พบรอยเลื่อนในไทยเคลื่อนไหวผิดปกติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 7 มีนาคม 2012.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ทุกวันนี้ สังเกตได้ชัดเลยว่าธรรมชาติไม่เหมือนเดิม ผิดปกติไปมาก....
    อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้อยู่อย่างมีสติ....ทาน ศีล ภาวนา ทำให้เต็ม
     
  2. เอื้อมบุญ

    เอื้อมบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    385
    ค่าพลัง:
    +617
    เมื่อก่อนไม่ค่อยได้เจอคำว่า "ภัยพิบัติ" เมื่อสิบกว่าปีมาบอกไม่ถูกอธิบายไม่เป็นไปเล่าใครเค้าก้อหัวเราะ ในชีวิตไม่เคยคิดว่าจะฝันเห็นภาพเหล่านั้นได้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตรน่ะ กับภาพต่างๆที่เกิดขึ้น มันแปลกประหลาดมาก ภาพท้ายๆเห็นคนไม่กี่คนกับบรรยากาศที่เปลี่ยนไป เหมือนมองมาจากที่สูง มีเสียงตอบที่ก้องกังวานด้วยเมื่อเราถามช่างถอะ!
    .....เพราะสุดท้ายในกลุ่มคนที่เหลือ.....
    ไม่มีตัวเรา!!! "เรามองไม่เห็นตัวเราในกลุ่มที่เหลือ"
    แม้แต่คนในครอบครัวก้อแทบไม่เหลือเห็นแต่ข้างๆ(บางคนตายก่อนแล้วหลังจากที่ฝันไม่กี่ปี)เรายังไม่กล้าบอกพวกเค้าเลย
    ได้แต่เฝ้าติดตามข่าว และไม่รู้ว่าจะหาวิธีรอดยังไง..
    เพราะดูยังไงๆก้อไม่เห็นวี่แววว่าตัวเราจะรอดเล้ย...
    :z12เปลี่ยนเป็นรอดจากการเวียนว่ายดีกว่ามั้ง...เป็นกังวนมานาน

     
  3. rubian

    rubian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +483
    ถ้างั้นก็ต้องหมั่นฝึกกำหนดจิตและสติ ให้รับรู้เท่าทัน เผื่อไว้ใช้ในยามที่ถ้า เกิด หนีไม่พ้นก็อย่างน้อย สามารถกำหนดจิตขณะก่อนดับให้รับอารมณ์ด้านดีก็น่าจะดี
    แต่ไงก็ รอด น่า สู้ต่อไป อิๆๆ
     
  4. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    ความคืบหน้าอีกนิดจากหนังสือพิมพ์ค่ะ ^_^

    --------------------------

    ยันแผ่นดินไหวภาคเหนือไม่ถี่ผิดปกติ

    วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 18:05 น.

    [​IMG]
    <!-- /.images-list-items -->
    <!-- /.images-list-container -->
    <!-- /.images-list-wrapper -->

    <!-- /.featured-img -->
    สำนักแผ่นดินไหว ชี้ธรณีสะเทือนภาคเหนือ ยังไม่น่าวิตก แค่ 2-3 อาทิตย์ครั้ง ไม่ถือว่าผิดปกติ

    <!-- /.content -->
    <!-- /#featured-caption -->วันนี้(8 มี.ค.) นายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผอ.เฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสีนามิ รักษาการ ผอ.สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวกับผู้สื่อข่าว กรณีมีรายงานว่า พื้นที่ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและกาญจนบุรี มีความน่ากังวลมากที่สุดเพราะ รอยเลื่อนที่ทำให้แผ่นดินไหวในบริเวณดังกล่าว ได้แก่รอยเลื่อนแม่เมาะ และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดย นายบุรินทร์กล่าวว่า สำนักแผ่นดินไหวยังไม่ถือว่ามีความผิดปกติ เพราะปัจจุบันจะเกิดขึ้นบางบริเวณ 2 – 3 สัปดาห์ต่อครั้ง หากเป็นความผิดปกติ น่าจะ 20 – 30 ครั้งต่อเดือน

    นายบุรินทร์กล่าวอีกว่า ขณะนี้สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวมีเครือข่ายรายงานข้อมูลเพิ่มขึ้น ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพสูงมาก เป็นเซนเซอร์วัดความสั่นสะเทือนใต้ดินลึกถึง 100 เมตร ความสั่นไหวเล็กๆน้อยๆ ก็ตรวจจับได้ ซึ่งก่อนหน้านี้จะวัดไม่ได้ อันเป็นแหล่งข้อมูลขององค์กรด้านความมั่นคง (ซีทีบีที) ที่ยินยอมให้กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ด้วย จึงมั่นใจว่าถ้ามีความผิดปกติจะรับทราบได้ทันที สำหรับการที่มักมีนักวิชาการแสดงความห่วงใย เกรงจะเกิดแผ่นดินไหวนั้น นายบุรินทร์กล่าวว่า ปัจจุบันมีการตระหนักถึงภัยต่างๆมากขึ้น แต่นักวิชาการก็ห่วงว่า แท้จริงมิได้มีเฉพาะภัยที่รู้จักกันทั่วไปเท่านั้น ยังมีภัยแผ่นดินไหวที่แฝงซ่อนอยู่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาลักษณะที่แท้จริงไม่ได้ จึงเป็นห่วงว่าจะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว จะตรวจวัดจากข้อเท็จจริง โดยแผ่นดินไหวไม่เหมือนภัยอื่น ไม่มีโอกาสเตือนล่วงหน้า นอกจากบอกได้ว่ามีจุดใดมีความเสี่ยง ก็ให้ระวัง

    ทางด้าน ดร.พิจิตต รัตตกุล ผอ.อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ชี้แจงว่า การแสดงความกังวลเรื่องรอยเลื่อนทางภาคเหนือไม่ได้ต้องการให้ตื่นกลัว แต่เป็นการพูดในการประชุมการแพทย์ฉุกเฉิน ฝ่าภัยพิบัติ2012 ว่า จะมีภัยพิบัติที่คาดการณ์ไม่ได้มากขึ้น เพราะผลจากโลกร้อน อาจเกิดน้ำหลากจากภูเขาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือการกัดกร่อนชายฝั่ง รวมถึงการทรุดตัวของดินในกรุงเทพมหานครก็อาจเกิดภัยขึ้นได้ ส่วนกรณีแผ่นดินไหว ก็พบว่าในภายใน 2 สัปดาห์ มีแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย 2 ครั้ง ส่วนรอยเลื่อนที่มีในประเทศ13 แห่ง แม้มีความรุนแรง แต่ก็ใกล้เคียงกับรอยเลื่อนสะเกียง ในพม่า อาจส่งผลกระทบได้ โดยการสั่นไหว เพียง 2.5 ริกเตอร์ หากส่งแรงมาถึงกรุงเทพมหานครที่พื้นดินอ่อนก็อาจมีปัญหาได้ จึงต้องมีการจับตาเฝ้าระวัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย โดยเน้นการให้ข้อมูลกับประชาชน เช่น กรณีแผ่นดินไหว ก็ควรทำตารางแสดงความถี่ให้ประชาชนตรวจสอบได้ว่า มีความรุนแรงเท่าใด จำนวนครั้งมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ประกาศเพียงครั้งคราว ที่ประชาชนไม่ทราบจะเชื่อมโยงกับข้อมูลทีผ่านมาได้ เป็นการเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบอีกทางหนึ่ง แต่ต้องไม่ทำให้ตกใจ ไม่ใช่ให้เกิดเหตุรุนแรงแล้วกดปุ่มให้วิ่งหนีอย่างเดียว



    ------------
    ยันแผ่นดินไหวภาคเหนือไม่ถี่ผิดปกติ | เดลินิวส์
     
  5. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    สังเกตุพวกที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลไม่ว่าจะเป็นเขื่อน หรือกรมอุตุ กรมธรณี มักจะบอกว่าไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา ได้แต่เฝ้าระวัง.... แต่ไม่มีการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม ไม่เปิดใจยอมรับว่า ภัยพิบัติที่คาดการณ์ไม่ได้ อาจจะเกิดขึ้นได้

    ดร.พิจิตร ท่านเล็งเห็นว่า ภัยพิบัติที่คาดการณ์ไม่ได้อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ท่านประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมแพทย์ฉุกเฉิน และคอยให้ความรู้แก่ประชาชนให้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด

    งานนี้ท่านมองการณ์ไกล หากให้ความรู้คำแนะนำให้กับประชาชนได้เตรียมตัวกัน ความสูญเสีย เสียหาย ก็จะน้อยลง จะได้มีเวลาไปช่วยเหลือพวกที่ประมาท ไม่เชื่อ ไม่เตรียมตัว และคนที่ไม่รู้อีกมากมาย

    สงสารพวกที่ทำมาหากิน ปากกัดตีนถีบ ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร เลยไม่มีการเตรียมตัว
    ประเทศอื่น ๆ เค้ามีอะไรก็แจ้งประชาชนรับทราบและเตรียมตัว มีการฝึกซ้อมกันก่อน เกิดไม่เกิดก็ไม่เป็นไร

    แต่ประเทศไทย กลับไม่มีการบอกการเตือนใด ๆ จากภาครัฐ มีแต่คำชื่นชมการทำงานของตัวเองว่า "เอาอยู่" ถ้าหากเอาไม่อยู่ ก็แค่เปลี่ยนประโยคใหม่ "ขอโทษ ที่ประเมินสถานการณ์ต่ำไป"
     
  6. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้ไหมว่า .. แผ่นดินไหวญี่ปุ่น ทำโลกเปลี่ยนไปอย่างไร</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=middle align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=middle align=left>12 มีนาคม 2555 </TD><TD vAlign=middle align=left>



    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=12 vAlign=bottom align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top align=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160 align=center><TABLE border=0 cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=center>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=center>แบบจำลองแสดงความโน้มถ่วงที่พื้นผิวโลก สีแดงคือส่วนที่มีความโน้มถ่วงมาก ขณะที่พื้นที่สีฟ้ามีความโน้มถ่วงต่ำ (ESA/HPF/DLR)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=center>ภาพการพังทลายภูเขาน้ำแข็งขั้วโลก หลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 มี.ค. (NASA)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=middle align=center>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=center>แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของโลกแต่ละเหตุการณ์ส่งผลแตกต่างกันออกไปอย่างไร้รูปแบบ โดยครั้งที่เกิดกับญี่ปุ่นส่งผลให้พื้นทะเลบริเวณนั้นเกิดรอยแยก (Norio Miyamoto, JAMSTEC)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=middle width=165 align=center>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=/images/linedot_vert3.gif width=4>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=7 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=center><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผ่านมา 1 ปีกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 แมกนิจูด จนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะส่งผลโดยตรงกับพื้นที่และผู้คนในแถบนั้นแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อโลกของเราอีกด้วย

    ผลกระทบดังกล่าวไม่เพียงแค่แผ่ระนาบไปตามพื้นผิวโลก ยังดำดิ่งลึกลงไปถึงใต้พื้นทะเล และพุ่งแหวกชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไปอีก ซึ่ง OurAmazingPlanet ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญีปุ่น ส่งผลอะไรเกิดขึ้นต่อโลกเราบ้าง

    1.วันสั้นลง

    หลังจากเกิดเหตุแล้ว มีการตรวจพบว่า แผ่นดินไหวไปเร่งการหมุนของโลก ดังนั้น จึงทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น ส่งผลให้เวลาหายไปวันละ 1.8 ไมโครวินาที (1 ในล้านส่วนวินาที)

    ริชาร์ด กรอส (Richard Gross) นักธรณีฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA's Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, Calif.) เป็นผู้คำณวนพบเวลาที่หายไป โดยบอกว่า ที่โลกหมุนเร็วขึ้น เพราะมวลของโลกเกิดการกระจายตัวออกไป หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว

    2. สนามโน้มถ่วงโลกเปลี่ยนไป

    แผ่นดินไหวครั้งนี้ทรงพลังมาก จนทำให้สนามโน้มถ่วงโลกในบริเวณนั้นเบาบางลงไป ซึ่งดาวเทียมเกรซ (Gravity Recovery and Climate Experiment: GRACE) ได้ตรวจจับ และพบว่าสนามโน้มถ่วงบริเวณนั้นอ่อน หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว

    3 ชั้นบรรยากาศสะเทือน

    แผ่นดินไหวขนาดยักษ์ไม่ใช่แค่เขย่าผิวโลก แต่ยังสะเทือนถึงชั้นบรรยากาศ

    ผลวิจัยชี้ว่า การเคลื่อนไหวที่พื้นผิวและสึนามิ ก่อให้เกิดคลื่นพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ โดยแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นก็พบแรงอนุภาคคลื่นที่พุ่งสูงขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ ด้วยความเร็วประมาณ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    โดยนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบความหนาแน่นของอิเล็กตรอนที่ชั้นดังกล่าว หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 7 นาที นับว่าเป็นคลื่นพลังที่ใหญ่กว่าตอนเกิดแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อปี 2004 ถึง 3 เท่า

    4 ภูเขาน้ำแข็งทะลาย

    ผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นแค่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเท่านั้น แต่ความเสียหายสะเทือนไปไกลถึงภูเขาน้ำแข็งซัลซ์บอร์เกอร์ ที่มหาสมุทรแอนตาร์ติกา (Antarctica's Sulzberger) ซึ่งดาวเทียมสามารถตรวจจับคลื่นสนามเข้ากระแทก จนแตกออกมาเป็นก้อนน้ำแข็ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 18 ชั่วโมง

    5 ธารน้ำแข็งไหลเร็วขึ้น

    ห่างออกไปจากชายฝั่งญี่ปุ่นนับพันกิโลเมตร คลื่นแผ่นดินไหวส่งผลต่อการไหลของธารน้ำแข็งวิลลานส์ (Whillans glacier) ในแอนตาร์ติกาให้เร็วขึ้นชั่วครู่ ธารน้ำแข็งนั้นปกติจะไหลเอื่อย เป็นทางเดินของเศษน้ำแข็งจากภายในทวีปออกสู่ทะเล ซึ่งสถานีจีพีเอสที่ขั้วโลก พบการเดินทางของน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานั้น

    6 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก แพร่กระจายทั่วโลก

    แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ ไม่ใช่แค่เฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางเท่านั้น แต่ยังมีหลักฐานว่า แผ่นดินไหวญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กรอบโลก และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเขตแผ่นดินไหว เช่น ไต้หวัน, อลาสกา และใจกลางแคลิฟอร์เนีย โดยเหตุการณ์เหล่านี้จะมีขนาดไม่เกิน 3.0

    อย่างไรก็ดี ยังมีแผ่นดินไหวบางเหตุการณ์ที่เกิดในพื้นที่ที่ไม่อยู่บนแผ่นเปลือกโลก อย่างกลางเนบราสกา, อาร์คันซัส หรือใกล้กับปักกิ่ง และยังพบกันสั่นไหวในคิวบา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าความเชื่อมโยงจากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจวิธีการเกิดและผลกระทบของแผ่นดินไหวได้มากขึ้น

    7 พื้นทะเลแยก

    แน่นอนว่าแผ่นดินไหวใหญ่ขนาดนี้ ย่อมต้องเกิดรอยแยก และโดยเฉพาะที่พื้นทะเลบริเวณชายฝั่งโตโกกุ ของญี่ปุ่นจนเป็นเหตุให้เกิดสึนามิตามมา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวได้ 1 เดือน เรือดำน้ำได้ลงไปวัดรอยแยกที่พื้นทะเล พบว่ามีความกว้างถึง 1-3 เมตร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ลุ้นนนทบุรีกับประทุมธานีว่าจะเจอแผ่นดินไหวมั๊ยในปีนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...