พระป่าสายอีสาน จากภูพานสู่สถานกลางกรุง วัดป่าเชิงเลน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 19 เมษายน 2012.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    พระป่าสายอีสาน จากภูพานมหาวนาสีสู่สัปปายสถานกลางกรุง วัดป่าเชิงเลน

    ปกติแล้วผมเป็นคนชอบไปเที่ยวตามวัด โดยเฉพาะวัดที่มีการจัดสร้างวัตถุมงคล เพราะนอกจากผมจะได้สัมผัสบรรยากาศของความขลังแล้ว ผมยังมีโอกาสได้สนทนากับพระอาจารย์หรือชาวบ้านรอบๆวัด เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลต่างๆ ส่วนมากแล้ววัดที่ผมจะไปก็มักจะอยู่ในเขตจังหวัดรอบๆ กรุงเทพมหานคร

    เหตุผลก็ไม่มีอะไรมากครับนอกจากความสะดวกสบายและจังหวะเวลาว่างของตัวเอง

    ต่อมาเพื่อนๆ โดยเฉพาะเพื่อนต่อ(มนุษย์ล่องหน) บอกว่า ธรรมยุติกนิกาย” ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเยอะแยะมาก ทำให้ผมเริ่มหันมาศึกษาปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานที่คนทั่วไปชอบเรียกกันว่า “พระป่าสายอีสาน” ด้วยความที่ไม่ค่อยมีความรู้สักเท่าไร ทำให้ผมต้องเริ่มสืบหาข้อมูลเบื้องต้นพอเป็นพื้นฐานให้สมองบ้าง

    ครับ..นอกจากปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานจะมีความน่าเลื่อมใสแล้ว ธรรมะคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ตลอดจนสถานที่จำพรรษาของพวกท่านก็ยังมีความน่าสนใจมิใช่น้อย


    [​IMG]



    เมื่อเร็วๆนี้เพื่อนๆชวนผมไปเที่ยว วัดป่าเชิงเลน” ตามข้อมูลเบื้องต้นที่ผมได้รับ วัดป่าเชิงเลนเป็นวัดเก่าแก่อายุน่าจะไม่ต่ำกว่าสองร้อยปี จากการค้นพบซากกำแพงเก่า การวางเรียงอิฐ ทำให้สามารถสันนิฐานได้ว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

    กาลต่อมาวัดป่าเชิงเลนได้กลายเป็นวัดร้าง จนพระลูกศิษย์ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี” ที่ชื่อว่า”พระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตตโม” มาพบและได้ทำการบูรณะให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา


    [​IMG]


    จะว่าไปแล้วการได้แสวงหาความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยการเดินทางเข้าไปสัมผัสและชื่นชมกับความสงบของธรรมชาติและจิตใจ....... สำหรับผม...มันเป็นการปลดปล่อยภาระทางโลกออกไปชั่วคราวเพื่อสะสมความคิดความรู้สึกใหม่ๆ ให้กับตัวเอง.....

    ครับไม่ว่าเราจะไปในสถานที่แห่งใดก็ตาม แต่ละแห่งมักจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะน่าสนใจแตกต่างกัน อย่างเช่นวัดป่ากรรมฐาน ในด้านสถานที่และผู้คนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ก็จะสะท้อนให้เราเห็นถึงวัฒนธรรม ขนบ และการพัฒนาการต่างๆ ของการเป็นวัดป่ากรรมฐาน

    เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญครับ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละพื้นที่ จะทำให้เราสามารถเรียงร้อยเรื่องราวต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง


    [​IMG]


    วัดป่าเชิงเลน ตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ ๓๗ ติดคลองชักพระ ปัจจุบันการเดินทางไปที่วัดแห่งนี้สามารถเข้าได้สองทางครับคือทางบกโดยการเข้าไปในซอยจรัญสนิทวงศ์ ๓๗ จนสุดซอย และเดินเท้าเข้าไปตามถนนสายเล็กๆจนถึงวัด

    ส่วนทางน้ำโดยการเช่าเหมาลำเรือมาจากท่าพระจันทร์เข้าคลองชักพระและมาขึ้นที่ศาลาของวัดครับ


    [​IMG]


    ปกติแล้วทุกครั้งที่ผมออกเดินทางผมมักจะมีกล้องติดมือไปด้วย เพราะไม่รู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อีกอย่างการที่เรามีเครื่องไม้เครื่องมือติดตัวจะช่วยให้เราสามารถบันทึกความทรงจำที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่าคำพูด

    ครั้งนี้ก็เช่นกันครับเมื่อผมและกลุ่มเพื่อนได้เข้าไปถึงวัดป่าเชิงเลน ผมพบว่าวัดป่าเชิงเลนแห่งนี้บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจะเป็นน้ำมากกว่าผืนดิน บริเวณปากทางเข้าวัดมีการก่อสร้างคล้ายกับจะเป็นเพิงหินและเมื่อพวกเราเดินเข้าไปในบริเวณวัดก็พบว่าเส้นทางเดินผ่านจะมีลักษณะคล้ายๆกับว่าพวกเรากำลังเดินอยู่ในถ้ำสักแห่งหนึ่ง


    [​IMG]


    พวกเราเดินดูรอบๆวัดก็พบว่าภายในวัดจะมีรูปหล่อครูบาอาจารย์องค์สำคัญของพระป่ากรรมฐานสององค์คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” และ “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี” แห่งวัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย และจากการมาวัดในครั้งนี้ทำให้ผมทราบข้อมูลเพิ่มว่า วัดป่าเชิงเลนแห่งนี้เป็น “สาขาของวัดหินหมากเป้ง” และเป็นวัดที่ได้ชื่อว่า”สัปปายสถานกลางกรุง

    ปัจจุบันวัดป่าเชิงเลนมีพระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล” เป็นเจ้าอาวาสครับ

    ท่านเมตตาเล่าให้พวกเราฟังทำให้พวกเราทราบว่าการจะเป็นพระในสายของพระอาจารย์มั่น ไม่ใช่เรื่องที่คิดว่าจะไปอยู่ก็ไปได้ หลายองค์แล้วที่ไม่สามารถปฏิบัติหรือไม่สามารถอดทนต่อความยากลำบากได้ต้องถอยหลังออกไป
    [​IMG]

    สถานที่ของวัดป่าเชิงเลนที่เราเห็นในทุกวันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยที่ท่านไปอยู่ป่า ยังคงเทียบกันไม่ได้เพราะป่าที่ท่านไปอยู่จำพรรษาช่วงก่อนที่จะได้เข้าไปอยู่ในวัดหินหมากเป้งกว้างใหญ่กว่านี้มากนัก อีกอย่างการจะเข้าไปอยู่ในวัดหินหมากเป้งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ”

    พระอาจารย์ภัลลภได้อธิบายความยากนี้ว่า....

    เบื้องต้นเลยพระภิกษุที่จะเข้าไปอยู่ในวัดแห่งนี้จะต้องสวดพระปาติโมกข์ให้ได้ก่อน ซึ่งพระอาจารย์ภัลลภต้องใช้เวลาประมาณสองเดือนถึงจะท่องได้ แต่กว่าจะได้เข้าไปศึกษาและปรนนิบัติหลวงปู่เทสก์ต้องใช้เวลาอีกกว่าปี

    ท่านว่าครูบาอาจารย์ท่านแน่วแน่และมั่นคง ซึ่งตัวของท่านเองยังปฏิบัติไม่ได้แม้เท่าเสี้ยวของครูบาอาจารย์

    มีอยู่คำพูดหนึ่งครับที่พวกเราฟังแล้วสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาและครูบาอาจารย์ในสายนี้จริงๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    คุณศิษย์กวง
    http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/07/11/entry-2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2012
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ครูบาอาจารย์ท่านเอาชีวิตฝากไว้ในพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    (คณะศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)
    ....การไปวัดป่าเชิงเลนครั้งนี้ทำให้ผมรู้จักกับคำว่าพระป่ากรรมฐานมากขึ้น..

    ดังนั้นเมื่อพอมีเวลาว่างผมจึงเริ่มศึกษาความเป็นมาของ ธรรมยุติกนิกาย” จากข้อมูลของ”อาจารย์ชัยมงคล จินดาสมุทร และ อาจารย์ชัยวัฒน์ แก้วคล้าย ทำให้ผมทราบว่า....

    หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้พระพรหมราชวงศ์(กุทอง สุวรรณกุฏ)”เจ้าเมืองอุบลราชธานี อาราธนา”พระอาจารย์ดี (พนธุ โล ดี)” และ “พระอาจารย์ม้าว (เทวธมนี ม้าว)” ออกไปเผยแพร่ธรรมยุติกนิกาย

    เมื่อพระพรหมราชวงศ์ กลับถึงเมืองอุบลราชธานีแล้วได้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์โดยทำการปรึกษาหารือวางแผนจัดตั้งวัดสุปัฏนาราม” โดยทำการสร้างในบริเวณที่เหมาะสม(อยู่ทางเหนือระหว่างเมืองกับบ้านบุ่งกาแซว) เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อย ได้อาราธนาพระอาจารย์ดีมาเป็นเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาเป็นรองเจ้าอาวาส
    [​IMG]


    (วัดสุปัฏนาราม)
    ดังนั้น วัดสุปัฏนาราม” จึงเป็นวัดธรรมยุติกนิกายวัดแรกในภาคอีสาน

    ธรรมยุติกนิกายในสมัยแรก...เริ่มนับตั้งแต่ครั้งธรรมยุติกนิกายเข้ามาเผยแพร่ในเมืองอุบลราชธานี(ที่วัดสุปัฎนาราม) จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาประมาณ ๘๐ ปี แบ่งออกเป็น ๔ ยุค โดยแต่ละยุคมีพระเถระผู้ใหญ่เป็นผู้นำดังนี้

    ยุคที่ ๑ ได้แก่ พระอาจารย์ดี (ดี พันธุโล) ยุคที่ ๒ ได้แก่ พระอาจารย์ม้าว (ม้าว เทวธัมมี) ยุคที่ ๓ ได้แก่ พระอริยกวี (อ่อน ธัมมรักชิโต) และพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโท) และยุคที่ ๔ ได้แก่ พระพรหมมุณี (อ้วน ติสโส)

    พระเถระเหล่านี้เป็นผู้นำและได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในธรรมวินัยและขนบธรรมเนียมของธรรมยุติกนิกายทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ เป็นแบบอย่างอันดีงามแก่ลูกศิษย์ และได้ทำความเจริญมาสู่อีสาน จนทำให้ธรรมยุติกนิกาย” เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]
    (สมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เจ้าคณะมณฑลอีสาน)
    ในยุคที่ ๔ สมัยสมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)” เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน ต่อจาก”พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)” ได้มีพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสนาธุระที่มีชื่อเสียง ๒ รูป คือ”พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล” และ”พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู)” เป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ฝ่ายวิปัสนาธุระ

    ต่อมาพระปัญญาพิศาลได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวันแต่ยังเหลือพระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล เพียงรูปเดียวที่ยังเป็นผู้นำเผยแผ่ธรรมยุติกนิกายในภาคอีสาน โดยได้ตั้งสำนักอบรมสั่งสอนที่วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    [​IMG]
    (พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล พร้อมคณะศิษย์)
    พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล มีศิษย์ที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือ “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ซึ่งท่านเป็นกำลังเผยแพร่พระพุทธศาสนา”ธรรมยุติกนิกายฝ่ายวิปัสสนาธุระและพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็มีศิษย์ที่สำคัญ คือ “พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม)” ....ต่อมาพระเถระทั้ง ๓ รูปนี้ ได้ร่วมกันดำเนินงานด้านวิปัสนาธุระจนทำให้มีศิษย์เกิดขึ้นมากในภาคอีสาน เช่น

    [​IMG]
    ท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสี คัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์) วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย
    [​IMG]
    ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศิลคุณ) จังหวัดอุดรธานี
    กล่าวได้ว่าศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตเป็นยุคที่ ๕ ของพระธรรมยุติกนิกายในอีสานทางฝ่ายวิปัสนาธุระ นอกจากนี้ภายใต้การนำของพระอาจารย์เสาร์ กนตสีโลและพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถือได้ว่าเป็นยุคที่มีการเผยแพร่การปฏิบัติของคณะสงฆ์สายนี้อย่างกว้างขวางทั้งในภาคอีสานและทั่วทุกภาคของประเทศไทย
    สภาพความเป็นอยู่ของพระธรรมยุติกนิกายฝ่ายวิปัสนาธุระสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะดำเนินชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในป่า ดำรงสมณเพศตามแนวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล อยู่ตามป่าเขาถ้ำ เงื้อมผา ที่เงียบสงบเหมาะสมสำหรับการบำเพ็ญธรรม

    ด้วยเหตุนี้เองคนจึงเรียกพระว่า พระป่า
    วัดที่อยู่อาศัยก็เรียกว่า วัดป่า
    ธรรมะที่สั่งสอนจากพระสายนี้ก็เรียกว่า ธรรมะป่า

    ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบ้านเมืองเจริญก้าวหน้า ป่าได้เปลี่ยนแปลงสภาพมาเป็นเมืองมากขึ้น คนก็ยังนิยมเรียกกันว่า พระป่า” และ “วัดป่า” จนกลายเป็นคำเรียกชื่อที่เคยชิน ถึงแม้ว่าวัดป่าไม่ได้อยู่ในป่าแล้ว...
    คำถามจึงมีต่อมาว่าก่อนหน้าที่จะเกิด ธรรมยุติกนิกาย” ในสมัยของรัชการที่ ๔ “พระป่าสายอีสาน” มีความเป็นมาอย่างไร
    เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ “อรัญวาสี”

    อรัญวาสีเป็นชื่อเรียกคณะสงฆ์โบราณ คณะหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชน เรียกว่า คณะอรัญวาสี”คู่กับ”คณะคามวาสี” ซึ่งตั้งวัดอยู่ในชุมชน

    [​IMG]
    คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ได้เขียนบทสรุปของพระป่าสายอีสานไว้น่าสนใจครับ...

    ความเข้าใจต่อพระป่าสายพระอีสานในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมีสำนักและลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศ ก็ยังคงเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าท่านสืบต่อมาจากพระฝ่ายธรรมยุตินิกายสายวิปัสสนาธุระที่เกิดครั้งรัชการที่ ๔ ทั้งที่พระป่าสายอีสานนั้นมีความต่อเนื่องทดแทนกันไม่หยุดนิ่งมาโดยตลอด
    กล่าวโดยสรุป พระป่าสายอีสานนั้นมิได้สืบทอดมาจากพระฝ่ายอรัญวาสีแบบลังกาวงศ์ที่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ อีกทั้งไม่ได้เป็นผู้สืบสายพระสายวิปัสสนาธุระในธรรมยุติกนิกายที่เข้ามาสู่ดินแดนอีสานเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔

    หากแต่สืบเนื่องมาแต่ครั้งยังมีภูพานมหาวนาสีเมื่อพุทธศาสนาแบบเถรวาทเข้ามาสู่อีสานแต่เริ่มแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ และเป็นการสืบทอดพระสายวิปัสสนาธุระแห่งอรัญวาสีที่เก่าแก่และต่อเนื่องยาวนานที่สุด โดยมิได้รับตกทอดมาจากแห่งใด

    ภูพานมหาวนาสี เป็นเทือกเขาหินทรายในเขตภูพาน ทั้งที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีแถบอุบลราชธานีและมุกดาหาร มีกลุ่มก้อนหินโผล่ซ้อนกันคล้ายดอกเห็ดหรือตั้งพิงกันหลายแห่ง เรียกว่า เพิงหิน” ส่วนพื้นที่รอบๆเป็นลานหินกว้าง น่าจะเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่ทำพิธีกรรมร่วมกันของกลุ่มคนที่เดินทางมาจากท้องถิ่นต่างๆได้เป็นอย่างดี
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]
    บริเวณเหล่านี้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่อเนื่องกันมานับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีปรากฏภาพเขียนสีลวดลายเรขาคณิต ภาพฝ่ามือ ภาพเลียนแบบคนและสัตว์ตามผนังหรือใต้เพิงหินหลายจุด

    ในกาลต่อมาบริเวณเพิงผาหินและลานหินเหล่านี้ถูกปรับใช้เป็นสำนักสงฆ์หรือวัดที่แฝงเร้นอยู่ตามป่าเขา อันเรียกได้ว่าเป็นอรัญวาสีทางพุทธศาสนา

    [​IMG]

    ศาสนสถานสำคัญบนเทือกเขาภูพานที่รู้จักกันดีได้แก่ “พระพุทธบาทบัวบก” และ “พระพุทธบาทบัวบาน” ในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    ปัจจุบันถึงแม้ภูพานมหาวนาสีจะหมดหน้าที่ของการเป็นอารามหลวงในป่าเขาที่ใช้สำหรับปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาและต้องกลายเป็นแหล่งโบราณสถานสำหรับการท่องเที่ยว แต่พระป่าสายอีสานก็ยังคงอาศัยป่าเขาโดยเฉพาะท้องถิ่นริมฝั่งแม่น้ำโขงสร้าง “มหาวนาสี” ในที่อื่นๆต่อมาอีกมากมาย

    พระอริยสงฆ์สายอีสานหลายรูป เช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตและศิษย์รุ่นต่อมาอย่างพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ฯลฯ

    แม้ท่านเหล่านั้นจะเป็นศิษย์พระอริยสงฆ์สายอีสานผู้ตั้งฝ่ายธรรมยุติกนิกายในอีสานในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ก็มีฐานการปฏิบัติธรรม การออกธุดงค์อยู่รุกขมูลวิปัสสนากรรมฐานตามแบบพระป่าในท้องถิ่นอีสานมาก่อนบวชอีกครั้งเพื่อเข้าสู่ธรรมยุติกนิกายในภายหลัง
    อรัญญวาสีในท้องถิ่นอีสานที่สำคัญตามป่าเขาใกล้ลำน้ำโขงหลายแห่ง สร้างโดยพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เช่น

    [​IMG]
    วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    [​IMG]
    วัดเจติยาคีรีวิหาร(วัดภูทอก) อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

    [​IMG]
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
    จากลักษณะของภูมิประเทศ”ที่แนวเทือกเขาภูพานต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกับเขาด้านในสุดด้านตะวันออกของที่ราบลุ่มน้ำงึมในประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่าน

    เนื้อเรื่องใน”[B]ตำนานอุสา-บารส[/B]” ที่อ้างอิงสถานที่ตั้ง
    [SIZE=3]“[B]ตำนานอุรังคตังธาตุ[/B]” ที่กล่าวถึงว่าบริเวณเทือกเขาภูพานเป็นที่อยู่ของพญานาคซึ่งหนีจากหนองแสมาตามลำน้ำโขงแล้วมาอาศัยอยู่บริเวณนี้[/SIZE]

    [SIZE=3][COLOR=black]ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรได้แวะมาพักที่ [/COLOR][COLOR=black]“[B]ภูกูเวียน[/B]” ทรงปราบพญานาคจนยอมแพ้แล้วจึงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ให้นาคได้สักการะ ฯลฯ[/COLOR][/SIZE]
    [FONT=Comic Sans MS][/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS][SIZE=3][COLOR=black]รวมไปถึงบทความทางวิชาการของ [/COLOR][COLOR=black]“[B]กมลา ติยะวนิช[/B]” ที่เล่าเรื่องของพระธุดงค์ซึ่งเน้นการวิปัสสนาในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยคณะผู้ติดตามมีการสร้างวัดป่าขึ้นมาในพื้นที่อีสาน ก่อนที่จะมีกฎหมายของมหาเถรสมาคมขึ้นมาควบคุมคณะสงฆ์ทั่วประเทศ[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][SIZE=3][COLOR=black]เรื่องราวต่างๆเหล่านี้ [/COLOR][COLOR=black]“[B]คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ[/B]” ได้เขียนบทความไว้ว่า[/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][/FONT][/COLOR][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][SIZE=3]“[B]ทั้งที่แท้จริงแล้ว แหล่งบ่มเพาะอีกทั้งความสืบเนื่องในวัตรปฏิบัติของสำนักวัดป่าสายอีสานนั้นดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่มีมานานนับพันปี[/B]”[/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][SIZE=3]“[B]ดังนั้น[/B] ‘[B]อรัญวาสี[/B]’ – [B]ผู้อยู่ในป่า จึงมีปรากฏให้เห็นนับแต่บ้านเมืองของเราเริ่มรับพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว[/B]...[B]นั่นหมายความว่า พระป่าสายอีสานมิได้เริ่มต้นที่ธรรมยุติกนิกาย หากเกิดแต่รากเหง้าความเป็นบ้านเมืองอันเก่าแก่สองฝั่งโขงนี้เอง[/B]...”[/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Comic Sans MS][SIZE=3][IMG]http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/9/20009/images/watpa/18.jpg[/IMG][/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]






    ธรรมต้องอาศัยอยู่กับโลก ไม่มีโลก...ธรรมก็อยู่ไม่ได้ ผู้เห็นธรรม รู้ธรรมก็คือ ผู้มารู้มาเห็นโลกตามความเป็นจริง

    ๗ กรกฏาคม ๒๕๕๒ พวกเราตกลงใจกันเข้ามายังวัดป่าเชิงเลนอีกครั้งครับเพราะในวันพรุ่งนี้(๘ กรกฏาคม ๒๕๕๒) พุทธศาสนิกชนกำหนดรู้ว่าเป็นวันเข้าพรรษา

    พระพุทธเจ้าของเราทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่ในตำแหน่งสถานที่ที่ได้อธิษฐานจำพรรษาเอาไว้ หากมีเหตุจำเป็นจริงๆก็ทรงอนุญาตให้ออกไปได้คราวละไม่เกิน ๗ วันเพื่อทำกิจนั้นให้ลุล่วงตามความประสงค์

    บรรยากาศและวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นทำให้พวกเรารู้สึกถึงความสงบ
    [​IMG]

    ความสงบเป็นบ่อเกิดของสติ
    [​IMG]

    สติ สมาธิ ปัญญา สมดุลกันโดยอัตโนมัติเมื่อไรแล้ว ปัญญาวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้น
    [​IMG]

    พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล ท่านได้สอนธรรมะว่า
    [​IMG]

    คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันห่างวัดกันมากโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯที่ต่างกับคนในต่างจังหวัด กล่าวคือในต่างจังหวัดคนเฒ่าคนแก่จะจูงลูกหลานรอใส่บาตรตอนเช้า สอนให้ไหว้พระสวดมนต์ ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักและใกล้ชิดพุทธศาสนาตั้งแต่เด็ก ลักษณะชีวิตแบบนี้ในกรุงเทพฯ ไม่มีให้เห็น ทำให้เราห่างจากพุทธศาสนา...

    ในปีหนึ่งเราอาจจะทำบุญ หรือเข้าวัดเพียงวันเกิดวันเดียวเท่านั้น

    ทั้ง ๆ ที่ บุญเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เรามี ซึ่งทรัพย์นี้มีวันหมดไปได้ ดังนั้นหากพวกเราไม่สร้างบุญใหม่ สะสมความดี สะสมบุญ ความดีและบุญที่ช่วยเหลือเราไว้ในอดีตก็ย่อมหมดไป เหมือนที่เราใช้ทรัพย์หมดไปนั่นเอง
    ดังนั้นหากต้องการทรัพย์ก็ต้องทำงานฉันใด คนที่ต้องการบุญไว้เลี้ยงตัวเองก็ต้องสร้างบุญสร้างกุศลเช่นเดียวกัน...”

    [​IMG]
    ครับ ธรรมะจากพระอาจารย์ภัลลภ หนึ่งใน“พระป่าสายอีสาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ตลอดจนธรรมชาติที่ยังมีอยู่ในวัดป่าเชิงเลนแห่งนี้

    ทำให้ผมนึกไปถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ศึกษามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรากเหง้ากำเนิด คำสั่งสอน ความยากลำบากของครูบาอาจารย์ที่ได้บำเพ็ญเพียรอย่างเต็มกำลัง โดย ฝากชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนา”ฯลฯ

    พวกเราตกลงสัญญาใจกันครับว่า คงจะไม่รอให้บุญที่พอจะมี(บ้าง)หมดไปก่อน....

    อย่างน้อยการได้มาทำบุญที่วัดป่าเชิงเลนและรับฟังธรรมะจากพระป่าสายอีสานในเมืองกรุง จะเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้พวกเราอย่างจริงแท้แน่นอน

    หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใคร่สร้างบุญสร้างกุศลให้กับตัวเอง ขอเรียนเชิญครับ สัปปายสถานกลางกรุง“ แห่งนี้เปิดกว้างรอท่านตลอดเวลาไม่มีวันหยุด

    บุญกุศล….สร้างขึ้นเองได้ครับ อยู่ที่ว่าเราจะตั้งใจทำกันจริงหรือเปล่า....สวัสดีครับ

    [​IMG]


    ขอขอบพระคุณ
    เอกสารอ้างอิง วัดในจังหวัดสกลนคร โดย อาจารย์ชัยมงคล จินดาสมุทร และ อาจารย์ชัยวัฒน์ แก้วคล้าย,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๒๙๒ ภูผาศักดิ์สิทธิ์และอรัญวาสีสองฝั่งโขง(ไทย-ลาว) โดย คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ
    รูปภาพประกอบ – เวปวัดป่ากรรมฐาน WWW.WATPA.COM ,Blogger Pooky17,เวปไซด์อีกหลายแห่ง,คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย / เพื่อนต่อกับคำแนะนำและคุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี กับกำลังใจทีมีให้เสมอครับ

    http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/07/11/entry-2
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    สุดๆครับ..สวดพระปาติโมกข์ 2 เดือนก็เ่ก่งมากแล้วนะครับ..
    อนุโมทนาสาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...