บัญชีชีวิต

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 25 มิถุนายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <CENTER>บัญชีชีวิต</CENTER>


    โดยพระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

    คนทุกคนเกิดมามีบัญชีชีวิตติดมาด้วย เป็นบัญชีที่ติดมากับใจหรือจิต ซึ่งบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มากมาย ทั้งเรื่องดีและชั่ว จากการกระทำของตน

    เรื่องที่แต่ละบุคคลทำไว้เรียกว่า"กรรม" นับแต่อดีตชาติอันยาวนาน ตลอดจนชาติปัจจุบันได้รับการบันทึกสะสมไว้ในจิต

    จิตไม่มีวันตาย การตายในแต่ละชาติตายแต่เพียงร่างกาย ด้วยเหตุนี้จิตแต่ละดวงของทุกชีวิตจึงบันทึกความดี-ชั่ว จากการกระทำของตนความดี เรียกว่าบุญ จะช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูชีวิต นำความสุขมาให้ ความชั่ว เรียกว่า บาป จะคอยบั่นทอนเป็นอุปสรรคขัดขวางชีวิต นำความทุกข์มาให้

    ชาวโลกมีทัศนคติถือเอาทรัพย์สิน โดยเฉพาะเงินเป็นตัววัดฐานะของบุคคลในสังคม หากเปรียบในรูปของบัญชี บุญจึงเปรียบได้กับทรัพย์สิน ใครมีมากก็จะร่ำรวย มีความเป็นอยู่อย่างสะดวก สบาย เป็นพื้นฐานของความสุข

    บาปเปรียบได้กับหนี้สิน ใครเป็นหนี้ใครก็ถูกเจ้าหนี้เขามาตามทวงต้องใช้หนี้เขาคืน บางรายเป็นหนี้ใหญ่ เวลาใช้คืนย่อมกระทบกระเทือนต่อสถานะความเป็นอยู่ของตนเป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้เวลาได้รับเคราะห์กรรมหนัก ๆ ก็อย่าไปโทษใครเลย เป็นหนี้ที่เราติดค้างเขาอยู่ เขามาทวงคืน ใช้เขาคืนไปเสียจะได้สิ้นเรื่อง


    ในทางบัญชีนั้นใคร ๆ ก็อยากมีทรัพย์สินมาก ๆ ไม่มีใครอยากมีหนี้สิน แต่ใครเล่าเป็นผู้สร้างหนี้สินให้กับตน ถ้าไม่ใช่ตนเองเป็นผู้ก่อ บัญชีชีวิตที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดดังกล่าวเรียกว่า บัญชีทางธรรม ซึ่งเป็นบัญชีที่มีความสำคัญ ดังจะกล่าวโดยละเอียดในตอนต่อไป

    ๑. บัญชีทางโลก

    มีบัญชีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า บัญชีทางโลก เป็นบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ สิ่งของ ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการดำเนินชีวิต บัญชีนี้มิได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิดจึงต่างจากบัญชีทางธรรม

    บัญชีทางโลกเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มาภายหลังจากเกิดแล้ว โดยปกติวันแรกที่คนเราเกิดมาลืมตาดูโลกก็ได้ทรัพย์สิ่งของไว้ใช้สอยตามที่มารดา-บิดา หรือผู้มีอุปการะหาให้ เป็นต้นว่า ได้เครื่องนุ่งหุ่มปกปิดร่างกาย ได้ของใช้ไม้สอยต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ทำอะไรเลย หนังสือก็ยังไม่ได้เรียน งานการก็ยังไม่ได้ทำแต่ละคนได้รับทรัพย์สินสิ่งของมากน้อยตามฐานะของครอบครัว

    ครั้นโตขึ้นทำงานหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง ต่างก็หาทรัพย์สินให้กับตนเอง หาสมบัติวัตถุ หรือหาเงินเพื่อเลี้ยงชีวิต เมื่อมีครอบครัวก็ยิ่งทำงานหนัก ขวนขวายหาเงินมากขึ้นเพราะมีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูทั้งตนเอง และครอบครัว ขณะเดียวกันทุกคนก็มีรายจ่าย เพื่อซื้อเครื่องอุปโภค-บริโภคตลอดจนบริการต่าง ๆ เพื่อความเป็นอยู่ของชีวิต

    นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายที่เป็นส่วนเกินโดยไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น เล่นการพนัน เที่ยวเตร่ สนุกสนานบันเทิง เสพสิ่งที่เป็นโทษ เป็นต้น ใครมีเงินมาก คนนั้นก็มีหน้ามีตา มีเกียรติ ได้รับความนับถือในสังคม เพราะเงินมีสภาพคล่องสูงที่จะไปซื้อหาแลกเปลี่ยนสมบัติวัตถุอื่น ๆ และใช้ซื้อบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต

    เงินจึงเป็นยอดปรารถนาของคนทุกชนชั้นในสังคม ใครมีอำนาจทางการเงินสูง ก็สามารถมีอำนาจทางเศรษฐกิจทางการเมือง ทางการบริหาร และมีบทบาทในสังคมสูง เงินจึงเปรียบเสมือนพระเจ้าของคนในยุควัตถุนิยม

    บัญชีทางโลกทุกคนต้องรู้จักบริหารบัญชีของตน คือรู้นึกหารายได้และควบคุมรายจ่าย รายได้หรือรายรับของแต่ละคนไม่แน่นอน เพราะต้องได้รับจากคนอื่นขึ้นอยู่ว่าคนอื่นเขาจะให้หรือไม่ จะให้มากหรือน้อยเราก็ไปบังคับเขาไม่ได้ เป็นต้นว่า หากทำมาค้าขายไม่ว่าจะเป็นขายสินค้หรือบริการก็ตามรายได้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับลูกค้า ลูกค้าจะซื้อหรือไม่ซื้อเป็นสิทธิ์ของเขาจะไปบังคับให้ลูกค้าซื้ออย่างที่เราต้องการไม่ได้ รายได้จึงไม่แน่นอน


    หากทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรืออื่น ๆ รายได้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับค่าจ้าง เงินเดือน ที่ได้ตกลงกันไว้ บางคนอาจจะได้ตามต้องการที่เรียกร้อง

    เมื่อเริ่มงานครั้งแรกแต่การขึ้นเงินเดือนครั้งต่อ ๆ ไป จะไปบังคับผู้มีอำนาจพิจารณาเงินเดือนได้อย่างไรว่า ต้องขึ้นให้ตนเท่านั้นเท่านี้

    บางคนเป็นเจ้าของกิจการเอง มีอำนาจกำหนดเงินเดือนหรือรายได้ของตนเอง แต่เงินเดือนและรายได้ดังกล่าว ย่อมขึ้นอยู่กับผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลูกค้า หากผลประกอบการไม่ดี จะไปกำหนดเงินเดือน รายได้ ของตนสูง ๆ ให้ได้ดังใจย่อมไม่ได้ ด้วยเหตุนี้รายได้หรือรายรับของแต่ละคนจึงไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจที่จะให้เรา

    สำหรับรายจ่าย ซึ่งทุกคนจะต้องจ่ายเพื่อเลี้ยงชีพ และจ่ายตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ต่อรัฐ (ภาษี) ต่อสังคม (ทำบุญ-บริจาค)

    รายจ่ายบางอย่างจำเป็นต้องจ่ายเพื่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอด บางอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ภาษี ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์

    แต่รายจ่ายบางอย่างอันเป็นรายจ่ายส่วนเกินความจำเป็นของชีวิตไม่ต้องจ่ายก็ได้ เช่น บริโภคเกินความจำเป็น เที่ยวเตร่สนุกสนานบันเทิง เล่นการพนัน เสพสิ่งเสพติด ส่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องจ่ายก็ได้

    หากบุคคลจ่ายเกินรายรับก็จะขาดทุนเป็นหนี้สิน การรู้จักควบคุมรายจ่ายไม่ให้เกินรายรับ ก็จะมีเงินออม อันที่จริงหากบุคคลรู้จักใช้สอยให้สมควรแก่อัตภาพ โดยไม่ต้องถึงกับอดมื้อกินมือ เอาพอมีอยู่มีกิน ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีหนี้สิน

    หนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายเพื่อสนองกิเลสตัณหาของตัวเอง คนจำนวนไม่น้อยมีหนี้สิน เพราะใช้จ่ายตามใจตัวเอง


    บางคนมีทุกข์เพราะหนี้สินซึ่งมีจำนวนมาก ผ่อนไม่ทัน และดูเหมือนว่าชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่สามารถใช้หนี้ให้หมดไปได้ บางคนไม่ค่อยจะทุกข์ร้อนในเรื่องหนี้สิน เพราะยังผ่อนได้ เมื่อหมดหนี้เก่า ก็หาเรื่องไปซื้อของใหม่ เพื่อสร้างหนี้ใหม่ต่อไปอีก

    [COLOR=#501400]บางคนไม่มีหนี้สิน จึงไม่ทุกข์เพราะเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตามไม่ว่าบุคคลจะมีหนี้สินหรือไม่ก็ตาม ทุกคนต่างก็มีทรัพย์สิน หรือทรัพย์สมบัติของตน ไม่ว่าจะจนแค่ไหนก็ยังมีทรัพย์สมบัติติดตัวอยู่ อย่างน้อยก็ยังมีเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย

    [COLOR=#666699]ไม่เพียงแต่ทุกคนมีทรัพย์สมบัติอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ละคนก็เคยมีทรัพย์สมบัติมาแล้วในอดีต ทุก ๆ ช่วงวัยของชีวิต
    แม้อยู่ในวัยทารกนอนแบเบาะ ก็มีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกาย แต่ละคนได้ใช้ทรัพย์สมบัติประจำตัว และทิ้งทรัพย์สมบัติไปล้วนมากมายนับไม่ถ้วน
    ทรัพย์สมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำวัตถุดิบของโลกมาผลิตมาใช้ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายไม่ว่าจะมีค่ามาก มีค่าน้อย ซึ่งบางคนมีมากมายมหาศาล บางคนมีน้อยเพียงเพื่อยังชีพ ล้วนเป็นทรัพย์สมบัติของโลกทั้งสิ้น เพราะนำวัตถุดิบจากโลกมาผลิต

    [COLOR=#669966]ที่ว่าเป็นสมบัติของคนนั้นคนนี้ เป็นเพียงสมมติของชาวโลกที่กำหนดกันขึ้นมา เพื่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ในการครอบครองและเพื่อป้องกันการละเมิดกรรมสิทธิ์ที่ได้กำหนดขึ้น ไม่ว่าชาวโลกจะสมมติสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างไรและบุคคลจะครอบครองตลอดจนโอนย้ายถ่ายมือในสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้เพียงใดก็ตาม วัตถุสิ่งของดังกล่าวก็ยังคงเป็นสมบัติของโลกอยู่นั่นเอง

    [COLOR=#666699]เพราะเมื่อผู้ที่ครอบครองสมบัติเหล่านี้ตายไปวันใดก็ไม่สามารถนำสมบัติที่ตนครอบครองไปจากโลกนี้ได้เลย คงทิ้งไว้กับโลกต่อไป

    [COLOR=#501400]ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าบุคคลจะมีทรัพย์สินเงินทองมากเพียงใด ตายไปแล้วบัญชีนี้ก็เป็นศูนย์ (๐) หรือแม้กระทั่งบุคคลจะมีหนี้สินที่ไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินตลอดจนบุคคลอื่นๆ ไว้มากเพียงใด ตายไปแล้วบัญชีนี้ก็เป็นศูนย์ (๐) เช่นกัน

    [COLOR=#666699]ด้วยเหตุนี้บัญชีทางโลกที่แต่ละคนสร้างขึ้นในชีวิตนี้ ไม่ว่าจะมีกำไร (มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน) หรือขาดทุน (มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน) สักเท่าใดก็ตาม เมื่อตายไปแล้วบัญชีนี้ก็เป็นศูนย์

    [COLOR=#501400][B]บัญชีทางโลกจึงเป็นบัญชีชั่วคราว[/B] ของแต่ละชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์ในแต่ละชาติ แม้ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินซึ่งดูเหมือนว่าจะขาดทุนทางตัวเลขหรือทางบัญชี แต่โดยพฤตินัยแล้ว ถือว่าเขาได้กำไรจากการใช้สมบัติของโลก เพราะได้กินอาหาร ได้ใช้เครื่องน่งห่มได้ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ โดยอาศัยสมบัติของโลกไปบริโภคมากมาย ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนมาตัวเปล่ากันทั้งนั้น

    [COLOR=#669966]ทุกคนจึงเกิดมาเพื่ออาศัยโลก มาใช้และทำลายสมบัติของโลกกันคนละไม่น้อย สมบัติของโลกบางอย่าง โลกหรือธรรมชาติให้ใช้ฟรี ๆ โดยไม่ต้องไปออกแรงหามาเลย ก็ได้ใช้อยู่ตลอดเวลา เช่น อากาศที่หายใจเข้า-ออก ทุกขณะ แสงแดด (ยามกลางวัน) ความมืด (ยามราตรี) น้ำจากแหล่งธรรมชาติ พื้นดินเป็นที่รองรับเรือนกาย เป็นต้น

    [COLOR=#666699]ส่วนสมบัติอย่างอื่นเช่น เงิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะและอื่น ๆ ที่แต่ละคนแสวงหาและสะสมกันอย่างไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อ (เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา) โดยทุ่มเทชีวิตในการแสวงหาเป็นเวลายาวนาน ทำให้ต้องทุกข์ยากลำบากทั้งกายใจนั้น เป็นสมบัติที่มีไว้ใช้ ไว้ชม เพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ไม่จีรังยั่งยืนอะไร กระนั้นคนทั่วไปก็ยังยึดถือสมบัติเหล่านี้เป็นสรณะของชีวิต เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตนั่นเอง[/COLOR]
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
     
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๒. บัญชีทางธรรม

    บัญชีทางธรรมหรือบุญ-บาปที่ติดตัวมาข้ามภาพข้ามชาติ เป็นบัญชีที่ยืดเยื้อยาวนาน ไม่เหมือนกับบัญชีทางโลกซึ่งตายแล้วก็จบกันไป

    หากพูดถึงบัญชีทางธรรมในรูปแบบของบัญชี ก็อาจจะพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ ได้ เป็นต้นว่า รายรับ-รายจ่าย กำไร-ขาดทุน การปิดงบบัญชีแต่ละงวด เป็นต้น ซึ่งจะยกตัวอย่างให้เห็นดังนี้

    รายรับ รูปแบบของรายรับในบัญชีทางธรรม จะมีการรับเข้ามาจากประสาทสัมผัสอันมีตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ทางตา รับเข้ามาเป็นภาพหรือรูป โดยการพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งมีอยู่มากมาย
    ทางหู รับเข้ามาเป็นเสียง โดยได้ยินเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่ประสาทสัมผัสทางหู จะสามารถรับได้ในรัศมีของการได้ยิน ทางจมูก รับเข้ามาเป็นกลิ่น ทางลิ้น รับเข้ามาเป็นรสจากการกินอาหาร ทางกาย รับเข้ามาเมื่อมีสิ่งต่าง ๆ สัมผัสกาย ทางใจรับเข้ามาเป็นความรู้สึกเมื่อสิ่งต่าง ๆ มากระทบประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย นอกจากนี้แม้ไม่มีสิ่งมากระทบประสาทสัมผัส ใจก็อาจจะนึกคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ ได้

    รายรับของบัญชีทางธรรมในแต่ละวัน จึงรับเอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามามากมาย จนแต่ละบุคคลไม่สามารถจดจำได้
    โดยปกติแล้วเราก็ไม่สามารถควบคุมรายรับของเราได้ เมื่อต้องไปอยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งต้องได้ยิน ได้สัมผัส ได้สัมพันธ์

    รายจ่าย

    รูปแบบในการจ่ายของบัญชีทางธรรม จะต่างจากการจ่ายในบัญชีทางโลก เพราะทางโลกจ่ายเป็นเงินตรา วัตถุสิ่งของ เพื่อซื้อหาหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ
    ส่วนบัญชีทางธรรม การจ่ายออกไปทางกาย วาจา ใจ ในการนี้ ใจเป็นตัวสำคัญในการควบคุมการจ่าย เพราะใจรู้สึกนึกคิดอย่างไรก็จะพูด (วาจา) ทำ (กาย) ไปตามความรู้สึกนึกคิด

    ในบัญชีทางโลกนั้น การจ่ายจะจ่ายให้กับผู้อื่น ส่วนบัญชีทางธรรมจ่ายให้กับบุคคลอื่นก็ได้ จ่ายให้กับตัวเองก็ได้ บัญชีทางโลกหากรายจ่ายมากกว่ารายรับจะขาดทุนเป็นหนี้

    ส่วนบัญชีทางธรรมจะจ่ายมากหรือน้อยกว่ารับ ยังไม่แน่ว่าการจ่ายนั้นจะขาดทุนหรือกำไร ต้องดูสิ่งที่จ่ายออกไปนั้นว่าเป็นบุญ (ความดี-กุศล) หรือ เป็นบาป (ความชั่ว-อกุศล)

    ในแต่ละวันทุก ๆ คนจะมีการจ่ายในบัญชีทางธรรมมากมายเหลือคณานับ เพราะได้แสดงออกทางกาย วาจา ใจ อยู่แทบตลอดเวลา นับแต่ตื่นขึ้นจนถึงหลับไป

    ทุกครั้งที่คิดดี พูดดี ทำดี การจ่ายนั้นก็เป็นบุญที่ได้กับตนเอง ตรงข้ามทุกครั้งที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว การจ่ายนั้นก็เป็นบาปที่ได้กับตนเองเช่นกัน ลำพังแต่ความคิดโดยยังไม่พูด ยังไม่ทำถามว่าเป็นบุญเป็นบาปไหม คำตอบก็คือ เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น บุญหรือบาปก็เกิดขึ้นแล้วในดวงจิตของผู้คิด

    บุญ คือความดีที่ผู้ทำทำไปแล้วไม่เดือดร้อน ทั้งขณะที่กระทำและหลังการกระทำ บุญจะนำความปีติ ความอิ่มเอิบใจ และสั่งสมคุณธรรมความดีให้กับผู้กระทำ
    เมื่อบุคคลคิดว่าอยากจะทำความดี เช่น ตั้งใจจะทำบุญ ปฏิบัติธรรมช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนทำความดีต่าง ๆ ขณะนั้นบุญได้เกิดขึ้นแล้วในจิตใจ แม้ว่าสิ่งที่คิดบางอย่างอาจจะทำ บางอย่างอาจจะไม่ได้ทำ
    เพราะทุกครั้งที่คิดถึงสิ่งที่ดีงามเป็นบุญ-กุศล ก็จะสร้างนิสัยของจิตดวงนั้นให้เป็นจิตที่มีฐานกำลังของคุณธรรมความดี ชอบคิดในสิ่งที่ดี มีทัศนคติในทางที่ดี

    เมื่อจิตมีฐานของคุณธรรมอยู่อย่างเข้มแข็งเช่นนี้ การพูดในสิ่งที่ดีและทำในสิ่งที่ดีก็ง่าย นอกจากนี้ยังเป็นกำลังที่จะต่อสู้กับฝ่ายบาป-อกุศลที่จะชักนำให้คิดในทางที่ไม่ดีอีกด้วย ตรงกันข้ามกับการคิดไม่ดีหรือคิดชั่ว จะเป็นบาป-อกุศลอยู่ในจิต แม้ยังไม่พูด ไม่ทำตามความคิดนั้น เพราะการคิดไม่ดีจะสร้างนิสัยไม่ดีให้เกิดขึ้นในจิต เนื่องจากจิตจะบันทึกหรือจดจำความคิดนั้น ๆ ไว้ เป็นความเคยชินทำให้คิดไม่ดีง่ายขึ้นบ่อยขึ้น

    การคิดไม่ดีอยู่เนือง ๆ จะเป็นการทำร้ายตนเอง ทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อน เป็นบาป เพราะบาปคือการกระทำใด ๆ ที่ทำไปแล้ว ทำให้ตนได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง เป็นต้นว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งคิดอิจฉาริษยาผู้อื่น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดี

    ขณะที่เขาคิดอิจฉาผู้อื่น โดยยังไม่พูด ไม่แสดงให้ผู้อื่นรู้นั้น ผู้ถูกอิจฉายังไม่รู้สึกเดือดร้อน เพราะไม่รู้ แต่ผู้คิดเป็นผู้เดือดร้อน เพราะขณะที่คิดนั้นจิตใจย่อมเร่าร้อน ไม่เป็นสุข ความคิดของตนจึงทำร้ายตน



    หากมีความคิดเช่นนี้บ่อยเข้า จะกลายเป็นคนขี้อิจฉา เห็นใครเขาดีกว่าก็อิจฉา ความคิดนี้เองจะเป็นกำลังผลักดันให้นินทาว่าร้าย (ทางวาจา) ผู้อื่น พูดจากระทบกระเทียบส่อเสียดให้ร้ายผู้อื่น ซึ่งถึงขั้นนี้เป็นการผิดศีลข้อมุสา ไม่เพียงแต่เท่านั้นหากปล่อยให้ความอิจฉารุนแรงยิ่งขึ้นจนถึงกับลงมือกระทำ (ทางกาย) ด้วยการกลั่นแกล้งหรือทำร้ายผู้อื่นไปเลยก็ได้

    นี่เป็นเพียงคิดไม่ดีในเรื่องอิจฉาเพียงเรื่องเดียวก็จะเห็นทุกข์โทษ ภัย ที่เกิดขึ้นกับผู้คิดถึงเพียงนี้ หากพิจารณาไปถึงเรื่องอื่น ๆ จากความคิดไม่ดี ก็จะเห็นสิ่งชั่วร้ายปรากฏต่อผู้คิดอีกมากมาย เช่น

    คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม นำไปสู่การคดโกงหรือคอรัปชั่น

    คิดโกรธ เกลียดผู้อื่น นำไปสู่ความพยายามประทุษร้ายถึงกับฆ่าผู้อื่นได้

    คิดเห็นแก่ตัว นำปสู่ความตระหนี่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

    คิดเอาแต่สนุกสนานบันเทิง นำไปสู่การใช้ชีวิตที่ไม่มีแก่นสาร ไม่ประหยัด

    คิดในเรื่องอบายมุข ไม่ว่าจะเป็นสุรา นารีหรือบุรุษ การพนัน เที่ยวเตร่ในยามราตรี เกียจคร้านในการงานคบคนชั่วเป็นมิตรนำไปสู่ความเสื่อม

    ชอบคิดเล็กคิดน้อย ทำให้เป็นคนหวั่นไหว เปราะบางทางอารมณ์ ขาดความหนักแน่น มองอะไรคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง มีความทุกข์ในเรือนใจ

    คิดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงตามหลักของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จะเป็นผู้มีความเห็นผิด หลงยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตนรักพอใจหวงไม่อยากให้เปลี่ยน (นิจจัง) เป็นความสุข (สุขขัง) เป็นของ ๆ ตน (อัตตา)

    ครั้นเมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนไป (อนิจจัง) ก็เป็นความทุกข์ (ทุกขัง) เพราะไม่ใช่ของตนจริง ๆ จึงบังคับไม่ได้ดังปรารถนา (อนัตตา) เหล่านี้เป็นต้น

    ความคิดก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำ แต่ละวันแต่ละคนคิดถึงเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ดี (บุญ-กุศล) และเรื่องที่ไม่ดี (บาป-อกุศล) ความคิดดังกล่าว นำความสุขใจ (ดีใจ-สมหวัง) และความทุกข์ใจ (เสียใจ-ผิดหวัง-ไม่ได้ดังใจ) มาให้แต่ละคนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    มีผู้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า..
    อะไรนำ (สัตว์) โลก
    อะไรทำให้ (สัตว์) โลกต้องดิ้นรน
    สัตว์ทั้งปวงตกอยู่ใต้อำนาจของอะไร


    พระพุทธองค์ตรัสว่า จิต (ความคิด) ถ้ารักษาจิตไว้ได้ก็รักษาได้ทุกอย่าง

    เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลควรระวังความคิด และควบคุมความคิดของตนโดยมีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังคิดอะไร หากคิดในสิ่งที่ไม่ดี เป็นบาป-อกุศล ก็ให้หยุดเสีย ในขณะที่ความคิดนั้นเพิ่งก่อตัวขึ้น เหมือนไฟกองยังเล็กอยู่ย่อมดับง่าย เพราะถ้าปล่อยให้ความคิดนั้นสืบสานต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะมีกำลังผลักดันให้เกิดการกระทำ ทางกาย วาจา ใจทางที่ไม่ดี เหมือนไฟได้เชื้อกองโตลุกโชนดับได้ยาก ฉันใดฉันนั้น

    [COLOR=#501400]ขอให้เข้าใจว่าถ้าคิดถึงสิ่งไหน สิ่งนั้นก็จะย้อมใจให้เป็นไปตามความคิด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือคิดอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

    [COLOR=#669966]ถ้าคิดดี ก็จะพูดดี ทำดี มีพฤติกรรมในทางที่ดี แต่ถ้าคิดไม่ดี ก็จะพูดไม่ดี ทำไม่ดี สร้างนิสัยไม่ดีให้กับตนเอง[/COLOR] [COLOR=#666699][B]ธรรมชาติของจิตไม่อยู่นิ่ง คิดได้สารพัดเรื่อง เหมือนน้ำที่ไหลไปเรื่อยและไหลลงสู่ที่ต่ำ[/B] หากใส่ในภาชนะหรือสร้างที่เก็บกักไว้ ก็จะส่งแรงดันไปรอบทิศทาง หาทางที่จะออกอยู่ตลอดเวลา แม้มีรูเล็ก ๆ ก็จะแทรกซึมออกไป ครั้นเมื่อไหลไปสัมผัสสิ่งใด ก็ปนเปื้อนสิ่งนั้น ถูกสิ่งที่สัมผัสย้อมสี กลิ่น รส ให้เป็นไปตามนั้น
    จิตก็เช่นเดียวกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า

    [COLOR=#669966]ผู้มีปัญญาพึงควบคุมจิต จิตที่เห็นได้ยากยิ่งละเอียดยิ่ง ชอบใฝ่หาอารมณ์ที่ปรารถนาอยู่เสมอ จิตที่ควบคุมได้แล้วย่อมนำสุขมาให้ [B](สุสุท ทะสัง สุนิปุณัง ยัตถะ กามะนิ ปาตินัง จิตตัง รักขะถะ เมธาวี จิตตัง คุตตัง สุขาวะหัง)[/B] นอกจากนี้ยังตรัสว่า

    [COLOR=#666699]จิตที่เที่ยวไปไกล เที่ยวไปตามลำพัง ไม่มีรูปร่างอาศัยอยู่ในกาย
    ผู้ใดควบคุมได้ ผู้นั้นย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร (กิเลส)
    [B](ทูรัง คะมัง เอกะจะรัง อะสะรีรัง คุหาสะยัง
    เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ โมกขันติ มาระพันธะนา)[/B]

    [COLOR=#501400]ความคิดของจิตเร็วมาก และไม่มีสิ่งใดมาขวางกั้น ไม่มีสิ่งใดที่จะมาคุมขังหรือพันธนาจิตไว้ได้ การตามดูจิตและรักษาจิตจึงเป็นเรื่องยากยิ่งกระนั้นก็ตามบุคคลควรจะฝึกดูจิต (ความคิด ความรู้สึก) ของตนอยู่เสมอ ซึ่งจะพบว่าเมื่อใดที่มีสติดูว่าจิตจะคิดอะไร หรือกำลังคิดอะไรจิตก็จะหยุดคิด ครั้นสติอ่อนกำลังหรือเผลอจิตก็จะคิดต่อไป เป็นอยู่เช่นนี้ เหมือนโปลิสไล่จับขโมย แต่เราก็ไม่ควรย่อท้อ

    [COLOR=#669966]ยามใดที่ว่างจากภาระกิจ ควรฝึกควบคุมจิตใจให้หยุดคิดเสียบ้าง เพราะความคิดของจิตส่วนใหญ่จะคิดไปตามอำนาจของตัณหาที่ครอบงำจิตอยู่เป็นต้นว่า คิดถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่ายินดี (กามตัณหา) คิดอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือคิดถึงสถานะที่น่ายินดีพอใจ (ภวตัณหา) คิดขุ่นเคืองขัดใจในสิ่งที่ไม่ยินดี ไม่พอใจ แต่ต้องพบ ต้องสัมผัสสัมพันธ์กับสิ่งนั้น หรือคิดถึงสิ่งที่พลัดพรากไปแล้วด้วยความอาลัยอาวรณ์ (วิภวตัณหา)

    [COLOR=#666699]ความคิดดังกล่าวล้วนสร้างกิเลสให้สั่งสมทับทวีขึ้นในจิต กล่าวคือ ความคิดที่เป็นกามตัณหา ภวตัณหา ทำให้อยากได้ ยินดี พอใจ นำไปสู่ความโลภ หรือ ราคะ โลภะ ความคิดที่เป็นภวตัณหา นำไปสู่ความขุ่นเคือง ความโกรธ หรือโทสะ ความคิดที่เป็นทั้งกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เกิดจากความเห็นผิดของจิต เป็นความหลง หรือ โมหะ[/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [/COLOR]
    [COLOR=#666699][COLOR=#669966][COLOR=#666699][COLOR=#501400][COLOR=#669966][B]การควบคุมจิตให้หยุดคิด จึงเป็นการปิดช่องไม่ให้กิเลสตัณหาได้ทำงาน[/B] จิตที่หยุดคิด จะเป็นจิตว่าง (จากอารมณ์) ทำให้จิตได้พัก มีความสงบ เยือกเย็นนำปีติและสุขมาให้เหมือนน้ำที่ขุ่นกระเพื่อมไหวอยู่ตลอดเวลา ครั้นหยุดกระเพื่อมไหว ฝุ่นละอองและตะกอนก็จะนอนก้น เห็นน้ำใสสะอาดตา

    [COLOR=#666699]หากสามารถควบคุมให้จิตหยุดคิดได้อย่างช่ำชอง จนจิตเข้าสู่ความสว่างหรือความประภัสสรของจิตได้แล้ว การรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ของชีวิตตามความเป็นจริงก็จะตามมา จิตจะละความหลงที่เคยโง่เขลา หลงยึดมั่นสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุให้ตัณหาเข้าไปอาศัยครอบงำจิตอยู่อย่างยืดเยื้อยาวนานจนเกิดอุปาทานยินดีพอใจต่อการเกิดในภพน้อยภพใหญ่

    [COLOR=#501400]เมื่อแสงสว่างของปัญญาเต็มรอบอยู่ในจิต จิตก็จะสลัดตัณหาออกไปได้ เมื่อนั้นชีวิตถูกพันธนาการไว้ในภพทั้ง ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ก็จะเป็นอิสระ หลุดพ้นจากวัฏสงสารออกไปได้

    [COLOR=#669966]อย่างไรก็ตามแม้การฝึกควบคุมจิตยังไม่บรรลุถึงขั้นดังกล่าว ก็จะช่วยให้มีสติว่องไว รู้ว่าจิตกำลังคิดอะไร อยู่ในอารมณ์ใด ได้เร็วขึ้นกว่าก่อนและสามารถปรับความคิดของจิต ให้ว่างจากอารมณ์หรือความคิดที่เป็นอกุศลได้
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
     
  3. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    กำไร-ขาดทุน (บุญ-บาป)

    บัญชีทางโลกถ้ารายรับหรือรายได้มีน้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุนต้องหาเงินมาโดยการกู้หนี้ยืมสิน แต่บัญชีทางธรรมไม่เหมือนทางโลก การกำไรขาดทุน ไม่ได้หมายถึงจ่ายมากกว่ารับแล้วขาดทุนเสมอไป บางครั้งแม้จ่ายเพียงครั้งเดียวก็ขาดทุนย่อยยับไปเลยก็มีหรือจ่ายมากยิ่งได้กำไรมากขึ้นอยู่กับว่ารายจ่ายสิ่งที่เป็นคุณหรือเป็นโทษ เป็นบุญหรือเป็นบาป

    ถ้าจ่ายสิ่งที่เป็นบุญ ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งกำไรมาก
    ถ้าจ่ายสิ่งที่เป็นบาป ยิ่งจ่ายก็ยิ่งขาดทุน

    ตัวอย่างเช่นบ้านสองหลังปลูกติดกัน เจ้าของบ้านทั้งสองไม่ค่อยจะกินเส้นกันอยู่แล้ว

    วันหนึ่งหมาทั้งสองบ้านกัดกัน เจ้าของบ้านหลังหนึ่งช่วยหมาของตนไปตีหมาของเพื่อนบ้าน ฝ่ายเพื่อนบ้านรู้เข้าก็โกรธ ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันอย่างรุนแรง ถึงกับลงไม้ลงมือชกต่อยกัน ฝ่ายที่สู้ไม่ได้ก็วิ่งไปเอาปืนในบ้านยิงอีกฝ่ายหนึ่งตาย ฝ่ายที่ยิงเขาตายก็ต้องไปติดคุก เสียอนาคต ไม่เพียงแต่เท่านั้น เมื่อตายไป วิบากกรรมจากฆ่าคนตายก็จะติดตามไปในภพหน้า อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ (นรก เปตร อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) หรือเมื่อกลับมาเกิดเป็นคนก็ถูกคู่อริฆ่าตาย เป็นกงกรรมกงเวียน จากการผูกอาฆาตพยาบาทจองเวรแก้แค้นกันไม่จบสิ้น

    จะเห็นว่าการจ่าย (พฤติกรรม) ของทั้งสองฝ่าย ขาดทุนกันอย่างย่อยยับ ฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ฝ่ายหนึ่งติดคุก ต้องรับกรรมทั้งชาตินี้และชาติหน้า ที่เป็นเช่นนี้เพราะความหลงของทั้งสองฝ่าย หลงยึดมั่นว่าเป็นหมาของฉัน (ถ้าเป็นหมาคนอื่นคงไม่มีเรื่องกัน) เมื่อหมากัดหมาฉัน ตีหมาฉัน จึงทำให้ฉันโกรธ ความโกรธเกิดขึ้นที่จิต ความยึดมั่นก็เกิดขึ้นที่จิต เมื่อขาดสติปัญญาควบคุมจิต ตัววิภวตัณหา (ไม่ยินดี ไม่พอใจในสิ่งที่ประสบ) จึงชี้นำจิตให้โกรธ ผลก็คือการแสดงออกทางวาจา (ทะเลาะกัน) และทางกาย (ทำร้ายกันฆ่ากัน) จึงตามมา ความดีที่สองฝ่ายเคยทำจึงถูกความชั่วจากอารมณ์ชั่ววูปมาบั่นทอนตัดรอนอย่างน่าเศร้าใจเรื่องทำนองอย่างนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ


    มาดูอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยบรรพกาล ปรากฏในพระไตรปิฎกเป็นเรื่องของนางขุชชุตตรา ซึ่งเป็นหญิงค่อมเป็นคนรับใช้ของพระนางสามาวดี มเหสีของพระเจ้าอุเทน แห่งแคว้นวังสะ กรุงโกสัมพี นางค่อมเป็นผู้มีสติปัญญามาก ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ครั้งเดียวก็มีดวงตาเห็นธรรมได้เป็นพระโสดาบัน สามารถนำธรรมมาถ่ายทอดให้พระนางสามาวดีฟังจนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันได้เช่นกัน

    ในอดีตชาติของนางนั้น สมัยหนึ่งมีพระปัจเจกพุทธเจ้า (ผู้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในสมัยที่ว่างจากพระพุทธศาสนา แต่ไม่ประกาศศาสนา คือ ไม่นำสิ่งที่ตรัสรู้มาเผยแผ่) นางชอบทำบุญใส่บาตร นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอุ้มบาตรที่มีข้าวร้อน ๆ อยู่ทำให้มือร้อน จึงถวายวลัยงาเป็นที่รองบาตรให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๘ อัน ผลจากการถวายทานกับพระอริยเจ้าชั้นสูงเป็นบุญติดตัวมา ทำให้ชาตินี้นางมีปัญญามาก ได้ฟังธรรมครั้งเดียวก็มีดวงตาเห็นธรรม (เป็นพระโสดาบัน) อันเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น รองจากพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

    ถามว่าเหตุใดนางจึงหลังค่อม มูลเหตุก็คือพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งหลังค่อม นางได้ล้อเลียนพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น โดยทำแกล้งเดินหลังค่อม ผลของบาปอกุศลทำให้นางเกิดมาพิการหลังค่อม

    ถามว่า เหตุใดนางจึงเป็นคนรับใช้ของพระนางสามาวดี มูลเหตุก็คือนางเกิดเป็นลูกเศรษฐีมหาศาล (มหาเศรษฐี) วันหนึ่งมีพระภิกษุณีซึ่งเป็นพระอรหันต์มาเยี่ยมบิดาและพี่สาวของนาง เศรษฐีและพี่สาวไม่อยู่นางจึงต้อนรับแทน นางถือวิสาสะใช้ให้พระภิกษุณีไปหยิบเครื่องสำอางมาให้ พระภิกษุณีรูปนั้นพิจารณาว่า ถ้าไม่ไปหยิบมาให้นาง นางอาจจะโกรธ จะเป็นเหตุให้นางตกนรกในชาติต่อไป ครั้นจะไปหยิบมาให้นาง ชาติต่อไปนางจะเป็นหญิงรับใช้ ด้วยความเมตตาภิกษุณีจึงเลือกวิบากกรรมสถานเบาอันจะเกิดแก่นาง จึงไปหยิบมาให้ ผลของวิบากกรรมจึงทำให้นางเกิดมาเป็นหญิงรับใช้ของพระนางสามาวดี จะเห็นว่ากรรมดี ของนาง ขุชชุตตรา ในอดีตชาติ ส่งผลให้นางเป็นพระโสดาบัน กรรมชั่ว (ฝ่ายไม่ดี) ส่งผลให้นางเป็นหญิงค่อม คนรับใช้

    ในแต่ละวันแต่ละบุคคล ทำกรรมไว้มากมาย ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม กรรมเหล่านี้ ล้วนอยู่ในบัญชีทางธรรมทั้งสิ้น ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตของแต่ละคน ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ด้วยเหตุนี้ การคิดดี พูดดี ทำดี จึงเป็นการจ่ายที่เป็นบุญ-กุศล เป็นกำไรของชีวิต ซึ่งจะมีอุปการะคุณต่อตนเอง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

    ส่วนการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เป็นการจ่ายที่เป็นบาป-อกุศลทำให้ชีวิตขาดทุน มีวิบากกรรมที่จะต้องชดใช้ ทั้งในชีวิตที่เป็นอยู่และในโลกหน้า ดังนั้นการระมัดระวังกาย วาจา ใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง
     
  4. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    การปิดงบบัญชี

    บัญชีทางโลก หากเป็นองค์กร เช่น บริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ จะมีการปิดงบบัญชี เพื่อตรวจดูรายรับรายจ่ายที่ผ่านมาว่ากำไรขาดทุน มีทรัพย์สินหรือหนี้สินอยู่เท่าใด ทั้งนี้เพื่อให้รู้ถึงสถานะขององค์กร จากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ บางองค์กรมีการปิดงบดุลปีละครั้ง หรือ ๒ ครั้ง หรือรายไตรมาส (๓ เดือนครั้ง) บางองค์กรมีการปิดงบกระแสเงินสดทุกเดือนเพื่อให้รู้ถึงสภาพคล่องทางการเงิน

    หากเป็นบุคคลแต่ละคน ยากนักที่จะมีใครทำบัญชีรับจ่ายรายวันของตน จึงไม่สามารถปิดงบบัญชีส่วนตัวได้ ทำได้แต่เพียงดูว่าตอนนี้เป็นหนี้เขาอยู่เท่าไร หรือหากไม่มีหนี้สินมีเงินฝากอยู่กับสถาบันการเงินอยู่เท่าใด บางคนมีทั้งหนี้และเงินฝาก หากมีหนี้มากกว่าเงินฝาก และทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ ก็ถือว่าขาดทุนในรูปของบัญชี แต่ถ้ามีเงินฝากและทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน ก็ถือว่ายังมีกำไรในรูปของบัญชี พออุ่นใจได้ว่าหากต้องชำระหนี้ทั้งหมด ยังมีเงินที่จะชำระได้ แม้ว่าเงินสดที่มีอยู่จะไม่พอชำระหนี้ ขายทรัพย์สินบางอย่างออกไป ก็สามารถชำระหนี้ได้

    ด้วยเหตุนี้การกำไร-ขาดทุนในรูปแบบบัญชีทางโลกจึงเห็นได้ง่ายหรือพอจะดูออกเพราะเป็นรูปธรรม

    แต่ในทางธรรมใครเลยจะรู้ว่าชีวิตของตนที่ผ่านมามีกำไรหรือขาดทุนมีบุญอยู่เท่าใด บาปอยู่เท่าใด ใครจะรู้ได้ เพราะบุญบาปในบัญชีทางธรรมนั้น มีต้นทุนติดตัวมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้บัญชีทางธรรมยังมีลักษณะทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุรา สิ่งเสพติด ซึ่งพอจะนับการกระทำแต่ละครั้งได้ แต่ใครเลยจะคอยนับ และผลของการกระทำจะมีโทษมากน้อยเพียงใดก็ยังไม่ทราบ เพราะบางอย่างยังไม่แสดงออกเป็นรูปธรรม การกระทำบางอย่างเป็นนามธรรม เช่น ความคิดซึ่งไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม จึงไม่สามารถทราบปริมาณ-คุณภาพได้

    ยิ่งไปกว่านั้น บัญชีทางธรรมยังมีของเก่าที่สะสมมาแต่ในอดีตชาติ ในชาตินี้ยังมาทำสมทบเข้าไปอีกทั้งบุญทั้งบาป จึงเพิ่มความสลับซับซ้อนทำให้ไม่สามารถประเมินได้

    บางคนสงสัยว่าทำไมตนเองทำบุญใส่บาตรอยู่เป็นประจำ จึงไม่เห็นรวยสักที เพื่อนบ้านซึ่งมีฐานะดีกว่าตนไม่เห็นจะทำบุญอย่างตน ทำไมจึงรวยกว่า ทำให้สงสัยว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มีจริงหรือ

    ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาพิจารณาแต่บัญชีทางธรรมในชาตินี้ ไม่ได้ตระหนักว่าชาติก่อนตนทำทานไว้น้อย หรืออาจตระหนี่ถี่เหนียว หรือไม่อุปการะบุคคลที่ควรจะอุปการะ เช่น มารดา-บิดา เป็นต้น ส่วนเพื่อนบ้านเขาทำบุญในอดีตชาติไว้มาก กำลังของบุญเก่ายังส่งผลอยู่ เขากำลังกินบุญเก่าในชาตินี้

    อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวอย่าเป็นสาเหตุให้ผู้ทำบุญท้อถอย หมั่นสะสมบุญของตนต่อไป ไม่ช้ากำลังบุญที่รวมกันไว้ก็จะส่งผล แม้ว่าตนจะยังไม่รวย แต่ก็ไม่ถึงกับอดอยาก ยังมีอยู่มีกิน ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว หากรู้จักใช้จ่ายให้สมควรแก่อัตภาพ ก็หาความสุขได้ และพัฒนาคุณธรรมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ ที่ทุกข์ใจก็เพราะอยากจะรวยอย่างคนอื่นเขานั่นเอง

    ส่วนผู้มีฐานะดีแต่ไม่สนใจทำบุญนั้น ปลอ่ยเขาไป หากบุญเก่าเขาหมดลงไม่หาของใหม่เข้าเติม วันหนึ่งเขาจะลำบากขัดสนเอง

    บางคนชีวิตที่ผ่านมาตั้งหน้าตั้งตาทำความดีมากกว่าทำความชั่ว โดยพื้นฐานมีจิตใจเป็นคนดี แต่อยู่ ๆ ก็ได้รับวิบากกรรม ชีวิตต้องลำบากเดือดร้อน หรือมีอุบัติเหตุอันตรายหรือโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น

    กรณีเช่นนี้ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ทำให้หลายคนสงสัยและไม่เชื่อเรื่องกรรม เพราะเขาเห็นว่าทำไมคนดี ๆ จึงต้องรับเคราะห์กรรมอย่างนี้ แต่คนชั่วที่มีพฤติกรรมน่ารังเกียจเห็นกันอยู่ชัดเจน กลับลอยหน้าลอยตามีความเป็นอยู่อย่างดีในสังคม

    ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเราเห็นแต่บัญชีทางธรรมในปัจจุบัน ไม่รู้ถึงต้นทุนของบุญ-บาปในอดีตชาตินั่นเอง

    การที่คนดีได้รับเคราะห์กรรม นั่นเป็นเพราะวิบากกรรม หรือกรรมชั่วบางอย่างในอดีตที่เขาทำไว้ ตามมาสนองในจังหวะเวลานั้น ๆ ส่วนคนทำชั่วยังไม่ได้รับผลแห่งกรรม เป็นเพราะว่ากำลังบุญในอดีตที่เขาทำไว้ยังส่งผลอยู่ เมื่อกำลังบาปที่เขาสะสมมากกว่ากำลังบุญเมื่อใด เมื่อนั้นเขาก็จะได้รับวิบากกรรม เรื่องนี้อย่างเป็นห่วงเลย

    เมื่อบุคคลไม่สามารถหยั่งรู้ว่าบุญ-บาป ของตนที่ทำไว้ในอดีตชาติจวบจนถึงปัจจุบันในขณะนี้มีอะไรบ้างอย่างไหนมีมาก อย่างไหนมีน้อย ทางที่ดีที่สุดคือสะสมบุญให้มาก ๆ ส่วนบาปอย่าไปทำอีกเลย เพราะชีวิตที่ผ่านมาเราแต่ละคนก็ทำกันไว้คนละไม่น้อย


     
  5. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหลักสำคัญที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ทรงสอนมีใจความว่า

    การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปา ปัสสะ อะกะระณัง)
    กรทำกุศล (บุญ) ให้ถึงพร้อม (กุสะละ สู ปะสัม ปะทา)
    การชำระใจให้ผ่องใส (สะจิตตะปริโย ทะปะนัง)
    นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ (เอตัง พุทธา นะสาสะนัง)

    พระพุทธองค์ยังมีพุทธพจน์อีกว่า
    พึงเร่งทำความดี (อะ ภิต ถะเรถะ กัลยาเณ)
    และห้ามจิตจากความชั่ว (ปาปาจิตตัง นิวาระเย)
    เพราะเมื่อทำความดีช้าไป (ทันธัง หิ กะระโต ปุญญัง)
    จิตจะยินดีในความชั่ว (ปาปัสมิง ระมะตี มะโน)

    ขอให้ตระหนักว่า แม้ทำความดีสักร้อย-พันครั้ง แต่ถ้าทำความชั่วหนัก ๆ เพียงครั้งเดียว ผลของความชั่วจะตามสนองทำให้ชีวิตต้องทุกข์ยากเป็นเวลายาวนานก็ได้

    เช่น บางคนเป็นคนดีมีความประพฤติดี แต่วันหนึ่งเพื่อนชวนไปกินเหล้าจนเมา ขับรถเกิดอุบัติเหตุตัวเองต้องพิการไปตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้อย่าประมาทในความชั่ว อย่าประมาทในศีล ๕ หากผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งสถานหนัก ชีวิตอาจจะจมปลักอยู่ในความมืดได้ โดยที่บุคคลยากที่จะปิดงบบัญชีทางธรรมของตนได้ ดังนั้นควรจะนำหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระราหุลมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

    พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลมีใจความว่า ก่อนคิด ก่อนพูด ก่อนทำ ควรพิจารณาดูก่อนว่า ความคิด คำพูด การกระทำนั้น ๆ เป็นคุณหรือเป็นโทษ หากเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง และหรือผู้อื่นก็ไม่ควรจะคิดจะพูด จะทำ ในสิ่งนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นคุณไม่เบียดเบียนตนและหรือผู้อื่นคิดจะพูด จะทำ ในสิ่งนั้น ๆ

    หรือขณะกำลังคิด กำลังพูด กำลังทำ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ให้รู้ตัวว่าที่ตนกำลังคิด กำลังพูด กำลังทำ อยู่นั้นเป็นคุณหรือเป็นโทษ ถ้าเป็นคุณให้ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าเป็นโทษให้หยุดเสีย

    หรือแม้ว่าหลังจากได้คิด ได้พูด ได้ทำไปแล้ว ก็ให้นำมาพิจารณาดูว่าที่ได้คิด ได้พูด ได้ทำ ไปแล้วเป็นคุณหรือเป็นโทษ ถ้าเป็นโทษควรนำมาสอนใจว่าต่อไปจะระมัดระวังไม่ทำเช่นนั้นอีก

    แต่หากเป็นคุณให้นำมาเป็นเครื่องบำรุงใจ เพื่อเป็นกำลังใจที่จะทำเช่นนั้นต่อไป

    การมีสติระลึกรู้ทั้งก่อน (อนาคต) ขณะ (ปัจจุบัน) หลัง (อดีต) ในความคิด คำพูด และการกระทำ เท่ากับเป็นการเตรียมการหรือวางแผน (planing) ดำเนินการ (implementation) และประเมินผล (evaluation) อันเป็นหลัก การบริหารที่ฝรั่งนำมาสอนกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นหลักการสำคัญในการควบคุมพฤติกรรม


    เพราะการเตรียมการหรือวางแผนนั้นทำให้เราสามารถเลือกส่งที่เหมาะสมหรือเป็นคุณ ของความคิด คำพูด การกระทำ อะไรที่จะนำไปสู่ความทุกข์ เดือดร้อน ทั้งต่อตนเองและหรือผู้อื่นก็ปรับเปลี่ยนเสีย เลือกแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์

    การพิจารณาขณะที่กำลังคิด กำลังพูด กำลังทำอยู่ จะช่วยให้พฤติกรรมที่กำลังแสดงออก เป็นไปอย่างมีสติ ขณะที่แสดงอยู่นั้นให้ประเมินความรู้สึกของผู้รับด้วยว่าเขารู้สึกเช่นไร ถ้าเขารู้สึกในทางที่ไม่ดีก็ให้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์หรือหยุดเสีย อันจะช่วยให้พฤติกรรมที่แสดงไปนั้นเกิดสัมฤทธิ์ผลในทางที่ดี

    การพิจารณาสิ่งที่ได้คิด ได้พูด ได้ทำ หลังจากที่แสดงไปแล้ว เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยปกติก่อนและขณะคิด พูด ทำ สติไม่มีกำลังพอที่จะรู้ตัว จึงพิจารณาไม่ทัน แต่เมื่อแสดงออกไปแล้ว ย่อมมีเวลาที่จะนำมาทบทวนได้ การทบทวนดังกล่าวจะช่วยแก้ไขขัดเกลาพฤติกรรมของตนและช่วยพัฒนาความคิด คำพูด การกระทำในทางที่ดีเป็นคุณต่อตนเองและผู้อื่นยิ่ง ๆ ขึ้น

    หลักการพิจารณาก่อน ขณะ และหลัง คิด พูด ดังกล่าวเป็นการปิดบัญชี กาย วาจา ใจ ของแต่ละบุคคลในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้เราทราบว่าที่จะแสดง กำลังแสดง หรือแสดงไปแล้วมี กำไร หรือขาดทุน เป็นบุญหรือเป็นบาป หากมีกำไรเป็นบุญ ก็ควรทำต่อไป และทำให้มากยิ่งขึ้นในทุกโอกาส หากขาดทุนเป็นบาป ก็ควรจะหยุดเสีย อย่าให้บัญชีนี้เพิ่มขึ้นอีกเลย เพราะเท่าที่มีอยู่ก็ต้องคอยชดใช้เจ้าหนี้ที่ตามมาทวงแทบแย่อยู่แล้ว
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ทำหนึ่งให้ได้สอง

    ทำอย่างไรเราจะทำบัญชีทางโลกให้ได้บัญชีทางธรรมที่เป็นกำไรทั้ง ๒ ฝ่าย และทำอย่างไรเราจะทำบัญชีทางธรรมให้ได้บัญชีทางโลกที่เป็นกำไรทั้ง ๒ ฝ่ายเช่นกัน

    เราสามารถทำ ๑ ให้ได้ ๒ ในบัญชีทั้ง ๒ ฝ่ายได้ หากใช้สติปัญญาแต่ถ้าขาดสติปัญญาแล้ว ทำ ๑ อาจจะขาดทุนทั้ง ๒ อย่างได้

    ในการประกอบอาชีพหรือดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลมีความเห็นที่ถูกต้อง (มีสัมมาทิฏฐิ) เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เกรงกลัวผลของกรรมชั่วที่จะได้รับ บุคคลจะถือศีลได้ จะเป็นผู้ที่มีวาจาชอบ (สัมมาวาจา) การกระทำที่ชอบ (สัมมากัมมันตะ) อาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ) การมีศีลดังกล่าวส่งผลให้ทำบัญชีทางโลกและบัญขีทางธรรมมีกำไร เป็นบุญไปในคราวเดียวกัน กล่าวคือ

    การมีวาจาชอบ (สัมมาวาจา) ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

    เมื่อไม่พูดเท็จ คำพูดของบุคคลนั้นก็เป็นที่เชื่อถือของคนโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้เป็นผู้ที่มีเครดิตทางคำพูด ซึ่งการติดต่อค้าขายและรับบริการกันนั้น ไม่มีใครชอบถูกหลอกหรือถูกโกหก เมื่อเป็นเช่นนี้การค้าและการให้บริการต่อกันจึงเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ ลูกค้า ก็ชอบ ผู้รับบริการก็ติดใจ

    ส่วนการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ทำให้บุคคลเป็นผู้พูดจาไพเราะ ไม่กระด้าง ไม่ระคายหู เป็นปิยะวาจา อันเป็นวาจาที่ผู้ฟังรู้สึกรักใคร่พอใจผู้พูด

    สำหรับการไม่พูดเพ้อเจ้อ คือไม่พูดในสิ่งที่ไร้สาระนั้นทำให้ผู้พูดเป็นผู้ที่พูดในสิ่งที่มีสาระ พูดเป็นอรรถเป็นธรรม คำพูดจึงเป็นสุปิยะวาจา คือพูดดี ไพเราะ มีประโยชน์ คำพูดเช่นนี้ สมดังที่สุนทรภู่ท่านว่า

    อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
    แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย

    การมีศีลในเรื่องวาจาชอบดังกล่าว ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติทำมาค้าขึ้น ทำงานก็เป็นที่รักของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานมีกำไรในทางบัญชีทางโลก ขณะเดียวกันคำพูดที่เป็นประโยชน์เป็นอรรถเป็นธรรมต่อผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังคลายความทุกข์ ช่วยปลอบปลุกใจเมื่อเขาผิดหวัง เขาเศร้า ให้ความรู้ความเห็นในทางที่ถูกที่ควร คำพูดดังกล่าวก็เป็นบุญ เป็นกำไรในบัญชีทางธรรมด้วย

    ตรงข้ามหากวาจาเป็นมิจฉา คือพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นั้น ผู้ฟังย่อมไม่ชอบ เป็นคำพูดที่ก่อศัตรู ไล่ลูกค้า ทำมาค้าขายย่อมไม่ขึ้น หามิตรได้ยาก ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่มีใครอยากอยู่ใต้บังคับบัญชา และไม่มีใครอยากได้มาเป็นลูกน้อง คำพูดเช่นนี้ทำให้ขาดทุนทั้งบัญชีทางโลกและบัญชีทางธรรม

    การกระทำที่ชอบ (สัมมากัมมันตะ) หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การฆ่าสัตว์นั้นรวมทั้งฆ่ามนุษย์ด้วย ผู้ที่ฆ่าสัตว์ด้วยเจตนา ย่อมได้รับวิบากกรรม เป็นบาปขาดทุนในบัญชีทางธรรม แม้ว่าการฆ่าสัตว์ขายเป็นอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ได้เงินมาจับจ่ายใช้สอย บางรายอาจจะร่ำรวยเพราะอาชีพฆ่าสัตว์ ขายเนื้อสัตว์ แต่เงินที่ได้มาใช้ไปไม่เท่าไหรก็หมด หรือถึงร่ำรวยมีเงินเหลือ ตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้ ต่างไปจากบาปหรือวิบากกรรมที่จะต้องไปชดใช้ในชาติต่อไป บางรายต้องไปตกนรก บางรายเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถูกเขาฆ่าตายเช่นเดียวกับที่เคยฆ่าเขา เงินที่ได้มาจากอาชีพดังกล่าวจึงไม่คุ้มกันเลย

    บางรายที่ฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ มีโรคภัยไข้เจ็บประจำตัว ต้องทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด เงินที่หามาได้ก็ใช้รักษาตัวจนหมด โรคดังกล่าวมีผลมาจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนสัตว์นั่นเอง


    ผู้ชอบตั้งคำถามแบบ.....ว่า ห้ามฆ่าสัตว์แล้ว คนในโลกจะเอาเนื้อสัตว์ที่ไหนกิน หรือบางครั้งพระไปเทศน์เรื่องศีล ๕ ข้อแรกห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ โยมก็ยังเอาไปนินทาว่า ถ้าอย่างนั้นพระก็อย่าฉันเนื้อสัตว์สิ ปากเทศน์ว่าอย่าฆ่าสัตว์ แล้วทำไมยังฉันเนื้อสัตว์ล่ะ

    สำหรับเรื่องการฉันเนื้อสัตว์ของพระนั้น ในสมัยพุทธกาลพระเทวทัตไปทูลขอพระพุทธเจ้าให้บัญญัติห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ถ้าห้ามเช่นนั้น จะสร้างความยุ่งยากแก่ฆราวาสที่เขาใส่บาตร เพราะปกติอาหารที่เขานำมาใส่บาตร เป็นอาหารที่เขาแบ่งจากที่เขาทำรับประทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์ หากห้ามเช่นนั้นเขาก็จะต้องปรุงอาหารมังสวิรัติมาใส่บาตรโดยเฉพาะ เป็นการสร้างความยุ่งยากแก่เขา

    พระพุทธองค์จึงไม่ทรงบัญญัติห้าม แต่การฉันเนื้อสัตว์ของพระจะต้องไม่เป็นผู้สั่งให้เขาฆ่ามาปรุงเป็นอาหารถวายตน ไม่เห็นเขาฆ่าสัตว์นั้น และไม่ยินดีในการฆ่า ที่นำเรื่องนี้มากล่าวเพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจ

    ผู้ตั้งคำถามข้างต้นอาจจะไม่ได้พินิจพิเคราะห์และไม่เข้าใจธรรมชาติของสัตวโลก (รวมมนุษย์ด้วย) ว่าวิสัยของสัตวโลกนั้นเกิดมาเบียดเบียนกัน คือ แย่งที่ทำกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันครอง แย่งของกันใช้
    ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะห้ามไม่ให้สัตว์เดรัจฉานฆ่ากันเอง

    เช่นเดียวกันก็เป็นไปได้ที่คนจะไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ฆ่าคนด้วยกัน
    การกระทำหรือพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่ดี เป็นโทษเป็นภัยต่อผู้กระทำ แต่ก็ยังมีคนทุกชาติ ทุกศาสนาทำกันอยู่ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี เช่น เล่นการพนัน เสพและค้ายาเสพติด คดโกง ตลอดจนคอรัปชั่น ประพฤติผิดประเวณีและค้าประเวณี เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้มีมนุษย์ชาติไหนบ้างที่ไม่ประพฤติกัน ทั้ง ๆ ที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมฉันใดก็ฉันนั้น การฆ่าสัตว์ ตลอดจนอาชีพฆ่าสัตว์ รวมถึงขายสัตว์ให้เขาเอาไปฆ่า แม้ผิดศีล เป็นมิจฉาอาชีพ แต่ไม่ผิดกฎหมาย เว้นแต่ฆ่ามนุษย์ จึงไม่ต้องเป็นห่วงแม้แต่น้อยเลยว่า จะไม่มีผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว
    เขาเอาผลประโยชน์จากกรายได้เฉพาะหน้า ส่วนบาปที่จะส่งผลเป็นวิบากกรรม ซึ่งเขาจะต้องชดใช้นั้นเขาไม่สนใจหรอก เพราะฉะนั้นอย่าห่วงเลยว่าคนจะไม่ประกอบมิจฉาอาชีพดังกล่าว ขอเพียงแต่ว่าอย่าให้เป็นตัวเรา คนในครอบครัวเรา หรือบุคคลที่เรารักประกอบอาชีพนี้เลย เพราะผลได้ไม่คุ้มเสีย


    เมื่อบุคคลเว้นจากการฆ่าสัตว์ (เว้นมนุษย์ด้วย) ก็เกิดความเมตตาต่อสัตว์โลก ไม่เบียดเบียนกันสร้างสันติสุขขึ้นมาในชุมชน ในสังคม การมีเมตตาต่อกันเป็นบัญชีทางธรรมที่ทำให้มีกำไร

    การลักทรัพย์ รวมถึงการทุจริต คดโกงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้ทรัพย์มาโดยไม่ชอบธรรม แม้ว่าทรัพย์ที่ได้จะทำให้บัญชีทางโลกของตนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น แต่ก็ขาดทุนบัญชีทางธรรม เพราะเป็นการประพฤติที่ผิดทั้งศีลและธรรม ผู้ที่ประพฤติจะต้องได้รับผลกรรมทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

    บางกรณีที่ลักทรัพย์ผู้อื่น ถูกเขาจับได้ถูกลงโทษทรัพย์สินก็ถูกริบเป็นของแผ่นดิน หรือถูกฟ้องร้องต้องเสียเงินต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรมหมดเงินไปมากมายก็ยังไม่พ้นโทษ กรณีเช่นนี้ ขาดทุนทั้งบัญชีทางโลกและทางธรรม บางกรณีกฎหมายยังเอาโทษไม่ได้ ก็ถูกสังคมลงโทษเป็นผู้ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามและไม่ไว้วางใจของคนในสังคม

    การประพฤติผิดในกาม ได้แก่การล่วงละเมิดในคู่ครองของผู้อื่นที่เจ้าของเขาหวง ผู้ประพฤติผิดในกามผิดทั้งศีลและธรรม ขาดทุนในบัญชีทางธรรมอย่างแน่นอน ส่วนบัญชีทางโลกนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงดูหรือแบบลักลอบเป็นชู้ต่อกัน จึงเสียทั้งทางโลกและทางธรรม

    ด้วยเหตุนี้การกระทำที่ไม่ชอบ ทำไปแล้วมีผลเสียมากกว่าผลได้ ส่วนการกระทำที่ชอบ (สัมมากัมมันตะ) ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ผู้รักษาศีลทั้งสามข้อนี้ได้ย่อมเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
    อาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ) ได้แก่การไม่ประกอบอาชีพที่ทุจริตหรือมิจฉาอาชีพ ซึ่งมีดังนี้ การขายสัตว์ให้เขาเอาไปฆ่า การขายมนุษย์ การขายอาวุธ การขายยาพิษ (สิ่งเสพติดให้โทษ) การประกอบมิจฉาอาชีพเหล่านี้ แม้จะได้เงินมา ทำให้มีกำไรในบัญชีทางโลก แต่ขาดทุนในบัญชีทางธรรมเพราะเป็นอาชีพที่เห็นแก่ตัว เป็นการเบียดเบียนทำร้ายทำลายผู้อื่น หรือเอาชีวิตของผู้อื่นมารองรับความเป็นอยู่ของตน

    [COLOR=#501400]ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวแล้วได้เงินมาเลี้ยงชีวิตเลี้ยงครอบครัวย่อมยากที่จะเลือกอาชีพเหล่านี้ เพราะเป็นอาชีพที่คุ้นเคย หากเลิกอาชีพดังกล่าวแล้วไม่รู้ว่าจะหาอาชีพอะไรมาแทน บางรายก็อ้างว่าอาชีพอื่นไม่ถนัดทำไปแล้วเกรงขาดทุน [/COLOR]

    [COLOR=#666699][COLOR=#669966]จากการใกล้ชิดกับการอบรมปฏิบัติธรรมของผู้เขียนมาเป็นเวลานาน ผู้เขียนได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ จากผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้มามาก [/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699]


    [COLOR=#666699]<DD>มีหญิงสูงอายุรายหนึ่งมีความทุกข์มากจากลูกของตน เธอมีลูกชาย ๓ คน ปรากฏว่าไปทำงานที่ไหนก็ทำไม่ได้นานเพราะติดเหล้า มีคนโตที่ดีหน่อยบวชแล้วเลิกเหล้าได้ คนเล็กบวชแล้วเหมือนกัน แต่ก็ยังแอบดื่มจนต้องสึก ครั้นสึกมายิ่งดื่มหัวราน้ำ เธอถามว่าเธอควรจะทำอย่างไร ผู้เขียนถามเธอว่าเธอทำมาค้าขายอะไร เธอตอบว่า ขายเหล้า ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นโทษของการขายสุรา ซึ่งเป็นมิจฉาอาชีพ ส่งผลให้เธอและลูกต้องรับวิบากกรรมเช่นนี้ เพราะอาชีพของเธอทำให้คนอื่นหรือลูกของคนอื่นเมามายมามากต่อมาก ครอบครัวเขาย่อมเดือดร้อน จึงขอให้เธอเลิกอาชีพนี้เสีย เธอตอบว่าถ้าเลิกขายเหล้าก็ไม่รู้จะขายอะไร ความจริงมีอาชีพอื่นอีกมากมายในโลกนี้ คนอื่นเขายังทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองได้ ผู้เขียนพยายามชี้ให้เธอเห็น แต่เธอก็ยังยืนยันว่า ถ้าไม่ขายเหล้าแล้วไม่รู้จะขายอะไร<DD> <DD>[/COLOR][COLOR=#666699][COLOR=#666699]มีผู้ปฏิบัติธรรมรายหนึ่งเธอเข้าอบรมที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นสตรีวัยกลางคนเช่นกัน เมื่อการอบรมสิ้นสุดลงเธอออกมาแสดงความรู้สึกว่า [/COLOR]
    [COLOR=#666699][COLOR=#669966]ครั้งแรกที่เธอมาอบรม ได้ฟังเรื่องการขายเหล้าเป็นมิจฉาอาชีพ เธอฟังแล้วไม่สบายใจเพราะเธอมีอาชีพขายเหล้าโดยเฉพาะ ทั้งเหล้าในและเหล้าต่างประเทศ ได้เงินมาเลี้ยงชีวิตและครอบครัวพอมีฐานะ [/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699]

    [COLOR=#666699][COLOR=#501400]เมื่อกลับจากการอบรม เธอพยายามคิดว่าถ้าเลิกขายเหล้าเธอจะขายอะไรดี เพราะเธอรู้สึกไม่สบายใจเมื่อรู้ว่าอาชีพของเธอเป็นมิจฉาอาชีพถึงแม้จะถูกกฎหมายแต่ก็ผิดทางธรรม เธอสังเกตเห็นผู้ปกครองบางคนมาซื้อเหล้าจูงลูกหลานมาด้วย เด็กบางคนถือของเล่นมา เด็กจะสนใจของเล่นในมือที่ถืออยู่ เด็กไม่สนใจเหล้า แต่ผู้ปกครองสนใจเหล้า ไม่สนใจของเล่น กลับกันไป เธอได้สังเกตเห็นต่อไปว่า เด็กถือของเล่นอย่างมีความสุข แต่ผู้ปกครองมาซื้อเหล้า หน้าตาเคร่งเครียดมีความทุกข์ [/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699]

    [COLOR=#666699][COLOR=#669966]สิ่งที่เธอสังเกตเห็นเด็กและผู้ปกครอง จุดประกายความคิดของเธอขึ้นมาว่า หรือเธอจะขายของเล่นเด็ก แทนที่จะขายเหล้า แต่เธอก็ไม่แน่ใจว่าลำพังขายของเล่นเด็กอย่างเดียวจะมีรายได้เท่ากับขายเหล้าหรือไม่ เธอจึงเริ่มทดลองหาของเล่นเด็กมาขาย วางไว้ส่วนหนึ่งของร้านพร้อมกับขายเหล้าควบกันไปด้วย เด็กที่ตามผู้ใหญ่มาซื้อเหล้าก็ร้องที่จะให้ซื้อของเล่น ผู้ใหญ่อยากดื่มเหล้าจึงตัดความรำคาญซื้อของเล่นให้เด็ก [/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699]
    [COLOR=#666699]ปรากฏว่ามีเด็ก ๆ มาซื้อของเล่นกันมากขึ้น เธอจึงหามาขายเพิ่มอีกและลดพื้นที่การขายเหล้าลง จนกระทั่งร้านของเธอขายแต่ของเล่นเด็กไม่มีเหล้าวางขายอีกต่อไป [/COLOR]

    [COLOR=#666699][COLOR=#666699]เมื่อมาอบรมครั้งที่ ๒ เธอได้นำเรื่องนี้มาเล่าให้ผู้เข้ารับการอบรมฟัง ทุกวันนี้เธอมีความสุขกับอาชีพของเธอ เพราะรายได้จาการขายของเล่นเด็กมากกว่าการขายเหล้าเสียอีก ผู้ฟังต่างก็อนุโมทนาในความเห็นถูกของเธอ [/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699]
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]

    [COLOR=#666699][COLOR=#669966][COLOR=#501400][COLOR=#669966][COLOR=#666699][COLOR=#669966]เรื่องอาชีพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาชีพเป็นที่มาของรายได้ ที่บุคคลนำมาเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ถ้าเริ่มต้นด้วยสัมมาอาชีพ คือาชีพที่สุจริตแล้ว นับว่ามีกำไรในบัญชีทางโลก และหากนำเงินที่หามาได้ไปใช้ในทางที่เป็นบุญกุศล เท่ากับว่าได้สร้างบัญชีทางธรรมให้มีกำไรขึ้นมาอีกด้วยนับว่าทำ ๑ ได้ ๒ [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][COLOR=#666699][COLOR=#669966][COLOR=#501400][COLOR=#669966][COLOR=#666699]

    [COLOR=#666699]เช่น นำเงินไปอุปการะผู้ที่ควรอุปการะได้แก่มารดา บิดา ผู้มีพระคุณทำบุญกับพระศาสนา ช่วยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ช่วยบำรุงกิจการที่เป็นสาธารณกุศล สาธารณประโยชน์ เหล่านี้ เป็นต้น บุญกุศลที่ทำดังกล่าว จะช่วยเกื้อกูลให้อาชีพของตนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง และเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น มีกัลยาณมิตร มีบริวารดี และหากได้ถือศีลได้ปฏิบัติธรรมด้วยแล้วก็จะช่วยเสริมบารมีของตนให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีค่า ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา ซึ่งโอกาสเช่นนี้หาได้ยากยิ่ง [/COLOR]
    [/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]

    </DD>
     
  7. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    สรุป

    ถ้าเปรียบชีวิตคือการเล่นหุ้น (ซื้อขายหลักทรัพย์) ทุกคนต่างเล่นหุ้นในสองกระดาน ได้แก่ กระดาน เอ. เป็นกระดานที่เปรียบได้กับบัญชีทางโลก และกระดาน บี. เป็นกระดานที่เปรียบได้กับบัญชีทางธรรม ตลาดหุ้นไม่มีวันหยุด ทุกคนเล่นกันอยู่ทุกวัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนหลับตานอน

    คนส่วนใหญ่จะตั้งหน้าตั้งตาเล่นหุ้นในกระดาน เอ. อย่างเอาจริงเอาจัง (เอาเป็นเอาตาย) เฝ้าจ้องมองดูการซื้อขายบนกระดานหุ้นและทุกคนก็ซื้อ (รายจ่าย) และขาย (รายรับ) กันอยู่ทุกวัน เมื่อมีกำไรแต่ละคนก็จะเป็นปลื้ม เมื่อขาดทุนก็จะจ๋อย แต่ละวัน ๆ ต่างก็ดูการขึ้นลงและซื้อขายหุ้นบนกระดานด้วยใจระทึก บางคนเล่นไปไม่นานก็ต้องเลิกเล่น เพราะตายเสียก่อน บางคนก็เล่นไปได้นานพอประมาณ และบางคนก็เล่นไปยาวนาน (อายุยืน) แต่ที่สุดทุกคนก็ต้องเลิกเล่นเพราะความตาย

    เมื่อเลิกเล่นไม่ว่าเงิน (รวมทั้งทรัพย์สิน) ที่ได้จากการเล่นจะมีมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ตลาดหุ้น (โลก) ก็ไม่ยอมให้ผู้เล่นเอาอะไรไปจากบัญชีนั้นแม้แต่น้อย และถึงจะขาดทุน (ทางตัวเลข) ตลาดหุ้นก็ไม่ตามไปทวงคืน
    บัญชีในกระดาน เอ ปิดเป็นศูนย์ เมื่อเจ้าของบัญชีตาย กระดานนี้จึงเป็นกระดานหุ้นมายา แต่ทุกคนกลับทุ่มเทชีวิตจิตใจ ศักยภาพและเวลาเล่นกันอย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย

    สำหรับกระดาน บี. เป็นบัญชีทางธรรม ซึ่งเป็นบัญชีที่มีผลในระยะยาวของชีวิต แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ใส่ใจดูแลกระดานนี้ เล่นไปอย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ขาดความระมัดระวังในการซื้อขาย ไม่ตรวจสอบดูว่าแต่ละช่วงที่สั่งซื้อขาย จะมีกำไร (บุญ) ขาดทุน (บาป) สักเท่าใด บางรายแม้รู้ว่าขายไปจะขาดทุน ก็ยังขายขาดทุน (บาป) จนผลการขาดทุน (บาป-อกุศล) สะสมทับทวีขึ้น ก็ยังไม่รู้ตัว เพราะไม่ใส่ใจ

    บางรายที่มีสติปัญญา ก็จะระมัดระวังในการเล่น แต่ละช่วงการซื้อขายจะวิเคราะห์พิจารณา หากกำไรก็จะรีบขาย หากขาดทุนก็จะไม่ขายหรือหากจะขายไปบ้างเพราะพลั้งเผลอก็ไม่มากนักจึงสะสมกำไรเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ
    เมื่อเลิกเล่น เจ้าของบัญชีตายไป ผลกำไร (บุญ) ขาดทุน (บาป) ในบัญชีกระดานนี้ไม่ได้เป็นศูนย์เหมือนกระดานเอ. หากแต่จะติดตามผู้เล่นไปในชีวิตนี้และชีวิตหน้า

    ถ้ามีกำไร (บุญ) เจ้าของบัญชีก็จะนำไปใช้อุปการะตนได้ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า แต่ถ้าขาดทุนก็ต้องชดใช้หนี้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเช่นกัน

    เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่เอาแต่หมกมุ่นในการเล่นเพื่อทำกำไรในกระดานเอ. โดยปล่อยให้กระดานบี. ขาดทุนสะสมเป็นจำนวนมาก จึงเป็นผู้ที่ขาดวิสัยทัศน์ไม่มีข้อมูลที่เป็นจริง เล่นอย่างมืดบอด เหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ เห็นแก่ได้เฉพาะหน้า ไม่คำนึงถึงผลเสียในระยะยาว

    บุคคลประเภทนี้เป็นเพียงนักลงทุนสมัครเล่น ตรงข้ามกับผู้สนใจทำกำไรทั้งกระดาน เอ. และกระดาน บี. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีข้อมูลในการเล่น เล่นด้วยความระมัดระวัง แบ่งการลงทุนในแต่ละกระดานได้อย่างเหมาะสม จึงสามารถทำกำไรมากกว่าขาดทุนในทั้ง ๒ กระดาน เขาเล่นอย่างมืออาชีพ บุคคลเช่นนี้เกิดมาเพื่อสร้างบารมีให้กับตนมิใช่เกิดมาเพื่อทำร้ายทำลายตน

    ลองสำรวจดูว่าท่านเป็นนักลงทุนประเภทใดมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพ

    http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11216
     
  8. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุ

    <O:p
    *** ศีล-สมาธิ-ปัญญา คือ ทางปฏิบัติเพื่อความดับไปของทุกข์ทั้งปวง ***

    <O:p
     
  9. ธรรมะชาติ

    ธรรมะชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +64
    ฉีกบัญชี..ทั้งหลายด้วย...พุทโธ........ศีล...สมาธิ...ปัญญา......นิพพาน...เปรี๊ยะ
     
  10. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    อื่ม..เป็นความรู้เยี่ยมครับ....ก่อนถึงฝั่ง....ต้องมีเรือพาไป....เปลี่ยบเหมือนบันชีบุญ
    อนุโมทนาครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    (อ่านตาลายเลย กระทู้ยาวดี มีคุณภาพครับ)
     
  11. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  12. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนา

    ขอน้อมองค์คุณพระพุทธะอรหันต์ พระมหาพุทธะอรหันต์
    พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์
    พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิ์สัตว์
    คุณของพ่อแม่ ครูอาจารย์

    ด้วยเดชแห่งบุญที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญมาแล้ว
    จงสำเร็จแก่ทุกท่าน
    จงสำเร็จแก่มนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ
    ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา
    ลุล่วงพ้นทุกข์ตามองค์พุทธะประสงค์
    ตรงต่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันกาลนี้ด้วยเทอญ​
     
  13. - เงาะป่า -

    - เงาะป่า - เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +565
    ความรู้มากมายมหาศาล อนุโมทนาสาธุครับ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------
    พระคุณพ่อ
    --> http://palungjit.org/showthread.php?p=1326572#post1326572
    มาเที่ยว วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ วัดประจำปีจอกัน
    --> http://palungjit.org/showthread.php?t=136821
    พุทโธหาย....?
    --> http://palungjit.org/showthread.php?p=1329341#post1329341
    ปรัชญาพุทธกับคนรัก(ที่ไม่รักเรา) เอ๊า!!ใครอกหักยกมือขึ้น
    --> http://palungjit.org/showthread.php?p=1338677#post1338677
     
  14. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472

แชร์หน้านี้

Loading...