ทำไมมีแต่คนอ้างคำสอนของครูบาต่างๆมากกว่าพระไตรปิฏก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย I2D2, 4 กันยายน 2011.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    . ........ถ้าสติทันตรงนี้....แทงลงวิปัสนาภูมิได้ใหม เป็น ธาตุ อายตนะ อริยสัจ ก่อนลง ตทาลัมพณะ..................................
     
  2. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    กฏมีอยู่ว่า เจตสิกเกิดขึ้นกับจิต ดับพร้อมกับจิต
    อกุศลเกิด จิตก็เกิดพร้อมกับอโสภณเจตสิก
    หมายความว่า กุศลจิตดวงนั้นมันดับไปแล้ว ไม่เป็นสมาธิแล้วนั่นเอง
    โยนิโสมนสิการ พิจารณาให้แยบคาย ให้ปัญญาเกิดฉลาดในอุบายที่จะ ทำกุศลจิตให้ต่อเนื่อง จะได้สมาธิยาว ๆ การเลือกกองกรรมฐานก็สำคัญเหมือนกัน ถ้าถูกจริต นิวรณ์จะอ่อนกำลังลงได้เร็วกว่า กรองกรรมฐานที่ไม่ถูกจริต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  3. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    แล้วแต่กรณีไป แล้วแต่เหตุ แล้วแต่ปัจจัย เช่น บุพเพกตปุญญตา หรือ ได้สำรวมอินทรีย์แล้วมาอย่างดี หรือ เกิดธรรมสังเวช จนเห็นไตรลักษณ์ เป็นสามัญลักษณะโดยลักษณะทั้งสาม
    เป็นปรมัตถสัจจะ ๓ ประการ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วิปัสนา ต้องเห็นไตรลักษณ์นะครับ พิจารณาไตรลักษณ์ ทีนี้ ที่ว่ามา ปุพเพกตปุญตา หรือสำรวมอินทรีย์ด้วยความเพียรมาอย่างดี หรือเกิดธรรมสังเวช เป็นต้น ทีนี้ก็แล้วแต่ทุนใครทุนเขาล่ะครับ ดิ่งลงมาอย่างนี้ มรรคจิต ผลจิต ที่หวังเป็นอันหวังได้อยู่ แล้วแต่ความเพียร แล้วแต่สร้างมาด้วยครับ วัดกันตรงนี้ล่ะครับ สร้างมาดีก็ถึง พอมรรคจิตเกิด ผลจิตเกิดตาม เป็นอย่างนั้น หมั่นสร้างสมกันไว้ผมว่าดีมากเลยนะครับ ผมรู้สึกรักพระพุทธเจ้าองค์นี้มาก ๆ เลย องค์โคตมะ เมตตาสูงจริง ๆ ปัญญาก็มาก เป็นปัญญาธิกะหายากจริง ๆ พิเศษมาก ๆ ที่แสดงธรรมไว้มากขนาดนี้ ศาสนาของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ก็ไม่ได้แสดงขนาดนี้นะครับ ลาภแท้ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  4. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    จิตเกิดดับได้รวดเร็ว กว่าที่สติจะรู้ว่าอกุศลเกิดขึ้น วิถีของอกุสลนั้นย่อมดับไปแล้ว แต่ก็ยังสามารถเอาจิตที่ดับไปแล้วมาเป้นอารมณ์แก่ิจิตได้ครับ



    ส่วนผู้ที่ฝึกสติปัฏฐานมานานแล้วจนชำนาญ สติจับเอาวิถีจิตที่เป็นกุศลได้ทัน
    เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป ก็เป็นวิปัสสนาภูมิแล้วครับ
     
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ซัวเจ๋ง [​IMG]
    I2D2 มีบ้างไหมที่สมาธิทำให้จิตเศร้าหมอง ลงอบายภูมิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ซัวเจ๋ง [​IMG]
    พอจะอธิบาย และ ยกตัวอย่างได้ไหม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมาธิ: องค์ธรรมได้แก่เอกัคคตาเจตสิก ประกอบกับจิตที่เป็นอกุศลและกุศลได้ทั้งสอง
    เมื่อสมาธิเกิดกับจิตที่เป็นอกุศล จิตที่เป็นอกุศลก็ย่อมเศร้าหมอง
    1. การทำปานาติบาตคือการฆ่าสัตว์ก็ต้องมีสมาธิ
    2. อทินนาทาน คือการลักทรัพย์ ก็ต้องมีสมาธิ
    3. กาเมสุมิฉาจาร คือปพฤติในกาม ก็ต้องมีสมาธิ
    4. มุสาวาส คือการพูดปด ก็ต้องมีสมาธิ
    5. สุราเมรัย คือการดื่มสุรา ก็ต้องมีสมาธิ
    การผิดศีล 5 นั้นย่อมลงอบายภูมิ เรียกว่ามิจฉาสมาธิ

    หนทางสู่อบาย ก็มีองค์มรรค 4 คือ 1. มิจฉาทิฏฐิ 2. มิจฉาสังกัปปะ 3. มิจฉาวายามะ 4. มิจฉาสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2011
  6. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ทำไมมีแต่คนอ้างคำสอนของครูบาต่างๆมากกว่าพระไตรปิฏก
    ...............................................................


    <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๗. อาณิสูตร </center> [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
    [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ <center>จบสูตรที่ ๗ </center>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7046&Z=7066&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672
     
  7. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    แล้ววิเสสลักษณะ ของสามาธิมีอะไรบ้างครับ
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เห็นพูดอยู่ได้ วิเสสลักษณะ

    สมาธิ ก็ สมาธิสิครับ ต้องไปคิดอะไรมากมาย
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อนุโมทนากับอาแปะด้วยนะ


    ท่านผู้ฟัง สมาธินั้น...แค่ไหนจึงเป็นมิจฉาสมาธิ แค่ไหนจึงเป็นสัมมาสมาธิ.
    ท่านอาจารย์ เอกัคคตาเจตสิก มีสภาพที่มีอารมณ์เดียว ขณะที่เป็นสมาธิก็มีเอกัค-
    คตาเจตสิก ที่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ปรากฏ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุก

    ดวง เพราะเอกัคคตาเจติก เป็น "สัพพจิตตสาธารณะเจตสิก". ฉะนั้น ไม่ต้องห่วง

    เรื่องสมาธิ เพราะมีอยู่แล้วกับจิตที่เกิดทุกดวง เพียงแต่ว่าเวลาที่จิตเกิดนั้น

    (ปกติ)...ลักษณะของเอกกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏ เพราะจิตที่เกิดก็สั้นมาก และ

    สิ่งที่ปรากฏ วาระหนึ่งๆ ก็สั้นมาก ฉะนั้น ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏ

    ตั้งมั่น ถึงระดับที่เราใช้คำว่า "สมาธิ". แต่ถ้าจิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์

    หนึ่งนาน...ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏ เช่น ตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง...เดินให้ดี ไม่

    ให้ล้ม ข้ามสะพานไม่ให้ตก เป็นต้น เหล่านี้ ก็เป็นลักษณะของเอกัคคตาเจตสิก

    ขณะนั้น...ไม่ใช่กุศลจิต. ขณะใดที่เอกัคคตาเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมกับกุศลจิต

    ขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิต. ขณะใดที่เอกัคคตาเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะ

    นั้นไม่ใช่ "สัมมาสมาธิ" แต่เป็น "อกุศลสมาธิ" หรือ "มิจฉาสมาธิ" ขณะที่เอกัค-

    คตาเจตสิก เกิดร่วมกับกุศลจิต ขณะนั้นเป็น "สัมมาสมาธิ". ต่อเมื่อใด ที่กุศลจิต

    เกิดบ่อยๆ เพราะรู้ว่าวันหนึ่งๆ ทานก็เกิดน้อย การวิรัติทุจริต ก็เกิดน้อย และจิต

    ส่วนใหญ่ จะตกไปเป็นอกุศล เมื่ออารมณ์ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ

    จิตจะคล้อยไปเป็นอกุศล เป็นส่วนใหญ่ ยากนักหนาที่เมื่อเห็นแล้ว...เป็นกุศล.

    แล้วแต่ว่า สะสมกุศลจิตระดับใดมามาก ถ้าเป็นผู้ที่มากด้วยเมตตา เมื่อคิดว่า

    เป็นสัตว์ บุคคล ก็ยังมีจิตที่เป็นมิตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นอุปนิสัย แต่ขณะนั้นก็สั้น

    นิดเดียว เดี๋ยวเสียงก็ปรากฏ...เดี๋ยวสีก็ปรากฏ ฉะนั้น ลักษณะของสมาธิก็ไม่มั่น-

    คง...ถึงแม้จะเป็นกุศลก็ตาม. ด้วยเหตุนี้ ผู้มีปัญญาในครั้งโน้น คือผู้ที่เห็นโทษ

    ของอกุศล โดยเฉพาะ โลภะ รู้ว่าจิตจะคล้อยตามสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความติด-

    ข้อง อย่างไม่รู้สึกตัวเลย รู้ว่าติดข้องในการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส

    และ การกระทบสัมผัส ท่านเหล่านั้นพยายามที่จะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น

    ไม่ลิ้มรส ไม่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ว่าทั้งหมดนี้ เป็นเหตุนำมาซึ่งอกุศลจิต. ที่สำคัญ

    ...ท่านเหล่านี้ รู้ว่าสำคัญที่ "วิตกเจตสิก" หมายความว่า เมื่อนึกถึงอะไร แล้วเป็น

    เหตุให้จิตเป็นกุศล เช่น นึกถึงศีล นึกถึงสิ่งที่เป็นเหตุให้จิตสงบจากอกุศล เป็น

    เหตุให้ลักษณะของกุศลจิตเกิดบ่อย และความสงบก็จะปรากฏ ลักษณะของ

    สมาธิ ก็จะตั้งมั่นในอารมณ์นั้น ขณะนั้นเป็น "สัมมาสมาธิ" . สัมมาสมาธิ ระดับที่

    เป็นอุปจารสมาธิ และอัปนาสมาธิ จึงเป็นฌานจิต เป็นปฐมฌาน และรู้ต่อไปอีก

    ว่า ขณะนั้นถ้ายังมีวิตก คือ มีการตรึกอยู่ ก็ใกล้ต่อการตรึกถึง รูป รส กลิ่น เสียง

    สัมผัส ฉะนั้น ท่านเหล่านั้นจึงละสภาพธรรมที่เป็นวิตก หรือการตรึก และประคอง

    จิตให้อยู่ในอารมณ์นั้น โดย ไม่ให้มีวิตกหรือการตรึก. เป็นเรื่องที่ยากและเป็น

    เรื่องที่ละเอียดมาก ฉะนั้น เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องว่า อย่าไปพอใจกับคำ

    ว่า "สมาธิ" โดยไม่มีการศึกษา ให้เกิดเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อน ว่า มิจฉาสมาธิ

    และ สัมมาสมาธิ...ต่างกันอย่างไร.
    ท่านผู้ฟัง อย่างสมาธิในมรรคมีองค์ ๘...เป็น "สัมมาสมาธิ" ใช่ไหม.?
    ท่านอาจารย์ แน่นอนเจ้าคะ...เพราะว่า เป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกับ "สัมมาทิฏฐิ".



    สนทนาธรรมที่วัดบ้านปิง​


    อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๔​


    โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์​


    ขออนุโมทนา​



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2011
  10. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ถามเอาความรู้ไว้ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
    ไม่มีประโยชน์ต่อท่าน แต่ก็มีประโยชน์ต่อผม
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ............เริ่มที่สัมมาทิฎฐิ ครับ.........................................
     
  12. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ศิษย์พี่ใหญ่ ขนอะไรมาเยอะแยะ

    ก็ขณะหลับตา ไปหลงเงาความคิด ไปติ ไปตรึกในนิมิต อนุพยัญชนะ

    เห็นตัวกู ของกู กูที่นั่งกูที่ตรึก กูที่คิด ลมหายใจกู แปลว่าหลงบัญญัตติ

    แปลอีกที คือ หลงวิปริต พิจารณาวิปริต ได้ผลวิปริต ไม่ใชปรมัตถ์สัจ



    ปล. สัญญาไม่เที่ยง เมื่อกี๋แค่นึกจะพิมพื คำว่า ศิษย์

    กลับนึกไม่ออกว่าสะกดอย่างไร เป็นฉองครั้งแล้ว
     
  13. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    งั้นอธิบายได้ไหม วิเสสลักษณะสมาธิ เราจะรู้ได้อย่างไร สำคัญอย่างไร
     
  14. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    กำลังเก็บข้อมูล ไว้ได้แล้วหากมีโอกาสจะมาบอกนะครับ คุณซั๋วเจ๋ง ^^
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    ใคร???

    หงอคง โน่นเลย เล่าปังๆ เห็นคาดหัวอยู่หลายวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2011
  16. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไม่ต้องไปเก็บ

    ใช้ระลึกใส่ใจในอารมณ์ที่ปรากฏเอา

    ส่วนหนังสือ ลักขณาทิจตุกะ

    เป็นการร่วมรวม ปัจตังลักษณะความเป็นปรมัตถ์ ในจิต เจตสิก รูป ทั้งหมดที่พบในพระไตรปิฏก

    ลองไปหาดูแถวท่าพระอาทิตย์ครับ
     
  17. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    หมายถึงเจ๊นั่นแหละ
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไม่อยากเป็นเห้งเจีย

    :boo:
     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    งั้นใหญ่รองลงมา เป็นโป๊ยก่าย หุหุ
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    บอกหลายครั้งแล้วว่าอยากเป็นอริยเตพ
    เน็ตช้ามาก ไปนอนก่อนนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...