นางแก้วแห่งแผ่นดิน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 27 มีนาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ฝ่าย กุลพันธนเศรษฐี ก็เข้ามากราบทูลคัดค้าน พร้อมถวายทรัพย์ของตระกูลตนให้ทั้งหมด
    "ดูก่อนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก และท่านก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องบวช" <O[​IMG]

    พระเจ้าสุตโสมตรัสเรียก เจ้าชายโสมทัต อนุชามามอบราชสมบัติให้
    "ดูกร โสมทัต พี่กระสันจักออกบวช เหมือนไก่ป่าถูกขังกระสันจะออกจากในกรง ความไม่ยินดีในฆราวาสครอบงำพี่ พี่จะบวชในวันนี้ เธอจงครอบครองราชสมบัตินี้เถิด"

    เจ้าชายโสมทัตเห็นพระเจ้าสุตโสมจะออกบวชแน่ จึงขอออกบวชด้วย พระเจ้าสุตโสมตรัสห้ามไว้ เกรงว่าประชาราษฎร์จะขาดที่พึ่ง เสนาอำมาตย์และประชาราษฎร์ เห็นว่าไม่อาจทัดทานพระราชาของตนได้ ต่างก็ร้องไห้เสียใจอยู่ พระเจ้าสุตโสมจึงแสดงธรรมว่า

    "ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกกันไปเลย ถึงเราจะดำรงอยู่ได้นาน ก็จะต้องพลัดพรากจากท่านทั้งหลายในที่สุด เพราะสังขารทั้งหลายจะได้ชื่อว่าเที่ยงนั้นไม่มี <O[​IMG]บัดนี้ ความชราได้ครอบงำเราแล้ว ชีวิตที่เหลือเป็นของน้อยดุจน้ำในโคลน บัณฑิตจึงไม่ควรประมาท คนพาลผู้ประมาทเพราะมีตัณหาผูกไว้แล้ว ย่อมไปบังเกิดในนรก สัตว์เดียรัจฉาน เปรต และอสุรกาย"

    แสดงธรรมแล้ว พระเจ้าสุตโสมก็เสด็จขึ้นบนปราสาทชั้น ๗ เอาพระขรรค์ตัดพระเมาลี แล้วเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นบรรพชิต เสด็จจาริกไปแต่ผู้เดียวยังป่าหิมพานต์ ประชาชนจำนวนมากก็ตามเสด็จไปบวชเป็นฤาษีจนเต็มพื้นที่กว้างถึง ๓๐ โยชน์ พระฤาษีทั้งหมดประพฤติธรรมตามที่พระสุตโสมฤาษีสั่งสอน สิ้นชีวิตแล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก

    พระราชบิดาพระราชมารดา มาเกิดเป็น ศากยมหาราชสกุล
    พระเจ้าสุตโสม มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า<O[​IMG]
    พระนางจันทาเทวี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา<O[​IMG]
    พระโอรสองค์โต มาเกิดเป็น พระสารีบุตร<O[​IMG]
    พระโอรสองค์รอง มาเกิดเป็น พระราหุล<O[​IMG]
    กุลพันธนเศรษฐี มาเกิดเป็น พระกัสสปะ<O[​IMG]
    มหาเสนาบดี มาเกิดเป็น พระโมคคัลลานะ<O[​IMG]
    โสมทัตอนุชา มาเกิดเป็น พระอานนท์

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]</O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html

    <O[​IMG]
    [music]http://palungjit.org/attachments/a.549470/[/music]<!-- / message --><!-- attachments -->​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี

    ตอนที่ ๑๗ พระนางจันทราเทวี / มเหสีพระเจ้าสุตโสม<O[​IMG]
    เรียบเรียง โดย อังคาร

    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายยากจนในนครอังครัฐ วันหนึ่งได้ไปดูพิธีพลีกรรมของพระเจ้าอังคติราชที่ริมน้ำจัมปานที ได้เห็นพระยาจัมเปยยนาคราช นำบริวารจากนาคพิภพใต้แม่น้ำขึ้นมารับพลีกรรม ชายยากจนหลงใหลและปรารถนาอำนาจและทิพย์สมบัติของพระยานาค จึงได้เร่งทำบุญและรักษาศีลตั้งจิตอธิษฐานขอเสวยทิพย์สมบัตินั้น

    เมื่อพระยานาคราชทำกาลกิริยาไปได้ ๗ วัน ชายยากจนก็ตาย และไปบังเกิดเป็นพระยาจัมเปยยนาคราชสมความปรารถนา ซึ่งในครั้งนั้น พระนางพิมพาก็มาอุบัติเป็นอัครมเหสีนามว่า สุมนาเทวี

    พระนางสุมนาเทวี เป็นผู้บำเรอความสุขให้พระยานาคราช โดยนำหมู่นางนาคมาณวิกาแสนโสภามากล่อมบำเรอ จนวิมานนาคเต็มไปด้วยความเพลิดเพลินดุจทิพย์วิมานของท้าวสักกะในดาวดึงส์สวรรค์

    ต่อมา พระยาจัมเปยยนาคราชเกิดความเบื่อหน่ายในเพศพระยานาค ทรงอยากไปเกิดเป็นมนุษย์เพื่อค้นหาสัจจธรรม จึงได้รักษาอุโบสถศีลอยู่ในปราสาท แต่เมื่อนางนาคมาณวิกาที่ตกแต่งกายงดงามยั่วยวนพากันไปเข้าเฝ้า ศีลของพระยานาคก็ขาดลงอยู่เนืองๆ พระองค์จึงออกจากปราสาทไปรักษาศีลในพระราชอุทยาน แต่นางนาคมาณวิกาก็ติดตามไปทำให้ศีลขาดอีก

    พระยานาคราชจึงดำริว่าการจะรักษาศีลได้นั้นต้องไปยังแดนมนุษย์ ครั้งถึงวันอุโบสถ พระองค์จึงขึ้นมารักษาศีลบนโลกมนุษย์ และตั้งสัจจะว่าแม้ต้องเสียชีวิตพระองค์ก็จะรักษาศีลไว้มิให้ขาด ตั้งสัจจะแล้วก็ขนดกายรักษาอุโบสถอยู่ที่ยอดจอมปลวกใกล้ทางเดิน

    เมื่อประชาชนทั้งหลายเดินผ่านไปมาเห็นพระยานาคขนดจอมปลวกอยู่ รู้ว่าเป็นพระยานาคผู้มีฤทธิ์ จึงช่วยกันจัดทำมณฑปให้ เกลี่ยพื้นโดยรอบให้ราบเรียบ และหาเครื่องหอมมาบูชา พระยานาคราชจึงขึ้นมารักษาอุโบสถศีล ณ ที่นั้นเป็นประจำ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระนางสุมนาเทวีทูลถามพระสวามีว่า พระองค์เสด็จไปรักษาศีลในเมืองมนุษย์บ่อยๆ เมืองมนุษย์นั้นอันตราย หม่อมฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์มีภัย พระยาจัมเปยยนาคราชจึงพาพระนางสุมนาเทวีมาที่สระโบกขรณี ตรัสว่าหากพระองค์ได้รับอันตราย น้ำในสระนี้จะขุ่นมัว ถ้าพญาครุฑจับเอาไป น้ำจะเดือดพลุ่งขึ้นมา และถ้าหมองูจับเอาไป น้ำจะกลายเป็นสีแดงเหมือนโลหิต แล้วพระยานาคราชก็ขึ้นมารักษาอุโบสถศีลตามปกติ

    ครั้งนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อลุททกพราหมณ์ ไปเรียนเวทมนต์เป็นหมองูที่เมืองตักกศิลา เมื่อเรียนจบเดินทางกลับบ้านผ่านมาทางนั้น ได้เห็นพระยานาคนอนขนดจอมปลวกอยู่ หมองูจึงคิดว่าถ้าจับงูใหญ่นี้ไปแสดงในเมืองก็จะได้ทรัพย์มากมาย คิดดังนั้นแล้วหมองูก็ร่ายมนต์ ทำให้พระยานาคเจ็บปวดไปทั้งร่างกาย เมื่อเปิดตาดูเห็นหมองูร่ายมนต์อยู่จึงดำริว่า หากเราโกรธแล้วพ่นลมจมูกออกไป หมองูนี้จะมอดไหม้เหมือนกองเถ้า เราก็จะพ้นจากความเจ็บปวด แต่ศีลของเราก็จะพลอยด่างพร้อย

    ดำริแล้ว พระยานาคก็หลับตาข่มความเจ็บปวดไว้ หมองูร่ายมนต์แล้วเคี้ยวโอสถพ่นไปที่กายของพระยานาคราช ด้วยอานุภาพของมนต์และแห่งโอสถ ร่างของพระยานาคก็พองบวมขึ้น แล้วหมองูก็ฉุดหางพระยานาคลากลงจากจอมปลวก บีบลำตัวด้วยไม้ให้ทุพพลภาพ จับศีรษะบีบเค้นให้ปากอ้า แล้วพ่นโอสถเข้าไปในปาก ทำให้พระทนต์ของพระยานาคหลุดถอน ปากเป็นสีแดงเต็มไปด้วยโลหิต พระยานาคราชทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ทรงหลับพระเนตรอยู่ด้วยเกรงว่าศีลของพระองค์จะขาด หมองูนั้นยังไม่หยุด ขึ้นเหยียบย่ำร่างกายของพระยานาคตั้งแต่หางขึ้นไป คล้ายกับจะทำให้กระดูกแหลกละเอียด จับหางทุบแล้วจับม้วนพับไปมาอย่างผืนผ้า ทำให้พระยานาคเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมั่นใจว่าพระยานาคหมดกำลังแล้ว หมองูจึงเอาเถาวัลย์มาถักเป็นกระโปรง ลากพระยานาคเข้าไปในเมือง และเปิดการแสดงโดยจับร่างพระยานาคบิดเป็นรูปต่างๆ ทั้งทรงกลมและทรงเหลี่ยม อีกทั้งบังคับให้ฟ้อนรำทำพังพานร้อยอย่างพันอย่าง

    มหาชนดูแล้วชอบใจก็ให้ทรัพย์แก่หมองูเป็นอันมาก เมื่อได้ทรัพย์แล้วหมองูก็หากบมาให้เป็นอาหาร แต่พระยานาคไม่ยอมเสวยเพราะรักษาศีล หมองูเอาข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งให้พระยานาคก็ไม่เสวยหมองูได้นำพระยานาคตระเวณเปิดการแสดงไปทั่วตลอดเดือนหนึ่ง ในที่สุดก็มาถึงกรุงพาราณสี และเปิดการแสดงที่หน้าประตูเมือง

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ครั้งนั้น พระเจ้าอุคคเสน ครองกรุงพาราณสี ทรงรับสั่งให้หมองูนำพระยานาคมาเปิดการแสดงที่พระลานหลวงในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอุโบสถ แล้วก็ให้ป่าวประกาศการแสดงไปทั่วพระนคร
    เมื่อพระราชาเสด็จออกมาทอดพระเนตร หมองูก็เปิดการแสดง ให้พระยานาคแสดงและฟ้อนรำหลายอย่าง ประชาชนชอบใจพากันปรบมือโบกผ้าด้วยความรื่นรมย์

    ฝ่ายพระนางสุมนาเทวีนาคกัญญา ทรงระลึกว่าพระสวามีที่รักของเราเสด็จไปนานครบหนึ่งเดือนแล้ว พระองค์ทรงมีเหตุเภทภัยอะไรหรือเปล่าหนอจึงไม่กลับมา พระนางจึงเสด็จไปตรวจดูสระโบกขรณี เห็นน้ำกลายเป็นสีแดงดังโลหิตก็ทรงทราบว่าพระสวามีของตนถูกหมองูจับเอาไป พระนางจึงออกจากนาคพิภพไปตรวจดูใกล้จอมปลวก เห็นร่องรอยที่พระสวามีถูกหมองูจับลากไป พระนางก็ทรงกรรแสงร่ำไห้คร่ำครวญ เสด็จดำเนินติดตามรอยนั้นไปจนถึงนครพาราณสี เห็นหมองูกำลังเปิดการแสดงอยู่

    พระนางสุมนาเทวีเสด็จไปยืนอยู่ในนภากาศ ทอดพระเนตรลงมาเห็นพระสวามีกำลังฟ้อนรำถวายพระราชาและถูกทรมานก็สงสารจนน้ำพระเนตรไหล เมื่อพระยานาคเงยหน้าดูเห็นพระมเหสีก็เกิดความละอายพระทัยเลื้อยเข้าไปนอนขดหลบอยู่ในกระโปรง ฝ่ายพระราชาเห็นอาการของพระยานาคราช ก็ทรงสงสัย ครั้นมองไปในอากาศเห็นพระนางสุมนาเทวี จึงตรัสถามว่า

    "ท่านผู้มีความงามผ่องใส เราไม่รู้จักท่านว่าเป็นเทพธิดา หรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์ เหตุใดท่านจึงเศร้าหมองและนองด้วยหยาดน้ำตา ท่านมาที่นี้เพื่อประสงค์สิ่งใด"<O[​IMG]

    พระนางสุมนาเทวีจึงตอบว่า
    "ข้าแต่พระราชา หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์ แต่หม่อมฉันเป็นนาคกัญญาแห่งนาคนคร <O[​IMG]พระยานาคที่หมองูแสดงอยู่นั้นคือสวามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียเถิด"

    พระราชาตรัสถามว่า
    "ดูก่อนนางนาคกัญญา นาคราชนั้นมีกำลังอันแรงกล้า ไฉนจึงถูกหมองูจับได้เล่า"

    พระนางสุมนาเทวีจึงกราบทูลให้พระราชาทรงทราบว่า อิทธิฤทธิ์ของพระยานาคนั้น เพียงพ่นลมหายใจ หมองูก็จะมอดไหม้เป็นกองเถ้า แต่พระยานาคราชนี้เป็นผู้รักษาศีลจึงสู้อุตส่าห์อดกลั้นรับความทุกข์ ด้วยเกรงว่าศีลนั้นจะขาด

    พระราชาได้ฟังแล้วจึงขอไถ่ตัวพระยานาคราชด้วยทอง ๑๐๐ แท่ง ภรรยารูปงาม ๒ คน โคอุสุภะ ๑๐๐ ตัว และแก้วมณีเป็นอันมาก แล้วให้ปล่อยตัวพระยานาค พระยานาคจึงได้กลายร่างเป็นมาณพน้อย ตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอันงดงาม ส่วนพระนางสุมนาเทวีก็ลอยมาจากอากาศมายืนเคียงข้างพระภัสดา พระยานาคราชได้ยืนประคองอัญชลี ขอบพระทัยพระราชา แล้วทูลเชิญเสด็จพระราชาไปชมทิพย์สมบัติอันโอฬารในนาคพิภพตลอด ๗ วัน เมื่อพระราชาเสด็จกลับ พระยานาคยังได้มอบทรัพย์สมบัติให้อีกหลายร้อยเล่มเกวียน

    พระเจ้าอุคคเสนราช มาเกิดเป็น พระสารีบุตร
    <O[​IMG]หมองู มาเกิดเป็น พระเทวทัต<O[​IMG]
    พระยาจัมเปยยนาคราช มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า<O[​IMG]
    พระนางสุมนาเทวี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]</O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี
    ๑๘ นางพญานาคกัญญา
    เรียบเรียง โดย อังคาร

    อดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายยากจนในนครอังครัฐ วันหนึ่งได้ไปดูพิธีพลีกรรมของพระเจ้าอังคติราชที่ริมน้ำจัมปานที ได้เห็นพระยาจัมเปยยนาคราช นำบริวารจากนาคพิภพใต้แม่น้ำขึ้นมารับพลีกรรม ชายยากจนหลงใหลและปรารถนาอำนาจและทิพย์สมบัติของพระยานาค จึงได้เร่งทำบุญและรักษาศีลตั้งจิตอธิษฐานขอเสวยทิพย์สมบัตินั้น

    เมื่อพระยานาคราชทำกาลกิริยาไปได้ ๗ วัน ชายยากจนก็ตาย และไปบังเกิดเป็นพระยาจัมเปยยนาคราชสมความปรารถนา ซึ่งในครั้งนั้น พระนางพิมพาก็มาอุบัติเป็นอัครมเหสีนามว่า สุมนาเทวี

    พระนางสุมนาเทวี เป็นผู้บำเรอความสุขให้พระยานาคราช โดยนำหมู่นางนาคมาณวิกาแสนโสภามากล่อมบำเรอ จนวิมานนาคเต็มไปด้วยความเพลิดเพลินดุจทิพย์วิมานของท้าวสักกะในดาวดึงส์สวรรค์

    ต่อมา พระยาจัมเปยยนาคราชเกิดความเบื่อหน่ายในเพศพระยานาค ทรงอยากไปเกิดเป็นมนุษย์เพื่อค้นหาสัจจธรรม จึงได้รักษาอุโบสถศีลอยู่ในปราสาท แต่เมื่อนางนาคมาณวิกาที่ตกแต่งกายงดงามยั่วยวนพากันไปเข้าเฝ้า ศีลของพระยานาคก็ขาดลงอยู่เนืองๆ

    พระองค์จึงออกจากปราสาทไปรักษาศีลในพระราชอุทยาน แต่นางนาคมาณวิกาก็ติดตามไปทำให้ศีลขาดอีก พระยานาคราชจึงดำริว่าการจะรักษาศีลได้นั้นต้องไปยังแดนมนุษย์ ครั้งถึงวันอุโบสถ พระองค์จึงขึ้นมารักษาศีลบนโลกมนุษย์ และตั้งสัจจะว่าแม้ต้องเสียชีวิตพระองค์ก็จะรักษาศีลไว้มิให้ขาด ตั้งสัจจะแล้วก็ขนดกายรักษาอุโบสถอยู่ที่ยอดจอมปลวกใกล้ทางเดิน

    เมื่อประชาชนทั้งหลายเดินผ่านไปมาเห็นพระยานาคขนดจอมปลวกอยู่ รู้ว่าเป็นพระยานาคผู้มีฤทธิ์ จึงช่วยกันจัดทำมณฑปให้ เกลี่ยพื้นโดยรอบให้ราบเรียบ และหาเครื่องหอมมาบูชา พระยานาคราชจึงขึ้นมารักษาอุโบสถศีล ณ ที่นั้นเป็นประจำ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระนางสุมนาเทวีทูลถามพระสวามีว่า พระองค์เสด็จไปรักษาศีลในเมืองมนุษย์บ่อยๆ เมืองมนุษย์นั้นอันตราย หม่อมฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์มีภัย พระยาจัมเปยยนาคราชจึงพาพระนางสุมนาเทวีมาที่สระโบกขรณี ตรัสว่าหากพระองค์ได้รับอันตราย น้ำในสระนี้จะขุ่นมัว ถ้าพญาครุฑจับเอาไป น้ำจะเดือดพลุ่งขึ้นมา และถ้าหมองูจับเอาไป น้ำจะกลายเป็นสีแดงเหมือนโลหิต แล้วพระยานาคราชก็ขึ้นมารักษาอุโบสถศีลตามปกติ
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ครั้งนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อลุททกพราหมณ์ ไปเรียนเวทมนต์เป็นหมองูที่เมืองตักกศิลา เมื่อเรียนจบเดินทางกลับบ้านผ่านมาทางนั้น ได้เห็นพระยานาคนอนขนดจอมปลวกอยู่ หมองูจึงคิดว่าถ้าจับงูใหญ่นี้ไปแสดงในเมืองก็จะได้ทรัพย์มากมาย

    คิดดังนั้นแล้วหมองูก็ร่ายมนต์ ทำให้พระยานาคเจ็บปวดไปทั้งร่างกาย เมื่อเปิดตาดูเห็นหมองูร่ายมนต์อยู่จึงดำริว่า หากเราโกรธแล้วพ่นลมจมูกออกไป หมองูนี้จะมอดไหม้เหมือนกองเถ้า เราก็จะพ้นจากความเจ็บปวด แต่ศีลของเราก็จะพลอยด่างพร้อย ดำริแล้ว พระยานาคก็หลับตาข่มความเจ็บปวดไว้ หมองูร่ายมนต์แล้วเคี้ยวโอสถพ่นไปที่กายของพระยานาคราช ด้วยอานุภาพของมนต์และแห่งโอสถ ร่างของพระยานาคก็พองบวมขึ้น แล้วหมองูก็ฉุดหางพระยานาคลากลงจากจอมปลวก บีบลำตัวด้วยไม้ให้ทุพพลภาพ จับศีรษะบีบเค้นให้ปากอ้า แล้วพ่นโอสถเข้าไปในปาก ทำให้พระทนต์ของพระยานาคหลุดถอน ปากเป็นสีแดงเต็มไปด้วยโลหิต

    พระยานาคราชทรงอดกลั้นทุกขเวทนา ทรงหลับพระเนตรอยู่ด้วยเกรงว่าศีลของพระองค์จะขาด หมองูนั้นยังไม่หยุด ขึ้นเหยียบย่ำร่างกายของพระยานาคตั้งแต่หางขึ้นไป คล้ายกับจะทำให้กระดูกแหลกละเอียด จับหางทุบแล้วจับม้วนพับไปมาอย่างผืนผ้า ทำให้พระยานาคเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมั่นใจว่าพระยานาคหมดกำลังแล้ว หมองูจึงเอาเถาวัลย์มาถักเป็นกระโปรง ลากพระยานาคเข้าไปในเมือง และเปิดการแสดงโดยจับร่างพระยานาคบิดเป็นรูปต่างๆ ทั้งทรงกลมและทรงเหลี่ยม อีกทั้งบังคับให้ฟ้อนรำทำพังพานร้อยอย่างพันอย่าง มหาชนดูแล้วชอบใจก็ให้ทรัพย์แก่หมองูเป็นอันมาก เมื่อได้ทรัพย์แล้วหมองูก็หากบมาให้เป็นอาหาร แต่พระยานาคไม่ยอมเสวยเพราะรักษาศีล หมองูเอาข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งให้พระยานาคก็ไม่เสวย หมองูได้นำพระยานาคตระเวณเปิดการแสดงไปทั่วตลอดเดือนหนึ่ง ในที่สุดก็มาถึงกรุงพาราณสี และเปิดการแสดงที่หน้าประตูเมือง

    ครั้งนั้น พระเจ้าอุคคเสน ครองกรุงพาราณสี ทรงรับสั่งให้หมองูนำพระยานาคมาเปิดการแสดงที่พระลานหลวงในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอุโบสถ แล้วก็ให้ป่าวประกาศการแสดงไปทั่วพระนคร เมื่อพระราชาเสด็จออกมาทอดพระเนตร หมองูก็เปิดการแสดง ให้พระยานาคแสดงและฟ้อนรำหลายอย่าง ประชาชนชอบใจพากันปรบมือโบกผ้าด้วยความรื่นรมย์

    ฝ่ายพระนางสุมนาเทวีนาคกัญญา ทรงระลึกว่าพระสวามีที่รักของเราเสด็จไปนานครบหนึ่งเดือนแล้ว พระองค์ทรงมีเหตุเภทภัยอะไรหรือเปล่าหนอจึงไม่กลับมา พระนางจึงเสด็จไปตรวจดูสระโบกขรณี เห็นน้ำกลายเป็นสีแดงดังโลหิตก็ทรงทราบว่าพระสวามีของตนถูกหมองูจับเอาไป พระนางจึงออกจากนาคพิภพไปตรวจดูใกล้จอมปลวก เห็นร่องรอยที่พระสวามีถูกหมองูจับลากไป พระนางก็ทรงกรรแสงร่ำไห้คร่ำครวญ เสด็จดำเนินติดตามรอยนั้นไปจนถึงนครพาราณสี เห็นหมองูกำลังเปิดการแสดงอยู่

    พระนางสุมนาเทวีเสด็จไปยืนอยู่ในนภากาศ ทอดพระเนตรลงมาเห็นพระสวามีกำลังฟ้อนรำถวายพระราชาและถูกทรมานก็สงสารจนน้ำพระเนตรไหล เมื่อพระยานาคเงยหน้าดูเห็นพระมเหสีก็เกิดความละอายพระทัยเลื้อยเข้าไปนอนขดหลบอยู่ในกระโปรง

    ฝ่ายพระราชาเห็นอาการของพระยานาคราช ก็ทรงสงสัย ครั้นมองไปในอากาศเห็นพระนางสุมนาเทวี จึงตรัสถามว่า
    "ท่านผู้มีความงามผ่องใส เราไม่รู้จักท่านว่าเป็นเทพธิดา หรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์ เหตุใดท่านจึงเศร้าหมองและนองด้วยหยาดน้ำตา ท่านมาที่นี้เพื่อประสงค์สิ่งใด"

    พระนางสุมนาเทวีจึงตอบว่า
    "ข้าแต่พระราชา หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์ แต่หม่อมฉันเป็นนาคกัญญาแห่งนาคนคร <O[​IMG]พระยานาคที่หมองูแสดงอยู่นั้นคือสวามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียเถิด"

    พระราชาตรัสถามว่า
    "ดูก่อนนางนาคกัญญา นาคราชนั้นมีกำลังอันแรงกล้า ไฉนจึงถูกหมองูจับได้เล่า"<O[​IMG]
    พระนางสุมนาเทวีจึงกราบทูลให้พระราชาทรงทราบว่า อิทธิฤทธิ์ของพระยานาคนั้น เพียงพ่นลมหายใจ หมองูก็จะมอดไหม้เป็นกองเถ้า แต่พระยานาคราชนี้เป็นผู้รักษาศีลจึงสู้อุตส่าห์อดกลั้นรับความทุกข์ ด้วยเกรงว่าศีลนั้นจะขาด

    พระราชาได้ฟังแล้วจึงขอไถ่ตัวพระยานาคราชด้วยทอง ๑๐๐ แท่ง ภรรยารูปงาม ๒ คน โคอุสุภะ ๑๐๐ ตัว และแก้วมณีเป็นอันมาก แล้วให้ปล่อยตัวพระยานาค พระยานาคจึงได้กลายร่างเป็นมาณพน้อย ตบแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับอันงดงาม ส่วนพระนางสุมนาเทวีก็ลอยมาจากอากาศมายืนเคียงข้างพระภัสดา

    พระยานาคราชได้ยืนประคองอัญชลี ขอบพระทัยพระราชา แล้วทูลเชิญเสด็จพระราชาไปชมทิพย์สมบัติอันโอฬารในนาคพิภพตลอด ๗ วัน เมื่อพระราชาเสด็จกลับ พระยานาคยังได้มอบทรัพย์สมบัติให้อีกหลายร้อยเล่มเกวียน

    พระเจ้าอุคคเสนราช มาเกิดเป็น พระสารีบุตร<O[​IMG]
    หมองู มาเกิดเป็น พระเทวทัต<O[​IMG]
    พระยาจัมเปยยนาคราช มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า<O[​IMG]
    พระนางสุมนาเทวี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book0200.htm
    <O[​IMG]http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]</O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- attachments --><O[​IMG]</O[​IMG]
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี
    ๑๙ พระสิวลีเทวี / ชายาพระมหาชนก
    เรียบเรียง โดย อังคาร

    ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ ทรงมีพระราชโอรสสองพระองค์ คือ พระอริฏฐชนก กับพระโปลชนก เมื่อพระมหาชนกสวรรคต พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติ และตั้งอนุชาคือพระโปลชนกเป็นอุปราช แต่มีอำมาตย์คนหนึ่งคอยทูลยุยงว่าพระโปลชนกจะชิงราชสมบัติ นานวันเข้าพระเจ้าอริฏฐชนกก็หลงเชื่อจึงให้จับพระโปลชนกจองจำไว้ พระโปลชนกทรงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้คิดกบฏต่อพระเชษฐา ขอให้เครื่องจองจำทั้งหมดจงหลุดออก ตั้งสัตย์อธิษฐานเสร็จ เครื่องจองจำก็หลุดหักเป็นท่อนๆ และประตูก็เปิดออก พระโปลชนกจึงเสด็จหนีออกไปได้

    พระโปลชนกไปอาศัยอยู่นอกพระนคร ชาวบ้านที่จำพระองค์ได้ก็มาสมทบเป็นบริวาร เมื่อมากเข้าจึงยกกองทัพมาตีพระนคร พระอริฏฐชนกออกไปรบด้วยก็เสียทีสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระโปลชนกจึงได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าโปลชนกสืบต่อมา พระเจ้าโปลชนกนั้นไม่ทรงมีพระโอรส มีแต่ราชธิดาองค์หนึ่งนามว่า เจ้าหญิงสีวลี

    เมื่อพระเจ้าโปลชนกกำลังจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงคิดวิธีหาคู่ครองที่เหมาะสมแก่ราชธิดา จึงได้ตรัสสั่งอำมาตย์กำหนดวิธีการคัดเลือกพระราชาองค์ใหม่ว่าต้องสามารถเสร็จกิจ ๔ ประการ คือ

    ๑. เป็นผู้ที่พระราชธิดาสีวลียินดี
    ๒. เป็นผู้รู้หัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม
    ๓. เป็นผู้สามารถยกธนูหนักพันแรงคนยกขึ้นได้
    ๔. เป็นผู้สามารถนำขุมทรัพย์ใหญ่ ๑๖ แห่ง ที่พระองค์ทรงฝังไว้ออกมาได้

    คือ ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ขุมทรัพย์ที่ดวงอาทิตย์ตก ขุมทรัพย์ภายใน ขุมทรัพย์ภายนอก ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายในไม่ใช่ภายนอก ขุมทรัพย์ขาขึ้น ขุมทรัพย์ขาลง ขุมทรัพย์ที่ไม้รังใหญ่ทั้งสี่ ขุมทรัพย์ในที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ ขุมทรัพย์ใหญ่ที่ปลายงาทั้งสอง ขุมทรัพย์ที่ปลายขนหาง ขุมทรัพย์ที่น้ำ ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้<O[​IMG]

    ต่อมาพระเจ้าโปลชนกก็สิ้นพระชนม์ หลังจากได้จัดงานถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายจึงได้ประชุมปรึกษากันว่า ใครเล่าจะเป็นที่ยินดีของพระราชธิดา ปรึกษากันแล้วมีความเห็นว่า เสนาบดีทั้งหลายแห่งพระราชานั้นคงเป็นที่ยินดีแก่พระราชธิดา จึงแจ้งให้เสนาบดีมาหาพระราชธิดา แต่พระราชธิดาสีวลีผู้ทรงปัญญาได้ทดลองสั่งเสนาบดีเหล่านั้น เสนาบดีก็ทำตามคำสั่งดังข้าราชบริพาร พระราชธิดาจึงเห็นว่าเสนาบดีเหล่านั้นไม่มีปัญญาเพียงพอ จึงไม่ทรงยินดี

    เมื่อไม่สามารถทำให้พระราชธิดายินดีได้ บรรดาอำมาตย์ก็ทดลองข้ออื่น คือ ผู้ที่รู้หัวนอนแห่งบัลลังก์สี่เหลี่ยม ผู้ที่ยกธนูหนักพันแรงคนยก หรือผู้ที่รู้ขุมทรัพย์ แต่ก็ไม่มีผู้ใดเลยที่สามารถทำได้แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง

    หมดหนทางจะเสาะหาพระราชาองค์ใหม่ ตามวิธีของพระเจ้าโปลชนก ปุโรหิตจึงแนะนำให้แต่งราชรถมงคลเพื่อเสี่ยงทายหาผู้สืบราชสมบัติ ม้าเทียมราชรถมงคลอันวิจิตรก็พาราชรถนั้นทำประทักษิณพระราชนิเวศน์ แล้วขึ้นสู่ถนนใหญ่ ทำประทักษิณพระนคร แล้วออกทางประตูด้านตะวันออก บ่ายหน้าตรงไปยังอุทยาน ทำประทักษิณแผ่นศิลาในอุทยานแล้วหยุดอยู่เตรียมรับเสด็จขึ้น

    ปุโรหิตที่ติดตามราชรถเสี่ยงทายไปเห็นมีบุรุษผู้หนึ่งนอนหลับอยู่บนศิลา จึงเรียกเหล่าอำมาตย์มาบอกว่า ท่านผู้นี้นอนอยู่บนแผ่นศิลา แต่ว่าพวกเรายังไม่รู้ว่าเขาจะมีปัญญาสมควรแก่เศวตฉัตรหรือไม่ ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรีขึ้นโดยเร็วเถิด ถ้าเขาเป็นคนมีปัญญาเขาคงจะไม่ลุกขึ้น ไม่แลดู แต่ถ้าเป็นคนกาลกาลกิณี เขาก็จะตกใจกลัว ลุกขึ้นสะทกสะท้านและหนีไป<O[​IMG]

    เมื่อเสียงประโคมดนตรีดังขึ้นกึกก้อง บุรุษผู้นั้นก็ตื่นขึ้น ครั้นมองมาเห็นราชรถเสี่ยงทายแล้วก็ไม่ได้ตกใจ และไม่สนใจ พลิกตัวเอาผ้าคลุมโปงนอนต่อไป

    ปุโรหิตจึงเข้าไปตรวจดูเท้าของบุรุษผู้นั้น เมื่อเห็นลักษณะแล้วก็รู้ว่าเป็นมหาบุรุษ จึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นอีก แล้วกล่าวเชิญบุรุษนั้นเข้าสู่พระราชวังเพื่อครองราชสมบัติ

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    บุรุษผู้นี้แท้จริงแล้วคือพระมหาชนก โอรสของพระมเหสีของพระเจ้าอริฏฐชนกซึ่งหลบหนีออกจากวังเมื่อพระเจ้าอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ พระนางนั้นเสด็จหนีออกมาทางประตูทิศอุดร มีท้าวสักกเทวราชจำแลงกายเป็นคนแก่ขับเกวียนพาพระนางไปส่งยังนครกาลจำปากะซึ่งอยู่ห่างออกไป ๖๐ โยชน์

    เมื่อถึงนครกาลจำปากะแล้ว พระมเหสีก็ได้ไปอาศัยอยู่กับอุทิจจพราหมณ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในนครกาลจัมปากะ ต่อมาพระมเหสีก็ประสูติพระโอรสนามว่า มหาชนกกุมาร และหลอกพระโอรสว่าเป็นบุตรของพราหมณ์ มหาชนกกุมารนั้นเป็นเด็กมีกำลังและมีมานะเพราะเป็นชาติเชื้อกษัตริย์ เมื่อเล่นกับเด็กอื่นๆ ไม่ถูกใจก็จับเด็กอื่นตีบ้างลากบ้าง เด็กนั้นก็ร้องไห้บอกเพื่อนๆ ว่าลูกหญิงหม้ายรังแก มหาชนกกุมารจึงกลับไปถามพระมารดาว่าบิดาของพระองค์เป็นใคร พระมารดาตอบว่าบิดาของกุมารนั้นคืออุทิจจพรหามณ์

    วันรุ่งขึ้น มหาชนกกุมารก็บอกเพื่อนๆ ว่าพราหมณ์เป็นบิดาของเรา เด็กพวกนั้นพากันหัวเราะเยาะบอกว่าไม่ใช่ มหาชนกกุมารรู้ว่าพระมารดาไม่บอกความจริง เมื่อถึงเวลาดื่มนม มหาชนกกุมารจึงกัดพระถันมารดาไว้ ถามว่า ใครเป็นบิดา ถ้าแม่ไม่บอก ฉันจะกัดพระถันของแม่ให้ขาด พระมารดาไม่อาจปิดพระโอรสได้อีก จึงตรัสบอกความจริงว่า บิดาคือพระเจ้าอริฎฐชนกแห่งกรุงมิถิลา พระบิดาถูกโปลชนกอนุชาปลงพระชนม์ ส่วนตัวแม่หนีมาสู่นครนี้ และได้อุทิจจพราหมณ์ช่วยดูแลให้แม่เป็นน้องสาว

    ตั้งแต่นั้นมา แม้ใครจะว่าเป็นบุตรหญิงหม้าย มหาชนกกุมารก็ไม่กริ้ว ตั้งใจว่าเมื่อเติบใหญ่จะไปทวงราชสมบัติคืน ครั้นมีพระชนม์ได้ ๑๖ ปี มหาชนกกุมารจำเริญวัยเป็นหนุ่มรูปงาม เล่าเรียนจบศาสตร์ต่างๆ ในสำนักของอุทิจจพราหมณ์แล้ว พระองค์ทรงคิดว่าถึงเวลาต้องกลับไปทวงราชสมบัติคืน จึงทูลถามว่าพระมารดามีทรัพย์สิ่งใดติดตัวมาบ้างหรือไม่ พระองค์จะขอเอาทรัพย์นั้นไปค้าขายเป็นทุนก่อนคิดอ่านในการชิงราชสมบัติกลับคืน

    พระมารดาจึงเอาบรรดาแก้วมณีที่นำติดตัวมาด้วยให้มหาชนก พระโอรสก็รับเอาทรัพย์กึ่งหนึ่งไปซื้อสินค้าและแต่งเรือไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ ล่องเรือไปในมหาสมุทรได้ ๗ วัน ผ่านคลื่นลมที่รุนแรง เรือไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ ทำท่าจะแตกลงกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงมีสติ รู้ว่าเรือจะอัปปาง จึงคลุกน้ำตาลกรวดกับเนยเสวยจนเต็มท้อง แล้วชุบผ้าเนื้อเกลี้ยงสองผืนด้วยน้ำมันจนชุ่ม ทรงนุ่งให้มั่น ประทับยืนเกาะเสากระโดงกำหนดทิศว่าเมืองมิถิลาอยู่ทิศนี้ เมื่อเรือจมลงก็ทรงกระโดดจากยอดเสาล่วงพ้นฝูงปลาและเต่าไปได้ด้วยพลกำลัง

    พระมหาชนกทรงว่ายน้ำอยู่กลางสมุทรเป็นเวลา ๗ วัน ทรงสังเกตพระจันทร์บนท้องฟ้ารู้ว่าวันนี้เป็นวันเพ็ญ จึงบ้วนพระโอฐด้วยน้ำเค็ม และสมาทานอุโบสถศีล

    ในกาลนั้น นางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษาสมุทรเผลอเสวยทิพยสมบัติเพลินอยู่ ถึงวันที่ ๗ จึงได้ตรวจดู เห็นพระมหาชนกว่ายน้ำอยู่กลางสมุทร จึงรีบเหาะมาลอยอยู่กลางอากาศตรงหน้า
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางมณีเมขลาต้องการลองพระทัยพระมหาชนก จึงถามว่า
    "นี่ใครหนอ ยังอุตสาหะว่ายน้ำอยู่เพื่อประโยชน์อันใด ฝั่งมหาสมุทรอยู่ที่ไหนก็มองไม่เห็น"


    <O[​IMG]</O[​IMG]พระมหาชนกตรัสตอบว่า
    "อันว่าความเพียรนั้นไม่เสียหาย แม้จะมองไม่เห็นฝั่งก็ต้องพยายาม สักวันหนึ่งจะต้องถึง"

    นางมณีเมขลากล่าวอีกว่า
    "ฝั่งมหาสมุทรนั้นไกลจนประมาณไม่ได้ ความพยายามของท่านนั้นเปล่าประโยชน์ ท่านจะตายเสียก่อนจะถึงฝั่ง"

    พระมหาชนกตรัสตอบว่า
    "แม้เราต้องตายด้วยความเพียร หมู่ญาติ เทวดา และพระพรหมทั้งหลายก็ไม่อาจติเตียนเราได้ เพราะเราได้ทำหน้าที่เต็มกำลังแล้ว"<O[​IMG]

    นางมณีเมขลาถามต่อว่า
    "การทำความพียรโดยมองไม่เห็นทางบรรลุเป้าหมายนั้น มีแต่ความยากลำบาก อาจถึงตายได้ ท่านจะเพียรพยายามไปทำไมกัน" <O[​IMG]

    พระมหาชนกตรัสตอบว่า
    "ดูก่อนแม่เทพธิดา ถ้าเราละความเพียรเสียแต่ต้นมือ ย่อมได้รับผลร้ายของความเกียจคร้านนั้น เหมือนลูกเรือทั้งหลายที่จมลงใต้มหาสมุทร เป็นอาหารของเต่าและปลา แต่เราตั้งอยู่ในความเพียร เราจึงยังว่ายน้ำอยู่ผู้เดียว ยังมีชีวิตอยู่ได้ในทะเลนี้ แม้หนทางสำเร็จจะมีเพียงเล็กน้อย เราก็จะพยายามสุดกำลังเพื่อไปให้ถึงฝั่งให้จงได้"

    มณีเมขลากล่าวสรรเสริญความเพียรของพระมหาชนกแล้ว จึงอุ้มพระมหาชนกพาไปวางไว้บนแผ่นศิลาในสวนมะม่วงแห่งมิถิลานคร ซึ่งพระมหาชนกก็บรรทมหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย

    เวลาเดียวกันนั้น ก็เป็นเวลาที่มิถิลานครกำลังเสี่ยงทายหาพระราชาองค์ใหม่ ซึ่งราชรถเสี่ยงทายก็ได้วิ่งตรงมาสู่พระมหาชนก บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายจึงอภิเษกพระมหาชนกเป็นกษัตริย์แห่งมิถิลานครสืบไป

    ฝ่ายพระราชธิดาสีวลี ต้องการจะลองปัญญาพระมหาชนก จึงตรัสสั่งราชบุรุษให้ไปทูลเชิญพระราชาองค์ใหม่มาเฝ้า ซึ่งหากพระมหาชนกไปหาและกระทำการนอบน้อมเหมือนเสนาอำมาตย์อื่นก็แสดงว่าไม่มีปัญญา แต่พระมหาชนกฟังคำทูลเชิญของราชบุรุษแล้วกลับแสร้งทำเป็นไม่ได้ยิน แม้พระราชธิดาจะทูลเชิญถึง ๓ ครั้ง พระมหาชนกก็ไม่ได้สนพระทัย พระราชธิดาจึงทรงคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาจริง

    วันหนึ่ง พระมหาชนกก็เสด็จไปหาพระราชธิดา เมื่อพระสีวลีเทวีราชธิดาทอดพระเนตรเห็นพระมหาชนกเสด็จมาก็ตกพระทัย รีบออกมารับเสด็จ พระมหาชนกทรงเกี่ยวพระกรพระราชธิดา ขึ้นประทับบนราชบัลลังก์ ภายใต้มหาเศวตฉัตร ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมารับสั่งถามว่า พระราชาตรัสสั่งสิ่งใดไว้ก่อนสวรรคตบ้าง

    อำมาตย์จึงกราบทูลความ ๔ ข้อ ที่พระเจ้าโปลชนกตรัสสั่งไว้ พระมหาชนกจึงตรัสว่า

    ๑. พระนางสีวลีราชธิดาเสด็จมารับ ให้เกี่ยวพระกรของเธอแล้ว ข้อนี้เป็นอันว่า พระราชธิดายินดีแล้ว
    ๒. พระมหาชนกทรงถอดเข็มทองคำบนพระเศียร ประทานให้พระนางสีวลีนำไปวางบนบัลลังก์สี่เหลี่ยม แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า ด้านที่พระราชธิดาวางเข็มทองคำนั้นคือหัวนอน
    ๓. พระมหาชนกได้ทรงยกธนูหนักพันแรงคนยก ขึ้นได้ง่ายดุจยกกงดีดฝ้าย
    ๔. เรื่องขุมทรัพย์ ๑๖ แห่ง พระมหาชนกก็สามารถไขปริศนาและขุดขุมทรัพย์ขึ้นมาได้ทั้งหมด ประชาชนทั้งหลายก็แซ่สร้องสรรเสริญว่าพระราชานี้ทรงเป็นบัณฑิต

    พระมหาชนก ทรงอภิเษกสมรสและแต่งตั้งให้พระนางสีวลีเป็นอัครมเหสี ทรงปกครองมิถิลานครด้วยทศพิธราชธรรม และทรงโปรดให้รับพระมารดาและพราหมณ์มาอยู่ที่มิถิลานคร และให้สร้างศาลาโรงทานหกหลัง คือท่ามกลางพระนครหนึ่ง ที่ประตูพระนครทั้งสี่ และที่ประตูพระราชนิเวศน์หนึ่ง
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระมหาชนกครองราชสมบัติติดต่อมาได้ ๗,๐๐๐ ปี มีพระโอรสองค์หนึ่งนามว่า ทีฆาวุราชกุมาร

    วันหนึ่ง นายอุทยานนำผลไม้น้อยใหญ่ต่างๆ มาถวาย พระมหาชนกอยากชมอุทยานผลไม้นั้น จึงทรงช้างเสด็จประพาสอุทยานที่ใกล้ประตูพระราชอุทยานนั้น มีต้นมะม่วงสองต้นมีใบเขียวชอุ่ม ต้นหนึ่งไม่มีผล ต้นหนึ่งมีผล ผลนั้นมีรสหวานและหอมมาก แต่ใครๆ ก็ไม่อาจเก็บผลจากต้นนั้น เพราะพระราชายังมิได้เสวย

    พระมหาชนกประทับบนคอช้าง ทรงเก็บเอาผลหนึ่งมาเสวย เป็นผลมะม่วงที่อร่อยดุจผลไม้ทิพย์ จึงตั้งใจจะเสวยอีกเวลาเสด็จกลับ เมื่อพระราชาเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยานแล้ว คนอื่นๆ ทั้งอุปราชจนถึงคนรักษาช้าง รักษาม้า รู้ว่าพระราชาเสวยผลมะม่วงต้นนี้แล้ว ก็แย่งชิงกันเก็บเอาผลมากินกันจนต้นมะม่วงนั้นหักทำลายและโค่นลง

    เมื่อพระมหาชนกเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่าทำไมต้นมะม่วงนี้จึงหักโค่นลง อำมาตย์กราบทูลว่ามหาชนแย่งชิงผลมะม่วงที่มีรสอร่อยกัน ส่วนอีกต้นหนึ่งที่ไม่มีผลยังปลอดภัยพระราชาทรงสดับดังนั้นจึงดำริว่า ต้นไม้นี้มีวรรณะสดเขียวตั้งอยู่ได้เพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหักโค่นลงเพราะมีผล ราชสมบัตินี้ก็เหมือนผลมะม่วง เราจะไม่เป็นเหมือนต้นไม้มีผล เราจะเป็นเหมือนต้นไม้หาผลมิได้


    คิดดังนั้นแล้ว พระมหาชนกก็อธิษฐานเป็นดังผู้ออกบวช เสด็จขึ้นประทับบนปราสาท ให้เข้าเฝ้าได้เฉพาะผู้เชิญเครื่องเสวยเท่านั้น ล่วงไป ๔ เดือน พระมหาชนกก็ปรารถนาจะออกบวชอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้ราชบุรุษให้นำผ้าย้อมฝาดและบาตรดินมาให้ ทรงปลงพระเกศา เปลี่ยนเครื่องทรงเป็นบรรพชิต เสด็จจงกรมไปมาในปราสาทตลอดวันนั้น เช้าวันรุ่งขึ้นก็เสด็จลงจากปราสาท

    วันนั้น พระนางสีวลี ได้ตรัสเรียกพระสนม ๗๐๐ นาง ให้ตามเสด็จไปเฝ้าพระมหาชนก พระนางเดินสวนกับพระมหาชนกก็จำไม่ได้ คิดว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงถวายความเคารพแล้วยืนหลบอยู่ เมื่อขึ้นไปบนปราสาท เห็นพระเกศาตกหล่นอยู่จึงได้รู้ว่าพระมหาชนกออกบวชแล้ว

    พระนางสีวลีรีบเสด็จตามพระมหาชนก ไปทันกันที่หน้าพระลาน ทูลอัญเชิญให้เสด็จกลับ แต่พระราชาก็ไม่เสด็จกลับ แม้พระเทวีและพระสนมจะจับพระบาทร้องไห้อ้อนวอนอย่างไรก็พระทัยแข็งอยู่ พระนางสีวลี จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปจุดไฟเผาเรือนเก่าศาลาเก่า แล้วกราบทูลพระมหาชนกว่าไฟไหม้กรุงมิถิลา

    พระมหาชนกตรัสตอบว่า กรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญ แต่ของอะไรๆ ส่วนตัวของเรายังมิได้ถูกเผาผลาญเลย ตรัสแล้ว พระมหาชนกก็เสด็จออกทางประตูทิศอุดร นางสีวลี จึงรับสั่งให้อำมาตย์จัดทหารมาแสดงเหตุการณ์ให้เหมือนโจรเข้าปล้นฆ่าชาวบ้าน แล้วไปกราบทูลพระมหาชนก พระมหาชนกรู้ว่าเป็นอุบายของพระเทวี จึงตรัสว่า เมื่อมิถิลาถูกโจรปล้น พวกโจรมิได้นำอะไรๆ ของเราไปเลย

    พระมหาชนกเสด็จดำเนินต่อไป โดยมีพระเทวีและมหาชนจำนวนมากติดตามเสด็จ พระมหาชนกทรงตรัสถามผู้ติดตามมา ว่าใครคือพระราชาของท่าน มหาชนกราบทูลว่าคือพระองค์ พระมหาชนกจึงขีดเส้นลงบนพื้น ตรัสว่า ถ้าใครทำขีดนี้ของพระราชาขาดทำลาย ให้ลงโทษคนผู้นั้น
    <!-- / message -->
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ตรัสแล้วก็เสด็จดำเนินต่อไป พระเทวี อำมาตย์ และมหาชน ก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ตรงนั้นไม่กล้าก้าวข้ามไป จนเส้นบนพื้นเลือนหายไปเองจึงได้ติดตามพระมหาชนกต่อไป

    ในกาลนั้น พระนารทะดาบส ตรวจดูด้วยญาน เห็นพระมหาชนกออกบวช พระดาบสเกรงว่าพระมหาชนกจะแพ้ภัยพระเทวีและผู้ติดตาม จึงเหาะมาลอยในอากาศอยู่ตรงหน้าพระมหาชนก ให้โอวาทว่า เมื่อทรงเพศบรรพชิตแล้ว อย่าถือองค์ว่าเป็นกษัตริย์ ให้สมาคมด้วยสัตบุรุษ อย่าเบื่อหน่ายในการรักษาศีล บริกรรม เข้าฌาน และบำเพ็ญพรหมจรรย์ ให้โอวาทเสร็จแล้วก็เหาะกลับไป

    พระดาบสอีกรูปหนึ่ง ชื่อว่า มิคาชินะ ก็เหาะมาปรากฏแก่พระมหาชนก ถวายโอวาทให้เป็นผู้ไม่ประมาท แล้วเหาะกลับไปยังที่อยู่ของตน เมื่อมิคาชินะดาบสกลับไปแล้ว พระนางสีวลีก็เสด็จมาทัน กราบทูลพระสวามีว่า ขอให้พระองค์จงกลับไปอภิเษกราชโอรสขึ้นเป็นพระราชาก่อนแล้วค่อยบวช พระมหาชนกตรัสตอบว่า สมณะ เป็นผู้ไม่มีบุตร พระโอรสนั้นเป็นบุตรของชาวมิถิลา จึงให้ชาวมิถิลาเป็นผู้อภิเษก ตรัสแล้วก็เสด็จดำเนินต่อไป โดยมีพระเทวีตามหลังมิได้ห่าง

    เมื่อเสด็จถึงถูนนคร พระมหาชนกทรงเห็นเนื้อก้อนหนึ่งที่สุนัขขโมยมา และทิ้งไว้ที่กลางทาง พิจารณาแล้วว่าเป็นเนื้อไม่มีเจ้าของ จึงหยิบเนื้อนั้นใส่บาตร แล้วไปนั่งเสวยอยู่ริมทาง

    พระเทวีทรงดำริว่า พระมหาชนกเสวยเนื้อที่น่าเกลียดเช่นนี้แล้ว แม้ราชสมบัติพระองค์ก็คงไม่ใยดี และคงจะไม่เสด็จกลับเป็นแน่ แต่ด้วยความอาลัย พระนางก็ยังสู้เสด็จติดตามพระสวามีต่อไป

    เมื่อเสด็จถึงประตูถูนนคร พระมหาชนกเห็นกุมารีนางหนึ่งเล่นทรายอยู่ ข้อมือข้างหนึ่งสวมกำไลหนึ่งอันไม่มีเสียงดัง แต่ที่ข้อมืออีกข้างหนึ่งสวมกำไลสองอันจึงมีเสียงกำไลดังกระทบกัน พระมหาชนกจึงคิดอุบายถามกุมารีว่า เหตุใดกำไลนี้จึงมีเสียงดัง

    กุมารีนั้นกล่าวว่า ข้าแต่พระสมณะ เสียงเกิดจากกำไลสองอันกระทบกัน เหมือนบุคคลสองคนอยู่ร่วมกันจึงวิวาทกัน ท่านเป็นเพศนักบวช จงเที่ยวไปคนเดียวเถิด อย่าได้พาภริยารูปงามนี้เที่ยวไปเลย ภริยานี้จะทำอันตรายแก่เพศบรรพชิตของท่าน

    พระมหาชนกจึงหันมาบอกพระเทวีว่า ต่อไปเราอย่าร่วมทางกันให้เป็นที่ติเตียนอีกเลย เราไม่ได้เป็นสวามีของเธอ และเธอก็ไม่เป็นมเหสีของเราอีก พระนางสีวลีได้ฟังพระดำรัสของพระมหาชนกแล้ว กราบทูลว่าพระองค์จงถือเอาทางเบื้องขวา ส่วนข้าพระองค์จะถือเอาทางเบื้องซ้าย กราบทูลแล้วเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง ไม่สามารถจะกลั้นโศกาดูรไว้ได้ก็เสด็จร่วมทางมาอีก จนเข้าถูนนครด้วยกัน

    เมื่อเสด็จเข้าพระนครแล้ว พระมหาชนกก็ไปบิณฑบาตจนมาถึงเรือนนายช่างศร เห็นช่างศรกำลังหลับตาเล็งและดัดลูกศรให้ตรง พระมหาชนกจึงตรัสถามช่างศรเป็นอุบายว่า เหตุใดท่านจึงหลับตาดูลูกศรด้วยตาเพียงข้างเดียว ช่างศรกล่าวว่า เล็งลูกศรด้วยตาสองข้างไม่อาจสำเร็จเพราะความพร่ามัว ต้องเล็งด้วยตาข้างเดียวจึงจะเห็นชัด ท่านผู้ใคร่ต่อสวรรค์ ท่านชอบความเป็นผู้อยู่คนเดียวและบำเพ็ญสมณธรรมให้สมควรเถิด อย่าพาภริยานี้เที่ยวไปเลย ภริยานี้จะทำอันตรายแก่ท่าน

    พระมหาชนกจึงหันมาตรัสบอกพระเทวีว่า ต่อไปเราอย่าร่วมทางกันให้เป็นที่ติเตียนอีกเลย เราไม่ได้เป็นสวามีของเธอ และเธอก็ไม่เป็นมเหสีของเราอีก เราจงเดินแยกทางกันเถิด

    พระเทวีได้ฟังคำตัดขาดของพระสวามี ไม่อาจกลั้นความโศกาดูรได้ จึงทรงกรรแสงและสิ้นสติล้มลง พระมหาชนกก็เสด็จเข้าสู่ป่าไป ฟื้นคืนสติมาแล้ว พระนางเจ้าสีวลีก็เสด็จกลับพระนคร อภิเษกทีฆาวุกุมารขึ้นเป็นพระราชา แล้วโปรดให้สร้างพระเจดีย์หลายองค์ ในตำบลที่พระมหาชนกตรัสกับช่างศร ตรัสกับกุมารี และตรัสกับดาบสทั้งสอง และจัดหาของหอมมาบูชา แล้วพระนางก็ถือบวชอยู่ในอุทยานหลวงอยู่จนสิ้นพระชนม์

    อุทิจจพราหมณ์ มาเกิดเป็น พระกัสสปะ<O[​IMG]
    นางมณีเมขลา มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี<O[​IMG]
    นารทดาบส มาเกิดเป็น พระสารีบุตร<O[​IMG]
    มิคาชินดาบส มาเกิดเป็น พระโมคคัลลานะ<O[​IMG]
    นางกุมาริกา มาเกิดเป็น พระเขมาเถรี<O[​IMG]
    ช่างศร มาเกิดเป็น พระอานนท์<O[​IMG]
    สีวลีเทวี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา<O[​IMG]
    ทีฆาวุกุมาร มาเกิดเป็น พระราหุล<O[​IMG]
    พระมหาชนก มาเกิดเป็น พระสมณโคตมพุทธเจ้า

    ได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]</O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี
    ๒๐ นางอมรา ชายาพระมโหสถ
    เรียบเรียง โดย อังคาร



    ในอดีตกาล พระเจ้าวิเทหราชเป็นกษัตริย์ปกครองมิถิลานคร พระองค์มีราชบัณฑิต ๔ คน คือ เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวิน

    ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกะเศรษฐีกับนางสุมนา ในขณะที่เกิด ท้าวสักกเทวราชได้นำแท่งโอสถมาใส่มือให้ แท่งโอสถนี้ต่อมาได้ใช้รักษาโรคปวดหัวของสิริวัฒกะเศรษฐีจนหาย และยังรักษาชาวเมืองได้อีกมากมาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถ

    มโหสถเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งเมื่อมีอายุได้ ๗ ขวบ มโหสถเล่นกับสหาย พอดีมีลมฝนพัดมา ทุกคนต่างก็วิ่งหนีเข้าศาลา บางคนหกล้ม บางคนเหยียบกัน มโหสถจึงคิดว่าถ้าสร้างศาลาเสียก็จะมีที่เล่น ไม่ต้องหนีฝนให้ลำบากอีก จึงชวนสหายให้เอาเงินมารวมกันคนละหนึ่งกหาปณะเพื่อใช้สร้างศาลา

    มโหสถออกแบบศาลาให้มีทั้งสนามเด็กเล่น ห้องวินิจฉัยคดี และห้องพักสำหรับคนเดินทาง ภายในก็ให้ช่างเขียนมาเขียนจิตรกรรมจนงามเหมือนสุธรรมาศาลาในเทวโลก เมื่อสร้างศาลาเสร็จแล้ว มโหสถก็ให้สร้างสระโบกขรณีที่ดารดาษด้วยปทุมชาติ ๕ ชนิด ให้สร้างสวนปลูกไม้ดอกและไม้ผลอยู่ริมสระ และใช้ศาลานั้นเป็นที่เล่น เป็นที่วินิจฉัยคดี เกียรติคุณของมโหสถจึงเป็นที่กล่าวขานไปไกล

    ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช ในวันที่มโหสถเกิดนั้น พระองค์ทรงพระสุบิน โหราจารย์ได้ทำนายว่าจะมีบัณฑิตมาเกิดใหม่ บัณฑิตผู้นี้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าบัณฑิตทุกคน บัดนี้กาลเวลาผ่านมา ๗ ปีแล้ว พระองค์จึงส่งอำมาตย์ออกตามหาผู้ที่เกิดมาเป็นบัณฑิตคนที่ ๕ นี้ อำมาตย์ตามหาบัณฑิตที่ ๕ จนมาถึงศาลาของมโหสถ เห็นความมหัศจรรย์ของศาลาก็รู้ว่าคนทำต้องมีปัญญา เมื่อสอบถามรู้ว่าบุตรสิริวัฒกะเศรษฐีอายุ ๗ ขวบเป็นผู้สร้าง สอดคล้องกับพระสุบิน จึงได้ส่งทูตกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบ

    พระเจ้าวิเทหราชทรงมีพระทัยยินดี จะรับมโหสถเข้าวัง แต่บัณฑิตทั้ง ๔ กราบทูลคัดค้านว่าใครๆ ก็สร้างศาลาได้ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นบัณฑิตจริงพระเจ้าวิเทหราชจึงให้อำมาตย์คอยพิจารณามโหสถต่อไป ซึ่งอำมาตย์ก็เห็นมโหสถใช้สติปัญญาต่างๆ แต่บัณฑิตทั้ง ๔ ก็ยังคัดค้านเรื่อยมา อำมาตย์ที่คอยเฝ้าดูมโหสถนั้น ได้เห็นมโหสถใช้ปัญญาแก้ปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การไล่เหยี่ยวเพื่อชิงชิ้นเนื้อคืน การพิสูจน์หาเจ้าของโค การพิสูจน์หาแม่ของเด็กตัวจริง การตัดสินหาเจ้าของเครื่องประดับตัวจริง เป็นต้น

    ในที่สุด พระเจ้าวิเทหราชก็รับสั่งให้นำมโหสถมาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งรับสั่งให้พาบิดาและนำม้าอัสดรมาด้วย มโหสถจึงขอให้บิดานำม้าอัสดรมาเข้าเฝ้าก่อน ส่วนตนเองจะตามมาทีหลัง และได้นัดแนะแผนกับบิดาไว้ก่อน

    สิริวัฒกะเศรษฐีนำม้าอัสดรมาเข้าเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช แล้วนั่งอยู่ในที่อันควรรออยู่ ฝ่ายมโหสถก็จับฬามาตัวหนึ่งมาเข้าเฝ้าทีหลัง เมื่อมาถึง บิดาก็ลุกให้มโหสถผู้เป็นบุตรลงนั่งแทนที่ตน บัณฑิตทั้งหลายจึงพากันหัวเราะเยาะ พระเจ้าวิเทหราชก็ทรงเสียพระทัย ตรัสว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตร มโหสถให้บิดาลุกให้นั่งนั้นไม่สมควร

    มโหสถกราบทูลว่า หากพระราชาเห็นว่าบิดาประเสริฐกว่าบุตรก็ให้รับฬาที่ตนนำมา เพราะฬาเป็นพ่อของม้าอัสดร และหากเห็นว่าบิดาประเสริฐกว่าบุตร ก็ควรรับบิดาของตนไว้เป็นบัณฑิต พระเจ้าวิเทหราชทรงพอพระทัยในสติปัญญา จึงรับมโหสถไว้เป็นราชบุตร มโหสถจึงได้รับราชการอยู่ในพระนคร

    ในกาลนั้น ปรากฏมีแสงแก้วมณีในสระโบกขรณี พระเจ้าวิเทหราชรับสั่งให้เสนกบัณฑิตนำแก้วมณีขึ้นมาถวาย เสนกบัณฑิตจึงระดมพลมาวิดน้ำจนหมดสระแต่ก็หาแก้วมณีไม่พบ ครั้นปล่อยน้ำลงไป แก้วมณีก็ปรากฏขึ้นอีก เสนกบัณฑิตวิดน้ำซ้ำก็ยังหาแก้วมณีไม่พบ พระเจ้าวิเทหราชจึงรับสั่งให้มโหสถเป็นผู้หาแก้วมณี มโหสถไปยืนที่ฝั่งสระโบกขรณี แลดูก็รู้ว่าที่เห็นเป็นเพียงเงา แก้วมณีจริงไม่ได้อยู่ในสระ แต่อยู่บนยอดตาล จึงให้คนปีนไปนำแก้วมณีลงมาถวายพระเจ้าวิเทหราชได้

    วันหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสราชอุทยานกับพระนางอุทุมพรมเหสี ระหว่างทาง พระนางอุทุมพรทอดพระเนตรเห็นชายรับจ้างถางหญ้าคนหนึ่งที่ริมทาง พระนางก็ทรงพระสรวล พระเจ้าวิเทหราชทรงตรัสถาม พระมเหสีกราบทูลว่าบุรุษนั้นเคยเป็นสามีของพระนาง แต่เขาเป็นกาลกิณี ไม่อาจอยู่ร่วมกับพระนางซึ่งเป็นศรีได้ จึงได้เป็นแค่คนตัดหญ้า
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระเจ้าวิเทหราชไม่ทรงเชื่อ จะประหารพระมเหสี แต่ก่อนประหาร พระองค์ได้ตรัสถามมโหสถก่อน มโหสถก็กราบทูลว่ากาลกิณีนั้นไม่อาจอยู่ร่วมกับศรีได้จริง เหมือนท้องฟ้าย่อมไม่อยู่ร่วมกับแผ่นดิน เหมือนฝั่งมหาสมุทรสองฝั่งไม่อาจอยู่ร่วมกัน

    พระเจ้าวิเทหราชจึงหายกริ้ว ไม่ทรงลงโทษพระมเหสี พระมเหสีจึงทูลขอมโหสถเป็นพระอนุชาของพระนาง เรื่องชายตัดหญ้ากับพระนางอุทุมพรนี้มีที่มา คือ พระนางอุทุมพรเป็นธิดาของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ และชายรับจ้างเป็นศิษย์คนโตของบิดานาง ตามธรรมเนียมนั้นอาจารย์จะยกธิดาให้แก่ศิษย์คนโต ดังนั้นเมื่อมาณพคนนี้เรียนจบ ก่อนกลับบ้านเมืองอาจารย์ก็ยกธิดาให้เป็นภริยา


    แต่เนื่องจากมาณพคนนี้เป็นกาลกิณี ไม่คู่ควรกับสตรีผู้เป็นศรี ไม่อาจร่วมห้องหรือร่วมเตียงกันได้ แม้แต่เดินคู่กันก็อึดอัดลำบากใจ มาณพนั้นจึงคิดหาทางหนีอยู่ตลอดเวลา

    วันหนึ่ง มาณพปีนขึ้นไปเก็บผลมะเดื่อกิน ภริยาอยู่โคนต้นร้องขอมะเดื่อกินบ้าง มาณพบอกว่าให้ขึ้นไปเก็บเอาเอง นางจึงปีนขึ้นไปเก็บลูกมะเดื่อ มาณพได้ทีรีบโดดลงมา แล้วเอาหนามมาวางสุมโคนมะเดื่อไว้ไม่ให้นางลงมาได้ แล้วรีบหนีไป พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับจากประพาสอุทยานผ่านมา เห็นนางกุมารีอยู่บนต้นมะเดื่อ เกิดจิตปฏิพัทธ์ เมื่อซักถามรู้ความว่านางไม่มีเจ้าของ จึงรับนางมาแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี พร้อมทั้งเรียกนามพระนางว่าอุทุมพรเทวี ตามชื่อของต้นมะเดื่อ

    มโหสถรับราชการจนมีอายุได้ ๑๖ ปี พระนางอุทุมพรเทวีทรงดำริว่า บัดนี้น้องชายของเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราควรจะทำอาวาหมงคลแก่เธอ แต่มโหสถคิดว่านางกุมารีที่พระนางอุทุมพรหาให้อาจไม่เป็นที่ชอบใจ จึงกราบทูลว่าจะขอเวลาหากุมารีที่จะมาเป็นภริยาเอง แล้วมโหสถก็ปลอมตนเป็นช่างชุนผ้าออกเดินทางเสาะหาภริยาลำพังคนเดียว

    ครั้งนั้น พระนางพิมพาเกิดเป็นนางอมรากุมารี ธิดาของตระกูลเศรษฐีเก่า แต่บัดนี้กลับยากจนลง วันหนึ่ง อมรากุมารีนำอาหารไปให้บิดาและเดินสวนทางกับมโหสถ พอเห็นหน้ามโหสถ นางก็คิดว่ามาณพนี้เป็นคนฉลาด หากได้เป็นสามีก็จะทำให้ตระกูลมั่งคั่ง

    ส่วนมโหสถเห็นหน้านางก็คิดว่านางเป็นคนมีปัญญา อยากรู้ว่านางมีสามีหรือยัง จึงกำมือเข้าเป็นสัญญานถาม อมรากุมารีรู้ความหมายจึงแบมือเป็นสัญญานว่านางยังไม่มีสามี พอมโหสถรู้ว่านางยังไม่มีสามี จึงเข้าไปใกล้ถามว่า
    "มโหสถ นางผู้เจริญ เธอชื่ออะไร"

    อมรากุมารี
    "ข้าแต่นาย สิ่งใดไม่มีในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบัน สิ่งนั้นเป็นชื่อของดิฉันชื่อว่าความไม่ตายไม่มีในโลก ฉะนั้นเธอจึงชื่อว่า อมรา

    อมรากุมารี "ถูกแล้ว"

    นายมโหสถ "เธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อใคร"

    อมรากุมารี "ข้าพเจ้านำไปเพื่อบุรพเทวดา"

    มโหสถ "บิดามารดาชื่อว่าบุรพเทวดา เธอจักนำข้าวต้มไปเพื่อบิดาของเธอใช่หรือไม่"

    อมรากุมารี "ถูกแล้ว"

    มโหสถ "บิดาของเธอทำงานอะไร

    อมรากุมารี "บิดาของดิฉันทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง

    มโหสถ "แน่ะนางผู้เจริญ การไถนาชื่อว่าการทำสิ่งหนึ่งโดยส่วนสอง บิดาของเธอไถนาใช่หรือไม่"

    อมรากุมารี "ถูกแล้ว"

    มโหสถ "บิดาของเธอไถนาอยู่ที่ไหน"

    อมรากุมารี "ชนทั้งหลายไปในที่ใดคราวเดียว ภายหลังไม่กลับมา บิดาของดิฉันไถนาในที่นั้นแล"

    มโหสถ "ป่าช้าชื่อว่าสถานที่แห่งชนทั้งหลายไปคราวเดียว ภายหลังไม่กลับ ชะรอยบิดาของเธอจะไถนาในที่ใกล้ป่าช้า"

    อมรากุมารี "ถูกแล้ว"

    มโหสถ "แน่ะนางผู้เจริญ วันนี้เธอจะกลับหรือไม่กลับ"

    อมรากุมารี "ข้าแต่นาย ถ้ามาฉันจะยังไม่กลับ ถ้าไม่มาฉันจักกลับ"

    มโหสถ "แน่ะนางผู้เจริญ บิดาของเธอชะรอยจักไถนาใกล้ฝั่งแม่น้ำ ครั้นเมื่อน้ำมาเธอจักไม่กลับ ครั้นเมื่อน้ำไม่มาเธอจักกลับ"

    อมรากุมารี "ถูกเจ้าค่ะ"
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ทั้งสองเจรจาโต้ตอบกัน แล้วอมรากุมารีก็เชิญมโหสถให้ดื่มข้าวต้ม มโหสถดื่มข้าวต้มเสร็จจึงถามทางไปเรือนของนาง และแยกทางกันไป

    มโหสถเดินไปตามทางที่อมรากุมารีบอก ไปพบมารดาของอมราเทวี บอกว่าตนเองเป็นช่างชุนผ้า มารดาอมราเทวีบอกว่าผ้ามี แต่ค่าจ้างไม่มี มโหสถบอกว่าตนไม่เอาค่าจ้าง นางจึงเอาผ้าเก่าๆ มาให้ชุนชุนผ้าเสร็จ มโหสถก็บอกมารดาอมรากุมารีให้ไปบอกชาวบ้านว่าตนมารับจ้างชุนผ้า ชาวบ้านก็นำผ้ามาให้ชุน เพียงวันเดียวก็ได้ค่าจ้างถึงพันหนึ่ง

    มโหสถพักอยู่ในบ้านของอมรากุมารีเพื่อสังเกตนาง วันหนึ่งได้บอกให้นางใช้ข้าวสารกึ่งทะนาน ต้มข้าวต้ม ทำขนม และหุงข้าวสวย นางอมรารับคำสั่งแล้วก็ตำข้าว เอาข้าวสารที่สมบูรณ์ต้มเป็นข้าวต้ม เอาข้าวสารหักมาหุงเป็นข้าวสวย เอาปลายข้าวทำขนม แล้วประกอบกับข้าวสำหรับข้าวสวยข้าวต้มนั้น

    นางอมรายกข้าวต้มมาก่อน รสข้าวต้มนั้นอร่อยถูกปากมาก แต่มโหสถก็แกล้งคายทิ้ง แกล้งว่านางหุงข้าวต้มไม่เป็น นางอมราไม่ได้รู้สึกโกรธ บอกว่าถ้าข้าวต้มไม่อร่อยก็ลองชิมขนมดู มโหสถก็ทำอาการไม่อร่อยและพูดอย่างเดิม

    นางอมราจึงกล่าวว่า ถ้าขนมไม่อร่อย ท่านจงกินข้าวสวย แล้วยกข้าวสวยมาให้ มโหสถก็ทำเป็นขัดเคือง ขยำข้าวต้มข้าวสวยและขนมเข้าด้วยกัน แล้วเอามาทาตัวนางอมราแล้วไล่ให้นางไปยืนอยู่ที่ประตู นางอมราไปยืนที่ประตู ประนมมือกล่าวว่า ดีจ้ะนาย มโหสถพอใจจึงเรียกนางอมรากุมารีให้เข้าไปหา แล้วหยิบผ้าสาฎกจากในไถ้ผืนหนึ่งส่งให้นาง บอกให้นางอาบน้ำชำระกายแล้วใช้ผ้านี้แต่งกายมา เมื่อนางอมราทำตามคำสั่งแล้ว มโหสถก็เอาทรัพย์ที่ได้จากการชุนผ้า พร้อมทั้งทรัพย์อีกพันกหาปณะที่เตรียมมามอบให้บิดามารดา ขอนางอมราเป็นภริยา และพานางเดินทางกลับนคร

    ระหว่างเดินทางกลับ เมื่อเดินเข้าป่า นางอมราก็จะกางร่ม แต่เมื่อเดินในที่โล่ง นางกลับเก็บร่ม เมื่อเดินในที่แห้ง นางอมราก็ถอดรองเท้าเดิน แต่เมื่อมีน้ำขัง นางกลับสวมรองเท้า มโหสถจึงถามว่าเหตุใดนางจึงทำเช่นนั้น อมรากุมารีตอบว่า ในป่ามีต้นไม้เยอะ ไม่รู้ว่าจะมีอะไรตกใส่ศีรษะหรือเปล่าจึงกางร่ม แต่เดินกลางแจ้งนั้นไม่มีอะไรตกใส่ศีรษะแน่จึงเก็บร่มเสีย ส่วนเดินในที่แห้งมองเห็นว่าพื้นไม่มีอันตรายจึงถอดรองเท้า แต่ในที่น้ำขังมองไม่เห็นว่ามีเศษไม้เศษหินหรืออะไรที่เป็นอันตรายหรือไม่ จึงสวมรองเท้า

    มโหสถได้ฟังก็นึกชมปัญญาของนาง ทางมาถึงต้นพุทราต้นหนึ่ง มโหสถใช้ให้นางอมราขึ้นไปเก็บลูกพุทรา อมรากุมารีถามว่าจะกินร้อนหรือกินเย็น มโหสถตอบว่ากินร้อน อมรากุมารีก็เก็บพุทราโยนลงบนฝุ่น มโหสถต้องเก็บมาเป่าก่อนกิน พอบอกว่าจะกินเย็น อมรากุมารีก็โยนผลพุทราลงบนหญ้า มโหสถก็เก็บกินได้ทันทีโดยไม่ต้องเป่าก่อน

    เมื่อถึงพระนคร มโหสถพาอมรากุมารีไปฝากไว้ที่เรือนคนเฝ้าประตู แล้วสั่งให้บุรุษนำทรัพย์พันกหาปณะไปเกี้ยว อมรากุมารีเห็นว่าบุรุษนั้นไม่คู่ควรเท่าสามีของตนจึงไม่สนใจ แม้มโหสถจะส่งบุรุษมาถึง ๓ ครั้งนางก็ไม่สนใจ มโหสถจึงสั่งให้บุรุษไปฉุดนางมา

    เมื่ออมรากุมารีมาพบมโหสถที่เป็นเศรษฐีก็จำไม่ได้ นางแลดูมโหสถแล้วหัวเราะแล้วร้องไห้ มโหสถซักถามถึงเหตุทั้งสองนั้น นางก็บอกว่า
    <!-- / message -->
     
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    "ข้าแต่นาย ดิฉันเห็นสมบัติของท่าน ก็รู้ว่าท่านทำกุศลไว้ในปางก่อนจึงได้สมบัตินี้ โอ.. ผลบุญทั้งหลายน่าอัศจรรย์หนอ นึกในใจดังนี้จึงได้หัวเราะ ก็เมื่อดิฉันร้องไห้ ก็ร้องไห้ด้วยความกรุณาในตัวท่าน ด้วยสงสารว่าบัดนี้ท่านมาทำร้ายในวัตถุที่คนอื่นปกครองหวงแหน ท่านจะต้องไปสู่นรก"

    มโหสถจึงให้บุรุษพานางส่งกลับไปที่เรือนเดิม แล้วไปกราบทูลให้พระนางอุทุมพรทรงทราบ พระนางอุทุมพรจึงส่งวอไปรับ ให้ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง แล้วจัดพิธีอาวาหมงคลอมรากุมารีกับมโหสถอย่างยิ่งใหญ่


    อมรากุมารีกับมโหสถอยู่ร่วมกันมาได้ระยะหนึ่ง บัณฑิตทั้งสี่ก็วางแผนใส่ร้ายมโหสถ โดยสี่บัณฑิตได้ไปขโมยพระจุฬามณี สุวรรณมาลา ผ้าคลุมบรรทมกัมพล และราชาภรณ์ ของพระเจ้าวิเทหราชมา แล้วให้นางทาสีนำไปหลอกขายที่เรือนมโหสถ นางอมราเห็นว่ามีพิรุธ จึงรับซื้อไว้ แต่ได้ให้นางทาสีนั้นทำบันทึกให้ว่าชื่ออะไร มาจากเรือนไหน และนำอะไรมาขาย ราคาเท่าไร[

    ต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ก็เพ็ดทูลพระเจ้าวิเทหราชว่ามโหสถขโมยสิ่งของพระราชาไป พระเจ้าวิเทหาราชทรงกริ้วมโหสถ สั่งให้ทหารมาจับตัว แต่มโหสถรู้ตัวจึงแอบหลบหนีไปก่อนและหลบไปเป็นช่างหม้ออยู่นอกเมือง

    ฝ่ายบัณฑิตทั้งสี่ ต่างคนต่างไปหานางอมราที่เรือน นางอมราก็วางแผนขุดหลุมพาดไม้กระดานไว้ เมื่อบัณฑิตนั้นเข้ามา นางก็เหยียบกระดานกลให้บัณฑิตทั้งสี่ตกลงไปในหลุมที่เต็มไปด้วยคูถสกปรก ครั้นรุ่งเช้าจึงปล่อยให้ทั้งสี่ขึ้นมาจากหลุม ให้อาบน้ำ โกนผมและหนวดจนล้านเลี่ยน โรยตัวด้วยนุ่นจนทั่วเหมือนวานรเผือกแล้วมัดมาถวายพระเจ้าวิเทหราช นางอมรากราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบ แต่พระองค์ยังทรงกริ้วอยู่ จึงไม่ตรัสว่าอะไร

    ฝ่ายเทวดาที่สิงอยู่ในเศวตฉัตร ไม่ได้ฟังธรรมจากมโหสถนานเข้าจึงดำริว่าจะหาทางช่วยให้มโหสถกลับเข้าวัง คืนนั้น เทวดาจึงปรากฏตัวมาถามปัญหาพระเจ้าวิเทหราชว่า บุคคลใดทำร้ายร่างกายและปากของผู้อื่นด้วยมือและเท้าทั้งสอง แต่บุคคลนั้นกลับเป็นที่รักของผู้ถูกทำร้าย บุคคลนั้นคือใคร พระเจ้าวิเทหราชทรงถามปัญหานี้กับบัณฑิตทั้งสี่ แต่ก็ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ตกค่ำ เทวดามาทวงคำตอบและบอกพระเจ้าวิเทหราชว่าคำถามนี้นอกจากมโหสถบัณฑิตแล้วไม่มีใครตอบได้ เปรียบเหมือนเมื่อต้องการไฟก็ไม่ควรเป่าเอาจากหิ่งห้อย เมื่อต้องการนมก็ไม่ควรรีดจากเขาโค หากพระเจ้าวิเทหราชตอบปัญหาไม่ได้จะลงโทษให้พระเศียรแตก

    พระเจ้าวิเทหราชจึงต้องส่งอำมาตย์ ๔ คนออกไปตามมโหสถกลับมา มโหสถสามารถตอบปัญหาเทวดาได้ว่าบุคคลในปัญหานั้นคือบุตรอันเป็นที่รัก เขาจึงได้กลับมารับราชการกับพระเจ้าวิเทหราชดังเดิม และอยู่ครองเรือนกับนางอมราตลอดมา

    พระเจ้าวิเทหราช มาเกิดเป็น กาฬุทายีภิกษุ<O[​IMG]
    พระนางอุทุมพรเทวี มาเกิดเป็น โคตมีภิกษุณี<O[​IMG]
    สิริวัฒนะเศรษฐี มาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช<O[​IMG]
    นางสุมนา มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา<O[​IMG]
    เสนกบัณฑิต มาเกิดเป็น กัสสปภิกษุ<O[​IMG]
    ปุกกุสะบัณฑิต มาเกิดเป็น โปฏฐปาทภิกษุ<O[​IMG]
    มินทะบัณฑิต มาเกิดเป็น อัมพัฏฐภิกษุ<O[​IMG]
    ปุกกุสะบัณฑิต มาเกิดเป็น โปฏฐปาทภิกษุ<O[​IMG]
    เทวินทบัณฑิต มาเกิดเป็น โสณทัณฑกภิกษุ<O[​IMG]
    มโหสถ มาเกิดเป็น พระสมณโคตมพุทธเจ้า<O[​IMG]
    นางอมรา มาเกิดเป็น พระนางพิมพา

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]</O[​IMG]
     
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี
    ๒๑ นางจันทราเทวี ใช้สัจจะช่วยสามี
    เรียบเรียง โดย อังคาร



    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นจันทกุมาร ราชโอรสของพระเจ้าเอกราชกับพระนางโคตมีอัครมเหสี แห่งพาราณสี จันทกุมารมีพระอนุชาร่วมมารดา คือ สุริยกุมาร และยังมีพระอนุชาและพระกนิษฐาต่างมารดาอีกหลายองค์

    ครั้งนั้นพระนางพิมพาคู่บารมีมาเกิดเป็นพระนางจันทาเทวี ทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกัน มีพระโอรสนามว่า วสุลกุมาร จันทกุมารได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปราช มีกัณฑหาลพราหมณ์ดำรงตำแหน่งราชปุโรหิตทำหน้าที่ถวายธรรมแก่พระราชาและคอยตัดสินอรรถคดีต่างๆ แต่กัณฑหาลพราหมณ์เป็นผู้มัวเมาในลาภสักการะ จึงรับสินบนและตัดสินคดีความอย่างอยุติธรรม สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์

    วันหนึ่ง ขณะที่จันทกุมารกำลังจะมาเข้าเฝ้าพระเจ้าเอกราช ก็มีบุรุษผู้หนึ่งมาร้องเรียนว่าตนถูกตัดสินคดีไม่ยุติธรรม ต้องเสียทรัพย์ที่ไม่ควรเสีย จันทกุมารจึงพิจารณาและตัดสินคดีนั้นเสียใหม่จนยุติธรรม มหาชนจึงโห่ร้องสรรเสริญด้วยความยินดี เสียงโห่ร้องของมหาชนดังก้องเข้าไปถึงหูพระราชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าจันทกุมารตัดสินคดีได้ยุติธรรมเป็นที่สรรเสริญของชาวพระนคร พระองค์จึงมอบหมายให้จันทกุมารรับผิดชอบเรื่องการตัดสินอรรถคดีแทนกัณฑหาลพราหมณ์

    กัณฑหาลพราหมณ์ไม่ได้ตัดสินคดีแล้ว ลาภสักการะที่เคยได้จากสินบนกลับไม่ได้ จึงคิดแค้นจันทกุมาร และหาทางทำลายจันทกุมารตลอดมา วันหนึ่ง พระเจ้าเอกราชทรงพระสุบินว่าพระองค์ได้เห็นดาวดึงส์เทวโลก ประกอบไปด้วยเทพวิมานงดงามตระการตา รื่นรมย์ไปด้วยสวนนันทวันและสระโบกขรณี มีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรีอย่างมีความสุข

    ครั้นทรงตื่นบรรทม พระองค์ก็ทรงหลงใหลและปรารถนาดาวดึงส์สมบัติ จึงเรียกพราหมณ์มาเข้าเฝ้า ตรัสถามทางไปดาวดึงส์ กัณฑหาลพราหมณ์คิดว่าบัดนี้ถึงเวลาที่จะกำจัดจันทกุมารได้แล้ว จึงกราบทูลพระเจ้าเอกราชว่า ผู้ที่จะไปสู่ดาวดึงส์สวรรค์ได้นั้น จะต้องให้ทานที่ยิ่งกว่าทาน ต้องฆ่าบุคคลอันไม่พึงฆ่า

    พระเจ้าเอกราชขอให้กัณฑหาลพราหมณ์อธิบายต่อ พราหมณ์ก็กราบทูลว่า พระราชาต้องให้ทานโดยการบูชายัญด้วยสัตว์และบุคคลอย่างละ ๔ คือ พระมเหสี พระราชบุตร พระราชกุมารี เศรษฐี ช้างมงคล ม้าอัสดร และโคอุสุภราช หากทำได้เช่นนี้พระองค์ก็จะไปสู่เทวโลกได้ด้วยพระสรีระกายนี้เอง พระเจ้าเอกราชผู้เบาปัญญาฟังคำพราหมณ์แล้วหลงเชื่อ จึงรับสั่งให้ราชบุรุษไปจัดการนำคนและสัตว์เหล่านั้นมาบูชายัญ คือ มเหสีประกอบด้วย พระนางวิชยา พระนางเอราวดี พระนางเกศินี และพระนางสุนันทา ราชบุตรประกอบด้วยจันทกุมาร สุริยกุมาร ภัททเสนกุมาร และรามโคตตกุมาร <O[​IMG]ราชกุมารีประกอบด้วย อุปเสนากุมารี โกกิลากุมารี มุทิตากุมารี และนันทากุมารี ประกอบด้วย ปุณณมุขเศรษฐี ภัททิยเศรษฐี สิงคาลเศรษฐี และวัฑฒเศรษฐี ช้างประกอบด้วย ช้างอภยังกร ช้างนาฬาคิรี ช้างอัจจุคคตะ และช้างวรุณทันตะ ม้าอัสดรประกอบด้วย ม้าเกศี ม้าสุรามุข ม้าปุณณมุข ม้าวินัตกะ โคอุสุภราชประกอบด้วย โคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ และโคควัมปติ

    ราชบุรุษได้นำบุคคลและสัตว์มายังลานเพื่อเตรียมพิธีบูชายัญ บุตรภรรยาของเหล่าเศรษฐีก็ตามมากราบทูลอ้อนวอน ขอให้พระราชาปล่อยบิดาและสามีของพวกเขาไป แต่พระเจ้าเอกราชไม่ทรงยินยอม พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระเจ้าเอกราชทรงทราบ ก็เสด็จมาทัดทาน บอกว่าการบูชายัญไม่ใช่หนทางไปสู่สวรรค์ แต่เป็นหนทางไปสู่อบายภูมิ พระเจ้าเอกราชสดับแล้วก็ไม่ทรงเชื่อฟัง ฝ่ายจันทกุมารนั้นก็กราบทูลพระเจ้าเอกราชว่าอย่าได้ทำพิธีบูชายัญเลย จะให้โอรสและธิดาทั้งหมดนี้ไปเป็นทาสพราหมณ์ จะให้ใส่โซ่ตรวน ขนมูลช้าง มูลม้า หรือจะเนรเทศไปก็ได้ แต่อย่าบูชายัญให้ตายเลย


    พระเจ้าเอกราชเกิดพระทัยอ่อน สั่งให้ปล่อยคนและสัตว์นั้นทั้งหมด ฝ่ายกัณฑหาลพราหมณ์รู้ว่าพระราชาเปลี่ยนใจ จึงเข้าไปกราบทูลยุยงอีกว่าการให้ทานนี้ทำได้ยากยิ่ง มีโอกาสแล้วพระองค์ไม่ควรจะยกเลิกพิธีบูชายัญนี้ พระราชากลับหลงเชื่ออีก สั่งให้เตรียมบูชายัญต่อไป จันทกุมารกราบทูลพระราชาว่า เมื่อครั้งยังเป็นเด็กไม่มีประโยชน์พระราชายังไม่เคยคิดฆ่าข้าพระองค์ บัดนี้ข้าพระองค์เติบใหญ่แล้ว เป็นผู้มีประโยชน์ เป็นผู้กำจัดโจรภัย เหตุใดพระองค์จึงจะฆ่าข้าพระองค์เสียเล่า อีกทั้งเมื่อข้าพระองค์ยังเป็นเด็ก ปุโรหิตผู้นี้เคยทำนายว่าข้าพระองค์เป็นผู้มีบุญ จะได้ปกครองบ้านเมืองต่อไป บัดนี้จะมีภัยแก่ข้าพระองค์ แสดงว่าพราหมณ์นี้เป็นคนกล่าวคำเท็จ ไม่อาจเชื่อถือได้
     
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระราชาฟังคำจันทกุมารแล้วก็เห็นด้วย จึงสั่งให้เลิกพิธี แต่กัณฑหาลพราหมณ์ก็มายุยงพระราชาอีก จนพระราชาหลงเชื่อให้เริ่มพิธีบูชายัญอีกครั้งจันทกุมารกราบทูลว่า หากว่าการบูชายัญด้วยบุตรภรรยาแล้วทำให้ได้ไปสู่เทวโลกจริง ก็ควรให้กัณฑหาลพราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้บูชายัญด้วยบุตรและภรรยาของตนเองก่อน แล้วพระราชาค่อยบูชายัญทีหลัง จันทกุมารกราบทูลดังนี้แล้วพระราชาก็ตัดพระทัยไม่ยอมฟังอีก พระเสลากุมารี พระกนิษฐาของจันทกุมารจึงไปกราบพระบาทวิงวอนพระราชา แต่พระราชาก็ไม่ทรงฟัง พระวสุล โอรสของจันทกุมารไปร้องไห้อ้อนวอนพระเจ้าเอกราช พระเจ้าเอกราชสงสารพระนัดดาจึงสั่งยกเลิกพิธีบูชายัญอีกครั้ง กัณฑหาลพราหมณ์จึงเข้าไปยุยงพระเจ้าเอกราชให้ทำพิธีต่อ และเร่งให้พระราชาเสด็จไปทำพิธีที่ปากหลุมบูชายัญ บรรดาพระชายาทั้งหลายของจันทกุมารและพระโอรสองค์อื่นๆ ต่างก็สยายผมร้องไห้ เดินตามไป

    เมื่อไปถึงหลุมบูชายัญ พระนางโคตมี ก็ทูลอ้อนวอนพระเจ้าเอกราช แต่พระเจ้าเอกราชก็ไม่พระทัยอ่อนอีก ฝ่ายพระนางจันทาเทวีอัครมเหสีของจันทกุมาร ทรงกรรแสงร่ำไห้ติดตามจันทกุมารมา พระนางได้เข้าไปกราบทูลขอให้พระเจ้าเอกราชทรงปล่อยพระโอรสทั้งหมด เพราะหากพระองค์บูชายัญต่อไปก็เหมือนพระองค์ไม่ทรงรักโอรสและธิดาเลย

    พระเจ้าเอกราชทรงดำรัสตอบว่า ลูกทั้งหลายเป็นที่รักของเรา แม้พวกเจ้าทั้งหลายผู้เป็นสุนิสาก็เป็นที่รักของเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เหตุนี้ เราจึงทำสิ่งอันทำได้ยาก คือฆ่าพวกเจ้าทั้งหลายเพื่อสร้างทางไปสวรรค์ พระนางจันทากราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอจงทรงพระกรุณาโปรดรับสั่งให้ฆ่าหม่อมฉันเสียก่อน ขออย่าได้ทำลายดวงหทัยของหม่อมฉันเลย หม่อมฉันจะไปเที่ยวในปรโลกกับพระสวามี

    พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าชอบใจความตายเลย จันทกุมารสิ้นไปแล้วเรายังมีโอรสอีกมากให้เจ้าเลือก พระนางจันทาไม่รู้จะทำอย่างไรก็ร่ำไห้รำพึงรำพันเข้าไปหาจันทกุมาร ทรงกรรแสงอย่างหนัก ก็พอดีได้เวลาเริ่มพิธี กัณฑหาลพราหมณ์ผู้ทำพิธีได้หยิบดาบมาถือยืนอยู่ หมายใจว่าจะตัดพระเศียรจันทกุมาร พระนางจันทาเทวีเห็นดังนั้น คิดว่าที่พึ่งอื่นของเราไม่มีอีกแล้ว เราจะใช้กำลังความสัตย์ช่วยพระสวามีของเราดำริแล้ว พระนางจันทาเทวีจึงยืนประคองอัญชลี กระทำสัจจกิริยาว่า

    "กัณฑหาละผู้นี้มีปัญญาทราม คิดกระทำกรรมอันชั่วช้า หลอกลวงพระราชาด้วยความไม่จริง ด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้เทวดา ยักษ์ อมนุษย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในที่นี้ จงช่วยเหลือข้าพเจ้า ขออย่าให้พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย"

    ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงสดับเสียงคร่ำครวญของพระนางจันทาเทวี จึงฉวยเอาค้อนเหล็กเสด็จจากเทวโลก มากวัดแกว่งขู่พระเจ้าเอกราชให้ตกพระทัยกลัว แล้วตรัสว่า

    "พระราชากาลี มีที่ไหนที่คนผู้ฆ่าบุตร ภรรยา เศรษฐี และคหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย แล้วได้ไปสวรรค์ ท่านจงอย่าได้ฆ่าบุตรองค์ใหญ่ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เป็นอันขาด"<O[​IMG]

    กัณฑหาลปุโรหิตและพระเจ้าเอกราชได้ฟังพระดำรัสของท้าวสักกะก็ตกใจ สั่งให้ปลดเครื่องพันธนาการของคนผู้ไม่มีความผิดทั้งหมด ฝ่ายมหาชนที่มารุมล้อมอยู่ ต่างโกรธแค้นกัณฑหาลพราหมณ์ จึงหยิบเอาก้อนดินมาทุ่มใส่ ทำให้พราหมณ์ชั่วสิ้นชีวิตลง มหาชนผู้โกรธแค้นหันมาจะฆ่าพระเจ้าเอกราชด้วย แต่จันทกุมารทรงห้ามไว้ มหาชนจึงไว้ชีวิตพระราชา แต่ปลดพระองค์ให้เป็นคนจัณฑาล ขับออกจากราชวัง แล้วตั้งให้จันทกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์สืบแทน


    กัณฑหาลพราหมณ์ มาเกิดเป็น พระเทวทัต<O[​IMG]
    ท้าวสักกเทวราช มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ<O[​IMG]
    พระจันทกุมาร มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า<O[​IMG]
    พระสุริยกุมาร มาเกิดเป็น พระสารีบุตร<O[​IMG]
    พระภัททเสน มาเกิดเป็น โมคคัลลานะ<O[​IMG]
    พระสุรกุมาร มาเกิดเป็น พระอานนท์<O[​IMG]
    พระรามโคตตะ มาเกิดเป็น กัสสปะ<O[​IMG]
    พระวสุละ มาเกิดเป็น พระราหุล<O[​IMG]
    พระเสลากุมารี มาเกิดเป็น อุบลวรรณา<O[​IMG]
    พระนางโคตมีเทวี มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา<O[​IMG]
    พระนางจันทาเทวี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นางแก้วคู่บารมี
    ๒๒ นางมัทรี มเหสีผู้เป็นมหาทาน
    เรียบเรียง โดย อังคาร
    ในอดีตกาล พระนางพิมพาได้เกิดมาเป็นพระนางมัทรี ราชธิดาผู้เลอโฉมแห่งมัททราชสกุล เมื่อพระนางเจริญวัยได้ ๑๖ พรรษา ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระโพธิสัตว์ที่ได้มาเกิดเป็นพระเวสสันดร พระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยและพระนางเจ้าผุสดี แห่งสีพีนคร แคว้นกาสี

    พระเวสสันดรนั้นเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ เนื่องจากทรงเกิดมาเพื่อบำเพ็ญพุทธการกธรรมเป็นชาติสุดท้าย และพุทธการกธรรมอันยิ่งใหญ่ในชาตินี้ก็คือการสร้างทานบารมี

    เมื่อแรกประสูติ พระเวสสันดรได้แบพระหัตถ์ถามพระนางผุสดีราชมารดาว่า พระแม่เจ้ามีทรัพย์อะไรบ้าง หม่อมฉันจะบริจาคทาน ซึ่งพระนางผุสดีก็ประทานถุงกหาปณะพันหนึ่งให้ ตรัสว่า ลูกจงบริจาคทรัพย์ตามอัธยาศัยเถิด เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ ๔-๕ พรรษา พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานเครื่องประดับมีค่ามาให้พระเวสสันดร พระองค์ก็เอาเครื่องประดับนั้นมอบให้พระนมจนหมดถึง ๙ ครั้ง

    พระชนมายุ ๘ พรรษา พระเวสสันดรก็ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าทรัพย์ภายนอกพระองค์ก็ให้แล้ว ต่อไปแม้แต่ทรัพย์ภายใน คือ เลือดเนื้อและร่างกาย หากมีผู้ใดปรารถนา พระองค์ก็จะบริจาคให้เป็นทาน เมื่อทรงรำพึงดังนี้ มหาปฐพีก็หวั่นไหวไปจนถึงพรหมโลก หลังจากพระเวสสันดรอภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีแล้ว พระเจ้าสญชัยก็มอบราชสมบัติให้ พระเวสสันดรกับพระนางมัทรีทรงร่วมกันสร้างโรงทาน ๖ แห่ง และบริจาคทานวันละ ๖ แสน โดยเอาพระทัยใส่เสด็จไปตรวจดูโรงทานด้วยพระองค์เองเดือนละ ๖ ครั้ง

    ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติสืบต่อมาจนมีพระราชโอรสนามว่า ชาลี และมีราชธิดานามว่า กัณหา ครั้งนั้น ที่นครกาลิงครัฐ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน ได้เกิดภัยพิบัติ ฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง และเกิดโจรภัย แม้พระเจ้ากาลิงคราชจะทำพิธีขอฝน โดยสมาทานศีลและรักษาอุโบสถตลอด ๗ วัน แต่ฝนก็ไม่ตกลงมา ชาวเมืองจึงกราบทูลว่าที่สีพีนครมีช้างมงคลที่ทำให้ฝนตกได้ ขอให้พระราชาส่งราชทูตไปขอจากพระเวสสันดร ช้างมงคลที่กล่าวถึงนี้ถือเป็นช้างคู่บ้านคู่เมืองของสีพีนคร เนื่องจากเป็นช้างเผือกที่นางพญาช้างฉัตทันต์พามาส่งที่โรงช้างต้น ในวันประสูติของพระเวสสันดร ชาวเมืองตั้งชื่อว่าช้างปัจจัยนาค ช้างนี้ออกศึกครั้งใดก็มีแต่ชัยชนะ และเมื่อพระเวสสันดรเสด็จประทับช้างปัจจัยนาคไปตำบลไหน ก็จะบังเกิดฝนตกในทุกแห่งที่เสด็จราชดำเนินไป

    ]พระเจ้ากาลิงคราชได้ฟังชาวเมืองดังนั้น จึงรับสั่งให้ ๘ พราหมณ์ ไปขอช้างมงคลจากพระเวสสันดร ทั้ง ๘ พราหมณ์จึงเดินทางไปเมืองสีพี และไปดักรอพระเวสสันดรอยู่ที่โรงทาน เมื่อพระเวสสันดรเสด็จมาตรวจโรงทาน พวกพราหมณ์จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลขอช้างมงคลจากพระองค์ ซึ่งพระเวสสันดรก็พระราชทานให้ อีกทั้งยังพระราชทานคนเลี้ยงช้างและควาญช้างให้อีก ๕๐๐ สกุล พราหมณ์ทั้ง ๘ พาช้างกลับกาลิงครัฐ เมื่อช้างมงคลไปถึง ฝนก็ตกทั่วกาลิงครัฐ ทำให้พืชพันธุ์กลับเขียวขจีอุดมสมบูรณ์

    ขณะที่ชาวเมืองสีพีบางส่วนกลับโกรธแค้นที่พระเวสสันดรบริจาคช้างมงคลไป จึงพากันมาชุมนุมกันที่ลานหลวง ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรไปอยู่เขาวงกต พระเจ้าสญชัยจึงจำต้องเนรเทศพระเวสสันดรตามคำของชาวเมือง พระนางมัทรีรู้ว่าพระภัสดาถูกเนรเทศก็ขอเสด็จติดตามไปด้วย แม้พระเวสสันดร พระเจ้าสญชัย และพระนางผุสดีจะห้ามพระนางไว้ พระนางมัทรีก็ไม่ทรงยินยอม พระนางจะขอพรากจากพระเวสสันดรด้วยความตายเท่านั้น

    ก่อนเสด็จออกจากนคร พระเวสสันดรได้ทรงบริจาคมหาทานอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า สัตตสตกมหาทาน อันประกอบด้วย ช้าง ม้า รถ สตรี โคนม ทาสา ทาสี อย่างละ ๗๐๐ เมื่อบริจาคเสร็จแล้วมหาปฐพีก็สั่นไหว แล้วพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระโอรสชาลี และพระธิดากัณหา ก็เสด็จออกจากกรุงสีพีโดยยานเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มุ่งสู่เขาวงกต มีอำมาตย์และสหชาติ ๖ หมื่นตามเสด็จระหว่างที่เสด็จออกจากประตูเมือง พระเวสสันดรก็นำรัตนะ ๗ ประการ รวมทั้งอาภรณ์ต่างๆ ที่พระนางผุสดีบรรทุกยานมาให้ออกบริจาคจนหมดอีก แล้วพระองค์ก็ตรัสบอกให้ผู้ติดตามกลับเข้าเมือง เดินทางไประยะหนึ่ง ก็มีพราหมณ์ ๔ คนติดตามมา ทูลขอม้าสินธพทั้ง ๔ และมีพราหมณ์อีกคนหนึ่งทูลขอราชยาน พระเวสสันดรก็บริจาคให้อีก ๔ กษัตริย์จึงต้องเสด็จดำเนินต่อไปด้วยพระบาท เมื่อพระโอรสและพระธิดาเหนื่อยล้า พระเวสสันดรก็อุ้มพระชาลี ให้พระนางมัทรีอุ้มพระกัณหาซึ่งตัวเบากว่า พากันเดินทางต่อไป

    ด้วยอานุภาพของเทวดา เย็นวันนั้นพระเวสสันดรก็เสด็จถึงมาตุลนคร ซึ่งมีระยะทางไกลถึง ๖๐ โยชน์ ทรงประทับอยู่ในศาลานอกเมือง เมื่อกษัตริย์มาตุลนคร ทรงทราบก็มาเฝ้าและยกบ้านเมืองให้ครอบครอง แต่พระเวสสันดรไม่ทรงรับ เกรงว่าชาวสีพีจะโกรธแค้นมาถึงมาตุลนคร พระองค์ทรงยืนยันที่จะไปเขาวงกต



    วันรุ่งขึ้น กษัตริย์มาตุลนครก็ตามมาส่งเสด็จพระเวสสันดรถึงชายป่า บอกทางไปเขาวงกตให้ และยังสั่งกำชับนายพรานป่าเจตบุตรให้คอยเฝ้าปากทางไว้ อย่าปล่อยให้ปัจจามิตรผู้ใดผ่านเข้าไปรบกวนพระเวสสันดรได้ พระเวสสันดรเสด็จถึงเขาวงกต ประทับในอาศรมและเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเปลือกไม้ พาดอังสาด้วยหนังเสือ ซึ่งสิ่งของทั้งหมดนี้พระวิสสุกรรมมาเนรมิตไว้ตามเทวบัญชาของท้าวสักกเทวราช ส่วนพระนางมัทรี พระโอรส และพระธิดา ก็แต่งองค์เป็นดาบสเช่นเดียวกัน

    ตั้งแต่นั้นมา พระนางมัทรีก็ทำหน้าที่เป็นผู้ไปหาผลาผลในป่า มาปฏิบัติบำรุงพระสวามี พระราชโอรส และพระราชธิดา และประทับอยู่คนละอาศรม ปฏิบัติตนเป็นบรรพชิต เป็นเช่นนี้อยู่นาน ๗ เดือน
     
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ในครั้งนั้น ในกาลิงครัฐนคร มีพราหมณ์แก่ขอทานคนหนึ่งชื่อชูชก มีภรรยาสาวสวยชื่อว่าอมิตดา ภริยาของตาพราหมณ์ชูชกถูกเพื่อนบ้านเยาะเย้ยว่าทำบุญมาน้อยจึงได้ผัวแก่และต้องหาบน้ำไปให้ผัวอาบทุกวัน นางจึงบอกให้ชูชกไปทูลขอพระชาลีและพระกัณหาจากพระเวสสันดรมาเป็นทาสและทาสี ชูชกจึงเดินทางไปเมืองสีพี รู้ว่าพระเวสสันดรพาพระนางมัทรีและพระโอรสพระธิดาเสด็จไปเขาวงกตแล้ว จึงเดินทางติดตามไป ระหว่างทางก็สอบทางไปเขาวงกต แต่ชาวบ้านนั้นยังรักพระเวสสันดร รู้ว่าพราหมณ์เฒ่าจะไปขอพระนางมัทรีหรือพระชาลีหรือพระกัณหาเป็นแน่ จึงได้ทุบตีขับไล่ จนชูชกต้องหนีและเดินทางหลบๆ ซ่อนๆ ไปตลอดทาง

    เมื่อเข้าสู่เขตแดนเขาวงกต ชูชกก็ถูกสุนัขของพรานเจตบุตรรุมล้อม ไล่จนต้องปีนหนีขึ้นไปอยู่บนคบไม้ และร้องไห้เอะอะเสียงดัง พรานเจตบุตรได้ยินเสียงมาดูเห็นชูชกอยู่บนคบไม้ ก็รู้ว่าชูชกคงจะมาทูลขอพระนางมัทรี หรือพระชาลี หรือพระกัณหา จึงคิดจะใช้หน้าไม้ยิงชูชกเสียให้ตาย แต่ชูชกกล่าววาจาลวงพรานเจตบุตรว่า ตนเองเป็นราชฑูต พระเจ้าสญชัยส่งตนมาเพื่อรับพระชาลีและพระกัณหากลับพระนคร พรานเจตบุตรหลงเชื่อจึงช่วยชูชกลงจากต้นไม้และบำรุงชูชกด้วยอาหาร แล้วบอกทางไปอาศรมของพระเวสสันดร ชูชกเดินทางต่อไป ได้พบกับพระอัจจุตฤาษี และลวงเรื่องมารับพระชาลีพระกัณหาเหมือนที่ลวงพรานเจตบุตร พระฤาษีหลงเชื่อจึงบอกทางให้ ชูชกเดินทางต่อจนถึงสระโบกขรณีใกล้อาศรมของพระเวสสันดร ชูชกคิดว่าพระนางมัทรีนั้นเป็นหญิง คงทำพระทัยไม่ได้ที่จะให้เลือดในอกเป็นทาน และคงจะขัดขวางเป็นแน่ จึงได้นอนพักรอวันใหม่ให้พระนางมัทรีออกจากอาศรมไปก่อนจึงค่อยไปทูลขอพระเวสสันดร

    รุ่งคืนนั้น พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบินว่า มีชายผิวดำกักขฬะคนหนึ่งมาควักเอาดวงตา ตัดพระพาหาทั้งสอง และยังแหวกควักเอาหัวใจของพระนางไปด้วย พระนางจึงตกพระทัยตื่นบรรทม รีบไปเฝ้าพระเวสสันดร กราบทูลฝันร้ายให้ฟังพระเวสสันดรฟังแล้วก็รู้ว่าจะมียาจกมาขอพระโอรสและพระธิดาไปเป็นทาน พระองค์จึงปลอบประโลมพระนางมัทรีให้คลายตกใจแล้วให้พระนางกลับไป

    เมื่อฟ้าสว่างแล้ว พระนางมัทรีทรงทำกิจที่ควรทำเสร็จ จิตใจก็ยังไม่คลายกังวลถึงความฝัน เรียกพระชาลีและพระกัณหามาสวมกอด แล้วพาทั้งสองไปฝากพระเวสสันดร กำชับพระเวสสันดรให้ดูแลสองพระองค์ให้ดี แล้วพระนางก็เข้าป่าหาผลาผลตามปกติ เมื่อพระนางมัทรีเสด็จไปสู่ป่าแล้ว ชูชกก็ออกจากที่ซ่อนมาเข้าเฝ้าพระเวสสันดร พระชาลีและพระกัณหาเห็นชูชกก็รู้ว่าตาเฒ่านี้คงมาขอตนไปเป็นทาส จึงใช้ปัญญาเดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวอยู่ในสระบัว ชูชกกราบทูลขอพระชาลีกับพระกัณหา พระเวสสันดรผู้มีใจเต็มเปี่ยมด้วยการให้ทานก็พระราชทานให้ และร้องเรียกหาพระโอรสและพระธิดา แต่พระชาลีและพระกัณหาก็แอบเงียบอยู่

    พระเวสสันดรเดินหาโอรสและธิดา เมื่อเห็นรอยเท้าของโอรสและธิดาเดินขึ้นจากสระบัว แต่ไม่มีรอยเปียกน้ำ ก็รู้ว่าพระโอรสและพระธิดาใช้ปัญญาลวงพระองค์ จึงตรัสบอกว่าพระองค์ตรัสยกพระชาลีและพระกัณหาให้เป็นทานแก่พราหมณ์เฒ่าผู้นี้แล้ว อย่าให้บิดาต้องเสียสัจจะเลย พระชาลีและพระกัณหาได้ฟังคำพระเวสสันดรจึงพากันขึ้นมาจากสระ พระเวสสันดรจึงได้พาสองโอรสและธิดามามอบให้แก่พราหมณ์ ก่อนชูชกจะพากุมารและกุมารีไป พระเวสสันดรได้ตั้งค่าไถ่ตัวว่า พระชาลีให้ไถ่ตัวด้วยทองคำพันตำลึง ส่วนพระกัณหาไถ่ตัวด้วย ทองคำ ๑๐๐ ตำลึง ทาสา ทาสี ช้าง ม้า และโค อย่างละ ๑๐๐ พระเวสสันดรทรงหลั่งสิโนทก ตรัสแก่ชูชกว่า โอรสและธิดาเราจะไม่รักก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณย่อมเป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรและบุตรีผู้เป็นที่รัก กว่าร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า เราจึงตัดใจให้เป็นมหาทาน

    ตรัสแล้วปฐพีก็สั่นไหวไปถึงพรหมโลก ฝ่ายชูชกก็ไปหาเถาวัลย์ในป่า เอามามัดมือพระชาลีและพระกัณหา และโบยตีจะพาทั้งสองไป พระชาลีและพระกัณหาถูกชูชกโบยตีจนผิวกายแตกเลือดไหล ร้องไห้คร่ำครวญเป็นที่น่าสงสาร กราบทูลพระเวสสันดรขอให้สงสารอย่าประทานให้ชูชกเลย พระเวสสันดรมองดู เจ็บแค้นตาพราหมณ์เฒ่าอยู่ในอก และสงสารลูกน้อยจนน้ำพระเนตรหลั่งไหลเป็นสาย แต่พระองค์ก็ทรงอดกลั้นนิ่งอยู่ เมื่อชูชกลากจูงโอรสธิดาจากไป พระเวสสันดรก็เข้าอาศรม ทรงพระกรรแสงด้วยความรักและความสงสารสองกุมาร
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ฝ่ายพระนางมัทรีที่ไปหาผลาผลอยู่ในป่า พระนางนั้นนอกจากจะฝันร้ายแล้วยังมีลางร้ายต่างๆ เช่น เขม่นพระเนตร เป็นต้น พระนางจึงร้อนพระทัยเป็นห่วงพระโอรสและพระธิดา เมื่อหาผลไม้ได้ก็รีบกลับมาอาศรม แต่เทวดาเกรงว่าพระนางจะมาขัดขวางมหาทาน จึงได้จำแลงกายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง มาขวางทางไว้ จนเย็นค่ำจึงเปิดทางให้กลับไปถึงอาศรม ไม่เห็นพระชาลีพระกัณหาออกมารับเหมือนทุกวัน พระนางก็รู้ว่าอันตรายคงจะมีแก่พระโอรสและพระธิดาทั้งสองเสียแล้ว รีบเข้าไปทูลถามพระเวสสันดร แต่พระเวสสันดรก็ทรงนิ่งเงียบไม่ตรัสว่าอะไร

    พระนางมัทรีทรงกรรแสง เที่ยวตามหาพระชาลีและพระกัณหาไปทุกแห่งที่ทั้งสองพระองค์เคยเที่ยวเล่นอยู่ แต่ก็ไม่พบ จึงได้กลับมาถามพระเวสสันดรอีก แต่พระเวสสันดรก็ทรงนิ่งเงียบอยู่ พระนางมัทรีจึงทูลว่า
    "พระภัสดาผู้เป็นที่รักของหม่อมฉัน เหตุใดวันนี้พระองค์จึงทรงเศร้าหมอง ไม่หักไม้ ไม่ติดไฟ เหมือนทุกวัน เหตุใดพระองค์จึงทรงนั่งอ่อนแรงอยู่ <O[​IMG]พระเวสสันดรที่รักของหม่อมฉัน แต่ก่อนมาเมื่อหม่อมฉันมีความทุกข์ เมื่อได้มาพบพระองค์ หม่อมฉันก็คลายทุกข์ แต่วันนี้หม่อมฉันเป็นทุกข์เพราะลูกของหม่อมฉันหายไปทั้งสองคน หม่อมฉันได้มาพบพระองค์แล้ว เหตุใดพระองค์จึงไม่ช่วยคลายความทุกข์ให้หม่อมฉัน"

    พระนางมัทรีนั้นเที่ยวเดินตามหาพระโอรสและพระธิดาตลอดราตรี ครั้นรุ่งเช้าก็ยังไม่พบ จึงกลับมาหาพระเวสสันดร และสิ้นสติไปด้วยความเสียพระทัยที่แทบบาทพระสวามี พระเวสสันดรหาน้ำมาลูบไล้ประพรม และทรงนวดเฟ้นพระชายา จนพระนางฟื้นคืนสติขึ้น พระนางทรงยับยั้งสติไว้แล้วจึงทูลถามว่าพระโอรสและพระธิดาของเราไปไหน พระเวสสันดรทรงเห็นว่าพระนางมัทรีมีพระทัยหนักแน่นขึ้นแล้ว จึงดำรัสตอบว่าพระองค์ให้ทานเป็นทาสพราหมณ์คนหนึ่งไปแล้ว

    พระนางมัทรีทรงต่อว่าที่พระเวสสันดรไม่ยอมบอกตั้งแต่แรก ปล่อยให้พระนางคร่ำครวญตามหาอยู่ทั้งราตรี แต่พระเวสสันดรก็ตรัสตอบว่าถ้าพระองค์บอกตั้งแต่แรก พระนางก็ไม่อาจกลั้นความโศกไว้ได้ ดวงทหัยอาจจะแตกสลาย จึงอดกลั้นไว้ไม่ยอมบอก และแม้บัดนี้ได้บริจาคโอรสและธิดาเป็นทานไปแล้วก็ขออย่าได้ห่วงกังวล วันหน้ายังอาจได้พบกัน ขอให้นางอนุโมทนาในผลของทานนี้ พระนางมัทรีทูลว่า

    " บุตรนั้นย่อมเป็นของบิดา เมื่อพระองค์ประทานบุตรนั้นเป็นทานแล้ว หม่อมฉันก็ขออนุโมทนาทานอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงบริจาคทานแล้ว จงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญทานให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด"<O[​IMG]

    เมื่อพระเวสสันดรและพระนางมัทรีอนุโมทนาทานกันแล้ว ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดำริว่า วานนี้คนผู้ชั่วช้ามาขอโอรสและธิดาไปเป็นทาส วันต่อไปก็อาจจะมีใครมาขอพระนางมัทรีไปอีก ดำริดังนั้นแล้ว ท้าวสักกเทวราชจึงจำแลงกายเป็นพราหมณ์ไปขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรไม่ทรงหวั่นไหวในการให้ทาน ทรงจับพระกรพระนางมัทรีมาหาพราหมณ์ และนำน้ำมาหลั่งลงในมือพราหมณ์ และพระราชทานพระนางมัทรีให้ ทรงตรัสว่า<O[​IMG]

    "เราให้พระเทวีเป็นทานเพราะเธอเป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ เธอนั้นเป็นที่รักยิ่งของเรา แต่พระโพธิญาณนั้นเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าและเป็นประโยชน์แก่มหาชน เราจึงให้เทวีที่รักของเราเป็นทาน"

    ลำดับนั้น มหาปฐพีก็สั่นไหวไปถึงพรหมโลกดังกาลก่อน ในกาลนั้น พระนางมัทรีผู้มีพระทัยอันประเสริฐ มิได้ทรงทำพระพักตร์กริ้วพระภัสดา ไม่ทรงกันแสง ทรงทอดพระเนตรดูพระสวามี ทรงเข้าพระทัยพระสวามีว่าพระองค์นั้นทรงกระทำสิ่งประเสริฐ พระนางกราบทูลว่า
    "หม่อมฉันเป็นเทวีของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในหม่อมฉัน พระองค์ปรารถนาจะพระราชทานแก่ผู้ใดก็พึงพระราชทานแก่ผู้นั้น หรือเมื่อต้องการทรัพย์ก็พึงขายหม่อมฉัน หรือเมื่อต้องการเนื้อก็พึงฆ่าหม่อมฉัน พระองค์จงกระทำสิ่งที่ทรงชอบพระทัยเถิด หม่อมฉันไม่โกรธพระองค์เลย"<O[​IMG]

    ท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยอันประณีตของกษัตริย์ทั้งสอง จึงทรงอนุโมทนาและชมเชยสองกษัตริย์ว่าได้ทำในสิ่งที่ยากยิ่งอันนรชนไม่อาจทำได้
    "ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีคืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยบริสุทธิ์เสมอกันโดยแท้ ขอพระองค์ทรงบำเพ็ญทานต่อไปตามสมควรเถิด หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพมาสู่สำนักของพระองค์ ขอพระองค์ทรงเลือกเอาพระพร หม่อมฉันขอถวายพระพร ๘ ประการแด่พระองค์"

    พระเวสสันดรจึงตรัสขอพร ๘ ประการ คือ
    ๑. ขอให้ได้กลับคืนพระนคร และได้ครองกรุงสีพี
    ๒. เมื่อขึ้นครองกรุงสีพีแล้ว ขอให้ได้ช่วยให้นักโทษพ้นจากการถูกประหาร
    ๓. ขอให้ได้เป็นที่พึ่งของพลเมืองในการเลี้ยงชีพ
    ๔. ขอให้ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสตรี ขอให้รื่นรมย์อยู่แต่มเหสีของตน
    ๕. ขอให้บุตรมีอายุยืน และได้ครองแผ่นดินโดยธรรม
    ๖. ขอให้ทิพย์อาหารปรากฏมีในนคร
    ๗. ขอให้ได้บริจาคทาน โดยทรัพย์สมบัติไม่หมดสิ้นไป
    ๘. เมื่อพ้นจากอัตภาพนี้แล้ว ขอให้ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อจุติจากชั้นดุสิตนั้นมาเป็นมนุษย์แล้ว ขอให้ได้บรรลุพระโพธิญาน

    ท้าวสักกเทวราชทรงประทานพระพรแด่พระเวสสันดร แล้วเสด็จกลับเทวโลก
     
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ฝ่ายชูชกพาพระชาลีและพระกัณหาเดินทางกลับกาลิงครัฐ ยามกลางคืนชูชกก็ขึ้นไปนอนบนคบไม้ ปล่อยให้กุมารและกุมารีนอนอยู่โคนต้น เทพบุตรและเทพธิดาสงสารจึงแปลงเป็นพระเวสสันดรและพระนางมัทรีมาดูแล ครั้นยามเช้าก็หายไป

    เมื่อเดินทางมาถึงทางแยก เทวดาก็ดลใจให้ชูชกเดินหลงไปทางกรุงสีพี เมื่อถึงกรุงสีพี พระเจ้าสญชัยได้ทอดพระเนตรเห็นพระชาลีและพระกัณหาแต่ไกล จึงให้อำมาตย์มาพาไปเข้าเฝ้า และซักถามเรื่องราว พระเจ้าสญชัยเรียกพระชาลีและพระกัณหาให้เข้าไปหา แต่ทั้งสองกราบทูลว่าบัดนี้หม่อมฉันเป็นทาสพราหมณ์เฒ่าแล้ว ไม่ใช่พระราชนัดดาของพระองค์ จึงไม่อาจเข้าไปหาพระองค์ได้ พระเจ้าสญชัยจึงได้ไถ่ตัวพระราชนัดดาทั้งสอง ตามราคาที่พระเวสสันดรได้ตั้งไว้

    ส่วนชูชกได้รับพระราชทานค่าไถ่ ก็กลายเป็นเศรษฐีในพริบตา มีปราสาท ๗ ชั้น มีข้าทาสบริวาร มีอาหารอันเลิศรส ตาเฒ่าไม่เคยลิ้มรสอาหารเช่นนี้มาก่อนจึงเพลินกินไปมากจนท้องแตกตาย

    ฝ่ายพระเจ้าสญชัยและชาวพระนครก็คิดได้ว่า พระเวสสันดรถูกเนรเทศไปอยู่ป่าโดยไม่มีความผิด บัดนี้ควรรับพระเวสสันดรกลับนครได้แล้ว พระเจ้าสญชัยจึงรับสั่งให้จัดขบวนทัพใหญ่โตให้พระชาลีนำทางไปรับพระเวสสันดรที่เขาวงกต
    เมื่อ ๖ กษัตริย์ คือ พระเจ้าสญชัย พระนางผุสดี พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหามาพบหน้ากันที่เขาวงกต ทั้งหมดก็ถึงวิสัญญีภาพไปหมด ท้าวสักกเทวราชจึงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา ฝนนั้นใครอยากให้เปียกก็เปียก ใครไม่อยากให้เปียกก็ไม่เปียก กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์จึงกลับฟื้นขึ้นมา

    พระเวสสันดรทรงเสด็จกลับกรุงสีพี ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยทศพิธราชธรรม ทรงให้ทานตลอดชีวิต และทรงยึดมั่นในพระนางมัทรีแต่เพียงผู้เดียวตามที่ขอพรท้าวสักกเทวราชไว้ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็ไปอุบัติในดุสิตสวรรค์

    ชูชก มาเกิดเป็น พระเทวทัต<O[​IMG]
    นางอมิตดา มาเกิดเป็น นางจิญจมาณวิกา<O[​IMG]
    พรานเจตบุตร มาเกิดเป็น พระฉันนะ<O[​IMG]
    อัจจุตดาบส คือ พระสารีบุตร<O[​IMG]
    ท้าวสักกเทวราช มาเกิดเป็น พระอนุรุทธะ<O[​IMG]
    พระเจ้าสญชัย มาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ<O[​IMG]
    พระนางผุสดี มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา<O[​IMG]
    พระนางมัทรี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา<O[​IMG]
    ชาลี มาเกิดเป็น พระราหุล<O[​IMG]
    กัณหา มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี<O[​IMG]
    พระเวสสันดร มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า

    ขอได้รับความขอบคุณข้อมูลจาก <O[​IMG]
    http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm<O[​IMG]
    http://bannpeeploy.exteen.com/20080128/entry
    http://www.fungdham.com/book/nangkaew.html<O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...