นิทานชาดกพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โกฏสิมพลิชาดก ว่าด้วยการระวังภัยที่ยังไม่มาถึง

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การข่มกิเลสแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">แต่ในที่นี้ พระศาสดาทรงเห็นภิกษุทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ รูป ถูกกามวิตกครอบงำ ภายในโกฏิสัณฐารกะ จึงทรงประชุมสงฆ์ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า สิ่งที่ควรระแวง ก็ควรระแวง ขึ้นชื่อว่า กิเลสทั้งหลาย เมื่อเจริญขึ้นก็ย่อมทำลายเรา เหมือนต้นไทรเป็นต้น เมื่อเติบโตขึ้น ก็ทำลายต้นไม้ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ในปางบรรพ์เทวดา ผู้เกิดที่โกฎสิมพลิงิ้วใหญ่ เห็นนกตัว ๑ กินลูกนิโครธ ถ่ายอุจจาระรด กิ่งต้นไม้ของตน ได้ประสบความกลัวว่า ต่อแต่นี้ไปวิมานของเราจักมีความพินาศ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดาที่โกฏสิมพลี ภายหลังพญาครุฑตัวหนึ่งเนรมิตอัตภาพ ๑๕๐ โยชน์ ใช้ลมปีกพัดน้ำในทะเลแหวกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วเฉี่ยวเอานาคราชตัวหนึ่งยาวพันวาที่หางให้ขยอกเหยื่อที่พญานาคนั้นใช้ปากคาบไว้ทิ้ง บินไปทางยอดป่า มุ่งไปยังโกฏสิมพลีอันเป็นที่อยู่ของตน นาคราชเมื่อห้อยหัวลง จึงคิดว่า เราจักสลัดตัวให้หลุด จึงสอดขนดเข้าไปที่ต้นนิโครธต้น ๑ พันต้นนิโครธยึดไว้ ต้นนิโครธก็ถอนขึ้น เพราะความแรงของพญาครุฑและพญา นาคร่างใหญ่ พญานาคก็ไม่ปล่อยต้นไม้เลย ครุฑจึงเฉี่ยวเอาพญานาคพร้อมกับต้นนิโครธไปถึงโกฏสิมพลี แล้วให้พญานาคนอนบนด้านหลังของลำต้นไม้ ฉีกท้องกินมันข้นของพญานาคแล้วทิ้งซากที่เหลือลงทะเลไป

    บนต้นนิโครธนั้นก็มีนกตัวเมียตัวหนึ่ง เมื่อพญานาคทิ้งต้นนิโครธแล้ว มันก็บินไปเกาะอยู่ระหว่างกิ่งของต้นโกฏสิมพลี รุกขเทวดาเห็นมันแล้วสะดุ้งกลัวตัวสั่นไปโดยคิดว่า นกตัวเมียตัวนี้จักถ่ายอุจจาระรดลำต้นไม้ของเรา ต่อนั้นไปพุ่มไทรหรือพุ่มไม้ป่า ก็จะขึ้นท่วมทับถมต้นไม้ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นวิมานของเราก็จักพินาศ เมื่อ รุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ โกฏสิมพลีก็สั่นไปถึงโคน พญาครุฑ เห็นรุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ เมื่อจะถามถึงเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า:

    [๑๐๘๖] เราได้จับนาคราชยาวถึงพันวามาแล้ว ท่านยังทรงนาคราชนั้นและเราซึ่งมีกายใหญ่ไว้ได้ ไม่หวั่นไหว
    [๑๐๘๗] ดูกรโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็ท่านทรงนางนกตัวเล็กนี้ ซึ่งมีเนื้อน้อยกว่าเรา กลัวหวั่นไหวอยู่ เพราะเหตุอะไร?

    ลำดับนั้น เทพบุตรเมื่อจะกล่าวถึงเหตุแห่งการสั่นสะท้านนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า:

    [๑๐๘๘] ดูกรพระยาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภักษาหาร นกนี้มีผลไม้เป็นภักษาหาร นางนกนี้จักไปจิกกินพืชเมล็ดต้นไทร เมล็ดต้นกร่าง เมล็ดต้นมะเดื่อและเมล็ดต้นโพธิ แล้วมาถ่ายวัจจะลงบนค่าคบไม้ของเรา
    [๑๐๘๙] ต้นไม้เหล่านั้นจักเจริญงอกงามขึ้น ไม่มีลมมากระทบข้างของเราได้ ต้นไม้เหล่านั้นจักปกคลุมเรา ทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้ไปเสีย
    [๑๐๙๐] ต้นไม้ทั้งหลายแม้ชนิดอื่น เป็นหมู่ไม้มีรากประกอบด้วยลำต้นมีอยู่ นกตัวนี้นำเอาพืชมาถ่ายไว้ ทำให้พินาศ
    [๑๐๙๑] เพราะว่าต้นไม้ทั้งหลายมีต้นไทรเป็นต้น งอกงามขึ้นปกคลุมไม้ซึ่งเป็นเจ้าป่า แม้ที่มีลำต้นใหญ่ได้ ดูกรพระยาครุฑ เหตุนี้แหละ เราได้มองเห็นภัยในอนาคต จึงได้หวั่นไหว

    ครุฑครั้นได้ฟังคำของรุกขเทวดาแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า:

    [๑๐๙๒] นักปราชญ์พึงรังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง นักปราชญ์ย่อมพิจารณาดูโลกทั้งสอง เพราะภัยในอนาคต

    ครุฑครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงทำให้นกนั้นหนีไปจากต้นไม้ นั้นด้วยอานุภาพของตน

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า เธอทั้งหลายควรระแวงสิ่งที่ควรระแวงดังนี้ ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า พญาครุฑ ในครั้งนั้น ได้แก่พระ สารีบุตรในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เจติยราชชาดก ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม


    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระเทวทัตตอนถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ความย่อมีว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำมุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบ มีอเวจีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน บัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตทำมุสาวาทแล้วถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบเหมือนกันดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มีพระราชาทรงพระนามว่า มหาสัมมตะ ทรงมีพระชนมายุได้หนึ่งอสงไขย พระโอรสของพระองค์มีพระนามว่า โรชะ พระโอรสของพระเจ้าโรชะ มีพระนามว่า วรโรชะ โอรสของ พระเจ้าวรโรชะ มีพระนามว่า กัลยาณะ โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ มีพระนามว่า วรกัลยาณะ โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ มีพระนามว่า อุโบสถ โอรสของพระเจ้าอุโบสถ มีพระนามว่า วรอุโบสถ โอรสของ พระเจ้าวรอุโบสถ มีพระนามว่า มันธาตุ โอรสของพระเจ้ามันธาตุ มีพระนามว่า วรมันธาตุ โอรสของพระเจ้าวรมันธาตุ มีพระนามว่า วระ โอรสของพระเจ้าวระ มีพระนามว่า อุปวระ แต่บางคนก็เรียกว่า อุปริจระ

    พระเจ้าอุปจิรราชนั้น ครองราชสมบัติอยู่ ณ โสตถิยนคร ในเจติยรัฐ พระองค์ประกอบด้วยฤทธิ์ ๔ อย่าง มักเสด็จไปเบื้องบน คือ เสด็จไปโดยอากาศ มีเทพบุตร ๔ องค์ ถือพระขรรค์รักษาอยู่ทั้ง ๔ ทิศ มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งออกจากพระวรกาย มีกลิ่นอุบลหอมฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ พระองค์มีพราหมณ์ชื่อว่ากปิลเป็นปุโรหิต กปิลพราหมณ์ มีน้องชายชื่อโกรกลัมพกะ เป็นพาลสหาย เคยเล่าเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกันกับพระราชา ในสมัยที่พระราชายังเป็นพระราชกุมาร พระองค์ได้ทรงปฏิญญากะโกรกลัมพกพราหมณ์ไว้ว่า เมื่อเราได้ครองราชสมบัติแล้ว จักให้ตำแหน่งปุโรหิตกับท่าน

    ครั้นพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ไม่อาจถอดกปิลพราหมณ์ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระชนก ออกจากตำแหน่งปุโรหิตได้ ก็เมื่อกปิลปุโรหิตเข้าเฝ้า พระองค์ก็ทรงแสดงความยำเกรง ด้วยความเคารพในปุโรหิตนั้น พราหมณ์สังเกตอาการนั้นแล้วคิดว่า ธรรมดาการครองราชสมบัติ ต้องบริหารกับผู้ที่มีวัยเสมอกันจึงจะดี เราจักทูลลาพระราชาบวช ดังนี้แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เป็นคนแก่ ที่เรือนมีกุมารอยู่คนหนึ่ง ขอพระองค์จงตั้งกุมารนั้นให้เป็นปุโรหิต ข้าพระองค์จักบวช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วตั้งบุตรไว้ในตำแหน่งปุโรหิต เข้าสู่พระราชอุทยาน บวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเอง โดยอาศัยบุตรเป็นผู้บำรุง

    โกรกลัมพกพราหมณ์ ผูกอาฆาตพี่ชายว่า พี่ชายของเรานี้แม้บวช ก็ยังไม่ให้ฐานันดรแก่เรา วันหนึ่งขณะที่สนทนากัน พระราชาตรัสถามว่า โกรกลัมพกะ ท่านไม่ได้ตำแหน่งปุโรหิตดอกหรือ ? เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่ได้ทำ พี่ชายของข้าพระองค์ทำ

    พระราชารับสั่งว่า ก็พี่ชายของท่านบวชแล้ว มิใช่หรือ ?

    เขาทูลว่า พระเจ้าข้า เขาบวชแล้ว แต่เขาได้ให้พระองค์ประทานฐานันดรแก่บุตรของเขา

    ถ้าเช่นนั้น ท่านจะให้เราทำอย่างไร ?

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่อาจให้พระองค์ถอดพี่ชายเสียจากฐานันดร อันสืบเนื่องมาตามประเพณี แล้วแต่งตั้งข้าพระองค์เป็นปุโรหิต

    เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแต่งตั้งท่านให้เป็นใหญ่ แล้วทำพี่ชายของท่านให้เป็นน้องชาย

    พระองค์จักทำได้อย่างไร ?

    เราทำได้โดยมุสาวาท

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ไม่ทรงทราบดอกหรือ แต่ไรมา พี่ชายของข้าพระองค์มีวิชาประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เขาจักลวงพระองค์ด้วยอุบายที่ไม่จริง เช่นจักทำเป็นเทพบุตรสี่องค์หายตัว จักทำกลิ่นหอมที่ฟุ้งจากพระวรกาย และพระโอษฐ์ให้เป็นเหมือนกลิ่นเหม็น จักทำพระองค์ให้เป็นเหมือนพลัดตกจากอากาศ ยืนอยู่บนพื้นดิน พระองค์จักเป็นเหมือนถูกแผ่นดินสูบที่นั้น พระองค์จักไม่อาจดำรงพระวาจาอยู่ได้

    ท่านอย่าได้เข้าใจอย่างนั้นเลย เราสามารถทำเช่นนั้นได้

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จักทรงทำเมื่อไร ?

    นับแต่นี้ไปเจ็ดวัน

    พระราชดำรัสนั้นได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร

    มหาชนเกิดปริวิตกขึ้นอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าพระราชาจักทรงทำมุสาวาท ทำเด็กให้เป็นใหญ่ จักให้ผู้ใหญ่คืนฐานันดรให้แก่เด็ก ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทเป็นอย่างไรหนอ มีสีเขียว หรือสีเหลืองเป็นต้น สีอะไร กันแน่ เขาว่ากันว่า ในครั้งนั้น เป็นเวลาที่โลกพูดความสัตย์ คนทั้งหลายจึงไม่รู้ว่ามุสาวาทนี้เป็นอย่างนี้

    แม้บุตรปุโรหิต พอได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ไปบอกบิดาว่า พ่อ เขาว่าพระราชาจักทำมุสาวาท ทำพ่อให้เป็นเด็ก แล้วพระราชทานฐานันดรของฉันให้แก่อา ปุโรหิตกล่าวว่า ลูกรัก ถึงพระราชาทรงทำมุสาวาท ก็ไม่อาจพระราชทานฐานันดรของเราแก่อาเจ้าได้ ก็พระ ราชาจักกระทำมุสาวาทในวันไหน ?

    ได้ยินว่า แต่วันนี้ไปเจ็ดวัน

    ถ้าเช่นนั้น เมื่อถึงวันนั้น เจ้าพึงบอกแก่เรา

    ครั้นถึงวันที่เจ็ด มหาชนคิดว่า จักดูมุสาวาท จึงไปประชุมกันที่พระลานหลวง ผูกเตียงซ้อนๆ กันขึ้นยืนดู กุมารก็ได้ไปบอกแก่บิดา พระราชาแต่งพระองค์แล้ว เสด็จออกประทับอยู่ในอากาศหน้าพระลานหลวงท่ามกลางมหาชน พระดาบสได้เหาะมาแล้วลาดหนังรองนั่งตรงพระพักตร์พระราชา นั่งบัลลังก์ในอากาศ ทูลถามว่า ดูก่อน มหาบพิตร ได้ยินว่าพระองค์ประสงค์จะทำมุสาวาท ทำเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ แล้วพระราชทานฐานันดรแก่เขา จริงหรือ ?

    พระราชาตรัสว่า ถูกแล้ว ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวอย่างนี้จริง

    ลำดับนั้น พระดาบสเมื่อจะกล่าวสอนพระราชา ได้กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่า มุสาวาทเป็นบาปหนัก กำจัดคุณความดี ทำให้เกิดในอบายทั้ง ๔ ธรรมดาพระราชา เมื่อทรงทำมุสาวาท ย่อมชื่อว่าทำลายธรรม ครั้นทำลายธรรมเสียแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าทำลายตนนั่นเอง ดังนี้แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า:

    [๑๑๖๓] เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้นเสียโดยแท้ เชฏฐาปจายนธรรมอันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว ย่อมไม่ทำลาย บุคคลนั้นสักหน่วยหนึ่ง เพราะเหตุนั้นแล พระองค์ไม่ควรทำลาย เชฏฐาปจายนธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรมที่พระองค์ทำลายแล้ว อย่าได้กลับมาทำลายพระองค์เลย.

    พระดาบสเมื่อจะกล่าวสอนพระราชาให้ยิ่งขึ้นไปอีก จึงกล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์จักทรงทำมุสาวาทไซร้ ฤทธิ ๔ อย่างของ พระองค์ก็จักอันตรธานไป ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :

    [๑๑๖๔] เมื่อพระองค์ยังตรัสคำกลับกลอกอยู่ เทวดาทั้งหลายก็จะพากันหลีกหนีไปเสีย พระโอฐจักมีกลิ่นบูดเน่าเหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้นย่อมต้องพลัดตกลงจากฐานะของตน

    พระเจ้าอุปริจรราช ได้สดับโอวาทแล้ว มีพระหทัยกลัว ทอดพระเนตรดูโกรกลัมพกพราหมณ์ ลำดับนั้น โกรกลัมพกพราหมณ์ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์ได้กราบทูลเรื่องนี้แก่พระองค์ไว้ก่อนแล้ว มิใช่หรือ ?

    พระราชาถึงจะได้ทรงสดับคำของกปิลปุโรหิตแล้วก็ตาม แต่เพื่อจะรักษาพระดำรัสของพระองค์ไว้ จึงได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย

    ทันใดนั้น เทพบุตรทั้ง ๔ องค์กล่าวว่า พวกเราจักไม่อารักขาคนมุสาวาทเช่นท่าน แล้วได้ทิ้งพระขรรค์ไว้ใกล้บาทพระราชา อันตรธานไปพร้อมกันที่พระราชาได้ตรัสมุสาวาท พระโอฐก็มีกลิ่นเหม็นเหมือนฟองไข่เน่าแตก พระวรกายก็มีกลิ่นเหม็นเหมือนเวจกุฎีที่เปิดไว้ ฟุ้งตลบไป พระราชาก็ตกจากอากาศ ประทับอยู่บนแผ่นดิน ฤทธิ์ทั้ง ๔ ได้เสื่อมไปแล้ว

    ลำดับนั้น มหาปุโรหิตได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ขอพระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย ถ้าพระองค์ตรัสสัจวาจาไซร้ ข้าพระองค์จักทำสิ่งทั้งปวงให้กลับเป็นปกติแด่พระองค์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า:

    ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะประทับอยู่ได้ที่พื้นดินเท่านั้น.

    แม้กปิลดาบสได้ทูลเตือนว่า จงดูเอาเถิดมหาบพิตร เพียงมุสาวาทครั้งแรกเท่านั้น ฤทธิ์ ๔ อย่างของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว พระองค์จงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ก็อาจทำให้กลับเป็นปกติได้ ดังนี้ พระเจ้าอุปริจรราชนั้นตรัสว่า กปิลดาบสกล่าวอย่างนี้ ประสงค์จะลวงท่านทั้งหลาย แล้วกล่าวมุสาวาทเป็นครั้งที่สอง ได้ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่ข้อพระบาท ลำดับนั้น พราหมณ์ได้กราบทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ก็อาจทำให้กลับเป็นปกติได้ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า:

    [๑๑๖๕] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของพระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล ย่อมไม่ตกตามฤดูกาล

    ลำดับนั้น กปิลดาบสทูลเตือนต่อไปอีกว่า มหาบพิตร ด้วยผลแห่งมุสาวาท พระองค์ถูกแผ่นดินสูบไปแค่พระชงฆ์แล้ว ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า:

    ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ.

    พระเจ้าอุปริจรราช ได้ทรงทำมุสาวาทเป็นครั้งที่สามว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชายดังนี้แล้ว ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่พระชานุ ลำดับนั้น กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า:

    [๑๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้วแกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะเป็นแฉกเหมือนลิ้นงู ฉะนั้น ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกลงไปอีก.

    พระดาบสครั้นกล่าวคาถาสองคาถานี้แล้วทูลว่า แม้จนบัดนี้ พระองค์ก็ยังไม่อาจที่จะกลับทำให้เป็นปกติได้ พระราชามิได้ถือเอาถ้อยคำของพระดาบสนั้น ยังทรงทำมุสาวาทเป็นครั้งที่ ๔ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้แล้ว ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่บั้นพระองค์ ลำดับนั้น กปิลพราหมณ์ได้ทูลพระราชาว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิดมหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า:

    [๑๑๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะไม่มีเหมือนปลาฉะนั้น ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งกว่านี้ไปอีก.

    พระเจ้าอุปริจราช ได้ทำมุสาวาทเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้ แล้วถูกแผ่นดินสูบละไปแค่พระนาภี ลำดับนั้นกปิลดาบส ได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า:

    [๑๑๖๘] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะมีแต่พระธิดาเท่านั้นมาเกิด หามีพระโอรสมาเกิดในราชสกุลไม่ ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งไปกว่านี้อีก.

    พระราชามิได้ทรงเชื่อถ้อยคำ ตรัสมุสาวาทเช่นนั้นอีกเป็นครั้งที่ ๖ ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่พระถัน กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า:

    [๑๑๖๙] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะไม่มีพระราชโอรส ถ้ามีก็พากันหลีกหนีไปยังทิศน้อย ทิศใหญ่ ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งกว่านั้นลงไปอีก.

    พระเจ้าอุปริจรราชมิได้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของพระดาบส เพราะโทษคือการคบคนชั่วเป็นมิตร ได้ทรงคำมุสาวาทเช่นนั้นอีกเป็นครั้งที่ ๗ ทันใดนั้น แผ่นดินได้แยกออกเป็นสองช่อง มีเปลวไฟจากอเวจี พลุ่งขึ้นไหม้พระราชา มีสัมพุทธคาถา ๒ คาถา ดังต่อไปนี้:

    [๑๑๗๐] พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จเที่ยวไปได้ในอากาศ ภายหลังถูกพระฤๅษีสาปแล้วเสื่อมอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตนแล้วก็ถูกแผ่นดินสูบ เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคลไม่พึงเป็นผู้มีจิตถูกฉันทาคติเป็นต้นประทุษร้าย พึงกล่าวแต่คำสัจเท่านั้น.

    มหาชนพากันตกใจกลัวว่า พระเจติยราชด่าพระฤๅษี กล่าวมุสาวาท ตกนรกอเวจีแล้ว พระโอรส ๕ องค์ ของพระเจ้าเจติยราช พากันหมอบลงที่เท้าของพระดาบสกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าเถิด พระดาบสทูลว่า พระชนกของพระองค์ยังธรรมให้พินาศ กล่าวมุสาวาท ด่าพระฤๅษี จึงตกนรกอเวจี ขึ้นชื่อว่าธรรมนี้ อันบุคคลทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้น พวกพระองค์ไม่สามารถจะพากันอยู่ในที่นี้ได้

    ดังนี้แล้ว เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาทูลว่า ขอพระองค์จงออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบช้างแก้วเผือกล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า หัตถิปุระ

    เรียกพระโอรสที่สองมา ทูลว่าพระองค์จงออกทางประตูด้านทิศทักษิณ เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจะพบม้าแก้วขาวล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า อัสสปุระ

    แล้วเรียก พระโอรสองค์ที่สามมาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออกทางประตูด้านทิศปัจจิม เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบไกรสรราชสีห์ พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า สีหปุระ

    แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่สี่มาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออกทางประตูด้านทิศอุดร เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบจักรบัญชรที่ทำด้วยแก้วล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า อุตตรบัญชร

    แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่ห้ามาทูลว่า พระองค์ไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ได้ จงสร้างพระสถูปใหญ่ไว้ ในพระนครนี้ แล้วเสด็จออกตรงไปทางทิศพายัพ เมื่อเสด็จไปจักพบภูเขาสองลูก โอนยอดเข้ากระทบกัน ส่งเสียงดังว่า ทัทธะ พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า ทัทธปุระ พระราชโอรสทั้งห้าองค์ได้ไปสร้างนครอยู่ในที่นั้นๆ ตามสัญญาณนั้น

    พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าเจติยราช ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต ส่วนกปิลพราหมณ์ ได้มาเป็นเรา ผู้ตถาคต ฉะนี้แล
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขทิรังคารชาดก ว่าด้วยผู้มีจิตมั่นคง

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภทานของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 1584pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=568>ความพิสดารว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ปรารภเฉพาะวิหารเท่านั้น เรี่ยรายทรัพย์ ๕๔ โกฏิ ไว้ในพระพุทธศาสนา มิได้ทำความสำคัญในสิ่งอื่นว่าเป็นรัตนะนอกจากรัตนะทั้ง ๓ ให้เกิดเลย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ย่อมไปยังที่บำรุงใหญ่ ๓ ครั้ง ทุกวัน ตอนเช้าตรู่ไปครั้งหนึ่ง รับประทานอาหารเช้าแล้วไปครั้งหนึ่ง เวลาเย็นไปครั้งหนึ่ง ที่บำรุงในระหว่างแห่งอื่นก็มีเหมือนกัน ก็เมื่อจะไปไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดว่า สามเณรหรือภิกษุหนุ่มทั้งหลายจะพึงแลดูแม้มือของเราด้วยคิดว่า ท่านเศรษฐีถืออะไรมาหนอ เมื่อไปตอนเช้า ให้คนถือข้าวยาคูไป รับประทานอาหารเช้าแล้วเมื่อจะไป ให้คนถือเอาเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นไป เมื่อจะไปเวลาเย็น ถือของหอม ดอกไม้ และผ้าไป

    เมื่อท่านเศรษฐีนั้นบริจาคอยู่อย่างนี้ทุกวัน ๆ ประมาณในการบริจาคย่อมไม่มี ฝ่ายคนผู้อาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพเป็นอันมาก ทำหนังสือให้ไว้กับมือของท่านเศรษฐี กู้เอาทรัพย์ไปนับได้ ๑๘ โกฏิ ท่านเศรษฐีให้ทวงเอาทรัพย์ของคนเหล่านั้นมา อนึ่ง ทรัพย์ ๑๘ โกฏิอีกก้อนหนึ่งซึ่งเป็นของประจำตระกูลของท่านเศรษฐีนั้น ได้ฝังไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งแม่น้ำถูกน้ำในแม่น้ำอจิรวดีเซาะพังทลายก็เคลื่อนลงมหาสมุทรไป ตุ่มโลหะที่บรรจุทรัพย์ ตามที่ปิดไว้และประทับตราไว้นั้นก็กลิ้งไปในท้องทะเล

    เรือนของท่านเศรษฐีนั้น ยังคงมีนิตยภัตเป็นประจำสำหรับ ภิกษุ ๕๐๐ รูป จริงอยู่ เรือนของท่านเศรษฐีเป็นเช่นกับสระโบกขรณีที่ขุดไว้ ในหนทาง ๔ แพร่งสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งอยู่ในฐานะบิดามารดาของภิกษุทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ฝ่ายพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ก็ไปเหมือนกัน ส่วนภิกษุทั้งหลายที่เหลือต่างมา ๆ ไป ๆ หาประมาณมิได้.

    ก็เรือนนั้นมี ๗ ชั้น ประดับด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม มีเทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิองค์หนึ่งสิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของเรือนนั้น เทวดานั้นเมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าเรือนและเสด็จออกไป ไม่อาจดำรงอยู่ในวิมานของตน ต้องลงมายืนอยู่เฉพาะบนพื้น แม้เมื่อพระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ เข้าไปและออกมา ก็กระทำเหมือนอย่างนั้น เทวดานั้นคิดว่า ถ้าพระสมณโคดมและเหล่าสาวกของพระสมณโคดมนั้น ยังคงเข้าออกเรือนนี้อยู่ ชื่อว่าความสุขของเราย่อมไม่มี เราคงไม่อาจลงมายืนอยู่บนภาคพื้นตลอดกาลเป็นนิตย์ได้ เราจะกระทำเพื่อให้พระสมณะเหล่านี้เข้ามายังเรือนนี้ไม่ได้ จึงจะควร

    อยู่มาวันหนึ่ง เทวดานั้นไปยังสำนักของผู้เป็นมหากัมมันติกะ (พ่อบ้าน) ผู้กำลังเข้านอนแล้วได้ยืนแผ่โอภาสสว่างไสว และเมื่อท่านผู้เป็น มหากัมมันติกะกล่าวว่า ใครอยู่ที่นั่น

    จึงกล่าวว่า เราเป็นเทวดาผู้บังเกิดอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔

    มหากัมมันติกะกล่าวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร

    เทวดากล่าวว่า ท่านไม่เห็นการกระทำของท่านเศรษฐีหรือ ท่านเศรษฐีไม่มองดูกาลอันจะมีมาภายหลังของตน นำทรัพย์ออกถมเฉพาะพระสมณโคดมเท่านั้นให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ประกอบการค้าขาย ไม่ริเริ่มการงาน ท่านจงโอวาทท่านเศรษฐี ท่านจงกระทำโดยประการที่ท่านเศรษฐีจะทำการงานของตนและพระสมณโคดม พร้อมทั้งสาวกจะไม่เข้ามายังเรือนนี้

    ลำดับนั้น ท่านมหากัมมันติกะนั้นได้กล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาพาล ท่านเศรษฐีเมื่อสละทรัพย์ ก็สละในพระพุทธศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านเศรษฐีนั้น ถ้าจักจับเราที่มวยผม เอาไปขาย เราจักไม่กล่าวอะไร ๆ เลย ท่านจงไปเสียเถิด

    อีกวันหนึ่ง เทวดานั้นเข้าไปหาบุตรชายคนใหญ่ของท่านเศรษฐี แล้วกล่าวสอนเหมือนอย่างนั้น ฝ่ายบุตรชายท่านเศรษฐีก็คุกคามเทวดานั้น โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ แต่เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับท่านเศรษฐีได้เลย ฝ่ายท่านเศรษฐีให้ทานอยู่ไม่ขาดสาย ไม่กระทำการค้าขาย เมื่อทรัพย์สมบัติมีน้อย ทรัพย์ก็ได้ถึงการหมดสิ้นไป

    ครั้นเมื่อท่านเศรษฐีนั้นถึงความยากจนเข้าโดยลำดับ ผ้าสาฎก ที่นอน และภาชนะอันเป็นเครื่องบริโภคใช้สอยไม่ได้เป็นเหมือนดังแต่ก่อน ท่านเศรษฐีแม้จะเป็นอย่างนี้ ก็ยังคงให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์ แต่ไม่อาจทำให้ประณีต แล้วถวาย

    ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ? เศรษฐีนั้นกราบทูลว่า ยังให้อยู่พระเจ้าข้า แต่ว่าทานนั้นเศร้าหมอง เป็นข้าวปลายเกรียนมีน้ำ ผักดองเป็นที่สอง ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า คฤหบดี ท่านอย่าทำจิตให้ยุ่งยากว่า เราให้ทานเศร้าหมองเลย เพราะว่าเมื่อจิตประณีต ทานที่ถวายให้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะเหตุไร เพราะมีผลมาก

    แม้อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ก่อนอื่นท่านเมื่อให้ทานเศร้าหมอง ยังได้ให้แก่พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เราครั้งเป็นเวลามพราหมณ์ ให้รัตนะทั้ง ๗ กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา ยัง มหาทานให้เป็นไปดุจทำแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สาย ให้เต็มเป็นห้วงเดียวกัน ก็ไม่ได้ ใคร ๆ ผู้ถึงสรณะ ๓ หรือผู้รักษาศีล ๕ ชื่อว่าบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา หาได้ ยากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้ทำจิตให้ยุ่งยากว่าทานของเราเศร้าหมอง ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเวลามสูตร.

    ครั้งนั้นแล เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับเศรษฐีในกาลที่ท่านเศรษฐียังเป็นใหญ่ สำคัญว่า บัดนี้ เศรษฐีนี้จักเชื่อถือคำของเรา เพราะเป็นผู้ตกยาก ในเวลาเที่ยงคืนจึงเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า นั้นใคร

    เทวดานั้นกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔

    เศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาเพื่ออะไร

    เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าประสงค์จะกล่าวโอวาทท่านจึงได้มา

    เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าว

    เทวดากล่าวว่า มหาเศรษฐี ท่านไม่คิดถึงเวลาหลัง ไม่เห็นแก่บุตรธิดา เรี่ยรายทรัพย์เป็นอันมากลงในศาสนาของพระสมณโคดม ท่านนั้นเกิดเป็นคนยากไร้ เพราะอาศัยพระสมณโคดม โดยสละทรัพย์ เกินขอบเขต หรือโดยไม่ทำการค้าขายและการงาน ท่านถึงแม้จะเป็นอย่างนี้ก็ยังไม่ปล่อยพระสมณโคดม แม้ทุกวันนี้ สมณะเหล่านั้นก็ยังเข้าเรือนอยู่นั่นแหละ ทรัพย์ที่พวกสมณะเหล่านั้นนำออกไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจให้นำกลับมาได้ ย่อม เป็นอันถือเอาเลย ก็ตั้งแต่นี้ไป ตัวท่านเองก็อย่าได้ไปสำนักของพระสมณโคดม ทั้งอย่าได้ให้สาวกทั้งหลายของพระโคดมนั้นเข้ามายังเรือนนี้ ท่านแม้ให้พระสมณโคดมกลับไปแล้ว ก็อย่าได้เหลียวแล จงกระทำคดีฟ้องร้องและการค้าขายของตน รวบรวมทรัพย์สมบัติ

    เศรษฐีนั้นจึงกล่าวกะเทวดานั้นอย่างนี้ว่า นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้เราหรือ

    เทวดากล่าวว่า จ้ะ นี้เป็นโอวาท

    ท่านเศรษฐี กล่าวว่า เราอันพระทศพลทรงกระทำให้เป็นผู้อันพวกเทวดาเช่นท่านตั้งร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ก็ดี ให้หวั่นไหวไม่ได้และศรัทธาของเราไม่คลอนแคลน ตั้งมั่นดีแล้วดุจภูเขาสิเนรุ เราสละทรัพย์ในรัตนศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านพูดคำอันไม่ควร ท่านผู้ไม่มีอาจาระ ทุศีล เป็นกาลกิณีเห็นปานนี้ ให้การประหารพระพุทธศาสนา เราไม่มีกิจคือการอยู่ในเรือนเดียวกันกับท่าน ท่านจงรีบออกจากเรือนของเราไปอยู่ที่อื่น

    เทวดานั้นได้ฟังคำของพระอริยสาวก ผู้โสดาบัน ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไปยังที่อยู่ของตนแล้วเอามือจับทารกออกไป ก็แหละครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น คิดว่า จักให้เศรษฐียกโทษแล้วขออยู่ที่ซุ้มประตูนั้นนั่นแหละ จึงไปยังสำนักของเทวบุตรผู้รักษาพระนคร ไหว้เทวบุตรนั้นแล้วยืนอยู่ และอันเทวบุตรผู้รักษาพระนครกล่าวว่า ท่านมาเพราะ ต้องการอะไร

    จึงกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าไม่ได้ใคร่ครวญ พูดกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นโกรธเรา ฉุดคร่าเราออกจากที่อยู่ ท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี ให้ท่านอดโทษแล้วให้ที่อยู่แก่ ข้าพเจ้า

    เทวบุตรผู้รักษาพระนครถามว่า ก็ท่านพูดกะท่านเศรษฐีอย่างไร ?

    เทวดานั้นกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้ากล่าวกะท่านเศรษฐีอย่างนี้ว่า นาย ตั้งแต่นี้ท่านอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ท่านอย่าให้พระสมณโคดมเข้าไปในเรือน

    เทวบุตรผู้รักษาพระนครกล่าวว่า ท่านกล่าวคำอันไม่สมควร ท่านให้การประหารในพระศาสนา เราไม่อาจพาท่านไปยังสำนักของท่านเศรษฐี

    เทวดานั้นไม่ได้การช่วยเหลือจากสำนักของเทวบุตรนั้น จึง ได้ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นก็ปฏิเสธเหมือนอย่างนั้น จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราชกราบทูลเรื่องราวนั้น แล้วอ้อนวอน อย่างดีว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่ จูงทารกเป็นคนอนาถาเที่ยว ไป ขอพระองค์จงยังเศรษฐีให้ให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์ ด้วยสิริของพระองค์

    แม้ท้าวสักกะนั้นก็ตรัสกะเทวดานั้นว่า ท่านกระทำกรรมอันไม่สมควร ท่านให้การประหารในศาสนาของพระชินเจ้า แม้เราก็ไม่อาจกล่าวกับเศรษฐี เหตุอาศัยท่าน แต่เราจะบอกอุบายให้ท่านเศรษฐีนั้นอดโทษแก่ท่านสักอย่างหนึ่ง

    เทวดานั้นกราบทูลว่า สาธุ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์จงตรัสบอก

    ท้าวสักกะ ตรัสว่า คนทั้งหลายทำหนังสือไว้กับมือของท่านเศรษฐี ถือเอาทรัพย์ไปนับได้ ๑๘ โกฏิ มีอยู่ ท่านจงแปลงเพศเป็นคนเก็บส่วยของท่านเศรษฐีนั้น อย่าให้ใคร ๆ รู้จัก ถือเอาหนังสือเหล่านั้น อันพวกยักษ์หนุ่ม ๆ ๒๓ คน ห้อมล้อม มือหนึ่งถือหนังสือสัญญา มือหนึ่งถือเครื่องเขียน ไปเรือนของคนเหล่านั้น ยืนอยู่ในท่ามกลางเรือน ทำคนเหล่านั้นให้สะดุ้งกลัวด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ของตน แล้วชำระเงิน ๑๘ โกฏิ ทำคลังเปล่าของเศรษฐีให้เต็ม

    ทรัพย์ที่ฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดีอีกแห่งหนึ่ง เมื่อฝั่งแม่น้ำพังจึงเลื่อนลงสู่สมุทรมีอยู่ จงนำเอาทรัพย์นั้นมาด้วยอานุภาพของตนแล้วทำคลังให้เต็ม

    ทรัพย์อีกแห่งหนึ่งมีประมาณ ๑๘ โกฏิ ไม่มีเจ้าของหวงแหนมีอยู่ในที่แห่งหนึง จงนำเอาทรัพย์แม้นั้นมา ทำคลังเปล่าให้เต็ม

    ท่านจงทำคลังเปล่าอันเต็มด้วยทรัพย์ ๕๔ โกฏินี้ให้เป็นทัณฑกรรม แล้วให้มหาเศรษฐีอดโทษ.

    เทวดานั้นรับคำของท้าวสักกะนั้นว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ แล้วนำทรัพย์ทั้งหมดมาโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ในเวลาเที่ยงคืน จึงเข้าไปห้องอันประกอบด้วยสิริของเศรษฐี ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ เมื่อเศรษฐี กล่าวว่า นั่นใคร จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาซึ่งสิงสถิต อยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของท่าน ข้าพเจ้าผู้หลงเพราะโมหะใหญ่ ไม่รู้จักคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้กล่าวคำอะไร ๆ กับท่านในวันก่อน ๆ มีอยู่ ท่านจงอด โทษนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านำทรัพย์ ๕๔ โกฏิมาตามพระดำรัสของท้าวสักกะเทวราช คือ ทรัพย์ ๑๘ โกฏิโดยชำระสะสางหนี้ของท่าน (และ) ทรัพย์๑๘ โกฏิของคนผู้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ในที่นั้น ๆ กระทำทัณฑกรรมโดยทำคลังว่างเปล่าให้เต็ม ทรัพย์ที่ถึงความสิ้นไป เพราะการสร้างพระวิหารเชตวัน ข้าพเจ้าได้รวบรวมมาทั้งหมด ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ย่อมลำบาก ข้าแต่ท่านมหาเศรษฐี ท่านอย่าใส่ใจคำที่ข้าพเจ้ากล่าวเพราะความไม่รู้ จงอดโทษด้วยเถิด.

    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ฟังคำของเทวดานั้นแล้วคิดว่า เทวดานี้ กล่าวว่า ก็ข้าพเจ้าได้ทำทัณฑกรรมแล้ว และปฏิญญายอมรับรู้โทษของตน พระศาสดาจักทรงแนะนำเทวดานี้แล้วให้รู้จักคุณของตน ก็เราจักแสดง เทวดานี้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ลำดับนั้น ท่านมหาเศรษฐีจึงกล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาผู้สหาย ถึงแม้ท่านจักให้เราอดโทษ จงให้อดโทษในสำนักของพระศาสดา

    เทวดานั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำอย่างนั้น อนึ่ง ท่านจงพาเราไปยังสำนักของพระศาสดาเถิด มหาเศรษฐีนั้นกล่าวว่า ดีละ เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงพาเทวดานั้นไปยังสำนักของพระศาสดาแต่เช้าตรู่ แล้ว กราบทูลกรรมที่เทวดานั้นกระทำทั้งหมดแก่พระตถาคต.

    พระศาสดาได้ทรงสดับคำของท่านมหาเศรษฐีนั้นแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อน คฤหบดี แม้บุคคลผู้ลามกในโลกนี้ ย่อมเห็นกรรมอันเจริญ ตราบเท่าที่บาป ยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใด บาปย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้ลามกนั้น เมื่อนั้นบุคคลผู้ลามกนั้นย่อมเห็นแต่บาปเท่านั้น ฝ่ายบุคคลผู้เจริญ ย่อมเห็นบาปทั้งหลาย ตราบเท่าที่กรรมอันเจริญยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันเจริญย่อมให้ผลแก่ บุคคลผู้เจริญนั้นในกาลนั้น บุคคลผู้เจริญนั้นย่อมเห็นแต่กรรมอันเจริญเท่านั้น

    ก็แหละในเวลาจบคาถาเหล่านี้ เทวดานั้นตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล เทวดานั้นหมอบลงที่พระบาททั้งสองของพระศาสดาอันเรี่ยรายด้วยจักรให้พระศาสดาทรงอดโทษว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันราคะย้อมแล้ว อันโทสะประทุษร้ายแล้ว หลงแล้วด้วยโมหะ มืดมนเพราะอวิชชาไม่รู้คุณทั้งหลายของพระองค์ ได้กล่าวคำอันลามก ขอพระองค์จงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์ แล้วยังมหาเศรษฐีให้อดโทษ

    สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวคุณของตนเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดาว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดานี้แม้จะห้ามอยู่ว่า จงอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ไม่อาจห้ามข้าพระองค์ได้ ข้าพระองค์แม้ถูกเทวดานี้ห้ามอยู่ว่า ไม่ควรให้ทาน ก็ได้ให้อยู่ นั่นแหละ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คุณของข้าพระองค์มิใช่หรือ

    พระศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านแลเป็นพระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีทัสสนะอันหมดจด ความที่ท่านถูกเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยนี้ห้ามอยู่ก็ห้ามไม่ได้ ไม่น่าอัศจรรย์ ก็ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายัง ไม่อุบัติขึ้น ดำรงอยู่ในญาณอันยังไม่แก่กล้า ถูกมารผู้เป็นใหญ่ในกามาวจรภพ ยืนอยู่ในอากาศ แสดงหลุมถ่านเพลิงลึก ๘๐ ศอก โดยกล่าวว่า ถ้าท่านจักให้ทานไซร้ ท่านจักไหม้ในนรกนี้ แล้วห้ามว่า ท่านอย่าได้ให้ทาน ก็ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางฝักดอกปทุมให้ทาน นี้น่าอัศจรรย์ อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในนครพาราณสี อันญาติทั้งหลายให้เจริญพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ทั้งปวงมีประการต่าง ๆ ดุจเทพกุมาร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาโดยลำดับ ในเวลามีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ถึงความสำเร็จในศิลปะทั้งปวง

    เมื่อบิดาล่วงไป พระโพธิสัตว์นั้นดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐี ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ๔ โรงทาน ท่ามกลางพระนคร ๑ โรงทาน ที่ประตูนิเวศน์ของตน ๑ โรงทาน แล้วให้มหาทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถกรรม

    อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาอาหารเช้า เมื่อคนใช้นำเอาโภชนะอันเป็นที่ชอบใจมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้พระโพธิสัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเมื่อล่วงไป ๗ วัน ได้ออกจากนิโรธสมาบัติ กำหนดเวลาภิกขาจารแล้วคิดว่า วันนี้เราไปยังประตูเรือนของพาราณสีเศรษฐีจึงควร จึงเคี้ยวไม้ชำระฟันชื่ออนาคลดา ล้างหน้าที่สระอโนดาต ยืนที่พื้นมโนศิลา นุ่ง แล้วผูกรัดประคด ห่มจีวร ถือบาตรดินอันสำเร็จด้วยฤทธิ์มาทางอากาศ พอคนใช้นำภัตเข้าไปให้พระโพธิสัตว์ก็ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน พระโพธิสัตว์พอเห็นดังนั้นก็ลุกจากอาสนะ แสดงอาการนอบน้อมแล้วแลดูบุรุษผู้ทำการงาน เมื่อ บุรุษผู้ทำการงานกล่าวว่า กระผมจะทำอะไร ขอรับนาย จึงกล่าวว่า ท่านจงนำบาตรของพระผู้เป็นเจ้ามา.

    ทันใดนั้น มารผู้มีบาปสั่นสะท้านลุกขึ้นแล้วคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ไม่ได้อาหารมา ๗ วันแล้วจากวันนี้ไป วันนี้ เมื่อไม่ได้จักฉิบหาย เราจักทำพระปักเจกพุทธเจ้านี้ให้พินาศ และจักทำอันตรายแก่ทานของเศรษฐี จึงมาในขณะนั้นทันที แล้วเนรมิตหลุมถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ๘๐ ศอก ในระหว่างทาง หลุมถ่านเพลิงนั้นเต็มด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วงปรากฏเหมือนอเวจีมหานรก

    ก็ครั้นเนรมิตหลุมถ่านเพลิงนั้นแล้ว ตนเองได้ยืนอยู่ในอากาศ บุรุษผู้มาเพื่อจะรับบาตรเห็นดังนั้นได้รับความกลัวอย่างใหญ่หลวงจึงกลับไป พระโพธิสัตว์ถามว่า พ่อ เธอกลับมาแล้วหรือ ? บุรุษนั้นกล่าวว่า นาย หลุมถ่านเพลิงใหญ่นี้ไฟติดโพลงมีแสงโชติช่วงมีอยู่ในระหว่างทาง เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงให้คนอื่น ๆ ไปบ้าง รวมความว่า คนผู้มาแล้ว ๆ แม้ทั้งหมด ก็ถึงซึ่งความกลัวรีบหนีไปโดยเร็ว.

    พระโพธิสัตว์คิดว่า วันนี้วสวัตดีมารผู้ประสงค์จะทำอันตรายแก่ทานของเรา คงเป็นผู้บันดาลขึ้น แต่วสวัตดีมารนั้นย่อมไม่รู้ว่าเราเป็นผู้อันร้อยมาร พันมาร แม้แสนมารให้หวั่นไหวไม่ได้ วันนี้ เราจักรู้ว่าเราหรือมารมี กำลังมาก มีอานุภาพมาก

    ครั้นคิดแล้ว ตนเองจึงถือเอาถาดภัตตามที่เขาตระเตรียมไว้นั้นนั่นแหละออกไปจากเรือน ยืนอยู่ฝั่งของหลุมถ่านเพลิงแล้วแลดูอากาศ เห็นมาร จึงกล่าวว่า ท่านเป็นใคร

    มารกล่าวว่า เราเป็นมาร

    พระโพธิสัตว์ถามว่า หลุมถ่านเพลิงนี้ท่านเนรมิตไว้หรือ ?

    มารกล่าวว่า เออ เรา เนรมิต

    พระโพธิสัตว์ถามว่า เพื่อต้องการอะไร ?

    มารกล่าวว่า เพื่อต้องการทำอันตรายแก่ทานของท่าน และเพื่อต้องการให้ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าพินาศ

    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เราจักไม่ให้ท่านทำอันตรายทานของตน และจักไม่ให้ท่านทำอันตรายแก่ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า วันนี้ เราจักรู้ว่าเราหรือท่าน มีกำลังมาก มีอานุภาพมาก

    จึงยืนที่ฝั่งหลุมถ่านเพลิงแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าแม้จะมีหัวลง ตกไปในหลุมถ่านเพลิงแม้นี้ ก็จักไม่หวนกลับหลัง ขอท่านจงรับโภชนะที่ข้าพเจ้าถวายอย่างเดียว

    พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มีการสมาทานอย่างมั่นคง ถือถาดภัตแล่นไปทางเบื้องบนหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง มหาปทุมดอกหนึ่ง บานเต็มที่เกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ จากพื้นหลุมถ่านเพลิงอันลึก ๘๐ ศอก ผุดขึ้นรับ เท้าทั้งสองของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น เกสรมีขนาดเท่าทะนานใหญ่ผุดขึ้นตั้งอยู่ เหนือศีรษะของพระมหาสัตว์แล้วร่วงลงมาได้กระทำร่างกายทั้งสิ้นให้เป็นเสมือนโปรยด้วยละอองทอง

    พระโพธิสัตว์นั้นยืนอยู่ที่ฝักดอกปทุมยังโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ให้ประดิษฐานลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นรับโภชนะนั้นแล้วกระทำอนุโมทนา โยนบาตรขึ้นในอากาศ เมื่อมหาชนเห็นอยู่นั่นแล แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาส ตรงไปป่าหิมพานต์ เหมือนเหยียบยํ่ากลีบเมฆฝนมีประการต่าง ๆ ไปฉะนั้น

    ฝ่ายมารแพ้แล้วก็ถึง ความโทมนัสไปยังสถานที่อยู่ของตนนั่นเอง ส่วนพระโพธิสัตว์ยืนอยู่บนฝักดอกปทุม แสดงธรรมแก่มหาชน โดยพรรณนาถึงทานและศีล อันมหาชนแวดล้อมเข้าไปยังนิเวศน์ของตน กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ตลอดชีวิตแล้วไปตามยถากรรม.

    พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อที่ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะอย่างนี้ อันเทวดาให้หวั่นไหวไม่ได้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ สิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายได้กระทำไว้แม้ในกาลก่อนเท่านั้น น่าอัศจรรย์ ครั้นทรงนำพระธรรม เทศนานี้มาแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลนั้น ได้ปรินิพพานแล้ว ณ ที่นั้นเอง ส่วนพาราณสีเศรษฐีผู้ทำมารให้พ่ายแพ้ ยืนอยู่บนฝักดอกปทุมแล้วถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า คือเราเองแล
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขรัสสรชาดก ว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง

    พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอำมาตย์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล ทำพระราชาให้โปรดปรานแล้ว ได้กำลังในปัจจันตคาม ไปร่วมกับพวกโจร กล่าวว่า เราจักพาพวกชนทั้งหลายเข้าป่า จากนั้นพวกเจ้าจงเข้าปล้นบ้านของพวกราษฎรที่เราพาเข้าป่าไปนั้น เมื่อได้ทรัพย์แล้ว จงแบ่งให้เราครึ่งหนึ่ง ดังนี้แล้ว ก็ดำเนินการตามแผนนั้น โดยเรียกพวกมนุษย์ให้ประชุมกัน แล้วพาเข้าป่าไปเสียก่อน ครั้นเมื่อพวกโจรพากันมา แล้วจับแม่โคฆ่ากินเนื้อ ปล้นบ้านเรือน เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็พากันหลบหนีไป จากนั้นอำมาตย์จึงพามหาชนกลับเข้าบ้านในเวลาเย็น

    ไม่ช้าไม่นาน ความก็แตก พวกราษฎรจึงพากันไปกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งเรียกเขามาแล้ว ให้กำหนดโทษ ทรงลงพระอาญา สมควรแก่โทษานุโทษ ส่งนายอำเภอผู้อื่นไปแทน แล้วเสด็จไปพระเชตวัน ถวายบังคมพระตถาคต กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อำมาตย์ผู้นั้น ประพฤติอย่างนี้ ถึงในกาลก่อนก็ประพฤติอย่างนี้เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงพระกรุณาพระราชทานปัจจันตคามแก่อำมาตย์ผู้หนึ่ง เรื่องต่อไปทั้งหมด ก็เป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนทั้งหมด ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ท่องเที่ยวไปในปัจจันตคามเพื่อการค้า พำนักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อนายอำเภอผู้นั้น ตีกลองอึกทึกมากับมหาชนผู้ห้อมล้อมในตอนเย็น จึงกล่าวว่า นายอำเภอผู้ร้ายคนนี้รวมหัวกันกับพวกโจรให้ปล้นชาวบ้าน ครั้นพวกโจรพากันหนีเข้าดงไปแล้ว คราวนี้สิมีกลองตีเดินมา ทำเหมือนคนสงบเสงี่ยม แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :

    "เมื่อใดชาวบ้านถูกปล้นเรียบร้อยแล้ว ฝูงโคถูกเชือดแล้ว เรือนทั้งหลายถูกไฟเผาวอดไปแล้ว ผู้คนถูกต้อนไปแล้ว เมื่อนั้นจึงมาตีกลองเสียงอึกทึก" ดังนี้.

    พระโพธิสัตว์ บริภาษเขาด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ ต่อมาไม่นาน กรรมนั้นของเขาปรากฏขึ้น.ครั้งนั้นพระราชา ทรงลงพระอาญาแก่เขา สมควรแก่โทษานุโทษ.

    พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อำมาตย์ผู้นั้น มีปกติประพฤติอย่างนี้ แม้ในครั้งก่อน ก็ได้มีความประพฤติชั่วมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า อำมาตย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นอำมาตย์ในครั้งนี้ ส่วนบัณฑิตผู้ยกคาถาขึ้นกล่าว ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขราทิยชาดก ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ได้ยินว่า ภิกษุนั้นว่ายากไม่รับโอวาท ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอว่ายากไม่รับโอวาทจริงหรือ ? ภิกษุ นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่รับโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ว่ายาก จึงติดบ่วงถึงความสิ้นชีวิต แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นมฤคแวดล้อมด้วยหมู่เนื้ออยู่ในป่า ลำดับนั้น เนื้อผู้เป็นน้องสาวมฤคนั้นแสดงบุตรน้อยแล้วให้รับเอาด้วยคำพูดว่า ข้าแต่พี่ชาย นี้เป็นหลานของพี่ พี่จงให้เรียนมายาเนื้ออย่างหนึ่ง มฤคนั้นกล่าวกะหลานนั้น ว่า ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาเรียนเอา เนื้อผู้หลานไม่มาตามเวลาที่พูดไว้ เมื่อล่วงไป ๗ วันเหมือนดังวันเดียว เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ได้เรียนมายาของเนื้อ ท่องเที่ยวไป จึงติดบ่วง ฝ่ายมารดาของเนื้อนั้นเข้าไปหามฤคผู้พี่ชายแล้วถามว่า ข้าแต่พี่ พี่ให้หลานเรียนมายาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้าอย่าคิดเสียใจต่อบุตรผู้ไม่รับโอวาทสั่งสอนนั้น บุตรของเจ้าไม่เรียนเอามายาของเนื้อเอง เป็นผู้ไม่มีความประสงค์จะโอวาทเนื้อนั้นเลย ในบัดนี้ จึง กล่าวว่า

    ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแต่โคนเขาจนถึงปลายเขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.

    ครั้งนั้น นายพรานฆ่าเนื้อที่ว่ายากตัวนั้นซึ่งติดบ่วง ถือเอาแต่เนื้อ แล้วหลีกไป.

    ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า เนื้อผู้เป็นหลานในกาลนั้น ได้ เป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวในกาลนั้น ได้เป็น พระอุบลวรรณา ในบัดนี้ ส่วนเนื้อผู้ให้โอวาทในกาลนั้น ได้เป็น เราตถาคตแล.
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขันติวรรณนชาดก ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=657 height="100%">ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะมาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม พระราชาแม้ทรงทราบก็ทรงอดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูลพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาในกาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของพระองค์ แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชาเพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่งเป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของพระองค์ ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา จึงกล่าวคาถาแรกว่า :

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
    ข้าพระบาท มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง
    แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด
    ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระเจ้าข้า

    พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :

    บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้
    แต่บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจเสีย

    อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่าพระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้เอง อำมาตย์นั้นรู้ว่าพระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่อาจทำกรรมนั้น
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขันติวาทิชาดก โทษที่ทำร้ายพระสมณะ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ ภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">เรื่องได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ก็ในที่นี้ พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า เธอบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ไม่โกรธ เพราะเหตุไร จึงกระทำความโกรธเล่า บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลาย เมื่อเครื่องประหารตั้งพันตกลงบนร่างกาย เมื่อถูกเขาตัดมือ เท้า หู และจมูก ก็ยังไม่กระทำความโกรธแก่คนอื่น แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุทรงครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นมาณพชื่อว่ากุณฑลกุมาร เจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างในนครตักกศิลา แล้วรวบรวมทรัพย์สมบัติตั้งตัว เมื่อบิดามารดาล่วงลับไป จึงมองดูกองทรัพย์แล้วคิดว่า ญาติทั้งหลายของเราทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นแล้วก็ถือเอาไปไม่ได้เลย แต่เราควรจะหาทรัพย์ที่เราจะสามารถถือเอาไปเมื่อเราสิ้นชีวิตแล้ว จึงจัดแจงทรัพย์ทั้งหมดแล้วให้ทรัพย์แก่คนที่ควรให้ แล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์ บวชเป็นดาบส ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลาผลไม้ อยู่เป็นเวลาช้านาน

    ครั้นเมื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงนครพาราณสีโดยลำดับ แล้วอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้น เที่ยวภิกขาจารไปในนคร ถึงประตูนิเวศน์ของเสนาบดี เสนาบดีเลื่อมใสในอิริยาบถของ พระโพธิสัตว์นั้น จึงให้เข้าไปยังเรือนโดยลำดับ ให้บริโภคโภชนะที่เขาจัดไว้เพื่อตน แล้วนิมนต์ดาบสนั้นให้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นนั่นเอง

    อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากลาปุทรงมึนเมาน้ำจัณฑ์มีนางนักสนมห้อมล้อม เสด็จไปยังพระราชอุทยานด้วยพระอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ให้ลาดพระที่บรรทมบนแผ่นศิลา แล้วบรรทมเหนือตักของหญิงที่ทรงโปรดคนหนึ่ง หญิงนักฟ้อนทั้งหลายผู้ฉลาดในการขับร้อง การประโคม และการฟ้อนรำ ก็ประกอบการขับร้องเป็นต้น พระเจ้ากลาปุก็ทรงบรรทมหลับไป ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้น พากันกล่าวว่า พวกเราประกอบการขับร้อง เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชา ในเมื่อพระราชานั้นก็ทรงบรรทมหลับไปแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราด้วยการขับร้องเป็นต้น จึงทิ้งเครื่องดนตรี ไว้ในที่นั้นๆ เอง แล้วหลีกไปยังพระราชอุทยาน ถูกดอกไม้ ผลไม้ และใบไม้เป็นต้นล่อใจ จึงอภิรมย์อยู่ในพระราชอุทยาน

    ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์นั่งอยู่ ดุจช้างซับมันตัวประเสริฐ ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขในบรรพชาอยู่ ณ โคน ต้นสาละมีดอกบานสะพรั่งในพระราชอุทยานนั้น ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้นเที่ยวไปในพระราชอุทยานอยู่ ได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวกันว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เป็นบรรพชิตนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พวกเราจักนั่งฟังอะไรๆ ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้านั้น ตราบเท่าที่พระราชายังไม่ทรงตื่นบรรทม จึงได้ไปไหว้นั่งล้อมแล้วกล่าวว่า ขอท่านโปรดกล่าวอะไรๆ ที่ควรกล่าวแก่พวกดิฉันเถิด พระโพธิสัตว์จึงกล่าวธรรมแก่หญิงเหล่านั้น

    ครั้งนั้น หญิงผู้ที่พระราชาบรรทมเหนือตักอยู่นั้นขยับตัว ทำให้พระราชาตื่นบรรทม พระราชาทรงตื่น บรรทมแล้วไม่เห็นหญิงพวกนั้น จึงตรัสว่า พวกหญิงถ่อยไปไหน

    หญิงคนโปรดนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช หญิงเหล่านั้นไปนั่งล้อมดาบสรูปหนึ่ง

    พระราชาทรงกริ้วถือพระขรรค์ได้รีบเสด็จไป ด้วยตั้งพระทัยว่า จักตัดหัวของชฎิลโกงนั้น ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้น เห็นพระราชาทรงกริ้วกำลังเสด็จมา ในบรรดาหญิงเหล่านั้น หญิงคนที่โปรดมากไปแย่งเอาพระแสงดาบจากพระหัตถ์ของพระราชาให้พระราชาสงบระงับ

    พระราชานั้นเสด็จไปประทับยืนในสำนักของพระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า สมณะ แกมีวาทะว่ากระไร ?

    พระโพธิสัตว์ ทูลว่า มหาบพิตรอาตมามี ขันติวาทะ กล่าวยกย่องขันติ
    พระราชา ที่ชื่อว่าขันตินั้น คืออะไร ?

    พระโพธิสัตว์ คือความไม่โกรธในเมื่อเขา ด่าอยู่ ประหารอยู่ เย้ยหยันอยู่

    พระราชาตรัสว่า ประเดี๋ยว เราจักเห็นความมีขันติของแก แล้วรับสั่งให้เรียกเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจรมา เพชฌฆาตนั้นถือขวานและแซ่หนามตามจารีตของตน นุ่งผ้ากาสาวะ สวมพวงมาลัยแดง มาถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า จักให้ข้าพระองค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า ?

    พระราชาตรัสว่า เจ้าจงจับดาบสชั่วเยี่ยงโจรนี้ ฉุดให้ล้มลงพื้นแล้วเอาแซ่หนามเฆี่ยนสองพันครั้ง ในที่ทั้งสี่ คือ ข้างหน้า ข้างหลัง และด้านข้างๆ ทั้งสองด้าน เพชฌฆาตนั้นได้ กระทำเหมือนรับสั่งนั้น ผิวของพระโพธิสัตว์ขาด หนังขาด เนื้อขาด โลหิตไหล

    พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามีวาทะว่ากระไร ?

    พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมามีวาทยกย่องขันติ ก็พระองค์สำคัญว่า ขันติมีในระหว่างหนังของอาตมา ขันติไม่ได้มีในระหว่างหนังของอาตมา มหาบพิตร ก็ขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัย ซึ่งพระ องค์ไม่อาจแลเห็น

    เพชฌฆาตทูลถามอีกว่า ข้าพระองค์จะทำอะไร ?

    พระราชาตรัสว่า จงตัดมือทั้งสองข้างของดาบสโกงผู้นี้

    เพชฌฆาตนั้น จับขวานตัดมือทั้งสองข้างแค่ข้อมือ ทีนั้น พระราชาตรัสกะเพชฌฆาต นั้นว่า จงตัดเท้าทั้งสองข้าง เพชฌฆาตก็ตัดเท้าทั้งสองข้าง โลหิตไหลออกจากปลายมือและปลายเท้า เหมือนรดน้ำครั่งไหลออกจากหม้อทะลุฉะนั้น

    พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามีวาทะว่ากระไร ?

    พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตรอาตมามีวาทะยกย่องขันติ ก็พระองค์สำคัญว่า ขันติมีอยู่ที่ปลายมือปลายเท้าของอาตมา ขันตินั่นไม่มีอยู่ที่นี้ เพราะขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัย

    พระราชานั้นตรัสว่า จงตัดหูและจมูกของดาบสนี้

    เพชฌฆาตก็ตัดหู และจมูก ทั่วทั้งร่างกายมีแต่โลหิต พระราชาตรัสถามอีกว่า เจ้ามีวาทะกระไร ?

    พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมามีวาทะยกย่องขันติ แต่พระองค์ได้สำคัญว่า ขันติตั้งอยู่เฉพาะที่ปลายหู ปลายจมูก ขันติของอาตมาตั้งอยู่เฉพาะภายในหทัยอันลึก

    พระราชาตรัสว่า เจ้าชฎิลโกง เจ้าเท่านั้นจงนั่งยกเชิดชูขันติของเจ้าเถิด แล้วเอาพระบาท กระทืบยอดยกแล้วเสด็จหลีกไป เมื่อพระราชานั้นเสด็จไปแล้ว เสนาบดีเช็ดโลหิตจากร่างกายของพระโพธิสัตว์ แล้วเก็บรวบรวมปลายมือ ปลายเท้า ปลายหู และปลายจมูกไว้ที่ชายผ้าสาฎกค่อยๆ ประคองให้ พระโพธิสัตว์นั่งแล้วไหว้ ได้นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านจะโกรธ ควรโกรธพระราชาผู้ทำผิดในท่านไม่ควรโกรธผู้อื่น เมื่อจะอ้อนวอนจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :
    [๕๕๐] ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ผู้ใด ให้ตัดมือ ตัดเท้า หู และจมูกของท่านท่านจงโกรธผู้นั้นเถิด อย่าได้ทำรัฐนี้ให้พินาศเสียเลย.

    พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :
    [๕๕๑] พระราชาพระองค์ใด รับสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของอาตมภาพ ขอพระราชาพระองค์นั้น จงทรงพระชนม์ยืนนาน บัณฑิตทั้งหลาย เช่นกับอาตมภาพ ย่อมไม่โกรธเคืองเลย.

    ในกาลที่พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ลับคลองจักษุของพระโพธิสัตว์เท่านั้น มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์นี้ก็ แยกออก เปลวไฟ จากอเวจีนรก แลบออกมาจับพระราชาเหมือนห่มด้วยผ้ากัมพลแดง พระราชาถูกธรณีสูบที่ประตูพระราชอุทยานนั่นเอง แล้วไปอยู่ในอเวจีมหานรก พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำกาละในวันนั้นเอง ราชบุรุษและชาวนครทั้งหลายถือของหอม ดอกไม้ ประทีป และธูป มากระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์ มีอภิสัมพุทธคาถาทั้งสองคาถานี้อยู่ว่า :

    [๕๕๒] สมณะผู้สมบูรณ์ด้วยขันติ ได้มีมาในอดีตกาลแล้ว พระเจ้ากาสีรับคำสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของสมณะผู้ตั้งอยู่ในขันติ.
    [๕๕๓] พระเจ้ากาสีหมกไหม้อยู่ในนรก ได้เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนของกรรมที่หยาบช้านั้น.

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ขี้โกรธ บรรลุพระอนาคามิผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้ากาสีพระนามว่ากลาปุในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต เสนาบดีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนดาบส ผู้มีวาทะยกย่องขันติในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขันธปริตตชาดก ว่าด้วยพระปริตต์ป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=657 height="100%">ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งูตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุ ได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า ภิกษุนั้นมรณภาพในที่นั้นทันที เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไปทั่ววัด ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่าภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกภิกษุรูปนั้นจักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้วงูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ ปลอดจากภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสีครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษีแวดล้อมอยู่อย่างสงบ

    ครั้นนั้นที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤๅษี พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้วกล่าวว่า หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลงูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป พวกเธอจงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :

    ขอไมตรีจิตของเราจึงมีกับตระกูลพญางู ชื่อว่า วิรูปักขะ
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ

    พระโพธิสัตว์ครั้งแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ นั้น งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :

    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า
    ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก

    พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้วบัดนี้เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้องจึงกล่าวคาถานี้ว่า :

    ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี๔ เท้า
    สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย

    บัดนี้เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :
    ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดหมดแล้วทั้งสิ้นด้วยกันจงประสบพบแต่ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย

    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะเจาะจงในสรรพสัตว์อย่างนี้ เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอีก จึงกล่าวว่า :
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้
    บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม
    ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ประมาณได้

    พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณมีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์เลื้อยคลานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยอันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้ จงทำการปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :

    เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว
    ขอสัตว์ทั้งหลาย จงพากันหลีกไป
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์

    พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี ก็พระปริตรนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้นเพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่ หรือเพราะแสดงเมตตาภาวนาทั้งสอง คือ โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้าหาเหตุอื่นต่อไป

    ตั้งแต่นั้นมาคณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อฤๅษีรำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป แม้พระโพธิสัตว์ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า คณะฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วนครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขุรปุตตชาดก ว่าด้วยทำตนให้ไร้ประโยชน์

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเล้า จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้.

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก เมื่อเธอทูลว่า จริง พระเจ้าข้า ครั้นเมื่อถูกตรัสถามอีกว่า เธอกระสันอยากสึก เพราะเหตุอะไร ? เมื่อเธอทูลว่า เพราะภรรยาเก่า พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ดังนี้แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า เสนกะ ครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ให้พระองค์ทรงทำความเคารพ ครั้งนั้น พระเจ้าเสนกะทรงมีความรักใคร่กับด้วยนาคราชตัวหนึ่ง ได้ทราบว่า นาคราชนั้นออกจากนาคพิภพเที่ยวหาจับเหยื่อบนบกกิน ครั้งนั้น เด็กชาวบ้านเห็นมันแล้ว บอกกันว่า นี้งู! นี้งู!แล้วพากันเอาก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นตีงูนั้น

    ในเวลานั้น พระราชาเสด็จสำราญที่พระราชอุทยาน ทรงเห็นดังนั้นจึงตรัสถามว่า เด็กเหล่านั้นทำอะไรกัน ? ครั้นเมื่อทรงทราบว่าเด็กเหล่านั้นกำลังจะฆ่างูตัวหนึ่ง จึงตรัสสั่งว่า พวกเอ็งอย่าฆ่า จงปล่อยมันไป แล้วทรงให้นาคราชนั้นหนีไปแล้ว นาคราชจึงได้มีชีวิตอยู่ แล้วกลับไปยังนาคพิภพ

    ครั้นเวลาเที่ยงคืนพญานาคราชนั้นก็ได้ถือเอารัตนะมากมายจากนาคพิภพ เข้าไปยังพระที่นั่งสำหรับพระราชาบรรทม ทูลเกล้าถวายรัตนะเหล่านั้น แล้ว ทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าอาศัยพระองค์แล้วได้ชีวิตมา แล้วได้ทำมิตรภาพกับพระราชา จึงไปเฝ้าพระราชาบ่อยๆ

    นาคราชนั้นได้ตั้งนาคมาณวิกานางหนึ่ง ผู้ไม่อิ่มในกามคุณ ในบรรดานางนาคมาณวิกาทั้งหลายของตนไว้ประจำราชสำนัก เพื่อประโยชน์แก่การรักษาพระองค์พระราชา เขาทูลว่า เมื่อใดพระองค์ไม่ทรงเห็นนาคมาณวิกาคนนั้น เมื่อนั้นพระองค์พึงทรงร่ายมนต์บทนี้ แล้วได้ถวายมนต์บทหนึ่งแด่พระองค์

    อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์เสด็จพระราชอุทยาน ทรงเล่นน้ำในสระโบกขรณี กับนางนาคมาณวิกา นางนาคมาณวิกาเห็นงูน้ำตัวหนึ่ง จึงเปลี่ยนแปลงร่างเป็นงู เสพกามกับงูตัวนั้น พระราชาเมื่อไม่ทรงเห็นนาคมาณวิกานั้น ทรงสงสัยว่า เธอไปไหนหนอ ? จึงทรงร่ายมนต์ แล้วทรงเห็นนางกำลังทำอนาจาร จึงทรงตีด้วยซีกไม้ไผ่ นางโกรธ จึงออกจากพระราชอุทยานนั้น ไปยังนาคพิภพ เมื่อถูกนาคราชถามว่า เหตุไฉนเจ้าจึงมา ?

    ทูลว่า สหายของพระองค์ตีหลังหม่อมฉันผู้ไม่เชื่อถือถ้อยคำของตน แล้วแสดงการตีให้ดู นาคราช ไม่ทราบตามความจริงเลย จึงเรียกนาคมาณพ ๔ ตนมา ส่งไปโดยดำรัสว่า สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงพากันเข้าไปยังพระที่นั่งบรรทมของพระเจ้าเสนกะ แล้วทำลายพระที่นั่งนั้นให้เป็นเหมือนแกลบ ด้วยการพ่นพิษนั่นเอง

    นาคมาณพเหล่านั้นพากันไปแล้ว ได้เข้าไปยังห้องในเวลาที่พระราชาทรงบรรทมบนพระยี่ภู่ที่สง่างาม ในเวลาที่นาคมาณพเหล่านั้นเข้าไปนั่นเอง พระราชาได้ตรัสถามพระราชเทวีว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เธอรู้ไหมว่าที่นางนาคมาณวิกาไปนั้นเพราะเหตุใด ?

    พระราชเทวีทูลว่า หม่อมฉันไม่รู้เพคะ

    พระราชาตรัสว่า วันนี้นาคมาณวิกานั้นได้กลับร่างของตนเป็นงู แล้วทำอนาจารกับงูน้ำตัวหนึ่ง ในเวลา เล่นน้ำในสระโบกขรณีของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้นฉันจึงได้เอาซีกไม้ไผ่ ตีเขา เพื่อต้องการให้สำนึกว่า เจ้าอย่าทำอย่างนี้ เขาไปยังนาคพิภพ คงบอกอะไรอย่างอื่นแก่สหายของเรา แล้วทำลายมิตรภาพเสีย ภัยจักเกิดขึ้นแก่เรา

    นาคมาณพทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงพากันกลับออกไปจากพระที่นั่งบรรทมนั้น แล้วไปยังนาคพิภพทูลเนื้อความนั้นแก่นาคราช ท้าวเธอถึงความสังเวช แล้วได้เสด็จมายังพระที่นั่งบรรทมของพระราชา ทูลให้ทราบเนื้อความนั้น ขอขมาพระองค์ แล้วได้ถวายมนต์ ชื่อว่า สรรพรุตชนนะ คือมนต์รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด โดยมุ่งหมายว่า นี้เป็นการขอขมาของเรา แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช มนต์นี้หาค่าบ่มิได้ ถ้าหากพระองค์จะได้ประทานมนต์นี้แก่ผู้อื่นไซร้ จะต้องทรงกระโดดเข้ากองไฟสวรรคต

    พระราชา ทรงรับคำว่าดีแล้ว ต่อแต่นั้นมา แม้เสียงมดแดงพระองค์ก็ทรงทราบ วันหนึ่งเมื่อพระองค์ประทับนั่งที่ท้องพระโรง เสวยของเคี้ยวจิ้มน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำผึ้งน้ำอ้อยหยดหนึ่งและขนมชิ้นหนึ่งตกลงที่พื้น มดแดงตัวหนึ่ง เห็นหยดน้ำผึ้งเป็นต้นนั้น เที่ยวร้องบอกกันว่า ถาดน้ำผึ้งของหลวงแตกที่ท้องพระโรง หม้อน้ำอ้อย หม้อขนมคว่ำ ท่านทั้งหลายจงกินน้ำผึ้งน้ำอ้อยและขนม

    พระราชาทรงสดับเสียงร้องบอกของมดแดงแล้ว ทรงพระสรวล พระราชเทวีประทับที่ใกล้เคียงพระราชา ทรงดำริว่า พระราชาทรงเห็นอะไรหนอ จึงทรงพระสรวล ?

    เมื่อพระราชานั้น เสวยของเคี้ยว ทรงสรงสนานแล้ว ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ แมลงวันตัวผู้พูดกับแมลงวันตัวเมีย ตัวหนึ่งว่ามาเถิดน้องเอ๋ย พวกเรามาอภิรมย์กันด้วยความยินดีด้วยกิเลส ลำดับนั้น แมลงวันตัวเมียพูดกับแมลงวันตัวผู้นั้นว่า คอยก่อนเถอะพี่นาย บัดนี้ ราชบุตรจะนำของหอมมาถวายพระราชา เมื่อพระองค์ทรงลูบไล้ ผงของหอมจักตกลงแทบบาทมูล ฉันจักร่อนถลาไป ณ ที่นั้นแล้วตัวฉันก็จะมีกลิ่นหอม ต่อจากนั้น เราก็จักนอนอภิรมย์กันเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระราชา พระราชาทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ทรงพระสรวล ฝ่ายพระเทวีก็ทรงดำริอีกว่า พระราชาทรงเห็นอะไรหนอ จึงทรงพระสรวล ?

    เมื่อพระราชาทรงเสวยพระกระยาหารเย็นอีก ภัตพิเศษก้อนหนึ่งหล่นที่พื้น มดแดงทั้งหลายก็ร้องบอกกันว่า หม้อพระกระยาหารในราชตระกูลแตกแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงพากันไปรับประทานภัตตาหารเถิด พระราชาครั้น ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็ทรงพระสรวลอีก ฝ่ายพระราชเทวี ทรงถือเอาช้อนทองอังคาสพระราชาอยู่ จึงทรงพระวิตกว่า พระราชาทรงเห็นอะไรหนอ จึงทรงพระสรวล ?

    ในเวลาเสด็จขึ้นแท่นพระบรรทมกับพระราชา พระนางทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพระสรวลเพราะเหตุอะไร ? พระองค์ตรัสว่า จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเธอ เพราะเหตุที่ฉันหัวเราะ ครั้นถูกพระนางรบเร้าให้ตรัสบอกบ่อยๆ จึงบอกเรื่องที่ทรงรู้มนต์ที่ทำให้รู้เสียงสัตว์ พระเทวีภายหลังจึงทูลพระองค์ว่า ขอพระองค์จงประทานมนต์ที่ทำให้รู้เสียงสัตว์ของพระองค์แก่หม่อมฉัน

    แม้ถูกพระราชาทรงห้ามว่า ไม่อาจให้ได้ ก็ทรงรบเร้าบ่อยๆ พระราชาจึงตรัสว่า ถ้าหากฉันจักให้มนต์นี้แก่เธอไซร้ ฉันก็จักตาย

    พระนางทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถึงพระองค์จะสิ้นพระชนม์ ก็จงประทานแก่หม่อมฉัน

    เพราะพระราชาเป็นผู้ชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจสตรี จึงทรงรับคำว่า ดีละ แล้วทรงตัดสินพระทัยว่า เราจักให้มนต์แก่พระราชเทวี แล้วจึงจะเข้ากองไฟ ดังนี้แล้วได้เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานด้วยราชรถ ขณะนั้นท้าวสักกะทรงตรวจดูสัตวโลกอยู่ ทรงเห็นเหตุการณ์นี้ แล้วทรงดำริว่า พระราชาเขลาองค์นี้เพราะเพื่อสตรีผู้หนึ่ง ถึงกับเสด็จไปด้วยหมายพระทัยว่า จักเข้ากองไฟ เราจักให้ชีวิตแก่เขา แล้วจึงทรงพาเอาอสุรกัญญา ทรงพระนามว่า สุชา มายังกรุงพาราณสี ทรงทำให้นางสุชาเป็นแพะตัวเมีย พระองค์เอง เป็นแพะตัวผู้ แล้วทรงอธิษฐานว่า ขออย่าให้มหาชนเห็น แล้วได้อยู่ข้างหน้าราชรถ

    พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นแพะนั้น และม้าที่เทียมรถก็เห็นด้วย แต่ใครคนอื่นไม่เห็น แพะตัวผู้ทำท่าจะเสพเมถุนกับแพะตัวเมีย เพื่อจะสร้างเรื่องราวขึ้น ม้าเทียมรถตัวหนึ่งเห็นแพะนั้น จึงพูดว่า เจ้าเพื่อนแพะเอ๋ย เมื่อก่อนพวกเราได้ยินเขาเล่ากันว่า พวกแพะโง่ ไม่มีความละอาย แต่แกทำอนาจาร ที่สมควรจะต้องทำในที่ลับ นั้นต่อหน้าพวกเราทั้งหมดที่กำลังดูอยู่นั่นเองโดยไม่ละอาย คำที่พวกข้าพเจ้าได้ยินมาแต่ก่อนนั้น สมกับเหตุการณ์ที่ได้เห็นอยู่นี้ แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:

    [๙๐๕] เป็นความจริงทีเดียว ที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า แพะเป็นสัตว์โง่เขลาดูเถิด แพะโง่เขลา มิได้รู้จักกรรมที่ควรทำในที่ลับและที่แจ้ง.

    แพะได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า:
    [๙๐๖] แน่ะม้าผู้เป็นสหาย ท่านจงรู้เถิดว่า ท่านเป็นสัตว์โง่เขลา เพราะท่านนั่นแหละถูกเขาผูกด้วยเชือก มีปากคด ถูกปิดหน้า.
    [๙๐๗] แน่ะสหาย ความโง่ของเจ้ายังมีอยู่อีก เจ้าเขาแก้ออกแล้วไม่หนีไปเสียนั่นและชื่อว่า เจ้ายังมีโง่อยู่อีก แน่ะสหาย พระเจ้าเสนกะที่เจ้าพาไปนั้นยังโง่ไปกว่าเจ้าเสียอีก.

    พระราชาทรงเข้าพระทัยถ้อยคำของสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อทรงสดับคำนั้น จึงทรงให้ขับรถไปค่อยๆ ฝ่ายม้าสินธพ ได้ฟังคำของแพะแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:
    [๙๐๘] ดูกรพระยาแพะผู้สหาย ได้ยินว่า ท่านรู้ว่า เราเป็นสัตว์โง่เขลา แต่พระเจ้าเสนกะ โง่เขลากว่า เพราะเหตุไรเล่า ขอเจ้าจงบอกเหตุที่เราถามนั้นเถิด?

    แพะเมื่อจะบอกเหตุนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า:
    [๙๐๙] พระเจ้าเสนกะได้มนต์วิเศษชื่อว่า สัพพรุทชานนมนต์ แล้วประทานมนต์นั้นแก่พระอัครมเหสี ทรงยอมสละพระองค์ ด้วยเหตุนั้น พระอัครมเหสีนั้น จักไม่เป็นพระเทวีของพระเจ้าเสนกะ เพราะฉะนั้นพระเจ้าเสนกะจึงทรงโง่เขลากว่าท่าน.

    พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า อชราชเอ๋ย ก็เจ้าแม้เมื่อจะทำความสวัสดีแก่เรา จักทำสิ่งนั้น ก่อนอื่นขอเจ้าจงบอกสิ่งที่ควรแก่สิ่งที่จะต้องทำแก่เรา

    ครั้งนั้น อชราช (แพะ) จึงทูลกะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ไม่มีผู้อื่นที่ชื่อว่า เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ยิ่งกว่าตน คนไม่ควรให้ตนพินาศ ไม่ควรละทิ้งยศที่ได้แล้ว เพราะอาศัยของรักอย่างเดียว ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า:
    [๙๑๐] ข้าแต่จอมประชาชน บุคคลผู้เช่นกับพระองค์ ทำตนให้ไร้ประโยชน์ด้วยคิดว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา ชื่อว่า ไม่ซ่องเสพสิ่งที่เป็นที่รักทั้งหลาย <SUP>*</SUP> ตนเท่านั้น ประเสริฐกว่าสิ่งที่ประเสริฐอย่างอื่น ภรรยาผู้เป็นที่รักอันบุรุษผู้มีตนอันเจริญแล้วอาจจะได้ (หญิงที่รัก) ในภายหลัง.

    พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป

    <SUP>*</SUP> มีคำอธิบายว่า ข้าแต่จอมนรชนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในความยิ่งใหญ่ด้วยยศ เช่นพระองค์ เพราะอาศัยหญิงที่เป็นที่รักคนหนึ่ง ถึงกับทอดทิ้งตน ที่เป็นที่รักอย่างยิ่งกว่าอย่างอื่น ไม่คบหาของรักเหล่านั้นเลยว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา

    พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแด่พระราชา ด้วยประการอย่างนี้ พระราชาทรงพอพระทัย แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอชราช ท่านมาจากที่ไหน ?

    ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ข้าแต่มหาราช เราคือท้าวสักกะมาด้วยความอนุเคราะห์ท่าน เพื่อจะปลดเปลื้องท่านจากความตาย.

    พระราชา ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ได้ลั่นวาจาออกไปแล้วว่า ข้าพระองค์จักให้มนต์แก่พระเทวี บัดนี้ ข้าพระองค์จะกระทำอย่างไร ?

    ท้าวสักกะ ดูก่อนมหาราช ภารกิจด้วยความพินาศจะไม่มีแก่ท่านทั้ง ๒ ถ้าท่านกล่าวว่า อุปจารแห่งศิลปะมีอยู่ แล้วให้คนคนหนึ่งเฆี่ยนพระราชเทวี ๒ - ๓ ครั้ง ด้วยอุบายนี้ นางจักไม่เรียน

    พระราชาทรงรับเทพดำรัสว่า ดีแล้ว

    พระมหาสัตว์ถวายโอวาทพระราชาแล้ว ได้เสด็จไปยังสถานที่ของพระองค์นั่นเอง พระราชาเสด็จไปถึงพระราชอุทยานแล้ว ตรัสสั่งให้หาพระราชเทวีมา แล้วตรัสถามว่า น้องนางเอ๋ย เธอจักเรียนมนต์หรือ

    พระนางทูลว่า เพคะ ข้าแต่สมมติเทพ.
    พระราชา ถ้ากระนั้น เราจะทำอุปจาระแห่งศิลปะ.
    พระเทวี อุปจาระเป็นอย่างไร ?
    พระราชา เมื่อเฆี่ยนที่หลัง ๑๐๐ ครั้ง เธอไม่ควรส่งเสียงร้อง.
    พระนางทรงรับพระราชดำรัสว่า สาธุ เพราะอยากได้มนต์.

    พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเจ้าหน้าที่มาแล้วให้รับเอาหวายไปเฆี่ยนพระเทวี พระนางทรงทนทานการเฆี่ยน ๒ - ๓ ครั้งได้ ต่อจากนั้นไปทรงร้องว่า หม่อมฉันไม่ต้องการมนต์แล้ว ครั้งนั้นพระราชาจึงตรัสกะพระนางว่า เธอประสงค์จะเรียนมนต์ โดยให้ฉันตายไป แล้วทรงให้ถลกหนังที่พระขนองทิ้งออกไป นับแต่นั้นมา พระนางไม่อาจกราบทูลอีก.

    พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันอยากสึก ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประมวลชาดกลงไว้ว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันอยากสึกในบัดนี้ พระราชเทวีเป็นภรรยาเก่าของภิกษุนั้น ม้าเป็นพระสารีบุตร ส่วนท้าวสักกเทวราชเป็นเราตถาคต นั่นเอง ดังนี้แล.
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขุรัปปชาดก ถึงคราวกล้าควรกล้า

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568 height="100%">ความว่า พระศาสดาทรงตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนำมาในโรงธรรมสภาว่า ได้ยินว่า เธอสละความเพียรจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์อย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงละความเพียรเสีย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สละความเพียร แม้ในฐานะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลผู้รักษาดงแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยมีบุรุษ ๕๐๐ เป็นบริวาร เป็นหัวหน้าคนทั้งปวง ในบรรดาคนผู้รักษาดงอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง ก็หัวหน้าผู้รักษาดงนั้นรับจ้างพาพวกมนุษย์ให้ข้ามดง

    ครั้นวันหนึ่ง บุตรพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม มาถึงบ้านนั้น เรียกหัวหน้าผู้รักษาดงนั้นมาพูดว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วพาเราให้ข้ามพ้นดง เขารับคำแล้วถือเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ จากมือของบุตรพ่อค้านั้น เมื่อรับค่าจ้างอย่างนี้ จะต้องสละชีวิตเพื่อบุตรพ่อค้านั้น

    เขาพาบุตรพ่อค้านั้นเข้าดง พวกโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่กลางดง บุรุษที่เหลือพอแลเห็นพวกโจรเท่านั้นพากันนอนราบ หัวหน้าผู้อารักขาคนเดียวเท่านั้นเปล่งสีหนาทวิ่งเข้าประหัตประหารให้พวกโจร ๕๐๐ หนีไป ให้บุตรพ่อค้าข้ามพ้นทางกันดารโดยปลอดภัย ฝ่ายบุตรพ่อค้าให้หมู่เกวียนพักอยู่ในที่ห่างไกลทางกันดารแล้ว ให้หัวหน้า ผู้อารักขาบริโภคโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ส่วนตนเองบริโภคอาหารเช้า แล้วนั่งสบาย เจรจาอยู่กับหัวหน้าผู้อารักขานั้น เมื่อจะถามว่า ดูก่อน สหาย ในเวลาที่พวกโจรผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นจับอาวุธกรูเข้ามา เพราะเหตุไรหนอ แม้ความสดุ้งตกใจกลัวก็ไม่เกิดขึ้น จึงกล่าวคาถา ที่ ๑ ว่า :

    [๓๙๔] เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉนหนอ ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม

    หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขาได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :
    [๓๙๕] เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลม ถือดาบอันคมกล้า ซึ่งขัดแล้วด้วยน้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เรากลับได้ความยินดีและโสมนัสมากยิ่ง

    [๓๙๖] เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้เพราะว่า ชีวิตของเราๆ ได้สละมาแต่ก่อนแล้ว เราไม่ได้ทำความอาลัยในชีวิต บุคคลผู้กล้าหาญพึงกระทำกิจของคนกล้า ในกาลบางคราว

    หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขานั้น ทำให้บุตรของพ่อค้ารู้ว่าตนได้ทำกิจของคนกล้าหาญแล้ว และเมื่อได้ส่งบุตรพ่อค้าไปแล้ว ก็กลับมายังบ้านของตนตามเดิม ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ไปตามยถากรรมแล้ว

    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศ สัจจะในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้สละความเพียร ดำรงอยู่ในพระอรหัต แล้วทรงประชุมชาดกว่า หัวหน้าคนทำการอารักขาในกาลนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปูทองผู้ฉลาด

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภการเสียสละชีพของพระอานนทเถระเพี่อพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอาชีพกสิกรรม วันหนึ่งเขาไปนาพร้อมบริวารบอกลูกน้องให้ทำงาน แล้วตนเองก็ไปล้างหน้าที่หนองน้ำปลายนาในหนองน้ำนั้นมีปูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ มีสีเหลืองเหมือนสีทอง พอถึงหนองน้ำเขาก็แปรงฟัน ก่อนค่อยลงไปล้างหน้า ขณะนั้นเองปูทองได้มาอยู่ใกล้ ๆ เขา เขาเห็นมันแล้วเกิดความเอ็นดูมันจึงจับมันขึ้นมาวางไว้ที่ผ้าห่มของเขา เมื่อจะกลับไปทำนาต่อก็ปล่อยมันลงน้ำไป
    วันต่อมา พอเขามาถึงนาก็จะแวะไปที่หนองน้ำจับปูขึ้นมานอนที่ผ้าห่มก่อนแล้วไปทำนาทั้งวัน ตกเย็นไปปล่อยปูลงน้ำแล้วค่อยกลับบ้านไปเป็นลักษณะเช่นนี้ประจำ เขากับปูทองจึงเกิดความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ดวงตาของพราหมณ์มีลักษณะแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือจะเป็นวงกลม ๓ ชั้นใสแจ๋ว ที่ปลายนานั้นมีกาผัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง นางกาเกิดแพ้ท้องอยากกินดวงตาของพราหมณ์เจ้าของนา
    "ถ้าไม่ได้กินฉันคงตายแน่ ๆ เลยล่ะ"
    สามีเอ่ยปากตอบด้วยความเกียจคร้านว่า "น้องจะบ้าเหรอ ใครจะไปบังอาจเอาดวงตาของคนมาได้ อย่าหวังเลยน้อง"
    นางกาจึงเสนออุบายอย่างหนึ่งว่า "พี่ใต้ต้นตาลนี้มีงูเห่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ถ้าเราใช้ให้งูเห่ากัดเขาตายแล้วค่อยเจาะดวงตาของเขา ความหวังฉันก็เป็นจริงนะสิ"
    กาสามีเห็นดีด้วย นับแต่วันนันกาทั้งสองเริ่มปรนนิบัติงูเห่าด้วยการนำอาหารมาให้เป็นประจำ
    พอข้าวในนาเริ่มตั้งท้อง ปูทองก็เติบโตเต็มที่วันหนึ่งเวลาเช้าตรู่ พราหมณ์ก็ออกมาดูนาตามปกติ เขาแวะไปที่หนองน้ำจับปูมาวางไว้ที่ผ้าห่มแล้ว กำลังจะเดินขึ้นคันนาเลาะดูข้าวเท่านั้น ก็ถูกงูเห่ากัดเข้าที่น่องล้มลงตรงนั้น งูเห่ากัดเข้าก็เลื้อยเข้าจอมปลวกไป พอเขาล้มลงปูทองได้กระโดดขึ้นไปเกาะอยู่บนยอดอกของเขา กาตัวผู้ก็บินมาจับบนร่างของเขาเช่นกัน ขณะที่กากำลังจะจิกดวงตาของเขานั่นเอง ปูทองก็ใช้ก้ามปูหนีบคอกาเอาไว้แน่น แล้วขู่ว่า
    "เจ้ากาชั่ว เจ้าเรียกงูมาเดี๋ยวนี้นะ มิเช่นนั้น เจ้าคอขาดแน่ ๆ"
    กากลัวตายจึงร้องเรียกงูว่า "เฮ้ย..งูเห่าเพื่อนรักกลับมาก่อน ข้าถูกปูตาโปนหนึบคอแล้ว กลับมาช่วยกันก่อน"
    งูเห่าพอได้ยินเสียงเรียกก็เลื้อกลับมาแผ่บังพานหันจะฉกปู ปูจึงใช้กามปูอีกข้างหนึ่งหนีบคองูเอาไว้อีก
    งูเห่าดิ้นไม่หลุดจึงร้องถามปูทองว่า "เจ้าปูตาโปน ปล่อยพวกข้าเดี๋ยวนี้นะ เจ้าหนีบคอพวกข้าทั้งสองไว้ทำไม"
    ปูทองตอบว่า "เจ้างูชั่ว ชายคนนี้เป็นที่พึ่งของข้า ถ้าเขาตายไปข้าก็ต้องตายด้วย เพราะไม่มีผู้คุ้มครอง เจ้ามาทำให้เขาตายเสียแล้ว พวกเจ้าต้องตาย"
    งูฟังแล้วคิดจะล่อลวงปูจึงพูดว่า "เจ้าปูตาโปน ถ้าเช่นนั้น ข้าจะดูดพิษกลับคืนให้เขาฟื้นคืนชีพมา เจ้าปล่อยพวกข้าก่อนสิ ก่อนที่พิษร้ายแรงจะทำให้เขาตาย"
    ปูรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของงูจึงพูดว่า "เจ้างูชั่ว ข้าจะปล่อยเจ้า ต่อเมื่อเห็นชายคนนี้ลุกขึ้นได้ก่อนแล้ว ข้าถึงจะปล่อยกาไป" ว่าแล้วก็คลายก้ามให้งูเลื้อยไปดูดพิษคืน เมื่อพราหมณ์ได้ลุกขึ้นยืนเป็นปกติแล้ว ปูคิดว่าถ้าขืนปล่อยให้สัตว์ทั้งสองนี้ไป ก็จะกลับมาทำร้ายพราหมณ์เจ้าของนาอีกจนได้ จึงใช้ก้ามปูหนีบคอสัตว์ทั้งสองเสียชีวิตทันที ฝ่ายนางกาที่จับอยู่บนต้นตาลเห็นเหตุการณ์กลับตาลบัตรเช่นนั้น ก็รีบบินหนีไปอยู่ที่อื่น
    พราหมณ์เจ้าของนาโยนร่างของกาและงูทิ้งเข้าป่าไป นับตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมาพราหมณ์และปูทองก็ยิ่งสนิทสนมคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนตราบสิ้นชีวิต


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>อย่าคิดทำร้ายคนอื่น เพราะตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง คนและสัตว์ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน อย่าได้คิดทำลายสัตว์และธรรมชาติเลย</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชายหนุ่มปราบยักษ์

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าชื่อสุตนะอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วเขาก็ได้ออกรับจ้างหาเลี้ยงชีพเลี้ยงมารดา ในสมัยนั้นพระราชาชอบล่าสัตว์วันหนึ่งพระองค์เสด็จเข้าป่าลึกไปพร้อมทหารและอำมาตย์หมู่ใหญ่ตกลงกันว่า "ถ้าเนื้อวิ่งไปทางใคร คนนั้นจะถูกปรับ" วันนั้นมีละมั่งตัวหนึ่งวิ่งหนีไปทางพระราชา พระองค์เห็นแล้วก็ง้างธนูยิงไปละมั่งหลบได้ แต่ทำทีล้มลงนอนตาย พระราชานึกว่ามันตายแล้วจึงลงจากหลังม้าเดินไปดู ละมั่งรีบลุกขึ้นแล้ววิ่งหนีไป พระราชารีบควบม้าตามไป พร้อมมีเสียงหัวเราะเยาะของพวกอำมาตย์ตามหลังไป

    พระราชาควบตามไปทันละมั่งแล้วฟันมันด้วยพระขรรค์ขาดเป็น ๒ ท่อน เพื่อระบายโทสะ ใช้ไม้เสียบคอนไว้ที่ท่อนหนึ่ง ด้วยความเมื่อยล้าจึงเข้าไปเอนกายที่ใต้ต้นไทรต้นหนึ่ง และม่อยหลับไป ที่ต้นไทรนั้นมียักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ มันตั้งกติกาไว้ว่าใครเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มไทรนี้จะถูกจับกิน มันจึงจับพระหัตถ์ของพระราชาปลุกให้ลุกขึ้นพร้อมที่จะกิน พระราชาเมื่อทราบว่ามันเป็นยักษ์ก็ขอไว้ชีวิตไว้ โดยมอบเนื้อละมั่งตัวนั้นให้ยักษ์กิน และสัญญาว่าจะส่งชาวเมืองมาให้ยักษ์กินเป็นประจำทุกวัน ยักษ์ตกลงตามนั้นพร้อมกับขู่ว่าถ้าหากวันใดไม่มีคนและอาหารมาให้กินจะจับพระราชากินเสีย

    พระราชาเมื่อถูกยักษ์ปล่อยออกมาแล้ว ก็รีบนำทหารและอำมาตย์เข้าเมืองปรึกษากันในเรื่องนี้ อำมาตย์จึงเสนอว่า "ขอเดชะในเมืองเรา นักโทษก็มีอยู่มาก เบื้องแรกเราก็ให้นักโทษนำอาหารไปส่งยักษ์วันละคน ก็พอที่จะหาทางแก้ไขได้ พระเจ้าข้า" เมื่อตกลงกันตามนั้นแล้วก็ได้จัดส่งนักโทษไปให้ยักษ์กินเป็นประจำทุกวันจนนักโทษหมดจากคุก

    พระราชาทรงกลัวความตายจึงรีบปรึกษาอำมาตย์อีกว่า จะทำอย่างไร

    อำมาตย์ได้ทูลเสนอว่า "ขอเดชะ เมื่อนักโทษหมดแล้วเช่นนี้ คนที่เห็นแก่เงินมีอยู่ดอกพระเจ้าข้า ขอเพียงพระองค์ตั้งค่าจ้างไว้สูง ๆ ย่อมมีคนอาสานำอาหารไปให้ยักษ์แน่นอนพระยะค่ะ" เมื่อตกลงกันตามนี้แล้ว ก็ให้ทหารป่าวประกาศไปทั่วเมืองปรากฏว่ามีคนมาสมัครเป็นจำนวนมาก แต่พอรู้ว่าจะต้องไปตายก็ลดเหลือไม่กี่คน ในจำนวนมาก แต่พอรู้ว่าจะต้องไปตายก็ลดเหลือไม่กี่คน ในจำนวนนั้นมีนายสุตนะด้วย

    นายสุตนะคิดว่า "ทุกวันเรารับจ้างทำงานได้เพียงบาทเดียวแต่นี้อาสานำอาหารไปให้ยักษ์ครั้งเดียวตั้ง ๑,๐๐๐ บาท" จึงไปบอกแม่ที่บ้าน แม่ห้ามไว้ก็ไม่ฟัง เขาบอกแม่ว่า "แม่ครับ แม่ไม่ต้องเป็นห่วง ผมมีวิธีปราบยักษ์ไม่ยอมให้มันกินดอก จะเอาชีวิตรอดกลับมาหาแม่ให้จงได้"

    ในวันรุ่งขึ้น เขาไปเข้าเฝ้าพระราชาทูลขอสิ่งของ ๔ อย่าง คือฉลองพระบาท ฉัตร พระขรรค์ และถาดทองคำใส่อาหารของพระราชา พระราชาทรงแปลกพระทัยจึงตรัสถามถึงสาเหตุที่ต้องการสิ่งของ ๔ อย่างนี้

    นายสุตนะ จึงทูลให้ทราบว่า "ขอเดชะ ฉลองพระบาทของพระองค์จะช่วยชีวิตข้าพระองค์ เพราะยักษ์จะกินคนที่ยืนบนพื้นดินเท่านั้น ฉัตรของพระองค์ก็จะใช้กั้นเป็นร่ม เพราะยักษ์จะกินคนที่อยู่ภายใต้ร่มไทรเท่านั้น พระขรรค์พระองค์ก็จะใช้เป็นอาวุธสำหรับขู่ยักษ์ ส่วนถาดทองคำก็จะดีกว่าถาดกระเบื้องพะยะค่ะ "พระราชาทรงเลื่อมใสในสติปัญญาของเขา และรับสั่งให้มอบสิ่งของ ๔ อย่างนั้นแก่เขาไป

    นายสุตนะให้ทหารนำสิ่งของ ๔ อย่างนั้นเดินตามหลังไปด้วย เมื่อถึงต้นไทรแล้วก็สวมฉลองพระบาททองคำ ขัดพระขรรค์กั้นเศวตฉัตรบนหัว ถือถาดทองคำใส่อาหารไปวางไว้ใกล้ต้นไทรนั้น แล้วใช้ปลายพระขรรค์ผักถาดเข้าไปภายใต้ร่มไม้นั้น ตนเองยืนอยู่ใต้เศวตฉัตรนอกร่มไทร ยักษ์เห็นอาการอันแปลกประหลาดของเขาก็เดาใจออก คิดจะลวงเขากินเป็นอาหารจึงพูดว่า

    "สหายหนุ่ม ขอเชิญท่านเข้ามารับทานอาหารร่วมกันภายใต้ร่มไทรนี้เถิด"

    นายสุตนะตอบและขู่ยักษ์ว่า "ท่านยักษ์ เรานำอาหารมาให้ท่านแล้ว เรามีแม่แก่ชราที่ต้องเลี้ยงดูอยู่คนหนึ่ง ในเมืองก็หมดคนอาสานำอาหารมาให้ท่านแล้ว เหลือเราเพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าหากท่านกินเราเสียแล้ว ก็จะไม่มีใครนำอาหารมาให้ท่านอีกเลย ท่านก็จะจับพระราชาไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ยืนบนพื้น และไม่ได้อยู่ใต้ร่มไทรของท่านด้วย ถ้าท่านคิดจะต่อสู้กับเรา เราก็จะใช้พระขรรค์ฟันท่านเป็น ๒ ท่อน วันนี้เราเตรียมตัวมาดีแล้ว ท่านควรจะรักษาศีล ๕ เสียเถอะ"

    ยักษ์เลื่อมใสในปัญญาของเขา จึงพูดว่า "สุตนะ เรายอมท่านแล้วล่ะ ขอเชิญท่านกลับไปพบมารดาของท่านเถิด และนับจากวันนี้เราจะเลิกกินมนุษย์ รักษาศีลเท่านั้น"

    นายสุตนะให้ยักษ์รักษาศีล ๕ แล้วนำยักษ์เข้าเมืองไป ประจำอยู่ที่ประตูเมือง เพื่อจะได้ง่ายต่อการส่งอาหาร พระราชาพอทราบว่านายสุตนะปราบยักษ์ได้แล้วก็ทรงปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เขาพร้อมทรัพย์สมบัติมากมาย



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ผู้มีปัญญารอบรู้สามารถช่วยให้ตนเองและคนอื่นรอดพ้นจากความฉิบหายได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แบ่งกันไม่ลงตัว

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระอุปนันทศากยบุตรผู้โลภมาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาประจำอยู่ต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ณ ที่ไม่ไกลจากนั้น มีสุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอาศัยอยู่ อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกตัวเมียพูดกับสามีว่า "พี่ ฉันแพ้ท้องอยากกินเนื้อสด ๆ ที่ยังมีเลือดอยู่ ที่ช่วยหามาหาให้หน่อยสิ" สุนัขสามีรับคำว่า "น้องไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวพี่จะจัดการหามาให้" จึงเดินไปตามริมฝั่งแม่น้ำนั้น

    ขณะนั้นเองมีนาก ๒ ตัวหากินอยู่ฝั่งแม่น้ำนั้น ตัวหนึ่ง หากินอยู่ในน้ำลึก อีกตัวหนึ่งหากินตามฝั่ง วันนั้น นากตัวหากินในน้ำลึกได้ปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำปลาขึ้นฝั่งได้ เพราะปลาตัวใหญ่เกินไป จึงเรียกนากอีกตัวมาช่วยกันลากปลาขึ้นฝั่ง พอลากปลาขึ้นฝั่งได้แล้วนากทั้งสองตัวทะเลาะกันตกลงแบ่งปลากันไม่ได้ พอดีสุนัขจิ้งจอกตัวนั้นเดินไปพบเข้า นากทั้งสองตัวจึงวิงวอนให้สุนัขจิ้งจอกช่วยแบ่งปลาให้หน่อย สุนัขจิ้งจอกจึงบอกว่า "สบายมากสหายทั้งสอง เราเคยเป็นผู้พิพากษามาก่อน" ว่าแล้วก็แบ่งปลาออกเป็น ๓ ส่วนพร้อมกับพูดว่า "ท่อนหางเป็นของนากผู้หากินตามฝั่ง ท่อนหัวเป็นของนากผู้หากินทางน้ำลึกนะ ส่วนท่อนกลางเป็นของเราผู้พิพากษา" กล่าวจบก็คาบปลาท่อนกลางเดินจากไป

    นากทั้งสองเห็นเช่นนั้น และก็ได้แต่นั่งซึมเซาพร้อมกับบ่นว่า "ถ้าพวกเราไม่ทะเลาะกัน ท่อนกลางก็จะเป็นอาหารของเรากินได้อีกหลายวัน เพราะทะเลาะกันท่อนกลางจึงตกเป็นอาหารของสุนัขจิ้งจอกไป"

    ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็คาบปลาท่อนกลางไปให้เมียได้กินตามความต้องการ เมียเห็นก็ดีใจพร้อมกับถามว่า "พี่ไปได้มาอย่างไร" สุนัขจิ้งจอกจึงตอบด้วยความเย่อหยิ่งว่า "น้องรัก คนทั้งหลายผ่ายผอมเพราะทะเลาะกัน สูญเสียทรัพย์ก็เพราะทะเลาะกัน นาก ๒ ตัวก็เพราะทะเลาะกัน จึงทำให้ไม่ได้กินปลาท่อนกลางน้องรักเจ้าจงกินปลาสดเถิด" รุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั่นแล้วได้แต่ให้เสียงสาธุการ

    พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานมาสาธกแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า

    "ในมนุษย์ ขอพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษาเพราะผู้พิพากษาเป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสียทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัวนั้นเอง แต่คลังหลวงเจริญขึ้น"


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ญาติพี่น้องเพราะทะเลากันเรื่องมรดก จึงเป็นเหตุให้เสียทรัพย์เพื่อจ้างทนายให้เป็นผู้แบ่งปันให้ ดังนั้น จึงไม่ควรทะเลาะกัน เพราะจะนำความสูญเสียทรัพย์มาให้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุณธรรมของหัวหน้า

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติของพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาลิง มีพละกำลังมากเท่า ช้าง ๕ เชือก มีลิงบริวารประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลจากนั้น มีต้นมะม่วงต้นใหญ่สูงเทียมยอดเขาต้นหนึ่ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีผลอร่อย หวานหอมคล้ายผลไม้ทิพย์ มีผลโตเท่าหม้อ ผลมะม่วงส่วนหนึ่งหล่นลงบนบก อีกส่วนหนึ่งหล่นลงแม่น้ำ

    เมื่อมะม่วงมีผล พญาลิงจะพาบริวารมาเก็บกินผลมะม่วงเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยจึงให้บริวารเก็บผลมะม่วงจากกิ่งที่ยื่นไปในน้ำก่อนโดยไม่ให้มีผลเหลือแม้แต่ผลเดียว แต่บังเอิญว่ามีผลมะม่วงสุกเหลืออยู่ลูกหนึ่งเพราะมดแดงไปทำรังครอบมันไว้จึงรอดพ้นจากสายตาลิงไปได้ ผลมะม่วงสุกนั้นได้หล่นลงน้ำ ลอยไปติดข่ายของพระราชาเมืองพาราณสีที่ทรงให้ขึงไว้เพื่อทรงเล่นน้ำ

    พวกทหารได้กู้ข่ายขึ้นเห็นผลมะม่วงใหญ่โตขนาดนั้น จึงตรัสถามว่า "นี่มันผลอะไรกัน" ทหาร "ไม่ทราบพระเจ้าข้า" เมื่อนายพรานป่าเข้าเฝ้าและทูลว่าเป็นผลมะม่วงจึงทรงเฉือนผลมะม่วงชิมดู รสของผลมะม่วงสุกแผ่ซาบซ่านไปทั่วกาย ทำให้พระราชาติดพระทัยในผลมะม่วง จึงถามถึงที่อยู่ของต้นมะม่วงนั้น เมื่อนายพรานกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้ต่อเรือและได้เสด็จทวนกระแสน้ำขึ้นไปตามทางที่นายพรานป่าชี้แนะ เมื่อถึงแล้วรับสั่งให้จอดเรือไว้ที่แม่น้ำ เสวยมะม่วงสุกแล้วก็เข้าที่บรรทมที่โคนต้นมะม่วงนั้น เสวยมะม่วงสุกแล้วก็เข้าที่บรรทมที่โคนต้นมะม่วงนั้น ตกกลางคืนทหารก่อกองไฟทุกทิศ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเฝ้าเวรยาม

    เมื่อตกดึกพวกมนุษย์หลับหมดแล้ว พญาลิงก็พาบริวารไต่กิ่งไม้มากินผลมะม่วงจากกิ่งนั้นไปกิ่งนี้ พระราชาทรงตื่นจากบรรทม เห็นฝูงลิงนั้นเข้าจึงปลุกให้ทหารตื่นขึ้นรับสั่งพลแม่นธนูว่า "พรุ่งนี้เช้า สูเจ้าจงพากันยิงลิงฝูงนี้ อย่าให้มันหนีรอดไปได้ สักตัวเดียวนะ" พลธนูรับราชโองการแล้วรายล้อมต้นมะม่วงอยู่ฝูงลิงเห็นผู้คนถืออาวุธก็พากันกลัวตาย เข้าไปปรึกษาพญาลิงว่า"สูอย่ากลัวไปเลยเราจักหาวิธีช่วยชีวิตเจ้าเอง" ว่าแล้วก็วิ่งกระโดดจากกิ่งมะม่วงที่ชี้ตรงไปทางแม่น้ำระยะทางประมาณ ๑๐๐ คันธนูลงที่ต้นไม้ต้นหนึ่งเข้ากับต้นไม้นั้น อีกด้านหนึ่งผูกสะเอวของตน กระโดดกลับไปที่ต้นมะม่วงนั้น ปรากฎว่าเครือหวายถึงพอดีไม่สามารถจะผูกกับต้นมะม่วงได้ จึงใช้มือทั้งสองยึดกิ่งมะม่วงไว้แน่น แล้วให้สัญญาณแก่บริวารว่า "สูเจ้าจงเหยียบหลังเรา ไต่หนีไปโดยเร็ว"

    ฝูงลิงได้ขอขมาพญาลิงแล้วรีบไต่ไปโดยเร็ว สมัยนั้นพระเทวทัตเกิดเป็นลิงหนึ่งในฝูงลิงนั้นด้วย ได้โอกาสทำร้ายพญาลิงจึงไปเป็นตัวสุดท้าย ขึ้นไปอยู่บนยอดมะม่วงแล้วกระโดดลงมาเหยียบพญาลิงอย่างแรงแล้วรีบวิ่งไต่ไป สร้างความเจ็บปวดแก่พญาลิงเป็นอย่างมาก

    พญาลิงบาดเจ็บไม่สามารถจะไปได้ยังคงยึดกิ่งไม้อยู่อย่างนั้นเอง พระราชาทอดพระเนตรเห็นกริยาของลิงทั้งหมดแล้วทรงพอพระทัยในพญาลิงที่มีเมตตาต่อบริวารไม่คำนึงถึงชีวิตของตนเมื่อสว่างแล้วจึงรับสั่งให้นำพญาลิงลงมาทำการรักษา บำรุงด้วยน้ำอ้อย ทาน้ำมันบนหลังให้มันนอนบนที่นอนแล้ว ตรัสว่า "เจ้าลิง เจ้าได้ทอดตัวเป็นสะพานให้ฝูงลิงข้ามไปได้ เจ้าเป็นอะไรกับฝูงลิงและฝูงลิงเป็นอะไรกับเจ้า" พญาลิงตอบว่า "มหาราชเจ้า เราเป็นพญาลิงปกครองฝูงลิงทั้งหมด เมื่อพวกเขาตกอยู่ในอันตรายเราจึงต้องนำความสุขมาให้แก่บริวารผู้อยู่ภายใต้การปกครองธรรมดากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ และทวยราษฎร์ทั่วกัน" เมื่อกล่าวจบก็สิ้นในตาย

    พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์มาแล้วมอบให้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพแก่พญาลิงทำนองเดียวกับถวายพระเพลิง แก่พระราชา และรับสั่งให้นางสนมประดับชุดห้อมล้อมพญาลิงไปป่าช้า อำมาตย์ไปประกอบพิธีเผาศพพญาลิงเสร็จแล้ว นำกระโหลกหัวพญาลิงไปเลี่ยมด้วยทองคำสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ประตูพระราชวัง พระราชารับสั่งให้ทำการบูชาธาตุของลิงตลอด ๗ วัน บำเพ็ญเพียรอยู่ในโอวาทของพญาลิงตราบเท่าชั่วชีวิต


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>เป็นผู้นำคนต้องรู้จักเสียสละความสุขเพื่อบริวารเป็นสำคัญ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เสียงสัตว์ ๘ ชนิด

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภเสียงแสดงความแร้นแค้นอันน่าสพึงกลัวที่พระเจ้าโกศลได้สดับในเวลาเที่ยงคืน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าหิมพานต์ ต่อมาปีหนึ่งได้เข้าไปพำนักอยู่ในสวนหลวงของพระเจ้าพรหมทัต ผู้ปกครองเมืองพาราณสี โดยที่ระราชาไม่ทรงทราบได้ ในคืนหนึ่ง เวลาเที่ยงคืนขณะที่พระราชากำลังบรรทมอยู่นั้นได้สดับเสียบ ๘ เสียงติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ

    ๑. เสียงนกกระยางตัวหนึ่งในสวนหลวงร้อง
    ๒. แม่กาอาศัยอยู่ที่เสาระเนียดโรงช้างร้อง
    ๓. แมลงภู่ที่ช่อฟ้าเรือนหลวงร้อง
    ๔. นกดุเหว่าที่เลี้ยงไวในเรือนหลวงร้อง
    ๕. เนื้อที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวงร้อง
    ๖. ลิงที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวงร้อง
    ๗. กินนร (อมนุษย์ในเทพนิยายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก) ร้อง
    ๘. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้เปล่งเสียงอุทานขึ้น

    พระองค์เมื่อสดับเสียงเหล่านี้แล้วตกพระทัยสะดุ้งกลัว ในวันรุ่งขึ้งจึงรับสั่งให้พราหมณ์โหรหลวงเข้าเฝ้าสอบถามถึงเภทภัยพวกโหรหลวงดูฤกษ์แล้วถวายบังคมว่า "อันตรายจักมีแก่พระองค์พระเจ้าข้า" แล้วแนะนำให้ทำการบูชายัญสัตว์อย่างละ ๔ ตัวพระราชาทรงอนุญาตให้ทำตามนั้น

    สมัยนั้น มีชายหนุ่มลูกศิษย์ของหัวหน้าพราหมณ์บูชายัญคนหนึ่งเป็นผู้มีปัญญาฉลาดเฉลียว จึงเข้าไปหาอาจารย์พร้อมอ้อนวอนว่า "อาจารย์ การบูชายัญด้วยสัตว์ ขอท่านอย่าได้ทำเลนนะท่านอาจารย์" อาจารย์ตอบว่า "เจ้าช่างไม่รู้อะไรเสียเลย ถ้าเราไม่ทำการบูชาแล้วเราจะมีอาหารที่ดี ๆ รับประทานได้อย่างไร"

    ชายหนุ่ม "อาจารย์ ขอท่านอย่าเห็นแก่ปากแก่ท้องแล้วไปตกนรกเลยนะ" พวกพราหมณ์ได้ฟังเช่นนั้นแล้วก็โกรธหาว่าเขาขัดลาภ

    ชายหนุ่มกลัวมีอันตรายแก่ตนเองจึงขอตัวเข้าเมืองไปแสวงหานักบวชเพื่อจะให้ไปห้ามพระราชาไม่ให้กระทำการบูชายัญ ได้แวะเข้าไปหาฤๅษี ในสวนหลวงนั้น ด้วยมั่นใจว่าจะเป็นผู้ที่พระราชาให้ความเคารพนับถือ เรียนให้ฤๅษีทราบว่า "พระคุณเจ้า ท่านไม่คิดจะสงเคราะห์ชีวิตสัตว์บ้างหรือ พระราชามีรับสั่งให้ฆ่าสัตว์บูชายัญในวันนี้ ท่านช่วยปลดเปลื้องความทุกข์แก่สัตว์น้อยใหญ่จะไม่สมควรอยู่หรือ" พระฤๅษีตอบว่า"ก็ถูกต้องล่ะพ่อหนุ่ม แต่ว่าพระราชาไม่รู้จักเรา และเราก็ไม่รู้จักพระราชาเช่นเดียวกัน"

    ชายหนุ่ม "ว่าแต่ว่า พระคุณเจ้ารู้ผลของเสียงที่พระราชาทรงสดับหรือไม่"

    พระฤๅษี "ใช่เรารู้"

    ชายหนุ่ม "เมื่อรู้ทำไมไม่กราบทูลพระราชาล่ะ"

    พระฤๅษี "พ่อหนุ่ม ถ้าพระราชาทรงเสด็จมาที่นี้ เราก็จะกราบทูลให้ทรงทราบ"

    ชายหนุ่ึ่มรีบเข้าไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบว่ามีฤๅษีตนหนึ่งมาพำนักอยู่ที่สวนหลวง ทราบเสียงที่พระองค์ทรงสดับว่า มีผลเป็นอย่างไร พระราชาทรงเสด็จไปสวนหลวงโดยเร็วไว ไหว้ฤๅษีแล้วถามถึงเสียงเหล่านั้น พระฤๅษีกราบทูลให้ทรงทราบว่า "มหาบพิตร.. จะไม่มีอันตรายอะไรแก่พระองค์เลย เพราะได้สดับเสียงเหล่านั้น นกกระยางตัวหนึ่งที่สวนหลวงไม่ได้เหยื่อ หิวอาหารจึงร้องขึ้นเป็นเสียงแรก ถ้าพระองค์จะเมตตาต่อมัน ก็จงชำระสวนให้สะอาดแล้วปล่อยน้ำให้เต็มสระเถิด " พระราชารับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปกระทำตามนั้น

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "แม่กาตัวหนึ่งที่เสาพะเนียดโรงช้างโศกเศร้าคิดถึงลูกน้อย ๒ ตัวที่ตายไป จึงร้องเป็นเสียงที่ ๒ สาเหตุเพราะนายคราญช้างชื่อพันธุระที่ตาบอดข้างหนึ่ง เวลาขี่ช้างออกจากโรงมักจะเอาขอตีถูกแม่กาบ้างลูกกาบ้าง รื้อรังมันบ้าง แม่กาได้รับความลำบากจึงร้องขอให้ตาของนายคราญช้างนั้นบอดทั้ง ๒ ข้าง ถ้าพระองค์จะเมตตาต่อมัน จงเรียกนายพันธุระมาให้เลิกทำพฤติกรรมนั้นเสียเถิด"

    พระราชารับสั่งให้หาตัวนายพันธุระมาเข้าเฝ้า ทรงปริภาษแล้วไล่ออกไป ทรงตั้งคนอื่นเป็นนายควาญช้างแทน

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "แมลงภู่ตัวหนึ่งที่ช่อฟ้ามหาปราสาทกัดกินกระพี้ไม้หมดแล้วไม่อาจจะกัดกินแก่นไม้ได้ เมื่อไม่ได้อาหารและบินออกไปที่อื่นไม่ได้ จึงร้องออกไปเป็นเสียงที่ ๓ ถ้าพระองค์จะทรงเมตตาต่อมันจงให้คนนำมันออกจากช่อฟ้านั้นเถิด" พระราชารับสั่งให้ทหารคนหนึ่งไปนำแมลงภู่ออกจากช่อฟ้าแล้วปล่อยไป

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "นกดุเหว่าตัวหนึ่งคิดถึงป่าที่ตนเคยอยู่อาศัยว่า 'เมื่อไรหนอเราจึงจะพ้นกรงนี้ ได้ไปสู่ป่าที่ร่มเย็นของเรา' จึงร้องขึ้นไปเป็นเสียงที่ ๔ ถ้าพระองค์จะทรงเมตตามัน จงปล่อยมันเถิด" พระราชารับสั่งให้นายพรานคนหนึ่งนำมันไปปล่อยที่ของมันตามเดิม

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "เนื้อตัวหนึ่งในเรือนหลวงที่พระองค์เลี้ยงไว้ มันเป็นพญาเนื้อ เมื่อคิดถึงนางเนื้อของตนจึงร้องขึ้นเป็นเสียงที่ ๕ ถ้าพระองค์จะทรงเมตตาก็ปล่อยมันไปเถิด" พระราชารับสั่งให้นำมันไปปล่อยที่เดิม

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "มีลิงตัวหนึ่งที่ถูกเลี้ยงไว้ในเรือนหลวงมีความกำหนัดต้องการผสมพันธุ์กับฝูงลิงในป่า ดิ้นรนอยากจะไปจึงร้องขึ้นเป็นเสียงที่ ๖ ขอพระองค์ทรงปล่อยมันไปเถิด" พระราชารับสั่งให้ทำตามนั้น

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "มีกินนรตัวหนึ่งที่ถูกเลี้ยงไว้ในเรือนหลวงคิดถึงนางกินรี ดิ้นรนเพราะอำนาจกิเลส จึงร้องขึ้นเป็นเสียงที่ ๗ ขอพระองค์ทรงปล่อยมันไปเถิด" พระราชารับสั่งให้ทำตามนั้น

    พระฤๅษีทูลต่อว่า "มหาบพิตร เสียง ๘ เป็นเสียงอุทานของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่อายุสังขารจะสิ้นลง จึงเหาะมาจากภูเขายังถิ่นมนุษย์จึงได้ปรินิพพานที่โคนไม้รังในสวนหลวงของพระองค์ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ได้เปล่งเสียงอุทานขึ้น ขอเชิญพระองค์เสด็จไปปลงศพท่านด้วยเถิด" ทูลจบก็นำพาพระราชาไปยังที่นั้น พระราชาพร้อมหมู่พลได้กำการบูชาศพพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ของหอม สั่งให้งดการบูชายัญ ให้ตีกลองประกาศห้ามฆ่าสัตว์ในเมือง ให้เล่นมหรสพและทำการสักการะศพของพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอด ๗ วัน พระฤๅษีได้แสดงธรรมแก่พระราชาไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้วก็กลับเข้าป่าหิมพานต์ตามเดิม


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ปัญหาทุกปัญหามีทางออกและมีวิธีแก้ที่ถูกต้องถ้าได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แพะกับเสือเหลือง

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ทรงปรารภแม่แพะตัวหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน ต่อมาได้สร้างบรรณศาลาที่ซอกเขาแห่งหนึ่งใกล้เมืองราชคฤห์ ทุกวันพวกคนเลี้ยงแพะจะพากันต้อนแพะมาเลี้ยงที่ซอกเขาใกล้ที่อยู่ของพระฤๅษีนั้นเป็นประจำ เพราะมีภูเขาล้อมรอบเมื่อปล่อยแพะแล้ว พวกเขาก็จะพากันเล่น ตกเย็นถึงจะไปต้อนแพะกลับบ้านไป

    ต่อมาเย็นวันหนึ่ง เมื่อได้เวลาต้อนแพะกลับบ้าน มีแม่แพะตัวหนึ่งไปหากินไกลฝูง ไม่ทันเห็นฝูงแพะกลับคอก จึงเดินล้าหลังอยู่ ในขณะนั้นมีเสือเหลืองตัวหนึ่งเห็นแม่แพะนั้นกำลังเดินกลับ แพะพอเห็นเสือเหลืองยืนดักรออยู่ข้างหน้าก็คิดว่า

    "วันนี้ชีวิตเราไม่รอดแน่ นอกจากจะพูดคำอ่อนหวานให้มันใจอ่อนเท่านั้น เราถึงจะรอดไปได้"

    เมื่อเดินเข้าไปใกล้เสือเหลือง จึงพูดขึ้นว่า "คุณลุงคะ สบายดีหรอเปล่า แม่ฉันถามหาลุงอยู่เป็นประจำ พวกเราคิดถึงคุณลุงอยู่เป็นประจำ พวกเราคิดถึงคุณลุงตลอดเวลาล่ะค่ะ"

    เสือเหลืองได้ฟังก็รู้ว่าเป็นกลลวงของแม่แพะจึงตอบไปว่า "แม่แพะ เจ้าบังอาจมาเหยียบหางเราได้ วันนี้เจ้าคงว่าเจ้าจะพ้นจากความตายไปได้ด้วยการเรียกเราว่าลุงเหรอ"

    แม่แพะ "ท่านนั่งหันหน้ามาทางฉัน ฉันก็อยู่ตรงหน้าของท่าน ไฉนฉันถึงจะเหยียบหางของท่านที่อยู่ด้านหลังของท่านละ"

    เสือเหลือง "ทวีปทั้ง ๔ มหาสมุทรและภูเขาทั้งหมดเราเอาหางวางไว้หมด เจ้าจะไม่เหยียบหางของเราได้อย่างไร"

    แม่แพะ "พวกญาติ ๆ ได้บอกเรื่องหาของท่านยาวให้ฉันทราบก่อนแล้ว ฉันจึงมาทางอากาศ"

    เสือเหลือง "เรารู้ว่าเจ้ามาทางอากาศ ฝูงเนื้อเห็นเจ้าจึงแตกตื่นหนีไป ทำให้อาหารของเราหนีไปหมด เจ้าจะว่าอย่างไร "กล่าวจบก็ได้ตะครุบแม่แพะฆ่ากินเป็นอาหารในที่สุด

    พระพุทธองค์ เมื่อตรัสอดีตนิทานจบได้ตรัสพระคาถาว่า

    "ในคนโหดร้ายไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีถ้อยคำเป็นสุภาษิตในคนโหดร้าย บุคคลพึงทำการหลบหนีไปให้พ้น เพราะคำของคนดีมันก็ไม่ชอบ"


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>เหตุผลและคุณธรรมไม่มีในผู้ร้าย</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พญานกแขกเต้าผู้สันโดษ

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดาสมณเมื่อมาถึงเสนาสนะเป็นที่สบายแล้วก็ไม่ควรโลภในอาหาร ยินดีตามมีตามได้ ปฏิบัติสมณธรรม โบราณบัณฑิตแม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน กินผงแห้งของต้นไม้ที่ตนอยู่อาศัย มีความสันโดษไม่ทำลายมิตธรรมหนีไปที่อื่นเลย" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีนกแขกเต้าหลายแสนตัว ต่อมาในฤดูแล้งผลมะเดื่อได้หมดลง นกแขกเต้าทั้งหลายได้พากันบินหนีไปหากิน ณ ที่อื่น ยังคงเหลือแต่พญานกแขกเต้าตัวหนึ่งเท่านั้น เป็นผู้มักน้อยสันโดษไม่หนีไปที่อื่น เมื่อผลมะเดื่อหมดก็กินหน่อ ใบ เปลือกและสะเก็ดของต้นมะเดื่อตามลำดับโดยไม่คิดจะหนีไปไหน เป็นเหตุให้บัลลังก์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน เพื่อทดสอบจิตใจของพญานกแขกเต้า ท้าวเธอจึงบันดาลให้ต้นมะเดื่อที่นกแขกเต้าอาศัยอยู่นั้นตายและแห้งลงมีลำต้นแตกเป็นช่องน้อยใหญ่ เวลาลมพัดจะมีเสียงดัง มีผงไม้ไหลออกมาตามช่องที่แตกนั้น นกแขกเต้าก็ไม่หนีไปไหนก็ยังกินผงไม้ไหลออกมาตามช่องที่แตกนั้นแหละเป็นอาหาร จนสุดท้ายต้นไม้นั้นเหลือแต่ตอ พญานกแขกเต้าก็ไม่หนีไปไหน ยังคงจับอยู่ที่ตอต้นไม้นั้น

    ท้าวสักกะเมื่อทราบว่าพญานกแขกเต้ามีความมักน้อยสันโดษจริง ๆ จึงแปลงร่างเป็นพญาหงส์ มีนางสุชาดาเป็นนางหงส์ติดตามไปด้วย บินไปจับที่ตอมะเดื่อใกล้พญานกแขกเต้านั้นแล้วเจรจาว่า

    "นกแขกเต้า ผู้มีจะงอยปากสีแดงท่านควรไปที่อื่นได้แล้วอย่ามาตายที่ตรงนี้เลย ท่านมาเยื่อใยอะไรกับต้นไม้แห้งนี้ ต้นไม้อื่นมีถมเถไป"

    พญานกแขกเต้าร้องตอบว่า "ท่านพญาหงส์… ใครเป็นเพื่อนในยามทุกข์ยาก ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่ทอดทิ้งเพื่อนผู้มีทรัพย์และไร้ทรัพย์ ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อนเป็นทั้งญาติของเรา เราเพียงต้องการมีชีวิตอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจทิ้งต้นไม้นี้ไปได้ เพราะเหตุเพียงไม่มีผล นี่ไม่ยุติธรรมเลย"

    พญาหงส์พอได้ฟังก็ยินดีและสรรเสริญว่า "นกแขกเต้าความเป็นเพื่อนไมตรีสนิทสนมคุ้นเคยกันกับต้นไม้ท่านทำไว้ดีแล้ว ขอสรรเสริญท่านเราจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกพรตามในประสงค์เถิด"

    พญานกแขกเต้าขอพรว่า "ท่านพญาหงส์..เราขอเพียงให้ต้นไม้นี้มีชีวิตมีผลหวานอร่อยเหมือนเดิมเท่านั้นก็พอ"

    พญาหงส์จึงพูดว่า "นกแขกเต้า .. ขอท่านจงอยู่กับต้นมะเดื่อที่สมบูรณ์พร้อมตลอดไปเถิด" ว่าแล้วก็คืนร่างเป็นท้าวสักกะเหมือนเดิม แสดงอานุภาพทำให้ต้นมะเดื่อนั้นสมบูรณ์พร้อมทั้งใบและผลยืนต้นอย่างสง่างามเหมือนเดิม
    พญานกแขกเต้าเห็นเช่นนั้นจึงสรรเสริญท้าวสักกะว่า "ท้าวสักกะ ขอพระองค์พร้อมด้วยคณาญาติ มีความสุขเหมือนข้าพระองค์มีความสุข เพราะได้เห็นต้นผลิตผลในวันนี้ด้วยเถิด"

    ท้าวสักกะครั้นประทานพรให้นกแขกเต้าได้สมประสงค์แล้วพร้อมนางสุชาดา ก็กลับคืนวิมานของตนตามเดิม


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#eeeeee><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>จงพอใจในสิ่งที่ตนมีตนได้ และเพื่อนที่ดีไม่ละทิ้งเพื่อนไปในยามทุกข์ยาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มองในเวลาที่ไม่ควรมอง

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภความไม่สำรวมของภิกษุ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีแพะหลายร้อยตัวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากถ้ำนั้น มีสุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง วันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียออกหากินเห็นแพะเหล่านั้น จึงลวงกินแพะเหล่านั้นวันละตัว ๆ จนร่างกายอ้วนพี จำนวนแพะจึงลดลงตามลำดับ ในฝูงแพะนั้นมีแม่แพะตัวหนึ่งฉลาดรู้เท่าทันกลลวงของสุนัขจิ้งจอกจึงรอดชีวิตตลอดมา ยิ่งทำให้สุนัขจิ้งจอกต้องการกินนางแพะเพิ่มมากยิ่งขึ้น มันจึงวางแผนให้ภรรยาไปตีสนิทกับนางแพะแล้วพามาที่อยู่ของตนจะได้ดักตะครุบกิน ภรรยาได้ไปตีสนิทกับนางแพะนั้นจนสนิทสนมกันแล้วชวนไปที่ถ้ำของตน นางแพะทนคำวิงวอนไม่ไหวก็เลยไปด้วย

    ในขณะที่เดินไปยังถ้ำสุนัขจิ้งจอกนั้น นางแพะระวังตัวอย่างเต็มที่ให้นางสุนัขจิ้งจอกเดินนำหน้าตนเองเดินตามหลังเข้าถ้ำไป สุนัขจิ้งจอกทำทีเป็นนอนตาย เมื่อได้ยินเสียงเดินมานึกว่าเป็นภรรยาจึงยกหัวขึ้นชำเลืองดู นางแพะเห็นสุนัขจิ้งจอกทำเป็นตายแล้วยกหัวขึ้นได้ จึงหยุดอยู่และหันหลังจะกลับไป นางสุนัขจิ้งจอกจึงถามว่า "ทำไมท่านจะกลับไปเสียละ" นางแพะจึงตอบว่า "เพื่อนรัก สามีท่านยังไม่ตาย เมื่อกี้ยังชะเง้อคอดูฉันอยู่ ฉันไม่ชอบใจสหายเช่นนี้ " ว่าแล้วก็กลับถ้ำของตนเอง

    นางสุนัขจิ้งจอกไม่สามารถจะวิงวอนให้นางแพะเข้าถ้ำได้ โกรธนางแพะนั้นจึงนั่งบ่นอยู่ ฝ่ายสามีเมื่อเห็นแผนการล้มเหลวก็พูดติเตียนภรรยาว่า "นางเมียบ้า นั่งบ่นถึงนางแพะให้สามีฟังอยู่ได้ ไปคิดถึงนางทำไม?"

    นางสุนัขจิ้งจอกจึงตอบว่า "ท่านนั้นแหล่ะเป็นบ้า โง่เขลาเต่าตุ่น ท่านทำเป็นตาย แต่กลับชะเง้อคอดูในเวลาที่ไม่ควร ทำให้เขารู้ทัน" ว่าแล้วก็ปลอบใจสามี พร้อมกับใช้ความพยายามไป วิงวอนนางแพะใหม่อีกว่า "เพื่อนรัก..สามีฉันกลับฟื้นคืนมาแล้วไปพวกเราไปดูด้วยกันเถิด"

    นางแพะคิดจะลวงใช้นางสุนัขจิ้งจอกบ้าง จึงพูดว่า "เพื่อนรก..ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงเตรียมอาหารไว้ก็แล้วกัน ฉันจะไปพร้อมบริวารหมู่ใหญ่"

    นางสุนัขจิ้งจอกถามว่า "บริวารของเธอเป็นอย่างไร ฉันจะได้ไปเตรียมอาหารถูก"

    นางแพะ "บริวารของฉันคือสุนัข ๔ ตัว แต่ละตัวมีลูกสมุนอีก ๕๐๐ ตัว รวมทั้งหมดก็ ๒,๐๐๐ ตัวพอดี ถ้าสุนัขเหล่านั้นไม่ได้อาหาร ก็จักฆ่าท่านทั้ง ๒ กินเสีย "

    นางสุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นแล้วเกิดความกลัว จึงพูดเพื่อไม่ให้นางแพะไปหาว่า "เพื่อนรัก.. เมื่อท่านออกจากถ้ำไปไม่มีใครดูแลสิ่งของจักเสียหายได้ เอาเป็นว่าท่านอยู่ที่นี่ก็แล้วกัน ฉันกลับคนเดียวก็ได้" ว่าแล้วก็รีบอำลากลับถ้ำไป พาสามีหนีไปอยู่ที่อื่น ไม่หวนกลับคืนมาที่นั่นอีกเลย


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#eeeeee><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>หนามยอกเอาหนามบ่ง ผู้คิดประทุษร้ายผู้อื่น ย่อมได้รับการประทุษร้ายตอบ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตระกูลที่ไม่ตายวัยหนุ่ม

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงปรารภความไม่เชื่อของพระบิดา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า ...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ รักษาธรรมกุศลกรรมบถ ๑๐ ตระกูลหนึ่ง ในเมืองพาราณสีมีชื่อว่า ธรรมบาล ในตระกูลของเขารวมทั้งทาสคนรับใช้เป็นคนให้ทานรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำมิได้ขาด

    ธรรมบาลเมื่อเติบโตแล้วได้ไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา ได้เป็นหัวหน้า มานพ ๕๐๐ คนที่เรียนด้วยกัน วันหนึ่งลูกชายคนโตของอาจารย์ได้เสียชีวิตลง อาจารย์ ญาติ และลูกศิษย์คนอื่น ๆได้ร้องไห้คร่ำครวญเศร้าโศกอยู่ มีธรรมบาลคนเดียวเท่านั้นที่ไม่ร้องไห้ เมื่อกลับจากป่าช้าแล้วพวกลูกศิษย์ก็พากัน นั่งสนทนากันว่า "น่าเสียดาย ลูกชายอาจารย์ผู้มีมารยาทเรียบร้อย ต้องมาตายเมื่อยังหนุ่มแน่นนะ"

    ธรรมบาลถามขึ้นว่า "เพื่อน.. เป็นเพราะเหตุไรคนถึงตายในวัยหนุ่ม วัยหนุ่มยังไม่ควรตายมิใช่หรือ?" เพื่อนพูดตอบว่า"ธรรมบาล..ท่านไม่รู้จักความตายหรือ?"

    ธรรมบาล "เรารู้ แต่ไม่เคยเห็นใครตายในวัยหนุ่ม เห็นแต่คนแก่ตาย"
    เพื่อน "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงมีแล้วกลับไม่มีมิใช่หรือ?"
    ธรรมบาล " มีแต่คนตายในวัยแก่ ตายในวัยหนุ่มไม่มี "
    เพื่อน "เป็นประเพณีของตระกูลท่านหรือ?"
    ธรรมบาล "ใช่แล้วล่ะ"

    เพื่อนได้นำเอาคำสนทนากันไปเล่าสู่อาจารย์ฟัง อาจารย์ต้องการพิสูจน์ความจริง จึงมอบให้ธรรมบาลเป็นผู้สอนศิษย์แทน ตนเองจะเดินทางไปทำธุระต่างเมืองสั่งธรรมบาลแล้ว ก็ให้นำกระดูกแพะตัวหนึ่งล้างน้ำดีแล้วใส่กระสอบให้คนรับใช้คนหนึ่งถือตามไปด้วย เมื่อถึงบ้านของธรรมบาลแล้วก็เข้าไปสนทนากับบิดาของธรรมบาล แสร้งพูดว่า "พราหมณ์..ลูกชายท่านมีสติปัญญาดีมาก แต่เสียดายเขาได้ตายด้วยโรคอย่างหนึ่งเสียแล้ว ขอท่านอย่าเศร้าโศกเลยนะ"

    พราหมณ์พอฟังจบได้ตบมือหัวเราะดังลั่น เมื่อถูกอาจารย์ถามว่า "พราหมณ์..ท่านหัวเราะทำไม?" ก็ตอบว่า "อาจารย์..ลูกฉันยังไม่ตาย ที่ตายนะเป็นคนอื่น" เมื่ออาจารย์นำกระดูกออกมายืนยัน ก็ยังตอบอยู่ว่า "อาจารย์...คงเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกคนอื่น ลูกฉันยังไม่ตายหรอก เพราะในตระกูลเรา ๗ ชั่วโคตรมาแล้ว ไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มเลยละ" ทุกคนในครอบครัวต่างหัวเราะถือเป็นเรื่องตลกไป สร้างความอัศจรรย์แก่อาจารย์เป็นอย่างยิ่ง

    อาจารย์จึงถามต่อเพื่อคลายความสงสัยว่า "พราหมณ์ตระกูลของท่าน เพราะเหตุไร คนวัยหนุ่มจึงไม่มีคนตายละ?"

    พราหมณ์จึงพรรณนาเหตุของคนวัยหนุ่มในตระกูลไม่มีใครตายว่า "พวกเราประพฤติธรรม ไม่พูดมุสา งดเว้นกรรมชั่วฟังธรรมของสัตบุรุษ ละธรรมอสัตบุรุษก่อนให้ทานพวกเราตั้งใจดีแม้กำลังให้ก็มีใจเบิกบาน เมื่อให้แล้วก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง พวกเราเลี้ยงดูสมณะ คนเดินทางไกล วณิพก ยาจกและคนขัดสนให้อิ่ม พวกเราไม่นอกใจสามีภรรยา งดเว้นจากาการฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ดื่มของเมา บุตร มารดา บิดา พี่น้อง สามีภรรยา ทาสคนรับใช้ ล้วนแต่ประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ในโลกหน้า เพราะประพฤติธรรมอย่างนี้แหละคนหนุ่ม ของพวกเราจึงไม่ตาย" แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    "ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ"

    แล้วพูดต่ออีกว่า "ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ธรรมบาลบุตรของเรามีธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่ท่านนำมานี้เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของเรายังมีความสุขอยู่"

    อาจารย์ฟังจบแล้วขอขมาพราหมณ์ และกล่าวว่า "พราหมณ์.. ข้าพเจ้าขอขมาโทษท่าน นี่เป็นกระดูกแพะ ข้าพเจ้านำมาเพื่อที่จะทดสอบใจท่าน บุตรชายท่านสบายดี " ว่าแล้วก็อยู่ที่นั่นต่ออีก ๒-๓ วันจึงกลับเมืองตักกสิลา ให้ธรรมบาลศึกษาศิลปวิทยาจบแล้วก็ส่งตัวกลับคืนบ้าน


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#eeeeee><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ผู้ประสงค์จะให้ตระกูลมั่นคงควรยึดถือปฏิบัติตามเป็นตัวอย่าง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ดาบสฌานเสื่อม

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันอยากสึกเพระเห็นสาวงามรูปหนึ่งจึงตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ..ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน มีแต่จะให้ตกนรก กิเลสทำให้เธอลำบากเหมือนลมพัดภูเขา ทำให้ใบไม้เก่า ๆ กระจัดกระจายได้ โบราณบัณฑิตได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ แล้ว ยังเสื่อมจากฌานได้ด้วยอำนาจกิเลส" แล้วได้ตรัสอดีตนิทานสาธกว่า

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์มั่งคั่งตระกูลหนึ่งมีนามว่า หาริตกุมาร เมื่อเติบโตแล้วได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา อยู่ต่อมาเมื่อมารดาบิดาเสียชีวิตแล้วมีความคิดว่า "ทรัพย์เท่านั้นตั้งอยู่ได้ ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดหาตั้งอยู่ไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนเล่า"

    กลัวต่อความตายได้ให้ทานเป็นการใหญ่แล้วเข้าป่าไปบวชเป็นดาบส มีเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร บำเพ็ญเพียรเป็นเวลานานหลายปี จนได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ จึงลงจากเขามาเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ในสวนหลวงเป็นเวลา ๑๒ ปี ตลอดเวลาที่จำพรรษาอยู่ที่สวนหลวง ทุกเช้าดาบสจะไปรับอาหารในพระราชวังเป็นประจำ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปปราบกบฎชายแดน จึงมอบหน้าที่ถวายอาหารให้พระเทวีทรงแต่งโภชนาไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อดาบสยังช้าอยู่ จึงสนานด้วยน้ำหอมแล้วทรงพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียดรับสั่งให้เผยสีหบัญชร (หน้าต่าง ) ประทับอยู่บนเตียงให้ลมพัดพระวรกายอยู่

    ฝ่ายดาบสได้เหาะมาทางอากาศผ่านมาทางสีหบัญชรพอดี พระเทวีได้ยินเสียงเปลือกไม้กระทบกันก็ทราบว่าดาบสมาถึงแล้ว จึงรีบลุกขึ้น ขณะนั้นเองพระภูษาได้เลื่อนหลุดหล่นลง ทำให้ร่างกายของนางถูกดาบสเห็นทั้งหมด เป็นเหตุให้กิเลสของดาบสกำเริบขึ้น ทำให้ฌานเสื่อมทันที ดาบสไม่สามารถควบคุมสติไว้ได้จึงเข้าไปจับพระหัตถ์ของพระนางแล้วคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกัน ดาบสหลังจากรับอาหารแล้วก็เดินกลับสวนหลวงไปตั้งแต่วันนั้นมาคนทั้งสองก็เสพโลกธรรมกันทุกวัน

    ข่าวที่ดาบสเสพโลกธรรมกับพระเทวีได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ก็ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชา พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เมื่อปราบกบฎเสร็จแล้วพระราชาก็เสด็จกลับเมือง เข้าไปห้องพระเทวีสอบถามความเป็นจริง พระเทวีทูลว่าจริง พระองค์ก็ยังไม่ทรงเชื่อจึงเสด็จไปหาดาบสตรัสถามความจริง

    ดาบสคิดว่า "ถ้าเราบอกว่าไม่เป็นความจริงพระราชาก็ทรงเชื่อ แต่ที่พึ่งที่ดีที่สุดคือคำสัตย์" จึงทูลว่า "ขอถวายพระพรพระองค์ได้สดับมานั้นเป็นความจริง อาตมาหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์แห่งความหลงผิดเสียแล้วละ" พระราชาสดับแล้วตรัสว่า "ปัญญาที่ละเอียดคิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบรรเทาราคะของท่านมีไว้เพื่อประโยชน์ อะไร ท่านไม่อาจใช้ปัญญาบรรเทาความคิดที่แปลกได้หรือ"

    ดาบส "มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างคือราคะ โทสะ โมหะ และมทะ เป็นของที่มีกำลังกล้า หยาบคายในโลก ยากที่ปัญญาจะหยั่งถึงได้"

    พระราชา "โยมได้ยกย่องท่านเป็นพระอรหันต์ มีศีลเป็นบัณฑิต เบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญาโดยแท้"

    พระราชาพูดกระตุ้นดาบสว่า "ความกำหนัดเกิดในกายทำลายผิวพรรณของท่าน ท่านจงพยายามทำลายความกำหนัดของท่านนั้นเสียเถิด"

    ดาบสได้สติกลับคืนมาแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

    "กาลเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมาจักค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้นจักตัดความกำหนัดพร้อมเครื่องผูกเสีย"

    ว่าแล้วก็ขอโอกาสปฏิบัติธรรมในบรรณศาลาพิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นได้แล้ว เหาะขึ้นสู่อากาศแสดงธรรมแก่พระราชาแล้วขออำลากลับเข้าป่าตามเดิม


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#eeeeee><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>อำนาจของกิเลสตัณหาทำให้คนหน้ามืดไม่มีสติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...