พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่า....ท่านใดเป็นอีแร้งครับ โปรดรายงานตัวด่วนครับ ผมให้อภัยแล้วครับ หุ หุ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า....คุ้นๆเหมือนกันครับ หุหุ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ไปด้วยครับ ขอไปด้วยคน ไปด้วยช่วย 2 บาท เหอๆๆๆๆ

    อย่าลืมท่านโด ท่านโดกินเก่งมากด้วย หุหุหุ

    .
     
  4. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียนท่านnongnooo
    ผมว่าสาขาไหนๆ ราคาก็น่าจะมีมาตรฐานราคาเดียวกัน ครับ
    น่าจะเลือกแบบกาแฟเย็น และ ปั่น ด้วย อร่อยมากครับ
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 24 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 19 คน ) sithiphong, narin96+, newcomer, nongnooo+, พฤหัส

    อีแร้งแว๊บมาแล้วครับ เหอๆๆๆ

    .
     
  6. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียนท่านnongnooo
    วันนี้ set ปิดที่ 387 จุด ตกลงไป 45 จุด ท่านเห็นว่า
    ช่วงนี้ควรจะซื้อ หรือ รอก่อน ? ครับ
    ท่านช่วยแนะนำหุ้นที่น่าลงทุนด้วย ครับ
    ตอบทางpmก็ได้ ครับ ขอบคุณ ครับ
     
  7. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่า...สาขาไหนต้องตามใจคนเลี้ยงครับ หุ หุ แน่ใจว่าจาชวนท่านโด หรือครับ ท่านไปทีก็สั่ง คาราเมลเฟล็บ์ 110บาท+บูลเบอรี่ชีสเค้ก 95บาทรวม 205บาทคนเดียวครับ หุ หุ(เงินเดือน หกพันกว่าจาไม่พอนาครับ)
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กรณีการต้องอาบัติของภิกษุสงฆ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องขณะบิณฑบาต
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act04271051&sectionid=0130&day=2008-10-27

    โดย ชิตงฺกโร ภิกฺขุ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน




    [​IMG]

    สืบเนื่องมาจากบทความบนคอลัมน์ประจำของ คุณวสิษฐ เดชกุญชร ที่ลงตีพิมพ์เมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 หน้า 6 ในมติชนรายวัน ในหัวข้อที่ชื่อว่า "เรื่องของคนห่มผ้าเหลือง" ซึ่งนำเสนอถึงพฤติกรรมบางประการขณะออกรับบิณฑบาตที่ไม่เหมาะสมของภิกษุสงฆ์

    กล่าวคือมีการรับปัจจัย (เงิน) ลงในบาตร อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตถึงการถวายปัจจัยของพระเถระผู้มีชื่อเสียงรูปหนึ่งแด่ภิกษุสงฆ์ ในงานทำบุญวันเกิดตามภาพข่าวที่อ้างถึงมติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าเป็นลักษณะของการประพฤติผิดพระวินัยและต้องอาบัติชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์กันทั้งหมดทั้งผู้ให้และผู้รับ

    อีกทั้งยังชี้นำประเด็นดังกล่าวว่า อาจลุกลามขยายใหญ่โตจนทำให้บ้านเมืองขาดที่พึ่งทางใจไร้ศีลธรรม หากปล่อยไว้ในพฤติกรรมดังกล่าวถึงขนาดที่อาจทำให้ลูกหลานเยาวชนไทยกลายเป็น เปรต อสุรกาย หรือ สัตว์เดรัจฉาน ได้เลยทีเดียว

    ในฐานะที่ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งซึ่งดำรงสถานภาพภายนอกอย่างที่เห็นเป็นบุคคลห่มผ้าเหลือง คนหนึ่งเช่นเดียวกันจึงใคร่จะหยิบยกถึงข้อเท็จจริงและมุมมองบางประการขึ้นมานำเสนอเป็นกรณีศึกษา

    ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า การกล่าวหานั้นดูจะทำได้ง่ายกว่าการชี้แจงแถลงไขเป็นไหนๆ ทั้งยังดูสุ่มเสี่ยงต่อการถูกมองว่ากำลังหาเหตุผลทั้งหลาย เพื่อมาใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของพวกพ้อง

    อันจะนำไปสู่ความชอบธรรมในการก้าวล่วงพระวินัยเป็นประเด็นๆ ไป ไว้ดังนี้

    ประการแรก ต่อข้อสังเกตที่คุณวสิษฐ เดชกุญชร ให้คำจำกัดความบุคคลที่ได้พบเห็นที่มีพฤติกรรมในการออกรับบิณฑบาตและให้คำจำกัดความบุคคลเหล่านั้นว่า "คนห่มผ้าเหลือง" นั้นโดยข้อเท็จจริงแล้ว ในทางพระพุทธศาสนามีคำที่มีความหมายดีๆ กว่านี้ ที่ใช้เรียกบุคคลดังกล่าวว่า "ภิกษุ" หรือ ภิกษุ ซึ่งแปลตามพระบาลีว่า ผู้ขอ หรือ ผู้เห็นภายในวัฏฏสงสาร ดังจะเห็นได้จากคำเรียกขานของพระพุทธองค์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" ในพระไตรปิฎกอยู่เนืองๆ

    ซึ่งสถานภาพแห่งความเป็นภิกษุดังกล่าวนี้ได้มาจากการที่มีกุลบุตรอายุครบ 20 ปีขึ้นไป มีความประสงค์จะเข้ามาถือบวชในพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์โดยผ่านพิธีอุปสมบท (การรับเข้าหมู่) มาอย่างถูกต้องตามหลัก สังฆกรรม ซึ่งหลังจากนั้นท่านจะให้หาเลี้ยงชีพด้วยการภิกขาจาร (การเที่ยวไปเพื่อขอ) ด้วยภาชนะ คือ บาตร เอาไว้ใส่อาหารต่างๆ ที่มีผู้นำมาใส่ลงไปโดยเรียกอาการอย่างนี้ว่า "บิณฑบาต" (การตกลงแห่งก้อนข้าว)

    ซึ่งสถานภาพแห่งความเป็นภิกษุนี้ในทางพระวินัยนั้นถือว่าจะสิ้นสุดลงทันทีใน สอง กรณี ดังนี้ คือ

    1.ภิกษุรูปนั้นหมดความประสงค์ที่จะดำรงอยู่ในเพศภาวะแห่งความเป็นภิกษุและได้กล่าวคำลาสิกขาเป็นคำรบ 3 แก่ผู้รู้ความ

    2.ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ (ถึงอาการแห่งการล่วงพระวินัย) ร้ายแรง อย่างใดอย่างหนึ่ง สี่ กรณี ที่เรียกว่า ปาราชิก คือ เสพเมถุน, ลักของเขา, ฆ่ามนุษย์, อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

    ส่วนในประเด็นที่มีการเรียกขานภิกษุว่า "พระ" ตามอย่างที่เราคุ้นชินกันอยู่นั้นสันนิษฐานว่า คำๆ นี้มาจากคำบาลีว่า "วร" (อ่านว่า วะ-ระ) ซึ่งแปลว่า ดีเลิศ ประเสริฐ และงามพร้อม ซึ่งจากความหมายนี้บ่งชี้ถึงระดับแห่งคุณภาพที่มากกว่าคำว่า "ภิกษุ" อยู่มากทีเดียว

    กล่าวคือ ภิกษุใดที่ยังมีความประพฤติไม่เรียบร้อย อาจเรียกได้ว่ายังไม่เป็น พระ แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ได้ขาดจากความเป็นภิกษุไปแล้วแต่อย่างใด

    ซึ่งถ้าสังเกตจากมุมมองของคุณวสิษฐ ถึงกรณีที่เห็นบุคคลห่มผ้าเหลืองเหล่านั้นแล้วอาจเกิดความรู้สึกว่าขาดจากความเป็นภิกษุไปแล้วด้วยนั้น เพียงเพราะอากัปกิริยาที่ดูจะขัดหูขัดตาขณะรับบิณฑบาต จึงเป็นการเห็นที่น่าจะไม่ถูกต้องนัก

    เพราะหากบุคคลดังกล่าวผ่านพิธีอุปสมบทมาอย่างถูกต้องก็ควรจะ เรียกว่า "ภิกษุผู้ไม่สำรวม" ดูจะเป็นโทษน้อยกว่า

    (ซึ่งต่อจากนี้ไปผู้เขียนจะใช้คำว่า "ภิกษุ" แทนคำว่า "คนห่มผ้าเหลือง" ของคุณวสิษฐ ได้อย่างสบายใจเสียที)

    ประการที่สอง ต่อกรณีที่คุณวสิษฐ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะอาการของภิกษุที่เห็นในปัจจุบันขณะรับบิณฑบาตว่ามีการให้พรกับญาติโยมทั้งยังให้อย่างผิดๆ ถูกๆ อีกด้วย ซึ่งต่างจากพระแต่ก่อน ในความรู้สึกของคุณวสิษฐ ที่กลับไปให้ที่วัดนั้น

    ข้อเท็จจริงประการนี้ที่ผู้เขียนประสบมาก็คือ ในกรณีวัดในต่างจังหวัดที่มีการฉันพร้อมกันเป็นหมู่คณะในโรงฉัน และมีการออกรับบิณฑบาตในคราวเดียวกันเป็นขบวนยาวๆ ของภิกษุสงฆ์ ก็มักจะไม่มีการให้พรขณะบิณฑบาต อย่างที่คุณวสิษฐว่า และชาวบ้านก็มักไม่สนใจที่จะรับพรจากภิกษุสงฆ์ดังกล่าวด้วย (คงไม่ต้องบอกนะว่าเพราะอะไร)

    แต่ในกรณีที่มีการออกรับบิณฑบาตแบบเดี่ยวๆ หรือขบวนภิกษุมีจำนวนน้อยๆ (ไม่เกิน 3 รูป) และหากต้องโคจรบิณฑบาตเข้าไปในละแวกบ้านที่ทิ้งระยะห่างพอสมควร การให้พรของภิกษุสงฆ์ดูจะสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมอยู่ไม่น้อย

    แต่ถ้าไม่ให้พรเลยญาติโยมก็ไม่ว่าอะไรเพียงแต่ยกมือไหว้อย่างเหงาๆ เท่านั้นเอง

    ส่วนในกรณีที่มีการบิณฑบาตในย่านที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น ตามตัวเมืองใหญ่ๆ ดังในกรุงเทพมหานครนี้ บ่อยครั้งที่มักจะถูกขอพรจากญาติโยมจน "ภิกษุผู้ไม่สำรวม" อย่างผู้เขียนก็จัดให้ไปบ่อยๆ อยู่เหมือนกัน หนักๆ เข้าก็เลยต้องให้กันเป็นประจำไม่อย่างนั้นทั้งผู้ให้และผู้รับเหมือนชีวิตขาดอะไรไปสักอย่าง

    แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ไม่นึกว่าจะมีใครหยิบยกประเด็นนี้ ขึ้นมาสั่นคลอนสถานภาพแห่งความเป็นพระภิกษุ เหมือนอย่างที่คุณวสิษฐ คิดได้

    ส่วนกรณีพฤติกรรมอย่างอื่น เช่น การรับบิณฑบาตจนเกินพอดีของภิกษุสงฆ์ จนต้องมีการถ่ายเทอาหารที่ญาติโยมนำมาใส่ลงในบาตรออกสู่รถเข็นหรือภาชนะอยู่เนืองๆ จนดูคล้ายกับการจ่ายตลาดและอาจแสดงถึงความโลภไม่รู้จักพอต่อผู้พอเห็น

    ในการรับอาหารจากญาติโยมของบรรดาพระภิกษุอย่างที่คุณวสิษฐเห็น ซึ่งในประเด็นนี้ ภิกษุผู้ไม่สำรวม อย่างผู้เขียนก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าถึงพฤติกรรมดังกล่าวอีกเช่นเดียวกัน

    จึงขอชี้แจงแต่เพียงสั้นๆ ว่า ถ้าจะให้ภิกษุรับอาหารแต่พอเต็มบาตรแล้วกลับวัดเลย ด้วยเกรงข้อครหา ดังกล่าว สภาพวัดต่างๆ ในประเทศไทยในปัจจุบันที่มีสถานะเป็นแหล่งอนุเคราะห์ในด้านอาหารกับผู้ด้อยโอกาสในสังคม ตลอดจนสัตว์ต่างๆ ที่มีผู้คนนำมาปล่อยไว้ให้เป็นภาระกับวัดในการเลี้ยงดู เช่น หมาและแมวนั้นจะมีอะไรเหลือให้กินกันอย่างอิ่มหมีพีมันเช่นทุกวันนี้หรือ?

    ประการที่สาม ต่อข้อสังเกตที่คุณวสิษฐ กล่าวโจษอาบัติ ต่อเหล่าบรรดาภิกษุสงฆ์ว่าต้องอาบัติชื่อ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถึงกรณีการรับปัจจัย (เงิน) ขณะรับบิณฑบาตและในกรณีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ นั้น

    ซึ่งในประเด็นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มาศึกษาและเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องถ่องแท้กันเสียเลย จึงใคร่จะอัญเชิญพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ถึงพระวินัยข้อนี้ตามความหมายแห่งพระบาลีดังนี้ว่า

    "อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดี ทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์"

    ซึ่งนัยแห่งการวินิจฉัยของพระอรรถกถาจารย์โบราณท่านชี้ไว้ว่า แม้ภิกษุไม่รับ ไม่จับ ไม่ต้อง มีลูกศิษย์ (ไวยาวัจกร) รับให้เสร็จสรรพ แต่เกิดยินดีในเงินและทองนั้นก็ไม่พ้นจากอาบัติข้อนี้ ซึ่งทองเงินที่ได้มานั้นชื่อว่าเป็น "นิสสัคคิยวัตถุ" จำต้องสละจึงจะปลงอาบัติตก

    ส่วนภิกษุผู้ต้องชื่อว่าเป็น "ปาจิตตีย์" ซึ่งแปลว่า "การละเมิดอันยังความดีให้ตกล่วง" (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉ. ประมวลศัพท์) อนึ่ง อาบัติกลุ่มนี้เป็น อจิตตกะ คือ ภิกษุไม่รู้แล้วรับเข้าก็เป็นอาบัติ ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าหากมีใครเอาเงินสักบาทหนึ่งแอบหรือแนบติดไปกับอาหารที่ใส่บิณฑบาต ภิกษุผู้นั้นไม่รู้รับเข้าก็เป็นอาบัติ

    ซึ่งจากเงื่อนไขดังกล่าวนี้จะพบว่าการรับบิณฑบาตของภิกษุในปัจจุบันนั้นสุ่มเสี่ยงต่อการต้องอาบัติข้อนี้ได้ง่ายมาก

    ทั้งนี้ เนื่องมาจากค่านิยมการนำปัจจัยซึ่งบางครั้งแนบใส่มากับอาหารของญาติโยมด้วยคาดการณ์ว่า ตนเองหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้มีเงินมีทองใช้ในชาติหน้าภพหน้า

    ด้วยความคิดที่ว่าการทำบุญใส่บาตรอย่างไรมักจะได้อย่างนั้นตอบแทน

    เหมือนอย่างที่มีค่านิยมการนำขวดน้ำมาใส่บาตร ซึ่งภิกษุสามเณรก็ไม่อยากขัดศรัทธา อีกทั้งอาจถูกมองว่าเรื่องมาก หากบอกปฏิเสธไป

    ซึ่งในกรณีนี้บางสำนักก็รักษาพระวินัยข้อนี้เอาไว้ได้อย่างเข้มแข็งน่าชื่นชม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในหลายๆ สำนักกลับมองเรื่องการต้องอาบัติในข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดา

    อีกทั้งญาติโยมก็รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรนักกับการที่อยากจะถวายปัจจัยให้แก่ภิกษุสามเณรไว้ใช้สอยอะไรเล็กๆ น้อยๆ บ้างเพราะรู้สึกเห็นอกเห็นใจอยู่ไม่น้อยในการเป็นผู้ออกจากเรือนมาอยู่ในวัด ทั้งยังต้องเดินทางไปในที่ต่างๆ เพื่อศึกษาเล่าเรียนและซื้อหาตำรับตำรา

    แม้จะรู้ว่าวิธีการได้มาแห่งปัจจัยนั้นมันผิด แต่เมื่อติดตามไปดูถึงทิศทางการนำปัจจัยไปใช้สอย ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และการเผยแผ่พระศาสนาก็มักจะอนุโมทนากันถ้วนหน้า

    อนึ่ง ในกรณีที่คุณวสิษฐ กล่าวโจษอาบัติข้อนี้ต่อพระเถระรูปหนึ่งซึ่งขอเอ่ยนามไว้ให้รู้กันเลยว่าคือ พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) หรือ หลวงพ่อคูณ นั่นเอง ซึ่งในประเด็นนี้ผู้เขียนก็เห็นภาพดังกล่าว (ภาพข่าวฉบับวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2551 น.14 มติชน) แต่ไม่มีอะไรจะพูดมากนักอันเนื่องมาจากกิริยาอาการของท่านดังกล่าว เพราะในทางพระพุทธศาสนาเรานั้นมีศัพท์ๆ หนึ่งที่ใช้อธิบายถึงพฤติกรรมดังกล่าวของท่านได้ดีทีเดียว คำๆ นั้นคือ ปาปมุตฺต แปลว่า ผู้พ้นแล้วจากบาป

    อธิบายตามนัยแห่งบาลีว่า "คนบางคนเป็นที่เคารพนับถือของคนเป็นอันมาก คนผู้นั้น แม้จะพูดจะว่า หรือ พูดคำที่ไม่ควรพูดบางคำ ตลอดจนพฤติกรรมบางอย่างก็ไม่มีใครว่า ถือสา คนทั้งหลายเขายกให้ไม่เป็นบาป เรียก บาปมุต ก็ว่า" (พจนานุกรม มคธ - ไทย พันตรี ป. หลงสมบุญ)

    หรือถ้าฟังคำนี้แล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้นผู้เขียนก็ใคร่จะขอร้องให้ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านบทความชิ้นนี้ลองไปสอบถามหาสถานศึกษาตั้งแต่ชั้นระดับประถมไปจนถึงมัธยมหรือมหาวิทยาลัย ตลอดจนสถานพยาบาลตั้งแต่สถานีอนามัยไปจนถึงโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา ดูว่ามีที่ไหนบ้างที่ไม่เคยได้รับเงินบริจาคที่ผ่านมือของพระเถระท่านนี้ แล้วลองมาชั่งน้ำหนักดูเมื่อเทียบกับความผิดฐานละเมิดพระวินัย ในกรณีดังกล่าวของท่าน

    ซึ่งผู้เขียนก็จะไม่ขอก้าวล่วงต่อคำวินิจฉัยอันจะเกิดจากท่านทั้งหลายในข้อนี้

    และไหนๆ เมื่อเขียนมาแล้วก็ขอเขียนเสียให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยว่า อันที่จริงสถานภาพของภิกษุสงฆ์นั้น จะว่าไปแล้วก็มีอะไรหลายๆ อย่าง คล้ายคลึงกันกับอาชีพตำรวจ ในฐานะผู้รักษากฎหมาย แม้ว่าจะละเลยในเรื่องของการพิทักษ์สันติราษฎร์อยู่บ้างในบางครั้ง ภิกษุสงฆ์เองก็เช่นเดียวกันที่มักจะเป็นผู้รักษาพระธรรมวินัย โดยลืมปฏิบัติตามธรรมวินัยบ้างในบางกรณีเช่นกัน

    ซึ่งต่อข้อสังเกตนี้ผู้เขียนก็ใคร่ขอหยิบยกมาให้คุณวสิษฐ เดชกุญชร ลองมาพิจารณาเป็นกรณีศึกษาไว้บ้าง ถ้าหากได้มีโอกาสอ่านบทความชิ้นนี้ในฐานะที่ท่านเองก็เคยเป็นอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่มาก่อน ซึ่งบ่อยครั้งผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาสเห็นการแสดง มายากล ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรบางโรงพักทำการเสกแบงก์ร้อยให้หายไปเหลือไว้แต่ใบขับขี่ยื่นกลับมาให้คนขับรถในการเรียกขอตรวจดูใบอนุญาตอยู่บ่อยครั้ง

    ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับเหล่าบรรดาภิกษุสงฆ์ในหลายๆ วัดที่ไม่พยายามจับปัจจัยให้ญาติโยมเห็น (ต่อหน้า) ในที่สาธารณะ

    และข้อที่น่าสังเกตอีกประเด็นหนึ่งซึ่งก็คือแม้ว่าพฤติกรรมบางประการในทางที่ไม่ดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีให้เห็นอยู่บ้างตามสื่อต่างๆ เช่น เรื่องเก็บส่วย รีดไถ อุ้มฆ่า หรือฆาตกรรมผู้บังคับบัญชา ฯลฯ แต่เวลาประชาชนประสบปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินก็มักที่จะร้องหาเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาไว้ก่อน

    เช่นเดียวกันกับภิกษุสงฆ์ซึ่ง แม้ว่าจะมีข่าวที่เสื่อมเสียในทางที่ไม่ดี เช่น ดื่มสุรา มั่วสีกา เคล้านารี ไปจนถึงต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯลฯ ก็ยังมีประชาชนร้องหาเวลาจะประกอบพิธีเป็น พิธีตายกันอยู่แทบจะทุกครั้ง

    ด้วยเหตุดังนี้แล้วผู้เขียนจึงคิดว่าในฐานะที่เรา (ตำรวจ และภิกษุสงฆ์) มีอะไรในหลายๆ อย่างที่คล้ายคลึงกันดังกล่าว คุณวสิษฐ เดชกุญชร ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวแทนแห่งสัญลักษณ์ในความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ จะไม่ลองหันหน้ามาสมานฉันท์กับวงการภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันดูบ้างหรือ เผื่อจะได้เป็นต้นแบบที่ดีให้กับกลุ่ม ก๊วนต่างๆ ในสังคมที่ไม่ถูกกันและกำลังเข้าห้ำหั่นจะได้หันหน้าเข้าหากันบ้างอย่างในเวลานี้ไม่ดีกว่าหรือ?

    ฉะนั้น จากพฤติกรรมที่คุณวสิษฐ เดชกุญชร หยิบยกขึ้นมาเป็นข้อวิจารณ์ ผู้เขียนก็ได้พยายามใช้สติปัญญาอันน้อยนิด คิดหาคำอธิบายมาให้ได้พิจารณากันแทบจะทุกข้อกล่าวหาแล้ว เลยทำให้คิดหาข้อสรุปได้อย่างเก๋ๆ ต่อกรณีนี้ว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมให้ความสำคัญกับ คุณภาพเชิงความงาม มากกว่า คุณภาพเชิงความดี หรือ เชิงปัญญาแล้ว ก็อาจจะทำให้แนวคิด หรือมุมมองแบบคุณวสิษฐ เดชกุญชร (คือการชอบตั้งข้อสังเกต แต่ไม่ชอบอธิบายถึงปรากฏการณ์) แพร่หลายได้ง่ายยิ่งนัก

    ซึ่งในประเด็นนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงงานเขียนของนักวิพากษ์สังคมมืออาชีพอย่าง อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม) ขึ้นมาในทันที

    เพราะถึงแม้ว่าท่านจะหยิบยกประเด็นใดๆ ขึ้นมาพูดอย่างรุนแรง แต่ก็มักจะมีคำอธิบายดีๆ แฝงมาอย่างตรงๆ เสมอ (อย่าง พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย, นิธิ เอียวศรีวงศ์) มากกว่าที่จะหยิบยกประเด็นขึ้นมาตีแรงๆ แล้วหายกลับเข้าไปในบ้านเฉยๆ เลยเป็นเหตุให้ผู้เขียนต้องมาลำบากตรากตรำในการชักนำแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายอย่าง พะเรอเกวียนตามอย่างที่เขียนมาข้างต้น

    เพื่ออย่างน้อยจะได้ชี้นำให้ท่านทั้งหลายเปิดใจรับฟังถึงเงื่อนไขและปัจจัยแห่งการไม่สามารถประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยได้อย่างสมบูรณ์ของเหล่าบรรดาภิกษุ - สามเณรทั้งหลายตามความเป็นจริงในปัจจุบัน

    ทั้งยังเป็นการขอโอกาสต่อสังคมที่จะได้ เมตตา อุปถัมภ์ค้ำจุนเหล่าภิกษุหนุ่ม - สามเณรน้อยทั้งหลาย อย่างสบายใจต่อไป

    เพื่อที่จะได้เติบโต และงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนา ประหนึ่งดอกบัวที่จะได้มีโอกาสเบ่งบานในกาลข้างหน้า แม้ว่าจะมาจากโคลนตม ทั้งยังจมอยู่ในท่ามกลางเปลวเพลิงแห่งสังคมในด้านต่างๆ อย่างทุกวันนี้กันได้บ้าง
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สำรวจเส้นทางจราจรเปิด-ปิด วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ "พระพี่นาง"
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01271051&sectionid=0131&day=2008-10-27

    โดย ปริศนา โลหิตคุปต์ ทับดวง และภานุมาศ สงวนวงษ์




    [​IMG]

    นับถอยหลังจากนี้ไปเพียงสองสัปดาห์ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็จะเริ่มขึ้น ขณะเดียวกันฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบในพระราชพิธีดังกล่าว ต่างเคลื่อนไหวขยับตัวตั้งรับกับเหตุการณ์ที่จะมีขึ้น

    พระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ขณะนี้ประดิษฐานอย่างสมพระเกียรติอยู่ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง รอดำเนินการตามโบราณราชประเพณี โดยพระราชทานเพลิงพระศพที่เมรุมาศ ท้องสนามหลวง ตามหมายกำหนดการ เวลา 17.30 น. วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551

    วันและเวลาดังกล่าวเป็นการประกอบพิธีการพระราชกุศลออกพระเมรุ ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้นเช้าวันรุ่งขึ้น ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 จะมีพระราชพิธีเชิญพระศพฯ ออกพระเมรุจากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระจิตกาธาน พระเมรุทองที่พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

    ดังนั้น ระยะเวลาของการประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพรวม 3-4 วันในละแวกท้องสนามหลวง จำเป็นที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองบังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้กำหนดเส้นทางเดินรถในวันสำคัญดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

    ถนนที่ปิดการจราจรทั้งหมดไม่ให้รถเมล์เข้า-ออก

    พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กำกับดูแลงานจราจร ทำหน้าที่แถลง กล่าวว่า ได้ออกข้อบังคับปิดการจราจรตั้งแต่เวลา 00.01 น. วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นวันซ้อมใหญ่ และวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในถนน 16 สายรอบเกาะรัตนโกสินทร์

    ประกอบด้วย 1.ถนนราชดำเนินใน 2.ถนนราชินี 3.ถนนหน้าพระธาตุ 4.ถนนพระจันทร์ 5.ถนนมหาราช 6.ถนนหน้าพระลาน 7.ถนนหับเผย

    8.ถนนหลักเมือง 9.ถนนสนามไชย 10.ถนนกัลยาณไมตรี 11.ถนนสราญรมย์ 12.ถนนท้ายวัง 13.ถนนพระพิพิธ 14.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงถนนอัษฎางค์ 15.ถนนเชตุพน และ 16.ซอยเศรษฐการ

    โดยให้ปิดการจราจรเรื่อยไปจนกว่าจะแล้วเสร็จพิธีซักซ้อม และพระราชพิธี ในวันจริง โดยจุดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นวัดและสถานที่ราชการ จะมีบ้านประชาชนเฉพาะบริเวณท่าเตียน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออก "บัตรผ่าน" ให้
    [​IMG]



    ดังนั้น ในถนนทั้ง 16 สาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจะอนุญาตให้เฉพาะรถที่มี "บัตรผ่านเข้า-ออก" เท่านั้น รวมทั้ง ไม่อนุญาต ให้รถโดยสารประจำทางผ่านด้วย

    ถนนที่ปิดการจราจร มีรถเมล์ผ่านเข้า-ออกได้

    นอกจากนี้เวลา 05.00 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ได้ปิดการจราจรเพิ่มเติมอีก 18 เส้น ประกอบด้วย 1.ถนนราชดำเนินกลาง 2.ถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนวิสุทธิกษัตริย์ (แยก จปร.) 3.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 4.ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าแยกถนนอรุณอัมรินทร์ 5.ถนนจักรพงศ์ 6.ถนนตะนาว 7.ถนนดินสอ 8.ถนนประชาธิปไตย 9.ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ (แยกบางขุนพรม) ถึงแยกถนนพระสุเมรุ (แยกบางลำพู) 10.ถนนพระสุเมรุ 11.ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลางถึงแยกถนนเจริญกรุง

    12.ถนนเฟื่องนคร 13.ถนนพระอาทิตย์ 14.ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกจักรพรรดิพงษ์ถึงแยกผ่านฟ้า 15.ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกถนนจักร

    พรรดิพงษ์ (แยกหลานหลวง) ถึงแยกผ่านฟ้า 16.ถนนมหาไชยตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลางถึงแยกถนนบำรุงเมือง (แยกสำราญราษฎร์) 17.ถนนบริพัตร ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมืองถึงแยกถนนดำรงรักษ์ 18.ถนนดำรงรักษ์ ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนจักรพรรดิพงษ์

    โดยให้ปิดการจราจรจนกว่าพระราชพิธีจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ อนุญาตให้เฉพาะรถที่มี "บัตรผ่าน" และ "รถโดยสารประจำทาง" ผ่านเข้าออกเท่านั้น

    ถนนที่ห้ามจอดรถทุกชนิด

    พล.ต.ต.ภาณุกล่าวต่อว่า ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เรื่อยไปจนกว่าพระราชพิธีจะแล้วเสร็จ จะมีถนนที่ห้ามจอดรถทุกชนิด 22 เส้น ประกอบด้วย

    1.ถนนอัษฎางค์ตลอดสาย 2.ถนนพระพิทักษ์ 3.ถนนบ้านหม้อ 4.ถนนเฟื่องนคร 5.ถนนตะนาว 6.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนอัษฎางค์ถึงทางแยกถนนตรีเพชร 7.ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่แยกถนนอัษฎางค์ถึงทางแยกถนนจักรพรรดิพงษ์ 8.ถนนบุญศิริ 9.ถนนดินสอ 10.ถนนมหาไชย ตั้งแต่ถนนราชดำเนินกลางถึงแยกถนนสวนหลวง 11.ถนนพระสุเมรุ 12.ถนนจักรพงศ์

    13.ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนพระสุเมรุถึงแยกถนนวิสุทธิกษัตริย์ 14.ถนนประชาธิปไตย 15.ถนนบวรนิเวศน์ 16.ถนนสิบสามห้าง 17.ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนกรุงเกษม 18.ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนกรุงเกษม 19.ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ 20.ถนนจักรพรรดิพงษ์ 21.ถนนวรจักร 22.ถนนตีทอง
    [​IMG]



    ทั้งนี้ จะมีถนนที่ปิดการจราจรและห้ามจอดรถทุกชนิดตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 จนกว่าจะเสร็จพระราชพิธี

    สถานที่จอดรถ

    พล.ต.ต.ภาณุกล่าวว่า สำหรับสถานที่ที่ได้จัดไว้ให้ประชาชนจอดรถนั้น ได้เตรียมไว้ทั้งสิ้น 10 จุด ได้แก่

    1.พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต และระดับวีไอพีทั้งหลาย จอดในพระบรมมหาราชวัง

    2.สมาชิกราชสกุลมหาสาขาต่างๆ จอดในถนนเจริญกรุง ถนนเศรษฐการ ถนนเชตุพน

    3.ผู้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ มาโดยรถบัส จอดในถนนหับเผย ถนนหลักเมือง

    4.รถขนส่งทหาร/เจ้าหน้าที่ร่วมในขบวนแห่พระศพ จอดในถนนราชินี วัดราชบพิธฯ

    5.คณะกรรมการ/เจ้าหน้าที่/ผู้สื่อข่าว จอดรถในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    6.ข้าราชการที่สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ที่ใกล้เคียงบริเวณท้องสนามหลวง ให้จอดในกระทรวง/กรมนั้นๆ

    7.เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จอดในถนนมหาราช 8.ผู้บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติและผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการร่วม จอดในถนนพระจันทร์

    9.เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่จอดในถนนสราญรมย์ 10.เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ จอดในจุดใกล้เคียงกองรักษาการณ์ และที่รวมพลที่กำหนด

    ทั้งนี้ จะไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่มีบัตรผ่านนำรถเข้ามาจอดในบริเวณดังกล่าว

    ส่วนการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่จะเดินทางมาวางดอกไม้จันทน์ ตามซุ้มรอบบริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือและใกล้เคียงรวม 8 จุด นั้น พล.ต.ต.ภาณุบอกว่า ทาง ขสมก.ได้จัดรถโดยสารประจำทางไว้ให้ โดยประชาชนสามารถโดยสารรถประจำทางจากจุดรับ-ส่ง ทั้งสิ้น 6 จุด ประกอบด้วย

    1.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านภัตตาคารพงหลี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีอยุธยา เลี้ยวซ้ายถนนราชดำเนินนอก ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    2.วงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วงเวียนใหญ่) ด้านถนนลาดหญ้า เริ่มต้นจากวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน เข้าถนนประชาธิปก ข้ามสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ถนนตรีเพชร ถนนตรีทอง สุดเส้นทางที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    ส่วนทางกลับเริ่มต้นจากเสาชิงช้า มาตามถนนตรีทอง แยกซ้ายเข้าถนนเจริญกรุง แยกขวาเข้าถนนจักรเพชร ข้ามสะพานพระปกเกล้าไปตามถนนประชาธิปก สุดเส้นทางที่ถนนลาดหญ้า

    3.สนามศุภชลาศัย บริเวณหน้าอาคารนิมิบุตร เริ่มจากหน้าอาคารนิมิบุตร เข้าถนนพระราม 1 เลี้ยวขวาถนนพระราม 6 เลี้ยวซ้ายถนนเพชรบุรีเข้าถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    4.สนามม้านางเลิ้ง เริ่มจากสนามม้านางเลิ้ง ถนนพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าถนนราชดำเนินนอก แยกขวาเข้าถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

    5.ต่างระดับราชพฤกษ์ตัดถนนบรมราชชนนี เริ่มต้นจากทางต่างระดับ ถนนราชพฤกษ์ ตัดถนนบรมราชชนนี ด้านถนนราชพฤกษ์ เข้าถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับรถใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

    6.สถานีรถไฟหัวลำโพง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟหัวลำโพง มาตามถนนพระราม 4 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท เลี้ยวซ้ายถนนพระราม 1 เลี้ยวขวาถนนพระราม 6 เลี้ยวซ้ายถนนเพชรบุรี เข้าถนนหลานหลวง ราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง

    สำหรับพระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.00 น. นั้น จะปิดถนนราชดำเนินใน และถนนหน้าพระลาน ในช่วงเวลา 08.00 น. โดยหลังเสร็จพระราชพิธีแล้ว จะเปิดให้รถผ่านได้ตามปกติ

    และในวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. พระราชพิธีการพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และวันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. พิธีเลี้ยงพระสงฆ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศพระอัฐิประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นั้น จะไม่มีการปิดถนนแต่อย่างใด

    จากนั้นในวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. พระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยขบวนม้าและรถยนต์พระที่นั่งจากพระศรีรัตนเจดีย์ ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จะปิดเฉพาะเส้นทางที่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย และถนนราชบพิธ หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีจะเปิดเส้นทางให้รถวิ่งได้ตามปกติ

    โปรดสำรวจเส้นทางก่อนออกจากบ้าน เพื่อความสะดวกและไม่ติดขัดในการเดินทาง
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จับชีพจรมะเร็ง คุณเสี่ยงแค่ไหน
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01hhc02271051&sectionid=0148&day=2008-10-27
    บทความพิเศษ



    [​IMG]
    ข่าวการเสียชีวิตของนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง "ยอดรัก สลักใจ" และนักแสดงหนุ่มใหญ่ฝีมือดี "อภิชาติ หาลำเจียก" ด้วยโรคมะเร็งตับเป็นข่าวครึกโครมในสื่อหลายแขนงอยู่ช่วงหนึ่ง นี่อาจเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ไม่สนใจโรคร้ายอย่าง "มะเร็ง" ได้หันมาใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น

    ในปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย จากสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2549 พบว่าโรคมะเร็งมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 52,062 คน คาดว่าในปีนี้มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 120,000 คน โดยเฉพาะมะเร็งตับที่คร่าชีวิตผู้ชายไทยมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นมะเร็งปอด ส่วนผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีมากถึง 12,000 คน รองลงมา คือมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ

    มีข้อมูลว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน !!!

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคร้ายชนิดนี้ เริ่มตั้งแต่การงดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ลดบริโภคเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ทานผักผลไม้มากขึ้น โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ ธัญพืช ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง ย่าง รมควัน ไม่ใช้น้ำมัน ที่ทอดซ้ำ ไม่ทานอาหารขึ้นรา หรือเสี่ยงต่อการขึ้นรา เช่น ถั่วลิสงเก่า

    ถ้าหากทำได้อย่างนี้ จะทำให้เราลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งได้ถึง 40% เลยทีเดียว
    [​IMG]


    นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว เรายังต้องหาทางป้องกันโรคนี้ เป็นต้นว่า ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี วิตามินอี และเบตาแคโรทีน โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีญาติเป็นมะเร็งต้องระมัดระวังด้วยการปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วง 10.00-16.00 น. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการสวมถุงยางอนามัยซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง ปากมดลูก ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อ HPV เมื่อผู้หญิงมี เพศสัมพันธ์แล้วอีก 3 ปี ควรไปตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซิน เป็นต้น นอกจากนี้ คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ก็ควรได้รับการตรวจหามะเร็งอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน

    ที่สำคัญ เราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติในร่างกาย เพื่อที่จะได้หาทางรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

    อาการของมะเร็งชนิดต่างๆ

    1. มะเร็งตับ อาการ แน่นท้อง ท้องอืด คลำก้อนได้ที่ใต้ชายโครงขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาและตับเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เหมือนน้ำปลาดีซ่าน

    2. มะเร็งปอด อาการ มักมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอกหรือหัวไหล่ ปวดหลังหรือตรงกระดูก


    3. มะเร็งเต้านม มีเลือดออกจากหัวนม หัวนมบวมหรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้

    4. มะเร็งปากมดลูก มีเลือดหรือตกขาวออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่ใช่เวลารอบเดือน มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์

    5. มะเร็งโพรงมดลูก อาจมีอาการมีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ

    6. มะเร็งรังไข่ อาจไม่มีอาการแต่อาจท้องอืดผิดปกติ อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการเจ็บปวดหลัง

    7. มะเร็งต่อมลูกหมาก อาจมีอาการปวดปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะเป็นเลือด มักเกิดกับผู้สูงอายุ

    8. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีลิ่มเลือดในปัสสาวะ

    9. มะเร็งในช่องปาก อาจมีอาการ มีก้อนหรือผงเชื้อราอยู่ในช่องในปาก หรือลิ้นเป็นเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

    10. มะเร็งในลำคอ อาจมีอาการเสียงแหบพร่า หายใจติดขัด ไอเป็นเลือด หรือกลืนอาหารลำบาก

    11. มะเร็งในกระเพาะอาหาร มีอาการปวดท้อง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือด ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย

    12. มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจมีท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด มีก้อนในท้อง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้องอย่างมาก และมีเลือดออกปนมากับอุจจาระ

    13. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการมีก้อนขึ้นที่ข้างลำคอใต้รักแร้หรือขาหนีบ โดยเป็นเรื้อรังที่รักษาไม่หาย น้ำหนักลดลง

    14. มะเร็งในเม็ดเลือด (ลูคีเมีย) อาจมีอาการเหนื่อยง่าย ซีดเซียวกว่าปกติ ฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ มีไข้เรื้อรัง หรือมีก้อนตามตัว

    15. มะเร็งผิวหนัง อาจมีแผลเรื้อรังที่ผิวหนังที่ไม่หายเป็นมานาน มีไฝหรือปานขนาดใหญ่ หรือโตขึ้นเร็ว มีสีไม่สม่ำเสมอ

    อาการเตือนของโรคมะเร็ง 8 อย่าง

    - มีการเปลี่ยนแปลงในการย่อยอาหารและขับถ่ายอย่างเรื้อรัง เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือปัสสาวะเป็นเลือด

    - มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด หรือเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ

    - แผลเรื้อรังไม่หายใน 3 สัปดาห์

    - มีก้อนที่เต้านมหรือตามตัว

    - ไฝโตขึ้นหรือเปลี่ยนสี

    - ไอเรื้อรังหรือเสียงแหบ

    - มีน้ำหนักลดลง โดยไม่ได้ตั้งใจลด

    - หูอื้อเรื้อรัง

    ข้อมูลจาก นายแพทย์วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน

    อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

    โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง

    สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

    (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)

    ____________________________________

    ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่อยากอย่างที่คิด
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01hhc03271051&sectionid=0148&day=2008-10-27
    คอลัมน์ Body Focus

    โดย สรรพางค์



    [​IMG]
    นอกจากมะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูกจะพบได้มากในหมู่คนไทยแล้ว "มะเร็งลำไส้ใหญ่" ยังเป็นโรคฮิตติดอันดับไปกับเขาด้วย เพราะในขณะนี้เราพบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ เบียดขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของมะเร็งในคนไทย โดยมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 5,000 คนต่อปี เห็นไหมล่ะครับว่าโรคนี้ ไม่ธรรมดาเลย

    แล้วใครมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง?

    จริงๆ แล้วสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่รู้ แต่ปัจจัยเสี่ยงมักมีในหลายๆ กรณี เช่น การมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุที่สูงขึ้น การป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และความอ้วน เป็นต้น โดยอาการแสดงที่พบบ่อยๆ ได้แก่ อาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือด ซีด คลำก้อนได้จากบริเวณหน้าท้อง ซึ่งหากมีอาการแบบนี้ เราต้องไปหาแพทย์เฉพาะทางเดินอาหาร เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคโดยด่วนแล้วล่ะครับ

    อย่างไรก็ตาม เราน่าจะสบายใจขึ้น เพราะนายแพทย์วรวิทย์ ชัยวิริยะวงศ์ จากโรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ออกมาเปิดเผยการศึกษาล่าสุดว่า การดำเนินโรคของมะเร็งชนิดนี้จะเริ่มจากติ่งเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง (Adenoma) มาก่อน 5-10 ปี แล้วจึงกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ซึ่งถ้าคนที่มีติ่งเนื้อไม่ใช่มะเร็ง ได้รับการตรวจคัดกรองและรับการส่องกล้องตัดติ่งเนื้อนั้นก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ [​IMG]


    หลายคนคงใจชื้นขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ แต่อย่าชะล่าใจไปนะครับ เพราะว่าการพบแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรอง และรักษาป้องกัน ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจากการศึกษาพบอีกว่า การตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจหาเลือดในอุจจาระ และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 33-79% นอกจากนี้ การสร้างสุขลักษณะที่ดี เช่น การทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ให้มากขึ้น ลดปริมาณการทานเนื้อแดง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็อาจช่วยลดอัตราการป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้ เช่นกัน

    สำหรับการตรวจวินิจฉัยคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้มีการแบ่งปัจจัยในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คนที่มีความเสี่ยงเท่ากับคนทั่วไป (Average risk) คือ กลุ่มคนที่อายุมากกว่า 50 ปี โดยไม่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว กลุ่มนี้ควรตรวจคัดกรองด้วยการตรวจหาเลือดในอุจจาระหรือได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่หลังอายุ 50 ปี [​IMG]


    กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป คนกลุ่มนี้ เป็นคนที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่มาก่อน จึงควรได้รับการตรวจด้วยการส่องกล้องทุก 3-5 ปี ส่วนคนที่เคยได้รับการตรวจรักษาด้วยการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น ควรได้รับการตรวจด้วยการส่องกล้อง ทุก 2-3 ปี นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Ulchative colitis, Crohn"s disease) ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นหลังจากป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังประมาณ 8-10 ปี ก็ควรได้รับการส่องกล้องทุก 1-2 ปี เช่นกัน

    สำหรับคนที่มีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง ด้วยการส่องกล้องเริ่มที่อายุ 40 ปี หรือ 10 ปี ก่อนอายุของญาติที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

    กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ คนที่มีญาติหลายคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก หรือมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุน้อยกว่า 50 ปี หรือมี ติ่งเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็งมากกว่า 10 ในลำไส้ใหญ่ กลุ่มนี้ควร ได้รับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อหาความผิดปกติทาง พันธุกรรมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา

    มาถึงตรงนี้ ถ้าท่านเข้าข่าย "โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่" ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจนะครับ รีบบึ่งไปตรวจกันได้ที่โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยเฉพาะตอนนี้ ที่นั่นมีการจัดตั้ง คลินิกประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็ง เพื่อทำการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการให้คำแนะนำ และให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งได้มากที่สุด

    สำหรับคลินิกประเมินความเสี่ยงเปิดให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา08.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2191-5600 ต่อ 80203 (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)
     
  11. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    งงอ่ะค่ะ สมองช้าตามไม่ทัน แต่ส่งของมาให้ชิมฟรีแล้วค่ะ เลือกกันเอง

    [​IMG]
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    10วิธีลดเสี่ยง ห่างภัยมะเร็งร้าย

    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09DMHhNQzB5Tnc9PQ==


    มะเร็งเป็นโรคที่เกิดกับใครก็ได้ ไม่ว่าเด็ก คนแก่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย จะร่ำรวยหรือยากจน มะเร็งยังคงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คนทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แต่ข่าวดีก็ยังมีอยู่ นั่นคือองค์ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคมะเร็งได้รับการพัฒนาไปมากพอจนเราเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งได้

    ในงานเปิดตัว บัตร Healthy Living Club บัตรรักษาสุขภาพของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องสุขภาพหลายอย่าง ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องโรคมะเร็ง พร้อมคำแนะนำ 10 ประการ ที่ปฏิบัติได้เพื่อชีวิตห่างไกลโรคมะเร็ง

    1. ลด หรือเลิกบุหรี่

    การเลิกสูบบุหรี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติ กรรมครั้งสำคัญที่สุดที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ เลิกบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ขอคำปรึกษาถึงวิธีการเลิกแบบต่างๆ จากแพทย์ได้ ทั้งการรักษาด้วยยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    2. กินอาหารที่มีประโยชน์

    ตอนเด็กๆ หลายคนอาจเซ็งที่ถูกบังคับให้กินผัก แต่เมื่อโตขึ้นจะรู้ว่าผักเป็นประโยชน์มากต่อตัวเราเอง ผักจำพวกบร็อกโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลีและกะหล่ำขาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ผลเบอร์รี่ ถั่วแดงและชาเขียวก็อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วยร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติซึ่งในท้ายที่สุดอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรกินแต่พอประมาณ
    [​IMG]


    3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ การออกกำลังกายในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบนักกีฬา แต่การเล่นโยคะ เดิน หรือเต้นแอโรบิกก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้เป็นโรคอ้วนซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด

    4. ตรวจสุขภาพประจำปี

    มีหลักฐานยืนยันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ ทำให้โอกาสที่จะรักษาจนหายมีมากขึ้นเท่านั้น และยังช่วยให้การรักษาฟื้นฟูทำได้เร็วขึ้นโดยมีผลข้างเคียงลดลง ดังนั้น ควรตรวจร่างกายสม่ำเสมอและขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เหมาะกับวัย เช่น ผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไปควรทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม หรือชายในวัย 40 ปีขึ้นไปควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก

    5. ดื่มแต่พอดี

    การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจเป็นผลร้ายต่อตับมากเป็นพิเศษ แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ (ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน)

    6. สืบสาวเรื่องราวครอบครัว

    มะเร็งหลายชนิดมักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรือพูดง่ายๆ มะเร็งสืบ ทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ดังนั้น การได้ทราบว่าคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเจ็บป่วยด้วยมะเร็งชนิดใดถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะให้คำแนะนำและดูแลได้เหมาะสม

    7. หลีกเลี่ยงแสงแดด

    รังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) ในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งผิวหนังซึ่งส่วนมากสามารถป้องกันได้ง่ายๆ 2 วิธี คือ ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง และพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มสูงสุด

    8. มีเพศสัมพันธ์ปลอดภัย

    เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไม่เพียงช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก เชื่อกัน ว่าประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจาก Human Papillomavirus (HPV) ที่สำคัญ เชื้อ HPV นี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ทวารหนักและอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV ได้ในระดับหนึ่ง โดยต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์

    9. นอนหลับให้สนิท

    จากการศึกษาพบว่า การนอนหลับสนิทจะมีผลไม่ทำให้เป็นมะเร็ง เนื่องจากสารเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สมองผลิตในระหว่างการนอนหลับมีคุณสมบัติต่อสู้กับมะเร็ง แต่เมลาโท นินจะช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อการนอนนั้นเป็นการนอนหลับสนิทต่อเนื่องในห้องมืดเท่านั้น

    10. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย

    สารจำพวกยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซินนั้น เต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง แม้การควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเหล่านี้ในบ้านหรือที่ทำงานย่อมเป็นการลดโอกาสในการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกันไฟ หรือ PBDE ซึ่งมักจะใช้กับผ้า เฟอร์นิเจอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน
     
  13. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    pic02822 (1).jpg

    pic29113.jpg

    เล็กอีกแล้ว คุณSITHIPHONGทำให้ใหญ่ได้ยังไงคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2008
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เคยมีคนมาคุยกับพี่ใหญ่และผมว่า ตัวเขาเป็นอีแร้ง เวลาที่หลายๆคนขาดทุนจากการซื้อขายหุ้น เขาจะเป็นกลุ่มที่เข้าไปช้อนซื้อราคาถูก และรอเวลาที่ขึ้น จึงขาย เพื่อกำไรครับ

    แอบกระซิบว่า หลายๆคนผมยอมรับว่าเก่งมากๆ แต่ไม่ชอบคุยโม้โอ้อวด พวกเก็บเงียบครับ ผมเองดันเอาความลับมาเผยครับ

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  16. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524

    สงสัยคนนี้จาเป็นอีแร้งนะคะ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  18. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    หุหุ เดี๋ยวจามใหญ่นะครับ จะสะเทือนถึงสุขภาพตาลุงข้างบ้านเพราะนอนไม่หลับครับ
     
  19. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    555 อย่าเอาเรื่องจริงมาเปิดเผยครับ คนอื่นเขาชอบคิดว่าหมอมีเงิน 555
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ว่าแล้วจามใหญ่เลยครับ ผมก้สงสัยเหมือนกันครับ ใคร ....น้า หุ หุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...