึ้นครับ

    ขนาดเป็นพระวังหลวง หรือพระเก๊ พวกยังนำมายัดเป็นวังหน้า แถมนำไปอยู่ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวงปี 2411 อีกต่างหาก

    สำหรับท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าหลายๆท่าน มีอยู่แล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่า ได้บอกไปหรือเปล่า ในใจลึกๆ ผมคิดว่า น่าจะบอกให้ทราบแล้วน๊ะครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    เป็นคำถามที่ดีครับ เพราะเคยมีบางท่านแย้งมาว่าก้มีแต่ท่านสิถึงรู้ คนอื่นไม่รู้แบบท่านนิ เออเอาแบบง่ายๆนะครับ เมื่อเราห้อยอะไรแล้วไม่รู้สึกอึดอัด คุยหรือสังคมกับใครก็มีแต่ต้อนรับ สะดวกไปซะเกือบทุกเรื่อง ไม่รู้สึกใจร้อน หรือร้อนลนเกิน ไปครับ หุ หุ แต่ถ้าเหมาะสม แบบลุงเพชร ลุงหนุ่มนี่ ถอดมาโชว์แล้วต้อง อุ๊ อุ๊บ โอ๊ย ครับ
    </td> </tr> </tbody></table>

    .


    มีอยู่ช่วงนึง ใส่พระสมเด็จ Tott 4 ประกบกับ พระสมเด็จ Tott 1

    ปรากฎว่า เวลาที่พูดที่บอกอะไร มีแต่ Action แต่ไม่มี Reaction เลยครับ


    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจำปี พ.ศ. 2555
    <hr> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">1.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">2</td> <td align="left" width="15%">มกราคม</td> <td align="left" width="50%">ชดเชยวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ <sup>1/</sup>
    (วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2554 และ วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2555)</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">2.</td> <td align="left" width="15%">วันอังคาร</td> <td align="center" width="5%">3</td> <td align="left" width="15%">มกราคม</td> <td align="left" width="50%">วันหยุดพิเศษ (เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ)</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">3.</td> <td align="left" width="15%">วันพุธ</td> <td align="center" width="5%">7</td> <td align="left" width="15%">มีนาคม</td> <td align="left" width="50%">วันมาฆบูชา <sup>2/</sup> </td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">4.</td> <td align="left" width="15%">วันศุกร์</td> <td align="center" width="5%">6</td> <td align="left" width="15%">เมษายน</td> <td align="left" width="50%">วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">5.</td> <td align="left" width="15%">วันศุกร์</td> <td align="center" width="5%">13</td> <td align="left" width="15%">เมษายน</td> <td align="left" width="50%">วันสงกรานต์</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">6.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">16</td> <td align="left" width="15%">เมษายน</td> <td align="left" width="50%">ชดเชยวันสงกรานต์ <sup>1/</sup>
    (วันเสาร์ที่ 14 เมษายน และวันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน)</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">7.</td> <td align="left" width="15%">วันอังคาร</td> <td align="center" width="5%">1</td> <td align="left" width="15%">พฤษภาคม</td> <td align="left" width="50%">วันแรงงานแห่งชาติ</td></tr></tbody></table> <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"> <tbody> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">8.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">7</td> <td align="left" width="15%">พฤษภาคม</td> <td align="left" width="50%">ชดเชยวันฉัตรมงคล
    (วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม)</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">9.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">4</td> <td align="left" width="15%">มิถุนายน</td> <td align="left" width="50%">วันวิสาขบูชา</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">10.</td> <td align="left" width="15%">วันพฤหัสบดี</td> <td align="center" width="5%">2</td> <td align="left" width="15%"> สิงหาคม
    </td> <td align="left" width="50%">วันอาสาฬหบูชา
    เริ่ม ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป ธปท. เห็นควร กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนตามความเห็นของสำนัก พุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นวันหยุดทำการแทนวันเข้าพรรษา</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">11.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">13</td> <td align="left" width="15%"> สิงหาคม
    </td> <td align="left" width="50%">ชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    (วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม)</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">12.</td> <td align="left" width="15%">วันอังคาร</td> <td align="center" width="5%">23</td> <td align="left" width="15%">ตุลาคม</td> <td align="left" width="50%">วันปิยมหาราช</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">13.</td> <td align="left" width="15%">วันพุธ</td> <td align="center" width="5%">5</td> <td align="left" width="15%">ธันวาคม</td> <td align="left" width="50%">วันเฉลิมพระชนมพรรษา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">14.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">10</td> <td align="left" width="15%">ธันวาคม</td> <td align="left" width="50%">วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ</td></tr> <tr valign="top"> <td align="right" width="15%">15.</td> <td align="left" width="15%">วันจันทร์</td> <td align="center" width="5%">31</td> <td align="left" width="15%">ธันวาคม</td> <td align="left" width="50%">วันสิ้นปี</td></tr></tbody></table>
    <hr> สำหรับสถาบันการเงินในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล ให้หยุดในวันตรุษอีดิ้ลฟิตริ (วันรายอปอซอ) ตามประกาศสำนักจุฬาราชมนตรีอีกหนึ่งวัน หากวันตรุษดังกล่าว ไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจำสัปดาห์


    หมายเหตุ
    <sup>1/</sup> ธปท. กำหนดวันหยุดชดเชยวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ และวันหยุดชดเชยวันสงกรานต์ เพียง 1 วัน (ได้แก่ วันที่ 2 ม.ค. 55 และ 16 เม.ย. 55) ตามมติ ครม. วันที่ 3 ก.พ. 47 ซึ่งให้ถือเป็นหลักการว่า กรณีวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป โดยให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน 1 วัน
    <sup>2/</sup> ปี 2555 เป็นปีอธิกมาส คือ ปีที่มีเดือน 8 สองครั้งตามปฏิทินจันทรคติของไทย จึงทำให้วันมาฆบูชาซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 แทน
    <sup>3/</sup> กรณีวันหยุดภาคครึ่งปีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ธปท. จะไม่พิจารณากำหนดวันหยุดชดเชย



    -http://www.bot.or.th/THAI/FINANCIALINSTITUTIONS/FIHOLIDAY/Pages/2555.aspx-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2555

    ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและเหมาะสมกับการขยายตัว
    ทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้ในปัจจุบันคืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 – 3.0 ต่อปี ซึ่งใช้มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 และเป็นการปรับช่วงเป้าหมายให้แคบลงจากก่อนหน้าที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 – 3.5 ต่อปี

    การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อนับว่าประสบความสำเร็จ โดย ธปท. สามารถดูแลเสถียรภาพด้านราคาได้ดี และรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ (ตารางที่ 1)

    [​IMG]



    พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ระบุให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) หารือและทำความตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับปีถัดไป ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ในปีนี้ กนง. จึงได้มีการพิจารณากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่เหมาะสมสำหรับปี 2555 เพื่อใช้ในการหารือร่วมกับ รมว. คลัง และเห็นควรเสนอปรับเป้าหมายเงินเฟ้อจากเดิมเป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ร้อยละ 3.0 โดยสามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางนี้ได้ไม่เกิน ± ร้อยละ 1.5 ตามเหตุผลดังนี้

    1. จากการที่ระยะหลังอัตราการขยายตัวของราคาในหมวดพลังงานและอาหารสดแตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมาก การใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นดัชนีเป้าหมายแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะช่วยสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนได้ดีขึ้น และเนื่องจากเป็นดัชนีที่ครัวเรือนและธุรกิจใช้อ้างอิงในชีวิตประจำวัน จึงเอื้อต่อการสื่อสาร ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อได้ดีกว่า

    2. การกำหนดระยะเวลาของเป้าหมายให้ยาวขึ้นจากรายไตรมาสเป็นรายปี นอกจากจะสื่อถึงการมองไปข้างหน้ามากขึ้น ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายการเงินในการรองรับปัจจัยที่ไม่คาดฝัน (Shock) ต่างๆง่ายต่อการสื่อสาร และสอดคล้องกับระยะเวลาที่ใช้ในการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ 4 – 8 ไตรมาส รวมถึงการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทำเป็นประจำทุกปีด้วย

    3. การกำหนดค่ากลางที่ชัดเจน จะเหมาะสมกว่าในการยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับการกำหนดเป็นช่วงเป้าหมายที่มีเฉพาะขอบบนและขอบล่าง และการอนุญาตให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางเป็นการรักษาความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายการเงิน โดยค่ากลางและค่าความเบี่ยงเบนที่กำหนดนี้ได้พิจารณาให้มีความสอดคล้องกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และมีความเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางถึงระยะยาว


    -http://www.bot.or.th/Thai/Attachment/Inflation.pdf-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bot 1.JPG
      bot 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.9 KB
      เปิดดู:
      115
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    อยากทราบเรื่องเงินๆทองๆ ลองไปอ่านกันครับ

    บทความที่น่าสนใจ

    -http://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Pages/others.aspx-

    .



    .

    นี่ก็อยากนำมาฝากครับ


    สมุดเงินออมปี 2555

    -http://www.bot.or.th/Thai/pages/BOTDefault.aspx-

    -http://www.bot.or.th/Thai/pages/BOTDefault.aspx-

    ธนาคารแห่งประเทศไทย

    http://www.bot.or.th/Thai/pages/BOTDefault.aspx
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Saving2555.xls
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      44
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เล่าไปแล้วครับ ตาลุงใส่อกครุฑอาบน้ำว่านไปซื้อผัดไทย รออยู่สักพักแม่ค้าถามกินข้าวเหนียวมะม่วงมั้ย ตาลุงงง แม่ค้าบอกให้ฟรี อ่ะเอาถุงมาแบ่งไปกิน หุ หุ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    ในวันพรุ่งนี้ (วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2554) หากท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าที่ไปวังหน้า ผมจะเตรียมพระวังหน้าไปแจกให้กับทุกๆท่าน

    สำหรับในปีนี้ ผมตั้งใจไว้ว่า หากท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าท่านใด หรือท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้าท่านใด ที่ร่วมในงานบุญทุกๆงานที่ผมแจ้ง(ผ่านทาง Email หรือทางกระทู้พระวังหน้าฯ เว็บพลังจิต หรือกระทู้ชมรมพระวังหน้าฯ เว็บใต้ร่มธรรม) ผมจะแจกพระพุทธมหาธรรมราชา (บุเงิน หรือ บุนาค) และพิมพ์เป็นที่รักของสามโลก ให้ครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ไว้ผมมีเวลาที่จะคัดเลือกให้ ก็จะมอบเพิ่มเติมให้ครับ


    ในการร่วมทำบุญ ไม่จำเป็นว่า ท่านจะต้องทำด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ ผมไม่กำหนดจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ แต่ผมเน้นว่า ต้องทำบ่อยๆ ทำมากทำน้อยไม่เป็นไรครับ

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    เรื่องราวของพระวังหน้า ที่ได้เคยผ่านตาผมมา จากประสบการณ์ที่ได้เห็นมา

    เท่าที่ทราบในตอนนี้ มีกระทู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระวังหน้าอยู่เพียง 2 กระทู้ในเว็บพลังจิต และอีก 1 เว็บไซด์เท่านั้น ส่วนFacebook ผมเองไม่เคยได้สมัคร จึงไม่ทราบว่า มีFacebookไหนบ้างที่ได้ให้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง

    ส่วนใหญ่เท่าที่เห็น ที่มีความรู้พระวังหน้า จะนำองค์ความรู้ที่ถูกต้องไปผสมปนเปกับความรู้ที่ผิดๆ บางเว็บฯหรือบางกระทู้ยิ่งหนัก มั่วทั้งหมด คิดเอง เออเองทั้งนั้น

    ผมเองเคยบอกไปว่า จะไม่ให้องค์ความรู้ที่ผมได้เรียนรู้มาจากครูบาอาจารย์อีกแล้ว แต่พอไปเห็นการให้ความรู้ที่ผิดๆ ก็เลยรู้สึกว่า อดรนทนไม่ได้ ที่จะมาบอกกล่าว มาแจ้งเตือนกัน

    ในเรื่องของการบอกกล่าว ก็มี 2 แง่ ในแง่ดีคงไม่พูดถึง ส่วนในแง่ไม่ดี อาจจะมีการโจมตีผมว่า ของผมแท้คนเดียวหรือไง

    สุดแล้วแต่ท่านผู้อ่าน จะเชื่อหรือไม่ ก็ตามใจ เพราะท่านผู้อ่านเป็นผู้ที่เลือกอ่าน เลือกเชื่อเอง ไม่ได้เกี่ยวกับผมและคณะ

    ผมและคณะ ไม่ยอมที่จะหลงทางแน่นอน เพราะหากหลงทางไปไกลแล้ว กว่าจะกลับมาได้นั้น ยากแสนยาก นานแสนนาน ครับ

    โมทนาสาธุครับ
    sithiphong
    6/1/2555

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    ในวันพรุ่งนี้ (วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2554) หากท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าที่ไปวังหน้า ผมจะเตรียมพระวังหน้าไปแจกให้กับทุกๆท่าน

    สำหรับในปีนี้ ผมตั้งใจไว้ว่า หากท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าท่านใด หรือท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้าท่านใด ที่ร่วมในงานบุญทุกๆงานที่ผมแจ้ง(ผ่านทาง Email หรือทางกระทู้พระวังหน้าฯ เว็บพลังจิต หรือกระทู้ชมรมพระวังหน้าฯ เว็บใต้ร่มธรรม) ผมจะแจกพระพุทธมหาธรรมราชา (บุเงิน หรือ บุนาค) และพิมพ์เป็นที่รักของสามโลก ให้ครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ไว้ผมมีเวลาที่จะคัดเลือกให้ ก็จะมอบเพิ่มเติมให้ครับ


    ในการร่วมทำบุญ ไม่จำเป็นว่า ท่านจะต้องทำด้วยจำนวนเงินเท่าไหร่ ผมไม่กำหนดจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ แต่ผมเน้นว่า ต้องทำบ่อยๆ ทำมากทำน้อยไม่เป็นไรครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนท่านผู้อ่านที่มีความประสงค์จะมาหาผม

    ขอให้เป็นวาสนาที่จะได้พบกัน หรือไม่ได้พบกันครับ

    หากมีวาสนาที่ได้พบกัน ทำอย่างไรก็ได้เจอกัน

    แต่หากไม่มีวาสนาที่ได้พบกัน ทำอย่างไรก็ไม่ได้เจอกันแน่นอน

    เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ที่ผมประสบมาแล้ว ได้พบเจอน้องท่านนึงก่อนเวลาที่จะนัดพบกันครับ


    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    เมื่อเช้านี้ ไปดูสร้อยชุดเนื้อดิน

    หนักครับ

    กำลังคิดว่า สงสัยอาจจะไม่ได้ใส่ชุดที่ผมใส่เป็นประจำในวันหยุด

    อาจจะใส่ชุดเนื้อดินมาแทน

    ชุดเนื้อดิน จะมีอยู่ 2 องค์ที่ไม่ใช้เนื้อดิน คือ เก๋งจีนภาคตะวันออก 1 องค์ กับ ยอดขุนพล เนื้อเงิน 1 องค์

    ผมว่าจะใส่ไปให้ลุงเพชรชม ดีหรือเปล่าครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...