บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 27 มีนาคม 2012.

  1. เด็กน้อย_

    เด็กน้อย_ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุ แต่ทำไมผู้ใหญ่ ทำตัวเหมือนตรงข้ามละเจ้าค๊ะ ทำไมไม่เป็นผ้าขาวแบบเด็ก ๆ
    รู้ว่าผิดก็ยังทำ โตขึ้นหนูจะเป็นแบบผู้ใหญ่หรือเปล่า เหมือนว่าใครโตขึ้นจะต้องกลายเป็นแบบผู้นำผู้ปกครองถึงอยู่บนโลกนี้ ได้ ทุกคนแล้วก็เคยเป็นเด็กที่ผ้าขาวสะอาด อะไรทำให้ผู้ใหญ่เป็นอย่างที่เขาเป็นเจ้าค๊ะ หนูกลัวว่าจะเป็นอย่างผู้ใหญ่แม้แต่ผู้นำ เราจะป้องกันอย่างไรดีเจ้าค๊ะ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โลกนี้มันเป็นกลียุค นี่นา ผู้ใหญ่มิจฉาทิฏฐิมันเยอะ
    เรียกว่ายุคที่มีมิจฉาทิฏฐิเป็นใหญ่ นั้นแหละ
    เราเป็นเด็กยังเป็นผ้าขาว ก็ต้องมีสติปัญญาดูให้ดีๆ
    อย่าไปหลงเห็นดีเห็นงามกับผู้ใหญ่มิจฉาทิฏฐิ ก็แล้วกัน
    เพราะหลงแล้วแก้ยาก อย่างพวกท่านผู้ยิ่งใหญ่ทั้งลายที่เห็นๆนั้นแหละ

    เราก็ดูและเอาอย่างแต่ผู้ใหญ่ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็แล้วกัน
    ดูตัวอย่างพระเจ้าอยู่หัว หรือพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คนที่มีจิตอาสา เสียสละเพื่อคนอื่น
    คนที่ทำงานสุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ไม่คอร์รับชั่น คนที่มีคุณธรรม

    ส่วนพวกหน้าไหว้หลังหลอก หวังคะแนนนิยมให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทน
    เราก็อย่าไปเอาอย่างเขา อย่าไปเห็นว่าดี

    ผู้ใหญ่ดีๆเป็นสัมมาทิฏฐิในบ้านเมืองเรายังมีอีกเยอะที่ท่านเป็นตัวอย่างให้สังคมได้

    เพียงแต่ตอนนี้มันเป็นยุคมิจาทิฏฐิเป็นใหญ่ ก็ต้องรักษาตัวเองไว้ก่อน
    อย่าไปหลงเห็นดีเห็นงามกับพวกมิจฉาทิฏฐิ ก็ เอาตัวรอดถึงฝั่งได้

    หวังว่า จะหมดยุคของมิจฉาทิฏฐิเป็นใหญ่ในเร็ววัน :'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2012
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ศีล ( Morality ) คือ ความปกติ และการรักษาศีลก็คือ ความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อน
    แก่ตนเองและผู้อื่น และเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกาย และวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติ แต่ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวก
    และง่ายที่จะปฏิบัติ มีดังนี้ คือ

    • พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    • พึงละเว้นจากการลักขโมย ฉ้อฉล
    • พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    • พึงละเว้นจากการพูดเท็จ
    • พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา

    ศีลทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักจำเป็นในสังคมมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปกติ ทั้งในตนเองและสังคม เพราะช่วยควบคุม
    ความประพฤติมิให้พลาดถลำลงในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงจัดอยู่ในระดับศีลธรรมอันเป็นมูลฐานที่จะนำไปสู่ความสงบ
    ของจิตใจ ถ้าหากความสะอาดทางกายและวาจาไม่มีแล้ว เราก็ไม่สามารถทำจิตใจให้สงบได้

    สรุปได้ว่า ทางสายกลางข้อ 3-4-5 เป็นการปฏิบัติทางศีลเพื่อให้เกิดความปกติทางกายและวาจาเท่านั้น

    เบญจศีล

    ในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น จำเป็นที่แต่ละคน ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมจะต้องทำตนให้เป็นคนเต็มคน ที่เรียกว่าเป็นมนุษย์ หรือเป็นคน 100% เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุข เกิดศานติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะทำคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมีความสงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่

    ตอนที่ ๑ เนื้อความและความหมาย

    เบญจศีล แปลว่า ศีล ๕ ได้แก่..

    ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น

    ๒.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

    ๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
    (๑) ภรรยาคนอื่น
    (๒) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
    (๓) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์

    บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
    (๑) สามีคนอื่น
    (๒) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)

    ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการ ปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตาเนตรสบเนตร เป็นต้น ก็ชื่อว่า การละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้แล้วเป็นผู้สำสวมในกามยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องมีกามสังวร ตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีชนิดที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"

    ๔.มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่คำปด ทวนสาบาน ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา ทำกิเลส เสริมความสำรวมคำพูดเสียดแทง สับปลับ ผิดสัญยา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้ว เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง

    ๕.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิตในการงาน ในวัย ในเพศ

    ผู้จะเป็นคนเต็มคน คือ 100% จะต้องเป็นผู้มีการดำเนินชีวิตประจำวันที่ประกอบด้วยเบญจศีลเบญจธรรมทั้ง ๕ ประเด็นดังกล่าวแล้ว ถ้าขาด ๑ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๘๐ % หรือขาด ๒ ประเด็นก็เป็นคนเพียง ๖๐ % เป็น นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นมนุษย์อันจะได้เป็นสมาชิกที่ของสังคม ความสงบสุขในสังคมแต่ละวันจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยหลักมนุษยธรรม หรือ แต่ละคนเป็นคนเต็มคนนั่นเอง





    อธิบายเบญจศีลอย่างย่อ ๆ

    เบญจ แปลว่า ๕ ศีล แปลว่า ปกติ เบญจศีล จึงแปลว่า ปกติ ๕ อย่าง แปลว่า ตัด ก็ได้ เพราะตัด จากความชั่ว หรือมนุษยธรรมก็เรียก แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ หมายความว่า ธรรมที่ทำคนให้เป็นคนที่ควรแก่การเคารพนับถือความหมายของเบญจศีล
    ความเป็นปกติของคน คือความเรียบร้อยสวยงามคนที่ไม่เรียบร้อยจะเป็นที่สวยงามไปไม่ได้ ได้แก่คนที่ผิดปกตินั้นเอง คนที่ไม่ปกตินั้นก็เป็นที่ผิดแปลกไปจากคนอื่น ๆ เช่น
    - ปกติคนเราจะต้องไม่ฆ่ากัน ไม่ทำร้ายร่างกายกันเพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดีต่างก็รักชีวิตของตนด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ประสงค์จะให้ใครมาฆ่าแกง หรือมาทำร้ายร่างกายตน หรือทรมานตนให้ได้รับความลำบาก คนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตของคนอื่น สัตว์อื่น จึงชื่อว่าคนผิดคน คือผิดปกติของคน
    - ปกติคนเราจะต้องไม่ขโมยทรัพย์สมบัติของกันและกันเพราะใคร ๆ ก็ย่อมรัก ย่อมหวงแหนในทรัพย์สินของตน ไม่ประสงค์จะให้ใครมาเบียดเบียนและล่วงเกินในทรัพย์สินของตน คนที่ขโมยทรัพย์ของผู้อื่น จึงชื่อว่าทำผิดปกติของคนปกติของคนเราจะต้องไม่ล่วงละเมิดประเวณีของกันและกัน เพราะลูกใคร เมียใคร สามีใคร ใคร ๆ เขาก็หวง ไม่ประสงค์จะให้ใครมารับแกขมเหงน้ำใจ ลูกเมียสามีเปรียบเหมือนทรัพย์อันมีค่าของเขา คนที่รับแก ข่มเหงล่วงเกินผู้อื่น จึงชื่อว่าเป็นเป็นผู้ทำผิดปกติของคน
    -ปกติของคนเราจะต้องไม่โกหกหลอกลวงกัน เพราะทุกคนไม่พึงปรารถนาจะให้ใครมาโกหกหลอกลวงตน ไม่ปรารถนาจะให้ใครมาหักรานประโยชน์ของตน ปรารถนาแต่ความสัตย์ความจริงด้วยกันทั้งสิ้น คนที่โกหกหลอกลวงผู้อื่นจึงชื่อว่าทำผิดปกติของคน
    -ปกติของคนเราจะต้องรักษากายวาจาให้เรียบร้อย บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ร่างกายของตน ไม่ปรารถนาจะให้ร่างกายได้รับความลำบากด้วยทุกขเวทนาต่าง ๆ ทั้งพยายามเสริมสร้างร่างกายให้เจริญด้วยกำลังและสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา จึงต้องงดเว้นจากการทำร้ายร่างกายตนเอง ด้วยการไม่ทำตนให้ผิดปกติ
    คนที่ดื่มสุรา เมรัย และเสพของมึนเมาต่าง ๆ เช่น กัญชาและเฮโรอีน เป็นต้นจนกลายเป็นคนติดยาเสพติดให้โทษ เป็นคนขาดสติสัมปชัญญะ ตกอยู่ในฐานะแห่งความเป็นผู้ประมาท ชื่อว่าเป็นผู้ทำร้างร่างกายตนเอง จึงจัดว่าเป็นคนทำผิดปกติ

    ศีล ๕ ประการนี้ ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ ธรรมทำให้คนเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์,เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ ผู้ที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยธรรมนี้มาก่อน การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากแท้ ดังพระพุทธดำรัสว่า"กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก" เมื่อเราได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ ไม่พยายามรักษาสภาพปกติไว้ ก็จะกลายเป็นผู้ทำลายปกติของตนเอง
    ผู้ที่ล่วงละเมิดศีล จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำลายมนุษยธรรม ผู้ที่ทำลายมนุษย์ธรรมชื่อว่าเป็นผู้ทำลายปกติของตนเองด้วยประการฉะนี้

    ตอนที่ ๒ วิรัติ คือการงดเว้น

    การรักษาศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ, การปฏิบัติธรรม คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้งดงาม, คนดีมีศีลธรรม คือ คนที่มีกายวาจาเรียบร้อยและมีจิตใจงดงาม
    การรักษาศีลนั้นมี ๓ วิธี เรียกว่า วิรัติ คือ การงดเว้น ได้แก่

    ๑.สมาทานวิรัติ การงดเว้นด้วยการสมาทาน
    ๒.สัมปัตตวิรัติ การงดเว้นในขณะเผชิญหน้า
    ๓.สมุจเฉทวิรัติ การงดเว้นโดยเด็ดขาด

    การที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อย ต้องประกอบด้วยวิรัติ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

    สมาทานวิรัติ ได้แก่การเปล่งวาจาขอสมาทานศีลจากพระภิกษุ สาม เณร หรือ จากบุคคลผู้มีศีลโดยการเปล่งวาจาขอสมาทานเป็นข้อ ๆ ไปดังนี้

    ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขา บท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และการใช้ให้คนอื่นฆ่า
    ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติก ประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า

    ๒.อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลัก
    ในสิกขาบทนี้ คำว่า "ทรัพย์" หมายเอาทั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทรัพยที่มีวิญญาณครอง เช่น คน สัตว์ และ วิญญาณฏทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ และหมายความรวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลักด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นลัก

    ๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม" หมายถึงการร่วมประ เวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น
    สิกขาบทนี้ เป็น สาหัตถิกประโยค เพราะผิดประเวณีด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นผิดประเวณี

    ๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
    ในสิกขาบทนี้ คำว่า "มุสาวาท" หมายความรวมไปถึง วจีทุจริต ๔ ประการ คือ การปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ การพูดปด ได้แก่ การพูดเท็จ หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า มุสาวาท
    การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าว่าคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เรีบกว่า ผรุสวาจา
    การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดให้ไขว้เขว เหลวไหลไร้สาระ ทำให้เสียประโยชน์ของผู้อื่น เรียกว่า สัมผัปปลาปะสิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยค เพราะพูดด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะให้ใช้คนอื่นพูด

    ๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในสิกขาบทนี้ คำว่า "สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

    สุรา ๕ อย่าง ได้แก่

    ๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
    ๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
    ๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
    ๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
    ๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

    เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่

    ๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
    ๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
    ๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้ง หรือน้ำดองน้ำหวาน
    ๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
    ๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

    สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเอง ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

    สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นในขณะเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น เกิดมีการต่อสู้กันขึ้น มีช่องทางพอที่จะฆ่าเขาได้ แต่ระลึกถึงศีลจึงไม่ฆ่า มีช่องทางพอที่จะโกงเขาได้แต่ไม่โกง มีช่องทางพอที่จะล่วงประเวณีได้แต่ไม่ล่วงประเวณี มีเหตุที่จะต้องให้โกหกเขาได้แต่ไม่โกหก มีโอกาสที่จะดื่มน้ำเมาได้ แต่ไม่ดื่มเพราะคำนึงถึงศีลดังกล่าวแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ แปลว่า งดเว้นได้ในขณะประจวบเข้าเฉพาะหน้า จัดเป็นผู้รักษาศีลเช่นเดียวกัน

    สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นโดยเด็ดขาด แม้อันตรายจะเข้ามาถึงชีวิตตนเอง ก็ไม่ล่วงละเมิดศีล เป็นวิรัติของพระอริยบุคคล ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ถูกบังคับให้ฆ่าคนอื่น ถ้าไม่ทำตนเองก็จะถูกฆ่า ก็ไม่ยอมฆ่าคนอื่นโดยเด็ดขาด ยอมให้เขาฆ่าตนเองดีกว่าที่จะล่วงละเมิดศีล ดังนี้เป็นต้น


    ตอนที่ ๓ องค์แห่งศีล ๕

    ในสิกขาบททั้ง ๕ นั้น ในแต่ละสิกขาบทมีองค์ประกอบต่าง ๆ กัน เมื่อครบองค์ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบองค์ศีลยังไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือบกพร่องไปบ้างเท่านั้น องค์แห่งศีลทั้ง ๕ นั้นมีดังต่อไปนี้

    สิกขาบทที่ ๑

    ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ สิกขาบทที่ ๑ นี้มีองค์ ๕ คือ


    ๑.สัตว์นั้นมีชีวิต
    ๒.รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
    ๓.มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น
    ๔.พยายามฆ่าสัตว์นั้น
    ๕.สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

    การฆ่าที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าก็ตาม ยุยงให้สัตว์อื่นฆ่ากันก็ตาม เช่น จัดให้จิ้งหรีดกัดกันจนตายไป เป็นต้น ศีลก็ขาดทั้งนั้น
    สิกขาบทที่ ๑
    ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์
    คำว่า"สัตว์"ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งมนุษย์ชาย-หญิงทุกวัย จนที่สุดแม้กระทั่งที่ยังอยู่ในครรภ์ และสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด

    สิกขาบทที่ ๑ นี้มีข้อห้ามไว้ ๓ ประการ ได้แก่

    ๑.การฆ่า
    ๒.การทำร้ายร่างกาย
    ๓.การทรกรรม

    ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
    การฆ่าโดยตรงศีลขาด, ส่วนการทำร้ายร่างกาย และการทรกรรม (ทรมาน) สัตว์ รวมเรียกว่า อนุโลมการฆ่า ศีลไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือศีลทะลุก็เรียก


    การฆ่า
    การฆ่า หมายถึง การทำให้ตาย แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่


    ๑.ฆ่ามนุษย์
    ๒.ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน


    การทำร้ายร่างกาย
    การทำร้างร่ายกายนี้ ทางฝ่ายศาสนาถือเป็น "บุพพประโยคของการฆ่า" แบ่งออกเป็น ๓ สถาน ได้แก่

    ๑.การทำให้พิการ ได้แก่ การทำให้อวัยวะบางส่วนเสีย เช่น การทำให้ตาเสีย การทำให้แขนหรือขาเสีย เป็นต้น
    ๒.การทำให้เสียโฉม ได้แก่ การทำร้างร่างกายให้เสียรูปเสียงาม แต่ไม่ถึงกับให้พิการ เช่น
    ๓.การทำให้เจ็บลำบาก ได้แก่ การทำร้างร่างกายซึ่งไม่ถึงกับเสียโฉม แต่เสียความสำราญ เช่น ชกต่อย เฆี่ยนตี


    การทรกรรม
    ทรกรรม หมายถึง "การประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์โดยไม่ปรานี" จัดเป็น ๕ อย่าง ได้แก่

    ๑.ใช้การ ได้แก่ การใช้สัตว์เป็นพาหนะ อย่างไม่ปรานี มีแต่ใช้ ปล่อยให้อดอยาก ซูบผอม ไม่ให้พักผ่อนตามกาล หรือใช้เกินกำลังของสัตว์
    ๒.กักขัง ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป หรือผูกไว้เพื่อดูชมเล่น แต่ผู้เลี้ยงกักขัง หรือผูกมัดไว้จนไม่สามารถจะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่ปรนเปรอเลี้ยงดูให้สัตว์ได้รับความสุขพอสมควร ปล่อยให้อดอยาก เป็นต้น
    ๓.นำไป ได้แก่ การนำไปผิดอิริยาบถของสัตว์ สัตว์นั้นย่อมได้รับความลำบาก เช่น ผูกขาไก่หิ้วไป
    ๔.เล่นสนุก ได้แก่การนำสัตว์มาเล่นเพื่อความสนุก เช่นเอาประทัดผูกหางสุนัขแล้วจุดไฟ
    ๕.ผจญสัตว์ ได้แก่ การเอาสัตว์ให้ชนกันหรือกัดกัน เช่น ชนโค ชนไก่ กัดปลา เป็นต้น


    สิกขาบทที่ ๒

    อทินนาทานา เวรมณี เวรมณี แปลว่า "เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร"
    สิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ได้ในที่นี้ หมายถึงสิ่งของ ๒ อย่าง คือ

    ๑.สิ่งของที่มีเจ้าของ ทั้งที่มีวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า สวิญญาณกทรัพย์ และที่ไม่มีวิญญาณ เรียกว่า อวิญญาณกทรัพย์
    ๒.สิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร แต่มีผู้รักษาหวงแหน เช่น สิ่งของที่เป็นของสงฆ์ ของสโมสร ของส่วนรวม เป็นต้น

    ในสิกขาบทที่ ๒ นี้ จึงมีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

    ๑.โจรกรรม
    ๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
    ๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม

    ๑.โจรกรรม
    โจรกรรม ได้แก่ "กิริยาที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจร" มี ๑๔ ประเภท ได้แก่
    ๑.ลัก ได้แก่"กิริยาที่ถือเอาสิ่งของด้วยอาการเป็นโจรในเวลาที่เงียบไม่ให้เจ้าของรู้" มี ๓ ลักษณะ คือ
    ก.เมื่อเจ้าของเขาเผลอก็หยิบเอาสิ่งของนั้นไป เรียกว่า "ขโมย"
    ข.เวลาสงัดคนแอบเข้าไปในเรือนแล้วหยิบเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า"ย่องเบา"
    ค.งัดหรือเจาะประตู-หน้าต่างที่ปิดอยู่แล้วถือเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า "ตัดช่อง"
    ๒.ฉก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของในเวลาที่เจ้าของเขาเผลอ เช่น
    วิ่งราว หมายถึง เจ้าของเขาเผลอก็เข้าแย่งเอาแล้ววิ่งหนีไป หรือ
    ตีชิง หมายถึง ตีเจ้าของให้เจ็บแล้วถือเอาสิ่งของ
    ๓.กรรโชก ได้แก่ กิริยาที่แสดงอำนาจให้เจ้าของตกใจกลัวแล้วยอมให้สิ่งของ
    ๔.ปล้น ได้แก่ กิริยาที่ยกพวกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปข่มขู่เจ้าทรัพย์แล้วถือเอาสิ่งของของคนอื่นไป
    ๕.ตู่ ได้แก่ กิริยาที่ร้องเอาสิ่งของขงอผู้อื่นซึ่งมิได้ตกอยู่ในมือตนเอง
    ๖.ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่ตกอยู่ในมือตนเอง
    ๗.หลอก ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นโดยการพูดจาหลอกลวงหรือโกหกเอา (ปั้นเรื่องขึ้นให้เจ้าทรัพย์หลงเชื่อแล้วจึงถือเอาทรัพย์ของเขาไป)
    ๘.ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยการแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เขาเข้าใจผิด (ใช้เพทุบายลวงให้เขาหลงเชื่อ)
    ๙.ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของไม่แท้ให้เห็นว่าเป็นของแท้ขึ้นเปลี่ยนเอาสิ่งของดีหรือ ของแท้ของเขาไป (ทำของปลอมขึ้นเปลี่ยนเอาของแท้ของเขา)
    ๑๐.ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมสิ่งของของเขาไปแล้วถือเอาเป็นของตนเอง ไม่ส่งคืน (การยืมของเขาแล้วไม่ส่งคืนเจ้าของเดิม โดยยึดถือเอาเป็นของตัวเองไป)
    ๑๑.เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น เก็บเงินค่าเช่าได้มาก แต่ให้เจ้าของแต่เพียงน้อย ๆ(กินเศษกินเลยเล็ก ๆ น้อย ๆ)
    ๑๒.สัปเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตนที่เลวเข้าไปไว้แทน แล้วเอาของที่ดีของผู้อื่นไปเสีย (เอาของที่ไม่ดีไปเปลี่ยนเอาของที่ดีของเขา)
    ๑๓.ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของต้องพิกัดซ่อนเข้ามาโดยไม่เสียภาษี, ค้าของหนีภาษี, ลักลอบขนของหนีภาษี เป็นต้น)
    ๑๔.ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตนที่จะต้องถูกยึดไปไว้เสียในที่อื่น (การใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต)

    ๒.ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
    ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่แสวงหาพัสดุในทางที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ไม่นับเข้าในอาการโจรกรรม แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
    ๑.สมโจร ได้แก่ กิริยาที่อุดหนุนโจรกรรมโดยนัย เช่น รับซื้อของโจร คือเป็นผู้รับซื้อสิ่งของที่ผู้อื่นโจรกรรมได้มา
    ๒.ปอกลอก ได้แก่ กิริยาที่คบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของ เขาฝ่ายเดียว เมื่อเขาสิ้นตัวแล้วทิ้งเขาเสีย (คบกับคนอื่นโดยหวังผลประโยชน์ตนฝ่ายเดียว)
    ๓.รับสินบน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ที่เขาให้ เพื่อช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด

    ๓.กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
    กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม ได้แก่ กิริยาที่ทำทรัพย์พัสดุของผู้อื่นให้สูญและเป็นสินที่ใช้ตกอยู่แก่ตน มี ๒ ประเภท ได้แก่
    ๑.ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำอันตรายเสียหายแก่ทรัพย์สินพัสดุของผู้อื่น เช่น แกล้งเผาสวนยาง เผาบ้านของเขา เป็นต้น
    ๒.หยิบฉวย ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย เช่น บุตรหลานประพฤติตนเป็นคนพาลนำเอาทรัพย์สินของพ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยายไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

    สิกขาบทที่ ๒ นี้มีองค์ ๕ คือ


    ๑.ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๒.รู้อยู่ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๓.มีเจตนาจะถือเอาสิ่งนั้น
    ๔.พยายามถือเอาสิ่งนั้น
    ๕.ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

    สิกขาบทที่ ๓

    กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    คำว่า"กาม"ในทีนี้ ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันในทางประเวณี ซึ่งทั้งชายและ หญิงต่างก็เป็นวัตถุต้องห้ามของกันและกัน

    หญิงที่ต้องห้ามในสิกขาบทนี้มี ๔ จำพวก คือ

    ๑.ภรรยาผู้อื่น ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก ได้แก่


    ก.หญิงที่แต่งงานแล้ว
    ข.หญิงที่ไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันกับชายโดยอาการเปิดเผย
    ค.หญิงผู้รับสิ่งของมีทรัพย์เนต้นของชาย แล้วยอมอยู่กับเขา
    ง.หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา


    ๒.หญิงที่อยู่ในความพิทักษ์รักษาของเขา ได้แก่ หญิงที่ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง รักษา

    ๓.หญิงที่จารีตห้าม ได้แก่ หญิง ๓ จำพวก คือ

    ก.หญิงที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตัวเอง และ ผู้ที่เป็นเหล่ากอของตนเอง
    ข.หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญัติในพระศาสนา เช่น ภิกษุณี ชี เป็นต้น
    ค.หญิงที่กฏหมายบ้านเมืองห้ามและลงโทษแก่ชายผู้สมสู่ด้วย

    ชายที่ต้องห้ามในสิกขาบทที่ ๓
    ชายก็เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงเหมือนกัน ท่านกล่าวแสดงไว้ ๒ จำพวก คือ

    ๑.ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามี
    ๒.ชายที่จารีตห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร เป็นต้น เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง

    ในสิกขาบทนี้ คำว่า "การประพฤติผิดในกาม"หมายถึง การร่วมประเวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น

    สิกขาบทที่ ๔

    มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า "ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท"
    คำว่า "มุสาวาทา เวรมณี" แปลว่า เว้นจากมุสาวาท, ความเท็จ ชื่อว่า มุสา, กิริยาที่พูด หรือแสดงอาการมุสา ชื่อว่า มุสาวาท ในสิกขาบทที่ ๔ นี้

    ในสิกขาบทที่ ๔ มีข้อห้ามเป็น ๓ อย่าง ได้แก่

    ๑.มุสา กล่าวเท็จ
    ๒.อนุโลมมุสา กล่าววาจาที่เป็นตามมุสา
    ๓.ปฏิสสวะ รับแล้วไม่ทำตามรับ

    ๑.มุสา มีลักษณะ ดังนี้

    ๑.เรื่องที่กล่าวนั้นไม่เป็นความจริง ๒.ผู้กล่าวจงใจ
    ๓.กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ๔.ผู้ฟังเข้าใจผิด

    การแสดงมุสานี้ไม่เฉพาะแต่ทางวาจาอย่างเดียวเท่านั้น แม้ทางกายก็อาจเป็นไปได้ เช่น เขียนหนังสือมุสาเขา แสดงอาการ หรือ สั่นศีรษะ ที่ทำให้เขาเข้าใจผิดจากความเป็นจริง


    มุสามี ๗ ประเภท ได้แก่

    ๑.ปด ได้แก่ มุสาจัง ๆไม่อาศัยมูลเลย ท่านแสดงตัวอย่างไว้ ๔ อย่าง ได้แก่
    ก.ส่อเสียด หมายถึง ปดเพื่อจะให้เขาแตกแยกกัน
    ข.หลอก หมายถึง ปดเพื่อจะโกงเขา
    ค.ยอ หมายถึง ปดเพื่อจะยกย่อง
    ง.กลับคำ หมายถึง พูดแล้วไม่ทำตามรับ
    ๒.ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่าจะพูดตามเป็นจริง แต่ไม่ได้ตั้งใจจริงอย่างนั้น มีปดเป็นบริวาร, หมายถึง สาบานเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นพยานทนสาบานแล้วเบิกความเท็จในศาล เป็นต้น
    ๓.ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง เช่น อวดรู้วิชาว่าคงกระพัน หรือพูดมุสาด้วยการใช้เพทุบาย ไม่พูดตรง ๆ
    ๔.มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง เช่น คนไม่มีศีลแต่ทำทีให้เขาห็นว่าเป็นคนมีศีล, หรือเจ็บเล็กน้อยแต่ทำทีเป็นเจ็บปวดเสียมากมาย เป็นต้น
    ๕.ทำเลส ได้แก่ การพูดมุสาเล่นสำนวน คือ อยากจะพูดเท็จแต่ทำเป็นเลสเล่นสำนวนให้ผู้ฟังนำไปคิด
    ๖.เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่เสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง หรือเรื่องจริงมีนิดหน่อยแต่กลับพูดขยายความออกเสียยกใหญ่จนเกินความจริงไป เช่น พูดพรรณนาถึงสรรพ คุณยาให้เกินกว่าทั่วยาจะรักษาโรคได้
    ๗.อำความ ได้แก่ พูดมุสาเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้เสีย เพื่อทำความเข้าใจกลายไปเป็นอย่างอื่น (หมายถึง เรื่องจริงนั้นมีมาก แต่กลับพูดให้เห็นเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย)

    ๒.อนุโลมมุสา
    อนุโลมมุสากำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่


    ๑.วัตถุที่จะกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง
    ๒.ผู้กล่าวไม่จงใจกล่าวให้ผู้ฟังเข้าใจผิด มี ๒ ประเภท ได้แก่
    ก.เสียดแทง ได้แก่ กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นเจ็บใจ เช่น พูดประชด ด่า
    ข.สับปรับได้แก่พูดปดด้วยความคะนองวาจาแต่ผู้พูดไม่ตั้งใจจะให้เขาเข้าใจผิด


    คำพูดที่จริงที่ไม่สมควรพูด


    คำพูดที่จริง แต่ให้โทษแก่ผู้อื่นและผู้พูดเอง เป็นคำพูดที่มุ่งหมายอย่างนั้น ซึ่งคำพูดนั้นมีมูลเหตุมาจากมุสาจึงจัดเข้าในอนุโลมมุสา ได้แก่


    ๑.คำส่อเสียด ได้แก่ คำพูดที่ได้ยินข้างหนึ่งติเตียนข้างหนึ่งแล้วเก็บไปบอกยุยงเขา เป็นเหตุให้เขาแตกแยกกัน
    ๒.คำเสียดแทง ได้แก่ การพูดให้เขาเจ็บใจ อ้างวัตถุที่เป็นจริงอย่างนั้นขึ้นพูด เป็นเหตุให้ผู้ที่ต้องถูกว่านั้นเจ็บใจ

    ๓.ปฏิสสวะ
    ปฏิสสวะ ได้แก่ กิริยาที่รับคำผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์คิดจะทำตามที่รับปากไว้จริง ๆ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่รับปากไว้นั้น

    ปฏิสสวะนี้มี ๓ ประเภท ได้แก่


    ๑.ผิดสัญญา ได้แก่ การที่ทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำเช่นนั้นเช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ได้ทำตามที่สัญญานั้น
    ๒.เสียสัตย์ ได้แก่ กิริยาที่ให้สัตย์แก่เขาฝ่ายเดียวว่าตนเองจะทำหรือไม่ทำเช่นนั้น เช่นนี้ แต่ภายหลังกลับไม่ทำตามคำพูดนั้น
    ๓.คืนคำ ได้แก่ การที่รับปากว่าจะทำหรือไม่ทำสั่งนั้นสิ่งนี้โดยมีไม่สัญญา แต่ภาย หลังกัลบไม่ทำตามนั้น

    ปฏิสสวะ เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติเสียชื่อเสียง จึงควรจะละเสีย ส่วนการ"ถอนคำ" ไม่นับเป็นปฏิสสวะ


    ยถาสัญญา
    การพูดมุสาที่ไม่ผิดศีล เรียกว่า "ยถาสัญญา" คือ คำพูดที่บุคคลพูดตามความสำคัญ หรือพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ และผู้พูดมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาที่จะพูดให้ผิดไปจากความเป็นจริง มี ๔ ลักษณะ ได้แก่


    ๑.โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้กันเป็นธรรมเนียม เช่น คำลงท้ายของจดหมายซึ่งแสดงความอ่อนน้อมว่า ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง เป็นต้น
    ๒.นิยาย ได้แก่ เรื่องที่เปรียบเทียบเพื่อให้ได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น นิยายที่จินตกวีแต่งขึ้น
    ๓.สำคัญผิด ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดสำคัญผิดและพูดออกไปตามความสำคัญผิดนั้น เช่น วันนี้เป็นวันอังคาร เมื่อมีผู้ถามว่าวันนี้เป็นวันอะไร ? ผู้พูดสำคัญว่าเป็นวันพุธ จึงตอบไปว่า "วันพุธ" เช่นนี้ต้น
    ๔.พลั้ง ได้แก่ กิริยาที่ผู้พูดตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่งแต่พูดออกไปอีกอย่างหนึ่ง และการพูดเช่นนี้เมื่อพูดออกไปแล้วควรบอกใหม่ทันที เช่น ถูกถามว่า "ไปไหนมา ?" ก็รีบตอบเลยทันทีว่า "เปล่า…! ไปธุระมานิดหน่อย" คำว่า "เปล่า" นั้นเป็นคำพูดพลั้งหรือพูดด้วยความเคยชิน โดยไม่มีเจตนาจะพูดให้เขาเข้าใจผิด



    สิกขาบทที่ ๕

    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


    ความหมายของ "สุรา และ เมรัย"
    น้ำเมาที่เป็นของหมักดอง เช่น กระแช่ น้ำตาลเมาต่าง ๆ ชื่อว่า"เมรัย", เมรัยนั้นที่เขากลั่นอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้รสเข้มข้นขึ้น เช่น เหล้าชนิดต่าง ๆ ชื่อว่า "สุรา"


    ในสิกขาบทนี้ คำว่า"สุราและเมรัย" หมายเอา สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่างซึ่งจะขอกล่าวตามลำดับต่อไป


    สุรา ๕ อย่าง ได้แก่


    ๑.ปิฏฐสุรา สุราทำด้วยแป้ง
    ๒.ปูวสุรา สุราทำด้วยขนม
    ๓.โอทนสุรา สุราทำด้วยข้าวสุก
    ๔.กิณณะปกะขิตตา สุราที่หมักเชื้อ
    ๕.สัมภาระสังยุตตา สุราที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

    เมรัย ๕ อย่าง ได้แก่


    ๑.ปุปผาสโว น้ำดองดอกไม้
    ๒.ผลาสโว น้ำดองผลไม้
    ๓.มธวาสโว น้ำดองน้ำผึ้งหรือน้ำดองน้ำหวาน
    ๔.คุฬาสโว น้ำดองน้ำอ้อย
    ๕.สัมภาระสังยุตโต น้ำดองที่ปรุงด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

    สิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยคเพราะดื่มหรือเสพด้วยตนเองเท่านั้น ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้ผู้อื่นดื่มหรือเสพ

    สิ่งมึนเมาที่อนุโลมเข้ากับสุราและเมรัย

    การสูบ ฉีด หรือเสพ ยาเสพติดให้โทษ เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ ฯลฯ เข้าไปในร่างกาย ซึ่งไม่ใมช่การดื่มกินเข้าไปเหมือนสุราและเมรัย ก็จัดว่าผิดศีลข้อที่ ๕ เหมือนกัน เพราะสิ่งเสพติดเหล่านี้ แม้จะไม่ได้ดิ่มกินทางปากก็ตามที แต่ก็สำเร็จเป็นการทำให้มีนเมา ทำให้ไม่สามารถควบคุมสติและควบคุมตนเองได้ เช่นเดียวกับหารดิ่มกินสุราเมรัย ซ้ำยังมีโทษร้ายแรงยิ่งกว่าสุราเมรัยเสียอีก
    ยาเสพติด เช่น กัญชา เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น ทินเนอร์ เป็นต้นนั้น ถึงแม้ว่าไม่มีในครั้งพุทธกาล และพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็ตามที แต่ก็อนุโลมเข้ากันได้กับสุราเมรัยและของมึนเมาอย่างอื่นอีก เพราะอาศัยหลักฐานคือ มหาปเทส ๔ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นหลัก เพราะฉะนั้นยาเสพติดทุกชนิดที่อนุโลมเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร จึงทำให้ผู้ที่สูบ เสพ หรือ ฉีด สิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิดผิดศีลข้อที่ ๕ ด้วย

    มหาปเทสนั้นมี ๔ ประการ ได้แก่.-

    ๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
    ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
    ๓. สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดต่อสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร.
    ๔.สิ่งใดที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร(กัปิยะ)ขัดกันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร


    สุรา และ เมรัย และสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหมดนั้น ย่อมทำให้ผู้ที่ดื่มมึนเมาเสียสติ เป็นบ่อเกิดแห่งความประมาท เลินเล่อเผลอสติ ขาดความยั้งคิด ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำทุกอย่างได้ทั้งหมด ไม่มีความละอาย และเป็นเหตุให้ทำความชั่วอย่างอื่นได้อีกมากมาย สร้างความปั่นป่วนให้สังคม การดื่มสุราเมรัย และหรือเสพยาเสพติดให้โทษ เป็นอบายมุข เป็นหนทางแห่งหายนะ ฉะนั้นน้ำเมาคือสุราเมรัยจึงได้ชื่อว่า "เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

    พระสุตตันตปิฎก
    เล่ม ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ปฐมปัณณาสก์
    ภัณฑคามวรรคที่ ๑
    อนุพุทธสูตร

    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า
    นั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งเรา ทั้งท่านทั้งหลายได้แล่นไปแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว
    สิ้นกาลนานอย่างนี้ เพราะยังไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔
    ประการเป็นไฉน คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็น
    อริยะ ๑ และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ศีลที่เป็นอริยะ
    สมาธิที่เป็นอริยะ ปัญญาที่เป็นอริยะ และวิมุตติที่เป็นอริยะ อันเราและท่าน
    ทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว ตัณหาอัน
    นำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ซึ่งไม่มี
    ธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตม ศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว
    พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดามีจักษุทรงกระทำที่สุดทุกข์ ตรัสรู้
    พระธรรมแล้ว ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย พระองค์เสด็จ
    ปรินิพพานแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๑

     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    เสวิสูตร

    [๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
    โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้า
    ไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
    ๓. บุคคลที่จะต้องสักการะเคารพ แล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
    เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวโดยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล
    เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดู
    อนุเคราะห์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
    เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเช่นเดียวกับตน โดยศีล สมาธิ
    ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะการสนทนา ปรารภศีล จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยศีล
    ด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญ
    ของเราด้วย การสนทนาปรารภสมาธิ จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดย
    สมาธิด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความ
    สำราญของเราด้วย การสนทนา ปรารภปัญญา จักมีแก่เราซึ่งเป็นคนเสมอกัน
    โดยปัญญาด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็น
    ความสำราญของเราด้วย ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควร
    เข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่จะต้องสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ
    คบหา เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล สมาธิ
    ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ จักต้องสักการะเคารพแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่ง
    ใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอาการเช่นนี้ จักบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่สมบูรณ์
    ให้สมบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ จักบำเพ็ญ
    สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์สมาธิขันธ์บริบูรณ์ด้วย
    ปัญญาในที่นั้นๆ จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจัก
    อนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้
    จึงควรสักการะเคารพ แล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคผู้สุคตพระศาสดา ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
    แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม
    ในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น ฉะนั้น
    จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ดังนี้ ฯ

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    ๔. รถวินีตสูตร

    ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
    [๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อ
    แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศจำนวนมาก จำพรรษาแล้ว
    ในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชาติภูมิประเทศ
    ภิกษุรูปไหนหนอ ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเอง
    เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ
    ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนา ความมักน้อย ความสันโดษ
    ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ
    ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำชี้แจง
    ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้อาจหาญ ร่าเริง.
    ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติภูมิประเทศ
    ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเอง
    เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล
    สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนาความมักน้อย ความ
    สันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล
    สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำ
    ชี้แจง ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้อาจหาญ ร่าเริง.
    [๒๙๓] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงดำริว่า เป็น
    ลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่านปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุ
    เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน กล่าวยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และ
    พระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาซึ่งการกระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตรแล้ว
    สนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง.
    [๒๙๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามสำราญพระอัธยาศัย
    เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
    ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่
    ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจึงเก็บงำ
    เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังพระนครสาวัตถี ถึงพระวิหาร
    เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มี
    พระภาค จึงทรงชี้แจงท่านพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
    ธรรมีกถา.
    ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
    สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพัก
    ในกลางวัน.
    พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
    [๒๙๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้งข่าวว่า ข้าแต่ท่าน
    พระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญอยู่เนืองๆ นั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม
    อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
    หลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน.
    ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่านพระปุณณมันตานีบุตรไป
    ข้างหลังๆ พอเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่ง
    พักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรก็เข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน
    อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน.
    พระสารีบุตรสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตร
    [๒๙๖] ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านพระ
    ปุณณมันตานีบุตรถึงสำนัก ได้ปราศรัยกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
    ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมัน
    ตานีบุตรดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ?
    ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้มีอายุ?
    สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ ท่าน
    ผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
    ท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสน
    วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสน
    วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
    หรือ ท่านผู้มีอายุ?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
    สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
    สีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ใน
    พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคา
    มัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่าน
    ก็ตอบผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
    อะไรเล่า?
    ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
    สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
    ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
    สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ
    หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
    เป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณ
    ทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่
    นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อ
    เป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า?
    [๒๙๗] ปุ. ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทา
    ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน. ถ้าจักทรงบัญญัติ
    จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    ญาณทัสสนวิสุทธิว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่า
    เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
    ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ท่านผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่าน
    ฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.
    อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
    [๒๙๘] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนคร
    สาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับ
    เมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จออกจาก
    พระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วย
    รถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึง
    รถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถ
    พระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่ง
    ผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่ง
    ผลัดที่สี่ ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่ง
    ผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก
    เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก
    ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
    ถ้าพวกมิตรอำมาตย์ หรือพระญาติสาโลหิต จะพึงทูลถามพระองค์ซึ่งเสด็จถึงประตูพระราชวังว่า
    ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถ
    พระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็น
    อันตรัสตอบถูกต้อง?
    สา. ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบ
    ถูกต้อง คือ เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต
    ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้น ฉันจึงออกจาก
    นครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง
    ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม ด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม
    ไปถึงรถผลัดที่สี่ ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้า
    ด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก ด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อย
    รถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด ด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถ
    ผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะ
    ต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.
    ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ
    เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ
    เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณ
    ทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ใน
    พระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
    กล่าวชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน
    [๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า
    ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักท่านว่าอย่างไร?
    ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อน
    พรหมจรรย์ รู้จักผมว่ามันตานีบุตร. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่
    เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ ด้วยปัญญาอัน
    ลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าว
    แก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้
    ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะ
    เทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับ
    ว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่งนับว่าเป็นลาภ
    มากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร.
    [๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามดังนี้ว่า
    ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระสารีบุตร
    ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักผมว่าสารีบุตร. ท่านพระ
    ปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับ
    พระศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไป
    เพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง
    อันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์
    ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้
    หากว่า เพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้าจึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้
    แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง
    นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้พระสารีบุตร.
    พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ รถวินีตสูตรที่ ๔

     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ใน 84000 พระธรรมขันธ์แบ่งแยกออกเป็นการกระทำกี่ประเภท ได้แก่อะไร

    3 ประเภท ครับ

    1 พระธรรมเกี่ยวกับธรรมะล้วนๆเช่น อริยสัจ4 พระไตรลักษณ์ ขันธ์5 เป็นต้น
    2 พระวินัยของสงฆ์ ว่าด้วย กฎข้อห้ามต่างๆของพระภิกษุสงฆ์
    3 เรื่องราวของพระพุทธเจ้ารวมถึงพระอนุพุทธะตั้งแต่ก่อนตรัสรู้จนกระทั่งปรินิพพาน

    ปัจจุบันบรรจุพระคำภีร์ในหนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่มตามพรรษา45พรรษาของพระพุทธเจ้าที่ทรงโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย ครับ

    การกระทำ พื้นฐานเลย ใน84000 พระธรรมขันธ์ ก็มีขอบเขต เพื่อให้มีความสะอาดและบริสุทธิ์ของ

    การกระทำทางกาย
    การกระทำทางวาจา
    การกระทำทางใจ

    คือการปฏิบัติทั้งหมดทั้งมวลของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่าการปฏิบัติธรรม นี่แหละ คือไตรสิกขา
    ว่า ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

    การกระทำ หรือการปฏิบัติ ก็มีความละเอียดละออ ออกไปเพื่อให้เกิดปัญญา 3 ระดับในการที่จะบริหารไตรสิกขาให้บริบูรณ์

    คือ สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา
    กล่าวอีกแบบ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ


    ปริยัติ คือการทรงจำ เข้าใจ รู้เห็น อริยสัจจ์4 การทรงปริยัติไว้ได้อย่างนี้ จะเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม เป็นสุตตมยปัญญา ถ้าโสดาปัตติมรรค ไม่เกิดนะก็ไม่เรียกว่าทรงปริยัติ หรอกนะ เรียกว่าอ่านหนังสือรู้หนังสือ พระโสดาบันนี่นะ ศีลท่านจะดีมากเลย ไม่ด่างไม่พร้อย คนอย่างเราๆ บรรลุโสดาบันได้ก็ไม่เสียชาติเกิดแล้วล่ะ

    ปฏิบัติ นี่จะรวบเข้ากับ จินตามยปัญญา คืออยู่ในส่วนของการปฏิบัติของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ไปจนถึงอรหัตมรรค เพราะยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังไม่เสร็จกิจ คือการนำเอาอริยสัจจ์ 4 มาเจริญ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อขจัดกิเลสไม่ให้เหลือ สมถะวิปัสสนาทั้งหลายทั้งปวงจะทำกันอย่างดีใน ปฏิบัตินี้ล่ะ

    ปฏิเวธ หรือภาวนามยปัญญา คือการแทงตลอดธรรมธาตุนะ เป็นการแทงตลอดอริยสัจจ์ 4 ในขณะจิตเดียวเลย ปัญญาแบบนี้ กิจแบบนี้ คือปฏิเวธ บรรลุอรหัตผลเรียกว่า ปัญญาสมบูรณ์สุดๆ ไม่มีกิจอื่นใดที่ต้องทำเพื่อให้สิ้นกิเลสอีกต่อไปแล้ว การแทงตลอดธรรมธาตุ ก็คือทำนิพพานให้แจ้ง เป็นไวพจน์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกัน

    84000 พระธรรมขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมขันธ์ใดพระธรรมขันธ์หนึ่งก็ไม่พ้นไปจากอริยสัจจ์ 4 ได้หรอกนะ

    การกระทำ ...โดยหลักใหญ่ก็เพื่อการกระทำเพื่อกิจสุดท้ายนี้เอง คือทำนิพพานให้แจ้ง

    ลานธรรมจักร :: แสดงกระทู้ - มีคำถามเกี่ยวกับ" 84000 พระธรรมขันธ์"ค่ะ
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    " น า ย ดี " ตอบคำถาม การศึกษา พระไตรปิฎก 84000 ...........ให้ คุณ surachock
    surachok โพสถามนายดี ว่า

    เรียน นายดี
    ก่อนอื่นผมขอแนะนำตัวเองก่อนครับ ผมชื่อสุรโชค ใช้ชื่อในเวบญาณทิพย์ว่า surachok ผมได้อ่านกระทู้นายดี หลายๆกระทู้ รู้สีกว่าได้มุมมองที่ดีขึ้นมาีหลักการ(สิ่งที่ยึดเกาะดี) แสดงว่าได้รับการศึกษาและค้นขว้ามา ผมโพสมาให้กำลังใจนายดี เพียรในความดีที่ตั้งใจไว้

    ผมขอรบกวนขอคำแนะนำในการเริ่มต้น ศึกษาพระไตรปิฏกหน่อยครับว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี มีเทคนิคและวิธีการศึกษาอย่างไร เพื่อให้
    สมารถศึกษาและเข้าใจได้ถ่องแท้
    ขอบคุณครับ
    ..............................................................

    ( นายดี ขอตอบ คุณ surachock ว่า
    คุณ surachock เป็นผู้มีปัญญา ที่เข้าใจ ว่า
    อะไร คือ คำสั่งสอนที่ถูกต้อง ของ พระพุทธเจ้า
    และอะไร ไม่ใช่ คำสั่งสอนที่ถูกต้อง ของ พระพุทธเจ้า

    เพราะ ในปัจจุบันนี้ ชาวพุทธเป็นจำนวนมาก ยิ่งหากไกล คำสั่งสอน
    ที่ถูกต้อง ของ พระพุทธเจ้า มากขึ้น ๆ ทุกวัน
    โดยไปยึดถือคำสั่งสอน ของ หลวงปู่หลวงพ่อต่าง ๆ ที่ตนนับถือ
    โดยไม่ได้ มี คำสั่งสอน ของ พระพุทธเจ้า เป็น สรณะเลย

    ทั้ง ๆ ที่ พระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้แล้วว่า
    พระธรรมวินัย จักเป็น ศาสดา แทน พระองค์ และ หากมีภิกษุรูปหนึ่งรูปใด
    กล่าวอ้างคำสอนของตนขึ้นมา พระองค์ก็ให้ตรวจสอบลงกับ
    พระธรรมวินัย ที่ทรงบัญญัติไว้
    หากไม่ใช่ และ ไม่ตรง ........... พระองค์ก็สอนให้ อย่ารับ ให้ปฏิเสธ
    ..................

    สำหรับ การศึกษาพระไตรปิฎก จะต้องเริ่มต้นจากการศึกษา พระอภิธรรมก่อน
    โดยคุณสามารถ ไปศึกษา ได้ที่ อภิธัมมโชติกะ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์
    คุณขึ้นไปชั้น 2 แล้วเข้าไปหา แม่ชี หรือ พระที่อยู่ในห้องอำนวยการได้เลย ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเกรงใจ
    เพราะ ที่นั่น ยินดีต้อนรับคุณ

    พอคุณมี พื้นฐานพระอภิธรรม ดีแล้ว
    คุณก็สามารถไปศึกษา พระสูตร และ พระวินัย จนเกิดมี

    ปริยัติญาณ จนเป็นฐานไปสู่ ปฏิปัตติญาณ และ ปฏิเวธะญาณ ได้
    เพราะ
    พระวินัย เป็น ........... อธิศีลสิกขา
    พระสูตร เป็น .......... อธิจิตตสิกขา
    พระอภิธรรม เป็น ...... อธิปัญญาสิกขา

    ซึ่งก็คือ
    ศีล สมาธิ ปัญญา .... เพื่อให้เข้าถึง วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสนะ
    ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ นั่นเอง

    แล้วพุทธวัจนะ ก็ควรเชื่อถือได้ด้วยหรือเปล่าค่ะ หรือต้องตรวจสอบก่อนเชื่อถือ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

    ตอบกลับ 3# ใจธรรมะ

    พระพุทธวัจนะ ก็ต้องถูกตรวจสอบ
    ว่า
    พระพุทธวัจนะ ของ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เหมือนกับ พระพุทธเจ้าในอดีต
    ที่เคยมาตรัสรู้แล้ว หรือไม่ ?

    เพราะ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก่อนตรัสรู้

    พระองค์ ก็คือ ปุถุชนคนธรรมดาที่ยังมีกิเลส

    แต่ ๆๆๆๆๆๆๆ เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ ธรรมที่ควรรู้ อย่างถูกต้อง
    จึง
    ทำให้พระองค์ เป็น พระพุทธเจ้า

    .............

    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จึงทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์
    เพื่อ
    เป็นการยืนยันคำสอน ของ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ว่า

    ถ้าหากตรัสรู้ จะต้องตรัสรู้เหมือนกัน หมด คือ

    1. การละบาปทั้งปวง อันหมายถึง อกุสลจิต 12 และเจตสิก 27 ดวง
    2. การเจริญกุศลให้ถึงพร้อม อันหมายถึง กุสลจิต 24 และเจตสิก 52 ดวง
    3. การชำระจิตให้ขาวรอบ อันหมายถึง อรหัตตผลจิต 4 และ เจตสิก 36 ดวง

    กระผมอยากจะถามนายดีว่าเพราะเหตุใดพระสงฆ์ต้องเรียนต้องศึกษาพระไตรปิฏกครับเพราะเหตุใดครับ

    ตอบกลับ 6# SPIDER

    เพราะ คำว่า พระสงฆ์ แปลว่า

    ผู้ศึกษาและปฏิบัติตาม คำสั่ง และ คำสอน ของ พระพุทธเจ้า ครับ

    คำสั่ง คือ พระวินัยปิฎก
    คำสอน คือ พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก

    เพราะฉะนั้น
    ถ้าไม่ศึกษา พระไตรปิฎก ทั้ง 3 ปิฎก
    แล้ว
    จะมาบวชเป็น ...พระสงฆ์ ทำไมกันล่ะครับ


    http://www.yantip.com/board/archiver/?tid-8881.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สุริยสูตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลายขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร 84,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆคือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 4 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 4 ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภูมหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 5 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 5 ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก 100 โยชน์ก็ดี 200โ ยชน์ก็ดี 300 โยชน์ก็ดี 400 โยชน์ก็ดี 500โยชน์ก็ดี 600 โยชน์ก็ดี 700 โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง 7 ชั่วต้นตาลก็มี 6 ชั่วต้นตาลก็มี 5 ชั่วต้นตาลก็มี 4 ชั่วต้นตาลก็มี 3 ชั่วต้นตาลก็มี 2 ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ 7 ชั่วคน 6 ชั่วคน 5 ชั่วคน4 ชั่วคน 3 ชั่วคน 2 ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้าเพียงในรอยเท้าโค ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆเปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 5 ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 6 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 6 ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด 100 โยชน์ 200 โยชน์ 300 โยชน์ 400 โยชน์ 500 โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ อยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวงดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน) ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติ พรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่างสาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลบางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด 7 สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่ารู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา36 ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ 7 ประการ หลายร้อยครั้งพระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังไม่ตรัสรู้ไม่ได้แทงตลอดธรรม 4 ประการ 4 ประการเป็นไฉน คือ อริยศีล 1 อริยสมาธิ 1 อริยปัญญา 1 อริยวิมุติ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีลอริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้วแทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหาในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม 4 ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้วปรินิพพาน ฯ

    ***พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>เทวปุตตสังยุต</CENTER><CENTER>วรรคที่ ๑</CENTER><CENTER>ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑</CENTER>[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้น กัสสปเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งกัสสปเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าพระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด ฯ [๒๒๒] กัสสปเทวบุตร ได้กราบทูลว่า บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิตการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต ฯ พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ฯ ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ


    </PRE>


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒</CENTER>[๒๒๓] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่ เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปแห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิง อาศัยแล้ว ฯ


    </PRE>


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>มาฆสูตรที่ ๓</CENTER>[๒๒๔] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีครั้งนั้น มาฆเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๒๒๕] มาฆเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลฆ่าอะไรสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรสิ จึงจะไม่เศร้า โศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรม อะไร ซึ่งเป็นธรรมอันเดียว ฯ [๒๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดูกรท้าววัตรภู อริยะทั้งหลาย สรรเสริญ การฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่า บุคคลฆ่าความโกรธนั้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ฯ


    </PRE>


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>มาคธสูตรที่ ๔</CENTER>[๒๒๗] มาคธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า แสงสว่างในโลก มีกี่อย่าง ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระ ผู้มีพระภาคแล้ว ไฉนจะพึงทราบข้อนั้นได้ ฯ [๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้ พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างใน กลางคืน ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวันและ กลางคืน พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>ทามลิสูตรที่ ๕</CENTER>[๒๒๙] ... อารามแห่งอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ทามลิเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๒๓๐] ทามลิเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนา ภพด้วยเหตุนั้น เพราะละกามได้ขาดแล้ว ฯ [๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า พราหมณ์ทำกิจเสร็จ แล้ว บุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขา เป็นสัตว์เกิด ต้องพยายาม ด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น ก็ผู้นั้น ได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม เพราะ ว่า เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมาแห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะ สิ้นแล้ว มีปัญญาเพ่งพินิจ ฯ พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะแล้ว ไม่ต้องพยายาม เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>กามทสูตรที่ ๖</CENTER>[๒๓๒] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยากยิ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีลแห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่น แล้ว ย่อมกระทำ แม้ซึ่งสมณธรรมอันบุคคลทำได้โดยยาก ความยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความ เป็นผู้ไม่มีเรือน ฯ [๒๓๓] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยากนี้ คือความสันโดษ ยินดี ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจ ยินดีแล้วในความอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน เหล่านั้น ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก ฯ [๒๓๔] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือจิต ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น ย่อมตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูกรกามทเทวบุตร อริยะ ทั้งหลายเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุไปได้ ฯ [๒๓๕] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่เสมอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ ไม่เสมอ ที่ไปได้ยาก ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทาง อันไม่เสมอ ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะ อริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗</CENTER>[๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส ในที่คับแคบหนอ ผู้ใดได้รู้ฌาน เป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ เป็นมุนี ฯ [๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่น ดีแล้ว โดยชอบ ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>ตายนสูตรที่ ๘</CENTER>[๒๓๘] ครั้งนั้น ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๒๓๙] ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์ ฯ มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ ในภายหลัง ฯ ก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม บาดมือนั่นเองฉันใด ฯ ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ [๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่าตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด พราหมณ์ มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ ในภายหลัง ฯ ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม บาดมือนั่นเอง ฉันใด ฯ ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเราทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>จันทิมสูตรที่ ๙</CENTER>[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่ พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระ- องค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง แห่งข้าพระองค์นั้น ฯ [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูกรราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก ฯ [๒๔๓] ลำดับนั้นอสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระ-*หืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์ เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึง ปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ<CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>สุริยสูตรที่ ๑๐</CENTER>[๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่ พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า- พระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น ที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะ-*อสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกร ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่าง ในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่าน อย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่าน จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระ- สุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึง ปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิต อยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ<CENTER>จบ วรรคที่ ๑</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>รวมพระสูตรในวรรคที่ ๑ นี้ มี ๑๐ สูตร คือ ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ มาฆสูตรที่ ๓ มาคธสูตรที่ ๔ ทามลิสูตรที่ ๕ กามทสูตรที่ ๖ ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ตายนสูตรที่ ๘ จันทิมสูตรที่ ๙ และสุริยสูตรที่ ๑๐ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1577&Z=1609&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2012
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=549 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )


    </TD></TR><TR><TD></TD><TD colSpan=4>
    ..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)

    ..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
    .....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
    .....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
    .....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
    .....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว


    ..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
    .....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
    .....อำนาจของอวิชชา
    ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
    ..........1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    ..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
    ....

    </TD></TR><TR><TD width=12 bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff colSpan=4>.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
    .....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
    .....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
    .....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
    .... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
    .....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
    .....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
    .....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
    .....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
    </TD></TR><TR><TD width=12></TD><TD colSpan=4>สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) (หัวข้อ)
    .....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
    .....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
    .....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
    .....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์

    </TD></TR><TR><TD width=12 bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff colSpan=4>.สัมมาวาจา (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    </TD></TR><TR><TD width=12></TD><TD colSpan=4>.สัมมากัมมันตะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    </TD></TR><TR><TD width=12 bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff colSpan=4>.สัมมาอาชีวะ (ศีล) (หัวข้อ)
    .....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    </TD></TR><TR><TD width=12></TD><TD colSpan=4>.สัมมาวายามะ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
    .....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า

    </TD></TR><TR><TD width=12 bgColor=#ffffff></TD><TD bgColor=#ffffff colSpan=4>.สัมมาสติ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
    .....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
    .....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป

    </TD></TR><TR><TD width=12></TD><TD colSpan=4>.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) (หัวข้อ)
    .....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
    .....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
    .....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
    .....แหลมคมอยู่เสมอด้วยฯลฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD width=12></TD><TD colSpan=4>....cอองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
    .....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
    .....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
    .....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
    ..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
    .....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
    .....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
    .....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
    .....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
    .....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
    .....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
    .....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
    .....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า

    </TD></TR><TR><TD width=12 bgColor=#ffffff></TD><TD width=155 bgColor=#ffffff></TD><TD width=147 bgColor=#ffffff></TD><TD width=107 bgColor=#ffffff></TD><TD width=128 bgColor=#ffffff></TD></TR><TR><TD width=24></TD><TD width=156></TD><TD colSpan=2>

    </TD><TD width=176></TD></TR><TR><TD width=24></TD><TD width=156></TD><TD width=141>พรหมวิหาร 4
    </TD><TD width=102>อิทธิบาท 4
    </TD><TD width=176>อริยสัจ 4

    </TD></TR><TR><TD width=24></TD><TD width=156></TD><TD width=141>มรรค 8
    </TD><TD width=102>ทิศ 6
    </TD><TD width=176>ความกตัญญู

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ̓Ԃ?ä 8
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้รู้อริยสัจเป็นหลักอยู่ในใจ
    ย่อมไม่มีอาการสั่นสะเทือนเพราะถูกยกวาทะ : ดุจเสาหิน



    ภิกษุ ท.! ภิกษุรูปใด รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็น
    เหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึง
    ความดับไม่เหลือของทุกข์." ดังนี้นั้น ; แม้ว่าจะพึงมีบุคคลที่เป็นสมณะหรือ
    พราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องการจะโต้วาทะ เที่ยวแสวงคู่โต้วาทะ มาจากทิศตะวันออก
    หรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม โดยประกาศว่า "เราจักยกวาทะของภิกษุ
    รูปนั้นเสีย" ดังนี้; ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์นั้น จักทำภิกษุนั้นให้หวั่นไหว
    สั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไป โดยถูกธรรมนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้เลย.
    ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุที่อริยสัจสี่นั้น เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นเห็นแล้ว
    ด้วยดี.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก ฝังอยู่ในดิน ๘ ศอก
    โผล่ขึ้นพ้นดิน ๘ ศอก แม้จะมีลมพายุฝนอย่างแรงกล้า มาจากทิศตะวันออก
    หรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม ไม่พึงทำเสาหินนั้นให้หวั่นไหว
    สั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไปได้เลย. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะ
    ส่วนที่ฝังนั้นลึก และฝังเป็นอย่างดี; ฉันใดก็ฉันนั้น.

    ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้นในกรณีนั้น ในกรณีนี้พวกเธอ พึงทำความเพียร
    เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า "นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เป็นความ
    ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์" ดังนี้เถิด.

    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๕/๑๗๒๔

    อย่ากล่าวเรื่องทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน แต่จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์

    ภิกษุ ท.! พวกเธออย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกัน ว่า "ท่าน
    ไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยได้
    อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด, ข้าพเจ้าซิปฏิบัติชอบ, คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าว
    ทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์
    คำพูดของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์. ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวนไปเสียแล้ว.
    ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว, ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอน
    คำพูดผิด ๆ นั้นเสียหรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด:" ดังนี้.พวกเธอไม่พึง
    กล่าวถ้อยคำเช่นนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เพราะการกล่าวนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์
    ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

    ภิกษุ ท.! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า "เช่นนี้ ๆ เป็นความ
    ทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
    และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;" ดังนี้. เพราะ
    เหตุไรจึงควรกล่าวเล่า ? เพราะการกล่าวนั้น ๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์
    เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลาย
    กำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.

    ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร
    เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความ
    ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์," ดังนี้เถิด.

    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๕/๑๖๖๒.

    เมื่อประพฤติถูกทาง
    กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ


    ภิกษุ ท.! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแส
    แม่น้ำคงคาหรือไม่ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !"

    ภิกษุ ท.! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก,
    ไม่จมเสียในกลางน้ำ, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูก
    อมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่ผุเสียเองในภายใน ไซร้, ท่อนไม้ที
    กล่าวถึงนี้ จักลอยไหลพุ่งออกไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อม
    ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ทะเล, อุปมานี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน, แม้พวกเธอทั้งหลาย : ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน, ไม่เข้า
    ไปติดเสียที่ฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์
    จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายใน
    ไซร้, พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดา
    ที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน. ฯลฯ.

    ภิกษุ ท.! คำว่า 'ฝั่งใน' เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง คำว่า
    'ฝั่งนอก' เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ อย่าง. คำว่า 'จมเสียในท่ามกลาง'
    เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำว่า 'ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก' เป็นชื่อของอัสมิมานะ
    (ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น). คำว่า 'ถูกมนุษย์จับไว้' ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้
    ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน, มีสุข เมื่อคฤหัสถ์
    เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ประกอบการงานใน
    กิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับ
    ไว้. คำว่า 'ถูกอมนุษย์จับไว้' ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์
    โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้
    หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้ที่ศักดาน้อย
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้ คำว่า 'ถูก
    เกลียวน้ำวนวนไว้' เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน
    คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก
    ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ
    ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ
    พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ
    มีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสีย
    เองในภายใน แล.

    - สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓-๒๒๔/๓๒๒-๓๒๓.

    เครดิต คุณแปะแปะ http://palungjit.org/threads/เน€เธ—...–เธฒเธ„เธ•เน€เธฅเธข.333342/page-6#post5945705
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ๑๗๐. เสนาสนวัตร (ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย)

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าสามารถ เธอพึงทำความสะอาด. เมื่อจะทำความสะอาดวิหาร พึงนำบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พึงนำผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงนำฟูก<SUP></SUP> และหมอนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เตียงตั่งพึงทำให้ต่ำนำออกให้ดี อย่าให้ครูดสี กับกระโถนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงนำแผ่นกระดานสำหรับพิงออกไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงสังเกตเครื่องปูพื้นตามที่ตั้งไว้เดิม แล้วนำออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. (สมัยก่อนที่อยู่ไม่ยกพื้นโดยมาก เมื่ออยู่กับพื้นดินจึงต้องใช้เตียงใช้ตั่ง และใช้เครื่องปูพื้น). ถ้าวิหารมีหยากไย่ พึงนำหยากไย่ออกจากเพดานก่อน."
    "ถ้าฝาที่ทาด้วยสีดินแดง เป็นจุดด่าง พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้ง แล้วเช็ด. ถ้าพื้นทาด้วยสีดำเป็นจุดด่าง พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งแล้วเช็ด. ถ้าพื้นไม่ได้ทาสีไว้ พึงพรมน้ำแล้วกวาด ด้วยคิดว่า อย่าให้วิหารเปรอะเปื้อนด้วยธุลี พึงเก็บขยะไปทิ้ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
    "ไม่พึงตีเสนาสนะ (หมายถึงใช้มือทุบตีหรือใช้ไม้ตีให้ฝุ่นละอองออก) ในที่ใกล้ภิกษุ. ไม่พึงตีเสนาสนะในที่ใกล้วิหาร. ไม่พึงตีเสนาสนะใกล้น้ำดื่ม. ไม่พึงตีเสนาสนะใกล้น้ำใช้. ไม่พึงตีเสนาสนะในลานด้านทวนลม พึงตีเสนาสนะด้านใต้ลม."
    "เครื่องปูพื้น พึงตากได้ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว ดีแล้ว จึงนำไปปูไว้ ณ ที่ซึ่งปูไว้เดิม. ที่รองเตียง พึงตากไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เล้วเช็ด นำไปตั้งไว้ในที่เดิม. เตียงตั่ง พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว เคาะแล้ว ทำให้ต่ำ นำไปให้ดี มิให้ครูดสีบาน และกรอบประตู แล้วพึงตั้งไว้ ณ ที่เดิม. ฟูกและหมอน พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว ดีแล้ว จึงนำไปวางไว้ ณ ที่เดิม. กระโถน พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ขัดถูแล้วนำไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม. แผ่นกระดาษสำหรับพิง พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง นำไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม. พึงเก็บบาตรจีวร. (โปรดสังเกตว่า สิ่งที่นำออกก่อน เก็บเข้าทีหลังทั้งหมด)."
    "เมื่อจะเก็บบาตร พึงถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ใช้มืออีกข้างหนึ่งคลำใต้เตียง ใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บ (เพื่อไม่ให้บาตร ซึ่งโดยมากเป็นบาตรดิน กระทบอะไรแตกเสียหาย). ไม่พึงวางบาตรบนพื้นว่าง (คือที่ไม่มีอะไรบังอยู่ข้างบน). เมื่อเก็บจีวร พึงจับจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง รูดราวจีวร หรือเชือกที่ขึงสำหรับพาดจีวรด้วยมืออีกข้างหนึ่ง พึงเก็บจีวรเอาชายด้านนอกพับเข้ามาด้านใน (คือพาดจีวรเข้ามาหาตัวผู้พาด เพื่อไม่ให้จีวรไปกระทบของแหลมคมอื่น ๆ ภิกษุที่รู้วินัยข้อนี้ เวลาตากจีวร จึงตากจีวรเข้าหาตัว)."
    "ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศตะวันออกพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศตะวันตกพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศเหนือพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศใต้พัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านใต้."
    "ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างในเวลากลางวัน ปิดเวลากลางคืน. ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างในเวลากลางวัน เปิดในเวลากลางคืน.
    "ถ้าบริเวณรก พึงกวาดบริเวณ. ถ้าโรงเก็บของรก พึงกวาดโรงเก็บของ. ถ้าโรงประชุมรก พึงกวาดโรงประชุม. ถ้าโรงไฟ (สำหรับต้มน้ำ เป็นต้น) รก พึงกวาดโรงไฟ. ถ้าวัจจกุฎี (ส้วม) รก พึงกวาดวัจจกุฎี. ถ้าน้ำดื่มไม่มี พึงตั้งน้ำดื่มไว้. ถ้าน้ำใช้ไม่มี พึงตั้งน้ำใช้. ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ."
    "ถ้าอยู่ในวิหารเดียวกับภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ยังไม่ได้อาปุจฉา (บอกกล่าว หรือขอโอกาส) ไม่พึงให้อุทเทส (การแนะนำ) ไม่พึงให้ปริปุจฉา (การสอบถาม) ไม่พึงทำการสาธยาย (ท่องบ่น) ไม่พึงกล่าวธรรม ไม่พึงจุดไฟ ไม่พึงดับไฟ ไม่พึงเปิดปิดหน้าต่าง (ถ้าขออนุญาตแล้วทำได้) ถ้าเดินจงกรม (เดินไปเดินมา กำหนดจิตไว้ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง) ในที่จงกรมอันเดียวกับภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่าอยู่ในที่ใดพึงกลับจากที่นั้น (คือเมื่อเดินไปถึงที่นั้น แล้วให้กลับ) ด้วยคิดว่า ชายสังฆาฏิจะไม่กระทบภิกษุผู้แก่พรรษากว่า."
    "นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คือวัตรอันเกี่ยวกับเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย ที่ภิกษุทั้งหลายพึงปฏิบัติชอบในเรื่องเสนาสนะ.<SUP></SUP>"

    วินัยปิฎก ๗/๒๓๖


    ๑๗๑. ธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่าง

    ในข้อนั้น ธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่างเป็นไฉน ?
    ๑. เพราะอาศัยความทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
    ๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีลาภ
    ๓. เพราะอาศัยลาภ จึงมีการวินิจฉัน
    ๔. เพราอาศัยการวินิจฉัน จึงมีความกำหนัด (หรือความคิด) ด้วยอำนาจแห่งความพอใจ
    ๕. เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ จึงมีการฝังใจ
    ๖. เพราะอาศัยการฝังใจ จึงมีการหวงแหน
    ๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงมีความตระหนี่
    ๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการอารักขา
    ๙. เพราะมีการอารักขาเป็นเหตุ จึงมีการจับท่อนไม้ การจับศัสตรา การทะเลาะ การแตกแยก การกล่าวขัดแย้งกัน การชี้หน้ากัน การพูดส่อเสียด การพูดปด และธรรมที่เป็นบาปอกุศลอีกเป็นเอนก
    นี้คือธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่าง.

    อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๗

    ๑๗๒. เรื่องของกิเลส (เครื่องใจให้เศร้าหมอง) ๑๐ อย่าง

    ในข้อนั้น เรื่องของเกิเลส ๑๐ อย่างเป็นไฉน ?
    ๑. โลภะ ความโลภ ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
    ๓. โมหะ ความหลง ๔. มานะ ความถือตัว
    ๕. ทิฏฐิ ความเห็น (ผิด) ๖. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย
    ๗. ถีนะ ความหดหู่ ๘. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    ๙. อหิริกะ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ๑๐. อโนตตับปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป

    อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๘


    ๑๗๓. จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและพ้นไปในกาย อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะความก่อขึ้น ความสลายตัว การรวมตัว การแยกตัว ของกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ อันบุคคลเห็นได้. เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับจึงพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและพ้นไปในกายนั้นได้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจ (มโน) บ้าง วิญญาณบ้าง อันใด,<SUP></SUP> บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปในธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมชาตินัน อันบุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ (ด้วยใจ) มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา." เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และพ้นไปได้ในธรรมชาตินั้น."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ นี้ ที่ตั้งอยู่ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี, ๔ ปี, ๑๐ ปี, ๒๐ ปี, ๓๐ ปี, ๔๐ ปี, ๕๐ ปี, ๑๐๐ ปี แม้ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ยังเห็นได้. แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ในกลางคืนกับกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งก็ดับไป."

    สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๑๔

    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part6.4.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2012
  14. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    [​IMG]สวัดดีครับคุณขวัญ โพสต์เรื่อยๆ นะครับ ผมชอบอ่าน เวลาว่างๆ
     
  15. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    _ผมไม่ค่อยมีเวลา ส่วนมากก็อ่านก่อนนอนละครับ ช่วงกลางวันยุ่งมาก เลยเน้นอ่านกลางคืนเป็นหลัก
    แต่ก็เหนื่อยไม่อ่านอีกละ เน้นฟังดีกว่า หลับพร้อมเสียงไปเลย อนุโมทนา คุณ ขวัญด้วย ที่ช่วยเอาข้อความมาให้อ่าน


     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อุบายคลายกำหนัด - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ประสบการณ์ในธรรม�อุบายคลายกำหนัด ของหลวงพ่อพุธฐานิโย...โดย นรเศรษฐ์

    [​IMG]บทความจาก ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2548

    ญาณทิพย์อภิญญาเป็นคุณธรรมวิเศษที่เกิดแก่ท่านผู้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ใน กรอบขอบข่ายของผู้มีศีลธรรม เคร่งครัดพระวินัยในพระพุทธศาสนา มีความเพียรอันชอบด้วยการศึกษาวิชาความรู้ทั้งสมถกรรมฐาน 40 พุทธเวท ไสยศาสตร์ เวทวิทยามหามนต์อาคม เป็นหนึ่งในคุณธรรม 5 ประการที่ถือว่าเป็นความรู้อันยอดยิ่ง เป็นความรู้ชั้นสูงที่เจาะตรงยอดยิ่งในขั้น �โลกียอภิญญา�กล่าวคือ

    1. อิทธิวิธิ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบุญฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆได้
    2. ทิพพโสต เป็นผู้มี หูทิพย์
    3. เจโตปริยญาณ ญาณที่ ทายใจผู้อื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณญาณที่ทำให้ ระลึกชาติได้
    5. ทิพพจักขุ ผู้มี ตาทิพย์โดยนัยแห่งคุณธรรมอันยอดยิ่งดังกล่าว ได้ปรากฏให้เห็นเป็นที่อัศจรรย์

    ทำให้เชื่อได้ว่า �ธรรมแห่งพระพุทธองค์� ที่ทรงตรัสรู้แล้วนำมาสั่งสอน โปรดแก่ชาวโลกให้ได้รับรู้เพื่อปฏิบัติตามนั้นไม่ล่วงกาลพ้นสมัย แม้วันเวลาที่ทรงประกาศศาสนธรรม ของ พระบรมศาสดาจะล่วงผ่านมาร่วม 2,600ปีแล้วก็ตามณ ปีนี้... วันนี้...แม้บุคคลใด ไม่ว่าเพศใดวัยไหนก็ตาม ได้ศึกษาและปฏิบัติตามพุทธวิธีที่ประกาศไว้บุคคลนั้นย่อมบรรลุถึงซึ่งธรรม วิเศษอันเป็นที่พึ่งของตนเองและบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดียิ่งดังเช่น

    ประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสรับรู้มาจากที่มีโอกาสได้เสวนากับกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นผู้รู้ ที่ครั้งหนึ่งได้เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่สี ฐานิโย กันที่วัดพระฉายจังหวัดนครนายกด้วยกัน ครั้งนั้นอาจารย์อภิญญา สันยาสี กัลยาณมิตรรุ่นพี่อดีตพระมหาเปรียญ 5 ประโยคจากสำนักใหญ่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีดีกรีปริญญาโทสาขาปรัชญา จากประเทศอินเดีย ถึงกับเอ่ยปากชื่นชมต่อความน่าอัศจรรย์ในฌานญาณรู้อันเหนือสามัญบุคคลจะ หยั่งถึง ของหลวงปู่สี ฐานิโย พระป่ากรรมฐานซึ่งใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสุขสงบอยู่ในวัดป่าท่ามกลางป่าดงพง ไพรอย่างไม่ขาดปากตลอดทางระหว่างเดินทางกลับจากความประทับใจในครั้งนั้นเป็น เหตุนำพาไปถึงความประทับใจในคุณธรรมที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนที่ได้เดินทางไป กราบนมัสการครูบาอาจารย์ยังวัดต่างๆซึ่งนอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ยืนยันใน คุณธรรมอันวิเศษที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ยังให้สาระสำคัญในอุบายวิธีกำจัดนิวรณ์อันเนื่องแต่ความกำหนัดในกามคุณที่ เป็นอุปสรรคขวางกั้นมรรคผลของผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิเป็นอย่างยิ่งด้วยอาจารย์ อภิญญาเล่าให้ฟังดังนี้ครับ

    �ในครั้งที่ผมยังบวชเป็นพระอาศัยอยู่ในวัดแห่ง หนึ่งในกรุงเทพฯประมาณปลายปี 2524 เพื่อนพระด้วยกันได้ชวนไปเที่ยว กราบครูบาอาจารย์ทางภาคอีสานแต่ที่ไปกันนั้นเป็นพระเพียง 2 รูป นอกนั้นเป็นโยมที่ไปจำศีลภาวนาอยู่ในวัดเราไปกันเต็มคันรถตู้ ขึ้นกันไปทางบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลฯนครพนม อุดรฯ สกลนคร หนองคายขอนแก่น แล้วอ้อมกลับมาทางนครราชสีมา มาพักค้างคืนกันที่วัดป่าสาลวันของหลวงพ่อพุธ ฐานิโยการเดินทางคราวนั้นใช้ระยะเวลาประมาณครึ่งเดือนได้มีโอกาสฟังธรรมจาก ครูบาอาจารย์กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ที่ยังมีชีวิตอยู่ในช่วงนั้นแทบทุกรูปอย่างใกล้ชิดเริ่มตั้งแต่หลวu3591 ?ปู่ดูลย์ อตุโล,หลวงพ่อชาสุภัทโท,หลวงพ่อมหาบัวญาณสัมปันโณ, พระอาจารย์แบนธนากโร, หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่เทศก์เทสรังสี, หลวงปู่คำดี ปภาโสได้กราบแทบเท้า หลวงปู่ขาวอนาลโย และถ่ายรูปเป็นอนุสรณ์กับท่านด้วยแต่ทุกวันนี้ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ล่วง ลับดับขันธ์ไปหลายรูปแล้วที่ยังอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวนักกรรมฐานเป็นอย่าง ดีเยี่ยมเวลานี้ก็เห็นแต่ท่านหลวงพ่อมหาบัว วัดป่าบ้านตาดและท่านพระอาจารย์แบน ธนากโรเท่านั้น ที่ยังคงแข็งแรงดีอยู่การเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์ในลักษณะนี้

    สมัยเป็นพระได้ไปกับเพื่อนพระด้วยกันตั้งแต่ปี2520 ไปมาหลายแห่งจนบางครั้งก็มีสับสนไปบ้างว่าไปที่ไหนเมื่อไหร่ แต่ที่มาค้างที่วัดป่าสาลวันของหลวงพ่อพุธนั้นจำได้แม่นยำว่าเป็นปลายปี 2524 อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ได้ประสบยังตราตรึงใจไม่รู้ลืมจนทุกวันนี้�เล่าถึงความประทับใจ ในครั้งแรกที่มากราบนมัสการ หลวงพ่อพุธฐานิโย ที่วัดป่าสาลวันว่า�คืนนั้นคณะไปถึงวัดป่าสาลวันค่ำแล้ว หลวงพ่อได้ให้การต้อนรับที่กุฏิไม้ยกพื้นสูงหลังเก่า ตอนนั้นกุฏิหลังใหม่ที่ท่านพักในบั้นปลายชีวิตยังไม่ได้สร้าง ท่านจึงยังคงพักอยู่ที่หลังเดิม สถานที่ต้อนรับแขกเป็นด้านบนสามารถนั่งกันได้ประมาณสิบกว่าคนโดยไม่แออัดนัก ได้นั่งสนทนากันอยู่กับท่านจนถึงประมาณ 3 ทุ่ม โดยในขณะที่ท่านนั่งสนทนาและตอบคำถามของคนอื่นๆ อยู่นั้น ผมก็อยากจะถามปัญหาความร้อนรุ่มที่ตนเองกำลังประสบอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไร แต่ก็ยังไม่มีโอกาสจะได้ถาม แล้วก็ไม่กล้าจะถามท่านในตอนนั้นด้วย เพราะอายโยมผู้หญิงในหมู่คณะที่ไปด้วยกันแม้ว่าแต่ละท่านจะมีอายุเลย 60ไปแล้วทุกคนก็ตาม จึงได้แต่นั่งฟังท่านคุยธรรมะให้ฟังด้วยใจร้อนรุ่มอยากจะถามคำถามของตนสนทนา กับท่านไปจนกระทั่งเลย 3 ทุ่มไปเล็กน้อย เพื่อนพระด้วยกันได้ขอตัวเข้าห้องน้ำ หลวงพ่อจึงถือโอกาสบอกให้โยมคนอื่นๆไปนอนหลับพักผ่อน ท่านบอกว่าดึกแล้วนะ พวกโยมเดินทางมาไกลคงเหนื่อยกันทุกคนไปนอนหลับพักผ่อนกันก่อนเถอะสถานที่เขา จัดไว้ให้เรียบร้อยแล้วพอท่านว่าอย่างนั้นผมก็ทำท่าว่าจะลุกขึ้น แต่ต้องชะงักเมื่อได้ยินท่านกล่าวต่อไปว่า

    �คนอื่นไปพักผ่อนกันก่อนส่วน ท่านมหายังไม่ต้องไป หลวงพ่อมีเรื่องจะคุยด้วย�หลังจากที่โยมลงไปจากกุฏิหมดสิ้นแล้ว คิดว่าแต่ละคนคงไปไกลเกินกว่าที่จะได้ยินเรื่องที่ท่านจะคุยด้วยแล้วหลวงพ่อ พุธท่านจึงเริ่มเรื่องที่ท่านเหนี่ยวรั้งผมไว้เพื่อคุยด้วย ซึ่งตอนนั้นผมก็ใจเต้นตูมตามอย่างใคร่รู้ว่าท่านจะชวนสนทนาด้วยเรื่องอะไร หนอเพราะตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้กราบนมัสการท่านอย่างใกล้ชิด ยังไม่คุ้นเคยกับท่านแต่อย่างใดเมื่ออยู่ตามลำพัง

    หลวงพ่อพุธท่านจึงเริ่มต้นว่า�ท่านมหา...สมัยหลวงพ่อเป็นพระหนุ่มวัยเดียว กับมหา หลวงพ่อก็ประสบปัญหาเดียวกัน คือหลวงพ่อไปหลงรักเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของแม่ชีที่เอาปิ่นโตมาส่ง ให้แม่ที่วัดเป็นประจำ�ท่านขึ้นต้นมาอย่างนี้ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ผมใจหายวาบ ระคนด้วยความอัศจรรย์ว่า�นี่ท่านรู้ความคิดของเราละเอียดถึงขนาดนี้เชียว หรือ?�จากนั้นท่านก็เล่าเรื่องของท่านให้ฟังไปเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องราวที่ท่านเล่าให้ฟังนั้นคล้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ กับผมมาก ท่านว่า�ทีแรกหลวงพ่อก็ไม่ได้คิดอะไร แต่หลังจากที่ได้พูดคุยกับเขาบ่อยๆ ได้ช่วยนั่นช่วยนี่ หรือบางครั้งเขาก็มาช่วยทำนั่นทำนี่ให้ ความรู้สึกมันก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น โดยนึกคิดถึงเขาบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่คิดเฉลียวใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับใจเรา มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อวันไหนที่เขาไม่ถือปิ่นโตเข้าวัด ไม่ได้พบไม่ได้เห็นหน้าเขาไม่ได้พูดจาสนทนาด้วย เราก็ร้อนรุ่มหัวใจมันเหี่ยวแห้งเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่งยิ่งช่วงไหน เขาขาดหายไปไม่มาวัดสักอาทิตย์ รู้สึกว่ามันทุกข์ทรมานเหมือนขาดเขาไปเป็นปี หัวใจร้อนรุ่มเหมือนใครเอาไฟมาลนกินไม่ได้นอนไม่หลับร่างกายก็ผ่ายผอมลง เรื่อยๆ วันไหนเขามาแต่ถ้าไม่ได้พูดคุยด้วยมันก็เป็นทุกข์เหมือนกันต่อเมื่อได้พูด คุยด้วยก็อยากจะบอกให้เขารู้เหลือเกินว่า

    �ฉันรักเธอเหลือเกินนะ�แต่ก็บอกไม่ ได้ ยิ่งเก็บไว้มันก็ยิ่งอึดอัด มันแน่นในหัวอก จิตใจที่เคยสงบเย็นอันเกิดจากรสของการภาวนาก็หายไปสิ้น นั่งก็คิดถึงเขา นอนก็คิดถึงเขา เดินจงกรมก็คิดถึงเขา มันคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวจนเจ้าตัวไม่รู้ตัว กว่าจะกลับมาก็ไปไกลดึงไปเดี๋ยวก็กลับไปคิดถึงเขาอีกเมื่อคิดมากๆ มันก็ทุกข์มากทำให้รู้สึกตัวขึ้นมาว่าความรักนี่เป็นต้นตอของความทุกข์จริง หนอ!ทุกข์ที่ไม่มีอะไรมาทุกข์เท่ากว่า เราจะรู้ตัวมันก็กินลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของหัวใจแล้วนี่จะแก้อย่างไร?จะไป กราบขอคำแนะนำจากครูอาจารย์ ก็กลัวท่านจะตำหนิด่าว่าเมื่อคิดมากเข้าๆ ก็ตัดสินใจใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่งเกิดความคิดว่าเอาล่ะ...

    ในเมื่อเรารัก เขาก็เอาตัวเขามาเป็นกรรมฐานเราต้องนึกถึงเขาเท่านั้น นึกให้มันเห็นหน้าพอคิดตกลงใจอย่างนั้นจึงอาบน้ำอาบท่าให้ชื่นบาน เข้าห้องปิดประตูทันทีนั่งตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นั่งท่องชื่อของเขาเป็นคำบริกรรมและนึกถึงหน้าของเขาตั้งใจให้ใบหน้าของเขา ผุดขึ้นมาในจิต เหมือนที่เราเพ่งเทียน หรือ แก้วหรือ พระพุทธรูปหลวงพ่อทำอยู่อย่างนั้นจนเวลาล่วงเลยไปกี่นาที กี่ชั่วโมงก็ไม่รู้ได้ภาพของเขาก็ค่อยๆ เกิดขึ้น จากเลือนรางก็ค่อยๆชัดเจนจนเหมือนมองเห็นด้วยตาเปล่า แล้วก็ค่อยๆสดใสสวยงามปานนางเทพธิดาจากนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ค่อยๆ แปรเปลี่ยนไปทีละนิดจากสาวก็ย่างเข้าสู่วัยกลางคน เป็นคนแก่ คนชรา จนแก่หง่อมหัวสั่นหัวคลอนเดินยักแย่ยักยัน ในที่สุดก็ล้มตายลงต่อหน้าร่างกายแปรสภาพเป็นขึ้นอืดเริ่มมีหนอนไต่ออกมาตาม ทวารต่างๆร่างกายแตก นัยน์ตาถลน แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆ ยุบ เนื้อหนังหายไปเหลือแต่โครงกระดูกที่นอนเหนือแผ่นดิน จากนั้นก็กระจัดกระจายไม่เป็นรูปเป็นร่างพอมาถึงจุดนี้จิตก็สะทกสะท้านหวาด หวั่นต่อความแปรเปลี่ยนเห็นชัดแจ้งถึงความเป็นของไม่สวยงามไม่เที่ยงแท้แน่ นอนไม่น่ายึดเอามาเป็นเจ้าของ

    ก็ถามตัวเองว่า�ถ้าเขาเป็นเช่นนี้ ยังรักเขาอยู่หรือเปล่า?�ก็มีคำตอบว่า �ไม่รัก�ความรักที่หลวงพ่อมีต่อเด็กสาวคนนั้นก็หายไปด้วยอาการอย่างนี้นี่ คือวิธีแก้ปัญหาของหลวงพ่อ...�หลวงพ่อพุธท่านเล่าจบก็หยิบหมากพลูป้ายปูนใส่ ปากนั่งเคี้ยวอย่างอารมณ์ดี ไม่ถามหรือแสดงข้อคิดเห็นอย่างอื่นอีก จนกระทั่งพระเพื่อนของผมโผล่ขึ้นไปท่านจึงชวนคุยเรื่องอื่น ไม่หวนกลับมาพูดถึงเรื่องเก่าที่ท่านเล่าให้ผมฟังขณะอยู่ตามลำพังนั้นอีก เล่ามาถึงช่วงนี้ อดีตมหาเปรียญหลายประโยคกล่าวสรุปว่า�นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ประสบกับจิต รู้อันมหัศจรรย์ของพระมหาเถระ เป็นประสบการณ์จากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระที่ผมแน่ใจว่าท่านเก่งจริงเก่งทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานทุกครั้งที่ผม มีโอกาสได้กราบท่านจึงรู้สึกเย็นกายเย็นจิตอย่างไม่เคยเกิดกับครูบาอาจารย์ ท่านใดมาก่อนระยะหลังต่อมา เมื่อผมมีเหตุจำต้องสึกหาลาเพศแล้วผมก็ยังหาโอกาสเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์ ยังวัดต่างๆ เสมอๆ แต่เมื่อไปแล้วก็ม่เคยอิ่มเอิบใจเหมือนดั่งได้กราบหลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน และก็ไม่เคยประสบพบเห็นในจิตรู้อันว่องไวของครูบาอาจารย์ท่านใดเป็นเหมือน ดังประสบมาจากหลวงพ่อพุธเช่นกัน ต่อเมื่อได้มากราบหลวงปู่สีที่วัดพระฉายนี่แหละ�ได้ยินได้ฟังมาอย่างนี้ เห็นว่าดีและน่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติธรรม จดจำนำไปใช้กำราบจิตตน ยามผจญกับโคเขาอ่อน ซึ่งเป็นภัยอันยิ่งแก่ผู้ครองพรหมจรรย์ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิจึงนำมาเล่าต่อ ให้ฟัง...

    --------------------------------------------------
    ขอขอบคุณ
    buddhamahawet.com - buddha maha wet Resources and Information. This website is for sale!

    เครดิต http://palungjit.org/threads/%E0%B...A2.191965/
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การฟังธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญา เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอน ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถจะนำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้

    การฟังธรรมมีอานิสงส์มากถึง ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    ๒. เรื่องใดที่เคยได้ฟังแล้ว ได้ฟังซ้ำอีกย่อมมีความชัดเจนขึ้น
    ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
    ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
    ๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส

    การได้ฟังพระธรรม พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็รเหตุให้ประสบผลวิเศษนาแระการ มีการละจากความชั่ว ประพฤติความดี และบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นอาสวะได้ในที่สุด เป็นต้น

    ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปิยังกรสูตร กล่าวไว้ว่า ในเวลา ใกล้รุ่งแห่งราตรีหนึ่ง ที่พระวิหารเชตวัน ท่านพระอนุรุทธะกำลังกล่าวธรรมอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ได้กล่าวห้ามบุตรว่า “อย่าอึงไป ภิกษุกำลังกล่าวบทธรรมอยู่ ให้ตั้งฟัง เมื่อเรารู้แจ้งบทธรรมนั้นแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจักมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา หากเราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ จักพ้นจากกำเนิดปีศาจได้”

    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา คือเมื่อฟังแล้วย่อมเกิดความเข้าใจในธรรม ที่มีผู้ยกมาแสดง เมื่อเข้าใจในธรรมนั้นแล้ว น้อมนำคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ในขณะที่ฟังธรรม แม้จะไม่รู้เรื่องราว ไม่เข้าใจในธรรมนั้น แต่ฟังด้วยความรู้สึกว่า “นั่นคือเสียงแห่งพระธรรม” เลื่อมใสในเสียงที่ได้ยินย่อมก่อให้เกิดบุญกุศลได้เช่นกัน ดังท่านเล่าไว้ว่า ค้างคาว กบ ได้ยินเสียงพระสวด ด้วยความตั้งใจฟัง และมีจิตเลื่อมใสในเสียงที่กล่าวธรรมนั้น ตายลงในขณะนั้น ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้


    (เอกสารแจก : วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)


    ::
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ป้าตู่เสาวนีย์:

    บุญเกิดจากการฟังธรรม



    บุญเกิดขึ้นได้จากเหตุปัจจัยหลายอย่าง อาทิ บุญที่เกิดจากการปฏิบัติตัวด้วยการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม หรือแม้กระทั่งการฟังธรรมก็ยังสามารถก่อเกิดบุญได้อย่างไม่น่าเชื่อ
    ...ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมด้วยภูมิปัญญาแห่งความรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว พระองค์จึงทรงแสดงธรรมนั้นแก่สัตว์โลก เหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลายที่มีความตั้งใจในการรับฟังธรรม ย่อมบังเกิดบุญกุศลอย่างมหาศาล มนุษย์ผู้มีบุญและมีความเฉลียวฉลาดได้อาศัยการฟังธรรมอย่างตั้งใจ (ฟังธรรมเป็น) เพียงครั้งเดียวพวกเขาเหล่านั้นก็สามารถเข้าถึงธรรม และได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์จากการตั้งใจฟังธรรมไปเป็นจำนวนมาก

    ด้วยเหตุนี้ การฟังธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ควรมองข้าม เพราะความหมายของธรรมะนั้นอยู่ที่จิตใจและความเข้าใจในธรรม ดังนั้น แม้ว่าเราจะลงมือปฏิบัติธรรมกันอย่างไร แต่หากดวงจิตของเรายังไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงธรรมเสียแล้ว ก็เรียกได้ว่าเปล่าประโยชน์
    หัวใจของธรรมนั้น อยู่ที่การฟังธรรมให้เกิดความเข้าใจจนกระทั่งบรรลุธรรม (ดวงตาเห็นธรรม) หากเรามีโอกาสได้ฟังธรรมจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีภูมิจิตภูมิธรรมอันสูงแล้ว ก็นับว่าเราเป็นผู้ที่โชคดีเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะการเข้าใจธรรมด้วยการฟังนั้น เป็นการเข้าถึงธรรมได้ง่ายและตรงประเด็นมากที่สุด เปรียบเสมือนทางลัดที่เราไม่ต้องมัวเสียเวลาเสาะแสวงหาหนทางเพื่อเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องผ่านกระบวนการอบรมทางจิตอย่างหนักจึงจะเกิดภาวะแห่งการรู้ธรรมและค้นพบภูมิจิตภูมิธรรมด้วยตนเอง อย่างเช่นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรม (ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) ได้
    การเข้าถึงธรรมด้วยการฟังธรรมให้เป็น จึงเป็นวิธีการอันชาญฉลาดของมนุษย์ ผู้ปฏิบัติธรรมที่สามารถทำความพร้อมให้เกิดแก่กายและใจ ด้วยการอบรมจิตและสำรวมอินทรีย์จนกระทั่งสมบูรณ์ดีแล้ว เมื่อได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ผู้สำเร็จธรรม ด้วยอานิสงส์ที่บังเกิดจากการตั้งใจฟังธรรม...ธรรมนั้นย่อมถูกถ่ายทอดเข้าสู่จิตวิญญาณ และยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้น จนเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ เหมือนอย่างในสมัยพุทธกาล ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยบุญ แล้วสามารถสำเร็จบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังธรรมเพียงครั้งเดียว เพราะขณะที่กาย วาจา และจิตของเรามีความสะอาดบริสุทธิ์ (สิ้นกิเลส) จิตวิญญาณของเราก็พร้อมที่จะรับธรรมอันประเสริฐ ซึ่งถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรม ผ่านประทับเข้ามายังจิตของเราได้ด้วยการตั้งใจฟังธรรม
    ผู้ปฏิบัติหลายท่านได้สะสมบุญข้ามภพข้ามชาติมาเป็นเวลาช้านาน รอเพียงเวลาที่จะพบเจอกับผู้ที่จะมาชี้ทางสว่างให้ ไม่ว่าจะด้วยทางญาณใดก็ตาม...มนุษย์ที่ถึงความพร้อมแล้วย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ดุจเดียวกัน
    อย่างกรณีของผู้ที่มีความถึงพร้อมด้วยกาย วาจา และใจ อาศัยเพียงการน้อมจิตเข้าสู่ธรรม ภูมิธรรมก็จะถูกถ่ายทอดจากจิตหนึ่งไปยังอีกจิตหนึ่งได้ในชั่วเวลาเพียงพริบตา หรือแค่การเห็นแสงสว่างเพียงวูบเดียว ภูมิความรู้จากจิตหนึ่งก็สามารถประทับลงไปยังอีกจิตดวงหนึ่งได้ อันเป็นการถ่ายทอดธรรมชั้นสูง ที่สามารถถ่ายทอดธรรมผ่านและประทับลงที่จิตของผู้ปฏิบัติได้โดยตรง (เป็นกระบวนการถ่ายทอดธรรมแบบจิตสู่จิตด้วยระบบโทรจิตขั้นสูง ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับจะต้องมีระดับจิตที่ตรงกัน จึงจะสามารถถ่ายทอดและประทับจิตจากจิตหนึ่งลงสู่อีกจิตหนึ่งได้)
    จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกเพียงชนิดเดียวที่มีความสามารถพิเศษนี้ สัตว์โลกที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปจึงเป็นสัตว์เดรัจฉานที่ไม่อาจพัฒนาจิตในขั้นละเอียดนี้ได้เลย มนุษย์จึงเป็นสัตว์ประเสริฐที่สามารถอบรมจิต และแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้ หรือที่เราเรียกว่าภาวะจิตที่เข้าสู่นิพพาน เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง หมดสิ้นอุปาทานและอวิชชา จึงไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
    ความสามารถพิเศษทางจิตขั้นสูงที่เรียกว่า จิตประทับจิต หรือการถ่ายทอดทางธรรมทางจิตนั้น อาจเป็นเรื่องที่ยากเกินกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัติจิตแบบชาวบ้านอย่างเราๆ ที่จะกระทำได้ เพราะต้องเกิดจากการบำเพ็ญเพียรอย่างหนักในการอบรมจิต จนกระทั่งได้ระบบโทรจิตอันเป็นโลกุตรภูมิ (เป็นความคิดที่เลยสมมติบัญญัติโลก เป็นธรรมที่อยู่เหนือโลก) จิตจึงพร้อมที่จะรับการถ่ายทอดธรรมทางจิตได้ ดังนั้น การฟังธรรมด้วยความพร้อมของกาย วาจา และใจ จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราในยุคสมัยปัจจุบันสามารถเข้าถึงธรรมได้โดยไม่ยากจนเกินไปนัก.


    ที่มา...ไทยโพสต์

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    paderm :
    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    ฝนตก ลง ภาชนะ มี ตุ่ม เป็นต้น เมื่อฝนเริ่มตก ตุ่มจึงค่อยๆกักเก็บน้ำทีละน้อย เพียงฝน
    ตกครั้งแรก ปริมาณน้ำน้อย ยังไม่มาก เพียงก้นตุ่ม แต่เมื่อฝนตกบ่อยๆ หลายๆครั้ง และ
    ใช้เวลาที่ยาวนาน น้ำก็เกือบเต็มตุ่ม มีปริมาณมาก และเมื่อฝนตกครั้งสุดท้าย เพียงตกไม่
    นาน น้ำก็ล้นจากตุ่มได้ เพราะ ปริมาณน้ำ เกือบเต็มตุ่มอยู่แล้ว ไมได้หมายความว่า อยู่ดีๆ
    ฝนตกครั้งสุดท้ายจะทำให้น้ำเต็มตุ่มทันที หากตุ่มว่างเปล่า แต่แสดงว่า ตุ่มได้มีการสะสม
    น้ำทีละน้อยมาแล้ว จากฝนที่ตกครั้งก่อนๆอย่างยาวนาน จนถึงการตกของฝนครั้งนี้จึงทำ
    ให้น้ำเต็มตุ่ม เพียงครั้งเดียว ฉันใด การบรรลุธรรมของบุคคลในสมัยพุทธกาล บางท่าน
    ท่านฟังเพียงครั้งเดียวก็บรรลุธรรม ดูเหมือนง่าย แต่ในความเป็นจริง บุคคลเหล่านั้นก็ต้อง
    อาศัยการอบรมปัญญา มายาวนาน นับชาติไม่ถ้วน หากได้อ่านอดีตชาติของอริยสาวกต่างๆ
    เช่น ท่านอบรมมา แสนกัปกว่าจะบรรลุ ไม่ใช่เวลาเล็กน้อยเลยครับ เพราะอาศัยการอบรม
    ปัญญามายาวนาน เปรียบเหมือนเริ่มจากปัญญาน้อย น้ำมีน้อยในตุ่ม เพียงก้นตุ่ม แต่ก็
    ค่อยๆสะสมปัญญา สะสมปริมาณน้ำฝนลงตุ่ม อย่างยาวนาน ได้พบบัณฑิต และพบพระ
    พุทธเจ้าในอดีตมากมาย ค่อยๆสะสมปัญญามาในอดีตชาติ จนในชาติปัจจุบัน น้ำใกล้เต็ม
    ตุ่ม คือ ปัญญาพร้อมที่จะได้ตรัสรู้แล้ว เพราะสะสมปัญญามามากพอแล้วครับ

    ซึ่งเราก็จะได้ยินคำว่า อินทรีย์แก่กล้า พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรม กับผู้ที่อินทรีย์แก่กล้า
    แล้ว บรรลุธรรมเมื่อได้ฟังพระธรรม คำว่า อินทรีย์ หมายถึง สัทธินทรีย์(ศรัทธา) สตินทรีย์
    (สติ) วิริยินทรีย์(วิริยะ) สมาธินทรีย์(สมาธิ) ปัญญินทรีย์(ปัญญา) คือ อบรมคุณธรรม คือ
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญามามากแล้วในอดีต จนมีอินทรีย์แก่กล้า ปัญญาแก่กล้า
    พร้อมที่จะบรรลุในชาตินั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมจึงบรรลุครับ ดังนั้นทุกอย่าง ไม่ว่าสิ่งใดจะ
    ต้องมีเหตุ การบรรลุธรรมเพียงได้ฟังพระธรรมเพียงครั้งเดียวก็มีเหตุ ตามที่กล่าวมา คือ
    อบรมปัญญา อบรมอินทรีย์และคุณธรรมต่างๆมาอย่างยาวนาน ถ้าไม่ได้อบรมอินทรีย์ มี
    ปัญญา เป็นต้นมาเลย จะไม่สามารถบรรลุได้เลย แต่เพราะอบรมมาอย่างยาวนาน แสนกัป
    บ้าง จนชาติสุดท้ายจึงบรรลุได้รวดเร็วคัรบ เพราะน้ำจะเต็มตุ่มแล้วนั่นเอง น้ำเต็มตุ่ม จึง
    เปรียบเหมือนการบรรลุธรรม ปริมาณน้ำ เปรียบเหมือนปริมาณปัญญา น้ำเพียงก้นตุ่ม
    เปรียบเหมือน ปัญญาที่เพิ่งเริ่มสะสมในอดีตชาติอันแสนนานครับ
    พระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านก็เริ่มจากความไม่รู้และค่อยๆรู้ขึ้น ก็ด้วยอาศัยการฟังพระ
    ธรรมอย่างยาวนาน จนในที่สุดท่านก็บรรลุได้ ความเข้าใจทีละน้อย จึงประเสริฐและเกื้อกูล
    ต่อการบรรลุธรรม สำคัญคือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไป เพราะเป็นเรื่อง จิรกาล
    ภาวนา การอบรมปัญญาอย่างยาวนานครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
    อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

    khampan.a :
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ฟังพระธรรมที่ทรงแสดงโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน, ท่านพระ
    สารีบุตรเถระ เมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปติสสปริพาชก ได้ฟังธรรมจากท่านพระอัสสชิ(หนึ่งใน
    ภิกษุปัญจวัคคีย์) ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านพระพาหิยทารุจีริยะ ได้ฟังพระธรรม
    จากพระสัมมาสัมพุทเจ้า ด้วยธรรมเพียงสั้น ๆ ทำให้ท่านได้ตรัสรู้อย่างเร็วพลันสำเร็จ
    เป็นพระอรหันต์ เป็นต้น
    จะมองเพียงชาตินั้นไม่ได้ เพราะก่อนที่ท่านจะมีวันดังกล่าว
    คือ วันที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เมื่อย้อนกลับไปในชาติก่อน ๆ ท่านเหล่านั้น
    ล้วนเป็นผู้ได้สะสมอบรมเจริญปัญญา ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม จากพระสัมมา
    สัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ มาแล้วทั้งนั้น
    "ก่อนจะมีวันนั้นได้ ก็ต้องมีวันนี้ คือ วันที่มี
    การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ"

    จะเห็นได้ว่าพระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต ก่อนที่ท่านเหล่านั้นจะได้รู้แจ้งอริยสัจจ-
    ธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้ได้สะสมอุปนิสัยที่ดี ได้สดับ
    ตรับฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สะสมปัญญามาเป็นเวลาอันยาว
    นานด้วยกันทั้งนั้น ดังข้อความเตือนสติ ที่สรุปได้จากคำบรรยายของท่านอาจารย์
    สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ตอนหนึ่ง มีว่า "ไม่มีใครฟังพระธรรมเพียงครั้งเดียวแล้วจะรู้
    ธรรมได้ในทันทีทันใด พระอริยบุคคลทั้งหลายในอดีต ล้วนเป็นผู้สะสมเหตุที่ดี คือ
    สะสมการฟังพระธรรม เป็นผู้สดับตรับฟังพระธรรม มามาก ทั้งนั้น"


    [อ้างอิงจาก .... ปันธรรม-ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๑๙ ]

    ข้อความนี้ ก็เป็นเครื่องเตือนใจที่ดี สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรม
    โดยเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม ว่า ไม่ควรที่จะท้อถอย ยิ่งยากก็ยิ่งจะต้อง
    ศึกษา เพราะปัญญาไม่สามารถจะเจริญขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้องค่อย ๆ ฟัง
    ค่อย ๆ ศึกษาไปตามลำดับ เพียงแค่วันนี้ พรุ่งนี้ หรือ ชาตินี้ ยังไม่พอ ต้องสะสมความ
    เข้าใจต่อไปอีกเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งมีข้ออุปมาเหมือนการจับด้ามมีด เมื่อจับบ่อย ๆ
    นาน ๆรอยสึกย่อมปรากฏได้ ปัญญาก็เช่นกัน ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการ
    สะสม ในการอบรม จึงจะเจริญขึ้นได้ โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม
    สะสมปัญญาต่อไป ครับ.

    ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...

    การบรรลุธรรม

     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อัชฌาสัยในการปฏิบัติมี 4 อย่างด้วยกัน คือ

    1. อัชฌาสัย สุกขวิปัสสโก
    2. อัชฌาสัย เตวิชโช
    3. อัชฌาสัย ฉฬภิญโญ
    4. อัชฌาสัย ปฏิสัมภิทัปปัตโต
    …………………………..

    อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก

    ท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อย ก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลย
    คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน วิปัสสนาก็จะมีกำลังตัดกิเลสได้ สามารถจะได้มรรคผลแล้วเมื่อตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน ท่านก็เริ่มวิปัสสนาเลย (หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน จะบรรลุมรรคผลไม่ได้)

    อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก ท่านไม่ใส่ใจที่จะทำสมาธิให้สูง หรือทำสมถะให้สูง เพื่อให้ได้คุณวิเศษที่จะได้ ฤทธิ์ ของฌาน ซึ่งต้องได้ฌาน 4 ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ พอท่านมีกำลังจิตในปฐมฌาน ท่านสามารถเริ่มต้นขบวนการวิปัสสนาตัดหรือละกิเลสได้แล้ว ท่านก็เริ่มวิปัสสนาเลย

    ดังนั้น พระอรหันต์สุกขวิปัสสโก ท่านจึงไม่มีความรู้จริงในเรื่องนรก-สวรรค์ของจริง และไม่รู้ ไม่เห็น เรื่องผี โอปาติกะ เทพ พรหม เปรต ฯลฯ จึงไม่สามารถถอดจิตออกไปตรวจสอบสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้

    ในครั้งพุทธกาล พระโมคลานะ พระอานนท์ และพระอรหันต์อื่นๆ รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกท่านฝึกสมาธิ หรือทำสมถะจนได้ฌาน 4-8 มาแล้วทั้งนั้น พอได้รับคำชี้แนะจากพระพุทธเจ้า ไม่นานนักท่านก็บรรลุอรหันต์ อรหันต์ในครั้งนั้นจึงเป็นอรหันต์เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต จำนวนมาก

    ในปฐมสังคายนา ก็กำหนดกฎให้อรหันต์ฉฬภิญโญและปฏิสัมภิทัปปัตโต ที่มีอภิญญาครบ 6 อย่างเข้าร่วมเท่านั้น ซึ่งยังหาได้มากถึง 500 รูปเพื่อทำสังคายนาพระไตรปิฎก

    เหตุที่ห้ามพระอรหันต์สุกขวิปัสสโก เข้าร่วมในปฐมสังคายนา เพราะอรหันต์สุกขวิปัสสโก เป็นอรหันต์แห้งแล้งจากโลกีย์อภิญญาใดๆทั้งสิ้น เพราะท่านได้แค่ปฐมฌาน ในขณะที่ผู้จะได้อภิญญา 5 จะต้องเข้าถึงอย่างน้อย จตุตถฌาน หรือ ฌานที่ ๔ (the Fourth Absorption ) จิตจะมีองค์ฌานเดียว คือ เอกัคคตา จึงมีพลังจิตรู้เห็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในพระไตรปิฎกว่าเป็นความจริง

    แสดงกระทู้ - พระอรหันต์ สุขขวิปัสสโก ไม่ต้องมี สมาธิเลยหรือ? • ลานธรรมจักร<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...