พยากรณ์กรรม โดยยึดหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย รัตนชาติ, 7 มีนาคม 2011.

  1. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ธรรมทาน

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]ธรรมทาน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือ การบอกแนะนำให้รู้หลักธรรมคำสั่งสอนธรรมะรู้จักบุญบาป เมตตาอารีย์ การให้ธรรมะ[/FONT][FONT=&quot] เวลาเห็นคนมีปัญหา มีความทุกข์ใจ แล้วมาขอคำปรึกษา เราก็สอนธรรมะให้กับเขาไป สอนเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เรื่องการปล่อยวาง เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญหาของคนเราส่วนใหญ่เกิดจากการไปยึดไปติดกับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง และอยากให้สิ่งนั้นเป็นไปตามปรารถนา ถ้าไม่เป็นไปดังที่ต้องการ ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นทุกข์ ปลงไม่ตก วางไม่ลง ถ้าเขามาปรึกษา ก็บอกเขาว่าปัญหาของความทุกข์นั้น อยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เราไปยึดไปติดด้วย สิ่งที่เราไปยึดไปติด ที่ไปมีปัญหาด้วย เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ เราไปบังคับเขาไม่ได้ เปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ แต่สิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้ก็คือใจของเรา ถ้าใจเราไม่ถือสา ไม่เอาเรื่องเอาราวแล้ว ปล่อยเขาไปตามเรื่องตามราวของเขา เขาจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เท่านี้ใจเราก็จะสงบ จะสบาย คืออย่าไปหวัง อย่าไปอยากกับอะไร เพราะเวลาไปหวัง ไปอยาก เวลาได้มาก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้แล้ว จะทำอย่างไร ก็มีแต่จะกลุ้มอกกลุ้มใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้ามีคนคอยแนะนำเรา ให้ธรรมทานกับเรา เราก็จะเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ เพราะดับทุกข์ได้ด้วยธรรมะ [/FONT]
    [FONT=&quot] พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง เพราะว่าการให้ธรรมะเป็นการให้ธรรมโอสถ[/FONT][FONT=&quot] ให้ยารักษาโรคใจนั่นเอง คนบางคนเป็นถึงมหาเศรษฐี มีเงินทองเป็นร้อยล้าน พันล้าน แต่ใจกลับมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเครียด หาความสุขไม่ได้เลย ก็เพราะว่าใจไม่มีธรรมะนั่นเอง ถ้าใครให้ธรรมะกับเขาได้ และเขาสามารถรับธรรมะไปใช้กับตัวของเขาได้แล้ว เขาก็จะดับทุกข์ภายในใจของเขาได้ แสดงว่าธรรมะมีคุณค่ายิ่งกว่าเงินร้อยล้านพันล้านเสียอีก พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องว่าการให้อะไรไม่มีอะไรจะเลิศยิ่งกว่าการให้ธรรมะ [/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot][/FONT]
     
  2. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    สุเมธดาบสคิดค้นพุทธการกธรรม

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]สุเมธดาบสคิดค้นพุทธการกธรรม[/FONT]

    [FONT=&quot]สุเมธดาบสเมื่อได้ฟังพยากรณ์ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน[/FONT] [FONT=&quot]จึงใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า[/FONT] [FONT=&quot]ธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ[/FONT] [FONT=&quot]อยู่เบื้องบนหรือเบื้องล่าง[/FONT] [FONT=&quot]หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้นไปโดยลำดับ[/FONT] [FONT=&quot]ก็ได้เห็นทานบารมีข้อที่[/FONT] 1 [FONT=&quot]ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]ถือปฏิบัติเป็นประจำ[/FONT] [FONT=&quot]จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า[/FONT] [FONT=&quot]ดูก่อนสุเมธบัณฑิต[/FONT] [FONT=&quot]จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า[/FONT] [FONT=&quot]หม้อน้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด[/FONT] [FONT=&quot]ไม่นำกลับเข้าไปฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]ไม่เหลียวแลทรัพย์[/FONT] [FONT=&quot]ยศ[/FONT] [FONT=&quot]บุตรและภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด[/FONT] [FONT=&quot]แก่ยาจกผู้มาถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือจักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระ[/FONT] [FONT=&quot]พุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรกกระทำให้มั่นแล้วท่านจึงกล่าวว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]เอาเถอะ[/FONT] [FONT=&quot]เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง[/FONT] [FONT=&quot]ทั้งสิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ[/FONT]
    [FONT=&quot]ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จึงได้เห็นทานบารมีข้อที่ [/FONT]1 [FONT=&quot]เป็นเส้นทางใหญ่[/FONT] [FONT=&quot]ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อนประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว.[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่[/FONT] 1 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงถึงความเป็นทานบารมี[/FONT] [FONT=&quot]หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เปรียบเหมือนหม้อน้ำเต็มเปี่ยม[/FONT] [FONT=&quot]ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง[/FONT] [FONT=&quot]น้ำย่อมไหลออกหมด[/FONT] [FONT=&quot]น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น[/FONT] [FONT=&quot]แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง[/FONT] [FONT=&quot]จงให้ทานให้หมด[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลงไว้ฉะนั้น.[/FONT]
    [FONT=&quot]ลำดับนั้นเมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า[/FONT] [FONT=&quot]ธรรมที่กระทำให้เป็น พระพุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย[/FONT] [FONT=&quot]จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็ได้เห็นศีลบารมี จึงสอนตนว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่[/FONT] 2 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงถึงความเป็นศีลบารมี[/FONT] [FONT=&quot]หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เปรียบเหมือนจามรีหางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม[/FONT] [FONT=&quot]ปลดขนหางออกไม่ได้[/FONT] [FONT=&quot]ก็ยอมตายในที่นั้น[/FONT] [FONT=&quot]แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง [/FONT]4 [FONT=&quot]จงรักษาศีลไว้ทุกเมื่อ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนจามรีรักษาขนหางฉันนั้นเถิด[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นเนกขัม[/FONT] [FONT=&quot]มบารมีข้อที่[/FONT] 3 [FONT=&quot]ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีข้อที่[/FONT] 3 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี[/FONT] [FONT=&quot]หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เปรียบเหมือนบุรุษอยู่มานานในเรือนจำ[/FONT] [FONT=&quot]ลำบากเพราะความทุกข์[/FONT] [FONT=&quot]มิได้ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น[/FONT] [FONT=&quot]แสวงหาความพ้นออกไปอย่างเดียวฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้มุ่งหน้าออกบวช[/FONT] [FONT=&quot]เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด.[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ [/FONT]4 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานปัญญาบารมีข้อที่ [/FONT]4 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงถึงความเป็นปัญญาบารมี[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนภิกษุเมื่อขออยู่[/FONT] [FONT=&quot]ไม่เว้นตระกูลต่ำ[/FONT] [FONT=&quot]สูง และปานกลาง[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยอาการอย่างนี้[/FONT] [FONT=&quot]แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นปัญญาบารมี[/FONT] [FONT=&quot]จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณฉะนั้นเหมือนกัน.[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ [/FONT]5 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานวิริยบารมีข้อที่ [/FONT]5 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงถึงความเป็นวิริยบารมี[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนพญาราชสีห์มฤคราช[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในการนั่ง[/FONT] [FONT=&quot]การยืน[/FONT] [FONT=&quot]และการเดิน[/FONT] [FONT=&quot]ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อแม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]จงประคองความเพียรไว้ให้มั่นตลอดทุกภพ[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]ได้.[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นขันติบารมีข้อที่ [/FONT]6 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานขันติบารมีข้อที่ [/FONT]6 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]มีใจไม่ลังเลในขันติบารมีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนอย่างว่าธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง[/FONT] [FONT=&quot]ที่เขาทิ้งลงสะอาดบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ไม่สะอาดบ้าง[/FONT] [FONT=&quot]ไม่กระทำการขัดเคือง[/FONT] [FONT=&quot]เพราะการกระทำนั้นแม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]แม้ท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]เป็นผู้อดทนต่อการนับถือและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ [/FONT]7 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ [/FONT]7 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณเหมือนดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง[/FONT] [FONT=&quot]คือเที่ยงตรงใน[/FONT] [FONT=&quot]โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย[/FONT] [FONT=&quot]ฤดู[/FONT] [FONT=&quot]หรือปีก็ตาม[/FONT] [FONT=&quot]ย่อมไม่โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]แม้ท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ออกไปนอกทางสัจจะทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่[/FONT] 8 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า[/FONT] “[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่[/FONT] 8 [FONT=&quot]นี้กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว[/FONT] [FONT=&quot]คงตั้งอยู่ตามเดิม[/FONT] [FONT=&quot]ไม่สะเทือนเพราะลมแรงกล้า[/FONT] [FONT=&quot]คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง[/FONT] [FONT=&quot]แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐาน[/FONT] [FONT=&quot]ในกาลทั้งปวง[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นเมตตา[/FONT] [FONT=&quot]บารมีข้อที่[/FONT] 9 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีข้อที่[/FONT] 9 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยเมตตา[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน[/FONT] [FONT=&quot]ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ แม้ฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล[/FONT] [FONT=&quot]ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมีแล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.[/FONT]
    [FONT=&quot]สุเมธดาบสใคร่ครวญต่อไปจึงได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ [/FONT]10 [FONT=&quot]และอธิษฐานว่า [/FONT]“[FONT=&quot]ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ [/FONT]10 [FONT=&quot]นี้[/FONT] [FONT=&quot]กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ[/FONT] [FONT=&quot]เหมือนแผ่นดินย่อมวางเฉย[/FONT] [FONT=&quot]ในของไม่สะอาดและของสะอาดที่คนทิ้งลง[/FONT] [FONT=&quot]เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสองนั้นฉันใด[/FONT] [FONT=&quot]แม้ท่าน[/FONT] [FONT=&quot]ก็ฉันนั้นเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]จงเป็นประดุจตราชั่งในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ[/FONT] [FONT=&quot]ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้[/FONT]
     
  3. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ปัจจัย ๔ ของใจ

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]ปัจจัย ๔ ของใจ [/FONT][FONT=&quot][/FONT]​
    [FONT=&quot] [/FONT]​
    [FONT=&quot]ธรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง [/FONT][FONT=&quot] คือ ทาน ศีล ภาวนา เพราะธรรมทั้ง ๓ เป็นปัจจัย ๔ ของใจ ร่างกายต้องมีปัจจัย ๔ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ไว้ดูแลรักษาร่างกายให้อยู่เป็นปกติ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ขัดสน ไม่หิว ไม่ลำบาก ฉันใด ใจก็เหมือนกับร่างกาย ต้องมีปัจจัย ๔ เช่นกัน คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ไว้เป็นเครื่องดูแลรักษา ปัจจัย ๔ ของใจก็คือธรรมที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ถ้าใจได้รับการดูแลรักษาด้วยทาน ศีล ภาวนา อย่างต่อเนื่องแล้ว ใจจะเป็นใจที่มีความสุข มีอาหารหล่อเลี้ยง มีอาภรณ์ที่สวยงามไว้สวมใส่ มีที่พึ่ง ที่หลบภัย ที่อยู่อาศัย มียาไว้คอยรักษาในยามเจ็บไข้ได้ป่วย โรคเจ็บไข้ของใจก็คือความทุกข์นั่นเอง เป็นโรคของใจ ถ้ามี ทาน ศีล ภาวนา คอยบำรุงดูแลอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว ใจจะไม่ทุกข์กับอะไร จะไม่ล้มป่วย ไม่เจ็บไข้ ไม่หิว ไม่กระหาย เป็นใจที่สวยงาม มีที่พึ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ชาวพุทธทุกๆคนปฏิบัติธรรมทั้ง ๓ นี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง ถ้าปรารถนาความสุข ความเจริญที่แท้จริง จะต้องบำเพ็ญธรรมทั้ง ๓ นี้ [/FONT]
    [FONT=&quot]ทาน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือการให้[/FONT][FONT=&quot] มีอยู่ ๔ชนิดด้วยกัน คือ ๑. วัตถุทาน ๒. วิทยาทาน ๓. อภัยทาน ๔. ธรรมทาน เป็นสิ่งที่เราสามารถให้ผู้อื่นได้ จะให้ได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาฐานะของผู้ให้ วัตถุทาน ได้แก่วัตถุต่างๆ เช่นปัจจัย ๔ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือจะเป็นตัวแทนของสิ่งเหล่านี้ก็ได้ คือปัจจัยเงินทอง ดังที่เรามาวัดเราก็มาถวายวัตถุทานกัน บางทีก็เป็นในรูปของอาหารที่ใส่บาตร จีวรที่ถวายให้พระนุ่งห่ม เภสัชยารักษาโรค หรือช่วยสร้างกุฏิวิหาร ที่อยู่อาศัยให้กับพระ ถ้าไม่สะดวกที่จะนำสิ่งเหล่านี้มา เราก็เอาปัจจัยเงินทองใส่ตู้บริจาค หรือใส่ซองมอบให้ไว้กับไวยาวัจกรของวัด โดยแจ้งให้ไวยาวัจกรทราบว่ามีเจตนาที่จะถวายเพื่อสิ่งใด จะถวายเพื่อค่าน้ำค่าไฟ ถวายเพื่อการบำรุงดูแลรักษาวัด เราก็กำหนดไป เขียนไว้ในซอง อย่างนี้เรียกว่าการทำวัตถุทาน เป็นการให้วัตถุ [/FONT]
    [FONT=&quot]วิทยาทาน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือการให้วิชาความรู้[/FONT][FONT=&quot] วิชาความรู้ในที่นี้หมายถึงความรู้ทางโลก ไม่ใช่ความรู้ทางธรรม ให้วิชาความรู้กับผู้อื่นโดยไม่คิดสตางค์ เช่นเป็นครูสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียน แล้วมีฐานะดี มีเงินทองพอกินพอใช้ ก็สอนโดยไม่รับเงินรับทอง ไม่รับเงินเดือน อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นวิทยาทาน หรือเวลาว่างวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุด มีคนมาเชิญให้ไปให้ความรู้แก่ผู้อื่น ไปอบรมผู้อื่น มีความรู้อย่างไรก็ให้ความรู้ไปโดยไม่คิดเงินคิดทอง ถ้าเป็นทหารก็ให้วิชาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทหาร ถ้าเป็นแพทย์ เป็นหมอ ก็ให้วิชาความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย ถ้าเป็นชาวนาชาวไร่ ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีเพาะปลูกพืชพรรณต่างๆ โดยไม่รับเงินทองผลตอบแทนต่างๆ เรียกว่าเป็นการให้วิทยาทาน ให้ความรู้แก่ผู้อื่น [/FONT]
    [FONT=&quot]อภัยทาน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือการให้อภัย[/FONT][FONT=&quot] หมายถึงการยกโทษ ไม่ถือโทษ กับผู้ที่สร้างความปวดร้าวใจ สร้างความทุกข์ สร้างความเสียหายให้กับเรา เช่นขับรถไปเขาอาจจะมาเบียดรถเราทำให้รถเรามีรอยขูดขีด แต่เพราะเป็นคนใจบุญใจกุศล ชอบทำทาน ก็ไม่เอาเรื่องเอาราวกับเขา ให้อภัยทานไป หรือพระเจ้าแผ่นดินให้อภัยโทษ เวลามีคนยื่นฎีกาขออภัยโทษ ก็ลดหย่อนผ่อนโทษลง จากโทษประหารให้เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต โทษจำคุกให้เหลือ ๒๐ ปี อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการให้อภัยทาน หรือไถ่ชีวิตของผู้อื่น ด้วยการซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า เช่น วัว ควาย แล้วปล่อยให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไปตามธรรมชาติ หรือเวลา่ไปตลาดเห็นปลา เต่า หรือสัตว์ชนิดอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่เขาขายในตลาด สงสารอยากจะไถ่ชีวิตเขา ก็ซื้อสัตว์เหล่านี้มาปล่อย เพื่อให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป อย่างนี้ก็เรียกว่าอภัยทาน ให้อภัย ให้ชีวิตกับผู้อื่น หรือเวลาใครมาทำอะไรให้เราโกรธเคือง เราก็ระงับด้วยการให้อภัยทาน ไม่ถือโทษโกรธเคือง ถือว่าเป็นโอกาสดี เมื่อก่อนอยากจะไปทำบุญที่วัด อยากจะทำบุญกับพระอรหันต์ พระสุปฏิปันโน แต่ไม่มีโอกาสได้ไปสักที จู่ๆวันนี้มีคนมาสร้างความทุกข์ใจให้กับเรา ก็เลยถือโอกาสนี้ทำบุญกับเขาไปเลย ให้อภัยเขาไปเลย อย่างนี้ก็ได้บุญมากเหมือนกัน เพราะว่าทำให้ใจเราสงบ ไม่มีเวร ไม่มีกรรมกับใคร [/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมทาน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือ การให้ธรรมะ[/FONT][FONT=&quot] เวลาเห็นคนมีปัญหา มีความทุกข์ใจ แล้วมาขอคำปรึกษา เราก็สอนธรรมะให้กับเขาไป สอนเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เรื่องการปล่อยวาง เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปัญหาของคนเราส่วนใหญ่เกิดจากการไปยึดไปติดกับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง และอยากให้สิ่งนั้นเป็นไปตามปรารถนา ถ้าไม่เป็นไปดังที่ต้องการ ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นทุกข์ ปลงไม่ตก วางไม่ลง ถ้าเขามาปรึกษา ก็บอกเขาว่าปัญหาของความทุกข์นั้น อยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เราไปยึดไปติดด้วย สิ่งที่เราไปยึดไปติด ที่ไปมีปัญหาด้วย เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ เราไปบังคับเขาไม่ได้ เปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ แต่สิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้ก็คือใจของเรา ถ้าใจเราไม่ถือสา ไม่เอาเรื่องเอาราวแล้ว ปล่อยเขาไปตามเรื่องตามราวของเขา เขาจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เท่านี้ใจเราก็จะสงบ จะสบาย คืออย่าไปหวัง อย่าไปอยากกับอะไร เพราะเวลาไปหวัง ไปอยาก เวลาได้มาก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้แล้ว จะทำอย่างไร ก็มีแต่จะกลุ้มอกกลุ้มใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้ามีคนคอยแนะนำเรา ให้ธรรมทานกับเรา เราก็จะเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ เพราะดับทุกข์ได้ด้วยธรรมะ ในบรรดาทานทั้ง ๔ นี้ พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง เพราะว่าการให้ธรรมะเป็นการให้ธรรมโอสถ ให้ยารักษาโรคใจนั่นเอง คนบางคนเป็นถึงมหาเศรษฐี มีเงินทองเป็นร้อยล้าน พันล้าน แต่ใจกลับมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเครียด หาความสุขไม่ได้เลย ก็เพราะว่าใจไม่มีธรรมะนั่นเอง ถ้าใครให้ธรรมะกับเขาได้ และเขาสามารถรับธรรมะไปใช้กับตัวของเขาได้แล้ว เขาก็จะดับทุกข์ภายในใจของเขาได้ แสดงว่าธรรมะมีคุณค่ายิ่งกว่าเงินร้อยล้านพันล้านเสียอีก พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องว่าการให้อะไรไม่มีอะไรจะเลิศยิ่งกว่าการให้ธรรมะ [/FONT]
    [FONT=&quot]ศีล[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]คือการประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เรียบร้อย เป็นปกติ ไม่สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อน ให้กับผู้อื่น[/FONT][FONT=&quot] เช่น ๑. การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ๒. การไม่ลักทรัพย์ ๓. การไม่ประพฤติผิดประเวณี ๔. การไม่พูดปดมดเท็จ ๕. การไม่เสพสุรายาเมา อย่างนี้เรียกว่าศีล เป็นการประพฤติทางกาย และวาจา ที่เป็นปกติ อย่างที่ญาติโยมนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่ในขณะนี้ ก็ถือว่าเป็นปกติ เพราะไม่ได้ไปฆ่าสัตว์ ไม่ได้ไปลักทรัพย์ ไม่ได้ไปประพฤติผิดประเวณี ไม่ได้ไปพูดปดมดเท็จ ไม่ได้เสพสุรายาเมา อย่างนี้เรียกว่าศีล ศีลมีหลายระดับด้วยกัน อย่างศีล ๕ ก็เป็นระดับพื้นฐาน มีศีลที่มากขึ้นไปอีก คือ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคลจะปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติศีลได้มากเท่าไร บุคคลนั้นก็จะเป็นบุคคลที่สวยงามมากขึ้นไปเท่านั้น เพราะศีลคืออาภรณ์ของจิตใจนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot]ความสวยงามที่แท้จริงของคนเราไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหน้าตา[/FONT][FONT=&quot] ไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ แต่อยู่ที่ศีลธรรมภายในใจ จริงอยู่ทางโลกเขาถือรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้าอาภรณ์เป็นเครื่องวัดความสวยงาม เป็นสิ่งที่ทำให้คนสวยงามได้ในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่มีคุณค่ากว่า ที่สวยงามกว่าคือศีลธรรมนี่เอง เพราะเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ ถึงแม้จะทำให้ดูสวยงามขนาดไหนก็ตาม รูปร่างหน้าตาจะดีขนาดไหนก็ตาม ถ้าจิตใจไม่งาม จิตใจขาดศีลธรรมแล้ว ก็จะไม่มีความหมายอะไร ไม่สร้างความประทับใจให้ได้เลย คนที่รู้จักเราในเบื้องต้น เขามักจะชื่นชมยินดีในรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงามของเรา แต่พอได้คบค้าสมาคมกับเรา เริ่มรู้จักนิสัยของเรา เริ่มรู้จักธาตุแท้ของเราแล้ว ถ้าเราเป็นคนที่ไม่มีศีลธรรม เขาก็จะไม่ชอบเรา ไม่ชื่นชมเราอีกต่อไป [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าไปคบกับคนที่มีวาจาสกปรก[/FONT][FONT=&quot] พูดจามีแต่คำหยาบ มีแต่คำเท็จ เวลาโกรธก็ด่าเขาทั่วไปหมด ด่าพ่อ ด่าแม่ อย่างนี้ก็ไม่มีใครอยากจะอยู่ด้วย ต่อให้เป็นถึงนางงามจักรวาลก็ตามเถิด อยู่ไปแล้วเจอแต่คำผรุสวาทอยู่ตลอดเวลา สามีจะรักขนาดไหนก็ทนอยู่ไม่ได้ ดังที่เราก็ทราบกันอยู่ คนบางคนเป็นถึงนางงามจักรวาล แต่ก็ต้องมีการหย่าร้างกัน เป็นเพราะอะไร ก็เป็นเพราะว่าความสวยงามทางรูปร่าง ทางเสื้อผ้าอาภรณ์อย่างเดียวไม่เพียงพอ สิ่งที่จะยึดใจคนได้ ให้คนรัก ชื่นชมยินดี ต้องอยู่ที่ความประพฤติทางกายและทางวาจา นั่นก็หมายถึงว่าต้องมีศีลนั่นเอง มีศีลมากเท่าไร รักษาศีลได้มากเท่าไร ก็เป็นบุคคลที่มีคนชื่นชมยินดี เคารพนับถือ ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้าและอรหันตสาวกทั้งหลาย ท่านเหล่านี้เป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ ถึงแม้ท่านจะสิ้นไปแล้ว ๒๕๐๐ กว่าปี แต่ความดี ความสวยงามของท่าน ยังอยู่ในใจของพวกเราอยู่ทุกวันนี้ พวกเรากราบท่านเหล่านี้ได้ด้วยความเต็มใจ ไม่มีความข้องใจ สงสัยอยู่ในใจของเราเลย เพราะศีลธรรมของท่านนั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมที่เราพึงปฏิบัติอยู่เสมอ[/FONT][FONT=&quot] นอกจากการให้ทาน และรักษาศีลแล้ว ก็คือการภาวนา หมายถึงการพัฒนาจิตใจ การชำระจิตใจ ทำไมถึงต้องมีการชำระจิตใจของเรา ก็เพราะว่าจิตใจของเรายังมีมลทินเครื่องเศร้าหมองอยู่ คือ กิเลสตัณหาทั้งหลาย ได้แก่ โลภ โกรธ หลง ความอยากในกาม อยากมีอยากเป็น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น สิ่งเหล่านี้มีมากน้อยอยู่ในจิตใจเท่าไร ก็จะสร้างความทุกข์ ความไม่สบายใจ แล้วก็จะทำให้ไม่สามารถรักษาศีลได้ ไม่สามารถทำทานได้ ถ้ามีสิ่งเหล่านี้แล้วไม่กำจัด ใจจะไม่สามารถอยู่อย่างสงบสุขได้ จะไม่มีความอิ่ม จะไม่มีความสวยงามด้วยศีล จะมีแต่ทุกข์รุมเร้าใจอยู่เสมอ เราจึงต้องบำเพ็ญภาวนา ภาวนามีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ ๑. สมถภาวนา ๒.วิปัสสนาภาวนา สมถะก็คือ สมาธิ ความสงบตั้งมั่นของจิต วิปัสสนาก็คือ ปัญญา ความรู้ ความฉลาด ธรรมทั้ง ๒ นี้ เป็นเครื่องมือชำระโลภ โกรธ หลง กิเลสตัณหา ให้หมดไปจากจิตจากใจ เหมือนกับเวลาซักเสื้อผ้าที่ต้องมีผงซักฟอก ถ้าซักเสื้อผ้าโดยไม่ใช้ผงซักฟอก คราบสกปรกที่ติดอยู่ในเสื้อผ้าก็จะไม่หลุดออกไป น้ำเปล่าๆอย่างเดียวยังไม่พอเพียงกับการซักฟอกสิ่งสกปรก ต้องมีผงซักฟอกด้วย ถ้ามีผงซักฟอกชนิดดีๆ มีพลังซักฟอกสูง ก็จะทำให้คราบสกปรกที่ติดอยู่ในเสื้อผ้าหลุดออกไปได้อย่างง่ายดาย ฉันใด การซักฟอกจิตใจ การบำเพ็ญภาวนาก็จำต้องอาศัยทั้งสมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา คือ จะต้องมีทั้งสมาธิและปัญญา เพราะธรรมทั้ง ๒ นี้ เปรียบเหมือนกับผงซักฟอกนั่นเอง ถ้ามีแล้วจะสามารถกำจัดคราบสกปรกในใจให้หมดสิ้นไปได้ ทานและศีลที่ปฏิบัติเป็นเหมือนกับน้ำที่ใช้ซักฟอกเสื้อผ้า ช่วยซักฟอกกิเลสตัณหา เครื่องเศร้าหมองที่มีอยู่ในจิตใจให้เบาบางลงไปได้ จากหนักให้เป็นเบาได้ แต่ไม่สามารถทำลายให้หมดแบบถอนรากถอนโคนได้ ต้องอาศัยการภาวนา คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา [/FONT]
    [FONT=&quot]สมถภาวนา[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]หมายถึงการทำใจให้สงบ[/FONT][FONT=&quot] ใจไม่สงบเพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหานั่นเอง ทำให้ใจคิดปรุงอยู่ตลอดเวลา เห็นอะไรก็อยากจะได้ เห็นอะไรไม่พอใจก็เกิดความโกรธขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น เราจึงต้องทำใจให้สงบ ถ้าใจไม่สงบ ใจจะไม่มีความสุข ไม่มีเหตุไม่มีผล ก่อนที่จะสอนใจด้วยวิปัสสนาปัญญา ให้ใจรู้จักความผิดถูกดีชั่วทั้งหลาย ในเบื้องต้นจึงต้องทำใจให้สงบก่อน ถ้าใจไม่สงบแล้ว จะสอนใจไม่รู้เรื่อง ใจจะไม่ฟัง จะมีกิเลส ตัณหา มาคอยคัดค้านอยู่เสมอ สอนให้ทำดีก็จะบอกว่า ทำดีไปทำไม คนทำชั่วได้ดีมีถมไป อย่างนี้เป็นต้น นี่คือลักษณะของใจที่ยังไม่สงบ แต่ถ้าใจที่สงบแล้วจะไม่มีกิเลสตัณหามาขัดขวาง เพราะในขณะที่ใจสงบ กิเลสตัณหาจะสงบตัวลงอยู่ชั่วคราว พร้อมกับความสงบนั้น [/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ความสงบโดยลำพังยังไม่พอเพียงกับการทำลายกิเลส ไม่สามารถที่จะถอนรากถอนโคนกิเลสได้[/FONT][FONT=&quot] เพราะกิเลสตัณหาเกิดจาก โมหะ ความหลง อวิชชา ความไม่รู้จริง และสิ่งที่จะแก้โมหะกับอวิชชาได้ ต้องเป็นปัญญาคือความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้น กิเลสจะตายได้จะต้องใช้ปัญญา ปัญญาจะสอนให้รู้ว่าทำไมไม่ควรไปยินดีกับสิ่งต่างๆ เวลาที่คิดว่าถ้ามีเงินมีทองมากๆ จะมีความสุข เป็นเพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของเงินทองว่าเป็นอย่างไร มีแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเท่านั้นที่จะเข้าใจถึงธรรมชาติของเงินทอง ว่าเงินทองไม่สามารถซื้อความสุขใจได้ ดังที่ได้แสดงไว้เมื่อสักครู่นี้ว่า ขนาดมหาเศรษฐี มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน ยังมีความทุกข์ใจเลย ยังมีความไม่สบายใจ ยังมีความกังวลใจ นั่นก็เป็นเพราะว่าเงินทองไม่ได้ทำให้ใจมีความสุขได้อย่างแท้จริง เพราะโดยธรรมชาติของเงินทองแล้วมันก็เป็นทุกข์ เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นของๆเรา เงินทองมาวันนี้ พรุ่งนี้ก็อาจจะหมดไปได้ เวลามีก็มีความสุข ดีอกดีใจชั่วขณะหนึ่ง พอเวลาไม่มีขึ้นมาก็จะมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสียใจ [/FONT]
    [FONT=&quot]แต่เราไม่รู้กันว่าใจของเราถูกความหลงครอบงำอยู่ ทำให้ เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว[/FONT][FONT=&quot] เห็นสิ่งที่เป็นของไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นของๆเรา[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เลยไปกอดอยู่กับกองทุกข์[/FONT][FONT=&quot] อยู่กับกองอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชีวิตของพวกเราทุกคนจึงไม่มีความสุข ไม่พ้นทุกข์กันสักที เพราะไม่มีปัญญาที่จะสอน ที่จะบอก ให้ปล่อยวาง ให้ตัดสิ่งเหล่านี้ให้ออกไปจากใจ ใจของเรายังมีความยินดีกับ ลาภ ยศ สรรเสริญ กามสุข โดยที่ไม่รู้จักธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นของไม่เที่ยง ทุกข์เพราะไม่ใช่เป็นสมบัติที่แท้จริงของเรา อยู่กับเราวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องจากเราไป เวลาจากไป เราก็ทุกข์ เราก็ร้องห่มร้องไห้ อย่างนี้เราก็เห็นกันอยู่ รู้กันอยู่ แต่ทำไมเราถึงไม่ตัด เราถึงไม่ปล่อย เราถึงไม่วาง เพราะใจของเราไม่สงบนั่นเอง ใจของเรายังไม่มีความสุขในตัวของมันเอง แต่ถ้าได้ทำใจของเราให้สงบด้วยสมถภาวนาแล้ว ใจจะมีความอิ่ม ใจจะมีความสุข ใจจะมีความพอ [/FONT]
    [FONT=&quot]ในเบื้องต้นจึงต้องสร้างความสุขให้เกิดขึ้นที่ใจก่อน ด้วยการเจริญสมถภาวนา[/FONT][FONT=&quot] วิธีเจริญสมถภาวนาในเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ก็คือการไหว้พระสวดมนต์ ด้วยการนั่งขัดสมาธิ หลับตา แล้วก็สวดมนต์ไปภายในใจของเรา สวดไปเรื่อยๆ สวดไปให้มากๆ สวดไปนานๆ ขณะที่สวดก็อย่าไปคิดถึงเรื่องอะไร ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับบทสวดมนต์ สวดไปเรื่อยๆ นานๆ แล้วใจจะค่อยๆสงบ ใจจะค่อยๆเย็น สวดไปจนรู้สึกไม่ค่อยอยากจะสวดก็หยุด แล้วกำหนดดูลมหายใจต่อไป ดูลมหายใจเข้า ดูลมหายใจออก ดูไปเรื่อยๆ ด้วยสติ แล้วลมหายใจนี้จะพาใจเข้าสู่ความสงบ เข้าสู่ความนิ่ง เมื่อใจสงบ ใจนิ่งแล้ว ใจก็จะปล่อยลมหายใจไปเองโดยปริยาย ใจก็จะอยู่กับสักแต่ว่ารู้ มีอารมณ์เดียวเท่านั้นคืออุเบกขา คือรู้อยู่ตามลำพังของรู้ ใจเป็นผู้รู้ รู้อยู่กับความรู้นั้นเท่านั้นเอง ในขณะนั้นจะมีความสุข มีความสบายใจ แล้วจะรู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่ภายนอกแต่อยู่ที่ภายในใจ ไม่ได้อยู่ที่ลาภ ไม่อยู่ที่ยศ ไม่ได้อยู่ที่สรรเสริญ ไม่ได้อยู่ที่กามสุข ถ้าได้พบกับสุขแบบนี้แล้ว เราจะพยายามรักษาสุขแบบนี้ให้มีอยู่ไปเรื่อยๆ แต่มันจะไม่อยู่ไปเรื่อยๆ เพราะจะอยู่ในสมาธิ ในความสงบนี้ได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้นเอง หลังจากนั้นแล้วใจก็จะต้องถอนออกมาจากความสงบ เมื่อถอนออกมาแล้ว กิเลสที่สงบตัวไปกับความสงบของใจ ก็จะออกมาเพ่นพ่านอีก เพราะว่าความสงบหรือสมาธินี้ ไม่สามารถทำลายฆ่ากิเลสให้หมดไปได้ สมาธิเปรียบเหมือนกับหินที่ทับหญ้าไว้ เวลาที่หินทับหญ้าอยู่ หญ้าก็ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ แต่ถ้ายกหินออกไป ทิ้งไว้สักวันสองวัน หญ้าก็จะเจริญงอกงามกลับขึ้นมาอีก เพราะยังไม่ได้ถอนรากถอนโคนของหญ้านั่นเอง [/FONT]
    [FONT=&quot]กิเลสก็เช่นกันขณะที่เราทำสมาธิทำใจให้สงบ กิเลสก็สงบตัวไปด้วย แต่กิเลสยังไม่ตาย[/FONT][FONT=&quot] สิ่งที่จะทำลายกิเลสให้ตายได้ต้องเป็นปัญญา คือความรู้ว่าเราไม่ควรโลภ เพราะเหตุใดเราจึงไม่ควรโลภ ไม่ควรอยาก เพราะว่าสิ่งที่เราโลภ เราอยาก ไม่ได้ให้ความสุขกับเราอย่างแท้จริง เพราะสิ่งต่างๆที่เราอยากทั้งหมด คือสภาวธรรมทั้งหลายนั้น เป็นไตรลักษณ์ทั้งหมด เป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปราศจากตัวตน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมบังคับให้อยู่กับเราไปตลอดได้ ให้เป็นไปดังที่เราปรารถนาได้ตลอดเวลานั่นเอง ถ้าเราเข้าใจหลักนี้แล้วเราก็จะไม่กล้าไปยึดไปติดกับสิ่งเหล่านี้ เพราะเวลาไปยึดไปติด ใจก็จะมีความทุกข์ ถ้าไปยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ กามสุข เวลาสิ่งเหล่านี้เสื่อมไป คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เกิดนินทา เกิดความทุกข์ขึ้นมา ใจก็จะมีแต่ความเศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ บางทีอาจจะอยู่ต่อไปไม่ได้ ถึงกับฆ่าตัวตายก็มี ดังที่ได้ยินได้ฟังกันทุกวันตามข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ดี ในวิทยุโทรทัศน์ก็ดี สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ นั่นก็เป็นเพราะว่าบุคคลเหล่านั้นขาดธรรมะ ไม่ปฏิบัติธรรม คือไม่ทำบุญทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่บำเพ็ญภาวนานั่นเอง จึงทำให้เวลามีปัญหาขึ้นมาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีที่พึ่ง ไม่มีเครื่องมือที่จะระงับดับความทุกข์เหล่านี้ [/FONT]
    [FONT=&quot]คนฉลาดจึงเข้าหาพระศาสนา เข้าหาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์[/FONT][FONT=&quot] เพราะพระท่านจะสอนให้ปฏิบัติธรรม ทำบุญให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อนำเอาไปปฏิบัติแล้ว ชีวิตจะดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่นดีงาม จนเป็นเศรษฐีที่แท้จริง คือเป็นเศรษฐีธรรม เป็นเศรษฐีทางด้านจิตใจ คือใจจะเต็มเปี่ยมด้วยความสุข จะไม่มีความทุกข์อยู่ในใจเลย เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านได้ประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งถึงจุดสูงสุด กลายเป็นมหาเศรษฐีธรรม เป็นมหาเศรษฐีของความสุข คือบรมสุขนั่นเอง ได้แก่พระนิพพาน นิพพานัง ปรมัง สุขัง ไม่มีความสุขอะไรจะวิเศษเท่ากับความสุขของพระนิพพาน จึงขอฝากเรื่องราวการปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา ที่เป็นปัจจัย ๔ ของใจ ไว้รักษาใจ ให้อยู่ด้วยความสงบ ด้วยความสุข ด้วยความเจริญที่แท้จริง การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้[/FONT]
     
  4. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    อริยสัจ 4

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot] อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของพระพุทธศาสนา ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
    1. ทุกข์
    คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ คนทุกคนต่างก็เคยพบกับความทุกข์ หรือประสบปัญหาบางอย่างมาแล้วทั้งนั้น เช่น นักเรียนที่สอบตกก็เป็นทุกข์ เศรษฐีที่หาเงินได้ยังไม่มากพอตามที่ตนต้องการก็เป็นทุกข์ คนจนก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งความทุกข์และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีได้ทุกขณะ ความจริงก็คือว่าความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเราจะต้องไม่ประมาท และพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาทุกเรื่อง หน้าที่ต้องทำในทุกข์ คือ การกำหนดรู้ในทุกข์ หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
    หมวดธรรมที่ว่าทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ 5 ในส่วนที่เป็นจิตและเจตสิก
    จิตและเจตสิก
    จิต หรือ วิญญาณธาตุ แปลว่า สภาวะที่รู้ เมื่อมีร่างกายจึงรู้คิด รู้พิจารณา รู้จักไตร่ตรอง ใคร่คราญได้ หมายถึง สภาพที่รู้คิด รู้พิจารณา ไตร่ตรอง โดยต้องมีร่างกายที่มีอาการ 32 ครบ เป็นเครื่องมือ หรือภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์
    เจตสิก หมายถึง สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต มีจิตฝ่ายกุศล จิตฝ่ายอกุศล และจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่วชีวิตประกอบด้วย ร่างกายและจิต (รูปและนาม)
    1. รูป หมายถึง ร่างกาย คือ ส่วนประกอบของชีวิตเป็นสสาร (ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ)
    2. เวทนา หมายถึง อาการที่เป็นความสุข ความทุกข์ และไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายและใจ เรียกว่า กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์
    3. สัญญา หมายถึง ความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ ของใจ
    4. สังขาร หมายถึง การคิดปรุงแต่งทั้งทางดี ทางชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว ของใจ
    5. วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งทางอารมณ์ในสิ่งต่างๆ ของใจ มี 6 ทาง คือ ตา (จักขุ) หู (โสต) จมูก (ฆานะ) ลิ้น(ชิวหา) กาย (กายะ) ใจ (มโน) ประกอบด้วย
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่งต่างๆ เรียก จักขุวิญญาณ
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ เรียก โสตวิญญาณ
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ เรียก ฆานวิญญาณ
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ เรียก ชิวหาวิญญาณ
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ เรียก กายวิญญาณ
    - ความรู้แจ้งทางอารมณ์เมื่อใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ เรียก มโนวิญญาณ
    กระบวนการของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เราโดยสังเขป จะเกิดขึ้นเมื่อใด
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ตามองเห็นสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่หูได้ยินเสียงสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่จมูกสูดดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ลิ้นได้ลิ้มรสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่กายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แล้วเกิดความไม่พอใจ โดยแสดงอาการท่าทางต่างๆ ออกมาทางกาย ทางวาจา ให้เห็น นั่นคือ ความทุกข์
    ความรู้แจ้งทางอารมณ์ที่ใจได้สัมผัสอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ ที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา เพราะจำได้หมายรู้ (สัญญา) แล้วคิดปรุงแต่งไม่ดี (สังขาร) แล้วเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยา โกรธ พยาบาทปองร้าง ฯลฯ
    นั่นคือ ความทุกข์ใจ ถ้าควบคุมความรู้สึกในใจที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ ก็จะแสดงออกทางกาย ทางวาจาให้เห็น
    การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ทำอย่างไรทุกข์ใจจะไม่เกิด
    เมื่อตาได้สัมผัสกับรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้สูดดมกลิ่น ลิ้มได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจได้นึกคิดต้องระวังใจ ไม่ให้คิดปรุงแต่ง จำได้หมายรู้ในเรื่องทางที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา หรือ ความปรารถนาอยากได้สิ่งที่เกินขอบเขตวิสัยของตนที่จะทำได้ แล้วความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นครอบง่ำจิต
    สรุป อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
    [/FONT]
    [FONT=&quot] 2. สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์[/FONT][FONT=&quot] ความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนนั้นย่อมเกิดจากสาเหตุบางอย่าง มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ ดังพุทธดำรัสว่า [/FONT][FONT=&quot]“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ตัวอย่างเช่นนี้ นักเรียนที่สอบตกอาจเป็นเพราะเกียจคร้านในการอ่านหนังสือ เศรษฐีที่หาเงินได้ยังไม่มากพอตามที่ตนต้องการ อาจเป็นเพราะมีความโลภจนเกินไปเป็นต้น ซึ่งสาเหตุของความทุกข์นั้น คือความอยากที่เกินพอดี ซึ่งเรียกว่า ตัณหา มี 3 อย่างคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    หมวดธรรมที่ว่าด้วย สมุทัย ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท, นิวรณ์ 5 และอุปาทาน 4
    1.ปฏิจจสมุปบาท
    สภาพที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น หรืออิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น กล่าวโดยหลักการ คือ เมื่อสิ่งเหล่านี้มี สิ่งเหล่านั้นจึงมีเพราะสิ่งเหล่านี้เกิด สิ่งเหล่านั้นจึงเกิดเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่มี สิ่งเหล่านั้นจึงไม่มี เพราะสิ่งเหล่านี้ดับ สิ่งเหล่านั้นจึงดับ
    สรุป
    ความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เกิดจากการกระทำเหตุหรือปัจจัยที่ไม่เหมาะสม เช่น ความไม่ดี ความประมาท ความเกียจคร้าน เป็นต้น ผลก็เป็นความทุกข์ เช่น ความเดือดร้อน ความไม่เจริญก้าวหน้า ความวิบัติ เป็นต้น
    2. นิวรณ์ 5
    ได้แก่ 1. กามฉันทะ 2. พยาบาท 3. ถีนมิทธะ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ 5. วิจิกิจฉา
    นิวรณ์ 5 แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องขัดขวาง เป็นเครื่องห้ามมิให้บรรลุธรรมเกิดขึ้น มิให้ฌาน อภิญญา สมาบัติ มรรค ผล เกิดขึ้นได้ เป็นเครื่องกีดขวาง ปิดกั้นการกระทำความดี คือ
    1.กามฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ 5 มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นิวรณ์นี้ เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้เกิดความหมกมุ่นครุ่นคิด หาแต่กามคุณที่ตนปรารถนา ทำให้จิตใจไม่เป็นสมาธิในการทำความดี ในการปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้บรรลุกุศลธรรมได้
    2.พยาบาท คือ ความปองร้าย ความคิดอาฆาตมาดร้าย ความไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา นิวรณ์ข้อนี้ เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้เกิดความขุ่นเคือง ความหม่นหมองใจ ทำให้จิตใจไม่มีปีติปราโมทย์ในการทำความดี ในการปฏิบัติ ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
    3.ถีนมิทธิะ คือ ความหอหู่ท้อแท้ใจและความง่วงเหงาหาวนอน นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้จิตใจหอหู่ท้อแท้ ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ทำให้จิตปราศจากกุศลจิต คือทำให้จิตไม่มีแก่ใจที่จะทำความดี ไม่คิดปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
    4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ ได้แก่ ความคิดฟุ้งซ่าน แลบไหลไปในอารมณ์ต่างๆ คิดเลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่างๆ และเกิดความรำคาญใจ ร้อนใจ กลุ้มใจในความผิดพลั้งพลาดต่างๆ เช่น มัวคิดไปว่า ตนเองได้ทำความชั่ว ความผิดพลาดไว้มาก ไม่ได้ทำความดีไว้เลย แล้วเกิดความร้อนใจ รำคาญใจในภายหลัง นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว ย่อมทำให้จิตไม่มีความสุข ไม่สบายใจในการทำความดี ในการปฏิบัติธรรม ขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
    5. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัย ความลังเลใจ อันได้แก่ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นต้น นิวรณ์ข้อนี้เมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจแล้ว จะทำให้ขาดวิจารณ์ ไม่สามารถพินิจพิจารณาตัดสินใจทำความดี ตัดสินใจปฏิบัติธรรมได้ ย่อมขัดขวางมิให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้
    สรุป
    นิวรณ์ 5 เมื่อเกิดขึ้นอยู่ในใจของผู้ใดแล้ว ย่อมขัดขวาง หรือขวางกั้นในการทำความดีหรือการปฏิบัติหน้าที่การงานทั้งทางโลกและทางธรรม มิให้เกิดความเจริญก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จ
    3. อุปาทาน4
    กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกาม (กามคุณ 5 = รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยทิฏฐิ (ความเห็น) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยศีลวัตร (ข้อปฏิบัติ) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน (การแบ่งเราแบ่งเขา) อุปาทาน เป็นชื่อของกิเลสกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงออกมาในลักษณะที่ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยอำนาจของกิเลสนั้น ๆ โดยความหมายทั่วไป อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
    1.กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกาม คือการที่จิตเข้าไปยึดถือในวัตถุกามทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันตนกำหนดว่าน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความยึดถือของจิตนั้นมีความรู้สึกว่า "นั่นเป็นของเรา" เช่นเห็นรูปสวยงามเข้า ก็อยากได้มาเป็นของตนด้วย อำนาจตัณหา เมื่อได้มาไว้ในครอบครองแล้ว จะยึดมั่นถือมั่นว่า รูปนั่นของเรา ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะยึดถือรูปเป็นต้น อย่างอื่นในทำนองเดียวกัน ความทุกข์ในชีวิตจะเกิดขึ้น เพราะการแสวงหา การครอบครอง การเปลี่ยนแปลง หรือพลัดพรากไปของวัตถุกามเหล่านั้น
    2.ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด เช่นยึดถือในลัทธิธรรมเนียม ความเชื่อถือต่าง ๆ ขาดการใช้ปัญญา พิจารณาหาเหตุผล เช่น ถือว่าการกระทำดี ชั่วไม่มี ความสุขความทุกข์ในชีวิตของคนไม่ได้เกิดมาจากเหตุอะไรทั้งสิ้น ไม่มีบุญบาป บิดา มารดา พระอริยบุคคลเป็นต้น ความยึดถือบางอย่างนอกจากจะละได้อยากแล้ว ยังนำไปสู่การถกเถียง การแตกแยกกัน จนต้องประสบทุกข์ในอบายเพราะทิฏฐุปาทานบางอย่าง
    3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในศีลวัตร และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ตนประพฤติมาจนชินด้วยความเข้าใจว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ถูกต้องเป็นต้น โดยทั่วไปเช่นการยึดติดในธรรมเนียมบางอย่าง พิธีกรรมบางประเภท ถือฤกษ์ผานาที ทิศดีทิศไม่ดี วันดีวันร้าย จนถึงการถือวัตรปฏิบัติที่งมงายต่างๆ เช่น การทำตนเลียนแบบสุนัขบ้าง โคบ้าง โดยเข้าใจว่า จากการทำเช่นนั้นทำให้ตนได้ประสบบุญ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า จนถึงละสิ้นทุกข์ เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นต้น
    4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นวาทะว่าตน โดยความหมายทั่วไป หมายถึงยึดถือในทำนองแบ่งเป็นเรา เป็นเขา เป็นพวกเราพวกเขา จนถึงการยึดถือว่ามีตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ตนนั่นเองเป็นผู้มี ผู้รับ ผู้ไปในภพต่าง ๆ เสวยผลบุญบาปต่าง ๆ ที่ตนทำไว้ โดยขาดการมองตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลายเท่านั้น
    อุปาทานทั้ง 4 ประการนี้ ที่ทรงแสดงไว้ในปฏิจสมุปบาทนั้น อุปาทานอยู่ในฐานะเป็นปัจจุบันเหตุ ร่วมกับตัณหา และด้วยอำนาจแห่งอุปาทานนี้เอง ที่ทำให้ได้ประสบความทุกข์ต่างๆ
    สรุป สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ
    [/FONT]
    [FONT=&quot] 3. นิโรธ[/FONT][FONT=&quot] คือ ความจริงว่าด้วยความดับทุกข์ กล่าวคือ ความทุกข์นั้นเมื่อเกิดได้ก็ดับได้ เมื่อความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเราดับสาเหตุนั้นเสีย ความทุกข์นั้นก็ย่อมดับไปด้วย ดังพุทธดำรัสว่า[/FONT][FONT=&quot] “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ” ความทุกข์หรือปัญหาของคนเรานั้น เมื่อเกิดแล้วก็จะไม่คงอยู่อย่างนั้นเป็นนิจนิรันดร์ แต่อยู่ในวิสัย ที่เราสามารถจะแก้ไขได้ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มากก็น้อย และอยู่ที่ว่ามีความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขหรือไม่
    หมวดธรรมที่ว่าด้วยนิโรธ ได้แก่ นิพพาน
    นิพพาน
    คำว่า“นิพพาน” แปลว่า ดับเย็น นิพพานในพระพุทธศาสนา มีนัยที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดอยู่ 3 อย่างคือ
    1.การสิ้นกิเลส หรือการดับกิเลส เรียกว่า นิพพาน
    2 ผลที่เกิดขึ้นเป็นความสงบปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือภาวะที่ปราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิ้นกิเลสนั่นเอง เป็นตัวนิพพาน
    3. ธรรมธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับของกิเลสและเป็นสภาพที่มีอยู่นิรันดร เมื่อใครปฏิบัติหรือลุถึง กิเลสของบุคคลนั้นก็ดับไป ธรรมธาตุอันนี้ถูกว่าจัดว่าเป็นนิพพาน หรือบางทีก็เรียกว่า “นิพพานธาตุ” ความแตกต่างระหว่างความหมายทั้ง 3 นัยนี้ได้โดยง่าย โดยพิจารณาไปในแง่ของเวลาคือ นิพพานอย่างที่ 1 คำนี้เป็นอาการนาม หมายถึงอาการที่กิเลสดับลงหรือสิ้นลง จึงมีระยะเวลาชั่วขณะจิตเดียวหรือแวบเดียว ส่วนตัว นิพพานอย่างที่ 2 เป็นภาวะนาม หมายถึงความที่ทุกข์ไม่มี มีผลเป็นความไม่ทุกข์อันนี้จะมีระยะยาวไปจนตลอดชีวิตของบุคคลผู้ลุถึงนิพพานนั้น ส่วน นิพพานอย่างที่ 3 นั้น คือว่า เป็นสภาพอย่างนิรันดร ไม่มีเกิดไม่มีดับ เรียกว่าเป็นสิ่งที่กล่าวไม่ได้ว่ามีอายุเท่าไร ท่านใช้คำว่า อชาตัง = ไม่เป็นอยู่, อมตัง = ไม่ตาย เป็นลักษณะนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงอยู่นอกเหนือความมีอายุ นิพพานธาตุโดยนัยกล่าวแล้วนี่เอง หมายถึงนิพพานที่กล่าวถึงใน โลกุตตรธรรม 9. ทำให้เห็นได้ชัดว่านิพพานอย่างที่ 1 เนื่องด้วยมรรค, นิพพานอย่างที่ 2 เนื่องด้วยผล, ส่วนนิพพานอย่างที่ 3 ได้แก่ นิพพานธาตุ อันเป็นของนิรันดรดังกล่าวแล้ว, นิพพาน อย่างที่ 1 เนื่องด้วยมรรค เพราะมีชั่วขณะที่มรรคตัดกิเลส ซึ่งถือกันว่าชั่วขณะจิตหรือแวบเดียว, นิพพานอย่างที่ 2 เนื่องด้วยผล เพราะผลแห่งความสิ้นกิเลสนั้นปรากฏแก่บุคคลนั้น จนตลอดชีวิตของบุคคลนั้น, ส่วนนิพพานอย่างที่ 3 เป็นนิพพานแท้ ไม่ต้องเกี่ยวกับมรรค หรือผล ก็เป็น สิ่งที่ปรากฏตัวอยู่ได้เองแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ทั้งปวงและในกาลทุกเมื่อ.
    ในบาลีอิติวุตตกะ แบ่งนิพพานธาตุเป็น 2 อย่าง คือ นิพพานสำหรับ พระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และนิพพานสำหรับ พระอรหันต์ที่ดับขันธ์แล้ว เมื่อกล่าวโดยนัยนี้ นิพพานสำหรับพระอรหันต์ผู้มีชีวิตอยู่ก็คือนิพพานอย่างที่ 2 ข้างต้น และนิพพานสำหรับพระอรหันต์ผู้ดับขันธ์แล้วก็คือนิพพานอย่างที่ 3
    ในบาลีอังคุตตรนิกาย กล่าวถึงนิพพานโดยยกบุคคลเป็นที่ตั้ง สรุปได้เป็น 2 พวกอย่างเดียวกัน คือ นิพพานที่มีเชื้อเหลือ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และนิพพานหมดเชื้อโดยสิ้นเชิง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    สรุป นิโรธ (ความดับทุกข์) เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง หรือทำให้เกิดมีขึ้น
    [/FONT]
    [FONT=&quot] 4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
    1) เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
    2) ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ ไม่ลุ่มหลงมัวเมากับความสุขทางกาย ไม่พยาบาทและไม่คิดทำร้ายผู้อื่น
    3) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
    4) กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ ไม่ทำลายชีวิต ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดทางกาม
    5) เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ทำกิจการในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนทั่วไป
    6) พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) คือความพยายามที่จะป้องกันมิให้ความชั่วเกิดขึ้น ความพยายามที่จะกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ความพยายามที่จะสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและความพยายามที่จะรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ตลอดไป
    7) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความหลงไม่ลืม รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
    8) ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ การที่สามารถตั้งจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
    หมวดธรรมที่ว่าด้วยมรรค
    ได้แก่ อธิปไตย 3, วิปัสสนาญาณ 9 และมงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส, ประพฤติพรมหจรรย์, เห็นอริยสัจ และบรรลุนิพพาน
    1. อาธิปไตย 3
    (ความเป็นใหญ่) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    1.อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ หมายถึง กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ
    2.โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำด้วยปรารภนิยมของโลกเป็นประมาณ
    3.ธัมมาธิปไตย ถือธรรมะเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริงสมควรตามธรรม เป็นประมาณ
    สรุป ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง ต้องเป็นตามหลัก ธัมมาธิปไตย
    2. วิปัสสนาญาณ 9 :
    วิปัสสนา แปลว่า การทำให้แจ้ง ญาณ แปลว่า ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ทำให้ดับทุกข์ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง มี 9 อย่าง
    1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนาม
    2) ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    3) ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ความรู้อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นโทษ
    5) นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นด้วยความหน่าย
    6) มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ความรู้หยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้อันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    8) สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ความรู้อันเป็นโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    9) สัจจานุดลมิกญาณ หมายถึง ความรู้ที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
    3. มงคลที่ 38 ได้แก่
    1. มงคลที่ 31 ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)
    คนเราเมื่อศึกษาจะพบว่า ยังมีนิสัยไม่ดีบ้าง มีความประพฤติที่ไม่ดีบ้าง ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นนั้นยังมีอยู่อีกมาก เช่น เคยมักโกรธ เห็นแก่ตัว อิจฉาริษยา ซึมเซา ท้อถอย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจัดการแก้ไขให้ดีขึ้น ด้วยอาการที่เรียกว่า การบำเพ็ญตบะ หรือ การทำความเพียรเผากิเลส
    การบำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว คือกิเลสทุกชนิดให้ร้อนตัวทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจไม่ติด ต้องเผ่นหนีไปแล้ว ใจก็จะผ่องใส หมดทุกข์ การที่เราจะขับไล่สิ่งใด เราก็จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อฝืนความต้องการของสิ่งนั้น เหมือนการไล่คนออกจากบ้าน เขาอยากได้เงิน เราก็ต้องไม่ให้ อยากกินก็ไม่ให้กิน คือ ต้องฝืนใจของเขา เขาจึงจะไป การไล่กิเลสออกจากใจก็เหมือน ฉะนั้นหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส
    ประเภทของการบำเพ็ญตบะ
    การฝืนความต้องการของกิเลส เพื่อไล่กิเลสออกจากใจ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
    1. สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป เช่นโลภกำจัดโดยให้ทาน ชอบโกรธผู้อื่น แก้โดย แผ่เมตตา ขี้เกียจ แก้โดย ขยันทำ เป็นต้น
    2. ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น ใช้ปฏิวัติอุปนิสัยได้รวดเร็วเฉียบพลัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความอดทน มีความเพียรสูงจึงจะทำได้
    วิธีปฏิบัติเผากิเลสในชีวิตประจำวัน
    ทำได้ดังนี้
    1. ฝึกความอดทน
    2. อินทรีสังวร คือ การสำรวมระวังตน(กาย วาจาและใจ)โดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับเหตุการณ์ที่จะเกิดแล้วผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ แล้วทำความรู้เท่าทันกับเหตุการณ์นั้น ไม่เกิดเป็นความโลภ ความโกรธและความหลง เป็นต้น
    3. มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม เนื่องจากคนเราส่วนใหญ่มักพอจะทราบอยู่ว่าอะไรดี อยากจะได้สิ่งที่เห็นว่าดีนั้นเกิดขึ้นกับตัว แต่ก็มักทำความดีนั้นไปได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ทั้งนี้เพราะขาดความเพียร
    สรุป ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
    มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์
    แปลว่า การประพฤติเยี่ยงพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ
    หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลส
    วิธีประพฤติพรหมจรรย์
    1. พรหมจรรย์ขั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน
    - ทาน คือ การรู้จักการสละวัตถุภายนอกที่เป็นส่วนเกิน ให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่า หรือได้รับความทุกข์เดือด เพื่อให้เขามีโอกาส หรือพ้นจากความทุกข์เดือดตามอัตภาพเขา
    - เวยยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือกิจที่ชอบ เช่น สาธารณกุศล สาธารณประโยชน์
    - รักษาศีล 5 โดยเฉพาะศีลข้อ 3 ไม่ประพฤตินอกใจสามี-ภรรยา
    2. พรหมจรรย์ขั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน
    - อปปมัญญา คือ การแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย แม้เขาจะเป็นศัตรูก็ตาม
    - สทารสันโดษ คือ พอใจยินดีเฉพาะคู่ครองของตน และหาโอกาสรักษาศีล 8 บ้างตามกำลัง
    - เมถุนวิรัติ คือ เว้นขาดจากการครองคู่ ได้แก่ ผู้ที่ไม่แต่งงาน หรือเป็นนักบวช
    3. พรหมจรรย์ขั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน
    - วิริยะ คือ ความเพียรตั้งใจทำฝึกสมาธิตลอดชีวิต
    - ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล 8 ตลอดชีวิต
    - อริยมรรค คือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 พร้อมบริบูรณ์อยู่ในตัวพรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก
    สรุป ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
    มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจจ์ : เห็นความจริงอันประเสริฐ
    ความหมาย การเห็นเกี่ยวกับความจริงของโลกและชีวิตว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจแก่นแท้ของชีวิต อริยสัจจ์ 4 เป็นความจริงที่มีอยู่คู่โลก แต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือทั้งรู้ทั้งเห็น แล้วทรงชี้ให้ดู ได้แก่
    1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
    - สภาวทุกข์ (ทุกข์ประจำ) คือ ความทุกข์ที่เกิดจากตัวเอง ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความทุกข์ประเภทนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
    - ปกิณกทุกข์ (ทุกข์จร) คือ ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุภายนอก เมื่อกระทบตนแล้วทำให้เกิดอาการ เช่น แห้งใจ น้อยใจ ท้อใจ กลุ้มใจ คร่ำคราญ ร่ำไรรำพัน เจ็บไข้ได้ป่วย ฯลฯ ความทุกข์ประเภทนี้ ผู้มีปัญญาสามารถหลีกเลี่ยงได้
    2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงค้นความจริงว่า ความทุกข์เกิดจาก ตัณหา (ความดิ้นรนทะยานอยากในใจ) และทรงแยกอาการออกเป็น 3 ลักษณะ
    - กามตัณหา คือ ความอยากได้ หรืออยากยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เมื่อไม่ได้ก็เกิดเป็นความทุกข์ ทั้งกายและใจ
    - ภวตัณหา คือ ความอยากมีอยากเป็น เมื่อใจเกิดความอยากมีอยากเป็นตามที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นกับกายและใจของผู้นั้น
    - วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เมื่อพ้นสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ กายและใจก็เป็นทุกข์ เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็นคนแก่ อยากไม่เป็นคนขี้โรค เป็นต้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้นกับใจของผู้นั้น
    3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือดับปัญหาได้สิ้นเชิง หรือ ภาวะที่ไม่ความทุกข์ ภาวะที่ไม่มีปัญหา หรือ ภาวะที่เป็นความสุขสงบ หรือภาวะเจริญก้าวหน้า หรือประสบความสำเร็จในชีวิต
    4. มรรค คือ ทางหรือวิธีการปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ด้วยการปฏิบัติตามทางมัชฌิมาปฏิปทา 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
    วิธีเห็นอริยสัจจ์
    คนทั่วไปแต่เห็นอริยสัจจ์ได้แต่เพียงคิดและรู้อย่างผิวเผินเท่านั้น ฉะนั้นจึงประสบกับความทุกข์ทั้งกายและใจในการดำรงชีวิตคละเคล้ากันไปตามความมากน้อยแห่งเหตุและปัจจัยที่กระทำผู้ที่เห็นอริยสัจจ์ จะเห็นถึงสภาพที่แท้จริงของชีวิตว่ามีแต่ความทุกข์ เห็นถึงเหตุของความทุกข์เหล่านั้นอย่างชัดเจนว่ามาจากความดิ้นรนทะยานอยากในใจ เห็นแนวทางที่จะกำจัดสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น โดยปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 และเห็นอย่างชัดแจ้งถึงสภาพที่หมดทุกข์แล้ว่า มีอยู่จริงและมีความสุขมากเพียงใด จึงเป็นคนระมัดระวังไม่ประมาททั้งกาย วาจา ใ จ มั่นคนอยู่ในความดี เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดบางเบา หรือหมดไป ตามแนวทางที่ได้เห็นแล้วนั้น
    มงคลที่ 34 ทำนิพพานให้แจ้ง
    ตราบใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระนิพพาน สัตว์โลกทั้งมวลจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏร่ำไป อันเป็นไปตามกฎแห่งวัฏฏะ 3 คือ กิเลส กรรมและวิบาก กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก คือให้เกิดผล และวิบากคือผลกรรมที่จะอำนวยให้ไปเกิดในภูมิในภพต่างๆ เมื่อยังมีกิเลสอยู่ ก็จะกรทำกรรมและจะต้องได้รับวิบากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏอยู่ต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ผู้ที่จะเข้าพ้นสังสารวัฏไปได้ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมให้ได้บรรลุพระนิพพาน บรรลุพระนิพพานเมื่อใด ก็ข้ามพ้นสังสารวัฏได้เมื่อนั้น ตราบใดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ตราบนั้นก็ชื่อว่าตกอยู่ในห้วงทุกข์ พ้นสังสารวัฏเมื่อใด ก็พ้นทุกข์ได้เมื่อนั้น
    ลักษณะของ “นิพพาน”
    1. การสิ้นกิเลส หรือการดับกิเลส เรียกว่า นิพพาน
    2. ผลที่เกิดขึ้นเป็นความสงบปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือภาวะที่ปราศจากความทุกข์ อันเกิดจากการสิ้นกิเลสนั่นเอง เป็นตัวนิพพาน
    3. ธรรมธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ดับของกิเลสและเป็นสภาพที่มีอยู่นิรันดร เมื่อใครปฏิบัติหรือลุถึง กิเลสของบุคคลนั้นก็ดับไป ธรรมธาตุอันนี้ถูกว่าจัดว่าเป็นนิพพาน หรือบางทีก็เรียกว่า “นิพพานธาตุ”
    นิพพาน แบ่งตามเหตุที่บรรลุมี 2 อย่าง
    1.สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง การดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ (ร่างกาย) ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ? เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลสแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว (บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลแล้ว) ปลงภาระได้แล้ว (ละความยึดมั่นในเบญจขันธ์ได้แล้ว) ได้บรรลุถึงประโยชน์อย่างยิ่งแล้ว (บรรลุอรหัตตผลแล้ว) สิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว รู้ดีรู้ชอบแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว อินทรีย์ 5 (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)ของภิกษุนั้นยังดำรงอยู่ เพราะอินทรีย์เหล่านั้นยังไม่วิบัติ ภิกษุนั้นจึงยังได้เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ธรรมเป็นที่ลิ้นไปแห่งโลภะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ อันใดของภิกษุนั้น สภาวธรรมนี้เรียกว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”
    2. อนุปาทิเสสนิพพาน
    หมายถึง การดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน? เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลสแล้ว ...... รู้ดีรู้ชอบแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น เป็นอันไปเพลิดเพลินแล้ว จักดับสนิทในโลกนี้ที่เดียว นี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ขุ.อิติ.25/258-9)
    ภาวะนิพพาน
    นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    - ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้น(นิพพาน) มีอยู่ ซึ่งเป็นอายตนะที่ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม เลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณณัญจายตนะ อากิญจิญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ใช่ โลกนี้ก็ไม่ใช่ โลกอื่นก็ไม่ใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็ไม่ใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายอายตนะนั้นเราไม่กล่าวเลยว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งมั่น เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งที่อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์ (25/207) ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์นี้ จะเห็นได้ว่า นิพพานเป็นอาตยะอย่างหนึ่ง คือเป็นธัมมายตนะ ด้วยเป็นธรรมารมย์ เป็นที่ยึดหน่วงของจิต ขณะที่ได้บรรลุโคตรภูญาณแล้วเท่านั้น เพราะผู้บรรลุญาณนี้ เป็นผู้มีใจสะอาด สงบและสว่าง จะพ้นภาวะแห่งปุถุชนแล้วและอายตนะ คือ นิพพานนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่โดยไม่มีการเกิด ไม่มีสิ่งใดหรือใครสร้าง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    อัตถิ ภิกขะเว อชาตัง อภูตัง อะกะตัง อสังขะตัง (25/207) ภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้วมีอยู่อนึ่ง พึงทราบว่า การกล่าวว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีในนิพพาน ส่องความว่า นิพพานมิใช่รูปขันธ์ การกล่าวว่านิพพานมิใช่อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นนั้น ส่องความว่า นิพพานมิใช่นามขันธ์ นิพพาน จึงเป็นขันธวิมุตติ
    การกล่าวว่า นิพพานมิใช่โลกนี้ และมิใช่โลกอื่น หรือมิใช่ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้น ส่องความว่า นิพพานนั้นมิใช่โลกอย่างใดอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์หรือดาราศาสตร์ การกล่าวปฏิเสธการมาการไปเป็นต้น ส่องความว่านิพพานนั้นไม่มีการสัมพันธ์กับโลกอื่น ด้วยไปมาถึงกันโดยอาการปกติก็ดี ด้วยการเวียนเกิดในสงสารก็ดี การกล่าวว่านิพพานนั้น หาที่อาศัยมิได้เป็นต้น ส่องความว่านิพพานนั้นมิใช่เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งในไตรภพ นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติพิเศษชนิดหนึ่ง
    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าธรรมชาตินั้นสงบแล้ว ธรรมชาตินั้นประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดออกซึ่งอุปทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด
    ภาวะผู้บรรลุนิพพาน
    ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดวิปัสสนาญาณแก่กล้า ได้บรรลุอริยมรรคญาณ อริยผลญาณ สำเร็จเป็นองค์พระอรหันต์ เป็นผู้สิ้นอาสวกิเลสแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่ นับว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
    พึงเข้าใจว่า พระอรหันต์นั้น แม้ท่านจะได้บรรลุหรือเข้าถึงนิพพานแล้ว แต่ท่านก็มิได้เข้านิพพานดับสนิทตลอดเวลา หรือมิใช่ว่าท่านจะยึดหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ตลอดไปทุกเวลานาที แท้จริง ท่านจะเข้านิพพานเพียงชั่วระยะเวลาที่บรรลุอริยมรรคญาณ อริยผลญาณ และในขณะที่เข้าผลสมาบัติหรือนิโรธสมาบัติเท่านั้น ในเวลาปกติที่มิได้เข้าสมาบัติ จิตของพระอรหันต์ก็มีอารมณ์เป็นโลกิยะ คือมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เป็นอารมณ์ อย่างเดียวกับชาวโลกทั่วไป
    แต่พระอรหันต์ท่านรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้น ท่านไม่มีความยินดียินร้ายในอารมณ์เหล่านั้น แม้จะเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ผ่านเข้ามา ท่านจะกำหนดรู้ได้ทันทีว่ามีอารมณ์ชนิดใดผ่านมา และรู้สึกเพียงว่า เห็นก็สักว่าเห็น หรือได้ยินก็สักว่าได้ยินเท่านั้น หาได้มี โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในขณะสัมผัสอารมณ์เหล่านั้นไม่ หาได้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นไม่
    แม้อายตนะภายในของพระอรหันต์จะยังรับอารมณ์ที่เป็นโลกียะอยู่อย่างชาวโลกทั่วไป แต่ไม่รับด้วยอำนาจกิเลสตัณหา ดังนั้นขันธ์ของพระอรหันต์ทั้งส่วนที่เป็นรูปขันธ์และนามขันธ์จึงเป็นขันธ์บริสุทธิ์ ซึ่งเรียกว่า วิสุทธิขันธ์
    เมื่ออิฏฐารมณ์เกิดขึ้น เช่น ได้เห็นรูปที่สวยๆ ได้ยินเสียงที่ไพเราะ ได้ดมกลิ่นที่หมอๆ ได้ลิ้มรสที่อร่อย ได้สัมผัสกับสิ่งสัมผัสที่เป็นสุข และได้คิดสิ่งที่ดีงามด้วยใจ พระอรหันต์ก็กำหนดรู้ทันตามสมมติของโลก เมื่อชาวโลกสมมติว่าดีว่างามเป็นต้น ท่านก็จะรับรู้ตามนั้น แต่ไม่ติดอยู่ในสมมตินั้น พูดง่ายๆ ก็คือ สิ่งใดที่ชาวโลกนิยมว่าสวยว่างาม เป็นต้น พระอรหันต์ก็ยอมรับว่าสิ่งนั้นสวยงามตามสมมตินั้น แต่ท่านมิได้ตกอยู่ในความสวยงามนั้น เพราะท่านตัดกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว
    ในการบริโภคอาหารและการพักผ่อนหลับนอนก็เช่นเดียวกัน พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังต้องบริโภคอาหาร ยังต้องพักผ่อนหลับนอนเช่นเดียวกับชาวโลกทั่วไป แต่ท่านมิได้บริโภคอาหารด้วยอำนาจตัณหา มิได้พักผ่อนหลับนอนด้วยอำนาจถีนมิทธะอันเป็นอกุศลธรรม ท่านบริโภคอาหารและพักผ่อนหลับนอนความต้องการของร่างกายเท่านั้น เหมือนรถที่ต้องการเติมน้ำมันและต้องการพักเครื่องเท่านั้น
    อนึ่ง ในการบริโภคอาหารนั้น สำหรับคนทั่วไปย่อมมีความต้องการบริโภคด้วยเหตุ 2 ประการ
    - ด้วยความหิวหรือความแสบท้อง ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกาย
    - ด้วยความอยากรับประทานอาหารที่อร่อยถูกปากถูกใจ ซึ่งเป็นความอยากที่เป็นไปด้วยอำนาจกิเลสตัณหา
    แม้ในการบริโภคอาหารด้วยความหิว คนที่มีกิเลสตัณหาอยู่ ก็อาจบริโภคด้วยกิเลสตัณหาได้ เพราะเมื่อความหิวเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ ก็อาจเกิดขึ้นโลภะ บริโภคมากเกินไปจุเกินไป หรือเมื่อหาอาหารบริโภคไม่ได้ทันใจ หรือไม่ถูกใจก็เกิดโทสะ หรือเมื่อได้บริโภคอาหารที่ถูกปากถูกใจ ก็อาจหลงติดอยู่ในรสอาหารนั้นด้วย ดังนั้น คนที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ จึงมักบริโภคอาหารด้วยกิเลสตัณหา ส่วนพระอรหันต์ท่านบริโภคอาหารด้วยความหิว ซึ่งเป็นความต้องการของร่ายกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งความหิวที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถครอบงำจิตใจท่านได้ เพราะจิตใจท่านบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหา และท่านมีสติกำหนดรู้เท่าทันความหิวที่เกิดขึ้นนั้น
    ในการพักผ่อนหลับนอนก็เช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่นั้น ย่อมต้องการพักผ่อนหลับนอนด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยความต้องการของร่างกาย ด้วยมีความเหน็ดเหนื่อย 1 ด้วยอำนาจกิเลสหรืออกุศลธรรม คือ ถีนมิทธะครอบงำจิต 1 ซึ่งการพักผ่อนหลับนอนด้วยเหตุประการหลังนี้ เป็นการพักผ่อนหลับนอนอย่างปราศจากสติสัมปชัญญะ บางครั้งก็นอนหลับไม่สนิท กล่าวคือ เมื่อถูกถีนมิทธะครอบงำแล้ว ทั้งๆที่ร่างกายไม่เหน็ดเหนื่อยก็จะเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนแล้วหลับไป บางที่ก็นั่งสัปปะหงก บางครั้งก็ทำให้เกิดฝันร้ายต่างๆ เพราะตนเองยังละสัญญาวิปลาสไม่ได้เป็นเหตุให้นอนหลับไม่สนิท ไม่ได้พักผ่อนเต็มที่
    ส่วนพระอรหันต์หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านพักผ่อนหลับนอนด้วยความต้องการของร่างกายเพียวอย่างเดียวเท่านั้น หาได้พักผ่อนหลับนอนด้วยกิเลสหรืออกุศลธรรมไม่ เพราะอกุศลธรรมคือถีนมิทธะนั้น ท่านละได้เด็ดขาดแล้ว และในขณะที่ท่านพักผ่อนหลับนอนด้วยความต้องการของร่างกายนั้น ภวังคจิตย่อมเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของร่างกาย เหมือนดอกบัวที่บานแล้วถึงคราวหุบไปฉะนั้นและโดยเหตุที่พระอรหันต์เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ละสัญญาวิปลาสได้แล้ว จึงไม่มีการฝัน ไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้ายด้วยประการทั้งปวง
    ในการเจ็บไข้ได้ป่วยก็เช่นเดียวกัน สำหรับปุถุชนทั่วไปนั้น เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น ย่อมได้รับทุกขเวทนาทั้ง 2 สถาน คือ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจ ส่วนพระอรหันต์นั้น ท่านมีแต่ทุกขเวทนาทางกายเท่านั้น หาได้มีทุกขเวทนาทางใจไม่ เพราะมีสติกำหนดเท่าทันเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ทุกขเวทนาจึงครอบจิตใจท่านไม่ได้
    สำหรับพระอรหันต์ที่ได้ดับเบญจขันธ์ไปแล้วนั้น ย่อมมีโอกาสได้เสวยความสุขในพระนิพพานอันเป็นบรมสุข เป็นสันติสุขอย่างแท้จริง เป็นความสุขที่ยอดยิ่ง ด้วยเป็นผู้ข้ามพ้นจากโอฆสงสาร พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พ้นจากกิเลสและกองทุกข์โดยสิ้นเชิง มีแต่ความเกษมสุขเป็นนิรันดร
    ผู้ที่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง
    ได้แก่
    1.พระอริยบุคคล คือ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนได้เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระอริยบุคคลทุกองค์จะสามารถเห็น พระนิพพานเป็นที่อยู่ในตัวได้อย่างแจ้งชัด และเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่จะเข้าไปเสวยสุขอยู่ในนิพพานได้หลังจากดับขันธ์ไปแล้ว
    2.โคตรภูบุคคล หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนแก่กล้า ชำนิชำนาญ ก็สามารถเห็น (รู้) พระนิพพานได้
    3.ปุถุชน หมายถึง ผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส ถ้ามีการปฏิบัติธรรมจนแก่กล้าเป็นโคตรภูบุคคลได้ก็สามารถเห็นพระนิพพานได้
    วิธีทำพระนิพพานให้แจ้ง
    มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสมถกรรมและวิปัสสนากรรมฐานหรือเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวล้วนๆ[/FONT]
     
  5. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    อิทธิบาท 4

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]อิทธิบาท [/FONT][FONT=&quot]4[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น[/FONT][FONT=&quot]
    ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน[/FONT][FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ฉันทะ[/FONT][FONT=&quot] คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]วิริยะ[/FONT][FONT=&quot] คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]จิตตะ[/FONT][FONT=&quot] หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]วิมังสา[/FONT][FONT=&quot] หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
     
  6. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พรหมวิหาร 4

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]พรหมวิหาร [/FONT][FONT=&quot]4[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ความหมายของพรหมวิหาร [/FONT][FONT=&quot]4
    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ [/FONT]
    <table class="MsoNormalTable" style="width: 225.75pt;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="301"> <tbody><tr style=""> <td style="width: 41.25pt; padding: 0cm;" width="55"> [FONT=&quot]เมตตา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> <td style="width: 184.5pt; padding: 0cm;" width="246"> [FONT=&quot]ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="width: 41.25pt; padding: 0cm;" width="55"> [FONT=&quot]กรุณา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> <td style="width: 184.5pt; padding: 0cm;" width="246"> [FONT=&quot]ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="width: 41.25pt; padding: 0cm;" width="55"> [FONT=&quot]มุทิตา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> <td style="width: 184.5pt; padding: 0cm;" width="246"> [FONT=&quot]ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="width: 41.25pt; padding: 0cm;" width="55"> [FONT=&quot]อุเบกขา[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> <td style="width: 184.5pt; padding: 0cm;" width="246"> [FONT=&quot]การรู้จักวางเฉย[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]คำอธิบายพรหมวิหาร [/FONT][FONT=&quot]4
    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น [/FONT]
    [FONT=&quot]2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot]- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot]3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง[/FONT]
    [FONT=&quot]4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT]
     
  7. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    สังคหวัตถุ 4

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]สังคหวัตถุ [/FONT][FONT=&quot]4[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]
    สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ [/FONT]
    [FONT=&quot]1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้[/FONT]
    [FONT=&quot]2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
    ดังต่อไปนี้[/FONT]
    <table class="MsoNormalTable" style="width: 238.5pt;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="318"> <tbody><tr style=""> <td style="padding: 0cm;">
    [FONT=&quot]เว้นจากการพูดเท็จ[/FONT][FONT=&quot]
    เว้นจากการพูดส่อเสียด
    เว้นจากการพูดคำหยาบ
    เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ[/FONT]​
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น [/FONT]
    [FONT=&quot]4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย [/FONT]
     
  8. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    โลกธรรม 8

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]โลกธรรม [/FONT][FONT=&quot]8[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ความหมายของโลกธรรม [/FONT][FONT=&quot]8
    โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
    - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
    - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
    - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
    - เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
    - เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
    - ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
    - ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ[/FONT]
     
  9. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot] มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )[/FONT]

    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]..[/FONT][FONT=&quot](มรรค[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]= อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ =[/FONT][FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]ทางสายกลาง)[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]..........[/FONT][FONT=&quot]แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]..........[/FONT][FONT=&quot]คำว่า[/FONT][FONT=&quot]มรรค[/FONT][FONT=&quot] แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot].....[/FONT][FONT=&quot]อำนาจของอวิชชา[/FONT][FONT=&quot] ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
    ..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    ..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
    ....[/FONT]
    [FONT=&quot] .สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
    .....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
    .....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
    .....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
    .... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
    .....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
    .....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
    .....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
    .....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
    .....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
    .....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
    .....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์ .สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น .สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น .สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น .สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
    .....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า .สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
    .....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
    .....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป .สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
    .....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
    .....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
    .....
    แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ ....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
    .....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
    .....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
    .....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
    ..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
    .....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
    .....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
    .....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
    .....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
    .....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
    .....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
    .....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
    .....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า[/FONT]
     
  10. MeMoKung

    MeMoKung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2006
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +2
    ถาม

    ส่งชื่อไปตั้งแต่งวันที่ 29มีนา ไม่ทราบว่าได้รับหรือเปล่านะคะ
    จะรอฟังเพื่อนำไปปฎิบัติต่อนะคะ
     
  11. archa_tao

    archa_tao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +28
    ผมอ่านตั่งแต่หน้าแรกเลยครับ ได้รับรู้สิื่่่งดีๆเยอะแยะครับ
    ขออนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ สาธุ
    ตอนแรกกะว่าจะขอให้ช่วยตรวจให้ด้วยแต่ว่าเห็นว่าหยุดรับชั่วคราว
     
  12. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ต้องขอโืทษด้วยนะค่ะ ช่วงนี้ไม่มีเวลาพยากรณ์ให้ เพราะงานประจำยุ่งมาก

    ต้องขอโืทษด้วยนะค่ะ ช่วงนี้ไม่มีเวลาพยากรณ์ให้ เพราะงานประจำยุ่งมาก ไม่ค่อยได้พักผ่อน การปฏิบัติก็น้อย เพราะอ่อนเพลียและเหนื่อยมาก ถ้ายังไงจะให้คุณเสขบุคคลที่อยู่ในกระทู้กลุ่มชนคนดูดวงช่วยพยากรณ์ให้ ไม่ทราบว่ามีผู้ใดสนใจก็แจ้งได้นะค่ะ แต่ถ้าต้องการให้ปัตจะตังพยากรณ์ให้ก็ขอให้แจ้งด้วยค่ะ ถ้างานเริ่มน้อยลง จะทยอยให้ตามคิวนะค่ะ
     
  13. kabukiman

    kabukiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +566
    ผมเรื่อยๆครับ พี่ก็พักผ่อนเยอะๆนะครับ

    ผมเข้ามาในกระทุ้นี้ของพี่ปัตจะตังแล้ว ก็ขอให้พี่ปัตจะตังดูให้ดีกว่าครับ คงเพราะมีวาสนาต่อกันผมถึงได้เห็นกระทู้นี้

    ยังไงก็รอพี่ปัตจะตังครับผม^^
     
  14. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]ตอบคุณ-MeMoKung-คิวต่อคุณ Noppie พอดีค่ะ[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]
    1. หนูจะสอบติดในคณะที่หวังไม๊คะ-9-5-8
    2. กิจการที่บ้านไม่ค่อยดีเลยคะ (ของพ่อแม่) ไม่ทราบว่าจะผ่านไปด้วยดี และจะลำบากไม๊คะ[/FONT]-4-3-2
    เรื่องคณะที่หวังไว้ ก็ต้องเผื่อทำใจนึดนึง บางทีเราไม่ได้หวังอาจได้ สำหรับเรื่องเรียนก็ขอให้น้องระวังเรื่องการผิดศีลข้อ2 เกี่ยวกับการลอกข้อสอบหรือให้เพื่อนๆลอกนะค่ะ เรื่องการเรียนนี้ขอให้น้องสวดมนต์ ธัมจักร ชินบัญชร และขอพระปัญญาบารมี ในเรื่องของการเรียน แผ่เมตตาให้กับพยัญชนะทุกตัว ภาษาทุกภาษา ตัวอักษรทุกตัว ตัวเลขทุกตัวด้วยนะค่ะ
    ก่อนสวดมนต์ต้องสมาทานศีล5 ก่อน สวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วจะเกิดปัญญานะค่ะ หลังจากนั้นแผ่เมตตาจติและอธิษฐาน (จะมีขั้นตอนพื้นฐานที่ลงไว้ก่อนหน้านี้ลองอ่านดูนะค่ะ)
    ส่วนเรื่องกิจการของทางบ้าน ก็ให้คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว หมั่นทำบุญใส่บาตร สวดมนต์ แล้วแผ่เมตตาให้กับสัมมาอาชีพ และปัจจัยสี่ที่ประกอบสัมมาอาชีพ เปิดบทสวดมนต์เบา ๆ ก็ได้นะค่ะที่ร้านแต่ไม่ทราบว่าทำธุรกิจอะไร กรวดน้ำให้พระแม่ธรณี ท่านเทพเทวดา ท่านเจ้าที่ที่บ้านด้วยนะค่ะ ให้ช่วยเหลือกิจการที่บ้านเจริญรุ่งเรือง ให้ได้ประกอบสัมมาอาชีพ มีคนอุดหนุนค้ำจุนช่วยเหลือ พบแต่กัลยาณมิตร สวดมนต์มงคลสูตร รัตนสูตร กรณียเมตตสูตร และขันธปริตร และแผ่เมตตา อธิษฐานจิตขอบุญจากการสมาทานศีล5 สวดมนต์ นั่งสมาธิ ช่วยด้วยนะค่ะ
     
  15. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    คิวที่เหลือจะทยอยตอบให้นะค่ะ

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]40.Amornwan [/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]41.คนข้างหลัง [/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]42.mainoii[/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->[FONT=&quot]43.Dee65[/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->44.kabukiman[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]45.numtalsod[FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]46.หางดาบ[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]47.Wat_tae[FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot]48.Fabreguz-[/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]
     
  16. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ในหัวข้อกระทู้นี้มีความประสงค์จะช่วยเหลือทุกคน โดยใช้หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะค่ะ สำหรับปัตจะตัง ก็พยายามนำคำสอนที่ดี มีประโยชน์มานำเสนอ พร้อมกับการพยากรณ์กรรม เพื่อชี้แนะให้กับเื่พื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคน สิ่งที่ได้มานี้ก็ล้วนเกิดจากปัญญา จากการสร้างกุศล การปฏิบัติสมาธิ ที่เรียกว่าปัตจะตัง รู้ได้เฉพาะตน เราต้องปฏิบัติเองค่ะ
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่นำเสนอมาแล้ว คือสิ่งที่ตนเองได้มีประสบการณ์จากตนเองบ้าง บุคคลใกล้ตัวบ้าง ล้วนเกิดขึ้นจริง และสิ่งที่ให้ปฏิบัตินี้ ก็ได้ปฏิบัติมาแล้วทั้งสิ้น เมื่อมีศีล เราจะแยกแยะสิ่งดีไม่ดีได้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติสมาธิ ก็รู้ไม่ทันจิต เพราะจิตนั้นเร็วมาก ทำให้กระทำตามความคิดของจิต และปล่อยอารมณ์ เราจะช้าไม่ทันจิต กว่าจะรู้ก็ตัวอีกทีว่าทำผิดแล้ว ก่ออกุศลแล้ว เพราะผลตามมาแล้วจึงรู้ หรือบางคนก็นานกว่านั้น ผลตามมาแล้วก็ไม่รู้อีก ยังทำเพิ่มต่ออีก แต่ถ้าเราปฏิบัติสมาธิบ่อย ๆ จนชำนาญได้ตลอดเวลา เราจะค่อย ๆ ทันจิตของเรามากขึ้น มีตัวรู้เร็วขึ้น ก็จะระวังในการก่ออกุศล และขนขวายสร้างแต่กุศลทุกวิถีทางที่จะสร้างได้
    เราไม่รู้วันเวลาว่าเมื่อใดเราจะไม่มีกายสังขารที่จะปฏิบัติแล้ว ขอทุกคนจงอย่าได้ประมาท รีบเร่งกันตั้งแต่นี้
    มีอยู่เรื่องหนึ่งที่จะเสนอต่อไป คือ เรื่องพุทธประวัติตามแนวปฐมสมโพธิ ดีมากๆ เลย แล้วจะมาลงให้อ่านนะค่ะ
     
  17. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตอบคุณ Amornwan

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]ตอบคุณ Amornwan [/FONT][FONT=&quot][/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]1.ดิฉันจะมีอาชีพเลี้ยงดูตัวเองตลอดไปไหม
    2.ดิฉันจะมีรถมีบ้านได้เมื่อไหร่
    3.และจะมีคู่ครองหรือไม่และเป็นคนอย่างไร[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] สิ่งที่คุณถามมานั้น จะต้องเริ่มจากการปฏิบัติขั้นพื้นฐานก่อนค่ะ คือ สมาทานศีล5 สวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา กรวดน้ำ ขออโหสิกรรม และอธิษฐานเองนะค่ะ คุณต้องเพิ่มกุศล และลดอกุศล จากกรรมในอดีตส่งผล ไม่ทราบว่าตัวคุณหรือคนในครอบครัวมีส่วนเข้าไปรับรู้เรื่องการผิดศีลข้อ1 เกี่ยวกับเด็กหรือเปล่า ให้ขอขมาอโหสิกรรม ทำบุญมูลนิธิเด็ก เพื่อเป็นการต่อชีวิตให้เด็กแล้วแผ่เมตตาจากบุญที่ทำนี้ให้ไป และคุณก็ต้องขอขมาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ถ้าได้เคยล่วงเกินด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือผิดศีลข้อหนึ่งข้อใดกับพวกท่าน ก็ขอให้ยกโทษให้ อโหสิกรรมให้ คุณต้องปล่อยสัตว์บ่อย ๆ โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ถ้าเลิกกินเนื้อสัตว์ใหญ่ตลอดชีวิต หรือหมั่นถือศีลกินเจ ก็จะดีนะค่ะ และกรวดน้ำให้พระแม่ธรณีเป็นพยานทำส่งบุญให้ คือผลที่คุณได้รับและสิ่งที่คุณต้องการนั้นมันยังติดกรรมอยู่ ถ้าเรารู้เหตุที่เกิด แล้วระงับที่เหตุนั้น ถ้าคุณถือศีล8 ได้ก็ยิ่งดี จะเริ่มจากทุกวันพระก่อนก็ได้ และวันเกิดของตนเอง[/FONT]
     
  18. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตอบคุณคนข้างหลัง

    ตอบคุณคนข้างหลัง
    1 ตอนนี้ตกงาน อยากทราบว่าจะทำงานด้านจะดี
    2 เรื่องเงินที่ถูกโกงจะได้คืนหรือไม่
    3 อยากทราบว่าจะทำงานด้านใดถึงจะดี(อยากเปิดร้านขายกาแฟสด <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เรื่องของอาชีพการงานและเรื่องเงินที่ถามมา ในอดีตคุณอาจจะกระทำไว้ต่อบิดามารดา และล่วงเกินท่านไว้ ก็ต้องขอขมากรรมต่อท่าน ให้ถือศีล8 บวชเนกขัมมะ สวดมนต์ ปฏิบัติบ่อย ๆ เวลาไปวัดให้ชำระหนี้สงฆ์ ทำบุญมูลนิธิคนชรา โรงพยาบาลสงฆ์ และให้งดเนื้อสัตว์ ถือศีลกินเจวันพระ และวันเกิดตนเอง ปล่อยสัตว์ให้มาก ๆ เมื่อปฏิบัติแล้ว กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญ อธิษฐานจิต แล้วให้เดินตามแนวทางสายพุทธ ส่วนร้านกาแฟ ก็พอทำได้ แต่อาจจะไม่ค่อยดีนัก ให้คุณสวดมนต์ พาหุง ชินบัญชร พระปริตร พระแม่กวนอิม พระเจ้าตาก แล้วขอพรท่านให้พบคนดี ให้มีช่องทางอาชีพการงานที่เป็นสัมมาทิฐิ แล้วให้คุณแผ่เมตตาให้สัมมาอาชีพ และสกุลเงินตราทุกประเทศ เหรียญ ธนบัตร เอกสารสัญญาต่าง ๆ และทรัพย์ของแผ่นดิน ถ้าเคยโกงเค้ามา ก็ขอชดใช้ ขออโหสิกรรมต่อกัน และเอ่ยชื่อคนที่โกงคุณไป แผ่เมตตาให้เค้า ไม่ขอจองเวรต่อกัน<o:p></o:p>
     
  19. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตอบคุณmainoii ตอบคุณDee65

    ตอบคุณmainoii
    ถ้าดูจากชะตาเกิดของคุณ ก็มีเรื่องเกี่ยวกับความรัก คู่ครอง บุตร อาจผิดศีลข้อ 4 เสียสัจจะกับคู่ ทำให้ต้องพลัดพราก ต้องสูญเสีย ต้องเจ็บป่วย ถ้าคุณหมั่นสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม เข้าวัดทำบุญใส่บาตร ยิ่งคุณทำมากคุณก็จะได้รับอนิสงค์มากเช่นกัน ขอให้คุณอดทนให้มากๆ ให้ศึกษาเรื่องขององค์คุลิมาล และขอให้คุณอย่าได้ระแวงสงสัย หรือคิดว่ามีผู้ไม่สงค์ดีต่อคุณ อย่าใจร้อน ใช้ปัญญา ใช้สติ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตอบคุณDee65
    เรื่องของคนรัก ไม่ทราบว่าคุณเคยทำให้บิดามารดาคุณเสียใจบ้างมั้ย แล้วเวลาที่คุณคบใคร คุณจะหวาดระแวง วิตกกังวล หรือจู้จี้เกินไปรึป่าว เวลาดีต่อกันก็พูดดีต่อกัน เวลาโกรธกันก็พูดกันเจ็บ ๆ แรง ๆ ไม่รักษาน้ำใจ คุณต้องปฏิบัติสมาธิให้มาก ๆ เดินจงกรมภาวนาเรื่อย ๆ ให้ทันจิตตนเอง อย่าปล่อยให้จิตฟุ้ง ให้นิ่ง ๆ เย็น ๆ สบาย ๆ เมื่อใดที่เกิดปัญญาขึ้น ชีวิตคุณจะมีการเปลี่ยนแปลง และขอให้คุณสมาทานศีล5 ก่อนสวดมนต์ และขึ้นกองกรรมฐานก่อนทำสมาธิ ขอขมาอโหสิกรรม แผ่เมตตา กรวดน้ำ และเอ่ยชื่อบุคคลที่มีปัญหากัน อธิษฐานจิตแต่ในสิ่งที่ดี ไม่จองเวรต่อกัน ให้สวดมงคลสูตร เพื่อให้ได้พบแต่กัลยาณมิตร และคนที่ดี<o:p></o:p>
     
  20. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตอบคุณkabukiman

    ตอบคุณkabukiman 1) เรื่องเพื่อนครับมักจะเข้ากับเพื่อนที่มหาลัยไม่ค่อยได้ไม่ทราบว่าเพราะอะไร ตอนแรกก่อนจะซิ่วหรือเพื่อน ร.ร.เก่า ก็ไม่มีปัญหากันพอซิ่วมาที่ใหม่ตอนนี้ก็ 3 ปีแล้ว ค่อยๆมีปัญหากับเพื่อนมากขึ้นเรื่อยๆครับ
    2)
    เรื่องความรักนะครับจะเป็นยังไง (คือตอนนี้ก็ง้อแฟนเก่าอยู่นะครับ แต่ก็ง้อมาสักพักแล้ว จะสมหวังไหมครับ หรือควรทำไงดีนะครับ)
    3)
    เรื่องการปฏิบัติธรรมนะครับผมควรปฏิบัติแนวไหนดี หรือควรทำยังไงดีครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เรื่องของคู่เวลาคุณมีแฟน คุณมักชอบมีปากเสียงกัน แรก ๆ ก็ดี พอนานไป ก็เริ่มไม่เข้าใจกัน ต้องระวังเรื่องการยอมรับซึ่งกันและกัน อ่อนบ้างแข็งบ้าง อย่าคิดว่าเหตุผลของตนเองถูก ต้องใช้ขันติความอดทน อีกอย่างผู้หญิงจิตจะเอียด ชอบน้อยใจ คำพูดและการกระทำสำคัญ เน้นที่ความจริงใจด้วยค่ะ ส่วนเรื่องเพื่อน ๆ ก็ไม่มีอะไรมาก เดี๋ยวสักพักก็จะดีเอง ขอให้คุณอย่าใจร้อน ให้สวดมนต์พระปริตร พาหุง อิติปิโส 108 จบ คุณต้องขอขมาพระรัตนตรัย สมาทานศีล5 สวดมนต์ นั่งสมาธิ เวลาไปวัดก็ต้องชำระหนี้สงฆ์ก่อน ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำทุกวัน ถวายพระพุทธรูปปางสมาธิ ขอขมากรรมพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ <o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...