ผู้ที่เห็นรูปหล่อ ปูนปั้นเป็นพระพุทธเจ้าย่อมตกนรก

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 12 พฤษภาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ผู้สนับสนุนคุณเกษม วัดสามแยก คือ ผู้ทำลายพระพุทธศาสนา

    ผู้สนับสนุนคุณเกษม วัดสามแยก คือ ผู้ทำลายพระพุทธศาสนา โดยรู้เท่าไม่ถึงกาล
    การทำลายพระพุทธศาสนาของ คุณเกษม วัดสามแยก โดยวิธีการใช้พระพุทธศาสนา ทำลายพระพุทธศาสนา คือ ใช้พระไตรปิฎก ทำลายพระพุทธ
    และ อ้างความถูกต้องชอบธรรม อ้างเอาตนเองไม่จับเงินทอง ถ้าอ้างกันแบบนี้ ไปกราบวัว ควาย ไม่รับเงินรับทอง กินแต่หญ้า ไม่ดีกว่าหรือ มีประโยชน์กว่าคุณเกษม วัดสามแยก ทั้งหมดทุกตัว

    แจ้งอานิสงค์ให้ทราบ ผู้สนับสนุนคุณเกษม วัดสามแยก คือ ผู้ทำลายพระพุทธศาสนา สิ่งที่ท่านจะได้รับ คือ ห้ามสรรค์ ห้ามมรรคผล ห้ามพระนิพพาน
    ท่านที่ทำลายพระพุทธแล้วโดยเจตนา ท่านทำไม่ได้แม้ให้จิตท่านสงบ หรือเป็นสมาธิเลย ผู้ที่ทำลายแล้วลองดูตัวท่านเองได้เลยตอนนี้ เพราะได้รับอานิสงค์ไปแล้ว
     
  2. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    ถ้าจะเอาคำสอนของวัดป่าสามแยกมาเผยแพร่
    ก็ไม่ควรเอาหลวงพ่อพุทธทาสท่านมากล่าวอ้างคำสอนตนเอง
    เพราะหลวงพ่อพุทธทาสท่านไม่เคยสอนให้ใครปรามาสพระพุทธรูป
    แม้แต่ตัวท่านเองก็ยังกราบไหว้พระพุทธรูปอยู่ อย่าพยายามทำให้ท่านต้องแปดเปื้อน
     
  3. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมตกนรก

    ความเห็นผิด คือ มิจฉาทิฐิ
    มิจฉาทิฐิ คือ ความคิดผิดๆที่เกิดขึ้นในใจ

    แต่ นายเกษม กับอุรุเวลา แปลความเห็นผิด (มิจฉาทิฐิ ) ว่า ผู้ที่เห็นรูปหล่อ ปูนปั้นเป็นพระพุทธเจ้าย่อมตกนรก แต่งเติมขึ้นมาเอง
    การกระทำของ อุรุเวลา และพวก คือ นายเกษม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา นำพระไตรปิกฎบิดเบือน เพื่อทำลายพระพุทธ(องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า)

    อุรุเวลา และนายเกษม เป็นบุคคลผู้มีความเห็นผิด ในทางพระพุทธศาสนา ในอดีตก็มีเทวทัตเป็นต้น
     
  4. อิ๋วจ้า

    อิ๋วจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +215
    ความจริงเป็นยังไงเราไม่รู้...แต่บรรพบุรุษทั้งหลายเขาไหว้กันมานานมาก.....ก็ไม่เห็นพระท่านองค์ไหนบอกนะว่า..ไหว้รูปปั้นพระจะตกนรก...เอ..หรือว่าคนที่บอกกันอยู่ตอนนี้เคยไปมาแล้วช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะพอดีจำไม่ได้ว่าชาติก่อนเคยไปนรกหรือเปล่า..จะได้เตรียมตัวถูกเพราะไหว้พระท่านมาก็ตั้งแต่จำความได้....
     
  5. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936
    ถ้าได้ครบทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวช แล้ว...จะเข้าใจดี
     
  6. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,882
    ปล่อยเค้าไปของเค้า เราจะไหว้พระพุทธรูป

    ขนาดเทวดายังไหว้ ท่านรู้อะไรดี ไม่ดี
     
  7. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    คราวที่แล้วก็ปลอมคำสอนพระพุทธเจ้าอ้างคำพูดตัวเองเป็นพุทธจน์ พอโดนจับได้ก็ปิดกระทู้หนี คราวนี้ก็ไม่เลิกทำความชั่ว บาปกรรมมีจริง ตอนนี้ยังทำเก่งไป สะสมบาปไปเรื่อยๆ พอกรรมตามทัน จะหมดโอกาสแก้ตัว เตือนไปก็เท่านั้น โมหะมันหนาจนแก้ไขยาก
     
  8. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    คุณอุรุเวลา

    คุณไม่ยึดติดในรูปใดๆ. ปัจจุบันนี้. คุณหลุดพ้นแล้วหรือ
    ผู้ที่สั่งสอนเช่นกันบรรลุและหลุดพ้นแล้วหรือ

    ผมแนะนำให้คุณอ่านพระไตรฯ. ให้จบ ไม่ใช่วรรคใดวรรคหนึ่ง
    ผมเคยอ่านเจอมีการกล่าวถึงอานิสงค์การสร้างพระปฏิมาไว้ด้วย


    เหมือนอย่างที่คุณได้เอาคำพระพุทธเจ้ามาอ้างเรื่องการแสดงฤทธิ์
    แต่คุณยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพระพุทธเจ้าได้แสดงยมกปาฎิหารยิ์ไว้

    ที่ผมไม่อยากเอาพระไตรฯมา เพราะเคยบอกไว้แล้ว
    มันจะทำให้มีการสับสนขัดแย้งในการตีความที่เข้าข้างตนเอง
    โดยไม่ยึดถึงเจตจำนงค์จริงๆ
     
  9. sutanon

    sutanon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,553
    ค่าพลัง:
    +170
    ///////

    เห็นคุณเอามาอ้างเสมอ เห็นธรรมเห็นเรา

    คนที่กราบไหว้พระปฎิมาก็เห็นธรรมได้. มีใครมาห้ามไม่ให้เห็นหรือไง
    ใครที่มีสัมมาฑิฐิย่อมเห็นธรรม ไม่ว่าเค้าจะสร้างพระพุธรูปหรือไม่สร้างก็ตาม

    ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงและสั่งสอนให้ปฏิบัติ ก็ส่วนปฎิบัติกันไป
    จะยิ่งดีควรเคารพกราบไหว้พระคุณพระองค์ด้วย แม้เป็นพระปฎิมาองค์แทน
     
  10. artbuddhabless

    artbuddhabless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +161
    คุณ pgame อธิบายสั้นๆแต่ครอบคลุมดีครับ
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๙๖/๔๑๘
    อชิตปัญหาที่ ๑
    [๔๒๕] อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า
    โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกย่อมไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร
    พระองค์ตรัสอะไรว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอชิตะ
    โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่(เพราะความประมาท)
    เรากล่าวตัณหา ว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    อ. กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยธรรมอะไร ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ
    อ. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป ณ ที่ไหน
    พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแล้วแก่ท่าน นามและรูปย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
    สติและปัญญานี้ย่อมดับไป ณ ที่นั้นเพราะความดับแห่งวิญญาณ ฯ
    อ. ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว และชนเหล่าใดผู้ยังต้องศึกษาอยู่เป็นอันมากมีอยู่ในโลกนี้
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตน อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
    ขอจงตรัสบอกความเป็นไปของชนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ
    จบอชิตมาณวกปัญหาที่ ๑
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความคิดเห็นที่ 1
    พระพุทธเจ้า เป็นผูู้้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ใครหน้าไหนที่ประเสริฐกว่าพระองค์ จะมาปลุกเสกได้อีกหรือ?

    จากคุณ : chohokun
    เขียนเมื่อ : 12 พ.ค. 55 21:18:36
    ถูกใจ : Detente, kugar


    ความคิดเห็นที่ 3
    พระอาจารย์มั่น ท่านเคยกล่าวถึงพิธีปลุกเสกเบิกเนตรต่างๆ ว่าเป็นการเอาไสยศาสตร์มาพอกพระพุทธศาสนา....พระท่านก็พระโดยสมบูรณ์อยู่แล้วจะไปปลุกท่านทำไม ท่านเป็นผู้รู้ผู้ตื่นก่อนเราเสียอีก พวกเราเองต่างหากที่ยังหลับใหลงมงายอยู่แล้วยังจะไปปลุกท่านอีก....ตาท่านก็ดีกว่าตาเราไม่ว่าตานอก ตาใน ท่านรู้เห็นมาก่อนเราเสียอีก เรายังจะไปเบิกเนตรท่านอีกทำไม



    พิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นการเอาไสยศาสตร์มาพอกพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง....พ่อแม่ครูอาจารย์ที่เป็นอริยสงฆ์ อริยเจ้าท่านไม่จึงพาทำกัน เพราะท่านเคารพเทิดทูนพระพุทธศาสนาอย่างสุดใจนั้นเอง

    จากคุณ : ดอกหญ้าสีนวล
    เขียนเมื่อ : 12 พ.ค. 55 22:17:45
    ถูกใจ : kugar

    ความคิดเห็นที่ 5
    ที่คุณเห็นวัดไหนๆ เขาก็ทำกัน...นี่แหละครับความเสื่อมอย่างแท้จริง
    ได้ฟังความเห็นความเข้าใจของจขกท. แล้วเพลียใจครับ

    แต่เป็นบุญของท่านแล้วที่ชักนำให้มาตั้งกระทู้ถามในห้องศาสนา
    ซึ่งอุดมไปด้วยข้อมูลที่เป็นสัมมาทิฏฐิเหล่านี้ จะไขข้อข้องใจให้ท่านได้
    -------------------------------------------------------------------------
    ส่วนพระเครื่อง พระกริ่งต่าง ๆที่เป็นของพ่อแม่ครูอาจารย์ สายวัดป่าก็ตาม
    โดยเจตนาของท่านเหล่านั้น ที่นอกเหนือจากเป็นพุทธานุสติ สังฆานุสติ
    ให้เป็นเครื่องเตือนใจมิให้ทำบาปแล้ว ย่อมไม่มีอย่างอื่น

    สุดท้ายอยากจะฝากว่า ถ้าใครรู้สึกว่าก้อนหิน ก้อนใดก้อนหนึ่งมีคุณค่า
    พอที่จะเป็นตัวแทนให้ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ได้

    หินก้อนนั้นก็สามารถยกขึ้นหิ้งเอาไว้กราบไหว้บูชาได้อย่างสนิทใจ
    และได้บุญมากพอ ๆกับกราบพระพุทธรูปโดยไม่ต้องทำการปลุกเสกใด ๆเลย...

    แก้ไขเมื่อ 12 พ.ค. 55 23:30:54

    จากคุณ : Up_To_You
    เขียนเมื่อ : 12 พ.ค. 55 23:22:46
    ถูกใจ : kugar

    PANTIP.COM : Y12084202

    PANTIP.COM : Y12073839
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2012
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

    “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน ขวางหน้าท่านอยู่”

    พุทธทาสภิกขุ

    อินทปัญโญได้ บันลือสีหนาท อีกครั้ง เมื่อเขาแสดงปาฐกถาเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ณ พุทธสมาคม กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ซึ่งมีเนื้อหาที่ “แรง” ที่สุดกว่าครั้งใดๆ เพราะครั้งนี้เขาได้นำเสนอถึง สิ่งซึ่งกีดขวาง หรือเป็นกำแพงมหึมาอยู่ข้างหน้าซึ่งทำให้คนเราเข้าถึงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ อินทปัญโญสามารถนำเสนอเรื่องนี้ได้อย่างเข้าถึง และอย่างมีพลังมาก เพราะตัวเขาเองก็เพิ่ง ก้าวข้าม ภูเขามหึมาที่เคยขวางตัวเขามาได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง เขาจึงอยากถ่ายทอดสิ่งที่เป็น ประสบการณ์ทางวิญญาณ และ บทเรียนทางวิญญาณ ในการแสวงธรรมของตัวเขาให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะคนรุ่นหลัง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถก้าวข้ามสิ่งซึ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมได้เหมือนอย่างเขา

    อินทปัญโญบอกว่า ถ้าหากมีการตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า อะไรเป็นเครื่องปิดบังพระนิพพานอันเป็นตัวพุทธธรรมที่ผู้แสวงธรรมประสงค์จะเข้าถึง? เขาจะตอบอย่างฟันธงอย่างไม่ลังเลใจเลยว่า “พระพุทธเจ้า” นั่นเองที่กลับกลายมาเป็นภูเขามหึมาบังพระนิพพาน โดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าตามทัศนะของแต่ละคน นี่แหละที่ขวางหน้าคนผู้นั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรม

    เพราะคนเราเข้าใจเข้าถึง ความจริง ได้แค่ไหน ก็มีความเข้าใจเข้าถึง “พระพุทธเจ้าของเขา” ได้แค่นั้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกขนานนามว่า พระพุทธเจ้า รวมทั้งการนิยามว่าอะไรเป็นพระพุทธเจ้า จึงมีอยู่ในลักษณะและขนาดมาตรฐานต่างๆ กัน แล้วแต่ ความยึดถือ ของแต่ละคนเป็นชั้นๆ ไป

    คนที่เข้าถึงพระพุทธเจ้า แต่ในทางวัตถุโดยไม่สูงถึงทางจิตย่อมเข้าใจได้แต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าคือเลือดเนื้อกลุ่มหนึ่งที่เดินท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อน ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงเคยปฏิเสธว่า เลือดเนื้อกลุ่มนั้น ยังไม่ใช่ตถาคต คนที่ไม่เห็นธรรมะของตถาคต คือคนที่ไม่เห็นตถาคต แม้ผู้นั้นจะคอยจับจีวรของพระองค์ดึงเอาไว้ ไปทางไหนไปด้วยกันทั้งกลางวันกลางคืน แต่ถ้าไม่เห็นธรรมะแล้ว ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคตเลย

    แม้คนที่มุ่งเข้าถึงพระพุทธเจ้าในทางจิต หากหลงไปยึดว่า พระพุทธเจ้าเป็น อัตตาที่บริสุทธิ์ ไม่เกิดไม่ตาย มีอยู่ในทุกแห่ง พร้อมที่จะปรากฏทุกเมื่อในสมาธิ อินทปัญโญก็ยังบอกว่า วิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นจะถึงทางตันและสิ้นสุดลงเพียงนั้น เพราะเป็นการหลงไปยึดถือเอาตามความรู้ ตามการศึกษาและศรัทธาของตนเองอันคับแคบอยู่

    แม้แต่ความรักในองค์พระพุทธเจ้าของบุคคลบางคนที่เป็นอริยบุคคลขั้นต่ำยังไม่ถึงพระอรหันต์ เช่น พระอานนท์ ในสมัยที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งๆที่พระอานนท์รู้จัก ลู่ทางแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้อง วิถีแห่งพุทธธรรมของท่านก็ยังไม่วายถูกสกัดได้ด้วยภูเขาหรือองค์พระพุทธเจ้าที่ท่านยึดถือไว้ด้วยความรักของท่านเอง

    อินทปัญโญจึงบอกว่า ไม่มีภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมอะไรอื่น นอกไปจาก ความยึดถือเกี่ยวกับตัวตน และ ไม่มีความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนอะไรอื่น ยิ่งไปกว่า ความยึดถือในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่งของตน เพราะฉะนั้น นอกไปจาก “พระพุทธเจ้า” ตามทัศนะของเขาแล้ว แม้ “พระธรรม” ของเขา ก็ยังอาจเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นได้ เพราะอาศัยความยึดถือทำนองเดียวกัน ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึง “พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์หรือคุรุ” ของเขา ซึ่งกลับเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของเขาได้ เพราะอาศัยความยึดถือเช่นเดียวกัน

    บางคนได้ยึดถือเอาเครื่องมือหรือหนทางที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมมาเป็นตัวพุทธธรรมเสียเอง

    บางคนก็ถือเอาเล่มหนังสือหรือพระคัมภีร์เป็นตัวพระธรรมเสียเลยก็มี

    บางคนกลับต้องการให้พระนิพพานหรือพุทธธรรมเป็นบ้านเมือง เป็นโลกอันแสนสุข สำหรับตนจะไปจุติไปเกิดที่นั่น แล้วก็ตั้งบำเพ็ญสมาธิเพื่อความเป็นอย่างนั้น ด้วยอำนาจความยึดถือในด้านวัตถุอันแรงกล้า

    บางคนยึดถือในศีลของตนจนดูหมิ่นผู้อื่น ก่อการแตกร้าวทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องศีล เพราะความยึดมั่นถือมั่นในศีลด้วยความสำคัญผิด ยึดมั่นทุกตัวอักษรอย่างงมงาย

    ศีล จึงอาจกลายเป็นภูเขาขึ้นมาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมก็ได้ เมื่อมีผู้ยึดถือว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความจริงของบุคคลผู้นั้น ซึ่งไม่สามารถจะเห็นเป็นอื่นไปได้ ผลก็คือ ความเนิ่นช้ากว่าจะปีนป่ายภูเขาลูกนี้ข้ามพ้นไปได้

    สมาธิ ก็อาจกลายเป็นภูเขาสกัดทางตัวเองในการเข้าถึงพุทธธรรมของผู้ปฏิบัติ หากเป็นที่ตั้งของความยึดถือโอ่อวด พอใจ หลงใหลในสมาธิของตนตามที่ตนปฏิบัติได้ เพราะความจริงของใคร ก็เป็นความจริงของคนนั้น เท่าที่เขารู้และพอใจยึดถือ จึงยากที่จะยอมเชื่อกันด้วยใจจริง เมื่อยังหลงผิดอยู่ด้วยความยึดถือเช่นนี้ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมก็ยังตั้งสูงตระหง่านขวางหน้าอยู่เพียงนั้น

    แม้แต่ ปัญญา เอง หากเป็นปัญญาที่ไม่รู้จักตัวเอง ยังมีมูลฐานตั้งอยู่บนความจริงของความเชื่อ ความคาดคะเน ก็ย่อมเกิดเป็นภูเขาขวางวิถีทางแห่งพุทธธรรมขึ้นเหมือนกัน ปัญญาของผู้ใดสิ้นสุดหยุดลงตรงไหน ก็บัญญัติเอาเพียงแต่ตรงนั้นว่าเป็นความจริงด้วยบริสุทธิ์ใจของตนและยึดมั่น จนเกิดเป็นลัทธินิกาย ปรัชญาต่างๆ ต่อให้เฉียบแหลมแค่ไหน ก็ไม่วายที่จะเป็นภูเขากั้นขวางทางอยู่ระหว่างตัวเขากับนิพพานจนได้ ด้วยความยึดถืออีกเช่นกัน

    ปัญญาคือแสงสว่างก็จริง แต่คนเราจะรับรู้ได้เท่าที่ปัญญาหรือแสงสว่างของเขาจะอำนวยให้ว่านั่นคือ ความจริง แต่หากผู้นั้นมีปัญญามากขึ้น เขาจะมองต่างไปจากเดิม สิ่งที่เรียกว่าความจริงของเขา ย่อมเปลี่ยนไปตามแสงสว่างหรือปัญญาที่เพิ่มขึ้นของเขา ความแตกต่างจึงขึ้นอยู่กับแสงสว่างหรือปัญญาที่ส่องไปยังวัตถุเรื่องราวนั้น จึงเห็นได้ว่า แสงสว่างนั้นเองที่เป็นผู้บังความจริง ทั้งในด้านจิตและด้านวัตถุ เพราะแสงสว่างชนิดหนึ่งๆ ย่อมให้ความจริงแก่เขาในการเห็นเป็นอย่างหนึ่ง นอกนั้นคือส่วนที่แสงสว่างนั้นบังเอาไว้

    อินทปัญโญได้พูดออกมาจาก ประสบการณ์โดยตรง ของเขาเองที่เพิ่งผ่านมาไม่นานว่า ความจริงที่จริงไปกว่านั้น หรือนอกเหนือไปจากนั้น ซึ่งเขายังไม่เห็นในตอนนั้น คือส่วนที่ปัญญาเพียงขนาดนั้นของเขา แม้จะล้ำเลิศเพียงใดได้ “บัง” เอาไว้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นตัวเขารู้สึกว่า ตัวเขาได้มองดูอย่างทั่วถึงอย่างหมดความสามารถของเขาแล้วอย่างคิดว่า ไม่มีอะไรเหลือซ่อนเร้นอีกแล้ว เพราะเขาเคยรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เขาจึงยึดถือเอาสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นความจริงอันเด็ดขาด ด้วยความสำคัญผิด ซึ่งมันก็ยังเป็นภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาอยู่

    ทั้งๆที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้ และตัวอินทปัญโญเองก็ถึงกับตะลึง เมื่อตระหนักได้ว่า มันเป็นการ “บัง” ของแสงสว่างเสียเอง เพราะแม้ตัวเขาจะได้พยายามตีความพระพุทธวจนะ หรือขบคิดข้อความที่ยากๆ เรื่องอนัตตาอย่างสุดความสามารถเท่าที่ปัญญาของเขามี ซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อย ขณะที่ยังไม่ถึงที่สุด เขาก็ย่อมต้องยึดถือเอาส่วนที่ตัวเขาคิดได้จนแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่เป็นความจริงอันเด็ดขาดของตัวเขา ซึ่งตัวเขาเองเพิ่งมาตระหนักได้ทีหลังว่า

    “นี่ก็ยังเป็นความยึดมั่นในความคิด และความเห็นแจ้งของตัวเราเอง และความยึดมั่นอันนี้ คือภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมของตัวเรา ซึ่งเราเพิ่งทลายมันลงไปได้ด้วย เซน”

    จากประสบการณ์แห่ง ซาโตริ ของตัวเขา อินทปัญโญจึงมองได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่า อัตตวา ทุปาทาน หรือ ความยึดมั่นว่ามีตัวตน นี่แหละที่เป็นมูลฐานของภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ทำให้ ความว่างจากตัวตน ถูกปิดบังอย่างมิดชิด เพราะ ตัวเองที่บังตัวเองที่เป็นความว่าง เป็นสิ่งกีดขวางอันเร้นลับที่สุด

    เพราะไม่มีการรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง จึงเกิดความต้องการพระพุทธเจ้า และสร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยตัณหาของตัวเอง ตามทัศนะของตัวเอง หุ้มห่อตนเอง จนเหลียวไปทางไหนก็พบแต่สิ่งนี้ จนกระทั่งเป็นสัญญาความทรงจำอันเหนียวแน่น เหลือที่จะปัดเป่าออกไปได้

    เมื่อใดที่สามารถรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง คือรู้จักความว่างจากตัวตน เมื่อนั้นก็ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีผู้บังและไม่มีผู้ที่ถูกบัง ไม่มีการแสวงหาเพราะไม่มีผู้ที่มีความอยาก ไม่มีผู้แสวงที่พึ่งและไม่มีผู้ที่จะเป็นที่พึ่ง

    เพราะ ผู้นั้นมีความว่างจากตัวตนแล้ว “พระพุทธเจ้า” ของเขา ก็เป็นความว่างจากตัวตนด้วยเช่นกัน ตราบใดที่คนเรายังคลำตัวเองไม่พบว่าเป็นอะไรกันแน่ ตราบนั้นก็ต้องมีการยึดถือ เที่ยววิ่งตะครุบนั่นนี่ไปตามความยึดถือเป็นธรรมดา จึงไม่อาจพบและเข้าถึงพุทธธรรมได้

    อินทปัญโญได้ทำลายภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว!
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว
    ตลอด ๗ วัน พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว
    ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปฏิโลมด้วยดี ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
    คือ พระอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
    และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นสมัยอื่น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
    และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า
    ดังนี้รูป ดังนี้เหตุเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป
    ดังนี้เวทนา ดังนี้เหตุเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา
    ดังนี้สัญญา ดังนี้เหตุเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
    ดังนี้สังขาร ดังนี้เหตุเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร
    ดังนี้วิญญาณ ดังนี้เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
    เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ไม่นานนัก
    จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่นแล ฯ
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปัญญาขั้นสูงเห็นสมาธิเป็นภัยไปหมด หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อค่ำวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

    ปัญญาขั้นสูงเห็นสมาธิเป็นภัยไปหมด
    วันนี้เป็นวันเข้าพรรษาเริ่มแต่วันนี้ไป กรุณาทราบเขตของวัด กำแพงนอกนั้นเป็นเขตของวัดป่าบ้านตาด กำแพงในขยายออกไปเป็นกำแพงนอก เข้าพรรษาไม่มีการงานอะไร มีหน้าที่ประกอบความพากเพียรโดยถ่ายเดียว ในพรรษาเป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพระเราและผู้มาปฏิบัติในวัด ให้ตั้งหน้าตั้งตาประกอบความพากเพียร เพียรดูใจนั้นละสำคัญมาก ใจเป็นตัวมหาเหตุ กระดิกพลิกแพลงจะออกจากใจทั้งนั้นไม่ออกจากทางอื่น ใจนี่สำคัญมาก ให้พากันดูหัวใจตัวเอง เรียกว่าภาวนา คืออบรมใจ

    ใจมีความคึกความคะนองตลอดเวลา ทั้งเด็กผู้ใหญ่เฒ่าแก่ชรา ใจนี้ไม่มีวัย มีความคึกคะนองอยู่ตลอดเวลา ไปตามนิสัยของใจที่มีกิเลสบีบบังคับให้เป็นไป เพราะฉะนั้นเวลาเข้าพรรษาให้พากันตั้งอกตั้งใจ การภาวนาถือสติเป็นสำคัญ อย่างอื่นไม่ได้สำคัญ ถ้าลงขาดสติแล้วจะอิริยาบถใดก็ตาม เดินจงกรมนั่งสมาธิก็ขาดความเพียรไปในขณะที่สติขาดไป สตินี้เป็นของสำคัญมากทีเดียว ถ้าลงขาดสติแล้วความเพียรก็ไม่ก้าวหน้า

    การตั้งสตินี้ส่วนที่มาเกี่ยวข้องมีอยู่ประเภทหนึ่ง คือร่างกายถ้ามีความสมบูรณ์พูนผลจริงๆ เช่น การขบการฉันอิ่มหนำเต็มที่แล้ว การภาวนาสติจะไม่ติดต่อกัน ผิดพลาดๆ ถ้าผ่อนอาหารลงไปสติจะดีขึ้นๆ ยิ่งอดอาหารด้วยแล้วสติแน่วเลย อันนี้เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติจะนำไปพิจารณาตัวเอง เช่นอย่างฉันทุกวัน หรือกินทุกวันแต่ไม่ให้มาก ถ้ามากแล้วมันท่วมทับ สติตั้งไม่ค่อยอยู่ ตั้งล้มผล็อยๆ พลังของร่างกายนี้มันเสริมกิเลสได้เป็นอย่างดี จึงต้องระมัดระวัง

    ส่วนมากสติจะไม่พ้นจากเรื่องของอาหารนี่ละเป็นข้าศึก นี่ได้พิจารณาปฏิบัติมาแล้ว ได้ผ่อนสั้นผ่อนยาวอดบ้างอิ่มบ้าง อิ่มก็เพียงอิ่มเบาะๆ ไม่ให้อิ่มเต็มที่ คือพอทรงตัวอยู่ได้เท่านั้น จากนั้นก็ผ่อนลงหรืออด สติจะดีโดยลำดับลำดา สตินี้สำคัญอยู่ที่ร่างกาย ถ้าร่างกายมีกำลังมากสติจะตั้งผิดพลาดๆ อยู่เสมอ ถ้าร่างกายมีกำลังน้อยสติค่อยดีขึ้นๆ เพราะฉะนั้นพระนักปฏิบัติจึงชอบผ่อนอาหารอดอาหารกันเป็นจำนวนมาก เพราะอันนี้ช่วยการตั้งสติความเพียรได้ดี

    แต่อันนี้เป็นเรื่องของอัธยาศัยของแต่ละราย จะว่าไม่ใช่คำสั่งไม่ใช่คำสอนก็ไม่ผิด เป็นคำบอกเล่าให้ไปพินิจพิจารณาตัวเองเท่านั้น การผ่อนอาหารนี้ดี ร่างกายก็เบา แล้วการประกอบความเพียรตั้งสติดี สตินี้เป็นความจำเป็นทุกขั้นนะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนกระทั่งมหาสติมหาปัญญา ใครตั้งสติดีผู้นั้นจะตั้งรากตั้งฐานได้เร็ว สติเป็นของสำคัญ ถ้ามีสติติดแนบอยู่กับใจกิเลสจะไม่เกิด มันจะมีมากมีน้อยเท่าไรดันขึ้นมาจนหัวอกจะแตกก็ตาม แต่สติบังคับไว้ สังขารเป็นสังขารของกิเลส สังขารของสมุทัยมันจะขึ้นไม่ได้ อวิชชาละตัวดันให้อยากคิดอยากปรุงอยากรู้อยากเห็น อยากๆ ตลอด เรียกว่าสมุทัย สังขารปรุง พอปรุงพับเป็นกิเลสแล้วกลับมาเผาตัวเอง

    ทีนี้เมื่อสังขารปรุงไม่ได้ เพราะสติทับหัวมันไว้นี้กิเลสไม่เกิด มันจะหนาแน่นขนาดไหนก็อยู่ภายในนี้ออกไม่ได้ นี่ได้พิจารณาทุกอย่าง ได้ดำเนินมาแล้วจึงได้มาสอนหมู่เพื่อน เอาจนกระทั่งถึงว่าตั้งสตินี้... คือลงใจแล้วว่าการตั้งสติติดอยู่กับคำบริกรรมในขั้นเริ่มต้นเพื่อรากฐานของใจต้องอาศัยสติ ลงใจแล้วว่าตั้งสติให้ติดแนบอยู่กับคำบริกรรม คำบริกรรมจะบริกรรมคำใดก็ตามตามแต่จริตนิสัย แต่สติให้ติดแนบอยู่นั้นแล้วกิเลสจะไม่เกิด มันจะมีมากขนาดไหนไม่เกิดกิเลส พอเผลอสติแพล็บออกแล้วๆ นั่นละกิเลสเกิด ออกจากสังขารกับสัญญา สัญญาก็ออกไม่ได้ถ้าสังขารออกไม่ได้ ที่นี่พอสังขารออกได้แล้วจะออกทุกอย่างๆ ไปพร้อมๆ กันเลย ให้พากันสังเกตนะ

    เรื่องกิเลสมีอยู่ภายในใจ ทางออกของมันคือสังขารเป็นสำคัญ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นั่นละดันออกมา พอมันปรุงแพล็บนี้เป็นไฟกองหนึ่งขึ้นมาแล้ว ปรุงต่อไปๆ เป็นสร้างกองฟืนกองไฟเผาหัวอกตัวเองหาความสงบไม่ได้ ถ้าสังขารเกิดขึ้นไม่ได้ สติติดแนบอยู่จิตใจจะค่อยสงบเย็นๆ เพราะการปรุงไม่ให้ปรุง ให้ปรุงแต่งานของธรรม เช่นพุทโธ เป็นต้น คำชอบคำใดก็ให้เอาคำนั้นมาเป็นงานของธรรม บังคับจิตให้อยู่กับงานอันนั้น สติให้ดีไม่ให้ละแล้วจิตจะค่อยสงบลงไปๆ จนเย็นไปหมดในจิตใจของเรา เพราะกิเลสเกิดไม่ได้

    สติยิ่งแน่นหนามั่นคง ความดันของกิเลสคือสังขาร มันดันขึ้นมาอยากคิดอยากปรุงค่อยเบาลงๆ ความสงบเย็นใจนี้ค่อยเย็นขึ้นๆ มีความแน่นหนามั่นคงมากขึ้นๆ ต่อไปก็ตั้งรากฐานคือความสงบเย็นใจได้ จากนั้นไปก็เป็นสมาธิ สมาธิคือความแน่นหนามั่นคงของใจ เมื่อเป็นสมาธิแล้วความคิดความปรุงก็จางไปๆ จนกระทั่งว่าคิดปรุงขึ้นมารำคาญ มีแต่ความรู้เด่นอยู่อันเดียวด้วยสมาธิเท่านั้น อยู่ที่ไหนอยู่ได้สบายๆ นี่จิตเป็นสมาธิ สังขารปรุงรำคาญไม่อยากปรุง เพราะฉะนั้นจึงติดสมาธิ

    ผู้มีจิตแน่นหนามั่นคงในสมาธินี้ติด เพราะมันทำให้เพลิน นั่งอยู่กี่ชั่วโมงก็ตามเหมือนหัวตอ คือจิตมันแน่วอยู่อย่างนั้นตลอดไป คิดปรุงอะไรขึ้นมารำคาญ ไม่อยากคิดอยากปรุง หนักเข้าๆ ก็ติดสมาธิ ไม่ออกทางด้านปัญญา การพิจารณาทางด้านปัญญาเห็นว่าเป็นการรบกวนใจ ปัญญาคือออกทำงาน สมาธิทำให้ขี้เกียจไม่อยากออกทำงานทางด้านปัญญา ทีนี้ปัญญาก็ไม่เกิด ติดอยู่สมาธิ ติดจนวันตายถ้าไม่ลากจิตจากสมาธินี้ออกทางด้านปัญญา ทางด้านปัญญานี้ต้องพาคิด เพราะจิตมีความแน่นหนามั่นคงแล้วไม่อยากคิดอยากปรุงอันเป็นงานว่างั้นเถอะ ขี้เกียจ คิดปรุงเรื่องธาตุเรื่องขันธ์เรื่องอะไรมันขี้เกียจ อยู่เฉยๆ รู้แน่วอยู่ภายในใจมันสบาย นี่ละนักภาวนาสติสมาธิก้าวไม่ออก ถ้าติดสมาธิแล้วไม่มีทางก้าวออก

    ต้องดึงออก เมื่อจิตมีสงบในขั้นใดพอเป็นไปแล้วให้ออกทางด้านปัญญา ตามกาลเวลาที่จะควรออกปัญญา ตามกาลเวลาที่จะเข้าสู่สมาธิพักจิตใจ คำว่าปัญญานี้เอากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าประทานให้ ขึ้น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ครอบหมดในสกลกายเรา พิจารณานี้แล้วแต่เราชอบกรรมฐานใด เกสา โลมา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เราชอบอะไรก็พิจารณา มันจะลุกลามเข้าไปหมดนั่นละ ท่านสอนไว้เพียงเท่านั้น พอถึงหนังแล้วท่านหยุด เพราะหนังเป็นสำคัญ หุ้มห่อสัตว์บุคคลไว้ให้ลืมเนื้อลืมตัว ลืมเขาลืมเรา กลายเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นหญิงเป็นชาย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าไปหมดเพราะหนังนี้หุ้มห่อ

    พอพิจารณาไปถึงหนัง ถลกหนังออกแล้วเป็นยังไงคนเรา ทั้งหญิงทั้งชายทั้งสัตว์อะไรก็ตาม มีความน่าดูหรือสวยงามที่ตรงไหน ไม่มี นั่นละท่านให้พิจารณาทางด้านปัญญา พิจารณาแยกออกตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไล่ไป หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ภายในทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัญญา คลี่คลายดูให้ดี นี่เรียกว่าปัญญาพิจารณา ปัญญาออกแล้วจะสว่างไสวกว้างขวางออกไปมาก เพียงสมาธิไม่กว้าง มีแต่ความสงบใจเท่านั้น อยู่ไปๆ วันหนึ่งๆ หาความแยบคายกว่านั้นไม่มี แต่พอออกทางด้านปัญญาแล้วความแยบคายออกเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

    ทีแรกก็พิจารณาร่างกายก่อน พิจารณาร่างกายจนมีความชำนิชำนาญ กำหนดให้เป็นอย่างไรเป็นไปตามต้องการ ให้แตกกระจัดกระจายต่อหน้าต่อตา กำหนดเมื่อไรได้ทั้งนั้นๆ นี่เรียกว่าปัญญามีความคล่องแคล่ว พิจารณาส่วนนี้ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะอสุภัง ค้นอยู่ในร่างกายของเขาของเราภายนอกภายในเป็นกรรมฐานด้วยกัน นั่นละปัญญาให้พิจารณาอย่างนั้น เมื่อปัญญาออกแล้วจะเป็นการถอนกิเลส ลำพังสมาธิไม่ได้ถอนกิเลส เพียงตีกิเลสให้สงบตัวเข้ามาเท่านั้น ปัญญาต่างหากที่คลี่คลายออกไปฆ่ากิเลสโดยลำดับลำดา ตั้งแต่ส่วนหยาบจนกระทั่งกิเลสสุดยอด ไม่เหนืออำนาจของปัญญาไปได้เลย จึงต้องพิจารณาทางด้านปัญญา

    เมื่อจิตใจเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะการพิจารณาไม่หยุดไม่ถอยแล้วให้พักในสมาธิ ถึงไม่อยากพักก็ต้องพัก จะเห็นแต่ผลรายได้ๆ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจะเป็นจะตายไม่คำนึงไม่ได้นะ ถึงได้ก็ได้แต่กำลังวังชาหมดไปสิ้นไปอ่อนเพลียลง ต้องเข้าพักสมาธิ สมาธิเป็นที่พักจิต พักนอนก็ได้ พักสมาธิก็ได้ พักสมาธินี่เรียกว่าพักจิตโดยตรง ไม่ให้คิดให้ปรุงกับเรื่องอะไร เข้าสมาธิแล้วจิตแน่วเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม ทีนี้พอสมาธิมีกำลังแล้ว ถอยออกทางด้านปัญญามันจะพุ่งๆ ของมันเลย ให้พากันจำเอานะ วันนี้ผมเทศน์ยากมากนะ เดี๋ยวนี้พูดนี้ออกทางหูทั้งสองข้าง ผมฝืนพูดเฉยๆ เหมือนว่าปากจะไม่มี มันดังอยู่ในนี้ ให้พากันพิจารณา

    การปฏิบัติพอมีความสงบ เรียกว่าจิตอิ่มอารมณ์ อารมณ์คิดนู้นคิดนี้ เมื่อจิตสงบจิตเป็นสมาธิแล้วจากนั้นให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา เมื่อพิจารณาทางด้านปัญญาพอมันเข้าใจเหตุผลทุกอย่างแล้วมันจะเพลิน เพลินจนลืมเนื้อลืมตัวลืมกลางวันกลางคืน ลืมหลับลืมนอน ปัญญาเพลิน ให้หักเข้ามาเวลามันเพลิน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทางหัวอกนี่แหละเหน็ดเหนื่อยมาก แต่จิตมันไม่ถอย มันหมุนติ้วๆ กับการพิจารณาเพื่อฆ่ากิเลส ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม เราเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าให้พักเข้ามาสู่สมาธิเสียก่อน พักไม่ให้คิดให้ปรุงทางด้านปัญญา ให้เข้าสู่สมาธิมีอารมณ์อันเดียว พอสมาธิมีกำลังแล้วถอยออกมาก็พุ่งทางด้านปัญญาเลย

    ยิ่งเป็นปัญญาขั้นสูงด้วยแล้วเห็นสมาธิเป็นภัยไปหมดเลย ปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส สมาธิไม่แก้ นั่นเอาละนะ สมาธิตีตะล่อมเพื่อเอากำลังทางด้านปัญญา พอถอนออกจากนี้แล้วก็ออกทางด้านปัญญาพิจารณา เอาธาตุเอาขันธ์นี่ละ อสุภะอสุภัง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา เหล่านี้เป็นทางเดินพิจารณา ตลบทบทวนไม่รู้กี่ครั้งกี่หน เอาความชำนิชำนาญความคล่องแคล่วเป็นประมาณ ร่างกายนี้เวลาพิจารณาพอตัวแล้วมันก็อิ่มเหมือนกัน ไม่ใช่จะพิจารณาคล่องแคล่วเท่าไรจะพิจารณาไปตลอด ไม่ใช่นะ จิตนอกจากคล่องแคล่วไปแล้วมันพอตัวมันปล่อยทางเรื่องร่างกาย รูปธรรมมันปล่อย อิ่มตัวปล่อย ไม่เอาละที่นี่

    จากนั้นมันจะก้าวเข้าสู่นามธรรม พวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อาศัยทางรูปธรรมนี้บ้างเพียงเล็กน้อยๆ นี่เรียกว่าจิตปล่อยร่างกาย พอตัวแล้วปล่อยเองหากรู้ทุกคน พอพิจารณาถึงขั้นมันอิ่มแล้วมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วก็เดินทางนามธรรม พวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตคิดปรุงจากใจของเรานี้ละ เกิดดับๆ สัญญาอารมณ์จะเกิดจากใจ ให้พากันพิจารณาอย่างนี้ เมื่อเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วให้พักจิต พักเข้าสู่สมาธิ สมาธิเป็นเรือนพักของใจ ที่ทำงานทางด้านปัญญาอ่อนเพลียลงแล้วต้องเข้าพักทางสมาธิ อย่าปล่อยนะ อันนี้เป็นงานสม่ำเสมอ ทางด้านปัญญาเวลามันออกมากๆ แล้วจะไม่สนใจพัก มันเพลินทั้งวันทั้งคืน บางคืนนอนไม่หลับ มันเพลินตลอด เพลินในการฆ่ากิเลส เรียกว่าสติปัญญาอัตโนมัติเป็นไปเอง หมุนติ้วๆ ตลอด

    ถึงอย่างนั้นก็ตามมันมีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าได้ ให้ย้อนเข้ามาสู่สมาธิพักเสีย พักในสมาธิ พอพักในสมาธิแล้วจิตจะมีกำลังวังชาสงบเย็นทีเดียว พอมีกำลังแล้วออกทางด้านปัญญานี้คล่องตัวๆ ให้พากันพิจารณาอย่างนี้ วันนี้ผมเทศน์ยากมาก ผมฝืนเอานะ เดี๋ยวนี้ออกทางหูตลอดเวลา ไม่ทราบจะพูดไปอะไร การประชุมพระก็ไม่มีเวลาจะประชุม วันนี้เป็นวันจำเป็นที่สุดแล้วที่จะประชุมและเทศนาว่าการให้ผู้ฟังทั้งหลายเข้าอกเข้าใจ มันก็ไปไม่สะดวกอย่างนี้แหละ หูทำงานเดี๋ยวนี้ ปากไม่ได้ทำงานนะ พอพูดคำใดออกทางหูๆ หูทำงานแทนเสียไม่ทราบมันเข้าอันนี้(ไมค์) หรือเปล่าก็ไม่รู้ ลำบาก เทศน์ยากมาก ให้ท่านทั้งหลายจดจำเอา เทศน์ย่อๆ เพียงเท่านี้แหละ เทศน์มากกว่านี้ไม่ไหวธาตุขันธ์ เวลานี้อ่อนเต็มที่ มีแต่หูทำงานโหวๆ พูดคำไหนออกทางหูๆ หมดหัวมีแต่เสียงกังวานไปด้วยกันหมด เสียงอรรถเสียงธรรมที่จะออกมานี้แทบไม่มี ให้พากันจำเอา เอาละวันนี้เทศน์เพียงเท่านี้

    พวกอยู่ข้างในพากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัตินะ อย่าอยู่เด้นๆ ด้านๆ อะไรที่ขวางต่อวัดต่อวาต่ออรรถต่อธรรมอย่านำเข้ามา เช่นเก้าอี้เก้าแอ้ใครเอาเข้ามา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยเก้าอี้เหรอ เราอยากถามว่าอย่างนั้นนะ ตรัสรู้ด้วยฟูกด้วยหมอนที่หลับที่นอนสวยๆ งามๆ นอนหลับครอกๆ ตะวันเที่ยงก็ไม่ตื่นนั้นเหรอเป็นของดิบของดี ไปที่ไหนมีแต่เรื่องร่างกายออกหน้า ความสุขเพื่อกายๆ ความสุขเพื่อหัวใจไม่มี ทำอะไรมีแต่เรื่องวัตถุออกหน้าๆ เราสลดสังเวชนะ กีดขวางไว้ขนาดไหนมันก็ไหลเข้ามาๆ ธรรมท่านพอดี ท่านไม่ได้ยุ่งกับสิ่งภายนอก เอามาปรนปรือหาอะไรร่างกาย

    ที่นอนหมอนมุ้ง ที่อยู่ที่กินอะไรให้ดีหมดกับร่างกาย แต่ใจจะเป็นยังไงไม่สนใจ นี่ละเสียตรงนี้ผู้ปฏิบัติ ส่วนโลกไม่ต้องพูดแหละเขามีอย่างนั้นเป็นพื้นฐานของเขา ส่วนธรรมผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรจะเอาวัตถุต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธาตุของขันธ์ของร่างกายเข้ามาเหยียบธรรม กายนอนหลับสบายละดี อะไรก็ดีๆ เมื่อวานนี้เห็นใครเอาเก้าอี้หวายเก้าอี้เหวยมา เราบอกให้เอาปาเข้าป่ามันยังอยู่นั้น จะเอาไปไหนเอาไปเสีย หรือจะไปเผาไฟก็เผาเสีย พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้กับสิ่งเหล่านี้ เหล่านี้ไม่มีค่านะ เป็นภัยต่อการภาวนาให้ลืมเนื้อลืมตัว การเป็นอยู่หลับนอนสะดวกสบายเท่าไรยิ่งขี้เกียจนักภาวนา วัดนี้จึงไม่ให้มี เก้าอี้เก้าแอ้เอามาหาอะไร

    ท่านอยู่ตามสภาพของท่านพอดิบพอดีนี้เหมาะแล้ว เป็นธรรมแล้ว มีค่ามากแล้ว สิ่งเหล่านั้นมีค่าอะไร จะมาเหยียบธรรมต่างหาก อะไรก็สะดวกกายๆ หาเข้ามาปรนปรือล้นวัดล้นวาสิ่งที่ไม่เป็นท่านั่นน่ะ สิ่งส่งเสริมกิเลสมันหากขนเข้ามาๆ มองไม่ทันนะ วัดนี้เหมือนกันมันล้นเข้ามา ตีออกๆ เอามาต่อหน้าให้เอากลับคืนต่อหน้า ไม่เอา เช่นพวกเก้าอี้พวกโต๊ะพวกอะไร ที่นอนหมอนมุ้งพวกฟูกพวกอะไรที่ว่าสวยๆ งามๆ หรือดีๆ ให้ปาเข้าป่าเราบอกอย่างนี้เลย นี่ละพวกข้าศึกของธรรมคือเหล่านี้เองจะเป็นอะไรไป ผู้ปฏิบัติธรรมท่านไม่สนใจ อยู่ที่ไหนนอนที่ไหนหลับที่ไหนได้ กินอะไรกินได้หมด ใช้อะไรใช้ได้หมด นี้คือผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรม ท่านถือธรรมเป็นหลักเกณฑ์ สิ่งเหล่านั้นเป็นข้าศึกต่างหาก ถ้าปรนปรือมากๆ เข้ามาแล้วหมด เรื่องทางด้านจิตใจจะไม่มี มันแฝงเข้ามาๆ น่าทุเรศนะ

    นี่พยายามกั้นกางเอาไว้ มันก็ล้นเข้ามาๆ ส่วนมากมักจะทำ เช่นการก่อการสร้างยุ่งนั้นยุ่งนี้ จะทำเวลาเราไม่อยู่ เวลาเราอยู่ทำไม่ได้เดี๋ยวหน้าผากมันแตก ตีกบาลเอาละซี อะไรเลิศยิ่งกว่าธรรม ดูหัวใจให้ดีซิ ดูหัวใจตลอดเวลา สติฟาดเข้าไปๆ ตัวยุ่งอยู่ที่หัวใจ พอตัวยุ่งขาดสะบั้นไปหมดแล้ว อยู่ไหนสบายหมด ไม่ได้ยุ่งนะ ได้อะไรกินอะไรสบายหมด นอนอย่างไรสบายหมด ธรรมท่านเป็นอย่างนั้น ไอ้ไม่พอๆ มีแต่กิเลสทั้งนั้น อันนั้นก็ไม่พอ อันนี้ไม่พอ อันนั้นก็ดี อันนี้ก็ดี ดีเรื่องกิเลส เรื่องธรรมไม่เห็นว่าเลย ปรนปรือเหลือเกินเรื่องร่างกาย อยากให้ดิบให้ดีทุกอย่าง ให้อยู่สะดวกสบายร่างกาย หัวใจเป็นไฟ กิเลสเผาอยู่นั้นทำไมไม่ดู นั่นละท่านผู้ปฏิบัติ
    เห็นไหมศีล ๘ ท่านแสดงไว้ว่า อุจฺจาสยน มหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ไม่ให้หลับให้นอนที่นอนอันสูงและใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี เห็นไหม นั่นมันหมูนอน นอนอย่างนั้น ถ้าผู้มีศีลมีธรรมนอนไม่นอนอย่างนั้น นอนแบบผู้มีศีลมีธรรมสบายหมด ไอ้พวกหมูนอนหานอนอย่างนั้นละ เห็นไหมพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ มันทำเป็นความเพลิน เห็นการหลับการนอนดีกว่าธรรมไปหมด ธรรมเลยก้าวไม่ออก อะไรก็เพื่อกายๆ อยู่ดีกินดี หลับนอนดี ส่วนไฟเผาหัวใจอยู่นั้น มันไม่สนใจ นี่ละมันน่าทุเรศนะ

    นี่ปฏิบัติมาไม่พูดเฉยๆ มันเป็นอยู่ในใจนี่ มันคุ้นกับอะไรโลกอันนี้ ดูอะไรปั๊บๆ มันจับปุ๊บๆ ทะลุไปเลยๆ เป็นเหมือนคนใบ้ เฉย พูดออกไปดีไม่ดีเขาหาว่าบ้า พูดออกไปเป็นบางประโยค เขาจะโกยโทษใส่เขา ทั้งๆ ที่ทางนี้เป็นธรรม เขารับธรรมไม่ได้ รับได้แต่โทษก็เป็นโทษไปหมด จึงหูหนวกตาบอด เป็นเหมือนคนใบ้ ไปที่ไหนดูเอาๆ แม้อยู่ในวงวัดของเรา ควรจะพูดเราก็พูดละซิ ไม่พูดได้อย่างไร เรารับผิดชอบทั่วทั้งวัด เราต้องแนะ อย่าเห็นวัตถุดีกว่าธรรมนะ อยู่อย่างไรอยู่ได้ อย่าหามาปรนปรือนักนะร่างกาย ปรนปรือหาอะไร ไม่มีในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ปรนปรือส่วนร่างกาย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่อะไรให้หรูหราฟู่ฟ่า ไม่มีในธรรม มีแต่กิเลส แฝงขึ้นมาแล้วกลายเป็นใหญ่เวลานี้

    อะไรไม่หรูหราไม่ใช่ธรรมแล้วเดี๋ยวนี้ นั่นละกิเลส เวลามันหรูหราขึ้นมามากๆ มันเหยียบหัวธรรม ปฏิเสธธรรมว่าไม่มี ไม่ใช่ธรรม สิ่งที่เป็นธรรมคือกิเลสทั้งกองๆ อะไรจึงปรนปรือกันแต่เรื่องกิเลส ร่างกายนี้แหม ทะนุถนอมเอามากทีเดียว ไม่ให้อะไรแตะได้แหละ การอยู่ก็อันนี้ไม่อร่อย อันนั้นไม่อร่อย หามาให้อร่อย ให้อร่อยลิ้นอร่อยปาก ธรรมเผ็ดร้อนขนาดไหน กิเลสเผาอยู่นั้นมันไม่ดูนะ การอยู่การกิน การหลับการนอน ปรนปรือกันให้พอๆ มีแต่เรื่องกิเลสทั้งนั้น พูดแล้วสลดสังเวช

    ผู้ที่ประสงค์ธรรมในใจ ท่านไม่ยุ่งกับสิ่งเหล่านี้ ยิ่งมีธรรมภายในใจ ตั้งแต่ความสงบร่มเย็นขึ้นไปเรื่อยๆ แล้ว ท่านจะปัดหมดสิ่งเหล่านี้ จนกระทั่งถึงขั้นพอดี อะไรขัดกับธรรมรู้หมด เมื่อธรรมเป็นของพอดี พอดีอย่างเลิศเลอนะไม่ใช่พอดีธรรมดา มันมาขัดกับธรรมอะไรๆ ปัดออกๆ ทันทีๆ อันนี้ไอ้สิ่งที่ขวางธรรม โลกชอบ เพราะเป็นโลกกิเลสชอบอย่างนั้น เรื่องธรรมกิเลสไม่ชอบ ผู้ปฏิบัติธรรมก็หลงกลกิเลส กิเลสไม่พาชอบก็ไม่ชอบ จึงปรนปรือแต่เรื่องร่างกาย ปรนปรือเอาเหลือประมาณ จิตใจแห้งผากๆ เรียกร้องหาความช่วยเหลือจากเจ้าของ ด้วยการชำระสะสางกิเลสที่อยู่ในจิตให้เบาบางไปบ้าง แต่เจ้าของไม่สนใจ พากันพิจารณานะ

    เทศน์ก็ยากลำบากเดี๋ยวนี้ เห็นไหมล่ะ แก่แล้ว พูดนี้เสียงมันลั่นออกทางหู ก็ทนเอาทนพูด ให้ผู้ฟังทั้งหลายพิจารณา ใจนี้เลิศเลอสุดยอด ขออบรมให้ดี ใจเดี๋ยวนี้ถูกเหยียบย่ำทำลายด้วยอำนาจของกิเลส มีแต่กิเลสเลิศเลอในหัวใจสัตว์ หลงไปตามกิเลส ไม่มีใครระลึกได้รู้เนื้อรู้ตัวนะ ท่านผู้รู้ธรรมเห็นธรรม ถ้าจะพูดภาษาโลก ท่านหัวเราะวันยังค่ำ หัวเราะโลกที่มันเป็นบ้ากันทั่วโลกดินแดน แต่ธรรมท่านจะไปว่าอะไร ธรรมจะไปกระทบกระเทือนใคร รู้เหมือนไม่รู้ เห็นเหมือนไม่เห็น เฉยอยู่อย่างนั้น ถ้าใครเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรแนะนำสั่งสอนหนักเบามากน้อยท่านก็สอนไป ถ้าใครไม่มาเกี่ยว ท่านก็ไม่สนใจ เพราะท่านพอแล้วในธรรม พอธรรมในหัวใจแล้ว
    พากันตั้งใจปฏิบัติ อย่าปรนปรือนักนะร่างกาย ไปที่ใดปรนปรือเหลือประมาณ อันนั้นไม่ดี อันนี้ไม่ดีไปละ มานี้จะเอาโลกเข้ามาเหยียบหัวธรรม เอาเรื่องวัตถุภายนอกเข้ามาเหยียบหัวธรรมต่อไปนี้ เดี๋ยวนี้มันเป็นแล้ว เห็นอยู่แล้ว จะเอาวัตถุเป็นเรื่องของกิเลสมาเหยียบหัวผู้ปฏิบัติธรรมให้แหลกเหลวไปตามๆ กันหมด ให้พากันจำ
    โอ๊ เลอะเทอะมากวัดป่าบ้านตาด เวลานี้เลอะเทอะมากที่สุด สำหรับพระเราก็ไม่ได้ต้องติท่าน ท่านดีตลอดพระน่ะ ส่วนทางด้านในละซี มาจากแบบอะไร โลกไหนต่อโลกไหน ทิศใดทางใดไม่รู้เข้ามาผสมกัน ทั้งตดทั้งขี้ผสมกันแล้วก็เป็นส้วมเป็นถานหมดเลย ไม่มีอะไรเป็นชิ้นดี อยู่อย่างไร บางรายมาอยู่มากินมานอนเฉยๆ ก็มีเยอะอยู่ในนั้นน่ะ มันไม่สนใจในอรรถในธรรมนะ จากนั้นทะเลาะกันก็มี แต่มันไม่ได้แสดงมาถึงเรา เพราะเหตุไร ถ้าแสดงมาถึงเราเรื่องทะเลาะแล้วจะได้ออกทันที เราไม่ชำระ ถ้าลงได้ทะเลาะกันแล้ว ขั้นนี้ขั้นสุดยอดแล้ว เอาไว้ไม่ได้แล้ว ตัดทันที เอาออกทันที เพราะฉะนั้นจึงไม่กล้าแสดงให้เราเห็นละซี เห็นก็เอาจริงเอาจัง เอาละวันนี้พอ พอสมควรแล้ว

    ที่มา Luangta.Com -
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๑๗/๒๘๘
    ๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
    [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสป
    นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
    [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง
    พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า
    สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใดตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และ
    สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้น
    ในโลก ตราบใดตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำ
    ธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น แยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรม
    จึงเลือนหายไป ฯ
    [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
    ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้
    พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยัง
    ไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความฟั่นเฟือน
    เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
    อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑
    ในสิกขา ๑ ในสมาธิ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน
    เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความตั้งมั่น
    ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
    อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑
    ในสิกขา ๑ ในสมาธิ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่น
    เฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๑๓
    จบกัสสปสังยุตต์ที่ ๔

    "สัทธรรมปฏิรูป" น่ากลัว น่าหวาดเสียว ยิ่งใหญ่จริงๆ สัทธรรมปฏิรูปได้บังพระสัทธรรมเสียแล้ว พระสูตรที่ผมยกมามีอยู่ในพระไตรปิฏกทุกพระสูตร เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ต้องเชื่อผม ท่านไปเปิดอ่านกันได้ครับ คนสมัยนี้แปลกคน พระสูตรซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังไม่เห็นด้วย
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้
    โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี
    เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมีเมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี
    เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมีชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี
    อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯ

    ----
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     
  20. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,800
    บทความนี้ท่านก็มิได้กล่าวว่าใครจะตกนรกถ้าสร้างพระพุทธรูป
    เพียงแต่ท่านชี้ให้เห็นถึงสภาวะแห่งพุทธะที่มีอยู่จริง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...