บวชเพื่อถางทางไปพระนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 4 ธันวาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=3317d75f485a4eb36fc312352acc7ba2.jpg

    บวชเพื่อถางทางไปพระนิพพาน

    ขอให้ท่านนึกย้อนกลับไปถึงวันแรกที่บวช พวกท่านทุกรูปได้ปฏิญาณกันต่อหน้าพระประธาน ต่อหน้าพระอุปัชฌาย์และต่อหน้าคณะสงฆ์ทั้ง ๒๐ รูป ว่า

    “สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ, นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
    อิมัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเซถะ มัง ภันเต”

    แปลว่า “ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ผู้เจริญ ขอท่านจงรับเอาผ้ากาสาวะ แล้วบวชให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด เพื่อข้าพเจ้าจะได้ประพฤติปฏิบัติกำจัดทุกข์ทั้งปวงให้สิ้นไป และกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

    เพราะเราปฏิญาณว่าจะบวชเพื่อกำจัดทุกข์ให้สิ้นไปนี้เองพระอุปัชฌาย์จึงยอมบวชให้ ขอให้จำฝังใจไว้ให้ดีว่า ไม่ว่าจะบวชระยะสั้นแค่พรรษาเดียว หรือบวชตลอดชีวิตก็ตาม เป้าหมายการบวชที่แท้จริง คือ การบวชเพื่อกำจัดทุกข์ไม่ใช่บวชเพื่อเล่นไม่ใช่บวชเพื่อเอาสนุก หรือบวชตามประเพณี แต่บวชแล้วต้องเอาจริงเอาจังมุ่งไปพระนิพพานด้วยการฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
    เราอาศัยพระธรรมวินัยปฏิบัติตนเพื่อขจัดกิเลสในตัวให้หมดสิ้นไปได้เมื่อไหร่ ทุกข์ก็หมดสิ้นไปได้เมื่อนั้น แล้วก็เห็นพระนิพพานแจ้งสว่างโร่ในที่สุดโดยอัตโนมัติ
    ถ้าถามว่า พระนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไร ?
    หลวงปู่ หลวงทวด ท่านตอบไว้ชัดเจนว่า “ลูกเอ๊ย ก้มหน้าก้มตาปฏิบัติไปเถอะ ถ้าดับทุกข์ไปได้มากเท่าไหร่ ก็รู้แจ้ง เห็นแจ้งไปตามลำดับชัดมากขึ้นเท่านั้น ว่าพระนิพพานมีลักษณะเป็นอย่างไรอย่ามัวเสียเวลาไปเถียงกันว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาเลยนะลูกนะ”
    เนื่องจากการกำจัดกิเลสกำจัดทุกข์ให้หมดไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแล้วยังมีลักษณะเฉพาะอีกว่า กิเลสนั้นพอกำจัดหมดปุ๊บ เผลอปั๊บกิเลสก็งอกขึ้นมาใหม่อีก เหมือนหญ้าแพรกหญ้าคา จึงต้องกำจัดกิเลสกันทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าเปรียบการเข้าไปรู้แจ้งเห็นแจ้งในพระนิพพานกับการเดินทาง ก็เปรียบเสมือนเดินบนเส้นทางที่ยาวไกลที่แสนจะรกทึบ ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนอบรมตนเองข้ามภพข้ามชาติบางครั้งหลวงปู หลวงทวดท่านถึงกับรำพึงว่า “การบวชเหมือนถางทางไปพระนิพพาน”
    ทำไมท่านจึงใช้คำว่า “ถางทาง” กับการทำพระนิพพานให้แจ้ง
    มันมีอะไรเป็นความรกขวางทางอยู่หรือ ถึงต้องมาถากมาถางออกไปให้เตียน
    คำว่า “ถางทาง” เป็นคำอุปมาเปรียบเทียบที่แสดงออกถึงความเอาจริงเอาจังในการสร้างหนทางสายใดสายหนึ่ง เพื่อไปให้ถึงที่หมาย

    เราเรียนกันมาแล้วใน “นวโกวาท” ว่าทันทีที่เกิดมา แต่ละคนก็มีสิ่งหนึ่งฝังอยู่ในใจเราแล้ว ต่างกันแต่ว่า ใครจะมีอยู่มากน้อยกว่ากันแค่ไหน สิ่งนี้มันเป็นความรกอยู่ภายในใจของทุกคน ซึ่งทางธรรมเรียกว่า กิเลส

    กิเลสเป็นเสมือนวัชพืชหรือป่ารกที่อยู่ในใจ
    กิเลสมีความรกขนาดไหนจึงขวางทางไปพระนิพพานได้ ?

    หลวงปู่หลวงทวดท่านพูดเป็นเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า แม้เอาความรกของป่าทั้งหลายในโลกนี้มารวมกัน ก็ไม่รกทึบเท่ากับป่ากิเลสที่อยู่ในใจของแต่ละคน

    นี่คือ ดีกรีความรกของกิเลสที่ขวางทางไปพระนิพพาน

    การที่ใครจะสามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็ต้องชุดรากถอนโคนป่ากิเลสในใจออกไปให้หมดสิ้น จนกระทั่งมันไม่สามารถงอกกลับคืนมาใหม่ได้อีก

    ดังนั้น ใครก็ตามที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว หากจะเป็นพระแท้ให้สมเจตนาในการบวช จึงต้องเอาจริงในการฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จะทำเหยาะๆ แหยะๆไม่ได้ เพราะงานสำคัญที่สุดในชีวิตนักบวช ก็คือ งานถางกิเลสออกจากใจไปพระนิพพาน

    ผู้ที่เอาจริงเท่านั้น จึงสามารถถางป่ากิเลสออกจากใจ แล้วเปิดหนทางไปพระนิพพานให้ตัวเองได้สำเร็จ

    ถ้าจะถามต่ออีกว่า แล้วพระนิพพานอยู่ที่ไหนหลวงปู่ หลวงทวดท่านก็ตอบยิ้มๆ ว่า “ก็อยู่ในด้วคุณเองนั่นแหละ ก้มหน้าก้มตาถางทางเร็วเข้าเถอะ”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m34.jpg
      m34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.9 KB
      เปิดดู:
      246
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
    ……………….
    [๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
    ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
    บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    ๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์
    ๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
    ๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
    ๔. เราติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่
    ๕. เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
    ๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๗. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    ๘. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
    ๙. เรายินดียิ่งในเรือนว่าง อยู่หรือไม่
    ๑๐. ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ที่เราบรรลุแล้วซึ่งจักเป็นเหตุให้เราไม่เก้อเขินเมื่อเพื่อนพรหมจารีถามในภายหลัง มีอยู่หรือไม่
    ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
    ………………
    ปัพพชิตอภิณหสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=46
    eIhxSqdXwxR8z1V9VNjPZtIkuZmAlDQRdrWChtWKSmMe&_nc_ohc=sZ5kym5pmWoAX9m3I5Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    g9d8gWf2JrXIA7ERe9Jcv24HZTdNZwuGdXS-3xxc1W2_&_nc_ohc=MrnJtCh-MsMAX-qNvrU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
    ……
    [๙๗๙] ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
    และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
    ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
    พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
    ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
    …….
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
    ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=281
    บทว่า ฌานานุยุตฺโต คือ เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยการทำฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดขึ้นแล้ว.
    บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต ภิกษุปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ ยังอุเบกขาในจตุตตฌานให้เกิดแล้วมีจิตตั้งมั่น.
    บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิยูปฉินฺเท พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งความวิตกและความคะนอง คือพึงตัดเสียซึ่งวิตกมีกามวิตกเป็นต้น, ธรรมเป็นที่อยู่แห่งความตรึกถึงกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น.
    ………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423
    a9e_TyeLZ0p5tZpMEVzWe5Pnc-Cfi09F37m9kx4-4Q6G&_nc_ohc=zNuyayO09iQAX-5ELNb&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ (เหตุปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้
    อารัมภวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑
    ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้วเมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒
    ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางการที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่ายอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓
    ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้วเมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔
    ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯนี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕
    ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖
    ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้นอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗
    ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๘
    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ ๘ ประการนี้แล
    …………..
    ข้อความบางตอนใน กุสีตารัมภวัตถุสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
    อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=153
    UoqUhWCTq4J-o6VJpuEBQpBAxfwjE29JLtDUIyQxL7OO&_nc_ohc=E_pAXsn0InsAX-O4erT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ผู้ชอบการพูดคุย
    **********
    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
    ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
    ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
    ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
    ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ”
    ………………
    ข้อความบางตอนใน ปริหานสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=194
    บทว่า ภสฺสาราโม ความว่า ภิกษุใดยังวันและคืนให้ล่วงไปด้วยสามารถแห่งการกล่าวถึงราชกถาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้แล้ว ภิกษุนี้เป็นผู้พูดไม่รู้จบ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้จึงชื่อว่า ภสฺสาราโม (ยินดีในการพูด).
    ส่วนภิกษุใดพูดธรรม วิสัชนาปัญหา เวลากลางคืนบ้าง กลางวันบ้าง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้พูดน้อย พูดมีสิ้นสุด.
    เพราะเหตุไร
    เพราะว่า เธอดำเนินตามวิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทีเดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกันแล้วมีกิจที่จะต้องกระทำ ๒ อย่าง คือกล่าวธรรมหรือนิ่งแบบพระอริยะ.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปริหานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=257
    vmvawloxbbpqqq4qmieclhw8llgdnho0x3gk-_nc_ohc-whdctcisoisax_iytpj-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ป่าโคสิงคสาลวันงามด้วยความเพียร
    ***********
    [๓๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “คำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร คำของเธอทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยเหตุนั้นๆ แต่เธอทั้งหลายจงฟังคำของเรา หากมีคำถามว่า ‘ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร’
    เราจักตอบว่า ‘สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ว่า ‘จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น (และ)ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น’
    สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
    …………….
    ข้อความบางตอนใน มหาโคสิงคสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=32
    ดูเพิ่มในอรรถกถามหาโคสิงคสาลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369
    หมายเหตุ พระสูตรนี้มีเนื้อหาแสดงถึง พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรม มีเนื้อหาโดยย่อว่า
    ท่านพระมหาเถระ คือ ท่านพระอานนท์ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระสารีบุตร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลเรื่องทรรศนะต่าง ๆ ให้ทรงทราบ พระศาสดาได้ตรัสสรรเสริญ ทรรศนะของพระเถระทุกรูป และได้ทรงแสดงทรรศนะว่า
    ‘สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ว่า ‘จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น (และ)ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น’ สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
    ข้อสังเกต : พระเถระผู้มีคุณธรรมพิเศษใดก็พรรณนาว่าป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุผู้มีคุณธรรมพิเศษนั้น โดยสรุป พระเถระทั้งหมดเห็นว่าป่านั้นงามด้วยพระขีณาสพ แต่พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาว่า แม้ภิกษุผู้ยังไม่มีคุณธรรมพิเศษใด ๆ แต่มีความเพียรพยายามมุ่งมั่นว่า “ถ้ายังละอาสวะทั้งหลายไม่ได้จะไม่ลุกขึ้น” ก็ชื่อว่าเป็นการทำให้ป่านั้นงามได้ด้วย นับเป็นทรรศนะที่กว้างไกล ทรงมองเห็นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปุถุชนไปจนถึงพระอรหันตขีณาสพ
    #ความเพียร #ปฏิบัติธรรม #ความสำคัญของการปฏิบัติธรรม
    lLmYWNTqlaFoYP7eZnomeUMszzDsdNq_8badQ7jvnVuj&_nc_ohc=8feqBqrTUL4AX8sJS6J&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "ธรรม และ วินัย จักเป็นศาสดา เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว "
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ปอ.มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวชในศาสนาใด โดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๓๒๕] เมื่อใด บุคคลผู้ถูกความง่วงเหงาครอบงำ บริโภคมาก ชอบแต่นอนกลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาย่อมมีปัญญาเฉื่อยชา ชอบเข้าห้องเป็นอาจิณ เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร ฉะนั้น
    …………
    ๔. ปเสนทิโกสลราชวัตถุ เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล ๒๓. นาควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=32
    ดูเพิ่มใน เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล นาควรรควรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบท
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=33&p=4
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อย่ากล่าวติรัจฉานกถา
    *****************
    ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร ว่าด้วยติรัจฉานกถา
    [๑๐๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากล่าวติรัจฉานกถา ซึ่งมีหลาย
    อย่าง คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถาเรื่องมหาอำมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า
    (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
    (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะติรัจฉานกถานี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็น
    ไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไป
    เพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
    นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะถ้อยคำนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
    เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อกล่าวว่า
    ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
    ติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐ จบ
    พระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=390
    zbGj8bm62As-WuD7GkhTHh4s8xlq6mqb6VI0LQt7IgcG&_nc_ohc=JtSlBTisYV0AX-dCIem&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...