บทเรียนเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาและสร้างสรรค์สังคมไทย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 27 มีนาคม 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนานิกายตันตระ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของพุทธศาสนาในอินเดียอย่างไร

    พุทธศาสนานิกายตันตระ คืออะไร เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของพุทธศาสนาในอินเดียอย่างไร
    พุทธศาสนานิกายตันตระ เป็น นิกายที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู นิกายนี้ถือกำเนิดในราวสมัยราชวงศ์คุปตะ แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยซึมซาบเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในอินเดียมีชื่อ อื่นอีก เช่น มนตรยาน รหัสยาน คุยหยาน สหัชยาน เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ พุทธตันตระมีคำสอนที่ต่าง จากพุทธศาสนาแบบเดิมมากขึ้น ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะจะดึงศาสนิกจากฮินดูให้มานับถือด้วย แต่การกระทำเช่นนี้ทำให้คุณภาพของศาสนิกเสื่อมลง กลายเป็นว่าศาสนิกเริ่มเบื่อกับคำสอน และท้ายที่สุด คือถูกฮินดูกลืนจนแยกไม่ออกว่าเป็นชาวพุทธหรือชาวฮินดู จนศาสนิกไม่เห็นความแตกต่างระหว่างการนับถือฮินดูหรือพุทธ
    เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก มีอาทิในประเทศอินเดีย อียิปต์ ประเทศจีนยุคกลาง ในตะวันออกกลาง ยุโรป สหรัฐอเมริกา (ล่าสุดในญี่ปุ่น ได้แก่กรณี อัมชินริเกียว - Aum Shinrikyo ซึ่งได้สร้างความหายนะทั้งในชีวิตและทรัพย์สินแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล) ชี้ให้เราเห็นว่า ความเชื่อลัทธิทางศาสนานั้น มีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษย์ พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ อันเกิดจากความเชื่อทางศาสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดีงาม เป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไป กิเลสของคนกลับแปรเปลี่ยนให้พิธีกรรมหรือ วัตรปฏิบัติเหล่านั้น หันเหไปในทางที่เลวทรามต่ำช้าสุดที่จะพรรณนา พุทธตันตระเองก็เป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อาจกล่าวได้ว่า ตันตระเป็นลัทธิความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย
    ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก ๕ ประการ ที่มีชื่อว่า “๕ ม” มี (๑) มัทยะ - เหล้า (๒) มางสะ - เนื้อ (๓) มัตสยะ - ปลา (๔) มุทรา - ท่าทาง ยั่วให้เกิดกำหนัดราคะ ความต้องการทางเพศ(๕) ไมถุน - การเสพสังวาส
    ผู้ที่เชื่อในหลักคำสอนของตันตระจะต้องใช้ “๕ ม” นี้ประกอบ และต่อมาเกิดการบูชากราบไหว้ ทรงเจ้า เข้าผี คาถาอาคม กันมาก พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน ไม่สนใจปฏิบัติตามแก่นธรรม จึงเกืดภาวะผุกร่อนภายในพระพุทธศาสนาเอง เป็นอันว่าพุทธตันตระยานเป็นสาเหตุภายในเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพุทธธรรมคำสอน แต่ไปปฏิบัติตามไสยศาสตร์ หรือทำพิธี มัวเมาในลาภสักการะ ด้วยเหตุนี้ พุทธตรันตระจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมและสูญไปจากอินเดียพุทธศาสนาในอินเดียจึงถึงซึ่งกาลอวสานด้วยตันตระ ตันตระนั้นคือลัทธิที่สอนให้คนเชื่อในเวทย์มนต์คาถาอาคม การทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมอยู่ในไสยศาสตร์ ไสยเวท อันมีกำเนิดจากคัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ และอยู่นอกเหนือวิสัยของปุถุชนคนธรรมดา อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๘ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมเคยนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ต่างก็ตกอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้น หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาในอินเดียจึงได้ดำเนินไปถึงจุดเสื่อมและล่มสลายในที่สุด
    อ้างอิง
    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้น พุทธศาสนาลัทธิตันตระ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ภูฏานตระการตา (11)

    Submitted by Surachai on Thu, 18/02/2010 - 00:00
    [​IMG]


    ผมกำลังพาคุณเที่ยวตาชิโซซอง (Tashicho Dzong) หรือซองแห่งทิมปู เมืองหลวงของภูฏาน หลังจากผ่านกงล้อมนตราและท้าวจตุโลกบาลที่หน้าประตู เราเข้ามาเจอลานกว้าง เป็นลานใหญ่ที่ใช้ในพิธีต่าง ๆ เช่น เซชู หรือเทศกาลทำบุญของชาวภูฏาน ลานแบบนี้เจอะเจอในทุกซองครับ แถมยังมีหลายลาน ลานใหญ่สุดจะอยู่หน้าประตูทางเข้า พอเดินผ่านไปข้างใน จะมีทั้งเขตฆารวาสและเขตสงฆ์แบ่งเป็นโซน แต่ละหมู่อาคารจะมีลานเช่นกัน แต่ไม่ใหญ่เท่าลานหน้า
    แหล่งท่องเที่ยวภายในซองที่เราเน้นคือวัด ไม่มีใครไปเที่ยวกระทรวงทบวงกรมในนั้นหรอกครับ แต่ละซองมีวัดหลายแห่ง แต่เป็นแค่ห้องในอาคาร มีพระพุทธรูป บางห้องก็ใหญ่ บางห้องก็เล็ก ทุกวัดจะมีท่านลามะประจำวัด แต่ทั้งหมดจะขึ้นกับลามะชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าอาวาส ผู้ดูแลทั้งซอง เวลาเราไปเที่ยว ปรกติจะเข้าวัดหลัก แต่ถ้าอยากเข้าวัดอื่นด้วย ต้องตามหาท่านลามะประจำวัดให้เจอ เพราะท่านจะเก็บกุญแจของวัดท่านไว้กับตัว บางซองต้องตามหาท่านลามะตั้งหลายท่าน เพื่อจะเข้าวัดโน้นวัดนี้ให้ครบตามที่ตั้งใจไว้
    แต่ก่อนเข้าวัด ผมต้องรีบวิ่งถ่ายภาพด้านนอกให้ครบ แสงเริ่มน้อยแล้วครับ ลวดลายระบายวาดบนไม้ตามอาคารจึงเริ่มเลือนลาง มองไม่ค่อยเห็น หลังจากพยายามครู่หนึ่ง ข้าพเจ้าถอดใจ ไปเข้าดูในวัดกันดีกว่า ความงามภายนอกค่อยอดใจไว้ดูซองอื่น ๆ ที่สวยงามกว่าทิมปูซอง โดยเฉพาะภูนาคาซอง เค้าว่าถึงขั้นกรี๊ด
    จะเข้าวัดเข้าวากันแล้ว เราควรเล่าเรื่องศาสนาสักนิด แม้ภูฏานจะนับถือศาสนาพุทธ แต่เป็นมหายาน อีกทั้งยังเป็นนิกายลามะ แตกต่างจากพุทธไทยอยู่บ้าง ผมจึงอยากสรุปเรื่องให้คุณฟัง ความเดิมมีอยู่ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ศาสนาพุทธเริ่มแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ ตามการตีความในพระธรรมคำสอนที่ไม่เหมือนกัน ยังหมายถึงกลุ่มผู้คนที่ได้รับฟังคำสั่งสอน มีประเพณีความเชื่อต่างกัน ผู้คนในแต่ละท้องถิ่นย่อมดัดแปลงพระธรรมคำสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตน
    แว่นแคว้นที่อยู่ในเอเชียกลาง ย่อมอยู่ใกล้ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาที่อินเดีย แต่ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตหิมาลัย ห่างไกลจากการติดต่อโลกภายนอก คนท้องถิ่นจึงมีความเชื่อดั้งเดิม โดยเฉพาะเรื่องภูติผีปีศาจ ผู้เผยแพร่ธรรมจึงจำเป็นต้องใส่อิทธิฤทธิอภินาหาร โดยนำความเชื่อในลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาผสมผสานกับพุทธ กลายเป็นศาสนาพุทธมหายาน นิกาย “พุทธตันตรยาน” หรือบ้างก็เรียก “วัชรยาน” โดยเน้นเวทมนต์คาถาให้มากขึ้น
    วัชรยานรุ่งเรืองสืบต่อมาในเขตเชิงเทือกเขาหิมาลัย จนเริ่มแพร่เข้าไปทิเบต ช่วงศตวรรษที่ 7 ในสมัยของพระเจ้าซองเซนกัมโป ผู้ทรงอภิเษกกับพระชายาทั้งสอง องค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงจากจีน อีกองค์เป็นเจ้าหญิงจากเนปาล ทั้งคู่นับถือวัชรยานอยู่แต่ต้น เมื่อเข้ามาในดินแดนใหม่ จึงชักจูงผู้คน จนวัชรยานเป็นที่นับถือในสังคมชั้นสูง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนับถือภูติผี หรือเรียกว่า Bon-Pa ในภาษาทิเบต
    ต่อมาอีกไม่นาน ในศตวรรษที่ 8 คุรุปัทมสัมภวะ หรือกูรูรินโปเช เข้ามาเผยแพร่ศาสนาพุทธตันตรยาน โดยแสดงอภินิหารหลายประการ เช่น การบำเพ็ญตบะต่อสู้อสูร จนมีวิหารหลายแห่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุกาณณ์เหล่านั้น สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ตั๊กซัง ท่านกูรูผสมผสานความเชื่อ Bon-Pa เข้ากับพุทธและตันตระ จนกลายเป็นที่แพร่หลายทั้งในทิเบตและในภูฏาน โดยมีลามะเป็นผู้นำทางศาสนา ฝรั่งจึงเรียกนิกายนี้ว่า Lamaism
    คำว่า Lama ในภาษาทิเบต หมายความว่า “สุดประเสริฐ” นิกายลามะแบ่งย่อยเป็นหลายสาย แต่ที่แพร่หลายคือ นิงมาปา (Nyingmapa) นิกายหมวกแดง เป็นที่นิยมในภูฏาน และ เกลุคปา (Gelugpa) นิกายหมวกเหลือง เคร่งศาสนามากกว่า เป็นที่นิยมในจีนและในทิเบต
    เวลาผ่านไป วัชรยานเริ่มเสื่อมลงในอินเดีย คงเหลือแต่ในดินแดนแถบหิมาลัย และเหลืออยู่ไม่มากนัก ปัจจุบัน มีเพียงภูฏานประเทศเดียวที่ประกาศให้พุทธตันตระยาน สายนิงมาปา เป็นศาสนาประจำชาติ สำหรับดินแดนอื่น ส่วนใหญ่ถูกกลืนไปกับประเทศใหญ่ เหลือเพียงเนปาลที่ยังเป็นประเทศอิสระ แต่คนส่วนใหญ่นับถือฮินดู ในทิเบตก็นับถือนิกายหมวกแดง และมีอิทธิพลของจีนเข้ามาปน
    เมื่อเราเข้าไปในห้องพระประธาน เราเจอพระพุทธรูปหลายองค์ องค์สำคัญคือกูรูรินโปเช ผู้ริเริ่มพุทธตันตระยาน นอกจากนี้ ยังมีพระโพธิสัตว์อีกหลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร ยังมีพระศากยมุนี หรือบางครั้ง อาจมีพระสำคัญองค์อื่น แม้แต่วัดแห่งหนึ่งในบุมตัง ผมได้กราบองค์พระแก้วมรกตจากเมืองไทยด้วยครับ
    ในจำนวนนี้ มีองค์หนึ่งเด่นสะดุดตา เป็นปางปราบมารดุร้ายมาก มีแขนมีมือถืออาวุธเต็มไปหมด ยังมีพระชายากอดเกี่ยวอยู่ ในนิกายตันตระยาน ฝ่ายชายเป็นตัวแทนความรู้ ฝ่ายหญิงเป็นสติปัญญา ต้องร่วมกันถึงจะเป็นหนทางสู่นิพพาน ความเชื่อของเราแตกต่างกันครับ
    พระพุทธรูปเรียงรายตรงหน้า มีพรมให้เราคุกเข่าทำความเคารพ เราคนไทยกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หรือการกราบด้วยเข่าทั้งสอง ศอกทั้งสอง และหนึ่งหน้าผาก ทุกอย่างต้องติดพื้น ชาวภูฏานกราบพระเหมือนชาวทิเบต เรียกว่า “อัษฎางคประดิษฐ์” หรือกราบด้วยอวัยวะทั้งแปด ได้แก่ ฝ่ามือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง หน้าผาก และทรวงอก
    การกราบเริ่มจากการยืนตรง ก่อนทรุดตัวลง เหยียดตัวคว่ำราบไปกับพื้น ก่อนลากเข่าเข้ามา แล้วคู้ตัวยืนขึ้น หากเป็นแบบทิเบต จะเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว จากนั้นก็ก้มลงกราบ ก่อนลุกขึ้นแล้วเดินไปอีกสามก้าว แต่ในภูฏาน เท่าที่ผมสังเกต เขายืนอยู่กับที่ ทรุดตัวขึ้นลงเท่านั้น ส่วนใหญ่จะกราบเฉพาะวัดสำคัญหรือเป็นที่เคารพนับถือ เช่น เจดีย์หลวงในทิมปู บางคนตั้งจิตไว้ จะกราบให้ครบกี่แสนครั้งก็ว่าไป เมื่อมีเวลาว่างเมื่อไหร่ จะเป็นค่ำคืนดึกดื่นแค่ไหน ยังมาทรุดกายยืนนั่งกราบมหาเจดีย์
    หลังจากกราบพระ เราควรทำบุญใช่ไหมครับ ในเมืองไทยจะมีตู้รับบริจาค แต่ในภูฏาน เราจะทำบุญโดยนำธนบัตรไปวางไว้ที่ถาดหน้าแท่นบูชา เสร็จแล้วพระลามะจะเทน้ำมนต์ให้เรา น้ำมนต์บรรจุอยู่ในกาเล็ก ๆ ทำจากเงิน มีฝาปิดเป็นหางนกยูง เหมือนกันเช่นนี้ทุกที่ เมื่อท่านลามะหรือเณรยื่นกาน้ำมนต์มาให้ เราต้องก้มหัวนิดหนึ่ง ยื่นมือไปข้างหน้า แบมือไว้ ลามะท่านจะเทน้ำมนต์ใส่มือ เรานำมาแตะปาก เสร็จแล้วก็เทใส่หัว ป้ายยาวมาถึงหน้า เป็นอันเสร็จพิธี หากต้องการสนทนากับท่านลามะ เราต้องก้มหน้าแล้วเอามือปิดปากไว้ ป้องกันน้ำลายหรือลมปากโดนท่าน แม้จะเข้าไปใกล้กับเทียนธรรม ก็ต้องก้มหน้าไว้ อย่าให้ลมปากไปโดน เพราะถือว่าเป็นของบริสุทธิ ไม่ควรแปดเปื้อนด้วยเชื้อโรคในปากเรา
    ผมพาคุณเที่ยวทิมปูมากว่าสิบตอน ถึงตอนนี้ เราจะอำลาทิมปู ข้ามเทือกเขาสูงเสียดฟ้า เพื่อมุ่งหน้าไปภูนาคา เมืองหลวงเก่าของภูฏานครับ

    ภูฏานตระการตา (11) | ทะเลไทย.คอม
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เดิมนั้นชาวธิเบตนับถือคติผีสางเทวดาอย่างหนึ่ง ว่าลัทธิบอนโปต่อมา
    พระเจ้าสรองสันคัมโป(ประสูติ พ.. ๑๑๖๐) ประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ธิเบตได้รุกรานจีน จนตีไปถึงเมืองเสฉวนพระจักรพรรดิจีนในสมัยนั้น คือพระเจ้าถังไท่จงมหาราชทรงพระประสงค์จะผูกสัมพันธ์ไมตรีกับกษัตริย์แห่งธิเบตจึงได้ทรงพระราชทานพระธิดาพระองค์หนึ่ง ให้เป็นพระมเหสีกับพระเจ้าสรองตสันคัมโปคือพระนางเวนเชง กงจู๊(หรือเหวินเฉิน) ในขณะนั้นธิเบตก็ได้ยกกองทัพเข้าตีเนปาลเหมือนกันซึ่วกษัตริย์เนปาลก็ได้ทรงกระทำเช่นเดียวกับจีนเพื่อผูกสัมพันธ์ไมตรี(โปรดเข้าใจว่าสมัยธิเบตยังไม่ไดนับถือพระพุทธศาสนานั้นชาวธิเบตก็เป็นชนชาตินักรบดีๆนี่เอง หลังจากที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็กลายเป็นชนชาติที่มีความเมตตากรุณาขึ้นมา) ได้ทูลถวายพระราชธิดาเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสรองตสันคัมโป คือพระนางกฤกุฏีเทวีอาศัยที่พระมเหสีทั้งสองพระองค์ของพระเจ้าสรองตสันคัมโป ทรงเป็นพุทธอุบาสิกานับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงมาเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ธิเบตแล้วได้ทรงนำอาพระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์ติดพระองค์มาด้วยจึงทำให้เป็นที่สนพระทัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป เหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มเข้าสู่ประเทศธิเบต... พระเจ้าสรองตสันคัมโปได้ทรงสร้างพระวิหาร(วัด)ในพระพุทธศาสนา เป็นแห่งแรกในธิเบต คือวัดโจกังและยังได้ทรงส่งทูตชื่อว่า ทอนมิสัมโภตะ ไปศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาต่างๆในประเทศอินเดีย เมื่อกลับมายังมาตุภูมิ จึงได้นำเอาอักษรเทวนาครีของอินเดียมาดัดแปลงให้เป็นอักษรธิเบต และได้มีการนำเอาคัมภีร์พระพุทธศาสนา ภาษาสันสกฤตมาแปลเป็นอักษรธิเบตด้วย
    อย่างไรก็ดี พระพุทธศาสนา ในยุคเริ่มแรกนี้ยังไม่มีความแพร่หลายมากนัก เพาะยังเป็นศาสนาที่ใหม่อยู่ ในสายตาของชาวธิเบตอีกประการหนึ่ง ยังได้รับการไม่ยอมรับ และการต่อต้าน จากลัทธิศาสนาเดิมของชาวธิเบต(ลัทธิบอนโป)อีกด้วย
    กาลต่อมา ... นับจากพระเจ้าสรองตสันคัมโปพระมหากษัตริย์ องค์ที่ ๕ นับจากสมัยของพระเจ้าสรองตสันคัมโป (ประมาณ พ.. ๑๒๙๙-๑๓๔๐)คือพระเจ้าถิสรองเดสสัน พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระศานติรักษิตแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา มาเผยแพร่หลักพุทธธรรมที่แท้ในธิเบต แต่ประจวบเวลานั้นเกิดมีภัยธรรมชาติและโรคระบาด ประชาชนทั้งหลายจึงเห็นไปว่าเป็นอาเพศเพราะการนำลัทธิผิดแปลกเข้ามาสั่งสอนถึงกับพระศานติรักษิตต้องกลับไปอินเดียครั้งนึงก่อน เพื่อกลับไปหาอาจารย์ขลังๆเป็นพระภิกษุผู้ทรงอภิญญา และมีอิทธิฤทธิ์เพื่อให้เข้ากันได้กับอุปนิสัยของชาวธิเบต และเพื่อใช้สู้กับลัทธิผีสางเทวดาในถิ่นเดิม จึงไปอาราธนานิมนต์ พระอาจารย์ผู้เป็นสิทธะ ในนิกายมนตรยานชื่อดังรูปหนึ่ง คือพระปัทมสัมภวะ


    เมื่อท่านปัทมะสัมภวะเข้าไปในธิเบตแล้ว ก็ได้ทำการสั่งสอนปนกับการใช้อิทธิฤทธิ์ของท่าน ซึ่งเป็นที่ถูกจริตของชาวธิเบตเป็นอย่างมากเมื่อชาวธิเบตเริ่มมีความสนใจในพระพุทธศาสนาแล้วท่านศานติรักษิตจึงได้เริ่มสอนพุทธธรรมที่แท้จริงในภายหลัง
    เพราะเหตุที่พระพุทธศาสนายุคแรกในธิเบตมีท่านปัทมะสัมภวะเป็นผู้ทำให้ประดิษฐานอยู่ได้ ดังนั้นจึงทำให้พระพุทธศาสนาในธิเบต มีทั้งพุทธธรรม และปนไปกับไสยศาสตร์ ตามแนวคิดที่ว่า "ในบางครั้ง พุทธกับไสยย่อมอาศัยแก่กัน"
    นอกจากนั้นท่านปัทมสัมภวะยังเป็นผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนานิกายแรกสุดในธิเบตคือนิกายณยิงมะปะในธิเบต
    กษัตรย์ธิเบตพระองค์ต่อๆมา แทบทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา บางองค์ทรงเป็นปราชญ์ รอบรู้ธรรมลึกซึ้ง วรรณคดีพระพุทธศาสนาได้เจริญมากขึ้น เช่น มีการจัดทำพจนานุกรมภาษาสันสกฤตธิเบตฉบับแรก เมื่อประมาณ พ.. ๑๓๕๗ มีการเขียนประวัติศาสตร์ธิเบตฉบับแรก ในรัชสมัยพระเจ้าราลปาเชน(.. ๑๓๕๙-๑๓๘๑) เป็นต้นเฉพาะกษัตริย์องค์หลังนี้ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าถึงกับทรงสยายพระเกศารองเป็นอาสนะให้พระสงฆ์นั่งล้อมแสดงธรรมถวายแด่พระองค์และในสมยันั้นได้มีการติดต่อประสานงานด้านพระพุทธศาสนา
    กับทางอินเดียมากขึ้นมีการอาราธนาพระคณาจารย์จากอินเดีย มาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลามาสั่งสอนธรรม และช่วยงานแปลพระคัมภีร์จากสันสกฤต เป็นภาษาธิเบต เช่น ท่านกมลศีลท่านเทเวนทรโพธิ ได้อุทิศชีวิตของตนช่วยงานแปลคัมภีร์ในธิเบต จึงทำให้ธิเบตกลายเป็นแหล่งรวมพระคัมภีร์ทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายานในยุคหลังๆอย่างมากก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเริ่มสาบสูญไปจากอินเดียจากภัยอิสลามและชาวธิเบตบางส่วนผู้ใฝ่ในการศึกษาพระพุทธธรรม ทั้งพระ และฆราวาส ได้เดินทางจากธิเบตไปหมอบกราบแทบเท้า(คือไปเรียน)ในประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา โอทันตปุรี เป็นต้นเมื่อท่านเหล่านี้กลับมา ก็ได้ทำงานแปลพระคัมภีร์บ้าง แต่งอรรถกถา ฏีกาขยายความบ้างเรียกว่า เป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในธิเบตสมัยเริ่มแรกเลยทีเดียว
    พระพุทธศาสนาในธิเบตคงจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปยิ่งกว่านี้เป็นแน่หากว่า.....จะไม่มีกษัตริย์ทรราชมาทำลายพระพุทธศาสนาซะก่อน...
    หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าราลปาเชน(หลักฐานบางแห่งว่าพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์) และกษัตริย์ผู้เป็นปฏิปักษ์พระพุทธศาสนาก็ขึ้นครองราชย์(พระเจ้าคลังดามา) ได้ทำลายพระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์ และคัมภีร์เป็นจำนวนมากจนพระสงฆ์บางส่วนต้องลี้ภัยไปอยู่ตามชายแดนจีนกับอินเดียพระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงแต่กฏแห่งกรรมก็ทำหน้าที่ได้อย่างชะงัดนัก...กษัตริย์ทรราชองค์นี้ทรงมีพระชนม์สั้นหลังจากครองราชย์ได้ ๕ ปี ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ในงานเต้นรำรัชทายาทของพระเจ้าลางคมาก็ได้เริ่มทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาแต่สถารการณ์พระพุทธศาสนาในธิเบตตอนนั้น อยู่ในฐานะระส่ำระสาย อาณาจักรธิเบตแตกแยกออกไปเป็นหลายแคว้น เมื่อชาติไม่สามัคคี พระพุทธศาสนาในธิเบตก็ไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้...
    จนกระทั่งในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕(ประมาณ พ.. ๑๕๐๐-๑๖๐๐)เจ้าครองแคว้นองค์หนึ่ง พระนามว่าขอเด (ภายหลังสละราชสมบัติไปบวชเป็นพระลามะ) ได้ส่งทูตไปอินเดีย นิมนต์พระอตีศ ทีปังกร ได้เดินทางมาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในธิเบตท่านอตีศได้เดินทางมาฟื้นฟูเรื่องพระวินัย และได้เขียนหนังสืออันมีชื่อเสียงในธิเบตคือ โพธิบทประทีปศาสตร์ ศิษย์ของท่านผู้นี้ได้ตั้งนิกายวินัยขึ้นในธิเบตครั้นลุถึงปลายศตวรรษที่ ๑๘ มีพระธิเบตรูปหนึ่งชื่อตสองขะปะเป็นชาวเมืองอัมโดใกล้ๆกับทะเลสาบโกโปนอ ตสองขะปะเป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของธิเบตได้สร้างวัดกันดันขึ้นใกล้ๆกับลาซา(เมืองหลวงของธิเบต) และได้ตั้งนิกายเคลุกปะ(นิกายหมวกเหลือง ซึ่งต่อมาเป็นนิกายทางราชการธิเบตและองค์ทะไลลามะทุกพระองค์ทรงเป็นพระในนิกายนี้)โดยมีจุดมุ่งหมายในทางปฏิบัติพระวินัยให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ส่วนลามะในนิกาย ณยิงมะปะ(นิกายหมวกดำ)ส่วนมากประพฤติเลอะเทอะ คือมีลูกเมียได้ในวัด และทำตัวเป็นพ่อมด คือไม่สนใจเรื่องพระธรรมวินัยเลย จะเอาแต่เรื่องขลังอย่างเดียว แต่นิกายเคลุกปะนี้ห้ามเด็ดขาด ......
    หลังจากนั้น ศิษย์ของตสองขะปะได้สร้างวัดใหญ่ขึ้นอีก เช่นวัดเดรปุง วัดเซรา(ศีล) วัดตชิลุมโป ตสองขะปะได้เขียนอรรถกถา ฏีกาจำนวนมาก เล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านคือ โพธิมรรค อนุปุพพศาสตร์ ใช้เป็นหลักสูตรหนึ่ง ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในธิเบตเดี๋ยวนี้* ภายในเล่ม กล่าวอธิบายเรือง ศีล สมาธิ ปัญญา คล้ายคลึงกับวิสุทธิมรรคมาก เมื่อท่านตสองขะปะจะมรณภาพได้สั่งให้ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่สองรูป ทำหน้าที่ตายแล้วเกิดใหม่.. เป็นการเริ่ม ระบบอวตารของธิเบต**

    พระปัทมสัมภวะคุรุปัทมสมภพ ธิเบตเรียก กูรูรินโปเช่ชาวพุทธวัชรยานถือว่าพระองค์เป็นพุทธเจ้าองค์ที่ 2 พระองค์ทรงเป็นวัชรนิรมานกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้าวัชรธรรมกายของพระองค์คือวัชรธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวงพระองค์เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ธิเบตและดินแดนในแถบหิมาลัย ในพระสูตรวัชรยานได้บันทึกไว้ว่าพระพุทธศากยะมุนีพุทธเจ้าได้สั่งพระอานนท์เถระเจ้าไว้ว่าหลังพระองค์ปรินิพาน 8 ปี ให้พระอานนท์รับบุรุษผู้หนึ่งจากแคว้นอุทยานเป็นศิษย์ให้ถ่ายทอดธรรมทั้งสิ้นให้ด้วยว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้จรรโลงพุทธศาสนาต่อไปจนถึยุดสุดท้าย ท่านก็คือ "องค์คุรุปัทมสมภพ"หรือกูรูรินโปเช่นั่นเอง ในช่วงเวลา800ปีในอินเดียบางช่วงท่านก็ปรากฏขึ้น บางช่วงท่านก็หายไปจนกระทั่งก่อนจะเข้าธิเบตจากการเชื้อเชิญจากกษัตริย์ไตรซองเดสเซนตามคำแนะนำของพระศานตรักษิตท่านเป็นคุรุผู้บรรลุแห่งมหาวิทยานาลันทา ทรงความรู้ความสามารถอิทธิปาฏิหาริย์ในพุทธตันตระยานอย่างถ่องแท้ หลังจากที่ท่านได้เข้าธิเบตแล้วทำให้ประชาชนในธิเบตและในแถบเทือกเขาหิมาลัยหันมาเป็นชาวพุทธและพุทธตันตระยานจะเป็นพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองมั่นคงไปทั่วโลกในยุดต่อไป


    http://writer.dek-d.com/minute_of_love/story/view.php?id=153925#ixzz1qOWBro3w
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2012
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นิกายนิงมะ นิกายณยิงมาปะ หรือนิกายหมวกแดง เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต ถือกำเนิดจากอาจารย์ชาวอินเดียคือปัทมสัมภวะที่เดินทางมาทิเบตเมื่อ พ.ศ. 1350 ซึ่งได้รับการนับถือจากชาวทิเบตอย่างกว้างขวาง และเป็นผู้สร้างวัดสัมเยซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในทิเบต ปัทมสัมภวะได้เผยแพร่คำสอนของนิกายตันตระจนมีสานุศิษย์ที่สำคัญหลายคน

    คำสอน
    นิกายนิงมะแบ่งคำสอนในพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ
    • สามยานนี้เป็นคำสอนในพระสูตร
      • สาวกยาน
      • ปัจเจกพุทธยาน
      • โพธิสัตวยาน
    • ตันตระสาม คือ
      • กริยาตันตระ
      • อุปตันตระ
      • โยคะตันตระ
    • ตันตระขั้นสูงอีกสามยาน คือ
      • มหาโยคะ
      • อนุตรโยคะ
      • อติโยคะ
    ทุกระดับยกเว้น อธิโยคะ คุหยสมาช กาลจักร จักรสังวร ล้วนจัดอยู่ในอนุตรโยคะทั้งสิ้น ส่วนอธิโยคะหรือซกเชนถือเป็นตันตระพิเศษสูงสุดกว่าตันตระใดๆ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์เป็นวิธีการเจาะเข้าสู่พุทธภาวะโดยตรง
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติยานทั้งเก้าคือเพื่อก้าวพ้นโลกียะตามคำสอนของพระสมันตภัทรพุทธะ ในคำสอนของตันตระที่เป็นเอกลักษณ์ของนิกายนี้คือ ซอกเซ็น หรือมหาบารมี เป็นการปฏิบัติโดยสวดพระนามของปัทมสัมภวะ หรือคุรุรินโปเช และการเข้าเงียบ จะเน้นในการสวดมนต์ต์ตราธารณี การใช้สัญลักษณ์มุทรา สัญลักษณ์มณฑล ในการประกอบพิธีเพื่อเข้าสู่การบรรลุพระโพธิญาณ นิกายนี้มีความเชื่อว่าหลังจากสมัยคุรุปัทมสมภพแล้วก็ได้มีการค้นพบคำสอนซึ่งถูกซ่อนไว้โดยคุรุปัทมสมภพ ในทิเบตเรียกว่า "เทอร์มา" ซึ่งแปลว่าขุมทรัพย์อันล้ำค่า และได้ทำนายไว้ว่าในอนาคต ศิษย์ของท่านจะเป็นผู้ค้นพบและเปิดขุมทรัพย์
    คำสอน 6 ยานแรกเป็นพื้นฐานของพุทธตันตระทั่วไป ส่วนสามยานสุดท้ายเป็นลักษณะพิเศษของนิกายนิงมะเชอเกียมตรุงปะ อาจารย์นิกายนิงมะ ผู้มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวว่า
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    เถรวาทได้กล่าวว่าตนเข้าถึงความจริงแท้ และให้หนทางที่ดีที่สุด มหายานกล่าวว่าพระโพธิสัตว์ได้ให้หนทางที่ดีที่สุดในการเข้าสู่สัจจะธรรม ส่วนผู้ปฏิบัติวัชรยานกล่าวว่า มหาสิทธะผู้ทรง ฤทธิ์อำนาจวิเศษสามารถมอบหนทางสู่การบรรลุได้อย่างวิเศษสุดคำถามและคำตอบมากมายที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความสับสนต่างๆ นาๆ แล้วอะไรเล่าจึงเป็นสิ่งที่ปรารถนาของศิษย์ ผู้ต้องการเข้าสู่พระพุทธธรรม อธิโยคะตันตระได้ให้คำตอบไว้ว่าการมองทุกสรรพสิ่งด้วยสาย ตาของเอกซ์เรย์ มองทุกสรรพสิ่งได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และปฏิบัติตนอย่างเปล่าเปลือยทะลุ ปรุโปร่งเช่นกัน นั่นจึงเป็นธรรมชาติแท้แห่งพุทธภาวะ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    คณาจารย์สำคัญ

    อาจารย์คนสำคัญของนิกายนี้ได้แก่ ยอนชัล บีมาร์โอเซอร์ คุรุโชวัง คอร์เจ ลิงปา ปัทมะ ลิงปา และจัมยัง เคนเซ เป็นผู้นำคำสอนที่ปัทมสัมภวะซ่อนไว้มาเปิดเผย
    สถาบัน

    สถาบันแห่งแรกของนิกายนี้คือวัดสัมเย ตั้งโดยพระศานตรักษิต สถาบันในยุคหลังได้แก่ วัดมันโดรลิง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2219 จอร์เจดรัก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2202 เมื่อชาวทิเบตลี้ภัยเข้าสู่อินเดีย มีการสร้างวัดในนิกายนี้หลายแห่ง เช่นที่รัฐการณาตกะ และธรรมศาลา

    นิกายนิงมะ - วิกิพีเดีย
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มหาเทวีผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน พระนามนี้เป็นใครเอ๋ย

    พระนามอวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) มาจากภาษาสันกฤตเป็นการสมาสคำ 3 คำ เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย คำว่า ava หมายถึง เบื้องต่ำ ส่วนคำว่า Lokita มาจากคำว่า lok (โลก) หมายถึง จ้องมองหรือเฝ้ามอง และคำว่า isvara (อิศวร) หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้รักษากฎ เมื่อนำมาสมาสคำกันเข้า ก็จะได้เป็น ava + lokita + esvara เป็น avalokitesvara หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าที่เฝ้ามองดูโลก บ้างก็บอกว่าหมายถึง พระผู้ฟังเสียงจากเบื้องบน เพราะคำว่า svara หมายถึง เสียง อย่างไรก็ตาม พระนาม อวโลกิเตศวร นี้มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นแต่ละที่ไม่เหมือกัน ชาวจีน เรียกชื่อว่า พระแม่กวนอิม (Guan Yin) ส่วนชาวทิเบต เรียกชื่อว่า เซนเรซิก (Chenrezig) สำหรับภูมิประวัติความมาของพระนามอวโลกิเตศวรนี้ มีความสลับซับซ้อนพอสมควร แรกเริ่มเดิมทีนั้นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย ในขณะนั้นทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมหายานกำลังเฟื่องฟูในประเทศอินเดีย

    หากมองย้อนกลับในอดีตกาล ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่เกิดก่อนพุทธกาล เป็นศาสนาเทวนิยมที่นับถือพระเจ้าหรือมหาเทพ (Mahadeva) สำคัญ 3 พระองค์ นั่นก็คือ พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) แต่ละพระองค์จะมีพระมเหสีของตนเอง เช่น พระพรหม มีพระชายา คือ พระแม่สุรัสวดี, พระศิวะ มีพระชายา คือ พระแม่ศรีอุมาเทวี และพระแม่คงคา ส่วนพระวิษณุ มีพระชายา คือ พระแม่ลักษมี และพระแม่ภูมิเทวี (พระแม่ธรณี)

    มหาเทพเหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความเชื่อและความศรัทธาของชาวอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายต่างๆ มากมาย ที่สำคัญๆ ได้แก่ 1) นิกายไศวะ (Shaivism) ที่มีการนับถือองค์พระศิวะเป็นเทพสูงสุด 2) นิกายไวษณพ (Vaishnavism) ที่มีการนับถือองค์พระนารายณ์เป็นเทพสูงสุด และ 3) นิกายศักติ (Shaktism) ที่มีการนับถือมหาเทวีที่เป็นชายาของมหาเทพทั้งสามสูงสุด ส่วนลัทธิพระพรหม (Brahmism) ไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน

    นิกายศักติมีความเชื่อในอำนาจของสตรีที่เป็นพระชายาของมหาเทพ ที่จะช่วยดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จได้โดยง่ายกว่าการบูชามหาเทพโดยตรง เพราะความเมตตาสงสารย่อมมีอยู่ในเพศแม่มากกว่าเพศชาย อีกทั้งยังเป็นการช่วยเสริมพลังอำนาจและศักดิ์ศรีแก่เหล่ามหาเทพอีกด้วย ต่อมานิกายนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประชาชนชาวอินเดียที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะนับถือและศรัทธราต่อพระมหาเทวี (Mahadevi) เป็นอันมาก มหาเทวีเหล่านี้เดิมทีมีพระองค์เดียวคือพระแม่ศักติ แต่ต่อมาได้แบ่งภาคอวตารออกมาหลายปางด้วยกัน แต่ที่นับถือกันมากที่สุดในขณะนั่น ก็คือ พระแม่ทุรคาหรือพระแม่กาลี (พระภาคหนึ่งของพระแม่ศรีอุมาเทวี) ซึ่งมีรูปลักษณ์และมีท่าทางที่ดุร้ายและน่ากลัว แต่ก็แฝงไปด้วยความเมตตาสงสาร ช่วยปกปักรักษาธรรมและขจัดอธรรม ทำให้เป็นที่ยำเกรงกลัวแก่มารร้ายและปีศาจทั้งหลาย หากมองในแง่ของปรัชญาย่อมแสดงให้เห็นถึงสภาวะแห่งการรักษาสมดุลเพื่อที่ต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันของเพศชายและเพศหญิงในสังคม

    แม้ว่านิกายศักติจะได้รับนิยมมากก็ตาม แต่ยังคงได้รับอิทธิพลจากนิกายไศวะและนิกายไวษณในเรื่องหลักคำสอน ความเชื่อ การดำเนินชีวิต ศิลปะ ประติมากรรม และพิธีกรรมต่างๆ อยู่ดี มีผู้นับถือนิกายนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มหัวเอียงขวาที่เรียกตนเองว่า จารี กลุ่มนี้ นับถือพระแม่ปางใจดี เช่น พระแม่ปารวตี พระแม่มาตา เป็นต้น ถือเป็นพลังอำนาจฝ่ายดี มีการศึกษาและเข้าถึงปรัชญาธรรมชาติ และ 2) กลุ่มหัวเอียงซ้ายที่เรียกตนเองว่า วามจารี กลุ่มนี้นับถือพระแม่ปางทุรคาและกาลี ชอบปฏิบัติบูชาพระแม่ด้วยวิธีแปลกและพิสดารเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เช่น การระบำเปลื้องผ้าแก้บน ถวายของมึนเมา การบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์เป็นๆ รวมไปถึงการร่วมเพศต่อหน้าเทวรูปพระแม่ พิธีกรรมเหล่านี้เรียกว่า ลัทธิตันตระ (Tantrism) ซึ่งเป็นพิธีกรรมลับเฉพาะกลุ่มเท่านั้น พิธีกรรมพิลึกพิลันเหล่านี้ก็เคยมีปรากฏในสมัยกรีกและสมัยโรมันมาก่อน ลัทธิตันตระนี้ หากรวมกับใครเข้าก็เรียกคำลงท้ายด้วยตันตระ เช่น รวมกับศาสนาฮินดู เรียกว่า ลัทธิฮินดูตันตระ รวมกับศาสนาพุทธ เรียกว่า ลัทธิพุทธตันตระ เป็นต้น

    ลัทธิตันตระนอกจากจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ยังไปเกี่ยวเนื่องไปยังการบูชาความเป็นเพศชายและเพศหญิง ที่เรียกว่า ศิวลึงค์โยนี (Lingam-Yoni) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นการก่อกำเนิดมนุษย์ชาติ ซึ่งได้รับความนิยมบูชากันอย่างแพร่หลายไปทั่วทั้งอินเดีย เนปาล ภูฐาน ทิเบต และตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นตำรับตำราชื่อว่า กามาสูตร (Kamasutra) เพื่อเพิ่มพลังดุลภาพและความสุนทรียภาพแห่งความรักระหว่างกัน

    มันตระ/มนตรา (Mantra) ในลัทธิตันตระมีพลังอำนาจที่ลึกลับและชวนให้พิศวงเป็นอันมาก บทสวดมนต์และพระคาถาต่างๆ ล้วนแล้วได้มาจากพระเวทโบราณของฮินดู โดยการผสมผสานคลุกเคล้าไปด้วยบทสวด เพลงสรรเสริญ พิธีกรรม และปรัชรา ซึ่งบรรจุไว้อยู่ในคัมภีร์พระเวท (Veda) แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ฤคเวท ใช้สำหรับเพลงสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้า ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอม (Om / Aum) ประกอบขึ้นด้วยคำ 3 คำ คือ อะ อุ มะ คำว่า อะ. แทนพระวิษณุหรือพระนารายณ์ คำว่า อุ. แทนพระศิวะหรือพระอิศวร และคำว่า มะ. แทนพระพรหม รวมกันเรียกว่า ตรีมูรติ (Trimurti) อันหมายถึง มีรูป 3 ซึ่งก็คือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์ เช่น โอม นมัส ศิวาย เพื่อสรรเสริญบูชาองค์พระศิวะ หรือ โอม มณี ปัทเม ฮูม เพื่อสรรเสริญบูชาองค์พระอวโลกิเตศวร เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังที่ศักดิ์สิทธิ์มาก สามารถนำมาใช้ในการบำบัดรักษาและเจริญสมาธิได้เป็นอย่างดี 2) ยชุรเวท ใช้ในพิธีบูชายัญหรือบวงสรวง เช่น พิธีเทวาภิเษกองค์พระจัตุคามรามเทพ เป็นต้น 3) สามเวท ใช้ในพิธีกล่อมทำนองเสนาะ เช่น กาพย์เห่เรือส่งเสด็จพระศิวะกลับสู่สรวงสวรรค์ในพิธีโล้ชิงช้า เป็นต้น และ 4) อถรวเวท (อาถรรพ์เวท) ใช้สำหรับรักษาโรค ทำเสน่ห์ ทำลายศัตรู และแก้เสนียดจัญไร ฯลฯ เป็นต้น

    พระเวท (Veda) เหล่านี้ หากจะใช้ให้ได้ผลต้องเป็นผู้ที่เข้าใจและได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพิธีกรรมเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และสัมฤทธิ์ผล จะต้องมีองค์ประกอบด้วย 4 อย่าง คือ 1) มันตระ 2) พราหมณะ 3) อารัณยก และ 4) อุปนิษัท กล่าวคือ ต้องสวดมนต์สรรเสริญเทพเจ้าได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญ ต้องเข้าใจระเบียบวิธีบูชาที่ถูกต้อง ต้องเป็นผู้ทรงศีลหรือนักพรต และต้องเข้าใจปรัชญาได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งหมายถึงเจ้าพิธีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีพระเวทสำหรับชาวบ้านที่เรียกว่า ปุราณะ เพื่อใช้ในการสวดมนต์ด้วยเช่นกัน อันนี้ไม่สงวน ชอบเทพองค์ไหนก็เลือกคาถาตามใจชอบ

    โยคะ (Yoga) เป็นศาสตร์แห่งการรู้แจ้งและการฝึกฝนกาย-จิตสัมพันธ์ของตนเอง อันมีรากฐานมาจากปรัชญาฮินดูโบราณนานกว่าห้าพันปี เป้าหมายของโยคะคือ พัฒนาตัวมนุษย์ ในทุกๆ มิติ เช่น กาย จิต อารมณ์ บุคลิกภาพ ฯลฯ อย่างเป็นองค์รวม ด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ โยคะมีหลากหลายประเภท ได้แก่ 1) ราชาโยคะ (Raja-Yoga) 2) กรรมโยคะ (Kamar-Yoga) 3) ภักติโยคะ (Bhakti-Yoga) 4) ญาณโยคะ (Jnana-Yoga) 5) ตันตระโยคะ (Tantra-Yoga) 6) หฐโยคะ (Hatha-Yoga) และ 7) มนตราโยคะ (Montra-Yoga) โดยเฉพาะตันตระโยคะเป็นโยคะที่ชี้นำให้ผู้ปฏิบัติทราบว่าด้านมืดและด้านสว่างของชีวิตนั้นแตกต่างกันอย่างไร เป็นโยคะประเภทเดียวที่รวบรวมเอาข้อดีของโยคะประเภทต่างๆ มาประยุกต์ใช้ มีการทำพิธีบวงสรวงเน้นการทำสมาธิให้ได้ถึงระดับญาณเพื่อปลุกพลังภายในร่างกาย และพลังจิตสามารถทำงานผสานกันได้ในขณะที่ทำท่าอาสนะ

    ลัทธิตันตระได้มีการผนวกรวมหรือจับขั้วไว้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธมหายาน แล้วเรียกลัทธิใหม่นี้ว่า วัชรยาน (Vajrayana) ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกปรัชญานั้นว่า วัชระ (สายฟ้า) ซึ่งเป็นลัทธิที่กำลังมาแรงแซงระเบิดในขณะนี้ และไม่เน้นพิธีสวดก๋งเต๊ก

    อาจจะกล่าวได้ว่าลัทธิตันตระของนิกายศักติได้มีแผ่อิทธิพลกระจายไปทั่วโลก ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องสิทธิสตรีเพศ เพื่อต้องการยกระดับอำนาจและศักดิ์ศรีให้เท่าเทียมกับเพศชาย มีตำรับตำราสมรสสมรักที่ชวนให้ตื่นตาตื่นใจจนหาที่ใดเท่าเทียมมิได้ มีเวทมนต์คาถาที่ลึกลับและมีมนต์ขลัง มีราชโยคะศาสตร์เพื่อการรู้แจ้งและบำบัดเพื่อผ่อนคลาย มีปรัชญา ศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ชวนให้หลงไหลและทึ่งในความอัศจรรย์ เป็นบ่อเกิดลัทธิต่างๆ ที่สำคัญคือ ลัทธิวัชรยาน ที่สำคัญลัทธิตันตระนี้ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม อย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน จึงอดไม่ได้ที่จะขอกล่าวสรรเสริญพระเกรียติคุณแห่งองค์มหาเทวีผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดินพระองค์นี้

    มหาเทวีผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน พระนามนี้เป็นใครเอ๋ย?


    http://palungjit.org/threads/มหาเทวีผู้พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน-พระนามนี้เป็นใครเอ๋ย.103706/
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนาแบบตันตระ

    (บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย)
    คำว่าพระพุทธศาสนาแบบตันตระ นั้นโดยทั่วไป ใช้เรียกพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคหลัง กล่าวคือ มนตรยาน วัชรยาน หรือสหัชยาน การที่นิกายโยคาจาร ได้ย้ำถึงความสำคัญของวิญญาณและความเจริญของวิญญาณได้ค่อยๆทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ในพระพุทธศาสนา มนตร์ ธารณี และแผนภาพเป็นรูปวงกลมหรือสามเหลี่ยม เริ่มมีความสำคัญเพิ่มขึ้น สำหรับโยคี มนตร์เหล่านี้ถือกันว่ามีอำนาจขลังอย่างสำคัญ ถ้าจะเปรียบก็พอเปรียบกันได้กับ ปริตร ในคัมภีร์บาลี เพราะปริตรนั้น ก็ถือกันว่าสามารถป้องกันผู้ท่องบ่นให้พ้นจากความชั่วทั้งปวงได้ ครั้งหนึ่งการปฏิบัติแบบลึกลับ ถูกนำเข้ามาในพระพุทธศาสนา การปฏิบัตินั้น ต้องการผู้ปฏิบัติเพียงกลุ่มเล็กๆ ฉะนั้นการจะรักษาไว้ให้สืบต่อกันไปได้ จึงจำเป็นต้องมีสถาบันแห่งครูและศิษย์ (คุรุและเจฬะ) ปฏิบัติสืบต่อกันไปเรื่อยๆ

    เพื่อจะรักษาธรรมชาติอันลึกลับของการปฏิบัตินั้นไว้ นักปฏิบัติจำต้องใช้ภาษาสัญลักษณ์ ซึ่งเข้าใจกันได้เฉพาะในหมู่นักปฏิบัติเท่านั้น สำหรับคนสามัญคำพูดเหล่านั้น มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง นักเขียนในนิกายนี้ได้ใช้ภาษาที่มีความหมายสองแง่ในทำนองเป็น “คำคม” ความหมายจริงๆของคำเหล่านั้นจะทำให้คนสามัญต้องสดุ้งตกใจ แต่สำหรับ “นักปฏิบัติ” เขาจะแปลความหมายไปอีกทาง คนธรรมดาย่อมแปลความหมายของคำต่างๆตามที่เคยแปลกันมา ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจ ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง

    ลักษณะอีกประการหนึ่งของพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ก็คือเชื่อในเทพเจ้าและเทพีเป็นจำนวนมาก เขาเชื่อว่าด้วยความโปรดปรานของเทพเจ้าและเทพีเหล่านั้นผู้ปฏิบัติก็จะบรรลุ “สิทธิ” หรือความสำเร็จได้ เขามันจะสร้างรูปแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่นอยู่ ในท่ามกลางเทพีเป็นจำนวนมาก

    (เทพ เทพีที่เกิดมาก่อนในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้ามิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีอยู่จริง ซึ่งนักตันตระชาวพุทธได้แปลงมาเป็นเทพพุทธะ เทพีพุทธะ ทั้งยังได้สร้าง พุทธเจ้าปางดุ พุทธมารดาปางดุขึ้น อีกทั้งยังมีเทพโพธิสัตว์ และเทพธรรมบาล อีกมาก นักตันตระชาวพุทธสร้างขึ้น มิใช่ต้องการความโปรดปรานของเทพพุทธะทั้งปวงเหล่านั้น แต่ต้องการได้คุณสมบัติของเทพพุทธะเหล่านั้น เพราะว่า เทพพุทธะเหล่านั้นแต่ละองค์ก็เป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์หนึ่งของสรรพชีวิต พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคุณสมบัติพิเศษจากอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นพิเศษในการบรรลุธรรม คุณสมบัตินั้นเป็นสิ่งที่นักตันตระต้องการเพื่อการบรรลุสิทธิ มิใช่การบูชาเพื่อให้ท่านโปรดปราน ศรีภัทร

    ยังมีพระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ที่เหมือนกับพระพุทธศาสนาแบบที่กล่าว มาแล้ว นั่นก็คือพระพุทธศาสนาแบบ วัชรยาน พระพุทธศาสนาแบบนี้ นอกจากจะไม่มีคำสอนที่ดีหรือบริสุทธิ์ตามแบบเดิมแล้ว ก็ยังผสมผสานกับประเพณีท้องถิ่น และยอมรับพิธีกรรมลึกลับและน่ากลัวต่างๆ จึงแพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชั้นต่ำ ผู้นำทางศาสนาแบบนี้ปฏิบัติและส่งเสริมข้อปฏิบัติหลอกลวงต่างๆ เช่นข้อปฏิบัติ 5 ประการ เกี่ยวกับ ม. คือมัทยะ (น้ำเมา) มางสะ(เนื้อ) มัตสยา(ปลา) มุทรา(ผู้หญิง) และไมถุนะ(เสพเมถุน) ในหนังสือ ศรีสมาช(คุยหสมาช) สาธนมาลา ,ชญาณสิทธิ เป็นต้น เราจะพบว่ามีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล 5 ซึ่งเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในหนังสือ คุยหสมาช สนับสนุนให้มีการฆ่า การหลอกลวง การลัก และการเสพเมถุน ใครจะคิดบ้างว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น

    อย่างไรก็ตาม ลัทธินี้ก็แพร่หลายไปกว้างขวาง ในอินเดียตะวันออก มหาวิทยาลัยวิกรมศีลา ซึ่งเป็นศูนยกลางแห่งการศึกษาแบบตันตระ ซึ่งค่อยๆแพร่หลายไปยัง เบงกอล อัสสัม และโอริสสา ประชาชนคนดีๆ ทั้งหลายต่างพากันต่อต้าน การปฏิบัติหลอกลวงเช่นนั้นอย่างหนักหน่วง และกระปฏิบัติหลอกลวงนี้เอง มีส่วนอย่างสำคัญ ในความเสื่อมศูนย์แห่งพระพุทธศาสนาในอินเดีย **(จากสองคอลัมท์ข้างบน ได้กล่าวถึงชนชั้นต่ำ ขอให้ท่านได้อ่านต่อไปจนจบแล้วจะเข้าใจในความเข้าใจผิดของตนต่อพุทธวัชรยาน ขออธิบายคำว่าชนชั้นต่ำ ตั้งแต่มีพุทธศาสนาขึ้นมา ผู้ที่ปฏิบัติพุทธธรรมได้ถูกจัดอันดับแม้ต่ำที่สุดก็ถูกเรียกว่า “บัณฑิต” ดังนั้นจึงมิไม่ชนชั้นต่ำเป็นชาวพุทธเลย แต่เราก็ต้องยอมรับว่า มีบุคคลชั้นต่ำซึ่งใช้ประโยชน์จากความศรัทธาของมหาชนต่อพุทธศาสนา พวกนี้มิเคยมีจิตใจใฝ่หาการบรรลุพุทธภาวะเลย เพียงอาศัยรูปแบบของชาวพุทธดำรงชีพ แล้วปฏิบัติตามตัณหาราคะของตน มิเคยได้พัฒนาใจ ขัดเกลาจิต ไม่เคยตีความในพุทธปรัชญาเพื่อการหลุดพ้น แต่พยายามตีความเพื่อสนองตัณหาแห่งตน เพราะรูปแบบที่ตนยืมมาดำรง ทำให้ตนมีเกียรติได้รับความเคารพจากมหาชน ยิ่งทำให้การหลอกลวงเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดชนชั้นเดียวกันได้ให้เป็นเช่นเดียวกันได้มากขึ้นเรื่อยๆ
    พระเจ้าอโศกได้จับผู้ปลอมตัวบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ถึงหกหมื่นกว่าคน ผู้ปลอมตัวบวชเหล่านั้นชาวพุทธเรามิได้ยอมรับพวกเขาเป็นพุทธศาสนิก ถือเป็นชนชั้นต่ำที่แฝงตัวมาอาศัยหากินเท่านั้น แต่ในกรณีที่ท่านได้กล่าวว่าชนชั้นต่ำในวัชรยานเป็นตัวการทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจนสูญสลาย แล้วทำไมท่านยังยอมรับเขาเหล่านั้นเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วทำไมผู้ปลอมบวชในสมัยพระเจ้าอโศกเราไม่ถือเขาว่าเป็นพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดและลัทธิใดก็มีผู้ที่เป็นชาวพุทธที่แท้จริงและเป็นผู้ที่อาศัยพุทธศาสนาเกาะกินและบ่อนทำลายด้วยกันทั้งนั้น ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน จึงมีทั้งผู้จรรโลงและทำลายด้วยกันทั้งนั้น
    การกล่าวว่า เฉพาะชาวพุทธวัชรยานเป็นตัวการทำให้พุทธศาสนาต้องกลายเป็นศาสนาแห่งความสกปรก มั่วสุมอยู่ในโลกีย์ตัณหา จนตกต่ำและต้องสูญสลายไปจากดินแดนที่ให้กำเนิดนั้นถูกต้องหรือไม่ ในกรณีของข้อปฏิบัติ 5 ม.ซึ่งเป็นเรื่องของปรัชญา นักตันตระชาวพุทธให้ความหมายทางปรัชญาไปทางหนึ่ง แต่เราก็ห้ามมิใช่ชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่นักตันตระชาวพุทธตีความไปตามที่ตนเองต้องการอีกทางหนึ่งไม่ได้ สุดท้ายชาวพุทธเราเองก็ร่วมมือกับชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่ชาวพุทธ โจมตีชาวพุทธด้วยกันเองและสถาปนาชนชั้นต่ำที่ไม่ใช่ชาวพุทธให้เป็นชาวพุทธที่ทรงปัญญาจนสามารถทำลายพระพุทธศาสนาไปได้ หลักการของการปฏิบัติกับสุรา ที่กล่าวไว้ว่า เพื่อให้เกิดความมึนเมาจะได้สุดสวิงกิ้งอย่างเต็มที่ แต่การเกี่ยวข้องกับสุราของนักตันตระชาวพุทธยังคงปฏิบัติตามศีลข้อห้า คือให้ใช้เป็นกระสายยาได้ไม่เกินขนาดหนึ่งเมล็ดแตงโม แต่ในกรณีที่ พระอาจารย์ได้พบศิษย์ที่ทะนงตนว่าได้บรรลุการดำรงสติตลอดเวลาทุกสถานการณ์ พระอาจารย์จำนำสุรามาทดสอบกับศิษย์ การปฏิบัตินี้จะอยู่ในความควบคุมของพระอาจารย์ เรื่องเนื้อและปลา การเสพเนื้อเสพปลา ต้องเสพด้วยความเมตตา 1 สัตว์นั้นต้องถึงซึ่งกาลเอง 2 ต้องเสพด้วยจิตเมตตาเพื่อให้สัตว์นั้นได้สร้างกุศล 3
    เนื้อสัตว์เมื่อมาบำรุงกายเราต้องคำนึงถึงจำนวนชีวิตของสัตว์ ควรเสพสัตว์ด้วยชีวิตจำนวนน้อย มากกว่าใช้ชีวิตสัตว์จำนวนมากในแต่ละมื้อ ส่วนคำว่ามุทรา ในที่กล่าวไว้ว่ามุทราแปลว่า ผู้หญิงที่มาร่วมเสพกาม แต่ในวัชรยานชาวพุทธ มุทราแปลว่าสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ คือคุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้พระพุทธเจ้าในอดีต เป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้น มุทราคือสัญลักษณ์แห่งพุทธภาวะของพระพุทธเจ้าในอดีต หลักสุดท้ายคือ เมถุน เมถุนในพุทธวัชรยาน เป็นการปฏิบัติสมาธิจิตด้วยการ รวม ปัญญาและอุบายเข้าด้วยกัน เป็นการ เสพเมถุนภายในจิตของผู้ปฏิบัติเองคนเดียว(มีกล่าวไว้ในหนังสือหลักขอให้อ่านต่อไป) ธรรมะจะเป็นสิ่งประเสริฐ หรือเป็นเครื่องมือสุดต่ำช้า อยู่ที่ผู้นำเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติ พุทธธรรมเมื่ออริยะชนชาวพุทธนำไปปฏิบัติ ก็นำจิตให้สูงขึ้นไปสู่ความเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์ แต่พุทธธรรมถ้าชนผู้มิใช่ชาวพุทธนำไปดัดแปลงแล้วปฏิบัติ เราคงไม่เรียกผู้ปฏิบัตินั้นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน สามัคคีธรรมที่วัสสการพราหมณ์ นำธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไปดัดแปลงและปฏิบัติจนแคว้นวัชชีล่มสลาย เราจะถือว่าวัสสการพราหมณ์เป็นชาวพุทธ หรือ ชาวพราหมณ์ ศรีภัทร)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนาแบบตันตระ

    (บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย)
    2
    ในบรรดาพระพุทธศาสนาแบบต่างๆ คำสอนแบบตันตระถูกละเลยและเข้าใจผิดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ที่ว่า ตันตระนี้เกิดขึ้นจากประเพณีต่ำๆของพวกฮินดู และการปฏิบัติผิดๆซึ่งมีอยู่ในกลุ่มชนที่ไร้การศึกษา คำสอนแบบตันตระทุกอย่าง คนทั้งหลายรังเกียจกันมาก จนกระทั่งนักปราชญ์ก็ไม่กล้าแตะต้อง ผลก็คือ การสำรวจหรือการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ถูกทอดทิ้งเป็นเวลาช้านาน

    นักปราชญ์ชาวยุโรป คนแรกที่กล้ารื้อฟื้นตันตระขึ้นมา โดยเฉพาะตันตระของฮินดูว่าด้วย กุณฑลินีโยคะ คือเซอร์ จอห์น วูดรอฟ ท่านผู้นี้ได้พิมพ์หนังสือชุดตันตระและปรัชญาตันตระขึ้นโดยใช้นามปากกาว่า อาร์เธอร์ อเวลอน ในคำนำเรื่องจักรสัมภารตันตระ เขากล่าวไว้ว่า “คนโง่เข้าใจความแท้จริงด้านจิตใจไม่ถูกต้อง เขาจึงเรียกความแท้จริงเข่นนั้นว่า ไสยศาสตร์ ความชั่วและความโง่นั้นมีอยู่มากแล้วตามธรรมชาติของมัน และมันได้สร้างวิชาให้เราศึกษาในแง่ตรงกันข้าม แต่ถ้าเราไม่ยึดถือความรู้นั้น ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความโต้เถียงกันทางศาสนา ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอย้ำว่า เราต้องเชื่อสติปัญญาและความยุติธรรมของเราเอง โดยพยายามเข้าใจศาสนาทุกศาสนาในแง่ที่ดีที่สุด และจริงที่สุด” แม้อเวลอนเอง ก็เชื่อว่า ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงสาขาหนึ่งของลัทธิตันตระแบบฮินดู และเชื่อว่า ตำราซึ่งเขาค้นคว้านั้นเป็นหลักดั้งเดิมของตันตระทีเดียว ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องมาโดยตลอดตราบเท่าที่ความรู้เรื่องตันตระจารคัมภีร์ของธิเบตยังไม่ได้เป็นที่รับรู้กันนอกดินแดนหิมาลัย เพราะคัมภีร์ตันตระเหล่านั้น ถึงแม้จะมีคำแปลแล้วแต่ก็ยังยากที่จะเข้าใจ ทั้งในด้านเหตุผล ในด้านประวัติศาสตร์ และในการปฏิบัติ​
    เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ ก็คือว่าคัมภีร์เหล่านี้เราไม่สามารถจะเข้าใจได้เฉพาะในด้านปรัชญาเท่านั้น แต่เราเข้าได้จากประสบการณ์ด้านโยคะ ซึ่งไม่สามารถจะศึกษาได้จากหนังสือ ยิ่งกว่านั้นหนังสือซึ่งใช้ค้นคว้ากันนี้ ก็เขียนด้วยสำนวนแปลกๆ คือ ใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร ซึ่งภาษาสันสกฤตเรียกว่า สนธยาภาษา

    การใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษรนั้น ทำให้คนโง่ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักปฏิบัติ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ และนำไปปฏิบัติผิดๆ อีกด้วย แต่ก็จำเป็นต้องใช้ภาษาเช่นนั้น เพราะภาษาธรรมดาไม่สามารถจะแสดงประสบการณ์สูงสุดของจิตใจได้ สิ่งที่นักปฏิบัติได้บรรลุนั้น อธิบายให้เข้าใจกันไม่ได้ แต่สามารถแนะนำให้ปฏิบัติตามได้ ด้วยการยกอุทาหรณ์ และใช้อุปมาเปรียบเทียบ

    ลักษณะทำนองเดียวกันนี้ มีอยู่ในพระพุทธศาสนานิกายฌานของจีนและนิกายเซนของญี่ปุ่น เพราะนิกายทั้งสองนั้น ได้มีความสัมพันธ์กับนักปฏิบัติโยคะตันตระของพระพุทธศาสนาในยุคกลาง ผู้ปฏิบัติจนบรรลุผลเหล่านี้เรียกตัวเองว่า สิทธะ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอินเดียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-11 พวกนี้เองเป็นผู้ประกาศคำสอนแบบตันตระวัชรยาน คัมภีร์ลึกลับและกวีนิพนธ์เป็นจำนวนมากของเขา ถูกทำลายเกือบหมด เมื่อประเทศอินเดียถูกพวกมุสลิมรุกราน แต่หนังสือเหล่านั้น ส่วนใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาธิเบต ประเพณีการบำเพ็ญโยคะ และสมาธิก็ถ่ายทอดกันเรื่อยมาเป็นเวลาหลายชั่วคน​
    อย่างไรก็ตาม ในอินเดีย ยังคงมีชนชั้นต่ำที่ปฏิบัติตันตระ โดยคลุกเคล้าไปกับประเพณีของคนเหล่านั้น จนในที่สุดก็หมดคุณค่ากลายเป็นลัทธิไสยศาสตร์ ซึ่งไม่ได้รับความเชื่อถือ จากนักปฏิบัติตันตระที่แท้จริง

    การปฏิบัติตันตระแต่เก่าก่อนของชาวพุทธ ได้มีอิทธิพลต่อศาสนาฮินดูอย่างมากมาย และความจริงจังของชาวฮินดูในการใช้การปฏิบัติตันตระ ส่งผลให้นักปราชญ์ในการต่อมาเข้าใจว่าตันตระนั้นเกิดจากฮินดู และนิกายต่ำๆของพระพุทธศาสนายอมรับและนำเข้ามาใช้ในภายหลัง

    จากหลักฐานที่ได้ค้นพบยืนยันว่า พระพุทธศาสนาได้มีการปฏิบัติตันตระกันแล้วตั้งแต่ มหาสังฆิกะยุคแรก ประมวลมนตราธารณีปิฎกของมหาสังฆิกะ ในหนังสือมัญชูศรีมูลกัลป์ปะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า เขียนขึ้นในตริสตศตวรรษที่ 1 ได้มีการกล่าวถึง มนตร์ ธารณี มณฑลและมุทรา เป็นอันมาก เป็นความครบถ้วนสมบูรณ์ของการปฏิบัติตันตระ ฉะนั้นการกล่าวว่าชาวพุทธชั้นต่ำยอมรับและนำเข้ามาซึ่งตันตระของฮินดูมาปนเปื้อน ในคริสตศตวรรษที่7-11 จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงเลย นักปราชญ์และผู้ปฏิบัติชาวพุทธได้ปฎิบัติตันตระมาก่อนฮินดูหลายศตวรรษ และก็มิใช่ปฏิบัติกันในหมู่ชาวพุทธชั้นต่ำ ผู้ที่ได้ศึกษาตันตระที่แท้จริงจึงรู้ว่า พุทธตันตระและฮินดูตันตระนั้น แม้มีคำเรียก คำกล่าว ที่คล้ายกัน และจุดประสงค์และการปฏิบัติต่างกันเป็นตรงกันข้าม

    อาจารย์ศังกร นักปรัชญาฮินดูผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ได้เรียบเรียงหนังสือไว้เป็นรากฐานของปรัชญาไศวะ ได้ยอมรับเอาทรรศนะของนาครชุนและสาวกของนาครชุนเป็นอันมาก จนชาวฮินดูผู้เคร่งครัดระแวงว่าเขาอาจเป็นสาวกลับๆของพระพุทธศาสนา ในทำนองเดียวกัน นักตันตระฮินดูก็ได้ยอมรับเอาวิธีการ และหลักการแห่งลัทธิตันตระของพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงใช้ตามความต้องการของตน ทรรศนะดังกล่าวนี้ไม่ใช่จะยอมรัรบกันแต่ในประเทศธิเบตเท่านั้น แม้นักปราชญ์ชาวอินเดีย เมื่อได้สำรวจตรวจสอบคัมภีณ์พระพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่เป็นภาษาสันสฤตยุคแรกๆ และได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์เหล่านั้น กับคัมภีร์ตันตระของฮินดู ในด้านประวัติศาสตร์ และความคิดแล้วก็ยอมรับทรรศนะนั้นเหมือนกัน

    ในหนังสือ “ลัทธิลึกลับของพระพุทธศาสนา” เบนอยโตช ภัตตาจารย์ ได้สรุปว่า “อาจกล่าวได้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่าพุทธศาสนิกชนเป็นพวกแรกที่สร้างลัทธิตันตระขึ้นในศาสนาขนตน ต่อมาพวกฮินดูได้ยืมตันตระนั้นไปจากพุทธศาสนิก จึงเป็นการไร้ประโยชน์ที่กล่าวว่า พระพุทธศาสนารุ่นหลังเป็นสาขาหนึ่งของศาสนาไศวะ”

    ออสติน แวดเดล เป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจผิดว่าลัทธิตันตระของฮินดู และของพระพุทธศาสนาใช้วิธีการทางไสยศาสตร์เหมือนกัน เขามักจะแสดงตัวเสมอว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาแบบธิเบต เขาแสดงความคิดเห็นว่า “ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากลัทธิบูชาผีสางเทวดา สิ่งที่เรียกกันว่า “มนตร์” และ “ธารณี” ก็คือคำพูดที่ไร้ความหมาย พิธีกรรมลึกลับของลัทธิตันตระ ก็เป็นเพียงการเล่นกลอย่างโง่ๆ โดยใช้ภาษาที่ไม่มีใครรู้เรื่อง และไร้ความหมาย ส่วนการบำเพ็ญโยคะแบบตันตระก็เปรียบเหมือน “กาฝาก” หรือ “ตัวพยาธิ” ซึ่งเติบโตแพร่หลายเร็วอย่างน่ากลัว แล้วก็บ่อทำลาย “ชีวิตอันร่อแร่” ของพระพุทธศาสนาบริสุทธิ์ที่มีอยู่บ้างในฝ่ายมหายาน คำสอนของมาธยมิก โดยใจความแล้ว ก็เป็นอุจเฉทวาทะที่ใช้เหตุผลผิดๆ กาลจักรก็ไม่สมควรจะถือเป็นระบบปรัชญา” (ความรู้และความเข้าใจในพุทธตันตระของไทยแต่แรกเริ่ม ได้รับจากการแปลหนังสือเรื่องพุทธศาสนาตันตระยานหรือวัชรยานของ ออสติน แวดเดลทั้งสิ้น ศรีภัทร)

    เพราะเหตุที่ชาวตะวันตกได้รับความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาแบบธิเบตเป็นครั้งแรกจาก “ผู้เชี่ยวชาญ” เช่นนั้น เขาจึงพากันรังเกียจเกลียดชัง ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง ผู้ทีศึกษาลัทธิตันตระ จากหนังสือที่ชาวตะวันตกเขียน ก็พลอยเกลียดลัทธินี้ตามชาวตะวันตกไปด้วย

    การใช้หลักตันตระของฮินดูโดยเฉพาะ หลักของลัทธิ “ศักดิ” มาตัดสินคำสอนหรือสัญลักษณ์ต่างๆของลัทธิตันตระ ในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมใช้ไม่ได้และเป็นการผิดพลาดย่างมหันต์ ทั้งนี้เพราะระบบทั้งสอง ใช้วิธีการหาเหตุผลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทั้งสองระบบจะใช้วิธีโยคะ ใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ปรัชญาเหมือนกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาเป็นอันเดียวกันกับศาสนาพราหรมณ์ เพราะฉะนั้น กมาใช้ความรู้ตันตระในศาสนาฮินดู มาตีความตันตระในพระพุทธศาสนา หรือการใช้ความรู้ตันตระในพระพุทธศาสนา ไปตีความตันตระในศาสนาฮินดูจึงไม่ถูกต้อง​
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนาแบบตันตระ

    (บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย)
    3
    ไม่มีใครกล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าทรงสอนผิด ในการที่ทรงยอมรับเทพเจ้าจากเทพนิยานฮินดู มาสนับสนุนคำสอนของพระองค์ หรือทรงใช้เทพเจ้าเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ ของความดีบางประการหรือเป็นสัญลักษณ์ของระดับแห่งการบำเพ็ญสมาธิ หรือทรงใช้เทพเจ้าเหล่านั้นเป็นตัวอย่างแห่งความเป็นผู้มีจิตใจสูง แต่ถ้าพวกนักตันตระจะเจริญรอยตามพระองค์บ้าง เขาเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้บ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์ เราจะเข้าใจหลักศาสนาใดๆ ไม่ได้ ถ้าเราไม่ศึกษาหลักศาสนานั้นๆด้วยจิตใจที่มีความศรัทธาและเคารพคุณธรรมเหล่านี้ ผู้ที่ได้รับการศึกษาแล้วย่อมจะมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะเปรียบเทียบระบบส่วนตัวของนักปราชญ์ แต่ละคนกาบลักษณะที่คล้ายคลึงกันในระบบอื่น เราต้องพิจารณาดูว่านักปราชญ์เหล่านั้น มีพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างไร เขาสร้างทฤษฎีขึ้น โดยขัดแย้งกับความเป็นจริงของเขาหรือไม่ เพราะความจริงของสองสิ่งที่ดูเผินๆแล้วเหมือนกัน เมื่อพิจารณาดูให้ลึกซึ้ง มักจะมีความแตกต่างกันมาก การก้าวขึ้นในแง่หนึ่ง อาจเป็นการก้าวลงในอีกแง่หนึ่ง เพราะฉะนั้นคัพท์ปรัชญาต่างๆ ก็ดี ภาพพจน์ต่างๆก็ดี อาจจะมีคุณค่าในแง่อื่นแต่ในที่นี้หามีคุณค่าอันใดไม่

    เราเห็นด้วยกับท่านภัตตาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านกล่าวว่า “เมื่อมองดูแต่เพียงภายนอก ตันตระของพระพุทธศาสนากับตันตระของฮินดู ละม้ายคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว ตันตระทั้งอสงนั้นไม่เหมือนกันเลย ทั้งในด้านสาระสำคัญ ทั้งในด้านคำสอนทางปรัชญา ทั้งในหลักศาสนา ข้อนี้ไม่ต้องสงสัย เพราะจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของพุทธศาสนิกกับพวกฮินดูแตกต่างกันอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้”

    ความแตกต่างที่สำคัญก็คือ ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ลัทธิศักดิ ในพระพุทธศาสนานั้น ความคิดเรื่องศักติ เรื่องอำนาจทิพย์ เรื่องสตรีเพศ ของเทพเจ้าสูงสุด (พระศิวะ) หรือเรื่องสิ่งต่างๆที่เกิดมาจากพระศิวะไม่ได้มีอยู่เลย ตรงกันข้ามในตันตระของฮินดู ความคิดเรื่องอำนาจ(ศักติ) เป็นจุดรวมแห่งความสนใจที่สำคัญ ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญของพระพุทธศาสนาแบบตันตระอยู่ที่ปัญญา

    สำหรับพุทธศาสนิกแล้ว ศักติเป็นเพียงมายาคือ อำนาจที่สร้างความลวงขึ้น ซึ่งเราจะพ้นไปได้ก็ด้วยปัญญาเท่านั้น เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกจึงไม่ปรารถนาอำนาจ หรือรวมตนเองเข้าอำนาจของเอกภพ ไม่ว่าเพื่อเป็นนายรหือเป็นทาสของอำนาจเหล่านั้น แต่ตรงกันข้าม พุทธศาสนิก พยายามเปลื้องตนให้พ้นจากอำนาจเหล่านั้น เพราะอำนาจเหล่านั้นทำให้เขาต้องตกเป็นทาสของสังสารวัฏฏ์มาเป็นเวลานับไม่ถ้วน เขาพยายามกำหนดรู้อำนาจเหล่านั้น ซึ่งทำให้เขาเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร ทั้งนี้ก็เพื่อเปลื้องตนให้พ้นไปจากวัฏฏสงสารนั้น แต่เขาก็ไม่ได้พยายามจะทำลายอำนาจเหล่านั้น เพียงแต่จะเปลี่ยนให้มันไปเป็นประทีป คือปัญญา เพื่อว่ามันอาจกลายเป็นกำลังแห่งความตรัสรู้ ซึ่งแทนที่จะสร้างความแตกต่างกันต่อไป ก็ทำให้เกิดเอกภาพ ความกลมกลืนและความสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ของตันตระฮินดูนั้น ถ้าไม่ตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนาก็แตกต่างกันมากทีเดียว “กุลจุฑามณีตันตระ” แสดงว่า “เมื่อรวมเข้ากับศักติแล้ว จะเพียบพร้อมไปด้วยอำนาจ” “เพราะการรวมกันของพระศิวะกับศักตินั้นเอง โลกจึงถูกสร้างขึ้น” ตรงกันข้ามพุทธศาสนิก ไม่ต้องการสร้างโลก แต่ต้องการ ศูนยตา ซึ่งเป็นสภาวะไม่มีอะไรสร้าง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง การสร้างทั้งปวงไม่เกี่ยวกับคูนยตา หรือ ศูนยตามีอยู่ก่อนการสร้างและพ้นจากการสร้างทั้งปวง

    การรู้ศูนยตานี้ เป็นปัญญาหรือความรู้สูงสุด การบรรลุความรู้สูงสุดนี้ คือตรัสรู้ กล่าวคือ ถ้าปัญญา (ศูนยตา) หรือคุณธรรมฝ่ายสตรี ซึ่งเป็นสภาวะสถิต และครอบงำสิ่งทั้งปวง เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งทั้งปวง และเป็นที่รวมลงแห่งสิ่งทั้งปวงได้กลมกลืนกับคุณธรรมฝ่ายบุรุษ ซึ่งเป็นสภาวะจลนะอันมีความรักและความกรุณาไม่มีประมาณ เป็นอุบายเพื่อบรรลุปัญญาและศูนยตาแล้ว บุคคลก็จะบรรลุความเป็นพุทธะโดยสมบูรณ์ ปัญญาที่ปราศจากศรัทธา ความรู้ปราศจากความรัก และเหตุผลที่ปราศจากความกรุณา ย่อมนำไปสู่ความศูนย์เปล่า ความร้ายแรงความสลายแห่งจิตใจ และความว่างเปล่า ส่วนศรัทธาที่ปราศจากเหตุผล ความรักที่ปราศจากความรู้ และความกรุณา ที่ปราศจากปัญญา ย่อมนำไปสู่ความยุ่งยาก ความเสื่อมสลาย แต่ในที่ใดคุณธรรมทั้งสองฝ่ายรวมกันในที่ใด ความกรุณากับเหตุผลรวมกัน ศรัทธากับปัญญารวมกัน ความรักสูงสุดกับความรู้สึกซึ้งที่สุดรวมกัน ในที่นั้นย่อมมีความสมบูรณ์ และบรรลุความตรัสรู้อันสูงสุด

    เพราะฉันนั้น กระบวนการแห่งความตรัสรู้จึงแสดงด้วยสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด มี่มนุษยธรรมที่สุดและสากลที่สุด นั่นคือ การรวมกันระหว่างชายกับหญิง ด้วยความรักอันสุงสุด ในความรักนั้น อุบายแสดงเป็นเพศชาย ปัญญาแสดงเป็นเพศหญิง ตรงกันข้ามกับตันตระของฮินดู ซึ่งศักติแสดงเป็นสตรี และศิวะแสดงเป็นบุรุษ

    ในการใช้สัญลักษณ์ของพุทธศาสนานั้น ผู้รู้(พุทธะ) รวมเป็นอันเดียวกันกับความรู้ของตน เช่นเดียวกับบุรุษและภรรยาของเขา รวมเป็นอันเดียวกันด้วยความรัก และการรวมเป็นอันเดียวกันนี้ ก่อให้เกิดความสุขสูงสุดอันอธิบายไม่ได้ เพราะฉะนั้น ธยานีพุทธะ (พระพุทธเจ้าในอุดมคติซึ่งปรากฏในการทำสมาธิ) และธยานีโพธิสัตว์จึงถูกแสดงว่ารวมกับปัญญาของตน ปัญญานั้นใช้สัญลักษณ์แทนเป็นรูปเทพี ซึ่งเป็นที่รวมแห่งความรู้อันสูงสุด ส่วนธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์ใช้สัญลักษณ์แทนรูปเทพเจ้า ซึ่งเป็นที่รวมแห่งอุบายให้ถึงความตรัสรู้หรือเป็นที่รวมแห่งความรัก และความกรุณาหาประมาณมิได้​
    นี้ไม่ได้เป็นการกลับสัญลักษณ์ของฮินดูตามใจชอบ แต่เป็นการเป็นการประยุกต์หลักซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อระบบตันตระ ของพระพุทธศาสนาทั้งหมด เพราะในสัญลักษณ์ของฮินดูนั้น “ความเป็นทิพย์แสดงด้วยสัญลักษณ์เพศชาย การเข้าถึงความเป็นทิพย์ แสดงด้วยสัญลักษณ์เพศหญิง สัญลักษณ์ทั้งสองนั้นจะต้องแสดงอย่างชัดเจน มิฉะนั้นเพศแห่งความคิด ซึ่งเขามุ่งหมายจะแสดงให้เป็นรูปธรรมในพระพุทธศาสนา จะไม่ลงรอยกับสัญลักษณ์ของฮินดู”

    ในทำนองเดียวกัน ตันตระของฮินดูเป็นการประยุกต์ความคิดสำคัญๆของศาสนาฮินดูซึ่งมีอยู่เท่ากัน แม้ว่าตันตระเหล่านั้น เลียนแบบวิธีการของพุทธศาสนา ทุกแห่งที่จะเหมาะกับความประสงค์ของเขา แต่วิธีอันเดียวกันเมื่อนำไปประยุกต์ด้วยทรรศนะตรงกันข้าม ก็ต้องนำไปสู่ผลอันตรงกันข้าม อย่างแน่นอน ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลทางไสยศาสตร์เช่นนั้น เพื่อให้ลงรอยกับเพศทางไวยากรณ์ คือปัญญา (เพศหญิง) และ อุบาย (เพศชาย)

    แต่การหาเหตุผลเช่นนั้น เป็นเพียงผลของการเดาผิดๆ ว่า ตันตระในพระพุทธศาสนาเลียนแบบมาจากตันตระของฮินดู ถ้าเราสามารถเปลื้องตนเองจากความเข้าใจผิดนี้ได้เร็วเท่าใด ก็เห็นได้ชัดเจนเท่านั้นว่า ทรรศนะเรื่องศักตินั้น มิได้มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเลยๆ

    พวกเถรวาทจะตกใจ ถ้าคำว่า อนัตตา (สันกฤตเรียกอนาตมัน) ถูกแปลความหมายในในทางตรงกันข้าม คือ ให้มีความหมายเหมือนกับคำว่าอาตมันของพราหมณ์ หรืออธิบายไปในทำนองว่า พวกเถรวาทยอมรับความคิดเรื่องอาตมัน (เนื่องจากพระพุทธศาสนา เป็นเพียงสาขาหนึ่งของศาสนาพราหมณ์) ฉันใด พุทธศาสนิกชาวธิเบตก็ฉันนั้น จะรู้สึกตกใจ เมื่อมีใครมาตีความหมายศาสนาของเขาผิดๆว่า เหมือนศักติของฮินดู เพราะคำว่าศักติไม่เคยใช้ในคัมภีร์ของธิเบต และคำว่าศักตินั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาต้องการแสดงโดยใช้ศัพท์ว่า ปัญญาหรือสตรีเพศ ซึ่งเป็นคู่กับธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์

    ระบบเทวนิยมสุดโต่ง ซึ่งเต็มไปด้วยความคิด เรื่องพระเจ้าผู้สร้างนี้ใครๆ ไม่อาจจะเปลี่ยนมาเป็นระบบอเทวนิยม ซึ่งปฏิเสธเรื่องพระเจ้าผู้สร้างอย่างเด็ดขาด ตามอำเภอใจได้ ด้วยความสับสนในการใช้ศัพท์ จึงได้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นว่า อภิพุทธะของตันตระยุคต่อมานั้น หาใช่อะไรอื่นไม่ หากแต่เป็นพระเจ้าผู้สร้างในรูปใหม่ ซึ่งนับว่าทรรศนะเช่นนี้ตรงกันข้ามกับทรรศนะในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม อภิพุทธะก็เป็นสัญลักษณ์แห่งสกลภาพอกาลิกภาพ และสัมบูรณภาพแห่งดวงจิตอันตรัสรู้แล้ว หรืออย่างที่ กูเอนเธอร์ กล่าวไว้อย่างห้าวหาญว่า “คำพูดที่ว่าเอกภาพหรือมนุษย์เป็นอภิพุทธะ เป็นเพียงการแสดงประสบการณ์ทั่วไป ที่ยังไม่ชัดเจนพอ อันที่จริงอภิพุทธะไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า ผู้เอาโลกเป็นกระดานหมากรุก และเล่นหมากรุกเพื่อฆ่าเวลาของพระองค์ อภิพุทธะไม่ใช่เอกเทวนิยม อันจะเพิ่มเติมจากพระพุทธศาสนาอเทวนิยมยุคแรก ความเข้าใจเช่นนั้น เป็นความผิดพลาดของนักนิรุกติศาสตร์ พระพุทธศาสนาไม่นิยมสร้างทฤษฎี แต่พยายามขุดค้นลงไปในห้วงลึกแห่งจิตของเรา และพยายามทำแสงอันริบหรี่ ให้สว่างจ้าไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นอภิพุทธะ ถ้าจะแปลให้ถูกต้องอย่างที่สุด ก็ต้องแปลว่า “ผู้เปิดเผยธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์”

    เพราะความสับสนระหว่าง ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา กับลัทธิศักติในตันตระของฮินดู จึงได้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังไม่เข้าใจ พระพุทธศาสนาแบบวัชรยานและสัญลักษณ์ของวัชรยาน ทั้งภาพเขียนและคัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์เรื่องสิทธะ มาจนกระทั่งทุกวันนี้ คัมภีร์สิทธะนั้นใช้สัญลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่ง คือสิ่งที่สูงที่สุดแสดงในรูปของสิ่งที่ต่ำที่สุด สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแสดงในรูปของสิ่งที่ธรรมดาสามัญที่สุด สิ่งที่เป็นโลกุตตระ แสดงในรูปของสิ่งที่เป็นโลกีย์อย่างที่สุด ความรู้อันลึกซึ้งที่สุด แสดงด้วยถ้อยคำที่เปิ่นๆที่สุด การแสดงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นภาษาของนักปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการแสดงให้คนทั่วๆไป รู้สึกทึ่งและงงงวย ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็น ในการสร้างวุฒิปัญญาทางศาสนา และปรัชญาในสมัยนั้น

    พระพุทธเจ้า ทรงปฏิวัติประเพณีนิยม ที่แสดงความใจแคบ คือให้อภิสิทธิแก่พวกพราหมณ์ฉันใด พวกสิทธะก็ปฏิวัติความสุขสบายของตนเองคือ การอยู่ในวัดที่มุงบัง อันเป็นเหตุไม่ให้รู้ความจริงฉันนั้น ภาษาของพวกเขา เป็นภาษาที่ผิดธรรมดาสามัญ เช่นเดียวกับชีวิตของพวกเขา ผู้ที่ถือเอาคำพูดของเขาตามตัวอักษร ถ้าไม่ปฏิบัติผิด โดยพยายามแสวงหาอำนาจทางไสยและความสุขทางโลก ก็จะต้องเลิกปฏิบัติ เพราะเห็นคำดุพระพุทธเจ้าด่าบูรพาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกอะไร ที่พอพระพุทธศาสนาเสื่อมศูนย์ไปจากอินเดีย คัมภีร์นั้นก็ถูกลืม หรือกลายเป็นลักทธิตันตระที่ถือความสัมพันธ์ทางเพศเป็นสำคัญ

    ไม่มีอะไรผิลพลาดยิ่งไปกว่า การยึดถือว่าการปฏิบัติทางจิตของตันตระในพระพุทธศาสนา เหมือนกับลัทธิตันตระอันเสื่อมทรามดังกล่าวข้างต้น ตันตระในพระพุทธศาสนานั้น เราจะรู้ลึกซึ้งไม่ได้โดยการศึกษาเพียงทฤษฎีกล่าวคือ เพียงทำการเปรียบเทียบหรือศึกษาคัมภีร์เก่าแก่ หากแต่เราจะรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติ ด้วยการเข้าถึงประเพณีของตันตระซึ่งยังคงมีอยู่ และด้วยวิธีทำสมาธิ อย่างที่ปฏิบัติกันในธิเบต มงโกเลีย และในนิกายบางนิกายของญี่ปุ่น เช่น นิกายชินงอน นิกายเทนได เป็นต้น เกี่ยวกับนิกายทั้งสองที่กล่าวนั้น เกลสแนป ได้ให้ข้อสังเกตว่า “พระโพธิสัตว์ที่เป็นสตรี ซึ่งปรากฏรูปในหนังสือ มัณฑละ เช่นปรัชญาปารมิตา และจุณฑิ เป็นบุคคลที่ไม่มีเพศ และยึดถือกันมาแต่โบราณว่า พระโพธิสัตว์เหล่านี้ งดเว้นความสัมพันธ์ทางเพศอย่างเด็ดชาด” ในเรื่องนี้นิกายทั้งสองแตกต่างจากนิกายต่างๆในเบงกอล เนปาลและธิเบตซึ่งย้ำถึงหลักธรรมฝ่ายบุรุษและสตรี​
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธศาสนาแบบตันตระ

    (บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย)
    4
    การพูดถึงเบงกอล เนปาล และธิเบตรวมกันในที่นี้แสดงว่า ลัทธิตันตระในเบงกอล และเนปาลมีลักษณะเหมือนกับลัทธิตันตระในธิเบต แม้ผู้เขียนจะเห็นความจำเป็นในการอธิบาย ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ลัทธิตันตระกับลัทธิศักดิ แต่เขาก็ยังอธิบายไม่ชัดเจนพอ เพราะลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา ก็ใช้สัญลักษณ์เป็นบุรุษเพศและสตรีเพศเหมือนกัน แต่หาได้ตั้งหลักธรรมฝ่ายสตรีขึ้น เหมือนลัทธิศักติไม่ กลับใช้ตรงกันข้ามกับลัทธิศักติ เช่นปัญญา วิทยา หรือมุทรา ตามที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นการปฏิเสธความคิดของ ลัทธิศักติ และลัทธิเพศสัมพันธุ์

    แม้ว่าหลักธรรมฝ่ายสตรี และฝ่ายบุรุษจะเป็นที่ยอมรับกันในลัทธิตันตระแห่งวัชรยาน และเป็นส่วนสำคัญแห่งสัญลักษณ์ของวัชรยาน แต่วัชรยานก็ตรงกันข้ามกับลัทธิฝักใฝ่ในกามรมณ์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายบวกกับเครื่องหมายลบ ฉะนั้นการใช้หลักธรรมสตรี และฝ่ายบุรุษ จึงนับว่ามีหลักฐานทั้งในทรรศนะที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล

    ในธิเบต ธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์ทั้งที่เป็นบุรุษ และสตรีถือกันว่า เป็นบุคคลที่แทบไม่มีความรู้สึกทางเพศ ในนิกายต่างๆของญี่ปุ่นที่ได้กล่าวข้างต้นก็ถืออย่างนี้เหมือนกัน สำหรับชาวธิเบตแล้ว แม้การรวมกันของธยานีพุทธะเหล่านั้น มีความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับความจริงอันสูงสุด ในการปฏิบัติเพื่อความตรัสรู้ ฉะนั้นจึงเป็นการพ้นจากความสัมพันธ์กับกามารมณ์ทางกายโดยสิ้นเชิง

    เราต้องไม่ลืมว่า ภาพแสดงของสัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นภาพมนุษย์ หากแต่เป็นการแสดงประสบการณ์ และญาณทัสสนะในการทำสมาธิ ให้เป็นรูปร่างขึ้น ในสภาวะเช่นนั้น ไม่มีอะไรที่เอาจเรียกได้ว่ากามารมณ์ มีแต่เพียงธรรมชาติสองประการ ซึ่งควบคุมการทำงานทั้งกายและทางใจ ธรรมชาติ2ประการนั้น จะข้ามพ้นได้ก็เฉพาะในสภาวะที่มันรวมกันในที่สุด กล่าวคือในการบรรลุศูนยะตา นี้เป็นสภาวะซึ่งเรียกว่า “มหามุทรา” ซึ่งเป็นชื่อระบบการทำสมาธิระบบหนึ่งในธิเบต ในลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาแบบอินเดียยุคแรกๆ มหามุทราถูถือว่าเป็นสตรีเพศอันนิรันดร ดังจะเห็นได้จากคำจำกัดความของ อัทวยวัชระ ว่า “คำว่า มหา กับ มุทรา รวมกันเป็นคำว่า มหามุทรา มหาทุราไม่ใช่อะไรสิ่งหนึ่ง แต่พ้นจากการครอบงำของ สิ่งอันมองเห็นได้ มหามุทราส่องแสงเหมือนกับท้องฟ้าอันสงบในเวลาเที่ยงระหว่างฤดูใบไม้ร่วง มหามุทราเป็นเครื่องสนับสนุนความสำเร็จทั้งมวล มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งสังสารวัฏฏ์กับนิพพาน มหามุทรา คือความกรุณาซึ่งไม่จำกัดอยู่แก่วัตถุสิ่งใด มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งความสุขอันยิ่งใหญ่

    แม้ในหนังสือ ปรัชโญบายวินิศจัยสิทธิ ของอนังควัชระ จะกล่าวว่า “สาธกะควรได้รับการบำเรอจากสตรีทุกคน เพื่อได้เสวยมหามุทรา” แต่ข้อความนี้ ก็เข้าใจไม่ได้ด้วยความหมายทางกาย แต่อาจประยุกต์ได้กับความรักชั้นสูง ซึ่งไม่จำกัดอยู่ในวัตถุสิ่งเดียวและซึ่งสามารถมองเห็นคุรภาพของสตรีทั้งปวง ไม่ว่าในตัวเราเอง หรือในผู้อื่น เช่นคุณภาพของทิพยมารดา (ปรัชญาปารมิตา หรือโลกุตตรปัญญา)​
    ข้อความอีกตอนหนึ่ง มีใจความน่าตกใจ ซึ่งจะถือตามตัวอักษรไม่ได้ ข้อความนั้นมีอยู่ว่า “สาธกะผู้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับมารดาของตนเอง กับพี่สาวน้องสาวของตนเอง กับบุตรสาวของตนเอง และกับหลานสาวของตนเอง จะประสบความสำเร็จในความพยายาม เพื่อจุดหมายปลายทางขั้นสุดท้ายอย่างง่ายดาย”

    การยึดถือคำว่า มารดา พี่สาวน้องสาว บุตรสาว และหลานสาวตามตัวอักษรในเรื่องนี้ เป็นสิ่งไร้ความหมาย เหมือนอย่างถือเอาตามตัวอักษรในคาถาธรรมบท (คาถาที่294) ว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา มารดาพระราชา ผู้กษัตริย์ 2 พระองค์ และทำลายราชอาณาจักรพร้อมด้วยประชาชนแล้ว จะเป้นพราหมณ์ พ้นจากบาปทั้งปวง” ในคาถาธรรมบทนั้น คำว่าบิดามารดาหมายถึงอัสมิมานะและตันหา พระราชาสองพระองค์หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ ราชอาณาจักรพร้อมด้วยประชาชน หมายถึงอายตนะ 12 และพราหมณ์ หมายถึงภิกษุผู้หลุดพ้น

    การกล่าวว่า พุทธศาสนิกฝ่ายตันตระ ส่งเสริมให้มีการ่วมเพศระหว่างญาติ และส่งเสริมสิ่งที่ผิดศีลธรรมย่อมเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะ เช่นเดียวกับการกล่าวหาพุทธศาสนิกฝ่ายเถรวาทว่า ทำมาตุฆาต ปิตุฆาตและประกอบอาชญากรรมอันร้ายแรงอื่นๆ ถ้าเราพยายามสำรวจประเพณีตันตระ ตามแบบแผนที่แท้จริง ดังที่มีอยู่ในวัดและอาศรมของธิเบตนับเป็นจำนวนพันๆแล้วเราจะเห็นว่า การที่ทฤษฎีปัจจุบันพยายามดึงตันตระลงมาหาความเกี่ยวข้องกับกามารมณ์นั้น เป็นการกระทำที่ผิดและไร้ค่าอย่างสิ้นเชิง ตามทรรศนะของลัทธิตันตระ ข้อความที่กล่าวแล้วข้างต้น จะมีความหมายก็เฉพาะในการใช้ศัพท์ทางโยคะเท่านั้น​
    สตรีทุกคนในโลก มีธาตุทุกอย่าที่รวมกันเข้าเป็นหลักธรรมฝ่ายสตรีซึ่งเป็นแหล่งก่อกำเนิดของบุคคลทั้งทางจิตและทางกาย อันตรงกับสิ่งที่พระพุทะ เจ้าตรัสเรียกว่า “โลก” ส่วนฝ่ายตรงกันข้าม ก็มีหลักธรรมฝ่ายบุรุษมีจำนวนเท่านกับหลักธรรมฝ่านสตรีเหล่านั้น หลักธรรมฝ่ายสตรี 4 ประการ ได้แก่ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และสิ่งที่เป็นคู่กับธาตุเหล่านี้ คือ จิตตจักร หรือระดับวิญญาณในร่างกายมนุษย์ในจิตตจักรแต่ละขั้น จะต้องมีการรวมกัน ระหว่างหลักธรรมฝ่ายบุรุษกับหลักธรรมฝ่ายสตรี ก่อนที่จะถึงขั้นที่ 5 อันเป็นขั้นสูงสุด ถ้าเราประยุกต์ คำว่ามารดา พี่สาว น้องสาว บุตรสาว เป็นต้น กับคุณธรรมสำคัญของมหาภูตธาตุอันทรงพลังเหล่านี้ เราจะเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง แทนที่จะต้องแสวงหา การรวมกันกับสตรีภายนอกตัวเรา เราก็แสวงหาสตรีจากภายในตัวเราเอง โดยรวมธรรมชาติฝ่ายบุรุษกับสตรีเข้าด้วยกันโดยการทำสมาธิ ข้อนี้แสดงไว้ชัดเจนแล้วในหลัก 6 ประการของติโลปะหลัก 6 ประการนี้ เป็นรากฐานแห่งวิธีบำเพ็ญโยคะที่สำคัญที่สุดของ นิกาย กาจูปา และเป็นหลักที่มิลาเรปาใช้ปฏิบัติ แม้ว่าเราไม่อาจอธิบายรายละเอียดของโยคะนี้ได้ แต่เราได้คัดลอกข้อความสั้นๆมาพิสูจน์ความเป็นของเราดังนี้

    “อำนาจของขันธ์ 5 ตามธรรมชาติอันแท้จริง เป็นพุทธภาวะเพศชายซึ่งปรากฏทางจิตประสาทฝ่ายซ้าย อำนาจของธาตุ 5 ตามธรรมชาติอันแท้จริง เป็นพุทธภาวะเพศหญิง อันปรากฏทางจิตประสาทฝ่ายขวา เมื่ออำนาจอันประกอบด้วย พุทธภาวะทั้งสองรวมกันลงมาสู่ประสาทกลาง ความตรัสรู้ก็ค่อยๆ เกิดขึ้น” บุคคลผู้ตรัสรู้นั้นก็ได้บรรลุพรพิเศษของมหามุทรา คือการรวมกันของบุรุษเพศและสตรีเพศ (อุบาย และปัญญา) ในพุทธภาวะอันสูงสุด

    ดังนั้น เพียงเราสามารถเห็นความสัมพันธ์ ระหว่างร่างกายกับจิตใจ เห็นปฏิกิริยา ระหว่างร่างกายกับจิตใจโดยได้สัดส่วนกันพอดี และสามารถเอาชนะ “ตน” และ “ของตน” ความรู้สึกเห็นแก่ตัว และทรรศนะที่แฝงไว้ด้วยความเห็นแก่ตัว ตลอดถึงความรังเกียจเดียดฉันท์ อันก่อให้เกิดมายา คือตัวตนแยกๆ กัน เราก็บรรลุพุทธภาวะได้

    ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่วิวิฒนาการมาจากนิกายวิชญาณวาท และโยคาจารเท่านั้น ยังเป็นผลทางตรรกวิทยา และผลสุดท้ายของหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา กล่าวคือกฎปฏิจจสมุปบาท แม้อริยสัจจ์ 4 และมรรคมีองค์ 8 จะเป็นพหุลานุสาสนีของพระพุทธเจ้า แต่ก็เป็นหลักทั่วๆไป ไม่ได้สร้างแนวคิดทางศาสนาขึ้นใหม่ ความจริงเรื่องทุกข์และความจริงว่า ทุกข์อาจดับได้ด้วยการดับความอยาก อันประกอบด้วยความเห็นแก่ตัว (ตัณหา) นั้น เป็นหลักทั่วไปในศาสนาต่างๆของอินเดีย คือ ในศาสนาอื่น ก็มีสอนเหมือนกัน มรรคมีองค์ 8 ก็เป็นการกล่าวซ้ำ สิ่งที่นักปฏิบัติชาวอินเดียเชื่อถือกันอยู่แล้ว หรือเป็นการกล่าวซ้ำสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า เป็นหลักทั่วไปของคนที่นับถือศาสนา โดยไม่จำกัดว่าศาสนาใดๆ

    แต่การที่พระพุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นหรือ เด่นกว่าศาสนาอื่นทั้งหมดอยู่ที่ ทรรศนะว่า โลกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าผู้สร้าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา หากแต่ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความสัมพันธ์ ระหว่างวัตถุกับจิตใจ หรือกฎปฏิจจสมุปบาท กฎนี้ไม่ใช่เพียงเหตุผลที่สืบเนื่องกันเป็นสายโซ่ ซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับประยุกต์กับความเป็นไปในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็นทรรศนะที่แสดงว่า ไม่มีอะไรแยกอยู่เป็นหน่วยหนึ่งในตัวเอง หรือโดยตัวเองในกาลหรือในอวกาศ แต่ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ และเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ดังนั้นเราจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามัน “มี” หรือ “ไม่มี” “เป็น” หรือ “ไม่เป็น”

    สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า “ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้ติดอยู่กับสิ่งสองประการคือ “ความมี” และ “ความไม่มี” ผู้ใดเห็นความเกิดขึ้น ของสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความไม่มี” อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น ดูก่อนกัจจานะ ผู้ใดเห็นความดับของสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความมี” อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น

    จากพระพุทธดำรัสนี้ ทำให้เราสามารถเข้าใจคำสอน เรื่องอนัตตาของพระพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น เมื่อพระอัสสชิ ได้รับคำขอร้องจากพระสารีบุตร ให้ย่อคำสอนของพระพุทธเจ้าลงในคาถาเดียว ท่านจึงไม่กล่าวถึง อริยสัจจ์ 4 หรือมรรคมีองค์ 8 แต่กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมที่ลึกซี้งที่สุด และเมื่อนาครชุนได้พื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านก็ได้ใช้กฎปฏิจจสมุปบาทเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏอยู่ในคาถาแห่งหนังสือ มูลมัธยมก

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท อันไม่มีความดับ ไม่มีความเกิด ไม่มีความขาดศูนย์ ไม่มีความยั่งยืน ไม่ใช่สิ่งเดียว ไม่ใช่หลายสิ่ง ไม่มีการมา ไม่มีการไป เป็นความสงบกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นสิ่งประเสริฐ ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ประเสริฐกว่าศาสดาทั้งปวง

    คำว่า “ประปัญจะ” หรือ “กิเลสเครื่องเนิ่นช้า” หรือความเป็นไปต่างๆ” นี้เป็นไวพจน์ของคำว่า “มายา” หรือ “ความลวงอันเกิดจากศักติ” หรือ “อำนาจสร้างโลกอย่างไม่ลืมหูลืมตา” อำนาจนี้เองที่นำเราดิ่งลงไปในความมีความเป็น และความเกิดความตาย เราจะต้องตกอยู่ในอำนาจของมายานี้เรื่อยไป ถ้าเราไมม่สร้างปัญญา หรือความรู้เห็นธรรมดาของโลกตามเป้นจริงให้เกิดขึ้น การเห็นโลกตามความเป็นจริง ก็หมายถึการเห็นตัวเราเองตามความเป็นจริง เพราะธรรมดาของโลก ไม่ได้แตกไปจากธรรมดาของตัวเองโลกภายในและโลกภายนอก ถ้าจะเปรียบก็เหมือนผ้าผืนเดียวกัน มีสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นชั้นนอกอีกด้านเป็นชั้นใน แต่ทั้งสองด้านนั้นก็ทอด้วยด้ายเส้นเดียวกัน โลกภายในและโลกภายนอกก็มีสภาพเช่นนั้น เพราะประกอบด้วยสิ่งอันเดียวนั่นเอง

    ความคิดเช่นนี้ ไม่มีที่ใดแสดงไว้อย่างห้าวหาญ เหมือนในตันตระของพระพุทธศาสนา คำว่า “ตันตระ” เองก็หมายความว่าผสม คือสิ่งผสมทั้งหลายกับการกระทำเข้าด้วยกันหรือการอาศัยกันของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่หรือความสืบต่อกันของเหตุและผลเป็นลูกโซ่ หรือความคลี่คลายขยายตัวของประเพณี ซึ่งเหมือนกับเส้นด้าย รวมกันเข้าเป็นผืนผ้านั้นเอง เพราะฉะนั้นคำว่า “ตันตระ” จึงหมายถึง ประเพณี หรือสันตติ ของวิญญาณ อย่างไรก็ตาม คัมภีร์ซึ่งมีชื่อว่า “ตันตระ”ในพระพุทธศาสนามีคำสอนลึกลับต่างๆ และพยายามจะสร้างความสัมพันธ์ภายในระหว่างสิ่งทั้งหลาย โดยการฝึกหัดจิตในการฝึกหัดนั้น ยันตระ มันตระ และมุทรา รูปเสียง และสัมผัส กับ กาย วาจา และใจ จะต้องร่วมกัน เพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ขั้นสุดท้ายหรือความตรัสรู้

    ดังนั้นในการใช้ศัพท์ต่างๆของ คุรุกัมโปปะ จึงอาจกล่าวได้ว่า ตันตระในพระพุทธศาสนามีปรัชญา ที่ประมวลความรู้ทั้งหมดไว้ คือเป็นระบบการทำสมาธิ ซึ่งสร้างจิตตานุภาพให้เกิดขึ้น หรือเป็นศิลปะแห่งการครองชีพที่เราสามารถใช้กาย วาจา ใจ ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินไปสู่ความหลุดพ้น​
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ลัทธิตันตระกับวิถีไทย

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
    โดย ราม วัชรประดิษฐ์



    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); webkit-text-size-adjust: auto; widows: 2; orphans: 2; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#e0e0e0>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในความรับรู้ของคนทั่วไปนั้น "ลัทธิตันตระ" หรือ "ตันตริก" เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาแบบมหายานที่เผยแพร่อยู่ทั่วไปในทิเบต ภูฏาน จีน ซึ่งจะมีการสร้างรูปเคารพในลักษณะแปลกประหลาดกว่าทางหินยานหรือเถรวาท เช่น มักผนวกเอาเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ให้ปรากฏในการสร้างพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ พระนางตาราอันเป็นชายาของพระโพธิสัตว์ จนบางกลุ่มถูกเรียกว่า "นิกายมนตรยาน" ก็มี

    ความจริงแล้วคำว่า ตันตระ (Tantra) หมายถึง ความรู้และการริเริ่ม ซึ่งจะให้ความสำคัญต่อการแสดงออกทางร่างกายในท่าทางต่างๆ ที่เรียกว่า "ปาง" เป็นสำคัญ ความเชื่อในตันตระนั้นเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคพระเวทของอินเดียโบราณ นอกจากการที่พราหมณ์จะรจนา คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท แล้วยังเพิ่มส่วนที่เรียกอาถรรพเวทขึ้นมาอีก ซึ่ง "อาถรรพเวท" นี่เองเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดแบบตันตระ ในเรื่องของการบูชาเทวะด้วยวิธีการต่างๆ โดยมุ่งเน้นไปทางอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ซึ่งส่วนหนึ่งได้กลายมาเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ดังนั้นความเชื่อเรื่องตันตระในศาสนาฮินดูนั้นจะเป็นเรื่องของการใช้เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลัง การปลุกเสกด้วยการพร่ำบ่นสรรเสริญเทพเจ้า รวมไปถึงการแสดงออกทางร่างกายเพื่อบูชาเทวะ เช่น การร่ายรำ การร่วมเพศ การบูชายัญ เป็นต้น
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); webkit-text-size-adjust: auto; widows: 2; orphans: 2; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=5 cellPadding=0 width=360 align=right border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#e0e0e0>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ดังนั้น แนวคิดแบบตันตระก็จะเข้าไปปะปนอยู่กับลัทธินิกายต่างๆ ที่บูชาเทพเจ้า เช่น ไศวนิกาย ไวษณพนิกาย และศักตินิกาย โดยเฉพาะ "ศักตินิกาย" นั้นเป็นการเทิดทูนเทวสตรี เช่น พระแม่อุมา พระลักษมี พระสุรัสวดี เป็นใหญ่ ให้ความสำคัญต่ออิตถีเพศโดยการบูชา "โยนี" โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตในจักรวาลควบคู่กับศิวลึงค์ ซึ่งพวกนับถือ ลัทธิศักตินั้น ได้นำเอาแนวคิดแบบตันตระเข้าไปปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น พวกทักษิณาจาริณ คือผู้บูชาเทพและเทวีอย่างสุภาพ ส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า วามาจาริณ คือพวกบูชาเทพและเทวีด้วยการประกอบพิธีลับ เช่น พิธีกาฬจักรบูชา เพื่อสรรเสริญศักติของพระแม่อุมาในปางพระแม่กาลี และพระแม่ทุรคา โดยการบูชายัญด้วยเลือดของมนุษย์และสัตว์

    นอกจากนี้ยังมีพิธีบูชาด้วยพรหมจรรย์ของหญิงสาวโดยเชื่อว่าเป็นการแสดงออกทางร่างกายให้ศักติโปรดปราน ซึ่งจะยึดหลัก 5 ประการ ได้แก่ มัตยะ คือการเสพรับเครื่องดองของเมา มังสะ คือการบริโภคเนื้อสัตว์สดๆ มัสยา คือการบริโภคเนื้อปลาสด มุทระ คือการบริโภคข้าวโพด เมล็ดแป้งข้าวสาลีเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย และเมถุน คือการเสพกาม

    ต่อมาเมื่อเกิดพุทธศาสนาขึ้นในอินเดีย ผู้คนเริ่มหันมาให้ความเคารพนับถือ เนื่องจากแนวคิดของพุทธนั้นไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะและยึดหลักการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำให้สังคมค่อยๆ คลายความขัดแย้งลง

    แต่เนื่องด้วยในระยะเวลาต่อมาเมื่อพวกพราหมณ์เริ่มมีอิทธิพลขึ้นมาอีกหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ และการขึ้นมาของราชวงศ์คุปตะ ทำให้ศาสนาพุทธจำเป็นต้องปรับตัวรับเอาคติความเชื่อบางส่วนของศาสนาพราหมณ์เข้าไป

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพุทธศาสนาเกิดข้อขัดแย้งแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่ เถรวาทหรือหินยาน และอาจารยวาทหรือมหายาน แนวคิดแบบตันตระก็เข้าไปผสมผสานกับฝ่ายที่ปรับตัวอย่างเด่นชัดซึ่งก็คือพุทธแบบมหายาน ตันตระจึงแพร่หลายและมีบทบาทเช่นการให้ความสำคัญต่อเพศสตรีในมหายาน เช่น การนับถือเจ้าแม่กวนอิม การยกย่องพระนางปรัชญาปารมิตา การเคารพต่อพระชายาของพระโพธิสัตว์ต่างๆ ที่เรียกว่า "นางตารา" หรือ "นางโยคินี" ก่อให้เกิดการสร้างรูปเคารพสตรีจำนวนมากในนิกายพุทธแบบมหายาน

    พุทธศาสนามหายานแบบตันตระหรือตันตริกนั้นได้แยกออกเป็นนิกายหลายนิกาย เช่น นิกายวัชรยาน ซึ่งหมายถึงชื่อเรียกรูปเคารพเพศชาย นิกายมนตรยาน ซึ่งเน้นหนักในเรื่องเวทมนตร์ไสยศาสตร์ คาถาอาคม ฯลฯ "ตันตระ" ยังปรากฏเป็นนิกายย่อยๆ อีกมากมาย อาทิ นิกายสหจยาน ซึ่งไม่เชื่อในการถวายสิ่งของให้กับเทพ หรือพระโพธิสัตว์ เชื่อมั่นในการบูชาด้วยร่างกาย อีกลัทธิหนึ่งคือ นิกายกาฬจักรายาน ซึ่งนับถือธรรมชาติ ดวงดาว โดยมีคัมภีร์ที่เน้นหนักไปทางด้านดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นต้น

    ในสยามประเทศ "ลัทธิตันตระ" ได้เข้ามาปะปนกับแนวความเชื่อทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับคาถาอาคม อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ อำนาจเหนือธรรมชาติอันไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ แต่ได้ลดระดับของวิธีการบูชาลงให้เข้ากับสังคมและแนวคิดของพุทธแบบเถรวาทที่เจริญรุ่งเรืองในบ้านเราได้ ดังนั้นบางครั้งจึงไม่น่าแปลกใจที่จะได้ยินคำว่า "พุทธกับไสยไปด้วยกัน" ซึ่งก็หมายถึงแนวความเชื่อแบบตันตระที่เข้ามาผสมผสานกันครับผม

     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    3. ลัทธิมหายานและ ลัทธิตันตระ
    ความเสื่อมของศาสนาในอินเดีย เกิดจากข้อเสียของนิกายมหายาน มากกว่านิกายหินยาน เพราะการที่นิกายมหายานเจริญแพร่หลายขึ้นในอินเดีย ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณศาสนิกให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันคุณภาพของศาสนิกก็เสื่อมลงตามลำดับด้วย

    พอถึงพุทธศตวรรษที่ 13 มหายานในอินเดียเหลือแต่เพียงการบูชาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย การสวดอ้อนวอน และการประกอบพิธีกรรมอันโออ่า โดยมหายานได้แต่งเรื่องความเชื่อเก่า ๆ แต่โบราณขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ชาวพุทธมหายานในสมัยนั้น จึงขยับเข้าใกล้ชิดลัทธิฮินดูเข้าไปมากขึ้นทุกที ๆ
    จนในที่สุด ได้ทำลายความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนามหายานและลัทธิอินดูลง ฆราวาสในอินเดียยุคนั้น มองไม่เห็นความแตกต่างในการบูชาพระพุทธเจ้ากับพระวิษณุ และพระอวโลกิเตศวรกับพระศิวะ และนางตารากับนางปารวตี(ชายาพระศิวะ) แล้วลัทธิโพธิสัตว์ยาน ก็ดูเหมือนว่าจะกำเนิดสถาบันพระมีเมียด้วย
    ลัทธิตันตระได้แตกออกมาจากนิกายมหายาน เจริญอยู่ในอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-15 แล้วแพร่หลายอยู่ในธิเบต พระในลัทธินี้มีเมียได้เพราะมุ่งบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ในฐานะคฤหัสถ์มุนี นิกายนี้มีหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน มันตรยาน คุยหยาน สหัชชยาน วัชรยาน พระนี้ก็ไม่ได้เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า " นักสิทธะ" และถือว่า การปฏิบัติตนตามอำนาจของราคะกุลบุตรผู้บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ย่อมกระทำได้
    การปรากฏของลัทธิตันตระนั้น ได้ทิ้งหลักธรรมแท้ ๆ ของพระพุทธศาสนาดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ไปเกือบหมด มีแต่การยกย่องเวทมนตร์ อาคมขลัง พิธีมหาลาภ พิธีลงเลขเสกเป่าต่าง ๆ เรื่องไสยศาสตร์และเรื่องกามศาสตร์ของลัทธิตันตระกับฮินดูนั้น มีลักษณะที่เหมือนกัน
    หลักจริยธรรมขั้นพื้นฐาน และหลักธรรมที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ในพระพุทธศาสนา ได้ถูกลัทธิวัชรยานเปลี่ยนแปลงไปเสียใหม่โดยสิ้นเชิง จนเป็นสัจธรรมปฏิรูป(พระธรรมปลอม) เช่น
    ตันหาซึ่งถือกันว่าเป็นตัวอกุศลมูล ที่ต้องควบคุมไม่ให้มันเกิดขึ้นนั้นพวกวัชรยาน ถือว่าตันหานั้นคือสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ที่ตัวสื่อกลางให้เกิดความเจริญในจิตใจขึ้นมา
    ส่วนการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ ในเรื่องของพระนิพพานนั้น ซึ่งต้องเข้าถึงโดยศีล สมาธิ ปัญญาด้วย อริยมรรคมีองค์แปดนั้น พวกวัชรยานกลับกล่าวว่าเข้าถึงได้ ด้วยการเสพกามอันศักดิ์สิทธิ์กับโยนิ และวัชรยานถือว่าเมถุนธรรมนั้นแหละเป็นบรมสุข
    สำหรับศีล 5 ก็ไปเปลี่ยนแปลงเป็น ม.5 ตัว ให้นักสิทธะควรได้รับบำรุงจากสิ่งห้า คือ 1.มัทยะ น้ำเมา 2. มางสะ เนื้อ 3. มัศยา ปลา 4. มุทรา การยั่วให้กำหนัด 5. ไมถุนธรรม เมถุนธรรม เป็นต้น
    สัทธรรมปฏิรูปในนิกายวัชรยานนี้ อาจเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหายไปได้

    http://202.143.164.68/intranet/nbk/rat6.htm
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; WIDTH: 656px; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: Arial, Helvetica, sans-serif; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); webkit-text-size-adjust: auto; widows: 2; orphans: 2; webkit-text-stroke-width: 0px" border=0><TBODY><TR><TD class=search-table-header style="PADDING-RIGHT: 0px; BACKGROUND-POSITION: 7px 10px; PADDING-LEFT: 20px; FONT-SIZE: 14px; BACKGROUND-IMAGE: url(http://dict.longdo.com/images/orange-square-bullet.gif); PADDING-BOTTOM: 3px; PADDING-TOP: 3px; BORDER-BOTTOM: rgb(175,174,174) 1px solid; BACKGROUND-COLOR: rgb(240,239,239); background-clip: initial; background-origin: initial">ไทย-ไทย: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ [ฐานข้อมูลเชื่อมจาก เว็บ rirs3.royin.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้ - อาจมีข้อผิดพลาด - โปรดระมัดระวัง]</TD></TR><TR><TD><TABLE class=search-result-table style="FONT-SIZE: 13px; MARGIN-BOTTOM: 20px; WIDTH: 650px; COLOR: rgb(0,0,0)" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR style="BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid"><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid" vAlign=top width=150>กาลจักร</TD><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid">[กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).</TD></TR><TR style="BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid"><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid" vAlign=top width=150>ทักษิณาจาร</TD><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid">น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).</TD></TR><TR style="BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid"><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid" vAlign=top width=150>พุทธตันตระ</TD><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid">น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่ง เกิดขึ้นจากการนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลัก ปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.</TD></TR><TR style="BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid"><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid" vAlign=top width=150>วัชรยาน</TD><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid">น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).</TD></TR><TR style="BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid"><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid" vAlign=top width=150>วามาจาร</TD><TD style="LINE-HEIGHT: 1.5; BORDER-BOTTOM: rgb(212,212,212) 1px solid">น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตันตระ : พจนานุกรม Longdo (Longdo Dictionary)
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); webkit-text-size-adjust: auto; widows: 2; orphans: 2; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif" vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif" width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif"><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=m12 style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(80,80,80); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=middle colSpan=3 height=34>ศึกษาอิทธิพลของตันตระที่มีต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย(๒๕๔๙)</TD></TR><TR class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" vAlign=top><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif" align=middle colSpan=3 height=40>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left height=33>ชื่อผู้วิจัย :</TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left width="56%" height=33>พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล)</TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left width="26%">ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left width="18%" height=27>ปริญญา :</TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=2>พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=3 height=30>คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left> </TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=2>พระปลัดสมชาย กนฺตสีโล</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left> </TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=2>พระมหาบาง เขมานนฺโท</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left> </TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=2>ดร.ประยูร แสงใส</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left height=28>วันสำเร็จการศึกษา :</TD><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=2>เมษายน ๒๕๔๙</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=3> </TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=3 height=30>บทคัดย่อ</TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=3 height=36> วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของตันตระ ประวัติของตันตระ พร้อมทั้งอิทธิพลของตันตระที่มีต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย รวมทั้งการศึกษาวิธีการนำลัทธิตันตระเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้เกิดลัทธิพุทธตันตระขึ้นมา จัดเป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา และยังสืบค้นถึงร่องรอยแห่งตันตระในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเถรวาท นอกจากนี้แล้วยังได้แยกแยะลัทธิตันตระออกจากพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งหนังสือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิทยานิพนธ์เล่มนี้แบ่งออกเป็น ๕ บท ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้


    บทที่ ๑ เป็นบทนำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย ขอบเขตและวิธีการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย

    บทที่ ๒ ประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของตันตระ อธิบายความหมายและลักษณะของตันตระ และสืบค้นกำเนิดและพัฒนาการของตันตระ สาขาของตันตระ กำเนิดและพัฒนาการของพุทธตันตระในประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย ทิเบต จีน ญี่ปุ่น

    บทที่ ๓ ศึกษาร่องรอยตันตระที่พบในพระไตรปิฎก ลักษณะของตันตระที่พบในพระไตรปิฎก รูปแบบของพระพุทธมนต์ พุทธปริตต์ เช่น รัตนสูตร อาฏานาฏิยสูตร โพชฌังคปริตต์ อังคุลิมาลปริตต์ เป็นต้น

    บทที่ ๔ ศึกษาอิทธิพลของตันตระที่มีต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย ได้ศึกษากำเนิดและอิทธิพลของตันตระที่มีต่อสังคมไทย ท่าทีและจุดยืนของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อตันตระ

    บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป

    ผลจากการวิจัยนี้พบว่า ความเชื่อแบบตันตระในรูปแบบต่างๆ มีเหมือนกันทุกศาสนา คือ ประชาชนสามัญชนของทุกศาสนาจะมีความเชื่อแบบตันตระ ในพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ชัดจากตันตระนิกายวัชรยานแบบทิเบต ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับพิธีกรรมและความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพุทธตันตระ ซึ่งได้รับความนับถือโดยชาวทิเบต มองโกเลีย ภูฐาน สิกขิม เนปาล และดินแดนแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น ลาดัค และรัฐหิมาจันประเทศ เป็นต้น ที่เป็นพุทธศาสนิกชนของนิกายนี้โดยตรง ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย ซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ไม่ให้ความสำคัญกับตันตระ แต่ร่องรอยแห่งตันตระก็ยังมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของตันตระนั่นเอง


    Download : [​IMG] 254933.pdf
    </TD></TR><TR><TD class=m10 style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: MS Sans Serif, AngsanaUPC, Arial, Verdana,Tahoma, Thonburi; TEXT-DECORATION: none" align=left colSpan=3></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif" align=left colSpan=3 height=11></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=580 border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif"> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); webkit-text-size-adjust: auto; widows: 2; orphans: 2; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760 border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif" background=http://www.mcu.ac.th/site/images/gradient.gif height=21> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 11px; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif', Tahoma, sans-serif">
    สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
    พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th
    ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    Mahachulalongkornrajavidyalaya University
     
  14. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ลุงจะแถมเรื่องศังกราจารย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 9 )จ๊ะ
    [​IMG]

    รูปมาจาก http://www.avgsatsang.org/images/sankara.jpg

    เขาไม่ได้ลอกพุทธนะจ๊ะ เพียงแต่ตอนเขาไปเรียนกับครูของเขานะเขาไม่รู้ว่าคำสอนของครูเขานั้นดัดแปลงมาจากพุทธ(มหายานแบบของท่านนาครชุน)จ๊ะ ดังนั้นเขาก็เลยตีความคัมภีร์อุปนิษัทไปแบบนั้น โดยไม่รู้ตัวว่าเอาคำสอนพุทธมาอธิบายคัมภีร์ ทั้งๆๆที่ตัวเองเกลียดพุทธ และด้วยความไม่รู้เขาก็เลยโจมตีพุทธจ๊ะ คือใช้พุทธโจมตีคำสอนพุทธ ตอนลุงเรียนหนังสือเมื่อเกือบๆๆสี่ - ห้าสิบปีก่อน เกี่ยวกับลัทธินี้(อไทวตะเวทานตะ)ลุงก็ว่าอยู่แล้วว่าทำไมมันเหมือนพุทธจัง(จะว่าลอกก็ไม่ผิดแต่เอ็งต้องระวังนะ เพราะว่าพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ได้สอนของใหม่ ท่านสอนสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์อุปนิษัท แปลกไหม เพียงแต่ท่านตีความคัมภีร์อุปนิษัทไปไกลจนคนร่วมสมัยตามไม่ทัน ท่านขบถต่อวัฒนธรรมดังเดิมเช่น เรื่องวรรณะ และตีความพรหมแบบไม่ใช่เทวนิยม ท่านถึงไม่เรียกว่าพรหม(ปรมาตมัน)ท่านเรียกว่านิพพาน(ดับไม่เหลือเชื้อ) มันเลยเกิดพุทธขึ้นมา ลองดูสิความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดนะมันมาจากอุปนิษัท กรรมก็มาจากอุปนิษัท เรื่องอื่นๆๆอีก อุปนิษัทนี่มันเกิดก่อพุทธ100ปี มันเอ่าส่วนที่ดีทึ่สุดของพระเวทมาใส่ไว้ขัดเกลา และมีหลายเล่มมากมายจ๊ะ บางเล่มก็เขียนหลังยุคพระพุทธเจ้า ภควัทคีตาก็มีขึ้นเพื่อสรุปและกลั้นแก่นของอุปนิษัททั้งหลายที่บางอันก็เห็นพ้องบางอันก็ขัดให้อยู่ในระบบเดียวกัน อาจจะเอาคำสอนพุทธ ไชนะมาผสมด้วย ) ที่นี้ตอนเขาเขียนโจมตี โต้วาทะโจมตีไอ้คนพุทธดันไม่รู้ตัวว่าเขาเอาพุทธมาโจมตีตน ก็คิดเอาเองว่ามันตกต่ำขนาดไหน คือไม่มีคนเก่งพอที่จะรู้ไงว่าคำสอนของเราจริงๆเป็นไงเลยเถียงเขาไม่ได้ มันเสื่อมมากผิดมากเพี้ยนมาก็สมควรที่จะโดนแล้ว ทีนี้ศังกราจาย์ก็เจอไอ้ตอนเสื่อมแล้วก็เลยคิดว่าพวกพุทธนี้มันเป็นแบบนี้หมด เลยด่าไปเยอะ แล้วก็ทึกทักเอาว่าต้นสายคือพระพุทธเจ้านะคงไม่ได้เรื่องเหมือนพวกนี้ ต่อมาจึ่งอ้อ....ที่ตัวเองสอนมันพุทธนี่ แกก็เลยเลิกโจมตีไปในช่วงหลังๆๆและทำเงียบๆๆคงกลัวหน้าแตกมั้งลุงก็ไม่รู้นะ และแกก็ตาย แกตายเร็วมากนะคนนี้ แกตายตอนสามสิบ แต่แกดังมากเลยล่ะเป็นครูฮินดูยุคหลังๆๆที่มีชื่อมากที่สุด ถ้าไม่นับรามานุราช
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มีนาคม 2012
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขอบใจลุงมากจ๊ะ ที่มาช่วยให้ความรู้ในมุมมองที่ต่างออกไป :cool:

    ประวัติศาสตร์ยาวนาน นับไม่ได้ ก็เวียนว่ายตายเกิด เพราะความไม่รู้จริง ตัวเดียว

    สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นเพราะคนฉลาดเป็นเหตุแท้ๆ เนาะ

    พระพุทธเจ้าท่านค้นพบวิธีหลุดพ้นออกมาได้แล้วบอกต่อสอนต่อคนอื่น

    แต่คนในเดิมๆก็จะยื้อดึงกลับเข้าหลุมดำเหมือนเดิม ไม่อยากหลุดพ้น ก็ยื้อกันไปไม่จบสิ้น

    พวกพราหม์ที่เคยฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาหลายพุทธทันดร ก็มี เขาก็รู้ถูก

    รอคอยการอุบัติของพระพุทธเจ้า มีการพยากรณ์การอุบัติไว้รอท่า บอกทายาทล่วงหน้าให้เข้าหาพระพุทธเจ้าก็มี

    ส่วนพวกพราหม์มิจฉาทิฏฐิ ก็มีมากฟังคำสอนแล้วไปจิตนาการผิดๆถูกๆพาเลอะเทอะแถมยังกลับมา

    บั่นทอนคำสอนเพื่อมนุษยชาติให้สับสนทำลายให้เสื่อมอีก ก็ว่ากันไปตามทิฏฐิและกรรม

    บั่นทอนสัจธรรมซะเองก็มาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2012
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ศังกราจารย์

    อาทิ ศังกระ (สันสกฤต: आदि शङ्करः, มาลายาลัม: ആദി ശങ്കരൻ, ทมิฬ: ஆதி சங்கரர்; ชื่ออื่น: ศังกระ ภควัตปาทจารย์, อาทิศังกราจารย์, ศังกราจารย์) มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 788-820 (พ.ศ. 1331 - 1363) เป็นปราชญ์ชาวอินเดียใต้ของศาสนาฮินดู นับถือกันว่าเป็นองค์อวตารของพระศิวะ ศังกราจารย์เป็นผู้ประพันธ์คัมภีร์ปุราณะและคัมภีร์เวทานตะ อรรถกถาอธิบายลัทธิเวทานตะ และเป็นผู้ตั้งลัทธิอไทวตะเวทานตะ

    ศังกราจารย์ - วิกิพีเดีย
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ศังกราจารย์ กำจัดพุทธได้อย่างไร
    วิธีการของศังกราจารย์ในการกำจัดพระพุทธศาสนา ที่สำคัญ คือ เขาเที่ยวถกเถียงโต้วาทะไปทั่วทุกถิ่นเฉพาะนอกเมือง โดยไม่ยอมสอนคนในเมืองเลย เพราะเวลานั้นพุทธศาสนาแม้จะกำลังเสื่อม แต่ยังเข้มแข็งในเมือง

    พร้อมนั้นก็ตีวงล้อมเมืองด้วยการจัดคณะนักบวชฮินดูขึ้น ทำนองเลียนแบบสังฆะในพระพุทธศาสนา โดยตั้งวัดใหญ่ขึ้นมาใน ๔ ทิศ เรียกว่า “มัฐ” ตามอย่างวัดในพุทธศาสนาที่เรียกว่า “วิหาร” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา
    (ศาสนาพราหมณ์แต่เดิมมา ไม่มีคณะนักบวช เพราะพราหมณ์เป็นคนวรรณะสูงอยู่บ้านมีครอบครัว-ทรัพย์สมบัติดังที่ชาวบ้านรู้จักชูชก เป็นตัวอย่าง แม้ว่าในพระเวทจะมีคำว่าสังฆะบ้าง ก็หมายถึงการมาประชุมพบปะแต่ละครั้ง มิใช่เป็นการมีชีวิตชุมชนอย่างที่ศังกราจารย์ตั้งขึ้นแบบวัดที่ว่านี้)
    รูปร่างเป็นพระ แต่ความรู้ไม่เป็นพุทธ
    เวลานั้น พระสงฆ์ในพุทธศาสนามากระจุกกันอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ปล่อยให้ชนบทถิ่นห่างไกลอ่อนแอ พระไม่มีความรู้ วัดฮินดูที่จัดตั้งโดยเน้นชนบทก็มีกำลังและได้รับความนิยม ถึงกับค่อย ๆ เปลี่ยนหรือกลืนวัดพุทธไปเป็นวัดฮินดู (ดังมีหลักฐานชัดเจนซึ่งผู้นำฮินดูบอกเองว่าวัดฮินดูสำคัญบางแห่งในปัจจุบันนั้นเดิมเป็นวัดพุทธ)

    นารายณ์อวตารแล้ว ศิวะอวตารก็มี
    นอกจากนั้น พวกไศวะสายศังกราจารย์คงได้ความคิดเรื่องนารายณ์ปางพุทธาวตาร-มายาโมหะ จากที่พวกนิกายไวษณพทำไว้ ในฐานะที่พวกตนเป็นปฏิปักษ์กับพกไวษณพ ก็เลยสร้างเรื่องพระศิวะอวตารขึ้นมา ให้ตีทั้งพุทธศาสนาและตีลัทธิไวษณพไปพร้อมกัน

    เขาแต่งความเป็นคัมภีร์ศังกรทิควิชยะว่า เหล่าเทพยดาได้มาร้องทุกข์ต่อองค์ศิวะพระอิศวรเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงร่างของพระพุทธเจ้าแล้วดำเนินการให้ประชาชนดูหมิ่นพราหมณ์ รังเกียจระบบวรรณะ และละเลิกบูชายัญ ทำให้เหล่าเทพยดาไม่ได้รับเครื่องเซ่นสังเวย ขอให้พระองค์ช่วย พระศิวะจึงได้อวตารลงมาเป็นศังกราจารย์เพื่อกู้คำสอนของพระเวท ให้การบูชายัญและระบบวรรณะกลับฟื้นคืนมา
    อนึ่งนอกจากเที่ยวโต้วาทะแล้ว ศังกราจารย์ กับกุมาริละผู้ร่วมทำงานกำจัดพุทธศาสนา ได้เที่ยวชักจูงกษัตริย์และผู้มีกำลังทรัพย์กำลังอำนาจทั้งหลายให้เลิกอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา
    ศังกราจารย์ กำจัดพุทธได้อย่างไร :: i-dhamma
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ระบบปรัชญาเวทานตะ
    · เวทานตะ มีความหมายว่า “คัมภีร์สุดท้ายของพระเวท”
    · เวทานตะ ได้รวมเอาความคิดที่วิวัฒนาการมาจากอุปนิษัทด้วย
    · เวทานตะ เป็นการจัดทำคำสอนจากพระเวทพราหมณะ และอุปนิษัท ให้มีระเบียบแบบแผนเพื่อให้เป็นระบบอันหนึ่งอันเดียว
    · ต้นตำรับเวทานตะ คือ พรหมสูตร ของ พาทรายณะ
    · ลักษณะเนื้อหา
    1. เชื่อมโยง (สามัณวยะ)
    2. ไม่ขัดแย้ง (อวิโรธะ)
    3. เป็นแนวทางการรู้แจ้ง (สาธนะ)
    4. ผลที่ได้รับ (พละ)
    · ลักษณะร่วมของปรัชญาเวทานตะ
    1. ปฏิเสธ แนวคิดที่ว่าโลกเป็นผลผลิตของวัตถุต่างๆ
    2. ปฏิเสธ แนวคิดทฤษฎี วิวัฒนาการว่าด้วยเรื่องความเปลี่ยนแปลงของมูลธาตุที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัต
    3. ปฏิเสธ แนวคิดที่ว่าตัวเหตุอันเป็นสัจภาวะ ๒ อย่างต่างเป็นอิสระแก่กัน
    4. ตัวเหตุที่ไม่มีวัญญาณไม่สามารถสร้างโลกนี้ได้ อุปนิษัทกล่าวว่า “สรฺวํ ขลุ อิทํ พฺรหฺม” (ทั้งหมดนั้นคือ พรหม) วัตถุและจิตไม่ใช่สิ่งที่เป็นอิสระแก่กัน แต่มีมูลฐานมาจากสิ่งเดียวกัน คือ พรหม

    · ทรรศนะของศังกราจารย์ในเรื่องพระเจ้า เราทราบพระเจ้าได้จาก
    o มองในแง่ปฏิบัติ
    § โลกเป็นจริง พระเจ้าเป็นเหตุในแง่นี้พระเจ้าเป็นวัตถุแห่งการกราบไหว้ เป็นวัตถุแห่งการกราบไหว้ เป็นอีศวร/สคุณพรหม
    § แต่โลกเป็นเพียงปรากฎการณ์ขึ้นอยู่กับอวิชชา การพรรณนาว่าพระเจ้าสร้างโลกเป็นความคิดในแง่ปฏิบัติเท่านั้น
    § ตราบเท่าที่ยังถือว่าโลกนี้เป็นจริงอยู่ การสร้างโลกก็ไม่ใช่ลักษณะแท้ของพระเจ้า และไม่ได้เข้าถึงลักษณะแท้ของพระองค์เลย
    · อวิทยา ลวงตาเราใน ๒ ลักษณะ
    o ปกปิดความจริง (อาวรณะ)
    o ลวงให้เห็นเป็นอย่างอื่น (วิกเษปะ)
    · มายาบางครั้งถูกเรียกว่า ประกฤติ ในอุปนิษัท แต่ไม่ใช่ประกฤติของสางขยะ
    · ประกฤติ ในที่นี้เป็นอำนาจของพระเจ้าและขึ้นอยู่กับพระเจ้าอย่างเดียว
    · ศังกราจารย์ ยอมรับประจักษประมาณแต่สงสัยในการแปลความหมาย การเปลี่ยนแปลงรูป ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนแปลงเนื้อแท้ของรูป
    · ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติ กับทรัพย์จะต้องอาศัยความช่วยเหลือของสภาวะที่สามที่เชื่อมสองสิ่งนั้นเข้ากัน และต้องอาศัยสภาวะที่สี่ ที่ห้า ฯลฯ ในการเชื่อมโยง สภาวะที่สามกับสองสภาวะแรกเป็นไปตามลำดับ
    · อไทวฺตะเวทานตะ อันเป็นเอกนิยมของศังกราจารย์
    · ศังกราจารย์ได้นำแนวคิดของพุทธ มาค้นคว้าในเรื่องโลกเป็นเพียงปรากฎการณ์หรือความฝันหรือสิ่งลวงตา แต่นำไปประสานกับแนวคิดในอุปนิษัท “มูลเดิมของโลกขึ้นอยู่กับอำนาจในการสร้างมายา ให้ปรากฎเป็ฯหลากหลาย”
    · มายาคือ อำนาจของพระเจ้า ไม่แตกต่างจากพระเจ้า เช่นเดียวกับอำนาจการเผาไหม้ของไฟ ไม่แตกต่างไปจากไฟ
    · ผู้ที่มีอวิทยา มองเห็นการปรากฎของโลกนี้และถือว่าเป็นจริง
    · ผู้มีวิทยา รู้เห็นโลกอย่างรู้แจ้งแล้วย่อมเห็นว่ไม่มีอะไรอื่นเลย นอกจากพระเจ้าอันเป็นสัจภาวะหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังการปรากฎของโลก
    · ความคิดอันเก่าแก่ที่สุดของ อไทวต เวทานตะ ได้แก่แนวคิดของเคาฑปาท ซึ่งได้รจนาผลงานสรุปคำสอนของ มาณฑูกยอุปนิษัท (มาณฑูกโยปนิษัท)
    · โมกษะ คือ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวาตมัน กับพรหมัน
    · ในแง่ปฏิบัติ ได้แก่ ความยึดมั่นในกรรมสันยาสะ (การสละอย่างสิ้นเชิง)
    · ทฤษฎีวิวรรตวาท ของศังกราจารย์
    · โลกเป็นเพียงปรากฎการณ์ของพรหมซึ่งมีแนวคิดของ เคาฑปาทเป็นรากฐาน

    (ข้อมูลส่วนเสริม)
    · ศังกราจารย์ ยอมรับสัตการยวาท แต่อธิบายแตกต่างจากสางขยะ
    · สางขยะ ถือว่า ไม่มีอะไรเลยที่ไม่มีอยู่ก่อนสามารถจะมีขึ้นได้
    · แต่ศังกราจารย์ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์กับคุณสมบัติ และสภาวะที่ช่วยเหลือมาอธิบาย
    ดินเหนียว หม้อ ช่างปั้นหม้อ ช่างปั้นหม้อทำให้รูปของทรัพย์ซึ่งซ่อนอยู่ปรากฎออกมา
    · การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง แต่เป็นปรากฎการณ์เท่านั้น
    · ความมีอยูอย่างเดียวเท่านั้น คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
    · ดินและหม้อเป็นเพียงแบบ แบบหนึ่ง ของปรากฎการณ์
    · ทรัพย์ / เหตุของวัตถุ เป็นสัจภาวะที่ไม่ปรากฎออกมา เพราะอยู่เบื้องหลังวัตถุต่างๆ ของโลก
    · ทำนองเดียวกัน ผู้ซึ่งเชื่อในการปรากฎของโลก คิดว่าพระเจ้าทำให้โลกปรากฎ และเรียกพระเจ้าว่าผู้สร้างเป็นต้น
    · แต่สำหรับผู้มีปัญญารู้ว่าโลกเป็นเพียงการปรากฏเท่านั้น (ส่วนโลกที่แท้จริงและผู้สร้างที่แท้จริงหามีไม่)
    · ตามคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่าตราบใดที่โลกยังปรากฎอยู่ มันก็อยู่ในพระเจ้า คือ สัจภาวะอยู่ตราบนั้น เหมือนงูที่ปรากฎเป็นเชือกจะไม่ปรากฎในที่อื่น ยกเว้นที่เชือกแห่งเดียว
    · แต่ความไม่สมบูรณ์ของโลก ไม่กระทบต่อรพระเจ้า เช่นเดียวกับลักษณะอันเป็นมายาของงูไม่ได้กระทบ กระเทือนต่อเชือกแต่อย่างใด
    · หรือเปรียบกับการได้/สูญเสียอาณาจักร บนเวทีละครก็ไม่ได้ กระทบต่อตัวละครบนเวทีแต่อย่างใด
    · พรหม เมื่อมองในโลกุตตรทรรศนะไม่สามารถสัมพันธ์กับโลก หรืออหังการ โดยพรรณนาคุณสมบัติพรหม จึงปราศจากความดีเด่นทุกประการ ทั้งภายในและภายนอกนี้จึงเรียกว่านิรคุณพรหม
    · การพรรณานา บทบาทตามโวหารบัญญัติ ทั้งหมดที่ถือว่าดีว่าถูกต้องตามทรรศนะของโลกเท่านั้น (วยวหาริกทฤษฎี)
    · แต่การมองพระเจ้า ในแง่โลกุตตระข้ามพ้นโวหารบัญญัติ เรียกว่าปรมาติกทฤษฎี
    · นักแสดงกลเล่นกลได้เฉพาะกับคนที่เขาใช้เล่ห์กลหลอกได้ และกับผู้คิดว่า เขาเห็นวัตถุที่เสกขึ้นนั้นเป็นจริง
    · นักเล่นกล ไม่สามารถ เล่นกลแก่ผู้รู้แจ้งกลนั้น

    sega 20/04/2011 09:13
    อาจารย์ (หมายถึงท่านพุทธทาส) เคยเล่าว่ามีอยู่สมัยหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาอินเดียอย่างค่อนข้างจะจริงจัง ตอนนี้จะขอเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มจากว่าอาจารย์เริ่มศึกษาอย่างไรครับ
    มันนึกไม่ค่อยออกเสียแล้ว คือมันนาน และเราก็ไม่ได้รับเอาไว้ในฐานะเป็นเรื่องจำเป็น มันเป็นเรื่องใหญ่โตและผมก็ไม่ค่อยจะแตกฉาน ผมมาเริ่มศึกษา เมื่อสมัยที่สวามี สัตยานันทบุรีเข้ามาเผยแพร่ความรู้หรือลัทธิของเขาที่กรุงเทพฯ ยังจำได้ว่า เป็นสมัยพระปกเกล้าฯ ที่สวามี สัตยานันทบุรีเข้ามา และก็แสดงปาฐกถาที่จุฬาฯ สมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จไปฟังด้วย เขาพูดยืดยาว แต่ที่น่าข้องใจที่สุดก็คือเขาบอกว่าเบื้องหลังหรือรากฐานของพระพุทธศาสนาคือเวทานตะ พระพุทธศาสนาออกมาจากเวทานตะ เราก็รู้สึกเป็นเรื่องที่รุกล้ำหรือว่ากระทบกระเทือน (หัวเราะ) ก็เลยอยากรู้ขึ้นมาว่าเวทานตะ ที่เขาพูดถึงกันอยู่นั้นคืออะไร รวมทั้งทัศนะทั้ง ๖ อย่างของอินเดียด้วย ก็ศึกษาดู มันก็ไม่น่าจะต้องสนใจดอก แต่ว่าเวทานตะนี้มันมาใกล้ชิดกันมาก แต่แล้วมันก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เพราะว่ามีตัวตน เวทานตะอยู่ในพวกที่มีตัวตนสำหรับจะทำความบริสุทธิ์หลุดพ้นแล้วไปรวมกับปรมาตมัน หลักการมันคล้าย ๆ อย่างนั้น ก็เลยไม่ใช่พุทธศาสนา แต่จะสอนเรื่องการละกิเลส สอนเรื่องการให้มีทัศนะที่ถูกต้องนั้นคล้ายกันมาก ผมก็เลยไม่สนใจอะไรอีก เพราะไม่มีอะไรที่จะใช้ประโยชน์ได้ ในที่สุดก็เลิกไป ไม่ค่อยรู้อะไรนัก ถ้าจะรู้กันจริงต้องศึกษากันมาก ต้องศึกษากันอย่างละเอียด แล้วมันก็จะไม่คุ้มค่า รู้สึกไม่คุ้มค่า ก็เลยเลิกในที่สุด แม้ที่สวามีคุยว่าลัทธิที่อาฬารดาบสสอนพระพุทธเจ้านั้นก็คือลัทธิสางขยะ (หัวเราะ) ผมเอามาดูแล้ว เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ที่ปรากฏในพระบาลีนั้น อาฬารดาบสสอน อากิญจัญญายตนะคือรูปฌานที่ ๗ ผมเลยเลิกเสีย ไม่ค่อยมีความรู้อะไรที่เกี่ยวกับปรัชญาฮินดูทั้ง ๖ ทัศนะนั้น เพราะมันจบแค่เวทานตะ มันเข้ากันไม่ได้ คือไม่รู้สึกว่าจะดับทุกข์ได้ เป็นเพียงปรัชญา ทัศนะทั้ง ๖ นั้นเมื่อจะปฏิบัติเขาจะปฏิบัติตามหลักที่เรียกว่า โยคะ เป็นนิกาย ๑ ใน ๖ เหมือนกัน ผมก็เอาเรื่องโยคะสูตรมาอ่านดู สวามีเขาแปลออกเป็นภาษาไทยทั้ง ๒ ภาค คนที่สนใจทำมากที่สุด ก็คือพระยาภะรตราชสุพิช ก็ไม่สำเร็จตามนั้น เราเอามาใคร่ครวญดูก็ไม่อาจจะกลมกลืนกันได้กับอานาปานสติ ก็เลยระงับไป แต่บางคำหรือบางประโยคของเขาเข้าที เรื่องปรัชญาอินเดียนั้น ผมความรู้ไม่ถึงงู ๆ ปลา ๆ หรอก เพียงอ่านบ้างด้วยความพยายามที่จะเข้าใจ พอเห็นว่าจะเอาเป็นประโยชน์หรือเป็นที่พึ่งไม่ได้ ก็เลิกกัน มุ่งมั่นเอาแต่พุทธปรัชญาซึ่งเป็นเรื่องในพระบาลีโดยตรง จนกระทั่งมาพบอานาปานสติสูตร (หัวเราะ) ก็พอใจ ด้วยเห็นว่าเป็นที่พึ่งได้และก็เป็นพุทธแท้ ๆ เลยละทิ้งไอ้เรื่องอื่น ๆ อย่างนั้นเสีย แม้ว่าจะเป็นของอินเดียด้วยกัน

    http://buddhist.igetweb.com/index.php?mo=3&art=191571
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2012
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อสิตดาบสเยี่ยมพระราชโอรส-พราหมณ์ทำนายลักษณะ
    ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะในพระราชนิเวศน์ ถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนมัสการท่านอสิตะดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรส กลับขึ้นไปปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตะดาบสเป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้น ก็สดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมาร ก็ทราบชัดด้วยปัญญาญาณ มีน้ำใจเบิกบาน หัวเราะออกมาได้ด้วยความปีติโสมนัส ประนมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตะดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
    พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกล ก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตะดาบสว่า อภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจท้าวมหาพรหม จึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชมชื่นอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตะดาบสคลายความยินดีโศกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะ เฉพาะหน้า
    อสิตะดาบสก็ถวายพระพรพรรณนาถึงมูลเหตุ ว่าเพราะอาตมาพิจารณาเห็นเป็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบรูณ์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยพระกระแสแห่งธรรมเทศนา เป็นคุณที่น่าโสมนัสยิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้ว คงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
    ครั้นอสิตะดาบทถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกะมานพ ผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด
    ครั้นถึงวันเป็นคำรบ ๕ นับแต่พระกุมารประสูติมา พระเจ้าสุทโธทนะราชจึงโปรดให้ทำพระราชพิธีโสรจสรงองค์พระกุมารในสระโบกขรณี เพื่อถวายพระนามตามขัตติยราชประเพณี โปรดให้ตกแต่งพระราชนิเวศน์ ประพรมด้วยจตุรสุคนธชาติ และได้โปรยปรายซึ่งบุบผาชาติ มีข้าวตอกเป็นคำรพ ๕ ปูลาดอาสนะอันขจิตด้วยเงินทองและแก้ว ตกแต่งข้าวปายาสอันประณีต ให้ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และเสนามุขอำมาต์ย ทั้งปวงพร้อมกันในพระราชนิเวศน์ รับสั่งให้เชิญพระราชโอรสอันประดับด้วยราชประสาธนาภรณ์อันวิจิตรมาสู่มหามณฑลสันนิบาต แล้วเชิญพราหมณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในไตรเพท ๑๐๘ คน ให้เลือกสรรเอาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทรงคุณวิทยาประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้นั่งเหนืออาสนะอันสูง แล้วให้เชิญพระราชโอรสไปยังที่ประชุมพราหมณ์ ๘ คนนั้น เพื่อพิจารณาพระลักษณะพยากรณ์
    พราหมณ์ ๘ คนนั้น มีนามว่า รามพราหมณ์ ๑ ลักษณะพราหมณ์ ๑ ยัญญพราหมณ์ ๑ ธุชพราหมณ์ ๑ โภชพราหมณ์ ๑ สุทัตตพราหมณ์ ๑ สุยามพราหมณ์ ๑ โกณทัญญพราหมณ์ ๑ ใน ๗ คนข้างต้น เว้นโกณทัญญพราหมณ์เสีย พิจารณาเห็นพระลักษณะพระกุมารบริบูรณ์ จึงยกนิ้วมือขึ้น ๒ นิ้ว ทูลเป็นสัญลักษณ์ทำนายมีคติ ๒ ประการว่า พระราชกุมารนี้ ผิว่าสถิตอยู่ในฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ผิว่าออกบรรพชาจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แต่โกณทัญญพราหมณ์ผู้เดียว ผู้มีอายุน้อย หนุ่มกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ คนนั้นได้พิจารณาเห็นแท้แน่แก่ใจว่า พระราชกุมารจะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม่นมั่น จึงได้ยกนิ้วมือเดียว เป็นสัญลักษณ์พยากรณ์เป็นคติเดียวว่า พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยพระมหาบุรุษพุทธลักษณ์โดยส่วนเดียว จะอยู่ครองฆราวาสวิสัยมิได้ จะเสด็จออกบรรพชา และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท
    และได้พร้อมกันถวายพระนามพระกุมาร ตามคุณพิเศษที่ปรากฏ เพราะพระกุมารมีพระรัศมีโอภาสงามแผ่สร้านออกจากพระสรีระกายเป็นปกติ จึงถวายพระนามว่า อังคีรส และเพราะพระกุมารต้องพระประสงค์สิ่งอันใด สิ่งอันนั้นจะต้องพลันได้ดังพระประสงค์ จึงได้ถวายพระนามว่า สิทธัตถะ แต่มหาชนนิยมเรียกตามพระโคตรว่า โคตมะ ( โดยเฉพาะคนไทยเราแต่ก่อนนิยมเรียกว่า สิทธารถ อ่านว่า สิทธาด )
    ในวันนั้น บรรดาขัตติยวงศ์ศากยราชทั้งหมด มีความปีติโสมนัสยิ่งนัก ต่างได้ทูลถวายราชบุตรองค์ละองค์ ๆ สิ้นด้วยกัน เป็นราชบริพารของพระราชกุมาร ฝ่ายพราหมณ์ ๗ คนที่ถวายพยากรณ์พระกุมารว่า มีคติเป็น ๒ นั้น เมื่อกลับไปถึงเคหะสถานแล้ว ต่างเรียกบุตรของตนมาสั่งว่า พระราชโอรสของพระมหากษัตริย์มีบุญญาธิการยิ่งนัก แต่บิดาชราแล้ว จะได้อยู่ทันเห็นพระองค์หรือไม่ก็มิรู้ หากพระกุมารจะเสด็จออกบรรพชาแล้วไซร้ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมั่นคง เจ้าทั้งหลายจงออกบวชในพระพุทธศาสนาเถิด

    พุทธประวัติ - วิกิพีเดีย
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อาฬาร กาลามะดาบส,ดาบสที่เคยเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า

    อาฬาร กาลามะดาบส,ดาบสที่เคยเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า
    พระดาบสตนหนึ่ง เป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เคยเป็น
    พระอาจารย์ของพระพุทธเจ้าของเรา สมัยที่เสด็จออกทรงผนวชใหม่ๆ
    ยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    จากหลักฐานหลายแห่งแสดงว่า ท่านอาฬาร กาลามะอาศัยอยู่ใน
    นครราชคฤห์ เพราะเมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชแล้วได้ ๗ วัน
    ก็เสด็จจาริกไปถึงนครราชคฤห์ได้ทรงสนทนากับพระเจ้าพิมพิสารก่อน
    แล้วจึงเสด็จเข้าไปศึกษาในสำนักของท่านอาฬารดาบส กาลามโคตรและ
    อุทกดาบส รามบุตร ตามลำดับ(๑)
    แต่ในคัมภีร์มหาวัสตุ กล่าวว่า ท่านอาฬาร กาลามะ อยู่ที่นคร
    เวสาลี มีสานุศิษย์ถึง ๓๐๐ คน พระมหาบุรุษ เมื่อทรงผนวชแล้วได้ ๗
    วัน ก็เสด็จผ่านไปทางเมืองนั้น ครั้นได้ทรงสดับกิตติศัพท์ของท่านอาฬาร
    กาลามะ จึงได้ตัดสินพระทัย ขออาศัยศึกษาปรัชญาธรรมในสำนักของท่าน
    ท่านอาฬาระ ก็ยินดียอมรับให้ทรงศึกษา พระมหาบุรุษทรงศึกษาจนหมด
    ความรู้ของท่านอาฬาร กาลามะ ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ได้
    ได้ทรงลาท่านอาฬาร กาลามะเสด็จเดินทางต่อไปจนถึงนครราชคฤห์
    และเสด็จเข้าศึกษาในสำนักของท่านอุทกดาบส รามบุตร(๒)
    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า "ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่มแข็งแรง มีเกศาทำสนิท ยังหนุ่ม
    แน่นตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้
    บวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ จึงปลงผมและ
    หนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว ก็
    เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประเสริฐซึ่ง
    หาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้ว กล่าวว่า
    "ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้"
    เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงกล่าวกะเราว่า "เชิญ
    อยู่ก่อนธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุอยู่เพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองตาม
    แบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เช่นเดียวกัน" ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ต่อมาไม่นานเราเรียนธรรมนั้นได้โดยรวดเร็ว ชั่วขณะหุบปากเจรจา
    ปราศรัยเท่านั้น เราก็กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ และทั้งเราและทั้งผู้อื่น
    ก็ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น เราจึงคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ย่อม
    บอกธรรมนี้โดยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เรากระทำให้แจ้งเข้าถึง
    อยู่ได้เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ก็หามิได้ โดยที่แท้อาฬารดาบส กาลามโคตร
    แล้วถามว่า ต่อนั้นเราจึงเข้าไปหา อาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า
    "ข้าแต่ท่านกาลามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้เข้าถึงบอกได้ เพราะรู้ยิ่ง
    โดยตนเองด้วยเหตุเพียงเท่าใด" เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลาม
    โคตร จึงบอกอากิญจัญญายตนสมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า มิใช่แต่อาฬาร
    ดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แม้เราก็
    มี วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน ผิฉะนั้นเราต้องเริ่มบำเพ็ญเพียร
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตร บอกว่า กระทำให้แจ้ง
    เข้าถึงอยู่ได้เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก เรา
    ก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ต่อนั้นเราจึง
    เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า "ข้าแต่ท่านกาลามโคตร
    ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้เข้าถึงบอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้หรือ?
    อา. "ดูกรผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้เข้าถึงบอกได้
    เพราะรู้ยิ่งโดยตนเองด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละ"
    พ. "ข้าแต่ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้เข้าถึง
    บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เหมือนกัน"
    อา. "เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้เห็น
    สพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดเข้าถึงบอก
    ได้เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงบอกได้
    เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดเข้าถึงบอกได้ ข้าพเจ้า
    ก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงบอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่าน
    ทราบธรรมใด ข้าพเจ้าทราบธรรมนั้นเป็นอันว่า ข้าพเจ้าเป็นเช่นใด
    ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเช่นใดข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เรา
    ทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้"
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์
    ของเรา ก็ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์ให้สม่ำเสมอกับตน และบูชาเราอย่าง
    โอฬารด้วยประการ ฉะนี้ แต่เราคิดว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา
    วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน ย่อมเป็นไป
    เพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรม
    นั้นจึงลาจากไป(๓)"
    เรื่องทำนองเดียวกันนี้ทรงเล่าให้โพธิราชกุมารฟังด้วย(๔)
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว และทรงปรารภจะทรงสอนธรรมแก่
    เวไนยสัตว์ ก็ทรงนึกถึงท่านอาฬาร กาลามะ ก่อนคนอื่นว่า "อาฬาร
    กาลามะนี้ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์และเป็นผู้มีกิเลสน้อย
    มานานแล้ว หากเราจะสอนธรรมแก่ท่านก่อนท่านจักรู้ธรรมได้รวดเร็วที
    เดียว" แต่พระองค์ทรงทราบว่า ท่านอาฬาร กาลามะได้ถึงแก่กรรมเสีย
    ก่อนหน้านั้นเพียง ๗ วันเท่านั้น(๕)
    ปุกกุสะ มัลลบุตร ศิษย์คนหนึ่งของท่านอาฬาร กาลามะ ได้ทูล
    เล่าถวายพระพุทธเจ้าว่า ท่านอาฬาร กาลามะ เป็นผู้มีวิหารธรรมอันแน่ว
    แน่ ดังเช่นครั้งหนึ่ง ท่านอาฬาร กาลามะ นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง มี
    เกวียน ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปทางนั้น ท่านไม่เห็นไม่ได้ยินเสียง ทั้ง ๆ ที่มี
    สัญญาอยู่(๖)
    ตามหลักฐานที่กล่าวมาแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์อันสูง
    สุดในการปฏิบัติธรรมของ ท่านอาฬาร กาลามะ ก็เพื่อให้ได้บรรลุ
    อากิญจัญญายตนะ ซึ่งเป็นสภาพที่ว่างจากทุกสิ่งทุกอย่าง คำสอนนี้
    ได้สั่งสอนกันสืบ ๆ มาจากหลักคำสอนเดิม ซึ่งมีอยู่จริง แต่บัดนี้
    หาหลักฐานไม่ได้เสียแล้ว
    ท่านอัศวโฆษได้เขียนหลักปรัชญา ย่อ ๆ ของท่านอาฬารกาลามะไว้
    ในหนังสือพุทธจริต(๗) ปรัชญาของท่านคล้ายคลึงมากกับปรัชญาสางขยะ
    แต่ว่ามีลักษณะเด่นซึ่งในสางขยะไม่มี ในคราวที่พระพุทธเจ้าตรัสถามถึง
    ชีวิตพรหมจรรย์ และการบรรลุธรรมเครื่องพ้นทุกข์ ท่านได้อธิบายถึงวิธี
    ฝึกจิตตามขั้นของรูปฌานทั้ง ๔ แล้ว ฝึกต่อไปจนได้อรูปฌาน(๘) ๓
    ศิษย์ของอาฬาร กาลามะ อีกคนหนึ่ง ชื่อภรัณฑุ กาลามะอยู่ศึกษา
    ในสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้นี้จึงได้นามแฝงอีกนามหนึ่ง
    ว่า ปุราณสพรหมจารี(๙)
    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิบายไว้ว่า อาฬาระเป็นชื่อตัว เพราะ
    ถือเอานิมิตที่ท่านมีกายยาว และมีสีเหลืองล้วน กาลามะนั้นเป็นชื่อ
    โคตร(๑๐)
    ๑. องฺ.อ. ๑/๑๐๔-๕ ; อปทาน.อ. -/๗๐-๑ ; ปฐม. แปล. -/๑๑๒-๘ ;
    ชิน. แปล. -/๓๓ ๒. มหาวสฺดุ. แปล. ๒/๑๑๔-๖
    ๓.ม. มูล. ๑๒/๓๑๘-๓๒๐ ๔.ม.ม. ๑๓/๔๔๓-๖
    ๕. วินย. ๔/๑๒-๓ ; ชา.อ. ๑/๑๒๗ ; อปทาน.อ. -/๘๖
    ๖. ที. มหา. ๑๐/๑๕๑-๕ ๗. พุทฺธจริต ๑๒/๑๗ ๘.ม.อ. ๒/๒๓๐
    ๙. องฺ.อ. ๒/๓๑๓ ; องฺ. ๒๐/๓๕๗ ๑๐. ที.อ. ๒/๒๒๒ ;
    ม.อ. ๒/๒๒๙

     

แชร์หน้านี้

Loading...